หากเรามองจาก ท้องฟ้า เราจะเห็น สิ่งที่เคลื่อนไหว ภายใต้ ของความคิดเรา ถ้าเรามองขึ้นไปจากใจเรา เราจะเห็น ทุกชีวิต กำลังดิ้นรน เพื่อ แสวงหา อาหาร เพื่อ หล่อเลี้ยง ชีวิตของตนเอง และ สิ่งที่ตนรัก และเป็นที่รัก ของตนเอง และแล้ว ทุกชีวิต ก็ พบว่า ความกระหายใคร่ ได้ ใคร่มี ใคร่เป็น หรือ ความทะยานอยาก นี่เอง ที่เป็นสาเหตุ ให้มนุษย์ ต้องเดินทางอยู่ ตลอดชีวิต ลองหยุดเดินทางด้วยยานพาหนะ แล้วหันมาเดินทาง ด้วยจิตวิญญาณ แล้วการ เดินทางไกล จะใกล้เข้าทุกขณะจิต หายใจเข้า ตามรู้ หายใจออก ตามรู้
วันศุกร์ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2560
อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธเคยมีคนไปถามพระพุทธเจ้า ชื่อ โมฆราช ไปถามพระพุทธเจ้าว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุคคลตามเห็นโลกอย่างไร มัจจุราชจึงมองไม่เห็น” ต้องถามหลายหนนะ ถามครั้งที่ ๓ พระพุทธเจ้าจึงตอบ ถามครั้งแรกท่านก็เฉยๆ ครั้งที่สองก็ยังเฉย ท่านทิ้งเวลาให้คนอื่นถามไปก่อน ทีมของท่านมี ๑๖ คน ท่านน่ะอาวุโสเป็นอันดับสาม พอถึงอันดับสามขอถาม พระพุทธเจ้าก็ไม่ตอบ ที่สี่ก็ขึ้นมาถามแทนอะไรอย่างนี้ พอถามจบท่านถามอีก ท่านก็ไม่ตอบ ท่านก็เลยนั่งเงียบๆไป จนถึงคนที่ ๑๕ รองโหล่แล้ว ถาม พระพุทธเจ้าก็ตอบว่า ให้ท่านมีสติทุกเมื่อ “ดูกรโมฆราช ท่านจงเป็นผู้มีสติทุกเมื่อ ตามพิจารณาเห็นโลกโดยความว่างเปล่า ถอนการตามหมายว่าเป็นตัวเป็นตนเสีย” ให้ท่านทำ ๓ อย่างนี้ อันแรกมีสติทุกเมื่อ อันที่สองตามเห็นโลกโดยความเป็นของว่างเปล่า อันที่สาม ถอนความสำคัญมั่นหมายความคิดเห็นว่าเป็นตัวเป็นตนเสีย เป็น ๓ อัน สิ่งที่หลวงพ่อมาเล่าให้พวกเราฟังทุกวันนี้ก็อย่างนี้แหละ มีสติอยู่เรื่อยๆนะ มีสติบ่อยๆ จะบอกว่าสติทุกเมื่อเดี๋ยวก็ไปนั่งเพ่งอีก เลยบอกว่าสติเนืองๆ แต่อย่าเนืองนานนักก็แล้วกันนะ ให้มันถี่ๆ แล้วตามเห็นอะไร ตามเห็นโลก ตามเห็นโลกโดยความเป็นอะไร โดยความเป็นไตรลักษณ์ ทีนี้สำหรับท่านโมฆราชท่านมีปัญญามาก พระพุทธเจ้าท่านก็เลยบอก “ตามเห็นโลกโดยความว่างเปล่า” เห็นอนัตตา คำว่าเห็นโลกคืออะไร เห็นโลกคือเห็นรูปกับนาม เห็นกายกับใจนี้ คำว่าโลกไม่ใช่สิ่งอื่นนะ โลกก็คือ กายยาววา หนาคืบ กว้างศอก ที่มีใจครอง ก็คือรูปธรรมนามธรรมนี้แหละที่เรียกว่าโลก ท่านให้เห็นโลกโดยความว่างเปล่าไม่ใช่ตัวใช่ตน คอยถอนความเห็นผิด ความรู้สึกผิดๆ ว่าเป็นตัวเป็นตนซะ ท่านไม่สอนบอกว่า จงไปดูความว่างเปล่า ท่านบอกให้มีสติทุกเมื่อแล้วก็ตามเห็นโลก สิ่งที่เราเห็นคือเห็นโลก เห็นรูปเห็นนาม เห็นกายเห็นใจ ท่านโมฆราชฉลาด มีปัญญามาก ก็เห็นโลกเป็นอนัตตา เห็นโลกว่างเปล่า พระพุทธเจ้าไม่ได้สอนให้ไปดูความว่างเปล่า ดูสุญญตานะ คนละเรื่องกันเลย บางคนเอาพระสูตรนี้ไปอ้าง บอกว่าพระพุทธเจ้าสอนให้ดูสุญญตา ไม่มีนะ สุญญตานุปัสสนาสติปัฏฐาน มีแต่ให้รู้รูปรู้นาม ให้รู้โลก แล้วถอนการตามรู้ว่าเป็นตัวตนนั้นเป็นอย่างไร ก็เหมือนกับที่หลวงพ่อพูดทุกวันๆแหละ อย่างเราเห็นร่างกาย ยืน เดิน นั่ง นอน เรารู้เลย ตัวที่ ยืน เดิน นั่ง นอน เป็นรูป ยืน เดินนั่ง นอน ไม่ใช่เรา ยืน เดิน นั่ง นอน ค่อยๆถอนความเห็นผิดว่าเป็นตัวเป็นตนเสีย ไม่ใช่คิดนะ แต่เป็นความรู้สึก เห็นความโกรธเกิดขึ้น ก็เห็น ความโกรธมันเกิด ไม่ใช่เราโกรธนะ จิตโกรธขึ้นมาหรือเปล่า จิตก็ไม่ได้โกรธ แต่ความโกรธผุดขึ้นมาในจิต ผุดขึ้นมาให้จิตรู้ ถ้ารู้ไม่ทันก็ครอบงำจิต จิตยังไม่ได้โกรธเลย เราก็ไม่ได้โกรธ เพราะว่าความโกรธก็ไม่ใช่เรา จิตก็ไม่ใช่เรา คอยรู้ลงไปที่ตัวสภาวะนะ แล้วก็เห็นตัวสภาวะว่ามันไม่ใช่ตัวเรา ดูไปอย่างนี้เรื่อยๆ นี่ท่านสอนท่านโมฆราชนะ เพราะฉะนั้นพวกเราก็เอาไปทำได้ คอยรู้สึกอยู่ ร่างกายที่เคลื่อนไหวไม่ใช่เราเคลื่อนไหว จิตใจที่เคลื่อนไหวไม่ใช่เราเคลื่อนไหว กลายเป็นจิตไม่ใช่เรา แค่รู้สึกไปเรื่อย เห็นแต่สภาวธรรมเกิดขึ้นดับไป เกิดขึ้นดับไป มีเหตุก็เกิด หมดเหตุก็ดับ บังคับไม่ได้ ดูไปเรื่อยๆ เห็นมั้ยธรรมะหลายพันปีก็ยังสอนอย่างเดิมนั่นแหละ หลวงพ่อก็สอนเท่านี้เอง ไม่มีสอนนะว่า หายใจมีกี่จังหวะ จะหยิบข้าวหยิบของมีกี่จังหวะ จะเดินหนึ่งก้าวมีกี่จังหวะ ไม่ได้สอน ทำไมไม่ได้สอน เพราะพระพุทธเจ้าท่านไม่ได้สอนไว้ หลวงพ่อจะปัญญาที่ไหนไปสอน เราไม่ได้ฉลาดกว่าพระพุทธเจ้านะ ไม่ได้สอนเก่งกว่าพระพุทธเจ้า สอนเกินที่ท่านสอน ท่านสอนให้มีสติทุกเมื่อ “สติจำเป็นในที่ทุกสถานในกาลทุกเมื่อ” รู้สึกไว้ๆ คำว่าสติ ให้รู้สึกอะไร รู้สึกโลก รู้สึกกาย รู้สึกใจ สติที่รู้สึกกาย สติที่รู้สึกใจ นี่แหละเรียกว่าสติปัฏฐาน สติที่ไปรู้อารมณ์ที่เป็นกุศลอื่นๆไม่เรียกว่าสติปัฏฐาน สตินี้เกิดกับจิตที่เป็นกุศลทุกๆดวง แต่บางทีก็ไปรู้อย่างอื่นไม่ใช่รู้กายรู้ใจ เฉพาะสติที่รู้กายรู้ใจจึงจะเรียกว่าสติปัฏฐาน สติปัฏฐานนี่แหละเป็นทางเดียวที่จะไปถึงความบริสุทธิ์หลุดพ้น เรียกว่ารู้กายรู้ใจแจ่มแจ้ง รู้โลกแจ่มแจ้ง โลกภายในโลกภายนอกก็แจ่มแจ้งพร้อมๆกันนั่นแหละ ถ้าเราเห็นความจริงกายนี้ใจนี้ไม่ใช่เรานะ เราก็จะเห็นโลภายนอกไม่ใช่เราไปด้วย พร้อมๆกัน เรียกว่ารู้ทั้งภายในภายนอกนะ ไม่เห็นมีความแตกต่างระหว่างภายในภายนอก ไม่มีการแบ่งแยกภายในภายนอกอีกต่อไป พวกเราตอนนี้มีการแบ่งแยกภายในภายนอกอยู่ เวลาเราภาวนาเรารู้สึกมีข้างในมีข้างนอกนะ อันนี้อยู่ในช่วงของทางผ่าน คนซึ่งไม่เคยภาวนาเลย ก็ไม่มีข้างในข้างนอก มีอันเดียว ข้างในข้างนอกเป็นอันเดียว คือเป็นตัวเราหมดเลย ถ้าไม่ใช่ตัวเราก็ของเรา ถ้าไม่ใช่ของเรา ก็เป็นของที่ไม่ใช่ของเรา มันหา “เรา” มาใส่จนได้นะ ของคนอื่นก็ยังบอกว่าของที่ไม่ใช่ของเราได้ อะไรๆก็มีเราแทรกอยู่ ตามรู้นะ ตามรู้ลงไปเรื่อย ในที่สุดก็เห็น ไม่มีเราหรอก วันใดที่เห็นว่าโลกนี้ไม่ใช่เราหรอกนะ โลกว่างเปล่า ได้โสดา…
วันพฤหัสบดีที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2560
อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธหลวงพ่อจะบอกแลนด์มาร์คที่สำคัญไว้นะ แลนด์มาร์คที่สำคัญก่อนที่จะเกิดอริยมรรคนี่ จิตจะเกิดปัญญาชนิดหนึ่ง เรียกว่า "สังขารุเบกขาญาณ" สังขารุเบกขาญาณ ญาณ แปลว่าปัญญา มีปัญญาที่จะเป็นอุเบกขา เป็นกลางต่อสังขาร อะไรที่เรียกว่า สังขาร ความปรุงแต่งทั้งปวงเรียกว่าสังขาร ร่างกายก็เป็นสังขารนะ ความสุข ความทุกข์ ก็เป็นสังขาร ความโลภ ความโกรธ ความหลง ก็เป็นสังขาร อะไรๆ ก็เป็นสังขาร ในขันธ์ 5 นี่แหล่ะ คือ ตัวสังขารทั้งหมด ถ้าเราค่อยๆ ฝึกตามดูไปเรื่อย มีสติตามดูไป เราจะเห็นเลย ร่างกายที่หายใจออกก็อยู่ชั่วคราว ร่างกายที่หายใจเข้าก็อยู่ชั่วคราว ความสุขก็อยู่ชั่วคราว ความทุกข์ก็อยู่ชั่วคราว จิตที่เฉยๆ ก็ชั่วคราว มีใครไม่สุขชั่วคราวไหม มีไหม สุขถาวรมีไหม ไม่มีหรอก ใครทุกข์ถาวรมีไหม ใครทุกข์ถาวร ไม่มี นี่เรามีสติตามดูความเปลี่ยนแปลงของจิตไปนะ เราจะเห็นเลย สุขก็ชั่วคราว ทุกข์ก็ชั่วคราว โลภ โกรธ หลง ก็ชั่วคราว ดูไปเรื่อยนะ ในที่สุดปัญญามันเกิด ก็จะรู้ว่าทุกอย่างเป็นของชั่วคราว พอเมื่อไหร่ที่จิตมันเห็นว่าทุกอย่างเป็นของชั่วคราว จิตก็จะเริ่มเข้าสู่ความเป็นกลางด้วยปัญญาแล้ว เป็นกลางนี่เกิดได้หลายแบบ เป็นกลางอันแรกเกิดด้วยการกดข่มไว้ เช่น ถูกเค้าด่า ก็กัดฟัน ไม่โกรธเลย ไม่โกรธเลยนะ บอกเป็นกลางเพราะกดข่มเอาไว้ เป็นกลางอีกอันหนึ่งเรียก เป็นกลางด้วยมีสติ เป็นกลางอีกอย่างหนึ่ง เป็นกลางด้วยปัญญา เป็นกลางแบบมีสติ ก็คือ เช่น เราขับรถอยู่ คนมันปาดหน้า ใจเราโมโหขึ้นมา เราเห็นเลยใจมันโมโห พอเราเป็นนักปฏิบัตินี่ เราเห็นว่าใจเราโมโหขึ้นมาไม่ดี คุณแม่บอกให้เมตตา โมโหไม่ดีใช่มั๊ย เราต้องรีบไปรู้ทันใจที่ไม่ชอบ ความโกรธเกิดขึ้นแล้วใจเกิดยินร้าย ไม่ชอบความโกรธ หรือกุศลเกิดขึ้นใจเราหลงยินดีเราไม่รู้ว่ายินดี อย่างนี้จิตไม่เป็นกลาง ถ้าจิตยินดีเรารู้ทัน จิตยินร้ายเรารู้ทัน มันจะเป็นกลางด้วยสติ แต่ถ้าเป็นกลางด้วยปัญญา ตรงนี้สำคัญมากเลย ก่อนที่จะเกิดอริยมรรคนี่ จิตจะเป็นกลางด้วยปัญญา แล้วมันจะเห็นเลยว่า ความสุขก็ชั่วคราว ความทุกข์ก็ชั่วคราว กุศลก็ชั่วคราวนะ โลภ โกรธ หลง อะไรต่ออะไรก็ชั่วคราว ฟุ้งซ่านก็ชั่วคราว หดหู่ก็ชั่วคราว ทุกอย่างชั่วคราวหมดเลย ถ้าเมื่อไหร่ จิตเห็นว่าทุกอย่างเป็นของชั่วคราว จิตมันจะเป็นกลางด้วยปัญญาขึ้นมา ความสุขเกิดขึ้นมันไม่หลงระเริงแล้ว เพราะมันรู้แล้วว่าชั่วคราว ความทุกข์เกิดขึ้นมันไม่ทุรนทุราย เพราะมันรู้ว่าชั่วคราว ดีใจ เสียใจ สมหวัง ผิดหวัง มันไม่หลงระเริงเลยนะ ไม่เสียอกเสียใจเพราะมันรู้ว่าชั่วคราว เห็นไหมพอมันเห็นว่าทุกอย่าง เป็นของชั่วคราวนี่ ใจจะหมดความดิ้นรน นี่เรียกว่า เป็นกลางด้วยปัญญา ก่อนที่จะเกิดอริยมรรคนี่ จิตจะเป็นกลางด้วยปัญญา ก่อนที่จิตจะเป็นกลาง ด้วยปัญญานี่ เราจะต้อง หัดเจริญสติ ตามดูความเปลี่ยนแปลงของกาย ของใจ เรื่อยไป จนปัญญามันเกิดว่าทุกอย่างชั่วคราว สุข ทุกข์ ดี ชั่ว ชั่วคราว หายใจออก หายใจเข้า ชั่วคราว ยืนก็ชั่วคราว เดินก็ชั่วคราว นั่ง นอนชั่วคราว ดูไปเรื่อยๆ นะ มีแต่ของชั่วคราวไปหมดเลย มาเสถียรก็มาชั่วคราวใช่ไหมนะ เดี๋ยวก็ไปแล้ว นี่ทุกอย่างชั่วคราวนะ ดูไป ทุกสิ่งในชีวิตเรานะ ถ้าเห็นว่าทุกอย่างชั่วคราวนะ ต่อไปไม่ว่าอะไรเกิดขึ้นจิตจะเป็นกลาง จิตที่เป็นกลางแล้วมันจะเกิดอะไรขึ้น จิตจะหมดความดิ้นรน จิตที่ไม่เป็นกลางนะมันจะดิ้นรนไม่เลิก พวกเรารู้สึกไหม อย่างจิตใจเราไม่มีความสุข เราอยากให้มีความสุข เราเกลียดความทุกข์ จิตที่เกลียดความทุกข์ก็ดิ้นรนนะ ดิ้นว่าทำอย่างไรจะมีความสุข หรือจิตมันดิ้นรนหาความสุข จิตดิ้นรนหนีความทุกข์ การที่จิตต้องดิ้นรนอยู่ตลอดเวลานี่นะ คือตัวทุกข์เลย จิตจะมีแต่ความทุกข์ล้วนๆ เลย สร้างภพ สร้างชาติ สร้างความปรุงแต่งอยู่ตลอดเวลา พวกเราเห็นไหม ในใจของเรามีความอยากเกิดตลอดเวลา ไปหัดดูนะ แล้วเราจะเห็นเลยใจเรามีความอยากตลอดเวลา เดี๋ยวอยากดู เดี๋ยวอยากฟัง เดี๋ยวอยากคิด เดี๋ยวอยากหนีไปที่อื่น อย่างตอนนี้แดดร้อนแล้วอยากหนีแล้ว ถอยได้นะถอย ถอยไปอยู่ข้างหลัง ถอยได้ แบ่งๆ กันนะ แบ่งๆกัน หรือจะเอาเสื่อ ขึ้นคลุมก็ไม่ว่านะ สังเกตมั้ยตอนหัวเราะเมื่อกี้ใจฟุ้งซ่าน ดูออกมั้ย ลืมตัวเอง นี่ฝึกนะ ฝึกรู้อย่างนี้แหละ ดูไปเรื่อยๆนะ ถึงจุดหนึ่งที่ปัญญามันพอนี่ จิตมันจะรวม รวมเข้าอัปปนาสมาธิ รวมของมันเองนะ แล้วจะเห็นสภาวะธรรมเกิดดับอยู่สองสามขณะ แล้วถัดจากนั้นอริยะมรรคก็จะเกิดขึ้น จะล้างกิเลส อริยมรรคเวลาล้างกิเลส จะไม่เหมือนการล้างกิเลสด้วยสติ ด้วยสมาธิ ด้วยศีล ด้วยการข่มไว้ อริยมรรค เวลาล้างกิเลส ล้างตัวไหนแล้วล้างเลย ไม่ต้องล้างอีกแล้ว ล้างทีเดียวสะอาดหมดจด ไม่เกิดขึ้นอีกแล้ว แล้วเราค่อยๆ ฝึกนะ วันหนึ่งเราได้เป็นพระอริยะ อย่าวาดภาพว่าพระอริยะยากเกินไป อย่าวาดภาพว่าพระอริยะอยู่ไกล บารมีเราน้อย มัวแต่คิดว่าบารมีน้อยไม่ภาวนา มันก็น้อยไปทุกชาตินั่นแหล่ะ ถึงบารมีน้อยก็ขยันภาวนานะ หายใจไปก็รู้สึกตัวไป หายใจไปรู้สึกตัวไป มีสติรู้สึกตัวไปเรื่อย อย่าให้ลืมตัวเอง ต่อไปก็หายใจไป เห็นร่างกายที่หายใจอยู่ไม่ใช่เรา เห็นจิตใจมันทำงานได้เองนะ นี่ขั้นเดินปัญญา ง่ายๆ แค่นี้แหละ ลองไปทำดู
ปาฏิหาริย์แห่งการตื่นรู้ โดย หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโชเจริญพรพวกเราทุกคนนะ หัวข้อที่จะให้หลวงพ่อพูดนะเป็นหัวข้อที่น่าสนใจจริงๆ เรื่องปาฏิหาริย์แห่งการตื่นรู้ มันมีคำสองคำนะ คำว่า “ตื่น” กับคำว่า “รู้” ไม่ใช่คำเดียวกัน ตื่นเฉยๆแต่ไม่รู้ก็มี รู้แบบไม่ตื่นก็มี คนส่วนใหญ่ไม่ตื่น คนในโลกนะมันเต็มไปด้วยคนหลับคนหลง วันๆฝัน ฝันทั้งๆที่ร่างกายมันตื่น แต่จิตใจหลับ น้อยคนเหลือเกินที่จะตื่นขึ้นมาได้ทั้งกายทั้งใจ ถ้าเราไม่ได้ยินไม่ได้ฟังคำสอนของพระพุทธเจ้า โอกาสที่เราจะตื่นเนี่ยยากมาก ตื่นแล้วก็รู้ไม่เป็น ตื่นเฉยๆ การได้ยินได้ฟังคำสอนของพระพุทธเจ้านะ ถือเป็นบุญเป็นกุศลอย่างยิ่งใหญ่ ถ้าเราไม่มีบุญไม่มีกุศลเพียงพอ เราไม่ได้ยินไม่ได้ฟังคำสอนของพระพุทธเจ้า คนในโลกนี้มีนับจำนวนไม่ถ้วน หลายพันล้านคน คนที่เป็นชาวพุทธมีไม่มาก แล้วชาวพุทธที่เป็นชาวพุทธที่จะศึกษาธรรมะ ยิ่งน้อยลงไปใหญ่ เมื่อก่อนหลวงพ่อบวชใหม่ๆ อยู่เมืองกาญจนบุรี จะพูดอยู่เรื่อยๆเลยว่าในโลกมันไม่มีคนตื่นน่ะ หาคนตื่นเนี่ยนับตัวได้เลย หายากจริงๆ มีแต่คนหลับคนฝัน ตื่นเฉพาะร่างกายแต่จิตหลับ จิตไม่เคยตื่น เวลาจิตมันหลับไป จิตมันฝันไปมันจะไปรู้เรื่องราวภายนอก รู้รูป รู้เสียง รู้กลิ่น รู้รส รู้สัมผัส รู้เรื่องราวที่คิดนึกปรุงแต่ง มันจะไปรู้สิ่งเหล่านั้น แต่มันไม่สามารถรู้กายรู้ใจตนเองได้ มีร่างกายก็ลืมร่างกาย มีจิตใจก็ลืมจิตใจของตนเอง เนี่ยคนในโลกนะ มีกายก็ลืมกาย มีใจก็ลืมใจ โอกาสที่จะพัฒนาคุณภาพของจิตใจจนไปสู่ความพ้นทุกข์นั้นไม่มีเลย .ถ้าเรารู้ทันจิตที่มันเคลื่อนไป จิตที่มันหลงไป จิตที่มันไหลไป ไหลสะเปะสะปะเรียกว่าเผลอไปหลงไป ไหลไปอยู่ในอารมณ์อันเดียวเรียกว่าเพ่ง แต่ทั้งคู่นี้คือจิตเคลื่อนไปทั้งสิ้น จิตไหลไปทั้งสิ้น ถ้าเมื่อไหร่เรารู้ว่าจิตไหลไปนะ จิตจะตั้งมั่นขึ้นโดยอัตโนมัติ จิตจะรู้ จะตื่น จะเบิกบานขึ้นโดยอัตโนมัติ จะเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ตัวนี้ตัวสำคัญ ถ้าเราไม่สามารถปลุกจิตของเราให้ตื่นได้ โอกาสที่จะบรรลุมรรคผลนิพพานในชีวิตนี้ยังไม่มีหรอก เราต้องฝึกตนเองจนกระทั่งจิตของเราเปลี่ยนจากผู้คิดผู้นึกผู้ปรุงผู้แต่ง มาเป็นผู้รู้ผู้ตื่นผู้เบิกบาน ต้องฝึกให้ได้นะ ไม่ยากเลย คอยรู้ทันจิตบ่อยๆ .ฝึกรู้สึกตัวให้มากๆ พอเรารู้สึกตัวได้มากๆแล้ว เราตื่นขึ้นมา หลุดออกจากโลกของความคิดแล้ว จะเรียกว่าเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานก็ได้ แต่ว่ามันยังแค่รู้ตัวอยู่เฉยๆ เราจะต้องมารู้ความจริงของชีวิตต่อไป ภาวะการปฏิบัตินั้นมันเลยมีสองขั้นตอน ขั้นตอนที่หนึ่ง ปลุกตัวเองให้ตื่นขึ้นมา ขั้นตอนที่สอง เมื่อจิตเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน แล้วมาเดินเจริญปัญญา มาเรียนรู้ความจริงของรูปของนาม ของกายของใจ สิ่งที่เรียกว่าตัวเราๆก็คือรูปกับนาม คือกายกับใจเรานี้เอง เรามาเรียนรู้ความจริงของมัน ความจริงของมันคือไตรลักษณ์ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา .ไตรลักษณ์นั้นแสดงตัวอยู่แล้วในกายนี้ ไตรลักษณ์นั้นแสดงตัวอยู่แล้วในจิตใจนี้ แต่เราละเลยที่จะรู้ เท่านั้นเอง เราไม่รู้วิธีที่จะรู้ไตรลักษณ์ในกายในใจ สิ่งนี้สำคัญมาก เราจะต้องรู้วิธีที่จะรู้ไตรลักษณ์ของกายของใจ ถ้าไม่รู้วิธีที่จะรู้ไตรลักษณ์ของกายของใจ ถึงจะรู้ตัวอยู่แล้วนะ ก็ไม่สามารถเห็นไตรลักษณ์ได้ มันจะไปรู้ตัวอยู่เฉยๆ เพราะงั้นตื่นขึ้นมาแล้วรู้สึกตัวอยู่เฉยๆเนี่ยไม่พอ ต้องสามารถพัฒนาความสามารถของจิตให้เห็นความเป็นไตรลักษณ์ของกายของใจให้ได้ .การที่เรามีจิตที่เป็นผู้รู้ผู้ตื่นผู้เบิกบาน แล้วสติระลึกรู้รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ถ้าระลึกรู้ลงไปมันจะเห็นว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ไม่ใช่คนไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่เราไม่ใช่เขา เห็นซ้ำแล้วซ้ำอีกนะ .พอเราเห็นซ้ำแล้วซ้ำอีกนะจิตใจมันจะยอมรับได้ว่าตัวเราไม่มีหรอก พอฝึกมากเข้าๆนะบางคนใช้เวลา ๗ วัน ๗ เดือน ๗ ปี ก็ยอมรับได้ว่าตัวเราไม่มี เป็นความเห็นถูกต้องแน่นแฟ้นไม่มีคลอนแคลนอีกแล้วว่าตัวเราไม่มี เวลารู้สึกว่าตัวเราไม่มีนะเวลามองเข้ามาในตัวเองมันจะรู้สึกกลวงๆนะ ของเรามองเข้าไปตอนนี้สิ ตันๆ รู้สึกไหมกูเต็มๆเลย มีตัวกูเต็มๆเลย พอได้ธรรมะแล้วเนี่ย ดูเข้ามาในตัวเองนี่กลวงๆ มันกลวง มันว่าง จากความมีตัวมีตน ร่างกายนี้ก็เป็นแค่ตัวอะไรตัวหนึ่งกลวงๆ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ก็กลวงๆ ไม่มีอะไรจริงจัง เหมือนภาพลวงตา เหมือนความฝัน เหมือนพยับแดด เป็นมายาทั้งหมดเลย จะเห็นนะตัวตนที่แท้จริงไม่มี แค่นี้ก็เรียกว่าเอาตัวรอดได้แล้ว ปิดอบายได้แล้ว แต่ยังไม่ถึงที่สุดแห่งทุกข์หรอก ถ้าเราภาวนาต่อไป เรามีความรู้สึกตัว ตื่นนี่แหละ แล้วเรียนรู้ความจริงของกายของใจต่อไป เนี่ยปาฏิหาริย์มันมีเป็นขั้นๆนะ อย่างทีแรกเราไม่เคยตื่นเลย เรารู้ทันจิตที่เผลอไปคิดจิตก็ตื่นขึ้นมา แค่นี้ก็อัศจรรย์มากแล้ว นี่ปาฏิหาริย์ขั้นที่หนึ่งเลย ถัดจากนั้นเราก็มาดูต่อไป พอจิตมันตื่นแล้วนะ เราดูลงไปในธาตุในขันธ์ ธาตุขันธ์ก็แตกตัวกระจายออกไป ไม่ใช่เป็นก้อนเดียวกันอีกแล้ว มันแตกออกไป ๕ กอง เป็นขันธ์ห้า บางคนแตกเป็นอายตนะ ๖ บางคนแตกเป็นธาตุ ๑๘ แตกเป็นอินทรีย์ ๒๒ แตกแบบไหนก็ได้ รวมแล้วก็คือมันมีรูปกับนามแยกออกจากกันเป็นส่วนๆๆไป เป็นเรื่องอัศจรรย์ ที่กายกับจิตแยกออกจากกันได้ เป็นเรื่องอัศจรรย์ ที่เวทนาก็แยกออกไปได้ เป็นเรื่องอัศจรรย์ ที่สังขาร ที่สัญญา ก็แยกออกไปได้ เป็นเรื่องอัศจรรย์ ที่เราเห็นจิตเกิดดับอยู่ทางทวารทั้ง ๖ ได้ นี่ก็เป็นปาฏิหาริย์ขั้นที่สองนะ จากการที่เราตื่นขึ้นมา ตื่นขึ้นมาทีแรกนะเราจะรู้เลยว่าตลอดชีวิตที่ผ่านมานี่เราฝันอยู่ตลอดเวลา เราไม่เคยตื่นเลย พอเรารู้ทันจิตที่คิดเราก็ตื่นขึ้นมา นี่ก็อัศจรรย์ขั้นที่ ๑ แล้ว พออัศจรรย์ขั้นที่ ๒ นะเรามาแยกขันธ์ออกไป ขันธ์แต่ละขันธ์นะ ร่างกายส่วนร่างกายมันแยกได้นะ อย่างเดินอยู่เนี่ยเราเห็นเหมือนคนอื่นเดินเลย อัศจรรย์จริงๆ ถ้าเราเห็นร่างกายเหมือนเป็นคนอื่น ใครมันแก่ ใครมันเจ็บ ใครมันตายล่ะ ไอ้ตัวร่างกายนี่มันแก่มันเจ็บมันตายนะ ไม่เกี่ยวอะไรกับเราเลย ไม่ทุกข์นะ ไม่ทุกข์เพราะกายอีกต่อไปเลย แยกได้นะ ดูไปเรื่อย แยกขันธ์ไปเรื่อยนี่เป็นเรื่องอัศจรรย์ ไม่มีในคำสอนของผู้อื่นเลย มีในคำสอนของพระพุทธเจ้านี้แหละ จะสอนให้เราแยกธาตุแยกขันธ์ได้ พอแยกธาตุแยกขันธ์ได้แล้ววันหนึ่งปัญญามันปิ๊งขึ้นมาเราพบว่าไม่มีตัวเรา นี่ก็อัศจรรย์อีกแล้ว เป็นปาฏิหาริย์แบบอัศจรรย์นะ มันนึกไม่ถึงเลยว่าแบบนี้ก็มีด้วยเหรอ เดินอยู่แท้ๆนะแต่ไม่มีเราเดิน ทุกข์อยู่แท้ๆนะเห็นขันธ์มันทุกข์อยู่แต่ไม่มีเราทุกข์ มันไม่มีเรา มีปรากฏการณ์ แต่ไม่มีเจ้าของปรากฏการณ์ เป็นเรื่องปาฏิหาริย์ทั้งนั้นเลยนะ แต่ยังไม่สิ้นสุด ปาฏิหาริย์มากกว่านี้ยังมีอีก ถ้าจิตเราเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานแล้ว ดูกายทำงานดูใจทำงานไปเรื่อย ใช้หลักที่หลวงพ่อพูดเรื่อยๆนั่นเอง คือมีสติ รู้กายรู้ใจ ตามความเป็นจริง รู้ด้วยจิตที่ตั้งมั่นและเป็นกลาง จิตที่ตั้งมั่นและเป็นกลาง คือจิตที่ตื่นขึ้นมานั่นเอง จิตที่เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานนั่นแหละ ตั้งมั่นเป็นกลาง .เราก็ภาวนามีสติรู้กายรู้ใจตามความเป็นจริงด้วยจิตที่ตั้งมั่นด้วยจิตที่เป็นกลางเรื่อยไป หัดรู้หัดดูของเราเรื่อยๆไปนะ ถึงจุดหนึ่งเนี่ย เบื้องต้นมันจะละความเห็นผิดว่ามีเรา ถัดไปมันก็จะเห็นเลยร่างกายนี้เป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ปล่อยวางความยึดถือในกาย ก็เข้ามายึดถืออยู่ที่จิตอันเดียว ต่อมาก็จะไปเห็นความจริงอีก ตัวจิตเองก็ตกอยู่ใต้ไตรลักษณ์ บางคนเห็นจิตเป็นอนิจจังก็ปล่อย บางคนเห็นจิตเป็นทุกข์ก็ปล่อย บางคนเห็นจิตเป็นอนัตตาก็ปล่อย เมื่อปล่อยวางจิตได้แล้วจะไม่มีอะไรที่จะยึดถืออยู่อีก เพราะสิ่งที่เรายึดถือเหนียวแน่นที่สุดก็คือจิตนั่นแหละ งั้นถ้าปล่อยวางจิตได้เมื่อไหร่ก็พ้นทุกข์ได้เมื่อนั้น .ตรงนี้เป็นปาฏิหาริย์ที่แบบพลิกฟ้าคว่ำดินอะไรทำนองนั้นนะ วัฏจักรจะถล่มทลายลงต่อหน้าต่อตาเราเลย เป็นเรื่องอัศจรรย์นะ ต้องภาวนาเอา เป็นปาฏิหาริย์จนไม่รู้จะปาฏิหาริย์ยังไงเลยนะ แล้วจากนั้นเนี่ยจิตจะเปลี่ยนไป จิตจะไม่เหมือนเดิมอีกต่อไปแล้ว จิตของเราทุกวันนี้มีขอบมีเขต มีจุดมีดวง มีที่ตั้ง มีความปรุงแต่ง มีความทุกข์ มีความบีบคั้น เมื่อปล่อยวางความยึดถือจิตไปแล้ว ตัวรู้นั้นมันแปรสภาพจากจิตผู้รู้นะไปเป็นธาตุรู้ที่บริสุทธ์ .เป็นธาตุรู้ที่ไม่มีอะไรปนเปื้อน ไม่มีอะไรปรุงแต่งได้อีกต่อไป ไม่มีขอบไม่มีเขตไม่มีจุดไม่มีดวงนะ ต้องฝึกเอานะ เป็นบุญของพวกเรานักหนาแล้วนะ ที่เกิดมาเป็นลูกพระพุทธเจ้า ได้ยินได้ฟังคำสอนของพระพุทธเจ้า เราเป็นคนส่วนน้อยในโลกนะ เราอย่านึกว่าศาสนาพุทธของเราเข้มแข็งนะ ศาสนาพุทธน่ะใกล้จะหมดเต็มทีแล้ว แต่จะหมดหรือไม่หมดมันอยู่ที่พวกเรานี่แหละ ว่าเราจะสืบทอดต่อไปได้หรือเปล่า ขั้นแรกเราต้องเรียนให้ได้ก่อน ปฏิบัติให้ได้ก่อน แล้วช่วยกันประกาศธรรมะออกไป .งั้นเรียนให้ดีนะ ศึกษาให้ดี รู้หลัก รักษาศีล ๕ ศีล ๕ จำเป็นที่สุดเลยนะ จำเป็นกว่าศีล ๒๒๗ อีก ศีล ๕ นั่นแหละจะทำให้เราได้มรรคได้ผล รักษาศีล ๕ ไว้ ฝึกจิตใจให้อยู่กับเนื้อกับตัว พอจิตใจเราตั้งมั่นอยู่กับเนื้อกับตัวนั่นแหละจิตมีสมาธิแล้ว ถัดจากนั้นเจริญปัญญา หัดแยกธาตุแยกขันธ์ เห็นกายมันทำงานเห็นจิตมันทำงาน ร่างกายส่วนหนึ่ง ความสุขความทุกข์ส่วนหนึ่ง กุศลอกุศลส่วนหนึ่ง จิตที่เป็นผู้รู้อยู่ส่วนหนึ่ง จิตที่ไปปรุงแต่ง วิ่งไปรับอารมณ์ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ แยกออกไปทำงาน ดูไปเรื่อยก็ไม่มีตัวเรา ดูไปเรื่อยมีแต่ตัวทุกข์ ไม่มีตัวเรา มีแต่ตัวทุกข์ ถ้าเห็นแจ้งอย่างนี้ก็ปล่อยวางความยึดถือในขันธ์ ๕ ไม่มีปาฏิหาริย์อะไรอัศจรรย์ยิ่งกว่าการที่เราแจ้งพระนิพพานหรอก พระนิพพานนั้นไม่ได้อยู่ไกล พระนิพพานอยู่ต่อหน้าต่อตาเราไม่เคยหายไปไหนเลย พระนิพพานไม่ใช่ของสดๆร้อนๆที่เกิดขึ้นใหม่ๆ มรรคผลนั้นเกิดขึ้นสดๆร้อนๆนะ แต่พระนิพพานนั้นมีอยู่แล้ว จิตของเราไม่มีคุณภาพพอที่จะเห็นพระนิพพานเท่านั้นเอง เพราะจิตของเราปนเปื้อนด้วยกิเลส ปนเปื้อนด้วยความปรุงแต่ง ปนเปื้อนด้วยตัณหา เรามาชำระจิตของเรา มาซักฟอกจิตของเราทุกวันๆนะ ถึงวันหนึ่งจิตไม่ปนเปื้อนแล้ว จิตไม่สกปรก จิตปราศจากความปรุงแต่ง ปราศจากตัณหา เราจะเห็นพระนิพพานนั้นเต็มอยู่ต่อหน้าต่อตาเลย ฝึกเข้านะ ฝึกเข้า ไม่รู้จะทำยังไง ได้แต่บอก บอกทางให้เดิน พวกเราก็ต้องเดินด้วยตัวของเราเอง ไม่มีใครมาช่วยเราได้หรอก ถึงไปเฝ้าพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าท่านก็บอกทาง เราต้องเดินด้วยตัวของเราเอง
ปาฏิหาริย์แห่งการตื่นรู้ โดย หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโชเจริญพรพวกเราทุกคนนะ หัวข้อที่จะให้หลวงพ่อพูดนะเป็นหัวข้อที่น่าสนใจจริงๆ เรื่องปาฏิหาริย์แห่งการตื่นรู้ มันมีคำสองคำนะ คำว่า “ตื่น” กับคำว่า “รู้” ไม่ใช่คำเดียวกัน ตื่นเฉยๆแต่ไม่รู้ก็มี รู้แบบไม่ตื่นก็มี คนส่วนใหญ่ไม่ตื่น คนในโลกนะมันเต็มไปด้วยคนหลับคนหลง วันๆฝัน ฝันทั้งๆที่ร่างกายมันตื่น แต่จิตใจหลับ น้อยคนเหลือเกินที่จะตื่นขึ้นมาได้ทั้งกายทั้งใจ ถ้าเราไม่ได้ยินไม่ได้ฟังคำสอนของพระพุทธเจ้า โอกาสที่เราจะตื่นเนี่ยยากมาก ตื่นแล้วก็รู้ไม่เป็น ตื่นเฉยๆ การได้ยินได้ฟังคำสอนของพระพุทธเจ้านะ ถือเป็นบุญเป็นกุศลอย่างยิ่งใหญ่ ถ้าเราไม่มีบุญไม่มีกุศลเพียงพอ เราไม่ได้ยินไม่ได้ฟังคำสอนของพระพุทธเจ้า คนในโลกนี้มีนับจำนวนไม่ถ้วน หลายพันล้านคน คนที่เป็นชาวพุทธมีไม่มาก แล้วชาวพุทธที่เป็นชาวพุทธที่จะศึกษาธรรมะ ยิ่งน้อยลงไปใหญ่ เมื่อก่อนหลวงพ่อบวชใหม่ๆ อยู่เมืองกาญจนบุรี จะพูดอยู่เรื่อยๆเลยว่าในโลกมันไม่มีคนตื่นน่ะ หาคนตื่นเนี่ยนับตัวได้เลย หายากจริงๆ มีแต่คนหลับคนฝัน ตื่นเฉพาะร่างกายแต่จิตหลับ จิตไม่เคยตื่น เวลาจิตมันหลับไป จิตมันฝันไปมันจะไปรู้เรื่องราวภายนอก รู้รูป รู้เสียง รู้กลิ่น รู้รส รู้สัมผัส รู้เรื่องราวที่คิดนึกปรุงแต่ง มันจะไปรู้สิ่งเหล่านั้น แต่มันไม่สามารถรู้กายรู้ใจตนเองได้ มีร่างกายก็ลืมร่างกาย มีจิตใจก็ลืมจิตใจของตนเอง เนี่ยคนในโลกนะ มีกายก็ลืมกาย มีใจก็ลืมใจ โอกาสที่จะพัฒนาคุณภาพของจิตใจจนไปสู่ความพ้นทุกข์นั้นไม่มีเลย .ถ้าเรารู้ทันจิตที่มันเคลื่อนไป จิตที่มันหลงไป จิตที่มันไหลไป ไหลสะเปะสะปะเรียกว่าเผลอไปหลงไป ไหลไปอยู่ในอารมณ์อันเดียวเรียกว่าเพ่ง แต่ทั้งคู่นี้คือจิตเคลื่อนไปทั้งสิ้น จิตไหลไปทั้งสิ้น ถ้าเมื่อไหร่เรารู้ว่าจิตไหลไปนะ จิตจะตั้งมั่นขึ้นโดยอัตโนมัติ จิตจะรู้ จะตื่น จะเบิกบานขึ้นโดยอัตโนมัติ จะเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ตัวนี้ตัวสำคัญ ถ้าเราไม่สามารถปลุกจิตของเราให้ตื่นได้ โอกาสที่จะบรรลุมรรคผลนิพพานในชีวิตนี้ยังไม่มีหรอก เราต้องฝึกตนเองจนกระทั่งจิตของเราเปลี่ยนจากผู้คิดผู้นึกผู้ปรุงผู้แต่ง มาเป็นผู้รู้ผู้ตื่นผู้เบิกบาน ต้องฝึกให้ได้นะ ไม่ยากเลย คอยรู้ทันจิตบ่อยๆ .ฝึกรู้สึกตัวให้มากๆ พอเรารู้สึกตัวได้มากๆแล้ว เราตื่นขึ้นมา หลุดออกจากโลกของความคิดแล้ว จะเรียกว่าเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานก็ได้ แต่ว่ามันยังแค่รู้ตัวอยู่เฉยๆ เราจะต้องมารู้ความจริงของชีวิตต่อไป ภาวะการปฏิบัตินั้นมันเลยมีสองขั้นตอน ขั้นตอนที่หนึ่ง ปลุกตัวเองให้ตื่นขึ้นมา ขั้นตอนที่สอง เมื่อจิตเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน แล้วมาเดินเจริญปัญญา มาเรียนรู้ความจริงของรูปของนาม ของกายของใจ สิ่งที่เรียกว่าตัวเราๆก็คือรูปกับนาม คือกายกับใจเรานี้เอง เรามาเรียนรู้ความจริงของมัน ความจริงของมันคือไตรลักษณ์ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา .ไตรลักษณ์นั้นแสดงตัวอยู่แล้วในกายนี้ ไตรลักษณ์นั้นแสดงตัวอยู่แล้วในจิตใจนี้ แต่เราละเลยที่จะรู้ เท่านั้นเอง เราไม่รู้วิธีที่จะรู้ไตรลักษณ์ในกายในใจ สิ่งนี้สำคัญมาก เราจะต้องรู้วิธีที่จะรู้ไตรลักษณ์ของกายของใจ ถ้าไม่รู้วิธีที่จะรู้ไตรลักษณ์ของกายของใจ ถึงจะรู้ตัวอยู่แล้วนะ ก็ไม่สามารถเห็นไตรลักษณ์ได้ มันจะไปรู้ตัวอยู่เฉยๆ เพราะงั้นตื่นขึ้นมาแล้วรู้สึกตัวอยู่เฉยๆเนี่ยไม่พอ ต้องสามารถพัฒนาความสามารถของจิตให้เห็นความเป็นไตรลักษณ์ของกายของใจให้ได้ .การที่เรามีจิตที่เป็นผู้รู้ผู้ตื่นผู้เบิกบาน แล้วสติระลึกรู้รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ถ้าระลึกรู้ลงไปมันจะเห็นว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ไม่ใช่คนไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่เราไม่ใช่เขา เห็นซ้ำแล้วซ้ำอีกนะ .พอเราเห็นซ้ำแล้วซ้ำอีกนะจิตใจมันจะยอมรับได้ว่าตัวเราไม่มีหรอก พอฝึกมากเข้าๆนะบางคนใช้เวลา ๗ วัน ๗ เดือน ๗ ปี ก็ยอมรับได้ว่าตัวเราไม่มี เป็นความเห็นถูกต้องแน่นแฟ้นไม่มีคลอนแคลนอีกแล้วว่าตัวเราไม่มี เวลารู้สึกว่าตัวเราไม่มีนะเวลามองเข้ามาในตัวเองมันจะรู้สึกกลวงๆนะ ของเรามองเข้าไปตอนนี้สิ ตันๆ รู้สึกไหมกูเต็มๆเลย มีตัวกูเต็มๆเลย พอได้ธรรมะแล้วเนี่ย ดูเข้ามาในตัวเองนี่กลวงๆ มันกลวง มันว่าง จากความมีตัวมีตน ร่างกายนี้ก็เป็นแค่ตัวอะไรตัวหนึ่งกลวงๆ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ก็กลวงๆ ไม่มีอะไรจริงจัง เหมือนภาพลวงตา เหมือนความฝัน เหมือนพยับแดด เป็นมายาทั้งหมดเลย จะเห็นนะตัวตนที่แท้จริงไม่มี แค่นี้ก็เรียกว่าเอาตัวรอดได้แล้ว ปิดอบายได้แล้ว แต่ยังไม่ถึงที่สุดแห่งทุกข์หรอก ถ้าเราภาวนาต่อไป เรามีความรู้สึกตัว ตื่นนี่แหละ แล้วเรียนรู้ความจริงของกายของใจต่อไป เนี่ยปาฏิหาริย์มันมีเป็นขั้นๆนะ อย่างทีแรกเราไม่เคยตื่นเลย เรารู้ทันจิตที่เผลอไปคิดจิตก็ตื่นขึ้นมา แค่นี้ก็อัศจรรย์มากแล้ว นี่ปาฏิหาริย์ขั้นที่หนึ่งเลย ถัดจากนั้นเราก็มาดูต่อไป พอจิตมันตื่นแล้วนะ เราดูลงไปในธาตุในขันธ์ ธาตุขันธ์ก็แตกตัวกระจายออกไป ไม่ใช่เป็นก้อนเดียวกันอีกแล้ว มันแตกออกไป ๕ กอง เป็นขันธ์ห้า บางคนแตกเป็นอายตนะ ๖ บางคนแตกเป็นธาตุ ๑๘ แตกเป็นอินทรีย์ ๒๒ แตกแบบไหนก็ได้ รวมแล้วก็คือมันมีรูปกับนามแยกออกจากกันเป็นส่วนๆๆไป เป็นเรื่องอัศจรรย์ ที่กายกับจิตแยกออกจากกันได้ เป็นเรื่องอัศจรรย์ ที่เวทนาก็แยกออกไปได้ เป็นเรื่องอัศจรรย์ ที่สังขาร ที่สัญญา ก็แยกออกไปได้ เป็นเรื่องอัศจรรย์ ที่เราเห็นจิตเกิดดับอยู่ทางทวารทั้ง ๖ ได้ นี่ก็เป็นปาฏิหาริย์ขั้นที่สองนะ จากการที่เราตื่นขึ้นมา ตื่นขึ้นมาทีแรกนะเราจะรู้เลยว่าตลอดชีวิตที่ผ่านมานี่เราฝันอยู่ตลอดเวลา เราไม่เคยตื่นเลย พอเรารู้ทันจิตที่คิดเราก็ตื่นขึ้นมา นี่ก็อัศจรรย์ขั้นที่ ๑ แล้ว พออัศจรรย์ขั้นที่ ๒ นะเรามาแยกขันธ์ออกไป ขันธ์แต่ละขันธ์นะ ร่างกายส่วนร่างกายมันแยกได้นะ อย่างเดินอยู่เนี่ยเราเห็นเหมือนคนอื่นเดินเลย อัศจรรย์จริงๆ ถ้าเราเห็นร่างกายเหมือนเป็นคนอื่น ใครมันแก่ ใครมันเจ็บ ใครมันตายล่ะ ไอ้ตัวร่างกายนี่มันแก่มันเจ็บมันตายนะ ไม่เกี่ยวอะไรกับเราเลย ไม่ทุกข์นะ ไม่ทุกข์เพราะกายอีกต่อไปเลย แยกได้นะ ดูไปเรื่อย แยกขันธ์ไปเรื่อยนี่เป็นเรื่องอัศจรรย์ ไม่มีในคำสอนของผู้อื่นเลย มีในคำสอนของพระพุทธเจ้านี้แหละ จะสอนให้เราแยกธาตุแยกขันธ์ได้ พอแยกธาตุแยกขันธ์ได้แล้ววันหนึ่งปัญญามันปิ๊งขึ้นมาเราพบว่าไม่มีตัวเรา นี่ก็อัศจรรย์อีกแล้ว เป็นปาฏิหาริย์แบบอัศจรรย์นะ มันนึกไม่ถึงเลยว่าแบบนี้ก็มีด้วยเหรอ เดินอยู่แท้ๆนะแต่ไม่มีเราเดิน ทุกข์อยู่แท้ๆนะเห็นขันธ์มันทุกข์อยู่แต่ไม่มีเราทุกข์ มันไม่มีเรา มีปรากฏการณ์ แต่ไม่มีเจ้าของปรากฏการณ์ เป็นเรื่องปาฏิหาริย์ทั้งนั้นเลยนะ แต่ยังไม่สิ้นสุด ปาฏิหาริย์มากกว่านี้ยังมีอีก ถ้าจิตเราเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานแล้ว ดูกายทำงานดูใจทำงานไปเรื่อย ใช้หลักที่หลวงพ่อพูดเรื่อยๆนั่นเอง คือมีสติ รู้กายรู้ใจ ตามความเป็นจริง รู้ด้วยจิตที่ตั้งมั่นและเป็นกลาง จิตที่ตั้งมั่นและเป็นกลาง คือจิตที่ตื่นขึ้นมานั่นเอง จิตที่เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานนั่นแหละ ตั้งมั่นเป็นกลาง .เราก็ภาวนามีสติรู้กายรู้ใจตามความเป็นจริงด้วยจิตที่ตั้งมั่นด้วยจิตที่เป็นกลางเรื่อยไป หัดรู้หัดดูของเราเรื่อยๆไปนะ ถึงจุดหนึ่งเนี่ย เบื้องต้นมันจะละความเห็นผิดว่ามีเรา ถัดไปมันก็จะเห็นเลยร่างกายนี้เป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ปล่อยวางความยึดถือในกาย ก็เข้ามายึดถืออยู่ที่จิตอันเดียว ต่อมาก็จะไปเห็นความจริงอีก ตัวจิตเองก็ตกอยู่ใต้ไตรลักษณ์ บางคนเห็นจิตเป็นอนิจจังก็ปล่อย บางคนเห็นจิตเป็นทุกข์ก็ปล่อย บางคนเห็นจิตเป็นอนัตตาก็ปล่อย เมื่อปล่อยวางจิตได้แล้วจะไม่มีอะไรที่จะยึดถืออยู่อีก เพราะสิ่งที่เรายึดถือเหนียวแน่นที่สุดก็คือจิตนั่นแหละ งั้นถ้าปล่อยวางจิตได้เมื่อไหร่ก็พ้นทุกข์ได้เมื่อนั้น .ตรงนี้เป็นปาฏิหาริย์ที่แบบพลิกฟ้าคว่ำดินอะไรทำนองนั้นนะ วัฏจักรจะถล่มทลายลงต่อหน้าต่อตาเราเลย เป็นเรื่องอัศจรรย์นะ ต้องภาวนาเอา เป็นปาฏิหาริย์จนไม่รู้จะปาฏิหาริย์ยังไงเลยนะ แล้วจากนั้นเนี่ยจิตจะเปลี่ยนไป จิตจะไม่เหมือนเดิมอีกต่อไปแล้ว จิตของเราทุกวันนี้มีขอบมีเขต มีจุดมีดวง มีที่ตั้ง มีความปรุงแต่ง มีความทุกข์ มีความบีบคั้น เมื่อปล่อยวางความยึดถือจิตไปแล้ว ตัวรู้นั้นมันแปรสภาพจากจิตผู้รู้นะไปเป็นธาตุรู้ที่บริสุทธ์ .เป็นธาตุรู้ที่ไม่มีอะไรปนเปื้อน ไม่มีอะไรปรุงแต่งได้อีกต่อไป ไม่มีขอบไม่มีเขตไม่มีจุดไม่มีดวงนะ ต้องฝึกเอานะ เป็นบุญของพวกเรานักหนาแล้วนะ ที่เกิดมาเป็นลูกพระพุทธเจ้า ได้ยินได้ฟังคำสอนของพระพุทธเจ้า เราเป็นคนส่วนน้อยในโลกนะ เราอย่านึกว่าศาสนาพุทธของเราเข้มแข็งนะ ศาสนาพุทธน่ะใกล้จะหมดเต็มทีแล้ว แต่จะหมดหรือไม่หมดมันอยู่ที่พวกเรานี่แหละ ว่าเราจะสืบทอดต่อไปได้หรือเปล่า ขั้นแรกเราต้องเรียนให้ได้ก่อน ปฏิบัติให้ได้ก่อน แล้วช่วยกันประกาศธรรมะออกไป .งั้นเรียนให้ดีนะ ศึกษาให้ดี รู้หลัก รักษาศีล ๕ ศีล ๕ จำเป็นที่สุดเลยนะ จำเป็นกว่าศีล ๒๒๗ อีก ศีล ๕ นั่นแหละจะทำให้เราได้มรรคได้ผล รักษาศีล ๕ ไว้ ฝึกจิตใจให้อยู่กับเนื้อกับตัว พอจิตใจเราตั้งมั่นอยู่กับเนื้อกับตัวนั่นแหละจิตมีสมาธิแล้ว ถัดจากนั้นเจริญปัญญา หัดแยกธาตุแยกขันธ์ เห็นกายมันทำงานเห็นจิตมันทำงาน ร่างกายส่วนหนึ่ง ความสุขความทุกข์ส่วนหนึ่ง กุศลอกุศลส่วนหนึ่ง จิตที่เป็นผู้รู้อยู่ส่วนหนึ่ง จิตที่ไปปรุงแต่ง วิ่งไปรับอารมณ์ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ แยกออกไปทำงาน ดูไปเรื่อยก็ไม่มีตัวเรา ดูไปเรื่อยมีแต่ตัวทุกข์ ไม่มีตัวเรา มีแต่ตัวทุกข์ ถ้าเห็นแจ้งอย่างนี้ก็ปล่อยวางความยึดถือในขันธ์ ๕ ไม่มีปาฏิหาริย์อะไรอัศจรรย์ยิ่งกว่าการที่เราแจ้งพระนิพพานหรอก พระนิพพานนั้นไม่ได้อยู่ไกล พระนิพพานอยู่ต่อหน้าต่อตาเราไม่เคยหายไปไหนเลย พระนิพพานไม่ใช่ของสดๆร้อนๆที่เกิดขึ้นใหม่ๆ มรรคผลนั้นเกิดขึ้นสดๆร้อนๆนะ แต่พระนิพพานนั้นมีอยู่แล้ว จิตของเราไม่มีคุณภาพพอที่จะเห็นพระนิพพานเท่านั้นเอง เพราะจิตของเราปนเปื้อนด้วยกิเลส ปนเปื้อนด้วยความปรุงแต่ง ปนเปื้อนด้วยตัณหา เรามาชำระจิตของเรา มาซักฟอกจิตของเราทุกวันๆนะ ถึงวันหนึ่งจิตไม่ปนเปื้อนแล้ว จิตไม่สกปรก จิตปราศจากความปรุงแต่ง ปราศจากตัณหา เราจะเห็นพระนิพพานนั้นเต็มอยู่ต่อหน้าต่อตาเลย ฝึกเข้านะ ฝึกเข้า ไม่รู้จะทำยังไง ได้แต่บอก บอกทางให้เดิน พวกเราก็ต้องเดินด้วยตัวของเราเอง ไม่มีใครมาช่วยเราได้หรอก ถึงไปเฝ้าพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าท่านก็บอกทาง เราต้องเดินด้วยตัวของเราเอง
เรามีจิตที่รู้เนื้อรู้ตัวอยู่ จิตเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานอยู่ วิธี...นิพพานไม่เคยหายไปไหน นิพพานอยู่ต่อหน้าต่อตาเรา เมื่อไหร่เราเห็นนิพพานครั้งแรก เราก็จะได้เป็นพระโสดาบัน อย่างตอนนี้เราอยู่กับนิพพานนะ แต่เราไม่เห็น เพราะอะไร เพราะใจเราไม่มีคุณภาพพอ นิพพานเป็นสภาวะที่สิ้นกิเลสตัณหา เรียกว่า “วิราคะ” ใจของคนซึ่งยังมีกิเลสตัณหา มันก็ไม่เห็นนิพพาน นิพพานเป็นสภาวะที่สิ้นความปรุงแต่ง เรียกว่า “วิสังขาร” ใจของคนที่ยังปรุงแต่ง ก็ไม่เห็นนิพพาน พวกเราปรุงแต่งทั้งวัน รู้สึกมั้ย ใจเราฟุ้งซ่านทั้งวันนะ เดี่ยวปรุงดี เดี๋ยวปรุงชั่ว เดี๋ยวปรุงว่างๆขึ้นมา สารพัดจะปรุง นิพพานพ้นจากความปรุงแต่งไป แต่ใจที่ปรุงแต่งก็จะไม่เห็นนิพพาน นิพพานนั้นพ้นจากรูป จากนาม จากกาย จากใจ ไม่ยึดถือกาย ไม่ยึดถือใจเมื่อไหร่ก็จะเห็นนิพพาน ถ้ายังยึดถือกาย ยึดถือใจอยู่ ก็ไม่เห็นนิพพานนะ งั้นถ้าเราค่อยๆพัฒนาใจของเรา จนมันหมดกิเลสตัณหา หมดความดิ้นรนปรุงแต่ง หมดความยึดถือในรูปในนามในกายในใจ ถึงไม่อยากจะเห็นนิพพานก็จะเห็น เพราะนิพพานนะ อยากเห็นก็ไม่เห็นหรอก แต่หมดกิเลสเมื่อไหร่ หมดความปรุงแต่งเมื่อไหร่ หมดความยึดถือในกายในใจเมื่อไหร่ มันเห็นของมันเอง แสดงน้อยลง ตอบกลับ 6 Sompong Tungmepol Sompong Tungmepol8 เดือนที่ผ่านมา หลักของวิปัสสนากรรมฐานเป็นสิ่งที่ชาวพุทธทุกคนควรอย่างยิ่งที่จะเรียน ถ้ามีสติปัญญาพอนะ ต้องเรียน ถ้าเราไม่เรียนวิปัสสนากรรมฐาน เรียกว่าเราไม่ได้รับประโยชน์ที่แท้จริงของพระพุทธศาสนาเลย วิปัสสนากรรมฐานคือวิชา วิชาๆหนึ่ง ที่สอนให้เราเรียนรู้ความจริงของชีวิต ไปเรียนรู้ความจริงของรูปธรรมนามธรรม ของกายของใจ ของธาตุของขันธ์ ที่ประกอบกันขึ้นเป็นตัวเรา เป็นศาสตร์สาขาหนึ่งเท่านั้นแหละ อย่าไปคิดว่าเป็นอะไรที่น่ากลัวลึกลับเหลือเกิน เราเป็นนักศึกษาเราก็วางใจแค่ว่าวิปัสสนากรรมฐานก็เป็นวิชาๆหนึ่ง เป็นศาสตร์สาขาหนึ่งเท่านั้นเอง ไม่ยากเกินไปที่จะเรียนนะ หัวใจแท้ๆเลยของวิปัสสนากรรมฐานนี่นะ คือทำยังไงเราจะเห็นความจริงของขันธ์ ๕ ของธาตุของขันธ์ ของอายตนะ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ รวมกันเป็นตัวเรา ธาตุต่างๆรวมกันก็เป็นตัวเรา ขันธ์ต่างๆรวมกันก็เป็นตัวเรา แล้วแต่จะมอง จะมองในมุมจะแยกสิ่งที่เรียกว่าตัวเราออกในมุมของขันธ์ ๕ ก็ได้ จะแยกสิ่งที่เรียกว่าตัวเรา ออกในมุมของอายตนะ ๖ ก็ได้ จะแยกสิ่งที่เรียกว่าตัวเรา ออกเป็นธาตุ ๑๘ ธาตุก็ได้ ไม่ใช่ธาตุทางเคมี ธาตุเป็นสภาวะที่มันทรงตัวอยู่ได้ แยกออกไปแล้วมันจะเห็นว่าตัวเราไม่มี ความจริงเลยก็คือตัวเราไม่มีหรอก สิ่งที่เราคิดว่าเป็นตัวเรา เป็นตัวเรา นี่เป็นความคิดของเราเอง เพราะฉะนั้นมนุษย์ทั้งหลายเนี่ย ไม่ได้ถูกใครหลอกนะ ถูกความคิดของตัวเองหลอก ความคิดหลอกเพราะว่าเราไม่รู้ความจริง เราไม่เคยเห็นความจริง เราไม่รู้วิธีที่จะรู้ความจริง วิธีที่จะรู้ความจริงนั่นแหละเรียกว่าวิปัสสนากรรมฐาน พูดง่ายๆเลยนะ จับหลักให้แม่นๆนะ หลวงพ่อพยายามกลั่นกรองออกมาเพื่อเป็นภาษาที่มนุษย์สมัยนี้จะรู้เรื่อง วิธีที่จะทำวิปัสสนากรรมฐานนะ ให้มีสติ ฟังให้ดีนะ ให้มีสติ รู้ รู้อะไร รู้รูปรู้นาม รู้กายรู้ใจ ของตัวเอง ให้รู้นะไม่ได้ให้คิด ให้รู้นะไม่ใช่ให้เข้าไปแทรกแซง มันเป็นอย่างไร รู้ว่าเป็นอย่างงั้น งั้นหลักของวิปัสสนาจริงๆ ก็คือการมีสติ รู้รูปนาม ตามความเป็นจริงนั่นเอง ความจริงของรูปนาม ไม่มีอะไรเกินคำว่าไตรลักษณ์ ความจริงมีแต่เรื่องอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา รูปเที่ยงหรือรูปไม่เที่ยง? รูปไม่เที่ยง เวทนาเที่ยงหรือไม่เที่ยง? เวทนาก็ไม่เที่ยง สัญญา สังขาร วิญญาณ ไม่เที่ยง เห็นไหม รูปเป็นสุขหรือรูปเป็นทุกข์? ดูให้ดีนะ ดูไม่ดีก็รู้สึกเป็นสุขบ้างเป็นทุกข์บ้าง ถ้าเมื่อไหร่สติปัญญาแก่รอบจริงๆ จะเห็นรูปนี้เป็นทุกข์ เพียงแต่ทุกข์มากกับทุกข์น้อย ช่วงไหนทุกข์น้อย คนสติปัญญาไม่พอก็ว่าเป็นสุข เวทนานั้นน่ะเป็นทุกข์หรือเป็นสุข? มีสุขเวทนาด้วยนะ สุขเวทนาก็เป็นทุกข์ คือตัวมันเองน่ะถูกบีบคั้นตลอดเวลา ในที่สุดมันก็ทนอยู่ไม่ได้ มันทนอยู่ไม่ได้ตลอดหรอกความสุข งั้นเราไม่ภาวนาเพื่อหาความสุข เพราะอะไร เพราะความสุขไม่เที่ยง ไปหาของไม่เที่ยงก็ได้แต่ของไม่เที่ยง สุขประเดี๋ยวประด๋าวก็ทุกข์อีกแล้ว หลวงพ่อตั้งแต่เด็ก หัดทำสมาธิ ทำไปจิตใจมีความสุข มันก็อยู่ชั่วคราวเดี๋ยวมันก็ไม่สุขอีกแล้ว จิตใจมีความสงบ มันก็อยู่ชั่วคราวเดี๋ยวมันก็ไม่สงบอีกแล้ว งั้นเราจะไปมุ่งหาของที่ชั่วคราวนี่มาเป็นที่พึ่งที่อาศัย ยังเรียกว่าประมาทอยู่ สิ่งที่เป็นที่พึ่งที่อาศัยของเราได้จริง ต้องเที่ยง ต้องสุข ต้องมีความสุข ต้องเป็นของที่เที่ยงด้วย พึ่งพาได้จริงๆ อะไรที่พึ่งพาได้จริงๆ? คือธรรมะนั่นเอง ธรรมนะนี่คงทนถาวร พระพุทธเจ้าหมดไปกี่องค์ๆ ธรรมะก็ยังเป็นธรรมะอย่างเดิมนั่นเอง สิ่งนี้แหละจะเป็นที่พึ่งที่อาศัยของเราได้จริงๆ ธรรมะก็สอนความจริงเรา งั้นวิธีที่จะให้รู้ความจริงของชีวิตมีหลักง่ายๆ ตอนนี้ท่องไว้ก่อน ให้มีสติ รู้รูปนาม ถ้ารูปนามฟังยากก็ลดระดับลงมานิดนึง ให้มีสติ รู้กายรู้ใจ ตามความเป็นจริง ความจริงของกายของใจคือไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตานะ ไม่เที่ยงหมายถึงว่า ของที่เคยมีแล้ววันหนึ่งก็ไม่มี ของที่เคยไม่มี วันหนึ่งก็เกิดมีขึ้นมา นี้เรียกว่าไม่เที่ยง คำว่าเป็นทุกข์ หมายถึงมันถูกบีบคั้น มันทนอยู่ในสภาวะเดิมตลอดไปไม่ได้ คำว่าอนัตตาหมายถึงว่า ไม่อยู่ในอำนาจบังคับ ไม่มีสิ่งที่เรียกว่าตัวตนถาวร มีความรู้สึกเป็นตัวเป็นตน มีเป็นแว๊บๆตอนที่หลงคิดเท่านั้นเอง เมื่อไรไม่หลงคิดตัวตนไม่มีหรอก ทุกสิ่งเกิดแล้วดับ เพราะงั้นไม่มีอะไรที่เป็นตัวตนถาวร กระทั่งจิตเองเกิดแล้วก็ดับ ไม่มีอะไรเป็นตัวตนถาวร นี่คือความจริงของรูปของนาม ของกายของใจ คือไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ให้มีสติรู้กายรู้ใจตามความเป็นจริง เราจะรู้กายรู้ใจได้ ต้องรู้ด้วยสติ เราจะเห็นความจริงของกายของใจได้ ต้องเห็นด้วยปัญญา เครื่องมือที่ทำให้เราทำวิปัสสนา คือสติกับปัญญา แต่ปัญญาโดยตัวของมันเอง อยู่ๆไม่เกิดขึ้นมา ปัญญาเกิดจากอะไร? ปัญญามีสมาธิเป็นเหตุใกล้ให้เกิด เพราะงั้นเครื่องมือจริงๆที่เราต้องพัฒนาขึ้นมานะ สติกับสมาธินะ ถ้ามีสติกับสมาธิแล้วปัญญาจะเกิด พอสติกับสมาธิปัญญาแก่รอบสมบูรณ์ ได้สัดได้ส่วนกัน อริยมรรคก็จะเกิดขึ้น อริยมรรคมีจริงๆ ไม่ใช่กันพูดลอยๆ ไม่ใช่อยู่ๆก็นึกว่าฉันบรรลุมรรคผลนิพพานแล้ว อริยมรรคมีกระบวนการ มีกระบวนการเกิดขึ้นนะ มีกระบวนการที่เกิดขึ้น ไม่ใช่อยู่ๆก็นึกๆว่าเกิดแล้ว กระบวนการแห่งการเกิดอริยมรรคเกิดขึ้นใน ๗ ขณะจิตแค่นั้นเอง ในกระบวนการนี้นะใช้เวลา ๗ ขณะจิตที่จะเกิด และเวลาที่เกิดอริยมรรคนั้น ๑ ใน ๗ เท่านั้น ถัดจากนั้นเกิดอริยผล ๒ หรือ ๓ ขณะจิต จะเป็นอย่างนั้น เพราะงั้นมีกระบวนการนะ จิตใจเรามีกระบวนการทำงาน ถ้าหัดภาวนา หัดฝึกอย่างที่หลวงพ่อสอนไปเรื่อย เราจะเห็นกระบวนการทำงานของจิต เราจะรู้เลยจิตมันปรุงความเป็นตัวตนขึ้นมาได้ยังไง จิตมันปรุงความทุกข์ขึ้นมาได้ยังไง จิตที่ทรงสมาธิแล้วจะทำให้เกิดปัญญาเนี่ย สมาธิมีสองชนิด นี่ก็ต้องศึกษาเหมือนกัน สมาธิที่คนทั้งโลกเขาเรียนกันคือสมาธิสงบ สงบหมายถึงว่าจิตไม่ฟุ้งซ่านไปในอารมณ์ต่างๆ แต่จิตสงบแน่วแน่อยู่ในอารมณ์อันเดียว เช่นเราหัดพุทโธจิตก็อยู่กับพุทโธไม่หนีไปที่อื่น หัดรู้ลมหายใจจิตอยู่กับลมหายใจไม่หนีไปที่อื่น หัดดูท้องพองยุบจิตอยู่ที่ท้องพองยุบไม่หนีไปที่อื่น จิตที่แนบสนิทอยู่ในอารมณ์อันเดียวนี่มีสมาธิ แต่เป็นสมาธิที่มีชื่อเฉพาะนะ สมาธิชนิดนี้ชื่อ อารัมมณูปนิชฌาน ต้องเรียนนะตัวนี้สำคัญมากเลย ที่ทุกวันนี้ที่ภาวนาไม่ได้ผลนะ เพราะแยกสมาธิสองชนิดไม่ได้ สมาธิมีสองชนิด ชนิดที่หนึ่งชื่อ อารัมมณูปนิชฌาน ชนิดที่สองชื่อ ลักขณูปนิชฌาน อารัมมณูปนิชฌาน เนี่ยจิตสงบแน่วแน่อยู่ในอารมณ์อันเดียว เน้นที่ความสงบ จิตสงบแน่วแน่อยู่ในอารมณ์อันเดียว ไม่ฟุ้งไปในอารมณ์โน้นอารมณ์นี้นะ นี้ก็มีวิธีฝึก ฝึกให้จิตอยู่ในอารมณ์อันเดียว เช่นพุทโธ พุทโธ จิตหนีไปแล้วรู้ทันนะ จิตก็จะอยู่ในอารมณ์อันเดียว สุดท้ายจิตเชื่อง มีความสุขอยู่ในอารมณ์อันเดียว เคล็ดลับอยู่ที่ความสุข ถ้าเมื่อไหร่มีความสุขจะมีความสงบนะ สมาธิอีกชนิดหนึ่ง เป็นสมาธิที่อาภัพที่สุดเลย ที่ครูบาอาจารย์สอนดูจิตๆ เพื่อจะสร้างสมาธิชนิดนี้เพื่อจะฝึกให้จิตเนี่ยเป็นผู้รู้ผู้ดู จิตเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน จิตที่เป็นพุทโธ พุทโธแปลว่าผู้รู้ผู้ตื่นผู้เบิกบาน เราจะฝึกจิตจนกระทั่งเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน จิตชนิดนี้ไม่ได้เน้นที่สงบ แต่จิตชนิดนี้ตั้งมั่นในการรู้อารมณ์ สมาธิชนิดแรกจิตอยู่ในอารมณ์อันเดียว จิตมีหนึ่ง อารมณ์มีหนึ่ง สมาธิชนิดที่สองเนี่ย อารมณ์มีแสนอารมณ์ล้านอารมณ์ก็ได้ แต่จิตตั้งมั่นเป็นคนดูอยู่นะ ตัวนี้แหละตัวสำคัญเลยที่จะแตกหักเลยนะว่าเราจะบรรลุมรรคผลนิพพานได้หรือไม่ จะเจริญวิปัสสนาได้หรือไม่ อยู่ที่ว่าเราได้พัฒนาจิตจนเกิดสมาธิชนิดที่ตั้งมั่นเป็นผู้รู้ผู้ดูนี้หรือไม่ ถ้าจิตตั้งมั่นเป็นผู้รู้ผู้ดูได้เรียกว่ามี ลักขณูปนิชฌาน ลักขณูปนิชฌาน นี้คือตั้งมั่นในการรู้ลักษณะ เห็นความเป็นไตรลักษณ์ ไม่ได้ดูตัวอารมณ์แล้ว ตอนที่จิตทำสมถะนะ จิตทำสมถะ ทำอารัมมณูปนิชฌานเนี่ยจิตไปรู้ตัวอารมณ์ เช่นรู้พุทโธ รู้ลมหายใจ รู้ท้องพองยุบ อะไรที่ถูกรู้สิ่งนั้นเรียกว่าอารมณ์ทั้งสิ้นเลย คำว่าอารมณ์ในศาสนาพุทธนะ เรียกว่าสิ่งที่ถูกรู้ เพราะงั้นสมถะกรรมฐานนี่จิตไปรู้ตัวอารมณ์ ไปแนบอยู่ที่ตัวอารมณ์ สงบอยู่ที่ตัวอารมณ์ ลักขณูปนิชฌาน ไม่ดูตัวอารมณ์แต่ดูไตรลักษณ์ เห็นความเป็นไตรลักษณ์ของอารมณ์ อารมณ์จะมีร้อยอารมณ์ ทุกอารมณ์ก็แสดงไตรลักษณ์ อารมณ์จะมีพันอารมณ์ ทุกอารมณ์ก็แสดงไตรลักษณ์ จิตตั้งมั่นเป็นคนดูไตรลักษณ์ งั้นอารมณ์นะไหลตลอดเวลาเลย มันคือปรากฏการณ์ของรูปธรรมนามธรรมที่เคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาในขณะที่จิตเป็นแค่คนดู เหมือนเราดูฟุตบอลอยู่บนอัฐจรรย์นะ ไม่โดดลงไปในสนามฟุตบอล ดูอยู่เห็นภาพในสนามได้ชัดเจน และต้องไม่มีอคติด้วย ถ้ามีอคติก็เห็นไม่ชัดใช่ไหม หรือดูมวย เราเป็นคนดู เราไม่โดดขึ้นไปอยู่ในเวทีมวย เดี๋ยวถูกชกด้วย เราอยู่ข้างนอกเวที ดูด้วยใจที่เป็นกลาง เราจะเห็นเลยว่าใครชกดี ชกไม่ดี ถ้าดูแบบมี Bias(อคติ) ใช่ไหม นักมวยของเราชกไม่ถูกเค้า ชกเฉียดๆเราก็ว่าถูกแล้ว เพราะงั้นเวลาเราจะทำวิปัสสนานะ มันจะมีเคล็ดลับ สมาธิชนิดที่เป็นลักขณูปนิชฌานเนี่ย อันหนึ่งนะคือตั้งมั่น อันที่สองคือเป็นกลาง คุณสมบัติของมันนะ ตั้งมั่น และเป็นกลาง หลวงพ่อจะสอนเรื่อยๆบอกว่า ถ้าเราจะเจริญปัญญานะ ให้มีสติ รู้กายรู้ใจตามความเป็นจริง เราจะรู้ตามความเป็นจริงได้ เราต้องรู้ด้วยจิตที่ตั้งมั่นและเป็นกลาง จิตที่ตั้งมั่นและเป็นกลาง คือจิตที่ทรงสมาธิชนิดที่เรียกว่าลักขณูปนิชฌานนั่นเองนะ มีสติ สติเป็นยังไง สติทำหน้าที่ยังไง ทำยังไงสติจะเกิดขึ้น สติเป็นยังไง สติทำหน้าที่อะไร ถ้าสติทำงานขึ้นมาแล้ว อะไรจะเกิดขึ้น อะไรเป็นเหตุให้สติเกิดขึ้น ๔ อย่าง มันคืออะไร สติคืออะไร สติทำหน้าที่อะไร ถ้าสติทำหน้าที่แล้วจะมีผลยังไง ผลของมันนะคือการคุ้มครองรักษาจิตนะ ทันทีที่สติเกิดอกุศลดับทันทีเลย ทันทีที่สติเกิดนะ กุศลเกิดทันทีเลย เนี่ยผลของการที่มีสตินะ จะมีความเพียรชอบขึ้นมาได้ สติเกิดจากอะไร? เกิดจากจิตจำสภาวะได้แม่น มีสติรู้ รู้ไม่ใช่ใช่เผลอไปคิดเอา รู้ไม่ใช่นั่งเพ่งนั่งจ้องเอาไว้ รู้คือไม่เผลอกับไม่เพ่ง รู้อะไร รู้กายรู้ใจ วิธีรู้กายรู้ลงปัจจุบัน เป็นปัจจุบันขณะ วิธีดูจิตดูใจ เป็นปัจจุบันสันตติ คือสืบเนื่องกับปัจจุบัน ไม่ใช่ปัจจุบันขณะ นี่ต้องเรียนทั้งสิ้นนะ ค่อยๆเรียนไป ตามความเป็นจริง คือต้องเห็นไตรลักษณ์ ถ้าไปเห็นอย่างอื่นของกายของใจ เช่นเห็นปฏิกูลอสุภะ ไม่ใช่วิปัสสนากรรมฐานนะ จะเห็นความจริงของธาตุของขันธ์ของกายของใจ จะเห็นไตรลักษณ์ได้ ต้องมีสมาธิ จิตต้องตั้งมั่นและเป็นกลาง งั้นเราจะเรียนอยู่ในขอบเขตนี้แหละ มีสติ รู้กายรู้ใจตามความเป็นจริง ด้วยจิตที่ตั้งมั่นและเป็นกลาง เดี๋ยวค่อยไปแตกรายละเอียดเอานะ แต่ละตัวถ้าเข้าใจแล้วการปฏิบัติจะสั้นนิดเดียว ถ้าไม่เข้าใจจะลูบคลำนานเลย สติทำไม่เป็นเนี่ยกี่ชาติก็ไม่ได้ มีสติแล้วไปเพ่งเอา กี่ชาติก็ไม่ได้ หรือไม่สติแล้วไปคิดเรื่องไตรลักษณ์ กี่ชาติก็ไม่ได้ มีสติแล้วแต่จิตไม่ตั้งมั่น จิตไปแนบสงบนิ่งอยู่กับอารมณ์ ไม่ตั้งมั่นเป็นกลาง ก็ไม่ได้ กี่ชาติก็ไม่ได้ งั้นเราค่อยๆเรียนสิ่งเหล่านี้ขึ้นมาให้ได้ แสดงน้อยลง แสดงน้อยลง ตอบกลับ ดูการตอบกลับทั้ง 4 รายการ Sompong Tungmepol Sompong Tungmepol2 เดือนที่ผ่านมา ถ้าจิต สมาธิ ปัญญา ศีล สมาธิ ปัญญา บุญ บารมี แก่รอบแล้ว จิตหยุดความปรุงแต่งแล้ว มันจะรวมเข้าอัปนาสมาธิ รวมเอง ทำไมมันรวมเข้าอัปนาสมาธิได้เอง เพราะว่าจิตไม่ไหลไปตามกาม ฌานจะเกิดเอง โดยธรรมชาติของจิตนี้ต้องเวียนอยู่ในภพ ภพที่จิตเวียนอยู่ได้ มีอยู่ ๓ ภพ เท่านั้น ๑ กามวจรภพ ภพที่เวียนไปในกาม คือ หาอารมณ์เพลิดเพลินไปทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย เพลินไปเรื่อย พวกเราจิตหมุนอยู่ติ้วๆ ทาง หู ตา จมูก ลิ้น กาย นึกออกมั้ย อันนี้แหละเรียกว่า กามภพ เรียกให้เต็มยศนะ เรียกว่า กามวจรภูมิ ใจก็ไปเวียนอยู่อย่างนี้ ถ้าหลุดออกจากกามภพแล้วนะ ก็จะเข้าไปรูปภพ หรือรูปภูมิ ก็คือ ไปสงบอยู่กับการรู้รูป เช่น รู้ลมหายใจแล้วจิตไม่เอาแล้วโลกข้างนอก อารมณ์ทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ไม่เห็นจะมีสาระอะไรเลย จิตมารวมลงที่อารมณ์ภายในอันเดียว อาจจะมารู้ลมหายใจอยู่อันเดียว รู้ร่างกายอยู่อันเดียว มาเพ่งรูปอยู่อันเดียว เพ่งดวงกสิณ ดวงนิมิตอยู่อันเดียว จิตเพ่งรูปอยู่เรียกว่ารูปภูมิ ถ้าจิตไม่อยู่ในกามภูมิ ไม่อยู่ในรูปภูมิ จิตก็ต้องเข้าอรูปภูมิ ทิ้งรูปไปแล้วไปอยู่กับนามธรรม เช่นไปอยู่กับความว่าง จิตอยู่ในความว่าง อยู่กับความไม่มีอะไรเลย เพราะฉะนั้นบางคนที่เขาสอนให้ภาวนาเพื่อให้ไปอยู่กับความว่าง อันนั้นเพี้ยนนะ ไม่ใช่ทางของพระพุทธเจ้า มันก็เป็นอรูปภูมิ เป็นภูมิอีกภูมิหนึ่ง เป็นภพอีกภพหนึ่งเท่านั้นเอง ทีนี้ถ้าสติปัญญาเราพอนะ เรารู้เลย จิตแส่ส่ายออกทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย มีแต่ทุกข์ จิตไม่แส่ส่าย จิตก็หลุดออกกามภูมิ เข้ารูปภูมิ หรืออรปภูมิ เข้าเองเลยนะ เพราะฉะนั้นอย่างพวกเรา หัดเจริญสติไปเรื่อย พอ ศีล สมาธิ ปัญญา สติ สมาธิ ปัญญา แก่รอบนะ จิตจะหมดความหลงใหล รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ทั้งหลาย มาดึงดูจิตไหลไปไม่ได้แล้ว อย่างน้อยก็ชั่วขณะ ชั่วขณะเท่านั้นแหละ ชั่วขณะ จิตจะตั้งมั่น รู้ว่าไหลออกไปแล้วทุกข์ ก็ตั้ง เด่นดวง จิตก็เข้าฌานอัตโนมัติ เพราะฉะนั้น ถึงเราจะเจริญสติ เจริญปัญญา โดยเข้าฌานไม่เป็น ถึงนาทีสุดท้าย ที่จะเกิดอริยมรรค อริยผล ในทุกขั้นตอน ตั้งแต่โสดาปัตติมรรค จนถึงอรหัตตมรรค จิตจะเข้าฌานของเขาเองนะ จิตจะเข้าฌานของเขาเอง ยกเว้นคนซึ่งเดินปัญญาอยู่ในฌาน เวลาที่จะเกิอริยมรรคเนี่ย ไม่ต้องถอยออกมาอยู่กับโลกก่อนนะ ไม่ต้องกลับมาอยู่ในกามภูมิก่อน จิตก็ไปตัดอยู่ข้างในได้เลยนะ นี่เป็นอีกพวกหนึ่ง แต่รวมความก็คือ อริยมรรค ไม่เกิดอยู่ในจิตที่อยู่ในกาม อย่างพวกเรา อริยมรรคจะต้องเกิดในรูปภูมิ หรืออรูปภูมินะ จะเกิดกันตรงนั้น จะล้างกันตรงนั้น เพราะฉะนั้นจิตจะเข้าฌานอัตโนมัติ 540805.12m44-15m52 หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช สวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี แสดงน้อยลง ตอบกลับ Varut Wichai Varut Wichai8 เดือนที่ผ่านมา อย่าพึ่งเป็นอะไรเลยท่านเทศดีมากผมเข้าใจเยอะมาก ตอบกลับ สมพงศ์ อินดัสเตรียล อิเล็กทรอนิคส์ สมพงศ์ อินดัสเตรียล อิเล็กทรอนิคส์6 เดือนที่ผ่านมา ทางสายกลางมีอยู่ ถ้าเราอยากพ้นทุกข์จริงๆ เบื้องต้นหัดรู้สึกตัวไว้ก่อน การที่เราคอยรู้เนื้อรู้ตัวนี่เราจะไม่หลงตามกิเลสไป แต่ให้รู้ ไม่ใช่ให้เพ่ง ไม่ใช่ให้บังคับ ไม่ใช่ให้ดัดแปลง ถ้าเพ่ง ถ้าบังคับ ถ้าดัดแปลง อันนี้คือการบังคับตัวเอง มีผลให้เราได้เป็นมนุษย์ที่ดี เป็นเทวดา เป็นพรหม ถึงวันหนึ่งก็เสื่อมอีก ยังไม่พ้นการเวียนว่ายตายเกิด ...พยายามรู้สึกตัวขึ้นมานะ แล้วมาเรียนรู้ความจริงของรูปของนาม ถ้าจิตใจยังติดใจในรูปในนามอยู่ ก็ยังเวียนว่ายตายเกิดอยู่ ยังก่อภพก่อชาติไปไม่สิ้นสุด แสวงหารูปนามใหม่ๆ ขันธ์ ๕ ใหม่ๆไปเรื่อยๆ เพราะใจยังติดอยู่ แต่ถ้าจิตมีสติปัญญาแก่รอบขึ้นมา เห็นขันธ์ ๕ ไม่ใช่สาระแก่นสาร พอจิตเห็นขันธ์ ๕ ไม่ใช่สาระแก่นสาร ความหวังที่จะให้ขันธ์ ๕ มันดี ขันธ์ ๕ มันสุข ขันธ์ ๕ มันสงบ ไม่มี มันดีไปไม่ได้หรอก มันเป็นตัวทุกข์ มันสุขไปไม่ได้หรอก มันทุกข์ มันสงบ มันก็สงบอยู่ไม่ได้จริงหรอก มันยังถูกความทุกข์บีบคั้นอยู่ตลอด ถ้าเมื่อไหร่เราเห็นขันธ์ ๕ ตกอยู่ใต้ความจริง เห็นความจริงของรูปนาม จิตจะคลายความยึดถือ ความยินดีในขันธ์ ๕ เมื่อจิตหมดความยึดถือ หมดความยินดีในขันธ์ ๕ เชื้อเกิดจะถูกทำลายไป จิตที่ยังเวียนว่ายตายเกิด เป็นจิตที่ยังมีเชื้อเกิดอยู่ เชื้อเกิดนี้มันก็เป็นเชื้อที่ยินดีในขันธ์ ๕ นั่นเอง มันโง่ มันมีอวิชชาซ่อนอยู่ในจิตดวงนี้ มันไม่รู้ความจริงของทุกข์ ไม่รู้ความจริงของสมุทัย ไม่รู้ความจริงของนิโรธ ไม่รู้ความจริงของมรรค ไม่รู้ความจริงของทุกข์ก็คือ ไม่รู้ว่าขันธ์ ๕ นี้เป็นตัวทุกข์ ยังคิดว่าจะหาทางหาขันธ์ ๕ ที่มีความสุขได้ พอไม่รู้ว่าขันธ์ ๕ เป็นตัวทุกข์ ความอยากจะให้ขันธ์ ๕ เป็นสุขก็เกิดขึ้น ความอยากจะให้ขันธ์ ๕ พ้นทุกข์ก็เกิดขึ้น สมุทัยก็มีขึ้นมา พอมีสมุทัยมีความอยากขึ้นมานี่ จิตก็มีความดิ้นรน จิตที่มีความดิ้นรนอยู่ ไม่มีความสงบสันติคือไม่มีนิพพาน ไม่เห็นนิพพาน งั้นเราต้องมาล้างเชื้อเกิดในใจของเรา ล้างความหลงผิดในใจของเรานั่นเอง ล้างอวิชชานั่นเอง อยากล้างอวิชชาได้ มีสตินี่แหละ รู้ขันธ์ ๕ ตามความเป็นจริง รู้กายรู้ใจนั่นแหละตามความเป็นจริง ดูลงไปเรื่อยเลย กายนี้ใจนี้ไม่ใช่ของดีของวิเศษ ไม่ต้องคิดหรอก มันไม่ใช่ของดีของวิเศษมาแต่ไหนแต่ไรแล้ว เราเพียงหลงผิดว่ามันดีมันวิเศษ เราเลยติดอกติดใจเพลิดเพลินอยู่ ถ้าเราดูซ้ำดูซากนะ ดูแล้วดูอีก อยู่ในกายในใจนี้ เราจะเห็นว่ากายนี้เป็นทุกข์ล้วนๆ ใจนี้เป็นทุกข์ล้วนๆ พวกเรายังไม่เห็น พวกเราเห็นว่าร่างกายนี้เป็นทุกข์บ้างเป็นสุขบ้าง จิตใจนี้เป็นทุกข์บ้างเป็นสุขบ้าง เพราะเราเห็นอย่างนี้นะ อวิชชาเรามีอยู่ เมื่อมันยังเห็นว่าร่างกายจิตใจเป็นสุขบ้างเป็นทุกข์บ้างได้ มันยังมีทางเลือก มีทางดิ้นต่อ มันก็จะดิ้นหนีความทุกข์ ดิ้นไปแสวงหาความสุข จิตที่ดิ้นรนนั่นแหละ ห่างไกลพระนิพพานไปเรื่อยๆ แต่ถ้าเรารู้ความจริงแจ่มแจ้ง ว่าขันธ์ ๕ หรือรูปนาม หรือกายใจนี้เป็นทุกข์ล้วนๆ มีแต่ทุกข์มาก กับทุกข์น้อย ไม่ใช่มีทุกข์กับสุข ถ้าเห็นแจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งอย่างนี้ จิตมันจะสลัดคืนหมดความยึดถือขันธ์ ๕ จะรู้สึกเลย ร่างกายนี้เหมือนยืมแผ่นดินมาใช้นะ ยืมธาตุมาใช้ จิตใจก็เหมือนยึมเค้ามาใช้ ไม่ใช่ของเราสักอันเดียว มันสลัดคืนรูปคืนนาม คืนกายคืนใจให้โลกไป ไม่ยึดถือในรูปนามในกายใจนั้นเอง เมื่อเราไม่ยึดถือนะ ความหนักก็ไม่เกิดขึ้นในใจ ใจที่มีความหนัก ใครรู้จักหนักใจบ้าง หนัก หนักทุกวันเลย หนักเพราะเรายึดถือ ถ้าเราไม่ได้ยึดถือรูปนามอยู่ ความหนักใจจะไม่มี ปัญหามีนะ แต่ความหนักใจไม่มี งั้นเรามาเรียนรู้ความจริงของรูปของนามนี้แหละ เรียกว่าการเจริญปัญญา รู้ลงไปที่กายบ่อยๆ รู้ลงไปที่ใจบ่อยๆ จะรู้กายรู้ใจได้ จิตต้องรู้สึกตัวเป็นก่อน อย่าหลง ขั้นต้นเลย ต้องรู้สึกตัวให้เป็น ถ้ารู้สึกตัวไม่ได้ ใจหลงไปอยู่ในโลกของความคิด ลืมกายลืมใจ มีกายก็ลืมกาย มีใจก็ลืมใจนะ ใช้ไม่ได้ เราต้องคอยรู้สึกตัวบ่อยๆ หัดรู้สึกตัวนะ เบื้องต้นจะพุทโธ จะหายใจ หรือทำกรรมฐานอะไรสักอย่างหนึ่งก็ได้ แล้วแต่ถนัด ทำกรรมฐานขึ้นอย่างหนึ่ง แล้วคอยรู้ทันจิตตนเอง จิตไหลไปคิดรู้ทัน จิตไหลไปคิดรู้ทัน จิตก็จะหลุดออกจากโลกของความคิด มาอยู่ในโลกของความรู้สึกตัว จิตที่ไม่รู้สึกตัวนี้ไปหลงอยู่ในโลกของความคิด คนทั้งโลกหลงอยู่ในโลกของความคิดนะ มีเป็นส่วนน้อย ผู้ที่ได้ฟังธรรมแล้ว ผู้ที่มีบุญบารมีแล้วอย่างพวกเรานี้ มันรู้ทันจิตที่ไหลไปคิด แล้วก็ตื่น เกิดภาวะแห่งความรู้สึกตัวขึ้นมา พอเรารู้สึกตัวได้ ก็คือมีกายเราก็รู้ว่ามีอยู่ มีใจเราก็รู้ว่ามีอยู่ เราก็จะเรียนรู้ความจริงของกายของใจได้ ถ้าเราใจลอย เราลืมกายลืมใจ เราก็ไม่สามารถเรียนรู้ความจริงของกายของใจได้ เพราะงั้นความรู้สึกตัวนี้แหละ เป็นจุดตั้งต้นที่จะเริ่มเดินปัญญานะ ทีนี้พอรู้สึกตัวเป็นแล้ว อย่ารู้สึกอยู่เฉยๆ รู้สึกแล้วมาเรียนรู้ความจริงของกายของใจ ค่อยๆแยก กายก็อยู่ส่วนกาย ใจก็อยู่ส่วนใจนะ แยกกัน กายส่วนกาย ใจส่วนใจ เวทนาคือความรู้สึกสุขทุกข์ก็อยู่ส่วนเวทนา ไม่ใช่กายไม่ใช่ใจ สังขาร ความปรุงดีความปรุงชั่ว เช่นโลภ โกรธ หลงทั้งหลาย ก็อยู่ส่วนโลภ โกรธ หลงทั้งหลาย ไม่ใช่ร่างกาย ไม่ใช่ความสุข ไม่ใช่ความทุกข์ ไม่ใช่จิตใจ นี่หัดแยกธาตุแยกขันธ์ ต้องรู้สึกตัวเป็นก่อน ถึงจะแยกธาตุแยกขันธ์ได้ แต่บางคนรู้สึกตัวแล้วอยู่เฉยๆ ไม่ยอมแยกธาตุแยกขันธ์ อันนั้นต้องช่วยมันคิดพิจารณาแยกธาตุแยกขันธ์ไป เช่นนั่งอยู่ ก็คอยคิดเอา เออร่างกายที่นั่งอยู่นี่เป็นของถูกรู้นะ อะไรอย่างนี้ ค่อยๆคิดไป ดู ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก ผม เป็นของถูกรู้ ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เป็นของถูกรู้ ค่อยๆหัดดูไปอย่างนี้ ต่อไปมันแยกได้เอง ความสุขความทุกข์เกิดขึ้น ก็เป็นของถูกรู้ ความโลภ ความโกรธ ความหลง เกิดขึ้นเป็นของถูกรู้ จิตเป็นคนไปรู้มันเข้า เบื้องต้นอาจจะต้องช่วยมันคิดพิจารณาอย่างนี้ แต่ต่อไปมันแยกได้เอง พอแยกได้เอง เราจะเดินปัญญาอัตโนมัติ มันจะเห็นเลย ร่างกายเคลื่อนไหว แค่รู้สึกนะ แล้วจะรู้เลยร่างกายไม่คงที่ เวทนาเกิดขึ้นในกาย เวทนาเกิดขึ้นในใจ ความสุขความทุกข์นั้นแหละเกิดขึ้นในกายในใจ ก็เห็นเลยมันแค่ผ่านมาแล้วก็ผ่านไป ใจอยู่ต่างๆหาก เวทนานี้ไม่ใช่ตัวเราหรอก เป็นสิ่งที่แปลกปลอมเข้ามาชั่วคราวแล้วก็หายไป กุศลอกุศล ก็เป็นสิ่งที่แปลกปลอมเข้ามาชั่วคราวแล้วก็หายไป จิตเองก็เกิดแล้วก็ดับ เดี๋ยวก็เป็นจิตผู้รู้ เดี๋ยวก็เป็นจิตผู้คิด เดี๋ยวเป็นจิตผู้เพ่ง หมุนเวียนเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา การที่เราเห็นขันธ์ทั้งรูปธรรมนามธรรมทั้งหลายที่ประกอบกันเป็นตัวเรานี้ มีแต่ความหมุนเวียนเปลี่ยนแปลง ทั้งวันทั้งคืน ทั้งหลับทั้งตื่น เป็นอย่างนี้ตลอด มันจะรู้เลย ไม่ใช่ของดีของวิเศษ ความสุขเกิดขึ้นก็แค่ของชั่วคราว เอาเป็นที่พึ่งที่อาศัยไม่ได้ เดี๋ยวก็ดับ กุศลเกิดขึ้นก็เป็นแค่ของชั่วคราว เอาเป็นที่พึ่งที่อาศัยก็ไม่ได้จริง เดี๋ยวก็ดับ ทุกสิ่งหาที่พึ่งที่อาศัยไม่ได้เลยในขันธ์ ๕ มีแต่ของน่าเอือมระอา มีแต่ความทุกข์ นี่จิตเห็นความจริงอย่างนี้ จิตจะคืนขันธ์ ๕ ให้โลก ไม่ยึดถืออีกแล้ว ที่มันคืนไม่ได้ เพราะว่ามันหวง มันห่วง เพราะว่ามันดี นี่เราทำลายเชื้อเกิดได้ พอมันคืนขันธ์ ๕ ไปนะ คล้ายๆมีเมล็ดต้นไม้ เมล็ดมะม่วงสักเมล็ดหนึ่ง แต่ต้นอ่อนข้างในมันตายไปแล้ว ต้นอ่อนที่มันจะงอกขึ้นมาเป็นขันธ์ ๕ ถูกทำลาย ถ้าเราทำลายความเห็นผิดนะ ว่าจิตนี้เป็นของดีของวิเศษ ขันธ์ ๕ เป็นของดีของวิเศษ ทำลายตัวนี้ได้ เชื้อเกิดจะถูกทำลายไป เมื่อขันธ์ ๕ ไม่ใช่ของดีแล้ว ความอยากให้ขันธ์ ๕ มันสุข ให้มันดี ให้มันสงบ ไม่มีแล้ว รู้ว่ามันไม่ดี ความอยากจะพ้นจากทุกข์ ให้ขันธ์ ๕ พ้นทุกข์ ก็ไม่มี เห็นไหม อยากให้พ้นทุกข์ก็ไม่มีนะ อยากให้สุขก็ไม่มีนะ เพราะรู้แจ้งแล้วว่าทุกข์แน่นอน พอรู้แจ้งอย่างนี้ หมดแรงดิ้น จิตที่หมดแรงดิ้นนี่แหละจะเห็นพระนิพพาน จิตที่ยังดิ้นอยู่ ยังอยากอยู่ นี่มีตัณหาอยู่ ไม่เห็นพระนิพพาน พวกเรามีบุญแล้วนะ ได้ฟังธรรม ฝึกรู้สึกตัวไปบ่อยๆ รู้สึกตัวแล้วอย่ารู้อยู่เฉยๆ ดูรูปดูนาม ดูกายดูใจ ดูขันธ์ ๕ ทำงานเรื่อยไป วันหนึ่งเราก็จะตามพระพุทธเจ้าของเราไปนะ แสดงน้อยลง ตอบกลับ 13 Sompong Tungmepol Sompong Tungmepol2 ปีที่ผ่านมา ถ้าจะเอาสมาธิชนิดที่ใช้เจริญปัญญาต้องคอยรู้ทันจิต เพราะฉะนั้นบทเรียนที่จะได้สมาธิที่รู้ทันจิต ได้สมาธิที่ถูกต้อง ต้องรู้ทันจิต พระพุทธเจ้าถึงได้เรียกว่า “จิตตสิกขา” ศีลสิกขา จิตตสิกขา ได้สมาธิที่ถูกต้อง ให้คอยรู้ทันจิตนะ พุทโธๆ หนีไปคิด รู้ทัน จิตไปเพ่งความนิ่งๆว่างๆอยู่ รู้ทัน ถ้าใช้ลมหายใจก็หายใจไป รู้สึกตัวไป หายใจไปจิตหนีไปคิด รู้ทัน ก็กลับมารู้สึกตัวอีก หายใจไปจิตไปเพ่งอยู่ที่ลมหายใจเพราะว่ากลัวจะหลง ก็เลยไปเพ่งอยู่ที่ลมหายใจ ก็รู้ทันอีกว่าจิตไหลไปเพ่งที่ลมหายใจแล้ว เนี่ยทำกรรมฐานแล้วรู้ทันจิตนะ จิตหนีไปคิดก็รู้ จิตรู้สึกตัวขึ้นมา ก็รู้ จิตไปเพ่งลมหายใจหรือไปเพ่งมือเพ่งเท้าเพ่งท้องอะไร ก็รู้ ฝึกให้มากต่อไปจิตเคลื่อนไปปุ๊บเนี่ย สติจะเกิดเอง เพราะสติจะเกิดได้ไม่ใช่เพราะมีใครสั่งสติให้เกิดได้ สติจะเกิดเมื่อมีเหตุของสติ เหตุใกล้ให้เกิดสติเรียกว่า “ถิรสัญญา” ถอถุงสระอิรอเรือ ถิระ.. สัญญา ถิรสัญญาคือการที่จิตจำสภาวะได้แม่น จิตจะจำสภาวะได้แม่นถ้าจิตเคยเห็นสภาวะบ่อยๆ เพราะฉะนั้นเราจึงต้องพาจิตให้ดูสภาวะบ่อยๆ พุทโธไป หายใจไป จิตหนีไปแล้วรู้เนี่ย ต่อไปจิตหนีไปนะ จิตจำสภาวะที่จิตหนีไปได้แม่น อ้อ..อย่างนี้หลงไปแล้วนะ อย่างนี้ไหลไปเพ่ง อย่างนี้ไหลไปคิด พอจิตจดจำได้แม่นนะ พอไหลไปเพ่งปุ๊บ มันก็รู้สึกตัวขึ้นมาเลย สติระลึกได้ หรือไหลไปคิด จิตจดจำสภาวะที่ไหลไปคิดได้แล้ว พอไหลไปคิดสติระลึกปั๊บ เออนี่ไหลไปคิดแล้ว มีคำว่าแล้วด้วย คือมันเป็นไปก่อน ตอนที่หลงอยู่นะมันมีสติไม่ได้ เพราะตอนที่หลงจิตมีความฟุ้งซ่าน มีโมหะ ตอนที่สติเกิดน่ะมันไม่หลงแล้ว ก็เลยต้องมีคำว่าแล้ว เมื่อกี้นี้เผลอ ตอนนี้รู้สึก เพราะฉะนั้นการดูจิตดูใจนะ เราจะดูตามหลังไปเรื่อยๆ ตามไปติดๆ หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช อ่านเพิ่มเติม ตอบกลับ 3 Sompong Tungmepol Sompong Tungmepol2 ปีที่ผ่านมา ถ้าจะเอาสมาธิชนิดที่ใช้เจริญปัญญาต้องคอยรู้ทันจิต เพราะฉะนั้นบทเรียนที่จะได้สมาธิที่รู้ทันจิต ได้สมาธิที่ถูกต้อง ต้องรู้ทันจิต พระพุทธเจ้าถึงได้เรียกว่า “จิตตสิกขา” ศีลสิกขา จิตตสิกขา ได้สมาธิที่ถูกต้อง ให้คอยรู้ทันจิตนะ พุทโธๆ หนีไปคิด รู้ทัน จิตไปเพ่งความนิ่งๆว่างๆอยู่ รู้ทัน ถ้าใช้ลมหายใจก็หายใจไป รู้สึกตัวไป หายใจไปจิตหนีไปคิด รู้ทัน ก็กลับมารู้สึกตัวอีก หายใจไปจิตไปเพ่งอยู่ที่ลมหายใจเพราะว่ากลัวจะหลง ก็เลยไปเพ่งอยู่ที่ลมหายใจ ก็รู้ทันอีกว่าจิตไหลไปเพ่งที่ลมหายใจแล้ว เนี่ยทำกรรมฐานแล้วรู้ทันจิตนะ จิตหนีไปคิดก็รู้ จิตรู้สึกตัวขึ้นมา ก็รู้ จิตไปเพ่งลมหายใจหรือไปเพ่งมือเพ่งเท้าเพ่งท้องอะไร ก็รู้ ฝึกให้มากต่อไปจิตเคลื่อนไปปุ๊บเนี่ย สติจะเกิดเอง เพราะสติจะเกิดได้ไม่ใช่เพราะมีใครสั่งสติให้เกิดได้ สติจะเกิดเมื่อมีเหตุของสติ เหตุใกล้ให้เกิดสติเรียกว่า “ถิรสัญญา” ถอถุงสระอิรอเรือ ถิระ.. สัญญา ถิรสัญญาคือการที่จิตจำสภาวะได้แม่น จิตจะจำสภาวะได้แม่นถ้าจิตเคยเห็นสภาวะบ่อยๆ เพราะฉะนั้นเราจึงต้องพาจิตให้ดูสภาวะบ่อยๆ พุทโธไป หายใจไป จิตหนีไปแล้วรู้เนี่ย ต่อไปจิตหนีไปนะ จิตจำสภาวะที่จิตหนีไปได้แม่น อ้อ..อย่างนี้หลงไปแล้วนะ อย่างนี้ไหลไปเพ่ง อย่างนี้ไหลไปคิด พอจิตจดจำได้แม่นนะ พอไหลไปเพ่งปุ๊บ มันก็รู้สึกตัวขึ้นมาเลย สติระลึกได้ หรือไหลไปคิด จิตจดจำสภาวะที่ไหลไปคิดได้แล้ว พอไหลไปคิดสติระลึกปั๊บ เออนี่ไหลไปคิดแล้ว มีคำว่าแล้วด้วย คือมันเป็นไปก่อน ตอนที่หลงอยู่นะมันมีสติไม่ได้ เพราะตอนที่หลงจิตมีความฟุ้งซ่าน มีโมหะ ตอนที่สติเกิดน่ะมันไม่หลงแล้ว ก็เลยต้องมีคำว่าแล้ว เมื่อกี้นี้เผลอ ตอนนี้รู้สึก เพราะฉะนั้นการดูจิตดูใจนะ เราจะดูตามหลังไปเรื่อยๆ ตามไปติดๆ หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช แสดงน้อยลง ตอบกลับ 2 Sompong Tungmepol Sompong Tungmepol2 ปีที่ผ่านมา รู้อยู่ที่กาย รู้อยู่ที่ใจ ทำยังไงเราจะรู้กายรู้ใจได้ ตัวนี้ตัวสำคัญ ต้องค่อยๆ เรียน ค่อยๆ ศึกษา เพราะเราจะรู้สึกว่าเรารู้กายรู้ใจตัวเองอยู่แล้ว ทั้งที่ในความเป็นจริงในโลกนี้ไม่มีคนรู้กายรู้ใจตัวเองหรอก มีแต่คนหลง มีแต่คนเผลอ คนที่สามารถรู้กายรู้ใจตัวเองได้ มีนับตัวได้ ส่วนมากก็คือเราจะตื่นขึ้นมาแต่กาย แต่ใจเรานี่จะคิดๆ ฝันๆ ไปทั้งวัน ใจเราไม่ตื่นนะ ใจเราจะคิด ใจเราจะฝันไปเรื่อยๆ ต้องค่อยๆ ฝึกจนใจของเราตื่นขึ้นมา ตื่นทั้งกายตื่นทั้งใจนะ จิตใจที่ตื่นขึ้นมานั้นแหละ คือตัว "พุทโธ" ที่เรียกว่า ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน จิตใจของเราไม่ใช่ ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน จิตใจของเราส่วนใหญ่ในโลก เป็นผู้คิด ผู้นึก ผู้ปรุง ผู้แต่ง ไม่ใช่ ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน สังเกตให้ดี ใจเรานี้ตั้งแต่ตื่นนอนจนหลับ เราคิดทั้งวัน เรารู้เรื่องราวที่เราคิด สังเกตให้ดีนะ พวกเราเวลาเราคิดอะไรไป เรามักจะรู้เรื่องที่เราคิด เรื่องราวที่เราคิดนี้เรียกว่า สมมติบัญญัติ แต่ในขณะที่เรารู้เรื่องราวที่เราคิด เราจะลืมกายลืมใจตัวเอง มีกายก็เหมือนไม่มี เช่น นั่งอยู่ ไม่รู้ว่านั่งอยู่ นั่งฟังหลวงพ่อพูด รู้เรื่องพยักหน้าหงึกๆ หงึกๆ แต่ใจไปที่อื่น เราไม่รู้กาย ร่างกายเคลื่อนไหว ไม่รู้สึก เราไม่รู้ใจตัวเอง จิตใจเราเป็นสุขก็ไม่รู้ เป็นทุกข์ก็ไม่รู้ เฉยๆ ก็ไม่รู้ เป็นกุศลก็ไม่รู้ เป็นอกุศลก็ไม่รู้ เราไม่รู้อะไรเลยที่เกี่ยวกับตัวเราเอง ไม่รู้อะไรเกี่ยวกับกายกับใจ เรารู้แต่เรื่องราวที่เราคิดเอาเอง การที่รู้เรื่องราวที่เราคิดเอาเองนั่นแหละ เรียกว่า รู้สมมติบัญญัติ ในขณะที่การรู้กายรู้ใจ เรียกว่า รู้อารมณ์ปรมัตถ์ คือรูปนาม เรียกว่ากายกับใจก็แล้วกันนะ ให้คอยรู้กายรู้ใจ คนในโลกไม่รู้กายรู้ใจ มีแต่คนลืมตัว มีแต่คนหลง มีแต่คนเผลอ เผลอคิดทั้งวัน เวลาเราดู เราก็เผลอดู เวลาฟัง เราก็เผลอฟัง เวลาคิด เราก็เผลอไปคิด ลืมกายลืมใจตัวเองตลอดเวลา เมื่อเราลืมกายลืมใจตลอดอย่างนี้ เราก็ไม่สามารถเรียนรู้กาย เรียนรู้ใจ ปัญญามันไม่เกิด ไม่สามารถเข้าใจความเป็นจริงของกายของใจได้ว่ามันไม่ใช่ตัวเราหรอก เราไปหลงยึดติดอยู่ ความเป็นตัวเราก็เกิดขึ้นมา ทีนี้ทำยังไงเราจะรู้กายรู้ใจได้ ศัตรู ของการรู้กายรู้ใจของเรามีสองอย่าง ศัตรูหมายเลขหนึ่ง ก็คือ การที่เราหลงไปอยู่กับความคิดของเรา ถ้าเมื่อไหร่เราสามารถรู้ทันว่าใจเราไหลไปคิดแล้ว เมื่อนั้นเราจะตื่นขึ้นในฉับพลัน เพราะฉะนั้น การปฏิบัตินี้ ถ้าเข้าใจสิ่งที่พระพุทธเจ้าบอก เราจะตื่นขึ้นในฉับพลัน ธรรมะนี่ถ้าใครเข้าถึงแล้วจะอุทานเลยว่า "อัศจรรย์จริงๆ อัศจรรย์" ดูในพระไตรปิฎก เวลาพระพุทธเจ้าเทศน์จบ คนจะอุทาน "อัศจรรย์จริงๆ แจ่มแจ้งนักพระเจ้าข้า แจ่มแจ้งนัก" ไม่ใช่ว่า "สับสนนักพระเจ้าข้า" แต่จะพูดว่า "แจ่มแจ้งนักพระเจ้าข้า เหมือนเปิดของคว่ำให้หงาย" ของง่ายๆ นะ ศัตรูหมายเลขสอง คือการเพ่งกายเพ่งใจ ทำให้ไม่สามารถรู้กายรู้ใจตามความเป็นจริงได้ เพราะมันนิ่งไปหมด พระพุทธเจ้าเป็นคนจุดไฟขึ้นมา แล้วคนตาดีก็มองเห็นแสงสว่าง มองเห็นสิ่งต่างๆ เพราะฉะนั้น ธรรมะจริงๆ ไม่ใช่เรื่องยาก เพียงแต่พวกเราไม่ค่อยได้ยิน ไม่ค่อยได้ฟัง เราชอบไปคิดเอาเอง ชอบหลงอยู่ในโลกของความคิด การตื่นขึ้นมาอยู่ในโลกของความเป็นจริง เป็นสิ่งที่ยากที่สุด ทางลัดที่สุดที่จะตื่นขึ้นมา ก็คือรู้ทันว่าใจเราหนีไปคิดแล้ว มีครูบาอาจารย์องค์หนึ่ง ไม่ใช่สายวัดป่า หลวงพ่อเทียน วัดสนามใน หลวงพ่อเทียนท่านสอนเหมือนกัน ธรรมะมันลงกัน สายไหนก็เหมือนกัน ถ้าทำถูกต้องก็อันเดียวกัน หลวงพ่อเทียนท่านสอนว่า "ถ้าเมื่อไหร่รู้ว่าจิตคิด จะได้ต้นทางของการปฏิบัติ" รู้ว่าจิตคิดนะ ไม่ใช่รู้เรื่องที่จิตคิด สองอันนี้ไม่เหมือนกัน ในโลกนี้มีแต่คนรู้เรื่องที่จิตคิด แต่ไม่รู้ว่าจิตกำลังแอบไปคิดอยู่ เพราะฉะนั้น หน้าที่ของเราค่อยๆ ศึกษา ค่อยๆ สังเกตตัวเองไป แสดงน้อยลง ตอบกลับ
การนั่งสมาธิให้จิตนิ่ง กับการบรรลุธรรม เป็นคนละเรื่องกันนิพพานไม่เคยหายไปไหน นิพพานอยู่ต่อหน้าต่อตาเรา เมื่อไหร่เราเห็นนิพพานครั้งแรก เราก็จะได้เป็นพระโสดาบัน อย่างตอนนี้เราอยู่กับนิพพานนะ แต่เราไม่เห็น เพราะอะไร เพราะใจเราไม่มีคุณภาพพอ นิพพานเป็นสภาวะที่สิ้นกิเลสตัณหา เรียกว่า “วิราคะ” ใจของคนซึ่งยังมีกิเลสตัณหา มันก็ไม่เห็นนิพพาน นิพพานเป็นสภาวะที่สิ้นความปรุงแต่ง เรียกว่า “วิสังขาร” ใจของคนที่ยังปรุงแต่ง ก็ไม่เห็นนิพพาน พวกเราปรุงแต่งทั้งวัน รู้สึกมั้ย ใจเราฟุ้งซ่านทั้งวันนะ เดี่ยวปรุงดี เดี๋ยวปรุงชั่ว เดี๋ยวปรุงว่างๆขึ้นมา สารพัดจะปรุง นิพพานพ้นจากความปรุงแต่งไป แต่ใจที่ปรุงแต่งก็จะไม่เห็นนิพพาน นิพพานนั้นพ้นจากรูป จากนาม จากกาย จากใจ ไม่ยึดถือกาย ไม่ยึดถือใจเมื่อไหร่ก็จะเห็นนิพพาน ถ้ายังยึดถือกาย ยึดถือใจอยู่ ก็ไม่เห็นนิพพานนะ งั้นถ้าเราค่อยๆพัฒนาใจของเรา จนมันหมดกิเลสตัณหา หมดความดิ้นรนปรุงแต่ง หมดความยึดถือในรูปในนามในกายในใจ ถึงไม่อยากจะเห็นนิพพานก็จะเห็น เพราะนิพพานนะ อยากเห็นก็ไม่เห็นหรอก แต่หมดกิเลสเมื่อไหร่ หมดความปรุงแต่งเมื่อไหร่ หมดความยึดถือในกายในใจเมื่อไหร่ มันเห็นของมันเอง แสดงน้อยลง ตอบกลับ 6 Sompong Tungmepol Sompong Tungmepol8 เดือนที่ผ่านมา หลักของวิปัสสนากรรมฐานเป็นสิ่งที่ชาวพุทธทุกคนควรอย่างยิ่งที่จะเรียน ถ้ามีสติปัญญาพอนะ ต้องเรียน ถ้าเราไม่เรียนวิปัสสนากรรมฐาน เรียกว่าเราไม่ได้รับประโยชน์ที่แท้จริงของพระพุทธศาสนาเลย วิปัสสนากรรมฐานคือวิชา วิชาๆหนึ่ง ที่สอนให้เราเรียนรู้ความจริงของชีวิต ไปเรียนรู้ความจริงของรูปธรรมนามธรรม ของกายของใจ ของธาตุของขันธ์ ที่ประกอบกันขึ้นเป็นตัวเรา เป็นศาสตร์สาขาหนึ่งเท่านั้นแหละ อย่าไปคิดว่าเป็นอะไรที่น่ากลัวลึกลับเหลือเกิน เราเป็นนักศึกษาเราก็วางใจแค่ว่าวิปัสสนากรรมฐานก็เป็นวิชาๆหนึ่ง เป็นศาสตร์สาขาหนึ่งเท่านั้นเอง ไม่ยากเกินไปที่จะเรียนนะ หัวใจแท้ๆเลยของวิปัสสนากรรมฐานนี่นะ คือทำยังไงเราจะเห็นความจริงของขันธ์ ๕ ของธาตุของขันธ์ ของอายตนะ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ รวมกันเป็นตัวเรา ธาตุต่างๆรวมกันก็เป็นตัวเรา ขันธ์ต่างๆรวมกันก็เป็นตัวเรา แล้วแต่จะมอง จะมองในมุมจะแยกสิ่งที่เรียกว่าตัวเราออกในมุมของขันธ์ ๕ ก็ได้ จะแยกสิ่งที่เรียกว่าตัวเรา ออกในมุมของอายตนะ ๖ ก็ได้ จะแยกสิ่งที่เรียกว่าตัวเรา ออกเป็นธาตุ ๑๘ ธาตุก็ได้ ไม่ใช่ธาตุทางเคมี ธาตุเป็นสภาวะที่มันทรงตัวอยู่ได้ แยกออกไปแล้วมันจะเห็นว่าตัวเราไม่มี ความจริงเลยก็คือตัวเราไม่มีหรอก สิ่งที่เราคิดว่าเป็นตัวเรา เป็นตัวเรา นี่เป็นความคิดของเราเอง เพราะฉะนั้นมนุษย์ทั้งหลายเนี่ย ไม่ได้ถูกใครหลอกนะ ถูกความคิดของตัวเองหลอก ความคิดหลอกเพราะว่าเราไม่รู้ความจริง เราไม่เคยเห็นความจริง เราไม่รู้วิธีที่จะรู้ความจริง วิธีที่จะรู้ความจริงนั่นแหละเรียกว่าวิปัสสนากรรมฐาน พูดง่ายๆเลยนะ จับหลักให้แม่นๆนะ หลวงพ่อพยายามกลั่นกรองออกมาเพื่อเป็นภาษาที่มนุษย์สมัยนี้จะรู้เรื่อง วิธีที่จะทำวิปัสสนากรรมฐานนะ ให้มีสติ ฟังให้ดีนะ ให้มีสติ รู้ รู้อะไร รู้รูปรู้นาม รู้กายรู้ใจ ของตัวเอง ให้รู้นะไม่ได้ให้คิด ให้รู้นะไม่ใช่ให้เข้าไปแทรกแซง มันเป็นอย่างไร รู้ว่าเป็นอย่างงั้น งั้นหลักของวิปัสสนาจริงๆ ก็คือการมีสติ รู้รูปนาม ตามความเป็นจริงนั่นเอง ความจริงของรูปนาม ไม่มีอะไรเกินคำว่าไตรลักษณ์ ความจริงมีแต่เรื่องอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา รูปเที่ยงหรือรูปไม่เที่ยง? รูปไม่เที่ยง เวทนาเที่ยงหรือไม่เที่ยง? เวทนาก็ไม่เที่ยง สัญญา สังขาร วิญญาณ ไม่เที่ยง เห็นไหม รูปเป็นสุขหรือรูปเป็นทุกข์? ดูให้ดีนะ ดูไม่ดีก็รู้สึกเป็นสุขบ้างเป็นทุกข์บ้าง ถ้าเมื่อไหร่สติปัญญาแก่รอบจริงๆ จะเห็นรูปนี้เป็นทุกข์ เพียงแต่ทุกข์มากกับทุกข์น้อย ช่วงไหนทุกข์น้อย คนสติปัญญาไม่พอก็ว่าเป็นสุข เวทนานั้นน่ะเป็นทุกข์หรือเป็นสุข? มีสุขเวทนาด้วยนะ สุขเวทนาก็เป็นทุกข์ คือตัวมันเองน่ะถูกบีบคั้นตลอดเวลา ในที่สุดมันก็ทนอยู่ไม่ได้ มันทนอยู่ไม่ได้ตลอดหรอกความสุข งั้นเราไม่ภาวนาเพื่อหาความสุข เพราะอะไร เพราะความสุขไม่เที่ยง ไปหาของไม่เที่ยงก็ได้แต่ของไม่เที่ยง สุขประเดี๋ยวประด๋าวก็ทุกข์อีกแล้ว หลวงพ่อตั้งแต่เด็ก หัดทำสมาธิ ทำไปจิตใจมีความสุข มันก็อยู่ชั่วคราวเดี๋ยวมันก็ไม่สุขอีกแล้ว จิตใจมีความสงบ มันก็อยู่ชั่วคราวเดี๋ยวมันก็ไม่สงบอีกแล้ว งั้นเราจะไปมุ่งหาของที่ชั่วคราวนี่มาเป็นที่พึ่งที่อาศัย ยังเรียกว่าประมาทอยู่ สิ่งที่เป็นที่พึ่งที่อาศัยของเราได้จริง ต้องเที่ยง ต้องสุข ต้องมีความสุข ต้องเป็นของที่เที่ยงด้วย พึ่งพาได้จริงๆ อะไรที่พึ่งพาได้จริงๆ? คือธรรมะนั่นเอง ธรรมนะนี่คงทนถาวร พระพุทธเจ้าหมดไปกี่องค์ๆ ธรรมะก็ยังเป็นธรรมะอย่างเดิมนั่นเอง สิ่งนี้แหละจะเป็นที่พึ่งที่อาศัยของเราได้จริงๆ ธรรมะก็สอนความจริงเรา งั้นวิธีที่จะให้รู้ความจริงของชีวิตมีหลักง่ายๆ ตอนนี้ท่องไว้ก่อน ให้มีสติ รู้รูปนาม ถ้ารูปนามฟังยากก็ลดระดับลงมานิดนึง ให้มีสติ รู้กายรู้ใจ ตามความเป็นจริง ความจริงของกายของใจคือไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตานะ ไม่เที่ยงหมายถึงว่า ของที่เคยมีแล้ววันหนึ่งก็ไม่มี ของที่เคยไม่มี วันหนึ่งก็เกิดมีขึ้นมา นี้เรียกว่าไม่เที่ยง คำว่าเป็นทุกข์ หมายถึงมันถูกบีบคั้น มันทนอยู่ในสภาวะเดิมตลอดไปไม่ได้ คำว่าอนัตตาหมายถึงว่า ไม่อยู่ในอำนาจบังคับ ไม่มีสิ่งที่เรียกว่าตัวตนถาวร มีความรู้สึกเป็นตัวเป็นตน มีเป็นแว๊บๆตอนที่หลงคิดเท่านั้นเอง เมื่อไรไม่หลงคิดตัวตนไม่มีหรอก ทุกสิ่งเกิดแล้วดับ เพราะงั้นไม่มีอะไรที่เป็นตัวตนถาวร กระทั่งจิตเองเกิดแล้วก็ดับ ไม่มีอะไรเป็นตัวตนถาวร นี่คือความจริงของรูปของนาม ของกายของใจ คือไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ให้มีสติรู้กายรู้ใจตามความเป็นจริง เราจะรู้กายรู้ใจได้ ต้องรู้ด้วยสติ เราจะเห็นความจริงของกายของใจได้ ต้องเห็นด้วยปัญญา เครื่องมือที่ทำให้เราทำวิปัสสนา คือสติกับปัญญา แต่ปัญญาโดยตัวของมันเอง อยู่ๆไม่เกิดขึ้นมา ปัญญาเกิดจากอะไร? ปัญญามีสมาธิเป็นเหตุใกล้ให้เกิด เพราะงั้นเครื่องมือจริงๆที่เราต้องพัฒนาขึ้นมานะ สติกับสมาธินะ ถ้ามีสติกับสมาธิแล้วปัญญาจะเกิด พอสติกับสมาธิปัญญาแก่รอบสมบูรณ์ ได้สัดได้ส่วนกัน อริยมรรคก็จะเกิดขึ้น อริยมรรคมีจริงๆ ไม่ใช่กันพูดลอยๆ ไม่ใช่อยู่ๆก็นึกว่าฉันบรรลุมรรคผลนิพพานแล้ว อริยมรรคมีกระบวนการ มีกระบวนการเกิดขึ้นนะ มีกระบวนการที่เกิดขึ้น ไม่ใช่อยู่ๆก็นึกๆว่าเกิดแล้ว กระบวนการแห่งการเกิดอริยมรรคเกิดขึ้นใน ๗ ขณะจิตแค่นั้นเอง ในกระบวนการนี้นะใช้เวลา ๗ ขณะจิตที่จะเกิด และเวลาที่เกิดอริยมรรคนั้น ๑ ใน ๗ เท่านั้น ถัดจากนั้นเกิดอริยผล ๒ หรือ ๓ ขณะจิต จะเป็นอย่างนั้น เพราะงั้นมีกระบวนการนะ จิตใจเรามีกระบวนการทำงาน ถ้าหัดภาวนา หัดฝึกอย่างที่หลวงพ่อสอนไปเรื่อย เราจะเห็นกระบวนการทำงานของจิต เราจะรู้เลยจิตมันปรุงความเป็นตัวตนขึ้นมาได้ยังไง จิตมันปรุงความทุกข์ขึ้นมาได้ยังไง จิตที่ทรงสมาธิแล้วจะทำให้เกิดปัญญาเนี่ย สมาธิมีสองชนิด นี่ก็ต้องศึกษาเหมือนกัน สมาธิที่คนทั้งโลกเขาเรียนกันคือสมาธิสงบ สงบหมายถึงว่าจิตไม่ฟุ้งซ่านไปในอารมณ์ต่างๆ แต่จิตสงบแน่วแน่อยู่ในอารมณ์อันเดียว เช่นเราหัดพุทโธจิตก็อยู่กับพุทโธไม่หนีไปที่อื่น หัดรู้ลมหายใจจิตอยู่กับลมหายใจไม่หนีไปที่อื่น หัดดูท้องพองยุบจิตอยู่ที่ท้องพองยุบไม่หนีไปที่อื่น จิตที่แนบสนิทอยู่ในอารมณ์อันเดียวนี่มีสมาธิ แต่เป็นสมาธิที่มีชื่อเฉพาะนะ สมาธิชนิดนี้ชื่อ อารัมมณูปนิชฌาน ต้องเรียนนะตัวนี้สำคัญมากเลย ที่ทุกวันนี้ที่ภาวนาไม่ได้ผลนะ เพราะแยกสมาธิสองชนิดไม่ได้ สมาธิมีสองชนิด ชนิดที่หนึ่งชื่อ อารัมมณูปนิชฌาน ชนิดที่สองชื่อ ลักขณูปนิชฌาน อารัมมณูปนิชฌาน เนี่ยจิตสงบแน่วแน่อยู่ในอารมณ์อันเดียว เน้นที่ความสงบ จิตสงบแน่วแน่อยู่ในอารมณ์อันเดียว ไม่ฟุ้งไปในอารมณ์โน้นอารมณ์นี้นะ นี้ก็มีวิธีฝึก ฝึกให้จิตอยู่ในอารมณ์อันเดียว เช่นพุทโธ พุทโธ จิตหนีไปแล้วรู้ทันนะ จิตก็จะอยู่ในอารมณ์อันเดียว สุดท้ายจิตเชื่อง มีความสุขอยู่ในอารมณ์อันเดียว เคล็ดลับอยู่ที่ความสุข ถ้าเมื่อไหร่มีความสุขจะมีความสงบนะ สมาธิอีกชนิดหนึ่ง เป็นสมาธิที่อาภัพที่สุดเลย ที่ครูบาอาจารย์สอนดูจิตๆ เพื่อจะสร้างสมาธิชนิดนี้เพื่อจะฝึกให้จิตเนี่ยเป็นผู้รู้ผู้ดู จิตเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน จิตที่เป็นพุทโธ พุทโธแปลว่าผู้รู้ผู้ตื่นผู้เบิกบาน เราจะฝึกจิตจนกระทั่งเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน จิตชนิดนี้ไม่ได้เน้นที่สงบ แต่จิตชนิดนี้ตั้งมั่นในการรู้อารมณ์ สมาธิชนิดแรกจิตอยู่ในอารมณ์อันเดียว จิตมีหนึ่ง อารมณ์มีหนึ่ง สมาธิชนิดที่สองเนี่ย อารมณ์มีแสนอารมณ์ล้านอารมณ์ก็ได้ แต่จิตตั้งมั่นเป็นคนดูอยู่นะ ตัวนี้แหละตัวสำคัญเลยที่จะแตกหักเลยนะว่าเราจะบรรลุมรรคผลนิพพานได้หรือไม่ จะเจริญวิปัสสนาได้หรือไม่ อยู่ที่ว่าเราได้พัฒนาจิตจนเกิดสมาธิชนิดที่ตั้งมั่นเป็นผู้รู้ผู้ดูนี้หรือไม่ ถ้าจิตตั้งมั่นเป็นผู้รู้ผู้ดูได้เรียกว่ามี ลักขณูปนิชฌาน ลักขณูปนิชฌาน นี้คือตั้งมั่นในการรู้ลักษณะ เห็นความเป็นไตรลักษณ์ ไม่ได้ดูตัวอารมณ์แล้ว ตอนที่จิตทำสมถะนะ จิตทำสมถะ ทำอารัมมณูปนิชฌานเนี่ยจิตไปรู้ตัวอารมณ์ เช่นรู้พุทโธ รู้ลมหายใจ รู้ท้องพองยุบ อะไรที่ถูกรู้สิ่งนั้นเรียกว่าอารมณ์ทั้งสิ้นเลย คำว่าอารมณ์ในศาสนาพุทธนะ เรียกว่าสิ่งที่ถูกรู้ เพราะงั้นสมถะกรรมฐานนี่จิตไปรู้ตัวอารมณ์ ไปแนบอยู่ที่ตัวอารมณ์ สงบอยู่ที่ตัวอารมณ์ ลักขณูปนิชฌาน ไม่ดูตัวอารมณ์แต่ดูไตรลักษณ์ เห็นความเป็นไตรลักษณ์ของอารมณ์ อารมณ์จะมีร้อยอารมณ์ ทุกอารมณ์ก็แสดงไตรลักษณ์ อารมณ์จะมีพันอารมณ์ ทุกอารมณ์ก็แสดงไตรลักษณ์ จิตตั้งมั่นเป็นคนดูไตรลักษณ์ งั้นอารมณ์นะไหลตลอดเวลาเลย มันคือปรากฏการณ์ของรูปธรรมนามธรรมที่เคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาในขณะที่จิตเป็นแค่คนดู เหมือนเราดูฟุตบอลอยู่บนอัฐจรรย์นะ ไม่โดดลงไปในสนามฟุตบอล ดูอยู่เห็นภาพในสนามได้ชัดเจน และต้องไม่มีอคติด้วย ถ้ามีอคติก็เห็นไม่ชัดใช่ไหม หรือดูมวย เราเป็นคนดู เราไม่โดดขึ้นไปอยู่ในเวทีมวย เดี๋ยวถูกชกด้วย เราอยู่ข้างนอกเวที ดูด้วยใจที่เป็นกลาง เราจะเห็นเลยว่าใครชกดี ชกไม่ดี ถ้าดูแบบมี Bias(อคติ) ใช่ไหม นักมวยของเราชกไม่ถูกเค้า ชกเฉียดๆเราก็ว่าถูกแล้ว เพราะงั้นเวลาเราจะทำวิปัสสนานะ มันจะมีเคล็ดลับ สมาธิชนิดที่เป็นลักขณูปนิชฌานเนี่ย อันหนึ่งนะคือตั้งมั่น อันที่สองคือเป็นกลาง คุณสมบัติของมันนะ ตั้งมั่น และเป็นกลาง หลวงพ่อจะสอนเรื่อยๆบอกว่า ถ้าเราจะเจริญปัญญานะ ให้มีสติ รู้กายรู้ใจตามความเป็นจริง เราจะรู้ตามความเป็นจริงได้ เราต้องรู้ด้วยจิตที่ตั้งมั่นและเป็นกลาง จิตที่ตั้งมั่นและเป็นกลาง คือจิตที่ทรงสมาธิชนิดที่เรียกว่าลักขณูปนิชฌานนั่นเองนะ มีสติ สติเป็นยังไง สติทำหน้าที่ยังไง ทำยังไงสติจะเกิดขึ้น สติเป็นยังไง สติทำหน้าที่อะไร ถ้าสติทำงานขึ้นมาแล้ว อะไรจะเกิดขึ้น อะไรเป็นเหตุให้สติเกิดขึ้น ๔ อย่าง มันคืออะไร สติคืออะไร สติทำหน้าที่อะไร ถ้าสติทำหน้าที่แล้วจะมีผลยังไง ผลของมันนะคือการคุ้มครองรักษาจิตนะ ทันทีที่สติเกิดอกุศลดับทันทีเลย ทันทีที่สติเกิดนะ กุศลเกิดทันทีเลย เนี่ยผลของการที่มีสตินะ จะมีความเพียรชอบขึ้นมาได้ สติเกิดจากอะไร? เกิดจากจิตจำสภาวะได้แม่น มีสติรู้ รู้ไม่ใช่ใช่เผลอไปคิดเอา รู้ไม่ใช่นั่งเพ่งนั่งจ้องเอาไว้ รู้คือไม่เผลอกับไม่เพ่ง รู้อะไร รู้กายรู้ใจ วิธีรู้กายรู้ลงปัจจุบัน เป็นปัจจุบันขณะ วิธีดูจิตดูใจ เป็นปัจจุบันสันตติ คือสืบเนื่องกับปัจจุบัน ไม่ใช่ปัจจุบันขณะ นี่ต้องเรียนทั้งสิ้นนะ ค่อยๆเรียนไป ตามความเป็นจริง คือต้องเห็นไตรลักษณ์ ถ้าไปเห็นอย่างอื่นของกายของใจ เช่นเห็นปฏิกูลอสุภะ ไม่ใช่วิปัสสนากรรมฐานนะ จะเห็นความจริงของธาตุของขันธ์ของกายของใจ จะเห็นไตรลักษณ์ได้ ต้องมีสมาธิ จิตต้องตั้งมั่นและเป็นกลาง งั้นเราจะเรียนอยู่ในขอบเขตนี้แหละ มีสติ รู้กายรู้ใจตามความเป็นจริง ด้วยจิตที่ตั้งมั่นและเป็นกลาง เดี๋ยวค่อยไปแตกรายละเอียดเอานะ แต่ละตัวถ้าเข้าใจแล้วการปฏิบัติจะสั้นนิดเดียว ถ้าไม่เข้าใจจะลูบคลำนานเลย สติทำไม่เป็นเนี่ยกี่ชาติก็ไม่ได้ มีสติแล้วไปเพ่งเอา กี่ชาติก็ไม่ได้ หรือไม่สติแล้วไปคิดเรื่องไตรลักษณ์ กี่ชาติก็ไม่ได้ มีสติแล้วแต่จิตไม่ตั้งมั่น จิตไปแนบสงบนิ่งอยู่กับอารมณ์ ไม่ตั้งมั่นเป็นกลาง ก็ไม่ได้ กี่ชาติก็ไม่ได้ งั้นเราค่อยๆเรียนสิ่งเหล่านี้ขึ้นมาให้ได้ แสดงน้อยลง แสดงน้อยลง ตอบกลับ ดูการตอบกลับทั้ง 4 รายการ Sompong Tungmepol Sompong Tungmepol2 เดือนที่ผ่านมา ถ้าจิต สมาธิ ปัญญา ศีล สมาธิ ปัญญา บุญ บารมี แก่รอบแล้ว จิตหยุดความปรุงแต่งแล้ว มันจะรวมเข้าอัปนาสมาธิ รวมเอง ทำไมมันรวมเข้าอัปนาสมาธิได้เอง เพราะว่าจิตไม่ไหลไปตามกาม ฌานจะเกิดเอง โดยธรรมชาติของจิตนี้ต้องเวียนอยู่ในภพ ภพที่จิตเวียนอยู่ได้ มีอยู่ ๓ ภพ เท่านั้น ๑ กามวจรภพ ภพที่เวียนไปในกาม คือ หาอารมณ์เพลิดเพลินไปทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย เพลินไปเรื่อย พวกเราจิตหมุนอยู่ติ้วๆ ทาง หู ตา จมูก ลิ้น กาย นึกออกมั้ย อันนี้แหละเรียกว่า กามภพ เรียกให้เต็มยศนะ เรียกว่า กามวจรภูมิ ใจก็ไปเวียนอยู่อย่างนี้ ถ้าหลุดออกจากกามภพแล้วนะ ก็จะเข้าไปรูปภพ หรือรูปภูมิ ก็คือ ไปสงบอยู่กับการรู้รูป เช่น รู้ลมหายใจแล้วจิตไม่เอาแล้วโลกข้างนอก อารมณ์ทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ไม่เห็นจะมีสาระอะไรเลย จิตมารวมลงที่อารมณ์ภายในอันเดียว อาจจะมารู้ลมหายใจอยู่อันเดียว รู้ร่างกายอยู่อันเดียว มาเพ่งรูปอยู่อันเดียว เพ่งดวงกสิณ ดวงนิมิตอยู่อันเดียว จิตเพ่งรูปอยู่เรียกว่ารูปภูมิ ถ้าจิตไม่อยู่ในกามภูมิ ไม่อยู่ในรูปภูมิ จิตก็ต้องเข้าอรูปภูมิ ทิ้งรูปไปแล้วไปอยู่กับนามธรรม เช่นไปอยู่กับความว่าง จิตอยู่ในความว่าง อยู่กับความไม่มีอะไรเลย เพราะฉะนั้นบางคนที่เขาสอนให้ภาวนาเพื่อให้ไปอยู่กับความว่าง อันนั้นเพี้ยนนะ ไม่ใช่ทางของพระพุทธเจ้า มันก็เป็นอรูปภูมิ เป็นภูมิอีกภูมิหนึ่ง เป็นภพอีกภพหนึ่งเท่านั้นเอง ทีนี้ถ้าสติปัญญาเราพอนะ เรารู้เลย จิตแส่ส่ายออกทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย มีแต่ทุกข์ จิตไม่แส่ส่าย จิตก็หลุดออกกามภูมิ เข้ารูปภูมิ หรืออรปภูมิ เข้าเองเลยนะ เพราะฉะนั้นอย่างพวกเรา หัดเจริญสติไปเรื่อย พอ ศีล สมาธิ ปัญญา สติ สมาธิ ปัญญา แก่รอบนะ จิตจะหมดความหลงใหล รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ทั้งหลาย มาดึงดูจิตไหลไปไม่ได้แล้ว อย่างน้อยก็ชั่วขณะ ชั่วขณะเท่านั้นแหละ ชั่วขณะ จิตจะตั้งมั่น รู้ว่าไหลออกไปแล้วทุกข์ ก็ตั้ง เด่นดวง จิตก็เข้าฌานอัตโนมัติ เพราะฉะนั้น ถึงเราจะเจริญสติ เจริญปัญญา โดยเข้าฌานไม่เป็น ถึงนาทีสุดท้าย ที่จะเกิดอริยมรรค อริยผล ในทุกขั้นตอน ตั้งแต่โสดาปัตติมรรค จนถึงอรหัตตมรรค จิตจะเข้าฌานของเขาเองนะ จิตจะเข้าฌานของเขาเอง ยกเว้นคนซึ่งเดินปัญญาอยู่ในฌาน เวลาที่จะเกิอริยมรรคเนี่ย ไม่ต้องถอยออกมาอยู่กับโลกก่อนนะ ไม่ต้องกลับมาอยู่ในกามภูมิก่อน จิตก็ไปตัดอยู่ข้างในได้เลยนะ นี่เป็นอีกพวกหนึ่ง แต่รวมความก็คือ อริยมรรค ไม่เกิดอยู่ในจิตที่อยู่ในกาม อย่างพวกเรา อริยมรรคจะต้องเกิดในรูปภูมิ หรืออรูปภูมินะ จะเกิดกันตรงนั้น จะล้างกันตรงนั้น เพราะฉะนั้นจิตจะเข้าฌานอัตโนมัติ 540805.12m44-15m52 หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช สวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี แสดงน้อยลง ตอบกลับ Varut Wichai Varut Wichai8 เดือนที่ผ่านมา อย่าพึ่งเป็นอะไรเลยท่านเทศดีมากผมเข้าใจเยอะมาก ตอบกลับ สมพงศ์ อินดัสเตรียล อิเล็กทรอนิคส์ สมพงศ์ อินดัสเตรียล อิเล็กทรอนิคส์6 เดือนที่ผ่านมา ทางสายกลางมีอยู่ ถ้าเราอยากพ้นทุกข์จริงๆ เบื้องต้นหัดรู้สึกตัวไว้ก่อน การที่เราคอยรู้เนื้อรู้ตัวนี่เราจะไม่หลงตามกิเลสไป แต่ให้รู้ ไม่ใช่ให้เพ่ง ไม่ใช่ให้บังคับ ไม่ใช่ให้ดัดแปลง ถ้าเพ่ง ถ้าบังคับ ถ้าดัดแปลง อันนี้คือการบังคับตัวเอง มีผลให้เราได้เป็นมนุษย์ที่ดี เป็นเทวดา เป็นพรหม ถึงวันหนึ่งก็เสื่อมอีก ยังไม่พ้นการเวียนว่ายตายเกิด ...พยายามรู้สึกตัวขึ้นมานะ แล้วมาเรียนรู้ความจริงของรูปของนาม ถ้าจิตใจยังติดใจในรูปในนามอยู่ ก็ยังเวียนว่ายตายเกิดอยู่ ยังก่อภพก่อชาติไปไม่สิ้นสุด แสวงหารูปนามใหม่ๆ ขันธ์ ๕ ใหม่ๆไปเรื่อยๆ เพราะใจยังติดอยู่ แต่ถ้าจิตมีสติปัญญาแก่รอบขึ้นมา เห็นขันธ์ ๕ ไม่ใช่สาระแก่นสาร พอจิตเห็นขันธ์ ๕ ไม่ใช่สาระแก่นสาร ความหวังที่จะให้ขันธ์ ๕ มันดี ขันธ์ ๕ มันสุข ขันธ์ ๕ มันสงบ ไม่มี มันดีไปไม่ได้หรอก มันเป็นตัวทุกข์ มันสุขไปไม่ได้หรอก มันทุกข์ มันสงบ มันก็สงบอยู่ไม่ได้จริงหรอก มันยังถูกความทุกข์บีบคั้นอยู่ตลอด ถ้าเมื่อไหร่เราเห็นขันธ์ ๕ ตกอยู่ใต้ความจริง เห็นความจริงของรูปนาม จิตจะคลายความยึดถือ ความยินดีในขันธ์ ๕ เมื่อจิตหมดความยึดถือ หมดความยินดีในขันธ์ ๕ เชื้อเกิดจะถูกทำลายไป จิตที่ยังเวียนว่ายตายเกิด เป็นจิตที่ยังมีเชื้อเกิดอยู่ เชื้อเกิดนี้มันก็เป็นเชื้อที่ยินดีในขันธ์ ๕ นั่นเอง มันโง่ มันมีอวิชชาซ่อนอยู่ในจิตดวงนี้ มันไม่รู้ความจริงของทุกข์ ไม่รู้ความจริงของสมุทัย ไม่รู้ความจริงของนิโรธ ไม่รู้ความจริงของมรรค ไม่รู้ความจริงของทุกข์ก็คือ ไม่รู้ว่าขันธ์ ๕ นี้เป็นตัวทุกข์ ยังคิดว่าจะหาทางหาขันธ์ ๕ ที่มีความสุขได้ พอไม่รู้ว่าขันธ์ ๕ เป็นตัวทุกข์ ความอยากจะให้ขันธ์ ๕ เป็นสุขก็เกิดขึ้น ความอยากจะให้ขันธ์ ๕ พ้นทุกข์ก็เกิดขึ้น สมุทัยก็มีขึ้นมา พอมีสมุทัยมีความอยากขึ้นมานี่ จิตก็มีความดิ้นรน จิตที่มีความดิ้นรนอยู่ ไม่มีความสงบสันติคือไม่มีนิพพาน ไม่เห็นนิพพาน งั้นเราต้องมาล้างเชื้อเกิดในใจของเรา ล้างความหลงผิดในใจของเรานั่นเอง ล้างอวิชชานั่นเอง อยากล้างอวิชชาได้ มีสตินี่แหละ รู้ขันธ์ ๕ ตามความเป็นจริง รู้กายรู้ใจนั่นแหละตามความเป็นจริง ดูลงไปเรื่อยเลย กายนี้ใจนี้ไม่ใช่ของดีของวิเศษ ไม่ต้องคิดหรอก มันไม่ใช่ของดีของวิเศษมาแต่ไหนแต่ไรแล้ว เราเพียงหลงผิดว่ามันดีมันวิเศษ เราเลยติดอกติดใจเพลิดเพลินอยู่ ถ้าเราดูซ้ำดูซากนะ ดูแล้วดูอีก อยู่ในกายในใจนี้ เราจะเห็นว่ากายนี้เป็นทุกข์ล้วนๆ ใจนี้เป็นทุกข์ล้วนๆ พวกเรายังไม่เห็น พวกเราเห็นว่าร่างกายนี้เป็นทุกข์บ้างเป็นสุขบ้าง จิตใจนี้เป็นทุกข์บ้างเป็นสุขบ้าง เพราะเราเห็นอย่างนี้นะ อวิชชาเรามีอยู่ เมื่อมันยังเห็นว่าร่างกายจิตใจเป็นสุขบ้างเป็นทุกข์บ้างได้ มันยังมีทางเลือก มีทางดิ้นต่อ มันก็จะดิ้นหนีความทุกข์ ดิ้นไปแสวงหาความสุข จิตที่ดิ้นรนนั่นแหละ ห่างไกลพระนิพพานไปเรื่อยๆ แต่ถ้าเรารู้ความจริงแจ่มแจ้ง ว่าขันธ์ ๕ หรือรูปนาม หรือกายใจนี้เป็นทุกข์ล้วนๆ มีแต่ทุกข์มาก กับทุกข์น้อย ไม่ใช่มีทุกข์กับสุข ถ้าเห็นแจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งอย่างนี้ จิตมันจะสลัดคืนหมดความยึดถือขันธ์ ๕ จะรู้สึกเลย ร่างกายนี้เหมือนยืมแผ่นดินมาใช้นะ ยืมธาตุมาใช้ จิตใจก็เหมือนยึมเค้ามาใช้ ไม่ใช่ของเราสักอันเดียว มันสลัดคืนรูปคืนนาม คืนกายคืนใจให้โลกไป ไม่ยึดถือในรูปนามในกายใจนั้นเอง เมื่อเราไม่ยึดถือนะ ความหนักก็ไม่เกิดขึ้นในใจ ใจที่มีความหนัก ใครรู้จักหนักใจบ้าง หนัก หนักทุกวันเลย หนักเพราะเรายึดถือ ถ้าเราไม่ได้ยึดถือรูปนามอยู่ ความหนักใจจะไม่มี ปัญหามีนะ แต่ความหนักใจไม่มี งั้นเรามาเรียนรู้ความจริงของรูปของนามนี้แหละ เรียกว่าการเจริญปัญญา รู้ลงไปที่กายบ่อยๆ รู้ลงไปที่ใจบ่อยๆ จะรู้กายรู้ใจได้ จิตต้องรู้สึกตัวเป็นก่อน อย่าหลง ขั้นต้นเลย ต้องรู้สึกตัวให้เป็น ถ้ารู้สึกตัวไม่ได้ ใจหลงไปอยู่ในโลกของความคิด ลืมกายลืมใจ มีกายก็ลืมกาย มีใจก็ลืมใจนะ ใช้ไม่ได้ เราต้องคอยรู้สึกตัวบ่อยๆ หัดรู้สึกตัวนะ เบื้องต้นจะพุทโธ จะหายใจ หรือทำกรรมฐานอะไรสักอย่างหนึ่งก็ได้ แล้วแต่ถนัด ทำกรรมฐานขึ้นอย่างหนึ่ง แล้วคอยรู้ทันจิตตนเอง จิตไหลไปคิดรู้ทัน จิตไหลไปคิดรู้ทัน จิตก็จะหลุดออกจากโลกของความคิด มาอยู่ในโลกของความรู้สึกตัว จิตที่ไม่รู้สึกตัวนี้ไปหลงอยู่ในโลกของความคิด คนทั้งโลกหลงอยู่ในโลกของความคิดนะ มีเป็นส่วนน้อย ผู้ที่ได้ฟังธรรมแล้ว ผู้ที่มีบุญบารมีแล้วอย่างพวกเรานี้ มันรู้ทันจิตที่ไหลไปคิด แล้วก็ตื่น เกิดภาวะแห่งความรู้สึกตัวขึ้นมา พอเรารู้สึกตัวได้ ก็คือมีกายเราก็รู้ว่ามีอยู่ มีใจเราก็รู้ว่ามีอยู่ เราก็จะเรียนรู้ความจริงของกายของใจได้ ถ้าเราใจลอย เราลืมกายลืมใจ เราก็ไม่สามารถเรียนรู้ความจริงของกายของใจได้ เพราะงั้นความรู้สึกตัวนี้แหละ เป็นจุดตั้งต้นที่จะเริ่มเดินปัญญานะ ทีนี้พอรู้สึกตัวเป็นแล้ว อย่ารู้สึกอยู่เฉยๆ รู้สึกแล้วมาเรียนรู้ความจริงของกายของใจ ค่อยๆแยก กายก็อยู่ส่วนกาย ใจก็อยู่ส่วนใจนะ แยกกัน กายส่วนกาย ใจส่วนใจ เวทนาคือความรู้สึกสุขทุกข์ก็อยู่ส่วนเวทนา ไม่ใช่กายไม่ใช่ใจ สังขาร ความปรุงดีความปรุงชั่ว เช่นโลภ โกรธ หลงทั้งหลาย ก็อยู่ส่วนโลภ โกรธ หลงทั้งหลาย ไม่ใช่ร่างกาย ไม่ใช่ความสุข ไม่ใช่ความทุกข์ ไม่ใช่จิตใจ นี่หัดแยกธาตุแยกขันธ์ ต้องรู้สึกตัวเป็นก่อน ถึงจะแยกธาตุแยกขันธ์ได้ แต่บางคนรู้สึกตัวแล้วอยู่เฉยๆ ไม่ยอมแยกธาตุแยกขันธ์ อันนั้นต้องช่วยมันคิดพิจารณาแยกธาตุแยกขันธ์ไป เช่นนั่งอยู่ ก็คอยคิดเอา เออร่างกายที่นั่งอยู่นี่เป็นของถูกรู้นะ อะไรอย่างนี้ ค่อยๆคิดไป ดู ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก ผม เป็นของถูกรู้ ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เป็นของถูกรู้ ค่อยๆหัดดูไปอย่างนี้ ต่อไปมันแยกได้เอง ความสุขความทุกข์เกิดขึ้น ก็เป็นของถูกรู้ ความโลภ ความโกรธ ความหลง เกิดขึ้นเป็นของถูกรู้ จิตเป็นคนไปรู้มันเข้า เบื้องต้นอาจจะต้องช่วยมันคิดพิจารณาอย่างนี้ แต่ต่อไปมันแยกได้เอง พอแยกได้เอง เราจะเดินปัญญาอัตโนมัติ มันจะเห็นเลย ร่างกายเคลื่อนไหว แค่รู้สึกนะ แล้วจะรู้เลยร่างกายไม่คงที่ เวทนาเกิดขึ้นในกาย เวทนาเกิดขึ้นในใจ ความสุขความทุกข์นั้นแหละเกิดขึ้นในกายในใจ ก็เห็นเลยมันแค่ผ่านมาแล้วก็ผ่านไป ใจอยู่ต่างๆหาก เวทนานี้ไม่ใช่ตัวเราหรอก เป็นสิ่งที่แปลกปลอมเข้ามาชั่วคราวแล้วก็หายไป กุศลอกุศล ก็เป็นสิ่งที่แปลกปลอมเข้ามาชั่วคราวแล้วก็หายไป จิตเองก็เกิดแล้วก็ดับ เดี๋ยวก็เป็นจิตผู้รู้ เดี๋ยวก็เป็นจิตผู้คิด เดี๋ยวเป็นจิตผู้เพ่ง หมุนเวียนเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา การที่เราเห็นขันธ์ทั้งรูปธรรมนามธรรมทั้งหลายที่ประกอบกันเป็นตัวเรานี้ มีแต่ความหมุนเวียนเปลี่ยนแปลง ทั้งวันทั้งคืน ทั้งหลับทั้งตื่น เป็นอย่างนี้ตลอด มันจะรู้เลย ไม่ใช่ของดีของวิเศษ ความสุขเกิดขึ้นก็แค่ของชั่วคราว เอาเป็นที่พึ่งที่อาศัยไม่ได้ เดี๋ยวก็ดับ กุศลเกิดขึ้นก็เป็นแค่ของชั่วคราว เอาเป็นที่พึ่งที่อาศัยก็ไม่ได้จริง เดี๋ยวก็ดับ ทุกสิ่งหาที่พึ่งที่อาศัยไม่ได้เลยในขันธ์ ๕ มีแต่ของน่าเอือมระอา มีแต่ความทุกข์ นี่จิตเห็นความจริงอย่างนี้ จิตจะคืนขันธ์ ๕ ให้โลก ไม่ยึดถืออีกแล้ว ที่มันคืนไม่ได้ เพราะว่ามันหวง มันห่วง เพราะว่ามันดี นี่เราทำลายเชื้อเกิดได้ พอมันคืนขันธ์ ๕ ไปนะ คล้ายๆมีเมล็ดต้นไม้ เมล็ดมะม่วงสักเมล็ดหนึ่ง แต่ต้นอ่อนข้างในมันตายไปแล้ว ต้นอ่อนที่มันจะงอกขึ้นมาเป็นขันธ์ ๕ ถูกทำลาย ถ้าเราทำลายความเห็นผิดนะ ว่าจิตนี้เป็นของดีของวิเศษ ขันธ์ ๕ เป็นของดีของวิเศษ ทำลายตัวนี้ได้ เชื้อเกิดจะถูกทำลายไป เมื่อขันธ์ ๕ ไม่ใช่ของดีแล้ว ความอยากให้ขันธ์ ๕ มันสุข ให้มันดี ให้มันสงบ ไม่มีแล้ว รู้ว่ามันไม่ดี ความอยากจะพ้นจากทุกข์ ให้ขันธ์ ๕ พ้นทุกข์ ก็ไม่มี เห็นไหม อยากให้พ้นทุกข์ก็ไม่มีนะ อยากให้สุขก็ไม่มีนะ เพราะรู้แจ้งแล้วว่าทุกข์แน่นอน พอรู้แจ้งอย่างนี้ หมดแรงดิ้น จิตที่หมดแรงดิ้นนี่แหละจะเห็นพระนิพพาน จิตที่ยังดิ้นอยู่ ยังอยากอยู่ นี่มีตัณหาอยู่ ไม่เห็นพระนิพพาน พวกเรามีบุญแล้วนะ ได้ฟังธรรม ฝึกรู้สึกตัวไปบ่อยๆ รู้สึกตัวแล้วอย่ารู้อยู่เฉยๆ ดูรูปดูนาม ดูกายดูใจ ดูขันธ์ ๕ ทำงานเรื่อยไป วันหนึ่งเราก็จะตามพระพุทธเจ้าของเราไปนะ แสดงน้อยลง ตอบกลับ 13 Sompong Tungmepol Sompong Tungmepol2 ปีที่ผ่านมา ถ้าจะเอาสมาธิชนิดที่ใช้เจริญปัญญาต้องคอยรู้ทันจิต เพราะฉะนั้นบทเรียนที่จะได้สมาธิที่รู้ทันจิต ได้สมาธิที่ถูกต้อง ต้องรู้ทันจิต พระพุทธเจ้าถึงได้เรียกว่า “จิตตสิกขา” ศีลสิกขา จิตตสิกขา ได้สมาธิที่ถูกต้อง ให้คอยรู้ทันจิตนะ พุทโธๆ หนีไปคิด รู้ทัน จิตไปเพ่งความนิ่งๆว่างๆอยู่ รู้ทัน ถ้าใช้ลมหายใจก็หายใจไป รู้สึกตัวไป หายใจไปจิตหนีไปคิด รู้ทัน ก็กลับมารู้สึกตัวอีก หายใจไปจิตไปเพ่งอยู่ที่ลมหายใจเพราะว่ากลัวจะหลง ก็เลยไปเพ่งอยู่ที่ลมหายใจ ก็รู้ทันอีกว่าจิตไหลไปเพ่งที่ลมหายใจแล้ว เนี่ยทำกรรมฐานแล้วรู้ทันจิตนะ จิตหนีไปคิดก็รู้ จิตรู้สึกตัวขึ้นมา ก็รู้ จิตไปเพ่งลมหายใจหรือไปเพ่งมือเพ่งเท้าเพ่งท้องอะไร ก็รู้ ฝึกให้มากต่อไปจิตเคลื่อนไปปุ๊บเนี่ย สติจะเกิดเอง เพราะสติจะเกิดได้ไม่ใช่เพราะมีใครสั่งสติให้เกิดได้ สติจะเกิดเมื่อมีเหตุของสติ เหตุใกล้ให้เกิดสติเรียกว่า “ถิรสัญญา” ถอถุงสระอิรอเรือ ถิระ.. สัญญา ถิรสัญญาคือการที่จิตจำสภาวะได้แม่น จิตจะจำสภาวะได้แม่นถ้าจิตเคยเห็นสภาวะบ่อยๆ เพราะฉะนั้นเราจึงต้องพาจิตให้ดูสภาวะบ่อยๆ พุทโธไป หายใจไป จิตหนีไปแล้วรู้เนี่ย ต่อไปจิตหนีไปนะ จิตจำสภาวะที่จิตหนีไปได้แม่น อ้อ..อย่างนี้หลงไปแล้วนะ อย่างนี้ไหลไปเพ่ง อย่างนี้ไหลไปคิด พอจิตจดจำได้แม่นนะ พอไหลไปเพ่งปุ๊บ มันก็รู้สึกตัวขึ้นมาเลย สติระลึกได้ หรือไหลไปคิด จิตจดจำสภาวะที่ไหลไปคิดได้แล้ว พอไหลไปคิดสติระลึกปั๊บ เออนี่ไหลไปคิดแล้ว มีคำว่าแล้วด้วย คือมันเป็นไปก่อน ตอนที่หลงอยู่นะมันมีสติไม่ได้ เพราะตอนที่หลงจิตมีความฟุ้งซ่าน มีโมหะ ตอนที่สติเกิดน่ะมันไม่หลงแล้ว ก็เลยต้องมีคำว่าแล้ว เมื่อกี้นี้เผลอ ตอนนี้รู้สึก เพราะฉะนั้นการดูจิตดูใจนะ เราจะดูตามหลังไปเรื่อยๆ ตามไปติดๆ หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช อ่านเพิ่มเติม ตอบกลับ 3 Sompong Tungmepol Sompong Tungmepol2 ปีที่ผ่านมา ถ้าจะเอาสมาธิชนิดที่ใช้เจริญปัญญาต้องคอยรู้ทันจิต เพราะฉะนั้นบทเรียนที่จะได้สมาธิที่รู้ทันจิต ได้สมาธิที่ถูกต้อง ต้องรู้ทันจิต พระพุทธเจ้าถึงได้เรียกว่า “จิตตสิกขา” ศีลสิกขา จิตตสิกขา ได้สมาธิที่ถูกต้อง ให้คอยรู้ทันจิตนะ พุทโธๆ หนีไปคิด รู้ทัน จิตไปเพ่งความนิ่งๆว่างๆอยู่ รู้ทัน ถ้าใช้ลมหายใจก็หายใจไป รู้สึกตัวไป หายใจไปจิตหนีไปคิด รู้ทัน ก็กลับมารู้สึกตัวอีก หายใจไปจิตไปเพ่งอยู่ที่ลมหายใจเพราะว่ากลัวจะหลง ก็เลยไปเพ่งอยู่ที่ลมหายใจ ก็รู้ทันอีกว่าจิตไหลไปเพ่งที่ลมหายใจแล้ว เนี่ยทำกรรมฐานแล้วรู้ทันจิตนะ จิตหนีไปคิดก็รู้ จิตรู้สึกตัวขึ้นมา ก็รู้ จิตไปเพ่งลมหายใจหรือไปเพ่งมือเพ่งเท้าเพ่งท้องอะไร ก็รู้ ฝึกให้มากต่อไปจิตเคลื่อนไปปุ๊บเนี่ย สติจะเกิดเอง เพราะสติจะเกิดได้ไม่ใช่เพราะมีใครสั่งสติให้เกิดได้ สติจะเกิดเมื่อมีเหตุของสติ เหตุใกล้ให้เกิดสติเรียกว่า “ถิรสัญญา” ถอถุงสระอิรอเรือ ถิระ.. สัญญา ถิรสัญญาคือการที่จิตจำสภาวะได้แม่น จิตจะจำสภาวะได้แม่นถ้าจิตเคยเห็นสภาวะบ่อยๆ เพราะฉะนั้นเราจึงต้องพาจิตให้ดูสภาวะบ่อยๆ พุทโธไป หายใจไป จิตหนีไปแล้วรู้เนี่ย ต่อไปจิตหนีไปนะ จิตจำสภาวะที่จิตหนีไปได้แม่น อ้อ..อย่างนี้หลงไปแล้วนะ อย่างนี้ไหลไปเพ่ง อย่างนี้ไหลไปคิด พอจิตจดจำได้แม่นนะ พอไหลไปเพ่งปุ๊บ มันก็รู้สึกตัวขึ้นมาเลย สติระลึกได้ หรือไหลไปคิด จิตจดจำสภาวะที่ไหลไปคิดได้แล้ว พอไหลไปคิดสติระลึกปั๊บ เออนี่ไหลไปคิดแล้ว มีคำว่าแล้วด้วย คือมันเป็นไปก่อน ตอนที่หลงอยู่นะมันมีสติไม่ได้ เพราะตอนที่หลงจิตมีความฟุ้งซ่าน มีโมหะ ตอนที่สติเกิดน่ะมันไม่หลงแล้ว ก็เลยต้องมีคำว่าแล้ว เมื่อกี้นี้เผลอ ตอนนี้รู้สึก เพราะฉะนั้นการดูจิตดูใจนะ เราจะดูตามหลังไปเรื่อยๆ ตามไปติดๆ หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช แสดงน้อยลง ตอบกลับ 2 Sompong Tungmepol Sompong Tungmepol2 ปีที่ผ่านมา รู้อยู่ที่กาย รู้อยู่ที่ใจ ทำยังไงเราจะรู้กายรู้ใจได้ ตัวนี้ตัวสำคัญ ต้องค่อยๆ เรียน ค่อยๆ ศึกษา เพราะเราจะรู้สึกว่าเรารู้กายรู้ใจตัวเองอยู่แล้ว ทั้งที่ในความเป็นจริงในโลกนี้ไม่มีคนรู้กายรู้ใจตัวเองหรอก มีแต่คนหลง มีแต่คนเผลอ คนที่สามารถรู้กายรู้ใจตัวเองได้ มีนับตัวได้ ส่วนมากก็คือเราจะตื่นขึ้นมาแต่กาย แต่ใจเรานี่จะคิดๆ ฝันๆ ไปทั้งวัน ใจเราไม่ตื่นนะ ใจเราจะคิด ใจเราจะฝันไปเรื่อยๆ ต้องค่อยๆ ฝึกจนใจของเราตื่นขึ้นมา ตื่นทั้งกายตื่นทั้งใจนะ จิตใจที่ตื่นขึ้นมานั้นแหละ คือตัว "พุทโธ" ที่เรียกว่า ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน จิตใจของเราไม่ใช่ ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน จิตใจของเราส่วนใหญ่ในโลก เป็นผู้คิด ผู้นึก ผู้ปรุง ผู้แต่ง ไม่ใช่ ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน สังเกตให้ดี ใจเรานี้ตั้งแต่ตื่นนอนจนหลับ เราคิดทั้งวัน เรารู้เรื่องราวที่เราคิด สังเกตให้ดีนะ พวกเราเวลาเราคิดอะไรไป เรามักจะรู้เรื่องที่เราคิด เรื่องราวที่เราคิดนี้เรียกว่า สมมติบัญญัติ แต่ในขณะที่เรารู้เรื่องราวที่เราคิด เราจะลืมกายลืมใจตัวเอง มีกายก็เหมือนไม่มี เช่น นั่งอยู่ ไม่รู้ว่านั่งอยู่ นั่งฟังหลวงพ่อพูด รู้เรื่องพยักหน้าหงึกๆ หงึกๆ แต่ใจไปที่อื่น เราไม่รู้กาย ร่างกายเคลื่อนไหว ไม่รู้สึก เราไม่รู้ใจตัวเอง จิตใจเราเป็นสุขก็ไม่รู้ เป็นทุกข์ก็ไม่รู้ เฉยๆ ก็ไม่รู้ เป็นกุศลก็ไม่รู้ เป็นอกุศลก็ไม่รู้ เราไม่รู้อะไรเลยที่เกี่ยวกับตัวเราเอง ไม่รู้อะไรเกี่ยวกับกายกับใจ เรารู้แต่เรื่องราวที่เราคิดเอาเอง การที่รู้เรื่องราวที่เราคิดเอาเองนั่นแหละ เรียกว่า รู้สมมติบัญญัติ ในขณะที่การรู้กายรู้ใจ เรียกว่า รู้อารมณ์ปรมัตถ์ คือรูปนาม เรียกว่ากายกับใจก็แล้วกันนะ ให้คอยรู้กายรู้ใจ คนในโลกไม่รู้กายรู้ใจ มีแต่คนลืมตัว มีแต่คนหลง มีแต่คนเผลอ เผลอคิดทั้งวัน เวลาเราดู เราก็เผลอดู เวลาฟัง เราก็เผลอฟัง เวลาคิด เราก็เผลอไปคิด ลืมกายลืมใจตัวเองตลอดเวลา เมื่อเราลืมกายลืมใจตลอดอย่างนี้ เราก็ไม่สามารถเรียนรู้กาย เรียนรู้ใจ ปัญญามันไม่เกิด ไม่สามารถเข้าใจความเป็นจริงของกายของใจได้ว่ามันไม่ใช่ตัวเราหรอก เราไปหลงยึดติดอยู่ ความเป็นตัวเราก็เกิดขึ้นมา ทีนี้ทำยังไงเราจะรู้กายรู้ใจได้ ศัตรู ของการรู้กายรู้ใจของเรามีสองอย่าง ศัตรูหมายเลขหนึ่ง ก็คือ การที่เราหลงไปอยู่กับความคิดของเรา ถ้าเมื่อไหร่เราสามารถรู้ทันว่าใจเราไหลไปคิดแล้ว เมื่อนั้นเราจะตื่นขึ้นในฉับพลัน เพราะฉะนั้น การปฏิบัตินี้ ถ้าเข้าใจสิ่งที่พระพุทธเจ้าบอก เราจะตื่นขึ้นในฉับพลัน ธรรมะนี่ถ้าใครเข้าถึงแล้วจะอุทานเลยว่า "อัศจรรย์จริงๆ อัศจรรย์" ดูในพระไตรปิฎก เวลาพระพุทธเจ้าเทศน์จบ คนจะอุทาน "อัศจรรย์จริงๆ แจ่มแจ้งนักพระเจ้าข้า แจ่มแจ้งนัก" ไม่ใช่ว่า "สับสนนักพระเจ้าข้า" แต่จะพูดว่า "แจ่มแจ้งนักพระเจ้าข้า เหมือนเปิดของคว่ำให้หงาย" ของง่ายๆ นะ ศัตรูหมายเลขสอง คือการเพ่งกายเพ่งใจ ทำให้ไม่สามารถรู้กายรู้ใจตามความเป็นจริงได้ เพราะมันนิ่งไปหมด พระพุทธเจ้าเป็นคนจุดไฟขึ้นมา แล้วคนตาดีก็มองเห็นแสงสว่าง มองเห็นสิ่งต่างๆ เพราะฉะนั้น ธรรมะจริงๆ ไม่ใช่เรื่องยาก เพียงแต่พวกเราไม่ค่อยได้ยิน ไม่ค่อยได้ฟัง เราชอบไปคิดเอาเอง ชอบหลงอยู่ในโลกของความคิด การตื่นขึ้นมาอยู่ในโลกของความเป็นจริง เป็นสิ่งที่ยากที่สุด ทางลัดที่สุดที่จะตื่นขึ้นมา ก็คือรู้ทันว่าใจเราหนีไปคิดแล้ว มีครูบาอาจารย์องค์หนึ่ง ไม่ใช่สายวัดป่า หลวงพ่อเทียน วัดสนามใน หลวงพ่อเทียนท่านสอนเหมือนกัน ธรรมะมันลงกัน สายไหนก็เหมือนกัน ถ้าทำถูกต้องก็อันเดียวกัน หลวงพ่อเทียนท่านสอนว่า "ถ้าเมื่อไหร่รู้ว่าจิตคิด จะได้ต้นทางของการปฏิบัติ" รู้ว่าจิตคิดนะ ไม่ใช่รู้เรื่องที่จิตคิด สองอันนี้ไม่เหมือนกัน ในโลกนี้มีแต่คนรู้เรื่องที่จิตคิด แต่ไม่รู้ว่าจิตกำลังแอบไปคิดอยู่ เพราะฉะนั้น หน้าที่ของเราค่อยๆ ศึกษา ค่อยๆ สังเกตตัวเองไป แสดงน้อยลง ตอบกลับ
รู้ทุกข์แจ่มแจ้งแล้ว จิตจะปล่อยวางลง ปล่อยวางจิตhttp://www.dharmamag.com/mag/index.php/pra-guru-issues/573-2011-11-25-07-00-05 ถ้าปัญญาเห็นแจ้งจริงๆเลย มีแต่ทุกข์ล้วนๆ จะอยากหรือไม่อยากก็ทุกข์แล้ว ทุกข์ไม่ใช่อยู่ที่อยากแล้ว ทุกข์อยู่ที่ตัวขันธ์เองแหละเป็นตัวทุกข์ อย่างนี้เรียกว่ารู้ทุกข์แจ่มแจ้งแล้ว จิตจะปล่อยวางลง ปล่อยวางจิต ทีนี้บางท่านก็เห็นว่าจิตนี้เป็นสุญญตา เป็นความว่างเปล่าจากความเป็นตัวเป็นตน ไม่เกี่ยวอะไรกับเรา คืน ยอมคืน ยอมสลัดคืนให้กับโลกเขาไป พวกนี้เรียกว่าสุญญตวิโมกข์ พวกปัญญากล้า หลุดพ้นด้วยการเห็นจิตใจนี้ไม่ใช่ตัวเรา ปลดปล่อยออกไปแล้ววางออกไป ทางที่จิตดำเนินไปสู่ความหลุดพ้นเนี่ย มีสามช่องในขั้นสุดท้าย เบื้องต้นของเราเนี่ยนะ คอยรู้กายคอยรู้ใจไว้ พอรู้กายเต็มที่นะ มันจะปล่อยวางกาย มันจะย้อนทวนเข้าหาธาตุรู้ ตัวจิต พอรู้จิตเต็มที่เนี่ย ว่าเป็นอนิจจัง หรือเป็นทุกขัง หรือเป็นอนัตตา ในมุมใดมุมหนึ่งก็ปล่อยวางจิต พอปล่อยวางหมดทั้งกายหมดทั้งจิตนะ จิตใจก็จะพ้นจากความทุกข์จริงๆ พ้นจากขันธ์ นิพพานก็คือจิตมันพรากออกจากขันธ์ มันสำรอกออกจากขันธ์ หลุดออกจากขันธ์ได้
อย่าประคองจิตนะ ปล่อยจิตให้เป็นธรรมชาติ สมัยที่ยังภาวนาไม่เป็นอย่างนั้นเลยการหัดรู้สภาวะทุกวันๆ มีประโยชน์มาก มันจะทำให้เรามีกำลัง ... หน้าที่เราไม่ใช่ไปหน่วงอารมณ์ให้ช้าลง หน้าที่เราต้องฝึกสติให้เร็วขึ้น เร็ว เร็วมากขึ้นๆ จนใจไหว...แว้บ.รู้ทัน..สติ คือ. ... ถิรสัญญาคือการที่จิตจำสภาวะธรรมได้แม่น หน้าที่เราต้องหัดรู้สภาวะไปเรื่อยๆ นะ ความโกรธเกิดขึ้นก็รู้ ความโลภเกิดก็รู้ ...ไม่ว่าเราจะเห็นสภาวะอะไรเกิดขึ้นเราจะไม่เข้าไปแทรกแซง เช่นเราเห็นความโกรธเกิดขึ้น เราไม่ต้องพยายามทำให้หายโกรธ หน้าที่ของเราคือก็แค่รู้ไปว่าจิตมันโกรธนะ ... วิธีปฏิบัติที่จะทำให้เราพ้นจากทุกข์ทางใจนั้น คือหัดรู้ใจของเรา สติปัฏฐานนั้นเบื้องต้นทำให้เกิดสติ เบื้องปลายทำให้เกิดปัญญา: เราต้องฝึกนะ ฝึกจนสติแท้ๆ เกิดขึ้นมา สติแท้ๆ คือความระลึกได้ สติแท้ๆ เกิดจากจิตจำสภาวะได้ ..ใจฟุ้งซ่าน ดูออกมั้ย ลืมตัวเอง นี่ฝึกนะ ฝึกรู้อย่างนี้แหละ ดูไปเรื่อยๆนะ ถึงจุดหนึ่งที่ปัญญามันพอนี่ จิตมันจะรวม รวมเข้าอัปปนาสมาธิ รวมของมันเองนะ แล้วจะเห็นสภาวะธรรมเกิดดับอยู่สองสามขณะ แล้วถัดจากนั้นอริยะมรรคก็จะเกิดขึ้น จะล้างกิเลส อริยมรรคเวลาล้างกิเลส จะไม่เหมือนการล้างกิเลสด้วยสติ ด้วยสมาธิ ด้วยศีล ด้วยการข่มไว้ อริยมรรค เวลาล้างกิเลส ล้างตัวไหนแล้วล้างเลย ไม่ต้องล้างอีกแล้ว ล้างทีเดียวสะอาดหมดจด ไม่เกิดขึ้นอีกแล้ว แล้วเราค่อยๆ ฝึกนะ วันหนึ่งเราได้เป็นพระอริยะ อย่าวาดภาพว่าพระอริยะยากเกินไป อย่าวาดภาพว่าพระอริยะอยู่ไกล บารมีเราน้อย มัวแต่คิดว่าบารมีน้อยไม่ภาวนา มันก็น้อยไปทุกชาตินั่นแหล่ะ ถึงบารมีน้อยก็ขยันภาวนานะ หายใจไปก็รู้สึกตัวไป หายใจไปรู้สึกตัวไป มีสติรู้สึกตัวไปเรื่อย อย่าให้ลืมตัวเอง ต่อไปก็หายใจไป เห็นร่างกายที่หายใจอยู่ไม่ใช่เรา เห็นจิตใจมันทำงานได้เองนะ นี่ขั้นเดินปัญญา ง่ายๆ แค่นี้แหละ ลองไปทำดู ถ้าจิตไม่อยู่ในกามภูมิ ไม่อยู่ในรูปภูมิ จิตก็ต้องเข้าอรูปภูมิ ทิ้งรูปไปแล้วไปอยู่กับนามธรรม ... ที่จะเกิดอริยมรรค อริยผล ในทุกขั้นตอน ตั้งแต่โสดาปัตติมรรค จนถึงอรหัตตมรรค .. เราดูกายดูใจเขาทำงานของเขาไป เราดูกายดูใจเขาปรุงแต่งของเขาไป แล้วเราไม่ต้องทำอะไร รู้ลูกเดียว* รู้แล้ววันหนึ่งแล้วจะเข้าใจเลย กายกับใจเป็นธรรมชาติที่ปรุงแต่ง เรียก สังขตธรรม เป็นธรรมชาติที่ปรุงแต่ง ไม่ใช่ไปฝึกให้มันไม่ปรุงแต่ง แต่เมื่อมันปรุงแต่งแล้วเราไม่หลงยินดียินร้าย เราไม่ไปช่วยมันปรุงแต่ง ตัวนี้ต่างหากล่ะ สบายเลยคราวนี้ จิตใจนะไม่ต้องทำงาน จิตใจว่างงาน ที่ว่าสิ้นชาติสิ้นภพจบพรหมจรรย์ สิ้นชาติคือจิตไม่ไปหยิบฉวยรูปธรรมนามธรรมใดๆขึ้นมายึดถือไว้ให้เป็นภาระหนักหน่วงถ่วงจิตใจอีกต่อไป สิ้นภพคือสิ้นการทำงานทางใจ สิ้นชาติ สิ้นภพ จบพรหมจรรย์ คือไม่ต้องมีการศึกษาเรียนรู้การปฏิบัติธรรมใดๆอีกแล้วนะ งานทำเสร็จแล้ว เพราะใจปล่อยวางไปหมดแล้ว ใจพ้นจากการปรุงแต่ง พ้นจากการทำงานแล้ว เนี่ย พ้นไปได้อย่างนี้นะ เข้าถึงสันติสุขที่แท้จริง มีแต่ความสุขล้วนๆ ทีนี้จะพ้นได้ก็เพราะมีสติขึ้นมา รู้ทันการปรุงแต่งของกายของใจไป โดยที่ไม่ไปช่วยมันปรุงแต่ง พอเรารู้ทันการปรุงแต่งของกายของใจนะ ใจมันก็จะปรุงสุข ปรุงทุกข์ ปรุงดี ปรุงชั่วอะไรขึ้นมา ก็แล้วแต่มัน ไม่ห้ามมันหรอก ไม่ใช่ว่าจะต้องดีด้วยซ้ำไป ไม่ใช่ฝึกเอาดีนะ ไม่ใช่ฝึกเอาดี ไม่ใช่ฝึกเอาสุข ไม่ได้ฝึกเอาสงบ แต่ฝึกเพื่อเห็นเลยว่า จิตใจมันก็ทำงานของมันไป ในใจเรารู้ทันแล้วก็เป็นกลาง ไม่ไปแตะต้องแล้วก็ไม่ไปทำอะไรมัน จริงๆนะ จะรู้เลยว่าตัวเราไม่มีหรอก เป็นภาพลวงตาเท่านั้นเอง เป็นมายาหลอกลวง เหมือนฝัน ฝันไปว่ามีตัวเรา จริงๆไม่มีเรา ถ้าเมื่อไหร่ปัญญาแทงทะลุลงไปว่าจริงๆไม่มีเราหรอก เป็นภาพลวงตาทั้งหมดเลย นั่นแหละคือภูมิธรรมของพระโสดาบัน ฟังแล้วเหมือนยากนะ แต่ลงมือทำจริงไม่ยากหรอก บางคนใช้เวลาไม่กี่วันด้วยซ้ำไป บางคนใช้เวลาสั้นนิดเดียวนะ อย่าว่าแต่พระโสดาบันเลย บางท่านฟังธรรมะไม่กี่ประโยค ท่านก็เป็นพระอรหันต์ ยกตัวอย่างพระพาหิยะ ฟังธรรมะนิดเดียว ฟังอยู่กลางตลาดเลย ท่านได้เป็นพระอรหันต์ เวลาเราปฏิบัตินะ แต่เดิมเราก็จะหลงผิดว่าเราปฏิบัติให้มันมีความสุข เราเห็นว่าในโลกนี้มีทั้งความสุขและความทุกข์ เราก็จะพยายามหลบไอ้ตรงทุกข์ จะไปเอาตรงสุข ดิ้นไปเรื่อยๆ เวลาเจอความสุขก็พอใจ เพลิน เจอความทุกข์ก็พยายามจะหนี ทุกข์กายทุกข์ใจ มี ๒ อัน ทางกายเราก็อยากจะไปเห็น อยากได้กลิ่น ได้รส ได้สัมผัสที่มันดีๆ หนีที่ไม่ดี เวลาเจอของไม่ดีเราก็หวังว่าถ้าหนีอันนี้ไปได้แล้วจะได้ไปเจอของดี ลืมไปอันนึงว่าไอ้ต้นตอตัวหัวโจกเลยมันไม่ใช่รูปรสกลิ่นเสียงโผฏฐัพพะหรอก กระทั่งกายเรานี้ก็ไม่ใช่ของดิบดีอะไร ไม่มีความสุขจริง ทั้งกายนี้มีแต่ความทุกข์ จิตใจก็เหมือนกันนะ จิตใจก็เที่ยวหาอารมณ์ที่เป็นสุข ร่างกายของเรา เราก็อยากให้ร่างกายเราได้แต่อารมณ์ที่เป็นสุข ร่างกายจิตใจอยากจะเอาแต่สุข ไม่เอาทุกข์ แล้วที่ใจเราดิ้นรนไม่เลิกเนี่ย เพราะเรายังหลงผิดว่าสุขมันมีอยู่ เจอทุกข์แล้วหลบให้ดีเหอะ เดี๋ยวเราจะเจอสุข ถ้าศึกษาศาสนาพุทธอย่างถึงแก่นจริงๆจะพบว่าเราหลบหลีกไปไม่ได้นาน เพราะตัวเราเองเป็นตัวทุกข์ ร่างกายจิตใจของเราเองนั่นแหละตัวทุกข์ ไม่ใช่คนอื่นทุกข์นะ อย่างสมมติไปหาของอร่อยที่สุดมากิน ร่างกายก็ยังมีความทุกข์อีก ของที่อร่อยที่สุดไม่ได้ทำให้ร่างกายมีความสุขได้ถาวรอะไร รูปที่สวยที่สุดไม่ได้ทำให้ร่างกายมีความสุข อารมณ์ที่ดีก็ไม่ได้ทำให้จิตมีความสุขถาวรได้เพราะจิตไม่เที่ยง ถ้าเราเข้าใจว่าร่างกายจิตใจของเราบังคับไม่ได้ ไม่เที่ยง ไม่ใช่ตัวตน ก็ค่อยคลายความยึดถือ มันจะไม่ไปดิ้นหาความสุข แล้วก็ไม่ดิ้นหนีความทุกข์ แต่ก็ไม่ใช่โง่แช่ความทุกข์อยู่นะ ไม่ใช่นั่งภาวนา มดกัดให้มันกัดไป ไม่ใช่กายเรา เนี่ยโง่เกินไปแล้ว สุดโต่งไป ก็มีความเพียรนะ มีสติแล้วก็มีความเพียรไป พอมีสติแล้ว ศรัทธาก็เพิ่มขึ้น มีสติแล้วใจก็จะตั้งมั่น ที่ใจเรานั่งภาวนาแล้วเคลิ้มง็อกแง็ก ง็อกแง็ก เป็นเพราะขาดสติ สติจำเป็นในที่ทุกสถานในกาลทุกเมื่อ ต้องมีสติ จะยืน จะเดิน จะนั่ง จะนอน รู้สึกตัว แต่รู้สึกตัวไม่ใช่เพ่งตัว ไม่ใช่เพ่งกาย ไม่ใช่เพ่งใจ ไม่ใช่เพ่งลมหายใจ ไม่ใช่เพ่งท้องพองยุบ ไม่ใช่เพ่งเท้าเพ่งมือ ไม่ใช่เพ่งร่างกายทั้งกาย ไม่ใช่เพ่งจิต ไม่ใช่เพ่งเวทนา ไม่ได้เพ่งอะไรเลย แค่รู้สึกตัวขึ้นมาแล้วก็รู้ถึงความมีอยู่ของกาย รู้ถึงความมีอยู่ของใจ พอรู้ไปใจมันตั้งมั่นเป็นผู้รู้ผู้ดูอยู่นะ ไม่ขาดสตินะใจมันตั้งมั่นเป็นคนดู ตรงที่ใจตั้งมั่นเป็นคนดูเราจะเห็นเลย ร่างกายอยู่ส่วนหนึ่งใจอยู่ส่วนหนึ่งมีช่องว่างมาคั่น เวทนา ความสุขความทุกข์อยู่ส่วนหนึ่งจิตใจอยู่ส่วนหนึ่ง มีช่องว่างมาคั่น เราจะเห็นเวทนาอยู่นอกๆ ใจอยู่ต่างหาก สัญญา สังขารก็เหมือนกันนะ กุศล อกุศล ทั้งหลายเป็นสังขาร เราเห็นมันอยู่นอกๆ มันไม่ใช่จิตหรอก มันอยู่นอกๆ มีช่องว่างมาคั่นระหว่างจิตกับกิเลสเนี่ย ไม่สัมผัสกัน อย่างนี้เรียกว่าใจของเราตั้งมั่นอยู่ ทีนี้อะไรๆเกิดขึ้นในกายในใจ เราก็เห็นว่า ทั้งกายทั้งใจเขาทำงานของเขาไปเรื่อย ใจมันอยู่ต่างหาก ใจมันตั้งมั่น ตัวนี้เรียกว่ามีสัมมาสมาธิ ใจมันตั้งมั่นอยู่ ถ้าใจไม่ตั้งมั่นใจก็ไหล ไหลเข้าไปไหน ไหลเข้าไปรวมอยู่กับกาย ไหลไปรวมอยู่กับเวทนา ไหลไปรวมอยู่กับสังขาร จิตตสังขารในใจเรา ไหลไปรวมกับความว่างๆ หรือบางทีก็ไหลออกนอก ไหลไปคิดไปนึกไปปรุงไปแต่ง นี้เรียกว่าใจมันไม่ตั้งมั่น ใจเราจะแฉลบซ้ายแฉลบขวาอยู่ทั้งวันนะ ค่อยฝึกนะ ฝึกไปช่วงหนึ่งจะมองเห็น ใจจะแฉลบไปแฉลบมาอยู่ตลอดเวลา เนี่ยในห้องเนี่ย รู้สึกมั้ย ใจจะแฉลบอยู่ตลอดเวลา เดี๋ยวแฉลบไปดู เดี๋ยวแฉลบไปฟัง เดี๋ยวแฉลบไปคิด เดี๋ยวแฉลบไปเพ่ง มีสารพัดรูปแบบ เนี่ยใจมันไม่มีสัมมาสมาธิ ถ้ามันมีสตินะ ใจหลงไปคิด รู้ทันว่าใจมันหลงไปคิด ใจจะตั้งมั่นขึ้นมา ตั้งขึ้นได้แว้บเดียวนะ เดี๋ยวก็ไหลอีก นี่พอเราไหลไปแล้วรู้ เราไหลไปรู้ จะตั้งได้นาน มันจะเหมือนตั้งได้ต่อเนื่อง ความจริงไม่ได้ต่อเนื่องหรอก จิตที่ตั้งมั่นก็เกิดดับทีละขณะเหมือนกับจิตชนิดอื่นนั่นแหละ แต่มันเกิดบ่อย เกิดบ่อยจนรู้สึกเหมือนอยู่ได้นานๆ พออยู่ได้อย่างนี้เรื่อยๆนะ ก็ บางทีสติไประลึกรู้กายเข้า บางทีสติไประลึกรู้จิตเข้า จงใจระลึกไม่ได้ ระลึกของมันเอง เดี๋ยวก็รู้กายเดี๋ยวก็รู้จิต รู้มากๆมันจะเห็นความจริง เอ๊ะกายตะกี้นี้อย่างนี้ กายตอนนี้อย่างนี้ จิตตะกี้นี้อย่างนี้จิตเดี๋ยวนี้อย่างนี้ เห็นว่าไม่เหมือนกัน หรือเห็นว่ากายในปัจจุบันนี้ ที่เรามองอยู่นี้มันของถูกรู้ถูกดู จิตที่เราตามรู้ตามดูก็ของถูกรู้ถูกดู ไม่มีตัวเราเลย ไม่ใช่ตัวเราเลย เป็นของถูกรู้ถูกดูทั้งหมด การที่เห็นกายเห็นใจไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวเรา เป็นของถูกรู้ถูกดูบ้าง เป็นของอยู่นอกๆบ้าง เป็นของเกิดดับบ้าง เป็นของที่ถูกความทุกข์บีบคั้นบ้าง เห็นอย่างนี้เรียกว่าเห็นความจริง การเห็นความจริงนี้เรียกว่าปัญญา เพราะฉะนั้นอาศัยการมีสติเนี่ย เราก็เลยเกิดศรัทธา เกิดวิริยะ เกิดสมาธิ เกิดปัญญาขึ้นมา ไม่ใช่ว่าต้องทำแยกเป็นตัวๆนะ ยกเว้นสมาธิน่ะ สมาธิบางทีเราเจริญสตินานๆไปนะ สมาธิมันตกได้เหมือนกัน อย่างนั้นต้องพักผ่อนจิตใจบ้าง ทำสมถะได้ก็ทำ ถ้าทำสมถะไม่เป็นก็ให้รู้ทันเอาว่าจิตมันไหลไปข้างนอกแล้ว ไปแช่อยู่ข้างนอกนิ่งๆละ ถ้าจิตยังมีแรงอยู่นะ มันจะไหลแว้บไป กลับไปกลับมา กลับไปกลับมา นี่ยังมีแรงอยู่ ถ้าไหลไปแว้บ..ออกไป แล้วก็ไปนอนนิ่งๆอยู่ข้างนอกนะ ส่วนใหญ่ไปนอนแช่อยู่ข้างหน้าเนี่ย นั่นน่ะมันหมดแรงแล้ว นั่นหมดแรงอย่างหนึ่งนะ อีกอย่างหนึ่งก็คือ ไปหลงเพลินในความสุขเสียแล้ว นะ มีสองแบบนะ ที่ไหลไปแช่อยู่ข้างหน้า อันหนึ่งเพราะว่าหมดเรี่ยวหมดแรงที่จะรู้สึกตัวละ ใจไม่มีแรงที่จะตั้งมั่น นะ อีกอันหนึ่งก็มันไปเพลินในความสุข ไปนอนแช่นิ่งๆอยู่ ทีแรกก็ใจมันไม่มีแรงก่อนนะ มันก็เลยไหลไปอยู่ข้างหน้าไปนอนนิ่งๆ พอนอนนิ่งๆแล้วรู้สึกเอ๊ะสบายดี..เลยชอบเลยคราวนี้เลยติดอยู่ข้างหน้า กลับบ้านไม่ได้แล้วไปนอนอยู่หน้าบ้าน คล้ายๆนอนอยู่ในบ้านนานแล้ว เบื่อแล้ว ออกไปนอนเล่นหน้าบ้านนะ ดูเอ๊..ท้องฟ้าปลอดโปร่ง ดาวสวย อะไรอย่างนี้ นอนไปนอนมาเพลินเลยไม่เข้าบ้านเลย กลายเป็นพวกเร่ร่อนจรจัดไปแล้ว เนี่ยใจมันไม่ตั้งมั่น ค่อยสังเกตเอา เมื่อใจยอมรับความจริงได้ อะไรเกิดขึ้นนะ ใจไม่ดิ้น ใจหมดความปรุงแต่ง ไม่ดิ้นต่อ รู้แล้วจบลงที่รู้อย่างแท้จริง พอใจรู้ทุกอย่าง อย่างที่เค้าเป็นนะ แล้วใจไม่ปรุงแต่งต่อเนี่ย ถึงจุดหนึ่งสติปัญญาแก่กล้าพอ มันจะเกิดอริยมรรคขึ้นมา ตอนเกิดอริยมรรคขึ้นมา จิตมันจะไปเห็น สภาวธรรมชนิดหนึ่งซึ่งพ้นจากความปรุงแต่ง ความอยากก็คือตัณหา มาผลักดันให้ใจนี้ดิ้นรน การดิ้นรนของจิตเรียกว่าภพ มีตัณหาเป็นผู้สร้างภพ จิตทำงานอยู่ตลอดเวลา ก็ไม่สามารถเห็นนิพพานที่มันอยู่เหนือภพได้ ต่อเมื่อเราเจริญสติเจริญปัญญาเรียนรู้กาย เรียนรู้ใจของตัวเองมากเข้า มากเข้าวันหนึ่ง มันไม่ยึดถือในกายในใจนะ มันก็พ้นความปรุงแต่งไป ใจก็ไปสัมผัสพระนิพพาน นิพพานมีจริงๆ นิพพานเป็นความสุข นิพพานไม่มีกิเลสนะ นิพพานไม่มีขันธ์ แต่นิพพานมีอยู่ ไม่ใช่ไม่มีอะไรเลย หลังจากนั้นพอเราภาวนามาถึงตรงนี้เนี่ย เรายังเห็นนะขันธ์ก็ยังเป็นทุกข์อยู่ ความทุกข์มีอยู่แต่ไม่มีเจ้าของ ความทุกข์มีอยู่แต่ไม่มีผู้เป็นทุกข์ ค่อยๆ ฝึก เราจะเห็นสภาวธรรมทั้งหลายค่อยๆเคลื่อนไหว เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา แต่ไม่มีเจ้าของหรอกนะ
อย่าประคองจิตนะ ปล่อยจิตให้เป็นธรรมชาติ สมัยที่ยังภาวนาไม่เป็นอย่างนั้นเลยการหัดรู้สภาวะทุกวันๆ มีประโยชน์มาก มันจะทำให้เรามีกำลัง ... หน้าที่เราไม่ใช่ไปหน่วงอารมณ์ให้ช้าลง หน้าที่เราต้องฝึกสติให้เร็วขึ้น เร็ว เร็วมากขึ้นๆ จนใจไหว...แว้บ.รู้ทัน..สติ คือ. ... ถิรสัญญาคือการที่จิตจำสภาวะธรรมได้แม่น หน้าที่เราต้องหัดรู้สภาวะไปเรื่อยๆ นะ ความโกรธเกิดขึ้นก็รู้ ความโลภเกิดก็รู้ ...ไม่ว่าเราจะเห็นสภาวะอะไรเกิดขึ้นเราจะไม่เข้าไปแทรกแซง เช่นเราเห็นความโกรธเกิดขึ้น เราไม่ต้องพยายามทำให้หายโกรธ หน้าที่ของเราคือก็แค่รู้ไปว่าจิตมันโกรธนะ ... วิธีปฏิบัติที่จะทำให้เราพ้นจากทุกข์ทางใจนั้น คือหัดรู้ใจของเรา สติปัฏฐานนั้นเบื้องต้นทำให้เกิดสติ เบื้องปลายทำให้เกิดปัญญา: เราต้องฝึกนะ ฝึกจนสติแท้ๆ เกิดขึ้นมา สติแท้ๆ คือความระลึกได้ สติแท้ๆ เกิดจากจิตจำสภาวะได้ ..ใจฟุ้งซ่าน ดูออกมั้ย ลืมตัวเอง นี่ฝึกนะ ฝึกรู้อย่างนี้แหละ ดูไปเรื่อยๆนะ ถึงจุดหนึ่งที่ปัญญามันพอนี่ จิตมันจะรวม รวมเข้าอัปปนาสมาธิ รวมของมันเองนะ แล้วจะเห็นสภาวะธรรมเกิดดับอยู่สองสามขณะ แล้วถัดจากนั้นอริยะมรรคก็จะเกิดขึ้น จะล้างกิเลส อริยมรรคเวลาล้างกิเลส จะไม่เหมือนการล้างกิเลสด้วยสติ ด้วยสมาธิ ด้วยศีล ด้วยการข่มไว้ อริยมรรค เวลาล้างกิเลส ล้างตัวไหนแล้วล้างเลย ไม่ต้องล้างอีกแล้ว ล้างทีเดียวสะอาดหมดจด ไม่เกิดขึ้นอีกแล้ว แล้วเราค่อยๆ ฝึกนะ วันหนึ่งเราได้เป็นพระอริยะ อย่าวาดภาพว่าพระอริยะยากเกินไป อย่าวาดภาพว่าพระอริยะอยู่ไกล บารมีเราน้อย มัวแต่คิดว่าบารมีน้อยไม่ภาวนา มันก็น้อยไปทุกชาตินั่นแหล่ะ ถึงบารมีน้อยก็ขยันภาวนานะ หายใจไปก็รู้สึกตัวไป หายใจไปรู้สึกตัวไป มีสติรู้สึกตัวไปเรื่อย อย่าให้ลืมตัวเอง ต่อไปก็หายใจไป เห็นร่างกายที่หายใจอยู่ไม่ใช่เรา เห็นจิตใจมันทำงานได้เองนะ นี่ขั้นเดินปัญญา ง่ายๆ แค่นี้แหละ ลองไปทำดู ถ้าจิตไม่อยู่ในกามภูมิ ไม่อยู่ในรูปภูมิ จิตก็ต้องเข้าอรูปภูมิ ทิ้งรูปไปแล้วไปอยู่กับนามธรรม ... ที่จะเกิดอริยมรรค อริยผล ในทุกขั้นตอน ตั้งแต่โสดาปัตติมรรค จนถึงอรหัตตมรรค .. เราดูกายดูใจเขาทำงานของเขาไป เราดูกายดูใจเขาปรุงแต่งของเขาไป แล้วเราไม่ต้องทำอะไร รู้ลูกเดียว* รู้แล้ววันหนึ่งแล้วจะเข้าใจเลย กายกับใจเป็นธรรมชาติที่ปรุงแต่ง เรียก สังขตธรรม เป็นธรรมชาติที่ปรุงแต่ง ไม่ใช่ไปฝึกให้มันไม่ปรุงแต่ง แต่เมื่อมันปรุงแต่งแล้วเราไม่หลงยินดียินร้าย เราไม่ไปช่วยมันปรุงแต่ง ตัวนี้ต่างหากล่ะ สบายเลยคราวนี้ จิตใจนะไม่ต้องทำงาน จิตใจว่างงาน ที่ว่าสิ้นชาติสิ้นภพจบพรหมจรรย์ สิ้นชาติคือจิตไม่ไปหยิบฉวยรูปธรรมนามธรรมใดๆขึ้นมายึดถือไว้ให้เป็นภาระหนักหน่วงถ่วงจิตใจอีกต่อไป สิ้นภพคือสิ้นการทำงานทางใจ สิ้นชาติ สิ้นภพ จบพรหมจรรย์ คือไม่ต้องมีการศึกษาเรียนรู้การปฏิบัติธรรมใดๆอีกแล้วนะ งานทำเสร็จแล้ว เพราะใจปล่อยวางไปหมดแล้ว ใจพ้นจากการปรุงแต่ง พ้นจากการทำงานแล้ว เนี่ย พ้นไปได้อย่างนี้นะ เข้าถึงสันติสุขที่แท้จริง มีแต่ความสุขล้วนๆ ทีนี้จะพ้นได้ก็เพราะมีสติขึ้นมา รู้ทันการปรุงแต่งของกายของใจไป โดยที่ไม่ไปช่วยมันปรุงแต่ง พอเรารู้ทันการปรุงแต่งของกายของใจนะ ใจมันก็จะปรุงสุข ปรุงทุกข์ ปรุงดี ปรุงชั่วอะไรขึ้นมา ก็แล้วแต่มัน ไม่ห้ามมันหรอก ไม่ใช่ว่าจะต้องดีด้วยซ้ำไป ไม่ใช่ฝึกเอาดีนะ ไม่ใช่ฝึกเอาดี ไม่ใช่ฝึกเอาสุข ไม่ได้ฝึกเอาสงบ แต่ฝึกเพื่อเห็นเลยว่า จิตใจมันก็ทำงานของมันไป ในใจเรารู้ทันแล้วก็เป็นกลาง ไม่ไปแตะต้องแล้วก็ไม่ไปทำอะไรมัน จริงๆนะ จะรู้เลยว่าตัวเราไม่มีหรอก เป็นภาพลวงตาเท่านั้นเอง เป็นมายาหลอกลวง เหมือนฝัน ฝันไปว่ามีตัวเรา จริงๆไม่มีเรา ถ้าเมื่อไหร่ปัญญาแทงทะลุลงไปว่าจริงๆไม่มีเราหรอก เป็นภาพลวงตาทั้งหมดเลย นั่นแหละคือภูมิธรรมของพระโสดาบัน ฟังแล้วเหมือนยากนะ แต่ลงมือทำจริงไม่ยากหรอก บางคนใช้เวลาไม่กี่วันด้วยซ้ำไป บางคนใช้เวลาสั้นนิดเดียวนะ อย่าว่าแต่พระโสดาบันเลย บางท่านฟังธรรมะไม่กี่ประโยค ท่านก็เป็นพระอรหันต์ ยกตัวอย่างพระพาหิยะ ฟังธรรมะนิดเดียว ฟังอยู่กลางตลาดเลย ท่านได้เป็นพระอรหันต์ เวลาเราปฏิบัตินะ แต่เดิมเราก็จะหลงผิดว่าเราปฏิบัติให้มันมีความสุข เราเห็นว่าในโลกนี้มีทั้งความสุขและความทุกข์ เราก็จะพยายามหลบไอ้ตรงทุกข์ จะไปเอาตรงสุข ดิ้นไปเรื่อยๆ เวลาเจอความสุขก็พอใจ เพลิน เจอความทุกข์ก็พยายามจะหนี ทุกข์กายทุกข์ใจ มี ๒ อัน ทางกายเราก็อยากจะไปเห็น อยากได้กลิ่น ได้รส ได้สัมผัสที่มันดีๆ หนีที่ไม่ดี เวลาเจอของไม่ดีเราก็หวังว่าถ้าหนีอันนี้ไปได้แล้วจะได้ไปเจอของดี ลืมไปอันนึงว่าไอ้ต้นตอตัวหัวโจกเลยมันไม่ใช่รูปรสกลิ่นเสียงโผฏฐัพพะหรอก กระทั่งกายเรานี้ก็ไม่ใช่ของดิบดีอะไร ไม่มีความสุขจริง ทั้งกายนี้มีแต่ความทุกข์ จิตใจก็เหมือนกันนะ จิตใจก็เที่ยวหาอารมณ์ที่เป็นสุข ร่างกายของเรา เราก็อยากให้ร่างกายเราได้แต่อารมณ์ที่เป็นสุข ร่างกายจิตใจอยากจะเอาแต่สุข ไม่เอาทุกข์ แล้วที่ใจเราดิ้นรนไม่เลิกเนี่ย เพราะเรายังหลงผิดว่าสุขมันมีอยู่ เจอทุกข์แล้วหลบให้ดีเหอะ เดี๋ยวเราจะเจอสุข ถ้าศึกษาศาสนาพุทธอย่างถึงแก่นจริงๆจะพบว่าเราหลบหลีกไปไม่ได้นาน เพราะตัวเราเองเป็นตัวทุกข์ ร่างกายจิตใจของเราเองนั่นแหละตัวทุกข์ ไม่ใช่คนอื่นทุกข์นะ อย่างสมมติไปหาของอร่อยที่สุดมากิน ร่างกายก็ยังมีความทุกข์อีก ของที่อร่อยที่สุดไม่ได้ทำให้ร่างกายมีความสุขได้ถาวรอะไร รูปที่สวยที่สุดไม่ได้ทำให้ร่างกายมีความสุข อารมณ์ที่ดีก็ไม่ได้ทำให้จิตมีความสุขถาวรได้เพราะจิตไม่เที่ยง ถ้าเราเข้าใจว่าร่างกายจิตใจของเราบังคับไม่ได้ ไม่เที่ยง ไม่ใช่ตัวตน ก็ค่อยคลายความยึดถือ มันจะไม่ไปดิ้นหาความสุข แล้วก็ไม่ดิ้นหนีความทุกข์ แต่ก็ไม่ใช่โง่แช่ความทุกข์อยู่นะ ไม่ใช่นั่งภาวนา มดกัดให้มันกัดไป ไม่ใช่กายเรา เนี่ยโง่เกินไปแล้ว สุดโต่งไป ก็มีความเพียรนะ มีสติแล้วก็มีความเพียรไป พอมีสติแล้ว ศรัทธาก็เพิ่มขึ้น มีสติแล้วใจก็จะตั้งมั่น ที่ใจเรานั่งภาวนาแล้วเคลิ้มง็อกแง็ก ง็อกแง็ก เป็นเพราะขาดสติ สติจำเป็นในที่ทุกสถานในกาลทุกเมื่อ ต้องมีสติ จะยืน จะเดิน จะนั่ง จะนอน รู้สึกตัว แต่รู้สึกตัวไม่ใช่เพ่งตัว ไม่ใช่เพ่งกาย ไม่ใช่เพ่งใจ ไม่ใช่เพ่งลมหายใจ ไม่ใช่เพ่งท้องพองยุบ ไม่ใช่เพ่งเท้าเพ่งมือ ไม่ใช่เพ่งร่างกายทั้งกาย ไม่ใช่เพ่งจิต ไม่ใช่เพ่งเวทนา ไม่ได้เพ่งอะไรเลย แค่รู้สึกตัวขึ้นมาแล้วก็รู้ถึงความมีอยู่ของกาย รู้ถึงความมีอยู่ของใจ พอรู้ไปใจมันตั้งมั่นเป็นผู้รู้ผู้ดูอยู่นะ ไม่ขาดสตินะใจมันตั้งมั่นเป็นคนดู ตรงที่ใจตั้งมั่นเป็นคนดูเราจะเห็นเลย ร่างกายอยู่ส่วนหนึ่งใจอยู่ส่วนหนึ่งมีช่องว่างมาคั่น เวทนา ความสุขความทุกข์อยู่ส่วนหนึ่งจิตใจอยู่ส่วนหนึ่ง มีช่องว่างมาคั่น เราจะเห็นเวทนาอยู่นอกๆ ใจอยู่ต่างหาก สัญญา สังขารก็เหมือนกันนะ กุศล อกุศล ทั้งหลายเป็นสังขาร เราเห็นมันอยู่นอกๆ มันไม่ใช่จิตหรอก มันอยู่นอกๆ มีช่องว่างมาคั่นระหว่างจิตกับกิเลสเนี่ย ไม่สัมผัสกัน อย่างนี้เรียกว่าใจของเราตั้งมั่นอยู่ ทีนี้อะไรๆเกิดขึ้นในกายในใจ เราก็เห็นว่า ทั้งกายทั้งใจเขาทำงานของเขาไปเรื่อย ใจมันอยู่ต่างหาก ใจมันตั้งมั่น ตัวนี้เรียกว่ามีสัมมาสมาธิ ใจมันตั้งมั่นอยู่ ถ้าใจไม่ตั้งมั่นใจก็ไหล ไหลเข้าไปไหน ไหลเข้าไปรวมอยู่กับกาย ไหลไปรวมอยู่กับเวทนา ไหลไปรวมอยู่กับสังขาร จิตตสังขารในใจเรา ไหลไปรวมกับความว่างๆ หรือบางทีก็ไหลออกนอก ไหลไปคิดไปนึกไปปรุงไปแต่ง นี้เรียกว่าใจมันไม่ตั้งมั่น ใจเราจะแฉลบซ้ายแฉลบขวาอยู่ทั้งวันนะ ค่อยฝึกนะ ฝึกไปช่วงหนึ่งจะมองเห็น ใจจะแฉลบไปแฉลบมาอยู่ตลอดเวลา เนี่ยในห้องเนี่ย รู้สึกมั้ย ใจจะแฉลบอยู่ตลอดเวลา เดี๋ยวแฉลบไปดู เดี๋ยวแฉลบไปฟัง เดี๋ยวแฉลบไปคิด เดี๋ยวแฉลบไปเพ่ง มีสารพัดรูปแบบ เนี่ยใจมันไม่มีสัมมาสมาธิ ถ้ามันมีสตินะ ใจหลงไปคิด รู้ทันว่าใจมันหลงไปคิด ใจจะตั้งมั่นขึ้นมา ตั้งขึ้นได้แว้บเดียวนะ เดี๋ยวก็ไหลอีก นี่พอเราไหลไปแล้วรู้ เราไหลไปรู้ จะตั้งได้นาน มันจะเหมือนตั้งได้ต่อเนื่อง ความจริงไม่ได้ต่อเนื่องหรอก จิตที่ตั้งมั่นก็เกิดดับทีละขณะเหมือนกับจิตชนิดอื่นนั่นแหละ แต่มันเกิดบ่อย เกิดบ่อยจนรู้สึกเหมือนอยู่ได้นานๆ พออยู่ได้อย่างนี้เรื่อยๆนะ ก็ บางทีสติไประลึกรู้กายเข้า บางทีสติไประลึกรู้จิตเข้า จงใจระลึกไม่ได้ ระลึกของมันเอง เดี๋ยวก็รู้กายเดี๋ยวก็รู้จิต รู้มากๆมันจะเห็นความจริง เอ๊ะกายตะกี้นี้อย่างนี้ กายตอนนี้อย่างนี้ จิตตะกี้นี้อย่างนี้จิตเดี๋ยวนี้อย่างนี้ เห็นว่าไม่เหมือนกัน หรือเห็นว่ากายในปัจจุบันนี้ ที่เรามองอยู่นี้มันของถูกรู้ถูกดู จิตที่เราตามรู้ตามดูก็ของถูกรู้ถูกดู ไม่มีตัวเราเลย ไม่ใช่ตัวเราเลย เป็นของถูกรู้ถูกดูทั้งหมด การที่เห็นกายเห็นใจไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวเรา เป็นของถูกรู้ถูกดูบ้าง เป็นของอยู่นอกๆบ้าง เป็นของเกิดดับบ้าง เป็นของที่ถูกความทุกข์บีบคั้นบ้าง เห็นอย่างนี้เรียกว่าเห็นความจริง การเห็นความจริงนี้เรียกว่าปัญญา เพราะฉะนั้นอาศัยการมีสติเนี่ย เราก็เลยเกิดศรัทธา เกิดวิริยะ เกิดสมาธิ เกิดปัญญาขึ้นมา ไม่ใช่ว่าต้องทำแยกเป็นตัวๆนะ ยกเว้นสมาธิน่ะ สมาธิบางทีเราเจริญสตินานๆไปนะ สมาธิมันตกได้เหมือนกัน อย่างนั้นต้องพักผ่อนจิตใจบ้าง ทำสมถะได้ก็ทำ ถ้าทำสมถะไม่เป็นก็ให้รู้ทันเอาว่าจิตมันไหลไปข้างนอกแล้ว ไปแช่อยู่ข้างนอกนิ่งๆละ ถ้าจิตยังมีแรงอยู่นะ มันจะไหลแว้บไป กลับไปกลับมา กลับไปกลับมา นี่ยังมีแรงอยู่ ถ้าไหลไปแว้บ..ออกไป แล้วก็ไปนอนนิ่งๆอยู่ข้างนอกนะ ส่วนใหญ่ไปนอนแช่อยู่ข้างหน้าเนี่ย นั่นน่ะมันหมดแรงแล้ว นั่นหมดแรงอย่างหนึ่งนะ อีกอย่างหนึ่งก็คือ ไปหลงเพลินในความสุขเสียแล้ว นะ มีสองแบบนะ ที่ไหลไปแช่อยู่ข้างหน้า อันหนึ่งเพราะว่าหมดเรี่ยวหมดแรงที่จะรู้สึกตัวละ ใจไม่มีแรงที่จะตั้งมั่น นะ อีกอันหนึ่งก็มันไปเพลินในความสุข ไปนอนแช่นิ่งๆอยู่ ทีแรกก็ใจมันไม่มีแรงก่อนนะ มันก็เลยไหลไปอยู่ข้างหน้าไปนอนนิ่งๆ พอนอนนิ่งๆแล้วรู้สึกเอ๊ะสบายดี..เลยชอบเลยคราวนี้เลยติดอยู่ข้างหน้า กลับบ้านไม่ได้แล้วไปนอนอยู่หน้าบ้าน คล้ายๆนอนอยู่ในบ้านนานแล้ว เบื่อแล้ว ออกไปนอนเล่นหน้าบ้านนะ ดูเอ๊..ท้องฟ้าปลอดโปร่ง ดาวสวย อะไรอย่างนี้ นอนไปนอนมาเพลินเลยไม่เข้าบ้านเลย กลายเป็นพวกเร่ร่อนจรจัดไปแล้ว เนี่ยใจมันไม่ตั้งมั่น ค่อยสังเกตเอา เมื่อใจยอมรับความจริงได้ อะไรเกิดขึ้นนะ ใจไม่ดิ้น ใจหมดความปรุงแต่ง ไม่ดิ้นต่อ รู้แล้วจบลงที่รู้อย่างแท้จริง พอใจรู้ทุกอย่าง อย่างที่เค้าเป็นนะ แล้วใจไม่ปรุงแต่งต่อเนี่ย ถึงจุดหนึ่งสติปัญญาแก่กล้าพอ มันจะเกิดอริยมรรคขึ้นมา ตอนเกิดอริยมรรคขึ้นมา จิตมันจะไปเห็น สภาวธรรมชนิดหนึ่งซึ่งพ้นจากความปรุงแต่ง ความอยากก็คือตัณหา มาผลักดันให้ใจนี้ดิ้นรน การดิ้นรนของจิตเรียกว่าภพ มีตัณหาเป็นผู้สร้างภพ จิตทำงานอยู่ตลอดเวลา ก็ไม่สามารถเห็นนิพพานที่มันอยู่เหนือภพได้ ต่อเมื่อเราเจริญสติเจริญปัญญาเรียนรู้กาย เรียนรู้ใจของตัวเองมากเข้า มากเข้าวันหนึ่ง มันไม่ยึดถือในกายในใจนะ มันก็พ้นความปรุงแต่งไป ใจก็ไปสัมผัสพระนิพพาน นิพพานมีจริงๆ นิพพานเป็นความสุข นิพพานไม่มีกิเลสนะ นิพพานไม่มีขันธ์ แต่นิพพานมีอยู่ ไม่ใช่ไม่มีอะไรเลย หลังจากนั้นพอเราภาวนามาถึงตรงนี้เนี่ย เรายังเห็นนะขันธ์ก็ยังเป็นทุกข์อยู่ ความทุกข์มีอยู่แต่ไม่มีเจ้าของ ความทุกข์มีอยู่แต่ไม่มีผู้เป็นทุกข์ ค่อยๆ ฝึก เราจะเห็นสภาวธรรมทั้งหลายค่อยๆเคลื่อนไหว เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา แต่ไม่มีเจ้าของหรอกนะ
สาวกภูมิ พุทธภูมิจิตมันรู้ตื่นแล้วก็เป็นกลาง สักว่ารู้ สักว่าเห็น มันเห็นทุกสิ่งทุกอย่างเกิดแล้วดับ ทุกสิ่งทุกอย่างเท่าเทียมกัน สุขกับทุกข์เท่ากัน มีความสุขเกิดขึ้นมาก็สักว่ารู้สักว่าเห็นได้ มีความทุกข์เกิดขึ้นมา ก็สักว่ารู้สักว่าเห็นได้ เมื่อสักว่า สักว่า แล้วอะไรจะเกิดขึ้น ก็จะหมดการดิ้นรนของจิต หมดความปรุงแต่งของจิต จิตจะค่อยๆ ปรุงน้อยลงๆ ถึงจุดหนึ่งหยุดปั๊บลงไปตรงหยุดปั๊บ ลงไปนี่จิตจะรวมเข้าอัปปนาสมาธิโดยสมาธิโดยอัตโนมัติเลย เมื่อรวมเข้าอัปปนาสมาธิแล้ว ตรงนี้จะไม่คิดไม่นึกอะไรแล้ว จะเห็นสภาวธรรม (รูปธรรม นามธรรม) เกิดดับขึ้นภายใน ๒-๓ ขณะ ใจนี้สักว่ารู้สักว่าเห็นอย่างแท้จริง ไม่มีกระทั่งความคิดนึกปรุงแต่งใดๆ สักนิดเดียวเลย ถัดจากนั้น จิตจะวางการรู้สภาวะทบทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้ พอทวนกระแสเข้าถึงธาตุรู้แล้วอริยมรรคจะแหวกอาสวะกิเลสทั้งหลายหรือสังโยชน์ทั้งหลาย อาสวะที่ห่อหุ้มจิตอยู่ สังโยชน์ที่แทรกอยู่ในจิตจะถูกทำลายออกไปตรงกระบวนการทำลายล้างนี่ ๑ ขณะเท่านั้น พอขาดสะบั้นลงแล้ว ตรงนี้เราจะเห็นนิพพาน ๒ ขณะบ้าง ๓ ขณะบ้าง ตรงนี้เป็นผลแล้ว เป็นโลกุตรผลนะ ตรงที่เกิดอริยมรรคเรียกว่าโลกุตตรเหตุ มรรคเป็นเหตุ ผลเป็นผล ตรงที่เห็นเป็นผลนี่จะเห็นไม่เท่ากัน พวกที่สติปัญญาแก่กล้าจะเห็นนิพพาน ๓ ครั้ง ๓ ขณะ พวกที่ยังไม่แก่กล้าจะเห็นนิพพาน ๒ ขณะถัดจากนั้นจิตจะถอยออกมากลับสู่โลกภายนอกนี้ พอกลับมาสู่โลกภายนอก มันจะทวนกลับเข้าไปพิจารณาใหม่ว่าเมื่อกี้นี้เกิดอะไรขึ้น มันจะรู้เลยว่ากิเลสตัวไหนหายไปแล้ว กิเลสตัวไหนยังเหลืออยู่ รู้ว่ายังมีงานต้องทำอีก แต่ถ้าตัดครั้งที่สี่เป็นพระอรหันต์นะ มันทวนวับเข้าไป มันจะเห็นนิพพานชัดเจนเลย ไม่มีกิเลสอะไรให้ต้องลดละอีกแล้ว มันไม่มีกิเลสเหลือ จะเห็นนิพพานล้วนๆเราเป็นลูกพระพุทธเจ้า เราต้องเชื่อพ่อแม่ เราต้องรู้กายรู้ใจของเราไปเรื่อยๆ แล้ววันหนึ่งเราจะได้มรดกของพระพุทธเจ้า
ข่าวกุศลการที่เราได้ยินธรรมะเกี่ยวกับการรู้สึกตัว ได้ยินธรรมะเกี่ยวกับการแยกธาตุแยกขันธ์นะ ไม่ใช่คนทั่วๆไปจะได้ยินได้หรอก มันเป็นธรรมะในขั้นการปฏิบัติ แล้วก็ไม่ใช่ปฏิบัติเหยาะๆแหยะๆ เป็นธรรมะที่หวังมรรคผลนิพพานกันจริงๆ ถ้าเราไม่ได้หวังถึงมรรคผลนิพพานไม่ต้องรู้สึกตัวก็ได้ ทำบุญให้ทานอะไรอย่างนั้นไป ทำบุญทำทานไป ถึงเวลาไปนั่งสมาธิเคลิ้มไปเคลิ้มมาแค่นั้นก็มีความสุขแล้ว แต่พวกเราไม่ได้ต้องการแค่นั้น บารมีพวกเรามี ถึงวันนี้มันก็คงแก่กล้าขึ้นบ้างแล้วล่ะ ถึงไม่ทันสมัยพุทธกาลนะ แต่ว่ายังไม่สิ้นศาสนาพุทธไปก็ยังทันตรงกลางพุทธกาลนี้แหละ ต้นพุทธกาลไม่ทัน มาทันกึ่งพุทธกาล ถึงจะน้อยก็ไม่เป็นไร คนหนึ่งก็ดีกว่าไม่มีสักคน ตราบใดยังมีคนศึกษาปฏิบัติอยู่สักคนหนึ่งนะ เรียกว่าศาสนายังไม่สูญนะ ในคัมภีร์พูดถึงวันที่ศาสนาสูญไป บอกว่าพระเจ้าแผ่นดินให้ไปประกาศ ว่าถ้าใครทรงจำพระธรรมะวินัยได้สักประโยคหนี่งนะ จะให้รางวัลมากมาย ประกาศอยู่นาน ไม่มีเลย ไม่มีใครเคยได้ยินเรื่องพระธรรมวินัยเลย อันนั้นถือว่าสูญไปแล้ว หมดศาสนาแล้ว แต่พวกเรายังไม่หมด ธรรมะชั้นสูงในการปฏิบัติยังเหลืออยู่ อยู่ที่พวกเราปฏิบัติธรรมให้สมควรแก่ธรรมหรือเปล่าเท่านั้นเอง ธรรมะในขั้นทาน ทำทานรักษาศีลอะไรอย่างนี้เป็นสาธารณะ ยุคไหนสมัยไหนก็มี ในยุคที่ไม่มีพระพุทธศาสนา การทำทานรักษาศีลก็มี การนั่งสมาธิก็มี แต่ไม่มีการเจริญปัญญาในขั้นวิปัสสนากรรมฐานที่จะข้ามภพข้ามชาติข้ามโลกไป ก่อนที่เราจะมาเจริญปัญญา ทำวิปัสสนากรรมฐานได้เนี่ย ต้องรู้ก่อน วิปัสสนากรรมฐานนั้นต้องมีสติ รู้กายรู้ใจตามความเป็นจริงจะเห็นไตรลักษณ์ของมัน พวกเราอย่าไปปล่อยตัวปล่อยใจตามกิเลส ส่วนพวกที่มีความเพียรแล้วลอยขึ้น ฟูขึ้น ก็คือพวกที่อยากดี พยายามควบคุมตัวเอง ควบคุมกายควบคุมใจให้มันดี มุ่งให้มันดีให้มันสุขให้มันสงบ ตั้งเป้าไปที่ดีที่สุขที่สงบ อย่างนั่งสมาธิก็นั่งเอาดี นั่งเอาสุข นั่งเอาสงบ จะทำบุญทำทานก็ยังตั้งเป้าหมาย อยากโน้นอยากนี้อยู่ ควบคุมตัวเองอยู่ พยายามบังคับตัวเอง อยากกินไม่กิน อยากนอนไม่นอน อะไรอย่างนี้ พากเพียร แต่ทำไปโดยมุ่งเอาดี เอาสุข เอาสงบ ตั้งเป้าไว้ตรงนี้แล้วพากเพียร ทำไปแล้วได้อะไร อย่างมาก็ได้ดี ได้สุข ได้สงบน่ะสิ แต่ดีไม่เที่ยง สุขไม่เที่ยง สงบไม่เที่ยง เอาของไม่เที่ยงเป็นสาระแก่นสาร เอาของที่ยังไม่ใช่สาระที่แท้จริงมาเป็นสาระที่แท้จริง มันก็ดีอยู่ชั่วคราวแล้วมันก็เสื่อม สุขอยู่ชั่วคราวแล้วก็เสื่อม สงบอยู่ชั่วคราวแล้วก็เสื่อมนะ ลอยขึ้นไป ทำความดีแล้วก็ลอยขึ้นไปนะ ขึ้นไปสู่สุคติทั้งหลาย ตั้งแต่มนุษย์ เป็นเทวดา เป็นพรหมขึ้นไป ไปเสวยความดี ความสุข ความสงบ ผลของความดี ความสุข ความสงบ แล้วก็หล่นลงมา ข้ามโอฆะไม่ได้ ยังเวียนว่ายตายเกิดอยู่ ทางสองทางนี้แหละ คือความสุดโต่งสองด้านนี้แหละ พระพุทธเจ้าบอกไม่เอา ทางสายกลางมีอยู่ ถ้าเราอยากพ้นทุกข์จริงๆ เบื้องต้นหัดรู้สึกตัวไว้ก่อน การที่เราคอยรู้เนื้อรู้ตัวนี่เราจะไม่หลงตามกิเลสไป แต่ให้รู้ ไม่ใช่ให้เพ่ง ไม่ใช่ให้บังคับ ไม่ใช่ให้ดัดแปลง ถ้าเพ่ง ถ้าบังคับ ถ้าดัดแปลง อันนี้คือการบังคับตัวเอง มีผลให้เราได้เป็นมนุษย์ที่ดี เป็นเทวดา เป็นพรหม ถึงวันหนึ่งก็เสื่อมอีก ยังไม่พ้นการเวียนว่ายตายเกิด …พยายามรู้สึกตัวขึ้นมานะ แล้วมาเรียนรู้ความจริงของรูปของนาม ถ้าจิตใจยังติดใจในรูปในนามอยู่ ก็ยังเวียนว่ายตายเกิดอยู่ ยังก่อภพก่อชาติไปไม่สิ้นสุด
ชนเหล่าใดสำรวมจิต ชนเหล่านั้นจะพ้นจากเครื่องผูกแห่งมารว่าด้วยสัทธานุสารี และธัมมานุสารีบุคคล กรุงสาวัตถี. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย จักขุวิญญาณไม่เที่ยง มีอันแปรปรวนเป็นอย่างอื่นเป็น ธรรมดา โสตวิญญาณ ฯลฯ ฆานวิญญาณ ฯลฯ ชิวหาวิญญาณ ฯลฯ กายวิญญาณ ฯลฯ มโนวิญญาณ ไม่เที่ยง มีอันแปรปรวนเป็นอย่างอื่น เป็นธรรมดา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดเชื่อมั่นไม่หวั่นไหวซึ่งธรรม เหล่านี้อย่างนี้ เรากล่าวผู้นี้ว่า สัทธานุสารี ฯลฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมทั้งหลายเหล่านี้ ย่อมควรเพ่งด้วยปัญญา โดยประมาณอย่างนี้ แก่ผู้ใด เรากล่าวผู้นี้ว่า ธัมมานุสารี ฯลฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดรู้เห็น ธรรมเหล่านี้ อย่างนี้ เรากล่าวผู้นี้ว่าเป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำ เป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้เป็นเบื้องหน้า. จบ วิญญาณสูตร พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๕ มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ ๒๐. กีฎาคิริสูตร สูตรว่าด้วยเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในนิคมชื่อกีฎาคิริ ๔. ตรัสอธิบายถึงบุคคล ( ผู้ได้บรรลุคุณธรรม ) ๗ ประเภท พร้อมทั้งแจกรายละเอียด ดังต่อไปนี้:- (๑) อุภโตภาควิมุต ผู้พ้นโดยส่วนทั้งสอง ( อรรถกถาอธิบายว่า พ้นทั้งแจกรูปกายด้วยอรูปกายด้วยอรูปสมาบัติพ้นจากนามกายด้วยมรรค) ได้แก่ผู้ ถูกต้อง วิโมกข์อันสงบระงับด้วยกาย ( คือนามกาย ) สิ้นอาสวะเพราะเห็นด้วยปัญญา (๒) ปัญญาวิมุต ผู้พ้นด้วยปัญญา ได้แก่ผู้ ไม่ได้ถูกต้อง วิโมกข์อันสงบระงับด้วยนามกาย สิ้นอาสวะเพราะเห็นด้วยปัญญา ทั้งสองประเภทนี้ไม่ต้องทรงสอนให้ทำการด้วยความไม่ประมาท เพราะทำการด้วยความไม่ประมาทอยู่แล้ว ( คือเป็นพระอรหันต์อยู่แล้ว ไม่เป็นไปได้ที่จะประมาทอีก ). (๓) กายสักขี ผู้ถูกต้องผัสสะแห่งฌานก่อนแล้ว จึงทำให้แจ้งนิพพานในภายหลัง. ได้แก่ผู้ถูกต้องวิโมกข์อันสงบระงับด้วยนามกาย แต่สิ่งสิ้นอาสวะเพียงบางส่วน (๔) ทิฏฐิปัตตะ ผู้บรรลุเพราะเห็นธรรมด้วยปัญญา ได้แก่ผู้มิได้ถูกต้องวิโมกข์อันสงบระงับ ด้วยนามกาย สิ้นอาสวะเพียงบางส่วน เห็นธรรมที่ตถาคตแสดงแล้วอย่างแจ่มแจ้งด้วยปัญญา (๕) สัทธาวิมุต ผู้พ้นเพราะศรัทธา ได้แก่ผู้มิได้ถูกต้องวิโมกข์อันสงบระงับด้วยนามกาย สิ้นอาสวะเพียงบางส่วน มีศรัทธาตั้งมั่นในตถาคต (๖) ธัมมานุสารี ผู้แล่นไปตามธรรมะ ได้แก่ผู้มิได้ถูกต้องวิโมกข์อันสงบระงับด้วยนามกาย สิ้นอาสวะเพียงบางส่วน เพ่งพอประมาณซึ่งธรรมะที่ตถาคตแสดงแล้วด้วยปัญญา (๗) สัทธานุสารี ผู้แล่นไปตามศรัทธา ได้แก่ผู้มิได้ถูกต้องวิโมกข์อันสงบระงับด้วยนามกาย มีศรัทธามีความรักในตถาคต. ตั้งแต่กายสักขีถึงสัทธานุสารี รวม ๕ ประเภท เป็นพระอริยบุคคลที่ยังไม่ถึงขั้นพระอรหันต์ พระผู้มีพระภาคยังทรงสอนให้ทำการด้วยความไม่ประมาท เพราะทรงเห็นผลของความไม่ประมาท. (หมายเหตุ: พระอริยบุคคล ๗ ประเภทนี้ กำหนดด้วยคุณสมบัติพิเศษทางจิตใจที่ต่างกันเพียงเล็ก ๆ น้อย ๆ มีอธิบายไว้พิสดารในคัมภีร์วิสุทธิมรรค และอรรถกถาทั่วไป ในที่นี้จึงแสดงไว้พอรู้จักชื่อและคุณสมบัติตามควร ). ที่มา พระไตรปิฎก ฉบับประชาชน (อ.สุชีพ ปุญญานุภาพ)
สิ่งที่ใครใครไม่อาจจะชนะได้ดวงจันทร์ซึ่งเป็นราชาแห่งดวงดาวเป็นฉันใด วัยนี้หาเป็นฉันนั้นไม่ เพราะส่วนใดล่วงไปแล้ว ส่วนนั้นเป็นอันล่วงไปแล้วในบัดนี้ อนึ่ง คนแก่เฒ่าชราแล้วหามีความยินดีไม่ ความสุขจะมีแต่ที่ไหน เพราะเหตุนั้นข้าพเจ้าจึงมีความคิดว่าจะประพฤติธรรม ยักษ์ ปิศาจ หรือแม้เปรตทั้งหลายเหล่านั้น โกรธขึ้นมาแล้วย่อมเข้าสิงมนุษย์ทั้งหลายได้ แต่ไม่อาจเข้าสิงพญามัจจุราชได้ เพราะเหตุนั้นข้าพเจ้าจึงมีความคิดว่าจะประพฤติธรรม ยักษ์ ปิศาจ หรือแม้เปรตทั้งหลายเหล่านั้น โกรธขึ้นมาแล้วมนุษย์ทั้งหลายย่อมทำให้อดโทษได้ด้วยพลีกรรม แต่จะทำพญามัจจุราชให้อดโทษด้วยพลีกรรมหาได้ไม่ เพราะเหตุนั้นข้าพเจ้าจึงมีความคิดว่าจะประพฤติธรรม พระราชาทั้งหลายทรงทราบความผิดอย่างชัดแจ้งแล้วจึงทรงลงอาชญาผู้มีความผิด ผู้ประทุษร้ายและเบียดเบียนประชาชน แต่ไม่ทรงสามารถลงอาชญาพญามัจจุราชได้ เพราะเหตุนั้นข้าพเจ้าจึงมีความคิดว่าจะประพฤติธรรม ชนทั้งหลายผู้กระทำความผิด ผู้ประทุษร้ายและผู้เบียดเบียนเหล่านั้น ย่อมได้เพื่อจะทูลเกล้าถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษ แต่จะทำพญามัจจุราชให้อภัยโทษหาได้ไม่ เพราะเหตุนั้นข้าพเจ้าจึงมีความคิดว่าจะประพฤติธรรม ความเพ่งเล็งด้วยความหวังดีว่า ผู้นี้เป็นกษัตริย์ เป็นพราหมณ์ ผู้นี้เป็นคนมั่งคั่ง เป็นคนมีพลัง หรือเป็นคนมีเดช ไม่ได้มีแก่พญามัจจุราชเลย เพราะเหตุนั้นข้าพเจ้าจึงมีความคิดว่าจะประพฤติธรรม สิงห์โต เสือโคร่ง และแม้เสือเหลืองทั้งหลาย ย่อมข่มขี่กัดกินสัตว์ที่ดิ้นรนไปมาได้ แต่ไม่อาจจะกัดกินพญามัจจุราชได้เลย เพราะเหตุนั้นข้าพเจ้าจึงมีความคิดว่าจะประพฤติธรรม นักมายากลทั้งหลายเมื่อแสดงมายากลท่ามกลางสนาม ย่อมลวงตาประชาชนให้หลงใหลได้เพียงนั้น แต่ไม่อาจลวงตาพญามัจจุราชได้เลย เพราะเหตุนั้นข้าพเจ้าจึงมีความคิดว่าจะประพฤติธรรม
ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ความไม่เศร้าโศกที่ท่านได้นี้เพราะท่านได้ทำกรรมอะไรไว้...คาถาของท่านพระอุตตรเถระ เริ่มต้นว่า นตฺถิ โกจิ ภโว นีโจ. เรื่องราวของท่านเป็นอย่างไร? แม้พระเถระนี้ก็เป็นผู้มีอธิการอันกระทำแล้วในพระพุทธเจ้าองค์ก่อนๆ สั่งสมบุญอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานไว้ในภพนั้นๆ ในกาลของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าสุเมธะ. เขาเป็นวิชาธร ท่องเที่ยวไปโดยอากาศ. ก็โดยสมัยนั้น พระศาสดาเมื่อจะทรงอนุเคราะห์เขา จึงเปล่งพระพุทธรังสีมีวรรณะ ๖ ประทับนั่งที่โคนไม้แห่งหนึ่ง เขาเหาะไปโดยอากาศ เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว มีจิตเลื่อมใส ลงจากอากาศ บูชาพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยดอกกรรณิการ์ อันสะอาดบริสุทธิ์ด้วยดี ไพบูลย์. ด้วยพุทธานุภาพ (บันดาลให้) ดอกไม้ทั้งหลายตั้งอยู่ในเบื้องบนของพระศาสดา โดยอาการของฉัตร ด้วยพุทธานุภาพนั้น ทำให้เขามีจิตเลื่อมใสยิ่งกว่าประมาณ ต่อมากระทำกาละแล้ว เกิดในภพดาวดึงส์ เสวยทิพยสมบัติอันโอฬาร ดำรงอยู่ในภพดาวดึงส์นั้นจนตลอดอายุ ต่อแต่นั้น ก็ท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เกิดเป็นบุตรของพราหมณ์มหาศาล ในพระนครราชคฤห์ ในพุทธุปบาทกาลนี้ ได้มีนามว่าอุตตระ. เขาบรรลุนิติภาวะแล้ว ถึงความสำเร็จในวิชชาของพราหมณ์ เป็นผู้เกิดมาทำโลกให้เจริญโดยรูป โดยวิชา โดยวัยและโดยศีลาจารวัตร. มหาอำมาตย์แห่งแคว้นมคธ ชื่อว่าวัสสการะ เห็นสมบัตินั้นของเขาแล้ว เป็นผู้มีความประสงค์จะยกธิดาของตนให้ แจ้งความประสงค์ของตนแล้ว. เขาปฎิเสธความหวังดีนั้น เพราะความเป็นผู้มีอัธยาศัยน้อมไปในพระนิพพาน เข้าไปนั่งใกล้พระธรรมเสนาบดี ฟังธรรมในสำนักตามเวลาที่เหมาะสม ได้เป็นผู้มีศรัทธาบวชแล้ว เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยวัตรปฏิบัติพระเถระ. ก็โดยสมัยนั้น อาพาธบางอย่างเกิดแก่พระเถระ เพื่อจะจัดยาถวายพระเถระ อุตตรสามเณรจึงถือเอาบาตรจีวรออกจากวิหารไปแต่เช้าทีเดียว วางบาตรไว้ที่ริมฝั่งทะเลสาบ ในระหว่างทางเดินไปใกล้น้ำแล้วล้างหน้า. ลำดับนั้น โจรทำลายอุโมงค์คนหนึ่งถูกเจ้าหน้าที่ติดตาม หนีออกจากพระนครโดยทางประตูด้านหน้านั่นแหละ ใส่ห่อรัตนะที่ตนลักมาไว้ในบาตรของสามเณรแล้วหนีไป. สามเณรเดินเข้าไปใกล้บาตร พวกราชบุรุษที่ติดตามโจรมา เห็นห่อของในบาตรของสามเณร จึงกล่าวว่า สามเณรนี้เป็นโจร สามเณรนี้ประพฤติเป็นโจร แล้วจับสามเณรมัดมือไพร่หลัง ส่งให้วัสสการพราหมณ์. ก็ในครั้งนั้น วัสสการพราหมณ์ได้รับแต่งตั้งในตำแหน่งผู้วินิจฉัยคดีของพระราชา สั่งการลงโทษประหารและทรมานได้. เขาไม่ยอมไต่สวนทวนพยานเลย สั่งให้เอาหลาวเสียบประจานสามเณรทั้งเป็นๆ เพราะผูกอาฆาตว่า เมื่อก่อนสามเณรไม่เอื้อเฟื้อคำของเรา ไปบวชในลัทธินอกรีตนอกรอย. ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรวจดูความแก่รอบแห่งญาณของอุตตรสามเณรแล้ว เสด็จไปสู่ที่นั้น ทรงวางพระหัตถ์ซึ่งมีพระองคุลียาวอ่อนนุ่ม คลุมด้วยเปลวรัศมี ประดุจสายธารทองคำสีแดงธรรมชาติที่กำลังหลั่งอยู่ เพราะประกอบด้วยรัศมีสีขาว แพรวพราวไปด้วยแสงแห่งแก้วมณีที่นิ้วมืออันสั่นพริ้วอยู่บนศีรษะของอุตตรสามเณร แล้วตรัสว่า ดูก่อนอุตตระ นี้เป็นผลของกรรมเก่า เกิดขึ้นแล้วแก่เธอ เธอต้องทำความอดกลั้นด้วยกำลังแห่งการพิจารณาในผลของกรรมนั้น ดังนี้ แล้วทรงแสดงธรรมตามสมควรแก่อัธยาศัย. อุตตรสามเณรกลับได้ปีติและปราโมทย์อันโอฬาร เพราะความเป็นผู้มีความเลื่อมใส และโสมนัสอันเกิดแล้วด้วยสัมผัสแห่งพระหัตถ์ของพระศาสดา คล้ายกับทรงราดรดด้วยน้ำอมฤต ก้าวขึ้นสู่วิปัสสนามรรค ตามที่สั่งสมไว้ ยังกิเลสทั้งปวงให้สิ้นไปแล้วตามลำดับแห่งมรรคในทันใดนั้นเอง เพราะถึงความแก่รอบแห่งญาณ และเพราะเทศนาอันงดงามไพเราะของพระศาสดา. สมดังคาถาประพันธ์ที่ท่านกล่าวไว้ในอปทานว่า๑- พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงพระนามว่า "สุเมธะ" มีพระมหาปุริสลักษณะอันประเสริฐ ๓๒ ประการ พระองค์ทรงประสงค์ความสงัดจึงเสด็จไปป่าหิมพานต์ พระมุนีผู้เลิศประกอบด้วยพระกรุณา เป็นอุดมบุรุษ เสด็จถึงป่าหิมพานต์แล้วประทับนั่งขัดสมาธิ. ครั้งนั้น เราเป็นวิทยาธร สัญจรไปในอากาศ เราถือตรีศูลซึ่งกระทำไว้ดีแล้ว เหาะไปในอัมพร. พระพุทธเจ้าส่องสว่างอยู่ในป่า เหมือนกับไฟบนยอดภูเขา เหมือนพระจันทร์ในวันเพ็ญ และเหมือนต้นพระยารังที่มีดอกบาน เราออกจากป่าเหาะไปตามพระรัศมีของพระพุทธเจ้า เห็นคล้ายกับสีของไฟที่ไหม้ไม้อ้อ ยังจิตให้เลื่อมใส เราเลือกเก็บดอกไม้อยู่ ได้เห็นดอกกรรณิการ์ที่มีกลิ่นหอม จึงเก็บเอามา ๓ ดอกบูชาพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด ด้วยอานุภาพแห่งพระพุทธเจ้า ครั้งนั้น ดอกไม้ของเราทั้ง ๓ ดอกเอาขั้วขึ้น เอากลีบลง ทำเป็นร่มเงาบังพระศาสดา. ด้วยกรรมที่ได้ทำไว้ดีแล้วนั้น และด้วยการตั้งเจตน์จำนง เราละร่างมนุษย์แล้ว ได้ไปสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ วิมานของเราสูง ๖๐ โยชน์ กว้าง ๓๐ โยชน์อันบุญกรรมทำให้อย่างสวยงาม ในดาวดึงส์นั้นปรากฎชื่อว่ากรรณิการ์ แล่งธนูตั้งพันลูกคลีหนังตั้งร้อย คนถือธงสำเร็จด้วยสีเขียวใบไม้ มีประตูหน้าต่างตั้งแสนปรากฏในปราสาทของเรา บัลลังก์สำเร็จด้วยทองก็มี สำเร็จด้วยแก้วมณีก็มี สำเร็จด้วยแก้วทับทิมก็มี สำเร็จด้วยแก้วผลึกก็มี ตามแต่จะต้องการปรารถนา ที่นอนมีค่ามากยัดด้วยนุ่น มีผ้าลวดลายรูปสัตว์ต่างๆ มีราชสีห์เป็นต้น ผ้าลาดมีชายเดียว มีหมอนพร้อมปรากฏว่ามีอยู่ในปราสาทของเรา ในเวลาที่เราปรารถนาจะออกจากภพ เที่ยวจาริกไปในเทวโลก ย่อมเป็นผู้อันหมู่เทวดาแวดล้อมไป เราสถิตอยู่ภายใต้ดอกไม้ เบื้องบนเรามีดอกไม้เป็นเครื่องกำบัง สถานที่โดยรอบ ๑๐๐ โยชน์ถูกคลุมด้วยดอกกรรณิการ์ ดนตรีหกหมื่นบำรุงเราทั้งเช้าและเย็น ไม่เกียจคร้านแวดล้อมเราเป็นนิตย์ ตลอดคืนตลอดวัน เรารื่นรมย์ด้วยการฟ้อน การขับและด้วยกังสดาล เครื่องประโคม เป็นผู้มักมากด้วยกาม บันเทิงอยู่ด้วยความยินดีในการเล่น. ครั้งนั้น เราบริโภคและดื่มในวิมานนั้น บันเทิงอยู่ในไตรทศ เราพร้อมด้วยหมู่นางเทพอัปสร บันเทิงอยู่ในวิมานอันสูงสุด เราได้เสวยราชสมบัติในเทวโลก ๕๐๐ ครั้ง ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๓๐๐ ครั้ง และได้เป็นพระเจ้าประเทศราชอันไพบูลย์ โดยคณานับมิได้ เมื่อเรายังท่องเที่ยวอยู่ในภพน้อยภพใหญ่ ย่อมได้โภคทรัพย์มากมาย ความบกพร่องในโภคทรัพย์ไม่มีแก่เราเลย นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา. เราเกิดในสองสกุล คือ ในสกุลกษัตริย์หรือสกุลพราหมณ์ ย่อมไม่เกิดในสกุลต่ำทราม นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา. ยานช้าง ยานม้าและวอคานหาบ นี้เราได้ทุกสิ่งทุกอย่างทีเดียว นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา. หมู่ทาส หมู่ทาสีและนารีที่ประดับประดาแล้ว เราได้ทุกอย่างทีเดียว นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา. ผ้าแพร ผ้าขนสัตว์ ผ้าเปลือกไม้ ผ้าฝ้ายเราได้ทุกชนิด นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา. ผ้าใหม่ ผลไม้ใหม่ โภชนะมีรสอันเลิศใหม่ๆ เราได้ทุกชนิด นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา. คำว่า เชิญเคี้ยวสิ่งนี้ เชิญบริโภคสิ่งนี้ เชิญนอนบนที่นอนนี้ เราได้ทั้งนั้น นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา. เราเป็นผู้อันเขาบูชาในที่ทุกสถาน เรามียศใหญ่ยิ่ง มีศักดิ์ใหญ่ มีบริษัทไม่แตกแยกทุกเมื่อ เราเป็นผู้อุดมกว่าหมู่ญาติ นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา. เราไม่รู้จักหนาว ไม่รู้จักร้อน ไม่มีความกระวนกระวาย. อนึ่ง ทุกข์ทางจิตย่อมไม่มีในหทัยของเราเลย เราเป็นผู้มีผิวพรรณดังทองคำ เที่ยวไปในภพน้อยภพใหญ่ ความเป็นผู้มีวรรณะผิดแผกไป เราไม่รู้จักเลย นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา. เราอันกุศลมูลตักเตือนแล้ว จึงจุติจากเทวโลก มาเกิดในสกุลพราหมณ์มหาศาลอันมั่งคั่ง ในพระนครสาวัตถี ละกามคุณ ๕ ออกบวชเป็นบรรพชิต เรามีอายุได้ ๗ ขวบแต่กำเนิดได้บรรลุพระอรหัต. พระพุทธเจ้าผู้มีปัญญาจักษุ ทรงทราบถึงคุณของเรา จึงรับสั่งให้เราอุปสมบท เรายังหนุ่มก็ควรบูชา นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา. ทิพยจักษุของเราบริสุทธิ์ เราฉลาดในสมาธิ ถึงความบริบูรณ์แห่งอภิญญา นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา. เราบรรลุปฎิสัมภิทา ฉลาดหลักแหลมในอิทธิบาท ถึงความบริบูรณ์ในพระสัทธรรม นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา. ในกัปที่ ๓๐,๐๐๐ เราได้บูชาพระพุทธเจ้าใด ด้วยการบูชานั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา. เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ฯลฯ คำสอนของพระพุทธเจ้า เรากระทำสำเร็จแล้ว ดังนี้. ____________________________ ๑- ขุ. อ. เล่ม ๓๓/ข้อ ๙๑ ก็อุตตรสามเณรเป็นผู้มีอภิญญา ๖ ลุกขึ้นจากหลาวแล้วยืนอยู่ในอากาศ แสดงปาฏิหาริย์ด้วยความอนุเคราะห์ในผู้อื่น มหาชนได้เกิดมีจิตอัศจรรย์ในปรากฏการณ์ที่ไม่เคยมี. แผล (เก่า) ของท่านได้ผุดขึ้นในทันใดนั่นเอง. ท่านอันภิกษุทั้งหลาย ถามว่า อาวุโส ท่านเสวยทุกข์เช่นนั้นอยู่สามารถขวนขวายวิปัสสนาได้อย่างไร? เมื่อจะแสดงความว่า ดูก่อนอาวุโส จะป่วยกล่าวไปไย ถึงโทษในสงสารของเรา ก็สภาพของสังขารทั้งหลาย ท่านทั้งหลายก็เห็นดีแล้ว เราแม้เสวยทุกข์เช่นนั้นอยู่อย่างนี้ ก็ยังสามารถเจริญวิปัสสนาแล้วบรรลุพระอรหัตได้ จึงกล่าวคาถา ๒ คาถาว่า ภพอะไรที่เที่ยงไม่มี แม้สังขารที่เที่ยงก็ไม่มี ขันธ์เหล่านั้น ย่อมเวียนเกิดและเวียนดับไป เรารู้โทษอย่างนี้แล้ว จึงไม่มี ความต้องการด้วยภพ เราสลัดตนออกจากกามทั้งปวง บรรลุ ถึงความสิ้นอาสวะแล้วดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นตฺถิ โกจิ ภโว นิจฺโจ ความว่า ภพทั้งหลายแยกประเภทออกไปอย่างนี้ คือ กรรมภพ อุปปัตติภพ กามภพ รูปภพ อรูปภพ สัญญีภพ อสัญญีภพ เนวสัญญีนาสัญญีภพ เอกโวการภพ จตุโวการภพ (และ) ปัญจโวการภพ. แม้ในบรรดาภพเหล่านั้น ภพอย่างใดอย่างหนึ่งที่จำแนกออกไปอย่างนี้ว่า เลว ปานกลาง อุกฤษฏ์ มีอายุยืน มากด้วยความสุข มีสุขและทุกข์คลุกเคล้ากันไป ดังนี้ จะเที่ยง ยั่งยืน มั่นคง มีอันไม่ต้องเพ่งดูเป็นธรรมดา ไม่มีเลย เพราะต้องอาศัยเหตุนั้นๆ จึงเกิดขึ้น. ประกอบความว่า ก็เพราะการณ์เป็นอย่างนี้แหละ ฉะนั้น แม้สังขารทั้งหลายจะชื่อว่าเที่ยงไม่มีเลย. สังขารทั้งหลายนั่นแหละ ชื่อว่าเป็นของเกิดแล้ว โดยการกำหนดหมายรู้ เพราะอาศัยเบญจขันธ์อันได้นามว่าสังขาร เพราะเหตุที่ปัจจัยทั้งหลายปรุงแต่งแล้ว ย่อมเปลี่ยนแปลงไปเพราะชราและมรณะ เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่าไม่เที่ยง มีการแปรปรวนไปเป็นธรรมดา. จริงอย่างนั้น วิปริณามธรรมเหล่านั้น ท่านจึงกล่าวว่า สังขาร ด้วยเหตุนั้น พระเถระจึงกล่าวว่า ขันธ์เหล่านั้นย่อมเวียนเกิดและเวียนดับไป โดยมีอธิบายว่า เบญจขันธ์ที่ท่านกล่าวไว้โดยปริยายแห่งภพ และโดยปริยายแห่งสังขารเหล่านั้น ย่อมเวียนเกิดไปตามปัจจัยและเกิดแล้ว ถูกชราเบียดเบียนบีบคั้น ย่อมเคลื่อน คือแตกสลายไป. ด้วยบทว่า อุปฺปชฺชนฺติ จ เต ขนฺธา จวนฺติ อปราปรํ นี้ พระเถระแสดงความหมายว่า เบญจขันธ์ที่ได้ชื่อว่า ภพก็ดี สังขารก็ดี มีการเกิดขึ้นและเสื่อมไปเป็นสภาพ. เพราะเหตุที่เมื่อพระโยคาวจรยกเบญจขันธ์ขึ้นสู่ไตรลักษณ์ แล้วพิจารณาสังขารทั้งหลายอยู่ ภพแม้ทั้ง ๓ ย่อมปรากฏชัดดุจถูกไฟเผาแล้ว จะป่วยกล่าวไปไยถึงสังขารทั้งหลายที่พระโยคาวจรรู้อาทีนพ คือโทษในเบญจขันธ์ที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว ว่าเป็นเหมือนเรือนที่ถูกไฟไหม้แล้ว ด้วยวิปัสสนาปัญญา เห็นแล้วโดยเป็นอนิจจลักษณะ ย่อมปรากฏชัดกว่า เพราะความที่สังขารเป็นทุกข์ ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา. เพราะเหตุที่ เมื่อพระโยคาวจรยกเบญจขันธ์ขึ้นสู่ไตรลักษณ์ แล้วพิจารณาสังขารทั้งหลายอยู่ ภพแม้ทั้ง ๓ ย่อมปรากฎว่ามีภัยเฉพาะหน้าดุจเรือนที่ถูกไฟไหม้ ฉะนั้น พระเถระจึงกล่าวว่า ภเวนมฺหิ อนตฺถิโก (เรารู้โทษอย่างนี้แล้ว จึงไม่มีความต้องการด้วยภพ). ประกอบความว่า ก็แม้เล่ห์เหลี่ยมที่มุ่งหมายในกามทั้งหลาย ย่อมไม่เกิดขึ้นแก่ผู้ที่ทำตนให้หมุนกลับจากภพทั้งหลายได้โดยประการทั้งปวงอย่างนี้ ด้วยเหตุนั้น พระเถระจึงกล่าวว่า นิสฺสโฏ สพฺพกาเมหิ เราเป็นผู้สลัดตนออกแล้วจากกามทั้งปวงดังนี้. อธิบายว่า เราเป็นผู้มีจิตหมุนกลับจากกามทั้งหลายแม้เป็นทิพย์ (เห็น) เป็นเหมือนของมนุษย์. บทว่า ปตฺโต เม อาสวกฺขโย ความว่า เพราะเหตุที่เราเป็นผู้มีสังขารอันขจัดขัดเกลาดีแล้ว เห็นโทษในภพทั้งหลายโดยชัดเจน และมีใจไม่ข้องแวะในกามทั้งหลาย ฉะนั้น ถึงแม้เราจะนั่งอยู่แล้วบนปลายหลาว เราก็ได้บรรลุ คือถึงทับความสิ้นไปแห่งอาสวะ อันได้แก่พระนิพพานและพระอรหัตผล. พระเถระให้โอวาทแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ก็เพื่อนสพรหมจารีทั้งหลายเหล่าอื่นผู้มีใจยังไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะ พึงกระทำความอุตสาหะเพื่อบรรลุความสิ้นไปแห่งอาสวะนั้น. จบอรรถกถาอุตตรเถรคาถา
ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ความไม่เศร้าโศกที่ท่านได้นี้เพราะท่านได้ทำกรรมอะไรไว้...คาถาของท่านพระอุตตรเถระ เริ่มต้นว่า นตฺถิ โกจิ ภโว นีโจ. เรื่องราวของท่านเป็นอย่างไร? แม้พระเถระนี้ก็เป็นผู้มีอธิการอันกระทำแล้วในพระพุทธเจ้าองค์ก่อนๆ สั่งสมบุญอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานไว้ในภพนั้นๆ ในกาลของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าสุเมธะ. เขาเป็นวิชาธร ท่องเที่ยวไปโดยอากาศ. ก็โดยสมัยนั้น พระศาสดาเมื่อจะทรงอนุเคราะห์เขา จึงเปล่งพระพุทธรังสีมีวรรณะ ๖ ประทับนั่งที่โคนไม้แห่งหนึ่ง เขาเหาะไปโดยอากาศ เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว มีจิตเลื่อมใส ลงจากอากาศ บูชาพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยดอกกรรณิการ์ อันสะอาดบริสุทธิ์ด้วยดี ไพบูลย์. ด้วยพุทธานุภาพ (บันดาลให้) ดอกไม้ทั้งหลายตั้งอยู่ในเบื้องบนของพระศาสดา โดยอาการของฉัตร ด้วยพุทธานุภาพนั้น ทำให้เขามีจิตเลื่อมใสยิ่งกว่าประมาณ ต่อมากระทำกาละแล้ว เกิดในภพดาวดึงส์ เสวยทิพยสมบัติอันโอฬาร ดำรงอยู่ในภพดาวดึงส์นั้นจนตลอดอายุ ต่อแต่นั้น ก็ท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เกิดเป็นบุตรของพราหมณ์มหาศาล ในพระนครราชคฤห์ ในพุทธุปบาทกาลนี้ ได้มีนามว่าอุตตระ. เขาบรรลุนิติภาวะแล้ว ถึงความสำเร็จในวิชชาของพราหมณ์ เป็นผู้เกิดมาทำโลกให้เจริญโดยรูป โดยวิชา โดยวัยและโดยศีลาจารวัตร. มหาอำมาตย์แห่งแคว้นมคธ ชื่อว่าวัสสการะ เห็นสมบัตินั้นของเขาแล้ว เป็นผู้มีความประสงค์จะยกธิดาของตนให้ แจ้งความประสงค์ของตนแล้ว. เขาปฎิเสธความหวังดีนั้น เพราะความเป็นผู้มีอัธยาศัยน้อมไปในพระนิพพาน เข้าไปนั่งใกล้พระธรรมเสนาบดี ฟังธรรมในสำนักตามเวลาที่เหมาะสม ได้เป็นผู้มีศรัทธาบวชแล้ว เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยวัตรปฏิบัติพระเถระ. ก็โดยสมัยนั้น อาพาธบางอย่างเกิดแก่พระเถระ เพื่อจะจัดยาถวายพระเถระ อุตตรสามเณรจึงถือเอาบาตรจีวรออกจากวิหารไปแต่เช้าทีเดียว วางบาตรไว้ที่ริมฝั่งทะเลสาบ ในระหว่างทางเดินไปใกล้น้ำแล้วล้างหน้า. ลำดับนั้น โจรทำลายอุโมงค์คนหนึ่งถูกเจ้าหน้าที่ติดตาม หนีออกจากพระนครโดยทางประตูด้านหน้านั่นแหละ ใส่ห่อรัตนะที่ตนลักมาไว้ในบาตรของสามเณรแล้วหนีไป. สามเณรเดินเข้าไปใกล้บาตร พวกราชบุรุษที่ติดตามโจรมา เห็นห่อของในบาตรของสามเณร จึงกล่าวว่า สามเณรนี้เป็นโจร สามเณรนี้ประพฤติเป็นโจร แล้วจับสามเณรมัดมือไพร่หลัง ส่งให้วัสสการพราหมณ์. ก็ในครั้งนั้น วัสสการพราหมณ์ได้รับแต่งตั้งในตำแหน่งผู้วินิจฉัยคดีของพระราชา สั่งการลงโทษประหารและทรมานได้. เขาไม่ยอมไต่สวนทวนพยานเลย สั่งให้เอาหลาวเสียบประจานสามเณรทั้งเป็นๆ เพราะผูกอาฆาตว่า เมื่อก่อนสามเณรไม่เอื้อเฟื้อคำของเรา ไปบวชในลัทธินอกรีตนอกรอย. ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรวจดูความแก่รอบแห่งญาณของอุตตรสามเณรแล้ว เสด็จไปสู่ที่นั้น ทรงวางพระหัตถ์ซึ่งมีพระองคุลียาวอ่อนนุ่ม คลุมด้วยเปลวรัศมี ประดุจสายธารทองคำสีแดงธรรมชาติที่กำลังหลั่งอยู่ เพราะประกอบด้วยรัศมีสีขาว แพรวพราวไปด้วยแสงแห่งแก้วมณีที่นิ้วมืออันสั่นพริ้วอยู่บนศีรษะของอุตตรสามเณร แล้วตรัสว่า ดูก่อนอุตตระ นี้เป็นผลของกรรมเก่า เกิดขึ้นแล้วแก่เธอ เธอต้องทำความอดกลั้นด้วยกำลังแห่งการพิจารณาในผลของกรรมนั้น ดังนี้ แล้วทรงแสดงธรรมตามสมควรแก่อัธยาศัย. อุตตรสามเณรกลับได้ปีติและปราโมทย์อันโอฬาร เพราะความเป็นผู้มีความเลื่อมใส และโสมนัสอันเกิดแล้วด้วยสัมผัสแห่งพระหัตถ์ของพระศาสดา คล้ายกับทรงราดรดด้วยน้ำอมฤต ก้าวขึ้นสู่วิปัสสนามรรค ตามที่สั่งสมไว้ ยังกิเลสทั้งปวงให้สิ้นไปแล้วตามลำดับแห่งมรรคในทันใดนั้นเอง เพราะถึงความแก่รอบแห่งญาณ และเพราะเทศนาอันงดงามไพเราะของพระศาสดา. สมดังคาถาประพันธ์ที่ท่านกล่าวไว้ในอปทานว่า๑- พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงพระนามว่า "สุเมธะ" มีพระมหาปุริสลักษณะอันประเสริฐ ๓๒ ประการ พระองค์ทรงประสงค์ความสงัดจึงเสด็จไปป่าหิมพานต์ พระมุนีผู้เลิศประกอบด้วยพระกรุณา เป็นอุดมบุรุษ เสด็จถึงป่าหิมพานต์แล้วประทับนั่งขัดสมาธิ. ครั้งนั้น เราเป็นวิทยาธร สัญจรไปในอากาศ เราถือตรีศูลซึ่งกระทำไว้ดีแล้ว เหาะไปในอัมพร. พระพุทธเจ้าส่องสว่างอยู่ในป่า เหมือนกับไฟบนยอดภูเขา เหมือนพระจันทร์ในวันเพ็ญ และเหมือนต้นพระยารังที่มีดอกบาน เราออกจากป่าเหาะไปตามพระรัศมีของพระพุทธเจ้า เห็นคล้ายกับสีของไฟที่ไหม้ไม้อ้อ ยังจิตให้เลื่อมใส เราเลือกเก็บดอกไม้อยู่ ได้เห็นดอกกรรณิการ์ที่มีกลิ่นหอม จึงเก็บเอามา ๓ ดอกบูชาพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด ด้วยอานุภาพแห่งพระพุทธเจ้า ครั้งนั้น ดอกไม้ของเราทั้ง ๓ ดอกเอาขั้วขึ้น เอากลีบลง ทำเป็นร่มเงาบังพระศาสดา. ด้วยกรรมที่ได้ทำไว้ดีแล้วนั้น และด้วยการตั้งเจตน์จำนง เราละร่างมนุษย์แล้ว ได้ไปสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ วิมานของเราสูง ๖๐ โยชน์ กว้าง ๓๐ โยชน์อันบุญกรรมทำให้อย่างสวยงาม ในดาวดึงส์นั้นปรากฎชื่อว่ากรรณิการ์ แล่งธนูตั้งพันลูกคลีหนังตั้งร้อย คนถือธงสำเร็จด้วยสีเขียวใบไม้ มีประตูหน้าต่างตั้งแสนปรากฏในปราสาทของเรา บัลลังก์สำเร็จด้วยทองก็มี สำเร็จด้วยแก้วมณีก็มี สำเร็จด้วยแก้วทับทิมก็มี สำเร็จด้วยแก้วผลึกก็มี ตามแต่จะต้องการปรารถนา ที่นอนมีค่ามากยัดด้วยนุ่น มีผ้าลวดลายรูปสัตว์ต่างๆ มีราชสีห์เป็นต้น ผ้าลาดมีชายเดียว มีหมอนพร้อมปรากฏว่ามีอยู่ในปราสาทของเรา ในเวลาที่เราปรารถนาจะออกจากภพ เที่ยวจาริกไปในเทวโลก ย่อมเป็นผู้อันหมู่เทวดาแวดล้อมไป เราสถิตอยู่ภายใต้ดอกไม้ เบื้องบนเรามีดอกไม้เป็นเครื่องกำบัง สถานที่โดยรอบ ๑๐๐ โยชน์ถูกคลุมด้วยดอกกรรณิการ์ ดนตรีหกหมื่นบำรุงเราทั้งเช้าและเย็น ไม่เกียจคร้านแวดล้อมเราเป็นนิตย์ ตลอดคืนตลอดวัน เรารื่นรมย์ด้วยการฟ้อน การขับและด้วยกังสดาล เครื่องประโคม เป็นผู้มักมากด้วยกาม บันเทิงอยู่ด้วยความยินดีในการเล่น. ครั้งนั้น เราบริโภคและดื่มในวิมานนั้น บันเทิงอยู่ในไตรทศ เราพร้อมด้วยหมู่นางเทพอัปสร บันเทิงอยู่ในวิมานอันสูงสุด เราได้เสวยราชสมบัติในเทวโลก ๕๐๐ ครั้ง ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๓๐๐ ครั้ง และได้เป็นพระเจ้าประเทศราชอันไพบูลย์ โดยคณานับมิได้ เมื่อเรายังท่องเที่ยวอยู่ในภพน้อยภพใหญ่ ย่อมได้โภคทรัพย์มากมาย ความบกพร่องในโภคทรัพย์ไม่มีแก่เราเลย นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา. เราเกิดในสองสกุล คือ ในสกุลกษัตริย์หรือสกุลพราหมณ์ ย่อมไม่เกิดในสกุลต่ำทราม นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา. ยานช้าง ยานม้าและวอคานหาบ นี้เราได้ทุกสิ่งทุกอย่างทีเดียว นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา. หมู่ทาส หมู่ทาสีและนารีที่ประดับประดาแล้ว เราได้ทุกอย่างทีเดียว นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา. ผ้าแพร ผ้าขนสัตว์ ผ้าเปลือกไม้ ผ้าฝ้ายเราได้ทุกชนิด นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา. ผ้าใหม่ ผลไม้ใหม่ โภชนะมีรสอันเลิศใหม่ๆ เราได้ทุกชนิด นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา. คำว่า เชิญเคี้ยวสิ่งนี้ เชิญบริโภคสิ่งนี้ เชิญนอนบนที่นอนนี้ เราได้ทั้งนั้น นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา. เราเป็นผู้อันเขาบูชาในที่ทุกสถาน เรามียศใหญ่ยิ่ง มีศักดิ์ใหญ่ มีบริษัทไม่แตกแยกทุกเมื่อ เราเป็นผู้อุดมกว่าหมู่ญาติ นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา. เราไม่รู้จักหนาว ไม่รู้จักร้อน ไม่มีความกระวนกระวาย. อนึ่ง ทุกข์ทางจิตย่อมไม่มีในหทัยของเราเลย เราเป็นผู้มีผิวพรรณดังทองคำ เที่ยวไปในภพน้อยภพใหญ่ ความเป็นผู้มีวรรณะผิดแผกไป เราไม่รู้จักเลย นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา. เราอันกุศลมูลตักเตือนแล้ว จึงจุติจากเทวโลก มาเกิดในสกุลพราหมณ์มหาศาลอันมั่งคั่ง ในพระนครสาวัตถี ละกามคุณ ๕ ออกบวชเป็นบรรพชิต เรามีอายุได้ ๗ ขวบแต่กำเนิดได้บรรลุพระอรหัต. พระพุทธเจ้าผู้มีปัญญาจักษุ ทรงทราบถึงคุณของเรา จึงรับสั่งให้เราอุปสมบท เรายังหนุ่มก็ควรบูชา นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา. ทิพยจักษุของเราบริสุทธิ์ เราฉลาดในสมาธิ ถึงความบริบูรณ์แห่งอภิญญา นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา. เราบรรลุปฎิสัมภิทา ฉลาดหลักแหลมในอิทธิบาท ถึงความบริบูรณ์ในพระสัทธรรม นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา. ในกัปที่ ๓๐,๐๐๐ เราได้บูชาพระพุทธเจ้าใด ด้วยการบูชานั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา. เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ฯลฯ คำสอนของพระพุทธเจ้า เรากระทำสำเร็จแล้ว ดังนี้. ____________________________ ๑- ขุ. อ. เล่ม ๓๓/ข้อ ๙๑ ก็อุตตรสามเณรเป็นผู้มีอภิญญา ๖ ลุกขึ้นจากหลาวแล้วยืนอยู่ในอากาศ แสดงปาฏิหาริย์ด้วยความอนุเคราะห์ในผู้อื่น มหาชนได้เกิดมีจิตอัศจรรย์ในปรากฏการณ์ที่ไม่เคยมี. แผล (เก่า) ของท่านได้ผุดขึ้นในทันใดนั่นเอง. ท่านอันภิกษุทั้งหลาย ถามว่า อาวุโส ท่านเสวยทุกข์เช่นนั้นอยู่สามารถขวนขวายวิปัสสนาได้อย่างไร? เมื่อจะแสดงความว่า ดูก่อนอาวุโส จะป่วยกล่าวไปไย ถึงโทษในสงสารของเรา ก็สภาพของสังขารทั้งหลาย ท่านทั้งหลายก็เห็นดีแล้ว เราแม้เสวยทุกข์เช่นนั้นอยู่อย่างนี้ ก็ยังสามารถเจริญวิปัสสนาแล้วบรรลุพระอรหัตได้ จึงกล่าวคาถา ๒ คาถาว่า ภพอะไรที่เที่ยงไม่มี แม้สังขารที่เที่ยงก็ไม่มี ขันธ์เหล่านั้น ย่อมเวียนเกิดและเวียนดับไป เรารู้โทษอย่างนี้แล้ว จึงไม่มี ความต้องการด้วยภพ เราสลัดตนออกจากกามทั้งปวง บรรลุ ถึงความสิ้นอาสวะแล้วดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นตฺถิ โกจิ ภโว นิจฺโจ ความว่า ภพทั้งหลายแยกประเภทออกไปอย่างนี้ คือ กรรมภพ อุปปัตติภพ กามภพ รูปภพ อรูปภพ สัญญีภพ อสัญญีภพ เนวสัญญีนาสัญญีภพ เอกโวการภพ จตุโวการภพ (และ) ปัญจโวการภพ. แม้ในบรรดาภพเหล่านั้น ภพอย่างใดอย่างหนึ่งที่จำแนกออกไปอย่างนี้ว่า เลว ปานกลาง อุกฤษฏ์ มีอายุยืน มากด้วยความสุข มีสุขและทุกข์คลุกเคล้ากันไป ดังนี้ จะเที่ยง ยั่งยืน มั่นคง มีอันไม่ต้องเพ่งดูเป็นธรรมดา ไม่มีเลย เพราะต้องอาศัยเหตุนั้นๆ จึงเกิดขึ้น. ประกอบความว่า ก็เพราะการณ์เป็นอย่างนี้แหละ ฉะนั้น แม้สังขารทั้งหลายจะชื่อว่าเที่ยงไม่มีเลย. สังขารทั้งหลายนั่นแหละ ชื่อว่าเป็นของเกิดแล้ว โดยการกำหนดหมายรู้ เพราะอาศัยเบญจขันธ์อันได้นามว่าสังขาร เพราะเหตุที่ปัจจัยทั้งหลายปรุงแต่งแล้ว ย่อมเปลี่ยนแปลงไปเพราะชราและมรณะ เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่าไม่เที่ยง มีการแปรปรวนไปเป็นธรรมดา. จริงอย่างนั้น วิปริณามธรรมเหล่านั้น ท่านจึงกล่าวว่า สังขาร ด้วยเหตุนั้น พระเถระจึงกล่าวว่า ขันธ์เหล่านั้นย่อมเวียนเกิดและเวียนดับไป โดยมีอธิบายว่า เบญจขันธ์ที่ท่านกล่าวไว้โดยปริยายแห่งภพ และโดยปริยายแห่งสังขารเหล่านั้น ย่อมเวียนเกิดไปตามปัจจัยและเกิดแล้ว ถูกชราเบียดเบียนบีบคั้น ย่อมเคลื่อน คือแตกสลายไป. ด้วยบทว่า อุปฺปชฺชนฺติ จ เต ขนฺธา จวนฺติ อปราปรํ นี้ พระเถระแสดงความหมายว่า เบญจขันธ์ที่ได้ชื่อว่า ภพก็ดี สังขารก็ดี มีการเกิดขึ้นและเสื่อมไปเป็นสภาพ. เพราะเหตุที่เมื่อพระโยคาวจรยกเบญจขันธ์ขึ้นสู่ไตรลักษณ์ แล้วพิจารณาสังขารทั้งหลายอยู่ ภพแม้ทั้ง ๓ ย่อมปรากฏชัดดุจถูกไฟเผาแล้ว จะป่วยกล่าวไปไยถึงสังขารทั้งหลายที่พระโยคาวจรรู้อาทีนพ คือโทษในเบญจขันธ์ที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว ว่าเป็นเหมือนเรือนที่ถูกไฟไหม้แล้ว ด้วยวิปัสสนาปัญญา เห็นแล้วโดยเป็นอนิจจลักษณะ ย่อมปรากฏชัดกว่า เพราะความที่สังขารเป็นทุกข์ ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา. เพราะเหตุที่ เมื่อพระโยคาวจรยกเบญจขันธ์ขึ้นสู่ไตรลักษณ์ แล้วพิจารณาสังขารทั้งหลายอยู่ ภพแม้ทั้ง ๓ ย่อมปรากฎว่ามีภัยเฉพาะหน้าดุจเรือนที่ถูกไฟไหม้ ฉะนั้น พระเถระจึงกล่าวว่า ภเวนมฺหิ อนตฺถิโก (เรารู้โทษอย่างนี้แล้ว จึงไม่มีความต้องการด้วยภพ). ประกอบความว่า ก็แม้เล่ห์เหลี่ยมที่มุ่งหมายในกามทั้งหลาย ย่อมไม่เกิดขึ้นแก่ผู้ที่ทำตนให้หมุนกลับจากภพทั้งหลายได้โดยประการทั้งปวงอย่างนี้ ด้วยเหตุนั้น พระเถระจึงกล่าวว่า นิสฺสโฏ สพฺพกาเมหิ เราเป็นผู้สลัดตนออกแล้วจากกามทั้งปวงดังนี้. อธิบายว่า เราเป็นผู้มีจิตหมุนกลับจากกามทั้งหลายแม้เป็นทิพย์ (เห็น) เป็นเหมือนของมนุษย์. บทว่า ปตฺโต เม อาสวกฺขโย ความว่า เพราะเหตุที่เราเป็นผู้มีสังขารอันขจัดขัดเกลาดีแล้ว เห็นโทษในภพทั้งหลายโดยชัดเจน และมีใจไม่ข้องแวะในกามทั้งหลาย ฉะนั้น ถึงแม้เราจะนั่งอยู่แล้วบนปลายหลาว เราก็ได้บรรลุ คือถึงทับความสิ้นไปแห่งอาสวะ อันได้แก่พระนิพพานและพระอรหัตผล. พระเถระให้โอวาทแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ก็เพื่อนสพรหมจารีทั้งหลายเหล่าอื่นผู้มีใจยังไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะ พึงกระทำความอุตสาหะเพื่อบรรลุความสิ้นไปแห่งอาสวะนั้น. จบอรรถกถาอุตตรเถรคาถา
ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ความไม่เศร้าโศกที่ท่านได้นี้เพราะท่านได้ทำกรรมอะไรไว้...
คาถาของท่านพระอุตตรเถระ เริ่มต้นว่า นตฺถิ โกจิ ภโว นีโจ.
เรื่องราวของท่านเป็นอย่างไร?
แม้พระเถระนี้ก็เป็นผู้มีอธิการอันกระทำแล้วในพระพุทธเจ้าองค์ก่อนๆ สั่งสมบุญอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานไว้ในภพนั้นๆ ในกาลของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าสุเมธะ. เขาเป็นวิชาธร ท่องเที่ยวไปโดยอากาศ.
ก็โดยสมัยนั้น พระศาสดาเมื่อจะทรงอนุเคราะห์เขา จึงเปล่งพระพุทธรังสีมีวรรณะ ๖ ประทับนั่งที่โคนไม้แห่งหนึ่ง เขาเหาะไปโดยอากาศ เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว มีจิตเลื่อมใส ลงจากอากาศ บูชาพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยดอกกรรณิการ์ อันสะอาดบริสุทธิ์ด้วยดี ไพบูลย์.
ด้วยพุทธานุภาพ (บันดาลให้) ดอกไม้ทั้งหลายตั้งอยู่ในเบื้องบนของพระศาสดา โดยอาการของฉัตร ด้วยพุทธานุภาพนั้น ทำให้เขามีจิตเลื่อมใสยิ่งกว่าประมาณ ต่อมากระทำกาละแล้ว เกิดในภพดาวดึงส์ เสวยทิพยสมบัติอันโอฬาร ดำรงอยู่ในภพดาวดึงส์นั้นจนตลอดอายุ ต่อแต่นั้น ก็ท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เกิดเป็นบุตรของพราหมณ์มหาศาล ในพระนครราชคฤห์ ในพุทธุปบาทกาลนี้ ได้มีนามว่าอุต ต ระ.
เขาบรรลุนิติภาวะแล้ว ถึงความสำเร็จในวิชชาของพราหมณ์ เป็นผู้เกิดมาทำโลกให้เจริญโดยรูป โดยวิชา โดยวัยและโดยศีลาจารวัตร. มหาอำมาตย์แห่งแคว้นมคธ ชื่อว่าวัสสการะ เห็นสมบัตินั้นของเขาแล้ว เป็นผู้มีความประสงค์จะยกธิดาของตนให้ แจ้งความประสงค์ของตนแล้ว.
เขาปฎิเสธความหวังดีนั้น เพราะความเป็นผู้มีอัธยาศัยน้อมไปในพระนิพพาน เข้าไปนั่งใกล้พระธรรมเสนาบดี ฟังธรรมในสำนักตามเวลาที่เหมาะสม ได้เป็นผู้มี ศรัทธา บวช แล้ว เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยวัตรปฏิบัติพระเถระ.
ก็โดยสมัยนั้น อาพาธบางอย่างเกิดแก่พระเถระ เพื่อจะจัดยาถวายพระเถระ อุต ตร สามเณร จึงถือเอาบาตรจีวรออกจากวิหารไปแต่เช้าทีเดียว วางบาตรไว้ที่ ริม ฝั่ง ทะเล สาบ ในระหว่างทางเดินไปใกล้น้ำแล้วล้างหน้า. ลำดับนั้น โจรทำลายอุโมงค์คนหนึ่งถูกเจ้าหน้าที่ติดตาม หนีออกจากพระนครโดยทางประตูด้านหน้านั่นแหละ ใส่ห่อรัตนะที่ตนลักมาไว้ในบาตรของสามเณรแล้วหนีไป.
สามเณรเดินเข้าไปใกล้บาตร พวกราชบุรุษที่ติดตามโจรมา เห็นห่อของในบาตรของสามเณร จึงกล่าวว่า สามเณรนี้เป็นโจร สามเณรนี้ประพฤติเป็นโจร แล้วจับสามเณรมัดมือไพร่หลัง ส่งให้วัสสการพราหมณ์.
ก็ในครั้งนั้น วัสสการพราหมณ์ได้รับแต่งตั้งในตำแหน่งผู้วินิจฉัยคดีของพระราชา สั่งการลงโทษประหารและทรมานได้. เขาไม่ยอมไต่สวนทวนพยานเลย สั่งให้เอาหลาวเสียบประจานสามเณรทั้งเป็นๆ เพราะผูกอาฆาตว่า เมื่อก่อนสามเณรไม่เอื้อเฟื้อคำของเรา ไปบวชในลัทธินอกรีตนอกรอย.
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรวจดูความแก่รอบแห่งญาณของอุตตรสามเณรแล้ว เสด็จไปสู่ที่นั้น ทรงวางพระหัตถ์ซึ่งมีพระองคุลียาวอ่อนนุ่ม คลุมด้วยเปลวรัศมี ประดุจสายธารทองคำสีแดงธรรมชาติที่กำลังหลั่งอยู่ เพราะประกอบด้วยรัศมีสีขาว แพรวพราวไปด้วยแสงแห่งแก้วมณีที่นิ้วมืออันสั่นพริ้วอยู่บนศีรษะของอุตตรสามเณร แล้วตรัสว่า ดูก่อนอุตตระ นี้เป็นผลของกรรมเก่า เกิดขึ้นแล้วแก่เธอ เธอต้องทำความอดกลั้นด้วยกำลังแห่งการพิจารณาในผลของกรรมนั้น ดังนี้ แล้วทรงแสดงธรรมตามสมควรแก่อัธยาศัย.
อุตตรสามเณรกลับได้ปีติและปราโมทย์อันโอฬาร เพราะความเป็นผู้มีความเลื่อมใส และโสมนัสอันเกิดแล้วด้วยสัมผัสแห่งพระหัตถ์ของพระศาสดา คล้ายกับทรงราดรดด้วยน้ำอมฤต ก้าวขึ้นสู่วิปัสสนามรรค ตามที่สั่งสมไว้ ยังกิเลสทั้งปวงให้สิ้นไปแล้วตามลำดับแห่งมรรคในทันใดนั้นเอง เพราะถึงความแก่รอบแห่งญาณ และเพราะเทศนาอันงดงามไพเราะของพระศาสดา.
สมดังคาถาประพันธ์ที่ท่านกล่าวไว้ในอปทานว่า๑-
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงพระนามว่า "สุเมธะ" มีพระมหาปุริสลักษณะอันประเสริฐ ๓๒ ประการ พระองค์ทรงประสงค์ความสงัดจึงเสด็จไปป่าหิมพานต์ พระมุนีผู้เลิศประกอบด้วยพระกรุณา เป็นอุดมบุรุษ เสด็จถึงป่าหิมพานต์แล้วประทับนั่งขัดสมาธิ.
ครั้งนั้น เราเป็นวิทยาธร สัญจรไปในอากาศ เราถือตรีศูลซึ่งกระทำไว้ดีแล้ว เหาะไปในอัมพร.
พระพุทธเจ้าส่องสว่างอยู่ในป่า เหมือนกับไฟบนยอดภูเขา เหมือนพระจันทร์ในวันเพ็ญ และเหมือนต้นพระยารังที่มีดอกบาน เราออกจากป่าเหาะไปตามพระรัศมีของพระพุทธเจ้า เห็นคล้ายกับสีของไฟที่ไหม้ไม้อ้อ ยังจิตให้เลื่อมใส เราเลือก เก็บ ดอก ไม้ อยู่ ได้เห็นดอกกรรณิการ์ที่มีกลิ่นหอม จึงเก็บเอามา ๓ ดอกบูชาพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด ด้วยอานุภาพแห่งพระพุทธเจ้า ครั้งนั้น ดอกไม้ของเราทั้ง ๓ ดอกเอาขั้วขึ้น เอากลีบลง ทำเป็นร่มเงาบังพระศาสดา.
ด้วยกรรมที่ได้ทำไว้ดีแล้วนั้น และด้วยการตั้งเจตน์จำนง เราละร่างมนุษย์แล้ว ได้ไปสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ วิมานของเราสูง ๖๐ โยชน์ กว้าง ๓๐ โยชน์อันบุญกรรมทำให้อย่างสวยงาม ในดาวดึงส์นั้นปรากฎชื่อว่ากรรณิการ์
แล่งธนูตั้งพันลูกคลีหนังตั้งร้อย คนถือธงสำเร็จด้วยสีเขียวใบไม้ มีประตู หน้า ต่าง ตั้ง แสน ปรากฏ ใน ปราสาท ของเรา บัลลังก์สำเร็จด้วยทองก็มี สำเร็จด้วยแก้วมณีก็มี สำเร็จด้วยแก้วทับทิมก็มี สำเร็จด้วยแก้วผลึกก็มี ตามแต่จะต้องการปรารถนา ที่นอนมีค่ามากยัดด้วยนุ่น มีผ้าลวดลายรูปสัตว์ต่างๆ มีราชสีห์เป็นต้น ผ้าลาดมีชายเดียว มี หมอน พร้อม ปรากฏว่ามีอยู่ในปราสาทของเรา
ในเวลาที่เราปรารถนาจะออกจากภพ เที่ยวจาริกไปในเทวโลก ย่อมเป็นผู้อันหมู่เทวดาแวดล้อมไป เราสถิตอยู่ภายใต้ดอกไม้ เบื้องบนเรา มี ดอก ไม้ เป็นเครื่องกำบัง สถานที่โดยรอบ ๑๐๐ โยชน์ถูกคลุมด้วยดอกกรรณิการ์ ดนตรีหกหมื่นบำรุงเราทั้งเช้าและเย็น ไม่เกียจคร้านแวดล้อมเราเป็นนิตย์ ตลอดคืนตลอดวัน เรารื่นรมย์ด้วยการฟ้อน การขับและด้วยกังสดาล เครื่องประโคม เป็นผู้มักมากด้วยกาม บันเทิงอยู่ด้วยความ ยินดีในการเล่น.
ครั้งนั้น เราบริโภคและดื่มในวิมานนั้น บันเทิงอยู่ในไตรทศ เราพร้อมด้วยหมู่นางเทพอัปสร บันเทิงอยู่ในวิมานอันสูงสุด เราได้เสวยราชสมบัติในเทวโลก ๕๐๐ ครั้ง ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๓๐๐ ครั้ง และได้เป็นพระเจ้าประเทศราชอันไพบูลย์ โดยคณา นับ มิได้
เมื่อเรายังท่องเที่ยวอยู่ในภพน้อยภพใหญ่ ย่อมได้โภคทรัพย์มากมาย ความบกพร่องในโภคทรัพย์ไม่มีแก่เราเลย นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา. เราเกิดในสองสกุล คือ ในสกุลกษัตริย์หรือสกุลพราหมณ์ ย่อมไม่เกิดในสกุลต่ำทราม นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา.
ยานช้าง ยานม้าและวอคานหาบ นี้เราได้ทุกสิ่งทุกอย่างทีเดียว นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา. หมู่ทาส หมู่ทาสีและนารีที่ประดับประดาแล้ว เราได้ทุกอย่างทีเดียว นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา. ผ้าแพร ผ้าขนสัตว์ ผ้าเปลือกไม้ ผ้าฝ้ายเราได้ทุกชนิด นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา. ผ้าใหม่ ผลไม้ใหม่ โภชนะมีรสอันเลิศใหม่ๆ เราได้ทุกชนิด นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา.
คำว่า เชิญเคี้ยวสิ่งนี้ เชิญบริโภคสิ่งนี้ เชิญนอนบนที่นอนนี้ เราได้ทั้งนั้น นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา. เราเป็นผู้อันเขาบูชาในที่ทุกสถาน เรามียศใหญ่ยิ่ง มีศักดิ์ใหญ่ มีบริษัทไม่แตกแยกทุกเมื่อ เราเป็นผู้อุดมกว่าหมู่ญาติ นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา. เราไม่รู้จักหนาว ไม่รู้จักร้อน ไม่มีความกระวนกระวาย. อนึ่ง ทุกข์ทางจิตย่อมไม่มีในหทัยของเราเลย เราเป็นผู้มีผิวพรรณดังทองคำ เที่ยวไปในภพน้อยภพใหญ่ ความเป็นผู้มีวรรณะผิดแผกไป เราไม่รู้จักเลย นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา.
เราอันกุศลมูลตักเตือนแล้ว จึงจุติจากเทวโลก มาเกิดในสกุลพราหมณ์มหาศาลอันมั่งคั่ง ในพระนครสาวัตถี ละกามคุณ ๕ ออกบวชเป็นบรรพชิต เรามีอายุได้ ๗ ขวบแต่กำเนิดได้บรรลุพระอรหัต.
พระพุทธเจ้าผู้มีปัญญาจักษุ ทรงทราบถึงคุณของเรา จึงรับสั่งให้เราอุปสมบท เรายังหนุ่มก็ควรบูชา นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา. ทิพยจักษุของเราบริสุทธิ์ เราฉลาดในสมาธิ ถึงความบริบูรณ์แห่งอภิญญา นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา. เราบรรลุปฎิสัมภิทา ฉลาดหลักแหลมในอิทธิบาท ถึงความบริบูรณ์ในพระสัทธรรม นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา. ในกัปที่ ๓๐,๐๐๐ เราได้บูชาพระพุทธเจ้าใด ด้วยการบูชานั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา. เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ฯลฯ คำสอนของพระพุทธเจ้า เรากระทำสำเร็จแล้ว ดังนี้.
____________________________
๑- ขุ. อ. เล่ม ๓๓/ข้อ ๙๑
ก็อุตตรสามเณรเป็นผู้มีอภิญญา ๖ ลุกขึ้นจากหลาวแล้วยืนอยู่ในอากาศ แสดงปาฏิหาริย์ ด้วย ความ อนุ เคราะห์ ในผู้อื่น มหาชนได้เกิดมีจิตอัศจรรย์ ใน ปรากฏ การณ์ ที่ไม่เคยมี. แผล (เก่า) ของท่านได้ผุดขึ้นในทันใดนั่นเอง.
ท่านอันภิกษุทั้งหลาย ถามว่า อาวุโส ท่านเสวยทุกข์เช่นนั้นอยู่สามารถขวนขวายวิปัสสนาได้อย่างไร?
เมื่อจะแสดงความว่า ดูก่อนอาวุโส จะป่วยกล่าวไปไย ถึงโทษในสงสารของเรา ก็สภาพของสังขารทั้งหลาย ท่านทั้งหลายก็เห็นดีแล้ว เราแม้เสวยทุกข์เช่นนั้นอยู่อย่างนี้ ก็ยังสามารถเจริญวิปัสสนาแล้วบรรลุพระอรหัตได้ จึงกล่าวคาถา ๒ คาถาว่า
ภพอะไรที่เที่ยงไม่มี แม้สังขารที่เที่ยงก็ไม่มี ขันธ์เหล่านั้น
ย่อมเวียนเกิดและเวียนดับไป เรารู้โทษอย่างนี้แล้ว จึงไม่มี
ความต้องการด้วยภพ เราสลัดตนออกจากกามทั้งปวง บรรลุ
ถึงความสิ้นอาสวะแล้วดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นตฺถิ โกจิ ภโว นิจฺโจ ความว่า ภพทั้งหลายแยกประเภทออกไปอย่างนี้ คือ กรรมภพ อุปปัตติภพ กามภพ รูปภพ อรูปภพ สัญญีภพ อสัญญีภพ เนวสัญญีนาสัญญีภพ เอกโวการภพ จตุโวการภพ (และ) ปัญจโวการภพ.
แม้ในบรรดาภพเหล่านั้น ภพอย่างใดอย่างหนึ่งที่จำแนกออกไปอย่างนี้ว่า เลว ปานกลาง อุกฤษฏ์ มีอายุยืน มากด้วยความสุข มีสุขและทุกข์คลุกเคล้ากันไป ดังนี้ จะเที่ยง ยั่งยืน มั่นคง มีอันไม่ต้องเพ่งดูเป็นธรรมดา ไม่มีเลย เพราะต้องอาศัยเหตุนั้นๆ จึงเกิดขึ้น.
ประกอบความว่า ก็เพราะการณ์เป็นอย่างนี้แหละ ฉะนั้น แม้สังขารทั้งหลายจะชื่อว่าเที่ยงไม่มีเลย.
สังขารทั้งหลายนั่นแหละ ชื่อว่าเป็นของเกิดแล้ว โดยการกำหนดหมายรู้ เพราะ อาศัย เบญจ ขันธ์ อันได้นามว่าสังขาร เพราะเหตุที่ปัจจัยทั้งหลายปรุงแต่งแล้ว ย่อมเปลี่ยนแปลงไปเพราะชราและมรณะ เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่าไม่เที่ยง มีการแปรปรวนไปเป็นธรรมดา.
จริงอย่างนั้น วิปริณามธรรมเหล่านั้น ท่านจึงกล่าวว่า สังขาร ด้วยเหตุนั้น พระเถระ จึง กล่าว ว่า ขันธ์เหล่านั้นย่อมเวียนเกิดและเวียนดับไป โดยมีอธิบายว่า เบญจ ขันธ์ ที่ ท่าน กล่าว ไว้โดยปริยายแห่งภพ และโดยปริยายแห่งสังขารเหล่านั้น ย่อมเวียนเกิดไปตามปัจจัยและเกิดแล้ว ถูกชราเบียดเบียนบีบคั้น ย่อมเคลื่อน คือแตกสลายไป.
ด้วยบทว่า อุปฺปชฺชนฺติ จ เต ขนฺธา จวนฺติ อปราปรํ นี้ พระเถระแสดงความหมายว่า เบญจขันธ์ที่ได้ชื่อว่า ภพก็ดี สังขารก็ดี มีการเกิดขึ้นและเสื่อมไปเป็นสภาพ.
เพราะเหตุที่เมื่อพระโยคาวจรยกเบญจขันธ์ขึ้นสู่ไตรลักษณ์ แล้วพิจารณาสังขารทั้งหลายอยู่ ภพแม้ทั้ง ๓ ย่อมปรากฏชัดดุจถูกไฟเผาแล้ว จะป่วยกล่าวไปไยถึงสังขารทั้งหลายที่พระโยคาวจรรู้อาทีนพ คือโทษในเบญจขันธ์ที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว ว่าเป็นเหมือนเรือนที่ถูกไฟไหม้แล้ว ด้วยวิปัสสนาปัญญา เห็นแล้วโดยเป็นอนิจจลักษณะ ย่อมปรากฏชัดกว่า เพราะความที่สังขารเป็นทุกข์ ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา.
เพราะเหตุที่ เมื่อพระโยคาวจรยกเบญจขันธ์ขึ้นสู่ไตรลักษณ์ แล้วพิจารณาสังขารทั้งหลายอยู่ ภพแม้ทั้ง ๓ ย่อมปรากฎว่ามีภัยเฉพาะหน้าดุจเรือนที่ถูกไฟไหม้ ฉะนั้น พระเถระจึงกล่าวว่า ภเวนมฺหิ อนตฺถิโก (เรารู้โทษอย่างนี้แล้ว จึงไม่มีความต้องการด้วยภพ).
ประกอบความว่า ก็แม้เล่ห์เหลี่ยมที่มุ่งหมายในกามทั้งหลาย ย่อมไม่เกิดขึ้นแก่ผู้ที่ทำตนให้หมุนกลับจากภพทั้งหลายได้โดยประการทั้งปวงอย่างนี้
ด้วยเหตุนั้น พระเถระจึงกล่าวว่า นิสฺสโฏ สพฺพกาเมหิ เราเป็นผู้สลัดตนออกแล้วจากกามทั้งปวงดังนี้. อธิบายว่า เราเป็นผู้มีจิตหมุนกลับจากกามทั้งหลายแม้เป็นทิพย์ (เห็น) เป็นเหมือนของมนุษย์.
บทว่า ปตฺโต เม อาสวกฺขโย ความว่า เพราะเหตุที่เราเป็นผู้มีสังขารอันขจัดขัดเกลาดีแล้ว เห็นโทษในภพทั้งหลายโดยชัดเจน และมีใจไม่ข้องแวะในกามทั้งหลาย ฉะนั้น ถึงแม้เราจะนั่งอยู่แล้วบนปลายหลาว เราก็ได้บรรลุ คือถึงทับความสิ้นไปแห่งอาสวะ อันได้แก่พระนิพพานและพระอรหัตผล.
พระเถระให้โอวาทแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ก็เพื่อนสพรหมจารีทั้งหลายเหล่าอื่นผู้มีใจยังไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะ พึงกระทำความอุตสาหะเพื่อบรรลุความสิ้นไปแห่งอาสวะนั้น.
จบอรรถกถาอุตตรเถรคาถา
เรื่องราวของท่านเป็นอย่างไร?
แม้พระเถระนี้ก็เป็นผู้มีอธิการอันกระทำแล้วในพระพุทธเจ้าองค์ก่อนๆ สั่งสมบุญอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานไว้ในภพนั้นๆ ในกาลของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าสุเมธะ. เขาเป็นวิชาธร ท่องเที่ยวไปโดยอากาศ.
ก็โดยสมัยนั้น พระศาสดาเมื่อจะทรงอนุเคราะห์เขา จึงเปล่งพระพุทธรังสีมีวรรณะ ๖ ประทับนั่งที่โคนไม้แห่งหนึ่ง เขาเหาะไปโดยอากาศ เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว มีจิตเลื่อมใส ลงจากอากาศ บูชาพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยดอกกรรณิการ์ อันสะอาดบริสุทธิ์ด้วยดี ไพบูลย์.
ด้วยพุทธานุภาพ (บันดาลให้) ดอกไม้ทั้งหลายตั้งอยู่ในเบื้องบนของพระศาสดา โดยอาการของฉัตร ด้วยพุทธานุภาพนั้น ทำให้เขามีจิตเลื่อมใสยิ่งกว่าประมาณ ต่อมากระทำกาละแล้ว เกิดในภพดาวดึงส์ เสวยทิพยสมบัติอันโอฬาร ดำรงอยู่ในภพดาวดึงส์นั้นจนตลอดอายุ ต่อแต่นั้น ก็ท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เกิดเป็นบุตรของพราหมณ์มหาศาล ในพระนครราชคฤห์ ในพุทธุปบาทกาลนี้ ได้มีนามว่าอุต
เขาบรรลุนิติภาวะแล้ว ถึงความสำเร็จในวิชชาของพราหมณ์ เป็นผู้เกิดมาทำโลกให้เจริญโดยรูป โดยวิชา โดยวัยและโดยศีลาจารวัตร. มหาอำมาตย์แห่งแคว้นมคธ ชื่อว่าวัสสการะ เห็นสมบัตินั้นของเขาแล้ว เป็นผู้มีความประสงค์จะยกธิดาของตนให้ แจ้งความประสงค์ของตนแล้ว.
เขาปฎิเสธความหวังดีนั้น เพราะความเป็นผู้มีอัธยาศัยน้อมไปในพระนิพพาน เข้าไปนั่งใกล้พระธรรมเสนาบดี ฟังธรรมในสำนักตามเวลาที่เหมาะสม ได้เป็นผู้มี
ก็โดยสมัยนั้น อาพาธบางอย่างเกิดแก่พระเถระ เพื่อจะจัดยาถวายพระเถระ อุต
สามเณรเดินเข้าไปใกล้บาตร พวกราชบุรุษที่ติดตามโจรมา เห็นห่อของในบาตรของสามเณร จึงกล่าวว่า สามเณรนี้เป็นโจร สามเณรนี้ประพฤติเป็นโจร แล้วจับสามเณรมัดมือไพร่หลัง ส่งให้วัสสการพราหมณ์.
ก็ในครั้งนั้น วัสสการพราหมณ์ได้รับแต่งตั้งในตำแหน่งผู้วินิจฉัยคดีของพระราชา สั่งการลงโทษประหารและทรมานได้. เขาไม่ยอมไต่สวนทวนพยานเลย สั่งให้เอาหลาวเสียบประจานสามเณรทั้งเป็นๆ เพราะผูกอาฆาตว่า เมื่อก่อนสามเณรไม่เอื้อเฟื้อคำของเรา ไปบวชในลัทธินอกรีตนอกรอย.
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรวจดูความแก่รอบแห่งญาณของอุตตรสามเณรแล้ว เสด็จไปสู่ที่นั้น ทรงวางพระหัตถ์ซึ่งมีพระองคุลียาวอ่อนนุ่ม คลุมด้วยเปลวรัศมี ประดุจสายธารทองคำสีแดงธรรมชาติที่กำลังหลั่งอยู่ เพราะประกอบด้วยรัศมีสีขาว แพรวพราวไปด้วยแสงแห่งแก้วมณีที่นิ้วมืออันสั่นพริ้วอยู่บนศีรษะของอุตตรสามเณร แล้วตรัสว่า ดูก่อนอุตตระ นี้เป็นผลของกรรมเก่า เกิดขึ้นแล้วแก่เธอ เธอต้องทำความอดกลั้นด้วยกำลังแห่งการพิจารณาในผลของกรรมนั้น ดังนี้ แล้วทรงแสดงธรรมตามสมควรแก่อัธยาศัย.
อุตตรสามเณรกลับได้ปีติและปราโมทย์อันโอฬาร เพราะความเป็นผู้มีความเลื่อมใส และโสมนัสอันเกิดแล้วด้วยสัมผัสแห่งพระหัตถ์ของพระศาสดา คล้ายกับทรงราดรดด้วยน้ำอมฤต ก้าวขึ้นสู่วิปัสสนามรรค ตามที่สั่งสมไว้ ยังกิเลสทั้งปวงให้สิ้นไปแล้วตามลำดับแห่งมรรคในทันใดนั้นเอง เพราะถึงความแก่รอบแห่งญาณ และเพราะเทศนาอันงดงามไพเราะของพระศาสดา.
สมดังคาถาประพันธ์ที่ท่านกล่าวไว้ในอปทานว่า๑-
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงพระนามว่า "สุเมธะ" มีพระมหาปุริสลักษณะอันประเสริฐ ๓๒ ประการ พระองค์ทรงประสงค์ความสงัดจึงเสด็จไปป่าหิมพานต์ พระมุนีผู้เลิศประกอบด้วยพระกรุณา เป็นอุดมบุรุษ เสด็จถึงป่าหิมพานต์แล้วประทับนั่งขัดสมาธิ.
ครั้งนั้น เราเป็นวิทยาธร สัญจรไปในอากาศ เราถือตรีศูลซึ่งกระทำไว้ดีแล้ว เหาะไปในอัมพร.
พระพุทธเจ้าส่องสว่างอยู่ในป่า เหมือนกับไฟบนยอดภูเขา เหมือนพระจันทร์ในวันเพ็ญ และเหมือนต้นพระยารังที่มีดอกบาน เราออกจากป่าเหาะไปตามพระรัศมีของพระพุทธเจ้า เห็นคล้ายกับสีของไฟที่ไหม้ไม้อ้อ ยังจิตให้เลื่อมใส เราเลือก
ด้วยกรรมที่ได้ทำไว้ดีแล้วนั้น และด้วยการตั้งเจตน์จำนง เราละร่างมนุษย์แล้ว ได้ไปสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ วิมานของเราสูง ๖๐ โยชน์ กว้าง ๓๐ โยชน์อันบุญกรรมทำให้อย่างสวยงาม ในดาวดึงส์นั้นปรากฎชื่อว่ากรรณิการ์
แล่งธนูตั้งพันลูกคลีหนังตั้งร้อย คนถือธงสำเร็จด้วยสีเขียวใบไม้ มีประตู
ในเวลาที่เราปรารถนาจะออกจากภพ เที่ยวจาริกไปในเทวโลก ย่อมเป็นผู้อันหมู่เทวดาแวดล้อมไป เราสถิตอยู่ภายใต้ดอกไม้ เบื้องบนเรา
ครั้งนั้น เราบริโภคและดื่มในวิมานนั้น บันเทิงอยู่ในไตรทศ เราพร้อมด้วยหมู่นางเทพอัปสร บันเทิงอยู่ในวิมานอันสูงสุด เราได้เสวยราชสมบัติในเทวโลก ๕๐๐ ครั้ง ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๓๐๐ ครั้ง และได้เป็นพระเจ้าประเทศราชอันไพบูลย์ โดยคณา
เมื่อเรายังท่องเที่ยวอยู่ในภพน้อยภพใหญ่ ย่อมได้โภคทรัพย์มากมาย ความบกพร่องในโภคทรัพย์ไม่มีแก่เราเลย นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา. เราเกิดในสองสกุล คือ ในสกุลกษัตริย์หรือสกุลพราหมณ์ ย่อมไม่เกิดในสกุลต่ำทราม นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา.
ยานช้าง ยานม้าและวอคานหาบ นี้เราได้ทุกสิ่งทุกอย่างทีเดียว นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา. หมู่ทาส หมู่ทาสีและนารีที่ประดับประดาแล้ว เราได้ทุกอย่างทีเดียว นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา. ผ้าแพร ผ้าขนสัตว์ ผ้าเปลือกไม้ ผ้าฝ้ายเราได้ทุกชนิด นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา. ผ้าใหม่ ผลไม้ใหม่ โภชนะมีรสอันเลิศใหม่ๆ เราได้ทุกชนิด นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา.
คำว่า เชิญเคี้ยวสิ่งนี้ เชิญบริโภคสิ่งนี้ เชิญนอนบนที่นอนนี้ เราได้ทั้งนั้น นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา. เราเป็นผู้อันเขาบูชาในที่ทุกสถาน เรามียศใหญ่ยิ่ง มีศักดิ์ใหญ่ มีบริษัทไม่แตกแยกทุกเมื่อ เราเป็นผู้อุดมกว่าหมู่ญาติ นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา. เราไม่รู้จักหนาว ไม่รู้จักร้อน ไม่มีความกระวนกระวาย. อนึ่ง ทุกข์ทางจิตย่อมไม่มีในหทัยของเราเลย เราเป็นผู้มีผิวพรรณดังทองคำ เที่ยวไปในภพน้อยภพใหญ่ ความเป็นผู้มีวรรณะผิดแผกไป เราไม่รู้จักเลย นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา.
เราอันกุศลมูลตักเตือนแล้ว จึงจุติจากเทวโลก มาเกิดในสกุลพราหมณ์มหาศาลอันมั่งคั่ง ในพระนครสาวัตถี ละกามคุณ ๕ ออกบวชเป็นบรรพชิต เรามีอายุได้ ๗ ขวบแต่กำเนิดได้บรรลุพระอรหัต.
พระพุทธเจ้าผู้มีปัญญาจักษุ ทรงทราบถึงคุณของเรา จึงรับสั่งให้เราอุปสมบท เรายังหนุ่มก็ควรบูชา นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา. ทิพยจักษุของเราบริสุทธิ์ เราฉลาดในสมาธิ ถึงความบริบูรณ์แห่งอภิญญา นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา. เราบรรลุปฎิสัมภิทา ฉลาดหลักแหลมในอิทธิบาท ถึงความบริบูรณ์ในพระสัทธรรม นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา. ในกัปที่ ๓๐,๐๐๐ เราได้บูชาพระพุทธเจ้าใด ด้วยการบูชานั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา. เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ฯลฯ คำสอนของพระพุทธเจ้า เรากระทำสำเร็จแล้ว ดังนี้.
____________________________
๑- ขุ. อ. เล่ม ๓๓/ข้อ ๙๑
ก็อุตตรสามเณรเป็นผู้มีอภิญญา ๖ ลุกขึ้นจากหลาวแล้วยืนอยู่ในอากาศ แสดงปาฏิหาริย์
ท่านอันภิกษุทั้งหลาย ถามว่า อาวุโส ท่านเสวยทุกข์เช่นนั้นอยู่สามารถขวนขวายวิปัสสนาได้อย่างไร?
เมื่อจะแสดงความว่า ดูก่อนอาวุโส จะป่วยกล่าวไปไย ถึงโทษในสงสารของเรา ก็สภาพของสังขารทั้งหลาย ท่านทั้งหลายก็เห็นดีแล้ว เราแม้เสวยทุกข์เช่นนั้นอยู่อย่างนี้ ก็ยังสามารถเจริญวิปัสสนาแล้วบรรลุพระอรหัตได้ จึงกล่าวคาถา ๒ คาถาว่า
ภพอะไรที่เที่ยงไม่มี แม้สังขารที่เที่ยงก็ไม่มี ขันธ์เหล่านั้น
ย่อมเวียนเกิดและเวียนดับไป เรารู้โทษอย่างนี้แล้ว จึงไม่มี
ความต้องการด้วยภพ เราสลัดตนออกจากกามทั้งปวง บรรลุ
ถึงความสิ้นอาสวะแล้วดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นตฺถิ โกจิ ภโว นิจฺโจ ความว่า ภพทั้งหลายแยกประเภทออกไปอย่างนี้ คือ กรรมภพ อุปปัตติภพ กามภพ รูปภพ อรูปภพ สัญญีภพ อสัญญีภพ เนวสัญญีนาสัญญีภพ เอกโวการภพ จตุโวการภพ (และ) ปัญจโวการภพ.
แม้ในบรรดาภพเหล่านั้น ภพอย่างใดอย่างหนึ่งที่จำแนกออกไปอย่างนี้ว่า เลว ปานกลาง อุกฤษฏ์ มีอายุยืน มากด้วยความสุข มีสุขและทุกข์คลุกเคล้ากันไป ดังนี้ จะเที่ยง ยั่งยืน มั่นคง มีอันไม่ต้องเพ่งดูเป็นธรรมดา ไม่มีเลย เพราะต้องอาศัยเหตุนั้นๆ จึงเกิดขึ้น.
ประกอบความว่า ก็เพราะการณ์เป็นอย่างนี้แหละ ฉะนั้น แม้สังขารทั้งหลายจะชื่อว่าเที่ยงไม่มีเลย.
สังขารทั้งหลายนั่นแหละ ชื่อว่าเป็นของเกิดแล้ว โดยการกำหนดหมายรู้ เพราะ
จริงอย่างนั้น วิปริณามธรรมเหล่านั้น ท่านจึงกล่าวว่า สังขาร ด้วยเหตุนั้น พระเถระ
ด้วยบทว่า อุปฺปชฺชนฺติ จ เต ขนฺธา จวนฺติ อปราปรํ นี้ พระเถระแสดงความหมายว่า เบญจขันธ์ที่ได้ชื่อว่า ภพก็ดี สังขารก็ดี มีการเกิดขึ้นและเสื่อมไปเป็นสภาพ.
เพราะเหตุที่เมื่อพระโยคาวจรยกเบญจขันธ์ขึ้นสู่ไตรลักษณ์ แล้วพิจารณาสังขารทั้งหลายอยู่ ภพแม้ทั้ง ๓ ย่อมปรากฏชัดดุจถูกไฟเผาแล้ว จะป่วยกล่าวไปไยถึงสังขารทั้งหลายที่พระโยคาวจรรู้อาทีนพ คือโทษในเบญจขันธ์ที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว ว่าเป็นเหมือนเรือนที่ถูกไฟไหม้แล้ว ด้วยวิปัสสนาปัญญา เห็นแล้วโดยเป็นอนิจจลักษณะ ย่อมปรากฏชัดกว่า เพราะความที่สังขารเป็นทุกข์ ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา.
เพราะเหตุที่ เมื่อพระโยคาวจรยกเบญจขันธ์ขึ้นสู่ไตรลักษณ์ แล้วพิจารณาสังขารทั้งหลายอยู่ ภพแม้ทั้ง ๓ ย่อมปรากฎว่ามีภัยเฉพาะหน้าดุจเรือนที่ถูกไฟไหม้ ฉะนั้น พระเถระจึงกล่าวว่า ภเวนมฺหิ อนตฺถิโก (เรารู้โทษอย่างนี้แล้ว จึงไม่มีความต้องการด้วยภพ).
ประกอบความว่า ก็แม้เล่ห์เหลี่ยมที่มุ่งหมายในกามทั้งหลาย ย่อมไม่เกิดขึ้นแก่ผู้ที่ทำตนให้หมุนกลับจากภพทั้งหลายได้โดยประการทั้งปวงอย่างนี้
ด้วยเหตุนั้น พระเถระจึงกล่าวว่า นิสฺสโฏ สพฺพกาเมหิ เราเป็นผู้สลัดตนออกแล้วจากกามทั้งปวงดังนี้. อธิบายว่า เราเป็นผู้มีจิตหมุนกลับจากกามทั้งหลายแม้เป็นทิพย์ (เห็น) เป็นเหมือนของมนุษย์.
บทว่า ปตฺโต เม อาสวกฺขโย ความว่า เพราะเหตุที่เราเป็นผู้มีสังขารอันขจัดขัดเกลาดีแล้ว เห็นโทษในภพทั้งหลายโดยชัดเจน และมีใจไม่ข้องแวะในกามทั้งหลาย ฉะนั้น ถึงแม้เราจะนั่งอยู่แล้วบนปลายหลาว เราก็ได้บรรลุ คือถึงทับความสิ้นไปแห่งอาสวะ อันได้แก่พระนิพพานและพระอรหัตผล.
พระเถระให้โอวาทแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ก็เพื่อนสพรหมจารีทั้งหลายเหล่าอื่นผู้มีใจยังไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะ พึงกระทำความอุตสาหะเพื่อบรรลุความสิ้นไปแห่งอาสวะนั้น.
จบอรรถกถาอุตตรเถรคาถา
สุดท้ายคืนกายคืนใจให้โลกและธรรมชาติไปศีลทั้งห้าข้อ..คือปราการ ด่านสุดท้าย สรรพสัตว์ทุกชีวิตมีจิตวิญญาณ..ล้วน..วิวัฒนาการ..มาจากแสงที่ส่องมาจาก..ดวงอาทิตย์..ศีล..ข้อที่1...ห้ามทำร้าย..สัตว์..ห้ามฆ่าสัตว์..เด็ดขาดครับ...ศีลทั้งห้าข้อ..เว้นขาดครับ..เมื่อใกล้ตายจิตจะมารวมตัวกันเองโดยไม่ต้องบังคับ..สิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิตในจักรวาล มีนับไม่ถ้วนรวมแล้วมี รูป กับ นาม สองอย่างเท่านั้น นามเดิม ก็คือ ความว่างของจักรวาล เข้าคู่กัน เป็น เหตุเกิดตัวอวิชชา เกิดเหตุก่อ ที่ใดมีรูป ที่นั้นต้องมี นาม ที่ใดมีนาม ที่นั้นต้องมีรูป รูปนามรวมกัน เป็นเหตุเกิดปฏิกิริยา ให้เปลี่ยนแปลงตลอดกาลและเกิดกาลเวลาขึ้นจึงเป็นเหตุให้รูปเคลื่อนไหว และหมุนรอบตัวเองตามปัจจัย รูปเคลื่อนไหวได้ ต้องมีนาม ความว่า คั่นระหว่างรูป รูปจึงเคลื่อนไหวได้ เมื่อสภาวธรรมเป็นอย่างนี้ สรรพสิ่งของวัตถุ สสารมีชีวิต และไม่มีชีวิตจึงต้องเปลี่ยนแปลง เป็นไตรลักษณ์ เกิด ดับ สืบต่อทุกขณะจิตไม่มีวันหยุดนิ่งให้คงทนเป็นปัจจุบันได้ จิต วิญญาณ ก็เกิดมาจาก รูปนาม ของจักรวาล มันเป็นมายาหลอกลวงแล้วเปลี่ยนแปลงให้คนหลง จากรูปนามไม่มีชีวิต เปลี่ยนมาเป็นรูปนามที่มีชีวิตจากรูปนามที่มีชีวิต มาเป็นรูปนามมีชีวิต ที่มีจิตวิญญาณ แล้วจิตวิญญาณก็เปลี่ยนแปลงแยกออกจากกัน คงเหลือแต่ “นามว่างที่ปราศจากรูป" นี้ เป็นจุดสุดยอดของการหลอกลวงของรูปนาม ต้นเหตุเกิดรูปนามของจักรวาลนั้น เป็นเหตุเกิด “รูปนามพิภพ" ต่าง ๆ ตลอดจนดวงดาวนับไม่ถ้วนเพราะไม่มีที่สิ้นสุด รูปนามพิภพต่าง ๆ เป็นเหตุให้เกิด “รูปนามพืช" รูปนามพืช เป็นเหตุให้เกิด “รูปนามสัตว์" เคลื่อนไหวได้ จึงเรียกกันว่า เป็นสิ่งมีชีวิต ความจริง รูปนาม จะมีชีวิตหรือไม่มีชีวิตมันก็เคลื่อนไหวได้ เพราะมันมีรูปกับนาม เป็นเหตุ เป็นผล ให้เกิดปฏิกิริยาอยู่ในตัว ให้เคลื่อนไหวตลอดกาลและ (เกิด) การเปลี่ยนแปลงเรามองด้วยตาเนื้อไม่เห็น จึงเรียกกันว่าเป็นสิ่งไม่มีชีวิตเมื่อรูปนามของพืช เปลี่ยนมาเป็น รูปนามของสัตว์ เป็นจุดตั้งต้นชีวิต ของสัตว์ และเป็น เหตุให้เกิด จิต วิญญาณ การแสดง การเคลื่อนไหว เป็นเหตุให้เกิดกรรม
สุดท้ายคืนกายคืนใจให้โลกและธรรมชาติไปหน้าที่เราต้องฝึกสติให้เร็วขึ้น เร็ว เร็วมากขึ้นๆ จนใจไหว...แว้บ.รู้ทัน. ถ้าจิตมันตั้งมั่นรู้ว่าไหลออกไปแล้วทุกข์ ก็ตั้งเด่นดวงอยู่ จิตก็เข้าฌานอัตโนมัติ เพราะงั้นถึงเราจะเจริญสติเจริญปัญญาโดยเข้าฌานไม่เป็น ถึงนาทีสุดท้ายที่จะเกิดอริยมรรคอริยผลในทุกขั้นตอน ตั้งแต่โสดาปัตติมรรคจนถึงอรหัตมรรคเนี่ย จิตจะเข้าฌานของเค้าเอง ยกเว้นคนซึ่งเดินปัญญาอยู่ในฌาน เวลาที่จะเกิดอริยมรรคไม่ต้องถอยออกมาอยู่ในโลกก่อนนะ ไม่ต้องกลับมาอยู่กามภูมิก่อนนะ จิตเค้าจะตัดอยู่ข้างในได้เลย นี่เป็นพวกหนึ่ง แต่รวมความก็คืออริยมรรคไม่เกิดอยู่ในจิตที่อยู่ในกามอย่างพวกเรา อริยมรรคจะต้องเกิดอยู่ในรูปภูมิหรืออรูปภูมินะ จะเกิดอยู่ตรงนั้น ไปล้างกันตรงนั้น จิตจะเข้าฌานอัตโนมัติ พอจิตเข้าฌานแล้วคราวนี้สติระลึกรู้อยู่ที่จิตนะ ไม่ได้เจตนาระลึก มันรู้เอง เพราะมันไม่แส่ส่ายออกไปที่ตาหูจมูกลิ้นกายใจ ไม่แส่ส่ายไปในความคิด ก็หยุดลงที่จิตดวงเดียว สติหยั่งลงที่จิต จิตตั้งมั่นอยู่ที่จิต เพราะงั้นสมาธินี่เต็มสมบูรณ์แล้ว ตั้งมั่นอยู่ที่จิต สติสมบูรณ์แล้ว ระลึกอยู่ที่จิต ปัญญาสมบูรณ์แล้ว เห็นความเป็นจริงทุกสิ่งที่อย่างที่เคลื่อนไหวอยู่ในจิตนะ ตรงนี้แหละจิตจะไหวตัวขึ้นมาสองสามขณะ คือปรุงขึ้นมานะแต่ไม่รู้ว่าคิดอะไร ไม่รู้ว่าปรุงอะไร มีความปรุงแต่งเกิดขึ้นแต่ไม่รู้ว่าปรุงอะไร จะเห็นแต่ว่าสิ่งบางสิ่งเกิดขึ้นแล้วสิ่งนั้นดับไป จะเห็นอย่างนี้เอง เห็นเอง ถัดจากนั้นนะจิตจะรู้เลยมันไม่มีสาระอะไร จิตมันจืดนะ มันไม่เอาอีกแล้ว ก็แค่เห็นความปรุงภายในจิตผุดขึ้น พอเห็นความปรุงภายในจิตผุดขึ้นสองสามขณะ ความเห็นกลางอย่างแท้จริงเลย รู้อย่างเป็นกลางอย่างแท้จริงไม่ปรุงต่อนะ จิตจะวาง พอมันวางแล้วมันจะทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้ วางจิตแล้วทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้ ธาตุรู้ก็จิตนั่นแหละ มันเป็นจิตอีกอย่างหนึ่ง พอจิตดวงเก่ามันดับไป จิตที่อยู่ในภพภูมิต่างๆมันดับไป มันทวนกระแสเข้าหาจิตที่เหนือภพเหนือภูมิ ทวนกระแสเข้ามา ขณะที่มันปล่อยวางจิตดวงเดิมนะ แล้วก็ทวนเข้ามาแต่ยังไม่ถึงธาตุรู้นะ คาบลูกคาบดอก ไม่ได้เกาะขันธ์แล้วนะ แต่ก็ยังเข้ามาไม่ถึงตัวธาตุรู้ ไม่ถึงอมตะธาตุอมตะธรรม ไม่ถึงพระนิพพาน ธาตุรู้ไม่ใช่พระนิพพานนะ แต่ธาตุรู้ไปเห็นพระนิพพาน ต้องแยกให้ออก มันยังทวนไม่ถึงธาตุรู้ ไม่ใช่ปุถุชน ไม่ใช่พระอริยะ ทำไมไม่ใช่ปุถุชน เพราะมันปล่อยขันธ์แล้ว ขันธ์สุดท้ายที่มันปล่อยก็คือจิต ไม่ใช่พระอริยะ เพราะยังไม่เข้ามาถึงธาตุรู้ ไม่เข้าถึงพระนิพพาน ตัวธาตุรู้นั่นแหละเป็นตัวไปเห็นพระนิพพาน ตรงนี้นะเรียกว่าโคตรภูญาณ ญาณข้ามโคตร มีปัญญาข้ามโคตร ข้ามโคตรจากโคตรไหนมาสู่โคตรไหน? จากโคตรของปุถุชนมาสู่โคตรของอริยชน เพราะงั้นบรรลุมรรคผลแล้วเปลี่ยนโคตรนะ ข้ามจากสกุลของปุถุชน ข้ามมาสู่อริยวงศ์อริยโคตร เรียกญาณข้ามโคตร ไม่ใช่ปุถุชนนะ กำลังข้ามอยู่ ไม่ใช่พระอริยะ มีอยู่ขณะจิตเดียวแหละที่คาบลูกคาบดอกประหลาดอยู่อย่างนี้ ข้ามมา ทวนเข้ามาถึงจิตแท้ ถึงธาตุรู้แท้ๆ ธรรมธาตุ ตัวนี้อริยมรรคก็จะเกิดขึ้น อาสวกิเลสที่ห่อหุ้มจิตอยู่ถูกอริยมรรคแหวกออกทำลายออก ก็ล้างกิเลส ล้างในพริบตาเดียว ในขณะเดียว วับเดียวเลย ขาดเลย มันคล้ายๆเปิดสวิตซ์ไฟ ปั๊บ สว่างวุ๊บเดียวความมืดหายไปเลย ในพริบตานั้นเลย จากนั้นนะจะเห็นพระนิพพานอีกสองสามขณะ เห็นไม่เท่ากันหรอก บางคนเห็นสองขณะ บางคนเห็นสามขณะถ้าพวกอินทรีย์กล้ามากๆก็เห็นสามขณะ พวกอินทรีย์ยังไม่กล้ามากก็เห็นสองขณะนะ งั้นพระอริยะในภูมิธรรมอันเดียวกันระดับเดียวกัน ความรู้ความเข้าใจไม่เท่ากัน ความแตกฉานอะไรนี้ไม่เท่ากันเห็นพระนิพพานแล้วก็รู้ว่านิพพานอยู่ต่อหน้าต่อตา นิพพานไม่เคยหายไปไหน อยู่ต่อหน้าต่อตานี่แหละ แต่โง่เองไม่เห็น ทำไมไม่เห็น? มัวแต่เห็นแต่กาม มัวแต่เห็นรูปภพ มัวแต่เห็นอรูปภพ จิตไม่รู้จักปล่อย ตรงที่เค้าปล่อยน่ะเค้าข้าม เค้าทิ้งแล้ว ตรงโคตรภูญาณที่จิตข้ามโคตร ข้ามจากปุถุชนมาเป็นพระอริยะ ข้ามตรงนี้มันทิ้งหมดเลยนะ มันทิ้งกามภูมิ รูปภูมิ อรูปภูมิ ทิ้งหมดเลย ข้ามมาสู่อริยภูมิ โลกุตรภูมิ ข้ามเอง พวกเราก็มีหน้าที่ภาวนาให้มันพอเท่านั้นแหละนะ ถ้ามันพอเมื่อไหร่มันก็ข้ามโคตรไป เปลี่ยนสกุลไม่ใช่นามสกุลเดิม โดยสมมุติบัญญัติก็เป็นนามสกุลเดิม โดยปรมัตถ์แท้ๆก็ไม่ใช่แล้ว ก็มาเป็นลูกพระพุทธเจ้า
วันพุธที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2560
อกาลิโกอกาลิโก แปลว่า (พระธรรม)ไม่ประกอบด้วยกาล อกาลิโก หมายความว่าพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้านั้นให้ผลแก่ผู้ปฏิบัติโดยไม่จำกัดกาลเวลา ไม่ขึ้นกับกาลเวลา ให้ผลทุกเมื่อทุกโอกาส ให้ผลตามลำดับแห่งการปฏิบัติ คือได้บรรลุเมื่อใดก็ได้รับผลเมื่อนั้น ได้บรรลุถึงระดับใหนก็ให้ผลในระดับเมื่อนั้น ทั้งความจริงความแท้แห่งพระธรรมนี้ไม่มีกำหนดอายุกาล จริงแท้อยู่ตลอดกาล จริงแท้อย่างนั้นทุกยุคทุกสมัย ด้วยเหตุนี้ พระธรรมจึงได้ชื่อว่า อกาลิโก (ไม่ขึ้นกับกาล) อกาลิโก เป็นธรรมคุณคือคุณของพระธรรมประการที่ 3 ในจำนวน 6 ประการ อกาลิโก[แก้] ตามความหมายของพระอภิธรรม อกาลิโก หมายถึง ธรรมที่ให้ผลไม่ประกอบด้วยกาล หรือไม่ต้องรอกาลเวลาที่ได้รับผลแห่งธรรม ได้แก่ มรรคจิต 4 และผลจิต 4 เนื่องจาก มรรคจิตซึ่งเป็นกุศลชาติ เมื่อเกิดขึ้นแล้ว หรือเมื่อบรรลุมรรคแล้ว อริยผลของกุศลนี้ได้แก่ ผลจิต อันเป็นวิบากชาตินั้นไม่ต้องรอเวลา ไม่มีระหว่างคั่น จะให้ผลในทันทีทันใด จึงเรียกว่า อกาลิกธรรม ซึ่งเมื่อมรรคจิตเกิด ผลจิตจะเกิดติดต่อกันเป็น อนันตรปัจจัย
คิดถึงพระพุทธเจ้าไว้ ปลอดภัยดี เราเป็นเด็กหลงทางหาทางกลับบ้านไม่เจอ วันนี้เรากลับถึงบ้านได้แล้วมันมีความสุขนะเจอพ่อเจอแม่ของเรา ถ้าเราสัมผัสพระนิพพานแล้ว เราจะรู้เลยว่าโลกนี้หาสาระแก่นสารไม่ได้ โลกนี้เหมือนฝัน ความสุขเหมือนกับฝันอยู่เท่านั้นแหละ ไม่ใช่มีของจริงอะไรให้เราดูเลย ความสุขของพระนิพพานนั้นเหมือนกับของจริง มันเหมือนว่าเรากลับบ้านเราได้แล้ว เราเป็นเด็กหลงทางหาทางกลับบ้านไม่เจอ วันนี้เรากลับถึงบ้านได้แล้ว มันมีความสุขนะ เจอพ่อเจอแม่ของเรา คือเจอพระพุทธเจ้าจิตของเรานั้นแหละ กับพระพุทธเจ้า จะหลอมรวมเป็นสิ่งเดียวกัน จิตของเรากับพระธรรมจะหลอมรวมเข้าเป็นสิ่งเดียวกัน จิตนั้นแหละก็คือตัวพระสงฆ์ พระรัตนตรัยรวมเข้าเป็นหนึ่งที่จิตนั้นเอง ที่จิตที่บริสุทธิ์จิตที่สะอาด จะมีความสุขที่ไม่มีอะไรเหมือน?
คิดถึงพระพุทธเจ้าไว้ ปลอดภัยดี เราเป็นเด็กหลงทางหาทางกลับบ้านไม่เจอ วันนี้เรากลับถึงบ้านได้แล้วมันมีความสุขนะเจอพ่อเจอแม่ของเรา ถ้าเราสัมผัสพระนิพพานแล้ว เราจะรู้เลยว่าโลกนี้หาสาระแก่นสารไม่ได้ โลกนี้เหมือนฝัน ความสุขเหมือนกับฝันอยู่เท่านั้นแหละ ไม่ใช่มีของจริงอะไรให้เราดูเลย ความสุขของพระนิพพานนั้นเหมือนกับของจริง มันเหมือนว่าเรากลับบ้านเราได้แล้ว เราเป็นเด็กหลงทางหาทางกลับบ้านไม่เจอ วันนี้เรากลับถึงบ้านได้แล้ว มันมีความสุขนะ เจอพ่อเจอแม่ของเรา คือเจอพระพุทธเจ้าจิตของเรานั้นแหละ กับพระพุทธเจ้า จะหลอมรวมเป็นสิ่งเดียวกัน จิตของเรากับพระธรรมจะหลอมรวมเข้าเป็นสิ่งเดียวกัน จิตนั้นแหละก็คือตัวพระสงฆ์ พระรัตนตรัยรวมเข้าเป็นหนึ่งที่จิตนั้นเอง ที่จิตที่บริสุทธิ์จิตที่สะอาด จะมีความสุขที่ไม่มีอะไรเหมือน?
คิดถึงพระพุทธเจ้าไว้ ปลอดภัยดี เราเป็นเด็กหลงทางหาทางกลับบ้านไม่เจอ วันนี้เรากลับถึงบ้านได้แล้วมันมีความสุขนะเจอพ่อเจอแม่ของเรา ถ้าเราสัมผัสพระนิพพานแล้ว เราจะรู้เลยว่าโลกนี้หาสาระแก่นสารไม่ได้ โลกนี้เหมือนฝัน ความสุขเหมือนกับฝันอยู่เท่านั้นแหละ ไม่ใช่มีของจริงอะไรให้เราดูเลย ความสุขของพระนิพพานนั้นเหมือนกับของจริง มันเหมือนว่าเรากลับบ้านเราได้แล้ว เราเป็นเด็กหลงทางหาทางกลับบ้านไม่เจอ วันนี้เรากลับถึงบ้านได้แล้ว มันมีความสุขนะ เจอพ่อเจอแม่ของเรา คือเจอพระพุทธเจ้าจิตของเรานั้นแหละ กับพระพุทธเจ้า จะหลอมรวมเป็นสิ่งเดียวกัน จิตของเรากับพระธรรมจะหลอมรวมเข้าเป็นสิ่งเดียวกัน จิตนั้นแหละก็คือตัวพระสงฆ์ พระรัตนตรัยรวมเข้าเป็นหนึ่งที่จิตนั้นเอง ที่จิตที่บริสุทธิ์จิตที่สะอาด จะมีความสุขที่ไม่มีอะไรเหมือน?
คิดถึงพระพุทธเจ้าไว้ ปลอดภัยดี เราเป็นเด็กหลงทางหาทางกลับบ้านไม่เจอ วันนี้เรากลับถึงบ้านได้แล้วมันมีความสุขนะเจอพ่อเจอแม่ของเรา ถ้าเราสัมผัสพระนิพพานแล้ว เราจะรู้เลยว่าโลกนี้หาสาระแก่นสารไม่ได้ โลกนี้เหมือนฝัน ความสุขเหมือนกับฝันอยู่เท่านั้นแหละ ไม่ใช่มีของจริงอะไรให้เราดูเลย ความสุขของพระนิพพานนั้นเหมือนกับของจริง มันเหมือนว่าเรากลับบ้านเราได้แล้ว เราเป็นเด็กหลงทางหาทางกลับบ้านไม่เจอ วันนี้เรากลับถึงบ้านได้แล้ว มันมีความสุขนะ เจอพ่อเจอแม่ของเรา คือเจอพระพุทธเจ้าจิตของเรานั้นแหละ กับพระพุทธเจ้า จะหลอมรวมเป็นสิ่งเดียวกัน จิตของเรากับพระธรรมจะหลอมรวมเข้าเป็นสิ่งเดียวกัน จิตนั้นแหละก็คือตัวพระสงฆ์ พระรัตนตรัยรวมเข้าเป็นหนึ่งที่จิตนั้นเอง ที่จิตที่บริสุทธิ์จิตที่สะอาด จะมีความสุขที่ไม่มีอะไรเหมือน?
คิดถึงพระพุทธเจ้าไว้ ปลอดภัยดี เราเป็นเด็กหลงทางหาทางกลับบ้านไม่เจอ วันนี้เรากลับถึงบ้านได้แล้วมันมีความสุขนะเจอพ่อเจอแม่ของเรา ถ้าเราสัมผัสพระนิพพานแล้ว เราจะรู้เลยว่าโลกนี้หาสาระแก่นสารไม่ได้ โลกนี้เหมือนฝัน ความสุขเหมือนกับฝันอยู่เท่านั้นแหละ ไม่ใช่มีของจริงอะไรให้เราดูเลย ความสุขของพระนิพพานนั้นเหมือนกับของจริง มันเหมือนว่าเรากลับบ้านเราได้แล้ว เราเป็นเด็กหลงทางหาทางกลับบ้านไม่เจอ วันนี้เรากลับถึงบ้านได้แล้ว มันมีความสุขนะ เจอพ่อเจอแม่ของเรา คือเจอพระพุทธเจ้าจิตของเรานั้นแหละ กับพระพุทธเจ้า จะหลอมรวมเป็นสิ่งเดียวกัน จิตของเรากับพระธรรมจะหลอมรวมเข้าเป็นสิ่งเดียวกัน จิตนั้นแหละก็คือตัวพระสงฆ์ พระรัตนตรัยรวมเข้าเป็นหนึ่งที่จิตนั้นเอง ที่จิตที่บริสุทธิ์จิตที่สะอาด จะมีความสุขที่ไม่มีอะไรเหมือน?
คิดถึงพระพุทธเจ้าไว้ ปลอดภัยดี เราเป็นเด็กหลงทางหาทางกลับบ้านไม่เจอ วันนี้เรากลับถึงบ้านได้แล้วมันมีความสุขนะเจอพ่อเจอแม่ของเรา ถ้าเราสัมผัสพระนิพพานแล้ว เราจะรู้เลยว่าโลกนี้หาสาระแก่นสารไม่ได้ โลกนี้เหมือนฝัน ความสุขเหมือนกับฝันอยู่เท่านั้นแหละ ไม่ใช่มีของจริงอะไรให้เราดูเลย ความสุขของพระนิพพานนั้นเหมือนกับของจริง มันเหมือนว่าเรากลับบ้านเราได้แล้ว เราเป็นเด็กหลงทางหาทางกลับบ้านไม่เจอ วันนี้เรากลับถึงบ้านได้แล้ว มันมีความสุขนะ เจอพ่อเจอแม่ของเรา คือเจอพระพุทธเจ้าจิตของเรานั้นแหละ กับพระพุทธเจ้า จะหลอมรวมเป็นสิ่งเดียวกัน จิตของเรากับพระธรรมจะหลอมรวมเข้าเป็นสิ่งเดียวกัน จิตนั้นแหละก็คือตัวพระสงฆ์ พระรัตนตรัยรวมเข้าเป็นหนึ่งที่จิตนั้นเอง ที่จิตที่บริสุทธิ์จิตที่สะอาด จะมีความสุขที่ไม่มีอะไรเหมือน?
คิดถึงพระพุทธเจ้าไว้ ปลอดภัยดี เราเป็นเด็กหลงทางหาทางกลับบ้านไม่เจอ วันนี้เรากลับถึงบ้านได้แล้วมันมีความสุขนะเจอพ่อเจอแม่ของเรา ถ้าเราสัมผัสพระนิพพานแล้ว เราจะรู้เลยว่าโลกนี้หาสาระแก่นสารไม่ได้ โลกนี้เหมือนฝัน ความสุขเหมือนกับฝันอยู่เท่านั้นแหละ ไม่ใช่มีของจริงอะไรให้เราดูเลย ความสุขของพระนิพพานนั้นเหมือนกับของจริง มันเหมือนว่าเรากลับบ้านเราได้แล้ว เราเป็นเด็กหลงทางหาทางกลับบ้านไม่เจอ วันนี้เรากลับถึงบ้านได้แล้ว มันมีความสุขนะ เจอพ่อเจอแม่ของเรา คือเจอพระพุทธเจ้าจิตของเรานั้นแหละ กับพระพุทธเจ้า จะหลอมรวมเป็นสิ่งเดียวกัน จิตของเรากับพระธรรมจะหลอมรวมเข้าเป็นสิ่งเดียวกัน จิตนั้นแหละก็คือตัวพระสงฆ์ พระรัตนตรัยรวมเข้าเป็นหนึ่งที่จิตนั้นเอง ที่จิตที่บริสุทธิ์จิตที่สะอาด จะมีความสุขที่ไม่มีอะไรเหมือน?
คิดถึงพระพุทธเจ้าไว้ ปลอดภัยดี เราเป็นเด็กหลงทางหาทางกลับบ้านไม่เจอ วันนี้เรากลับถึงบ้านได้แล้วมันมีความสุขนะเจอพ่อเจอแม่ของเรา ถ้าเราสัมผัสพระนิพพานแล้ว เราจะรู้เลยว่าโลกนี้หาสาระแก่นสารไม่ได้ โลกนี้เหมือนฝัน ความสุขเหมือนกับฝันอยู่เท่านั้นแหละ ไม่ใช่มีของจริงอะไรให้เราดูเลย ความสุขของพระนิพพานนั้นเหมือนกับของจริง มันเหมือนว่าเรากลับบ้านเราได้แล้ว เราเป็นเด็กหลงทางหาทางกลับบ้านไม่เจอ วันนี้เรากลับถึงบ้านได้แล้ว มันมีความสุขนะ เจอพ่อเจอแม่ของเรา คือเจอพระพุทธเจ้าจิตของเรานั้นแหละ กับพระพุทธเจ้า จะหลอมรวมเป็นสิ่งเดียวกัน จิตของเรากับพระธรรมจะหลอมรวมเข้าเป็นสิ่งเดียวกัน จิตนั้นแหละก็คือตัวพระสงฆ์ พระรัตนตรัยรวมเข้าเป็นหนึ่งที่จิตนั้นเอง ที่จิตที่บริสุทธิ์จิตที่สะอาด จะมีความสุขที่ไม่มีอะไรเหมือน?
เรื่องพระอรหันต์ในศาสนาพุทธ พระอรหันต์ (พระ-อะ-ระ-หัน; บาลี: arahant; สันสกฤต: अर्हत् arhat) คือ พระอริยบุคคลชั้นสูงสุด[1] สามารถละสังโยชน์ได้ครบ 10 ประการ ประเภท[แก้] แบ่งตามสถานะ มี 3 ประเภท[2] พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า หรือ พระพุทธเจ้า คือผู้ตรัสรู้แล้วได้ก่อตั้งศาสนาพุทธ สามารถโปรดเวไนยสัตว์ให้หลุดพ้นเป็นพระอรหันต์ตามได้ พระปัจเจกพุทธเจ้า คือผู้ตรัสรู้แล้ว แต่ไม่ประกาศศาสนา ไม่มีสาวก เกิดขึ้นเฉพาะในยุคที่ไม่มีพระพุทธศาสนาเท่านั้น พระอรหันตสาวก คือสาวกผู้บรรลุเป็นพระอรหันต์ จากการปฏิบัติตามธรรมวินัยของพระพุทธเจ้า พระอรหันต์ 2 คือ[3][4] สุกขวิปัสสก ผู้เจริญวิปัสสนาล้วน แล้วได้ปฐมฌานเมื่อบรรลุอรหัตตผล เรียกอีกอย่างว่าวิปัสสนายานิก สมถยานิก ผู้มีสมถะเป็นญาณ ผู้เจริญสมถะกรรมฐาน จนได้ฌานก่อนแล้ว จึงเจริญวิปัสสนาต่อจนบรรลุอรหัตตผล เรียกอีกอย่างว่าอุภโตภาควิมุต พระอรหันต์ 4 คือ สุกขวิปัสสก ผู้เจริญวิปัสสนาล้วน เตวิชชะ ผู้ได้วิชชา 3 ฉฬภิญญะ ผู้ได้อภิญญา 6 ปฏิสัมภิทัปปัตตะ ผู้บรรลุปฏิสัมภิทา 4 พระอรหันต์ 5 คือ ปัญญาวิมุต อุภโตภาควิมุต เตวิชชะ ฉฬภิญญะ ปฏิสัมภิทัปปัตตะ พระอรรถกถาจารย์แสดงความหมายของพระอรหันต์ไว้ 5 นัย คือ ไกลจากกิเลส กำจัดกิเลสได้หมดสิ้น เป็นผู้หมดสังสารวัฏ คือ การเวียนว่ายตายเกิด เป็นผู้ควรแก่การบูชาพิเศษของเทพและมนุษย์ทั้งหลาย ไม่มีที่ลับในการทำบาป ไม่มีความชั่วเสียหายที่จะต้องปิดบัง
เราต้องสังเกตให้ดี ตรงที่ิจิตถึงฐาน ถ้าจิตมันเคลื่อนแล้วไม่รู้ทัน จะโดนว...ให้ดูตรงที่มันเริ่มเรื่องใหม่ เพราะสติปัญญาของเรามีน้อยถ้าไม่เข้าใจให้กลับมาเริ่มต้น ที่ลมหายใจของเราเอง หายใจเข้ารู้ว่าหายใจเข้า หายใจออก รู้ว่าหายใจออก ตามรู้ที่ลมหายใจของเราเอง ขอให้โชคดีมีความสุขกับการเรียนรู้วิชาของพระพุทธเจ้าครับ จิตเกิดความอยาก จิตจะทุกข์ สังเกตุ ตอนนอนจะมีอาการลูกตากลอกไปมา ตาจะไม่นิ่งตอนหลับ..จิตจะยืมสภาวะธรรมต่าง..ต่าง..แล้วจะสร้างภพ..อย่าเชื่อมัน"ที่จริงพระอรหันต์ทั้งหลายท่านไม่ได้รู้อะไรมากมายเลย เพียงแต่เจริญจิตให้รู้แจ้งใน ขันธ์๕, แทงตลอดในปฏิจจสมุปบาท, หยุดการปรุงแต่ง, หยุดการแสวงหา, หยุดกริยาจิต มันก็จบแค่นี้ เหลือแต่ บริสุทธิ์ สะอาด สว่าง ว่าง มหาสุญตา ว่างมหาศาล" เรามาเรียนรู้ให้เห็นความจริงของโลกนะ เรียนรู้ให้เห็นความจริงของชีวิตเรา เราจะเห็นเลยว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ที่ปรากฏขึ้นในกายในใจของเราเนี่ย นอกจากทุกข์นะ ไม่มีอะไรเกิดขึ้น นอกจากทุกข์ ไม่มีอะไรตั้งอยู่ นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรดับไป ถ้าเราเห็นได้อย่างนี้ จิตจะถึงหมดความยึดถือในกายในใจ กายกับใจเป็นตัวทุกข์นะ ถ้าเมื่อไหร่เราสลัดคืนกายคืนใจให้โลกได้ ก็คือทิ้งตัวทุกข์ไปนะ พ้นจากกายจากใจ จากรูปจากนามนี้ไป จะสัมผัสพระนิพพาน มีความสุขที่มหาศาลขึ้นมา ความชั่วเกิดที่จิต รู้ทันปุ๊บ ความชั่วกระเด็น กลายเป็นดี ก็เห็นอีก จิตปรุงดีก็ทุกข์นะ จิตปรุงชั่วก็ทุกข์อีก เราเฝ้ารู้ไปเรื่อย ถ้าปัญญามันพอนะ จะเห็นเลย ปัญญาเบื้องต้นมันจะเห็นเลยว่า ทุกอย่างเกิดแล้วดับ ปัญญาเบื้องปลายจะเห็นว่า ทุกอย่างนั้นแหละทุกข์ ถ้าเห็นแจ้งทุกข์ จิตจะสลัดคืนกองทุกข์ให้โลก คืนกายคืนใจให้โลกไป ถ้าจิตเราไม่ยึดถือในรูปนามกายใจนะ จะไม่ยึดถืออะไรในโลกอีกแล้ว จะเป็นอิสระ ใจจะโปร่งโล่งเบา มีความสุขอยู่อย่างนั้นแหละทั้งวันทั้งคืน เข้าถึงความสุขอีกชนิดหนึ่งแล้ว ความสุขที่มหาศาลเลย คือความสุขของพระนิพพาน จิตซึ่งไปสัมผัสพระนิพพาน ก็ได้สัมผัสความสุขของพระนิพพานมา มีความสุขมหาศาล จิตที่สัมผัสพระนิพพานมีความสุข ท่านบอกว่า “นิพฺพานํ ปรมํ สุขํ” นิพพานเป็นบรมสุข สุขจริงๆ
วันอังคารที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2560
วิธีระงับความฟุ้งซ่านของจิตกรรมฐาน ๔๐ - ตอนที่ ๑๕. อานาปานสติ หลวงพ่อพระราชพรหมยาน หลวงปู่ฤาษี วัดท่าซุง วันนี้จะขอพูดเรื่องอานาปานสติกรรมฐานต่อ อานาปานสติกรรมฐานเป็นสมถภาวนา ได้แก่การพิจารณากำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก อานาปานสติกรรมฐานนี่เป็นกรรมฐานที่มีความสำคัญที่สุด และเป็นกรรมฐานที่มีกำลังใหญ่อย่างยิ่ง เพราะกรรมฐานทั้ง ๔๐ กอง ยกอานาปานฯ เสียกองหนึ่งเหลือ ๓๙ กองย่อมขึ้นอยู่กับอานาปานสติกรรมฐาน เพราะว่าการบำเพ็ญพระกรรมฐานให้เป็นสมาธิกองใดกองหนึ่งก็ตาม ต้องขึ้นอานาปานสติกรรมฐานก่อนเสมอไป คืออันดับแรกให้จับลมหายใจเข้าออก เวลาหายใจเข้ารู้อยู่ว่าหายใจเข้า เวลาหายใจออกรู้อยู่ว่าหายใจออก หายใจเข้ายาวหรือสั้น หายใจออกยาวหรือสั้นก็รู้อยู่ หายใจเข้ายาวหรือสั้นออกยาวหรือสั้น นี่เป็นแบบฉบับตามในมหาสติปัฏฐานสูตร ซึ่งก็ได้ผลเหมือนกัน ได้ผล สามารถจะทรงฌานได้เหมือนกัน มีผลมาก ตามอีกนัยหนึ่งที่องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าเทศน์ไว้ในกรรมฐาน ๔๐ ท่านพิจารณาไว้อีกอย่างหนึ่งว่า เวลาหายใจเข้าให้จับลมหายใจเข้าว่ามันจะกระทบจมูก แล้วกระทบที่หน้าอก แล้วกระทบศูนย์เหนือสะดือนิดหน่อย หายใจออกกระทบศูนย์เหนือสะดือ กระทบหน้าอก แล้วก็กระทบที่หน้าอกหรือว่าริมฝีปาก ถ้าเป็นคนริมฝีปากงุ้มจะรู้สึกกระทบที่จมูก ถ้าเป็นคนริมฝีปากเชิดมันก็จะกระทบที่ริมฝีปาก สำหรับในกรรมฐานที่ ๔๐ ให้รู้อารมณ์กระทบ หากว่าท่านทั้งหลายจะสงสัยถามว่า เฉพาะอานาปานสติกรรมฐานทำไมพระพุทธเจ้าตรัสคนละแบบ ความจริงก็แบบเดียวกันแต่ใช้อาการสังเกตต่างกัน ในมหาสติปัฏฐานนั้นให้สังเกตลมหายใจเข้ายาวหรือสั้น หายใจออกยาวหรือสั้น หรือว่าหายใจเข้าหรือว่าหายใจออก ในกรรมฐาน ๔๐ ให้สังเกตอารมณ์กระทบของจิต อารมณ์กระทบสัมผัสทางกาย คือกระทบจมูก หน้าอก และที่ศูนย์เหนือสะดือ เป็นต้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สำหรับมหาสติปัฏฐานสูตรนี่พระพุทธเจ้าเทศน์เฉพาะชาวแคว้นกุรุเท่านั้น เป็นกรรมฐานละเอียด เพราะว่าชาวแคว้นกุรุนี่มีอารมณ์จิตละเอียดมาก ถ้าหากว่าจะไปแคว้นนั้นเมื่อไรก็ตาม พระพุทธเจ้าจะเทศน์เฉพาะมหาสติปัฏฐานสูตร ไม่เทศน์เรื่องอื่น อาการอย่างนั้นนะพระพุทธเจ้าเทศน์ในสายอื่น จริยาอาการของคนฟังที่มีความเข้าใจย่อมไม่เสมอกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งชาวกุรุรัฐเป็นปกติของเขา นับตั้งแต่ก่อนที่จะพบพระพุทธเจ้า เขาก็เจริญมหาสติปัฏฐานสูตรเป็นปกติ ตามพระบาลีท่านกล่าวว่า แม้แต่นกที่เขาเลี้ยงไว้อย่างนกแขกเต้านางภิกษุณีเลี้ยงไว้ คำว่านางภิกษุณีนี่ ก็ในสมัยที่พระพุทธเจ้าทรงอุบัติแล้ว แต่ว่าจริยาของชาวกุรุรัฐทั้งหมด เขาเจริญมหาสติปัฏฐานสูตรทั้งสี่มาก่อนที่พระพุทธเจ้าจะสอน ในเมื่อแคว้นนั้นเขาปฏิบัติอย่างนั้นเป็นปกติ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงรับรองผล จึงเข้าไป แล้วอธิบายให้มันสูงไปกว่านั้น ให้เขาเข้าใจว่านอกจากจะทรงสติสัมปชัญญะแล้ว ก็ยังมีวิปัสสนาญาณ อันนี้พระพุทธเจ้าต่อท้ายด้วยอำนาจวิปัสสนาญาณ มีอริยสัจ เป็นต้น เพื่อให้เข้าถึงมรรคผลนิพพาน นี่คนแดนนี้เป็นคนที่มีจิตละเอียด ท่านบอกว่าแม้แต่นกแขกเต้าซึ่งนางภิกษุณีเลี้ยงไว้ เมื่อถูกเหยี่ยวเฉี่ยวเอาไปในอุ้งเล็บ นางสามเณรีเห็นเข้าก็ส่งเสียงดังให้เหยี่ยวตกใจ เหยี่ยวตกใจคลายกรงเล็บนกแขกเต้าตกลงมา สามเณรีถามนกว่าขณะที่เหยี่ยวเฉี่ยวเจ้าไปอยู่ในอุ้งเล็บ เจ้ามีความรู้สึกอย่างไร นกแขกเต้าบอกว่า เวลานั้นมีความรู้สึกเหมือนว่า ร่างกระดูกกำลังนำร่างกระดูกจะไปกิน นี่แสดงว่านกแขกเต้าตัวนั้นสนใจในอัฏฐิกังปฏิกุลัง ในกรรมฐาน ๔๐ หรือว่าในมหาสติปัฏฐานสูตรที่เรียกว่าสนใจในนวสี ๙ และก็อสุภสัญญา มหาสติปัฏฐานสูตรพระพุทธเจ้าจึงเทศน์เฉพาะแคว้นนี้ ในด้านกรรมฐาน ๔๐ เทศน์ในวงการภายนอกเพราะอารมณ์ไม่เสมอกัน การกำหนดรู้ลมหายใจเข้าหายใจออก ลมหายใจเข้าหายใจออกนี้ เป็นอาการที่ละเอียด เราต้องสนใจมาก ถ้าเราเผลอนิดเดียวก็จะรู้สึกว่าเราเผลอไป ว่าเราไม่รู้ว่าลมหายใจเข้าหรือหายใจออก นี่เป็นการบังคับจิตให้ทรงสติสัมปชัญญะให้ดีขึ้น การเจริญสมถภาวนานี่ต้องการสติสัมปชัญญะเป็นสำคัญ ขณะใดที่รู้ลมหายใจเข้าหายใจออก ขณะนั้นชื่อว่าจิตเป็นสมาธิ สมาธิในอานาปานสติกรรมฐาน แล้วก็เป็นกรรมฐานกำจัดโมหจริต คือวิตกจริต เรียกว่ากำจัดความโง่ของจิต ป้องกันอารมณ์ฟุ้งซ่าน คืออุทธัจจะกุกกุจจะในนิวรณ์ห้าประการ ใครที่อารมณ์ฟุ้งซ่านไม่ทรงตัวละก็ ถ้าใช้อานาปานสติกรรมฐานเป็นปกติจิตจะทรงสมาธิเอง การเจริญอานาปานสติกรรมฐานนี้ก็ต้องสังเกตไว้ เวลาหายใจเข้าหายใจออก ถ้าเราจะภาวนาด้วยก็ใช้คำภาวนาพุทโธ เวลาหายใจเข้านึกพุธ หายใจออกนึกว่าโธ สำหรับพุทโธเป็นพุทธานุสสติกรรมฐาน เวลาหายใจจงอย่าหายใจให้แรงกว่าปกติหรือเบากว่าปกติ ปล่อยลมหายใจให้เป็นไปตามปกติ ให้จิตกำหนดรู้เอง ไม่ใช่ว่าเวลากำหนดรู้ลมหายใจเข้าออกบางทีมันจะไม่รู้สึกเลยหายใจแรงๆ แบบนี้ใช้ไม่ได้ ต้องปล่อยให้เป็นปกติแล้วก็รู้ตัวอยู่ อานาปานสติกรรมฐานจะเข้าฌานได้ง่าย จะสังเกตได้ในฌานสูงสุด คือว่าเวลาจับลมหายใจเข้าออก จะมีคำภาวนาด้วยหรือไม่ก็ช่าง ใช้ได้ เมื่อถึงฌานสี่แล้วจะรู้สึกว่าเรามีสภาวะเหมือนไม่หายใจ ไม่รู้ลมหายใจมีหรือไม่ แต่จิตใจสบาย มีความโปร่งมีความสว่างไสวภายในจิต มีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์แบบ มีความรู้สึกอยู่ตลอดเวลา แต่ว่าไม่รับสัมผัสภายนอก ยุงจะกินริ้นจะกัด ไอ้นี่ความจริงยุงไม่กิน นักเจริญฌานนี่จะไปนั่งที่ไหนก็ตาม ถ้าจิตเข้าถึงระดับฌานแล้วยุงไม่กิน ยุงกินริ้นกัดท่านว่าอย่างงั้นไม่รู้สึก แต่ว่าสิ่งที่สังเกตได้คือเสียง เสียงจะดังขนาดไหนก็ตามถ้าจิตตกอยู่ในฌานสี่ละก็เราไม่ได้ยินเสียงนั้น อย่างนี้เป็นอาการของฌานสี่ การเจริญพระกรรมฐานก็ยังไม่แน่นัก การเข้าถึงฌานย่อมเป็นไปได้ แต่การทรงฌานอาจจะยากสักหน่อย เพราะการทรงฌานหมายถึงว่า เราตั้งเวลาไว้ตั้งแต่เวลานี้ ถึงเวลานี้เราจะเข้าฌานสี่ หรือจะออกเวลานั้น แล้วมันก็ออกตรงตามจุดหมายปลายทางที่กำหนดไว้ อย่างนี้ชื่อว่าเป็นผู้ทรงฌาน สำรหรับอานาปานสตินี่ก็บอกแล้วว่าเป็นกรรมฐานที่ทรงฌานได้ง่าย เป็นกรรมฐานที่ระงับฟุ้งซ่านของจิต เป็นกรรมฐานที่ระงับวิตกคือ โมหะ คือระงับความโง่ เพราะฉะนั้นก็เหลือแต่ความฉลาด ความโง่มันก็หายไป เมื่อความฉลาดเกิดขึ้น สมาธิเกิดขึ้น ในระหว่างนั้นอารมณ์มันก็จะมีความรู้สึกต่อไปอีก พอจิตทรงฌานไว้เต็มที่แล้ว ถ้ามันคลายตัวนิดหน่อย ปัญญามันก็จะเกิดเมื่อนั่งนึกดูว่า คนเรานี้มีชีวิตอยู่แค่เพียงลมหายใจเข้าออกเท่านั้นเอง ถ้าลมปราณนี้สิ้นไปแล้วเมื่อไร ขณะนั้นก็เรียกกันว่าตาย อาการตายของคนที่เป็นการตายตามปกติ ความจริงถ้าเข้าถึงจริงๆ แล้วปัญญามันดีกว่านี้มากนะ ไอ้ที่พูดนี้ก็เพื่อจะเทียบเข้าไปหาของจริงๆ ตามความรู้สึกของอารมณ์จิตันไม่ถึงหรอก ๑๐ เปอร์เซ็นต์มันก็ไม่ได้แต่พูดกันเป็นแนวแล้วมันก็จะเห็นชัดถึงร่างกายว่า ร่างกายนี้มันเป็นแต่เพียงธาตุสี่ คือ ธาตุน้ำ ธาตุดิน ธาตุลม ธาตุไฟ แล้วก็เต็มไปด้วยความสกปรกโสมม เต็มไปด้วยอาการของความทุกข์ จะทุกข์จากความหิว ความกระหาย การป่วยไข้ไม่สบาย การปวดอุจจาระปัสสาวะ ทุกข์จากการพลัดพรากจากของรักของชอบใจ กระทบกระทั่งกับอารมณ์ที่ไม่ชอบใจ เป็นต้น มันมองเห็นทุกข์ชัด ปัญญามันเกิดเอง นี่เขาเรียกว่าปัญญามันเกิดด้วยอำนาจของสมาธิ อย่างที่พระท่านบอกศักราช ท่านบอกต้องทำศีลให้บริสุทธิ์ เมื่อศีลบริสุทธิ์แล้ว จิตจะเกิดสมาธิ เมื่อสมาธิตั้งมั่นแล้ว ปัญญาก็จะเกิด ในที่สุดจะถึงซึ่งพระนิพพาน ทำอริยมรรคอริยผลให้เกิดขึ้น สำหรับอานาปานสติก็เหมือนกัน ถ้าทำใจสบาย จิตเข้าถึงฌานสี่ หรือฌานหนึ่ง ฌานสอง ฌานสามก็ตาม เวลาที่จิตสงัดปัญญามันจะเกิดเอง มันจะบอกชัด มันจะมีความเบื่อหน่ายในร่างกายขึ้นมาเอง มีความรู้สึกว่าร่างกายนี่มันไม่เป็นสาระ ไม่เป็นแก่นสาร ไม่มีการทรงตัว เพราะอะไร เพราะเมื่อมีความเกิดขึ้นแล้วก็มีความแก่ ความป่วย ความตาย แต่ว่าในขณะที่ทรงกายอยู่ก็เต็มไปด้วยความทุกข์ หาความสุขอะไรไม่ได้ เราจะบริหารร่างกายสักเพียงใดก็ดี ร่างกายก็เต็มไปด้วยความทรุดโทรมอยู่ตลอดเวลา เป็นอันว่าทำให้เกิดนิพพิทาญาณ ความเบื่อหน่ายในขันธ์ห้า คือร่างกายเสีย นี่ตัวปัญญามันจะเห็น เมื่อเบื่อหน่ายในร่างกายแล้วก็คิดต่อไปถึงโมกขธรรม ถ้าเราไม่เกิดเสียอย่างเดียว ขึ้นชื่อว่าความแก่ ความเจ็บ ความตาย การพลัดพรากจากของรักของชอบใจมันก็ไม่มี นี่อาการอย่างนี้ที่มันจะมีขึ้นมาได้ก็อาศัยความเกิดเป็นปัจจัย อานาปานสติกรรมฐานนี่สร้างจิตให้เกิดปัญญา มันก็จะสอนต่อไปว่า ถ้าหากว่าเราไม่ต้องการการเกิดต่อไปแล้ว ก็ตัดรากเหง้าของกิเลสทั้ง ๓ ประการทิ้งเสียให้หมดคือตัดอำนาจของความโลภ ด้วยการให้ทาน ตัดรากเหง้าของกิเลสคือความโกรธ ด้วยการเจริญเมตตาบารมี แล้วก็ตัดรากเหง้าที่ ๓ ความหลงด้วยการพิจารณาหาความจริงของขันธ์ห้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งเราก็มาตัดกันตัวเดียว ตัดตรงพิจารณาหาความจริงของขันธ์ห้าคือร่างกายที่เรียกกันว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ปัญญามันจะเห็นชัดว่าร่างกายเป็นเพียงธาตุสี่ ไม่มีการทรงตัว มีการเปลี่ยนแปลง ภายในเต็มไปด้วยความสกปรก อย่างนี้เขาเรียกว่าสมถะคละวิปัสสนาญาณ มันไปด้วยกันเสมอ ถ้าไปกันอย่างเดียวเฉพาะสมถะ ไม่ช้าก็พัง ถ้าวิปัสสนาญาณมันเดินคู่ไปด้วยละก็มันไม่พัง มันมีแต่ก้าวไป ร่างกายนี้เป็นเพียงธาตุสี่ คือ ธาตุน้ำ ธาตุดิน ธาตุลม ธาตุไฟ มันโทรมตลอดเวลา มันทุกข์ตลอดเวลา อาการเห็นว่าโทรมตลอดเวลา ทุกข์ตลอดเวลา นี่เป็นวิปัสสนาญาณ ถ้าหากว่าเราจะทรงร่างกายอยู่แบบนี้ ต้องการแบบนี้ต่อไปในชาติหน้ามันก็จะมีแต่ความทุกข์อย่างนี้ ถ้าเราจะตัดความทุกข์เสียได้ก็ต้องตัดโลภะ โทสะ โมหะ โลภะโทสะโมหะนี่ถ้าตัดจริงๆ ด้วยกำลังใจละก็ เขามาตัดกันที่กายนี่เอง มาพิจารณาหาความจริงว่าร่างกายนี่มันเป็นเราหรือมันไม่ใช่ของเรา นี่มันจะบอกชัด ปัญญามันดีกว่านี้มาก มันมีความหลักแหลมมาก ถ้ามันได้ถึงจริงๆ มันจะเห็นชัดว่าร่างกายนี้ไม่เป็นสาระ ไม่เป็นแก่นสารเป็นของน่าเบื่อ เต็มไปด้วยของสกปรกโสโครก เต็มไปด้วยอาการไม่เที่ยงแท้แน่นอน มีการสลายตัวไปในที่สุด แล้วเราก็ไปคิดว่ามันเป็นเราเป็นของเรา แต่ความจริงไม่ใช่ ร่างกายไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา มันเป็นบ้านเช่าอาศัยชั่วคราวเท่านั้น ไม่ช้าเราก็ต้องจากมันไปเพราะมันพัง ถ้าพังแล้ว ถ้าต้องการความเกิดอีกมันจะไหวไหม มันก็ไม่ไหว มันก็เป็นทุกข์แบบนี้ ถ้าเราไม่ต้องการจะเกิดอีก เราจะทำยังไง เราก็ใช้หลักการตามอำนาจของจิตให้จิตของเราบอกเองเป็นระยะไปว่าเราปล่อยร่างกายเสีย เราไม่ต้องการความเกิดต่อไป ขึ้นชื่อว่าความเกิด จะเป็นคนก็ดี จะเป็นสัตว์ก็ดี จะเป็นเทวดาก็ดี เป็นพรหมก็ดี จะไม่มีสำหรับเรา สิ่งที่เราต้องการก็คือพระนิพพาน นี่จิตมันจะเกิดมีความใสสะอาดด้วยอำนาจของฌาน มันจะคิดไปในทำนองนี้ แต่มันดีกว่านี้มาก มันชัดมาก ต่อแต่นั้นไป เมื่ออาศัยความคลายความพอใจในร่างกายเสียแล้ว อำนาจความรักในเพศก็ดี ความโลภก็ดี ความโกรธก็ดี ความหลงก็ดี มันก็คลายตัว สิ่งทั้งหลายเหล่านี้ที่มันปรากฎแก่จิตก็เพราะว่าจิตไปมั่วสุมอยู่กับกิเลส คือหลงในกายของตัวเองเป็นสิ่งสำคัญ เมื่อหลงในร่างกายของตัวว่ามันจะคงอยู่ มันเป็นของดี ก็เห็นว่าร่างกายของบุคคลอื่น วัตถุอื่นดีไปด้วย และความโง่เข้าสิงใจ คิดว่าร่างกายของเราและร่างกายของเขา ร่างของวัตถุใดจะไม่สลายตัว อาศัยอานาปานสติทำลายความโง่ คือโมหจริตหรือวิตกจริตทั้งสองประการ แล้วขับไล่ความฟุ้งซ่านของจิต จิตจึงเป็นสมาธิได้เร็ว ปัญญาเกิดได้ง่าย เป็นอันว่าคำสั่งสอนอันใดที่องค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าสอนไว้เพื่อพระนิพพาน ถ้าเราเจริญอานาปานสติกรรมฐานไว้เป็นปกติ จิตของเราก็จะมีความผ่องใส จะสามารถตัดสังโยชน์ คือเป็นพระโสดา สกิทาคา อนาคา อรหันต์ได้ภายในไม่ช้า เอาละต่อแต่นี้ไปขอบรรดาท่านทั้งหลายจงพยายามตั้งกายให้ตรงดำรงสติให้มั่น กำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก ใช้อานาปานสติเป็นพื้นฐาน แล้วก็ใช้คำภาวนาและคำพิจารณาไปด้วย ตามอัธยาศัยจนกว่าจะได้ยินสัญญาณบอกหมดเวลา จากหนังสือ กรรมฐาน ๔๐
นิพพานชาตินี้ถ้าเป็นพระโสดาบันแล้ว วันหนึ่งข้างหน้ายังไงก็ต้องเป็นพระอรหันต์ พระโสดาบันไม่ยากเกินไป เราต้องมาดูคุณสมบัติของพระโสดาบันก่อนนะ พระโสดาบันคือท่านผู้เห็นความจริงว่า “ตัวเราไม่มี” เรียกว่า “ละสกายทิฐิ”ได้ ท่านเห็นว่าตัวเราไม่มีนะ ในกายนี้ ในใจนี้ ไม่มีตัวเรา กายนี้ใจนี้ก็ไม่ใช่ตัวเรา ไม่มีตัวเรานอกเหนือจากกายจากใจนี้อีก สิ่งที่เรารู้สึกว่าเป็นตัวเราอยู่ตลอดเวลา ก็คือกายนี้ใจนี้เท่านั้นแหละ รูปนาม ขันธ์๕ อายตนะ๖ ธาตุ๑๘ แล้วแต่จะเรียกนะ รวมความง่ายๆ ก็คือ รูปกับนาม คือกายกับใจนี่เอง เราเห็นว่ามันเป็นตัวเรา ถ้าเมื่อไหร่เราสามารถพัฒนาจิตใจ จนเราเห็นความจริงนะว่าตัวเราไม่มีหรอก กายนี้ไม่ใช่เราใจนี้ไม่ใช่เรา ไม่มีเราในกายในใจนี้ ไม่มีเรานอกเหนือกายนอกเหนือใจนี้ เราก็จะได้เป็นพระโสดาบัน เป็นผู้เที่ยงต่อการตรัสรู้ในวันข้างหน้า วันหนึ่งก็เป็นพระอรหันต์ เหมือนคนตกลงในกระแสน้ำนะ น้ำพัดพาไปนะ วันหนึ่งไปถึงทะเล ทำยังไงเราถึงจะสามารถเห็นได้ว่ากายนี้ใจนี้ไม่ใช่ตัวเรานะ พระพุทธเจ้าท่านเคยสอนบอกว่า คนในศาสนาอื่นเค้าสามารถเห็นได้ว่า กายไม่ใช่เรา มีแต่คำสอนของพระพุทธเจ้าเท่านั้นนะ ถึงจะพัฒนาจิตใจเรา จนเราเห็นความจริงว่า จิตก็ไม่ใช่เรา ไม่มีเรา อย่างคนที่เรียนกับหลวงพ่อนะ ซักเดือนสองเดือนเนี่ย สามารถเห็นได้แล้วว่ากายไม่ใช่เรา แต่ส่วนมากก็ยังเห็นว่าจิตเป็นเราอยู่ ถ้าวันใดเห็นว่าจิตก็ไม่ใช่เรา ไม่มีเราในกาย ไม่มีเราในจิต ก็ได้ธรรมะ เป็นปลอดภัย ไม่ไปอบายละ ชีวิตมีความสุข มีความสงบ มีความมั่นคง กิเลสหายไปหลายสิบเปอร์เซ็นต์ ทีนี้ทำยังไง เราจะสามารถเห็นว่ากายนี้ใจนี้ไม่ใช่เรานะ เรามาดูของจริง การดูของจริงของกายของใจเรียกว่า “การเจริญวิปัสสนากรรมฐาน” การเจริญวิปัสสนากรรมฐาน ต้องเห็นความจริงของกายของใจ ไม่ใช่เห็นกายเห็นใจนะ พวกเราอย่าตื้น บางคนตื้นเกินไป คิดว่าแค่รู้กาย แค่รู้ใจก็คือการทำวิปัสสนากรรมฐาน....ไม่ใช่ วิปัสสนากรรมฐานต้องเห็นความจริงของกายของใจ ความจริงของกายของใจคือไตรลักษณ์ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อนิจจังก็คือสิ่งซึ่งมันเคยมีแล้วมันไม่มี สิ่งซึ่งเคยไม่มีมันกลับมีขึ้นมานี่เรียกว่า อนิจจัง ทุกขัง คือ มันทนอยู่ไม่ได้นะ มันถูกสภาวะที่เป็นเหตุเป็นปัจจัยของมันเนี่ยเคลื่อนไหวเปลี่ยนไป พอเหตุของมันเปลี่ยนนะ ตัวมันทนอยู่ไม่ได้นะ ถูกบีบคั้น ทนอยู่ไม่ได้ในภาวะอันใดอันหนึ่ง เรียกว่า ทุกขัง อนัตตา ก็คือ มันจะเกิดขึ้น มันจะตั้งอยู่ หรือมันจะดับไป เป็นไปเพราะเหตุ ไม่ใช่เพราะเราสั่ง เราบังคับไม่ได้ อยู่นอกเหนือการบังคับ นี่เรียกได้ว่าอนัตตา ถ้าสามารถเห็นได้ว่า กายนี้ใจนี้เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เห็นเพียงมุมใดมุมหนึ่ง ไม่ต้องเห็นทั้งสามอย่าง เห็นเพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง จิตก็สามารถปล่อยวาง ความยึดถือกายยึดถือใจได้ในที่สุด แต่ในเบื้องต้นก็จะเห็นก่อนว่า กายนี้ใจนี้ไม่ใช่เรา ถึงจะเห็นว่าไม่ใช่เราแต่ก็ยังไม่ปล่อยวาง พระโสดาบันเนี่ย ท่านเห็นความจริงแล้วว่าตัวเราไม่มี กายนี้ไม่ใช่เรา ใจนี้ไม่ใช่เรา กายนี้เป็นวัตถุธาตุที่ยืมโลกมาใช้ จิตใจก็เป็นธาตุเรียกว่าธาตุรู้ ธาตุรู้เนี่ยเกิดดับๆ สืบเนื่องกันไปเรื่อยๆ ก็ไม่ใช่ตัวเรา แต่ท่านยังยึดถืออยู่นะ ยังเห็นว่า กายนี้ใจนี้ยังนำความดีงามมาให้ได้ ยังรักมันอยู่ ยังนำความสุขมาให้ได้ ต้องเจริญสติต่อไปอีกนะ รู้กายรู้ใจๆ เรื่อยไป ถึงวันหนึ่ง ถึงจะเห็นความจริงว่า กายนี้ใจนี้มีแต่ทุกข์ล้วนๆ ทุกข์เพราะไม่เที่ยง ทุกข์เพราะทนอยู่ไม่ได้ ถูกบีบคั้น ทุกข์เพราะว่าไม่ใช่ตัวเรา บังคับมันไม่ได้ อยู่นอกเหนืออำนาจบังคับ ถ้าเห็นอย่างนี้นะก็จะปล่อยวาง ปล่อยวางเป็นพระอรหันต์
กายนี้ใจนี้ทุกข์ล้วนล้วน เห็นทุกขฺ์ ก็จะเห็นธรรมเรามาเรียนรู้ความจริงของกาย มาเรียนรู้ความจริงของจิตใจนะ เราจะเห็นแต่อนิจจัง มันไม่คงที่สักอย่างเดียวเลย ทางกายเดี๋ยวก็หายใจออก เดี๋ยวหายใจเข้า ทางใจเดี๋ยวสุขเดี๋ยวทุกข์ เดี๋ยวดีเดี๋ยวร้าย เป็นทุกขัง ร่างกายถูกความทุกข์บีบคั้นอยู่ตลอดเวลา ทนอยู่ในสภาวะอันใดอันหนึ่งไม่ได้นาน จิตใจก็ถูกบีบคั้นนะ ความอยากมันบีบคั้นจิตใจ ทนดูอยู่ได้ไม่นานก็หนีไปคิดแล้ว มันอยากคิด ใจมันทนไม่ได้ ร่างกายจิตใจเป็นอนัตตา ร่างกายเป็นวัตถุ มีแต่ธาตุไหลเข้าไหลออก ไม่ใช่คนไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่เราไม่ใช่เขา จิตใจเป็นอนัตตาในอีกมุมหนึ่ง จิตใจไม่ใช่วัตถุ จิตใจเป็นอนัตตาในแง่ที่ว่าไม่อยู่ในอำนาจบังคับ สั่งให้สุขมันก็ไม่สุข ห้ามทุกข์มันก็จะทุกข์ สั่งให้ดีมันก็ไม่ดี ห้ามชั่วมันก็จะชั่ว การที่เราคอยมาเรียนรู้นะ มาคอยสังเกตมาคอยดูความจริงของกายของใจ เห็นแต่ของไม่เที่ยง เห็นแต่ของเป็นทุกข์ เห็นแต่ของบังคับไม่ได้ เห็นแต่ของที่เป็นวัตถุ ไม่ใช่คนไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่เราไม่ใช่เขา เห็นซ้ำแล้วซ้ำอีกเราจะรู้เลยว่า กายนี้ใจนี้ไม่ใช่ของดีของวิเศษเหมือนที่เคยรักเคยหวงแหนนั้นเลย ใจจะค่อยๆคลายความยึดถือ คลายความรักใคร่ผูกพันในกายในใจ ร่างกายจะแก่ จิตใจไม่เศร้าหมองเพราะไม่ได้รักกายถึงขนาดหวงแหน ร่างกายจะเจ็บก็เรื่องธรรมดา ร่างกายต้องเจ็บ ไม่เศร้าโศกไม่เสียใจ ร่างกายจะตาย ไม่เศร้าโศกไม่เสียใจ ร่างกายนี้ต้องตาย เราจะต้องพลัดพรากจากสิ่งที่รัก พลัดพรากจากสิ่งที่รักนี่พลัดพรากทางใจนะเป็นความรู้สึกทางใจ อย่างบางคนอยู่ไกลกัน ไม่รู้สึกพลัดพราก ใครที่พ่อแม่ตายแล้วบ้างมีไหม สังเกตไหมตอนที่พ่อแม่อยู่เนี่ยนะ บางทีเราหนีไปได้นะ พอพ่อแม่ตาย ถ้าเรารักนะเราจะรู้สึกพ่อแม่อยู่กับเรา งั้นกระทั่งความตายยังไม่ทำให้ห่างเลยนะ กลับรู้สึกใกล้ชิดด้วยซ้ำไป เนี่ยใจเรานะ มันรักใคร่ผูกพันสิ่งโน้นสิ่งนี้ ไปหยิบไปฉวยขึ้นมา เรามาเฝ้าดูของจริงลงไป ในกายในใจนี้เต็มไปด้วยทุกข์ เต็มไปด้วยความไม่เที่ยง เต็มไปด้วยอนัตตา บังคับไม่ได้เป็นวัตถุอะไร เป็นของบังคับไม่ได้ เห็นลงไปเรื่อยในกายในใจซ้ำแล้วซ้ำอีก ความรักใคร่ความยึดถือความผูกพันในกายในใจนี้จะค่อยๆคลายออกนะ ถ้าเมื่อไหร่มันหมดความรักใคร่ผูกพันหมดความยึดถือในกายในใจ นั้นแหละคือสภาวะที่เรียกว่าพระอรหันต์ พระอรหันต์นะ จิตของท่านเป็นอิสระ จิตของท่านไม่มีความรักใคร่ผูกพันในกายในใจ กระทั่งกายกับใจซึ่งเป็นของที่รักที่สุดนะยังไม่ผูกพันรักใคร่เลย จะไปผูกพันอะไรในโลกนี้ไม่มีทางเป็นไปได้เลย เพราะงั้นเรามาปฏิบัติธรรมนี้นะ มาเรียนรู้ความจริงของกาย มาเรียนรู้ความจริงของใจให้มาก เมื่อรู้กายแจ่มแจ้ง รู้ใจแจ่มแจ้ง จะเห็นเลยกายนี้เป็นทุกข์ล้วนๆ ใจนี้เป็นทุกข์ล้วนๆ ถ้าเห็นแจ้งอย่างนี้เรียกว่ารู้แจ้งอริยสัจ รู้แจ้งในกองทุกข์ สิ่งที่เรียกว่าทุกข์ ก็คือกายคือใจ คือธาตุคือขันธ์เรานี่เองที่ประกอบขึ้นเป็นตัวเรา พระพุทธเจ้าถึงนิยามทุกข์ว่า “สังขิตเตนะ ปัญจุปาทานักขันธา ทุกขา” โดยสรุป ขันธ์ทั้ง ๕ นี้เป็นตัวทุกข์ ขันธ์ทั้ง ๕ ก็คือสิ่งที่ประกอบกันเป็นตัวเรานี่เอง รูปขันธ์ก็คือส่วนของร่างกาย เวทนาความรู้สึกสุขทุกข์ สัญญาความจำได้หมายรู้ สังขารความปรุงดีปรุงชั่ว วิญญาณความรับรู้ด้วยจิตที่เกิดขึ้นทางตาหูจมูกลิ้นกายใจ นี่เป็นส่วนของนามธรรม ส่วนทางจิตใจ ทั้งกายทั้งใจ ทั้งรูปทั้งนามนี้เป็นกองทุกข์ เรียนลงไปนะเห็นเลยของหาสาระไม่ได้หาแก่นสารไม่ได้ ก็หมดความยึดถือ หมดความรักใคร่ผูกพัน จิตสลัดคืนกายคืนใจให้โลก จิตจะเป็นอิสระ เราจะเข้าถึงความสุขซึ่งไม่เคยนึกไม่เคยฝันเลยว่าความสุขอย่างนี้ก็มีในโลก มันสุขปางตายเลยนะสัมผัสทีแรก ครูบาอาจารย์เล่าให้ฟังนะ สัมผัสทีแรกเนี่ยเหมือนแทบขาดใจตายเลย สุขขนาดนั้นนะ เราเคยได้ยินว่าทุกข์จนตายเลยใช่ไหม มีสุขจนแทบตายก็มีนะ สุขแทบตายเป็นสุขของพระนิพพาน มันมหาศาลมากเลย งั้นพวกเรามาหัดภาวนานะ เพื่อวันหนึ่งเราพ้นจากทุกข์ พ้นจากทุกข์ได้ด้วยการหมดความยึดถือในกายในใจนี้แหละ เราหมดความยึดถือในกายในใจ เราก็หมดภาระ ไม่มีภาระ จิตใจเป็นอิสระ จิตใจมีความสุข มีความเบิกบานที่สุดเลย ไม่แปรปรวนไปเพราะว่าร่างกายเพราะจิตใจ ร่างกายก็ต้องแก่ต้องเจ็บต้องตาย จิตใจก็ต้องพบสิ่งที่ชอบใจบ้างสิ่งที่ไม่ชอบใจบ้าง เนี่ยเราจะพ้นจากความยึดถือในกายในใจ ก็พ้นจากความแปรปรวนทั้งหลาย พ้นจากสิ่งที่ชอบใจไม่ชอบใจทั้งหลาย เราจะเข้าถึงความสุขที่ไม่มีอะไรเหมือนเลย ความสุขที่อิ่มที่เต็ม เบิกบาน แช่มชื่น นิยามทั้งหลายเข้าไปไม่ถึงพระนิพพานเลยนะ ไม่รู้จะบรรยายยังไง คล้ายๆเคยอยู่ในกองไฟนะ ถูกไฟแผดเผาอยู่ตลอดเวลาแล้วหลุดออกมาได้ ในโลกนี้เต็มไปด้วยความทุกข์มหาศาล แผดเผาเราอยู่ สัตว์ทั้งหลายวิ่งพล่านไปนะ เหมือนมด คนไปเอากระทะมาตั้งบนเตา มดไปอยู่บนกระทะ วิ่งพล่านๆนะ ไม่รู้จะไปทางไหน สัตว์โลกก็วิ่งพล่านเหมือนมดที่ติดอยู่ในกระทะบนเตานั่นแหละ ต่อเมื่อไหร่ปล่อยว่างธาตุขันธ์ได้นะ เป็นทางที่พระพุทธเจ้าค้นพบ เหมือนเราหลุดออกไปจากกองทุกข์ หลุดออกไปจากกองไฟที่แผดเผาเราอยู่ มีความสุขที่สุดเลย งั้นการปฏิบัติธรรมของพระพุทธเจ้าเนี่ยสอนเรานะ เรียนเรื่องทุกข์คือเรียนเรื่องกายเรื่องใจของเราไป จนวันหนึ่งเราพ้นจากทุกข์ พ้นจากความยึดถือในกายในใจนี้ เราเข้าถึงพระนิพพานมีความสุขที่สุด นิพพานไม่ใช่โลกๆหนึ่ง ไม่ใช่ต้องนั่งสมาธิไปเห็น ถ้ายังนิพพานแบบนั่งสมาธิแล้วเข้านิพพาน ไม่ใช่นิพพานตัวจริงหรอก นิพพานอยู่ต่อหน้าต่อตา นิพพานไม่เคยหายไปไหนเลย เรานี้เดินชนนิพพานอยู่ทั้งวันเลย เราไม่เห็นเอง เพราะใจของเราไม่มีคุณภาพพอ งั้นพยายามฝึกเข้านะ มีสติรู้กายรู้ใจตามความเป็นจริง ตามความเป็นจริงคือดูไตรลักษณ์ มีสติรู้กายรู้ใจตามความเป็นจริง ด้วยจิตที่ตั้งมั่นและเป็นกลาง ถ้าจิตไม่ตั้งมั่น ไม่เป็นกลาง ไม่เห็นไตรลักษณ์ของกายของใจ จะเห็นแต่กายกับใจเฉยๆนะ
อาสวกิเลสที่ห่อหุ้มจิตอยู่นี้ ถูกอริยมรรคแหวกออก แหวกออกทำลายออก ก็ล้างก..จิตถูกห่อหุ้มด้วยอาสวะกิเลส เวลาวิมุติอริยมรรคเกิดแต่ละขั้นๆ ก็มีความสุขเป็นลำดับๆ ไป ถึงจุดสุดท้ายก็มีความสุขล้วนๆ มีความสุขเพราะว่ามันไม่มีอะไรเข้ามาเคลือบจิตได้อีก หมอณัฐดูออกมั้ยจิตเราถูกห่อหุ้มไว้ มีเปลือกหุ้ม จิตเค้าถูกห่อหุ้มด้วยอาสวะ ยังปนเปื้อน เยิ้มๆ จิตยังปนเปื้อน ความปนเปื้อนนี้แหละ เป็นช่องทางให้กิเลสไหลเข้ามาสู่จิต (หมอณัฐถาม...ได้ยินไม่ชัด) .. อือ ดูอย่างนี้ก็ได้ แล้วจะเห็นเอง จิตใจนี้เป็นอิสระ รู้สึกมั้ยจิตใจไม่เป็นอิสระ ตอนนี้รู้สึกมั้ย อาจจะไม่เห็นตัวอาสวะตรงๆ แต่เห็นผลของจิตที่มีอาสวะ ไม่อิสระ จริงๆ จิตถูกอาสวะห่อหุ้มไว้ อาสวะนี่ เทียบแล้วคล้ายๆ กับ เรามี สมมติอยู่บ้านไม้ ใครเคยอยู่บ้านไม้ เวลาเราทำน้ำหกน้ำไหลไปเนี่ย เราจะเห็นเส้นทางที่เราเช็ดให้แห้ง เทน้ำลงไปที่เก่า มันไหลไปทางเดิมอย่างรวดเร็ว มันนำร่อง ความชื้นเดิมมันนำร่อง เพราะน้ำนี้ไหลไปตามความชื้นเดิม อาสวะกิเลสนี่มันนำร่องกิเลสเข้าไปย้อมจิต จิตของเราไม่มีอิสระ เหมือนลูกไก่ที่อยู่ในเปลือกไข่ พระพุทธเจ้าท่านบอกว่า ท่านเป็นลูกไก่ที่เจาะเปลือกไข่ออกมาเป็นตัวแรก ท่านใช้คำเปรียบเทียบได้ดี เคยมีพราหมณ์คนนึงไปว่าพระพุทธเจ้า บอกอายุก็ยังน้อยพราหมณ์ผู้แก่ผู้เฒ่ามาก็ไม่ไหว้ไม่ต้อนรับ เฉยเมย ท่านบอกว่าท่านอาวุโสที่สุด ท่านเป็นลูกไก่ที่เจาะเปลือกออกมาได้ พวกที่เหลือยังอยู่ในไข่อยู่เลย ท่านจะไปไหว้ทำไม คำพูดของท่านนะ น่าฟัง จริงๆ แล้วเรามีเปลือกที่ห่อหุ้มอยู่ จิตถูกอาสวะกิเลสห่อหุ้ม ทำยังไงก็ไม่ขาด ไม่ขาด ทำยังไง ยังไง้ ยังไงก็ไม่ขาด พระไตรปิฎกก็เลยใช้คำบอกว่า เวลาบรรลุพระอรหันต์นะ จิตหลุดพ้นจากอาสวะเพราะความไม่ถือมั่น เห็นมั้ย หลุดพ้นจากอาสวะ อาสวะมันห่อหุ้มไว้ จิตหลุดพ้นจากอาสวะเพราะความไม่ถือมั่น ไม่ถือมั่นในอะไร ในรูปนาม ในกายในใจ เนี่ยกุญแจของการปฏิบัติอยู่ที่กายกับใจนี่เอง เมื่อไรไม่ถือมั่นในกายในใจ โดยเฉพาะเมื่อไหร่ไม่ถือมั่นในใจในจิต อาสวะจะขาดโดยอัตโนมัติ ถ้าเราเห็นอาสวะแล้วพยายามตัด ทำยังไงก็ไม่ขาด กำหนดจิตให้แหลมคมแค่ไหนก็ไม่ขาดนะ แทงก็ไม่ทะลุนะ พอมันขาดเราจะรู้สึกว่าเรามีอิสระ23 ก.ค. 2549 สภาวะทุกอย่างเสมอภาคกัน การเห็นสภาวะที่หยาบหรือละเอียด ธรรมะภายใน ธรรมะภายนอก ธรรมะที่เป็นกุศล อกุศล ธรรมะที่เป็นสุข เป็นทุกข์ ก็เสมอภาคกัน คือทั้งหมดเกิดและดับ ไม่ใช่ว่าต้องทำให้ละเอียดขึ้นๆ จึงจะบรรลุธรรม บางวันมันก็หยาบ บางวันมันก็ละเอียด เพราะว่าทั้งหมดนี้ เป็นเรื่องของอนัตตา ทั้งหมดเลย สติก็เป็นอนัตตา บางวันก็หยาบ บางวันก็ละเอียด บางวันก็ไม่มีเลย เขาเกิดขึ้นมาจะเป็นยังไงก็ได้ เราเรียนไม่ใช่เพื่อว่าจะเอาดี ไม่ใช่ว่าเราอยากได้สติเยอะๆ เราไม่ได้เรียนเอาตรงนั้นหรอก แต่เราเรียนจนกระทั่งจิตมันเกิดความเข้าใจ ว่าทุกอย่างบังคับไม่ได้ สติจะเกิดหรือไม่เกิด จะหยาบหรือละเอียด เราก็เลือกไม่ได้ ไม่ได้เรียนเอาดีนะ แต่เรียนเพื่อที่จะเห็นว่า ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นมาล้วนแต่ดับไปทั้งสิ้น ธรรมะที่หยาบเกิดขึ้นแล้วก็ดับ ธรรมะที่ละเอียดเกิดแล้วก็ดับ เสมอภาคกัน เรียนเพื่อให้เข้าใจตรงนี้เอง ในที่สุดก็เข้าใจว่า ทุกสิ่งที่เกิดล้วนแต่ดับไปทั้งสิ้น พระโสดาบันรู้แค่นี้เอง22 ต.ค. 2548 การจำสภาวะธรรมได้เป็นเหตุใกล้ให้เกิดสติ สติเกิดขึ้นได้เพราะมีเหตุให้สติเกิด มันเกิดขึ้นเอง เราไปสั่งให้มันเกิดมันไม่เกิดหรอก สติมีการจำสภาวะได้ เป็นเหตุใกล้ให้เกิด เพราะเรารู้จักโกรธเป็นอย่างไร พอโกรธสติก็เกิด พอรู้จักเผลอเป็นยังไง พอเผลอสติก็เกิดพอหัดรู้กาย รู้ใจเนืองๆ สติปัญญาเริ่มแก่กล้าเพียงพอ จิตจะรวมเข้าอัปปนาสมาธิเอง พอรวมแล้วก็จะเห็นสภาวธรรมเกิดดับ 2 หรือ 3 ขณะ จะเห็นตัวสภาวะเกิดดับ ถัดจากนั้นโคตรภูญาณจะเกิดขึ้น มันจะเกิดการปล่อยวางตัวสภาวะ พอเห็นสภาวะเกิดดับ ปัญญาแก่รอบแล้ว มันวาง มันทิ้งโดยไม่ได้เจตนา ตรงนี้ไม่มีความจงใจเหลืออยู่เลยตั้งแต่จิตรวมแล้วเห็นสภาวะเกิดดับ 2 หรือ 3 ขณะนั้น จิต จะวางการรู้สภาวะแล้วทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้ ตรงเนี้ยตรงที่มันปล่อยสภาวะก็ไม่ใช่ปุถุชน ตรงที่ทวนเข้าหาธาตุรู้ยังไม่เข้าถึงธรรมธาตุตัวนี้ก็ไม่ใช่พระอริยะ เพราะงั้นเป็นรอยต่อ เกิดขึ้นแว๊บเดียวทวนเข้าถึงธาตุรู้แท้ๆ ตัวรู้จะมีปัญญาสุดขีดเกิดขึ้น ธาตุรู้นี้ก็เกิดแล้วก็ดับได้อีก จะเห็นเลยว่าความเป็นราไม่มีสักนิดเดียว ถัดจากนั้นจิตจะไปเห็นนิพพาน 2 หรือ 3 ขณะแล้วแต่คน จะเห็นสภาวธรรมเกิดดับ 2 หรือ 3 ขณะจากนั้นจิตจะถอยออกมาจากอัปปนาสมาธิ พอออกมาข้างนอกมันจะทวนกระแสเข้าไปพิจาณาสิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อกี๊แล้วมันจะเข้าใจ กิเลสยังเหลือ หรือไม่เหลือสักเท่าไร รู้ พอเราปฏิบัติได้อย่างนี้ พอเราต้องการเช็คตัวเอง เราสังเกตที่ใจของเรากิเลสของเราเหลือสักเท่าไร จะไปแล้วเท่าไร หลวงปู่ดูลย์ไปเรียนกรรมฐานกับหลวงปู่มั่นเสร็จแล้วไปเดินนะ เดินมาเดือนกว่าๆ กลับมารายงาน กิเลส 4 ส่วน ผมละเด็ดขาดไปแล้ว 1 ส่วน ส่วนที่ 2 ละได้ครึ่งเดียวยังไม่สมุจเฉจ (การตัดขาด) หลวงปู่มั่นบอกไปทำต่อถูกแล้ว จากนี้ดู สัพเพ สังขารา สัพพสัญญา อนัตตา4 พ.ค. 2548 ทางลัด จิตที่พ้นความปรุงแต่ง จะรู้ธรรมชาติที่พ้นความปรุงแต่ง (นิพพาน) ทางลัดที่สุดสำหรับการปฏิบัติธรรม จึงไม่ใช่การกระทำ (ปรุงแต่ง) ใดๆ แต่เป็นการหยุดกระทำ โดยไม่กระทำ (ปรุงแต่ง) ความหยุดให้เกิดขึ้น มีเพียง การรู้อย่างเงียบสนิทจริงๆ เท่านั้น (โดยไม่มีมายาของการคิดนึกปรุงแต่ง และมายาของการหยุดคิดนึกปรุงแต่ง) ที่เป็นสิ่งสุดท้ายซึ่งผู้ปฏิบัติจะทำได้ ก่อนที่จิตเขาจะ "ก้าวกระโดด" ไปเองหากพระพุทธเจ้าจะทรงแสดงธรรมอย่างถึงที่สุด ย่อมต้องปิดพระโอษฐ์เงียบ แต่นั่นเป็นสิ่งยากเกินกว่าเวไนยชนจะเข้าใจได้ และหากจะทรงกล่าวธรรมอย่างย่นย่อที่สุดว่า สิ่งทั้งปวงไม่ควรยึดมั่น ก็ยังยากที่จะมีผู้รู้ตามได้ เพราะสัตว์ทั้งหลายถ้าไม่ยึดรูปธรรม ก็ต้องยึดนามธรรมไว้ก่อน พระองค์จึงทรงบอก ทางของการปฏิบัติขึ้นมามากมาย โดยอิงกับรูปธรรมและนามธรรม เช่น ทาน ศีล ภาวนา กุศลกรรมบถ ตลอดจนการทำสมถะและวิปัสสนา ทั้งนี้ ก็เพื่อให้พวกเราเดินเข้าใกล้การหยุดพฤติกรรมทางจิต จนเหลือเพียงรู้อย่างเงียบสนิทจริงๆ นั่นเองเช่นทรงสอนให้ทำทาน เพื่อลดความกระวนกระวายเพราะความโลภ ทรงสอนให้รักษาศีล เพื่อเป็นพื้นฐานสำหรับความสงบระงับ ทรงสอนสัมมาสมาธิ เพื่อให้จิตตั้งมั่นและรู้ตัว และทรงสอนวิปัสสนา เพื่อทำลายแรงดึงดูดของอารมณ์ ที่จะพาจิตให้ทะยานไปก่อภพก่อชาติตลอดนิรันดร ผู้ปฏิบัติที่ยังขาดความเข้าใจ ย่อมปฏิบัติสิ่งเหล่านี้ เพื่อที่จะปฏิบัติต่อไป ส่วนผู้ที่เข้าใจแล้ว ก็จะ หยุดการปฏิบัติ ได้ด้วยปัญญาญาณอันแหลมคมหากต้องการทางลัด ก็จำเป็นต้อง รู้ และเลิกคิดเรื่อง ทาง ไปเลย แต่ถ้ายังไม่รู้จัก รู้ ก็ยังจำเป็นต้องอาศัยทางเหล่านั้นต่อไปก่อน4 ธ.ค. 2544 ของฝากจากสวนโพธิ์ 1. เผลอก็ให้รู้ว่าเผลอ เมื่อรู้ว่าเผลอแล้วก็พอแล้ว อย่าเผลอต่อไปอีก ด้วยการคิดว่า ทำอย่างไรจึงจะรู้ตัวได้ต่อเนื่อง2. เพ่งก็ให้รู้ว่าเพ่ง เมื่อรู้ว่าเพ่งแล้วก็พอแล้ว อย่าเผลอหรือเพ่งต่อไปอีก เพื่อจะทำลายการเพ่งนั้น3. หงุดหงิดก็รู้ว่าหงุดหงิด กลัวก็รู้ว่ากลัว มีราคะก็รู้ว่ามีราคะ มีความฟุ้งซ่านก็รู้ว่ามีความฟุ้งซ่าน ให้รู้ด้วยจิตที่เป็นกลางๆ คือไม่คล้อยตาม และไม่ต่อต้าน เพราะถ้าคล้อยตามก็จะถูกกิเลสครอบงำ ถ้าต่อต้านก็จะเกิดความอึดอัดใจ4. สรุปแล้ว ให้รู้ทุกอย่างที่จิตไปรู้เข้า โดยไม่เติมความคิดนึกปรุงแต่งใดๆ ลงไปอีก เพราะ "รู้" นั่นแหละคือประตูของมรรคผลนิพพาน29 พ.ย. 2544 แก่นสารของการปฏิบัติธรรม การเจริญสติจริงๆ จะไปยากอะไร เพียงแต่ให้มีจิตที่รู้ตัวสบายๆ เป็นธรรมชาติธรรมดานี้เอง แล้วไปรู้อารมณ์ (ที่เป็นปรมัตถ์)ที่กำลังปรากฏ โดยไม่เผลอ ไม่เพ่ง ด้วยความเป็นกลางจริงๆ คลองแห่งความคิดจะขาดไป และจิตจะรู้ โดยปราศจากความปรุงแต่ง ไม่นานผู้ปฏิบัติก็จะสามารถเข้าในวิสังขารธรรม หรือธรรมที่พ้นความปรุงแต่งได้จุดแรกที่พวกเราควรทำความรู้จักก็คือ จิตที่มีสติ ไม่เผลอ ไม่หลง ไม่ถูกครอบงำด้วยความปรุงแต่งมันเป็นอย่างไร เมื่อรู้ตัวเป็นแล้ว ก็รู้ปรมัตถธรรมที่กำลังปรากฏไปตามธรรมดาๆ นี่เอง เช่นรู้ลงในความไหวของกาย ด้วยจิตที่ไม่หลง ก็จะเห็นปรมัตถ์ของ "กาย" อย่างชัดเจน คลองแห่งความคิดจะขาดไป เหลือแต่รู้สักว่ารู้ รู้ตามความเป็นจริง รู้ด้วยจิตที่เป็นกลาง แล้วจะเห็นธรรมฝ่ายสังขารคือ "กาย" หากจิตมีความพร้อม ก็จะเห็นธรรมฝ่ายวิสังขาร คือฝ่ายเหนือความปรุงแต่งได้ในวับเดียว29 พ.ค. 2544 รู้อย่างไรจึงจะบั่นทอนทุกข์ลงได้ "รู้ตัว" เป็น ก็คือมีจิตที่ตั้งมั่น เป็นกลาง เป็นธรรมเอก ถัดจากนั้นก็ต้องหัด "รู้" ทุกสิ่งที่กำลังปรากฏ ด้วยความ "รู้ตัว" ก็จะเห็นว่าทุกอย่างที่ถูกรู้ล้วนแต่เกิดขึ้นแล้วดับไป และถ้าเมื่อใดจิตขาดความรู้ตัว หลงเข้ายึดถือสิ่งที่ถูกรู้ ความทุกข์ก็เกิดขึ้น ถ้ารู้ โดยรู้ตัวอยู่ ก็เป็น รู้สักว่ารู้ จิตจะเป็นเพียง "ผู้สังเกตการณ์" ปรากฏการณ์ทั้งปวง โดยไม่โดดเข้าไปร่วมแสดงเองที่คุณสุรวัฒน์เล่าถึงการปฏิบัติว่า "ผมก็เลยต้องคอยทำตัวให้ รู้ เข้าไว้ อาบน้ำก็ฝึกรู้ ดูโทรทัศน์ก็ฝึกรู้ กินข้าวก็ฝึกรู้ ...นึกขึ้นได้ตอนไหนก็ฝึกรู้ วันๆก็ฝึกรู้ไปเรื่อยๆ"หัดต่อไปอย่างที่หัดนี่แหละครับ ยืน เดิน นั่ง นอน กิน ดื่ม ขับถ่าย ทำ พูด คิด ฯลฯ รู้อยู่ให้ตลอด ให้ต่อเนื่องไปเรื่อยๆ โดยมีผู้รู้ กับสิ่งที่ถูกรู้ ซึ่งถึงจุดนี้ จะเห็นมันแยกกันเองได้แล้วครับ ไม่ต้องไปพยายามทำอะไรเพื่อให้มันแยกกันมากกว่านี้จนผิดธรรมชาติ จะกลายเป็นปฏิบัติด้วยความจงใจและความอยากมากไปครับ30 มิ.ย. 2543 ปัจจัยแห่งความเจริญงอกงามในธรรม (1) ให้พยายามมีสติสัมปชัญญะ รู้ อยู่ในชีวิตประจำวันให้ได้ จะยืน เดิน นั่ง นอน กิน ดื่ม ทำ พูด คิด ฯลฯ ก็ให้มีสติรู้กายรู้ใจอยู่เสมอ(2) ให้ปฏิบัติธรรมไปอย่างซื่อๆ ตรงๆ อย่าเอาแต่วุ่นวายกับการคิด การหาอุบายทางลัด และนิมิตต่างๆ เพราะนั่นล้วนเป็นทางแห่งความเนิ่นช้า(3) อย่าเอาแต่รวมกลุ่มสัญจรไปตามสำนักโน้นสำนักนี้ เที่ยวสนุกกับการไปฟังธรรมที่โน้นที่นี้ ละเลยการฟังธรรมในจิตใจตนเอง(4) มีผลการปฏิบัติใดๆ เกิดขึ้นในระหว่างทาง ก็อย่าเอาแต่ไปเขียนเล่าในกระทู้ให้กิเลสกระเพื่อม จนปฏิบัติต่อไปไม่ได้อีก(5) ขอให้ตั้งใจจริงจังเพื่อเอาตัวให้รอด ลองเอาจริงสัก ปี สองปีก็ยังดี โดยยอมเสียสละเรื่องรกรุงรังในจิตใจเสียสักช่วงหนึ่ง แล้วตั้งใจปฏิบัติให้สม่ำเสมอ9 พ.ย. 2543 วันวานที่ผ่านมา วิปัสสนาที่แท้จริงนั้น มีแต่รู้ ไม่ต้องจงใจเติมสิ่งใดลงไปในรู้ ไม่ว่าจะเป็นศีล สมาธิ หรือปัญญา ไม่ต้องเอาสมมุติบัญญัติ หรือความคิดนึกปรุงแต่งใดๆ มาช่วยทำวิปัสสนา ไม่ต้องคิด ไม่ต้องพิจารณาโดยสิ้นเชิง เพราะความจงใจเคลื่อนไหวใดๆ จะทำให้จิตก่อภพก่อชาติ ก่อวัฏฏะหมุนวนขึ้นมาอีกผมไม่แนะนำให้พยายามทรงความรู้ตัวให้นานๆ เพราะความพยายามนั้นเอง จะทำให้เกิดการ จงใจ เสแสร้ง ดัดจริต รู้ นักปฏิบัตินั้น อย่าไปนึกถึงเรื่องที่จะให้จิตรู้ตัวต่อเนื่อง ได้เป็นชั่วโมง เป็นวัน เป็นเดือน เลยครับ เพราะการปฏิบัติ เราจะดูกันเป็นขณะๆ ไปเท่านั้นเอง ว่าขณะนี้รู้ตัวหรือเผลอ ขณะนี้มีสติ หรือขาดสติ ขณะใดมีสติ ขณะนั้นกำลังปฏิบัติอยู่ ขณะใดขาดสติ ขณะนั้นไม่ได้ปฏิบัติ หรือปฏิบัติผิด ไม่ใช่พูดว่า ชั่วโมงนี้รู้ตัว หรือวันนี้รู้ตัว ชั่วโมงต่อมา หรือวันต่อมา ไม่รู้ตัวดังนั้นเมื่อเผลอไป แล้วเกิดรู้ตัวว่าเผลอ ขณะนั้น จิต รู้ ถูกต้องแล้ว เมื่อเพ่ง แล้วเกิดรู้ตัวว่าเพ่ง ขณะนั้น จิต รู้ ถูกต้องแล้ว เมื่อมีราคะ แล้วเกิดรู้ตัวว่ามีราคะ ขณะนั้น จิต รู้ ถูกต้องแล้ว เมื่อโทสะ แล้วเกิดรู้ตัวว่ามีโทสะ ขณะนั้น จิต รู้ ถูกต้องแล้ว เมื่อมีโมหะ แล้วเกิดรู้ตัวว่าโมหะ ขณะนั้น จิต รู้ ถูกต้องแล้ว.
ทางลัดตัดตรงสู่ความพ้นทุกข์ ทางสายเอก ทางสายเดียว เพื่อความบริสุทธิ์ หลุ...จิตหยุดปรุงแต่ง การปฎิบัติ คือรู้ท้นจิตที่ปรุงแต่ง . พ้นไปได้อย่างนี้นะ เข้าถึงสันติสุขที่แท้จริง มีแต่ความสุขล้วนๆ ทีนี้จะพ้นได้ก็เพราะมีสติขึ้นมา..ถ้าเราภาวนาไปนะ จนใจเราอิ่ม ใจเราพอ ใจเราพอแล้วเขาตัดของเขาเอง ไม่มีใครสั่งจิตให้บรรลุมรรคผลนิพพานได้ จำไว้นะ ไม่ใครทำจิตให้บรรลุมรรคผลนิพพานได้ จิตที่เจริญสติเจริญปัญญาจนแก่รอบนั้นแหละ เขาบรรลุมรรคผลนิพพานของเขาเอง เราสั่งเขาไม่ได้..เบื้องต้นมีความสุขเยอะเลย เบื้องปลายเจอความทุกข์เยอะเลย แจ้งแล้วนะ เจอบรมสุข ตรงที่จิตเข้าถึงความเป็นผู้รู้ผู้ตื่นผู้เบิกบานนั้นแหละ อวิชาซ่อนอยู่ที่นั้นเอง ไม่รู้ ไม่รู้อะไร ไม่รู้ทุกข์ ทุกข์อะไร ไม่รู้ว่าตัวผู้รู้นี้แหละ ตัวทุกข์ มันบังกันอยู่นิดเดียวเอง..เพราะฉะนั้นไม่รีบร้อนนะ เราทำเหตุ คือเราเจริญสติ เจริญปัญญาไปเรื่อย.. รู้กายรู้ใจด้วยจิตที่ตั้งมั่นเป็นกลางเรื่อยไป ทุกอย่างที่ปรากฎขึ้นในกายในใจ คอยรู้เท่าที่รู้ได้ ไม่ใช่รู้ตลอดเวลา รู้ตลอดเวลาไม่ได้ เพราะสติไม่ได้เกิดตลอดเวลา จิตพวกเราเนี่ย ส่วนใหญ่ที่เกิดคืออกุศลนะ ไม่ใช่สติ นึกออกมั้ย เวลาสติเกิดนะ เกิดแว้บเดียว เวลาหลง หลงนาน หลงตั้ง ๑ นาทีแหน่ะ นี่กับคนเก่งๆนะ คนไม่เก่งภาวนาไม่เป็นนะ หลงตั้งแต่ตื่นจนหลับ ไม่มีสติสักแว้บหนึ่งเลย คนในโลกไม่มีสติแท้ๆนะ ถึงมีสติ ก็เป็นสติอย่างโลกๆ ไม่ใช่สติปัฏฐาน ไม่ใช่สติรู้กายรู้ใจ คนที่มีสติรู้กายรู้ใจเนี่ย นับตัวได้เลย เพราะฉะนั้นคนที่บรรลุมรรคผลนิพพานถึงมีน้อยเหลือเกิน
ทางหลุดพ้นจากความทุกข์อย่างสิ้นเชิงความอยากทั้งหลายแหล่มันก็มีอยู่แค่นี้เอง ความอยากที่ ว่ากิเลส ๑,๕๐๐ ตัณหา ๑๐๘ จริงๆ ก็คืออยากให้ขันธ์เป็นสุข อยากให้ขันธ์พ้นทุกข์ ย่อๆ ลงมาก็คือรักสุขเกลียดทุกข์นั่นแหละ พอเข้าใจขันธ์เท่านั้น ความอยากดับเอง ไม่ต้องไปทรมาน กายทรมานใจเพื่อจะดับตัณหา ขอให้รู้ทุกข์แจ่มแจ้งแล้วตัณหา จะดับไปโดยอัตโนมัติเลย ถ้าเราเข้าใจตัวนี้ ความเข้าใจมันจะประณีตมาก จิตมันจะสลัดคืนขันธ์ให้โลกไปเลย พอจิตมันเห็นว่าขันธ์ไม่ใช่ของดีของวิเศษ ขันธ์นี้เป็นทุกข์ล้วนๆ กระทั่งตัวจิตก็เป็นทุกข์ล้วนๆ จิตมันก็อยู่ใน ขันธ์นั่นเอง อยู่ในวิญญาณขันธ์ พอมันปล่อยขันธ์ทิ้งไป ไม่มีอะไรให้ยึดอีก มันก็พ้นจากอุปาทานขันธ์ อุปาทานขันธ์ก็กองอยู่อย่างนั้น กองอยู่กับโลกนั้นเอง ไม่ใช่ต้องไปทําลายล้างมัน มันมีเหตุมันก็เกิด หมดเหตุมันก็ดับ บังคับมันไม่ได้ แต่ใจไม่เข้าไปยึดถือมันแล้ว ที่ใจไม่เข้าไปยึดถือมันก็เพราะรู้ทุกข์แจ่มแจ้ง รู้ว่าขันธ์ทั้งหลาย ทั้งปวงนี้แหละเป็นตัวทุกข์ ฉะนั้น การรู้ทุกข์นี่เป็นเรื่องสําคัญที่สุดสําหรับการปฏิบัติ ธรรมในทางพระพุทธศาสนา ไม่ใช่แค่นั่งสมาธิ หวังว่าทําสมาธิ ไปเรื่อยๆ แล้วจะพ้นทุกข์ ไม่มีทางพ้นเลย ทําสมาธิก็ไปสร้างภพภูมิ ที่ละเอียดขึ้นไปอีก นอกจากการรู้ทุกข์แล้ว ไม่มีวิธีอย่างอื่นที่จะเห็นธรรมได้เลย
อัปนาสมาธิ สมาธิเข้าสู่ มรรคผล นิพพาน เอโกทิภาวะเอโกทิภาวะ หรือภาวะแห่งความเป็นหนึ่ง ในอรรถกถาบอกว่า คือสัมมาสมาธินั่นเอง เอโกทิภาวะก็คือ สภาวะที่ใจนี้ตั้งมั่น เด่นดวง ขึ้นมา แล้วมันเห็นอารมณ์ทุกสิ่งทุกอย่าง เป็นของถูกรู้ถูกดู ใจมันเป็นแค่ผู้รู้ผู้ดู เนี่ยถ้าใจเราเข้าไปถึงฌานที่ ๒ ทุติยฌาน เราจะได้ เอโกทิภาวะ ขึ้นมา และถ้าถึง ๓ ๔ ๕ ๖ ๗ ถึงฌานที่ ๘ อะไรเหล่านี้ เอโกทิภาวะก็ยังอยู่ ใจจะตั้งมั่นเด่นอยู่อย่างนั้นพอออกจากฌานแล้ว เอโกทิภาวะ นี้ยังทรงตัวอยู่อีกช่วงหนึ่ง อีกหลายชั่วโมง หรืออีกเป็นวันๆได้ ทรงตัว ถ้าฌานนั้นเกิดจากการเดินจงกรม เราเดินจงกรมอยู่แล้วจิตรวมลงไปถึงฌานที่ ๒ เนี่ย ถอยออกมาแล้วนะ เอเอโกทิภาวะทรงตัวอยู่ได้นาน เพราะฉะนั้นถ้าเราทำสมาธิด้วยการเดิน ได้เนี่ย กำลังของความรู้สึกตัวนี้จะทรงอยู่นานมาก จะนานกว่านั่ง เพราะฉะนั้นสมาธิที่เกิดจากการเดินจงกรมจะเข้มแข็ง ทีนี้พอเรามีตัวผู้รู้ขึ้นมา พระป่าท่านจะเรียกว่าตัวผู้รู้นะ ทันทีที่จิตทรงมีตัวผู้รู้ขึ้นมาแล้วเนี่ย เราจะเห็นทันที ว่าร่างกายที่ยืน เดิน นั่ง นอน เนี่ย ไม่ใช่ตัวเรา เห็นมั้ย พอใจทรงตัวขึ้นมา มีสัมมาสมาธิขึ้นมา ปัญญาจะเกิดขึ้นมาทันทีเลย จะเห็นทันทีเลยว่า กายที่ยืนเดินนั่งนอนอยู่นี้ไม่ใช่ตัวเรา กายที่หายใจเข้าหายใจออกนี้ไม่ใช่ตัวเรา กายที่พองที่ยุบนี้ไม่ใช่ตัวเรา จะเห็นทันที ไม่ต้องคิดนะ แต่จะเห็นทันที จะรู้สึกทันที ถ้าเราฝึกเต็มภูมินะ เราจะเดินมาอย่างนี้ เพราะฉะนั้นกายานุปัสสนานะ หรือเวทนานุปัสสนาก็ตามเนี่ย ในอภิธรรมท่านถึงสอบบอกว่า เหมาะกับคนเล่นฌาน กายานุปัสสนา เวทนานุปัสสนา จะทำได้ดีถ้าเราทำฌาน และฌานนั้นถ้าจะดีจริงๆต้องถึงฌานที่ ๒ แล้ว จะมีเอโกทิภาวะขึ้นมา แล้วจะเห็นทันทีว่ากายนี้ไม่ใช่เรา เวทนาไม่ใช่เรา จะเห็นอย่างนั้น ตัวนี้เองที่ว่าเราจะต้องฝึกจิตของเรา จะต้องฝึกจนมันตั้งมั่น มีเอโกทิภาวะอยู่ มีความตั้งมั่น ฉะนั้นพอมันวางอารมณ์รูปนามนี้ปุ๊บ มันจะหนีไปหาอารมณ์บัญญัติแทน ฉะนั้นใจเราต้องฝึกจนมีเอโกทิภาวะ พอมันรู้จนไม่รู้จะรู้อะไร มันจะทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้อัตโนมัติ เพราะถ้าเจือด้วยความจงใจแม้แต่นิดเดียว มรรคผลจะเกิดไม่ได้ ตรงที่มันดับกระแสของโลกิยะลงไป อนุโลมญาณดับกระแสของโลกิยะลงไปแล้ว มันจะทวนเข้าหาธาตุรู้เอง ไม่จับโลกียะ แต่ยังไม่เข้าถึงโลกุตตระเป็นโคตรภูญาณ มีจิตทำหน้าที่ตรงนี้อยู่ดวงหนึ่ง พอทวนเข้าถึงอริยมรรค ตัวมรรคนี้เป็นชาติกุศล แต่ตัวผลเป็นชาติวิบาก พอมันทวนกระแสเข้าถึงธาตุรู้ อริยมรรคจะแหวกสิ่งที่ห่อหุ้มจิตอยู่ จะแหวกแวบออกไป ขาดวาบออกไปอย่างเนียนๆ จิตที่ไม่มีอะไรห่อหุ้มจะเป็นอิสระขึ้นมาชั่วคราว สองสามขณะ ความไม่มีอะไร มีแต่ความสุขล้วนๆ แต่พอเห็นครั้งหนึ่งสองครั้งสามครั้งยังจำไม่ได้ จำไม่แม่น เห็นสี่ครั้งแล้วมันจะมีปัจจเวกฯทวนไปถึงนิพพาน ตอนครั้งที่หนึ่งสองสามนี่ปัจจเวกฯมันไม่ไปดูนิพพาน มันจะไปดูกิเลส กิเลสอะไรละแล้ว กิเลสอะไรยังเหลือ มันยังมีงานต้องทำ ครั้งสุดท้ายไม่มีงานทำ มันจะไปดูนิพพาน ตอนที่จิตแท้ๆซึ่งหลุดพ้นออกมาจากอาสวะปรากฏขึ้นมาแบบไร้ร่องรอยให้รู้ เป็นความว่างที่แท้จริง ถัดจากนั้นแสงสว่างจะปรากฏขึ้น ถัดจากแสงสว่างที่เกิดขึ้น จิตซึ่งเป็นอิสระแล้วเขาจะแสดงความมีอยู่ของเขาโดยการแสดงความเบิกบานออกมา บางคนเห็นสองขณะว่างแล้วก็สว่างขึ้นมา บางคนเห็นสามขณะ แสดงความเบิกบานขึ้นมาได้ด้วย ถัดจากนั้นจิตจะถอยออกมาสู่โลกภายนอก แล้วมันจะทวนกระแสกลับเข้าไปพิจารณา ตรงขณะที่สองหรือขณะที่สามที่ผ่านไปแล้ว อาสวกิเลสจะเข้ามาปกปิดจิตอย่างเดิมอีก สำหรับผู้ที่ผ่านมรรคครั้งที่หนึ่งสองสาม อาสวะที่แหวกออกไปจะกลับเข้ามาห่อหุ้มปกคลุมจิต อย่างฉับพลัน เวลาเข้ามาปิดก็ปิดเนียนๆ จนครั้งที่สี่จิตจึงหลุดจากอาสวะ ไม่ใช่จิตไปทำลายอาสวะ แต่หลุดเพราะไม่ยึดแล้ว เพราะไม่ยึดถือในขันธ์ห้า ในจิตอีกแล้ว ตรงนี้แหละ จิตจะไหวตัวขึ้นมา สองสามขณะ คือปรุงขึ้นมานะ แต่ไม่รู้ว่าคิดอะไร ไม่รู้ว่าปรุงอะไร มีความปรุงแต่งเกิดขึ้นแต่ไม่รู้ว่าปรุงอะไร จะเห็นว่าสิ่งบางสิ่งเกิดขึ้น แล้วสิ่งนั้นดับไป จะเห็นอย่างนี้เอง ถัดจากนั้นจิตจะรู้เลย มันไม่มีสาระนะ จิตมันจืดนะ มันไม่เอาอีกแล้ว ก็แค่เห็นความปรุงภายในจิตเกิดขึ้น พอเห็นความปรุงภายในจิตผุดขึ้น 2 – 3 ขณะ นะ ความเป็นกลางอย่างแท้จริงเลย รู้อย่างเป็นกลางอย่างแท้จริง ไม่ปรุงต่อนะ จิตจะวาง พอมันวางแล้วมันจะทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้ วางจิตแล้ว ทวนจิตที่อยู่ในภพภูมิต่างๆดับไป จะทวนกระแสเข้าหาจิตที่อยู่เหนือภพเหนือภูมิ ทวนกระแสเข้ามาทวนเข้ามาแต่ยังไม่ถึงธาตุรู้ ธาตุรู้ไม่ใช่พระนิพพานนะ แต่ธาตุรู้ไปเห็นพระนิพพาน นี้ต้องแยกให้ออก มันยังทวนเข้ามาไม่ถึงธาตุรู้ ไม่ใช่ปุถุชน ไม่ใช่พระอริยะ ทำไมไม่ใช่ปุถุชน เพราะมันปล่อยขันธ์แล้ว ขันธ์สุดท้ายที่มันปล่อยก็คือจิตนะ ไม่ใช่พระอริยะเพราะยังไม่เข้ามาถึงธาตุรู้ ไม่เข้าถึงพระนิพพาน ตัวธาตุรู้นั้นแหละเป็นตัวไปเห็นพระนิพพาน ตรงนี้เรียกว่า โคตรภูญาณ ญาณข้ามโคตร มีปัญญาข้ามโคตร
การนั่งสมาธิให้จิตนิ่ง กับการบรรลุธรรม เป็นคนละเรื่องกันทางสายกลางมีอยู่ ถ้าเราอยากพ้นทุกข์จริงๆ เบื้องต้นหัดรู้สึกตัวไว้ก่อน การที่เราคอยรู้เนื้อรู้ตัวนี่เราจะไม่หลงตามกิเลสไป แต่ให้รู้ ไม่ใช่ให้เพ่ง ไม่ใช่ให้บังคับ ไม่ใช่ให้ดัดแปลง ถ้าเพ่ง ถ้าบังคับ ถ้าดัดแปลง อันนี้คือการบังคับตัวเอง มีผลให้เราได้เป็นมนุษย์ที่ดี เป็นเทวดา เป็นพรหม ถึงวันหนึ่งก็เสื่อมอีก ยังไม่พ้นการเวียนว่ายตายเกิด ...พยายามรู้สึกตัวขึ้นมานะ แล้วมาเรียนรู้ความจริงของรูปของนาม ถ้าจิตใจยังติดใจในรูปในนามอยู่ ก็ยังเวียนว่ายตายเกิดอยู่ ยังก่อภพก่อชาติไปไม่สิ้นสุด แสวงหารูปนามใหม่ๆ ขันธ์ ๕ ใหม่ๆไปเรื่อยๆ เพราะใจยังติดอยู่ แต่ถ้าจิตมีสติปัญญาแก่รอบขึ้นมา เห็นขันธ์ ๕ ไม่ใช่สาระแก่นสาร พอจิตเห็นขันธ์ ๕ ไม่ใช่สาระแก่นสาร ความหวังที่จะให้ขันธ์ ๕ มันดี ขันธ์ ๕ มันสุข ขันธ์ ๕ มันสงบ ไม่มี มันดีไปไม่ได้หรอก มันเป็นตัวทุกข์ มันสุขไปไม่ได้หรอก มันทุกข์ มันสงบ มันก็สงบอยู่ไม่ได้จริงหรอก มันยังถูกความทุกข์บีบคั้นอยู่ตลอด ถ้าเมื่อไหร่เราเห็นขันธ์ ๕ ตกอยู่ใต้ความจริง เห็นความจริงของรูปนาม จิตจะคลายความยึดถือ ความยินดีในขันธ์ ๕ เมื่อจิตหมดความยึดถือ หมดความยินดีในขันธ์ ๕ เชื้อเกิดจะถูกทำลายไป จิตที่ยังเวียนว่ายตายเกิด เป็นจิตที่ยังมีเชื้อเกิดอยู่ เชื้อเกิดนี้มันก็เป็นเชื้อที่ยินดีในขันธ์ ๕ นั่นเอง มันโง่ มันมีอวิชชาซ่อนอยู่ในจิตดวงนี้ มันไม่รู้ความจริงของทุกข์ ไม่รู้ความจริงของสมุทัย ไม่รู้ความจริงของนิโรธ ไม่รู้ความจริงของมรรค ไม่รู้ความจริงของทุกข์ก็คือ ไม่รู้ว่าขันธ์ ๕ นี้เป็นตัวทุกข์ ยังคิดว่าจะหาทางหาขันธ์ ๕ ที่มีความสุขได้ พอไม่รู้ว่าขันธ์ ๕ เป็นตัวทุกข์ ความอยากจะให้ขันธ์ ๕ เป็นสุขก็เกิดขึ้น ความอยากจะให้ขันธ์ ๕ พ้นทุกข์ก็เกิดขึ้น สมุทัยก็มีขึ้นมา พอมีสมุทัยมีความอยากขึ้นมานี่ จิตก็มีความดิ้นรน จิตที่มีความดิ้นรนอยู่ ไม่มีความสงบสันติคือไม่มีนิพพาน ไม่เห็นนิพพาน งั้นเราต้องมาล้างเชื้อเกิดในใจของเรา ล้างความหลงผิดในใจของเรานั่นเอง ล้างอวิชชานั่นเอง อยากล้างอวิชชาได้ มีสตินี่แหละ รู้ขันธ์ ๕ ตามความเป็นจริง รู้กายรู้ใจนั่นแหละตามความเป็นจริง ดูลงไปเรื่อยเลย กายนี้ใจนี้ไม่ใช่ของดีของวิเศษ ไม่ต้องคิดหรอก มันไม่ใช่ของดีของวิเศษมาแต่ไหนแต่ไรแล้ว เราเพียงหลงผิดว่ามันดีมันวิเศษ เราเลยติดอกติดใจเพลิดเพลินอยู่ ถ้าเราดูซ้ำดูซากนะ ดูแล้วดูอีก อยู่ในกายในใจนี้ เราจะเห็นว่ากายนี้เป็นทุกข์ล้วนๆ ใจนี้เป็นทุกข์ล้วนๆ พวกเรายังไม่เห็น พวกเราเห็นว่าร่างกายนี้เป็นทุกข์บ้างเป็นสุขบ้าง จิตใจนี้เป็นทุกข์บ้างเป็นสุขบ้าง เพราะเราเห็นอย่างนี้นะ อวิชชาเรามีอยู่ เมื่อมันยังเห็นว่าร่างกายจิตใจเป็นสุขบ้างเป็นทุกข์บ้างได้ มันยังมีทางเลือก มีทางดิ้นต่อ มันก็จะดิ้นหนีความทุกข์ ดิ้นไปแสวงหาความสุข จิตที่ดิ้นรนนั่นแหละ ห่างไกลพระนิพพานไปเรื่อยๆ แต่ถ้าเรารู้ความจริงแจ่มแจ้ง ว่าขันธ์ ๕ หรือรูปนาม หรือกายใจนี้เป็นทุกข์ล้วนๆ มีแต่ทุกข์มาก กับทุกข์น้อย ไม่ใช่มีทุกข์กับสุข ถ้าเห็นแจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งอย่างนี้ จิตมันจะสลัดคืนหมดความยึดถือขันธ์ ๕ จะรู้สึกเลย ร่างกายนี้เหมือนยืมแผ่นดินมาใช้นะ ยืมธาตุมาใช้ จิตใจก็เหมือนยึมเค้ามาใช้ ไม่ใช่ของเราสักอันเดียว มันสลัดคืนรูปคืนนาม คืนกายคืนใจให้โลกไป ไม่ยึดถือในรูปนามในกายใจนั้นเอง เมื่อเราไม่ยึดถือนะ ความหนักก็ไม่เกิดขึ้นในใจ ใจที่มีความหนัก ใครรู้จักหนักใจบ้าง หนัก หนักทุกวันเลย หนักเพราะเรายึดถือ ถ้าเราไม่ได้ยึดถือรูปนามอยู่ ความหนักใจจะไม่มี ปัญหามีนะ แต่ความหนักใจไม่มี งั้นเรามาเรียนรู้ความจริงของรูปของนามนี้แหละ เรียกว่าการเจริญปัญญา รู้ลงไปที่กายบ่อยๆ รู้ลงไปที่ใจบ่อยๆ จะรู้กายรู้ใจได้ จิตต้องรู้สึกตัวเป็นก่อน อย่าหลง ขั้นต้นเลย ต้องรู้สึกตัวให้เป็น ถ้ารู้สึกตัวไม่ได้ ใจหลงไปอยู่ในโลกของความคิด ลืมกายลืมใจ มีกายก็ลืมกาย มีใจก็ลืมใจนะ ใช้ไม่ได้ เราต้องคอยรู้สึกตัวบ่อยๆ หัดรู้สึกตัวนะ เบื้องต้นจะพุทโธ จะหายใจ หรือทำกรรมฐานอะไรสักอย่างหนึ่งก็ได้ แล้วแต่ถนัด ทำกรรมฐานขึ้นอย่างหนึ่ง แล้วคอยรู้ทันจิตตนเอง จิตไหลไปคิดรู้ทัน จิตไหลไปคิดรู้ทัน จิตก็จะหลุดออกจากโลกของความคิด มาอยู่ในโลกของความรู้สึกตัว จิตที่ไม่รู้สึกตัวนี้ไปหลงอยู่ในโลกของความคิด คนทั้งโลกหลงอยู่ในโลกของความคิดนะ มีเป็นส่วนน้อย ผู้ที่ได้ฟังธรรมแล้ว ผู้ที่มีบุญบารมีแล้วอย่างพวกเรานี้ มันรู้ทันจิตที่ไหลไปคิด แล้วก็ตื่น เกิดภาวะแห่งความรู้สึกตัวขึ้นมา พอเรารู้สึกตัวได้ ก็คือมีกายเราก็รู้ว่ามีอยู่ มีใจเราก็รู้ว่ามีอยู่ เราก็จะเรียนรู้ความจริงของกายของใจได้ ถ้าเราใจลอย เราลืมกายลืมใจ เราก็ไม่สามารถเรียนรู้ความจริงของกายของใจได้ เพราะงั้นความรู้สึกตัวนี้แหละ เป็นจุดตั้งต้นที่จะเริ่มเดินปัญญานะ ทีนี้พอรู้สึกตัวเป็นแล้ว อย่ารู้สึกอยู่เฉยๆ รู้สึกแล้วมาเรียนรู้ความจริงของกายของใจ ค่อยๆแยก กายก็อยู่ส่วนกาย ใจก็อยู่ส่วนใจนะ แยกกัน กายส่วนกาย ใจส่วนใจ เวทนาคือความรู้สึกสุขทุกข์ก็อยู่ส่วนเวทนา ไม่ใช่กายไม่ใช่ใจ สังขาร ความปรุงดีความปรุงชั่ว เช่นโลภ โกรธ หลงทั้งหลาย ก็อยู่ส่วนโลภ โกรธ หลงทั้งหลาย ไม่ใช่ร่างกาย ไม่ใช่ความสุข ไม่ใช่ความทุกข์ ไม่ใช่จิตใจ นี่หัดแยกธาตุแยกขันธ์ ต้องรู้สึกตัวเป็นก่อน ถึงจะแยกธาตุแยกขันธ์ได้ แต่บางคนรู้สึกตัวแล้วอยู่เฉยๆ ไม่ยอมแยกธาตุแยกขันธ์ อันนั้นต้องช่วยมันคิดพิจารณาแยกธาตุแยกขันธ์ไป เช่นนั่งอยู่ ก็คอยคิดเอา เออร่างกายที่นั่งอยู่นี่เป็นของถูกรู้นะ อะไรอย่างนี้ ค่อยๆคิดไป ดู ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก ผม เป็นของถูกรู้ ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เป็นของถูกรู้ ค่อยๆหัดดูไปอย่างนี้ ต่อไปมันแยกได้เอง ความสุขความทุกข์เกิดขึ้น ก็เป็นของถูกรู้ ความโลภ ความโกรธ ความหลง เกิดขึ้นเป็นของถูกรู้ จิตเป็นคนไปรู้มันเข้า เบื้องต้นอาจจะต้องช่วยมันคิดพิจารณาอย่างนี้ แต่ต่อไปมันแยกได้เอง พอแยกได้เอง เราจะเดินปัญญาอัตโนมัติ มันจะเห็นเลย ร่างกายเคลื่อนไหว แค่รู้สึกนะ แล้วจะรู้เลยร่างกายไม่คงที่ เวทนาเกิดขึ้นในกาย เวทนาเกิดขึ้นในใจ ความสุขความทุกข์นั้นแหละเกิดขึ้นในกายในใจ ก็เห็นเลยมันแค่ผ่านมาแล้วก็ผ่านไป ใจอยู่ต่างๆหาก เวทนานี้ไม่ใช่ตัวเราหรอก เป็นสิ่งที่แปลกปลอมเข้ามาชั่วคราวแล้วก็หายไป กุศลอกุศล ก็เป็นสิ่งที่แปลกปลอมเข้ามาชั่วคราวแล้วก็หายไป จิตเองก็เกิดแล้วก็ดับ เดี๋ยวก็เป็นจิตผู้รู้ เดี๋ยวก็เป็นจิตผู้คิด เดี๋ยวเป็นจิตผู้เพ่ง หมุนเวียนเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา การที่เราเห็นขันธ์ทั้งรูปธรรมนามธรรมทั้งหลายที่ประกอบกันเป็นตัวเรานี้ มีแต่ความหมุนเวียนเปลี่ยนแปลง ทั้งวันทั้งคืน ทั้งหลับทั้งตื่น เป็นอย่างนี้ตลอด มันจะรู้เลย ไม่ใช่ของดีของวิเศษ ความสุขเกิดขึ้นก็แค่ของชั่วคราว เอาเป็นที่พึ่งที่อาศัยไม่ได้ เดี๋ยวก็ดับ กุศลเกิดขึ้นก็เป็นแค่ของชั่วคราว เอาเป็นที่พึ่งที่อาศัยก็ไม่ได้จริง เดี๋ยวก็ดับ ทุกสิ่งหาที่พึ่งที่อาศัยไม่ได้เลยในขันธ์ ๕ มีแต่ของน่าเอือมระอา มีแต่ความทุกข์ นี่จิตเห็นความจริงอย่างนี้ จิตจะคืนขันธ์ ๕ ให้โลก ไม่ยึดถืออีกแล้ว ที่มันคืนไม่ได้ เพราะว่ามันหวง มันห่วง เพราะว่ามันดี นี่เราทำลายเชื้อเกิดได้ พอมันคืนขันธ์ ๕ ไปนะ คล้ายๆมีเมล็ดต้นไม้ เมล็ดมะม่วงสักเมล็ดหนึ่ง แต่ต้นอ่อนข้างในมันตายไปแล้ว ต้นอ่อนที่มันจะงอกขึ้นมาเป็นขันธ์ ๕ ถูกทำลาย ถ้าเราทำลายความเห็นผิดนะ ว่าจิตนี้เป็นของดีของวิเศษ ขันธ์ ๕ เป็นของดีของวิเศษ ทำลายตัวนี้ได้ เชื้อเกิดจะถูกทำลายไป เมื่อขันธ์ ๕ ไม่ใช่ของดีแล้ว ความอยากให้ขันธ์ ๕ มันสุข ให้มันดี ให้มันสงบ ไม่มีแล้ว รู้ว่ามันไม่ดี ความอยากจะพ้นจากทุกข์ ให้ขันธ์ ๕ พ้นทุกข์ ก็ไม่มี เห็นไหม อยากให้พ้นทุกข์ก็ไม่มีนะ อยากให้สุขก็ไม่มีนะ เพราะรู้แจ้งแล้วว่าทุกข์แน่นอน พอรู้แจ้งอย่างนี้ หมดแรงดิ้น จิตที่หมดแรงดิ้นนี่แหละจะเห็นพระนิพพาน จิตที่ยังดิ้นอยู่ ยังอยากอยู่ นี่มีตัณหาอยู่ ไม่เห็นพระนิพพาน พวกเรามีบุญแล้วนะ ได้ฟังธรรม ฝึกรู้สึกตัวไปบ่อยๆ รู้สึกตัวแล้วอย่ารู้อยู่เฉยๆ ดูรูปดูนาม ดูกายดูใจ ดูขันธ์ ๕ ทำงานเรื่อยไป วันหนึ่งเราก็จะตามพระพุทธเจ้าของเราไปนะ
การนั่งสมาธิให้จิตนิ่ง กับการบรรลุธรรม เป็นคนละเรื่องกันทางสายกลางมีอยู่ ถ้าเราอยากพ้นทุกข์จริงๆ เบื้องต้นหัดรู้สึกตัวไว้ก่อน การที่เราคอยรู้เนื้อรู้ตัวนี่เราจะไม่หลงตามกิเลสไป แต่ให้รู้ ไม่ใช่ให้เพ่ง ไม่ใช่ให้บังคับ ไม่ใช่ให้ดัดแปลง ถ้าเพ่ง ถ้าบังคับ ถ้าดัดแปลง อันนี้คือการบังคับตัวเอง มีผลให้เราได้เป็นมนุษย์ที่ดี เป็นเทวดา เป็นพรหม ถึงวันหนึ่งก็เสื่อมอีก ยังไม่พ้นการเวียนว่ายตายเกิด ...พยายามรู้สึกตัวขึ้นมานะ แล้วมาเรียนรู้ความจริงของรูปของนาม ถ้าจิตใจยังติดใจในรูปในนามอยู่ ก็ยังเวียนว่ายตายเกิดอยู่ ยังก่อภพก่อชาติไปไม่สิ้นสุด แสวงหารูปนามใหม่ๆ ขันธ์ ๕ ใหม่ๆไปเรื่อยๆ เพราะใจยังติดอยู่ แต่ถ้าจิตมีสติปัญญาแก่รอบขึ้นมา เห็นขันธ์ ๕ ไม่ใช่สาระแก่นสาร พอจิตเห็นขันธ์ ๕ ไม่ใช่สาระแก่นสาร ความหวังที่จะให้ขันธ์ ๕ มันดี ขันธ์ ๕ มันสุข ขันธ์ ๕ มันสงบ ไม่มี มันดีไปไม่ได้หรอก มันเป็นตัวทุกข์ มันสุขไปไม่ได้หรอก มันทุกข์ มันสงบ มันก็สงบอยู่ไม่ได้จริงหรอก มันยังถูกความทุกข์บีบคั้นอยู่ตลอด ถ้าเมื่อไหร่เราเห็นขันธ์ ๕ ตกอยู่ใต้ความจริง เห็นความจริงของรูปนาม จิตจะคลายความยึดถือ ความยินดีในขันธ์ ๕ เมื่อจิตหมดความยึดถือ หมดความยินดีในขันธ์ ๕ เชื้อเกิดจะถูกทำลายไป จิตที่ยังเวียนว่ายตายเกิด เป็นจิตที่ยังมีเชื้อเกิดอยู่ เชื้อเกิดนี้มันก็เป็นเชื้อที่ยินดีในขันธ์ ๕ นั่นเอง มันโง่ มันมีอวิชชาซ่อนอยู่ในจิตดวงนี้ มันไม่รู้ความจริงของทุกข์ ไม่รู้ความจริงของสมุทัย ไม่รู้ความจริงของนิโรธ ไม่รู้ความจริงของมรรค ไม่รู้ความจริงของทุกข์ก็คือ ไม่รู้ว่าขันธ์ ๕ นี้เป็นตัวทุกข์ ยังคิดว่าจะหาทางหาขันธ์ ๕ ที่มีความสุขได้ พอไม่รู้ว่าขันธ์ ๕ เป็นตัวทุกข์ ความอยากจะให้ขันธ์ ๕ เป็นสุขก็เกิดขึ้น ความอยากจะให้ขันธ์ ๕ พ้นทุกข์ก็เกิดขึ้น สมุทัยก็มีขึ้นมา พอมีสมุทัยมีความอยากขึ้นมานี่ จิตก็มีความดิ้นรน จิตที่มีความดิ้นรนอยู่ ไม่มีความสงบสันติคือไม่มีนิพพาน ไม่เห็นนิพพาน งั้นเราต้องมาล้างเชื้อเกิดในใจของเรา ล้างความหลงผิดในใจของเรานั่นเอง ล้างอวิชชานั่นเอง อยากล้างอวิชชาได้ มีสตินี่แหละ รู้ขันธ์ ๕ ตามความเป็นจริง รู้กายรู้ใจนั่นแหละตามความเป็นจริง ดูลงไปเรื่อยเลย กายนี้ใจนี้ไม่ใช่ของดีของวิเศษ ไม่ต้องคิดหรอก มันไม่ใช่ของดีของวิเศษมาแต่ไหนแต่ไรแล้ว เราเพียงหลงผิดว่ามันดีมันวิเศษ เราเลยติดอกติดใจเพลิดเพลินอยู่ ถ้าเราดูซ้ำดูซากนะ ดูแล้วดูอีก อยู่ในกายในใจนี้ เราจะเห็นว่ากายนี้เป็นทุกข์ล้วนๆ ใจนี้เป็นทุกข์ล้วนๆ พวกเรายังไม่เห็น พวกเราเห็นว่าร่างกายนี้เป็นทุกข์บ้างเป็นสุขบ้าง จิตใจนี้เป็นทุกข์บ้างเป็นสุขบ้าง เพราะเราเห็นอย่างนี้นะ อวิชชาเรามีอยู่ เมื่อมันยังเห็นว่าร่างกายจิตใจเป็นสุขบ้างเป็นทุกข์บ้างได้ มันยังมีทางเลือก มีทางดิ้นต่อ มันก็จะดิ้นหนีความทุกข์ ดิ้นไปแสวงหาความสุข จิตที่ดิ้นรนนั่นแหละ ห่างไกลพระนิพพานไปเรื่อยๆ แต่ถ้าเรารู้ความจริงแจ่มแจ้ง ว่าขันธ์ ๕ หรือรูปนาม หรือกายใจนี้เป็นทุกข์ล้วนๆ มีแต่ทุกข์มาก กับทุกข์น้อย ไม่ใช่มีทุกข์กับสุข ถ้าเห็นแจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งอย่างนี้ จิตมันจะสลัดคืนหมดความยึดถือขันธ์ ๕ จะรู้สึกเลย ร่างกายนี้เหมือนยืมแผ่นดินมาใช้นะ ยืมธาตุมาใช้ จิตใจก็เหมือนยึมเค้ามาใช้ ไม่ใช่ของเราสักอันเดียว มันสลัดคืนรูปคืนนาม คืนกายคืนใจให้โลกไป ไม่ยึดถือในรูปนามในกายใจนั้นเอง เมื่อเราไม่ยึดถือนะ ความหนักก็ไม่เกิดขึ้นในใจ ใจที่มีความหนัก ใครรู้จักหนักใจบ้าง หนัก หนักทุกวันเลย หนักเพราะเรายึดถือ ถ้าเราไม่ได้ยึดถือรูปนามอยู่ ความหนักใจจะไม่มี ปัญหามีนะ แต่ความหนักใจไม่มี งั้นเรามาเรียนรู้ความจริงของรูปของนามนี้แหละ เรียกว่าการเจริญปัญญา รู้ลงไปที่กายบ่อยๆ รู้ลงไปที่ใจบ่อยๆ จะรู้กายรู้ใจได้ จิตต้องรู้สึกตัวเป็นก่อน อย่าหลง ขั้นต้นเลย ต้องรู้สึกตัวให้เป็น ถ้ารู้สึกตัวไม่ได้ ใจหลงไปอยู่ในโลกของความคิด ลืมกายลืมใจ มีกายก็ลืมกาย มีใจก็ลืมใจนะ ใช้ไม่ได้ เราต้องคอยรู้สึกตัวบ่อยๆ หัดรู้สึกตัวนะ เบื้องต้นจะพุทโธ จะหายใจ หรือทำกรรมฐานอะไรสักอย่างหนึ่งก็ได้ แล้วแต่ถนัด ทำกรรมฐานขึ้นอย่างหนึ่ง แล้วคอยรู้ทันจิตตนเอง จิตไหลไปคิดรู้ทัน จิตไหลไปคิดรู้ทัน จิตก็จะหลุดออกจากโลกของความคิด มาอยู่ในโลกของความรู้สึกตัว จิตที่ไม่รู้สึกตัวนี้ไปหลงอยู่ในโลกของความคิด คนทั้งโลกหลงอยู่ในโลกของความคิดนะ มีเป็นส่วนน้อย ผู้ที่ได้ฟังธรรมแล้ว ผู้ที่มีบุญบารมีแล้วอย่างพวกเรานี้ มันรู้ทันจิตที่ไหลไปคิด แล้วก็ตื่น เกิดภาวะแห่งความรู้สึกตัวขึ้นมา พอเรารู้สึกตัวได้ ก็คือมีกายเราก็รู้ว่ามีอยู่ มีใจเราก็รู้ว่ามีอยู่ เราก็จะเรียนรู้ความจริงของกายของใจได้ ถ้าเราใจลอย เราลืมกายลืมใจ เราก็ไม่สามารถเรียนรู้ความจริงของกายของใจได้ เพราะงั้นความรู้สึกตัวนี้แหละ เป็นจุดตั้งต้นที่จะเริ่มเดินปัญญานะ ทีนี้พอรู้สึกตัวเป็นแล้ว อย่ารู้สึกอยู่เฉยๆ รู้สึกแล้วมาเรียนรู้ความจริงของกายของใจ ค่อยๆแยก กายก็อยู่ส่วนกาย ใจก็อยู่ส่วนใจนะ แยกกัน กายส่วนกาย ใจส่วนใจ เวทนาคือความรู้สึกสุขทุกข์ก็อยู่ส่วนเวทนา ไม่ใช่กายไม่ใช่ใจ สังขาร ความปรุงดีความปรุงชั่ว เช่นโลภ โกรธ หลงทั้งหลาย ก็อยู่ส่วนโลภ โกรธ หลงทั้งหลาย ไม่ใช่ร่างกาย ไม่ใช่ความสุข ไม่ใช่ความทุกข์ ไม่ใช่จิตใจ นี่หัดแยกธาตุแยกขันธ์ ต้องรู้สึกตัวเป็นก่อน ถึงจะแยกธาตุแยกขันธ์ได้ แต่บางคนรู้สึกตัวแล้วอยู่เฉยๆ ไม่ยอมแยกธาตุแยกขันธ์ อันนั้นต้องช่วยมันคิดพิจารณาแยกธาตุแยกขันธ์ไป เช่นนั่งอยู่ ก็คอยคิดเอา เออร่างกายที่นั่งอยู่นี่เป็นของถูกรู้นะ อะไรอย่างนี้ ค่อยๆคิดไป ดู ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก ผม เป็นของถูกรู้ ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เป็นของถูกรู้ ค่อยๆหัดดูไปอย่างนี้ ต่อไปมันแยกได้เอง ความสุขความทุกข์เกิดขึ้น ก็เป็นของถูกรู้ ความโลภ ความโกรธ ความหลง เกิดขึ้นเป็นของถูกรู้ จิตเป็นคนไปรู้มันเข้า เบื้องต้นอาจจะต้องช่วยมันคิดพิจารณาอย่างนี้ แต่ต่อไปมันแยกได้เอง พอแยกได้เอง เราจะเดินปัญญาอัตโนมัติ มันจะเห็นเลย ร่างกายเคลื่อนไหว แค่รู้สึกนะ แล้วจะรู้เลยร่างกายไม่คงที่ เวทนาเกิดขึ้นในกาย เวทนาเกิดขึ้นในใจ ความสุขความทุกข์นั้นแหละเกิดขึ้นในกายในใจ ก็เห็นเลยมันแค่ผ่านมาแล้วก็ผ่านไป ใจอยู่ต่างๆหาก เวทนานี้ไม่ใช่ตัวเราหรอก เป็นสิ่งที่แปลกปลอมเข้ามาชั่วคราวแล้วก็หายไป กุศลอกุศล ก็เป็นสิ่งที่แปลกปลอมเข้ามาชั่วคราวแล้วก็หายไป จิตเองก็เกิดแล้วก็ดับ เดี๋ยวก็เป็นจิตผู้รู้ เดี๋ยวก็เป็นจิตผู้คิด เดี๋ยวเป็นจิตผู้เพ่ง หมุนเวียนเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา การที่เราเห็นขันธ์ทั้งรูปธรรมนามธรรมทั้งหลายที่ประกอบกันเป็นตัวเรานี้ มีแต่ความหมุนเวียนเปลี่ยนแปลง ทั้งวันทั้งคืน ทั้งหลับทั้งตื่น เป็นอย่างนี้ตลอด มันจะรู้เลย ไม่ใช่ของดีของวิเศษ ความสุขเกิดขึ้นก็แค่ของชั่วคราว เอาเป็นที่พึ่งที่อาศัยไม่ได้ เดี๋ยวก็ดับ กุศลเกิดขึ้นก็เป็นแค่ของชั่วคราว เอาเป็นที่พึ่งที่อาศัยก็ไม่ได้จริง เดี๋ยวก็ดับ ทุกสิ่งหาที่พึ่งที่อาศัยไม่ได้เลยในขันธ์ ๕ มีแต่ของน่าเอือมระอา มีแต่ความทุกข์ นี่จิตเห็นความจริงอย่างนี้ จิตจะคืนขันธ์ ๕ ให้โลก ไม่ยึดถืออีกแล้ว ที่มันคืนไม่ได้ เพราะว่ามันหวง มันห่วง เพราะว่ามันดี นี่เราทำลายเชื้อเกิดได้ พอมันคืนขันธ์ ๕ ไปนะ คล้ายๆมีเมล็ดต้นไม้ เมล็ดมะม่วงสักเมล็ดหนึ่ง แต่ต้นอ่อนข้างในมันตายไปแล้ว ต้นอ่อนที่มันจะงอกขึ้นมาเป็นขันธ์ ๕ ถูกทำลาย ถ้าเราทำลายความเห็นผิดนะ ว่าจิตนี้เป็นของดีของวิเศษ ขันธ์ ๕ เป็นของดีของวิเศษ ทำลายตัวนี้ได้ เชื้อเกิดจะถูกทำลายไป เมื่อขันธ์ ๕ ไม่ใช่ของดีแล้ว ความอยากให้ขันธ์ ๕ มันสุข ให้มันดี ให้มันสงบ ไม่มีแล้ว รู้ว่ามันไม่ดี ความอยากจะพ้นจากทุกข์ ให้ขันธ์ ๕ พ้นทุกข์ ก็ไม่มี เห็นไหม อยากให้พ้นทุกข์ก็ไม่มีนะ อยากให้สุขก็ไม่มีนะ เพราะรู้แจ้งแล้วว่าทุกข์แน่นอน พอรู้แจ้งอย่างนี้ หมดแรงดิ้น จิตที่หมดแรงดิ้นนี่แหละจะเห็นพระนิพพาน จิตที่ยังดิ้นอยู่ ยังอยากอยู่ นี่มีตัณหาอยู่ ไม่เห็นพระนิพพาน พวกเรามีบุญแล้วนะ ได้ฟังธรรม ฝึกรู้สึกตัวไปบ่อยๆ รู้สึกตัวแล้วอย่ารู้อยู่เฉยๆ ดูรูปดูนาม ดูกายดูใจ ดูขันธ์ ๕ ทำงานเรื่อยไป วันหนึ่งเราก็จะตามพระพุทธเจ้าของเราไปนะ
ผู้สละโลก ผู้เลิศทางธุดงคคุณผู้สละโลกและพระอานนท์พระพุทธอนุชาเป็นผลของของท่านอาจารย์ วศิน อินทสระhttp://www.fungdham.com/book/wasin.ht... ฟังธรรม:ท่านอาจารย์วศิน อินทสระ มหากัสสปะเถระ เป็นประธานปฐมสังคายนา ด้วยความที่ท่านเป็นผู้ยินดีในการอยู่ป่า มักน้อย สันโดษ ประวัติของท่านจึงไม่ค่อยโดดเด่นเป็นที่รู้จักกันมากนัก จวบจนสมัยที่พระบรมศาสดาปรินิพพานได้ ๗ วัน ขณะที่ท่านกำลังเดินทางพร้อมด้วยภิกษุบริวารของท่านเพื่อไปเข้าเฝ้าประบรมศาสดา ได้ทราบข่าวจาก อาชีวกว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าปรินิพพานแล้ว ทำให้ภิกษุทั้งหลายที่เป็นปุถุชนพากันร่ำไห้เสียใจ รำพึงรำพันถึงพระบรมศาสดา รำพึงรำพันถึงพระบรมศาสดา แต่มีภิกษุวัยชรานามว่า สุภัททะ พูดห้ามปรามภิกษุเหล่านั้นมิให้ร้องไห้โดยกล่าว่า “ท่านทั้งหลาย อย่าร้องไห้เสียใจไปเลย พระ พุทธองค์ปรินิพพานเสียได้ก็ดีแล้ว ต่อไปนี้พวกเราพ้นจากอำนาจของพระศาสดาแล้ว จะทำ อะไรก็ย่อมได้ ไม่มีใครมาบังคับว่ากล่าวห้ามปรามพวกเราอีกแล้ว” พระเถระ ได้ฟังคำของพระสุภัททะแล้วเกิดความสังเวชสลดใจว่า “พระพุทธองค์ ปรินิพพานได้เพียง ๗ วัน ยังมีผู้กล่าวจ้วงจาบล่วงเกินพระธรรมวินัยถึงเพียงนี้ ต่อไปภายหน้าก็ คงจะหาผู้เคารพในพระธรรมวินัยได้ยากยิ่ง” ด้วยคำพูดของพระสุภัททะเพียงเท่านี้ หลังจากถวายพระเพลิงพระบรมศพแล้ว ท่านได้ ชักชวนพระเถระผู้เป็นพระอรหันต์ ประชุมกันทำปฐมสังคายนารวบรวมพระธรรมวินัยตั้งไว้ เป็นหมวดหมู่ เป็นตัวแทนองค์พระบรมศาสดาปกครองหมู่สงฆ์ต่อไป สาระสำคัญของปฐมสังคายนา ๑) พระมหากัสสปะเถระ เป็นประธาน มีหน้าที่ซักถามเกี่ยวกับพระธรรมวินัย ๒) พระอุบาลี เป็นผู้ชี้แจงเกี่ยวกับขอบัญญัติพระวินัย ๓) พระอานนท์ เป็นผู้ชี้แจงเกี่ยวกับพระสูตร และพระอภิธรรม ๔) กระทำที่ถ้ำสัตตบรรณคูหา แห่งภูเขาเวภารบรรพต กรุงราชคฤห์ ๕) พระเจ้าอชาตศัตรู เป็นองค์ศาสนูปถัมภ์ ๖) กระทำอยู่ ๗ เดือน จึงสำเร็จ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลายความสำรวมด้วยจักษุเป็นความดี ความสำรวมด้วยหูเป็น ความดี ความสำรวมด้วยจมูกเป็นความดี ความสำรวม ด้วยลิ้นเป็นความดี ความสำรวมด้วยกายเป็นความดี ความ สำรวมด้วยวาจาเป็นความดี ความสำรวมด้วยใจเป็นความดี ความสำรวมในทวารทั้งปวงเป็นความดี ภิกษุผู้สำรวมแล้ว ในทวารทั้งปวง ย่อมพ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้ ผู้ที่สำรวมมือ สำรวมเท้า สำรวมวาจา สำรวมตน ยินดีในอารมณ์ ภายใน มีจิตตั้งมั่น อยู่ผู้เดียว สันโดษ บัณฑิตทั้งหลาย กล่าวผู้นั้นว่าเป็นภิกษุ ภิกษุใดสำรวมปาก มีปกติกล่าว ด้วยปัญญา มีจิตไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมแสดงอรรถและธรรม ภาษิตของภิกษุนั้นไพเราะ ภิกษุผู้มีธรรมเป็นที่มายินดี ยินดี แล้วในธรรม ค้นคว้าธรรม ระลึกถึงธรรม ย่อมไม่ เสื่อมจากสัทธรรม ภิกษุไม่พึงดูหมิ่นลาภของตน ไม่พึง เที่ยวปรารถนาลาภของผู้อื่น เพราะภิกษุปรารถนาลาภของ ผู้อื่นอยู่ ย่อมไม่บรรลุสมาธิ ถ้าว่าภิกษุแม้มีลาภน้อย ก็ย่อมไม่ดูหมิ่นลาภของตนไซร้ เทวดาทั้งหลายย่อมสรรเสริญ ภิกษุนั้น ผู้มีอาชีพบริสุทธิ์ ไม่เกียจคร้าน ผู้ใดไม่มี ความยึดถือในนามรูปว่าของเราโดยประการทั้งปวง และย่อม ไม่เศร้าโศกเพราะนามรูปไม่มีอยู่ ผู้นั้นแลเรากล่าวว่า เป็น ภิกษุ ภิกษุใดมีปกติอยู่ด้วยเมตตา เลื่อมใสแล้วในพระ พุทธศาสนา ภิกษุนั้นพึงบรรลุสันตบทอันเป็นที่ระงับสังขาร เป็นสุข ดูกรภิกษุ เธอจงวิดเรือนี้ เรือที่เธอวิดแล้วจัก ถึงเร็ว เธอตัดราคะและโทสะแล้ว จักถึงนิพพานใน ภายหลัง ภิกษุพึงตัดโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ พึงละอุทธัม ภาคิยสังโยชน์ ๕ พึงเจริญอินทรีย์ ๕ ให้ยิ่ง ภิกษุล่วงธรรม- เป็นเครื่องข้อง ๕ อย่างได้แล้ว เรากล่าวว่า เป็นผู้ข้ามโอฆะ ได้ ดูกรภิกษุ เธอจงเพ่ง และอย่าประมาท จิตของเธอ หมุนไปในกามคุณ เธออย่าเป็นผู้ประมาทกลืนก้อนโลหะ อย่าถูกไฟเผาคร่ำครวญว่านี้ทุกข์ ฌานไม่มีแก่ผู้ไม่มีปัญญา ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่มีฌาน ฌานและปัญญามีอยู่ในผู้ใด ผู้นั้น แลอยู่ในที่ใกล้นิพพาน ความยินดีอันมิใช่ของมนุษย์ย่อม มีแก่ภิกษุผู้เข้าไปสู่เรือนว่าง ผู้มีจิตสงบ ผู้เห็นแจ้งซึ่ง ธรรมโดยชอบ ในกาลใดๆ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นความ เกิดขึ้น และความเสื่อมไปแห่งขันธ์ทั้งหลาย ในกาลนั้นๆ ภิกษุนั้นย่อมได้ปีติและปราโมทย์ ปีติและปราโมทย์นั้น เป็นอมตะของบัณฑิตทั้งหลายผู้รู้แจ้งอยู่ บรรดาธรรมเหล่านั้น ธรรมนี้ คือ ความคุ้มครองอินทรีย์ ความสันโดษ และ ความสำรวมในปาฏิโมกข์ เป็นเบื้องต้นของภิกษุผู้มีปัญญา ในธรรมวินัยนี้ ท่านจงคบกัลยาณมิตร มีอาชีพหมดจด ไม่เกียจคร้าน ภิกษุพึงเป็นผู้ประพฤติปฏิสันถาร พึงเป็นผู้ ฉลาดในอาจาระ เป็นผู้มากด้วยความปราโมทย์ เพราะความ ประพฤติในปฏิสันถาร และความเป็นผู้ฉลาดในอาจาระนั้น จักทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย จงเปลื้องราคะและโทสะเสีย เหมือนมะลิปล่อยดอกที่เหี่ยว แห้งแล้ว ฉะนั้น ภิกษุผู้มีกายสงบ มีวาจาสงบ มีใจสงบ มีใจตั้งมั่นดี มีอามิสในโลกอันคายแล้ว เรากล่าวว่า เป็นผู้ สงบระงับ จงเตือนตนด้วยตนเอง จงสงวนตน ด้วยตนเอง ดูกรภิกษุ เธอนั้นผู้มีตนอันคุ้มครองแล้ว มี สติ จักอยู่เป็นสุข ตนแลเป็นที่พึ่งของตน ตนแลเป็น คติของตน เพราะเหตุนั้น ท่านจงสำรวมตน เหมือน พ่อค้าระวังม้าดีไว้ ฉะนั้น ภิกษุผู้มากด้วยความปราโมทย์ เลื่อมใสแล้วในพุทธศาสนา พึงบรรลุสันตบทอันเป็นที่เข้า ไปสงบแห่งสังขาร เป็นสุข ภิกษุใดแล ยังเป็นหนุ่ม ย่อมเพียรพยายามในพุทธศาสนา ภิกษุนั้นย่อมยังโลกนี้ ให้สว่างไสว เหมือนพระจันทร์พ้นแล้วจากเมฆ ฉะนั้น ฯ
วันจันทร์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2560
ถ้าสติปัญญาเราพอนะ เรารู้เลยจิตมันแส่ส่ายออกทางตาหูจมูกลิ้นกายมีแต่ทุกข์“ทุกข์” ในศาสนาพุทธ พระพุทธเจ้าตรัสถึงสิ่งซึ่งเป็นไปได้ยากหลายอย่าง เช่น การได้เกิดเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์อย่างพวกเรานั้นยาก เกิดมาแล้ว จะได้พบสัตบุรุษคือคนดีคนมีศีลมีธรรมก็เป็นไปได้ยาก พบแล้ว จะมีศรัทธาเข้าใกล้ก็ยาก เข้าใกล้แล้วจะได้ฟังธรรมก็ยาก ได้ฟัง ธรรมแล้วจะปฏิบัติธรรมให้สมควรแก่ธรรมก็ยากขึ้นไปอีก หัดภาวนาใหม่ๆ มันมีความสุขมาก ไม่ได้ทำอะไรก็มีความสุขโชยขึ้นมาแผ่วๆ ความสุขผุดขึ้นมาทั้งวันเลย มีสติทีไรก็มีความสุข ทุกทีเลย ต่อไปพอสติปัญญาแก่กล้าขึ้นมา มันเปลี่ยนนะ ใจไม่ค่อยมีความสุขหวือหวาขึ้นมาอย่างตอนแรกแล้ว มันเริ่มเห็นทุกข์มากขึ้นๆ ยิ่งภาวนายิ่งเห็นทุกข์มากขึ้น เป็นเรื่องแปลก พอเรารู้สึกตัวขึ้นมา จิตตั้งมั่นอยู่กับเนื้อกับตัว ทำไมมีความสุข เพราะว่าเป็นสมถะ สมถะที่มีสมาธิ มีจิตตั้งมั่น จิตใจอยู่กับเนื้อกับตัวก็มีความสุข แต่พอถึงขั้นเดินปัญญา มันเป็นขั้นรู้ทุกข์ ไม่ใช่ขั้นมีความสุข ถ้าเราเดินปัญญา เราเริ่มเห็นทุกข์นานาชนิดหมุนเวียนกันเข้ามา ในกายในใจนี้ตลอดเวลา ไม่ได้เห็นสุขแล้ว แต่จะเห็นทุกข์ โลกนี้เต็มไปด้วยปัญหา คนเต็มไปด้วยความทุกข์ ถ้าคนไม่มีสติปัญญาก็จะแยกไม่ออกว่าปัญหากับความทุกข์เป็น คนละส่วนกัน โลกมันไม่เที่ยง มันเคลื่อนไปเรื่อยๆ ปัญหา ก็เกิดขึ้นตลอดเวลา เช่น สุขภาพ เรารักษาเอาไว้ดีแล้ว ไม่นานก็ ป่วยอีก เพราะมันไม่เที่ยง ทุกข์มีหลายแบบ มีหลายขั้น มีหลายตอน ในทางปริยัติ จําแนกไว้ถึง ๑๐ ประการ แต่สําหรับนักปฏิบัติ เรามาเรียนรู้ทุกข์ บางอย่างก็พอแล้ว ทุกข์หยาบที่สุดเรียกว่า “ทุกขเวทนา” อย่าง เจ็บไข้ได้ป่วย ปวดเมื่อย หนาวไป ร้อนไป หิวข้าวก็ทุกข์นะ มีทุกข์ ทางกาย มีทุกข์ทางใจ เรียกว่า “ทุกขเวทนา” อันนี้เป็นทุกข์ทั่วๆ ไป ใครๆ ก็มี สัตว์ก็มีทุกข์กายทุกข์ใจ ถ้าพวกเราภาวนา เราก็จะเห็นทุกขเวทนาเยอะแยะเลย นั่งอยู่ก็เมื่อย หายใจเข้าก็ทุกข์ หายใจออกก็ทุกข์ ถ้าสติเราเร็วพอ สติปัญญามากพอ ก็จะเห็นเลยว่าที่พยายามหายใจอยู่ตลอดเวลา นี่หายใจไปเพื่อแก้ทุกข์เท่านั้นเอง ที่เปลี่ยนอิริยาบถอยู่ตลอดเวลา ก็เพื่อแก้ทุกข์เท่านั้นเอง หายใจเข้าไปเรื่อยๆ ก็ทุกข์ ต้องหายใจออก แก้ทุกข์ หายใจออกไปเรื่อยๆ ก็ทุกข์ ต้องหายใจเข้า แก้ทุกข์ นั่งนานๆ มันเมื่อยมันทุกข์ ก็ต้องเปลี่ยนอิริยาบถไปขยับซ้าย ขยับขวา หรือลุกขึ้นยืน หรือลุกขึ้นเดิน หรือนั่ง เมื่อยมากก็ ลงนอน เปลี่ยนอิริยาบถเพื่อแก้ทุกข์ ในจิตใจก็เหมือนกัน จิตใจมันมีความทุกข์เกิดขึ้นเรื่อยๆ มันก็ดิ้นรนเที่ยวหาความสุขไปเรื่อย เวลามีความอยากเกิดขึ้นทีไร ก็มีความทุกข์เกิดขึ้นทุกที แต่เราไม่เห็นหรอก เราเห็นว่ามันไม่ สบายใจ พอไม่สบายใจ เราก็เที่ยวหาอารมณ์ที่เพลิดเพลินพอใจ มาป้อนมัน ไปดูหนัง ไปฟังเพลง ไปคุยกับเพื่อน ไปดูโน่นดูนี่ หรือหาหนังสือมาอ่านให้เพลินๆ ไปกินเหล้า เปลี่ยนอารมณ์ไป เรื่อยๆ จริงๆ ก็เพื่อแสวงหาความสุข เพื่อหนีความทุกข์ ใจมันไม่มีความสุขหรอก เฝ้ารู้เฝ้าดูไปนะ ไม่ว่าจะอารมณ์ชนิดไหนมันก็อยู่ได้ ชั่วคราว มันทนอยู่ไม่ได้สักอันเดียว เปลี่ยนอิริยาบถมาอยู่ใน อิริยาบถแบบนี้แล้ว นึกว่าจะอยู่สบายก็ไม่สบาย ทนอยู่ไม่ได้อีก จิตใจก็เหมือนกัน ไปกระทบอารมณ์อย่างนี้นึกว่าจะสบาย ก็สบายแป๊บๆ เดี๋ยวก็ทนอยู่ไม่ได้อีก ทุกสิ่งทุกอย่างเป็นของทนอยู่ ไม่ได้ ภาวะแห่งการทนอยู่ไม่ได้นี่แหละคือทุกข์อีกชนิดหนึ่ง เรียกว่า “ทุกขลักษณะ” ไม่ใช่ทุกขเวทนาแล้ว “ทุกขลักษณะ” หมายถึงว่าสิ่งทั้งหลายนั้นมันทนทาน อยู่ไม่ได้จริง ถ้ามันทนอยู่ได้เรื่อยๆ ไปก็ยิ่งทุกข์หนักนะ เกิดทุกขเวทนาหนักเสียอีก สิ่งทั้งหลายมันเปลี่ยนไปเรื่อย ไม่คงที่ เวลาเราภาวนา มากเข้าๆ ไม่ใช่เห็นแค่ทุกข์ทางร่างกาย เราจะเห็นเลยว่าทุกสิ่ง ทุกอย่างที่เกิดขึ้นในกายในใจนี้เป็นของชั่วคราวทั้งหมดเลย มีขึ้นมา แล้วก็หายไป เช่นนั่งอยู่ รูปนั่งก็ทนอยู่ได้ไม่นาน รูปนั่งมันถูกทุกขเวทนาบีบคั้นแล้วมันมีทุกขลักษณะ คือมันไม่สามารถทนอยู่ได้นานในรูปนั่ง ต้องเปลี่ยนเป็นรูปนอน นอนก็อยู่ได้ไม่นานก็ต้อง เปลี่ยนอีก ความสุขเป็นของทนอยู่ไม่ได้ เกิดขึ้นก็อยู่ได้ไม่นานก็ต้องเปลี่ยน ดังนั้นความสุขก็มีทุกขลักษณะ หมายถึงว่ามันทนอยู่ไม่ได้ นี่สติปัญญาของเราเริ่มแก่กล้าขึ้นมา เห็นกระทั่งสุขเป็นตัวทุกข์ ในชีวิตเต็มไปด้วยของไม่เที่ยง ถ้าใจยอมรับความจริงได้ ว่าทุกอย่างในโลกนี้ไม่เที่ยง ใจก็จะไม่ทุกข์ ปัญหาที่เกิดขึ้น ก็ส่วนปัญหา แต่ใจไม่ทุกข์ ถ้ายอมรับความจริงไม่ได้ว่าโลก มันไม่เที่ยง เกิดปัญหาขึ้นมา ใจจะทุกข์ มันอยู่ที่ว่าใจเรายอมรับได้ หรือยอมรับไม่ได้ ตรงขั้นที่เห็นทุกขเวทนานั่นใครๆ ก็เห็น อันนี้เรื่องธรรมดา เป็นเรื่องโลกๆ ตรงขั้นที่เห็นทุกขลักษณะนี่ขึ้นวิปัสสนากัมมัฏฐานแล้ว ถ้าขึ้นวิปัสสนาจะเห็นไตรลักษณ์ (อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา) ของรูป นาม ถ้ายังไม่เห็นไตรลักษณ์ แม้จะเห็นรูปนามก็ยังไม่ขึ้นวิปัสสนา พอเราเห็นไปเรื่อยๆ ต่อไปการเห็นทุกข์มันจะประณีตขึ้น ตรงที่เห็นทุกขลักษณะนี่สามารถบรรลุธรรมได้แล้ว เป็นโสดาบัน สกิทาคามี อนาคามี บรรลุได้เพราะมันเห็นทุกข์ โลกนี้เต็มไปด้วยปัญหา คนเต็มไปด้วยความทุกข์ ถ้าคนไม่มีสติปัญญาก็จะแยกไม่ออกว่าปัญหากับความทุกข์เป็น คนละส่วนกัน โลกมันไม่เที่ยง มันเคลื่อนไปเรื่อยๆ ปัญหา ก็เกิดขึ้นตลอดเวลา เช่น สุขภาพ เรารักษาเอาไว้ดีแล้ว ไม่นานก็ ป่วยอีก เพราะมันไม่เที่ยง ในชีวิตเต็มไปด้วยของไม่เที่ยง ถ้าใจยอมรับความจริงได้ ว่าทุกอย่างในโลกนี้ไม่เที่ยง ใจก็จะไม่ทุกข์ ปัญหาที่เกิดขึ้น ก็ส่วนปัญหา แต่ใจไม่ทุกข์ ถ้ายอมรับความจริงไม่ได้ว่าโลก มันไม่เที่ยง เกิดปัญหาขึ้นมา ใจจะทุกข์ มันอยู่ที่ว่าใจเรายอมรับได้ หรือยอมรับไม่ได้ เรามาหัดเรียนวิปัสสนากัมมัฏฐานกันก็เพื่อให้เห็นความ จริงของโลก ความจริงของชีวิต ความจริงของกายของใจ ให้เห็นว่า มันเป็นของไม่เที่ยง ถ้าใจยอมรับได้นะกระทั่งกายนี้ใจนี้ยังไม่เที่ยง สิ่งที่เรียกว่าตัวเรายังไม่เที่ยง “ของเรา” มันก็ไม่มีความหมายอะไร ก็แค่เครื่องอาศัย สามีของเรา ภรรยาของเรา ลูกของเรา บ้านของเรา รถของเรา หน้าที่การงานของเรา มี “ของเรา” เยอะเลย ทั้งหมด ก็เป็นแค่เครื่องอาศัย ถ้าฉลาดก็รู้ว่างานหลักของเราจริงๆ ไม่ใช่งานทํานุบํารุงรักษาสิ่งซึ่งไม่คงที่พวกนี้ ทุ่มเทเท่าไร เหนื่อยยากเท่าไร มันก็แปรปรวน ฉะนั้น เรามาฝึกใจของตัวเองให้ยอมรับความจริงให้ได้ ความจริงก็คือทุกสิ่งทุกอย่างนั้นไม่เที่ยงหรอก ทุกสิ่งทุกอย่างแปรปรวนอยู่ตลอดเวลา ไม่คงที่ ให้พาจิตพาใจของเราไปดูความจริงเนืองๆ ดูบ่อยๆ ดูนานๆ พอถึงพระอนาคามี จะเห็นเลยว่ากายนี้ทุกข์ล้วนๆ พวกเรายังไม่เห็น พวกเรายังเห็นว่าร่างกายนี้เป็นทุกข์บ้างเป็นสุขบ้าง จิตใจนี้เป็นทุกข์บ้างเป็นสุขบ้าง พระอนาคามีท่านเห็นกายนี้เป็นทุกข์ล้วนๆ เพราะฉะนั้น ท่านไม่ติดอกติดใจในกาย อะไรที่เรียกว่ากาย ตาหูจมูกลิ้นกาย นี่เรียกว่ากาย เมื่อไม่ ติดใจในตาในหูในจมูกในลิ้นในกาย กระทั่งตายังไม่ติดใจ ก็ไม่ติดใจในรูป ไม่ติดใจในเสียง ในกลิ่น ในรส ในโผฏฐัพพะ (สิ่งที่มากระทบกาย) ไม่ติดอกติดใจในรูปก็ไม่มีความยินดียินร้ายในรูป กามและปฏิฆะ ในรูปก็ไม่มี ไม่ติดใจในเสียงก็ไม่ยินดียินร้ายในเสียง กามและปฏิฆะ ในเสียงก็ไม่มี ฯลฯ ถ้าฉลาดก็รู้ว่างานหลักของเราจริงๆ ไม่ใช่งานทํานุบํารุงรักษาสิ่งซึ่งไม่คงที่พวกนี้ ทุ่มเทเท่าไร เหนื่อยยากเท่าไร มันก็แปรปรวน ฉะนั้น เรามาฝึกใจของตัวเองให้ยอมรับความจริงให้ได้ ความจริงก็คือทุกสิ่งทุกอย่างนั้นไม่เที่ยงหรอก ทุกสิ่งทุกอย่างแปรปรวนอยู่ตลอดเวลา ไม่คงที่ ให้พาจิตพาใจของเราไปดูความจริงเนืองๆ ดูบ่อยๆ ดูนานๆ นี่ภาวนาไปเรื่อยนะ เห็นทุกข์ไปเรื่อย สุดท้ายใจมันเต็มอิ่ม ขึ้นมา มันไม่หิวโหยหาอารมณ์ภายนอกแล้ว อารมณ์ภายนอก เอามันทําไม มันมีแต่ทุกข์ทั้งนั้นเลย ใจไม่หิวไปหาอารมณ์ ภายนอก ไม่แส่ส่าย ไม่ฟุ้งซ่านไปสู่อารมณ์ภายนอก เพราะมีแต่ทุกข์ทั้งนั้นเลย พอใจไม่แส่ส่าย ใจสงบ ใจตั้งมั่น ใจเด่นดวง เป็นผู้รู้ผู้ตื่น ผู้เบิกบานอยู่ ใจก็มีแต่ความสุข เพราะฉะนั้น พระอนาคามีจะเห็น กายเป็นทุกข์ล้วนๆ ไม่ยึดถือกาย แต่ยึดถือจิต ที่จริงเห็นมาตั้งแต่ ขั้นพระโสดาบันแล้วว่า จิตไม่ใช่ตัวเรา รู้ว่าเป็นของยืมโลกมาใช้ แต่ว่ามันนำความสุขมาให้ ติดอกติดใจไม่ยอมคืนโลก แล้วไม่เห็นช่องทางที่จะคืนเลย นี่มาถึงตรงนี้นะ มันคือการปฏิบัติในขั้นแตกหักว่า ทําอย่างไรจะปล่อยวางตัวจิตนี้ได้ ถ้าภาวนามาเรื่อยนะ จนรู้สึกว่าใจมันขาดอะไรอย่างหนึ่ง มันจึงไม่สามารถปล่อยวางจิตได้ ปล่อยไปเดี๋ยวก็หยิบขึ้นมา ไม่ปล่อยจริง ในใจรู้แต่ว่ามันขาด แต่ขาดอะไรไม่รู้นะ ภาวนาไปเรื่อยนะ วันหนึ่งก็เข้าใจ มันขาดความเข้าใจอริยสัจ มันไม่เห็นหรอกว่าตัวจิต เป็นตัวทุกข์ มันเห็นว่าจิตนี้เป็นสุขบ้างเป็นทุกข์บ้าง ถ้าภาวนาดีๆ ก็เห็นจิตมีแต่ความสุข ไม่มีความทุกข์ ไม่สามารถเห็นได้ว่าตัวจิต เป็นตัวทุกข์ เพราะว่าไม่เห็นความเป็นไตรลักษณ์ของจิตผู้รู้ ถ้าเห็นความเป็นไตรลักษณ์ของจิตผู้รู้ถึงจะเข้าใจความจริง ว่าจิตเองก็ตกอยู่ภายใต้ความทุกข์ ตกอยู่ใต้สภาวะที่เป็นตัวทุกข์ การที่เราเห็นอย่างแจ่มแจ้งว่ากายนี้เป็นทุกข์โดยตัวของมันเอง จิตนี้เป็นทุกข์โดยตัวของมันเอง อันนี้เรียกว่ารู้แจ้งใน “ทุกขสัจ” วันใดเห็นว่าจิตเป็นตัวทุกข์นั่นแหละเรียกว่าเรา “รู้ทุกข์” แจ่มแจ้งแล้ว เป็นภาวะที่จะเกิดขึ้นได้ต่อเมื่อเรารู้อริยสัจแจ่มแจ้ง พระพุทธเจ้าทรงสอนเรื่องทุกขสัจเอาไว้ว่า “สังขิตเตนะ ปัฐจุหาทานักขันธา ทุกขา” โดยสรุปอุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ เป็นตัวทุกข์ ขันธ์ทั้ง ๕ ย่อลงมาก็คือรูปกับนาม เราต้องเห็นรูปกับนามเป็น ตัวทุกข์ เราถึงจะปล่อยวางรูปนามได้ ถ้าปล่อยวางรูปนามได้ ก็พ้นทุกข์ได้ เบื้องต้นเราได้ยินว่าเกิดแก่เจ็บตายเป็นทุกข์ เราจะคิดว่า คนเกิด คนแก่ คนเจ็บ คนตาย เป็นทุกข์ พอเราภาวนาประณีตขึ้น เราก็จะรู้สึกว่าไม่ใช่คนเกิด คนแก่ คนเจ็บ คนตาย เป็นทุกข์หรอก ขันธ์ทั้งหลายถ้าเราเข้าไป ยึดมันแล้วจะเป็นทุกข์ จะรู้สึกอย่างนี้ พอได้ยินคําว่า “ว่าโดยย่อ อุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ เป็นทุกข์” ก็คิดว่าถ้ามีอุปาทานในขันธ์ ๕ ก็จะเป็นทุกข์ มีขันธ์ ๕ เฉยๆ ไม่ทุกข์ จะเข้าใจอย่างนี้ แต่ไม่ใช่คนเป็นทุกข์แล้ว ไม่ใช่คนเกิด คนแก่ คนเจ็บ คนตายแล้ว ขันธ์ของเราเกิด ขันธ์ของเราแก่ ขันธ์ ของเราเจ็บ ขันธ์ของเราตาย ถึงจะทุกข์ นี่ความเข้าใจก็เปลี่ยนไป พอภาวนาต่อไปอีก ก็เห็นว่าขันธ์นั่นแหละเป็นตัวทุกข์ จิตจะมีความอยาก จิตจะมีความยึดขันธ์หรือไม่ก็ตาม ขันธ์นั่น แหละเป็นตัวทุกข์ ท่านถึงบอกว่า ว่าโดยย่อ อุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ เป็นตัวทุกข์ การรู้ทุกข์นี่เป็นเรื่องสําคัญที่สุดสําหรับการปฏิบัติ ธรรมในทางพระพุทธศาสนา ไม่ใช่แค่นั่งสมาธิ หวังว่าทําสมาธิ ไปเรื่อยๆ แล้วจะพ้นทุกข์ ไม่มีทางพ้นเลย ทําสมาธิก็ไปสร้างภพภูมิ ที่ละเอียดขึ้นไปอีก นอกจากการรู้ทุกข์แล้ว ไม่มีวิธีอย่างอื่นที่จะเห็นธรรมได้เลย คำว่า อุปาทานขันธ์ ไม่ใช่แปลว่า ขันธ์ที่ถูกยึดมั่น แต่เป็นขันธ์ซึ่งเป็นที่ตั้งของความยึดมั่นได้ คือขันธ์ที่พวกเราทั้งหลายมีกันอยู่นี่แหละ ขันธ์บางอย่างไม่จัดเป็นอุปาทานขันธ์ เช่น โลกุตตรจิต (มรรคจิต, ผลจิต) ทั้งหลายไม่จัดเป็นอุปาทานขันธ์ จึงเอามาทำวิปัสสนาไม่ได้ เพราะไม่ใช่ตัวทุกข์ ขันธ์ทั้งหมดไม่ใช่ตัวทุกข์ เฉพาะขันธ์ที่เรียกว่าอุปาทานขันธ์ คือขันธ์ซึ่งสามารถเอาไปยึดมั่นได้ เป็นที่ตั้งของความยึดมั่นได้เท่านั้นที่เป็นตัวทุกข์ ไม่ใช่ต่อเมื่อยึดมั่นแล้วขันธ์จึงจะกลายเป็นตัวทุกข์ ในความเป็นจริง อุปาทานขันธ์ทั้งหมดเป็นตัวทุกข์ จะยึด หรือไม่ยึด มันก็ทุกข์โดยตัวของมันเองอยู่แล้ว ความเข้าใจจากการปฏิบัตินั้นประณีตมากเลย อ่านๆ เอา นึกว่าเข้าใจ แต่เข้าใจไปคนละเรื่อง ถ้าความรู้ความเข้าใจมีแค่ว่า ถ้ามีความอยากมีความยึด แล้วก็มีความทุกข์ขึ้นมา ไปยึดขันธ์แล้วทุกข์ เราจะมุ่งมาในจุดที่ว่า ทําอย่างไรจะไม่ไปยึดขันธ์ จะหาทางไม่ให้ยึดขันธ์ คนศาสนาอื่นเขาก็หาทางที่จะไม่ให้ยึด อย่างพวกที่ทรมาน ร่างกาย มันรักร่างกายเหรอ ทรมานมันไปเลยจะได้ไม่รักมัน ใจมัน อยากกินก็ทรมานไม่กิน หาเรื่องทรมาน ไม่ตามใจกิเลส พยายาม เข้าไปจัดการกับจิตใจซึ่งมันจะเข้าไปอยาก เข้าไปยึดในรูปในนาม ทั้งหลาย นี่เพราะว่าความเข้าใจในอริยสัจไม่แจ่มแจ้ง ลงท้ายวิธี ปฏิบัติก็คลาดเคลื่อน พอเราคิดว่าถ้าอยากถ้ายึดก็ทุกข์ ก็เลยคิดว่าทําอย่างไร จะหายอยาก อยากกินก็ไม่กิน แกล้งมันซะ ต่อไปจะได้ไม่มี ความอยาก มุ่งไปจัดการที่ตัวความอยาก ถ้าเข้าใจแจ่มแจ้ง ในคําสอนของพระพุทธเจ้า จะรู้เลยว่า ขันธ์นั่นแหละเป็นตัวทุกข์ ไม่ใช่ขันธ์นี้เป็นทุกข์บ้างเป็นสุขบ้าง แต่เป็นตัวทุกข์ล้วนๆ มีแต่ทุกข์มากกับทุกข์น้อย ถ้ารู้ทุกข์แจ่มแจ้งความอยากให้ขันธ์เป็นสุขจะไม่เกิดขึ้น ความอยากให้ขันธ์พ้นทุกข์ก็ไม่เกิดขึ้น อยากให้มีสุขไปทําไม อยากให้โง่หรือ มันไม่มีทางมีความสุขได้เพราะมันเป็นตัวทุกข์ อยากให้มันพ้นทุกข์หรือ อยากให้โง่สิ เพราะถึงอย่างไรมันก็ทุกข์ ไม่มีทางพ้นเลย ความอยากทั้งหลายแหล่มันก็มีอยู่แค่นี้เอง ความอยากที่ ว่ากิเลส ๑,๕๐๐ ตัณหา ๑๐๘ จริงๆ ก็คืออยากให้ขันธ์เป็นสุข อยากให้ขันธ์พ้นทุกข์ ย่อๆ ลงมาก็คือรักสุขเกลียดทุกข์นั่นแหละ พอเข้าใจขันธ์เท่านั้น ความอยากดับเอง ไม่ต้องไปทรมาน กายทรมานใจเพื่อจะดับตัณหา ขอให้รู้ทุกข์แจ่มแจ้งแล้วตัณหา จะดับไปโดยอัตโนมัติเลย ถ้าเราเข้าใจตัวนี้ ความเข้าใจมันจะประณีตมาก จิตมันจะสลัดคืนขันธ์ให้โลกไปเลย พอจิตมันเห็นว่าขันธ์ไม่ใช่ของดีของวิเศษ ขันธ์นี้เป็นทุกข์ล้วนๆ กระทั่งตัวจิตก็เป็นทุกข์ล้วนๆ จิตมันก็อยู่ใน ขันธ์นั่นเอง อยู่ในวิญญาณขันธ์ พอมันปล่อยขันธ์ทิ้งไป ไม่มีอะไรให้ยึดอีก มันก็พ้นจากอุปาทานขันธ์ อุปาทานขันธ์ก็กองอยู่อย่างนั้น กองอยู่กับโลกนั้นเอง ไม่ใช่ต้องไปทําลายล้างมัน มันมีเหตุมันก็เกิด หมดเหตุมันก็ดับ บังคับมันไม่ได้ แต่ใจไม่เข้าไปยึดถือมันแล้ว ที่ใจไม่เข้าไปยึดถือมันก็เพราะรู้ทุกข์แจ่มแจ้ง รู้ว่าขันธ์ทั้งหลาย ทั้งปวงนี้แหละเป็นตัวทุกข์ ฉะนั้น การรู้ทุกข์นี่เป็นเรื่องสําคัญที่สุดสําหรับการปฏิบัติ ธรรมในทางพระพุทธศาสนา ไม่ใช่แค่นั่งสมาธิ หวังว่าทําสมาธิ ไปเรื่อยๆ แล้วจะพ้นทุกข์ ไม่มีทางพ้นเลย ทําสมาธิก็ไปสร้างภพภูมิ ที่ละเอียดขึ้นไปอีก นอกจากการรู้ทุกข์แล้ว ไม่มีวิธีอย่างอื่นที่จะเห็นธรรมได้เลย
ถ้าสติปัญญาเราพอนะ เรารู้เลยจิตมันแส่ส่ายออกทางตาหูจมูกลิ้นกายมีแต่ทุกข์“ทุกข์” ในศาสนาพุทธ พระพุทธเจ้าตรัสถึงสิ่งซึ่งเป็นไปได้ยากหลายอย่าง เช่น การได้เกิดเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์อย่างพวกเรานั้นยาก เกิดมาแล้ว จะได้พบสัตบุรุษคือคนดีคนมีศีลมีธรรมก็เป็นไปได้ยาก พบแล้ว จะมีศรัทธาเข้าใกล้ก็ยาก เข้าใกล้แล้วจะได้ฟังธรรมก็ยาก ได้ฟัง ธรรมแล้วจะปฏิบัติธรรมให้สมควรแก่ธรรมก็ยากขึ้นไปอีก หัดภาวนาใหม่ๆ มันมีความสุขมาก ไม่ได้ทำอะไรก็มีความสุขโชยขึ้นมาแผ่วๆ ความสุขผุดขึ้นมาทั้งวันเลย มีสติทีไรก็มีความสุข ทุกทีเลย ต่อไปพอสติปัญญาแก่กล้าขึ้นมา มันเปลี่ยนนะ ใจไม่ค่อยมีความสุขหวือหวาขึ้นมาอย่างตอนแรกแล้ว มันเริ่มเห็นทุกข์มากขึ้นๆ ยิ่งภาวนายิ่งเห็นทุกข์มากขึ้น เป็นเรื่องแปลก พอเรารู้สึกตัวขึ้นมา จิตตั้งมั่นอยู่กับเนื้อกับตัว ทำไมมีความสุข เพราะว่าเป็นสมถะ สมถะที่มีสมาธิ มีจิตตั้งมั่น จิตใจอยู่กับเนื้อกับตัวก็มีความสุข แต่พอถึงขั้นเดินปัญญา มันเป็นขั้นรู้ทุกข์ ไม่ใช่ขั้นมีความสุข ถ้าเราเดินปัญญา เราเริ่มเห็นทุกข์นานาชนิดหมุนเวียนกันเข้ามา ในกายในใจนี้ตลอดเวลา ไม่ได้เห็นสุขแล้ว แต่จะเห็นทุกข์ โลกนี้เต็มไปด้วยปัญหา คนเต็มไปด้วยความทุกข์ ถ้าคนไม่มีสติปัญญาก็จะแยกไม่ออกว่าปัญหากับความทุกข์เป็น คนละส่วนกัน โลกมันไม่เที่ยง มันเคลื่อนไปเรื่อยๆ ปัญหา ก็เกิดขึ้นตลอดเวลา เช่น สุขภาพ เรารักษาเอาไว้ดีแล้ว ไม่นานก็ ป่วยอีก เพราะมันไม่เที่ยง ทุกข์มีหลายแบบ มีหลายขั้น มีหลายตอน ในทางปริยัติ จําแนกไว้ถึง ๑๐ ประการ แต่สําหรับนักปฏิบัติ เรามาเรียนรู้ทุกข์ บางอย่างก็พอแล้ว ทุกข์หยาบที่สุดเรียกว่า “ทุกขเวทนา” อย่าง เจ็บไข้ได้ป่วย ปวดเมื่อย หนาวไป ร้อนไป หิวข้าวก็ทุกข์นะ มีทุกข์ ทางกาย มีทุกข์ทางใจ เรียกว่า “ทุกขเวทนา” อันนี้เป็นทุกข์ทั่วๆ ไป ใครๆ ก็มี สัตว์ก็มีทุกข์กายทุกข์ใจ ถ้าพวกเราภาวนา เราก็จะเห็นทุกขเวทนาเยอะแยะเลย นั่งอยู่ก็เมื่อย หายใจเข้าก็ทุกข์ หายใจออกก็ทุกข์ ถ้าสติเราเร็วพอ สติปัญญามากพอ ก็จะเห็นเลยว่าที่พยายามหายใจอยู่ตลอดเวลา นี่หายใจไปเพื่อแก้ทุกข์เท่านั้นเอง ที่เปลี่ยนอิริยาบถอยู่ตลอดเวลา ก็เพื่อแก้ทุกข์เท่านั้นเอง หายใจเข้าไปเรื่อยๆ ก็ทุกข์ ต้องหายใจออก แก้ทุกข์ หายใจออกไปเรื่อยๆ ก็ทุกข์ ต้องหายใจเข้า แก้ทุกข์ นั่งนานๆ มันเมื่อยมันทุกข์ ก็ต้องเปลี่ยนอิริยาบถไปขยับซ้าย ขยับขวา หรือลุกขึ้นยืน หรือลุกขึ้นเดิน หรือนั่ง เมื่อยมากก็ ลงนอน เปลี่ยนอิริยาบถเพื่อแก้ทุกข์ ในจิตใจก็เหมือนกัน จิตใจมันมีความทุกข์เกิดขึ้นเรื่อยๆ มันก็ดิ้นรนเที่ยวหาความสุขไปเรื่อย เวลามีความอยากเกิดขึ้นทีไร ก็มีความทุกข์เกิดขึ้นทุกที แต่เราไม่เห็นหรอก เราเห็นว่ามันไม่ สบายใจ พอไม่สบายใจ เราก็เที่ยวหาอารมณ์ที่เพลิดเพลินพอใจ มาป้อนมัน ไปดูหนัง ไปฟังเพลง ไปคุยกับเพื่อน ไปดูโน่นดูนี่ หรือหาหนังสือมาอ่านให้เพลินๆ ไปกินเหล้า เปลี่ยนอารมณ์ไป เรื่อยๆ จริงๆ ก็เพื่อแสวงหาความสุข เพื่อหนีความทุกข์ ใจมันไม่มีความสุขหรอก เฝ้ารู้เฝ้าดูไปนะ ไม่ว่าจะอารมณ์ชนิดไหนมันก็อยู่ได้ ชั่วคราว มันทนอยู่ไม่ได้สักอันเดียว เปลี่ยนอิริยาบถมาอยู่ใน อิริยาบถแบบนี้แล้ว นึกว่าจะอยู่สบายก็ไม่สบาย ทนอยู่ไม่ได้อีก จิตใจก็เหมือนกัน ไปกระทบอารมณ์อย่างนี้นึกว่าจะสบาย ก็สบายแป๊บๆ เดี๋ยวก็ทนอยู่ไม่ได้อีก ทุกสิ่งทุกอย่างเป็นของทนอยู่ ไม่ได้ ภาวะแห่งการทนอยู่ไม่ได้นี่แหละคือทุกข์อีกชนิดหนึ่ง เรียกว่า “ทุกขลักษณะ” ไม่ใช่ทุกขเวทนาแล้ว “ทุกขลักษณะ” หมายถึงว่าสิ่งทั้งหลายนั้นมันทนทาน อยู่ไม่ได้จริง ถ้ามันทนอยู่ได้เรื่อยๆ ไปก็ยิ่งทุกข์หนักนะ เกิดทุกขเวทนาหนักเสียอีก สิ่งทั้งหลายมันเปลี่ยนไปเรื่อย ไม่คงที่ เวลาเราภาวนา มากเข้าๆ ไม่ใช่เห็นแค่ทุกข์ทางร่างกาย เราจะเห็นเลยว่าทุกสิ่ง ทุกอย่างที่เกิดขึ้นในกายในใจนี้เป็นของชั่วคราวทั้งหมดเลย มีขึ้นมา แล้วก็หายไป เช่นนั่งอยู่ รูปนั่งก็ทนอยู่ได้ไม่นาน รูปนั่งมันถูกทุกขเวทนาบีบคั้นแล้วมันมีทุกขลักษณะ คือมันไม่สามารถทนอยู่ได้นานในรูปนั่ง ต้องเปลี่ยนเป็นรูปนอน นอนก็อยู่ได้ไม่นานก็ต้อง เปลี่ยนอีก ความสุขเป็นของทนอยู่ไม่ได้ เกิดขึ้นก็อยู่ได้ไม่นานก็ต้องเปลี่ยน ดังนั้นความสุขก็มีทุกขลักษณะ หมายถึงว่ามันทนอยู่ไม่ได้ นี่สติปัญญาของเราเริ่มแก่กล้าขึ้นมา เห็นกระทั่งสุขเป็นตัวทุกข์ ในชีวิตเต็มไปด้วยของไม่เที่ยง ถ้าใจยอมรับความจริงได้ ว่าทุกอย่างในโลกนี้ไม่เที่ยง ใจก็จะไม่ทุกข์ ปัญหาที่เกิดขึ้น ก็ส่วนปัญหา แต่ใจไม่ทุกข์ ถ้ายอมรับความจริงไม่ได้ว่าโลก มันไม่เที่ยง เกิดปัญหาขึ้นมา ใจจะทุกข์ มันอยู่ที่ว่าใจเรายอมรับได้ หรือยอมรับไม่ได้ ตรงขั้นที่เห็นทุกขเวทนานั่นใครๆ ก็เห็น อันนี้เรื่องธรรมดา เป็นเรื่องโลกๆ ตรงขั้นที่เห็นทุกขลักษณะนี่ขึ้นวิปัสสนากัมมัฏฐานแล้ว ถ้าขึ้นวิปัสสนาจะเห็นไตรลักษณ์ (อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา) ของรูป นาม ถ้ายังไม่เห็นไตรลักษณ์ แม้จะเห็นรูปนามก็ยังไม่ขึ้นวิปัสสนา พอเราเห็นไปเรื่อยๆ ต่อไปการเห็นทุกข์มันจะประณีตขึ้น ตรงที่เห็นทุกขลักษณะนี่สามารถบรรลุธรรมได้แล้ว เป็นโสดาบัน สกิทาคามี อนาคามี บรรลุได้เพราะมันเห็นทุกข์ โลกนี้เต็มไปด้วยปัญหา คนเต็มไปด้วยความทุกข์ ถ้าคนไม่มีสติปัญญาก็จะแยกไม่ออกว่าปัญหากับความทุกข์เป็น คนละส่วนกัน โลกมันไม่เที่ยง มันเคลื่อนไปเรื่อยๆ ปัญหา ก็เกิดขึ้นตลอดเวลา เช่น สุขภาพ เรารักษาเอาไว้ดีแล้ว ไม่นานก็ ป่วยอีก เพราะมันไม่เที่ยง ในชีวิตเต็มไปด้วยของไม่เที่ยง ถ้าใจยอมรับความจริงได้ ว่าทุกอย่างในโลกนี้ไม่เที่ยง ใจก็จะไม่ทุกข์ ปัญหาที่เกิดขึ้น ก็ส่วนปัญหา แต่ใจไม่ทุกข์ ถ้ายอมรับความจริงไม่ได้ว่าโลก มันไม่เที่ยง เกิดปัญหาขึ้นมา ใจจะทุกข์ มันอยู่ที่ว่าใจเรายอมรับได้ หรือยอมรับไม่ได้ เรามาหัดเรียนวิปัสสนากัมมัฏฐานกันก็เพื่อให้เห็นความ จริงของโลก ความจริงของชีวิต ความจริงของกายของใจ ให้เห็นว่า มันเป็นของไม่เที่ยง ถ้าใจยอมรับได้นะกระทั่งกายนี้ใจนี้ยังไม่เที่ยง สิ่งที่เรียกว่าตัวเรายังไม่เที่ยง “ของเรา” มันก็ไม่มีความหมายอะไร ก็แค่เครื่องอาศัย สามีของเรา ภรรยาของเรา ลูกของเรา บ้านของเรา รถของเรา หน้าที่การงานของเรา มี “ของเรา” เยอะเลย ทั้งหมด ก็เป็นแค่เครื่องอาศัย ถ้าฉลาดก็รู้ว่างานหลักของเราจริงๆ ไม่ใช่งานทํานุบํารุงรักษาสิ่งซึ่งไม่คงที่พวกนี้ ทุ่มเทเท่าไร เหนื่อยยากเท่าไร มันก็แปรปรวน ฉะนั้น เรามาฝึกใจของตัวเองให้ยอมรับความจริงให้ได้ ความจริงก็คือทุกสิ่งทุกอย่างนั้นไม่เที่ยงหรอก ทุกสิ่งทุกอย่างแปรปรวนอยู่ตลอดเวลา ไม่คงที่ ให้พาจิตพาใจของเราไปดูความจริงเนืองๆ ดูบ่อยๆ ดูนานๆ พอถึงพระอนาคามี จะเห็นเลยว่ากายนี้ทุกข์ล้วนๆ พวกเรายังไม่เห็น พวกเรายังเห็นว่าร่างกายนี้เป็นทุกข์บ้างเป็นสุขบ้าง จิตใจนี้เป็นทุกข์บ้างเป็นสุขบ้าง พระอนาคามีท่านเห็นกายนี้เป็นทุกข์ล้วนๆ เพราะฉะนั้น ท่านไม่ติดอกติดใจในกาย อะไรที่เรียกว่ากาย ตาหูจมูกลิ้นกาย นี่เรียกว่ากาย เมื่อไม่ ติดใจในตาในหูในจมูกในลิ้นในกาย กระทั่งตายังไม่ติดใจ ก็ไม่ติดใจในรูป ไม่ติดใจในเสียง ในกลิ่น ในรส ในโผฏฐัพพะ (สิ่งที่มากระทบกาย) ไม่ติดอกติดใจในรูปก็ไม่มีความยินดียินร้ายในรูป กามและปฏิฆะ ในรูปก็ไม่มี ไม่ติดใจในเสียงก็ไม่ยินดียินร้ายในเสียง กามและปฏิฆะ ในเสียงก็ไม่มี ฯลฯ ถ้าฉลาดก็รู้ว่างานหลักของเราจริงๆ ไม่ใช่งานทํานุบํารุงรักษาสิ่งซึ่งไม่คงที่พวกนี้ ทุ่มเทเท่าไร เหนื่อยยากเท่าไร มันก็แปรปรวน ฉะนั้น เรามาฝึกใจของตัวเองให้ยอมรับความจริงให้ได้ ความจริงก็คือทุกสิ่งทุกอย่างนั้นไม่เที่ยงหรอก ทุกสิ่งทุกอย่างแปรปรวนอยู่ตลอดเวลา ไม่คงที่ ให้พาจิตพาใจของเราไปดูความจริงเนืองๆ ดูบ่อยๆ ดูนานๆ นี่ภาวนาไปเรื่อยนะ เห็นทุกข์ไปเรื่อย สุดท้ายใจมันเต็มอิ่ม ขึ้นมา มันไม่หิวโหยหาอารมณ์ภายนอกแล้ว อารมณ์ภายนอก เอามันทําไม มันมีแต่ทุกข์ทั้งนั้นเลย ใจไม่หิวไปหาอารมณ์ ภายนอก ไม่แส่ส่าย ไม่ฟุ้งซ่านไปสู่อารมณ์ภายนอก เพราะมีแต่ทุกข์ทั้งนั้นเลย พอใจไม่แส่ส่าย ใจสงบ ใจตั้งมั่น ใจเด่นดวง เป็นผู้รู้ผู้ตื่น ผู้เบิกบานอยู่ ใจก็มีแต่ความสุข เพราะฉะนั้น พระอนาคามีจะเห็น กายเป็นทุกข์ล้วนๆ ไม่ยึดถือกาย แต่ยึดถือจิต ที่จริงเห็นมาตั้งแต่ ขั้นพระโสดาบันแล้วว่า จิตไม่ใช่ตัวเรา รู้ว่าเป็นของยืมโลกมาใช้ แต่ว่ามันนำความสุขมาให้ ติดอกติดใจไม่ยอมคืนโลก แล้วไม่เห็นช่องทางที่จะคืนเลย นี่มาถึงตรงนี้นะ มันคือการปฏิบัติในขั้นแตกหักว่า ทําอย่างไรจะปล่อยวางตัวจิตนี้ได้ ถ้าภาวนามาเรื่อยนะ จนรู้สึกว่าใจมันขาดอะไรอย่างหนึ่ง มันจึงไม่สามารถปล่อยวางจิตได้ ปล่อยไปเดี๋ยวก็หยิบขึ้นมา ไม่ปล่อยจริง ในใจรู้แต่ว่ามันขาด แต่ขาดอะไรไม่รู้นะ ภาวนาไปเรื่อยนะ วันหนึ่งก็เข้าใจ มันขาดความเข้าใจอริยสัจ มันไม่เห็นหรอกว่าตัวจิต เป็นตัวทุกข์ มันเห็นว่าจิตนี้เป็นสุขบ้างเป็นทุกข์บ้าง ถ้าภาวนาดีๆ ก็เห็นจิตมีแต่ความสุข ไม่มีความทุกข์ ไม่สามารถเห็นได้ว่าตัวจิต เป็นตัวทุกข์ เพราะว่าไม่เห็นความเป็นไตรลักษณ์ของจิตผู้รู้ ถ้าเห็นความเป็นไตรลักษณ์ของจิตผู้รู้ถึงจะเข้าใจความจริง ว่าจิตเองก็ตกอยู่ภายใต้ความทุกข์ ตกอยู่ใต้สภาวะที่เป็นตัวทุกข์ การที่เราเห็นอย่างแจ่มแจ้งว่ากายนี้เป็นทุกข์โดยตัวของมันเอง จิตนี้เป็นทุกข์โดยตัวของมันเอง อันนี้เรียกว่ารู้แจ้งใน “ทุกขสัจ” วันใดเห็นว่าจิตเป็นตัวทุกข์นั่นแหละเรียกว่าเรา “รู้ทุกข์” แจ่มแจ้งแล้ว เป็นภาวะที่จะเกิดขึ้นได้ต่อเมื่อเรารู้อริยสัจแจ่มแจ้ง พระพุทธเจ้าทรงสอนเรื่องทุกขสัจเอาไว้ว่า “สังขิตเตนะ ปัฐจุหาทานักขันธา ทุกขา” โดยสรุปอุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ เป็นตัวทุกข์ ขันธ์ทั้ง ๕ ย่อลงมาก็คือรูปกับนาม เราต้องเห็นรูปกับนามเป็น ตัวทุกข์ เราถึงจะปล่อยวางรูปนามได้ ถ้าปล่อยวางรูปนามได้ ก็พ้นทุกข์ได้ เบื้องต้นเราได้ยินว่าเกิดแก่เจ็บตายเป็นทุกข์ เราจะคิดว่า คนเกิด คนแก่ คนเจ็บ คนตาย เป็นทุกข์ พอเราภาวนาประณีตขึ้น เราก็จะรู้สึกว่าไม่ใช่คนเกิด คนแก่ คนเจ็บ คนตาย เป็นทุกข์หรอก ขันธ์ทั้งหลายถ้าเราเข้าไป ยึดมันแล้วจะเป็นทุกข์ จะรู้สึกอย่างนี้ พอได้ยินคําว่า “ว่าโดยย่อ อุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ เป็นทุกข์” ก็คิดว่าถ้ามีอุปาทานในขันธ์ ๕ ก็จะเป็นทุกข์ มีขันธ์ ๕ เฉยๆ ไม่ทุกข์ จะเข้าใจอย่างนี้ แต่ไม่ใช่คนเป็นทุกข์แล้ว ไม่ใช่คนเกิด คนแก่ คนเจ็บ คนตายแล้ว ขันธ์ของเราเกิด ขันธ์ของเราแก่ ขันธ์ ของเราเจ็บ ขันธ์ของเราตาย ถึงจะทุกข์ นี่ความเข้าใจก็เปลี่ยนไป พอภาวนาต่อไปอีก ก็เห็นว่าขันธ์นั่นแหละเป็นตัวทุกข์ จิตจะมีความอยาก จิตจะมีความยึดขันธ์หรือไม่ก็ตาม ขันธ์นั่น แหละเป็นตัวทุกข์ ท่านถึงบอกว่า ว่าโดยย่อ อุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ เป็นตัวทุกข์ การรู้ทุกข์นี่เป็นเรื่องสําคัญที่สุดสําหรับการปฏิบัติ ธรรมในทางพระพุทธศาสนา ไม่ใช่แค่นั่งสมาธิ หวังว่าทําสมาธิ ไปเรื่อยๆ แล้วจะพ้นทุกข์ ไม่มีทางพ้นเลย ทําสมาธิก็ไปสร้างภพภูมิ ที่ละเอียดขึ้นไปอีก นอกจากการรู้ทุกข์แล้ว ไม่มีวิธีอย่างอื่นที่จะเห็นธรรมได้เลย คำว่า อุปาทานขันธ์ ไม่ใช่แปลว่า ขันธ์ที่ถูกยึดมั่น แต่เป็นขันธ์ซึ่งเป็นที่ตั้งของความยึดมั่นได้ คือขันธ์ที่พวกเราทั้งหลายมีกันอยู่นี่แหละ ขันธ์บางอย่างไม่จัดเป็นอุปาทานขันธ์ เช่น โลกุตตรจิต (มรรคจิต, ผลจิต) ทั้งหลายไม่จัดเป็นอุปาทานขันธ์ จึงเอามาทำวิปัสสนาไม่ได้ เพราะไม่ใช่ตัวทุกข์ ขันธ์ทั้งหมดไม่ใช่ตัวทุกข์ เฉพาะขันธ์ที่เรียกว่าอุปาทานขันธ์ คือขันธ์ซึ่งสามารถเอาไปยึดมั่นได้ เป็นที่ตั้งของความยึดมั่นได้เท่านั้นที่เป็นตัวทุกข์ ไม่ใช่ต่อเมื่อยึดมั่นแล้วขันธ์จึงจะกลายเป็นตัวทุกข์ ในความเป็นจริง อุปาทานขันธ์ทั้งหมดเป็นตัวทุกข์ จะยึด หรือไม่ยึด มันก็ทุกข์โดยตัวของมันเองอยู่แล้ว ความเข้าใจจากการปฏิบัตินั้นประณีตมากเลย อ่านๆ เอา นึกว่าเข้าใจ แต่เข้าใจไปคนละเรื่อง ถ้าความรู้ความเข้าใจมีแค่ว่า ถ้ามีความอยากมีความยึด แล้วก็มีความทุกข์ขึ้นมา ไปยึดขันธ์แล้วทุกข์ เราจะมุ่งมาในจุดที่ว่า ทําอย่างไรจะไม่ไปยึดขันธ์ จะหาทางไม่ให้ยึดขันธ์ คนศาสนาอื่นเขาก็หาทางที่จะไม่ให้ยึด อย่างพวกที่ทรมาน ร่างกาย มันรักร่างกายเหรอ ทรมานมันไปเลยจะได้ไม่รักมัน ใจมัน อยากกินก็ทรมานไม่กิน หาเรื่องทรมาน ไม่ตามใจกิเลส พยายาม เข้าไปจัดการกับจิตใจซึ่งมันจะเข้าไปอยาก เข้าไปยึดในรูปในนาม ทั้งหลาย นี่เพราะว่าความเข้าใจในอริยสัจไม่แจ่มแจ้ง ลงท้ายวิธี ปฏิบัติก็คลาดเคลื่อน พอเราคิดว่าถ้าอยากถ้ายึดก็ทุกข์ ก็เลยคิดว่าทําอย่างไร จะหายอยาก อยากกินก็ไม่กิน แกล้งมันซะ ต่อไปจะได้ไม่มี ความอยาก มุ่งไปจัดการที่ตัวความอยาก ถ้าเข้าใจแจ่มแจ้ง ในคําสอนของพระพุทธเจ้า จะรู้เลยว่า ขันธ์นั่นแหละเป็นตัวทุกข์ ไม่ใช่ขันธ์นี้เป็นทุกข์บ้างเป็นสุขบ้าง แต่เป็นตัวทุกข์ล้วนๆ มีแต่ทุกข์มากกับทุกข์น้อย ถ้ารู้ทุกข์แจ่มแจ้งความอยากให้ขันธ์เป็นสุขจะไม่เกิดขึ้น ความอยากให้ขันธ์พ้นทุกข์ก็ไม่เกิดขึ้น อยากให้มีสุขไปทําไม อยากให้โง่หรือ มันไม่มีทางมีความสุขได้เพราะมันเป็นตัวทุกข์ อยากให้มันพ้นทุกข์หรือ อยากให้โง่สิ เพราะถึงอย่างไรมันก็ทุกข์ ไม่มีทางพ้นเลย ความอยากทั้งหลายแหล่มันก็มีอยู่แค่นี้เอง ความอยากที่ ว่ากิเลส ๑,๕๐๐ ตัณหา ๑๐๘ จริงๆ ก็คืออยากให้ขันธ์เป็นสุข อยากให้ขันธ์พ้นทุกข์ ย่อๆ ลงมาก็คือรักสุขเกลียดทุกข์นั่นแหละ พอเข้าใจขันธ์เท่านั้น ความอยากดับเอง ไม่ต้องไปทรมาน กายทรมานใจเพื่อจะดับตัณหา ขอให้รู้ทุกข์แจ่มแจ้งแล้วตัณหา จะดับไปโดยอัตโนมัติเลย ถ้าเราเข้าใจตัวนี้ ความเข้าใจมันจะประณีตมาก จิตมันจะสลัดคืนขันธ์ให้โลกไปเลย พอจิตมันเห็นว่าขันธ์ไม่ใช่ของดีของวิเศษ ขันธ์นี้เป็นทุกข์ล้วนๆ กระทั่งตัวจิตก็เป็นทุกข์ล้วนๆ จิตมันก็อยู่ใน ขันธ์นั่นเอง อยู่ในวิญญาณขันธ์ พอมันปล่อยขันธ์ทิ้งไป ไม่มีอะไรให้ยึดอีก มันก็พ้นจากอุปาทานขันธ์ อุปาทานขันธ์ก็กองอยู่อย่างนั้น กองอยู่กับโลกนั้นเอง ไม่ใช่ต้องไปทําลายล้างมัน มันมีเหตุมันก็เกิด หมดเหตุมันก็ดับ บังคับมันไม่ได้ แต่ใจไม่เข้าไปยึดถือมันแล้ว ที่ใจไม่เข้าไปยึดถือมันก็เพราะรู้ทุกข์แจ่มแจ้ง รู้ว่าขันธ์ทั้งหลาย ทั้งปวงนี้แหละเป็นตัวทุกข์ ฉะนั้น การรู้ทุกข์นี่เป็นเรื่องสําคัญที่สุดสําหรับการปฏิบัติ ธรรมในทางพระพุทธศาสนา ไม่ใช่แค่นั่งสมาธิ หวังว่าทําสมาธิ ไปเรื่อยๆ แล้วจะพ้นทุกข์ ไม่มีทางพ้นเลย ทําสมาธิก็ไปสร้างภพภูมิ ที่ละเอียดขึ้นไปอีก นอกจากการรู้ทุกข์แล้ว ไม่มีวิธีอย่างอื่นที่จะเห็นธรรมได้เลย
ถ้าสติปัญญาเราพอนะ เรารู้เลยจิตมันแส่ส่ายออกทางตาหูจมูกลิ้นกายมีแต่ทุกข์“ทุกข์” ในศาสนาพุทธ พระพุทธเจ้าตรัสถึงสิ่งซึ่งเป็นไปได้ยากหลายอย่าง เช่น การได้เกิดเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์อย่างพวกเรานั้นยาก เกิดมาแล้ว จะได้พบสัตบุรุษคือคนดีคนมีศีลมีธรรมก็เป็นไปได้ยาก พบแล้ว จะมีศรัทธาเข้าใกล้ก็ยาก เข้าใกล้แล้วจะได้ฟังธรรมก็ยาก ได้ฟัง ธรรมแล้วจะปฏิบัติธรรมให้สมควรแก่ธรรมก็ยากขึ้นไปอีก หัดภาวนาใหม่ๆ มันมีความสุขมาก ไม่ได้ทำอะไรก็มีความสุขโชยขึ้นมาแผ่วๆ ความสุขผุดขึ้นมาทั้งวันเลย มีสติทีไรก็มีความสุข ทุกทีเลย ต่อไปพอสติปัญญาแก่กล้าขึ้นมา มันเปลี่ยนนะ ใจไม่ค่อยมีความสุขหวือหวาขึ้นมาอย่างตอนแรกแล้ว มันเริ่มเห็นทุกข์มากขึ้นๆ ยิ่งภาวนายิ่งเห็นทุกข์มากขึ้น เป็นเรื่องแปลก พอเรารู้สึกตัวขึ้นมา จิตตั้งมั่นอยู่กับเนื้อกับตัว ทำไมมีความสุข เพราะว่าเป็นสมถะ สมถะที่มีสมาธิ มีจิตตั้งมั่น จิตใจอยู่กับเนื้อกับตัวก็มีความสุข แต่พอถึงขั้นเดินปัญญา มันเป็นขั้นรู้ทุกข์ ไม่ใช่ขั้นมีความสุข ถ้าเราเดินปัญญา เราเริ่มเห็นทุกข์นานาชนิดหมุนเวียนกันเข้ามา ในกายในใจนี้ตลอดเวลา ไม่ได้เห็นสุขแล้ว แต่จะเห็นทุกข์ โลกนี้เต็มไปด้วยปัญหา คนเต็มไปด้วยความทุกข์ ถ้าคนไม่มีสติปัญญาก็จะแยกไม่ออกว่าปัญหากับความทุกข์เป็น คนละส่วนกัน โลกมันไม่เที่ยง มันเคลื่อนไปเรื่อยๆ ปัญหา ก็เกิดขึ้นตลอดเวลา เช่น สุขภาพ เรารักษาเอาไว้ดีแล้ว ไม่นานก็ ป่วยอีก เพราะมันไม่เที่ยง ทุกข์มีหลายแบบ มีหลายขั้น มีหลายตอน ในทางปริยัติ จําแนกไว้ถึง ๑๐ ประการ แต่สําหรับนักปฏิบัติ เรามาเรียนรู้ทุกข์ บางอย่างก็พอแล้ว ทุกข์หยาบที่สุดเรียกว่า “ทุกขเวทนา” อย่าง เจ็บไข้ได้ป่วย ปวดเมื่อย หนาวไป ร้อนไป หิวข้าวก็ทุกข์นะ มีทุกข์ ทางกาย มีทุกข์ทางใจ เรียกว่า “ทุกขเวทนา” อันนี้เป็นทุกข์ทั่วๆ ไป ใครๆ ก็มี สัตว์ก็มีทุกข์กายทุกข์ใจ ถ้าพวกเราภาวนา เราก็จะเห็นทุกขเวทนาเยอะแยะเลย นั่งอยู่ก็เมื่อย หายใจเข้าก็ทุกข์ หายใจออกก็ทุกข์ ถ้าสติเราเร็วพอ สติปัญญามากพอ ก็จะเห็นเลยว่าที่พยายามหายใจอยู่ตลอดเวลา นี่หายใจไปเพื่อแก้ทุกข์เท่านั้นเอง ที่เปลี่ยนอิริยาบถอยู่ตลอดเวลา ก็เพื่อแก้ทุกข์เท่านั้นเอง หายใจเข้าไปเรื่อยๆ ก็ทุกข์ ต้องหายใจออก แก้ทุกข์ หายใจออกไปเรื่อยๆ ก็ทุกข์ ต้องหายใจเข้า แก้ทุกข์ นั่งนานๆ มันเมื่อยมันทุกข์ ก็ต้องเปลี่ยนอิริยาบถไปขยับซ้าย ขยับขวา หรือลุกขึ้นยืน หรือลุกขึ้นเดิน หรือนั่ง เมื่อยมากก็ ลงนอน เปลี่ยนอิริยาบถเพื่อแก้ทุกข์ ในจิตใจก็เหมือนกัน จิตใจมันมีความทุกข์เกิดขึ้นเรื่อยๆ มันก็ดิ้นรนเที่ยวหาความสุขไปเรื่อย เวลามีความอยากเกิดขึ้นทีไร ก็มีความทุกข์เกิดขึ้นทุกที แต่เราไม่เห็นหรอก เราเห็นว่ามันไม่ สบายใจ พอไม่สบายใจ เราก็เที่ยวหาอารมณ์ที่เพลิดเพลินพอใจ มาป้อนมัน ไปดูหนัง ไปฟังเพลง ไปคุยกับเพื่อน ไปดูโน่นดูนี่ หรือหาหนังสือมาอ่านให้เพลินๆ ไปกินเหล้า เปลี่ยนอารมณ์ไป เรื่อยๆ จริงๆ ก็เพื่อแสวงหาความสุข เพื่อหนีความทุกข์ ใจมันไม่มีความสุขหรอก เฝ้ารู้เฝ้าดูไปนะ ไม่ว่าจะอารมณ์ชนิดไหนมันก็อยู่ได้ ชั่วคราว มันทนอยู่ไม่ได้สักอันเดียว เปลี่ยนอิริยาบถมาอยู่ใน อิริยาบถแบบนี้แล้ว นึกว่าจะอยู่สบายก็ไม่สบาย ทนอยู่ไม่ได้อีก จิตใจก็เหมือนกัน ไปกระทบอารมณ์อย่างนี้นึกว่าจะสบาย ก็สบายแป๊บๆ เดี๋ยวก็ทนอยู่ไม่ได้อีก ทุกสิ่งทุกอย่างเป็นของทนอยู่ ไม่ได้ ภาวะแห่งการทนอยู่ไม่ได้นี่แหละคือทุกข์อีกชนิดหนึ่ง เรียกว่า “ทุกขลักษณะ” ไม่ใช่ทุกขเวทนาแล้ว “ทุกขลักษณะ” หมายถึงว่าสิ่งทั้งหลายนั้นมันทนทาน อยู่ไม่ได้จริง ถ้ามันทนอยู่ได้เรื่อยๆ ไปก็ยิ่งทุกข์หนักนะ เกิดทุกขเวทนาหนักเสียอีก สิ่งทั้งหลายมันเปลี่ยนไปเรื่อย ไม่คงที่ เวลาเราภาวนา มากเข้าๆ ไม่ใช่เห็นแค่ทุกข์ทางร่างกาย เราจะเห็นเลยว่าทุกสิ่ง ทุกอย่างที่เกิดขึ้นในกายในใจนี้เป็นของชั่วคราวทั้งหมดเลย มีขึ้นมา แล้วก็หายไป เช่นนั่งอยู่ รูปนั่งก็ทนอยู่ได้ไม่นาน รูปนั่งมันถูกทุกขเวทนาบีบคั้นแล้วมันมีทุกขลักษณะ คือมันไม่สามารถทนอยู่ได้นานในรูปนั่ง ต้องเปลี่ยนเป็นรูปนอน นอนก็อยู่ได้ไม่นานก็ต้อง เปลี่ยนอีก ความสุขเป็นของทนอยู่ไม่ได้ เกิดขึ้นก็อยู่ได้ไม่นานก็ต้องเปลี่ยน ดังนั้นความสุขก็มีทุกขลักษณะ หมายถึงว่ามันทนอยู่ไม่ได้ นี่สติปัญญาของเราเริ่มแก่กล้าขึ้นมา เห็นกระทั่งสุขเป็นตัวทุกข์ ในชีวิตเต็มไปด้วยของไม่เที่ยง ถ้าใจยอมรับความจริงได้ ว่าทุกอย่างในโลกนี้ไม่เที่ยง ใจก็จะไม่ทุกข์ ปัญหาที่เกิดขึ้น ก็ส่วนปัญหา แต่ใจไม่ทุกข์ ถ้ายอมรับความจริงไม่ได้ว่าโลก มันไม่เที่ยง เกิดปัญหาขึ้นมา ใจจะทุกข์ มันอยู่ที่ว่าใจเรายอมรับได้ หรือยอมรับไม่ได้ ตรงขั้นที่เห็นทุกขเวทนานั่นใครๆ ก็เห็น อันนี้เรื่องธรรมดา เป็นเรื่องโลกๆ ตรงขั้นที่เห็นทุกขลักษณะนี่ขึ้นวิปัสสนากัมมัฏฐานแล้ว ถ้าขึ้นวิปัสสนาจะเห็นไตรลักษณ์ (อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา) ของรูป นาม ถ้ายังไม่เห็นไตรลักษณ์ แม้จะเห็นรูปนามก็ยังไม่ขึ้นวิปัสสนา พอเราเห็นไปเรื่อยๆ ต่อไปการเห็นทุกข์มันจะประณีตขึ้น ตรงที่เห็นทุกขลักษณะนี่สามารถบรรลุธรรมได้แล้ว เป็นโสดาบัน สกิทาคามี อนาคามี บรรลุได้เพราะมันเห็นทุกข์ โลกนี้เต็มไปด้วยปัญหา คนเต็มไปด้วยความทุกข์ ถ้าคนไม่มีสติปัญญาก็จะแยกไม่ออกว่าปัญหากับความทุกข์เป็น คนละส่วนกัน โลกมันไม่เที่ยง มันเคลื่อนไปเรื่อยๆ ปัญหา ก็เกิดขึ้นตลอดเวลา เช่น สุขภาพ เรารักษาเอาไว้ดีแล้ว ไม่นานก็ ป่วยอีก เพราะมันไม่เที่ยง ในชีวิตเต็มไปด้วยของไม่เที่ยง ถ้าใจยอมรับความจริงได้ ว่าทุกอย่างในโลกนี้ไม่เที่ยง ใจก็จะไม่ทุกข์ ปัญหาที่เกิดขึ้น ก็ส่วนปัญหา แต่ใจไม่ทุกข์ ถ้ายอมรับความจริงไม่ได้ว่าโลก มันไม่เที่ยง เกิดปัญหาขึ้นมา ใจจะทุกข์ มันอยู่ที่ว่าใจเรายอมรับได้ หรือยอมรับไม่ได้ เรามาหัดเรียนวิปัสสนากัมมัฏฐานกันก็เพื่อให้เห็นความ จริงของโลก ความจริงของชีวิต ความจริงของกายของใจ ให้เห็นว่า มันเป็นของไม่เที่ยง ถ้าใจยอมรับได้นะกระทั่งกายนี้ใจนี้ยังไม่เที่ยง สิ่งที่เรียกว่าตัวเรายังไม่เที่ยง “ของเรา” มันก็ไม่มีความหมายอะไร ก็แค่เครื่องอาศัย สามีของเรา ภรรยาของเรา ลูกของเรา บ้านของเรา รถของเรา หน้าที่การงานของเรา มี “ของเรา” เยอะเลย ทั้งหมด ก็เป็นแค่เครื่องอาศัย ถ้าฉลาดก็รู้ว่างานหลักของเราจริงๆ ไม่ใช่งานทํานุบํารุงรักษาสิ่งซึ่งไม่คงที่พวกนี้ ทุ่มเทเท่าไร เหนื่อยยากเท่าไร มันก็แปรปรวน ฉะนั้น เรามาฝึกใจของตัวเองให้ยอมรับความจริงให้ได้ ความจริงก็คือทุกสิ่งทุกอย่างนั้นไม่เที่ยงหรอก ทุกสิ่งทุกอย่างแปรปรวนอยู่ตลอดเวลา ไม่คงที่ ให้พาจิตพาใจของเราไปดูความจริงเนืองๆ ดูบ่อยๆ ดูนานๆ พอถึงพระอนาคามี จะเห็นเลยว่ากายนี้ทุกข์ล้วนๆ พวกเรายังไม่เห็น พวกเรายังเห็นว่าร่างกายนี้เป็นทุกข์บ้างเป็นสุขบ้าง จิตใจนี้เป็นทุกข์บ้างเป็นสุขบ้าง พระอนาคามีท่านเห็นกายนี้เป็นทุกข์ล้วนๆ เพราะฉะนั้น ท่านไม่ติดอกติดใจในกาย อะไรที่เรียกว่ากาย ตาหูจมูกลิ้นกาย นี่เรียกว่ากาย เมื่อไม่ ติดใจในตาในหูในจมูกในลิ้นในกาย กระทั่งตายังไม่ติดใจ ก็ไม่ติดใจในรูป ไม่ติดใจในเสียง ในกลิ่น ในรส ในโผฏฐัพพะ (สิ่งที่มากระทบกาย) ไม่ติดอกติดใจในรูปก็ไม่มีความยินดียินร้ายในรูป กามและปฏิฆะ ในรูปก็ไม่มี ไม่ติดใจในเสียงก็ไม่ยินดียินร้ายในเสียง กามและปฏิฆะ ในเสียงก็ไม่มี ฯลฯ ถ้าฉลาดก็รู้ว่างานหลักของเราจริงๆ ไม่ใช่งานทํานุบํารุงรักษาสิ่งซึ่งไม่คงที่พวกนี้ ทุ่มเทเท่าไร เหนื่อยยากเท่าไร มันก็แปรปรวน ฉะนั้น เรามาฝึกใจของตัวเองให้ยอมรับความจริงให้ได้ ความจริงก็คือทุกสิ่งทุกอย่างนั้นไม่เที่ยงหรอก ทุกสิ่งทุกอย่างแปรปรวนอยู่ตลอดเวลา ไม่คงที่ ให้พาจิตพาใจของเราไปดูความจริงเนืองๆ ดูบ่อยๆ ดูนานๆ นี่ภาวนาไปเรื่อยนะ เห็นทุกข์ไปเรื่อย สุดท้ายใจมันเต็มอิ่ม ขึ้นมา มันไม่หิวโหยหาอารมณ์ภายนอกแล้ว อารมณ์ภายนอก เอามันทําไม มันมีแต่ทุกข์ทั้งนั้นเลย ใจไม่หิวไปหาอารมณ์ ภายนอก ไม่แส่ส่าย ไม่ฟุ้งซ่านไปสู่อารมณ์ภายนอก เพราะมีแต่ทุกข์ทั้งนั้นเลย พอใจไม่แส่ส่าย ใจสงบ ใจตั้งมั่น ใจเด่นดวง เป็นผู้รู้ผู้ตื่น ผู้เบิกบานอยู่ ใจก็มีแต่ความสุข เพราะฉะนั้น พระอนาคามีจะเห็น กายเป็นทุกข์ล้วนๆ ไม่ยึดถือกาย แต่ยึดถือจิต ที่จริงเห็นมาตั้งแต่ ขั้นพระโสดาบันแล้วว่า จิตไม่ใช่ตัวเรา รู้ว่าเป็นของยืมโลกมาใช้ แต่ว่ามันนำความสุขมาให้ ติดอกติดใจไม่ยอมคืนโลก แล้วไม่เห็นช่องทางที่จะคืนเลย นี่มาถึงตรงนี้นะ มันคือการปฏิบัติในขั้นแตกหักว่า ทําอย่างไรจะปล่อยวางตัวจิตนี้ได้ ถ้าภาวนามาเรื่อยนะ จนรู้สึกว่าใจมันขาดอะไรอย่างหนึ่ง มันจึงไม่สามารถปล่อยวางจิตได้ ปล่อยไปเดี๋ยวก็หยิบขึ้นมา ไม่ปล่อยจริง ในใจรู้แต่ว่ามันขาด แต่ขาดอะไรไม่รู้นะ ภาวนาไปเรื่อยนะ วันหนึ่งก็เข้าใจ มันขาดความเข้าใจอริยสัจ มันไม่เห็นหรอกว่าตัวจิต เป็นตัวทุกข์ มันเห็นว่าจิตนี้เป็นสุขบ้างเป็นทุกข์บ้าง ถ้าภาวนาดีๆ ก็เห็นจิตมีแต่ความสุข ไม่มีความทุกข์ ไม่สามารถเห็นได้ว่าตัวจิต เป็นตัวทุกข์ เพราะว่าไม่เห็นความเป็นไตรลักษณ์ของจิตผู้รู้ ถ้าเห็นความเป็นไตรลักษณ์ของจิตผู้รู้ถึงจะเข้าใจความจริง ว่าจิตเองก็ตกอยู่ภายใต้ความทุกข์ ตกอยู่ใต้สภาวะที่เป็นตัวทุกข์ การที่เราเห็นอย่างแจ่มแจ้งว่ากายนี้เป็นทุกข์โดยตัวของมันเอง จิตนี้เป็นทุกข์โดยตัวของมันเอง อันนี้เรียกว่ารู้แจ้งใน “ทุกขสัจ” วันใดเห็นว่าจิตเป็นตัวทุกข์นั่นแหละเรียกว่าเรา “รู้ทุกข์” แจ่มแจ้งแล้ว เป็นภาวะที่จะเกิดขึ้นได้ต่อเมื่อเรารู้อริยสัจแจ่มแจ้ง พระพุทธเจ้าทรงสอนเรื่องทุกขสัจเอาไว้ว่า “สังขิตเตนะ ปัฐจุหาทานักขันธา ทุกขา” โดยสรุปอุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ เป็นตัวทุกข์ ขันธ์ทั้ง ๕ ย่อลงมาก็คือรูปกับนาม เราต้องเห็นรูปกับนามเป็น ตัวทุกข์ เราถึงจะปล่อยวางรูปนามได้ ถ้าปล่อยวางรูปนามได้ ก็พ้นทุกข์ได้ เบื้องต้นเราได้ยินว่าเกิดแก่เจ็บตายเป็นทุกข์ เราจะคิดว่า คนเกิด คนแก่ คนเจ็บ คนตาย เป็นทุกข์ พอเราภาวนาประณีตขึ้น เราก็จะรู้สึกว่าไม่ใช่คนเกิด คนแก่ คนเจ็บ คนตาย เป็นทุกข์หรอก ขันธ์ทั้งหลายถ้าเราเข้าไป ยึดมันแล้วจะเป็นทุกข์ จะรู้สึกอย่างนี้ พอได้ยินคําว่า “ว่าโดยย่อ อุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ เป็นทุกข์” ก็คิดว่าถ้ามีอุปาทานในขันธ์ ๕ ก็จะเป็นทุกข์ มีขันธ์ ๕ เฉยๆ ไม่ทุกข์ จะเข้าใจอย่างนี้ แต่ไม่ใช่คนเป็นทุกข์แล้ว ไม่ใช่คนเกิด คนแก่ คนเจ็บ คนตายแล้ว ขันธ์ของเราเกิด ขันธ์ของเราแก่ ขันธ์ ของเราเจ็บ ขันธ์ของเราตาย ถึงจะทุกข์ นี่ความเข้าใจก็เปลี่ยนไป พอภาวนาต่อไปอีก ก็เห็นว่าขันธ์นั่นแหละเป็นตัวทุกข์ จิตจะมีความอยาก จิตจะมีความยึดขันธ์หรือไม่ก็ตาม ขันธ์นั่น แหละเป็นตัวทุกข์ ท่านถึงบอกว่า ว่าโดยย่อ อุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ เป็นตัวทุกข์ การรู้ทุกข์นี่เป็นเรื่องสําคัญที่สุดสําหรับการปฏิบัติ ธรรมในทางพระพุทธศาสนา ไม่ใช่แค่นั่งสมาธิ หวังว่าทําสมาธิ ไปเรื่อยๆ แล้วจะพ้นทุกข์ ไม่มีทางพ้นเลย ทําสมาธิก็ไปสร้างภพภูมิ ที่ละเอียดขึ้นไปอีก นอกจากการรู้ทุกข์แล้ว ไม่มีวิธีอย่างอื่นที่จะเห็นธรรมได้เลย คำว่า อุปาทานขันธ์ ไม่ใช่แปลว่า ขันธ์ที่ถูกยึดมั่น แต่เป็นขันธ์ซึ่งเป็นที่ตั้งของความยึดมั่นได้ คือขันธ์ที่พวกเราทั้งหลายมีกันอยู่นี่แหละ ขันธ์บางอย่างไม่จัดเป็นอุปาทานขันธ์ เช่น โลกุตตรจิต (มรรคจิต, ผลจิต) ทั้งหลายไม่จัดเป็นอุปาทานขันธ์ จึงเอามาทำวิปัสสนาไม่ได้ เพราะไม่ใช่ตัวทุกข์ ขันธ์ทั้งหมดไม่ใช่ตัวทุกข์ เฉพาะขันธ์ที่เรียกว่าอุปาทานขันธ์ คือขันธ์ซึ่งสามารถเอาไปยึดมั่นได้ เป็นที่ตั้งของความยึดมั่นได้เท่านั้นที่เป็นตัวทุกข์ ไม่ใช่ต่อเมื่อยึดมั่นแล้วขันธ์จึงจะกลายเป็นตัวทุกข์ ในความเป็นจริง อุปาทานขันธ์ทั้งหมดเป็นตัวทุกข์ จะยึด หรือไม่ยึด มันก็ทุกข์โดยตัวของมันเองอยู่แล้ว ความเข้าใจจากการปฏิบัตินั้นประณีตมากเลย อ่านๆ เอา นึกว่าเข้าใจ แต่เข้าใจไปคนละเรื่อง ถ้าความรู้ความเข้าใจมีแค่ว่า ถ้ามีความอยากมีความยึด แล้วก็มีความทุกข์ขึ้นมา ไปยึดขันธ์แล้วทุกข์ เราจะมุ่งมาในจุดที่ว่า ทําอย่างไรจะไม่ไปยึดขันธ์ จะหาทางไม่ให้ยึดขันธ์ คนศาสนาอื่นเขาก็หาทางที่จะไม่ให้ยึด อย่างพวกที่ทรมาน ร่างกาย มันรักร่างกายเหรอ ทรมานมันไปเลยจะได้ไม่รักมัน ใจมัน อยากกินก็ทรมานไม่กิน หาเรื่องทรมาน ไม่ตามใจกิเลส พยายาม เข้าไปจัดการกับจิตใจซึ่งมันจะเข้าไปอยาก เข้าไปยึดในรูปในนาม ทั้งหลาย นี่เพราะว่าความเข้าใจในอริยสัจไม่แจ่มแจ้ง ลงท้ายวิธี ปฏิบัติก็คลาดเคลื่อน พอเราคิดว่าถ้าอยากถ้ายึดก็ทุกข์ ก็เลยคิดว่าทําอย่างไร จะหายอยาก อยากกินก็ไม่กิน แกล้งมันซะ ต่อไปจะได้ไม่มี ความอยาก มุ่งไปจัดการที่ตัวความอยาก ถ้าเข้าใจแจ่มแจ้ง ในคําสอนของพระพุทธเจ้า จะรู้เลยว่า ขันธ์นั่นแหละเป็นตัวทุกข์ ไม่ใช่ขันธ์นี้เป็นทุกข์บ้างเป็นสุขบ้าง แต่เป็นตัวทุกข์ล้วนๆ มีแต่ทุกข์มากกับทุกข์น้อย ถ้ารู้ทุกข์แจ่มแจ้งความอยากให้ขันธ์เป็นสุขจะไม่เกิดขึ้น ความอยากให้ขันธ์พ้นทุกข์ก็ไม่เกิดขึ้น อยากให้มีสุขไปทําไม อยากให้โง่หรือ มันไม่มีทางมีความสุขได้เพราะมันเป็นตัวทุกข์ อยากให้มันพ้นทุกข์หรือ อยากให้โง่สิ เพราะถึงอย่างไรมันก็ทุกข์ ไม่มีทางพ้นเลย ความอยากทั้งหลายแหล่มันก็มีอยู่แค่นี้เอง ความอยากที่ ว่ากิเลส ๑,๕๐๐ ตัณหา ๑๐๘ จริงๆ ก็คืออยากให้ขันธ์เป็นสุข อยากให้ขันธ์พ้นทุกข์ ย่อๆ ลงมาก็คือรักสุขเกลียดทุกข์นั่นแหละ พอเข้าใจขันธ์เท่านั้น ความอยากดับเอง ไม่ต้องไปทรมาน กายทรมานใจเพื่อจะดับตัณหา ขอให้รู้ทุกข์แจ่มแจ้งแล้วตัณหา จะดับไปโดยอัตโนมัติเลย ถ้าเราเข้าใจตัวนี้ ความเข้าใจมันจะประณีตมาก จิตมันจะสลัดคืนขันธ์ให้โลกไปเลย พอจิตมันเห็นว่าขันธ์ไม่ใช่ของดีของวิเศษ ขันธ์นี้เป็นทุกข์ล้วนๆ กระทั่งตัวจิตก็เป็นทุกข์ล้วนๆ จิตมันก็อยู่ใน ขันธ์นั่นเอง อยู่ในวิญญาณขันธ์ พอมันปล่อยขันธ์ทิ้งไป ไม่มีอะไรให้ยึดอีก มันก็พ้นจากอุปาทานขันธ์ อุปาทานขันธ์ก็กองอยู่อย่างนั้น กองอยู่กับโลกนั้นเอง ไม่ใช่ต้องไปทําลายล้างมัน มันมีเหตุมันก็เกิด หมดเหตุมันก็ดับ บังคับมันไม่ได้ แต่ใจไม่เข้าไปยึดถือมันแล้ว ที่ใจไม่เข้าไปยึดถือมันก็เพราะรู้ทุกข์แจ่มแจ้ง รู้ว่าขันธ์ทั้งหลาย ทั้งปวงนี้แหละเป็นตัวทุกข์ ฉะนั้น การรู้ทุกข์นี่เป็นเรื่องสําคัญที่สุดสําหรับการปฏิบัติ ธรรมในทางพระพุทธศาสนา ไม่ใช่แค่นั่งสมาธิ หวังว่าทําสมาธิ ไปเรื่อยๆ แล้วจะพ้นทุกข์ ไม่มีทางพ้นเลย ทําสมาธิก็ไปสร้างภพภูมิ ที่ละเอียดขึ้นไปอีก นอกจากการรู้ทุกข์แล้ว ไม่มีวิธีอย่างอื่นที่จะเห็นธรรมได้เลย
รสแห่งธรรมพระพุทธเจ้าท่านเคยเทียบ บอกว่าจิตของเราเนี่ย ที่แสวงหาความหลุดพ้นเนี่ยนะ เหมือนท่อนไม้ลอยอยู่ในแม่น้ำคงคา ท่านไม่ยกว่าเป็นแม่น้ำเจ้าพระยานะ ท่านยกแม่น้ำคงคา บอกว่า ท่านชี้ให้พระดูท่อนไม้ลอยน้ำ ท่านบอกว่าไม้ท่อนนี้นะ ถ้ามันลอยไปเรื่อยๆ มันไม่ไปติดฝั่งซ้าย ไม่ไปติดฝั่งขวา ไม่ไปเกยตื้น ไม่ไปติดเกาะอะไรอย่างนี้นะ ไม่ไปถูกมนุษย์จับไว้ ไม่ถูกอมนุษย์จับไว้ ไม่ถูกเกลียวน้ำวน ไม่เน่าใน ไม่ผุพังเสียเอง ถึงวันหนึ่งมันจะไปสู่ทะเล จิตซึ่งมีสัมมาทิฎฐิ สิ่งที่พวกเราเรียนจากหลวงพ่อคือตัวสัมมาทิฎฐินั่นเอง จิตซึ่งมีสัมมาทิฎฐิรู้ทิศทางว่าเราจะทำอะไรเพื่ออะไรจะทำอย่างไร ระหว่างทำไม่หลงไม่เผลอ จิตมันมีสัมมาทิฎฐิอยู่อย่างนี้ ระดับเบื้องต้นซึ่งเรียกว่า “สัมปชัญญะ” รู้ทิศทาง รู้แนวทาง จิตที่มีสัมมาทิฎฐินั้นนะ มีแนวโน้ม น้อมโน้ม โน้มเอียง ลาดลุ่ม ไปสู่นิพพาน เหมือนท่อนไม้นี้ไหลตามน้ำไปเรื่อยๆ ถ้าไม่ไปติดฝั่งซ้ายฝั่งขวา เกยตื้น ไม่ถูกมนุษย์ อมนุษย์ จับไว้ ไม่เน่าใน ไม่ถูกน้ำวนดูดไปนะ ไม้ท่อนนี้ต้องไปถึงทะเล จิตซึ่งมีสัมมาทิฎฐิ จิตของเรานี้ไม่ต้องไปทำอะไรมัน อย่าไปเกยอยู่ที่ไหนก็แล้วกัน มันจะไหลไปสู่นิพพานเอง จะไหลไปสู่มรรคผลนิพพานเอง เพราะฉะนั้นไม่ใช่ต้องทำอะไร แต่อย่ามัวไปเกยตื้นอยู่ที่ไหนซะล่ะ คำว่าติดฝั่งซ้าย ติดฝั่งขวา ก็คือไปหลงในสิ่งที่เป็นคู่ๆ เช่นอายตนะภายในภายนอกนี่คู่หนึ่ง ตัวอย่างนะ ไปติดในความสุข หรือไปติดในความทุกข์ ติดในความทุกข์ก็คือเกลียดทุกข์ รักสุขเกลียดทุกข์อะไรอย่างนี้ ใจก็ยังดิ้นอีก เนี่ยติดในสิ่งที่เป็นคู่ๆ ติดความดี ความเลว เจออะไรเลวๆแล้วทนไม่ได้ ทุรนทุราย อยากจะให้โลกนี้ดี สวยงามอย่างเดียว อะไรอย่างนี้ จิตก็วุ่นวายติดในสิ่งที่เป็นคู่ๆ ไปเกยตื้น ก็คือไปติดในผลประโยชน์ทั้งหลาย ถ้าเป็นพระก็เรียกว่าไปติดลาภสักการะ ติดครอบครัวโน้น ตระกูลนี้ อะไรอย่างนี้ ไปถูกมนุษย์จับไว้ อย่างพวกเรา คุณสุเมธ ถูกมนุษย์จับไว้ ถูกมนุษย์เป็นร้อยๆเลยนะ คุณสุเมธก็ห่วง มาหรือยัง มาหรือยัง กลัวเขาไม่ดี นี่เรียกว่าถูกมนุษย์จับไว้ ถูกอมนุษย์จับไว้ เช่น อยากดัง อยากมีชื่อเสียง อยากเด่น นี่ถูกอมนุษย์จับไว้ หรือติดใน อยากขึ้นสวรรค์นะ ไปเป็นเทวดาเป็นพรหมอะไรอย่างนี้ นี่เรียกว่าถูกอมนุษย์จับไว้ ไปหลงลาภสักการะ นี่ก็ไปเกยตื้นไว้ ถูกอมนุษย์จับก็หลงชื่อเสียง เป็นอาจารย์กรรมฐานดัง หลงอย่างนี้เสร็จเลยนะ ไปนิพพานไม่ได้ ถูกน้ำวนก็คือหลงอยู่ในกาม วันๆคิดแต่จะหาความสุขทางตา หู จมูก ลิ้น กาย หรือความเพลิดเพลินทางใจ นี่เรียกว่ากามทั้งหมดเลย ตา หู จมูก ลิ้น กาย เรียกว่ากามคุณ ทางใจเรียกว่ากามธรรม เช่นเราคิดเพลิดเพลินไปในกาม นี่คิดเอาเอง ก็เป็นกามเหมือนกัน บางคนก็ชอบคิดใช่มั้ย ฝันๆ แหมมีความสุข คิดไปในอดีต แก่หน่อยก็คิดไปในอดีตใช่มั้ย เด็กๆก็ฝันไปในอนาคต อะไรอย่างนี้ นี่ก็หลงๆไปนะ พวกเน่าในคือพวกทุศีล พวกไม่มีศีล ๕ ศีล ๕ จำเป็น อย่าดูถูกเด็ดขาดนะ ศีล ๕ จำเป็นที่สุดเลย ขาดศีล ๕ อย่าพูดเรื่องมรรคผลนิพพานเลย ศีล ๕ จำเป็นมาก แต่ถ้าทำผิดศีลไปแล้วอย่ากังวล ตั้งใจระวังรักษาเอาใหม่ อย่าให้การทำบาปอกุศลที่ทำไปแล้ว มากดถ่วง ทำให้เราพัฒนาตัวเองต่อไปไม่ได้ เพราะเรา สมมุติว่าเราทำผิดศีลอะไรมาอย่างนี้ ยังไงก็ไม่มากเท่าที่พระองคุลีมาลเคยทำใช่มั้ย เราฆ่าคนไม่ได้พันคนหรอก ทำไมท่านไปได้ ใช่มั้ย เพราะฉะนั้นถ้าเราผิดศีลแล้วเรา ก็อย่าทำอีก นะ อย่าให้กังวลใจ ถ้าหากจิตใจเราไม่ได้ติดในสิ่งเหล่านี้ ที่กล่าวมานี้นะ ๗ ประการ ไปนับเอาเองก็แล้วกัน เจ็ดประการนี้ถ้าเราไม่ติดนะ แล้วเรามีสัมมาทิฎฐิ เรารู้แล้วว่าการปฏิบัตินี่เราต้องรู้กายรู้ใจตัวเอง ด้วยจิตที่เป็นกลาง รู้ลงปัจจุบัน รู้แล้วไม่ไปแทรกแซง รู้จนเห็นความจริงของเขา ว่าเขาไม่เที่ยง เขาเป็นทุกข์ เขาเป็นอนัตตา รู้จนไม่ยึดถืออะไร นี่ถ้าเรารู้ มีสัมมาทิฎฐิอย่างนี้นะ แล้วเราไม่ไปติด ๗ ข้อนั้นนะ ยังไงก็นิพพาน นี่ไม่ใช่หลวงพ่อพูดเองนะ พระพุทธเจ้าสอนอย่างนี้ เราก็สำรวจตัวเองนะ เราไปติดอะไรบ้าง ติดฝั่งซ้าย ติดฝั่งขวามั้ย ไปเกยตื้นมั้ย ไปเกยตื้นยกตัวอย่าง บางคนภาวนา พวกที่ติดสมถะนั้นแหละ พวกเกยตื้น วันๆก็ไปสร้างภพที่ละเอียด ปราณีต ว่างๆ ทำให้ดูก็ได้… เนี่ย แล้วก็ไปอยู่ในความว่าง เหมือนอยู่คนละโลกกัน นะ เห็นมั้ย เสียงยังเปลี่ยนเลย… อย่างนี้เกยตื้น กี่ปีกี่ชาติก็อยู่ตรงนี้แหละ นะ ใ้ช้ไม่ได้ ไปดูเอานะ แล้วสำรวจตัวเอง ที่พวกเราได้จากหลวงพ่อกับได้จากพรรคพวกรุ่นพี่ ต้องเรียกว่ารุ่นพี่นะ เขาเป็นซือเฮีย ซือเจ๊ ใช่มั้ย ถึงเราอายุ ๕๙ แล้ว เด็กๆพวกนี้ก็ยังเป็นซือเฮีย ซือเจ๊ เนี่ย อาศัยการได้ฟังธรรมนะ เรารู้ว่าเราจะทำอะไร ทำเพื่ออะไร จะทำอย่างไรแล้ว แล้วก็รู้ไปเรื่อย ปฏิบัติไปเรื่อย นะ อย่าไปเกยตื้น อย่าไปติดอะไรอยู่ที่ไหนซะ สำรวจตัวเองเป็นระยะๆ การสำรวจตัวเองว่าไปติดไปข้องอะไรใน ๗ ประการนั้นไว้ ก็เรียกว่าโยนิโสมนสิการ สำรวจตัวเองไปเรื่อย เรื่อย เรื่อย ในที่สุดใจนี้ก็จะไหลไปถึงมหาสมุทร ใจนี้แหละจะบรรลุพระนิพพานโดยตัวของเขาเอง ไม่ใช่เราไปเสือกไสไม้นี้ไปสู่มหาสมุทรนะ มันไหลไปเอง จิตนี้เหมือนกัน ถ้ามีสัมมาทิำฎฐิแล้วไหลไปสู่นิพพานเอง สิ่งที่เราทำขึ้นมาไม่ใช่ช่วยใ้ห้มันไปเร็วขึ้น สิ่งที่เราทำก็คือ ๗ อย่างนั้นแหละ เพราะฉะนั้นเลิกซะ แล้วก็รู้กายอย่างที่เขาเป็น รู้กายอย่างที่เขาเป็น ไปเรื่อยๆ
พระธรรมเทศนาของพระองค์ไพเราะจับใจ งามทั้งเบื้องต้นท่ามกลางและที่สุด ปร..ภราดา ! อุปติสสปริพพาชกได้กราบลาพระอัสสชิไปแล้ว ด้วยดวงใจที่ผ่องแผ้วชุ่มเย็น อย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อนเลย อา ! โสดาปัตติผล ช่างน่าอภิรมย์ชมชื่นอะไรเช่นนี้ ! สมแล้วที่พระจอมมุนีพุทธเจ้า ตรัสว่า ‘โสดาปัตติผลประเสริฐกว่าความเป็นใหญ่ในแผ่นดิน ประเสริฐกว่าการได้ไปสวรรค์ และกว่าความเป็นใหญ่ในโลกทั้งปวง’ (พระไตรปิฎกเล่ม ๒๕ ข้อ ๒๓ หน้า ๓๙) :b45: อันว่าบุคคลที่เคยระหกระเหินมานาน วนเวียนหลงทางอยู่ในป่ารก อันน่าหวาดเสียวด้วยอันตรายนานาประการ มีอันตรายจากสัตว์ร้ายและไข้ป่า เป็นต้น ได้อาศัยบุรุษหนึ่งชี้ทางให้ขึ้นสู่มรรคา อันจะดำเนินไปสู่แดนเกษม แม้จะยังอยู่แค่ต้นทาง ก็ให้รู้สึกโปร่งใจมั่นใจในความปลอดภัยฉันใด บุคคลผู้ระหกระเหินอยู่ในป่าแห่งสังสารวัฏนี้ก็ฉันนั้น ถูกภัยคือความแก่ ความเจ็บ ความตาย ความทุกข์กายทุกข์ใจเพราะเหตุต่างๆ คุกคามให้หวาดหวั่นพรั่นพรึงอยู่เนืองนิตย์ ถูกความไม่ได้ดั่งใจปรารถนา บีบคั้นให้ต้องเสียใจครั้งแล้วครั้งเล่า แต่เขาก็ยังหวังอยู่นั่นเอง หวังว่าจะได้อย่างนั้นจะเป็นอย่างนี้พอถึงเวลาเข้าจริง ความหวังของเขากลับกลายเป็นเสมือนภาพอันซ้อนอยู่ในปุยเมฆ พอลมพัดมานิดเดียวภาพนั้นก็พลันเจือจางและเลือนหาย ด้วยเหตุนี้เสียงที่ว่า ‘ไม่ประสบความสำเร็จในชีวิต’ จึงระงมอยู่ในหมู่มนุษย์ตลอดมา ความจริงมนุษย์ทุกคนได้เคยสมปรารถนา ประสบความสำเร็จในชีวิตเป็นระยะๆ อยู่เหมือนกัน แต่เพราะเมื่อความปรารถนา หรือความหวังอย่างหนึ่งสำเร็จลงแล้ว ความต้องการอย่างใหม่ก็เกิดขึ้นอีก บางทีก็อาศัยความสำเร็จเดิมนั้นเป็นมูลฐาน เขาจึงรู้สึกเหมือนหนึ่งว่ามิได้ประสบความสำเร็จในชีวิต จึงดิ้นรนอยู่ในทะเลเพลิงแห่งความอยาก ความปรารถนาอันไม่มีที่สิ้นสุด เร่าร้อนและว้าเหว่หาประมาณมิได้ ทุกครั้งที่ความปรารถนาเกิดขึ้นในห้วงหัวใจ ตราบใดที่ยังไม่สมปรารถนา ความเร่าร้อนในหัวใจก็หาดับลงไม่ นอกจากเขาจะเลิกปรารถนาสิ่งนั้นเสีย ความหวังเป็นสิ่งผูกพันชีวิตมนุษย์ไว้ อย่างยากที่จะแยกออกไปได้ ถึงกระนั้นก็ตาม มีมนุษย์เป็นอันมากที่ไม่รู้ ตอบตัวเองไม่ได้ว่า อะไรคือสิ่งที่ตน หรือมนุษย์ควรจะต้องการจริงๆ อะไรคือสิ่งที่มนุษย์ควรเดินเข้าไปหาและขึ้นให้ถึง ตราบใดที่มนุษย์ยังตอบปัญหานี้ไม่ได้ ตราบนั้นเขาจะต้องดำเนินชีวิตอย่างลังเล ไร้หวัง และวนเวียนเป็นสังสารจักร ไม่รู้อะไรคือทิศทางของชีวิต เหมือนคนหลงป่าหรือนกหาฝั่ง บินวนเวียนอยู่ในสมุทร เพราะหาฝั่งไม่พบ แต่พอได้บรรลุธรรมคือ โสดาปัตติผล แล้ว เข้าสู่กระแสพระนิพพานแล้ว เขารู้สึกตนได้ทันทีว่า ได้ออกจากป่าใหญ่แล้ว ดำรงตนอยู่ต้นทางอันนำไปสู่แดนเกษมแล้ว ถ้าเปรียบด้วยผู้ดำผุดดำว่ายอยู่ในมหาสมุทร ก็เป็นผู้ลอยคอขึ้นได้แล้ว มองเห็นฝั่งอยู่ข้างหน้า กำลังเดินเข้าหาฝั่ง จะต้องขึ้นฝั่งได้แน่นอน ไม่จมลงไปอีก ลองคิดดูเถิดคนทั้งสองพวกนั้น จะปลาบปลื้มปราโมชสักเพียงใด ชุ่มเย็นอยู่ด้วยธรรมท่ามกลางผู้เร่าร้อนอยู่ด้วยเพลิงกิเลส เหมือนหญ้าสดในทะเลทราย เพราะได้แหล่งน้ำในทะเลทรายนั่นเองหล่อเลี้ยง โลกนี้เร่าร้อนอยู่ด้วยกิเลส ธรรมเท่านั้นที่จะช่วยดับความเร่าร้อนของโลกได้.
พระธรรมเทศนาของพระพุทธเจ้ากราบขอบพระคุณ และอนุโมทนา ท่านอาจารย์ มากครับที่กรุณา ให้โอกาส บุคคลรู้แจ้งในธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว จากผู้ใด พึงนอบน้อมผู้นั้นโดยเคารพ เหมือนพราหมณ์นับถือการบูชาไฟ ฉะนั้น. ผู้สละโลกและพระอานนท์พระพุทธอนุชาเป็นผลของของท่านอาจารย์ วศิน อินทสระ https://www.youtube.com/watch?v=5dkJb... พระธรรมเทศนาโดย หลวงพ่อปราโมช ปราโมชโช เรื่อง วิธีเจริญสติเพื่อให้รู้ทันจิตต้องมาเจริญสติปัฏฐาน สติปัฏฐานเป็นทางสายเอกทางสายเดียว ต้องมาทำวิปัสสนากรรมฐาน ไม่ใช่มาทำสมาธิแล้วก็หลุดพ้นไป สมาธิไม่ได้ทำให้หลุดพ้นนะ สมาธิเป็นเครื่องมือนะ เป็นเครื่องมือเป็นตัวทำให้จิตมีพลังทีนี้สมาธิมี ๒ แบบ สมาธิที่คนทั้งหลายฝึกกันนะเป็นสมาธิเพื่อจะสงบ สงบสบายนะแล้วเกิดนิมิตเห็นโน่นเห็นนี่ไป ก็นึกว่าเห็นพระพุทธเจ้าขึ้นมา สมาธิอีกชนิดหนึ่งก็คือ จิตที่ตั้งมั่นก็คือ จิตที่ตั้งมั่นเป็นผู้รู้ผู้ตื่นผู้เบิกบาน เนี่ยสมาธิชนิดนี้ต้องฝึก คนส่วนใหญ่ไม่คุ้นเคยหรอก คุ้นเคยแต่สมาธิสงบ ไม่คุ้นเคยสมาธิตั้งมั่น'ปาฏิหาริย์แห่งการตื่น' จะเกิดขึ้นได้เมื่อเราตื่นจากฝัน ปาฏิหาริย์เกิดขึ้นในทุกวัน ทุกนาที คือ ปาฏิหาริย์ของการเกิดมา รับรู้ และมีสติ ซึ่งเป็นสิ่งมหัศจรรย์ยิ่ง การรู้เท่าทันจิตของตัวเอง http://www.youtube.com/watch?v=kTlZEw... สมาธิอบรมปัญญา ปัญญาอบรมจิต พระธรรมเทศนาโดย หลวงพ่อพุท ฐานิโย https://www.youtube.com/watch?v=soxGT... ท่ามกลางความสับสนอลหม่านในจิตใจของผู้ คนอันเกิดจากเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของสังคม และศีลธรรมที่เสื่อมสลาย ทุกคนแสวงหาทางออกซึ่งยากที่จะประสบ แต่ทางออกเพื่อหนีจากความสับสน วุ่นวาย เหล่านี้ได้ปรากฏแล้วใน "พระอานนท์พุทธอนุชา" ซึ่งเป็นผลงานของวศิน อินทสระ ผู้ได้รับการยอมรับว่าเป็นนักปราชญ์ทางพุทธศาสนาท่านหนึ่ง ในผลงานดังกล่าวท่านได้หยิบยกเอาแง่มุมต่างๆ ของพระพุทธศาสนาที่สามารถประยุกต์ใช้ได้ในชีวิตปัจจุบันมากล่าวอธิบายไว้ด้ว ยภาษาที่สละสลวย และง่ายแก่การเข้าใจของคนทั่วๆ ไป..เราภาวนาจนเห็นว่าทุกอย่างชั่วคราว สุข ทุกข์ ดี ชั่วทั้งหลาย ชั่วคราวทั้งหมด ตรงนี้แหละ ใจจะเป็นกลางกับทุกสิ่งทุกอย่าง ตัวนี้แหละคือสิ่งเรียกว่า สังขารุเบกขาญาน จิตมีปัญญานะ เป็นกลางกับความปรุงแต่งทั้งหลาย สุข ทุกข์ ดี ชั่วทั้งหลายนี่ จิตเป็นกลางหมดเลย เพราะอะไร เพราะปัญญา ไม่ใช่กลางเพราะการเพ่ง ไม่ใช่เป็นกลางเพราะกำหนดนะ กำหนดแล้วเป็นกลางนี่ยังไม่ใช่ ตัวนี้ต้องเป็นกลางเพราะปัญญา ถ้าเราตามรู้จิตใจของเราทุกวันๆ เราจะเห็นเลย ความสุขอยู่ชั่วคราว แล้วก็หาย ความทุกข์อยู่ชั่วคราวแล้วก็หาย โลภ โกรธ หลง อยู่ชั่วคราว แล้วก็หาย กุศลอยู่ชั่วคราวแล้วก็หายไป ถ้าตามดูอย่างนี้นานๆไปนะ จิตมันยอมรับความจริงว่า สิ่งใดเกิดขึ้นสิ่งนั้นดับไป ความสุขเกิดขึ้นจิตไม่หลงระเริง ความทุกข์เกิดขึ้นจิตไม่กลุ้มใจ จิตมันจะเป็นกลาง ต่อทุกสิ่งทุกอย่างที่มันไปรู้เข้า จิตที่มันเป็นกลางต่อทุกสิ่งทุกอย่าง นี่นะ ตัวนี้เป็นตัวสำคัญ นี่เป็นคือประตูแห่งการบรรลุมรรคผล พอมันเป็นกลางกับทุกสิ่งทุกอย่าง มันจะไม่ปรุงแต่งต่อ อย่างถ้ามันไม่เป็นกลาง มันจะปรุงแต่งต่อ เช่น ความโกรธเกิดขึ้น อยากให้หาย ก็ต้องหาทางทำให้หาย เห็นมั้ยปรุงแต่งต่อล่ะ ความสุขเกิดขึ้นอยากให้อยู่นานๆ ต้องหาทางรักษา นี่ปรุงแต่งต่อ มีการทำงาน แต่ถ้ามันเห็นทุกสิ่งทุกอย่างเกิดแล้วก็ดับๆ ไม่ปรุงแต่งต่อ จิตจะพ้นจากความปรุงแต่ง ตามรู้ตามดูจนมันพอ สติ สมาธิ ปัญญาแก่รอบ จิตใจยอมรับความจริง ยอมรับไตรลักษณ์ ว่าทุกอย่างเกิดแล้วก็ดับ ถึงจุดนี้เนี่ย มันจะเป็นรอยแยก พวกที่หวังพุทธภูมินะ ก็มีโอกาสจะเป็นพระโพธิสัตว์ ที่ได้รับคำพยากรณ์จากพระพุทธเจ้า ไม่ใช่พยากรณ์จากหมอดูนะ ต้องพยากรณ์จากพระพุทธเจ้า พวกที่ไม่ได้หวังจะเป็นพระโพธิสัตว์ แต่หวังความพ้นทุกข์นะ จิตมีโอกาสที่จะเกิดมรรคผลได้ เวลาที่จิตจะเกิดมรรคผลนั้น จิตจะรวมเข้าอัปนาสมาธิ เพราะฉะนั้นเวลาท่านพูดถึงองค์มรรคเนี่ย สัมมาสมาธิ ท่านจะพูดด้วยอัปนาสมาธิ ด้วยฌาน ๔ พวกเราตอนที่เจริญสติอยู่นี่เรียกว่า เจริญบุพพภาคมรรค เบื้องต้นแห่งมรรคยังไม่เป็นฌานนะ เราหัดเจริญสติอยู่ในชีวิตประจำวันอย่างนี้ ถึงวันที่อริยมรรคจะเกิด จิตจะรวมเข้าฌานโดยอัตโนมัตินะ จิตเวลาที่เกิดมรรคเกิดผล จะไม่เกิดในจิตของคนธรรมดา นี่เรียกว่ากามาวจรจิต กามาวจรภูมิ ไม่เป็นอย่างนั้น จะต้องเข้าฌานนะ เมื่อมันรวมเข้าไปแล้วมันจะเห็น สภาวะธรรมนี่เกิดดับสองขณะหรือสามขณะ แต่ละคนไม่เท่ากันนะ ถัดจากนั้นจิตจะวางการรู้อารมณ์ ทวนกระแสเข้ามาหาธาตุรู้ สิ่งที่ห่อหุ้มปกคลุมธาตุรู้อยู่นี่ ถูกอริยมรรคแหวกออกไป แล้วก็มันจะไปเห็นนิพพานนะ นิพพานไม่ใช่ว่างเปล่า นิพพานไม่ใช่โลกๆหนึ่ง พวกเรายังไม่เคยเห็น เราก็วาดภาพสุดโต่งไปสองข้าง ข้างหนึ่งก็นิพพานเป็นโลกๆหนึ่ง พวกนี้พวกสัสตะทิฐิ มีของที่เที่ยงคงที่ อีกพวกหนึ่งคิดว่านิพพานสูญไปเลย ขณะนั้นไม่มีอะไรเหลือเลย กระทั่งสติ พวกนี้หลงไปล่ะ คิดว่านิพพานไม่มีอะไรเลย นี่พวกอุจเฉททิฐินะ นิพพานมีนะ นิพพานมีสภาวะรองรับ สภาวะของนิพพานคือสันติ คือความสงบนั่นเอง สงบจากอะไร สงบจากกิเลส สงบจากอะไร สงบจากความปรุงแต่ง สงบจากอะไร สงบจากการแบกหามขันธ์นะ ดังนั้นเราภาวนานะ
วันอาทิตย์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2560
ต้องเห็นทุกข์ถึงจะเห็นธรรม โดยหลวงพ่อปราโมทย์ถ้าปัญญาแก่รอบจริงๆจะเห็นเลย จิต เป็นตัวทุกข์ ทุกข์แบบไม่มีอะไรเหมือน พอเห็นว่าตัวผู้รู้ก็เป็นทุกข์ จิตมีอันเดียวนะ คือจิตที่เป็นทุกข์ มีแต่ทุกข์มากกับทุกข์น้อย ไม่ใช่ว่าจิตมีทุกข์บ้างสุขบ้าง แต่เดิมเคยเข้าใจว่าจิตนี้ ถ้ารู้ตัวเป็นผู้รู้แล้วมีความสุข ถ้าเป็นผู้หลงแล้วมีความทุกข์ เข้าใจผิด แต่เมื่อไรสติปัญญาแก่รอบ ตัวจิตเองนั้นแหละตัวทุกข์ล้วนๆ จะปล่อยวาง ตรงคำสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว ท่านสอนบอกว่า ขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ เป็นทุกข์ล้วนๆนะ ไม่ใช่ทุกข์บ้างสุขบ้าง พวกเราแค่เห็นร่างกาย ก็ยังเห็นว่าร่างกายเราทุกข์บ้างสุขบ้างเลย อย่าว่าแต่จิตใจเลย จิตใจยังไงก็ยังเห็นว่าทุกข์บ้างสุขบ้าง สุขทุกข์ของเราอยู่ที่ว่า ได้อย่างที่อยากมั้ย ถ้าไม่ได้อย่างที่อยากก็ทุกข์ ถ้าได้อย่างที่อยากก็ไม่ทุกข์ เพราะฉะนั้นทุกข์ของเราที่พวกเรารู้จัก นี่คือทุกข์จากความไม่สมอยาก ส่วนทุกข์ของพระอนาคามีที่ท่านรู้เนี่ย ทุกข์เพราะความอยาก เห็นว่าถ้าอยากแล้วทุกข์นะ ของเราเห็นได้แค่ว่า ถ้าไม่สมอยากแล้วทุกข์ พระอนาคามีเห็นว่า แค่มีความอยากก็ทุกข์แล้ว ก็ยังมีสองอย่าง มีทุกข์กับสุข ถ้าอยากหรือไม่อยาก ถ้าปัญญาเห็นแจ้งจริงๆเลย มีแต่ทุกข์ล้วนๆ จะอยากหรือไม่อยากก็ทุกข์แล้ว ทุกข์ไม่ใช่อยู่ที่อยากแล้ว ทุกข์อยู่ที่ตัวขันธ์เองแหละเป็นตัวทุกข์ อย่างนี้เรียกว่ารู้ทุกข์แจ่มแจ้งแล้ว จิตจะปล่อยวางลง ปล่อยวางจิต ทีนี้บางท่านก็เห็นว่าจิตนี้เป็นสุญญตา เป็นความว่างเปล่าจากความเป็นตัวเป็นตน ไม่เกี่ยวอะไรกับเรา คืน ยอมคืน ยอมสลัดคืนให้กับโลกเขาไป พวกนี้เรียกว่าสุญญตวิโมกข์ พวกปัญญากล้า หลุดพ้นด้วยการเห็นจิตใจนี้ไม่ใช่ตัวเรา ปลดปล่อยออกไปแล้ววางออกไป ทางที่จิตดำเนินไปสู่ความหลุดพ้นเนี่ย มีสามช่องในขั้นสุดท้าย เบื้องต้นของเราเนี่ยนะ คอยรู้กายคอยรู้ใจไว้ พอรู้กายเต็มที่นะ มันจะปล่อยวางกาย มันจะย้อนทวนเข้าหาธาตุรู้ ตัวจิต พอรู้จิตเต็มที่เนี่ย ว่าเป็นอนิจจัง หรือเป็นทุกขัง หรือเป็นอนัตตา ในมุมใดมุมหนึ่งก็ปล่อยวางจิต พอปล่อยวางหมดทั้งกายหมดทั้งจิตนะ จิตใจก็จะพ้นจากความทุกข์จริงๆ พ้นจากขันธ์ นิพพานก็คือจิตมันพรากออกจากขันธ์ มันสำรอกออกจากขันธ์ หลุดออกจากขันธ์ได้ หมายเหตุ วิโมกข์ มี 3 อย่าง คือ สุญญตวิโมกข์ ความพ้นที่เกิดจากปัญญาพิจารณาเห็นไตรลักษณ์คืออนัตตา อนิมิตตวิโมกข์ ความพ้นที่เกิดจากปัญญาพิจารณาเห็นไตรลักษณ์คืออนิจจัง อัปปณิหิตวิโมกข์ ความพ้นที่เกิดจากปัญญาพิจารณาเห็นไตรลักษณ์ทุกขัง
จิตจะวางการรู้สภาวะทบทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้ พอทวนกระแสเข้าถึงธาตุรู้แล้...ถ้าปัญญาแก่รอบจริงๆจะเห็นเลย จิต เป็นตัวทุกข์ ทุกข์แบบไม่มีอะไรเหมือน พอเห็นว่าตัวผู้รู้ก็เป็นทุกข์ จิตมีอันเดียวนะ คือจิตที่เป็นทุกข์ มีแต่ทุกข์มากกับทุกข์น้อย ไม่ใช่ว่าจิตมีทุกข์บ้างสุขบ้าง แต่เดิมเคยเข้าใจว่าจิตนี้ ถ้ารู้ตัวเป็นผู้รู้แล้วมีความสุข ถ้าเป็นผู้หลงแล้วมีความทุกข์ เข้าใจผิด แต่เมื่อไรสติปัญญาแก่รอบ ตัวจิตเองนั้นแหละตัวทุกข์ล้วนๆ จะปล่อยวาง ตรงคำสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว ท่านสอนบอกว่า ขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ เป็นทุกข์ล้วนๆนะ ไม่ใช่ทุกข์บ้างสุขบ้าง พวกเราแค่เห็นร่างกาย ก็ยังเห็นว่าร่างกายเราทุกข์บ้างสุขบ้างเลย อย่าว่าแต่จิตใจเลย จิตใจยังไงก็ยังเห็นว่าทุกข์บ้างสุขบ้าง สุขทุกข์ของเราอยู่ที่ว่า ได้อย่างที่อยากมั้ย ถ้าไม่ได้อย่างที่อยากก็ทุกข์ ถ้าได้อย่างที่อยากก็ไม่ทุกข์ เพราะฉะนั้นทุกข์ของเราที่พวกเรารู้จัก นี่คือทุกข์จากความไม่สมอยาก ส่วนทุกข์ของพระอนาคามีที่ท่านรู้เนี่ย ทุกข์เพราะความอยาก เห็นว่าถ้าอยากแล้วทุกข์นะ ของเราเห็นได้แค่ว่า ถ้าไม่สมอยากแล้วทุกข์ พระอนาคามีเห็นว่า แค่มีความอยากก็ทุกข์แล้ว ก็ยังมีสองอย่าง มีทุกข์กับสุข ถ้าอยากหรือไม่อยาก ถ้าปัญญาเห็นแจ้งจริงๆเลย มีแต่ทุกข์ล้วนๆ จะอยากหรือไม่อยากก็ทุกข์แล้ว ทุกข์ไม่ใช่อยู่ที่อยากแล้ว ทุกข์อยู่ที่ตัวขันธ์เองแหละเป็นตัวทุกข์ อย่างนี้เรียกว่ารู้ทุกข์แจ่มแจ้งแล้ว จิตจะปล่อยวางลง ปล่อยวางจิต ทีนี้บางท่านก็เห็นว่าจิตนี้เป็นสุญญตา เป็นความว่างเปล่าจากความเป็นตัวเป็นตน ไม่เกี่ยวอะไรกับเรา คืน ยอมคืน ยอมสลัดคืนให้กับโลกเขาไป พวกนี้เรียกว่าสุญญตวิโมกข์ พวกปัญญากล้า หลุดพ้นด้วยการเห็นจิตใจนี้ไม่ใช่ตัวเรา ปลดปล่อยออกไปแล้ววางออกไป ทางที่จิตดำเนินไปสู่ความหลุดพ้นเนี่ย มีสามช่องในขั้นสุดท้าย เบื้องต้นของเราเนี่ยนะ คอยรู้กายคอยรู้ใจไว้ พอรู้กายเต็มที่นะ มันจะปล่อยวางกาย มันจะย้อนทวนเข้าหาธาตุรู้ ตัวจิต พอรู้จิตเต็มที่เนี่ย ว่าเป็นอนิจจัง หรือเป็นทุกขัง หรือเป็นอนัตตา ในมุมใดมุมหนึ่งก็ปล่อยวางจิต พอปล่อยวางหมดทั้งกายหมดทั้งจิตนะ จิตใจก็จะพ้นจากความทุกข์จริงๆ พ้นจากขันธ์ นิพพานก็คือจิตมันพรากออกจากขันธ์ มันสำรอกออกจากขันธ์ หลุดออกจากขันธ์ได้ หมายเหตุ วิโมกข์ มี 3 อย่าง คือ สุญญตวิโมกข์ ความพ้นที่เกิดจากปัญญาพิจารณาเห็นไตรลักษณ์คืออนัตตา อนิมิตตวิโมกข์ ความพ้นที่เกิดจากปัญญาพิจารณาเห็นไตรลักษณ์คืออนิจจัง อัปปณิหิตวิโมกข์ ความพ้นที่เกิดจากปัญญาพิจารณาเห็นไตรลักษณ์ทุกขัง
จิตเข้าฌานอัตโนมัติถ้าปัญญาแก่รอบจริงๆจะเห็นเลย จิต เป็นตัวทุกข์ ทุกข์แบบไม่มีอะไรเหมือน พอเห็นว่าตัวผู้รู้ก็เป็นทุกข์ จิตมีอันเดียวนะ คือจิตที่เป็นทุกข์ มีแต่ทุกข์มากกับทุกข์น้อย ไม่ใช่ว่าจิตมีทุกข์บ้างสุขบ้าง แต่เดิมเคยเข้าใจว่าจิตนี้ ถ้ารู้ตัวเป็นผู้รู้แล้วมีความสุข ถ้าเป็นผู้หลงแล้วมีความทุกข์ เข้าใจผิด แต่เมื่อไรสติปัญญาแก่รอบ ตัวจิตเองนั้นแหละตัวทุกข์ล้วนๆ จะปล่อยวาง ตรงคำสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว ท่านสอนบอกว่า ขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ เป็นทุกข์ล้วนๆนะ ไม่ใช่ทุกข์บ้างสุขบ้าง พวกเราแค่เห็นร่างกาย ก็ยังเห็นว่าร่างกายเราทุกข์บ้างสุขบ้างเลย อย่าว่าแต่จิตใจเลย จิตใจยังไงก็ยังเห็นว่าทุกข์บ้างสุขบ้าง สุขทุกข์ของเราอยู่ที่ว่า ได้อย่างที่อยากมั้ย ถ้าไม่ได้อย่างที่อยากก็ทุกข์ ถ้าได้อย่างที่อยากก็ไม่ทุกข์ เพราะฉะนั้นทุกข์ของเราที่พวกเรารู้จัก นี่คือทุกข์จากความไม่สมอยาก ส่วนทุกข์ของพระอนาคามีที่ท่านรู้เนี่ย ทุกข์เพราะความอยาก เห็นว่าถ้าอยากแล้วทุกข์นะ ของเราเห็นได้แค่ว่า ถ้าไม่สมอยากแล้วทุกข์ พระอนาคามีเห็นว่า แค่มีความอยากก็ทุกข์แล้ว ก็ยังมีสองอย่าง มีทุกข์กับสุข ถ้าอยากหรือไม่อยาก ถ้าปัญญาเห็นแจ้งจริงๆเลย มีแต่ทุกข์ล้วนๆ จะอยากหรือไม่อยากก็ทุกข์แล้ว ทุกข์ไม่ใช่อยู่ที่อยากแล้ว ทุกข์อยู่ที่ตัวขันธ์เองแหละเป็นตัวทุกข์ อย่างนี้เรียกว่ารู้ทุกข์แจ่มแจ้งแล้ว จิตจะปล่อยวางลง ปล่อยวางจิต ทีนี้บางท่านก็เห็นว่าจิตนี้เป็นสุญญตา เป็นความว่างเปล่าจากความเป็นตัวเป็นตน ไม่เกี่ยวอะไรกับเรา คืน ยอมคืน ยอมสลัดคืนให้กับโลกเขาไป พวกนี้เรียกว่าสุญญตวิโมกข์ พวกปัญญากล้า หลุดพ้นด้วยการเห็นจิตใจนี้ไม่ใช่ตัวเรา ปลดปล่อยออกไปแล้ววางออกไป ทางที่จิตดำเนินไปสู่ความหลุดพ้นเนี่ย มีสามช่องในขั้นสุดท้าย เบื้องต้นของเราเนี่ยนะ คอยรู้กายคอยรู้ใจไว้ พอรู้กายเต็มที่นะ มันจะปล่อยวางกาย มันจะย้อนทวนเข้าหาธาตุรู้ ตัวจิต พอรู้จิตเต็มที่เนี่ย ว่าเป็นอนิจจัง หรือเป็นทุกขัง หรือเป็นอนัตตา ในมุมใดมุมหนึ่งก็ปล่อยวางจิต พอปล่อยวางหมดทั้งกายหมดทั้งจิตนะ จิตใจก็จะพ้นจากความทุกข์จริงๆ พ้นจากขันธ์ นิพพานก็คือจิตมันพรากออกจากขันธ์ มันสำรอกออกจากขันธ์ หลุดออกจากขันธ์ได้ หมายเหตุ วิโมกข์ มี 3 อย่าง คือ สุญญตวิโมกข์ ความพ้นที่เกิดจากปัญญาพิจารณาเห็นไตรลักษณ์คืออนัตตา อนิมิตตวิโมกข์ ความพ้นที่เกิดจากปัญญาพิจารณาเห็นไตรลักษณ์คืออนิจจัง อัปปณิหิตวิโมกข์ ความพ้นที่เกิดจากปัญญาพิจารณาเห็นไตรลักษณ์ทุกขัง
การเจริญปัญญาจากขันธ์ไม่ใช่เราสู่จิตไม่ใช่เราโดยหลวงพ่อปราโมทย์การเจริญปัญญาจากขันธ์ไม่ใช่เราสู่จิตไม่ใช่เราโดยหลวงพ่อปราโมทย์
การเจริญปัญญาจากขันธ์ไม่ใช่เราสู่จิตไม่ใช่เราโดยหลวงพ่อปราโมทย์การเจริญปัญญาจากขันธ์ไม่ใช่เราสู่จิตไม่ใช่เราโดยหลวงพ่อปราโมทย์
วันเสาร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2560
PS21244ดูรายละเอียด จาก คลิป ก่อนหน้านี้ ประกอบการตัดสินใจ ซื้อ นะครับ..ขอบคุณมากครับ...ที่ติดตาม..อะไหล่และอุปกรณ์ ตามคลิป มีจำหน่าย ที่ sompong industrial electronics ท่านที่จะนำไปใช้ ส่วนรวม วัด โรงเรียน โรงพยาบาล ศาสนสถาน ผมยินดี บริจาคให้ ไม่คิดมูลค่า ครับ ..ขอ อนุโมทนา..ครับ. หรือท่านที่ สนใจงานด้านนี้ เพื่อ ทำไปใช้งานส่วนตัว งานอาชีพ ที่ไม่ผิดศีล ผิดธรรม วินัย ไม่เบียดเบียน สรรพสัตว์ สรรพชีวิต งานด้านสร้างสรรค์ แต่ไม่มี เงิน พอที่จะซื้อ ได้ ผมก็ ยินดี บริจาคให้โดย ไม่คิดมูลค่า ครับ ( เท่าที่ของ พอมีอยู่นะครับ...หมดแล้วหมดเลยครับ หมดเป็น รุ่น รุ่นไป ของจากคลิปเก่า ไม่มีแล้วครับ ขอบพระคุณ และอนุโมทนา สาธุ ครับ) ลงวันที่ 24 ตุลาคม 2559 ติด ต่อทาง Email ที่ sompongindustrial@gmail.com mrsompongt@hotmai.com TM52A หมดแล้วครับ เบอร์ใหม่ ดูจากคลิป นะครับ เป็นเบอร์ GT15J331 และ PS21244 ครับผม..https://www.youtube.com/watch?v=A9fDf... ทดสอบPower Module GT15J331 โดยใช้มอเตอร์สามเฟสครับ....ใช้งานจริง ต้องติดตั้งบนแผ่นระบายความร้อน..และติดพัดลม..ด้วยนะครับ https://www.youtube.com/watch?v=YfVvJ... ระบบอินเวอร์เตอร์ inverter ใช้ร่วมกับโซล่าเซลล์ประหยัดไฟได้จริงหรือไม่ดูจากคลิปนี้ครับPOWER MODULE ควบคุมมอเตอร์สามเฟส Tm52A หมดแล้วนะครับ...วันนี้ต้องเป็นเบอร์ GT15J331 PS21244 ครับ.. TM 51 รับแรงดันไฟฟ้ากระแสตรงตั้งแต่ 24 Voltsถึง 300 Volts ครับ รับกระแสได้ 10 ถึง 15 Amps แล้วจะทำหน้าที่ เปลี่ยนเป็นไฟฟ้ากระแสตรง -ทีแรงดัน 370-375 Volts เพื่อนำไปจ่ายให้กับ PS21244 PS21963 PS219A2 GT15J331 ทำหน้าที่ขับมอเตอร์ สามเฟส 220/380 Volts สูงสุดที่ประมาณ 1/2 แรงม้า ถึง3 แรงม้าแนะนำให้ใช้ที่..1 แรงม้าครับ..บอร์ด Arduino ทำหน้าที่ สร้างและกำหนดค่าของสัญญาณ สามเฟส SINE WAVE แบบ PWM ครับ..มีจำหน่ายหลายที่ครับ ติดต่อกันเองก็แล้วกัน ถ้าหาไม่ได้ ลองโทรไปที่ 02 951 1356 และ 081-803-6553 นะครับ...LINE pornpimon 1411 หรือ ติดต่อที่ s o m p o n g i n d u s t r i a l @ g mail .com m r s o m p o n g t @h o t mail.comm ก็ได้ครับ จำหน่าย PS 21244 MITSUBISHI SEMICONDUCTOR TRANSFER-MOLD TYPE INSULATED TYPE 6 DI 15 S -050 C 6 DI 15 S-050 D TM 51 สำหรับสร้างเครื่องควบคุมมอเตอร์สามเฟส... วิธีทำให้ TM51จ่ายแรงดันไฟฟ้า 280โวลต์ไม่เกิน320โวลต์เพื่อใช้กับ PS21244 PS21963 PS219A2 MP6501A 6DI15S-05
วิธีปฏิบัติที่จะทำให้เราพ้นจากทุกข์ทางใจนั้น คือหัดรู้ใจของเรา ไม่ว่าเราจะเห็นสภาวะอะไรเกิดขึ้นเราจะไม่เข้าไปแทรกแซง เช่นเราเห็นความโกรธเกิดขึ้น เราไม่ต้องพยายามทำให้หายโกรธ หน้าที่ของเราคือก็แค่รู้ไปว่าจิตมันโกรธนะ ... วิธีปฏิบัติที่จะทำให้เราพ้นจากทุกข์ทางใจนั้น คือหัดรู้ใจของเรา หน้าที่เราต้องฝึกสติให้เร็วขึ้น เร็ว เร็วมากขึ้นๆ จนใจไหว...แว้บ.รู้ทัน. ถ้าจิตมันตั้งมั่นรู้ว่าไหลออกไปแล้วทุกข์ ก็ตั้งเด่นดวงอยู่ จิตก็เข้าฌานอัตโนมัติ เพราะงั้นถึงเราจะเจริญสติเจริญปัญญาโดยเข้าฌานไม่เป็น ถึงนาทีสุดท้ายที่จะเกิดอริยมรรคอริยผลในทุกขั้นตอน ตั้งแต่โสดาปัตติมรรคจนถึงอรหัตมรรคเนี่ย จิตจะเข้าฌานของเค้าเอง ยกเว้นคนซึ่งเดินปัญญาอยู่ในฌาน เวลาที่จะเกิดอริยมรรคไม่ต้องถอยออกมาอยู่ในโลกก่อนนะ ไม่ต้องกลับมาอยู่กามภูมิก่อนนะ จิตเค้าจะตัดอยู่ข้างในได้เลย นี่เป็นพวกหนึ่ง แต่รวมความก็คืออริยมรรคไม่เกิดอยู่ในจิตที่อยู่ในกามอย่างพวกเรา อริยมรรคจะต้องเกิดอยู่ในรูปภูมิหรืออรูปภูมินะ จะเกิดอยู่ตรงนั้น ไปล้างกันตรงนั้น จิตจะเข้าฌานอัตโนมัติ พอจิตเข้าฌานแล้วคราวนี้สติระลึกรู้อยู่ที่จิตนะ ไม่ได้เจตนาระลึก มันรู้เอง เพราะมันไม่แส่ส่ายออกไปที่ตาหูจมูกลิ้นกายใจ ไม่แส่ส่ายไปในความคิด ก็หยุดลงที่จิตดวงเดียว สติหยั่งลงที่จิต จิตตั้งมั่นอยู่ที่จิต เพราะงั้นสมาธินี่เต็มสมบูรณ์แล้ว ตั้งมั่นอยู่ที่จิต สติสมบูรณ์แล้ว ระลึกอยู่ที่จิต ปัญญาสมบูรณ์แล้ว เห็นความเป็นจริงทุกสิ่งที่อย่างที่เคลื่อนไหวอยู่ในจิตนะ ตรงนี้แหละจิตจะไหวตัวขึ้นมาสองสามขณะ คือปรุงขึ้นมานะแต่ไม่รู้ว่าคิดอะไร ไม่รู้ว่าปรุงอะไร มีความปรุงแต่งเกิดขึ้นแต่ไม่รู้ว่าปรุงอะไร จะเห็นแต่ว่าสิ่งบางสิ่งเกิดขึ้นแล้วสิ่งนั้นดับไป จะเห็นอย่างนี้เอง เห็นเอง ถัดจากนั้นนะจิตจะรู้เลยมันไม่มีสาระอะไร จิตมันจืดนะ มันไม่เอาอีกแล้ว ก็แค่เห็นความปรุงภายในจิตผุดขึ้น พอเห็นความปรุงภายในจิตผุดขึ้นสองสามขณะ ความเห็นกลางอย่างแท้จริงเลย รู้อย่างเป็นกลางอย่างแท้จริงไม่ปรุงต่อนะ จิตจะวาง พอมันวางแล้วมันจะทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้ วางจิตแล้วทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้ ธาตุรู้ก็จิตนั่นแหละ มันเป็นจิตอีกอย่างหนึ่ง พอจิตดวงเก่ามันดับไป จิตที่อยู่ในภพภูมิต่างๆมันดับไป มันทวนกระแสเข้าหาจิตที่เหนือภพเหนือภูมิ ทวนกระแสเข้ามา ขณะที่มันปล่อยวางจิตดวงเดิมนะ แล้วก็ทวนเข้ามาแต่ยังไม่ถึงธาตุรู้นะ คาบลูกคาบดอก ไม่ได้เกาะขันธ์แล้วนะ แต่ก็ยังเข้ามาไม่ถึงตัวธาตุรู้ ไม่ถึงอมตะธาตุอมตะธรรม ไม่ถึงพระนิพพาน ธาตุรู้ไม่ใช่พระนิพพานนะ แต่ธาตุรู้ไปเห็นพระนิพพาน ต้องแยกให้ออก มันยังทวนไม่ถึงธาตุรู้ ไม่ใช่ปุถุชน ไม่ใช่พระอริยะ ทำไมไม่ใช่ปุถุชน เพราะมันปล่อยขันธ์แล้ว ขันธ์สุดท้ายที่มันปล่อยก็คือจิต ไม่ใช่พระอริยะ เพราะยังไม่เข้ามาถึงธาตุรู้ ไม่เข้าถึงพระนิพพาน ตัวธาตุรู้นั่นแหละเป็นตัวไปเห็นพระนิพพาน ตรงนี้นะเรียกว่าโคตรภูญาณ ญาณข้ามโคตร มีปัญญาข้ามโคตร ข้ามโคตรจากโคตรไหนมาสู่โคตรไหน? จากโคตรของปุถุชนมาสู่โคตรของอริยชน เพราะงั้นบรรลุมรรคผลแล้วเปลี่ยนโคตรนะ ข้ามจากสกุลของปุถุชน ข้ามมาสู่อริยวงศ์อริยโคตร เรียกญาณข้ามโคตร ไม่ใช่ปุถุชนนะ กำลังข้ามอยู่ ไม่ใช่พระอริยะ มีอยู่ขณะจิตเดียวแหละที่คาบลูกคาบดอกประหลาดอยู่อย่างนี้ ข้ามมา ทวนเข้ามาถึงจิตแท้ ถึงธาตุรู้แท้ๆ ธรรมธาตุ ตัวนี้อริยมรรคก็จะเกิดขึ้น อาสวกิเลสที่ห่อหุ้มจิตอยู่ถูกอริยมรรคแหวกออกทำลายออก ก็ล้างกิเลส ล้างในพริบตาเดียว ในขณะเดียว วับเดียวเลย ขาดเลย มันคล้ายๆเปิดสวิตซ์ไฟ ปั๊บ สว่างวุ๊บเดียวความมืดหายไปเลย ในพริบตานั้นเลย จากนั้นนะจะเห็นพระนิพพานอีกสองสามขณะ เห็นไม่เท่ากันหรอก บางคนเห็นสองขณะ บางคนเห็นสามขณะถ้าพวกอินทรีย์กล้ามากๆก็เห็นสามขณะ พวกอินทรีย์ยังไม่กล้ามากก็เห็นสองขณะนะ งั้นพระอริยะในภูมิธรรมอันเดียวกันระดับเดียวกัน ความรู้ความเข้าใจไม่เท่ากัน ความแตกฉานอะไรนี้ไม่เท่ากันเห็นพระนิพพานแล้วก็รู้ว่านิพพานอยู่ต่อหน้าต่อตา นิพพานไม่เคยหายไปไหน อยู่ต่อหน้าต่อตานี่แหละ แต่โง่เองไม่เห็น ทำไมไม่เห็น? มัวแต่เห็นแต่กาม มัวแต่เห็นรูปภพ มัวแต่เห็นอรูปภพ จิตไม่รู้จักปล่อย ตรงที่เค้าปล่อยน่ะเค้าข้าม เค้าทิ้งแล้ว ตรงโคตรภูญาณที่จิตข้ามโคตร ข้ามจากปุถุชนมาเป็นพระอริยะ ข้ามตรงนี้มันทิ้งหมดเลยนะ มันทิ้งกามภูมิ รูปภูมิ อรูปภูมิ ทิ้งหมดเลย ข้ามมาสู่อริยภูมิ โลกุตรภูมิ ข้ามเอง พวกเราก็มีหน้าที่ภาวนาให้มันพอเท่านั้นแหละนะ ถ้ามันพอเมื่อไหร่มันก็ข้ามโคตรไป เปลี่ยนสกุลไม่ใช่นามสกุลเดิม โดยสมมุติบัญญัติก็เป็นนามสกุลเดิม โดยปรมัตถ์แท้ๆก็ไม่ใช่แล้ว ก็มาเป็นลูกพระพุทธเจ้า
วิธีปฏิบัติที่จะทำให้เราพ้นจากทุกข์ทางใจนั้น คือหัดรู้ใจของเราหมดความปรุงแต่งของจิต จิตจะค่อยๆ ปรุงน้อยลงๆ ถึงจุดหนึ่งหยุดปั๊บลงไป ตรงหยุดปั๊บลงไปนี่จิตจะรวมเข้าอัปปนาสมาธิ โดยอัตโนมัติเลย เมื่อรวมเข้าอัปปนาสมาธิแล้ว ตรงนี้จะไม่คิดไม่นึกอะไรแล้ว จะเห็นสภาวธรรม (รูปธรรม นามธรรม) เกิดดับขึ้นภายใน ๒-๓ ขณะ ใจนี้สักว่ารู้สักว่าเห็นอย่างแท้จริง ไม่มีกระทั่งความคิดนึกปรุงแต่งใดๆ สักนิดเดียวเลย ถัดจากนั้น จิตจะวางการรู้สภาวะทบทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้ พอทวนกระแสเข้าถึงธาตุรู้แล้วอริยมรรคจะแหวกอาสวะกิเลสทั้งหลายหรือสังโยชน์ทั้งหลาย อาสวะที่ห่อหุ้มจิตอยู่ สังโยชน์ที่แทรกอยู่ในจิตจะถูกทำลายออกไป ตรงกระบวนการทำลายล้างนี่ ๑ ขณะเท่านั้น พอขาดสะบั้นลงแล้ว ตรงนี้เราจะเห็นนิพพาน ๒ ขณะบ้าง ๓ ขณะบ้าง ตรงนี้เป็นผลแล้ว เป็นโลกุตรผลนะ ตรงที่เกิดอริยมรรคเรียกว่าโลกุตตรเหตุ มรรคเป็นเหตุ ผลเป็นผล ตรงที่เห็นเป็นผลนี่จะเห็นไม่เท่ากัน พวกที่สติปัญญาแก่กล้าจะเห็นนิพพาน ๓ ครั้ง ๓ ขณะ พวกที่ยังไม่แก่กล้าจะเห็นนิพพาน ๒ ขณะ ถัดจากนั้นจิตจะถอยออกมากลับสู่โลกภายนอกนี้ พอกลับมาสู่โลกภายนอก มันจะทวนกลับเข้าไปพิจารณาใหม่ว่าเมื่อกี้นี้เกิดอะไรขึ้น มันจะรู้เลยว่ากิเลสตัวไหนหายไปแล้ว กิเลสตัวไหนยังเหลืออยู่ รู้ว่ายังมีงานต้องทำอีก แต่ถ้าตัดครั้งที่สี่เป็นพระอรหันต์นะ มันทวนวับเข้าไป มันจะเห็นนิพพานชัดเจนเลย ไม่มีกิเลสอะไรให้ต้องลดละอีกแล้ว มันไม่มีกิเลสเหลือ จะเห็นนิพพานล้วนๆ เราเป็นลูกพระพุทธเจ้า เราต้องเชื่อพ่อแม่ เราต้องรู้กายรู้ใจของเราไปเรื่อยๆ แล้ววันหนึ่งเราจะได้มรดกของพระพุทธเจ้า ท่านไม่ได้หอบเอานิพพานแล้วหายไปไหน นิพพานยังอยู่เต็มโลกเต็มบริบูรณ์อยู่นี่แหละ คนมีบุญวาสนามีปัญญาแก่รอบ เจริญวิปัสสนาแก่รอบแล้วก็จะได้รับ นี่รางวัลสูงสุดของชีวิตอยู่ตรงนี้ ชีวิตที่เหลือเป็นชีวิตที่อิสระโปร่งเบา ปราศจากความอยาก ความยึดและความดิ้นรนปรุงแต่ง ไม่มีความทุกข์หรือสิ่งใดครอบงำจิตได้อีกแล้ว
ผู้สละโลก ปลดแอกถ้าจิตเราเป็นกลาง เราไม่ได้มุ่งพุทธภูมิ เราไม่ได้ทำกรรมชั่วหยาบมา จิตเราจะก้าวกระโดดเกิดอริยมรรคขึ้นมา ขั้นแรกมันจะรวมลงก่อน รวมเข้า อัปปนาสมาธิ รวมเองโดยที่ไม่ได้เจตนาจะรวม ไม่ได้คิดได้ฝันที่จะรวม รวมโดยอัตโนมัติ เมื่อรวมลงมาแล้วจะเห็นสภาวธรรมเกิดดับ เกิดดับ สองขณะบ้าง สามขณะบ้าง ถัดจากนั้นจิตจะวางการรับรู้อารมณ์ ทวนกระแสเข้ามาหาธาตุรู้ เมื่อทวนกระแสเข้าถึงธาตุรู้แล้วสิ่งที่ห่อหุ้มปิดบังจิตอยู่คือ อาสวกิเลส ทั้งหลาย สังโยชน์ทั้งหลายถูกขาดสะบั้นออกไปด้วยกำลังของอริยมรรค นิพพานก็จะปรากฏเด่นดวงขึ้นมาให้เรารู้สึกได้ สองขณะบ้าง สามขณะบ้าง คนไหนซึ่งอินทรีย์ไม่แก่กล้ามาก ตอนที่จิตรวมไปทีแรก เห็นสภาวธรรมก็จะเห็นสามครั้ง แล้วพอเห็นนิพพานพอได้ผลจะเห็นสองขณะ แต่คนที่อินทรีย์แก่กล้าเห็นสภาวะทีแรกจะเห็นสองขณะ และจะมาเห็นนิพพานสามขณะ เห็นยาวต่างกัน อินทรีย์ไม่เท่ากัน ผลที่เกิดขึ้นก็ไม่เท่ากัน ถัดจากนั้นจิตจะถอยออกจาก อัปปนาสมาธิ นะ ถอยเอง ถัดจากนั้นไม่ทรงอยู่แล้วจะถอยออกมา พอถอยออกมาแล้วจะทวนกระแสกลับเข้าไปพิจารณาว่าเมื่อกี้เกิดอะไรขึ้น ก็แจ่มแจ้งแล้วว่า เมื่อกี้นี้ตัวตนอะไรไม่มีอีกแล้ว ไม่มีอะไรที่เป็นตัวเป็นตนอีกเลย แต่ว่ากิเลสยังเหลืออยู่อีกเพียบเลย พระโสดาบันกับปุถุชนแทบจะไม่มีอะไรต่างกันนะ พระโสดาบันละมิจฉาทิฏฐิได้เท่านั้น ละความเห็นผิดได้ ส่วนโลภ โกรธ หลงอื่นๆ เหมือนปุถุชนนั่นเอง
นิพพานชาตินี้ถ้าจิตเราเป็นกลาง เราไม่ได้มุ่งพุทธภูมิ เราไม่ได้ทำกรรมชั่วหยาบมา จิตเราจะก้าวกระโดดเกิดอริยมรรคขึ้นมา ขั้นแรกมันจะรวมลงก่อน รวมเข้า อัปปนาสมาธิ รวมเองโดยที่ไม่ได้เจตนาจะรวม ไม่ได้คิดได้ฝันที่จะรวม รวมโดยอัตโนมัติ เมื่อรวมลงมาแล้วจะเห็นสภาวธรรมเกิดดับ เกิดดับ สองขณะบ้าง สามขณะบ้าง ถัดจากนั้นจิตจะวางการรับรู้อารมณ์ ทวนกระแสเข้ามาหาธาตุรู้ เมื่อทวนกระแสเข้าถึงธาตุรู้แล้วสิ่งที่ห่อหุ้มปิดบังจิตอยู่คือ อาสวกิเลส ทั้งหลาย สังโยชน์ทั้งหลายถูกขาดสะบั้นออกไปด้วยกำลังของอริยมรรค นิพพานก็จะปรากฏเด่นดวงขึ้นมาให้เรารู้สึกได้ สองขณะบ้าง สามขณะบ้าง คนไหนซึ่งอินทรีย์ไม่แก่กล้ามาก ตอนที่จิตรวมไปทีแรก เห็นสภาวธรรมก็จะเห็นสามครั้ง แล้วพอเห็นนิพพานพอได้ผลจะเห็นสองขณะ แต่คนที่อินทรีย์แก่กล้าเห็นสภาวะทีแรกจะเห็นสองขณะ และจะมาเห็นนิพพานสามขณะ เห็นยาวต่างกัน อินทรีย์ไม่เท่ากัน ผลที่เกิดขึ้นก็ไม่เท่ากัน ถัดจากนั้นจิตจะถอยออกจาก อัปปนาสมาธิ นะ ถอยเอง ถัดจากนั้นไม่ทรงอยู่แล้วจะถอยออกมา พอถอยออกมาแล้วจะทวนกระแสกลับเข้าไปพิจารณาว่าเมื่อกี้เกิดอะไรขึ้น ก็แจ่มแจ้งแล้วว่า เมื่อกี้นี้ตัวตนอะไรไม่มีอีกแล้ว ไม่มีอะไรที่เป็นตัวเป็นตนอีกเลย แต่ว่ากิเลสยังเหลืออยู่อีกเพียบเลย พระโสดาบันกับปุถุชนแทบจะไม่มีอะไรต่างกันนะ พระโสดาบันละมิจฉาทิฏฐิได้เท่านั้น ละความเห็นผิดได้ ส่วนโลภ โกรธ หลงอื่นๆ เหมือนปุถุชนนั่นเอง
สมถะเป็นกำลังของวิปัสสนา ควรเจริญทั้งสมถะและวิปัสสนาารเจริญภาวนาในที่นี่หมายถึงการปฏิบัติ เพื่อเข้าใจในหลักของธรรมะ เข้าใจความเป็นไปของชีวิต เพื่อให้จิตใจผ่องใสเบิกบาน โดยแบ่งออกเป็น ๓ ระดับ ซึ่งล้วนแต่มีจุดดีไปคนละแบบ ดังนี้ การสวดมนต์ เป็นการทำให้จิตมีสมาธิอยู่กับบทสวดมนต์ และพระเบื้องหน้า (หากสวดมนต์ต่อหน้า พระพุทธต่างๆ) นอกจากนี้ยังได้อนิสงค์จากพุทธคุณของพระคาถาต่างๆ ที่เราอ่าน หรือเปล่งวาจาออกไป และพระคาถาต่างๆล้วน เป็นถ้อยคำมงคล ทำให้เกิดศิริมงคลแต่ตัวผู้เปล่งวาจา และผู้ที่ได้ยิน คนโบราณ เชื่อกันว่าหมู่เทวดาชอบฟังธรรมะ และเสียงสวดมนต์ และจะอวยพรอันเป็นมงคลแก่ผู้เปล่งวาจานั้นๆ ... การทำสมาธิ เป็นการฝึกปฏิบัติตนให้มั่นคงอยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ซึ่งทำให้บุคคลที่ทำสมาธินั้น พ้นจากกิเลส เป้นช่วงเวลาหนึ่ง ทั้งยังเป้นการฝึกจิตใจ ให้นิ่งไม่อ่อนไหวง่าย และมั่นคงมากขึ้นเมื่อต้องเผชิญปัญหา ที่เกิดขึ้นการการดำเนินชีวิตปรกติในขั้นตอนการทำสมาธิ จะแนะนำวิธีการหายใจแบบสมบูรณ์ ซึ่งจะทำให้ร่างกาย แข็งแรง และผ่อนคลายความเครียด... การเจริญวิปัสสนา ทางทีมงานคงไม่มุ่งเน้นให้ทุกคนสำเร็จฌาณขั้นสูง แต่หากผู้ใดไปถึง ก็ขออนุโมทนา ด้วยใจจริง การเจริญวิปัสสนานั้น คือการต่อยอดจากการฝึกสมาธิขึ้นมาอีกขั้น แตกต่างจากการทำสมาธิที่ จดจ่ออยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เปลี่ยนมาเป็นการพิจารณาสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เพื่อความเข้าใจแจ่มแจ้ง มองเห็นความเป็นไป และทางออก โดยไม่ฟุ้งซ่าน สับสน เช่นการพิจารณาสังขาร มองเห็นความเป็นไปตามสัจธรรม ทำให้ไม่เกิด ความยึดติด เป็นต้น การภาวนา การเจริญภาวนานั้น เป็นการสร้างบุญบารมีที่สูงที่สุด และยิ่งใหญ่ที่สุดในพระพุทธศาสนา จัดว่าเป็นแก่นแท้ และสูงกว่าฝ่ายศีลมากนัก การเจริญภาวนานั้น มี ๒ อย่าง คือ (๑) สมถภาวนา (การทำสมาธิ) และ (๒) วิปัสสนาภาวนา (การเจริญปัญญา) แยกอธิบายดังนี้ คือ (๑) สมถภาวนา (การทำสมาธิ) สมถภาวนา ได้แก่การทำจิตให้เป็นสมาธิ หรือเป็นฌาน ซึ่งก็คือการทำจิตให้ตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่านแส่ส่ายไปยังอารมณ์อื่นๆ วิธีภาวนานั้นมีมากมายหลายร้อยชนิด ซึ่งพระพุทธองค์ทรงบัญญัติเป็นแบบอย่างเอาไว้ ๔๐ ประการ เรียกกันว่า “กรรมฐาน ๔๐” ซึ่งผู้ใดจะเลือกใช้วิธีใดก็ได้ ตามแต่สมัครใจ ทั้งนี้ย่อมสุดแล้วแต่อุปนิสัย และวาสนาบารมีที่เคยได้สร้างสมอบรมมาแต่ในอดีตชาติ เมื่อสร้างสมอบรมมาในกรรมฐานกองใด จิตก็มักจะน้อม ชอบกรรมฐานกองนั้นมากกว่ากองอื่นๆ และการเจริญภาวนาก็ก้าวหน้าเร็วและง่าย แต่ไม่ว่าจะเลือกปฏิบัติวิธีใดก็ตาม จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องรักษาศีลให้ครบถ้วนบริบูรณ์ ตามเพศของตนเสียก่อน คือหากเป็นฆราวาส ก็จะต้องรักษาศีล ๕ เป็นอย่างน้อย หากเป็นสามเณร ก็จะต้องรักษาศีล ๑๐ หากเป็นพระ ก็จะต้องรักษาศีลปาติโมกข์ ๒๒๗ ข้อให้บริบูรณ์ ไม่ให้ขาดและด่างพร้อย จึงจะสามารถทำจิตให้เป็นฌานได้ หากศีลยังไม่มั่นคง ย่อมเจริญฌานให้เกิดขึ้นได้โดยยาก เพราะศีลย่อมเป็นบาทฐาน (เป็นกำลัง) ให้เกิดสมาธิขึ้น อานิสงส์ของสมาธินั้นมากกว่าการรักษาศีลอย่างเทียบกันไม่ได้ ซึ่งพระพุทธองค์ได้ตรัสว่า “แม้ได้อุปสมบทเป็นภิกษุ รักษาศีล ๒๒๗ ข้อ ไม่เคยขาด ไม่ด่างพร้อยมานานถึง ๑๐๐ ปี ก็ยังได้บุญกุศลน้อยกว่าผู้ที่ทำสมาธิเพียงให้จิตสงบ นานเพียงชั่วไก่กระพือปีก ช้างกระดิกหู” คำว่า “จิตสงบ” ในที่นี้ หมายถึงจิตที่เป็นอารมณ์เดียงเพียงชั่ววูบ ที่พระท่านเรียกว่า “ขณิกสมาธิ” คือสมาธิเล็กๆ น้อยๆ สมาธิแบบเด็กๆ ที่เพิ่งหัดตั้งไข คือหัดยืนแล้วก็ล้มลง แล้วก็ลุกขึ้นยืนใหม่ ซึ่งเป็นอารมณ์จิตที่ยังไม่ตั้งมั่น สงบวูบลงเล็กน้อย แล้วก็รักษาไว้ได้ ซึ่งยังห่างไกลต่อการที่จิตถึงขั้นเป็นอุปจารสมาธิและฌาน แม้กระนั้นก็ยังมีอานิสงส์มากมายถึงเพียงนี้ โดยหากผู้ใด จิตทรงอารมณ์อยู่ในขั้นขณิกสมาธิ แล้วบังเอิญตายลงในขณะนั้น อานิสงส์นี้จะส่งผลให้ไปบังเกิดในเทวโลกขั้นที่ ๑ คือ ขั้น จาตุมหาราชิกา หากจิตยึดไตรสรณาคมน์ มีพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ เป็นที่พึ่งอันสูงสุดด้วย ก็เป็นเทวดาขั้นที่ ๒ คือ ดาวดึงส์ สมาธินั้นมีหลายขั้นตอน ระยะก่อนที่จะเป็นฌาน (อัปปนาสมาธิ) ก็คือขณิกสมาธิ และอุปจารสมาธิ ซึ่งอานิสงส์ส่งให้ไปบังเกิดในเทวโลก ๖ ขึ้น แต่ยังไม่ถึงขั้นพรหมโลก สมาธิในระดับอัปปนาสมาธิ หรือฌานนั้น มีรูปฌาน ๔ และอรูปฌาน ๔ ซึ่งล้วนแต่ส่งผลให้ไปเกิดในพรหมโลกรวม ๒๐ ขั้น แต่จะเป็นขั้นใด ย่อมสุดแล้วแต่ความละเอียด ประณีตของกำลังฌานที่ได้ (เว้นแต่พรหมโลกขั้นสุทธาวาส คือขั้นที่ ๑๒ ถึง ๑๖ ซึ่งเป็นที่เกิดของ พระอนาคามีบุคคลโดยเฉพาะ) เช่น รูปฌาน ๑ ส่งผลให้บังเกิดในพรหมโลกขั้นที่ ๑ ถึงขั้นที่ ๓ สุดแล้วแต่ความละเอียด ประณีตของกำลังฌาน ๑ เป็นต้น ส่วนอรูปฌานขั้นสูงสุดที่เรียกว่า “เนวสัญญานาสัญญายตนะ” นั้น ส่งผลให้บังเกิด ในพรหมโลกขั้นสูงสุด คือขั้นที่ ๒๐ ซึ่งมีอายุยืนยาวถึง ๘๔,๐๐๐ มหากัป เรียกกันว่า นิพพานพรหม คือ นานเสียจน เกือบหาเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดมิได้ จนเป็นที่หลงผิด เข้าใจผิดกันว่าเป็นนิพพาน การทำสมาธิ เป็นการสร้างบุญกุศลที่ยิ่งใหญ่ ลงทุนน้อยที่สุด เพราะไม่ได้เสียเงินเสียทอง ไม่ได้เหนื่อยยาก ต้องแบกหามแต่อย่างใด เพียงแต่ค่อยเพียรระวังรักษาสติ คุ้มครองจิตมิให้แส่ส่ายไปสู่อารมณ์อื่นๆ โดยให้ตั้งมั่น อยู่ในอารมณ์เดียวเท่านั้น การทำทานเสียอีก ยังต้องเสียเงินเสียทอง การสร้างโบสถ์ วิหาร ศาลาโรงธรรม ยังต้องเสียทรัพย์ และบางทีก็ต้องเข้าช่วยแบกหามเหนื่อยกาย แต่ก็ได้บุญน้อยกว่าการทำสมาธิอย่างที่เทียบกันไม่ได้ อย่างไรก็ดี การเจริญสมถภาวนา หรือสมาธินั้น แม้จะได้บุญอานิสงส์มากมายมหาศาลอย่างไร ก็ยังไม่ใช่บุญกุศล ที่สูงสุดยอดในพระพุทธศาสนา หากจะเปรียบกับต้นไม้ ก็เป็นเพียงเนื้อไม้เท่านั้น การเจริญวิปัสสนา (การเจริญปัญญา) จึงจะเป็นการสร้างบุญกุศลที่สูงสุดยอดในพระพุทธศาสนา หากจะเปรียบก็เป็นแก่นไม้โดยแท้ (๒) วิปัสสนาภาวนา (การเจริญปัญญา) เมื่อจิตของผู้บำเพ็ญตั้งมั่นในสมาธิจนมีกำลังดีแล้ว เช่น อยู่ในระดับฌานต่างๆ ซึ่งจะเป็นฌานระดับใดก็ได้ แม้แต่จะอยู่แค่เพียงอุปจารสมาธิ จิตของผู้บำเพ็ญเพียรก็ย่อมมีกำลัง และอยู่ในสภาพที่นิ่มนวล ควรแก่การเจริญวิปัสสนาต่อไปได้ อารมณ์ของวิปัสสนานั้น แตกต่างไปจากอารมณ์ของสมาธิ เพราะสมาธินั้น มุ่งให้จิตตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่ง แต่อารมณ์เดียวโดยแน่นิ่งอยู่เช่นนั้น ไม่นึกคิดอะไรๆ แต่ วิปัสสนา ไม่ใช่ให้จิตตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์เดียวนิ่งอยู่เช่นนั้น แต่เป็นจิตที่คิดใคร่ครวญหาเหตุและผลในสภาวธรรมทั้งหลาย และสิ่งที่เป็นอารมณ์ของวิปัสสนานั้นมีแต่เพียงอย่างเดียว ก็คือ “ขันธ์ ๕ “ ซึ่งนิยมเรียกกันว่า “รูป-นาม” โดยรูป มี ๑ นาม นั้น มี ๔ คือ เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ขันธ์ ๕ ดังกล่าว เป็นเพียงอุปาทานขันธ์ เพราะแท้จริงแล้วเป็นแต่เพียงสังขารธรรมที่เกิดขึ้นเนื่องจากการปรุงแต่ง แต่เพราะอวิชชา คือความไม่รู้เท่าทันสภาวธรรม จึงทำให้เกิดความยึดมั่น ด้วยอำนาจอุปาทานว่าเป็นตัวตนและของตน การเจริญวิปัสสนาก็โดยมีจิตพิจารณาจนรู้แจ้งเห็นจริงว่า อันสภาวธรรมทั้งหลายอันได้แก่ขันธ์ ๕ นั้น ล้วนแต่มีอาการเป็นพระไตรลักษณ์ คือ เป็นอนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา โดย (๑) อนิจจัง คือ ความไม่เที่ยง คือสรรพสิ่งทั้งหลายไม่ว่าจะเป็นคน สัตว์ สิ่งของ สมบัติ เพชร หิน ดิน ทราย และรูปกายของเรา ล้วนแต่ไม่เที่ยงแท้แน่นอน เมื่อมีเกิดขึ้นแล้ว ก็ต้องเปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา เพียงแต่จะช้าหรือเร็วเท่านั้น ไม่อาจจะให้ตั้งมั่นทรงอยู่ในสภาพเดิมได้ เช่น คน และสัตว์ เมื่อมีการเกิดขึ้นแล้ว ก็มีการเจริญเติบโตเป็นหนุ่มสาว และเฒ่าแก่ จนตายไปในที่สุด ไม่มีเว้นไปได้ทุกผู้คน แม้แต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระอรหันต์เจ้าทั้งหลาย พรหม และเทวดา ฯลฯ สรรพสิ่งทั้งหลายอันเนื่องมาจากการปรุงแต่ง ที่เรียกว่า อุปาทานขันธ์ ๕ เช่น รูปกาย ล้วนแต่เป็นแร่ธาตุต่างๆ มาประชุมรวมกัน เป็นหน่วยเล็กๆ ของชีวิตขึ้นก่อน ซึ่งเล็กจนตาเปล่ามองไม่เห็น เรียกกันว่า “เซลล์” แล้วบรรดาเซลล์เหล่านั้น ก็มาประชุมรวมกันเป็นรูปร่างของคนและสัตว์ขึ้น ซึ่งหน่วยชีวิตเล็กๆ เหล่านั้นก็มีการเจริญเติบโต และแตกสลายไป แล้วเกิดของใหม่ขึ้นแทนที่อยู่ตลอดเวลา ล้วนแล้วแต่เป็นอนิจจังไม่เที่ยงแท้แน่นอน (๒) ทุกขัง ได้แก่ “สภาพที่ทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้” ทุกขัง ในที่นี้มิได้หมายความแต่เพียงว่า เป็นความทุกข์กายทุกข์ใจเท่านั้น แต่การทุกข์กายทุกข์ใจก็เป็นลักษณะส่วนหนึ่งของทุกขัง ในที่นี้ สรพสิ่งทั้งหลายอันเป็นสังขารธรรม เมื่อเกิดขึ้นแล้ว ก็ไม่อาจที่จะทรงตัว ตั้งมั่นทนทานอยู่ในสภาพนั้นๆ ได้ตลอดไป แต่จะต้องเปลี่ยนแปลงไป เพียงแต่จะช้าหรือเร็วเท่านั้น เมื่อได้เกิดมาเป็นเด็ก จะให้ทรงสภาพเป็นเด็กๆ เช่นนั้นตลอดไปหาได้ไม่ จะต้องเปลี่ยนแปลงไปเป็นหนุ่มและสาว แล้วก็เฒ่าแก่จนในที่สุดก็ต้องตายไป แม้แต่ขันธ์ที่เป็นนามธรรม อันได้แก่ เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ก็ไม่มีสภาพทรงตัวเช่นเดียวกัน เช่น ขันธ์ที่เรียกว่า เวทนา อันได้แก่ ความสุขกาย สุขใจ ทุกข์กาย ทุกข์ใจ และไม่สุขไม่ทุกข์ ซึ่งเมื่อมีอารมณ์อย่างใดดังกล่าวเกิดขึ้นแล้ว จะให้ทรงอารมณ์เช่นนั้นตลอดไป ย่อมเป็นไปไม่ได้ นานไป อารมณ์เช่นนั้น หรือเวทนาเช่นนั้น ก็ค่อยๆ จางไป แล้วเกิดอารมณ์ใหม่ชนิดอื่นขึ้นมาแทน (๓) อนัตตา ได้แด่ “ความไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่สิ่งของ” โดยสรรพสิ่งทั้งหลาย อันเนื่องมาจากการปรุงแต่ง ไม่ว่าจะเป็น “รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ” ล้วนแต่เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย เช่น รูปขันธ์ ย่อมประกอบขึ้นด้วยแร่ธาตุต่างๆ มาประชุมรวมกันเป็นกลุ่มก้อน เป็นหน่วยชีวิตเล็กๆ ขึ้นก่อน เรียกในทางวิทยาศาสตร์ว่า “เซลล์” แล้วเซลล์เหล่านั้นก็ประชุมรวมกัน เป็นรูปใหม่ขึ้น จนเป็นรูปกายของคนและสัตว์ทั้งหลาย ซึ่งพระท่านรวมเรียกหยาบๆ ว่า เป็นธาตุ ๔ มาประชุมรวมกัน โดยส่วนที่เป็นของแข็ง มีความหนักแน่น เช่น เนื้อ กระดูก ฯลฯ เรียกว่า ธาตุดิน ส่วนที่เป็นของเหลว เช่น น้ำเลือด น้ำเหลือง น้ำลาย น้ำดี น้ำปัสสาวะ น้ำไขข้อ น้ำมูก น้ำลาย ฯลฯ รวมเรียกว่า ธาตุน้ำ ส่วนสิ่งที่ให้พลังงาน และอุณหภูมิในร่างกาย เช่น ความร้อน ความเย็น เรียกว่า ธาตุไฟ ส่วนธรรมชาติที่ทำให้เกิดความเคลื่อนไหว ความตั้งมั่น ความเคร่ง ความตึง และบรรดาสิ่งเคลื่อนไหวไปมา ในร่างกายเรียกว่า ธาตุลม (โดยธาตุ ๔ ดังกล่าวนี้ มิได้มีความหมายอย่างเดียวกับคำว่า “ธาตุ” อันหมายถึงแร่ธาตุในทางวิทยาศาสตร์) ธาตุ ๔ หยาบๆ เหล่านี้ได้มาประชุมรวมกันขึ้น เป็นรูปกายของคน สัตว์ และสรรพสิ่งทั้งหลายเพียงชั่วคราวเท่านั้น เมื่อนานไปก็ย่อมเปลี่ยนแปลง แล้วแตกสลาย กลับคืนไปสู่สภาพเดิม โดยส่วนที่เป็นดิน ก็กลับไปสู่ดิน ส่วนที่เป็นน้ำ ก็กลับไปสู่น้ำ ส่วนที่เป็นไฟ ก็กลับไปสู่ไฟ ส่วนที่เป็นลม ก็กลับไปสู่ความเป็นลม ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนของคนและสัตว์ที่ไหนแต่อย่างใด จึงไม่อาจจะยึดมั่นถือมั่น รูปกายนี้ว่าเป็นตัวเราของเรา ให้เป็นที่พึ่งอันถาวรได้ สมาธิ ย่อมมีการรมฐาน ๔๐ เป็นอารมณ์ ซึ่งผู้บำเพ็ญอาจจะใช้กรรมฐานบทใดบทหนึ่งตามแต่ที่ถูกแก่จริตนิสัยของตนก็ย่อมได้ ส่วนวิปัสสนานั้น มีแต่เพียงอย่างเดียว คือมีขันธ์ ๕ เป็นอารมณ์ เรียกสั้นๆ ว่า มีแต่รูปกับนามเท่านั้น ขันธ์ ๕ นั้นได้แก่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นสภาวธรรม หรือสังขารธรรม อันเกิดขึ้นเนื่องจากการปรุงแต่ง เมื่อเกิดขึ้นแล้ว ก็ไม่เที่ยง ทนอยู่ในสภาพเช่นนั้นไม่ได้ และไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนแต่อย่างใด อารมณ์ของวิปัสสนานั้น เป็นอารมณ์จิตที่ใคร่ครวญ หาเหตุและผลในสังขารทั้งหลาย จนรู้แจ้งเห็นจริงว่า เป็นพระไตรลักษณ์ คือเป็นอนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา และเมื่อใด ที่จิตยอมรับสภาพความเป็นจริงว่า เป็นอนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา เรียกว่าจิตเข้าสู่กระแสธรรม ตัดกิเลสได้ ปัญญาที่จะเห็นสภาพความเป็นจริงดังกล่าว ไม่ใช่แต่เพียงปัญญาที่นึกคิดและคาดหมายเอาเท่านั้น แต่ย่อมมีตาวิเศษ หรือตาใน ที่พระท่านเรียกว่า “ญาณทัสสนะ” เห็นเป็นเช่นนั้นจริงๆ ซึ่งจิตที่ได้ผ่านการอบรมสมาธิมาจนมีกำลังดีแล้ว ย่อมีพลังให้เกิดญาณทัสสนะ หรือปัญญาที่รู้แจ้งเห็นจริงดังกล่าวได้ เรียกกันว่า “สมาธิอบรมปัญญา” คือ สมาธิทำให้วิปัสสนาญาณเกิดขึ้น และเมื่อวิปัสสนาญาณได้เกิดขึ้นแล้ว ย่อมถ่ายถอนกิเลสให้เบาบางลง จิตย่อมจะเบาและใสสะอาด บางจากกิเลสทั้งหลายไปตามลำดับ สมาธิจิตก็จะยิ่งก้างหน้าและตั้งมั่นมากยิ่งๆ ขึ้นไปอีก เรียกว่า “ปัญญาอบรมสมาธิ” ฉะนั้น ทั้ง สมาธิและวิปัสสนา จึงเป็นทั้งเหตุและผลของกันและกันและอปการะซึ่งกันและกัน จะมีวิปัสสนาปัญญาเกิดขึ้น โดยขาดกำลังสมาธิสนับสนุนมิได้เลย อย่างน้อยที่สุดก็จะต้องใช้กำลังของขณิกสมาธิเป็นบาทฐานในระยะแรกเริ่ม สมาธิจึงเปรียบเหมือนกับหินลับมีด ส่วนวิปัสสนานั้น เหมือนกับมีดที่ได้ลับกับหินคมดีแล้ว ย่อมมีอำนาจถากถางตัดฟันบรรดากิเลสทั้งหลายให้ขาดและพังลงได้ อันสังขารธรรมทั้งหลายนั้น ล้วนแต่เป็นอนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา ไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ตน ไม่ใช่คน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่ตัวเราแต่อย่างใด ทุกสรรพสิ่งล้วนแล้วเป็นแค่ดิน น้ำ ลม และไฟ มาประชุมรวมกันชั่วคราวตามเหตุตามปัจจัยเท่านั้น ในเมื่อจิตได้เห็นความเป็นจริงเช่นนี้แล้ว จิตก็จะคลายจากอุปาทาน คือ ความยึดมั่นถือมั่น โดยคลายกำหนัดในลาภ ยศ สรรเสริญ สุขทั้งหลาย ความโลภ ความโกรธ และความหลง ก็จะเบาบางลงไปตามลำดับปัญญาญาณ จนหมดสิ้น จากกิเลสทั้งมวล บรรลุซึ่งพระอรหัตผล ฉะนั้น การที่จะเจริญวิปัสสนาภาวนาได้ จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องพยายามทำสมาธิให้ไดเสียก่อน หากทำสมาธิยังไม่ได้ (อย่างน้อยที่สุดจะต้องได้ขณิกสมาธิ) ก็ไม่มีทางที่จะเกิดวิปัสสนาปัญญาขึ้น สมาธิจึงเป็นเพียงบันไดขั้นต้น ที่จะก้าวไปสู่การเจริญวิปัสสนาปัญญาเท่านั้น ซึ่งพระพุทธองค์ได้ตรัสไว้ว่า “ผู้ใดแม้จะทำสมาธิ จนจิตเป็นฌานได้นานถึง ๑๐๐ ปี และไม่เสื่อม ก็ยังได้บุญน้อยกว่าผู้ที่มองเห็นความเป็นจริงที่ว่า สรรพสิ่งทั้งหลายอันเนื่องมาจากการปรุงแต่ง ล้วนแล้วแต่เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา แม้จะเห็นเพียงชั่วขณะจิตเดียวก็ตาม” ดังนี้จะเห็นได้ว่า วิปัสสนาภาวนานั้น เป็นสุดยอดของการสร้างบุญบารมีโดยแท้จริง และการกระทำก็ไม่เหนื่อยยากลำบาก ไม่ต้องแบกหาม ไม่ต้องลงทุน หรือเสียทรัพย์แต่อย่างใด แต่ก็ได้กำไรมากที่สุด เมื่อเปรียบการให้ทาน เช่นกับกรวดและทราย ก็เปรียบวิปัสสนาได้กับเพชรน้ำเอก ซึ่งทานย่อมไม่มีทางที่จะเทียบศีล ศีลก็ไม่มีทางที่จะเทียบกับสมาธิ และสมาธิก็ไม่มีทางที่จะเทียบกับวิปัสสนา แต่ตราบใดที่เราท่านทั้งหลาย ยังไม่ถึงฝั่งพระนิพพาน ก็ต้องเก็บเล็กผสมน้อย โดยทำทุกๆ ทางเพื่อความไม่ประมาท โดยทำทั้งทาน ศีล และภาวนา สุดแต่โอกาสจะอำนวยให้ จะถือว่าการเจริญวิปัสสนาภาวนา นั้นลงทุนน้อยที่สุด แต่ได้กำไรมากที่สุด ก็เลยทำแต่วิปัสสนาอย่างเดียว โดยไม่ยอมลงทุนทำบุญให้ทานใดๆ ไว้เลย เมื่อเกิดชาติหน้า เพราะเหตุที่ยังไม่ถึงฝั่งพระนิพพาน ก็เลยมีแต่ปัญญาอย่างเดียว ไม่มีจะกินจะใช้ ก็เห็นจะเจริญวิปัสสนา ให้ถึงฝั่งพระนิพพานไปไม่ได้เหมือนกัน อนึ่ง พระพุทธองค์ได้ตรัสเอาไว้ว่า “ผู้ใดมีปัญญา พิจารณาจนจิตเห็นความจริงว่า ร่างกายนี้เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ตน คน สัตว์ แม้จะนานเพียงชั่วช้างยกหูขึ้นกระดิก ก็ยังดีเสียกว่าผู้ที่มีอายุยืนยาวถึง ๑๐๐ ปี แต่ไม่มีปัญญา เห็นความเป็นจริงดังกล่าว” กล่าวคือ แม้ว่าอายุของผู้นั้นจะยืนยาวมานานเพียงใด ก็ย่อมโมฆะเสียเปล่าไปอีกชาติหนึ่ง จัดว่าเป็น “โมฆะบุรุษ” คือ บุรุษผู้สูญเปล่า การเจริญสมถะและวิปัสสนาอย่างง่ายๆ ประจำวัน ต่อไปนี้เป็นการเจริญสมถะและวิปัสสนาอย่างง่ายๆ ประจำวัน ซึ่งควรจะได้ทำให้บ่อยๆ ทำเนืองๆ ทำให้มากๆ ทำจนจิตเป็นอารมณ์แนบแน่น ไม่ว่าจะอยู่ในอิริยาบถใด คือ ไม่ว่าจะยืน เดิน นั่ง หรือนอน ก็คิดและใคร่ครวญถึงความเป็นจริง ๔ ประการ ดังต่อไปนี้ ซึ่งหากทำแล้วพระพุทธองค์ตรัสว่า “จิตของผู้นั้น ไม่ห่างจากวิปัสสนา และเป็นผู้ไม่ห่าง จากมรรคผลนิพพาน” คือ (๑) มีจิตใคร่ครวญถึง มรณัสสติกรรมฐาน หรือ มรณานุสสติกรรมฐาน ซึ่งก็คือ การใคร่ครวญถึง ความตายเป็นอารมณ์ อันความรณะนั้นเป็นธรรมอันยิ่งใหญ่ ไม่มีใครสามารถที่จะเอาชนะได้ แม้แต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งทรงบรรลุถึงพระธรรม อันยิ่งใหญ่ที่ไม่ตาย แต่ก็ยังต้องทรงทอดทิ้งพระสรีระร่างกายไว้ในโลก การระลึกถึงความตาย จึงเป็นการเตือนสติให้ตื่น รีบพากเพียรชำระจิตใจให้สะอาดบริสุทธิ์ก่อนที่ความตายจะมาถึง พระพุทธองค์ตรัสสรรเสริญมรณัสสติว่า “มรณัสสติ (การระลึกถึงความตาย) อันบุคคลทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่ หยั่งลงสู่พระนิพพานเป็นที่สุด ฯลฯ” อันมรณัสสติกรรมฐานนั้น แม้แต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และพระอรหันต์เจ้าทั้งหลาย ซึ่งแม้จะได้บรรลุมรรคผลแล้ว ก็ยังไม่ยอมละเพราะยังทรงอารมณ์ มรณัสสตินี้ควบคู่ไปกับวิปัสสนา เพื่อความอยู่เป็นสุข ซึ่งพระพุทธองค์ได้ตรัสกับพระอานนท์ว่า “ตถาคตนึกถึงความตายอยู่ทุกลมหายใจเข้าและออก ฯลฯ” มรณัสสติกรรมฐานนั้น โดยปกติเป็นกรรมฐานของผู้ที่มีพุทธิจริต คือคนที่ฉลาด การใคร่ครวญถึงความตายเป็นอารมณ์ ก็คือการพิจารณาถึงความเป็นจริงที่ว่า ไม่ว่าคนและสัตว์ทั้งหลาย เมื่อมีเกิดขึ้นแล้ว ย่อมเจริญวัยเป็นหนุ่มสาว เฒ่าแก่ แล้วก็ตายไปในที่สุด ไม่อาจจะล่วงพ้นไปได้ทุกผู้คน ไม่ว่าจะเป็นคนยากดี มีจน เด็ก หนุ่มสาว เฒ่าแก่ สูงต่ำ และเหลื่อมล้ำกันด้วยฐานันดรศักดิ์อย่างใด ในที่สุดก็ทันกันและเสมอกันด้วยความตาย ผู้ที่คิดถึงความตายนั้นเป็นผู้ที่ไม่ประมาทในชีวิต ไม่มัวเมาในชีวิต เพราะเมื่อคิดถึงแล้ว ย่อมแร่งกระทำความดี และบุญกุศล เกรงกลัวต่อบาปกรรมที่จะติดตามไปในภพชาติหน้า ผู้ที่ประมาทมัวเมา ต่อทรัพย์สมบัติ ยศศักดิ์ ตำแหน่งหน้าที่นั้น เป็นผู้ที่หลง เหมือนกับคนที่หูหนวกและตาบอด ซึ่งโบราณกล่าวตำหนิไว้ว่า “หลงลำเนาเขาป่า กู่หาพอได้ยิน หลงยศอำนาจ ย่อมหูหนวกและตาบอด” และกล่าวไว้อีกว่า “หลงยศลืมตาย หลงกายลืมแก่” และความจริงก็มีให้เห็นอยู่ทุกวันนี้ ที่บางท่านใกล้จะเข้าโลงอยู่แล้ว ก็ยังหลงและมัวเมาในอำนาจวาสนา ตำแหน่งหน้าที่ จนลืมไปว่าอีกไม่นานตนก็จะต้องทิ้งต้องจากสิ่งเหล่านี้ไป และเมื่อได้พรากจากไปแล้ว ทุกสิ่งทุกอย่างที่ตนได้หลงมัวเมาเฝ้าแสวงหาทวงแหนเกาะแน่นอยู่นั้น ก็จะต้องสลายไปพร้อมกับความตายของตน สูญเปล่า... ไม่ได้ตามติดกับตนไปด้วยเลย แล้วไม่นาน ผู้คนที่อยู่เบื้องหลังก็ลืมเลือนตนไปเสียสิ้น ดูเหมือนกับวันเวลาทั้งหลายที่ตนได้ต่อสู้มาเหนื่อยยาก ขวนขวายจนดิ่งดังกล่าวมานั้นจะต้องโมฆะและสูญเปล่าไป โดยหาสารประโยชน์อันใดมิได้เลย มรณัสสติกรรมฐานนั้น เมื่อพิจารณาไปนานๆ จิตจะค่อยๆ สงบระงับจากนิวรณ์ธรรม ๕ ประการ ในที่สุด จิตก็เข้าถึงอุปจารสมาธิ ซึ่งความจริงกรรมฐานกองนี้เป็นเพียงสมถภาวนาเท่านั้น แต่ก็ใกล้กับวิปัสสนา เพราะอารมณ์จิตที่ใช้นั้นเป็นการพิจารณาหาเหตุ และผลในรูปธรรมและนามธรรม ซึ่งหากพลิกการพิจารณาว่า อันชีวิตของคนและสัตว์ ตลอดจนสรรพสิ่งทั้งหลาย ไม่อาจทรงตังตั้งมั่นอยู่ได้ เมื่อมีเกิดขึ้นแล้ว ก็ย่อมมีความตายเป็นที่สุด เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ดังนี้แล้ว ก็เป็นวิปัสสนาภาวนา สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อใกล้จะเสด็จดับขันธ์เข้าสู่ปรินิพพานอีก ๓ เดือน ได้ทรงปลงอายุสังขาร แล้วตรัสสอนพระอานนท์พร้อมหมู่ภิกษุทั้งหลายว่า“อานนท์ ตถาคตได้เคยบอกเธอแล้วมิใช่หรือว่า สัตว์จะต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจไปทั้งสิ้น สัตว์จะได้ตามปราถนาในสังขารนี้แต่ที่ไหนเล่า การที่จะขอให้สิ่งที่เกดขึ้นแล้ว เป็นแล้ว ที่มีปัจจัยปรุงแต่งแล้ว และที่จะต้องมีการแตกดับเป็นธรรมดาว่า อย่าฉิบหายเลย ดังนี้ ย่อมไม่อยู่ในฐานะที่จะมีได้เป็นได้ การปรินิพพานของเราตถาคตจักมีในการไม่นานเลย ถัดจากนี้ไปอีก ๓ เดือน เราจักนิพพาน ฯลฯ สัตว์ทั้งปวง ทั้งที่เป็นคนหนุ่ม คนแก่ ทั้งที่เป็นพาลและบัณฑิต ทั้งที่มั่งมีและยากจน ล้วนแต่มีความตายเป็นเบื้องหน้า เปรียบเหมือนภาชนะดิน ที่ช่างหม้อได้ปั้นแล้ว ทั้งเล็กและใหญ่ ทั้งที่สุกและที่ยังดิบ ล้วนแต่มีการแตกทำลายไปในที่สุดฉันใด ชีวิตแห่งสัตว์ทั้งหลาย ก็ล้วนแต่มีความตายเป็นเบื้องหน้าฉันนั้น วัยของเราแก่หง่อมแล้ว ชีวิตของเราริบหรี่แล้ว เราจักต้องละพวกเธอไป ที่พึงของตัวเอง เราได้ทำแล้ว ภิกษุทั้งหลาย เธอจงเป็นผู้ไม่ประมาท มีสติ มีศีล มีความดำริอันตั้งไว้แล้วด้วยดี ตามรักษาซึ่งจิตของตนเถิด ในธรรมวินัยนี้ ภิกษุใดเป็นผู้ไม่ประมาท ก็สามารถที่จะถึงที่สุดแห่งทุกข์ได้” และในวันมหาปรินิพพาน พระพุทธองค์ได้ทรงตรัสปัจฉิมโอวาทที่เรียกกันว่า “อัปปมาทธรรม” สั่งสอนพระสาวกเป็นครั้งสุดท้าย จนดูเหมือนว่า พระธรรม ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ที่ทรงสั่งสอนมานานถึง ๔๕ พรรษา ได้มาประมวลประชุมรวมกันในปัจฉิมโอวาทนี้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ตถาคต ขอเตือนท่านทั้งหลายว่า สังขารทั้งหลายมีความเสื่อเป็นธรรมดา พวกเธอจงยังประโยชน์ตน และประโยชน์ท่านให้ถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาทเถิด” (๒) มีจิตใคร่ครวญถึง อสุภกรรมฐาน อสุภ ได้แก่สิ่งที่ไม่สวยไม่งาม เช่น ซากศพ คือมีจิตพิจารณาให้เห็นความเป็นจริงที่ว่า ร่างกายของคนและสัตว์ อันเป็นที่นิยมรักใคร่เสน่หา และเป็นบ่อเกิดแห่งตัณหาราคะ กามกิเลส ว่าเป็นของสวยของงาม เป็นที่เจริญตาเจริญใจ ไม่ว่าร่างกายของตนเองและของผู้อื่นก็ตาม แท้ที่จริงแล้วก็เป็นอนิจจัง คือไม่เที่ยงแท้แน่นอน ทุกขัง คือทนอยู่ในสภาพเช่นนั้นไม่ได้ วันเวลาย่อมพรากความสวยสดงดงามให้ค่อยๆ จากไป จนเข้าสู่วัยชรา ซึ่งจะมองหาความสวยงามใดๆ หลงเหลืออยู่มิได้อีกเลย และในทันใดที่ตายลงนั้น แม้แต่ผู้ที่เคยสนิทสนมเสน่หารักใคร่ อันรวมถึง สามี ภริยา และบุตรธิดา ต่างก็พากันรังเกียจในทันใด ไม่ยอมเข้าใกล้ บ้านของตนเองที่อุตส่าห์สร้างมาด้วยความเหนื่อยยาก ก็ไม่ยอมให้อยู่ ต้องรีบๆ ขนออกไปโดยไวไว้ที่วัด แล้วซากเหล่านั้นก็เน่าเปื่อยสลายไป เริ่มตั้งแต่เนื้อหนัง ค่อยๆ พองออก ขึ้นอืด น้ำเลือดน้ำเหลืองก็เริ่มเน่า แล้วเดือดไหลออกจากทวารทั้งหลาย เนื้อหนังแตกปริ แล้วร่วงหลุดออก จนเหลือแต่กระดูก ส่งกลิ่นเน่าเหม็น เป็นที่น่าเกลียดน่ากลัวสะอิดสะเอียน หาความสวยงามน่ารักเสน่หาใดๆ มิได้เลย ทั้งไร้คุณค่าและประโยชน์ คงมีค่าแค่เป็นอาหารแก่หมู่หนอนเท่านั้น แล้วในที่สุดกระดูกก็กระจัดกระจายเรี่ยราดอยู่ตามดินและทราย แตกละเอียดผุพังเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย แล้วเปื่อยยุ่ยเป็นปุ๋ยแก่พืชผักต่อไป หาตัวตนของเราของเขาที่ไหนมิได้เลย สังขารของเราในที่สุดก็เป็นเช่นนี้ ไม่มีอะไรคงเหลือไว้เลย (๓) มีจิตใคร่ครวญถึง กายคตานุสสติกรรมฐาน บางทีเรียกกันง่ายๆ ว่า “กายคตาสติกรรมฐาน” เป็นกรรมฐานที่มีอานิสงส์มากเพราะสามารถทำให้ละ “สักกายทิฐิ” อันเป็นสังโยชน์ข้อต้นได้โดยง่าย และเป็นกรรมฐานที่เกี่ยวกับ การพิจารณาร่างกาย ให้เห็นสภาพตามความเป็นจริง ซึ่งมักพิจารณาร่วมกับอสุภกรรมฐาน มรณัสสติกรรมฐาน ซึ่งพระอริยเจ้าทุกๆ พระองค์ที่จะบรรลุพระอรหันต์ผลจะต้องผ่านการพิจารณากรรมฐานทั้ง ๓ กองนี้เสมอ มิฉะนั้นแล้วจะเป็นพระอรหันต์ในพระพุทธศาสนามิได้ ทั้งนี้เพราะบรรดาสรรพกิเลสทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นความโลภ โกรธ และหลง ต่างก็เกิดขึ้นที่กายนี้ เพราะความยึดมั่นถือมั่นด้วยอำนาจอุปาทาน ว่าเป็นตัวตนและของตน จึงได้เกิดกิเลสดังกล่าวขึ้น การพิจารณาละกิเลส ก็จะต้องพิจารณาละที่กายนี้เอง มรรค ผล และนิพพาน ไม่ต้องไปมองหาที่ไหนเลย แต่มีอยู่พร้อมให้รู้แจ้งเห็นจริงได้ที่ร่างกายอันกว้างศอก ยาววา และหนาคืบนี่เอง การพิจารณาก็คือ ให้มีจิตใคร่ครวญให้เห็นตามสภาพความเป็นจริงที่ว่า อันร่างกายของคน และสัตว์ที่ต่างก็เฝ้าทะนุถนอมรักใคร่ว่าสวยงาม เป็นที่สนิทเสน่หาชมเชย รักใคร่ซึ่งกันและกันนั้น แท้ที่จริงแล้วก็เป็นของปฏิกูล สกปรกโสโครก ไม่สวยไม่งาม ไม่น่ารักใคร่ทะนุถนอม เป็นมูตร คูถ เพราะเป็นที่บรรจุไว้ซึ่งสรรพสิ่งทั้งหลาย ที่เป็นพืชผัก และบรรดาซากศพของสัตว์ ที่บริโภคเข้าไปภายในกระเพาะนั้น แท้ที่จริงแล้วก็เป็นที่รวมฝังซากศพของบรรดาสัตว์ทั้งหลายนั่นเอง พืชและสัตว์ที่บริโภคเข้าไป ก็ล้วนแต่เป็นของที่สกปรก ที่ขับถ่ายออกมาจากทวารทั้งหลาย ก็เป็นของที่สกปรกโสโครก ซึ่งต่างก็พากันรังเกียจว่าเป็น “ขี้” มีสารพัดขี้ ซึ่งแม้แต่จะเหลือบตาไปมอง ก็ยังไม่กล้าที่จะมอง แต่แท้ที่จริงแล้ว ในท้อง กระเพาะ ลำไส้ ภายในร่างกายของทุกผู้คนก็ยังคงมีบรรดาขี้เหล่านี้บรรจุอยู่ เพียงแต่มีหนังห่อหุ้มปกปิดไว้ ทำให้ไม่สามารถมองเห็นได้จากภายนอกเท่านั้น แต่เราท่านทั้งหลายก็พากันกกกอด คลึงเคล้า เฝ้าชมเชยก้อนขี้เหล่านี้ว่าเป็นของที่สวยงาม น่ารักน่าใคร่ น่าเสน่หายิ่งนัก เมื่อมีการขับถ่าย ออกจากทวารหู ก็เรียกกันว่าขี้ของหู คือ “ขี้หู” ที่ขับถ่ายออกทางตา ก็เรียกกันว่า “ขี้ตา” ที่ติดฟันอยู่ ก็เรียกว่า “ขี้ฟัน” ที่ออกจากทางจมูก ก็เรียกว่าขี้ของจมูก คือ “ขี้มูก” รวมความแล้ว บรรดาสิ่งที่ขับถ่ายออกมา พอพ้นจากร่างกายในทันใดนั้นเอง จากเดิมที่เป็นของน่ารักน่าเสน่หา ก็กลายเป็นของที่น่ารังเกียจไปโดยพลัน กลายเป็นสิ่งที่ไม่มีใครอยากรักอยากเสน่หา เพราะเป็นขี้ และไม่มีใครอยากเป็นเจ้าของด้วย เมื่อไม่มีใครยอมรับเป็นเจ้าของ สิ่งที่ขับถ่ายออกมาทางผิวหนังจึงหาเจ้าของมิได้ ซึ่งต่างก็โทษกันว่า “ขี้ของใครก็ไม่ทราบ” นานเข้าก็กลายเป็น “ขี้ไคล” ดังนี้เป็นต้น นอกจากสิ่งที่ขับถ่ายออกมา จะน่ารังเกียจดังกล่าวแล้ว แม้แต่สังขารร่างกายของคนเรา เมื่อได้แยกแยะ พิจารณาไปแล้ว ก็จะเห็นความจริงที่ว่าเป็นที่ประชุมรวมกันของอวัยวะชิ้นต่างๆ ที่เป็นตา หู จมูก ลิ้น กล้ามเนื้อ ปอด ตับ ม้าม หัวใจ กระเพาะอาหาร ลำไส้ หนังพังผืด เส้นเอ็น น้ำเลือด น้ำเหลือง น้ำลาย น้ำตา น้ำปัสสาวะ ฯลฯ รวมเรียกกันว่า อาการ ๓๒ ซึ่งต่างก็ห้อยแขวนระเกะระกะ ยานโตงเตงอยู่ภายใน เมื่อแยกหรือควักออกดูทีละชิ้น จะไม่มีชิ้นใดที่เรียกกันว่าสวยงาม น่ารัก น่าพิศวาสเลย กลับเป็นของที่น่าเกลียด ไม่สวย ไม่งาม ไม่น่าดู แต่สิ่งเหล่านี้ก็รวมประกอบอยู่ภายในร่างกายของเราทุกผู้คน โดยมีหนังหุ้มห่อปกปิดอยู่โดยรอบ หากไม่มีผืนหนังหุ้มห่อ และสามารถมองเห็นภายในได้แล้ว แม้จะเป็นร่างกายของคนที่รักสุดสวาทขาดใจก็คงจะต้องรีบเบือนหน้าหนี อกสั่น ขวัญหาย บางทีอาจจะต้องถึงขั้นจับไข้ไปเลย ซึ่งอาจจะต้องถึงขั้นทำพิธีปัดรังควาน เรียกขวัญกันอีก หากจะถือว่าความน่ารักเสน่หาอยู่ที่ผืนหรือแผ่นหนังรอบกายก็ลองลอกออกมาดู ก็จะเห็นว่า ไม่สวยงามตรงไหนแต่อย่างใด แต่ที่นิยมยกย่อง รักใคร่ หลงกันอยู่ ก็คือผิว หรือสีของหนังชั้นนอกสุดเท่านั้น ถ้าได้ลอกหรือขูดผิวชั้นนอกสุดออกให้เหลือแต่หนังแท้แดงๆ แล้ว แม้แต่จะเป็นหนังสดสวยของนางงามจักรวาล ผู้คนก็คงจะต้องเบือนหน้าหนี จึงเป็นที่แน่ชัดว่า คนสวยคนงามก็คงสวยและงามกันแค่ผิวหนังชั้นนอกสุด รักและเสน่หากันที่ผิวหนัง ซึ่งเป็นของฉาบฉวยนอกกาย หาได้สวยงามน่ารักเข้าไปถึงตับ ปอด หัวใจ ม้าม กระเพาะ ลำไส้ น้ำเลือด น้ำเหลือง อุจจาระ ปัสสาวะ ที่อยู่ภายในร่างกายด้วยไม่ ส่วนผู้ที่ผิว หรือสีของหนังดำด่าง ไม่สดใสน่าดู ก็พยายามทาลิปสติก แต่งหนา ทาสี พอกแป้ง ย้อม และดึงกันเข้าไปให้เต่งตึง และออกเป็นสีสันต่างๆ แล้วก็พากันนิยมยกย่องชวนชมกันไป แท้ที่จริงแล้วก็เป็นความหลง โดยหลงรักกันที่แป้งและสีที่พอก หลอกให้เห็นฉาบฉวยอยู่แค่ที่ผิวภายนอกเท่านั้น เมื่อมีสติพิจารณาเห็นความเป็นจริงอยู่เช่นนี้ หากจิตมีกำลังก็จะทำให้นิวรณ์ ๕ ประการ ค่อยๆ สงบระงับลงทีละเล็กทีละน้อย โดยเฉพาะจิตจะไม่เดือดร้อนกระวนกระวาย แส่ส่ายไปในอารมณ์รักๆ ใคร่ๆ ในที่สุดจิตก็จะสงบเยือกเย็นลง จนถึงขั้นอุปจารสมาธิได้ หากสติมีกำลังพอก็อาจถึงขั้นปฐมฌานได้ กายคตานุสสติกรรมฐานนั้น ความจริงก็เป็นเพียงสมถภาวนาที่ทำให้จิตเป็นสมาธิได้ถึงขั้นปฐมฌาน แต่ก็เป็นสมถภาวนาที่เจือไปด้วยวิปัสสนาภาวนา เพราะเป็นอารมณ์จิตที่ใคร่ครวญ หาเหตุและผล ตามสภาพเป็นจริงของสังขารธรรม หรือสภาวธรรม ซึ่งหากได้พลิกการพิจารณาอาการ ๓๒ ดังกล่าว ให้รู้แจ้งเห็นจริงว่า อาการ ๓๒ ดังกล่าวนั้นไม่มีการทรงตัว เมื่อมีเกิดเป็นอาการ ๓๒ ขึ้นแล้ว ก็ไม่อาจจะตั้งมั่นอยู่ได้ จะต้องเปลี่ยนแปลงไปเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ตน ไม่ใช่คน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่ตัวเราและของเราแต่อย่างใด ร่างกายไม่ว่าของตนเองและของผู้อื่น ต่างก็เต็มไปด้วยความทุกข์ ดังนี้ก็เป็นวิปัสสนา กายคตานุสสติกรรมฐาน เป็นกรรมฐานที่เมื่อได้พิจารณาไปแล้วก็จะเห็นความสกปรกโสโครกของร่างกาย จนรู้แจ้งเห็นจริงว่า ไม่น่ารัก ไม่น่าใคร่ จึงเป็นกรรมฐานที่มีอำนาจทำลายราคะกิเลส และเมื่อได้รู้แจ้งเห็นจริงดังกล่าวมากๆ เข้า จิตก็จะมีกำลัง และเกิดความเบื่อหน่าย ในร่างกายทั้งของตนเอง และของผู้อื่น จึงเป็นการง่ายที่ “นิพพิทาญาณ” จะเกิดขึ้น และเมื่อ “นิพพิทาญาณ” ได้เกิดขึ้นแล้วจนมีญาณทัสสนะเห็นแจ้งอาการพระไตรลักษณ์ว่า ร่างกายเป็นอนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา ไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ตน ไม่ใช่เรา ไม่ใช่เขาแต่อย่างใด จิตก็จะน้อมไปสู่ “สังขารรุเปกขาญาณ” ซึ่งมีอารมณ์อันวางเฉย ไม่ยินดียินร้านในร่างกายและคลายกำหนัดในรูปนามขันธ์ ๕ เรียกว่า จิตปล่อยวาง ไม่ยึดมั่นถือมั่นในอุปทานขันธ์ ๕ ซึ่งจะนำไปสู่การละ “สักกายทิฐิ” อันเป็นการละความเห็นผิดในร่างกายนี้เสียได้ และถ้าละได้เมื่อใด ก็ใกล้ที่จะบรรลุความเป็นพระอริยเจ้าเบื้องต้นในพระพุทธศาสนา คือเป็น “พระโสดาบัน” สมจริงตามที่พระพุทธองค์ได้ตรัสไว้ว่า การเจริญพระกรรมฐานกองนี้จะไม่ห่างจากมรรค ผล และนิพพาน ฉะนั้น กายคตานุสสติกรรมฐาน จึงเป็นกรรมฐานเครื่องที่จะทำให้บรรลุพระอรหันต์ได้โดยง่าย ซึ่งในสมัยพระพุทธกาล ท่านที่บรรลุแล้วด้วยพระกรรมฐานกองนี้มีเป็นอันมาก ในสมัยที่พระพุทธองค์ตรัสรู้ใหม่ๆ ได้เสด็จไปพบพราหมณ์สองสามีภรรยา ซึ่งมีธิดาที่สุดสวยนามว่า “นางมาคัณฑิยา” พราหมณ์ทั้งสองชอบใจในพระพุทธองค์ จึงได้ออกปากยกนางมาคัณฑิยาให้เป็นภรรยา พระพุทธองค์ไม่ทรงรับไว้ และมองเห็นนิสัยของพราหมณ์ทั้งสองที่จะได้บรรลุมรรคผล จึงได้ทรงแสดงธรรม ให้ฟังโดยยกเอากายคตานุสสติกรรมฐานขึ้นมาเทศน์ ซึ่งได้ตรัสตำหนิโทษแห่งความสวยงาม แห่งรูปกายของนางมาคัณฑิยาว่า พระพุทธองค์ทรงเห็นว่าเป็นของปฏิกูล มูตร คูถ เน่าเหม็น หาความสวยงามใดๆ มิได้เลย พราหมณ์ทั้งสองพิจารณาตามก็ได้ดวงตาเห็นธรรม ส่วนนางมาคัณฑิยาผูกโกรธ ต่อมาเมื่อนางได้เป็นพระมเหสีของพระเจ้าอุเทนแห่งกรุงโกสัมพี ก็ได้จองล้างจองผลาญ พระพุทธองค์อย่างไม่มีที่สิ้นสุด เพราะอำนาจแห่งแรงพยาบาท อีกท่านหนึ่งก็คือ นางอภิรูปนันทา ซึ่งเป็นพระราชธิดาของพระเจ้าเขมกะศากยะ ก็จัดว่ามีรูปงามที่สุดในสมัยนั้น และพระนางทรงภาคภูมิหลงใหลในความงดงามของพระนางยิ่งนัก แต่ด้วยบุญบารมีที่ได้เคยสร้างสม อบรมมาแล้วเป็นอันมากในอดีตชาติ เป็นเหตุให้พระนางได้สดับพระธรรมของพระพุทธองค์จากพระโอษฐ์ ซึ่งได้ทรงเทศน์กายคตานุสสติกรรมฐานควบคู่ไปกับมรณัสสติกรรมฐาน แล้วทรงเนรมิตรูปกายของสาวงาม ที่งามยิ่งกว่าพระนางให้ปรากฏขึ้น ให้พระนางได้มองเห็นแล้วบันดาลให้รูปเนรมิตนั้นค่อยๆ เจริญวัย แล้วแก่ชรา โทรมลงๆ จนตายไปในที่สุด แล้วก็เน่าเปื่อย สลายไปต่อหน้า พระนางก็น้อมเอาภาพนิมิตนั้น เข้ามาเปรียบเทียบกับร่างกายของพระนาง จนเห็นว่าร่างกายอันงดงามของพระนางนั้น หาได้งามจริงไม่ ทั้งเป็นอนิจจัง และอนัตตา หาสาระแก่นสารที่พึงอันถาวรอันใดมิได้เลย จนพระนางได้บรรลุพระอรหันต์ ในขณะนั้นเอง และพระนางเขมาเทวีที่ยิ่งด้วยรูปโฉม และเป็นพระมเหสีองค์หนึ่งของพระเจ้าพิมพิสาร แห่งเมืองราชคฤห์ ก็ได้บรรลุพระอรหันต์ในทำนองเดียวกันนี้เอง (๔) มีจิตใคร่ครวญถึงธาตุกรรมฐาน คือ นอกจากจะมีจิตใคร่ครวญถึงความเป็นจริงของร่างกายดังกล่าวมาในข้อที่ (๓) แล้ว พึงพิจารณาแยกให้เห็นความเป็นจริงที่ว่า อันที่จริงร่างกายของเราเองก็ดีของผู้อื่นก็ดี ไม่ใช่ตัวเราของเราแต่อย่างใดเลย เป็นแต่เพียงธาตุ ๔ ที่มาประชุมเกาะกุมรวมกันเพียงชั่วคราวเท่านั้นเอง ได้แก่ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม และธาตุไฟ แล้วสิ่งเหล่านี้ก็ทนอยู่ในสภาพที่รวมกันเช่นนั้นไม่ได้ นานไปก็เก่า แก่ แล้วแตกสลายตายไป ธาตุน้ำ ก็กลับไปสู่ความเป็นน้ำ ธาตุดิน ก็กลับไปสู่ความเป็นดิน ธาตุลม ก็กลับไปสู่ความเป็นลม และธาตุไฟ ก็กลับไปสู่ความเป็นไฟตามเดิม เนื้อตัวร่างกายของเรา เมื่อได้แยกส่วนออกมาดูแล้ว ก็มิได้มีตัวตนที่ตรงไหนแต่อย่างใด เป็นเพียงแค่เนื้อ กระดูก ตับ ไต ไส้ กระเพาะ เส้นเอ็น หนัง พังผืด เนื้อเยื่อ มันสมอง ไขข้อ ฯลฯ มาเกาะกุมกันตัวตนของเราไม่มี ครั้นเมื่อแยกอวัยวะย่อยๆ ดังกล่าวออกไป จนถึงหน่อยย่อยๆ ของชีวิต คือ เซลล์เล็ก ที่มาเกาะกุมรวมกัน ก็จะเห็นว่าเซลล์เอง ก็เนื่องมาจากแร่ธาตุทั้งหลายซึ่งไม่มีชีวิตจิตใจมารวมกันเป็นกลุ่มก้อนเล็กๆ ไม่มีตัวตนของเราแต่อย่างใด แม้แร่ธาตุต่างๆ นั้น ก็เนื่องมาจากพลังงานโปรตอน และอีเล็กตรอนเท่านั้น หาใช่ตัวตนของเราแต่อย่างใดไม่ที่หลงกันอยู่ว่าตัวเราของเรา หาที่ไหนมิได้เลย ทุกสรรพสิ่งที่ดิ้นรนแสวงหาสะสมกันเข้าไว้ ในที่สุดก็ต้องทิ้งจาก ซึ่งป่วยการที่จะกล่าวไปถึงสมบัติ ที่จะนำเอาติดตัวไปด้วย แม้แต่เนื้อตัวร่างกายที่ว่าเป็นของเรา ก็ยังเอาติดตัวไปไม่ได้ และก็เป็นความจริงที่ได้เห็น และรู้กันมานานนับล้านๆ ปี คนแล้วคนเล่า ท่านทั้งหลายที่ได้เคยยิ่งใหญ่ด้วยอำนาจยศศักดิ์ อำนาจวาสนา และทรัพย์สมบัติในอดีตกาล จนเป็นถึงมหาจักรพรรดิ์ มีสมบัติที่สร้างสมมาด้วยเลือด และน้ำตาของผู้อื่นจนค่อนโลก แต่แล้วในที่สุดก็ต้องทิ้งต้องจากสิ่งเหล่านี้ไป แม้แต่เนื้อตัวร่างกายของท่าน ที่เคยยิ่งใหญ่จนถึงกับเป็นผู้ที่ไม่อาจจะแตะต้องได้ แต่แล้วก็ต้องทอดทิ้งจมดินและทราย จนในที่สุดก็สลายไป จนหาไม่พบว่าเนื้อ หนัง กระดูก ขน เล็บ ตับ ไต ไส้ กระเพาะของท่านไปอยู่ที่ตรงไหน คงเหลืออยู่แต่สิ่งที่เป็นดิน น้ำ ลม และไฟ ตามสภาพเดิมที่ก่อเกิดกำเนิดมาเป็นตัวของท่านแต่เพียงชั่วคราวเท่านั้น แล้วตัวของเราท่านทั้งหลาย ก็เพียงเท่านี้ มิได้ยิ่งใหญ่เกินไปกว่าท่านในอดีต จะรอดพ้นจากสัจธรรมนี้ไปได้หรือ เมื่อความเป็นจริงที่เห็นๆ กันอยู่เช่นนี้แล้ว เหตุใดเราท่านทั้งหลายจึงต้องพากันดิ้นรนขวนขวย สะสมสิ่งที่ในที่สุด ก็จะต้องทิ้งจะต้องจากไป ซึ่งเท่ากับเป็นการทำลายวันเวลาอันมีค่าของพวกเรา ซึ่งก็คงมีไม่เกินคนละ ๑๐๐ ปี ให้ต้องโมฆะเสียเปล่าไปโดยหาสารประโยชน์อันใดมิได้ เหตุใดไม่เร่งขวนขวายสร้างสมบุญบารมี ที่เป็นอริยทรัพย์อันประเสริฐซึ่งจะติดตามตัวไปได้ในชาติหน้า แม้หากสิ่งเหล่านี้จะไม่มีจริงดังที่พระพุทธองค์ได้ตรัสไว้ อย่างเลวพวกเราก็เพียงเสมอตัว มิได้ขาดทุนแต่อย่างใด หากสิ่งที่พระพุทธองค์ได้ตรัสสอนไว้มีจริง ดังที่ปราชญ์ในอดีตกาลยอมรับ แล้วเราท่านทั้งหลายไม่สร้างสมบุญ และความดีไว้ สร้างสมแต่ความชั่วและบาปกรรมตามติดตัวไป เราท่านทั้งหลายมิขาดทุนหรือ เวลาในชีวิตของเรา ที่ควรจะได้ใช้ให้เป็นประโยชน์กลับต้องมาโมฆะเสียเปล่า ก็สมควรที่จะได้ชื่อว่าเป็น “โมฆะบุรุษ” โดยแท้ ส่วนหนึ่งจากหนังสือเรื่อง “วิธีสร้างบุญบารมี” พระนิพนธ์ใน สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก องค์ที่ ๑๙ วัดบวรนิเวศวิหาร ธรรมทาน น้อมถวายเป็นพุทธบูชา เนื่องในวันอาสาฬหบูชา วันอาทิตย์ที่ ๒๙ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๕๐ และถวายเป็นพระราชกุศล แด่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช เนื่องในวโรกาสที่พระองค์ทรงมีพระชนมายุครบ ๘๐ พรรษา ในวันพุธที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ ขอพระองค์ทรงมีพระพลานามัยสมบูรณ์แข็งแรง เจริญด้วยพระชนมายุยิ่งยืนนาน
วันศุกร์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2560
หลวงพ่อฤาษีการหลุดพ้นจากกิเลสเป็นสมุทเฉทประหารด้วยวิปัสสนาญาณ ทานบารมีเต็ม ก็ตัดความโลภได้ ศีลบารมีเต็ม ก็ตัดความโกรธได้ เนกขัมมะบารมีเต็ม ก็ตัดกามารมณ์ได้ ปัญญาบารมีเต็มก็ตัดกิเลสเป็นสมุจเฉทปหานได้ วิริยะบารมีเต็มก็ตัดความเกียจคร้าน ย่อหย่อนในธรรมปฏิบัติก็ไม่มี ขันติ บารมีเต็ม ก็อดทนต่อความชั่วที่เข้ามากระทบอารมณ์ได้ สัจจะบารมีเต็ม ก็ตัดความโลเลไม่เอาจริงในผลการปฏิบัติได้ อธิษฐาน บารมีเต็ม ก็มีกำลังคือมีสติกำหนดรู้ในการกระทำ ไม่ว่าทางด้านกาย-วาจา-ใจว่าเราจักทำเพื่อพระนิพพานอยู่เสมอ ไม่คลอนแคลน เมตตาบารมีเต็ม ก็ตัดอารมณ์ที่เข้ามาเป็นไฟเผาผลาญจิต รัก สงสารจิตของตนเองเต็มที่แล้ว ทางโลกไม่มีใครที่รักบ้านตน แล้วจุดไฟเผาบ้านตนเองได้ ฉันใดก็ฉันนั้น เมื่อจิตเราเมตตาจิตตนเองได้แล้ว ก็จักไม่จุดไฟโมหะ-โทสะ-ราคะให้เผาใจตนเองอีก อุเบกขาบารมีเต็ม ก็จักตัดความทุกข์ อันเกิดแก่กายและจิตของตนเองและผู้อื่นลงได้ สำหรับทางร่างกายก็จักเป็น สังขารุเบกขาญาณ วางเฉยในทุกข์ของร่างกายลงได้ สำหรับทางจิตก็จักพ้นทุกข์ คือ ปลอดจากบ่วงกิเลส ตัณหาลงได้อย่างสิ้นเชิง หมวดหมู่ การศึกษา
นิพพานชาตินี้ท่านอาจารย์แนบ มหานีรานนท์ได้ถือกำเนิดเป็นบุตรีของพระยาสัตยานุกูล อดีตเจ้าเมืองกาญจนบุรี และคุณหญิงแปลก นางพระกำนัลในรัชกาลที่ 5 ท่านเป็นศิษย์เอกของ พระอาจารย์ ภัททันต วิลาสะ ที่ได้รับการถ่ายทอดธุระ 2 อย่างในพุทธศาสนาอย่างดีเยี่ยม และเป็นผู้ที่ทำให้วงการปริยัติศาสนาและปฏิบัติในเมืองไทยตื่นตัว ท่านเป็นคนแรกที่นำพระอภิธรรมมาสอนในเมืองไทย ชีวิต และ งาน ของ อาจารย์ แนบ มหานีรานนท์ 31 ม.ค. 2440 ท่านอาจารย์แนบ มหานีรานนท์ได้ถือกำเนิดเป็นบุตรีของพระยาสัตยานุกูล อดีตเจ้าเมืองกาญจนบุรี และคุณหญิงแปลก นางพระกำนัลในรัชกาลที่ 5 พุทธศักราช 2474 อายุประมาณ 34 ได้เกิดมีความรู้สึกจากผลการปฏิบัติของตนว่า วิธีที่จะละกิเลสให้ลดน้อยถอยลงไปสู่ทางพระนิพพานได้นั้น น่าจะต้องรู้อยู่ที่ อารมณ์ปัจจุบัน เท่านั้น แต่การทดลองปฏิบัติขณะนั้นได้แต่ทางตาอย่างเดียว จึงเที่ยวแสวงหาพระอาจารย์ต่างๆ ที่จะบอกทางที่เป็นปัจจุบันให้เข้าใจได้ เที่ยวแสวงหาอยู่เป็นเวลานาน ก็ยังไม่พบเหตุผลตรงกับที่เกิดความรู้สึกกับตนเอง ดังกล่าวแล้วได้ พุทธศักราช 2475 ได้พบกับพระอาจารย์วิลาสะ อดีต พระอธิการวัดปรก ตรอกจันทร์ ยานานาวา ได้แนะนำว่า การเจริญธรรม ต้องเจริญโดยกำหนดปัจจุบันอารมณ์ได้ตลอดทั้งหมดทุกทวาร ทางตา หู จมูก ลิ้น กายและใจ จึงได้เหตุผลตรงกัน และได้มอบตัวเป็นศิษย์ท่านทันที ขั้นแรก พระอาจารย์สอนให้ทำความเข้าใจใน รูปนาม อันเป็นอารมณ์ปัจจุบัน ตลอดทั่วทั้ง 6 ทวารดังกล่าวแล้ว เรียนอารมณ์รูปนามอยู่ 7 วัน จึงได้เริ่มเข้าปฏิบัติโดยพระอาจารย์วิลาสะ เป็นผู้กำกับตรวจสอบ ประมาณปีเศษ ประสบผลสำเร็จ ดีกว่าบรรดาศิษย์ทั้งปวง จึงได้เรียนพระอภิธรรมจากพระอาจารย์ ฯ ต่อไปอีกหลายปี โดยมีล่ามภาษาพม่าคอยช่วยเหลืออยู่ตลอดมา นับว่าได้รับคำสอนจากพระอาจารย์รูปนี้อย่างดีเลิศทั้งหมด จนพระอาจารย์ขอร้องให้ทำหน้าที่เป็นอาจารย์วิปัสสนา และสอนพระอภิธรรมแทนท่าน พุทธศักราช 2487 ได้จัดตั้งสำนักปฏิบัติวิปัสสนา ที่วัดระฆังโฆสิตาราม . วันสามพระยา วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ สำนักนาฬิกาวัน อยุธยา , วัดป่าธรรมโสภณ ลพบุรี ได้เดินทางไปอบรมสอนวิปัสสนา และสนับสนุนการตั้งสำนักปฏิบัติวิปัสสนาในจังหวัดต่างๆ รวมถึง 41 จังหวัด และยังเดินทางไปสอนวิปัสสนา ที่เวียงจันทร์ ประเทศลาว พุทธศักราช 2496 เปิดการศึกษาพระอภิธรรม และเป็นอาจารย์สอนประจำ ที่พุทธสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นเวลา 10 ปี ได้บันทึกหัวข้อพระอภิธรรมขึ้นประกอบการสอน ที่พุทธสมาคม ไว้ตั้งแต่ปริจเฉทที่ 1 – 9 รวม 14 เล่ม และพิมพ์หนังสือ เกี่ยวกับการปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานจากคำสอน และการแสดงปาฐกถาธรรมอีกมากมายหลายเล่ม นับเป็นหนังสือคำสอนพระอภิธรรมและวิปัสสนากัมมัฏฐานเล่มแรกของประเทศไทย ที่ยังไม่เคยมีใครจัดทำมาก่อน พุทธศักราช 2506 ได้จัดตั้งสมาคมศูนย์ค้นคว้าทางพระพุทธศาสนา และสมาคมสังคมสงเคราะห์ทางจิต ที่วัดสระเกศราชวรวิหาร และดำรงตำแหน่งนายกสมาคมทั้งสองแห่ง จนถึงมรณะ ระหว่างนั้นท่านยังคงเดินทางไปอบรมสั่งสอนที่สำนักวัดระฆัง วัดสระเกศ วัดพระเชตุพน สำนักปฏิบัติวิปัสสนาอ้อมน้อย, สำนักปฏิบัติธรรมบุณยกัญจนาราม พัทยา ชลบุรี, สำนักนาฬิกาวัน, สำนักวิวัฏฏะ , สำนักวัดสบสวรรค์ ที่จังหวัดอยุธยา, วัดไทรยืด, วัดโพธิ์เอน อ.วิเศษไชยชาญ จ.อ่างทอง , สำนักที่นครสวรรค์, วัดแจ้งนอก โคราช, วัดป่าธรรมโสภณ ลพบุรี, วัดปราสาททอง สุพรรณบุรี, และยังทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาคณะผู้แปลคำบาลี ที่จารึกในใบลานด้วยอักษรขอมได้เป็นอย่างดีเยี่ยม ถึงแม้ว่าขณะนั้นสุขภาพจะทรุดโทรมลงมากแล้วก็ตาม
จิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้งเป็นอรหัตมรรคบันทึกลับสุดยอด บันทึก(ไม่)ลับอุบาสกนิรนาม (ผู้เขียนได้ปรับปรุงจากต้นฉบับเรื่องประสบการณ์ภาวนาซึ่งเคยส่งไปลงพิมพ์ในหนังสือโลกทิพย์ ในนามสันตินันทอุบาสก) ผมลังเลใจอยู่นานที่จะเล่าถึงการปฏิบัติธรรมของตนเอง เพราะมันเป็นเพียงเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ซึ่งถ้าใครตั้งใจปฏิบัติก็ทำกันได้ แต่ด้วยความเคารพในคำสั่งของครูบาอาจารย์รูปหนึ่งคือหลวงพ่อพุธ ฐานิโย แห่งวัดป่าสาลวัน ที่ท่านสั่งให้เขียนเรื่องนี้ออกเผยแพร่ ผมจึงต้องปฏิบัติตาม โดยเขียนเรื่องนี้ให้ท่านอ่าน ผมเป็นคนวาสนาน้อย ไม่เคยรู้เรื่องพระธุดงคกรรมฐานอย่างจริงจังมาก่อน จนแทบจะละทิ้งพระพุทธศาสนาไปแล้ว เพราะเกิดตื่นเต้นกับลัทธิวัตถุนิยม แต่แล้ววันหนึ่ง ผมได้พบข้อธรรมสั้นๆ บทหนึ่งของหลวงปู่ดูลย์ อตุโล แห่งวัดบูรพาราม จังหวัดสุรินทร์ มีสาระสำคัญว่า "จิตส่งออกนอกคือสมุทัย มีผลเป็นทุกข์ จิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้งเป็นมรรค มีผลเป็นนิโรธ" “อนึ่ง ตามสภาพที่แท้จริงของจิต ย่อมส่งออกนอกเพื่อรับอารมณ์นั้นๆ โดยธรรมชาติของมันเอง ก็แต่ว่า ถ้าจิตส่งออกนอกได้รับอารมณ์แล้ว จิตเกิดหวั่นไหวหรือเกิดกระเพื่อมไปตามอารมณ์นั้น เป็นสมุทัย ผลอันเกิดจากจิตหวั่นไหวหรือกระเพื่อมไปตามอารมณ์นั้นๆ เป็นทุกข์ ถ้าจิตที่ส่งออกนอกได้รับอารมณ์แล้ว แต่ไม่หวั่นไหว หรือไม่กระเพื่อมไปตามอารมณ์นั้นๆ มีสติอยู่อย่างสมบูรณ์ เป็นมรรค ผลอันเกิดจากจิตไม่หวั่นไหว หรือไม่กระเพื่อม เพราะมีสติอยู่อย่างสมบูรณ์ เป็นนิโรธ พระอริยเจ้าทั้งหลายมีจิตไม่ส่งออกนอก จิตไม่หวั่นไหว จิตไม่กระเพื่อม เป็นวิหารธรรม จบอริยสัจจ์ ๔” ผมเกิดความซาบซึ้งจับจิตจับใจ และเห็นจริงตามว่า ถ้าจิตไม่ออกไปรับความทุกข์แล้ว ใครกันล่ะที่จะเป็นผู้ทุกข์ จิตใจของผมมันยอมรับนับถือหลวงปู่ดูลย์เป็นครูบาอาจารย์ตั้งแต่นั้น ต่อมาในต้นปี พ.ศ.๒๕๒๕ ผมมีโอกาสด้นดั้นไปนมัสการหลวงปู่ดูลย์ที่จังหวัดสุรินทร์ เมื่อไปถึงวัดของท่านแล้ว เกิดความรู้สึกกลัวเกรงเป็นที่สุด เพราะท่านเป็นพระเถระผู้ใหญ่และไม่เคยรู้จักอัธยาศัยของท่านมาก่อน ประกอบกับผมไม่คุ้นเคยที่จะพบปะพูดจากับพระผู้ใหญ่มาก่อนด้วย จึงรีรออยู่ห่างๆ นอกกุฏิของท่าน ขณะที่รีรออยู่ครู่หนึ่งนั้น หลวงปู่ดูลย์เดินออกมาจากกุฏิของท่าน มาชะโงกมองดูผม ผมจึงรวบรวมความกล้าเข้าไปกราบท่านซึ่งถอยกลับไปนั่งเก้าอี้โยกที่หน้าประตูกุฏิ แล้วเรียนท่านว่า "ผมอยากภาวนาครับหลวงปู่" หลวงปู่หลับตานิ่งเงียบไปเกือบครึ่งชั่วโมง พอลืมตาท่านก็แสดงธรรมทันทีว่า การภาวนานั้นไม่ยาก แต่มันก็ยากสำหรับผู้ไม่ภาวนา ขั้นแรกให้ภาวนา "พุทโธ" จนจิตวูบลงไป แล้วตามดูจิตผู้รู้ไป จะรู้อริยสัจจ์ ๔ เอง (หลวงปู่ท่านสอนศิษย์แต่ละคนด้วยวิธีที่แตกต่างกันตามจริตนิสัย นับว่าท่านมีอนุสาสนีปาฏิหารย์อย่างสูง) แล้วท่านถามว่าเข้าใจไหม ก็กราบเรียนว่าเข้าใจ ท่านก็บอกให้กลับไปทำเอา พอขึ้นรถไฟกลับกรุงเทพเกิดเฉลียวใจขึ้นว่า ท่านให้เราดูจิตนั้นจะดูอย่างไร จิตมันเป็นอย่างไร อยู่ที่ไหนและจะเอาอะไรไปดู ตอนนั้นชักจะกลุ้มใจไม่ทราบว่าจะทำอย่างไร ก็ภาวนาพุทโธไปเรื่อยๆ จนจิตสงบลง แล้วพิจารณาว่าจิตจะต้องอยู่ในกายนี้แน่ หากแยกแยะเข้าไปในขันธ์ ๕ ถึงอย่างไรก็ต้องเจอจิต จึงพิจารณาเข้าไปที่รูปว่าไม่ใช่จิต รูปก็แยกออกเป็นสิ่งที่ถูกรู้เท่านั้น หันมามองเวทนาแล้วแยกออกเป็นอีกส่วนหนึ่ง ตัวสัญญาก็แยกเป็นอีกส่วนหนึ่ง จากนั้นมาแยกตัวสังขารคือความคิดนึกปรุงแต่ง โดยนึกถึงบทสวดมนต์ เห็นความคิดบทสวดมนต์ผุดขึ้น และเป็นสิ่งที่ถูกรู้ ถึงตอนนี้ก็เลยจับเอาตัวจิตผู้รู้ขึ้นมาได้ หลังจากนั้น ผมได้ตามดูจิตไปเรื่อยๆ จนสามารถรู้ว่า ขณะนั้นเกิดกิเลสขึ้นกับจิตหรือไม่ ถ้าเกิดขึ้นและรู้ทัน กิเลสมันก็ดับไปเอง เหลือแต่จิตผู้รู้ ซึ่งรู้ความรู้สึกนึกคิดปรุงแต่งไปเรื่อยๆ อย่างเป็นอิสระจากกิเลสและอารมณ์ต่างๆ ต่อมาภายหลังผมได้หาหนังสือธรรมะมาอ่าน จึงรู้ว่าในทางปริยัติธรรมจัดเป็นการจำแนกรูปนาม จัดเป็นการเจริญวิปัสสนาแล้ว แต่ในเวลาปฏิบัตินั้น จิตไม่ได้กังวลสนใจว่าเป็นวิปัสสนาญาณขั้นใด ปฏิบัติอยู่ ๓ เดือน จึงไปรายงานผลกับหลวงปู่ดูลย์ว่า "ผมหาจิตเจอแล้ว จะต้องปฏิบัติอย่างไรต่อไป" คราวนี้ปรากฏว่าท่านแสดงธรรมอันลึกซึ้งมากมาย เกี่ยวกับการถอดถอนทำลายอุปาทานในขันธ์ ๕ท่านสอนถึงกำเนิดและการทำงานของจิตวิญญาณ จนถึงการเจริญอริยมรรค จนมีญาณเห็นจิตเหมือนมีตาเห็นรูป ท่านสอนอีกว่า เมื่อเราดูจิต คือตามรู้จิตเรื่อยๆ ไปนั้น สิ่งปรุงแต่งจะดับไปตามลำดับ จนถึงความว่า แต่ในความว่างนั้นยังไม่ว่างจริง มันมีสิ่งละเอียดเหลืออยู่คือวิญญาณ ให้ตามรู้จิตเรื่อยๆ ไป ความยึดในวิญญาณจะถูกทำลายออกไปอีก แล้วจิตจริงแท้หรือพุทธะ (หลวงปู่เทสก์เรียกว่าใจ) จึงปรากฎออกมา คำสอนครั้งนี้ลึกซึ้งกว้างขวางเหมือนฝนตกทั่วฟ้า แต่ภูมิปัญญาของผมมีจำกัด จึงรองน้ำฝนไว้ได้เพียงถ้วยเดียว คือได้เรียนถามท่านว่า "ที่หลวงปู่สอนมาทั้งหมดนี้ หากผมจะปฏิบัติด้วยการดูจิตไปเรื่อยๆ จะพอไหม" หลวงปู่ดูลย์ตอบว่า "การปฏิบัติก็มีอยู่เท่านั้นแหละ แม้จะพิจารณากายหรือกำหนดนิมิตหมายใดๆ ก็เพื่อให้ถึงจิตถึงใจตนเองเท่านั้น นอกจากจิตแล้วไม่มีสิ่งใดอีก พระธรรม ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ก็รวมลงที่จิตตัวเดียวนี้เอง” หลังจากนั้นผมก็เพียรดูจิตเรื่อยๆ มา มีสติเมื่อใดดูเมื่อนั้น ขาดสติแล้วก็แล้วกันไป นึกขึ้นได้ก็ดูใหม่ เวลาทำงานก็ทำไป พอเหนื่อยหรือเครียดก็ย้อนดูจิต เลิกงานแล้วแม้มีเวลาเล็กน้อยก็ดูจิต ดูอยู่นั่นแหละ ไม่นานก็เห็นความเปลี่ยนแปลงในตัวเองอย่างไม่น่าจะเป็นไปได้ วันหนึ่งของอีก ๔ เดือนต่อมา ขณะนั้นเป็นเวลาเย็นปลายเดือนกันยายน ๒๕๒๕ ได้เกิดพายุพัดหนัก ผมออกจากที่ทำงานเปียกฝนไปทั้งตัว และได้เข้าไปหลบฝนอยู่ในกุฏิพระหลังหนึ่งในวัดใกล้ๆ ที่ทำงาน ได้นั่งกอดเข่ากับพื้นห้องเพราะไม่กล้านั่งตามสบายเนื่องจากตัวเราเปียกมากกลัวกุฏิพระจะเลอะมาก พอนั่งลงก็เกิดเป็นห่วงร่างกายว่า ร่างกายเราไม่แข็งแรง คราวนี้คงไม่สบายแน่ สักครู่ก็ตัดใจว่า ถ้าจะป่วยมันก็ต้องป่วย นี่กายยังไม่ทันป่วยใจกลับป่วยเสียก่อนแล้วด้วยความกังวล พอรู้ตัวว่าจิตกังวลผมก็ดูจิตทันทีเพราะเคยฝึกดูจนเป็นนิสัยแล้ว ขณะนั้นนั่งกอดเข่าลืมตาอยู่แท้ๆ แต่ประสาทสัมผัสทางกายดับหายไปหมด โลกทั้งโลก เสียงฝน เสียงพายุหายไปหมด เหลือแต่สติที่ละเอียดอ่อนประคองรู้อยู่เท่านั้น (ไม่รู้ว่ารู้อะไรเพราะไม่มีสัญญา) ต่อมามันมีสิ่งละเอียดๆ ผ่านมาสู่ความรับรู้ของจิตเป็นระยะๆ แต่ไม่รู้ว่าสิ่งนั้นคืออะไร เพราะจิตไม่มีความสำคัญมั่นหมายใดๆ ต่อมาจิตมีอาการไหวดับวูบลง สิ่งที่ผ่านมาให้รู้ดับไปหมดแล้ว แล้วก็รู้ชัดเหมือนตาเห็นว่า ความว่างที่เหลืออยู่นั้น ถูกแหวกพรวดอย่างรวดเร็วและนุ่มนวลออกไปอีก กลายเป็นความว่างที่บริสุทธิ์หมดจดอย่างแท้จริง ในความว่างนั้น จิตซึ่งเป็นอิสระแล้วได้อุทานขึ้นว่า "เอ๊ะ จิตไม่ใช่เรานี่" จากนั้นจิตได้มีอาการปิติยินดี ยิ้มแย้มแจ่มใสขึ้น พร้อมๆ กับเกิดแสงสว่างโพลงขึ้นรอบทิศทาง จากนั้นจิตจึงรวมสงบลงอีกครั้งหนึ่ง แล้วถอนออกจากสมาธิ เมื่อความรับรู้ต่างๆ กลับมาสู่ตัวแล้ว ถึงกับอุทานในใจ (จิตไม่ได้อุทานอย่างทีแรก) ว่า "อ้อ ธรรมะเป็นอย่างนี้เอง เมื่อจิตไม่ใช่ตัวเราเสียแล้ว สิ่งใดสิ่งหนึ่งก็ไม่เป็นตัวเราอีกต่อไป" เมื่อผมไปกราบหลวงปู่ดูลย์ และเล่าเรื่องนี้ให้ท่านทราบ พอเล่าว่าสติละเอียดเหมือนเคลิ้มๆ ไป ท่านก็อธิบายว่า จิตผ่านฌานทั้ง ๘ ผมได้แย้งท่านตามประสาคนโง่ว่า ผมไม่ได้หัดเข้าฌาน และไม่ได้ตั้งใจจะเข้าฌานด้วย หลวงปู่ดูลย์อธิบายว่า ถ้าตั้งใจก็ไม่ใช่ฌาน และขณะที่จิตผ่านฌานอย่างรวดเร็วนั้น จิตจะไม่มานั่งนับว่ากำลังผ่านฌานอะไรอยู่ การดูจิตนั้นจะได้ฌานโดยอัตโนมัติ (หลวงปู่ไม่ชอบสอนเรื่องฌาน เพราะเห็นเป็นของธรรมดาที่จะต้องผ่านไปเอง หากสอนเรื่องนี้ ศิษย์จะมัวสนใจฌาน ทำให้เสียเวลาปฏิบัติ) พอผมเล่าว่าจิตอุทานได้เอง หลวงปู่ก็บอกอาการต่างๆ ที่ผมยังเล่าไม่ถึง ออกมาตรงกับที่ผมผ่านมาแล้วทุกอย่าง แล้วท่านก็สรุปยิ้มๆ ว่า จิตยิ้มแล้ว พึ่งตัวเองได้แล้ว ถึงพระรัตนตรัยแล้ว ต่อไปนี้ไม่จำเป็นต้องมาหาอาตมาอีก แล้วท่านแสดงธรรมเรื่อง จิตเหนือเหตุ หรือ อเหตุกจิต ให้ฟัง มีใจความว่า อเหตุกจิต มี ๓ ประการคือ ๑. ปัญจทวารวัชนจิต ได้แก่ความไหวตัวของจิตขึ้นรับรู้อารมณ์ทางตา หู จมูก ลิ้น และกาย ๒. มโนทวารวัชนจิต ได้แก่ความไหวตัวของใจขึ้นรับรู้อารมณ์ทางใจ ๓. หสิตุปปาท หรือจิตยิ้ม เป็นการแสดงความเบิกบานของจิตที่ปราศจากอารมณ์ปรุงแต่ง เพื่อแสดงความมีอยู่ของจิตซึ่งไม่มีตัวตนให้ปรากฏออกมาสู่ความรับรู้ อเหตุกจิต ๒ อย่างแรกเป็นของสาธารณะ มีทั้งในปุถุชนและพระอริยเจ้า แต่จิตยิ้มเป็นโลกุตรจิต เป็นจิตสูงสุด เกิดขึ้นเพียง ๓ - ๔ ครั้งก็ถึงที่สุดแห่งทุกข์ หลังจากนั้นผมก็ปฏิบัติด้วยการดูจิตเรื่อยมา และเห็นว่าเวลามีการกระทบทางตา หู จมูก ลิ้น และกาย จะมีคลื่นวิ่งเข้าสู่ใจ หรือบางครั้งก็มีธรรมารมณ์เป็นคลื่นเข้าสู่ใจ หากขณะนั้นขาดสติ จิตจะส่งกระแสไปยึดอารมณ์นั้น ตอนนั้นจิตยังไม่ละเอียดพอ ผมเข้าใจว่าจิตวิ่งไปยึดอารมณ์แล้วขยับๆ ตัวเสวยอารมณ์อยู่ จึงไปเรียนให้หลวงปู่ดูลย์ทราบ ท่านกลับตอบว่า “จิตจริงแท้ไม่มีการไป ไม่มีการมา” ผมได้มาดูจิตต่ออีกสักครึ่งปีต่อมา วันหนึ่งจิตผ่านเข้าสู่อัปปนาสมาธิ และเดินวิปัสสนาคือมีสิ่งให้รู้ผ่านมาสู่จิต แต่จิตไม่มีความสำคัญมั่นหมายว่าคือสิ่งใด จากนั้นเกิดอาการแยกความว่างขึ้นแบบเดียวกับเมื่อจิตยิ้ม คราวนี้จิตพูดขึ้นเบาๆ ว่า จิตไม่ใช่เรา แต่ต่อจากนั้นแทนที่จิตจะยิ้ม จิตกลับพลิกไปสู่ภูมิของสมถะ ปรากฏนิมิตเป็นเหมือนดวงอาทิตย์โผล่ผุดขึ้นจากสิ่งห่อหุ้ม แต่โผล่ไม่หมดดวง เป็นสิ่งแสดงให้รู้ว่ายังไม่ถึงที่สุดของการปฏิบัติ ปรากฏการณ์นี้เป็นเครื่องพิสูจน์ว่า การดำเนินของจิตในขั้นวิปัสสนานั้น หากสติอ่อนลง จิตจะวกกลับมาสู่ภูมิของสมถะ และวิปัสสนูปกิเลสจะแทรกเข้ามาตรงนี้ถ้าไม่กำหนดรู้ให้ชัดเจนว่า วิปัสสนาพลิกกลับเป็นสมถะไปแล้ว นักปฏิบัติจึงต้องระวังให้มาก โดยเฉพาะผู้ที่ยังไม่เคยพบกับจิตยิ้ม (สำนวนของหลวงปู่ดูลย์) หรือใจ (สำนวนของหลวงปู่เทสก์) หรือจิตรวมใหญ่ (สำนวนของท่านอาจารย์สิงห์) เมื่อผมนำเรื่องนี้ไปรายงานหลวงปู่ดูลย์ ท่านก็ว่า ดีแล้ว ให้ดูจิตต่อไป ผมก็ทำเรื่อยๆ มา ส่วนมากเป็นการดูจิตในชีวิตประจำวัน ไม่ค่อยได้นั่งสมาธิแบบเป็นพิธีการ ต่อมาอีก ๑ เดือน วันหนึ่งขณะนั่งสนทนาธรรมอยู่กับน้องชาย จิตเกิดรวมวูบลงไป มีการแยกความว่างซึ่งมีขันธ์ละเอียด (วิญญาณขันธ์) ออกอีกทีหนึ่ง แล้วจิตก็หัวเราะออกมาเองโดยปราศจากอารมณ์ (ร่างกายไม่ได้หัวเราะ) มันเป็นการหัวเราะเยาะกิเลสว่า มันผูกมัดมานาน ต่อๆ ไป จิตจะเป็นอิสระยิ่งขึ้นไปเรื่อยๆ เหตุการณ์นี้ทำให้ได้ความรู้ชัดว่า ทำไมเมื่อครั้งพุทธกาล จึงมีผู้รู้ธรรมในขณะฟังธรรมเกิดขึ้นได้เป็นจำนวนมาก ผมนำเรื่องนี้ไปรายงานหลวงปู่ดูลย์ คราวนี้ท่านไม่ได้สอนอะไรอีก เพียงแต่ให้กำลังใจว่า ให้พยายามทำให้จบเสียแต่ในชาตินี้ หลังจากนั้นไม่นาน ท่านก็มรณภาพ หลวงพ่อพุธ ฐานิโย ซึ่งเป็นครูบาอาจารย์อีกรูปหนึ่ง เคยสั่งให้ผมเขียนเรื่องการปฏิบัติของตนเองออกเผยแพร่ เพราะอาจมีผู้ที่มีจริตคล้ายๆ กันได้ประโยชน์บ้าง ผมจึงเขียนเรื่องนี้ขึ้น เพื่อสนองคำสั่งครูบาอาจารย์ และเพื่อรำลึกถึงหลวงปู่ดูลย์ อตุโล ผู้เปี่ยมด้วยอนุสาสนีปาฏิหารย์ รวมทั้งหวังว่าจะเป็นประโยชน์สักเล็กน้อย สำหรับท่านที่กำลังแสวงหาหนทางปฏิบัติอยู่ แนวทางปฏิบัติธรรม ของพระราชวุฒาจารย์ (หลวงปู่ดูลย์ อตุโล) (เรียบเรียงโดย : อุบาสกนิรนาม) ๑. คำปรารภ หลวงปู่ดูลย์ อตุโล เป็นศิษย์รุ่นแรกสุดของท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถร ภายหลังจากท่านออกเดินธุดงค์จนสิ้นธุระในส่วนขององค์ท่านแล้ว ท่านได้ไปประจำอยู่ที่วัดบูรพาราม อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ ตลอดมาจนถึง วันมรณภาพ หลวงปู่เป็นผู้เคร่งครัดในพระธรรมวินัย และได้แผ่บารมีธรรม อบรมสั่งสอนศิษย์ทั้งที่เป็นบรรพชิตและคฤหัสถ์ ประสบผลสำเร็จในการปฏิบัติธรรมเป็นจำนวนมาก ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว หลักปฏิบัติที่ท่านนำมาสั่งสอนนั้น ไม่ใช่หลักธรรมของท่าน หรือของท่านอาจารย์ของท่าน แต่เป็นพระธรรมคำสอน อันพระผู้มีพระภาคเจ้าประทานไว้นั่นเอง ท่านเพียงแต่เลือกเฟ้นกลั่นกรองนำมาสอน ให้ถูกกับจริตนิสัยของศิษย์แต่ละคนเท่านั้น หลวงปู่มีปรกติสอนเรื่องจิต จนบางคนเข้าใจว่า ท่านสอนเฉพาะการดูจิตหรือการพิจารณาจิต (จิตตานุปัสสนาและธัมมานุปัสสนา) แต่ในความเป็นจริงแล้ว ท่านสอนไว้สารพัดรูปแบบ คือใครดูจิตได้ท่านก็สอนให้ดูจิต แต่หากใครไม่สามารถดูจิตโดยตรงได้ ท่านก็สอนให้พิจารณากาย (กายานุปัสสนา และเวทนานุปัสสนา)เช่น เดียวกับที่ท่านพระอาจารย์มั่นสอน และในความเป็นจริง ศิษย์ฝ่ายบรรพชิตที่พิจารณากายนั้น ดูจะมีมากกว่าผู้พิจารณาจิตโดยตรงเสียอีก ๒. เหตุผลที่ท่านเน้นการศึกษาที่จิต หลวงปู่พิจารณาเห็นว่ากุศลธรรมทั้งหลายรวมลงได้ในอริยสัจสี่ทั้งนั้น และอริยสัจสี่นั้นสามารถรู้เห็นและเข้าใจได้ด้วยการศึกษาจิตของตนเอง เพราะทุกข์นั้นเกิดมาจากสมุทัยคือตัณหา (ความทะยานอยากของจิต) และความพ้นทุกข์ก็เกิดจากความสิ้นไปของตัณหา แม้แต่มรรคมีองค์แปด ซึ่งย่อลงเป็นศีล สมาธิ และปัญญานั้น ก็เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นกับจิตทั้งสิ้น กล่าวคือศีลได้แก่ความเป็นปรกติธรรมดาของจิตที่ไม่ถูกสภาวะอันใดครอบงำ สมาธิคือความตั้งมั่นของจิต และปัญญาคือความรอบรู้ของจิต ท่านจึงกล้ากล่าวว่า พระธรรมทั้งปวงนั้น สามารถเรียนรู้ได้ที่จิตของตนเอง ด้วยเหตุนี้ ท่านจึงให้ความสำคัญเป็นพิเศษกับการดูจิต ๓. วิธีดูจิต ๓.๑ การเตรียมความพร้อมของจิต พระกรรมฐานสายท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถร จะสอนตรงกันว่า จิตที่จะเจริญวิปัสสนาได้นั้น ต้องมีสมาธิหรือความสงบตั้งมั่นของจิตเป็นฐานเสียก่อน จิตจะได้ไม่ถูกกิเลสครอบงำ จนเห็นไม่สามารถเห็นสภาวธรรมตามความเป็นจริงได้ หลวงปู่ดูลย์ท่านก็สอนในลักษณะเดียวกัน และท่านมักจะให้เจริญพุทธานุสติบริกรรม "พุทโธ" หรือ ควบด้วยการทำอานาปานสติ คือการกำหนดลมหายใจเข้า บริกรรม "พุท" หายใจออกบริกรรม "โธ" เคล็ดลับของการทำความสงบ ในเวลาที่จะทำความสงบนั้น ท่านให้ทำความสงบจริงๆ ไม่ต้องคิดถึงเรื่องการเจริญปัญญา และมีเคล็ดลับที่ช่วยให้จิตสงบง่ายคือ ให้รู้คำบริกรรมหรือกำหนดลมหายใจไปเรื่อยๆ ตามสบาย อย่าอยากหรือจงใจจะให้จิตสงบ เพราะธรรมชาติของจิตนั้นจะไปบังคับให้สงบไม่ได้ ยิ่งพยายามให้สงบกลับจะยิ่งฟุ้งซ่านหนักเข้าไปอีก เมื่อจิตสงบลงแล้ว จิตจะทิ้งคำบริกรรม ก็ไม่ต้องนึกหาคำบริกรรมอีก แต่ให้รู้อยู่ตรงความรู้สึกที่สงบนั้น จนกว่าจิตจะถอนออกมาสู่ความเป็นปรกติด้วยตัวของมันเอง ๓.๒ การแยกจิตผู้รู้กับอารมณ์ที่ถูกจิตรู้ เมื่อจิตรวมสงบทิ้งคำบริกรรมไปแล้ว ท่านให้สังเกตอยู่ที่ความสงบนั้นเอง และสังเกตต่อไปว่า ความสงบนั้นเป็นเพียงสิ่งที่ถูกรู้เท่านั้น จิตคือตัวผู้รู้ ผู้ดูอยู่นั้น มีอยู่ต่างหาก สรุปก็คือ ท่านสอนให้แยกจิตผู้รู้ออกจากอารมณ์ที่ถูกรู้ บางคนไม่สามารถทำความสงบด้วยการบริกรรม หรือด้วยกรรมฐานอื่นใด ก็อาจใช้วิธีอื่นในการแยกผู้รู้กับสิ่งที่ถูกรู้ได้ ตัวอย่างเช่น นึกถึงพุทโธ หรือบทสวดมนต์บทใดก็ได้ที่คุ้นเคย แล้วก็เฝ้ารู้การสวดมนต์ที่แจ้วๆ อยู่ในสมองตนเองไป จากนั้นจึงแยกว่า บทสวดนั้นถูกรู้ ผู้รู้มีอยู่ต่างหาก ตรงจุดนี้มีอุบายยักย้ายอีกหลายอย่าง เช่น อาจจะสังเกตดูความคิดของตนเอง ซึ่งพูดแจ้วๆ อยู่ในสมองก็ได้ แล้วเห็นว่า ความคิดนั้นถูกรู้ จิตผู้รู้มีอยู่ต่างหาก หรือตามรู้ความเคลื่อนไหวของร่างกายไปเรื่อยๆ หรือตามรู้ความ รู้สึกเป็นสุข เป็นทุกข์ หรือเฉยๆ ไปเรื่อยๆ หรือ ฯลฯ (สรุปว่า รู้อะไรก็ได้ให้ต่อเนื่อง) และสังเกตเห็นว่าสิ่งนั้นเป็นแค่สิ่งที่ถูกรู้ จิตผู้รู้มีอยู่ต่างหาก หรืออย่างท่านพระอาจารย์เทสก์ เทสรังสี ศิษย์อาวุโสอีกรูปหนึ่งของท่านพระอาจารย์มั่น ท่านสอนให้ลองกลั้นหายใจดูชั่วขณะ แล้วสังเกตดูความรู้สึกตรงที่นิ่งๆ ว่างๆ นั้น แล้วทำสติรู้อยู่ตรงนั้นเรื่อยๆ ไป เป็นต้น เมื่อแยกจิตผู้รู้กับอารมณ์ที่ถูกรู้ได้แล้ว ก็ให้เจริญสติสัมปชัญญะต่อไป ๓.๓ การเจริญสติและสัมปชัญญะ ให้ทำความรู้ตัวอยู่กับจิตผู้รู้ อย่างสบายๆ ไม่เพ่งจ้องหรือควานหา ค้นคว้า พิจารณาเข้าไปที่จิตผู้รู้ เพียงแค่รู้อยู่เฉยๆ เท่านั้น ต่อมาเมื่อมีความคิดนึกปรุงแต่งอื่นๆ เกิดขึ้น ก็จะเห็นความเปลี่ยนแปลงของอารมณ์ชัดเจน เช่น เดิมมีความนิ่งว่างอยู่ ต่อมาเกิดคิดถึงคนๆ หนึ่ง แล้วเกิดความรู้สึกรัก หรือชังขึ้น ก็ให้สังเกตรู้ความรักความชังนั้น และเห็นว่ามันเป็นสิ่งที่ถูกรู้เท่านั้น ตัวจิตผู้รู้มีอยู่ต่างหาก ให้รู้ตัวไปเรื่อยๆ สิ่งใดเป็นอารมณ์ปรากฏขึ้นกับจิต ก็ให้มีสติรู้อารมณ์ที่กำลังปรากฏนั้น ในขณะเดียวกัน ก็ต้องไม่เผลอส่งจิตเข้าไปในอารมณ์นั้น ตรงที่จิตไม่เผลอส่งออกไปนั้นเอง คือความรู้ตัวหรือสัมปชัญญะ เรื่องสตินั้นเข้าใจง่าย เพราะหมายถึงตัวที่ไปรู้เท่าอารมณ์ที่กำลังปรากฏ เช่นคนอ่านหนังสือ สติจดจ่ออยู่กับหนังสือ จึงอ่านหนังสือได้รู้เรื่อง คนขับรถสติจดจ่อกับการขับรถก็ทำให้ขับรถได้ ฉะนั้นโดยธรรมชาติแล้ว คนมีสติอยู่เสมอเมื่อจิตรู้อารมณ์ แต่จะเป็นสัมมาสติได้ ก็ต่อเมื่อมีสัมปชัญญะคือ ความรู้ตัวไม่เผลอควบคู่ไปด้วย ความรู้ตัวไม่เผลอนั้นเข้าใจยากที่สุด เพราะถามใครเขาก็ว่าเขารู้ตัวทั้งนั้น ทั้งที่ความจริงจิตยังมีความหลง (โมหะ) แฝงอยู่เกือบตลอดเวลา สัมปชัญญะที่ใช้เจริญสติปัฏฐาน จะต้องเป็น "อสัมโมหสัมปชัญญะ" เท่านั้น ยกตัวอย่าง เมื่อเราดูละครโทรทัศน์ ตาเห็นรูป หูได้ยินเสียง ใจรู้ คิดนึกตามเรื่องของละครไป ในขณะนั้นเรามีสติดูโทรทัศน์ แต่ไม่อาจไม่มีสัมปชัญญะ เพราะเราส่งจิตหลงไปทางตา ทางหู และทางใจ เราลืมนึกถึง ตัวเองที่นั่งดูโทรทัศน์อยู่ อันนี้เรียกว่าไม่มีสัมปชัญญะหรือไม่รู้ตัว บางคนเดินจงกรม กำหนดรู้ความเคลื่อนไหวของเท้าซ้าย เท้าขวา รู้ความเคลื่อนไหวของกาย อันนั้นมีสติ แต่อาจไม่มีสัมปชัญญะถ้าส่งจิตเผลอไปในเรื่องของเท้าและร่างกาย มัวแต่จดจ่อที่เท้าและร่างกายที่กำลังเคลื่อนไหว จนเหมือนกับลืมตัวเอง เหมือนตัวเองหรือตัวจิตผู้รู้นั้นไม่มีอยู่ในโลกเลยใน ขณะนั้น ความรู้ตัวหรือการไม่หลงเผลอส่งจิตออกไปตามอารมณ์ภายนอกนั้นเองคือสัมปชัญญะ วิธีฝึกให้ได้สัมปชัญญะที่ดีที่สุดคือการทำสมถะกรรมฐาน เช่น การบริกรรมพุทโธจนจิตรวมเข้าถึงฐานของมัน แล้วรู้อยู่ตรง ฐานนั้นเรื่อยไป หากมีอารมณ์มาล่อทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ ก็ไม่เผลอ หลงลืมฐานของตน ส่งจิตตามอารมณ์ไปอย่างไม่รู้ตัว ๓.๔ ดูจิตแล้วรู้อารมณ์อะไรบ้าง การที่เราเฝ้ารู้จิตผู้รู้ไปเรื่อยๆ อย่างสบายๆ นั้น เราสามารถรู้อารมณ์ทุกชนิดที่ผ่านเข้ามาให้จิตรู้ แล้วแต่ว่า ในขณะนั้นอารมณ์ตัวไหนจะแรงและเด่นชัดที่สุด ดังนั้น เราสามารถเจริญ สติปัฏฐานได้ทั้ง ๔ ประเภท (ในทางตรงข้าม ถ้าแยกจิตผู้รู้กับอารมณ์ที่ถูกรู้ออกจากกันไม่ได้ จะไม่สามารถเจริญสติปัฏฐานทุกประเภทเช่นกัน ที่กล่าวว่าสมถะเป็นฐานของวิปัสสนาก็คือเรื่องตรงนี้เอง คือถ้าขาดสมถะที่ถูกต้อง จิตจะตกเป็นทางอารมณ์ ถ้ามีสมถะที่ถูกต้อง จิตจะมีสัมปชัญญะ รู้ตัว ไม่เป็นทาสของ อารมณ์ จึงเห็นความเกิดดับของอารมณ์ชัดเจนตามความเป็นจริงได้) กล่าวคือ ๓.๔.๑ รู้กาย เมื่อมีสัมผัสทางกาย เช่นรู้ลมหายใจเข้า ออก รู้ทางกายว่ามีอากาศเย็นมากระทบกาย กายเกิดอาการหนาวสะท้านขึ้น หรือเมื่อเดินกลางแดดร้อนจัด กายอิดโรยมีเหงื่อไคล สกปรกชุ่มอยู่ หรือเมื่อเดินจงกรมเคลื่อนไหวไปมา ผู้ที่มีจิตผู้รู้ จะเห็นกายสักแต่ว่าเป็นกลุ่มของธาตุมารวมกัน และเคลื่อนไหวไปมาได้เหมือนหุ่นยนต์ตัวหนึ่ง ไม่เห็นว่ากายส่วนใดจะเรียกตัวเองว่ากายเลย หรือเดินจงกรมจนเมื่อยขา ก็ไม่เห็นว่าขาจะบ่นอะไรได้เลย กายกับจิตมันแยกชัดเป็นคนละส่วนกันทีเดียว ผู้ปฏิบัติจะเห็นกายเป็นไตรลักษณ์ชัดเจนมาก ๓.๔.๒ รู้เวทนา บางครั้งในขณะที่รู้จิตผู้รู้อยู่นั้น เรา จะรู้เวทนา ทางกายบ้าง ทางจิตบ้าง แล้วแต่ตัวใดจะเด่นชัดในขณะนั้น เช่นในขณะที่เดินอยู่ เกิดเมื่อยขารุนแรง ถ้าเรามีจิตผู้รู้ เราจะเห็นชัดเลยว่า ความเมื่อยไม่ใช่ขาที่เป็นวัตถุธาตุ แต่เป็นอีกสิ่งหนึ่ง แฝงอยู่ในวัตถุธาตุที่ประกอบกันขึ้นเป็นขา หรืออย่างนั่งอยู่ร้อนๆ มีลมเย็นพัดมา รู้สึกสบาย ความสบายนั้นเป็นความรู้สึกอีกตัวหนึ่ง ที่แทรกเข้ามา โดยที่กายไม่ได้สบายไปด้วย หรืออย่างเราปวดฟัน ถ้าเรามีจิตผู้รู้ จะเห็นชัดว่า ความปวดไม่ใช่ฟัน และไม่ใช่จิตด้วย แต่เป็นอีกสิ่งหนึ่ง (อีกขันธ์หนึ่ง) และความปวดนั้นเปลี่ยนระดับตลอด ไม่ได้ปวดเท่ากันตลอดเวลา อันเป็นการแสดงความเป็นไตรลักษณ์ของเวทนาขันธ์ให้ปรากฏ ในส่วนของเวทนาทางจิต ก็เห็นได้ชัดมาก เช่น เวลาปวดฟัน มีเวทนาทางกายแล้ว บางครั้งจิตก็ปรุงแต่งเวทนาทางจิตขึ้นมาด้วย คือเกิดความรู้สึกเป็นทุกข์ใจขึ้นมา หรือในเวลารับประทานอาหารที่ชอบใจ แม้รสยังไม่ทันสัมผัสลิ้น ความสุขทางใจก็เกิดขึ้นก่อนแล้ว อย่างนี้ก็มี การรู้เวทนาขณะที่รู้จิตผู้รู้อยู่นั้น จะเห็นเวทนาเป็นไตรลักษณ์ชัดเจนมาก ๓.๔.๓ รู้จิต จิตตานุปัสสนานั้น ไม่ใช่การเห็นจิตผู้รู้ หรือจิตที่แท้จริง แต่เป็นการเห็นจิตสังขาร(ความคิดนึกปรุงแต่ง) ที่กำลังปรากฏ เช่น เห็นชัดว่า ขณะนั้นจิตมีความโกรธเกิดขึ้น มีความใคร่เกิดขึ้น มีความหลงฟุ้งซ่านเกิดขึ้น ความความผ่องใส เบิกบานเกิดขึ้น ฯลฯ แล้วก็จะเห็นอีกว่า ความปรุงแต่งทั้งฝ่ายชั่ว และฝ่ายดี ล้วนเป็นเพียงสิ่งที่เกิดขึ้นแล้วก็ดับไป มันไม่ใช่จิต มันเป็นแค่อารมณ์ที่ถูกรู้ ทั้งนี้การรู้จิต (สังขาร) ในขณะที่รู้ตัวหรือรู้จิตผู้รู้อยู่นั้น จะเห็นจิตสังขารเป็นไตรลักษณ์อย่างชัดเจนมาก ๓.๔.๔ รู้ธรรม ถ้ารู้จิตผู้รู้อยู่นั้น หากสภาวธรรมอันใดปรากฏขึ้น ก็จะเห็นสภาวธรรมนั้นตามที่มันเป็นจริง เช่น ขณะที่รู้ตัวอยู่ จิตคิดถึงคนที่รัก แล้วจิตก็ทะยานออกไปเกาะความคิดนั้น คลุกคลีกับความคิดนั้น ผู้ปฏิบัติจะเห็นชัดว่า จิตเกิดความยึดว่าจิตเป็นตัวตนของตนขึ้นมา เพราะความที่จิตหลงไปยึดอารมณ์นั้นเอง ความเป็นตัวตน ความเป็นกลุ่มก้อน ความหนัก ได้เกิดขึ้นแทนความไม่มีอะไรในตอนแรก และถ้ารู้ทันว่าจิตส่งออกไปนำความทุกข์มาให้ จิตจะปล่อยอารมณ์นั้น กลับมาอยู่กับรู้ ความเป็นกลุ่มก้อน ความหนัก ความแน่น หรือทุกข์ก็จะสลายตัวไปเอง อันนี้คือการเห็นอริยสัจสี่นั่นเอง คือเห็นว่าถ้ามีตัณหาคือความทะยานอยากไปตามอารมณ์ ความเป็นตัวตนและเป็นทุกข์จะเกิดขึ้น ถ้าไม่อยากทุกข์ก็ ไม่เกิด การรู้สภาวธรรมในขณะที่รู้ตัว หรือรู้จิตผู้รู้นั้น จะเห็นจิตเป็นไตรลักษณ์ชัดเจนทีเดียว เช่นเห็นว่า เป็นของบังคับบัญชาไม่ได้ มันส่งออกไปยึดอารมณ์ มันก็ไปเอง ถ้ามันรู้ว่าไปยึดแล้วทุกข์ มันก็ไม่ไปเอง เราจะบังคับว่า จงอย่าไป ไม่ได้เลย ตัวอย่างการพิจารณาหรือการดูจิต ๑. นาย จ. กำลังซักผ้า ขณะนั้น สัญญาคือความจำภาพของสาวคนรักผุดขึ้นมา จิตของเขาปรุงแต่งราคะคือความรักใคร่ผูกพันขึ้นมา ทั้งที่ไม่ได้เห็นสาวคนรักจริงๆ วิธีดูจิตนั้น ไม่ได้หมายความว่าให้นาย จ. หันมาทำสติว่ามือกำลังขยี้ผ้าอยู่ แต่นาย จ. จะต้องมองเห็นกิเลสที่เกิดขึ้นในใจของตนเอง เมื่อเห็นกิเลสแล้ว ก็ไม่ใช่เกลียดหรืออยากดับกิเลส แต่การเห็นกิเลสด้วยจิตที่เป็นกลาง กิเลสมันจะดับไปเอง เมื่อกิเลสดับไป นาย จ. ก็ต้องรู้ว่ากิเลสดับไป เป็นต้น ๒. กรณีเดียวกับตัวอย่างแรก ถ้านาย จ. เกิดราคะเพราะคิดถึงคนรัก บางครั้งกำลังกิเลสที่แรงมากๆ แม้นาย จ. จะรู้ว่ากิเลสเกิดขึ้น แต่ราคะนั้นอาจจะไม่ดับไป มิหนำซ้ำ จิตของนาย จ. ยังเคลื่อนออกจากฐานผู้รู้ เข้าไปเกาะกับภาพคนรัก หรือหลงเข้าไปในความคิดเกี่ยวกับคนรัก ถึงขั้นนี้ก็ให้นาย จ. รู้ว่า จิตเคลื่อนออกไปรวมกับอารมณ์แล้ว ไม่ต้องทำอะไร แค่รู้เฉยๆ เท่านั้น ๓. เมื่อจิตของนาย จ. มีราคะ หรือจิตของนาย จ. เคลื่อนเข้าไปรวมกับอารมณ์ นาย จ. อาจจะสงสัยว่า เอ..เราควรต้องพิจารณาอสุภกรรมฐานช่วยจิตหรือไม่ เพื่อให้พ้นอำนาจดึงดูดของราคะ เรื่องอย่างนี้ในกรณีที่ผู้ ปฏิบัติพิจารณากาย อาจจะใช้การพิจารณาอสุภกรรมฐานมาเป็นเครื่องแก้กิเลสก็ได้ แต่นักดูจิตจะไม่ใช้ความคิดเข้าไปช่วยจิต เขาจะทำแค่รู้ทันสภาพจิตของตนอยู่ตลอดเวลาเท่านั้น เพราะจริงๆ แล้ว จิตจะเปลี่ยนสภาพอยู่ตลอดเวลา ถ้าตั้งใจสังเกตดู เช่น กำลังราคะจะแรงขึ้นบ้าง อ่อนลงบ้าง ความคิดเกี่ยวกับคนรักจะปรากฏขึ้นบ้าง และดับไปบ้าง การเคลื่อนของจิตก็อาจเคลื่อนถลำเข้าไปในอารมณ์บ้าง แล้วถอยออกมาอยู่กับรู้บ้าง มันแสดงไตรลักษณ์อยู่ ตลอดเวลา ๔. เมื่อนาย จ. รู้ทันจิตเรื่อยๆ ไปโดยไม่ได้ใช้ความคิดเข้าไปช่วยจิต นาย จ. ซึ่งเป็นปัญญาชน เคยชินกับการแก้ปัญหาด้วยการคิด อาจเกิดความลังเลสงสัยขึ้นมาว่า เอ..ถ้าเราเฝ้ารู้จิตไปเฉยๆ เราจะเกิดปัญญา ได้อย่างไร เราจะกลายเป็นคนโง่สมองฝ่อหรือเปล่า ก็ให้นาย จ. รู้ว่าความลังเลสงสัยเกิดขึ้นแล้ว ไม่ต้องคิดหาคำตอบ แค่เห็นว่าความสงสัยเกิดขึ้นก็พอ ที่สุดมันจะดับไปเองเหมือนอารมณ์ตัวอื่นๆ นั่นเอง แท้ที่จริง การที่จิตเป็นกลางรู้อารมณ์นั้น จิตเห็นไตรลักษณ์อยู่ตลอดเวลา และจะเห็นอริยสัจ ๔ ไปในตัวด้วยนั้น เป็นปัญญาขั้นสุดยอดอยู่แล้วที่จะปลดเปลื้องจิตจากความทุกข์ ทั้งนี้ปัญญาอันเกิดจากการใช้ ความคิด (จินตมยปัญญา) ซึ่งเป็นวิธีการเรียนรู้เก่าๆ ที่ปัญญาชนอย่างนาย จ. เคยชิน ไม่สามารถนำผู้ปฏิบัติออกจากทุกข์ได้ แต่ปัญญาที่เกิดจากการภาวนา (ภาวนามยปัญญา) คือการเจริญสติสัมปชัญญะนั้น นำผู้ปฏิบัติออกจากทุกข์ได้ และมันเป็นปัญญาคนละชนิดกัน ๕. เมื่อนาย จ. ซักผ้าไปนานๆ แขนของนาย จ. ก็ปวด มือก็ล้า นาย จ. รับรู้ทุกขเวทนาทางกายที่เกิดขึ้น แล้วสังเกตเห็นว่า ความจริงร่างกายของนาย จ.ไม่ได้ปวดเมื่อยเลย แต่ความปวดเมื่อยเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่แฝงอยู่ในกาย จิตผู้รู้ก็เป็นอีกส่วนหนึ่ง มันสงบสบายอยู่ได้ ในขณะที่ทุกข์ทางกายเกิดขึ้น อันนี้ก็เป็นการเห็นความจริงเกี่ยวกับขันธ์ที่แยกออกจากกันเป็นส่วนๆ เมื่อมองดูแต่ละส่วน ไม่เห็นมีส่วนใดเลยที่เรียกว่า "นาย จ." นี่ก็เป็นสภาพอีกอันหนึ่งที่ผู้ดูจิตจะรู้เห็นได้ไม่ยาก ๓.๕ การดูจิตจะพลิกไปมาระหว่างสมถะกับวิปัสสนาได้ การดูจิตก็ดี หรือการพิจารณากายก็ดี จิตสามารถพลิกกลับไปมาระหว่างการเจริญสมถ กรรมฐานและวิปัสนากรรมฐานได้ ในทางตำราทั่วๆ ไป มักจะแยกสมถะกับวิปัสสนาด้วยอารมณ์กรรมฐาน คือถ้าใครทำกรรมฐาน ๔๐ เช่น อนุสติ ๑๐ ถือว่าทำสมถะ ถ้าเจริญสติปัฏฐานคือรู้กาย เวทนา จิต หรือธรรม ถือว่าเจริญวิปัสสนา และเมื่อพบว่า กรรมฐานบางอย่าง เช่น อานาปานสติ มีอยู่ทั้งในกรรมฐาน ๔๐ และในสติปัฏฐาน ก็อธิบายเลี่ยงไปว่า อานาปานสติเป็นข้อยกเว้น คือเป็นได้ทั้งสมถะและวิปัสสนา แต่ในแง่ของนักปฏิบัติแล้วไม่ใช่เช่นนั้น การจำแนกสมถะกับวิปัสสนานั้น สามารถจำแนกด้วยอาการดำเนินของจิตได้ด้วย คือถ้าขณะใด จิตมีสติรู้ อารมณ์อันเดียวโดยต่อเนื่อง อันนั้นเป็นการทำสมถะ และเมื่อทำไปจนจิตจับอารมณ์นั้นเองโดยไม่ต้องบังคับควบคุม หรือไม่ต้องตั้งใจแล้ว จิตเกาะเข้ากับอารมณ์อันเดียว เกิดความสุขความสงบ อันนั้นเป็นฌานอันเป็นผลของการทำสมถะ เมื่อใดที่ผู้ปฏิบัติมีสติรู้อารมณ์ที่กำลังปรากฏ ในขณะเดียวกันก็มีสัมปชัญญะคือความรู้ตัว หรืออีกนัยหนึ่ง ผู้รู้กับสิ่งที่ถูกรู้แยกออกจากกันแล้ว ตามเห็นความเกิดดับของอารมณ์ อันนั้นเป็นการทำวิปัสสนา และเมื่อถึงจุดหนึ่ง จิตจะไม่จงใจรู้อารมณ์และไม่จงใจประคองผู้รู้ แต่สามารถเจริญสติและสัมปชัญญะได้เอง อันนั้นจิตเดินวิปัสสนาเองโดยอัตโนมัติ อันเป็นวิปัสสนาแท้ ที่จิตทำของเขาเอง เปรียบเทียบคนที่ทำสมถะ เหมือนคนที่ตกลงในกระแสน้ำ ว่ายอยู่ในน้ำ ย่อมเห็นสิ่งต่างๆ ไม่ชัดเจน ในขณะที่ผู้ทำวิปัสสนา เหมือนคนที่นั่งบนฝั่งน้ำ แล้วมองดูสายน้ำที่ไหลผ่านเฉพาะหน้าไป ย่อมเห็นชัดว่า มีอะไรลอยมากับน้ำบ้าง ทั้งของสะอาดสวยงาม และของสกปรก ด้วยเหตุนี้ จึงเป็นบทเฉลยที่ว่า ทำไมจึงต้องหัดแยกจิตผู้รู้ ออกจากอารมณ์ที่ถูกรู้ ก่อนที่จะดูจิตหรือพิจารณากายอย่างหนึ่งอย่างใด ตัวอย่างเช่น หากพิจารณาอัฐิหรือกระดูก โดยให้สมาธิเพ่งรู้รูปร่างของกระดูก ว่าเป็นแท่งยาวๆ กลมๆ อันนั้นเป็นการเพ่ง เป็นกสิณดิน หากเพ่งดูว่า กระดูกมีสีขาว อันนั้นก็เป็นกสิณสี ซึ่งการเพ่งจนจิตสงบเกาะอยู่กับรูปกระดูกก็ดี สีกระดูกก็ดี เป็นการทำสมถะ แต่หากรู้กระดูก โดยมีจิตผู้รู้ตั้งมั่นอยู่ต่างหาก แล้วคิดพิจารณาไปในแง่ที่กระดูกเป็นไตรลักษณ์ อันนั้นเป็นการเจริญวิปัสสนาขั้นต้น และในระหว่างที่พิจารณากายอย่างเป็นวิปัสสนานั้น บางครั้งจิตก็เข้าไปจับอยู่กับกาย ส่วนใดส่วนหนึ่งนิ่งพักอยู่เป็นสมถะ แล้วค่อยกลับออกมาพิจารณากายต่อก็มี แต่ถ้าจิตไม่เข้าพักเอง แล้วกลับตะลุยพิจารณากายจนจิตฟุ้งซ่าน ผู้ปฏิบัติจะต้องย้อนกลับไปทำสมถะใหม่ เพื่อให้จิตมีกำลังและแยกตัวออกจากอารมณ์เสียก่อน การดูจิตก็เป็นได้ทั้งสองอย่าง คือถ้าเพ่งความว่างเปล่าของจิต หรือเพ่งสิ่งใดสิ่งหนึ่งในจิต อันนั้นเป็นสมถะ หากรู้อารมณ์ที่เกิดดับไป โดยจิตผู้รู้อยู่ต่างหาก อันนั้นเป็นการทำวิปัสสนา และตามธรรมดาแล้ว เมื่อผู้ปฏิบัติ ดูจิตอยู่อย่างเป็นวิปัสสนานั้น บางครั้งจิตก็เข้าพักในสมถะด้วยการจับนิ่งเข้ากับอารมณ์อันเดียว ผู้ปฏิบัติควรจำแนกได้ว่า ขณะนั้นจิตของตนทำสมถะหรือเดินวิปัสสนา มิฉะนั้น อาจหลงผิดทำสมถะ แล้วคิดว่ากำลังทำวิปัสสนาอยู่ ผู้ปฏิบัติที่ครูบาอาจารย์ขาดญาณทัศนะ ไม่รู้วาระจิตของศิษย์อาจหลงผิดได้ง่ายโดยไม่มีใครแก้ไขให้ เช่น เดินจงกรมกำหนดยกหนอ ย่างหนอ เหยียบหนอ ฯลฯ แล้วจิตไหลลงไปอยู่ในเท้า หรือหลงคิดแต่เรื่องยก ย่าง เหยียบ ไม่มีสัมปชัญญะคือความรู้ตัวของจิต อันนั้นเป็นการทำสมถะอย่างเดียวเท่านั้น อันตรายอีกอย่างหนึ่งของการที่แยกไม่ออกระหว่างการทำสมถะกับวิปัสสนาก็คือ การเกิดวิปัสสนูปกิเลส คือในระหว่างที่ทำวิปัสสนาอยู่นั้น บางครั้งจิตพลิกกลับไปสู่ภูมิของสมถะ แล้วเกิดความรู้ความเห็นหรืออาการบางอย่าง ทำให้หลงผิดว่าตนบรรลุธรรมชั้นสูงแล้ว เช่น เกิดอาการที่สติรู้อารมณ์ชัดกริบด้วยจิตที่แข็งกระด้าง (แทนที่จะรู้ด้วยจิตที่อ่อนโยน ว่องไว ควรแก่การทำวิปัสสนา) หรือเกิดความรู้ความเห็นผิด เช่น แยกไม่ออกระหว่างสมมุติสัจจะ กับปรมัตถสัจจะ หลงผิดว่าพระพุทธเจ้าก็ไม่มี พ่อแม่ก็ไม่มี ทุกอย่างว่างเปล่าหมด เป็นการปฏิเสธสมมุติบัญญัติคิดว่ามันไม่มี ทั้งที่สมมุติเขาก็มีของเขาอยู่ แต่มีอย่างเป็นสมมุติ เป็นต้น การที่ดูจิตแล้วจิตพลิกกลับไปมาระหว่างสมถะและวิปัสสนาได้นั้น ทำให้ผู้ปฏิบัติบางคน จะได้ฌานโดยอัตโนมัติ ทั้งที่ไม่ต้องหัดเข้าฌาน ๓.๖ การปล่อยวางอารมณ์หยาบเข้าถึงความว่าง เมื่อดูจิตชำนาญเข้า อารมณ์ใดกระทบจิต อารมณ์นั้นก็ดับไป เหมือนแมลงเม่าบินเข้ากองไฟ เริ่มต้นผู้ปฏิบัติจะรู้เห็นแต่อารมณ์หยาบ เช่น โกรธแรงๆ จึงจะดูออก แต่เมื่อปฏิบัติมากเข้า แม้ความขัดใจเล็กน้อย หรือความพอใจเล็กน้อยเกิดขึ้นกับจิต ก็สามารถรู้เห็นได้อย่างชัดเจน เช่น ในขณะที่ร้อนๆ มีลมเย็นโชยกระทบผิวกายนิดเดียว จิตก็เกิดยินดีมีราคะขึ้นแล้ว หรือปวดปัสสาวะ พอเริ่มถ่ายปัสสาวะจิตก็ยินดีเสียแล้ว หรือกำลังหิวข้าว พอเห็นเขายกอาหารมาวางต่อหน้า จิตก็ยินดีเสียแล้ว เป็นต้น เมื่อรู้อารมณ์ละเอียดแล้ว โอกาสที่อารมณ์หยาบจะเกิดก็ยากขึ้น เพราะอารมณ์หยาบนั้นงอกงามขึ้นไปจากอารมณ์ละเอียดนั่นเอง อนึ่ง หลักการที่สำคัญมากในการดูจิตที่ขอย้ำก็คือ ให้รู้อารมณ์เฉยๆ อย่าไปพยายามละอารมณ์นั้นเด็ดขาด จะเดินทางผิดทันที เพราะอารมณ์ทั้งปวงนั้น เป็นตัวขันธ์ เป็นตัวทุกข์ ผู้ปฏิบัติมีหน้าที่รู้เท่านั้น อย่าอยาก (มีตัณหา) ที่จะไปละมันเข้า จะผิดหลักการเกี่ยวกับกิจของอริยสัจที่พระพุทธเจ้าทรงสอนว่า "ทุกข์ให้รู้ สมุทัยให้ละ" เพราะยิ่งพยายามละ ก็จะยิ่งหลงผิดมากขึ้น ตัวอย่างเช่น เห็นความโกรธเกิดขึ้นในจิต ท่านให้รู้เฉยๆ บางครั้งผู้ปฏิบัติพยายามหาทางดับความโกรธนั้น แล้วความโกรธก็ดับได้จริงๆ เหมือนกัน นักปฏิบัติจะหลงผิดว่าตนเองเก่ง ดับกิเลสได้ และเห็นว่า จิตเป็นอัตตา กิเลสเป็นอัตตา ทั้งที่ความจริงนั้น กิเลสมันดับเพราะหมดเหตุของมันต่างหาก เช่น เราถูกคนด่า เราใคร่ครวญเก่าอยู่กับเรื่องที่เขาด่า ความโกรธก็เกิดและแรงขึ้นเรื่อยๆ พอเราคิดเรื่องจะดับความโกรธ เราละเหตุของความโกรธเสียแล้วคือไม่ได้คิดเรื่องว่าเขาด่า มัวแต่คิดจะดับความโกรธ ความโกรธหมดเหตุมันก็ดับไปเอง แต่ผู้ปฏิบัติหลงผิดว่า ตนดับความโกรธได้ แล้วเมื่อไปเจอกิเลสอื่น ก็จะวุ่นวายอยู่กับความพยายามจะดับมันอีก เรียกว่าหางานให้จิตทำวุ่นวายอยู่ตลอดเวลา
จิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้งเป็นมรรค โดยหลวงพ่อปราโมทย์บันทึกลับสุดยอด บันทึก(ไม่)ลับอุบาสกนิรนาม (ผู้เขียนได้ปรับปรุงจากต้นฉบับเรื่องประสบการณ์ภาวนาซึ่งเคยส่งไปลงพิมพ์ในหนังสือโลกทิพย์ ในนามสันตินันทอุบาสก) ผมลังเลใจอยู่นานที่จะเล่าถึงการปฏิบัติธรรมของตนเอง เพราะมันเป็นเพียงเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ซึ่งถ้าใครตั้งใจปฏิบัติก็ทำกันได้ แต่ด้วยความเคารพในคำสั่งของครูบาอาจารย์รูปหนึ่งคือหลวงพ่อพุธ ฐานิโย แห่งวัดป่าสาลวัน ที่ท่านสั่งให้เขียนเรื่องนี้ออกเผยแพร่ ผมจึงต้องปฏิบัติตาม โดยเขียนเรื่องนี้ให้ท่านอ่าน ผมเป็นคนวาสนาน้อย ไม่เคยรู้เรื่องพระธุดงคกรรมฐานอย่างจริงจังมาก่อน จนแทบจะละทิ้งพระพุทธศาสนาไปแล้ว เพราะเกิดตื่นเต้นกับลัทธิวัตถุนิยม แต่แล้ววันหนึ่ง ผมได้พบข้อธรรมสั้นๆ บทหนึ่งของหลวงปู่ดูลย์ อตุโล แห่งวัดบูรพาราม จังหวัดสุรินทร์ มีสาระสำคัญว่า "จิตส่งออกนอกคือสมุทัย มีผลเป็นทุกข์ จิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้งเป็นมรรค มีผลเป็นนิโรธ" “อนึ่ง ตามสภาพที่แท้จริงของจิต ย่อมส่งออกนอกเพื่อรับอารมณ์นั้นๆ โดยธรรมชาติของมันเอง ก็แต่ว่า ถ้าจิตส่งออกนอกได้รับอารมณ์แล้ว จิตเกิดหวั่นไหวหรือเกิดกระเพื่อมไปตามอารมณ์นั้น เป็นสมุทัย ผลอันเกิดจากจิตหวั่นไหวหรือกระเพื่อมไปตามอารมณ์นั้นๆ เป็นทุกข์ ถ้าจิตที่ส่งออกนอกได้รับอารมณ์แล้ว แต่ไม่หวั่นไหว หรือไม่กระเพื่อมไปตามอารมณ์นั้นๆ มีสติอยู่อย่างสมบูรณ์ เป็นมรรค ผลอันเกิดจากจิตไม่หวั่นไหว หรือไม่กระเพื่อม เพราะมีสติอยู่อย่างสมบูรณ์ เป็นนิโรธ พระอริยเจ้าทั้งหลายมีจิตไม่ส่งออกนอก จิตไม่หวั่นไหว จิตไม่กระเพื่อม เป็นวิหารธรรม จบอริยสัจจ์ ๔” ผมเกิดความซาบซึ้งจับจิตจับใจ และเห็นจริงตามว่า ถ้าจิตไม่ออกไปรับความทุกข์แล้ว ใครกันล่ะที่จะเป็นผู้ทุกข์ จิตใจของผมมันยอมรับนับถือหลวงปู่ดูลย์เป็นครูบาอาจารย์ตั้งแต่นั้น ต่อมาในต้นปี พ.ศ.๒๕๒๕ ผมมีโอกาสด้นดั้นไปนมัสการหลวงปู่ดูลย์ที่จังหวัดสุรินทร์ เมื่อไปถึงวัดของท่านแล้ว เกิดความรู้สึกกลัวเกรงเป็นที่สุด เพราะท่านเป็นพระเถระผู้ใหญ่และไม่เคยรู้จักอัธยาศัยของท่านมาก่อน ประกอบกับผมไม่คุ้นเคยที่จะพบปะพูดจากับพระผู้ใหญ่มาก่อนด้วย จึงรีรออยู่ห่างๆ นอกกุฏิของท่าน ขณะที่รีรออยู่ครู่หนึ่งนั้น หลวงปู่ดูลย์เดินออกมาจากกุฏิของท่าน มาชะโงกมองดูผม ผมจึงรวบรวมความกล้าเข้าไปกราบท่านซึ่งถอยกลับไปนั่งเก้าอี้โยกที่หน้าประตูกุฏิ แล้วเรียนท่านว่า "ผมอยากภาวนาครับหลวงปู่" หลวงปู่หลับตานิ่งเงียบไปเกือบครึ่งชั่วโมง พอลืมตาท่านก็แสดงธรรมทันทีว่า การภาวนานั้นไม่ยาก แต่มันก็ยากสำหรับผู้ไม่ภาวนา ขั้นแรกให้ภาวนา "พุทโธ" จนจิตวูบลงไป แล้วตามดูจิตผู้รู้ไป จะรู้อริยสัจจ์ ๔ เอง (หลวงปู่ท่านสอนศิษย์แต่ละคนด้วยวิธีที่แตกต่างกันตามจริตนิสัย นับว่าท่านมีอนุสาสนีปาฏิหารย์อย่างสูง) แล้วท่านถามว่าเข้าใจไหม ก็กราบเรียนว่าเข้าใจ ท่านก็บอกให้กลับไปทำเอา พอขึ้นรถไฟกลับกรุงเทพเกิดเฉลียวใจขึ้นว่า ท่านให้เราดูจิตนั้นจะดูอย่างไร จิตมันเป็นอย่างไร อยู่ที่ไหนและจะเอาอะไรไปดู ตอนนั้นชักจะกลุ้มใจไม่ทราบว่าจะทำอย่างไร ก็ภาวนาพุทโธไปเรื่อยๆ จนจิตสงบลง แล้วพิจารณาว่าจิตจะต้องอยู่ในกายนี้แน่ หากแยกแยะเข้าไปในขันธ์ ๕ ถึงอย่างไรก็ต้องเจอจิต จึงพิจารณาเข้าไปที่รูปว่าไม่ใช่จิต รูปก็แยกออกเป็นสิ่งที่ถูกรู้เท่านั้น หันมามองเวทนาแล้วแยกออกเป็นอีกส่วนหนึ่ง ตัวสัญญาก็แยกเป็นอีกส่วนหนึ่ง จากนั้นมาแยกตัวสังขารคือความคิดนึกปรุงแต่ง โดยนึกถึงบทสวดมนต์ เห็นความคิดบทสวดมนต์ผุดขึ้น และเป็นสิ่งที่ถูกรู้ ถึงตอนนี้ก็เลยจับเอาตัวจิตผู้รู้ขึ้นมาได้ หลังจากนั้น ผมได้ตามดูจิตไปเรื่อยๆ จนสามารถรู้ว่า ขณะนั้นเกิดกิเลสขึ้นกับจิตหรือไม่ ถ้าเกิดขึ้นและรู้ทัน กิเลสมันก็ดับไปเอง เหลือแต่จิตผู้รู้ ซึ่งรู้ความรู้สึกนึกคิดปรุงแต่งไปเรื่อยๆ อย่างเป็นอิสระจากกิเลสและอารมณ์ต่างๆ ต่อมาภายหลังผมได้หาหนังสือธรรมะมาอ่าน จึงรู้ว่าในทางปริยัติธรรมจัดเป็นการจำแนกรูปนาม จัดเป็นการเจริญวิปัสสนาแล้ว แต่ในเวลาปฏิบัตินั้น จิตไม่ได้กังวลสนใจว่าเป็นวิปัสสนาญาณขั้นใด ปฏิบัติอยู่ ๓ เดือน จึงไปรายงานผลกับหลวงปู่ดูลย์ว่า "ผมหาจิตเจอแล้ว จะต้องปฏิบัติอย่างไรต่อไป" คราวนี้ปรากฏว่าท่านแสดงธรรมอันลึกซึ้งมากมาย เกี่ยวกับการถอดถอนทำลายอุปาทานในขันธ์ ๕ท่านสอนถึงกำเนิดและการทำงานของจิตวิญญาณ จนถึงการเจริญอริยมรรค จนมีญาณเห็นจิตเหมือนมีตาเห็นรูป ท่านสอนอีกว่า เมื่อเราดูจิต คือตามรู้จิตเรื่อยๆ ไปนั้น สิ่งปรุงแต่งจะดับไปตามลำดับ จนถึงความว่า แต่ในความว่างนั้นยังไม่ว่างจริง มันมีสิ่งละเอียดเหลืออยู่คือวิญญาณ ให้ตามรู้จิตเรื่อยๆ ไป ความยึดในวิญญาณจะถูกทำลายออกไปอีก แล้วจิตจริงแท้หรือพุทธะ (หลวงปู่เทสก์เรียกว่าใจ) จึงปรากฎออกมา คำสอนครั้งนี้ลึกซึ้งกว้างขวางเหมือนฝนตกทั่วฟ้า แต่ภูมิปัญญาของผมมีจำกัด จึงรองน้ำฝนไว้ได้เพียงถ้วยเดียว คือได้เรียนถามท่านว่า "ที่หลวงปู่สอนมาทั้งหมดนี้ หากผมจะปฏิบัติด้วยการดูจิตไปเรื่อยๆ จะพอไหม" หลวงปู่ดูลย์ตอบว่า "การปฏิบัติก็มีอยู่เท่านั้นแหละ แม้จะพิจารณากายหรือกำหนดนิมิตหมายใดๆ ก็เพื่อให้ถึงจิตถึงใจตนเองเท่านั้น นอกจากจิตแล้วไม่มีสิ่งใดอีก พระธรรม ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ก็รวมลงที่จิตตัวเดียวนี้เอง” หลังจากนั้นผมก็เพียรดูจิตเรื่อยๆ มา มีสติเมื่อใดดูเมื่อนั้น ขาดสติแล้วก็แล้วกันไป นึกขึ้นได้ก็ดูใหม่ เวลาทำงานก็ทำไป พอเหนื่อยหรือเครียดก็ย้อนดูจิต เลิกงานแล้วแม้มีเวลาเล็กน้อยก็ดูจิต ดูอยู่นั่นแหละ ไม่นานก็เห็นความเปลี่ยนแปลงในตัวเองอย่างไม่น่าจะเป็นไปได้ วันหนึ่งของอีก ๔ เดือนต่อมา ขณะนั้นเป็นเวลาเย็นปลายเดือนกันยายน ๒๕๒๕ ได้เกิดพายุพัดหนัก ผมออกจากที่ทำงานเปียกฝนไปทั้งตัว และได้เข้าไปหลบฝนอยู่ในกุฏิพระหลังหนึ่งในวัดใกล้ๆ ที่ทำงาน ได้นั่งกอดเข่ากับพื้นห้องเพราะไม่กล้านั่งตามสบายเนื่องจากตัวเราเปียกมากกลัวกุฏิพระจะเลอะมาก พอนั่งลงก็เกิดเป็นห่วงร่างกายว่า ร่างกายเราไม่แข็งแรง คราวนี้คงไม่สบายแน่ สักครู่ก็ตัดใจว่า ถ้าจะป่วยมันก็ต้องป่วย นี่กายยังไม่ทันป่วยใจกลับป่วยเสียก่อนแล้วด้วยความกังวล พอรู้ตัวว่าจิตกังวลผมก็ดูจิตทันทีเพราะเคยฝึกดูจนเป็นนิสัยแล้ว ขณะนั้นนั่งกอดเข่าลืมตาอยู่แท้ๆ แต่ประสาทสัมผัสทางกายดับหายไปหมด โลกทั้งโลก เสียงฝน เสียงพายุหายไปหมด เหลือแต่สติที่ละเอียดอ่อนประคองรู้อยู่เท่านั้น (ไม่รู้ว่ารู้อะไรเพราะไม่มีสัญญา) ต่อมามันมีสิ่งละเอียดๆ ผ่านมาสู่ความรับรู้ของจิตเป็นระยะๆ แต่ไม่รู้ว่าสิ่งนั้นคืออะไร เพราะจิตไม่มีความสำคัญมั่นหมายใดๆ ต่อมาจิตมีอาการไหวดับวูบลง สิ่งที่ผ่านมาให้รู้ดับไปหมดแล้ว แล้วก็รู้ชัดเหมือนตาเห็นว่า ความว่างที่เหลืออยู่นั้น ถูกแหวกพรวดอย่างรวดเร็วและนุ่มนวลออกไปอีก กลายเป็นความว่างที่บริสุทธิ์หมดจดอย่างแท้จริง ในความว่างนั้น จิตซึ่งเป็นอิสระแล้วได้อุทานขึ้นว่า "เอ๊ะ จิตไม่ใช่เรานี่" จากนั้นจิตได้มีอาการปิติยินดี ยิ้มแย้มแจ่มใสขึ้น พร้อมๆ กับเกิดแสงสว่างโพลงขึ้นรอบทิศทาง จากนั้นจิตจึงรวมสงบลงอีกครั้งหนึ่ง แล้วถอนออกจากสมาธิ เมื่อความรับรู้ต่างๆ กลับมาสู่ตัวแล้ว ถึงกับอุทานในใจ (จิตไม่ได้อุทานอย่างทีแรก) ว่า "อ้อ ธรรมะเป็นอย่างนี้เอง เมื่อจิตไม่ใช่ตัวเราเสียแล้ว สิ่งใดสิ่งหนึ่งก็ไม่เป็นตัวเราอีกต่อไป" เมื่อผมไปกราบหลวงปู่ดูลย์ และเล่าเรื่องนี้ให้ท่านทราบ พอเล่าว่าสติละเอียดเหมือนเคลิ้มๆ ไป ท่านก็อธิบายว่า จิตผ่านฌานทั้ง ๘ ผมได้แย้งท่านตามประสาคนโง่ว่า ผมไม่ได้หัดเข้าฌาน และไม่ได้ตั้งใจจะเข้าฌานด้วย หลวงปู่ดูลย์อธิบายว่า ถ้าตั้งใจก็ไม่ใช่ฌาน และขณะที่จิตผ่านฌานอย่างรวดเร็วนั้น จิตจะไม่มานั่งนับว่ากำลังผ่านฌานอะไรอยู่ การดูจิตนั้นจะได้ฌานโดยอัตโนมัติ (หลวงปู่ไม่ชอบสอนเรื่องฌาน เพราะเห็นเป็นของธรรมดาที่จะต้องผ่านไปเอง หากสอนเรื่องนี้ ศิษย์จะมัวสนใจฌาน ทำให้เสียเวลาปฏิบัติ) พอผมเล่าว่าจิตอุทานได้เอง หลวงปู่ก็บอกอาการต่างๆ ที่ผมยังเล่าไม่ถึง ออกมาตรงกับที่ผมผ่านมาแล้วทุกอย่าง แล้วท่านก็สรุปยิ้มๆ ว่า จิตยิ้มแล้ว พึ่งตัวเองได้แล้ว ถึงพระรัตนตรัยแล้ว ต่อไปนี้ไม่จำเป็นต้องมาหาอาตมาอีก แล้วท่านแสดงธรรมเรื่อง จิตเหนือเหตุ หรือ อเหตุกจิต ให้ฟัง มีใจความว่า อเหตุกจิต มี ๓ ประการคือ ๑. ปัญจทวารวัชนจิต ได้แก่ความไหวตัวของจิตขึ้นรับรู้อารมณ์ทางตา หู จมูก ลิ้น และกาย ๒. มโนทวารวัชนจิต ได้แก่ความไหวตัวของใจขึ้นรับรู้อารมณ์ทางใจ ๓. หสิตุปปาท หรือจิตยิ้ม เป็นการแสดงความเบิกบานของจิตที่ปราศจากอารมณ์ปรุงแต่ง เพื่อแสดงความมีอยู่ของจิตซึ่งไม่มีตัวตนให้ปรากฏออกมาสู่ความรับรู้ อเหตุกจิต ๒ อย่างแรกเป็นของสาธารณะ มีทั้งในปุถุชนและพระอริยเจ้า แต่จิตยิ้มเป็นโลกุตรจิต เป็นจิตสูงสุด เกิดขึ้นเพียง ๓ - ๔ ครั้งก็ถึงที่สุดแห่งทุกข์ หลังจากนั้นผมก็ปฏิบัติด้วยการดูจิตเรื่อยมา และเห็นว่าเวลามีการกระทบทางตา หู จมูก ลิ้น และกาย จะมีคลื่นวิ่งเข้าสู่ใจ หรือบางครั้งก็มีธรรมารมณ์เป็นคลื่นเข้าสู่ใจ หากขณะนั้นขาดสติ จิตจะส่งกระแสไปยึดอารมณ์นั้น ตอนนั้นจิตยังไม่ละเอียดพอ ผมเข้าใจว่าจิตวิ่งไปยึดอารมณ์แล้วขยับๆ ตัวเสวยอารมณ์อยู่ จึงไปเรียนให้หลวงปู่ดูลย์ทราบ ท่านกลับตอบว่า “จิตจริงแท้ไม่มีการไป ไม่มีการมา” ผมได้มาดูจิตต่ออีกสักครึ่งปีต่อมา วันหนึ่งจิตผ่านเข้าสู่อัปปนาสมาธิ และเดินวิปัสสนาคือมีสิ่งให้รู้ผ่านมาสู่จิต แต่จิตไม่มีความสำคัญมั่นหมายว่าคือสิ่งใด จากนั้นเกิดอาการแยกความว่างขึ้นแบบเดียวกับเมื่อจิตยิ้ม คราวนี้จิตพูดขึ้นเบาๆ ว่า จิตไม่ใช่เรา แต่ต่อจากนั้นแทนที่จิตจะยิ้ม จิตกลับพลิกไปสู่ภูมิของสมถะ ปรากฏนิมิตเป็นเหมือนดวงอาทิตย์โผล่ผุดขึ้นจากสิ่งห่อหุ้ม แต่โผล่ไม่หมดดวง เป็นสิ่งแสดงให้รู้ว่ายังไม่ถึงที่สุดของการปฏิบัติ ปรากฏการณ์นี้เป็นเครื่องพิสูจน์ว่า การดำเนินของจิตในขั้นวิปัสสนานั้น หากสติอ่อนลง จิตจะวกกลับมาสู่ภูมิของสมถะ และวิปัสสนูปกิเลสจะแทรกเข้ามาตรงนี้ถ้าไม่กำหนดรู้ให้ชัดเจนว่า วิปัสสนาพลิกกลับเป็นสมถะไปแล้ว นักปฏิบัติจึงต้องระวังให้มาก โดยเฉพาะผู้ที่ยังไม่เคยพบกับจิตยิ้ม (สำนวนของหลวงปู่ดูลย์) หรือใจ (สำนวนของหลวงปู่เทสก์) หรือจิตรวมใหญ่ (สำนวนของท่านอาจารย์สิงห์) เมื่อผมนำเรื่องนี้ไปรายงานหลวงปู่ดูลย์ ท่านก็ว่า ดีแล้ว ให้ดูจิตต่อไป ผมก็ทำเรื่อยๆ มา ส่วนมากเป็นการดูจิตในชีวิตประจำวัน ไม่ค่อยได้นั่งสมาธิแบบเป็นพิธีการ ต่อมาอีก ๑ เดือน วันหนึ่งขณะนั่งสนทนาธรรมอยู่กับน้องชาย จิตเกิดรวมวูบลงไป มีการแยกความว่างซึ่งมีขันธ์ละเอียด (วิญญาณขันธ์) ออกอีกทีหนึ่ง แล้วจิตก็หัวเราะออกมาเองโดยปราศจากอารมณ์ (ร่างกายไม่ได้หัวเราะ) มันเป็นการหัวเราะเยาะกิเลสว่า มันผูกมัดมานาน ต่อๆ ไป จิตจะเป็นอิสระยิ่งขึ้นไปเรื่อยๆ เหตุการณ์นี้ทำให้ได้ความรู้ชัดว่า ทำไมเมื่อครั้งพุทธกาล จึงมีผู้รู้ธรรมในขณะฟังธรรมเกิดขึ้นได้เป็นจำนวนมาก ผมนำเรื่องนี้ไปรายงานหลวงปู่ดูลย์ คราวนี้ท่านไม่ได้สอนอะไรอีก เพียงแต่ให้กำลังใจว่า ให้พยายามทำให้จบเสียแต่ในชาตินี้ หลังจากนั้นไม่นาน ท่านก็มรณภาพ หลวงพ่อพุธ ฐานิโย ซึ่งเป็นครูบาอาจารย์อีกรูปหนึ่ง เคยสั่งให้ผมเขียนเรื่องการปฏิบัติของตนเองออกเผยแพร่ เพราะอาจมีผู้ที่มีจริตคล้ายๆ กันได้ประโยชน์บ้าง ผมจึงเขียนเรื่องนี้ขึ้น เพื่อสนองคำสั่งครูบาอาจารย์ และเพื่อรำลึกถึงหลวงปู่ดูลย์ อตุโล ผู้เปี่ยมด้วยอนุสาสนีปาฏิหารย์ รวมทั้งหวังว่าจะเป็นประโยชน์สักเล็กน้อย สำหรับท่านที่กำลังแสวงหาหนทางปฏิบัติอยู่ แนวทางปฏิบัติธรรม ของพระราชวุฒาจารย์ (หลวงปู่ดูลย์ อตุโล) (เรียบเรียงโดย : อุบาสกนิรนาม) ๑. คำปรารภ หลวงปู่ดูลย์ อตุโล เป็นศิษย์รุ่นแรกสุดของท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถร ภายหลังจากท่านออกเดินธุดงค์จนสิ้นธุระในส่วนขององค์ท่านแล้ว ท่านได้ไปประจำอยู่ที่วัดบูรพาราม อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ ตลอดมาจนถึง วันมรณภาพ หลวงปู่เป็นผู้เคร่งครัดในพระธรรมวินัย และได้แผ่บารมีธรรม อบรมสั่งสอนศิษย์ทั้งที่เป็นบรรพชิตและคฤหัสถ์ ประสบผลสำเร็จในการปฏิบัติธรรมเป็นจำนวนมาก ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว หลักปฏิบัติที่ท่านนำมาสั่งสอนนั้น ไม่ใช่หลักธรรมของท่าน หรือของท่านอาจารย์ของท่าน แต่เป็นพระธรรมคำสอน อันพระผู้มีพระภาคเจ้าประทานไว้นั่นเอง ท่านเพียงแต่เลือกเฟ้นกลั่นกรองนำมาสอน ให้ถูกกับจริตนิสัยของศิษย์แต่ละคนเท่านั้น หลวงปู่มีปรกติสอนเรื่องจิต จนบางคนเข้าใจว่า ท่านสอนเฉพาะการดูจิตหรือการพิจารณาจิต (จิตตานุปัสสนาและธัมมานุปัสสนา) แต่ในความเป็นจริงแล้ว ท่านสอนไว้สารพัดรูปแบบ คือใครดูจิตได้ท่านก็สอนให้ดูจิต แต่หากใครไม่สามารถดูจิตโดยตรงได้ ท่านก็สอนให้พิจารณากาย (กายานุปัสสนา และเวทนานุปัสสนา)เช่น เดียวกับที่ท่านพระอาจารย์มั่นสอน และในความเป็นจริง ศิษย์ฝ่ายบรรพชิตที่พิจารณากายนั้น ดูจะมีมากกว่าผู้พิจารณาจิตโดยตรงเสียอีก ๒. เหตุผลที่ท่านเน้นการศึกษาที่จิต หลวงปู่พิจารณาเห็นว่ากุศลธรรมทั้งหลายรวมลงได้ในอริยสัจสี่ทั้งนั้น และอริยสัจสี่นั้นสามารถรู้เห็นและเข้าใจได้ด้วยการศึกษาจิตของตนเอง เพราะทุกข์นั้นเกิดมาจากสมุทัยคือตัณหา (ความทะยานอยากของจิต) และความพ้นทุกข์ก็เกิดจากความสิ้นไปของตัณหา แม้แต่มรรคมีองค์แปด ซึ่งย่อลงเป็นศีล สมาธิ และปัญญานั้น ก็เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นกับจิตทั้งสิ้น กล่าวคือศีลได้แก่ความเป็นปรกติธรรมดาของจิตที่ไม่ถูกสภาวะอันใดครอบงำ สมาธิคือความตั้งมั่นของจิต และปัญญาคือความรอบรู้ของจิต ท่านจึงกล้ากล่าวว่า พระธรรมทั้งปวงนั้น สามารถเรียนรู้ได้ที่จิตของตนเอง ด้วยเหตุนี้ ท่านจึงให้ความสำคัญเป็นพิเศษกับการดูจิต ๓. วิธีดูจิต ๓.๑ การเตรียมความพร้อมของจิต พระกรรมฐานสายท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถร จะสอนตรงกันว่า จิตที่จะเจริญวิปัสสนาได้นั้น ต้องมีสมาธิหรือความสงบตั้งมั่นของจิตเป็นฐานเสียก่อน จิตจะได้ไม่ถูกกิเลสครอบงำ จนเห็นไม่สามารถเห็นสภาวธรรมตามความเป็นจริงได้ หลวงปู่ดูลย์ท่านก็สอนในลักษณะเดียวกัน และท่านมักจะให้เจริญพุทธานุสติบริกรรม "พุทโธ" หรือ ควบด้วยการทำอานาปานสติ คือการกำหนดลมหายใจเข้า บริกรรม "พุท" หายใจออกบริกรรม "โธ" เคล็ดลับของการทำความสงบ ในเวลาที่จะทำความสงบนั้น ท่านให้ทำความสงบจริงๆ ไม่ต้องคิดถึงเรื่องการเจริญปัญญา และมีเคล็ดลับที่ช่วยให้จิตสงบง่ายคือ ให้รู้คำบริกรรมหรือกำหนดลมหายใจไปเรื่อยๆ ตามสบาย อย่าอยากหรือจงใจจะให้จิตสงบ เพราะธรรมชาติของจิตนั้นจะไปบังคับให้สงบไม่ได้ ยิ่งพยายามให้สงบกลับจะยิ่งฟุ้งซ่านหนักเข้าไปอีก เมื่อจิตสงบลงแล้ว จิตจะทิ้งคำบริกรรม ก็ไม่ต้องนึกหาคำบริกรรมอีก แต่ให้รู้อยู่ตรงความรู้สึกที่สงบนั้น จนกว่าจิตจะถอนออกมาสู่ความเป็นปรกติด้วยตัวของมันเอง ๓.๒ การแยกจิตผู้รู้กับอารมณ์ที่ถูกจิตรู้ เมื่อจิตรวมสงบทิ้งคำบริกรรมไปแล้ว ท่านให้สังเกตอยู่ที่ความสงบนั้นเอง และสังเกตต่อไปว่า ความสงบนั้นเป็นเพียงสิ่งที่ถูกรู้เท่านั้น จิตคือตัวผู้รู้ ผู้ดูอยู่นั้น มีอยู่ต่างหาก สรุปก็คือ ท่านสอนให้แยกจิตผู้รู้ออกจากอารมณ์ที่ถูกรู้ บางคนไม่สามารถทำความสงบด้วยการบริกรรม หรือด้วยกรรมฐานอื่นใด ก็อาจใช้วิธีอื่นในการแยกผู้รู้กับสิ่งที่ถูกรู้ได้ ตัวอย่างเช่น นึกถึงพุทโธ หรือบทสวดมนต์บทใดก็ได้ที่คุ้นเคย แล้วก็เฝ้ารู้การสวดมนต์ที่แจ้วๆ อยู่ในสมองตนเองไป จากนั้นจึงแยกว่า บทสวดนั้นถูกรู้ ผู้รู้มีอยู่ต่างหาก ตรงจุดนี้มีอุบายยักย้ายอีกหลายอย่าง เช่น อาจจะสังเกตดูความคิดของตนเอง ซึ่งพูดแจ้วๆ อยู่ในสมองก็ได้ แล้วเห็นว่า ความคิดนั้นถูกรู้ จิตผู้รู้มีอยู่ต่างหาก หรือตามรู้ความเคลื่อนไหวของร่างกายไปเรื่อยๆ หรือตามรู้ความ รู้สึกเป็นสุข เป็นทุกข์ หรือเฉยๆ ไปเรื่อยๆ หรือ ฯลฯ (สรุปว่า รู้อะไรก็ได้ให้ต่อเนื่อง) และสังเกตเห็นว่าสิ่งนั้นเป็นแค่สิ่งที่ถูกรู้ จิตผู้รู้มีอยู่ต่างหาก หรืออย่างท่านพระอาจารย์เทสก์ เทสรังสี ศิษย์อาวุโสอีกรูปหนึ่งของท่านพระอาจารย์มั่น ท่านสอนให้ลองกลั้นหายใจดูชั่วขณะ แล้วสังเกตดูความรู้สึกตรงที่นิ่งๆ ว่างๆ นั้น แล้วทำสติรู้อยู่ตรงนั้นเรื่อยๆ ไป เป็นต้น เมื่อแยกจิตผู้รู้กับอารมณ์ที่ถูกรู้ได้แล้ว ก็ให้เจริญสติสัมปชัญญะต่อไป ๓.๓ การเจริญสติและสัมปชัญญะ ให้ทำความรู้ตัวอยู่กับจิตผู้รู้ อย่างสบายๆ ไม่เพ่งจ้องหรือควานหา ค้นคว้า พิจารณาเข้าไปที่จิตผู้รู้ เพียงแค่รู้อยู่เฉยๆ เท่านั้น ต่อมาเมื่อมีความคิดนึกปรุงแต่งอื่นๆ เกิดขึ้น ก็จะเห็นความเปลี่ยนแปลงของอารมณ์ชัดเจน เช่น เดิมมีความนิ่งว่างอยู่ ต่อมาเกิดคิดถึงคนๆ หนึ่ง แล้วเกิดความรู้สึกรัก หรือชังขึ้น ก็ให้สังเกตรู้ความรักความชังนั้น และเห็นว่ามันเป็นสิ่งที่ถูกรู้เท่านั้น ตัวจิตผู้รู้มีอยู่ต่างหาก ให้รู้ตัวไปเรื่อยๆ สิ่งใดเป็นอารมณ์ปรากฏขึ้นกับจิต ก็ให้มีสติรู้อารมณ์ที่กำลังปรากฏนั้น ในขณะเดียวกัน ก็ต้องไม่เผลอส่งจิตเข้าไปในอารมณ์นั้น ตรงที่จิตไม่เผลอส่งออกไปนั้นเอง คือความรู้ตัวหรือสัมปชัญญะ เรื่องสตินั้นเข้าใจง่าย เพราะหมายถึงตัวที่ไปรู้เท่าอารมณ์ที่กำลังปรากฏ เช่นคนอ่านหนังสือ สติจดจ่ออยู่กับหนังสือ จึงอ่านหนังสือได้รู้เรื่อง คนขับรถสติจดจ่อกับการขับรถก็ทำให้ขับรถได้ ฉะนั้นโดยธรรมชาติแล้ว คนมีสติอยู่เสมอเมื่อจิตรู้อารมณ์ แต่จะเป็นสัมมาสติได้ ก็ต่อเมื่อมีสัมปชัญญะคือ ความรู้ตัวไม่เผลอควบคู่ไปด้วย ความรู้ตัวไม่เผลอนั้นเข้าใจยากที่สุด เพราะถามใครเขาก็ว่าเขารู้ตัวทั้งนั้น ทั้งที่ความจริงจิตยังมีความหลง (โมหะ) แฝงอยู่เกือบตลอดเวลา สัมปชัญญะที่ใช้เจริญสติปัฏฐาน จะต้องเป็น "อสัมโมหสัมปชัญญะ" เท่านั้น ยกตัวอย่าง เมื่อเราดูละครโทรทัศน์ ตาเห็นรูป หูได้ยินเสียง ใจรู้ คิดนึกตามเรื่องของละครไป ในขณะนั้นเรามีสติดูโทรทัศน์ แต่ไม่อาจไม่มีสัมปชัญญะ เพราะเราส่งจิตหลงไปทางตา ทางหู และทางใจ เราลืมนึกถึง ตัวเองที่นั่งดูโทรทัศน์อยู่ อันนี้เรียกว่าไม่มีสัมปชัญญะหรือไม่รู้ตัว บางคนเดินจงกรม กำหนดรู้ความเคลื่อนไหวของเท้าซ้าย เท้าขวา รู้ความเคลื่อนไหวของกาย อันนั้นมีสติ แต่อาจไม่มีสัมปชัญญะถ้าส่งจิตเผลอไปในเรื่องของเท้าและร่างกาย มัวแต่จดจ่อที่เท้าและร่างกายที่กำลังเคลื่อนไหว จนเหมือนกับลืมตัวเอง เหมือนตัวเองหรือตัวจิตผู้รู้นั้นไม่มีอยู่ในโลกเลยใน ขณะนั้น ความรู้ตัวหรือการไม่หลงเผลอส่งจิตออกไปตามอารมณ์ภายนอกนั้นเองคือสัมปชัญญะ วิธีฝึกให้ได้สัมปชัญญะที่ดีที่สุดคือการทำสมถะกรรมฐาน เช่น การบริกรรมพุทโธจนจิตรวมเข้าถึงฐานของมัน แล้วรู้อยู่ตรง ฐานนั้นเรื่อยไป หากมีอารมณ์มาล่อทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ ก็ไม่เผลอ หลงลืมฐานของตน ส่งจิตตามอารมณ์ไปอย่างไม่รู้ตัว ๓.๔ ดูจิตแล้วรู้อารมณ์อะไรบ้าง การที่เราเฝ้ารู้จิตผู้รู้ไปเรื่อยๆ อย่างสบายๆ นั้น เราสามารถรู้อารมณ์ทุกชนิดที่ผ่านเข้ามาให้จิตรู้ แล้วแต่ว่า ในขณะนั้นอารมณ์ตัวไหนจะแรงและเด่นชัดที่สุด ดังนั้น เราสามารถเจริญ สติปัฏฐานได้ทั้ง ๔ ประเภท (ในทางตรงข้าม ถ้าแยกจิตผู้รู้กับอารมณ์ที่ถูกรู้ออกจากกันไม่ได้ จะไม่สามารถเจริญสติปัฏฐานทุกประเภทเช่นกัน ที่กล่าวว่าสมถะเป็นฐานของวิปัสสนาก็คือเรื่องตรงนี้เอง คือถ้าขาดสมถะที่ถูกต้อง จิตจะตกเป็นทางอารมณ์ ถ้ามีสมถะที่ถูกต้อง จิตจะมีสัมปชัญญะ รู้ตัว ไม่เป็นทาสของ อารมณ์ จึงเห็นความเกิดดับของอารมณ์ชัดเจนตามความเป็นจริงได้) กล่าวคือ ๓.๔.๑ รู้กาย เมื่อมีสัมผัสทางกาย เช่นรู้ลมหายใจเข้า ออก รู้ทางกายว่ามีอากาศเย็นมากระทบกาย กายเกิดอาการหนาวสะท้านขึ้น หรือเมื่อเดินกลางแดดร้อนจัด กายอิดโรยมีเหงื่อไคล สกปรกชุ่มอยู่ หรือเมื่อเดินจงกรมเคลื่อนไหวไปมา ผู้ที่มีจิตผู้รู้ จะเห็นกายสักแต่ว่าเป็นกลุ่มของธาตุมารวมกัน และเคลื่อนไหวไปมาได้เหมือนหุ่นยนต์ตัวหนึ่ง ไม่เห็นว่ากายส่วนใดจะเรียกตัวเองว่ากายเลย หรือเดินจงกรมจนเมื่อยขา ก็ไม่เห็นว่าขาจะบ่นอะไรได้เลย กายกับจิตมันแยกชัดเป็นคนละส่วนกันทีเดียว ผู้ปฏิบัติจะเห็นกายเป็นไตรลักษณ์ชัดเจนมาก ๓.๔.๒ รู้เวทนา บางครั้งในขณะที่รู้จิตผู้รู้อยู่นั้น เรา จะรู้เวทนา ทางกายบ้าง ทางจิตบ้าง แล้วแต่ตัวใดจะเด่นชัดในขณะนั้น เช่นในขณะที่เดินอยู่ เกิดเมื่อยขารุนแรง ถ้าเรามีจิตผู้รู้ เราจะเห็นชัดเลยว่า ความเมื่อยไม่ใช่ขาที่เป็นวัตถุธาตุ แต่เป็นอีกสิ่งหนึ่ง แฝงอยู่ในวัตถุธาตุที่ประกอบกันขึ้นเป็นขา หรืออย่างนั่งอยู่ร้อนๆ มีลมเย็นพัดมา รู้สึกสบาย ความสบายนั้นเป็นความรู้สึกอีกตัวหนึ่ง ที่แทรกเข้ามา โดยที่กายไม่ได้สบายไปด้วย หรืออย่างเราปวดฟัน ถ้าเรามีจิตผู้รู้ จะเห็นชัดว่า ความปวดไม่ใช่ฟัน และไม่ใช่จิตด้วย แต่เป็นอีกสิ่งหนึ่ง (อีกขันธ์หนึ่ง) และความปวดนั้นเปลี่ยนระดับตลอด ไม่ได้ปวดเท่ากันตลอดเวลา อันเป็นการแสดงความเป็นไตรลักษณ์ของเวทนาขันธ์ให้ปรากฏ ในส่วนของเวทนาทางจิต ก็เห็นได้ชัดมาก เช่น เวลาปวดฟัน มีเวทนาทางกายแล้ว บางครั้งจิตก็ปรุงแต่งเวทนาทางจิตขึ้นมาด้วย คือเกิดความรู้สึกเป็นทุกข์ใจขึ้นมา หรือในเวลารับประทานอาหารที่ชอบใจ แม้รสยังไม่ทันสัมผัสลิ้น ความสุขทางใจก็เกิดขึ้นก่อนแล้ว อย่างนี้ก็มี การรู้เวทนาขณะที่รู้จิตผู้รู้อยู่นั้น จะเห็นเวทนาเป็นไตรลักษณ์ชัดเจนมาก ๓.๔.๓ รู้จิต จิตตานุปัสสนานั้น ไม่ใช่การเห็นจิตผู้รู้ หรือจิตที่แท้จริง แต่เป็นการเห็นจิตสังขาร(ความคิดนึกปรุงแต่ง) ที่กำลังปรากฏ เช่น เห็นชัดว่า ขณะนั้นจิตมีความโกรธเกิดขึ้น มีความใคร่เกิดขึ้น มีความหลงฟุ้งซ่านเกิดขึ้น ความความผ่องใส เบิกบานเกิดขึ้น ฯลฯ แล้วก็จะเห็นอีกว่า ความปรุงแต่งทั้งฝ่ายชั่ว และฝ่ายดี ล้วนเป็นเพียงสิ่งที่เกิดขึ้นแล้วก็ดับไป มันไม่ใช่จิต มันเป็นแค่อารมณ์ที่ถูกรู้ ทั้งนี้การรู้จิต (สังขาร) ในขณะที่รู้ตัวหรือรู้จิตผู้รู้อยู่นั้น จะเห็นจิตสังขารเป็นไตรลักษณ์อย่างชัดเจนมาก ๓.๔.๔ รู้ธรรม ถ้ารู้จิตผู้รู้อยู่นั้น หากสภาวธรรมอันใดปรากฏขึ้น ก็จะเห็นสภาวธรรมนั้นตามที่มันเป็นจริง เช่น ขณะที่รู้ตัวอยู่ จิตคิดถึงคนที่รัก แล้วจิตก็ทะยานออกไปเกาะความคิดนั้น คลุกคลีกับความคิดนั้น ผู้ปฏิบัติจะเห็นชัดว่า จิตเกิดความยึดว่าจิตเป็นตัวตนของตนขึ้นมา เพราะความที่จิตหลงไปยึดอารมณ์นั้นเอง ความเป็นตัวตน ความเป็นกลุ่มก้อน ความหนัก ได้เกิดขึ้นแทนความไม่มีอะไรในตอนแรก และถ้ารู้ทันว่าจิตส่งออกไปนำความทุกข์มาให้ จิตจะปล่อยอารมณ์นั้น กลับมาอยู่กับรู้ ความเป็นกลุ่มก้อน ความหนัก ความแน่น หรือทุกข์ก็จะสลายตัวไปเอง อันนี้คือการเห็นอริยสัจสี่นั่นเอง คือเห็นว่าถ้ามีตัณหาคือความทะยานอยากไปตามอารมณ์ ความเป็นตัวตนและเป็นทุกข์จะเกิดขึ้น ถ้าไม่อยากทุกข์ก็ ไม่เกิด การรู้สภาวธรรมในขณะที่รู้ตัว หรือรู้จิตผู้รู้นั้น จะเห็นจิตเป็นไตรลักษณ์ชัดเจนทีเดียว เช่นเห็นว่า เป็นของบังคับบัญชาไม่ได้ มันส่งออกไปยึดอารมณ์ มันก็ไปเอง ถ้ามันรู้ว่าไปยึดแล้วทุกข์ มันก็ไม่ไปเอง เราจะบังคับว่า จงอย่าไป ไม่ได้เลย ตัวอย่างการพิจารณาหรือการดูจิต ๑. นาย จ. กำลังซักผ้า ขณะนั้น สัญญาคือความจำภาพของสาวคนรักผุดขึ้นมา จิตของเขาปรุงแต่งราคะคือความรักใคร่ผูกพันขึ้นมา ทั้งที่ไม่ได้เห็นสาวคนรักจริงๆ วิธีดูจิตนั้น ไม่ได้หมายความว่าให้นาย จ. หันมาทำสติว่ามือกำลังขยี้ผ้าอยู่ แต่นาย จ. จะต้องมองเห็นกิเลสที่เกิดขึ้นในใจของตนเอง เมื่อเห็นกิเลสแล้ว ก็ไม่ใช่เกลียดหรืออยากดับกิเลส แต่การเห็นกิเลสด้วยจิตที่เป็นกลาง กิเลสมันจะดับไปเอง เมื่อกิเลสดับไป นาย จ. ก็ต้องรู้ว่ากิเลสดับไป เป็นต้น ๒. กรณีเดียวกับตัวอย่างแรก ถ้านาย จ. เกิดราคะเพราะคิดถึงคนรัก บางครั้งกำลังกิเลสที่แรงมากๆ แม้นาย จ. จะรู้ว่ากิเลสเกิดขึ้น แต่ราคะนั้นอาจจะไม่ดับไป มิหนำซ้ำ จิตของนาย จ. ยังเคลื่อนออกจากฐานผู้รู้ เข้าไปเกาะกับภาพคนรัก หรือหลงเข้าไปในความคิดเกี่ยวกับคนรัก ถึงขั้นนี้ก็ให้นาย จ. รู้ว่า จิตเคลื่อนออกไปรวมกับอารมณ์แล้ว ไม่ต้องทำอะไร แค่รู้เฉยๆ เท่านั้น ๓. เมื่อจิตของนาย จ. มีราคะ หรือจิตของนาย จ. เคลื่อนเข้าไปรวมกับอารมณ์ นาย จ. อาจจะสงสัยว่า เอ..เราควรต้องพิจารณาอสุภกรรมฐานช่วยจิตหรือไม่ เพื่อให้พ้นอำนาจดึงดูดของราคะ เรื่องอย่างนี้ในกรณีที่ผู้ ปฏิบัติพิจารณากาย อาจจะใช้การพิจารณาอสุภกรรมฐานมาเป็นเครื่องแก้กิเลสก็ได้ แต่นักดูจิตจะไม่ใช้ความคิดเข้าไปช่วยจิต เขาจะทำแค่รู้ทันสภาพจิตของตนอยู่ตลอดเวลาเท่านั้น เพราะจริงๆ แล้ว จิตจะเปลี่ยนสภาพอยู่ตลอดเวลา ถ้าตั้งใจสังเกตดู เช่น กำลังราคะจะแรงขึ้นบ้าง อ่อนลงบ้าง ความคิดเกี่ยวกับคนรักจะปรากฏขึ้นบ้าง และดับไปบ้าง การเคลื่อนของจิตก็อาจเคลื่อนถลำเข้าไปในอารมณ์บ้าง แล้วถอยออกมาอยู่กับรู้บ้าง มันแสดงไตรลักษณ์อยู่ ตลอดเวลา ๔. เมื่อนาย จ. รู้ทันจิตเรื่อยๆ ไปโดยไม่ได้ใช้ความคิดเข้าไปช่วยจิต นาย จ. ซึ่งเป็นปัญญาชน เคยชินกับการแก้ปัญหาด้วยการคิด อาจเกิดความลังเลสงสัยขึ้นมาว่า เอ..ถ้าเราเฝ้ารู้จิตไปเฉยๆ เราจะเกิดปัญญา ได้อย่างไร เราจะกลายเป็นคนโง่สมองฝ่อหรือเปล่า ก็ให้นาย จ. รู้ว่าความลังเลสงสัยเกิดขึ้นแล้ว ไม่ต้องคิดหาคำตอบ แค่เห็นว่าความสงสัยเกิดขึ้นก็พอ ที่สุดมันจะดับไปเองเหมือนอารมณ์ตัวอื่นๆ นั่นเอง แท้ที่จริง การที่จิตเป็นกลางรู้อารมณ์นั้น จิตเห็นไตรลักษณ์อยู่ตลอดเวลา และจะเห็นอริยสัจ ๔ ไปในตัวด้วยนั้น เป็นปัญญาขั้นสุดยอดอยู่แล้วที่จะปลดเปลื้องจิตจากความทุกข์ ทั้งนี้ปัญญาอันเกิดจากการใช้ ความคิด (จินตมยปัญญา) ซึ่งเป็นวิธีการเรียนรู้เก่าๆ ที่ปัญญาชนอย่างนาย จ. เคยชิน ไม่สามารถนำผู้ปฏิบัติออกจากทุกข์ได้ แต่ปัญญาที่เกิดจากการภาวนา (ภาวนามยปัญญา) คือการเจริญสติสัมปชัญญะนั้น นำผู้ปฏิบัติออกจากทุกข์ได้ และมันเป็นปัญญาคนละชนิดกัน ๕. เมื่อนาย จ. ซักผ้าไปนานๆ แขนของนาย จ. ก็ปวด มือก็ล้า นาย จ. รับรู้ทุกขเวทนาทางกายที่เกิดขึ้น แล้วสังเกตเห็นว่า ความจริงร่างกายของนาย จ.ไม่ได้ปวดเมื่อยเลย แต่ความปวดเมื่อยเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่แฝงอยู่ในกาย จิตผู้รู้ก็เป็นอีกส่วนหนึ่ง มันสงบสบายอยู่ได้ ในขณะที่ทุกข์ทางกายเกิดขึ้น อันนี้ก็เป็นการเห็นความจริงเกี่ยวกับขันธ์ที่แยกออกจากกันเป็นส่วนๆ เมื่อมองดูแต่ละส่วน ไม่เห็นมีส่วนใดเลยที่เรียกว่า "นาย จ." นี่ก็เป็นสภาพอีกอันหนึ่งที่ผู้ดูจิตจะรู้เห็นได้ไม่ยาก ๓.๕ การดูจิตจะพลิกไปมาระหว่างสมถะกับวิปัสสนาได้ การดูจิตก็ดี หรือการพิจารณากายก็ดี จิตสามารถพลิกกลับไปมาระหว่างการเจริญสมถ กรรมฐานและวิปัสนากรรมฐานได้ ในทางตำราทั่วๆ ไป มักจะแยกสมถะกับวิปัสสนาด้วยอารมณ์กรรมฐาน คือถ้าใครทำกรรมฐาน ๔๐ เช่น อนุสติ ๑๐ ถือว่าทำสมถะ ถ้าเจริญสติปัฏฐานคือรู้กาย เวทนา จิต หรือธรรม ถือว่าเจริญวิปัสสนา และเมื่อพบว่า กรรมฐานบางอย่าง เช่น อานาปานสติ มีอยู่ทั้งในกรรมฐาน ๔๐ และในสติปัฏฐาน ก็อธิบายเลี่ยงไปว่า อานาปานสติเป็นข้อยกเว้น คือเป็นได้ทั้งสมถะและวิปัสสนา แต่ในแง่ของนักปฏิบัติแล้วไม่ใช่เช่นนั้น การจำแนกสมถะกับวิปัสสนานั้น สามารถจำแนกด้วยอาการดำเนินของจิตได้ด้วย คือถ้าขณะใด จิตมีสติรู้ อารมณ์อันเดียวโดยต่อเนื่อง อันนั้นเป็นการทำสมถะ และเมื่อทำไปจนจิตจับอารมณ์นั้นเองโดยไม่ต้องบังคับควบคุม หรือไม่ต้องตั้งใจแล้ว จิตเกาะเข้ากับอารมณ์อันเดียว เกิดความสุขความสงบ อันนั้นเป็นฌานอันเป็นผลของการทำสมถะ เมื่อใดที่ผู้ปฏิบัติมีสติรู้อารมณ์ที่กำลังปรากฏ ในขณะเดียวกันก็มีสัมปชัญญะคือความรู้ตัว หรืออีกนัยหนึ่ง ผู้รู้กับสิ่งที่ถูกรู้แยกออกจากกันแล้ว ตามเห็นความเกิดดับของอารมณ์ อันนั้นเป็นการทำวิปัสสนา และเมื่อถึงจุดหนึ่ง จิตจะไม่จงใจรู้อารมณ์และไม่จงใจประคองผู้รู้ แต่สามารถเจริญสติและสัมปชัญญะได้เอง อันนั้นจิตเดินวิปัสสนาเองโดยอัตโนมัติ อันเป็นวิปัสสนาแท้ ที่จิตทำของเขาเอง เปรียบเทียบคนที่ทำสมถะ เหมือนคนที่ตกลงในกระแสน้ำ ว่ายอยู่ในน้ำ ย่อมเห็นสิ่งต่างๆ ไม่ชัดเจน ในขณะที่ผู้ทำวิปัสสนา เหมือนคนที่นั่งบนฝั่งน้ำ แล้วมองดูสายน้ำที่ไหลผ่านเฉพาะหน้าไป ย่อมเห็นชัดว่า มีอะไรลอยมากับน้ำบ้าง ทั้งของสะอาดสวยงาม และของสกปรก ด้วยเหตุนี้ จึงเป็นบทเฉลยที่ว่า ทำไมจึงต้องหัดแยกจิตผู้รู้ ออกจากอารมณ์ที่ถูกรู้ ก่อนที่จะดูจิตหรือพิจารณากายอย่างหนึ่งอย่างใด ตัวอย่างเช่น หากพิจารณาอัฐิหรือกระดูก โดยให้สมาธิเพ่งรู้รูปร่างของกระดูก ว่าเป็นแท่งยาวๆ กลมๆ อันนั้นเป็นการเพ่ง เป็นกสิณดิน หากเพ่งดูว่า กระดูกมีสีขาว อันนั้นก็เป็นกสิณสี ซึ่งการเพ่งจนจิตสงบเกาะอยู่กับรูปกระดูกก็ดี สีกระดูกก็ดี เป็นการทำสมถะ แต่หากรู้กระดูก โดยมีจิตผู้รู้ตั้งมั่นอยู่ต่างหาก แล้วคิดพิจารณาไปในแง่ที่กระดูกเป็นไตรลักษณ์ อันนั้นเป็นการเจริญวิปัสสนาขั้นต้น และในระหว่างที่พิจารณากายอย่างเป็นวิปัสสนานั้น บางครั้งจิตก็เข้าไปจับอยู่กับกาย ส่วนใดส่วนหนึ่งนิ่งพักอยู่เป็นสมถะ แล้วค่อยกลับออกมาพิจารณากายต่อก็มี แต่ถ้าจิตไม่เข้าพักเอง แล้วกลับตะลุยพิจารณากายจนจิตฟุ้งซ่าน ผู้ปฏิบัติจะต้องย้อนกลับไปทำสมถะใหม่ เพื่อให้จิตมีกำลังและแยกตัวออกจากอารมณ์เสียก่อน การดูจิตก็เป็นได้ทั้งสองอย่าง คือถ้าเพ่งความว่างเปล่าของจิต หรือเพ่งสิ่งใดสิ่งหนึ่งในจิต อันนั้นเป็นสมถะ หากรู้อารมณ์ที่เกิดดับไป โดยจิตผู้รู้อยู่ต่างหาก อันนั้นเป็นการทำวิปัสสนา และตามธรรมดาแล้ว เมื่อผู้ปฏิบัติ ดูจิตอยู่อย่างเป็นวิปัสสนานั้น บางครั้งจิตก็เข้าพักในสมถะด้วยการจับนิ่งเข้ากับอารมณ์อันเดียว ผู้ปฏิบัติควรจำแนกได้ว่า ขณะนั้นจิตของตนทำสมถะหรือเดินวิปัสสนา มิฉะนั้น อาจหลงผิดทำสมถะ แล้วคิดว่ากำลังทำวิปัสสนาอยู่ ผู้ปฏิบัติที่ครูบาอาจารย์ขาดญาณทัศนะ ไม่รู้วาระจิตของศิษย์อาจหลงผิดได้ง่ายโดยไม่มีใครแก้ไขให้ เช่น เดินจงกรมกำหนดยกหนอ ย่างหนอ เหยียบหนอ ฯลฯ แล้วจิตไหลลงไปอยู่ในเท้า หรือหลงคิดแต่เรื่องยก ย่าง เหยียบ ไม่มีสัมปชัญญะคือความรู้ตัวของจิต อันนั้นเป็นการทำสมถะอย่างเดียวเท่านั้น อันตรายอีกอย่างหนึ่งของการที่แยกไม่ออกระหว่างการทำสมถะกับวิปัสสนาก็คือ การเกิดวิปัสสนูปกิเลส คือในระหว่างที่ทำวิปัสสนาอยู่นั้น บางครั้งจิตพลิกกลับไปสู่ภูมิของสมถะ แล้วเกิดความรู้ความเห็นหรืออาการบางอย่าง ทำให้หลงผิดว่าตนบรรลุธรรมชั้นสูงแล้ว เช่น เกิดอาการที่สติรู้อารมณ์ชัดกริบด้วยจิตที่แข็งกระด้าง (แทนที่จะรู้ด้วยจิตที่อ่อนโยน ว่องไว ควรแก่การทำวิปัสสนา) หรือเกิดความรู้ความเห็นผิด เช่น แยกไม่ออกระหว่างสมมุติสัจจะ กับปรมัตถสัจจะ หลงผิดว่าพระพุทธเจ้าก็ไม่มี พ่อแม่ก็ไม่มี ทุกอย่างว่างเปล่าหมด เป็นการปฏิเสธสมมุติบัญญัติคิดว่ามันไม่มี ทั้งที่สมมุติเขาก็มีของเขาอยู่ แต่มีอย่างเป็นสมมุติ เป็นต้น การที่ดูจิตแล้วจิตพลิกกลับไปมาระหว่างสมถะและวิปัสสนาได้นั้น ทำให้ผู้ปฏิบัติบางคน จะได้ฌานโดยอัตโนมัติ ทั้งที่ไม่ต้องหัดเข้าฌาน ๓.๖ การปล่อยวางอารมณ์หยาบเข้าถึงความว่าง เมื่อดูจิตชำนาญเข้า อารมณ์ใดกระทบจิต อารมณ์นั้นก็ดับไป เหมือนแมลงเม่าบินเข้ากองไฟ เริ่มต้นผู้ปฏิบัติจะรู้เห็นแต่อารมณ์หยาบ เช่น โกรธแรงๆ จึงจะดูออก แต่เมื่อปฏิบัติมากเข้า แม้ความขัดใจเล็กน้อย หรือความพอใจเล็กน้อยเกิดขึ้นกับจิต ก็สามารถรู้เห็นได้อย่างชัดเจน เช่น ในขณะที่ร้อนๆ มีลมเย็นโชยกระทบผิวกายนิดเดียว จิตก็เกิดยินดีมีราคะขึ้นแล้ว หรือปวดปัสสาวะ พอเริ่มถ่ายปัสสาวะจิตก็ยินดีเสียแล้ว หรือกำลังหิวข้าว พอเห็นเขายกอาหารมาวางต่อหน้า จิตก็ยินดีเสียแล้ว เป็นต้น เมื่อรู้อารมณ์ละเอียดแล้ว โอกาสที่อารมณ์หยาบจะเกิดก็ยากขึ้น เพราะอารมณ์หยาบนั้นงอกงามขึ้นไปจากอารมณ์ละเอียดนั่นเอง อนึ่ง หลักการที่สำคัญมากในการดูจิตที่ขอย้ำก็คือ ให้รู้อารมณ์เฉยๆ อย่าไปพยายามละอารมณ์นั้นเด็ดขาด จะเดินทางผิดทันที เพราะอารมณ์ทั้งปวงนั้น เป็นตัวขันธ์ เป็นตัวทุกข์ ผู้ปฏิบัติมีหน้าที่รู้เท่านั้น อย่าอยาก (มีตัณหา) ที่จะไปละมันเข้า จะผิดหลักการเกี่ยวกับกิจของอริยสัจที่พระพุทธเจ้าทรงสอนว่า "ทุกข์ให้รู้ สมุทัยให้ละ" เพราะยิ่งพยายามละ ก็จะยิ่งหลงผิดมากขึ้น ตัวอย่างเช่น เห็นความโกรธเกิดขึ้นในจิต ท่านให้รู้เฉยๆ บางครั้งผู้ปฏิบัติพยายามหาทางดับความโกรธนั้น แล้วความโกรธก็ดับได้จริงๆ เหมือนกัน นักปฏิบัติจะหลงผิดว่าตนเองเก่ง ดับกิเลสได้ และเห็นว่า จิตเป็นอัตตา กิเลสเป็นอัตตา ทั้งที่ความจริงนั้น กิเลสมันดับเพราะหมดเหตุของมันต่างหาก เช่น เราถูกคนด่า เราใคร่ครวญเก่าอยู่กับเรื่องที่เขาด่า ความโกรธก็เกิดและแรงขึ้นเรื่อยๆ พอเราคิดเรื่องจะดับความโกรธ เราละเหตุของความโกรธเสียแล้วคือไม่ได้คิดเรื่องว่าเขาด่า มัวแต่คิดจะดับความโกรธ ความโกรธหมดเหตุมันก็ดับไปเอง แต่ผู้ปฏิบัติหลงผิดว่า ตนดับความโกรธได้ แล้วเมื่อไปเจอกิเลสอื่น ก็จะวุ่นวายอยู่กับความพยายามจะดับมันอีก เรียกว่าหางานให้จิตทำวุ่นวายอยู่ตลอดเวลา
วันพฤหัสบดีที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2560
ผู้สละโลก ปลดแอกผู้สละโลกและพระอานนท์พระพุทธอนุชาเป็นผลของของท่านอาจารย์ วศิน อินทสระ ผลงานของ ให้เสียงบรรยายโดย ท่านมนัส ทองเพชรนิล ในความอุปถัมภ์ของ พระราชพิพัฒนาทร ... เพราะล่วงความสำคัญตนได้ทั้งหมดเทียว และมุนีผู้สงบแล้วแล ย่อม ไม่เกิดไม่แก่ ไม่ตาย ไม่กำเริบ ไม่ทะเยอทะยาน แม้มุนีนั้นก็ไม่มีเหตุที่จะต้อง เกิด เมื่อไม่เกิด จักแก่ได้อย่างไร เมื่อไม่แก่ จักตายได้อย่างไร เมื่อไม่ตาย จักกำเริบได้อย่างไร เมื่อไม่กำเริบ จักทะเยอทะยานได้อย่างไร
การปฎิบัติธรรมจนเกิดอริยะมรรค โดยหลวงพ่อปราโมทย์การปฎิบัติธรรมจนเกิดอริยะมรรค โดยหลวงพ่อปราโมทย์
วิธีทำลายตัณหา โดยหลวงพ่อปราโมทย์ กราบขอบพระคุณและอนุโมทนาหลวงพ่อมากครับที่ให้โอกาส ถ้าเมื่อไหร่รู้สึกทุกข์จนดูต่อไปจะไม่ไหวแล้ว ไม่ดูมันก็ไม่ได้มันเห็นตลอดเวลาถ้ามันถึงจุดนี้นะ เวลาต้องการพักเนี่ย มีที่เดียวคือการทำสมถะนะ เรายึดถือจิตใจเหนียวแน่นกว่าเรายึดถือร่างกาย เวลาเราภาวนาเนี่ยจะปล่อยวางความยึดถือในร่างกายได้ก่อนการปล่อยวางความยึดถือในจิตใจ ปล่อยวางความยึดถือในร่างกายได้ ภูมิธรรมของพระอนาคานาเนี่ยปล่อยแล้ว แต่ปล่อยความยึดถือในจิตใจต้องพระอรหันต์ถึงจะปล่อยได้ พวกเรายังไม่ปล่อยแต่ว่าก็เดินในร่องรอยที่พระอริยเจ้าทั้งหลายท่านเดินกัน ค่อยๆฝึกค่อยๆดำเนินไปนะวันละเล็กวันละน้อย ไม่ต้องรีบร้อนหรอกที่จะบรรลุเร็วๆ แต่ว่าปฏิบัติสม่ำเสมอ อย่ารีบร้อนที่จะให้ได้ผล อย่าลุกลี้ลุกลน ปฏิบัติลุกลี้ลุกลนไม่ได้กินหรอก แต่ว่าปฏิบัติแบบย่อหย่อนก็ไม่ได้กินเหมือนกัน งั้นเราขยันดูนะ ดูบ่อยๆดูเนืองๆ แต่ไม่ได้ดูด้วยหวังผลว่าจะได้อะไร ดูไปจนวันหนึ่งมันเข้าใจความเป็นจริงของกายของใจได้มันจะเข้าใจความเป็นจริงของโลกด้วย ทั้งกายกับใจนี้ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ในโลกนี้จะมีอะไรที่น่ายึดถือ คนและสัตว์ทั้งหลายพยายามดิ้นรนหาความสุขและหลีกหนีความทุกข์ด้วยวิธีการต่างๆ แต่ไม่มีผู้ใดสามารถหนีพ้นจากความทุกข์ได้จริง เพราะความทุกข์เป็นสิ่งที่แนบประจำอยู่กับขันธ์คือร่างกาย และจิตใจนี้เอง มีแต่พระพุทธเจ้าเท่านั้นที่ทรงค้นพบทางรอดอันเป็นทางเอก คือทางสายเดียวที่จะพาผู้ดำเนินตามให้พ้นจากทุกข์ได้จริง ทางเอกนี้คือการเจริญวิปัสสนากรรมฐานนั่นเอง การเจริญวิปัสสนากรรมฐานเป็นการหันมาเผชิญหน้าและเรียนรู้ ความ จริงของทุกข์ เมื่อทุกข์อยู่ที่กายก็มีสติระลึกรู้กายตามความเป็นจริง เมื่อทุกข์ อยู่ที่จิตก็มีสติตามรู้จิตตามความเป็นจริง จนในที่สุดก็สามารถเข้าถึงความจริงสูงสุดคืออริยสัจจ์ข้อแรกได้ คือการรู้ทุกข์ ได้แก่การรู้ความจริงว่ากายนี้ใจนี้ไม่ใช่ตัวเรา ผู้ที่รู้ความจริงนี้เรียกว่าพระโสดาบัน เป็นผู้ละความเห็นผิดว่ากายกับใจคือตัวเรา เมื่อตามรู้กายและตามรู้ใจต่อไปอีก ถึงจุดหนึ่งจิตจะวางความยึดถือกายและใจลงได้อย่างสิ้นเชิง และไม่หยิบฉวยเอากายและใจขึ้นมาถือไว้ให้เป็นภาระกดถ่วงจิตใจอีกต่อไป เมื่อไม่ยึดถือกายและใจแล้ว ความดิ้นรนทะยานอยากของจิตที่จะให้กาย และใจมีความสุขและพ้นจากความทุกข์ ทั้งด้วยการแสวงหา อารมณ์ที่เพลิดเพลินพอใจ การทำความสงบจิต และการหลีกหนีการรับรู้อารมณ์หยาบๆ ก็จะหมดสิ้นไป การรู้ทุกข์อย่างแจ่มแจ้งจึงเป็นเครื่องทำลายสมุทัยหรือตัณหาให้ดับสนิทลงโดยอัตโนมัติ เมื่อปราศจากตัณหา จิตก็ได้ประจักษ์แจ้งถึงนิโรธหรือนิพพานอันเป็นสภาวธรรมซึ่งสงบสันติ ปราศจากทุกข์และกิเลสตัณหาทั้งปวง การรู้ทุกข์จนสมุทัยถูกละไปเองและนิโรธปรากฏให้ประจักษ์โดยไม่ต้อง แสวงหานั้น คือมรรคหรือทางเอกนั่นเอง พวกเราควรเจริญมรรคให้มาก คือ หมั่นตามรู้กายตามรู้ใจอย่างถูกวิธีเนืองๆ แล้วจะพบความอัศจรรย์ของพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระอริยสาวกด้วยตนเอง สำหรับนักปฏิบัติทั่วไป/วิธีเจริญวิปัสสนากรรมฐานโดยการรู้อารมณ์ทางมโนทวาร/สุญญตา/ ของฝาก
ออกจากสังสารวัฎ“ เข้ามาเถิด สุทัตตะ ตถาคตอยู่ที่นี่ ” ดูก่อน..ภราดา ! พระดำรัสตรัสเรียกเศรษฐีโดยชื่อว่า สุทัตตะ โดยถูกต้องนั้น นำความปราโมชมาให้เศรษฐีอย่างล้นเหลือ เขาไม่เคยรู้จักพระศาสดา และพระศาสดาก็ไม่เคยรู้จักเขา แต่พระองค์สามารถเรียกชื่อเขา ได้อย่างถูกต้อง เขาซบหน้าลงแทบบาทมูลแห่งพระตถาคตเจ้า แล้วกราบทูลว่า“ ข้าแต่พระศากยมุนี ! เป็นโชคดีของข้าพระพุทธเจ้ายิ่งแล้วที่ได้มาเฝ้าพระองค์สมปรารถนา พระองค์ผู้เจริญ ! เมื่อคืนนี้ ราตรีช่างยาวเสียเหลือเกิน ปรากฏแก่ข้าพระพุทธเจ้าเหมือนหนึ่งเดือน เป็นเวลานานเหลือเกิน ที่สัตว์โลกจะได้สดับคำว่า พุทโธ พุทโธ “ “ดูก่อนสุทัตตะ ผู้ตื่นอยู่มิได้หลับ ย่อมรู้สึกว่าราตรีหนึ่งยาวนาน ผู้ที่เดินทางจนเมื่อยล้าแล้ว รู้สึกว่าโยชน์หนึ่งเป็นหนทางที่ยืดยาว แต่สังสารวัฏคือการเวียนเกิดเวียนตายของสัตว์ผู้ไม่รู้ พระสัทธรรมยังยาวกว่านั้น ดูก่อน สุทัตตะ สังสารวัฏนี้หาเบื้องต้นเบื้องปลายได้โดยยาก สัตว์ผู้พอใจในการเกิดย่อมเกิดบ่อย ๆ การเกิดบ่อย ๆ นั้นตถาคตกล่าวว่าเป็นความทุกข์ เพราะสิ่งที่ติดตามความเกิดมาด้วย ก็คือความชรา ความเจ็บปวดทรมานและความตาย ความต้องพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รัก ความต้องประสบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รัก ความแห้งใจ ความคร่ำครวญ ความทุกข์กายทุกข์ใจ และความคับแค้นใจ อุปมาเหมือนเห็ดซึ่งโผล่จากดินและนำดินติดขึ้นมาด้วย หรืออุปมาเหมือนโคซึ่งเทียมเกวียน จะเดินไปไหนก็มีเกวียนติดตามไปทุกหนทุกแห่ง สัตว์โลกเกิดมาก็นำทุกข์ ประจำสังขารติดมาด้วย ตราบใดที่เขายังไม่สลัดความพอใจในสังขารออก ความทุกข์ก็ย่อมติดตามไปเสมอ เหมือนโคที่ยังมีแอกเกวียนครอบคออยู่ ล้อเกวียนย่อมติดตามไปทุกฝีก้าว”
วันพุธที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2560
คนที่มีฤทธิ์ทางใจ สังเกตให้ดีเถอะ เงียบๆ พวกที่มีฤทธิ์มากๆนะ มีอภิญญามาก..ทุกครั้งที่เราพูดกับคนอื่น เราเสียพลังงานนะ พลังของจิตจะเสียไป เพราะฉะนั้นพูดน้อยๆนะ ดี คนที่มีฤทธิ์ทางใจ สังเกตให้ดีเถอะ เงียบๆ พวกที่มีฤทธิ์มากๆนะ มีอภิญญามากๆ ไม่ค่อยพูดอะไรหรอก เงียบๆ เพราะพูดมาก เสียพลัง พลังฝึกปรือเสื่อม ยิ่งไปคลุกคลีกับคนยิ่งไปคบคนฟุ้งซ่านนะ ยิ่งหมดพลังฝึกปรือเลย แล้วไปคบกับพวกพูดธรรมะด้วยกันนะ วันๆนั่งพูดธรรมะเรื่อยๆนะก็หมดพลังนะ กระทั่งพูดธรรมะก็หมดพลังนะ ไม่ใช่ไม่หมดพลัง พูดเท่าที่จำเป็น กถาวัตถุ 10 หมายถึง เรื่องที่ควรพูด เรื่องที่ควรนำมาสนทนากันในหมู่ภิกษุ ได้แก่ อัปปิจฉกถา เรื่องความมักน้อย ถ้อยคำที่ชักชวนให้มีความปรารถนาน้อยสันตุฏฐิกถา เรื่องความสันโดษ ถ้อยคำที่ชักนำให้มีความสันโดษ ไม่ชอบฟุ้งเฟ้อหรือปรนปรือปวิเวกกถา เรื่องความสงัด ถ้อยคำที่ชักนำให้มีความสงัดกายใจอสังสัคคกถา เรื่องความไม่คลุกคลี ถ้อยคำที่ชักนำให้ไม่คลุกคลีด้วยหมู่วิริยารัมภกถา เรื่องการปรารภความเพียร ถ้อยคำที่ชักนำให้มุ่งมั่นทำความเพียรสีลกถา เรื่องศีล ถ้อยคำที่ชักนำให้ตั้งอยู่ในศีลสมาธิกถา เรื่องสมาธิ ถ้อยคำที่ชักนำให้ทำจิตมั่นปัญญากถา เรื่องปัญญา ถ้อยคำที่ชักนำให้เกิดปัญญาวิมุตติกถา เรื่องวิมุตติ ถ้อยคำที่ชักนำให้ทำใจให้พ้นจากกิเลสและความทุกข์วิมุตติญาณทัสสนกถา เรื่องความรู้ความเห็นในวิมุตติ ถ้อยคำที่ชักนำให้สนใจ และเข้าใจเรื่องความรู้ ความเห็นในภาวะที่หลุดพ้น จากกิเลสและความทุกข์ คำว่าเอาจิตที่รู้อยู่นั้นคือว่ามันมีอยู่แล้ว ความจริงจิตของคนเราจริง ๆ มันไม่ได้ไปไหน คิดไปปรุงไปอันนั้นเป็นเรื่องสังขาร มันปรุงมันแต่งไปเอง เป็นเรื่องสังขาร เป็นเรื่องสัญญาอารมณ์ เป็นเรื่องกิเลสที่มันดิ้นรนวุ่นวาย กามตัณหามันไป เมื่อจิตใจผู้ภาวนาไม่หลงไปตามไป มันก็ดับไปเอง ไม่มีใครส่งเสริมต่อเติมมันก็ดับ แต่จิตผู้ใดหลงไป ส่งเสริมต่อเติมให้มันก็ไม่มีที่จบที่สิ้น เป็นกามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ไม่มีที่จบที่สิ้น ละวางเสีย หยุดเสีย สงบเสียได้ ขณะนี้เวลานี้มันก็มีเท่านี้ นั่งอยู่ก็พุทโธจิตใจดวงผู้รู้อยู่อย่างนี้ ยืนอยู่ก็พุทโธจิตดวงผู้รู้นี้ เดินไปมาก็จิตดวงนี้ มานั่งมานอนก็จิตดวงนี้แหละ ก็ไม่ต้องหาที่ไหนแล้ว รวมกำลังตั้งมั่นรวมไปในจิตใจดวงผู้รู้อยู่ตลอดเวลา.
พระพุทธเจ้าชี้ทางให้เรา ช่องของพระนิพพานนั้น ไม่พักและไม่เพียร ไม่พักคือ...ครั้งหนึ่งมีเทวดา ไปทูลถามพระพุทธเจ้า เทวดานี้ท่านนึกว่าตัวเองเป็นพระอรหันต์ ก็ไปทูลถามพระพุทธเจ้า คล้ายๆจะไปแลกเปลี่ยนความรู้กัน มาที่วัดนะ กลางคืน ยังราตรีให้สว่างไสวไปหมดเลย ด้วยรัศมีของเทวดา พระที่มีหูทิพย์ตาทิพย์ก็จะเห็น ถ้าไม่มีก็ไม่เห็น สว่างไสวด้วยรัศมีของเทวดานี้ เทวดาไปถึงก็ยืนพนมมือนะ แล้วทูลถามพระพุทธเจ้า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์ข้ามโอฆะ โอฆะแปลว่าห้วงน้ำ ห้วงกิเลสนั่นเองแหละ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์ข้ามโอฆะได้อย่างไร คล้ายๆชวนแลกเปลี่ยนทัศนะกันนะ เดี๋ยวท่านตอบแล้วเราจะตอบบ้าง ว่าชั้นข้ามมาด้วยวิธีนี้นะ ท่านข้ามมาได้ด้วยวิธีไหน กะจะมาชวนคุยธรรมะนะ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์ข้ามโอฆะได้อย่างไร พระพุทธเจ้าท่านก็ตอบ ดูกรท่านนิรทุกข์ นิรทุกข์แปลว่าผู้ไม่มีความทุกข์ อันนี้เป็นคำยกย่องนะ จริงๆเทวดานี้ยังทุกข์แต่ยังไม่เห็นหรอก ดูก่อนท่านนิรทุกข์ เราข้ามโอฆะได้นะ เพราะเราไม่พักและเราไม่เพียร เทวดาเจอหมัดเด็ดเข้า ไม่พักไม่เพียร หา..ข้ามโอฆะได้ด้วยการไม่พักและไม่เพียรเหรอ ไม่พักเนี่ยพอเข้าใจใช่มั้ย ขยันปฏิบัติไป ไม่เพียรด้วยเหรอ เออ.. เทวดาผู้(คิดว่าตนเอง – ผู้ถอด)เป็นพระอรหันต์งงแล้ว เอ๊ะ พระพุทธเจ้าข้ามโอฆะด้วยการไม่พักและไม่เพียร เป็นไปได้อย่างไร มีแต่บอกให้เพียรเยอะๆไปเลย ใช่มั้ย เนี่ยท่านแกล้งน็อคนะ น็อค ทำให้งง เทวดาก็หมดความถือตัวนะ ทูลถามท่าน เป็นอย่างไรพระเจ้าข้า ไม่พักไม่เพียร ให้ช่วยขยายความหน่อย ไม่เข้าใจ ยอมรับแล้วนะว่าไม่เข้าใจ พระพุทธเจ้าท่านขยายความ ดูกรท่านผู้นิรทุกข์ ถ้าเราพักอยู่เราจะจมลง ถ้าเราเพียรอยู่เราจะลอยขึ้น เราไม่พักเราไม่เพียร เราข้ามโอฆะได้ด้วยวิธีนี้ เทวดาได้พระโสดาบันเลย ได้มั้ย พวกเราฟังเหมือนเทวดา ใครได้ยกมือสิ เห็นมั้ย บารมีสู้เขาไม่ได้นะ เทวดาแจ้งแล้วเทวดาก็ไป แต่พอพระพุทธเจ้ามาเล่าให้พระอานนท์ฟังใช่มั้ย มนุษย์ทั้งหลายที่ฟังตามหลังเนี่ย ไม่แจ้ง อรรถกถาก็เลยต้องมาขยายความให้อีกนะ พระพุทธเจ้าขยายความให้เทวดามา ๑ ชั้นแล้ว ทีแรกท่านบอกว่าท่านไม่พักไม่เพียร พอขยายความท่านบอกว่า ถ้าพักอยู่เราจะจมลง ถ้าเพียรอยู่เราจะลอยขึ้น เราไม่พักไม่เพียร เราข้ามโอฆะได้ด้วยวิธีนี้ อรรถกถาต้องมาแปลต่ออีกทีเพื่อให้คนรุ่นเรารู้เรื่อง คำว่าพักอยู่เนี่ย ก็คือการปล่อยตัวปล่อยใจไปตามกิเลส คือกามสุขัลลิกานุโยคนั่นเอง การที่เราวิ่งพล่านไปทางตา วิ่งพล่านไปทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย วิ่งคิดนึกปรุงแต่งฟุ้งซ่านไป นั่นแหละคือการหลงโลก เราติดต่อโลกภายนอกผ่านทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ นั่นเอง เรียกว่าอายตนะที่เชื่อมต่อสัมผัสโลกข้างนอก ถ้าจิตวิ่งพล่านออกไปทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ อันนี้เรียกว่าหย่อนเกินไป แล้วทำไมท่านบอกว่า ถ้าเราพักอยู่เราจะจมลง ถ้าเราปล่อยจิตใจของเรานะ ร่อนเร่ไปเรื่อย ตามกิเลสไปเรื่อย จะจมลง นึกออกหรือยังว่าจะจมลงอย่างไร จะลงอบาย(ภูมิ)นะ ใจจะลงอบาย ลงที่ต่ำไปเรื่อย คำว่าเพียรอยู่เนี่ย ก็คือการฝึกหัดตัวเอง บังคับควบคุมตัวเอง คือ อัตตกิลมถานุโยค ยกตัวอย่างเวลาที่พวกเราคิดถึงการเดินจงกรม เราก็เริ่มบังคับกาย เริ่มบังคับใจ เวลาเราคิดถึงเรื่องการนั่งสมาธิ เราก็บังคับกาย บังคับใจ มีแต่บังคับจนมันนิ่งๆแข็งๆทื่อๆ ไม่แสดงไตรลักษณ์ แล้วท่านก็บอกว่า ถ้าเราเพียรอยู่คือบังคับตัวเองอยู่เนี่ย เราจะลอยขึ้น ลอยขึ้นไปอย่างไร ก็ไปสุคติใช่มั้ย สุคติมีตั้งแต่เป็นมนุษย์นะ เป็นเทวดา เป็นพรหม ลอยขึ้น ถ้าพักอยู่ คือปล่อยตัวปล่อยใจไปตามกิเลสจะจมลง สู่อบาย อบายภูมิทั้ง ๔ นะ ตั้งแต่สัตว์นรก สัตว์เดรัจฉาน อสุรกาย เปรต ขึ้นมาใกล้มนุษย์แล้ว ถ้าเพียรอยู่ พยายามควบคุมตัวเองบังคับตัวเอง ไม่ให้ตามใจกิเลส ก็จะได้เป็นมนุษย์ ได้เป็นเทวดา ได้เป็นพรหม ไม่นิพพาน ทั้งสองฝั่ง เห็นมั้ยว่าไม่มีช่องของพระนิพพาน ช่องของพระนิพพานนั้น ไม่พักและไม่เพียร ไม่พักคือไม่หลงไปไม่เผลอไป ไม่เพียรคือไม่ควบคุมกดข่มบังคับตัวเอง ช่องตรงกลางก็คือ การรู้รูปนามตามความเป็นจริง รู้กายรู้ใจตามความเป็นจริง ไม่ใช่เรื่องคิดเอาเอง และไม่ใช่เรื่องบังคับกายบังคับใจให้นิ่งนะ เพราะฉะนั้นทางสายกลางอยู่ตรงที่เราไม่พักไม่เพียร ไม่หย่อนไม่ตึงนั่นเอง ให้รู้รูปนามตามความเป็นจริง ที่หลวงพ่อย่อลงมาบอกว่า “ให้มีสติ รู้กายรู้ใจ ตามความเป็นจริง ด้วยจิตที่ตั้งมั่นและเป็นกลาง” ถ้าเราไม่รู้กายรู้ใจเราก็ย่อหย่อนไป ลืมกายลืมใจเมื่อไหร่ นึกเลยนะ ถ้าเมื่อไหร่เผลอ ขาดสติ ลืมกายลืมใจ ต้องรู้นะ ขณะนั้นย่อหย่อนแล้ว โอกาสที่จะไปอบายภูมิเริ่มเกิดขึ้นแล้ว ถ้าขณะไหนลงมือปฏิบัติแล้วก็แน่นไปหมดเลย ควบคุมตัวเองแน่นไปหมดเลย ขณะนั้นตึงเกินไป ไปสุคติได้แต่ไปนิพพานไม่ได้ เพราะอะไร เพราะไม่เห็นไตรลักษณ์ กายก็จะนิ่ง ใจก็จะนิ่ง เมื่อไม่เห็นความเป็นไตรลักษณ์ของรูปของนาม เรียกว่าไม่เห็นความจริง เมื่อไม่เห็นความจริงย่อมไม่เบื่อหน่ายไม่คลายความยึดถือ ไม่หลุดพ้นนะ เพราะฉะนั้นหน้าที่ของเรา เดินจิตเข้าสู่ทางสายกลางให้ได้
นิพพานคาถา ทางแห่งอริยมรรควิมุตติสูตร ว่าด้วยเหตุแห่งวิมุตติ ๕ ประการ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหตุแห่งวิมุตติ ๕ ประการนี้ ซึ่งเป็น เหตุให้จิตของภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวที่ยังไม่หลุดพ้น ย่อมหลุดพ้น อาสวะที่ยังไม่สิ้น ย่อมถึงความสิ้นไป หรือเธอย่อมบรรลุธรรม อันเกษมจากโยคะชั้นเยี่ยม ที่ยังไม่ได้บรรลุ เหตุแห่งวิมุตติ ๕ ประการ เป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหมจารีผู้อยู่ในฐานะ ครูบางรูปแสดงธรรมแก่ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เธอย่อมเข้าใจอรรถเข้าใจธรรม ในธรรมนั้นตามที่พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหมจารี ผู้อยู่ในฐานะครูแสดงแก่ เธอ เมื่อเธอเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรม ย่อมเกิดปราโมทย์ เมื่อเกิดปราโมทย์ แล้ว ย่อมเกิดปีติ เมื่อใจเกิดปีติ กายย่อมสงบ ผู้มีการสงบแล้ว ย่อมได้ เสวยสุข เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นเหตุแห่งวิมุตติ ข้อที่ ๑ ซึ่งเป็นเหตุให้จิตของภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว ที่ยังไม่หลุดพ้น ย่อมหลุดพ้น อาสวะที่ยังไม่สิ้นไป ย่อมถึงความสิ้นไป หรือเธอย่อมได้บรรลุธรรมอันเกษมจากโยคะชั้นเยี่ยม ที่ยังไม่ได้บรรลุ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหม- จารี ผู้อยู่ในฐานะครูบางรูป ก็ไม่ได้แสดงธรรมแก่ภิกษุ ก็แต่ว่าภิกษุย่อม แสดงธรรมเท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาแก่ชนเหล่าอื่นโดยพิสดาร เธอ ย่อมเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรมในธรรมนั้น ที่ภิกษุแสดงธรรมเท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาแก่ชนเหล่าอื่นโดยพิสดาร เมื่อเธอเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรม ย่อมเกิดปราโมทย์. . .เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็น เหตุแห่งวิมุตติข้อที่ ๒. . . ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหม- จารีผู้อยู่ในฐานะครูบางรูป ก็ไม่ได้แสดงธรรมแก่ภิกษุ แม้ภิกษุก็ไม่ได้แสดง- ธรรมเท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาแก่ชนเหล่าอื่นโดยพิสดาร ก็แต่ว่า ภิกษุย่อมทำการสาธยายธรรมเท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาโดยพิสดาร เธอย่อมเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรม ในธรรมนั้น ตามที่ภิกษุสาธยายธรรม เท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาโดยพิสดาร เมื่อเธอเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรม ย่อมเกิดปราโมทย์. . . เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็น เหตุแห่งวิมุตติข้อ ๓. . . ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหม- จารีผู้อยู่ในฐานะครูบางรูป ก็ไม่ได้แสดงธรรมแก่ภิกษุ ภิกษุก็ไม่ได้แสดงธรรม เท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาแก่ชนเหล่าอื่นโดยพิสดาร แม้ภิกษุก็ไม่ได้ ทำการสาธยายธรรมเท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาโดยพิสดาร ก็แต่ว่า ภิกษุย่อมตรึกตรองใคร่ครวญธรรมเท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาด้วยใจ เธอย่อมเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรมในธรรมนั้น ตามที่ภิกษุตรึกตรองใคร่ครวญ ธรรมตามที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาด้วยใจ เมื่อเธอเข้าใจอรรถ เข้าใจ ธรรมย่อมเกิดปราโมทย์. . .เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นเหตุแห่งวิมุตติข้อที่ ๔. . . ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหม- จารีผู้อยู่ในฐานะครูบางรูป ก็ไม่ได้แสดงธรรมแก่ภิกษุ ภิกษุก็ไม่ได้แสดงธรรม เท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาแก่ชนเหล่าอื่นโดยพิสดาร ภิกษุก็ไม่ได้ สาธยายธรรมเท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาโดยพิสดาร แม้ภิกษุก็ไม่ได้ ตรึกตรอง ใคร่ครวญธรรมเท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาด้วยใจ ก็แต่ว่า สมาธินิมิตอย่างใดอย่างหนึ่ง เธอเล่าเรียนมาด้วยดี ทำไว้ในใจด้วยดี ทรงไว้ ด้วยดี แทงตลอดด้วยดี ด้วยปัญญา เธอย่อมเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรมใน ธรรมนั้น ตามที่เธอเล่าเรียนสมาธินิมิตอย่างใดอย่างหนึ่งมาด้วยดี ทำไว้ในใจ ด้วยดี ทรงไว้ด้วยดี แทงตลอดด้วยดี ด้วยปัญญา เมื่อเธอเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรม ย่อมเกิดปราโมทย์ เมื่อเกิดปราโมทย์แล้วย่อมเกิดปีติ เมื่อมีใจ เกิดปีติ กายย่อมสงบ ผู้มีกายสงบแล้วย่อมได้เสวยสุข เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นเหตุแห่งวิมุตติข้อที่ ๕ ซึ่งเป็นเหตุให้จิตของภิกษุ ผู้ไม่ประมาทมีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวอยู่ ที่ยังไม่หลุดพ้นย่อมหลุดพ้น อาสวะที่ยังไม่สิ้น ย่อมถึงความสิ้นไป หรือเธอย่อมได้บรรลุธรรมอันเกษมจาก โยคะชั้นเยี่ยม ที่ยังไม่ได้บรรลุ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหตุแห่งวิมุตติ ๕ ประการนี้แล ซึ่งเป็นเหตุให้ จิตของภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวอยู่ ที่ยังไม่หลุดพ้น ย่อมหลุดพ้น อาสวะที่ยังไม่สิ้น ย่อมถึงความสิ้นไป หรือเธอย่อมได้บรรลุ ธรรมอันเกษมจากโยคะชั้นเยี่ยม ที่ยังไม่ได้บรรลุ. จบวิมุตติสูตรที่ ๖
พระอนาคามีจะเห็น กายเป็นทุกข์ล้วนๆ ไม่ยึดถือกาย แต่ยึดถือจิตเฝ้ารู้เฝ้าดูไปนะ ไม่ว่าจะอารมณ์ชนิดไหนมันก็อยู่ได้ ชั่วคราว มันทนอยู่ไม่ได้สักอันเดียว เปลี่ยนอิริยาบถมาอยู่ใน อิริยาบถแบบนี้แล้ว นึกว่าจะอยู่สบายก็ไม่สบาย ทนอยู่ไม่ได้อีก จิตใจก็เหมือนกัน ไปกระทบอารมณ์อย่างนี้นึกว่าจะสบาย ก็สบายแป๊บๆ เดี๋ยวก็ทนอยู่ไม่ได้อีก ทุกสิ่งทุกอย่างเป็นของทนอยู่ ไม่ได้ ภาวะแห่งการทนอยู่ไม่ได้นี่แหละคือทุกข์อีกชนิดหนึ่ง เรียกว่า “ทุกขลักษณะ” ไม่ใช่ทุกขเวทนาแล้ว “ทุกขลักษณะ” หมายถึงว่าสิ่งทั้งหลายนั้นมันทนทาน อยู่ไม่ได้จริง ถ้ามันทนอยู่ได้เรื่อยๆ ไปก็ยิ่งทุกข์หนักนะ เกิดทุกขเวทนาหนักเสียอีก สิ่งทั้งหลายมันเปลี่ยนไปเรื่อย ไม่คงที่ เวลาเราภาวนา มากเข้าๆ ไม่ใช่เห็นแค่ทุกข์ทางร่างกาย เราจะเห็นเลยว่าทุกสิ่ง ทุกอย่างที่เกิดขึ้นในกายในใจนี้เป็นของชั่วคราวทั้งหมดเลย มีขึ้นมา แล้วก็หายไป เช่นนั่งอยู่ รูปนั่งก็ทนอยู่ได้ไม่นาน รูปนั่งมันถูกทุกขเวทนาบีบคั้นแล้วมันมีทุกขลักษณะ คือมันไม่สามารถทนอยู่ได้นานในรูปนั่ง ต้องเปลี่ยนเป็นรูปนอน นอนก็อยู่ได้ไม่นานก็ต้อง เปลี่ยนอีก ความสุขเป็นของทนอยู่ไม่ได้ เกิดขึ้นก็อยู่ได้ไม่นานก็ต้องเปลี่ยน ดังนั้นความสุขก็มีทุกขลักษณะ หมายถึงว่ามันทนอยู่ไม่ได้ นี่สติปัญญาของเราเริ่มแก่กล้าขึ้นมา เห็นกระทั่งสุขเป็นตัวทุกข์ ในชีวิตเต็มไปด้วยของไม่เที่ยง ถ้าใจยอมรับความจริงได้ ว่าทุกอย่างในโลกนี้ไม่เที่ยง ใจก็จะไม่ทุกข์ ปัญหาที่เกิดขึ้น ก็ส่วนปัญหา แต่ใจไม่ทุกข์ ถ้ายอมรับความจริงไม่ได้ว่าโลก มันไม่เที่ยง เกิดปัญหาขึ้นมา ใจจะทุกข์ มันอยู่ที่ว่าใจเรายอมรับได้ หรือยอมรับไม่ได้ ตรงขั้นที่เห็นทุกขเวทนานั่นใครๆ ก็เห็น อันนี้เรื่องธรรมดา เป็นเรื่องโลกๆ ตรงขั้นที่เห็นทุกขลักษณะนี่ขึ้นวิปัสสนากัมมัฏฐานแล้ว ถ้าขึ้นวิปัสสนาจะเห็นไตรลักษณ์ (อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา) ของรูป นาม ถ้ายังไม่เห็นไตรลักษณ์ แม้จะเห็นรูปนามก็ยังไม่ขึ้นวิปัสสนา พอเราเห็นไปเรื่อยๆ ต่อไปการเห็นทุกข์มันจะประณีตขึ้น ตรงที่เห็นทุกขลักษณะนี่สามารถบรรลุธรรมได้แล้ว เป็นโสดาบัน สกิทาคามี อนาคามี บรรลุได้เพราะมันเห็นทุกข์ โลกนี้เต็มไปด้วยปัญหา คนเต็มไปด้วยความทุกข์ ถ้าคนไม่มีสติปัญญาก็จะแยกไม่ออกว่าปัญหากับความทุกข์เป็น คนละส่วนกัน โลกมันไม่เที่ยง มันเคลื่อนไปเรื่อยๆ ปัญหา ก็เกิดขึ้นตลอดเวลา เช่น สุขภาพ เรารักษาเอาไว้ดีแล้ว ไม่นานก็ ป่วยอีก เพราะมันไม่เที่ยง ในชีวิตเต็มไปด้วยของไม่เที่ยง ถ้าใจยอมรับความจริงได้ ว่าทุกอย่างในโลกนี้ไม่เที่ยง ใจก็จะไม่ทุกข์ ปัญหาที่เกิดขึ้น ก็ส่วนปัญหา แต่ใจไม่ทุกข์ ถ้ายอมรับความจริงไม่ได้ว่าโลก มันไม่เที่ยง เกิดปัญหาขึ้นมา ใจจะทุกข์ มันอยู่ที่ว่าใจเรายอมรับได้ หรือยอมรับไม่ได้ เรามาหัดเรียนวิปัสสนากัมมัฏฐานกันก็เพื่อให้เห็นความ จริงของโลก ความจริงของชีวิต ความจริงของกายของใจ ให้เห็นว่า มันเป็นของไม่เที่ยง ถ้าใจยอมรับได้นะกระทั่งกายนี้ใจนี้ยังไม่เที่ยง สิ่งที่เรียกว่าตัวเรายังไม่เที่ยง “ของเรา” มันก็ไม่มีความหมายอะไร ก็แค่เครื่องอาศัย สามีของเรา ภรรยาของเรา ลูกของเรา บ้านของเรา รถของเรา หน้าที่การงานของเรา มี “ของเรา” เยอะเลย ทั้งหมด ก็เป็นแค่เครื่องอาศัย ถ้าฉลาดก็รู้ว่างานหลักของเราจริงๆ ไม่ใช่งานทํานุบํารุงรักษาสิ่งซึ่งไม่คงที่พวกนี้ ทุ่มเทเท่าไร เหนื่อยยากเท่าไร มันก็แปรปรวน ฉะนั้น เรามาฝึกใจของตัวเองให้ยอมรับความจริงให้ได้ ความจริงก็คือทุกสิ่งทุกอย่างนั้นไม่เที่ยงหรอก ทุกสิ่งทุกอย่างแปรปรวนอยู่ตลอดเวลา ไม่คงที่ ให้พาจิตพาใจของเราไปดูความจริงเนืองๆ ดูบ่อยๆ ดูนานๆ พอถึงพระอนาคามี จะเห็นเลยว่ากายนี้ทุกข์ล้วนๆ พวกเรายังไม่เห็น พวกเรายังเห็นว่าร่างกายนี้เป็นทุกข์บ้างเป็นสุขบ้าง จิตใจนี้เป็นทุกข์บ้างเป็นสุขบ้าง พระอนาคามีท่านเห็นกายนี้เป็นทุกข์ล้วนๆ เพราะฉะนั้น ท่านไม่ติดอกติดใจในกาย อะไรที่เรียกว่ากาย ตาหูจมูกลิ้นกาย นี่เรียกว่ากาย เมื่อไม่ ติดใจในตาในหูในจมูกในลิ้นในกาย กระทั่งตายังไม่ติดใจ ก็ไม่ติดใจในรูป ไม่ติดใจในเสียง ในกลิ่น ในรส ในโผฏฐัพพะ (สิ่งที่มากระทบกาย) ไม่ติดอกติดใจในรูปก็ไม่มีความยินดียินร้ายในรูป กามและปฏิฆะ ในรูปก็ไม่มี ไม่ติดใจในเสียงก็ไม่ยินดียินร้ายในเสียง กามและปฏิฆะ ในเสียงก็ไม่มี ฯลฯ ถ้าฉลาดก็รู้ว่างานหลักของเราจริงๆ ไม่ใช่งานทํานุบํารุงรักษาสิ่งซึ่งไม่คงที่พวกนี้ ทุ่มเทเท่าไร เหนื่อยยากเท่าไร มันก็แปรปรวน ฉะนั้น เรามาฝึกใจของตัวเองให้ยอมรับความจริงให้ได้ ความจริงก็คือทุกสิ่งทุกอย่างนั้นไม่เที่ยงหรอก ทุกสิ่งทุกอย่างแปรปรวนอยู่ตลอดเวลา ไม่คงที่ ให้พาจิตพาใจของเราไปดูความจริงเนืองๆ ดูบ่อยๆ ดูนานๆ นี่ภาวนาไปเรื่อยนะ เห็นทุกข์ไปเรื่อย สุดท้ายใจมันเต็มอิ่ม ขึ้นมา มันไม่หิวโหยหาอารมณ์ภายนอกแล้ว อารมณ์ภายนอก เอามันทําไม มันมีแต่ทุกข์ทั้งนั้นเลย ใจไม่หิวไปหาอารมณ์ ภายนอก ไม่แส่ส่าย ไม่ฟุ้งซ่านไปสู่อารมณ์ภายนอก เพราะมีแต่ทุกข์ทั้งนั้นเลย พอใจไม่แส่ส่าย ใจสงบ ใจตั้งมั่น ใจเด่นดวง เป็นผู้รู้ผู้ตื่น ผู้เบิกบานอยู่ ใจก็มีแต่ความสุข เพราะฉะนั้น พระอนาคามีจะเห็น กายเป็นทุกข์ล้วนๆ ไม่ยึดถือกาย แต่ยึดถือจิต ที่จริงเห็นมาตั้งแต่ ขั้นพระโสดาบันแล้วว่า จิตไม่ใช่ตัวเรา รู้ว่าเป็นของยืมโลกมาใช้ แต่ว่ามันนำความสุขมาให้ ติดอกติดใจไม่ยอมคืนโลก แล้วไม่เห็นช่องทางที่จะคืนเลย นี่มาถึงตรงนี้นะ มันคือการปฏิบัติในขั้นแตกหักว่า ทําอย่างไรจะปล่อยวางตัวจิตนี้ได้
พระอนาคามีจะเห็น กายเป็นทุกข์ล้วนๆ ไม่ยึดถือกาย แต่ยึดถือจิตเฝ้ารู้เฝ้าดูไปนะ ไม่ว่าจะอารมณ์ชนิดไหนมันก็อยู่ได้ ชั่วคราว มันทนอยู่ไม่ได้สักอันเดียว เปลี่ยนอิริยาบถมาอยู่ใน อิริยาบถแบบนี้แล้ว นึกว่าจะอยู่สบายก็ไม่สบาย ทนอยู่ไม่ได้อีก จิตใจก็เหมือนกัน ไปกระทบอารมณ์อย่างนี้นึกว่าจะสบาย ก็สบายแป๊บๆ เดี๋ยวก็ทนอยู่ไม่ได้อีก ทุกสิ่งทุกอย่างเป็นของทนอยู่ ไม่ได้ ภาวะแห่งการทนอยู่ไม่ได้นี่แหละคือทุกข์อีกชนิดหนึ่ง เรียกว่า “ทุกขลักษณะ” ไม่ใช่ทุกขเวทนาแล้ว “ทุกขลักษณะ” หมายถึงว่าสิ่งทั้งหลายนั้นมันทนทาน อยู่ไม่ได้จริง ถ้ามันทนอยู่ได้เรื่อยๆ ไปก็ยิ่งทุกข์หนักนะ เกิดทุกขเวทนาหนักเสียอีก สิ่งทั้งหลายมันเปลี่ยนไปเรื่อย ไม่คงที่ เวลาเราภาวนา มากเข้าๆ ไม่ใช่เห็นแค่ทุกข์ทางร่างกาย เราจะเห็นเลยว่าทุกสิ่ง ทุกอย่างที่เกิดขึ้นในกายในใจนี้เป็นของชั่วคราวทั้งหมดเลย มีขึ้นมา แล้วก็หายไป เช่นนั่งอยู่ รูปนั่งก็ทนอยู่ได้ไม่นาน รูปนั่งมันถูกทุกขเวทนาบีบคั้นแล้วมันมีทุกขลักษณะ คือมันไม่สามารถทนอยู่ได้นานในรูปนั่ง ต้องเปลี่ยนเป็นรูปนอน นอนก็อยู่ได้ไม่นานก็ต้อง เปลี่ยนอีก ความสุขเป็นของทนอยู่ไม่ได้ เกิดขึ้นก็อยู่ได้ไม่นานก็ต้องเปลี่ยน ดังนั้นความสุขก็มีทุกขลักษณะ หมายถึงว่ามันทนอยู่ไม่ได้ นี่สติปัญญาของเราเริ่มแก่กล้าขึ้นมา เห็นกระทั่งสุขเป็นตัวทุกข์ ในชีวิตเต็มไปด้วยของไม่เที่ยง ถ้าใจยอมรับความจริงได้ ว่าทุกอย่างในโลกนี้ไม่เที่ยง ใจก็จะไม่ทุกข์ ปัญหาที่เกิดขึ้น ก็ส่วนปัญหา แต่ใจไม่ทุกข์ ถ้ายอมรับความจริงไม่ได้ว่าโลก มันไม่เที่ยง เกิดปัญหาขึ้นมา ใจจะทุกข์ มันอยู่ที่ว่าใจเรายอมรับได้ หรือยอมรับไม่ได้ ตรงขั้นที่เห็นทุกขเวทนานั่นใครๆ ก็เห็น อันนี้เรื่องธรรมดา เป็นเรื่องโลกๆ ตรงขั้นที่เห็นทุกขลักษณะนี่ขึ้นวิปัสสนากัมมัฏฐานแล้ว ถ้าขึ้นวิปัสสนาจะเห็นไตรลักษณ์ (อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา) ของรูป นาม ถ้ายังไม่เห็นไตรลักษณ์ แม้จะเห็นรูปนามก็ยังไม่ขึ้นวิปัสสนา พอเราเห็นไปเรื่อยๆ ต่อไปการเห็นทุกข์มันจะประณีตขึ้น ตรงที่เห็นทุกขลักษณะนี่สามารถบรรลุธรรมได้แล้ว เป็นโสดาบัน สกิทาคามี อนาคามี บรรลุได้เพราะมันเห็นทุกข์ โลกนี้เต็มไปด้วยปัญหา คนเต็มไปด้วยความทุกข์ ถ้าคนไม่มีสติปัญญาก็จะแยกไม่ออกว่าปัญหากับความทุกข์เป็น คนละส่วนกัน โลกมันไม่เที่ยง มันเคลื่อนไปเรื่อยๆ ปัญหา ก็เกิดขึ้นตลอดเวลา เช่น สุขภาพ เรารักษาเอาไว้ดีแล้ว ไม่นานก็ ป่วยอีก เพราะมันไม่เที่ยง ในชีวิตเต็มไปด้วยของไม่เที่ยง ถ้าใจยอมรับความจริงได้ ว่าทุกอย่างในโลกนี้ไม่เที่ยง ใจก็จะไม่ทุกข์ ปัญหาที่เกิดขึ้น ก็ส่วนปัญหา แต่ใจไม่ทุกข์ ถ้ายอมรับความจริงไม่ได้ว่าโลก มันไม่เที่ยง เกิดปัญหาขึ้นมา ใจจะทุกข์ มันอยู่ที่ว่าใจเรายอมรับได้ หรือยอมรับไม่ได้ เรามาหัดเรียนวิปัสสนากัมมัฏฐานกันก็เพื่อให้เห็นความ จริงของโลก ความจริงของชีวิต ความจริงของกายของใจ ให้เห็นว่า มันเป็นของไม่เที่ยง ถ้าใจยอมรับได้นะกระทั่งกายนี้ใจนี้ยังไม่เที่ยง สิ่งที่เรียกว่าตัวเรายังไม่เที่ยง “ของเรา” มันก็ไม่มีความหมายอะไร ก็แค่เครื่องอาศัย สามีของเรา ภรรยาของเรา ลูกของเรา บ้านของเรา รถของเรา หน้าที่การงานของเรา มี “ของเรา” เยอะเลย ทั้งหมด ก็เป็นแค่เครื่องอาศัย ถ้าฉลาดก็รู้ว่างานหลักของเราจริงๆ ไม่ใช่งานทํานุบํารุงรักษาสิ่งซึ่งไม่คงที่พวกนี้ ทุ่มเทเท่าไร เหนื่อยยากเท่าไร มันก็แปรปรวน ฉะนั้น เรามาฝึกใจของตัวเองให้ยอมรับความจริงให้ได้ ความจริงก็คือทุกสิ่งทุกอย่างนั้นไม่เที่ยงหรอก ทุกสิ่งทุกอย่างแปรปรวนอยู่ตลอดเวลา ไม่คงที่ ให้พาจิตพาใจของเราไปดูความจริงเนืองๆ ดูบ่อยๆ ดูนานๆ พอถึงพระอนาคามี จะเห็นเลยว่ากายนี้ทุกข์ล้วนๆ พวกเรายังไม่เห็น พวกเรายังเห็นว่าร่างกายนี้เป็นทุกข์บ้างเป็นสุขบ้าง จิตใจนี้เป็นทุกข์บ้างเป็นสุขบ้าง พระอนาคามีท่านเห็นกายนี้เป็นทุกข์ล้วนๆ เพราะฉะนั้น ท่านไม่ติดอกติดใจในกาย อะไรที่เรียกว่ากาย ตาหูจมูกลิ้นกาย นี่เรียกว่ากาย เมื่อไม่ ติดใจในตาในหูในจมูกในลิ้นในกาย กระทั่งตายังไม่ติดใจ ก็ไม่ติดใจในรูป ไม่ติดใจในเสียง ในกลิ่น ในรส ในโผฏฐัพพะ (สิ่งที่มากระทบกาย) ไม่ติดอกติดใจในรูปก็ไม่มีความยินดียินร้ายในรูป กามและปฏิฆะ ในรูปก็ไม่มี ไม่ติดใจในเสียงก็ไม่ยินดียินร้ายในเสียง กามและปฏิฆะ ในเสียงก็ไม่มี ฯลฯ ถ้าฉลาดก็รู้ว่างานหลักของเราจริงๆ ไม่ใช่งานทํานุบํารุงรักษาสิ่งซึ่งไม่คงที่พวกนี้ ทุ่มเทเท่าไร เหนื่อยยากเท่าไร มันก็แปรปรวน ฉะนั้น เรามาฝึกใจของตัวเองให้ยอมรับความจริงให้ได้ ความจริงก็คือทุกสิ่งทุกอย่างนั้นไม่เที่ยงหรอก ทุกสิ่งทุกอย่างแปรปรวนอยู่ตลอดเวลา ไม่คงที่ ให้พาจิตพาใจของเราไปดูความจริงเนืองๆ ดูบ่อยๆ ดูนานๆ นี่ภาวนาไปเรื่อยนะ เห็นทุกข์ไปเรื่อย สุดท้ายใจมันเต็มอิ่ม ขึ้นมา มันไม่หิวโหยหาอารมณ์ภายนอกแล้ว อารมณ์ภายนอก เอามันทําไม มันมีแต่ทุกข์ทั้งนั้นเลย ใจไม่หิวไปหาอารมณ์ ภายนอก ไม่แส่ส่าย ไม่ฟุ้งซ่านไปสู่อารมณ์ภายนอก เพราะมีแต่ทุกข์ทั้งนั้นเลย พอใจไม่แส่ส่าย ใจสงบ ใจตั้งมั่น ใจเด่นดวง เป็นผู้รู้ผู้ตื่น ผู้เบิกบานอยู่ ใจก็มีแต่ความสุข เพราะฉะนั้น พระอนาคามีจะเห็น กายเป็นทุกข์ล้วนๆ ไม่ยึดถือกาย แต่ยึดถือจิต ที่จริงเห็นมาตั้งแต่ ขั้นพระโสดาบันแล้วว่า จิตไม่ใช่ตัวเรา รู้ว่าเป็นของยืมโลกมาใช้ แต่ว่ามันนำความสุขมาให้ ติดอกติดใจไม่ยอมคืนโลก แล้วไม่เห็นช่องทางที่จะคืนเลย นี่มาถึงตรงนี้นะ มันคือการปฏิบัติในขั้นแตกหักว่า ทําอย่างไรจะปล่อยวางตัวจิตนี้ได้
พระอนาคามีจะเห็น กายเป็นทุกข์ล้วนๆ ไม่ยึดถือกาย แต่ยึดถือจิตเฝ้ารู้เฝ้าดูไปนะ ไม่ว่าจะอารมณ์ชนิดไหนมันก็อยู่ได้ ชั่วคราว มันทนอยู่ไม่ได้สักอันเดียว เปลี่ยนอิริยาบถมาอยู่ใน อิริยาบถแบบนี้แล้ว นึกว่าจะอยู่สบายก็ไม่สบาย ทนอยู่ไม่ได้อีก จิตใจก็เหมือนกัน ไปกระทบอารมณ์อย่างนี้นึกว่าจะสบาย ก็สบายแป๊บๆ เดี๋ยวก็ทนอยู่ไม่ได้อีก ทุกสิ่งทุกอย่างเป็นของทนอยู่ ไม่ได้ ภาวะแห่งการทนอยู่ไม่ได้นี่แหละคือทุกข์อีกชนิดหนึ่ง เรียกว่า “ทุกขลักษณะ” ไม่ใช่ทุกขเวทนาแล้ว “ทุกขลักษณะ” หมายถึงว่าสิ่งทั้งหลายนั้นมันทนทาน อยู่ไม่ได้จริง ถ้ามันทนอยู่ได้เรื่อยๆ ไปก็ยิ่งทุกข์หนักนะ เกิดทุกขเวทนาหนักเสียอีก สิ่งทั้งหลายมันเปลี่ยนไปเรื่อย ไม่คงที่ เวลาเราภาวนา มากเข้าๆ ไม่ใช่เห็นแค่ทุกข์ทางร่างกาย เราจะเห็นเลยว่าทุกสิ่ง ทุกอย่างที่เกิดขึ้นในกายในใจนี้เป็นของชั่วคราวทั้งหมดเลย มีขึ้นมา แล้วก็หายไป เช่นนั่งอยู่ รูปนั่งก็ทนอยู่ได้ไม่นาน รูปนั่งมันถูกทุกขเวทนาบีบคั้นแล้วมันมีทุกขลักษณะ คือมันไม่สามารถทนอยู่ได้นานในรูปนั่ง ต้องเปลี่ยนเป็นรูปนอน นอนก็อยู่ได้ไม่นานก็ต้อง เปลี่ยนอีก ความสุขเป็นของทนอยู่ไม่ได้ เกิดขึ้นก็อยู่ได้ไม่นานก็ต้องเปลี่ยน ดังนั้นความสุขก็มีทุกขลักษณะ หมายถึงว่ามันทนอยู่ไม่ได้ นี่สติปัญญาของเราเริ่มแก่กล้าขึ้นมา เห็นกระทั่งสุขเป็นตัวทุกข์ ในชีวิตเต็มไปด้วยของไม่เที่ยง ถ้าใจยอมรับความจริงได้ ว่าทุกอย่างในโลกนี้ไม่เที่ยง ใจก็จะไม่ทุกข์ ปัญหาที่เกิดขึ้น ก็ส่วนปัญหา แต่ใจไม่ทุกข์ ถ้ายอมรับความจริงไม่ได้ว่าโลก มันไม่เที่ยง เกิดปัญหาขึ้นมา ใจจะทุกข์ มันอยู่ที่ว่าใจเรายอมรับได้ หรือยอมรับไม่ได้ ตรงขั้นที่เห็นทุกขเวทนานั่นใครๆ ก็เห็น อันนี้เรื่องธรรมดา เป็นเรื่องโลกๆ ตรงขั้นที่เห็นทุกขลักษณะนี่ขึ้นวิปัสสนากัมมัฏฐานแล้ว ถ้าขึ้นวิปัสสนาจะเห็นไตรลักษณ์ (อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา) ของรูป นาม ถ้ายังไม่เห็นไตรลักษณ์ แม้จะเห็นรูปนามก็ยังไม่ขึ้นวิปัสสนา พอเราเห็นไปเรื่อยๆ ต่อไปการเห็นทุกข์มันจะประณีตขึ้น ตรงที่เห็นทุกขลักษณะนี่สามารถบรรลุธรรมได้แล้ว เป็นโสดาบัน สกิทาคามี อนาคามี บรรลุได้เพราะมันเห็นทุกข์ โลกนี้เต็มไปด้วยปัญหา คนเต็มไปด้วยความทุกข์ ถ้าคนไม่มีสติปัญญาก็จะแยกไม่ออกว่าปัญหากับความทุกข์เป็น คนละส่วนกัน โลกมันไม่เที่ยง มันเคลื่อนไปเรื่อยๆ ปัญหา ก็เกิดขึ้นตลอดเวลา เช่น สุขภาพ เรารักษาเอาไว้ดีแล้ว ไม่นานก็ ป่วยอีก เพราะมันไม่เที่ยง ในชีวิตเต็มไปด้วยของไม่เที่ยง ถ้าใจยอมรับความจริงได้ ว่าทุกอย่างในโลกนี้ไม่เที่ยง ใจก็จะไม่ทุกข์ ปัญหาที่เกิดขึ้น ก็ส่วนปัญหา แต่ใจไม่ทุกข์ ถ้ายอมรับความจริงไม่ได้ว่าโลก มันไม่เที่ยง เกิดปัญหาขึ้นมา ใจจะทุกข์ มันอยู่ที่ว่าใจเรายอมรับได้ หรือยอมรับไม่ได้ เรามาหัดเรียนวิปัสสนากัมมัฏฐานกันก็เพื่อให้เห็นความ จริงของโลก ความจริงของชีวิต ความจริงของกายของใจ ให้เห็นว่า มันเป็นของไม่เที่ยง ถ้าใจยอมรับได้นะกระทั่งกายนี้ใจนี้ยังไม่เที่ยง สิ่งที่เรียกว่าตัวเรายังไม่เที่ยง “ของเรา” มันก็ไม่มีความหมายอะไร ก็แค่เครื่องอาศัย สามีของเรา ภรรยาของเรา ลูกของเรา บ้านของเรา รถของเรา หน้าที่การงานของเรา มี “ของเรา” เยอะเลย ทั้งหมด ก็เป็นแค่เครื่องอาศัย ถ้าฉลาดก็รู้ว่างานหลักของเราจริงๆ ไม่ใช่งานทํานุบํารุงรักษาสิ่งซึ่งไม่คงที่พวกนี้ ทุ่มเทเท่าไร เหนื่อยยากเท่าไร มันก็แปรปรวน ฉะนั้น เรามาฝึกใจของตัวเองให้ยอมรับความจริงให้ได้ ความจริงก็คือทุกสิ่งทุกอย่างนั้นไม่เที่ยงหรอก ทุกสิ่งทุกอย่างแปรปรวนอยู่ตลอดเวลา ไม่คงที่ ให้พาจิตพาใจของเราไปดูความจริงเนืองๆ ดูบ่อยๆ ดูนานๆ พอถึงพระอนาคามี จะเห็นเลยว่ากายนี้ทุกข์ล้วนๆ พวกเรายังไม่เห็น พวกเรายังเห็นว่าร่างกายนี้เป็นทุกข์บ้างเป็นสุขบ้าง จิตใจนี้เป็นทุกข์บ้างเป็นสุขบ้าง พระอนาคามีท่านเห็นกายนี้เป็นทุกข์ล้วนๆ เพราะฉะนั้น ท่านไม่ติดอกติดใจในกาย อะไรที่เรียกว่ากาย ตาหูจมูกลิ้นกาย นี่เรียกว่ากาย เมื่อไม่ ติดใจในตาในหูในจมูกในลิ้นในกาย กระทั่งตายังไม่ติดใจ ก็ไม่ติดใจในรูป ไม่ติดใจในเสียง ในกลิ่น ในรส ในโผฏฐัพพะ (สิ่งที่มากระทบกาย) ไม่ติดอกติดใจในรูปก็ไม่มีความยินดียินร้ายในรูป กามและปฏิฆะ ในรูปก็ไม่มี ไม่ติดใจในเสียงก็ไม่ยินดียินร้ายในเสียง กามและปฏิฆะ ในเสียงก็ไม่มี ฯลฯ ถ้าฉลาดก็รู้ว่างานหลักของเราจริงๆ ไม่ใช่งานทํานุบํารุงรักษาสิ่งซึ่งไม่คงที่พวกนี้ ทุ่มเทเท่าไร เหนื่อยยากเท่าไร มันก็แปรปรวน ฉะนั้น เรามาฝึกใจของตัวเองให้ยอมรับความจริงให้ได้ ความจริงก็คือทุกสิ่งทุกอย่างนั้นไม่เที่ยงหรอก ทุกสิ่งทุกอย่างแปรปรวนอยู่ตลอดเวลา ไม่คงที่ ให้พาจิตพาใจของเราไปดูความจริงเนืองๆ ดูบ่อยๆ ดูนานๆ นี่ภาวนาไปเรื่อยนะ เห็นทุกข์ไปเรื่อย สุดท้ายใจมันเต็มอิ่ม ขึ้นมา มันไม่หิวโหยหาอารมณ์ภายนอกแล้ว อารมณ์ภายนอก เอามันทําไม มันมีแต่ทุกข์ทั้งนั้นเลย ใจไม่หิวไปหาอารมณ์ ภายนอก ไม่แส่ส่าย ไม่ฟุ้งซ่านไปสู่อารมณ์ภายนอก เพราะมีแต่ทุกข์ทั้งนั้นเลย พอใจไม่แส่ส่าย ใจสงบ ใจตั้งมั่น ใจเด่นดวง เป็นผู้รู้ผู้ตื่น ผู้เบิกบานอยู่ ใจก็มีแต่ความสุข เพราะฉะนั้น พระอนาคามีจะเห็น กายเป็นทุกข์ล้วนๆ ไม่ยึดถือกาย แต่ยึดถือจิต ที่จริงเห็นมาตั้งแต่ ขั้นพระโสดาบันแล้วว่า จิตไม่ใช่ตัวเรา รู้ว่าเป็นของยืมโลกมาใช้ แต่ว่ามันนำความสุขมาให้ ติดอกติดใจไม่ยอมคืนโลก แล้วไม่เห็นช่องทางที่จะคืนเลย นี่มาถึงตรงนี้นะ มันคือการปฏิบัติในขั้นแตกหักว่า ทําอย่างไรจะปล่อยวางตัวจิตนี้ได้
ธรรมาภิวัตน์ บันทึกธรรม "สติรักษาจิต" โดย หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี ช่วงที่...
จิตมนุษย์นั้นมีลักษณะเป็นประภัสสร จิตเป็นอย่างใดย่อมซ่านออกทางสีหน้า ดว...ผู้สละโลก โดย อาจารย์วศิน อินทสระ :b44: :b44: สามารถอ่านออนไลน์หรือดาวน์โหลดไฟล์ PDF ได้ที่ http://www.ruendham.com/images/books/wasin-pusaralok.pdf :b46: :b46: = รวมคำสอน “อาจารย์วศิน อินทสระ” http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=72&t=45418 = ประวัติและผลงาน “อาจารย์วศิน อินทสระ” http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=13&t=44346 ..................................................... "เกิดดับ..เกิดแล้วไม่ดับไม่มี" โพสต์ เมื่อ: 15 ต.ค. 2014, 10:15 ภาพประจำตัวสมาชิก ออฟไลน์ Hanako Moderators-1 Moderators-1 ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ย. 2010, 20:29 โพสต์: 4518 แนวปฏิบัติ: พิจารณากาย สิ่งที่ชื่นชอบ: มณีรัตน์,พระผู้เป็นดั่งผ้าขี้ร้วห่อทอง อายุ: 33 ข้อมูลส่วนตัว รูปภาพ :b42: พระสารีบุตร :b42: ๑.) หญ้าสดในทะเลทราย ภราดา ! เรื่องเป็นมาอย่างนี้ สมณะรูปหนึ่ง ผิวพรรณผ่องใส มีอินทรีย์สงบ ดำเนินอย่างเชื่องช้าออกจากโคจรคาม ท่านมีจักษุทอดลงต่ำ จะเหลียวซ้ายแลขวา ก็เต็มไปด้วยความสำรวมระวังมั่นคงและแจ่มใส ผ้าสีเหลืองหม่นที่คลุมกาย แม้จะเป็นผ้าราคาถูก แต่ได้กลายเป็นของสูงส่งและศักดิ์สิทธิ์ควรแก่การเชิดชูบูชา เพราะได้มาห่อหุ้มสรีระของผู้ทรงศีล มีใจอันประเสริฐ ใครเห็นก็น้อมกายลงเคารพ กาสาวพัสตร์-อา ! กาสาวพัสตร์-สัญลักษณ์แห่งความบริสุทธิ์สูงส่ง ที่พระมหาสมณโคดมบรมศาสดาแห่งพระบวรพุทธศาสนา เคยตรัสว่า “ผู้ใดคายกิเลสที่เหนียวแน่นดุจน้ำฝาดได้แล้ว มั่นคงในศีล ประกอบด้วยการฝึกอินทรีย์ (ทมะ) และมีสัจจะ ผู้นั้นควรห่มผ้ากาสาวะ” (พระไตรปิฎกเล่ม ๒๕ ข้อ ๑๑ หน้า ๑๖) :b40: กาสาวพัสตร์-ธงชัยแห่งผู้มีชัย คือชนะจิตของตนเองได้แล้ว ใครเล่าจะรังเกียจกาสาวพัสตร์ ถ้ากาสาวะนั้นห่อหุ้มร่างของบุคคลผู้มีกายวาจาใจสะอาด สมควรแก่ภูมิชั้นของตน หนุ่มใหญ่ สง่างาม เครื่องแต่งกายบอกว่าเป็นนักพรตประเภทปริพพาชก* ได้เดินตามสมณะรูปนั้นไปห่างๆ กิริยาอาการของสมณะนั้นจับตาจับใจของเขายิ่งนัก เขาคิดว่าภายในของสมณะรูปนี้ น่าจะมีรัศมีแห่งธรรมอันประเสริฐส่องแสงเจิดจ้าอยู่เป็นแน่แท้ จึงทำให้ท่านมีอินทรีย์สงบและผ่องใสเช่นนั้น มาถึงบริเวณร่มไม้ใหญ่แห่งหนึ่ง สมณะแสดงอาการว่าจะนั่ง ผู้เฝ้าติดตามจึงจัดอาสนะถวาย รอคอยท่านฉัน ไม่กล้าถามอะไรเพราะเกรงใจ เห็นอาการที่ท่านฉันยิ่งเลื่อมใสมากขึ้น ท่านฉันอย่างสำรวมเรียบร้อย มีอาการแห่งผู้กำหนดรู้ในอาหาร คุณและโทษของอาหาร ไม่ติดในรสอาหาร ไม่บริโภคเพื่อเล่น เพื่อเมา หรือเพื่อสนุกสนาน เอร็ดอร่อยในรสอาหาร แต่บริโภคเพื่อให้ร่างกายนี้ดำรงอยู่ได้ เพื่อบำเพ็ญคุณงามความดี เหมือนนายช่างให้น้ำมันแก่เครื่องจักร เพื่อให้ทำหน้าที่ของมันต่อไปได้เท่านั้น (*ปริพพาชก นักบวชลัทธิหนึ่งในพุทธกาล ท่องเที่ยวไปโดยลำพังเพื่อแสวงหา ความจริง บ้างอยู่กันเป็นกลุ่มๆ เป็นสำนักบ้าง) :b44: เมื่อท่านฉันเสร็จแล้ว ปริพพาชกได้รินน้ำในกุณโฑของตนเข้าไปถวายแล้วถามว่า “อินทรีย์ของท่านผ่องใสยิ่งนัก มรรยาทของท่านงามยิ่งนัก ผิวพรรณของท่านบริสุทธิ์ผ่องใส ท่านบวชอุทิศใคร? ใครเป็นศาสดาของท่าน? ท่านชอบใจธรรมของใคร?” สมณะรูปนั้นมองปริพพาชก ด้วยดวงเนตรที่เปี่ยมด้วยความปรานี ดวงตาของท่านแสดงแววแห่งเมตตา และความสงบลึกอยู่ภายใน บ่งบอกว่าดวงใจของท่านผ่องแผ้ว ไร้ราคี กระแสเสียงที่นุ่มนวลแจ่มใสผ่านโอษฐ์ของท่านออกมาว่า “ดูก่อนผู้แสวงสันติวรบท ! พระศาสดาของข้าพเจ้าตรัสว่า ‘ผู้ใดไม่เศร้าโศกถึงอดีต ไม่กังวลถึงอนาคต มีชีวิตอยู่ด้วยปัจจุบันธรรมผิวพรรณของผู้นั้นย่อมผ่องใส แม้จะบริโภคอาหารหนเดียวต่อวัน ประพฤติพรหมจรรย์สงบนิ่งอยู่ในป่า ส่วนผู้ที่มัวเศร้าโศกถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว กังวลหวังอย่างเร่าร้อนต่อสิ่งที่ยังไม่มาถึง ย่อมซูบซีดเศร้าหมองเหมือนไม้สดที่ถูกตัดแล้ว’ (พระไตรปิฎกเล่ม ๑๕ ข้อ ๒๑ หน้า ๖-๗) กังวลหวังอย่างเร่าร้อน ! มนุษย์ส่วนมากเป็นอย่างนั้น เขาไม่ค่อยรู้จักรอคอยอย่างสงบเยือกเย็น เขาไม่ค่อยรู้ ไม่ค่อยเข้าใจว่าเขาบันดาลผลไม่ได้ เหตุที่เขาทำนั่นแหละจะบันดาลผลให้เกิดขึ้นเอง เหมือนชาวสวนปลูกต้นไม้คอยรดน้ำพรวนดิน ให้ปุ๋ยป้องกันศัตรูพืช นั่นคือเหตุ ส่วนการออกดอกออกผล ชาวสวนบันดาลไม่ได้ กระบวนการธรรมชาติของต้นไม้เองนั่นแหละ จะบันดาลให้เกิดขึ้นตามธรรมชาติ มนุษย์ส่วนใหญ่ไม่ได้กำหนดคุณค่าแห่งชีวิตของตน ไว้ให้แน่นอนว่าอะไรคือสิ่งที่เขาต้องการจริงๆ เมื่อเป็นดังนี้ เขาจะมีชีวิตอยู่อย่างสงบสุขไม่ได้ เขาจะไม่พบความพอใจในชีวิต” ..................................................... "เกิดดับ..เกิดแล้วไม่ดับไม่มี" โพสต์ เมื่อ: 15 ต.ค. 2014, 10:34 ภาพประจำตัวสมาชิก ออฟไลน์ Hanako Moderators-1 Moderators-1 ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ย. 2010, 20:29 โพสต์: 4518 แนวปฏิบัติ: พิจารณากาย สิ่งที่ชื่นชอบ: มณีรัตน์,พระผู้เป็นดั่งผ้าขี้ร้วห่อทอง อายุ: 33 ข้อมูลส่วนตัว รูปภาพ ศิษย์แห่งพระตถาคตกล่าวต่อไปว่า “ข้าพเจ้าบวชอุทิศพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้เสด็จออกบวชจากศากยตระกูลโคตมโคตร พระองค์ทรงเป็นศากยมุนี ข้าพเจ้าชอบใจธรรมของพระองค์ท่าน” “ได้โปรดเถิดท่านผู้นิรทุกข์” ปริพพาชกกล่าวเชิงอ้อนวอนอย่างนอบน้อม “ขอได้โปรดแสดงธรรม ที่พระมหาสมณโคดมทรงแสดงแล้วแก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด” “ท่านผู้แสวงสัจจะ” สมณะรูปนั้นกล่าว “ข้าพเจ้ามาสู่ธรรมวินัยนี้ไม่นานนัก ยังเป็นผู้ใหม่ (นวกะ) อยู่ ข้าพเจ้าไม่สามารถแสดงธรรมโดยพิสดารได้” อาการที่ท่านกล่าวอย่างถ่อมตนนั้น เพิ่มความศรัทธาเลื่อมใสแก่ปริพพาชกมากขึ้นอีก จึงกล่าวว่า “ท่านผู้เจริญ ! ข้าพเจ้าชื่อ อุปติสสะ บุตรแห่งนายบ้านอุปติสสคามใกล้ราชคฤห์นี่เอง ขอท่านผู้เจริญได้โปรดจำชื่อของข้าพเจ้าไว้ และขอได้โปรดกล่าวธรรมตามสามารถเถิด จะน้อยหรือมากไม่สำคัญ การเข้าใจธรรมแทงตลอดธรรมเป็นหน้าที่ของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าต้องการแต่ใจความเท่านั้น” สาวกของพระพุทธเจ้าจึงกล่าวว่า “สิ่งใดเกิดแต่เหตุ พระตถาคตตรัสบอกเหตุแห่งสิ่งนั้นไว้ ด้วย สิ่งนั้นดับไปได้โดยวิธีใด พระตถาคตตรัสบอกวิธีดับไว้ด้วย พระมหาสมณะมีพระวาจาอันประกอบด้วยเหตุผลอย่างนี้” ..................................................... "เกิดดับ..เกิดแล้วไม่ดับไม่มี" โพสต์ เมื่อ: 15 ต.ค. 2014, 16:38 ภาพประจำตัวสมาชิก ออฟไลน์ Hanako Moderators-1 Moderators-1 ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ย. 2010, 20:29 โพสต์: 4518 แนวปฏิบัติ: พิจารณากาย สิ่งที่ชื่นชอบ: มณีรัตน์,พระผู้เป็นดั่งผ้าขี้ร้วห่อทอง อายุ: 33 ข้อมูลส่วนตัว รูปภาพ ภราดา ! สาวกของพระพุทธเจ้า แสดงธรรมอันเป็น หัวใจแห่งอริยสัจ คือ ธรรมอันเป็นส่วนเหตุ และธรรมอันเป็นส่วนผลโดยย่อดังกล่าวมานี้ สมุทัยและมรรคเป็นส่วนเหตุ ทุกข์และนิโรธเป็นส่วนผล นอกจากนี้ยังดึงเอาหัวใจของ ปฏิจจสมุปบาท ๔* ธรรมที่อาศัยกันเกิดขึ้นและอาศัยกันดับไปมาแสดง ณ ที่นี้ด้วย (*ปฏิจจสมุปบาท ธรรมที่อาศัยกันเกิดขึ้น มีหลักโดยย่อว่า เมื่อสิ่งนี้มีสิ่งนี้จึงเกิดขึ้น เมื่อสิ่งนี้ไม่มีสิ่งนี้จึงดับไป) :b47: “อุปติสสปริพพาชก” ได้ฟังธรรม อันแสดงถึงความเป็นจริงของชีวิตและโลกเพียงเท่านี้ ก็ได้บรรลุโสดาปัตติผลเป็น “โสดาบัน” เป็นผู้เข้าสู่กระแสธรรม มีคติแน่นอน ไม่ตกต่ำอีก จะต้องได้บรรลุธรรมขั้นสูงสุดอย่างแน่นอนในภายหน้า หากจะต้องเวียนว่ายตายเกิดอยู่อีก ก็ไม่เกิน ๗ ชาติ ปิดอบาย ๔ ได้ คือไม่ต้องเกิดในนรก เป็นเปรตอสูรกายหรือสัตว์ดิรัจฉาน เขากราบสาวกของพระพุทธเจ้า แล้วกล่าวว่า “ท่านผู้เจริญ ! เท่านี้พอแล้ว ไม่ต้องขยายธรรมเทศนาให้ยิ่งขึ้นไป แต่ข้าพเจ้าอยากทราบว่า เวลานี้พระศาสดาของพวกเราประทับอยู่ที่ใด อนึ่ง ถ้าพระคุณเจ้าจะโปรดบอกนามของท่านแก่ข้าพเจ้าบ้าง ก็จะเป็นมงคลแก่ข้าพเจ้าหาน้อยไม่” ..................................................... "เกิดดับ..เกิดแล้วไม่ดับไม่มี" โพสต์ เมื่อ: 16 ต.ค. 2014, 14:06 ภาพประจำตัวสมาชิก ออฟไลน์ Hanako Moderators-1 Moderators-1 ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ย. 2010, 20:29 โพสต์: 4518 แนวปฏิบัติ: พิจารณากาย สิ่งที่ชื่นชอบ: มณีรัตน์,พระผู้เป็นดั่งผ้าขี้ร้วห่อทอง อายุ: 33 ข้อมูลส่วนตัว รูปภาพ ศิษย์พระศากยมุนี มหาสมณโคดม พิจารณาถึงประโยชน์แล้วจึงกล่าววาจาว่า “ท่านผู้แสวงสัจจะ ! เมื่อพระสิทธัตถะมหาบุรุษตัดสินพระทัย สละโลกียสุขอันไม่ยั่งยืนเจือด้วยทุกข์ ออกแสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ที่เรียกว่า มหาภิเนษกรมณ์ เพื่อบรรลุธรรมอันเกษมจากโยคะ เป็นธรรมอันนำสัตว์ออกไปจากทุกข์แห่งสังสารวัฏนี้ ข้าพเจ้าเป็นผู้หนึ่งที่ตามเสด็จออกบวช เพื่อว่าพระองค์ท่านได้บรรลุธรรมใดแล้ว จักแสดงธรรมนั้นแก่ข้าพเจ้าบ้าง เมื่อพระองค์บำเพ็ญทุกรกิริยาอันเข้มงวดไม่มีผู้ใดทำได้ยิ่งกว่านั้น ข้าพเจ้าก็เป็นผู้หนึ่งที่เฝ้าปรนนิบัติพระองค์อย่างใกล้ชิด แต่เมื่อพระองค์ทรงเลิกการบำเพ็ญทุกรกิริยา ด้วยเห็นว่าไร้ประโยชน์ เป็นการทารุณต่อร่างกายเกินไป แล้วหันมาเสวยพระกระยาหารตามปกติ เพื่อบำเพ็ญเพียรทางจิตให้ได้ผล พวกเราทั้ง ๕ คน ผู้รู้เท่าไม่ถึงการณ์ ชวนกันผละจากพระองค์ไป เพราะฝังใจเช่นเดียวกับคนอื่นๆ ส่วนมากในเวลานั้นว่า การทรมานกายเป็นวิธีเดียวที่นำไปสู่การบรรลุสัจธรรม พวกเราพากันไปอยู่ ณ อิสิปตนมิคทายะ เขตเมืองพาราณสี เมื่อพระองค์ได้ตรัสรู้แล้ว ทรงระลึกถึงพวกเราทั้ง ๕ จึงเสด็จจากตำบลอุรุเวลาเสนานิคมเขตราชคฤห์นี้ ไปยังอิสิปตนมิคทายะ เขตเมืองพาราณสี เพื่อแสดงธรรมที่ทรงบรรลุแล้ว เป็นปฏิการต่ออุปการะของพวกเราที่เคยเฝ้าปรนนิบัติพระองค์ พระอัธยาศัยอันงามนี้มีอยู่เพียบพร้อมในพระศาสดาของเรา ทีแรกพวกเราไม่เชื่อว่าพระองค์จะได้ตรัสรู้จริง เพราะเห็นท่านเลิกความเพียรทรมานกาย เวียนมาเป็นคนมักมากในอาหารและปล่อยตัวให้อยู่สุขสบาย ไฉนจะบรรลุโลกุตตรธรรมหรืออนุตตรธรรมได้ แต่เมื่อพระองค์ตรัสว่า คำเช่นนี้ (คือคำว่า เราได้บรรลุอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว) เราเคยกล่าวกับท่านบ้างหรือตลอดเวลาอันยาวนานที่อยู่ด้วยกัน นั่นแหละพวกเราจึงระลึกได้ว่าพระองค์มิได้เคยตรัสมาก่อนเลย จึงพร้อมกันตั้งใจฟังธรรม พระธรรมเทศนาของพระองค์ไพเราะจับใจ งามทั้งเบื้องต้นท่ามกลางและที่สุด ประณีต น่าอัศจรรย์ ข้าพเจ้าจะขอนำมากล่าวเพียงใจความดังนี้ ตอนแรกพระองค์ตรัสบอกว่า บรรพชิต (ผู้บวชแล้ว) ควรเว้นทางสองสาย คือ สายหนึ่ง ทางชีวิตที่ดำเนินไป เพื่อความหมกมุ่นในกาม พัวพันในอารมณ์ใคร่นานาประการ ทำให้หลง ให้ติดให้ยึดมั่นสยบอยู่ ทางนี้เป็นทางต่ำเป็นไปเพื่อทุกข์ ไม่ประเสริฐ ไม่มีประโยชน์ อีกสายหนึ่ง ทางชีวิตที่เป็นไป เพื่อเข้มงวดกวดขันกับร่างกายเกินไป เรียก“อัตตกิลมถานุโยค” เป็นไปเพื่อทุกข์กายทุกข์ใจ ไม่ประเสริฐ ไม่มีประโยชน์ เมื่อทรงปฏิเสธทางสองสายว่า ไม่ควรดำเนินแล้ว ทรงแสดงทางสายกลาง คือ การปฏิบัติพอเหมาะพอควร ไม่ตึงเกินไม่หย่อนเกิน มีความเห็นชอบ มีความดำริชอบ เป็นต้น เป็นองค์ธรรม ..................................................... "เกิดดับ..เกิดแล้วไม่ดับไม่มี" โพสต์ เมื่อ: 19 ต.ค. 2014, 09:21 ภาพประจำตัวสมาชิก ออฟไลน์ Hanako Moderators-1 Moderators-1 ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ย. 2010, 20:29 โพสต์: 4518 แนวปฏิบัติ: พิจารณากาย สิ่งที่ชื่นชอบ: มณีรัตน์,พระผู้เป็นดั่งผ้าขี้ร้วห่อทอง อายุ: 33 ข้อมูลส่วนตัว รูปภาพ ตอนที่สอง ทรงแสดงอริยสัจ-สัจจะอันประเสริฐ เป็นต้นว่า ชีวิตคลุกเคล้าไปด้วยทุกข์นานาประการ ความสุขที่แท้จริงของชีวิตจะมีได้ก็ต่อเมื่อ ความไข้แห่งราคะ โทสะ และโมหะ ถูกกำจัด หรือเยียวยาให้หายแล้วโดยสิ้นเชิง โลกระงมอยู่ด้วยพิษไข้อันเรื้อรัง คือ ตัณหา ความร่านใจทะยานอยาก อันไม่มีขอบเขต สัตว์โลกถูกเพลิงกิเลสและเพลิงทุกข์แผดเผาให้เร่าร้อนไหม้เกรียม แต่ก็ยังโลดแล่นไปในทะเลแห่งความอยากอันเวิ้งว้าง ความทุกข์ทนหม่นไหม้ต่างๆ จึงมีมา ความทุกข์เป็นสิ่งที่ดับให้มอดได้ แต่ต้องดำเนินตาม มรรคปฏิปทา อันเป็นไปเพื่อความดับทุกข์นั้น ตอนที่สาม ทรงบรรลือสีหนาทอย่างอาจหาญว่า ตราบใดที่ยังมิได้รู้อริยสัจ ๔ ซึ่งมี ๓ รอบ ๑๒ อาการแล้ว จะไม่ทรงปฏิญาณพระองค์ว่าเป็นสัมมาสัมพุทโธเลย แต่เพราะได้ทรงรู้จริงในอริยสัจ ๔ อันมี ๓ รอบ ๑๒ อาการ จึงทรงปฏิญาณพระองค์ว่าเป็น สัมมาสัมพุทโธ ตรัสรู้เองโดยชอบ และทรงเน้นว่า พระธรรมจักร ที่พระองค์ทรงหมุนไปแล้วนี้ ใครจะหมุนกลับไม่ได้ (อปฺปฏิวตฺติยํ)* ไม่ว่าจะเป็นมนุษย์หรือเทวดามารพรหมใดๆ ทั้งสิ้น ใครหมุนกลับ ผู้นั้นเป็นผู้ผิด เป็นผู้ทวนกระแสแห่งความจริงที่ครอบครองโลกอยู่ (*อปฺปฏิวตฺติยํ อันใครๆ จะหมุนกลับมิได้ ปฏิวัติไม่ได้ คัดค้านไม่ได้ เพราะเป็นความจริงสากลและจำเป็น (Universal and necessary truth) ผู้ใดหมุนกลับหรือแสดงทรรศนะตรงกันข้าม ผู้นั้นทวนกระแสแห่งความจริง จะต้องประสบกับความลำบากเป็นอันมาก) :b43: ดูก่อน ท่านผู้แสวงสัจจะ ! พระธรรมเทศนาครั้งนั้นทำให้พระโกณฑัญญะ หัวหน้าของพวกเราบรรลุโสดาปัตติผล เป็นโสดาบัน หยั่งลงสู่กระแสพระนิพพาน ก้าวลงสู่กระแสธรรม และจะไม่มีวันถอยกลับจากทางสายนี้เป็นอันขาด ส่วนอีกสี่คน คือ ท่านภัททิยะ วัปปะ มหานามะ และอัสสชิ ยังมิได้สำเร็จมรรคผล ชื่อของข้าพเจ้าเป็นอันดับสุดท้ายในห้าคนดังกล่าวมา” เมื่อพระอัสสชิกล่าวจบลง อุปติสสปริพพาชกได้ลุกขึ้นนั่ง กระโหย่งประนมมือกล่าวขึ้นว่า “ข้าแต่ท่านอัสสชิ ! เป็นลาภอันประเสริฐของข้าพเจ้าแล้ว สิ่งที่พบได้โดยยาก ข้าพเจ้าได้พบแล้ว ข้าพเจ้าขอถึงท่านเป็นปฐมาจารย์ (อาจารย์คนแรก) ของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ ว่าเป็นที่พึ่งที่ระลึก เป็นสิ่งนำทางแห่งชีวิตของข้าพเจ้า ท่านผู้เจริญ ! ขอได้โปรดบอกหน่อยเถิดว่า บัดนี้พระผู้มีพระภาค-ศาสดาของพวกเราประทับอยู่ที่ใด?” “ประทับอยู่ที่เวฬุวันนี่เอง” พระอัสสชิตอบ มองดูปริพพาชกศิษย์ของท่านอย่างเข้าใจในความรู้สึกของเขา ..................................................... "เกิดดับ..เกิดแล้วไม่ดับไม่มี" โพสต์ เมื่อ: 20 ต.ค. 2014, 19:49 ภาพประจำตัวสมาชิก ออฟไลน์ Hanako Moderators-1 Moderators-1 ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ย. 2010, 20:29 โพสต์: 4518 แนวปฏิบัติ: พิจารณากาย สิ่งที่ชื่นชอบ: มณีรัตน์,พระผู้เป็นดั่งผ้าขี้ร้วห่อทอง อายุ: 33 ข้อมูลส่วนตัว รูปภาพ ภราดา ! อุปติสสปริพพาชกได้กราบลาพระอัสสชิไปแล้ว ด้วยดวงใจที่ผ่องแผ้วชุ่มเย็น อย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อนเลย อา ! โสดาปัตติผล ช่างน่าอภิรมย์ชมชื่นอะไรเช่นนี้ ! สมแล้วที่พระจอมมุนีพุทธเจ้า ตรัสว่า ‘โสดาปัตติผลประเสริฐกว่าความเป็นใหญ่ในแผ่นดิน ประเสริฐกว่าการได้ไปสวรรค์ และกว่าความเป็นใหญ่ในโลกทั้งปวง’ (พระไตรปิฎกเล่ม ๒๕ ข้อ ๒๓ หน้า ๓๙) :b45: อันว่าบุคคลที่เคยระหกระเหินมานาน วนเวียนหลงทางอยู่ในป่ารก อันน่าหวาดเสียวด้วยอันตรายนานาประการ มีอันตรายจากสัตว์ร้ายและไข้ป่า เป็นต้น ได้อาศัยบุรุษหนึ่งชี้ทางให้ขึ้นสู่มรรคา อันจะดำเนินไปสู่แดนเกษม แม้จะยังอยู่แค่ต้นทาง ก็ให้รู้สึกโปร่งใจมั่นใจในความปลอดภัยฉันใด บุคคลผู้ระหกระเหินอยู่ในป่าแห่งสังสารวัฏนี้ก็ฉันนั้น ถูกภัยคือความแก่ ความเจ็บ ความตาย ความทุกข์กายทุกข์ใจเพราะเหตุต่างๆ คุกคามให้หวาดหวั่นพรั่นพรึงอยู่เนืองนิตย์ ถูกความไม่ได้ดั่งใจปรารถนา บีบคั้นให้ต้องเสียใจครั้งแล้วครั้งเล่า แต่เขาก็ยังหวังอยู่นั่นเอง หวังว่าจะได้อย่างนั้นจะเป็นอย่างนี้พอถึงเวลาเข้าจริง ความหวังของเขากลับกลายเป็นเสมือนภาพอันซ้อนอยู่ในปุยเมฆ พอลมพัดมานิดเดียวภาพนั้นก็พลันเจือจางและเลือนหาย ด้วยเหตุนี้เสียงที่ว่า ‘ไม่ประสบความสำเร็จในชีวิต’ จึงระงมอยู่ในหมู่มนุษย์ตลอดมา ความจริงมนุษย์ทุกคนได้เคยสมปรารถนา ประสบความสำเร็จในชีวิตเป็นระยะๆ อยู่เหมือนกัน แต่เพราะเมื่อความปรารถนา หรือความหวังอย่างหนึ่งสำเร็จลงแล้ว ความต้องการอย่างใหม่ก็เกิดขึ้นอีก บางทีก็อาศัยความสำเร็จเดิมนั้นเป็นมูลฐาน เขาจึงรู้สึกเหมือนหนึ่งว่ามิได้ประสบความสำเร็จในชีวิต จึงดิ้นรนอยู่ในทะเลเพลิงแห่งความอยาก ความปรารถนาอันไม่มีที่สิ้นสุด เร่าร้อนและว้าเหว่หาประมาณมิได้ ทุกครั้งที่ความปรารถนาเกิดขึ้นในห้วงหัวใจ ตราบใดที่ยังไม่สมปรารถนา ความเร่าร้อนในหัวใจก็หาดับลงไม่ นอกจากเขาจะเลิกปรารถนาสิ่งนั้นเสีย ความหวังเป็นสิ่งผูกพันชีวิตมนุษย์ไว้ อย่างยากที่จะแยกออกไปได้ ถึงกระนั้นก็ตาม มีมนุษย์เป็นอันมากที่ไม่รู้ ตอบตัวเองไม่ได้ว่า อะไรคือสิ่งที่ตน หรือมนุษย์ควรจะต้องการจริงๆ อะไรคือสิ่งที่มนุษย์ควรเดินเข้าไปหาและขึ้นให้ถึง ตราบใดที่มนุษย์ยังตอบปัญหานี้ไม่ได้ ตราบนั้นเขาจะต้องดำเนินชีวิตอย่างลังเล ไร้หวัง และวนเวียนเป็นสังสารจักร ไม่รู้อะไรคือทิศทางของชีวิต เหมือนคนหลงป่าหรือนกหาฝั่ง บินวนเวียนอยู่ในสมุทร เพราะหาฝั่งไม่พบ แต่พอได้บรรลุธรรมคือ โสดาปัตติผล แล้ว เข้าสู่กระแสพระนิพพานแล้ว เขารู้สึกตนได้ทันทีว่า ได้ออกจากป่าใหญ่แล้ว ดำรงตนอยู่ต้นทางอันนำไปสู่แดนเกษมแล้ว ถ้าเปรียบด้วยผู้ดำผุดดำว่ายอยู่ในมหาสมุทร ก็เป็นผู้ลอยคอขึ้นได้แล้ว มองเห็นฝั่งอยู่ข้างหน้า กำลังเดินเข้าหาฝั่ง จะต้องขึ้นฝั่งได้แน่นอน ไม่จมลงไปอีก ลองคิดดูเถิดคนทั้งสองพวกนั้น จะปลาบปลื้มปราโมชสักเพียงใด ชุ่มเย็นอยู่ด้วยธรรมท่ามกลางผู้เร่าร้อนอยู่ด้วยเพลิงกิเลส เหมือนหญ้าสดในทะเลทราย เพราะได้แหล่งน้ำในทะเลทรายนั่นเองหล่อเลี้ยง โลกนี้เร่าร้อนอยู่ด้วยกิเลส ธรรมเท่านั้นที่จะช่วยดับความเร่าร้อนของโลกได้ ..................................................... "เกิดดับ..เกิดแล้วไม่ดับไม่มี" โพสต์ เมื่อ: 21 ต.ค. 2014, 19:36 ภาพประจำตัวสมาชิก ออฟไลน์ Hanako Moderators-1 Moderators-1 ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ย. 2010, 20:29 โพสต์: 4518 แนวปฏิบัติ: พิจารณากาย สิ่งที่ชื่นชอบ: มณีรัตน์,พระผู้เป็นดั่งผ้าขี้ร้วห่อทอง อายุ: 33 ข้อมูลส่วนตัว รูปภาพ ๒.) บัวเหนือน้ำ ความจริง...อุปติสสะต้องการเหลือเกิน ที่จะไปเฝ้าพระศาสดา ทันทีที่ได้ทราบจากพระอัสสชิ ว่าพระพุทธองค์ประทับอยู่ ณ เวฬุวัน กลันทกนิวาปะ* แต่มิอาจทำเช่นนั้นได้ เพราะระลึกถึงสัญญาที่ให้ไว้กับเพื่อนรักผู้หนึ่ง คือ “โกลิตะ” ว่าผู้ใดได้บรรลุธรรมก่อน ขอให้บอกกัน ด้วยเหตุนี้ อุปติสสะจึงรีบกลับมาสู่ปริพพาชการาม (อาราม หรือสำนักของปริพพาชก) ที่ตนและมิตรรัก อาศัยอยู่พร้อมด้วยบริวารอีกเป็นอันมาก โกลิตะได้เห็นอุปติสสะเดินกลับมา มีสีหน้าผ่องใสยิ่งนัก ไม่มี สีหน้าแห่งผู้หมกมุ่นครุ่นคิดอย่างวันก่อนๆ จึงอนุมานว่า สหายของเราคงได้บรรลุธรรมอย่างใดอย่างหนึ่งแล้วเป็นแน่แท้ (*เวฬุวัน กลันทกนิวาปะ สวนไม้ไผ่เป็นที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต อยู่เชิงภูเขาคิชฌกูฏ เวฬุวันเป็นอารามสงฆ์แห่งแรกในพระพุทธศาสนา ที่พระเจ้าพิมพิสารน้อมถวายพระพุทธเจ้าเมื่อเสด็จราชคฤห์หนแรกหลังจากตรัสรู้แล้ว) อ่านเพิ่มเติม http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=26&t=44846 :b39: ภราดา ! จิตมนุษย์นั้นมีลักษณะเป็นประภัสสร (มีรัศมีซ่านออก) จิตเป็นอย่างใดย่อมซ่านออกทางสีหน้า ดวงตาและอาการกิริยาอื่นๆ เมื่อจิตโกรธ สีหน้าและแววตาเป็นอย่างหนึ่ง แววตาแข็งกร้าวหมองคล้ำหรือแดงจัด กิริยาอาการแข็งกระด้างตึงตัง เมื่อจิตเปี่ยมด้วยเมตตาปรานี สีหน้าก็ผ่องใส แววตาอ่อนโยน กิริยาอาการละเมียดละไม วาจาอ่อนหวานนุ่มนวล เมื่อจิตเศร้าโศกดวงหน้าก็เศร้าหมองซูบซีด แววตาร่วงโรยไม่แจ่มใส กิริยาอาการ เงื่องหงอยไม่กระปรี้กระเปร่า ดูเถิดภราดา ! ดูอาการซ่านออกแห่งดวงจิต ดูรัศมีแห่งจิตหรือกระแสลำแสงแห่งจิต คนที่มีจิตเหลาะแหละโลเล คิดแต่จะเอาเปรียบผู้อื่น พอพบเห็นกันครั้งแรก ผู้พบเห็นก็มักรู้สึกว่า ‘คนนี้ไม่น่าไว้วางใจ’ ส่วนผู้มีใจสูงได้รับการอบรมดีแล้ว ย่อมแสดงออกทางดวงหน้าและแววตาเหมือนกัน ใครได้พบเห็นจึงมักรู้สึกว่า ช่างน่าเคารพเลื่อมใสเสียนี่กระไร ! ดังนั้น ความรักใคร่หรือความเกลียดชัง แม้ไม่ต้องบอก ใครๆ ก็พอรู้ได้ เพราะมันแสดงออกอยู่เสมอทั้งทางดวงหน้าและแววตา วาจาพออำพรางได้ เสแสร้งแกล้งกล่าวได้ แต่แววตาจะฟ้องให้เห็นเสมอว่า ความรู้สึกภายในเป็นอย่างไร โกลิตะสังเกตกิริยาอาการสีหน้าและดวงตาของสหายรักแล้ว จึงแน่ใจว่า อุปติสสะคงได้พบขุมทรัพย์อันประเสริฐ ที่เขาทั้งสองพากันแสวงหามาเป็นเวลานานแล้ว :b46: อุปติสสะเล่าความทั้งปวงให้สหายรักฟัง ตั้งต้นแต่ได้เห็นพระอัสสชิขณะบิณฑบาตอยู่ในนครราชคฤห์ และเดินตามท่านไปจนได้ฟังธรรมจากท่าน เขาเล่าอย่างละเอียดลออ โกลิตะก็ได้ดวงตาเห็นธรรม (ธรรมจักษุ) เช่นเดียวกับเขา ทั้งสองได้ปราโมชอันเกิดจากธรรม ได้ดื่มรสแห่งธรรมอันพระตถาคตทรงยกย่องว่า เลิศกว่ารสทั้งปวง เพราะไม่เจือด้วยทุกข์และโทษ ยิ่งดื่มยิ่งสงบประณีต ไร้ความกระวนกระวาย ยิ่งดื่มยิ่งหวานชื่น เหมือนบริโภคอ้อยจากปลายไปหาโคน ส่วนรสแห่งโลกนั้น เจืออยู่ด้วยทุกข์และโทษนานาประการ ต้องกังวลต้องหวาดระแวง ความสุขแห่งโลกมักจบลงด้วยทุกข์ โลกียรสยิ่งดื่มยิ่งจืด เหมือนกินอ้อยจากโคนไปหาปลาย ผู้ที่ได้ดื่มรสแห่งธรรมแล้ว มีธรรมเอิบอาบอยู่ในใจแล้ว ความสุขอย่างโลกๆ ก็ไร้ความหมาย เมื่อจำเป็นต้องเสวยความสุขทางโลก ไม่ว่าประณีตปานใด ก็มีใจพิจารณาเห็นโทษอยู่เนืองๆ เหมือนผู้จำเป็นต้องดื่มน้ำ ที่แม้จะใสสะอาด แต่มองเห็นปลิงวนว่ายอยู่ก้นขัน ลองคิดดูเถิดว่า เขาจะดื่มน้ำด้วยความรู้สึกอย่างไร ! ..................................................... "เกิดดับ..เกิดแล้วไม่ดับไม่มี" โพสต์ เมื่อ: 22 ต.ค. 2014, 16:23 ภาพประจำตัวสมาชิก ออฟไลน์ Hanako Moderators-1 Moderators-1 ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ย. 2010, 20:29 โพสต์: 4518 แนวปฏิบัติ: พิจารณากาย สิ่งที่ชื่นชอบ: มณีรัตน์,พระผู้เป็นดั่งผ้าขี้ร้วห่อทอง อายุ: 33 ข้อมูลส่วนตัว รูปภาพ นับถอยหลังจากเวลาที่ท่านทั้งสอง คือ อุปติสสะ และ โกลิตะ ได้บรรลุธรรมไปไม่นานนัก ณ หมู่บ้านพราหมณ์ ๒ หมู่ไม่ห่างจากนครราชคฤห์นัก ในหมู่บ้านหนึ่ง พราหมณ์ผู้เป็นนายบ้านชื่อ อุปติสสะ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า วังคันตะ มีภริยาชื่อ นางสารี มีบุตรชายคนหนึ่งเรียกชื่อตามนามของบิดาว่า อุปติสสะ (ผู้บุตร) เรียกชื่อตามนามของมารดาว่า สารีบุตร ในบ้านอีกหมู่หนึ่ง พราหมณ์ผู้เป็นนายบ้านชื่อ โกลิตะ มีภรรยาชื่อ นางโมคคัลลี มีลูกชายคนหนึ่งเรียกชื่อตามนามของบิดาว่า โกลิตะ (ผู้บุตร) เรียกชื่อตามนามของมารดาว่า โมคคัลลานะ สองตระกูลนี้เป็นสหายเนื่องกันมาตั้งแต่ครั้งบรรพบุรุษ บุตรของสองตระกูลนั้นมีอายุรุ่นราวคราวเดียวกัน จึงได้เป็นเพื่อนเล่นด้วยกันมาตั้งแต่เล็ก เมื่อเติบโต ทั้งสองได้ศึกษาศิลปศาสตร์อันเป็นทางเลี้ยงชีพ และทางนำมาซึ่งเกียรติยศชื่อเสียงสำเร็จทุกประการ เขาชอบไปดูมหรสพทั้งในเมืองราชคฤห์ และบนยอดเขา ย่อมหัวเราะในที่ควรหัวเราะ เศร้าสลดในที่ควรเศร้าสลด และให้รางวัลแก่ผู้แสดงที่ตนชอบ ต่อมาวันหนึ่ง ขณะที่ทั้งสองนั่งดูมหรสพอยู่บนยอดเขา เพราะความที่ญาณและบารมีธรรมที่ท่านทั้งสองบ่มมาแก่กล้าแล้ว จึงเกิดความรู้สึกขึ้นว่า ‘มหรสพนี้ มีอะไรน่าดูบ้าง? มีอะไรเป็นสาระบ้าง? คนเหล่านี้ทั้งหมดทั้งคนแสดงและคนดู ไม่ถึงร้อยปีก็จะต้องตายกันหมด เราน่าจะแสวงหาทางหลุดพ้นจากความทุกข์ อันเกิดจากความแก่ เจ็บ และตาย ความทุกข์จากการเวียนว่ายในสังสารวัฏ’ เมื่อคิดดังนี้ จึงไม่มีอาการร่าเริงสนุกสนานอย่างวันก่อนๆ อุปติสสะนั่งเฉยเหมือนคิดอะไรอย่างหนึ่งลึกซึ้ง โกลิตะเห็นอาการของเพื่อนแปลกไปอย่างนั้น จึงถาม อุปติสสะเล่าความรู้สึกของตนให้ฟัง โกลิตะบอกว่าตัวเขาเองก็มีความรู้สึกอย่างนั้นเหมือนกัน คือ รู้สึกว่าความเพลิดเพลินในมหรสพนี้มีอะไรเป็นสาระบ้าง เราน่าจะแสวงหาอะไรที่ดีกว่านี้ แสวงหาทางหลุดพ้นจากความทุกข์โดยสิ้นเชิง ภราดา ! อันว่าปทุมชาติแม้เกิดในโคลนตมหรือในน้ำ ย่อมชูดอกขึ้นพ้นจากโคลนตมและน้ำ ไม่ติดตมและน้ำ ส่งกลิ่นหอมรื่นรมย์ใจฉันใด บุคคลบางคนก็ฉันนั้น เกิดแล้วในโลก เจริญแล้วในโลก แต่ไม่ติดโลก ไม่ติดในโลกียสุขอันเปรียบเสมือนเหยื่อเล็กน้อยที่ติดอยู่กับเบ็ด ถอนตนขึ้นจากโลก ปลดปล่อยตนให้เป็นอิสระ จากการย่ำยีเสียบแทงแห่งอารมณ์ของโลก ไม่ต้องอึดอัดคับแค้นเพราะโลกธรรมกระแทกกระทั้นบีบคั้นหัวใจ ไม่หวั่นไหวต่อความขึ้นลงของชีวิต ภราดา ! ลองคิดดูด้วยปัญญาอันชอบเถิด เหมือนอย่างว่า บุรุษหนึ่งมี ๒ มือ มือข้างหนึ่งของเขาจับของร้อนจัดไว้ ส่วนมืออีกข้างหนึ่งจับของเย็นจัดไว้ ของทั้งสองนั้นแม้มีสภาพตรงกันข้ามก็จริง แต่ก็จะให้ความทุกข์ทรมานแก่บุรุษนั้นเกือบจะเท่าๆ กัน ฉันใด สุขและทุกข์ของโลกก็ฉันนั้น ลงท้ายก็จะให้ความทุกข์แก่ผู้หน่วงเหนี่ยวยึดถือเท่าๆ กัน เพราะความสุขของโลกเหมือนเหยื่อที่เบ็ดเกี่ยวไว้ พอปลากินเหยื่อก็ติดเบ็ด คราวนี้ก็สุดแล้วแต่พรานเบ็ดจะฉุดกระชากลากไป มัสยาที่ติดเบ็ดกับปุถุชนผู้ติดในโลกียสุขจะต่างอะไรกัน ทั้งสอง คือ อุปติสสะและโกลิตะ ตกลงใจว่าจะสละโลกียสุขออกแสวงหาโมกขธรรม* แต่การแสวงหาโมกขธรรมน่าจะได้บวชในสำนักใดสำนักหนึ่ง จึงพาบริวารออกบวชเป็นปริพพาชกในสำนักของอาจารย์สัญชัย ซึ่งอยู่ใกล้เมืองราชคฤห์นั่นเอง (*โมกขธรรม ธรรมเป็นเครื่องพ้นจากการบีบรัดของตัณหามานะทิฐิ พ้นจากการเวียนว่ายตายเกิด) ..................................................... "เกิดดับ..เกิดแล้วไม่ดับไม่มี" โพสต์ เมื่อ: 23 ต.ค. 2014, 11:31 ภาพประจำตัวสมาชิก ออฟไลน์ Hanako Moderators-1 Moderators-1 ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ย. 2010, 20:29 โพสต์: 4518 แนวปฏิบัติ: พิจารณากาย สิ่งที่ชื่นชอบ: มณีรัตน์,พระผู้เป็นดั่งผ้าขี้ร้วห่อทอง อายุ: 33 ข้อมูลส่วนตัว รูปภาพ ตั้งแต่สองสหายและบริวารบวชแล้ว สัญชัยปริพพาชกก็เป็นผู้เลิศด้วยลาภและบริวาร ล่วงไปเพียง ๒-๓ วัน อุปติสสะและโกลิตะ ก็สามารถเรียนจบคำสอนของอาจารย์ เมื่อทราบจากอาจารย์ว่าไม่มีคำสอนอื่นใดยิ่งกว่านี้แล้ว คือ หมดสิ้นความรู้ของอาจารย์แล้ว เขาทั้งสองคิดกันว่า เท่านี้หาเพียงพอไม่ ความรู้เพียงเท่านี้ไม่พอกับปัญหาชีวิตและความทุกข์ของชีวิต เราออกแสวงหาความหลุดพ้น ความรู้ของอาจารย์ในสำนักนี้ไม่พอเพื่อความหลุดพ้น การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในสำนักอาจารย์สัญชัย จึงไม่มีประโยชน์อะไรอีกต่อไป แต่ชมพูทวีปนี้กว้างใหญ่นัก เราน่าจะท่องเที่ยวไปในคามนิคมชนบทราชธานี คงจักได้พบอาจารย์ผู้หลุดพ้นแล้วด้วยตนเอง และแสดงโมกขธรรมนั้นแก่เราเป็นแน่แท้ ตั้งแต่นั้นมา ได้ยินใครพูดว่าที่ใดมีสมณพราหมณ์ผู้เป็นบัณฑิต ทั้งสองก็ดั้นด้นไปหาทำการสากัจฉากับสมณพราหมณ์นั้นๆ ปัญหาใดที่เขาถาม อาจารย์ทั้งหลายไม่อาจแก้ปัญหานั้นได้ แต่เขาสามารถแก้ปัญหาที่อาจารย์เหล่านั้นถามแล้วได้ เขาเที่ยวสอบถามอาจารย์ทั่วชมพูทวีป แต่ไม่พบอาจารย์อันเป็นที่พอใจหรือให้เขาจุใจได้ จึงกลับมาสู่สำนักเดิม นัดหมายกันว่าใครได้บรรลุอมตธรรมก่อน ขอจงบอกแก่กันโดยนัยที่กล่าวแล้วข้างต้น ภราดา ! บุคคลมีความตั้งใจอย่างแน่วแน่แสวงหาสิ่งใด เขาย่อมได้พบสิ่งนั้น ไม่วันใดก็วันหนึ่ง ทุรชนแสวงหาแต่ทางที่จะทำชั่ว ก็ได้พบความชั่ว สาธุชนแสวงหาทางที่จะทำความดี ก็ได้พบความดี นักปราชญ์แสวงหาทางปัญญา ก็ได้พบปัญญา มุนีผู้ใฝ่สงบมุ่งความสงบ ก็ได้พบความสงบเย็นใจ บุคคลแสวงหาสิ่งใดย่อมได้พบสิ่งนั้น ในโลกนี้มีสิ่งที่มนุษย์แสวงหามาก ใครจะแสวงหาอะไรก็สุดแล้วแต่อุปนิสัยของเขา อันการแสวงหา* นั้นที่ประเสริฐก็มี ไม่ประเสริฐก็มี โดยปริยายเบื้องต่ำสัมมาอาชีวะเป็นการแสวงหาที่ประเสริฐ มิจฉาอาชีวะเป็นการแสวงหาที่ไม่ประเสริฐ โดยปริยายเบื้องสูง การแสวงหาอามิส คือ ลาภ ยศ สรรเสริญ และโลกียสุข...ไม่ประเสริฐ การแสวงหาธรรม...ประเสริฐ การแสวงหาสิ่งที่มีความเกิด แก่ เจ็บ ตายเป็นธรรมดา...ไม่ประเสริฐ การแสงหาสิ่งที่ไม่ต้องเกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นการแสวงหาที่ประเสริฐ (*การแสวงหาที่ประเสริฐ เรียก อริยปริเยสนา Noble search การแสวงหาอันไม่ประเสริฐ เรียก อนริยปริเยสนา lgnoble search ดูพระไตรปิฎก เล่ม ๑๔ หน้า ๓๑๔) :b45: ดูก่อนภราดา ! มนุษย์และสัตว์โลกทั้งมวล ตนเองมีความเกิดแก่เจ็บตายเป็นธรรมดาอยู่แล้ว ยังเที่ยวแสวงหาสิ่งอันมีความเกิดแก่เจ็บตายเข้ามาทับถมอีก จึงต้องเพิ่มความเดือดร้อนขึ้นทับทวีคูณตรีคูณ เพราะเหตุที่บุคคลรู้สึกพร่องในตน จึงพยายามแสวงหาสิ่งอื่นที่เข้าใจว่า จะมาทำความพร่องของตนให้เต็มบริบูรณ์ แต่เนื่องจากสิ่งที่แสวงหามานั้น มีความพร่องอยู่ในตนเหมือนกัน จึงหาทำให้ใครเต็มบริบูรณ์ได้ไม่ มีแต่จะเพิ่มความพร่องให้มากขึ้น เปรียบเหมือนคนตาบอดด้วยตนเองแล้ว ยังไปแสวงหาคนตาบอดมาอยู่ด้วย ก็หาได้ทำให้ตาของตนสว่างขึ้นไม่ ยังจะต้องเป็นภาระกับคนตาบอดอีกคนหนึ่ง แต่อนิจจา กว่าจะรู้อย่างนี้ก็มักสายเกินแก้เสียแล้ว สภาพของโลกจึงอยู่ในลักษณะคนตาบอดจูงคนตาบอด และเตี้ยอุ้มค่อมเสมอมา ความรักเป็นสิ่งหนึ่งที่บุคคลทุกเพศทุกวัยแสวงหา ด้วยเข้าใจว่าตนจะสมบูรณ์ขึ้นเพราะมีความรักและคนที่รัก เข้าใจว่า ตนจะมีความสุขเพราะมีความรัก แต่พอมีเข้าจริง ความกังวลห่วงใย ความกลัวจะเสียของรักหรือคนรัก ความหวาดหวั่นพรั่นพรึงต่อการที่จะพลัดพรากจากสิ่งที่รัก ความริษยาอาฆาตต่อบุคคล ที่มีท่าทีว่าจะมาแย่งคนรักของตนไป เป็นอาทิ เมื่อรวมกันแล้วก่อความทุกข์ความกังวลให้ มากกว่าความสุขเล็กน้อยเพราะความเพลินใจในอารมณ์รักหรือสิ่งที่รัก ความไม่สมบูรณ์ในตนนั่นเอง ทำให้คนต้องการความรักและสิ่งที่รัก ส่วนบุคคลผู้มีความสมบูรณ์ในตน ย่อมไม่ต้องการความรักหรือสิ่งที่รัก เกี่ยวกับเรื่องนี้ พระศาสดาของเราตรัสว่า “การไม่ได้เห็นสิ่งอันเป็นที่รักเป็นความทุกข์ การประสบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รัก เป็นความทุกข์ เพราะฉะนั้น จึงไม่ควรทำอะไรๆให้เป็นที่รัก เพราะการพลัดพรากจากสิ่งที่รักเป็นความทรมาน” (พระไตรปิฎกเล่ม ๒๕ หน้า ๔๒ ข้อ ๒๖) ..................................................... "เกิดดับ..เกิดแล้วไม่ดับไม่มี" โพสต์ เมื่อ: 24 ต.ค. 2014, 11:42 ภาพประจำตัวสมาชิก ออฟไลน์ Hanako Moderators-1 Moderators-1 ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ย. 2010, 20:29 โพสต์: 4518 แนวปฏิบัติ: พิจารณากาย สิ่งที่ชื่นชอบ: มณีรัตน์,พระผู้เป็นดั่งผ้าขี้ร้วห่อทอง อายุ: 33 ข้อมูลส่วนตัว รูปภาพ เมื่ออุปติสสะและโกลิตะได้ดวงตาเห็นธรรมแล้ว จึงชวนกันไปเฝ้าพระศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งเวลานั้นประทับอยู่ ณ เวฬุวัน แต่อุปติสสะซึ่งเป็นผู้หนักในกตัญญูกตเวที ระลึกถึงอาจารย์สัญชัย จึงเข้าไปหาอาจารย์ เล่าความทั้งปวงให้ฟัง ชวนอาจารย์ไปเฝ้าพระศาสดาด้วย แต่อาจารย์สัญชัยไม่ยอมไป อ้างว่าเป็นผู้ใหญ่ชั้นครูบาอาจารย์แล้ว ไม่ควรไปเป็นศิษย์ของใครอีก เมื่อสองสหายอ้อนวอนหนักเข้า อาจารย์สัญชัยจึงถามว่า ในโลกนี้มีคนโง่มากหรือคนฉลาดมาก สองสหายตอบว่า คนโง่มากกว่า สัญชัยจึงสรุปว่า ถ้าอย่างนั้น ขอให้พวกที่ฉลาดๆ ไปหาพระสมณโคดมเถิด ส่วนพวกโง่ๆ จงมาหาเราและอยู่ในสำนักของเรา แม้จะรู้ว่าท่านอาจารย์สัญชัยพูดประชดประชัน แต่สองสหายผู้มีอัธยาศัยงาม เพียบพร้อมด้วยสาวกบารมีญาณ ก็หาถือเป็นเรื่องเคืองใจแต่ประการใดไม่ คงอ้อนวอนต่อไป พรรณนาให้เห็นว่า การเสด็จอุบัติขึ้นของพระพุทธเจ้านั้นยากเพียงใด การได้ฟังพระ-สัทธรรมของพระองค์ท่านก็เป็นของยาก บัดนี้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้เสด็จอุบัติขึ้นแล้ว และประทับอยู่ ณ ที่ใกล้นี่เอง ควรจะถือโอกาสอันดีนี้ไปเฝ้าฟังพระธรรมเทศนา แต่สัญชัยก็คงยืนกรานอย่างเดิม ดูก่อนภราดา ! คนที่เป็นปทปรมะ (คนที่สั่งสอนไม่ได้) นั้นมีอยู่ ๒ จำพวก คือ พวกหนึ่งปัญญาน้อยเกินไป หรือพวกปัญญาอ่อน อีกพวกหนึ่งมีทิฐิมากเกินไป ไม่ยอมฟังความคิดเห็นของใครๆ คนทั้งสองพวกนี้สอนได้ยาก หรืออาจสอนไม่ได้เลย ที่ท่านเปรียบเหมือนบัวที่อยู่ใต้น้ำ ติดโคลนตม มีแต่จะเป็นเหยื่อของปลาและเต่า เมื่อเห็นว่าชักชวนอาจารย์ไม่สำเร็จแน่แล้ว สองสหายก็จากไป ศิษย์ในสำนักของอาจารย์สัญชัยติดตามไปเป็นจำนวนมาก ประหนึ่งว่าปริพพาชการามจะว่างลง สัญชัยเห็นดังนั้นเสียใจ จนอาเจียนออกมาเป็นเลือด ศิษย์ของสัญชัยจำนวนหลายคน คงจะสงสารอาจารย์ จึงกลับเสียในระหว่างทาง คงติดตามท่านทั้งสองไปเพียง ๒๕๐ คน เมื่อทั้งสองถึงเวฬุวันนั้น เป็นเวลาที่พระศาสดา กำลังทรงแสดงธรรมอยู่ท่ามกลางพุทธบริษัท ทอดพระเนตรเห็นสองสหายกำลังมา จึงตรัสกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย สองสหายคืออุปติสสะ และโกลิตะกำลังมา เขาทั้งสองจักเป็นอัครสาวก (สาวกผู้เลิศ) ของเรา” ทั้งสองและบริวารถวายบังคมพระศาสดา แล้วทูลขอบรรพชาอุปสมบท พระผู้มีพระภาคทรงประทานอุปสมบทแบบเอหิภิกขุอุปสัมปทา* (*เอหิภิกขุอุปสัมปทา การอุปสมบทที่พระศาสดาทรงประทานเอง เพียงแต่ทรงอนุญาตให้เป็นภิกษุเท่านั้นก็ครองจีวรได้ ไม่ต้องมีพิธีอะไร วิธีนี้เป็น ๑ ใน ๓ แห่งวิธีอุปสมบทในพระพุทธศาสนา) :b40: พระศาสดาทรงขยายพระธรรมเทศนาให้พิสดารออกไป มุ่งเอาอุปนิสัยแห่งบริวารของสหายทั้งสอง เป็นเกณฑ์เพื่อได้สำเร็จมรรคผลก่อน เมื่อจบพระธรรมเทศนา บริวารทั้ง ๒๕๐ ท่านได้สำเร็จอรหัตตผล ส่วนสหายทั้งสองยังไม่ได้บรรลุมรรคผลที่สูงขึ้นไป คงได้เพียงโสดาปัตติผลเท่านั้น เพราะอย่างไรจึงเป็นอย่างนั้น? ท่านว่า สาวกบารมีญาณเป็นของใหญ่ ต้องมีคุณาลังการมากมายเหมือนการเสด็จของพระราชา ย่อมมีการเตรียมการมากกว่าสามัญชน อนึ่ง คนมีปัญญามากย่อมต้องไตร่ตรองมาก มิได้ปลงใจเชื่อสิ่งใดโดยง่าย ต้องการใคร่ครวญ ให้เห็นเหตุเห็นผลอย่างชัดแจ้งด้วยตนเองเสียก่อน แล้วจึงเชื่อ และปฏิบัติตาม แต่พอสำเร็จแล้วก็ประดับด้วยคุณาลังการทุกประการ อันเป็นบริวารธรรมแห่งสิ่งอันตนได้สำเร็จแล้วนั้น ภราดา ! เปรียบเหมือนการเดินทาง คนพวกหนึ่งเดินก้มหน้าก้มตางุดๆ เพื่อรีบไปให้ถึงปลายทาง ไม่มองดูสิ่งใดในระหว่างทางเลย เมื่อถึงปลายทางแล้วก็เป็นอันถึงแล้ว แต่หาได้รู้อะไรๆ ในระหว่างทาง อันเป็นเครื่องประกอบการเดินทางของตนไม่ ส่วนคนอีกพวกหนึ่งค่อยๆ เดินไป ตรวจสอบข้างทางอย่างถ้วนถี่ มีอะไรน่าสนใจเป็นพิเศษ ก็แวะชมจดจำ และทำความเข้าใจ คนพวกนี้อาจถึงจุดหมายปลายทางช้า แต่เมื่อถึงแล้วย่อมมีความรู้พิเศษติดไปด้วยมากมายฉันใด ผู้สำเร็จมรรคผลในพระพุทธศาสนาก็ฉันนั้น บางพวกเป็น สุกขวิปัสสโก คือ สามารถทำลายกิเลสได้เกลี้ยงหัวใจ แต่ไม่มีคุณสมบัติอย่างอื่น เช่น วิชชา ๓ ปฏิสัมภิทา ๔ หรือ อภิญญา ๖* บางพวกทำลายกิเลสได้เกลี้ยงหัวใจด้วยมีวิชชา ๓ ด้วย บางพวกมีอภิญญา ๖ ด้วย บางพวกมีปฏิสัมภิทา ๔ ด้วย ภราดา ! พระอัครสาวกทั้งสองเป็นผู้พร้อมด้วยอัครสาวกบารมีญาณ แม้จะสำเร็จช้า แต่เมื่อสำเร็จแล้วก็ประดับด้วยคุณาลังการทั้งปวง (*วิชชา ๓ = ความรู้วิเศษ ๓ ประการ คือ ๑.) ปุพเพนิวาสานุสติญาณ - ความรู้ที่ระลึกชาติได้ ๒.) จุตูปปาตญาณ - ความรู้จุติและอุบัติของสัตว์ทั้งหลาย ๓.) อาสวักขยญาณ - ความรู้ที่ทำอาสวะให้สิ้น ปฏิสัมภิทา ๔ = ปัญญาแตกฉาน มี ๔ คือ ๑.) อัตถปฏิสัมภิทา - ปัญญาแตกฉานในอรรถ ๒.) ธัมมปฏิสัมภิทา - ปัญญาแตกฉานในธรรม ๓.) นิรุตติปฏิสัมภิทา - ปัญญาแตกฉานในทางภาษา ๔.) ปฏิภาณปฏิสัมภิทา - ปัญญาแตกฉานในปฏิภาณ อภิญญา ๖ = ความรู้ยิ่ง มี ๖ คือ ๑.) อิทธิวิธิ - แสดงฤทธิ์ต่างๆ ได้ ๒.) ทิพพโสต - หูทิพย์ ๓.) เจโตปริยญาณ - ทายใจผู้อื่นได้ ๔.) ปุพเพนิวาสานุสติญาณ - ระลึกชาติได้ ๕.) ทิพพจักขุ - ตาทิพย์ ๖.) อาสวักขยญาณ - ญาณทำให้อาสวะสิ้นไป) ..................................................... "เกิดดับ..เกิดแล้วไม่ดับไม่มี" โพสต์ เมื่อ: 25 ต.ค. 2014, 12:07 ภาพประจำตัวสมาชิก ออฟไลน์ Hanako Moderators-1 Moderators-1 ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ย. 2010, 20:29 โพสต์: 4518 แนวปฏิบัติ: พิจารณากาย สิ่งที่ชื่นชอบ: มณีรัตน์,พระผู้เป็นดั่งผ้าขี้ร้วห่อทอง อายุ: 33 ข้อมูลส่วนตัว รูปภาพ ๓.) ผ้าขี้ริ้วกับช่อดอกไม้ เมื่อท่านอุปติสสะและโกลิตะได้อุปสมบทแล้ว เพื่อนพรหมจารี*ทั้งหลายนิยมเรียกท่านว่า สารีบุตร และโมคคัลลานะ แม้พระตถาคตเจ้าเองก็ตรัสเรียกอย่างนั้นเหมือนกัน นามอุปติสสะและโกลิตะได้หายไป พร้อมกับการอุปสมบทของท่านทั้งสอง (*พรหมจารี หมายถึง ผู้ประพฤติพรหมจรรย์ พรหมจรรย์ แปลว่า ความประพฤติอันประเสริฐ) :b44: พระโมคคัลลานะเมื่ออุปสมบทแล้วได้ ๗ วัน ไปทำความเพียรอยู่ ณ ใกล้หมู่บ้านกัลลวาลมุตตคาม ถูกความง่วง (ถีนมิทธะ) ครอบงำ ไม่อาจให้ความเพียรดำเนินไปตามปกติได้ พระศาสดาเสด็จไป ณ ที่นั้น ทรงแสดงอุบายสำหรับแก้ง่วง* เช่น เมื่อความง่วงครอบงำ ให้เอาใจใส่ใคร่ครวญถึงธรรมที่ได้ฟังแล้ว ได้ศึกษามาแล้ว ถ้ายังไม่หายง่วง ควรสาธยาย (คือท่องออกเสียง) ธรรมที่ได้ฟัง มาแล้ว ศึกษามาแล้ว ถ้ายังไม่หายง่วง ควรยอนช่องหูทั้งสองข้าง เอาฝ่ามือลูบตัวไปมาบ่อยๆ ถ้ายังไม่หายง่วง ควรลุกขึ้นยืนแล้ว ลูบนัยน์ตาด้วยน้ำ เหลียวดูทิศทั้งหลาย แหงนดูดาวนักษัตรฤกษ์ ถ้ายังไม่หายง่วง ควรทำในใจถึงแสงสว่าง (อาโลกสัญญา) ว่าบัดนี้สว่างแล้ว ทำจิตให้มีแสงสว่างเกิดขึ้น ให้รู้สึกว่าเหมือนกันทั้งกลางวันและกลางคืน มีใจเปิดเผย ไม่มีอะไรหุ้มห่อ ถ้ายังไม่หายง่วงควรเดินจงกรม คือ เดินกลับไปกลับมา พิจารณาข้อธรรม สำรวมอินทรีย์ ไม่ส่งจิตไปภายนอก ถ้ายังไม่หายง่วงพึงนอนแบบ สีหไสยา** คือตะแคงขวาซ้อนเท้าให้เหลื่อมกันเล็กน้อย มีสติ สัมปชัญญะ ตั้งใจจะลุกขึ้นทันทีเมื่อรู้สึกตัวครั้งแรก ด้วยมนสิการว่า เราจักไม่แสวงหาความสุขจากการนอน จากการเอนหลัง จากการเคลิ้มหลับ” (*อ่านเพิ่มเติม กระทู้เรื่องโมคคัลลานสูตร http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=26&t=45512 **สีหไสยา นอนตะแคงขวา มือข้างซ้ายวางพาดไปตามลำตัว มือข้างขวารับศีรษะด้านขวา ซ้อนเท้าให้เหลื่อมกันนิดหน่อย ในท่าพอสบายไม่ยืดจนตึงหรือเกร็ง) :b40: “ดูก่อนโมคคัลลานะ” พระศาสดาตรัสต่อไป “อีกอย่างหนึ่ง เธอควรสำเหนียกอย่างนี้ว่า ‘เราจักไม่ชูงวง คือถือตัวทะนงตน เข้าไปสู่ตระกูล’ เพราะถ้าภิกษุชูงวงเข้าไปสู่ตระกูล เธอจะร้อนใจเป็นอันมาก บางครั้งบางคราวคฤหัสถ์ทั้งหลาย เป็นผู้มีกิจมากมีธุระมาก อาจไม่ได้นึกถึงภิกษุผู้เข้าสู่ตระกูล ภิกษุผู้ชูงวง อาจคิดมากว่า บัดนี้ใครหนอยุยงให้เราแตกจากตระกูลนี้ มนุษย์พวกนี้จึงมีอาการห่างเหินเรา มีอาการอิดหนาระอาใจต่อเรา เมื่อไม่ได้อะไรๆ จากตระกูลนั้น เธอก็เก้อเขิน ครั้นเก้อเขินก็เกิดความฟุ้งซ่าน ไม่สำรวม เมื่อไม่สำรวมจิตก็จะห่างจากสมาธิ โมคคัลลานะ อีกอย่างหนึ่ง เธอควรสำเหนียกว่า ‘เราจักไม่พูดคำอันเป็นเหตุให้ต้องเถียงกัน ถือผิดต่อกัน’ เพราะเมื่อมีถ้อยคำทำนองนี้ก็จะต้องพูดมาก เมื่อพูดมากก็เกิดความฟุ้งซ่าน ครั้นฟุ้งซ่านก็จะเกิดการไม่สำรวม เมื่อไม่สำรวม จิตก็จะเหินห่างจากสมาธิ โมคคัลลานะ อีกอย่างหนึ่ง เราไม่สรรเสริญการคลุกคลีด้วยหมู่ชน ทั้งคฤหัสถ์และบรรพชิต แต่เราสรรเสริญการอยู่ในเสนาสนะอันสงัด ควรเป็นที่หลีกเร้นอยู่ตามสมณวิสัย...”* (*เก็บความจากหนังสือ พุทธานุพุทธประวัติ ของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส หน้า ๖๓-๖๔) ..................................................... "เกิดดับ..เกิดแล้วไม่ดับไม่มี" โพสต์ เมื่อ: 27 ต.ค. 2014, 11:38 ภาพประจำตัวสมาชิก ออฟไลน์ Hanako Moderators-1 Moderators-1 ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ย. 2010, 20:29 โพสต์: 4518 แนวปฏิบัติ: พิจารณากาย สิ่งที่ชื่นชอบ: มณีรัตน์,พระผู้เป็นดั่งผ้าขี้ร้วห่อทอง อายุ: 33 ข้อมูลส่วนตัว รูปภาพ ภราดา ! พระบรมพุทโธวาทของพระศาสดา ในเรื่องอุบายแก้ง่วงก็ดี เรื่องการยกงวงชูงาก็ดี เรื่องการเว้นถ้อยคำอันเป็นเหตุให้เถียงกันก็ดี และเรื่องการอยู่ในเสนาสนะสงัดก็ดี ควรเป็นเรื่องเตือนใจอันสำคัญของพุทธศาสนิกชน ทั้งคฤหัสถ์และบรรพชิต ภราดาเอย ! การ ‘ชูงวง’ คือ ความทะนงตนนั้น เป็นกิเลสร้ายอย่างหนึ่ง ซึ่งครอบงำจิตของมนุษย์อยู่ทั้งคฤหัสถ์และบรรพชิต พระศาสดาทรงเรียกมันว่า ‘มานานุสัย’ อนุสัย คือ มานะ กิเลสที่นอนสยบอยู่ในขันธสันดาน เมื่อถูกกวนก็จะฟูขึ้นทันที มานะมีลักษณะให้ทะนงตนว่า ‘แกเลวกว่าข้า’ บุคคลผู้มีมานะจัดย่อมมีลักษณะเชิดชูตนจัด อวดตนจัด ยกตนข่มผู้อื่นเนืองๆ มองไม่เห็นใครดีหรือสำคัญเท่าตน ซึ่งเป็นการมองที่ผิด ตามความเป็นจริงแล้ว บุคคลย่อมมีความสำคัญตามฐานะของตน แม้บุคคลอีกผู้หนึ่งจะเป็นเสมือนไม้กวาดและผ้าขี้ริ้ว ส่วนบุคคลอีกผู้หนึ่งเป็นเสมือนดอกไม้ในแจกันก็ตาม ไม้กวาดและผ้าขี้ริ้วย่อมมีความหมาย และมีความสำคัญอย่างไม้กวาดและผ้าขี้ริ้ว ส่วนดอกไม้ในแจกันก็มีความหมาย และมีความสำคัญอย่างดอกไม้ ปราศจากไม้กวาดและผ้าขี้ริ้วเสียแล้ว บ้านเรือนจะสะอาดได้อย่างไร แต่บ้านเรือนอาศัยเครื่องประดับเป็นสิ่งเชิดหน้าชูตา ข้อนี้ฉันใดชุมชนก็ฉันนั้น ต่างต้องพึ่งพาอาศัยกัน ไม่ควรดูหมิ่นกัน และไม่ควรริษยากัน อันเป็นเหตุให้เดือดร้อนทั้งสองฝ่าย ภราดา ! อันไม้พันธุ์ดีนั้น ถ้ายืนอยู่เดี่ยวโดด ไม่มีพันธ์ุอื่นต้านลมหรืออันตรายต่างๆ มันก็ดำรงอยู่ได้ไม่นาน คนดีหรือคนสูงก็เหมือนกัน ไม่ควรอวดดีหมิ่นคนต่ำ เพราะคนต่ำนั่นเองได้เป็นป้อมปราการ ป้องกันอันตรายให้ และเป็นฐาน รองรับให้สูงเด่นอยู่ได้ ควรมีเมตตากรุณาช่วยส่งเสริมเขา อย่างน้อยเขาต้องมีคุณอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือด้านใดด้านหนึ่งเหมือนไม้ แม้พันธ์ุไม่ดีก็ช่วยต้านลมให้ได้ เมื่อล้มตายลงก็ช่วยเป็นปุ๋ยให้ได้ จริงอยู่ เราปลูกหญ้าให้เทียมตาลไม่ได้ แต่หญ้าก็มีประโยชน์อย่างหญ้า ช่วยให้ดินเย็น เมื่อตัดให้เรียบร้อยก็ดูสวยงามและนั่งเล่นได้ เป็นต้น เจดีย์ที่สวยงามต้องมีทั้งยอดและฐานฉันใด ชุมนุมชนก็ฉันนั้น ต้องมีทั้งคนสูงและคนต่ำ คนที่เป็นยอดและเป็นฐานต่างทำหน้าที่ของตนไป ให้ชุมนุมชนดำเนินไปได้โดยสงบเรียบร้อย ในรายที่มีความทะนงตนมิได้เปิดเผยโจ่งแจ้ง ก็อย่าได้นอนใจว่าไม่มี มันอาจแอบแฝงซ่อนเร้นอยู่ลึกๆ คอยโอกาสอยู่ ใจเผลอขาดสติสัมปชัญญะเมื่อใด มันจะแสดงตนทันที บางทีก็เป็นไปอย่างหยาบคาย บางทีเป็นไปอย่างละเอียดอ่อน :b45: อหังการ หรืออัสมิมานะ คือ ความทะนงตนนั้น ให้ความลำบากยากเข็ญแก่มนุษย์มานักหนา แต่มนุษย์ก็ยังพอใจถนอมมันไว้ เหมือนดอกไม้ประดับเศียรซึ่งจะก้มลงมิได้กลัวดอกไม้หล่น มันเหมือนแผงค้ำคอ ทำให้คอแข็งหน้าเชิด แล้วเอาศีรษะกระทบกัน ต้องปวดเศียรเวียนเกล้าตามๆ กันไป ลองตรองดูเถิด ความโกรธ ความเกลียดชังกัน ความแก่งแย่งแข่งดี การคิดทำลายกัน ล้วนแตกกิ่งก้านมาจากลำต้น คือ อหังการ หรือ ทะนงตน ทั้งสิ้น ถ้าลำต้น คือ ความทะนงตน การถือตัวจัดถูกทำลายแล้ว ตัดให้ขาดแล้ว การกระทบกระทั่งย่อมไม่มี จิตสงบราบเรียบและมั่นคง เป็นความสงบสุข สมดังที่พระบรมศาสดาตรัสว่า ‘การถอนอัสมิมานะเสียได้เป็นบรมสุข’* ดังนี้ (*อสฺมิมานสฺส วินโย เอตํ เว ปรมํ สุขํ - พระไตรปิฎกเล่ม ๒๕ หน้า ๘๖ ข้อ ๕๑) :b44: วิิธีถอนอัสมิมานะนั้น ในเบื้องต้นให้พิจารณาเห็นโทษของความทะนงตน ว่า เป็นเหตุให้ทำความเสียหายนานาประการ แล้วพยายามบรรเทาด้วยความพยายามเข้าอกเข้าใจผู้อื่น ให้อภัยผู้อื่น ทิฐิมานะจะได้ลดลง การถ่อมตัวจะเพิ่มขึ้น แทนที่จะเสียหาย กลายเป็นคนน่าเคารพกราบไหว้ ส่อให้เห็นคุณธรรมภายใน ดูเถิดภราดา ! ดูส้มที่มีผลดก กิ่งย่อมโน้มน้อมลง ข้าวรวงใดเม็ดเต็มรวงย่อมน้อมลง เสมือนจะนอบน้อมโค้งให้แก่ผู้สัญจร แต่ส้มกิ่งใดตาย ไม่มีผลเลย ข้าวรวงใดลีบ ส้มกิ่งนั้นและข้าวรวงนั้นจะแข็งทื่อชี้โด่กระด้างฉันใด ในหมู่มนุษย์ก็ฉันนั้น คนใดมีคุณภายใน คนนั้นย่อมอ่อนน้อมถ่อมตน ปราศจากความกระด้าง อวดดี ถือตัวจัด มองคนไม่เป็นคน ประการสำคัญในการถอนอัสมิมานะ ก็คือ ให้มนสิการเนืองๆ ว่า ตัวตนที่แท้จริงนั้นไม่มี สิ่งทั้งปวงอาศัยกันเกิดขึ้น อาศัยปัจจัยมากมายดำเนินไป มันเป็นอนัตตาอยู่โดยแท้ เราพากันเข้าใจผิดไปเองว่ามีตัวตนที่แท้จริง คนที่ทะนงตนว่าสำคัญนั้นยังมีสิ่งอื่นที่สำคัญกว่าตนอยู่มากมาย ข้าว น้ำ เสื้อผ้า อาหาร ลมหายใจ และยาแก้โรค ล้วนแต่สำคัญกว่าบุคคลนั้นทั้งสิ้น เพราะเขาต้องอาศัยมันอยู่ทุกเมื่อเชื่อวันขาดไม่ได้ แม้คนที่ได้ประสบความสำเร็จในการงานด้านใดด้านหนึ่ง ก็หาสำเร็จไปคนเดียวได้ไม่ ต้องอาศัยปัจจัยอื่นมากมายจาระไนไม่หมดสิ้น อย่าทะนงตนไปเลย ..................................................... "เกิดดับ..เกิดแล้วไม่ดับไม่มี" โพสต์ เมื่อ: 30 ต.ค. 2014, 13:20 ภาพประจำตัวสมาชิก ออฟไลน์ Hanako Moderators-1 Moderators-1 ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ย. 2010, 20:29 โพสต์: 4518 แนวปฏิบัติ: พิจารณากาย สิ่งที่ชื่นชอบ: มณีรัตน์,พระผู้เป็นดั่งผ้าขี้ร้วห่อทอง อายุ: 33 ข้อมูลส่วนตัว รูปภาพ ในประการต่อมา พระศาสดาทรงประทานพระพุทโธวาท มิให้ยินดีในถ้อยคำอันเป็นเหตุเถียงกัน เพราะถ้าถียงกันก็มีเรื่องต้องพูดมาก เมื่อพูดมากก็เกิดความฟุ้งซ่าน จิตจะห่างเหินจากสมาธิ ภราดา ! มีคนจำนวนไม่น้อยที่ต้องการเชิดชูตนด้วยการปะทะคารมกับผู้อื่น ต้องการอวดฝีปากให้คนทั้งหลายชื่นชมว่าเป็นปราชญ์ มีปัญญามาก หาผู้เสมอเหมือนมิได้ เจตนาเช่นนั้นนำไปสู่การทะเลาะวิวาท การทะเลาะวิวาทนำไปสู่การแตกสามัคคี การแตกสามัคคีนำไปสู่ความเสื่อมนานาประการ บางประเทศต้องเสียบ้านเมืองให้แก่ข้าศึก เพราะคนในบ้านเมืองแตกสามัคคีกัน ข้อนี้มีตัวอย่างให้เห็นอยู่มากมาย วิิธีหลีกเลี่ยงถ้อยคำอันเป็นเหตุให้เถียงกัน ก็คือ อย่าพูดจาเมื่อเวลาโกรธ และอย่ายึดมั่นทิฐิของตนมากเกินไปจนกลายเป็นคนหลงตัวเอง การกระทำด้วยความหลงตัวเอง มีแต่ความผิดพลาดเป็นเบื้องหน้า ประการต่อมา ทรงโอวาทพระมหาโมคคัลลานะว่า ทรงสรรเสริญการอยู่ในเสนาสนะที่สงัด ไม่สรรเสริญการคลุกคลีด้วยหมู่คณะ ทั้งบรรพชิตและคฤหัสถ์ บรรพชิตผู้บวชแล้วมีเจตนาในการแสวงหาวิเวก เบื้องแรกต้องได้กายวิเวกก่อน จิตวิเวก คือ ความสงบทางจิตจึงจะเกิดขึ้น เมื่อความสงบจิตเกิดขึ้น อุปธิวิเวก คือ ความสงบกิเลสจึงจะตามมา ภราดา ! มีอาสวะมากมายเกิดขึ้นเพราะการคลุกคลี ไม่ว่าฝ่ายบรรพชิตหรือคฤหัสถ์ ทั้งนี้ท่านมิได้ห้ามไม่ให้ชุมนุมกันเมื่อมีกิจจำเป็น แต่เมื่อสิ้นธุระแล้วก็ควรจะอยู่อย่างสงบ เพื่อได้รู้จักตัวเองให้ดีขึ้น คนส่วนมากพยายามจะรู้จักคนอื่น วันหนึ่งๆ ให้เวลาล่วงไปด้วยการอยู่กับคนอื่น โอกาสที่จะอยู่กับตัวเองมีน้อยจึงรู้จักตัวเองน้อย ตราบใดที่บุคคลยังไม่รู้จักตัวเอง ยังไม่เข้าใจตัวเอง ตราบนั้นเขาจะพบความสงบสุขภายในไม่ได้ และจะเข้าใจผู้อื่นไม่ได้ด้วย การอยู่อย่างสงบจึงเป็นพื้นฐานแห่งการไม่เบียดเบียน เพราะผู้มีใจสงบย่อมไม่คิดเบียดเบียน* (*จากข้อความในศิลาจารึกของพระเจ้าอโศกมหาราช) :b39: เมื่อพระบรมศาสดาตรัสพระธรรมเทศนานี้จบลงแล้ว พระมหาโมคคัลลานะทูลถามว่า ด้วยข้อปฏิบัติอย่างไร ภิกษุชื่อว่าน้อมไปแล้วในธรรมเป็นที่สิ้นตัณหา มีความสำเร็จอย่างยิ่ง เกษมจากโยคธรรม*อย่างยิ่ง เป็นพรหมจารีบุคคลอย่างยิ่ง ประเสริฐกว่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย *เกษมจากโยคธรรม คือ ปลอดจากกิเลส เครื่องประกอบสัตว์ไว้ในภพ ท่านแสดงไว้ ๔ ประการ คือ กาม = ความใคร่, ภพ = เจตจำนงในการเกิดใหม่ (will to be born), ความกระหายในความเป็น (craving for existence), ทิฏฐิ = ความเห็นผิด, อวิชชา = ความไม่รู้ตามความเป็นจริง) :b40: พระศาสดาตรัสตอบว่า “โมคคัลลานะ ! ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ได้สดับว่าธรรมทั้งปวง อันใครๆ ไม่ควรยึดมั่นถือมั่น* ครั้นได้สดับดังนี้แล้ว เธอทราบธรรมทั้งปวงชัดด้วยปัญญายิ่ง ครั้นทราบธรรมทั้งปวงชัดอย่างนี้แล้ว ย่อมกำหนดรู้ธรรมทั้งปวง ครั้นกำหนดรู้ธรรมทั้งปวงดังนี้แล้ว เธอได้ประสบเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นสุขก็ดี ทุกข์ก็ดี ไม่ใช่ทุกข์ไม่ใช่สุขก็ดี ย่อมพิจารณาเห็นว่าไม่เที่ยง เมื่อเป็นดังนี้เธอย่อมมีปัญญาในทางเบื่อหน่ายในทางดับ ในทางสละคืนซึ่งเวทนา (ความรู้สึกในอารมณ์) ทั้งปวง เมื่อเป็นดังนี้ย่อมไม่ยึดมั่นสิ่งใดๆ ในโลก เมื่อไม่ยึดมั่นย่อมไม่สะดุ้งหวาดหวั่น เมื่อไม่สะดุ้งหวาดหวั่นย่อมดับกิเลสได้เฉพาะตน และทราบชัดว่า ความเกิดสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นที่จะต้องทำเพื่อความเป็นอย่างนี้ไม่มีอีกแล้ว ว่าโดยย่อข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้ และภิกษุชื่อว่าน้อมไปแล้วในธรรมเป็นที่สิ้นตัณหา มีความสำเร็จอย่างยิ่ง เกษมจากโยคธรรมอย่างยิ่ง เป็นพรหมจารีบุคคลอย่างยิ่ง ถึงที่สุดอย่างยิ่ง ประเสริฐกว่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย” (*สพฺเพ ธมฺมา นาลํ อภินิเวสาย หมายความว่า สิ่งทั้งปวง ทั้งรูปธรรม นามธรรม ทั้งสังขตธรรมและอสังขตธรรม อันบุคคลไม่ควรเข้าไปยึดมั่นถือมั่น เพราะเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ใครเข้าไปยึดมั่นถือมั่น โดยความเป็นของเที่ยง เป็นสุขและเป็นอัตตา ย่อมไม่พ้นไปจากทุกข์ได้) :b39: ภราดา ! พระพุทธโอวาทที่ว่า ธรรมทั้งปวง คือ สิ่งทั้งหลายทั้งปวงอันบุคคลไม่ควรยึดมั่นถือมั่นนั้น เป็นหัวใจสำคัญของพระพุทธศาสนา เป็นยอดแห่งธรรม อันเป็นไปเพื่อความดับทุกข์ โดยไม่มีเชื้อเหลือ คือดับทุกข์โดยสิ้นเชิง (อนุปาทาปรินิพพาน) สิ่งใดที่บุคคลเข้าไปยึดมั่นแล้วจะไม่ก่อให้เกิดทุกข์นั้นหามีไม่ แต่ในโลกนี้มีเหยื่อล่อเพื่อให้ผู้ไม่รู้เท่าทันติดอยู่ สยบอยู่ หมกมุ่นพัวพันอยู่ แล้วโลกก็นำทุกข์เจือลงไป แทรกซึมลงไว้ในสิ่งที่บุคคลติดอยู่ หมกมุ่นพัวพันอยู่นั่นเอง โลกนี้พร่องอยู่เป็นนิตย์ ใครขวนขวายให้เต็มปรารถนาในอารมณ์ของโลก ก็เหมือนตักน้ำไปรดทะเลทรายหรือเหมือนขนน้ำไปเทลงในมหาสมุทร เหนื่อยแรงเปล่า ชาวโลกจึงมีความเร่าร้อนดิ้นรน เพื่อให้เต็มความปรารถนา แต่ก็หาสำเร็จไม่ ยิ่งดื่มอารมณ์โลก สุขเวทนาอย่างโลกๆ ก็ดูเหมือนจะเพิ่มความอยากให้มากขึ้น ยิ่งดื่มน้ำเค็ม ยิ่งดื่มยิ่งกระหาย หรือเหมือนคนเกาแผลคัน ยิ่งเกายิ่งคัน ยิ่งคันยิ่งเกา วนเวียนอยู่อย่างนั้น สู้คนที่พยายามรักษาแผลให้หายแล้วไม่ต้องเกาไม่ได้ เป็นการดับที่ต้นเหตุอย่างแท้จริง พระมหาโมคคัลลานะฟังพระธรรมเทศนานั้นแล้ว ปฏิบัติตามพระพุทโธวาทได้สำเร็จพระอรหัตตผลในวันนั้น ..................................................... "เกิดดับ..เกิดแล้วไม่ดับไม่มี" โพสต์ เมื่อ: 04 พ.ย. 2014, 17:29 ภาพประจำตัวสมาชิก ออฟไลน์ Hanako Moderators-1 Moderators-1 ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ย. 2010, 20:29 โพสต์: 4518 แนวปฏิบัติ: พิจารณากาย สิ่งที่ชื่นชอบ: มณีรัตน์,พระผู้เป็นดั่งผ้าขี้ร้วห่อทอง อายุ: 33 ข้อมูลส่วนตัว ๔.) ปลดแอก รูปภาพ ถ้ำสุกรขาตาในปัจจุบัน ตั้งอยู่ ณ เชิงเขาคิชฌกูฏ เมืองราชคฤห์ รัฐพิหาร ประเทศอินเดีย อ่านเพิ่มเติม... http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=26&t=41350 :b44: ฝ่ายพระสารีบุตร เมื่อบวชแล้วได้กึ่งเดือน พักอยู่กับพระศาสดา ณ ถ้ำสุกรขาตา* บนเขาคิชฌกูฏ** เขตเมืองราชคฤห์นั่นเอง ปริพพาชกผู้หนึ่งชื่อ ทีฆนขะอัคคิเวสสนโคตร ผู้เป็นหลานของ พระสารีบุตร เที่ยวเดินตามหาลุงของตน มาพบพระสารีบุตรกำลังอยู่ถวายงานพัดพระศาสดาอยู่ เกิดความไม่พอใจ จึงกล่าวขึ้นว่า “พระโคดม ! ข้าพเจ้ามีความเห็นว่า สิ่งทั้งปวงไม่ควรแก่ข้าพเจ้า ข้าพเจ้าไม่พอใจหมด” ภราดา ! คำกล่าวทำนองนี้ เป็นการกล่าวกระทบ เป็นเชิงว่า เขาไม่พอใจพระศาสดา ผู้ให้พระสารีบุตรลุงของเขาบวช เพราะพระศาสดาก็รวมอยู่ในคำว่า ‘สิ่งทั้งปวง’ *สุกรขาตา ถ้ำซึ่งมีลักษณะเหมือนสุกรขุด อยู่ทางด้านพระคันธกุฎีที่พระพุทธองค์ประทับ **ภูเขาลูกหนึ่งในห้าลูกที่แวดล้อมนครราชคฤห์อยู่ ราชคฤห์จึงมีนามอีกอย่างหนึ่งว่า เบญจคีรีนคร คำ “คิชฌกูฏ” แปลว่ามียอดคล้ายนกแร้ง คิชฌกูฏ ห่างออกไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของตัวเมืองเก่า ประมาณ ๓ ไมล์ บางแห่งเรียกคิชฌกูฏว่า คิชฌปัพพตะ หรือคิชฌบรรพต ปัจจุบันเรียกไศลคีรี รูปภาพ พระมูลคันธกุฏี บนยอดเขาคิชฌกูฏ เมืองราชคฤห์ ประเทศอินเดีย อ่านเพิ่มเติม... http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=26&t=44857 พระผู้มีพระภาคผู้ทรงอนาวรณญาณ* ทรงแตกฉานในถ้อยคำภาษา** และความหมาย ตรัสตอบว่า “อัคคิเวสสนะ...ถ้าอย่างนั้นความเห็นอย่างนั้นก็ไม่ควรแก่ท่าน ท่านควรจะไม่ชอบความเห็นอย่างนั้นเสียด้วย” พระดำรัสตอบของพระศาสดานั้น เรียกว่า ‘ถึงใจ’ เป็นอย่างยิ่ง ทีฆนขะไม่รู้จะตอบโต้ประการใด จึงก้มหน้านิ่งอยู่ พระตถาคตเจ้าจึงตรัสต่อไปว่า “อัคคิเวสสนะ ! สมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีทิฐิว่า สิ่งทั้งปวงไม่ควรแก่เรา เราไม่ชอบใจหมด พวกหนึ่งมีทิฐิว่า สิ่งทั้งปวงควรแก่เรา เราชอบใจหมด พวกหนึ่งมีทิฐิว่าบางสิ่งควรแก่เรา เราชอบใจ บางสิ่งไม่ควรแก่เรา เราไม่ชอบใจ อัคคิเวสสนะ ! ทิฐิของสมณพราหมณ์พวกแรก เอียงไปทางความเกลียดชังสิ่งทั้งปวง ทิฐิของสมณพราหมณ์พวกที่สองเอียงไปทางกำหนัดรักใคร่สิ่งทั้งปวง ทิฐิของสมณพราหมณ์พวกที่สาม เอียงไปทางกำหนัดยินดีบางสิ่งและเกลียดชังบางสิ่ง ผู้รู้พิจารณาเห็นว่า ถ้าเราถือมั่นทิฐินั้นอย่างหนึ่งอย่างใด กล่าวว่าสิ่งนี้แลจริง สิ่งอื่นหาจริงไม่ ก็ต้องถือผิดจากคนสองพวกที่มีทิฐิไม่เหมือนตน ครั้นถือผิดกันขึ้น การวิวาทเถียงกันก็มีขึ้น ครั้นวิวาทกันมีขึ้น การพิฆาตมาดหมายก็มีขึ้น เมื่อความพิฆาตมีขึ้นการเบียดเบียนกันก็มีขึ้น ผู้รู้เห็นอย่างนี้แล้วย่อมละทิฐินั้นเสียด้วย ไม่ทำทิฐิอื่นให้เกิดขึ้นด้วย” *อนาวรณญาณ แปลว่า มีพระญาณไม่ติดขัด ไม่มีอะไรขวางกั้น ทะลุปรุโปร่ง **แตกฉานในภาษา คือ นิรุตติปฏิสัมภิทา เป็น ๑ ในปฏิสัมภิทา ๔ :b40: ครั้นแล้วทรงแสดงอุบายแห่งการละความยึดมั่นถือมั่นว่า “อัคคิเวสสนะ กายนี้เป็นของประชุมลงแห่งดิน น้ำ ลม ไฟ มีมารดาบิดาเป็นแดนเกิด เจริญขึ้นเพราะข้าวสุกและขนมนมเนย ต้องอบต้องอาบเพื่อกันกลิ่นเหม็น ต้องขัดสีมลทินอยู่เป็นนิตย์ มีความแตกกระจัดกระจายเป็นธรรมดา ผู้มีจักษุควรพิจารณาเห็นกายนี้ว่าเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ทนได้ยาก เป็นโรคเป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศรเพราะความยากลำบาก ชำรุดทรุดโทรม เป็นของว่างเปล่า ไม่ใช่ตัวตน เมื่อพิจารณาเห็นอย่างนี้ ย่อมละความพอใจรักใคร่ ความกระวนกระวายในกายเสียได้” ดูก่อน ท่านผู้แสวงสัจจะ ! ตลอดชีวิตของมนุษย์ มีอะไรเล่าจะเป็นภาระหนัก ยิ่งไปกว่าการต้องประคับประคองกายให้อยู่รอดให้เป็นไปได้ มนุษย์ต้องเหน็ดเหนื่อย ต้องทนทุกข์ทรมานเหลือเกินเพื่อกายนี้ เพื่อความอยู่รอดปลอดภัยของกายนี้ มันเหมือนแผลใหม่ ที่ต้องประคบประหงม ต้องใส่ยาทาพอกกันอยู่เนืองนิตย์... พระศาสดาจึงตรัสว่า ‘ไม่มีความทุกข์ใดเสมอด้วยการบริหารขันธ์”* *นตฺถิ ขนฺธสมา ทุกฺขา พระไตรปิฎกเล่ม ๒๕ หน้า ๔๒ ข้อ ๒๕ ..................................................... "เกิดดับ..เกิดแล้วไม่ดับไม่มี" แสดงโพสต์จาก: เรียงตาม ไป กลับไปยังกระทู้ หน้า 1 จากทั้งหมด 3 [ 33 โพสต์ ] ไปที่หน้า 1, 2, 3 ต่อไป หน้าเว็บบอร์ด » กลุ่มสาระธรรม » หนังสือธรรมะเขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง ผู้ใช้งานขณะนี้ ่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้ ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้ ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้ ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้ ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้ ค้นหาสำหรับ: ไป ไปที่: ไป Google ทั่วไป เว็บธรรมจักร ค้นหา Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007, phpBB Group Thailand Web Stat www.Stats.in.th Thai language by Mindphp.com & phpBBThailand.com
วันอังคารที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2560
อย่าเก่งเกินพระพุทธเจ้า เราอย่าประมาท เราเดินอยู่บนขอบเหวแท้ๆเลย เหมือนเ...
วันจันทร์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2560
ความประพฤติของพระโพธิสัตว์โพธิปักขิยธรรม ๓๗ (ธรรมอันเป็นฝักฝ่ายแห่งการตรัสรู้ คือเกื้อกูลแก่การตรัสรู้ ) ๑. สติปัฏฐาน ๔ ๒. สัมมัปปธาน ๔ ๓. อิทธิบาท ๔ ๔. อินทรีย์ ๕ ๕. พละ ๕ ๖. โพชฌงค์ ๗ ๗. มรรคมีองค์ ๘ สติปัฏฐาน ๔ (การตั้งสติกำหนดพิจารณาสิ่งทั้งหลายให้รู้เห็นตามความเป็นจริง ) ๑. กายานุปัสสนา สติปัฏฐาน.....(การตั้งสติกำหนดพิจารณากาย ) ๒. เวทนานุปัสสนา สติปัฏฐาน.....(การตั้งสติกำหนดพิจารณาเวทนา) ๓. จิตตานุปัสสนา สติปัฏฐาน.....(การตั้งสติกำหนดพิจารณาจิต ) ๔. ธัมมานุปัสสนา สติปัฏฐาน.....(การตั้งสติกำหนดพิจารณาธรรม) (พระไตรปิฏกฉบับหลวง เล่ม ๑๐ ข้อ ๒๗๓-๓๐๐) สัมมัปปธาน ๔ (ความเพียรอันชอบธรรม) ๑. สังวรปธาน (เพียรระวังยับยั้งบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด มิให้เกิดขึ้น) ๒. ปหานปธาน (เพียรละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว) ๓. ภาวนาปธาน (เพียรทำกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ให้เกิดมีขึ้น) ๔. อนุรักขนาปธาน (เพียรรักษากุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วให้ตั้งมั่น และให้เจริญยิ่งขึ้นไปจนไพบูลย์) (พระไตรปิฏกฉบับหลวง เล่ม ๒๑ ข้อ ๖๙) อิทธิบาท ๔ (คุณธรรมที่นำไปสู่ความสำเร็จแห่งผลที่มุ่งหมาย) ๑. ฉันทะ (ความยินดีพอใจในกุศล) ๒. วิริยะ (ความเพียรเข้มแข็ง อดทน เอาธุระไม่ท้อถอยในกุศล) ๓. จิตตะ (เอาจิตฝักใฝ่ในกุศล ไม่ปล่อยใจให้ โลภะ โทสะ โมหะ ครอบงำ ) ๔. วิมังสา (ใช้ปัญญาพิจารณาใคร่ครวญคิดค้น ปรับปรุงแก้ไข ไม่หยุดอยู่ในกุศล) (พระไตรปิฏกฉบับหลวง เล่ม ๑๑ ข้อ ๒๓๑) อินทรีย์ ๕ (ธรรมอันเป็นใหญ่) ๑. สัทธินทรีย์ (อินทรีย์คือ ศรัทธา) ๒. วิริยินทรีย์ (อินทรีย์คือ วิริยะ) ๓. สตินทรีย์ (อินทรีย์คือ สติ) ๔. สมาธินทรีย์ (อินทรีย์คือ สมาธิ) ๕. ปัญญินทรีย์ (อินทรีย์คือ ปัญญา) (พระไตรปิฏกฉบับหลวง เล่ม ๑๑ ข้อ ๓๐๐) พละ ๕ (ธรรมอันเป็นกำลัง) ๑. สัทธาพละ (กำลังคือศรัทธา) ๒. วิริยพละ (กำลังคือวิริยะ) ๓. สติพละ (กำลังคือสติ) ๔. สมาธิพละ (กำลังคืสมาธิ) ๕. ปัญญาพละ (กำลังคือปัญญา) (พระไตรปิฏกฉบับหลวง เล่ม ๒๒ ข้อ ๑๓) โพชฌงค์ ๗ (ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้) ๑. สติ (ความระลึกได้) เปรียบเหมือนจักรแก้ว ๒. ธัมมวิจยะ (ความเฟ้นธรรม) เปรียบเหมือนช้างแก้ว ๓. วิริยะ (ความเพียร) เปรียบเหมือนม้าแก้ว ๔. ปีติ (ความอิ่มใจ) เปรียบเหมือนแก้วมณี ๕. ปัสสัทธิ (ความสงบจากกิเลส) เปรียบเหมือนนางแก้ว ๖. สมาธิ (ความมีใจตั้งมั่น) เปรียบเหมือน คหบดีแก้ว ๗. อุเบกขา (ความมีใจเป็นกลาง เพราะเห็นตามความเป็นจริง) เปรียบเหมือนปริณายกแก้ว (พระไตรปิฏกฉบับหลวง เล่ม ๑๑ ข้อ ๓๒๗) มรรคมีองค์ ๘ ๑. สัมมาทิฏฐิ ปัญญาอันเห็นชอบ คือเห็นอริยสัจ ๔. ๒. สัมมาสังกัปปะ ดำริชอบ คือ ดำริจะออกจากกาม ๑. ดำริในอันไม่พยาบาท ๑. ดำริในอันไม่เบียดเบียน ๑. ๓. สัมมาวาจา เจรจาชอบ คือเว้นจากวจีทุจริต ๔. ๔. สัมมากัมมันตะ ทำการงานชอบคือเว้นจากกายทุจริต ๓ ๕. สัมมาอาชีวะ เลี้ยงชีวิตชอบ คือเว้นจากความเลี้ยงชีวิตโดยทางที่ผิด. ๖. สัมมาวายามะ เพียรชอบ คือเพียรในที่ ๔ สถาน. ๗. สัมมาสติ ระลึกชอบ คือระลึกในสติปัฏฐาน ๔. ๘. สัมมาสมาธิ ตั้งใจไว้ชอบ คือเจริญฌานทั้ง ๔. …………………………………………. “โพธิปักขิยธรรม” ธรรมปราบมาร ท่านได้จาร ไว้ใน ปิฎกสาม สามสิบเจ็ด ธัมมา สง่างาม ควรติดตาม ฝึกไว้ ให้คล่องจินต์ องค์ที่หนึ่ง ให้ตรึง ฐานที่มั่น ถูกมารรัน โรมรุด อย่าหยุดถวิล สติมั่น ในฐาน เป็นอาจิณ สติสิ้น ก็จะจบ พบปราชัย ธรรมนั้นคือ สติปัฏฐาน ทั้งสี่นั่น รู้แจ้งพลัน จิตจะสม ดั่งหมายได้ ทั้งกายา เวทนา ฐานมั่นไว้ จิตตาไซร้ อีกธัมมา รักษาญาณ ในองค์ธรรม ที่สอง จิตต้องสู้ ต้องเรียนรู้ เพียรละ และประหาน เพียรสร้างสม บ่มจิตไว้ ให้ทรงฌาน สัมมัปปธาน ทั้งสี่พร้อม น้อมสู่ตน ธรรมที่สาม ประสานสี่ คือ อินทรีย์ ทำหน้าที่ เป็นใหญ่ ไม่สับสน เป็นธรรมเกิด ร่วม พละ ทั้งห้าดล เพื่อหลุดพ้น การครอบ ของหมู่มาร ธรรมที่ห้า โพชฌังคา ทั้งเจ็ดนั่น เป็นองค์ธรรม์ ที่ตรัสรู้ ผู้ประสาน มีสติ วิริยะ ธัมมวิจารณ์ (ธัมมวิจัย) ปีติสาน ปัสสัทธิ สมาธิครอง (และอุเบกขา) ยี่สิบห้า องค์ธรรม ยังมิจบ ยังไม่ครบ ธรรมเอกที่ มิมีสอง ทางประเสริฐ อริยมรรค คือครรลอง จะประคอง เข้าสู่ทาง แห่งสัมมา กลุ่มสุดท้าย อิทธิบาท ทั้งสี่นั่น รวบรวมกัน ประสานธรรม ให้แน่นหนา ทั้งสามสิบเจ็ด เกิดร่วม ในจิตตา หยุดสังสาร์ หลุดวัฏฏา พานิพพาน ที่มา http://www.dhammathai.org/ ……………………………………….. ไร้โพธิปักขิยธรรม ไร้นิพพาน ดูกร ภิกษุทั้งหลาย แม้เราก็ไม่ได้เห็น ไม่ได้ฟังมาแล้วว่า สมณะหรือพราหมณ์ ประกอบการนอนสบาย(เสยยะสุขัง) เอนข้างสบาย(ปัสสะสุขัง) นอนหลับสบาย(มิทธะสุขัง) ตามประสงค์ ไม่คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ไม่รู้ประมาณในโภชนะ ไม่ประกอบความเพียร ไม่เห็นแจ้งกุศลธรรมทั้งหลาย. ไม่ประกอบการเจริญโพธิปักขิยธรรม ทั้งเบื้องต้น และเบื้องปลายแห่งวันคืนแล้วกระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบันเข้าถึงอยู่ ดูกร ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราทั้งหลายจักเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย จักเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลายจักเป็นผู้รู้ประมาณในโภชนะ จักเป็นผู้ประกอบความเพียร จักเป็นผู้เห็นแจ้งกุศลธรรมทั้งหลายจักประกอบการเจริญโพธิปักขิยธรรม ทั้งเบื้องต้น และเบื้องปลายแห่งวันคืนอยู่ ดูกร ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แล (พุทธพจน์จากพระไตรปิฏก ฉบับหลวง เล่ม ๒๒ ข้อ ๒๘๘) โพธิปักขิยธรรม ความอัศจรรย์ของพุทธ ดูกร ปหาราทะ มหาสมุทรมีรัตนะมากมาย หลายชนิด รัตนะในมหาสมุทรนั้นมีดังนี้คือ แก้วมุกดาแก้วมณี แก้วไพฑูรย์ สังข์ ศิลา แก้วประพาฬ เงิน ทอง ทับทิม มรกต ฉันใด ดูกร ปหาราทะ ฉันนั้นเหมือนกัน ธรรมวินัยนี้ ก็มีรัตนะมากมายหลายชนิด รัตนะในธรรมวินัยนั้นมีดังนี้ คือ สติปัฏฐาน ๔ , สัมมัปปธาน ๔ , อิทธิบาท ๔ , อินทรีย์ ๕ , พละ ๕ ,โพชฌงค์ ๗ , มรรคมีองค์ ๘ ดูกร ปหาราทะ ข้อที่ ธรรมวินัยนี้ มีรัตนะมากมายหลายชนิด รัตนะในธรรมวินัยนั้นมีดังนี้ คือสติปัฏฐาน ๔ , สัมมัปปธาน ๔ , อิทธิบาท ๔ , อินทรีย์ ๕ , พละ ๕ , โพชฌงค์ ๗ , มรรคมีองค์ ๘ นี้เป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์ อันไม่เคยมีมา ที่ภิกษุทั้งหลายเห็นแล้ว ๆ จึงอภิรมย์อยู่ (ปหาราทสูตร จากพระไตรปิฏก ฉบับหลวง เล่ม ๒๓ ข้อ ๑๐๙) ผู้เจริญโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุไม่หมั่นเจริญภาวนาแม้จะพึงเกิดความปรารถนาขึ้นอย่างนี้ว่า โอหนอ ขอจิตของเราพึงหลุดพ้นจากอาสวะเพราะไม่ถือมั่นก็จริง แต่จิตของภิกษุนั้นย่อมไม่หลุดพ้นจากอาสวะ เพราะไม่ถือมั่น ข้อนั้นเพราะเหตุไร จะพึงกล่าวได้ว่า เพราะไม่ได้เจริญ เพราะไม่ได้เจริญอะไร เพราะไม่ได้เจริญสติปัฏฐาน ๔ , สัมมัปปธาน ๔ , อิทธิบาท ๔ , อินทรีย์ ๕ , พละ ๕ , โพชฌงค์ ๗ , อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ เปรียบเหมือนแม่ไก่ มีไข่อยู่ ๘ ฟอง ๑๐ ฟอง หรือ ๑๒ ฟอง ไข่เหล่านั้น แม่ไก่กกไม่ดีให้ความอบอุ่นไม่พอ ฟักไม่ดี แม่ไก่นั้น แม้จะเกิดความปรารถนาขึ้นอย่างนี้ว่า โอหนอขอให้ลูกเราพึงใช้ปลายเล็บเท้า หรือจะงอยปากเจาะกระเปาไข่ ฟักตัวออกมาโดยสวัสดีก็จริงแต่ลูกไก่เหล่านั้นไม่สามารถที่จะใช้ปลายเล็บเท้าหรือจะงอยปากเจาะกระเปาไข่ ฟักตัวออกมาโดยสวัสดีได้ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะแม่ไก่กกไม่ดี ให้ความอบอุ่นไม่พอ ฟักไม่ดี ฉะนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุหมั่นเจริญภาวนา แม้จะไม่พึงเกิดความปรารถนาอย่างนี้ว่า โอหนอขอจิตของเราพึงหลุดพ้นจากอาสวะ เพราะไม่ถือมั่น ก็จริง แต่จิตของภิกษุนั้นย่อมหลุดพ้นจากอาสวะเพราะไม่ถือมั่น ข้อนั้นเพราะเหตุไร พึงกล่าวได้ว่า เพราะเจริญ เพราะเจริญอะไร เพราะสติปัฏฐาน ๔ , สัมมัปปธาน ๔ ,อิทธิบาท ๔ , อินทรีย์ ๕ , พละ ๕ , โพชฌงค์ ๗ , อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ เปรียบเหมือนแม่ไก่ มีไข่อยู่ ๘ ฟอง ๑๐ ฟอง หรือ ๑๒ ฟอง ไข่เหล่านั้น แม่ไก่กกดีให้ความอบอุ่นเพียงพอ ฟักดี แม้แม่ไก่นั้น แม้จะไม่พึงปรารถนาขึ้นอย่างนี้ว่า โอหนอขอให้ลูกเราพึงใช้ปลายเล็บเท้า หรือจะงอยปากเจาะกระเปาไข่ ฟักตัวออกมาโดยสวัสดีก็จริงแต่ลูกไก่เหล่านั้นก็สามารถที่จะใช้ปลายเล็บเท้าหรือจะงอยปากเจาะกระเปาไข่ ฟักตัวออกมาโดยสวัสดีได้ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะไข่เหล่านั้นแม่ไก่กกดี ให้ความอบอุ่นเพียงพอ ฟักดี ฉะนั้น ฯ เปรียบเหมือนรอยนิ้วมือ รอยนิ้วหัวแม่มือที่ด้ามมีดย่อมปรากฏแก่นายช่างไม้หรือลูกมือนายช่างไม้แต่เขาไม่รู้อย่างนี้ว่า วันนี้ด้ามมีดของเราสึกไปเท่านี้เมื่อวานสึกไปเท่านี้ หรือเมื่อวานซืนสึกไปเท่านี้ ที่จริง เมื่อด้ามมีดสึกไป เขาก็รู้ว่าสึกไปนั่นเทียว ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุหมั่นเจริญภาวนาอยู่ก็ฉันนั้นเหมือนกัน แม้จะไม่รู้อย่างนี้ว่าวันนี้ อาสวะของเราสิ้นไปเท่านี้ เมื่อวานสิ้นไปเท่านี้ หรือเมื่อวานซืนสิ้นไปเท่านี้ แต่ที่จริงเมื่ออาสวะสิ้นไป ภิกษุนั้นก็รู้ว่าสิ้นไปนั้นเทียว ฯ เปรียบเหมือนเรือเดินสมุทรที่เขาผูกหวาย ขันชะเนาะแล้วแล่นไปในน้ำตลอด ๖ เดือนถึงฤดูหนาวเข็นขึ้นบก เครื่องผูกประจำเรือตากลมและแดดไว้ เครื่องผูกเหล่านั้นถูกฝนชะ ย่อมชำรุดเสียหายเป็นของเปื่อยไป โดยไม่ยาก ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุหมั่นเจริญภาวนาอยู่สังโยชน์ย่อมสงบระงับไปโดยไม่ยาก ก็ฉันนั้นเหมือนกันแล ภาวนาสูตร รุกขสูตรที่ ๑ ปัญญินทรีย์เป็นยอดแห่งโพธิปักขิยธรรม ดูกรภิกษุทั้งหลาย ต้นไม้ในชมพูทวีปชนิดใดชนิดหนึ่ง ต้นหว้าโลกกล่าวว่า เป็นยอดของต้นไม้เหล่านั้น แม้ฉันใด โพธิปักขิยธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ปัญญินทรีย์ บัณฑิตกล่าวว่า เป็นยอดแห่งโพธิปักขิยธรรมเหล่านั้น เพราะเป็นไปเพื่อความตรัสรู้ ฉันนั้นเหมือนกัน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็โพธิปักขิยธรรมเป็นไฉน? คือ สัทธินทรีย์เป็นโพธิปักขิยธรรม ย่อมเป็นไปเพื่อความตรัสรู้ ฯลฯ ปัญญินทรีย์ เป็นโพธิปักขิยธรรม ย่อมเป็นไปเพื่อความตรัสรู้. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ต้นไม้ในชมพูทวีปชนิดใดชนิดหนึ่ง ต้นหว้าโลกกล่าวว่า เป็นยอดแห่งต้นไม้เหล่านั้น แม้ฉันใด โพธิปักขิยธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ปัญญินทรีย์บัณฑิตกล่าวว่า เป็นยอดแห่งโพธิปักขิยธรรมเหล่านั้น เพราะเป็นไปเพื่อความตรัสรู้ ฉันนั้นเหมือนกัน. รุกขสูตรที่ ๒ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ต้นไม้ของเทวดาชั้นดาวดึงส์ชนิดใดชนิดหนึ่ง ต้นปาริฉัตตกะ โลกกล่าวว่า เป็นยอดของต้นไม้เหล่านั้น แม้ฉันใด โพธิปักขิยธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่งปัญญินทรีย์ บัณฑิตกล่าวว่า เป็นยอดแห่งโพธิปักขิยธรรมเหล่านั้น เพราะเป็นไปเพื่อความตรัสรู้ฉันนั้นเหมือนกัน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็โพธิปักขิยธรรมเป็นไฉน? คือ สัทธินทรีย์ เป็นโพธิปักขิยธรรม ย่อมเป็นไปเพื่อความตรัสรู้ ฯลฯ ปัญญินทรีย์เป็นโพธิปักขิยธรรม ย่อมเป็นไปเพื่อความตรัสรู้. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ต้นไม้ของเทวดาชั้นดาวดึงส์ชนิดใดชนิดหนึ่ง ต้นปาริฉัตตกะ โลกกล่าวว่า เป็นยอดของต้นไม้เหล่านั้น แม้ฉันใด โพธิปักขิยธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่งปัญญินทรีย์ บัณฑิตกล่าวว่า เป็นยอดแห่งโพธิปักขิยธรรมเหล่านั้น เพราะเป็นไปเพื่อความตรัสรู้ฉันนั้นเหมือนกัน. รุกขสูตรที่ ๓ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ต้นไม้ของพวกอสูรชนิดใดชนิดหนึ่ง ต้นจิตตปาฏลีโลกกล่าวว่า เป็นยอดของต้นไม้เหล่านั้น แม้ฉันใด โพธิปักขิยธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ปัญญินทรีย์บัณฑิตกล่าวว่า เป็นยอดแห่งโพธิปักขิยธรรมเหล่านั้น เพราะเป็นไปเพื่อความตรัสรู้ ฉันนั้นเหมือนกัน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็โพธิปักขิยธรรมเป็นไฉน? คือ สัทธินทรีย์ เป็นโพธิปักขิยธรรม ย่อมเป็นไปเพื่อความตรัสรู้ ฯลฯ ปัญญินทรีย์เป็นโพธิปักขิยธรรม ย่อมเป็นไปเพื่อความตรัสรู้. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ต้นไม้ของพวกอสูรชนิดใดชนิดหนึ่ง ต้นจิตตปาฏลีโลกกล่าวว่า เป็นยอดของต้นไม้เหล่านี้ แม้ฉันใด โพธิปักขิยธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ปัญญินทรีย์บัณฑิตกล่าวว่า เป็นยอดแห่งโพธิปักขิยธรรมเหล่านั้น เพราะเป็นไปเพื่อความตรัสรู้ ฉันนั้นเหมือนกัน. รุกขสูตรที่ ๔ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ต้นไม้ของพวกครุฑชนิดใดชนิดหนึ่ง ต้นโกฏสิมพลี(ไม้งิ้วป่า) โลกกล่าวว่า เป็นยอดของต้นไม้เหล่านั้น แม้ฉันใด โพธิปักขิยธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่งปัญญินทรีย์ บัณฑิตกล่าวว่า เป็นยอดแห่งโพธิปักขิยธรรมเหล่านั้น เพราะเป็นไปเพื่อความตรัสรู้ฉันนั้นเหมือนกัน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย โพธิปักขิยธรรมเป็นไฉน? คือ สัทธินทรีย์ เป็นโพธิปักขิยธรรม ย่อมเป็นไปเพื่อความตรัสรู้ ฯลฯ ปัญญินทรีย์ เป็นโพธิปักขิยธรรม ย่อมเป็นไปเพื่อความตรัสรู้. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ต้นไม้ของพวกครุฑชนิดใดชนิดหนึ่ง ต้นโกฏสิมพลีโลกกล่าวว่า เป็นยอดของต้นไม้เหล่านั้น แม้ฉันใด โพธิปักขิยธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ปัญญินทรีย์บัณฑิตกล่าวว่า เป็นยอดแห่งโพธิปักขิยธรรมเหล่านั้น เพราะเป็นไปเพื่อความตรัสรู้ ฉันนั้น โกสลสูตร ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ โกสลพราหมณคาม ในแคว้นโกศล ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาแล้วตรัสว่า. ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาสัตว์ดิรัจฉานทุกจำพวก สีหมฤคราช โลกกล่าวว่า เป็นยอดของสัตว์เหล่านั้น เพราะมีกำลัง มีฝีเท้า มีความกล้า ฉันใด บรรดาโพธิปักขิยธรรมทุกอย่าง ปัญญินทรีย์ เรากล่าวว่า เป็นยอดแห่งโพธิปักขิยธรรมเหล่านั้น เพราะเป็นไปเพื่อความตรัสรู้ ฉันนั้นเหมือนกัน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็โพธิปักขิยธรรมเป็นไฉน? คือ สัทธินทรีย์ เป็นโพธิปักขิยธรรม ย่อมเป็นไปเพื่อความตรัสรู้ วิริยินทรีย์ ... สตินทรีย์ ... สมาธินทรีย์ ... ปัญญินทรีย์เป็นโพธิปักขิยธรรม ย่อมเป็นไปเพื่อความตรัสรู้. ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาสัตว์ดิรัจฉานทุกจำพวก สีหมฤคราช โลกกล่าวว่า เป็นยอดของสัตว์เหล่านั้น เพราะมีกำลัง มีฝีเท้า มีความกล้า ฉันใด บรรดาโพธิปักขิยธรรมทุกอย่าง ปัญญินทรีย์ เรากล่าวว่า เป็นยอดแห่งโพธิปักขิยธรรมเหล่านั้น เพราะเป็นไปเพื่อความตรัสรู้ ฉันนั้นเหมือนกัน. สารสูตร ดูกรภิกษุทั้งหลาย รอยเท้าของสัตว์ผู้เที่ยวไปบนพื้นแผ่นดิน ชนิดใดชนิดหนึ่ง รอยเท้าเหล่านั้นทั้งหมด ย่อมรวมลงในรอยเท้าช้าง รอยเท้าช้าง โลกกล่าวว่าเป็นยอดของรอยเท้าเหล่านั้น เพราะเป็นรอยใหญ่ แม้ฉันใด บทแห่งธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ย่อมเป็นไปเพื่อความตรัสรู้ บท คือ ปัญญินทรีย์ เรากล่าวว่า เป็นยอดของบทแห่งธรรมเหล่านั้นเพราะเป็นไปเพื่อความตรัสรู้ ฉันนั้นเหมือนกัน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ไม้มีกลิ่นที่แก่นชนิดใดชนิดหนึ่ง จันทน์แดง โลกกล่าวว่าเป็นยอดของไม้เหล่านั้น แม้ฉันใด โพธิปักขิยธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ปัญญินทรีย์ เรากล่าวว่า เป็นยอดแห่งโพธิปักขิยธรรมเหล่านั้น เพราะเป็นไปเพื่อความตรัสรู้ ฉันนั้นเหมือนกัน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็โพธิปักขิยธรรมเป็นไฉน? คือ สัทธินทรีย์ ...วิริยินทรีย์ ... สตินทรีย์ ... สมาธินทรีย์ ... ปัญญินทรีย์ เป็นโพธิปักขิยธรรม ย่อมเป็นไปเพื่อความตรัสรู้. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ไม้มีกลิ่นที่แก่นชนิดใดชนิดหนึ่ง จันทน์แดง โลกกล่าวว่าเป็นยอดของไม้เหล่านั้น แม้ฉันใด โพธิปักขิยธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ปัญญินทรีย์ เรากล่าวว่าเป็นยอดแห่งโพธิปักขิยธรรมเหล่านั้น เพราะเป็นไปเพื่อความตรัสรู้ ฉันนั้นเหมือนกัน. กัลยาณสูตร ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้มีศีลงาม มีธรรมงาม มีปัญญางามเรากล่าวว่าเป็นพระอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์ เป็นบุรุษผู้สูงสุดในธรรมวินัยนี้ ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้มีศีลงามอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศีลสำรวมแล้วด้วยความสำรวมในปาติโมกข์ ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจรมีปรกติเห็นภัยในโทษมีประมาณน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้มีศีลงามอย่างนี้แล ภิกษุเป็นผู้มีศีลงามด้วยประการดังนี้ ฯ ภิกษุเป็นผู้มีธรรมงามอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้ประกอบด้วยความเพียรในการเจริญโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการเนืองๆ ดูกรภิกษุทั้งหลายภิกษุเป็นผู้มีธรรมงามอย่างนี้แล ภิกษุเป็นผู้มีศีลงาม มีธรรมงาม ด้วยประการดังนี้ ฯ ภิกษุเป็นผู้มีปัญญางามอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้กระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้มีปัญญางามอย่างนี้แล ภิกษุเป็นผู้มีศีลงาม มีธรรมงาม มีปัญญางาม ด้วยประการดังนี้ เรากล่าวว่า เป็นพระอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์ เป็นบุรุษสูงสุดในธรรมวินัยนี้ ฯ ดูกรวาเสฏฐะและภารทวาชะ กษัตริย์ก็ดี ... พราหมณ์ก็ดี ... แพศย์ก็ดี ... ศูทรก็ดี ... สำรวมกาย สำรวมวาจา สำรวมใจ อาศัยการเจริญโพธิปักขิยธรรม ทั้ง ๗ แล้ว ย่อมปรินิพพานในปัจจุบันนี้ทีเดียว ฯ สัททสูตร ดูกรภิกษุทั้งหลาย เสียง (ที่เกิดขึ้นเพราะปีติ) ของเทวดา๓ อย่างนี้ย่อมเปล่งออกไปในเหล่าเทวดาเพราะอาศัยสมัยแต่สมัย ๓ อย่างเป็นไฉนดูกรภิกษุทั้งหลาย ในสมัยใด พระอริยสาวกย่อมคิดเพื่อจะปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสายะ ออกบวชเป็นบรรพชิต ในสมัยนั้น เสียงของเทวดาย่อมเปล่งออกไปในเหล่าเทวดาว่าพระอริยสาวกนี้ย่อมคิดเพื่อทำสงครามกับมาร ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นเสียงของเทวดาข้อที่ ๑ ย่อมเปล่งออกไปในเหล่าเทวดาเพราะอาศัยสมัยแต่สมัย ฯ อีกประการหนึ่ง ในสมัยใด พระอริยสาวกประกอบความเพียรในการเจริญโพธิปักขิยธรรม๗ ประการ ในสมัยนั้น เสียงของเทวดาย่อมเปล่งออกไปในเหล่าเทวดาว่า พระอริยสาวกนั้นทำสงครามกับมาร ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นเสียงของเทวดา ข้อที่ ๒ ย่อมเปล่งออกไปในเหล่าเทวดาเพราะอาศัยสมัยแต่สมัย อีกประการหนึ่ง ในสมัยใด พระอริยสาวกกระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติปัญญาวิมุติอันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ในสมัยนั้น เสียงของเทวดาย่อมเปล่งออกไปในเหล่าเทวดาว่า พระอริยสาวกนี้พิชิตสงครามชนะแดนแห่งสงครามนั้นแล้วครอบครองอยู่ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นเสียงของเทวดาข้อที่ ๓ย่อมเปล่งออกไปในเหล่าเทวดาเพราะอาศัยสมัยแต่สมัย ดูกรภิกษุทั้งหลาย เสียงของเทวดา ................................ ความสำคัญของโพธิปักขิยธรรมในมิลินทปัญหา พระเจ้ามิลินท์ได้ตรัสถามว่า “ดูก่อนพระนาคเสน พระคุณเจ้าเคยเห็นพระพุทธเจ้าหรือไม่” พระนาคเสนตอบว่า “ขอถวายพระพร ไม่เคยเห็น” พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามต่อว่า “แล้วอาจารย์ของพระคุณเจ้า อาจารย์เคยเห็นพระพุทธเจ้าหรือไม่” พระนาคเสนทูลตอบไปว่า “ตัวอาจารย์ก็ไม่เคยเห็นเหมือนกัน” พระเจ้ามิลินท์จึงตรัสสรุปว่า “พระพุทธเจ้าไม่มีอยู่จริง เพราะไม่มีใครเคยเห็น” พระนาคเสนท่านจึงย้อนกลับทูลถามพระเจ้ามิลินท์ว่า “อาตมาภาพขอถามพระองค์ว่า ปฐมกษัตริย์ผู้ตั้งราชวงศ์ของพระองค์มีหรือไม่” พระเจ้ามิลินท์ตรัสตอบว่า “มีสิพระคุณเจ้า” แล้วพระนาคเสนทูลถามต่อว่า “แล้วพระองค์เคยทอดพระเนตรเห็นปฐมวงศ์กษัตริย์ของพระองค์หรือไม่” พระเจ้ามิลินท์ตรัสตอบว่า “ไม่เคยเห็น” พระนาคเสนจึงทูลถามต่อไปว่า “พวกปุโรหิตาจารย์ ราชอำมาตย์ของพระองค์ผู้แก่เฒ่าเคยบ้างหรือไม่” (หมายถึงพวกที่อยู่ยาวๆ นาน อย่างเช่น ราชวงศ์จักรี พระพันวษา อัยยิกาเจ้า อยู่มาถึง ๖ แผ่นดินที่เป็นพระอัยยิกาของในหลวงองค์ปัจจุบันมีอายุ ๖ ขวบ ในสมัยรัชกาลที่ ๔ แล้วก็อยู่มาจนถึงรัชกาลที่ ๙ อยู่มาถึง ๖ แผ่นดิน เพราะฉะนั้นก็อาจจะมีพวกข้าราชบริพารพวกปุโรหิตาจารย์ที่อายุยืนๆ) พระนาคเสนจึงต้องทูลถามว่า “มีข้าราชบริพารพระองค์ไหนที่เคยเห็นหรือไม่” พระเจ้ามิลินท์ตรัสตอบว่า “ไม่เคยเห็น” พระนาคเสนก็ใช้เหตุผลหนามยอกเอาหนามบ่ง แล้วทูลต่อไปว่า “ถ้าอย่างนั้นอาตมาก็ขอบอกว่า ปฐมกษัตริย์ของพระองค์ก็ไม่มีเหมือนกัน” พระเจ้ามิลินท์ตรัสให้เหตุผลว่า “จะบอกว่าไม่มีได้อย่างไรพระคุณเจ้า เนื่องจากว่ามันมีราชสมบัติที่ตกทอดกันมา เขาเรียก เครื่องราชกกุธภัณฑ์ ซึ่งเป็นเครื่องใช้สอยของพระราชาเวลาขึ้นครองราชย์ แล้วตกทอดกันมา เป็นต้นว่า เศวตฉัตร มหามงกุฎ ฉลองพระบาท พัดวาลวิชนี พระขรรค์แก้ว ทั้งหมดเหล่านี้เป็นของที่ปรากฏมาตั้งแต่ปฐมวงศ์แล้วตกทอดมา เพราะฉะนั้นพระคุณเจ้าจะบอกว่า ปฐมวงศ์ของโยมไม่มีได้อย่างไร” พระนาคเสนทูลว่า “ถ้ามหาบพิตรอ้างอย่างนี้ อาตมาก็อ้างได้เหมือนกัน พระพุทธเจ้ามีจริงหลักฐานที่เป็นเครื่องยืนยันก็คือ โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ เหมือนเครื่องราชกกุธภัณฑ์ของพระองค์เหมือนกัน ก็คือ สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ เรื่องความเพียร ๔ ประการ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘ ตั้งแต่สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ” ท่านก็เลยสรุปว่า “มหาบพิตร ก็โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ ที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนก็ยังเป็นหลักธรรมที่มีอยู่ ทุกคนก็เข้าใจกันอยู่ การที่ยังมีโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ ทำให้อนุมานได้ว่า พระพุทธเจ้ามีจริง แล้วพระองค์เป็นผู้ที่ฉลาดที่สุด เหมือนกับที่มหาบพิตรยืนยันว่า ปฐมวงศ์ของมหาบพิตรมี เพราะอาศัยจากการอนุมานจากเครื่องราชกกุธภัณฑ์ซึ่งเป็นราชสมบัติเป็นมรดกตกทอด ฉันใดก็ฉันนั้น” พระเจ้ามิลินท์ตรัสตอบไปว่า “โยมฟังแล้วก็มีเหตุผล แต่โยมอยากจะให้พระคุณเจ้ายกตัวอย่างขึ้นมาเปรียบเทียบให้ฟังให้ดูซะหน่อย” พระนาคเสนจึงทูลว่า “มหาบพิตรก็เหมือนนายช่างที่ก่อสร้างซึ่งเป็นผู้ฉลาด เป็นสถาปนิกผู้เฉลียวฉลาด ก่อนจะสร้างเมืองต้องวางแผนผัง วางรูปโครงสร้างพระนคร ให้มีองค์ประกอบที่เหมาะสม มีทั้งบ้าน มีทั้งวัง มีโรงมหรสพ มีถนนหนทาง เพื่อทำให้ผู้อาศัยได้รับสันติสุข การจราจรไม่ติดขัดฉันใด แม้พระพุทธเจ้าก็ทรงสร้างธรรมนครอันวิจิตรตระการตาขึ้นอย่างสวยงามและมั่นคงฉันนั้น”
ความประพฤติของพระโพธิสัตว์โพธิปักขิยธรรม ๓๗ (ธรรมอันเป็นฝักฝ่ายแห่งการตรัสรู้ คือเกื้อกูลแก่การตรัสรู้ ) ๑. สติปัฏฐาน ๔ ๒. สัมมัปปธาน ๔ ๓. อิทธิบาท ๔ ๔. อินทรีย์ ๕ ๕. พละ ๕ ๖. โพชฌงค์ ๗ ๗. มรรคมีองค์ ๘ สติปัฏฐาน ๔ (การตั้งสติกำหนดพิจารณาสิ่งทั้งหลายให้รู้เห็นตามความเป็นจริง ) ๑. กายานุปัสสนา สติปัฏฐาน.....(การตั้งสติกำหนดพิจารณากาย ) ๒. เวทนานุปัสสนา สติปัฏฐาน.....(การตั้งสติกำหนดพิจารณาเวทนา) ๓. จิตตานุปัสสนา สติปัฏฐาน.....(การตั้งสติกำหนดพิจารณาจิต ) ๔. ธัมมานุปัสสนา สติปัฏฐาน.....(การตั้งสติกำหนดพิจารณาธรรม) (พระไตรปิฏกฉบับหลวง เล่ม ๑๐ ข้อ ๒๗๓-๓๐๐) สัมมัปปธาน ๔ (ความเพียรอันชอบธรรม) ๑. สังวรปธาน (เพียรระวังยับยั้งบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด มิให้เกิดขึ้น) ๒. ปหานปธาน (เพียรละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว) ๓. ภาวนาปธาน (เพียรทำกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ให้เกิดมีขึ้น) ๔. อนุรักขนาปธาน (เพียรรักษากุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วให้ตั้งมั่น และให้เจริญยิ่งขึ้นไปจนไพบูลย์) (พระไตรปิฏกฉบับหลวง เล่ม ๒๑ ข้อ ๖๙) อิทธิบาท ๔ (คุณธรรมที่นำไปสู่ความสำเร็จแห่งผลที่มุ่งหมาย) ๑. ฉันทะ (ความยินดีพอใจในกุศล) ๒. วิริยะ (ความเพียรเข้มแข็ง อดทน เอาธุระไม่ท้อถอยในกุศล) ๓. จิตตะ (เอาจิตฝักใฝ่ในกุศล ไม่ปล่อยใจให้ โลภะ โทสะ โมหะ ครอบงำ ) ๔. วิมังสา (ใช้ปัญญาพิจารณาใคร่ครวญคิดค้น ปรับปรุงแก้ไข ไม่หยุดอยู่ในกุศล) (พระไตรปิฏกฉบับหลวง เล่ม ๑๑ ข้อ ๒๓๑) อินทรีย์ ๕ (ธรรมอันเป็นใหญ่) ๑. สัทธินทรีย์ (อินทรีย์คือ ศรัทธา) ๒. วิริยินทรีย์ (อินทรีย์คือ วิริยะ) ๓. สตินทรีย์ (อินทรีย์คือ สติ) ๔. สมาธินทรีย์ (อินทรีย์คือ สมาธิ) ๕. ปัญญินทรีย์ (อินทรีย์คือ ปัญญา) (พระไตรปิฏกฉบับหลวง เล่ม ๑๑ ข้อ ๓๐๐) พละ ๕ (ธรรมอันเป็นกำลัง) ๑. สัทธาพละ (กำลังคือศรัทธา) ๒. วิริยพละ (กำลังคือวิริยะ) ๓. สติพละ (กำลังคือสติ) ๔. สมาธิพละ (กำลังคืสมาธิ) ๕. ปัญญาพละ (กำลังคือปัญญา) (พระไตรปิฏกฉบับหลวง เล่ม ๒๒ ข้อ ๑๓) โพชฌงค์ ๗ (ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้) ๑. สติ (ความระลึกได้) เปรียบเหมือนจักรแก้ว ๒. ธัมมวิจยะ (ความเฟ้นธรรม) เปรียบเหมือนช้างแก้ว ๓. วิริยะ (ความเพียร) เปรียบเหมือนม้าแก้ว ๔. ปีติ (ความอิ่มใจ) เปรียบเหมือนแก้วมณี ๕. ปัสสัทธิ (ความสงบจากกิเลส) เปรียบเหมือนนางแก้ว ๖. สมาธิ (ความมีใจตั้งมั่น) เปรียบเหมือน คหบดีแก้ว ๗. อุเบกขา (ความมีใจเป็นกลาง เพราะเห็นตามความเป็นจริง) เปรียบเหมือนปริณายกแก้ว (พระไตรปิฏกฉบับหลวง เล่ม ๑๑ ข้อ ๓๒๗) มรรคมีองค์ ๘ ๑. สัมมาทิฏฐิ ปัญญาอันเห็นชอบ คือเห็นอริยสัจ ๔. ๒. สัมมาสังกัปปะ ดำริชอบ คือ ดำริจะออกจากกาม ๑. ดำริในอันไม่พยาบาท ๑. ดำริในอันไม่เบียดเบียน ๑. ๓. สัมมาวาจา เจรจาชอบ คือเว้นจากวจีทุจริต ๔. ๔. สัมมากัมมันตะ ทำการงานชอบคือเว้นจากกายทุจริต ๓ ๕. สัมมาอาชีวะ เลี้ยงชีวิตชอบ คือเว้นจากความเลี้ยงชีวิตโดยทางที่ผิด. ๖. สัมมาวายามะ เพียรชอบ คือเพียรในที่ ๔ สถาน. ๗. สัมมาสติ ระลึกชอบ คือระลึกในสติปัฏฐาน ๔. ๘. สัมมาสมาธิ ตั้งใจไว้ชอบ คือเจริญฌานทั้ง ๔. …………………………………………. “โพธิปักขิยธรรม” ธรรมปราบมาร ท่านได้จาร ไว้ใน ปิฎกสาม สามสิบเจ็ด ธัมมา สง่างาม ควรติดตาม ฝึกไว้ ให้คล่องจินต์ องค์ที่หนึ่ง ให้ตรึง ฐานที่มั่น ถูกมารรัน โรมรุด อย่าหยุดถวิล สติมั่น ในฐาน เป็นอาจิณ สติสิ้น ก็จะจบ พบปราชัย ธรรมนั้นคือ สติปัฏฐาน ทั้งสี่นั่น รู้แจ้งพลัน จิตจะสม ดั่งหมายได้ ทั้งกายา เวทนา ฐานมั่นไว้ จิตตาไซร้ อีกธัมมา รักษาญาณ ในองค์ธรรม ที่สอง จิตต้องสู้ ต้องเรียนรู้ เพียรละ และประหาน เพียรสร้างสม บ่มจิตไว้ ให้ทรงฌาน สัมมัปปธาน ทั้งสี่พร้อม น้อมสู่ตน ธรรมที่สาม ประสานสี่ คือ อินทรีย์ ทำหน้าที่ เป็นใหญ่ ไม่สับสน เป็นธรรมเกิด ร่วม พละ ทั้งห้าดล เพื่อหลุดพ้น การครอบ ของหมู่มาร ธรรมที่ห้า โพชฌังคา ทั้งเจ็ดนั่น เป็นองค์ธรรม์ ที่ตรัสรู้ ผู้ประสาน มีสติ วิริยะ ธัมมวิจารณ์ (ธัมมวิจัย) ปีติสาน ปัสสัทธิ สมาธิครอง (และอุเบกขา) ยี่สิบห้า องค์ธรรม ยังมิจบ ยังไม่ครบ ธรรมเอกที่ มิมีสอง ทางประเสริฐ อริยมรรค คือครรลอง จะประคอง เข้าสู่ทาง แห่งสัมมา กลุ่มสุดท้าย อิทธิบาท ทั้งสี่นั่น รวบรวมกัน ประสานธรรม ให้แน่นหนา ทั้งสามสิบเจ็ด เกิดร่วม ในจิตตา หยุดสังสาร์ หลุดวัฏฏา พานิพพาน ที่มา http://www.dhammathai.org/ ……………………………………….. ไร้โพธิปักขิยธรรม ไร้นิพพาน ดูกร ภิกษุทั้งหลาย แม้เราก็ไม่ได้เห็น ไม่ได้ฟังมาแล้วว่า สมณะหรือพราหมณ์ ประกอบการนอนสบาย(เสยยะสุขัง) เอนข้างสบาย(ปัสสะสุขัง) นอนหลับสบาย(มิทธะสุขัง) ตามประสงค์ ไม่คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ไม่รู้ประมาณในโภชนะ ไม่ประกอบความเพียร ไม่เห็นแจ้งกุศลธรรมทั้งหลาย. ไม่ประกอบการเจริญโพธิปักขิยธรรม ทั้งเบื้องต้น และเบื้องปลายแห่งวันคืนแล้วกระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบันเข้าถึงอยู่ ดูกร ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราทั้งหลายจักเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย จักเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลายจักเป็นผู้รู้ประมาณในโภชนะ จักเป็นผู้ประกอบความเพียร จักเป็นผู้เห็นแจ้งกุศลธรรมทั้งหลายจักประกอบการเจริญโพธิปักขิยธรรม ทั้งเบื้องต้น และเบื้องปลายแห่งวันคืนอยู่ ดูกร ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แล (พุทธพจน์จากพระไตรปิฏก ฉบับหลวง เล่ม ๒๒ ข้อ ๒๘๘) โพธิปักขิยธรรม ความอัศจรรย์ของพุทธ ดูกร ปหาราทะ มหาสมุทรมีรัตนะมากมาย หลายชนิด รัตนะในมหาสมุทรนั้นมีดังนี้คือ แก้วมุกดาแก้วมณี แก้วไพฑูรย์ สังข์ ศิลา แก้วประพาฬ เงิน ทอง ทับทิม มรกต ฉันใด ดูกร ปหาราทะ ฉันนั้นเหมือนกัน ธรรมวินัยนี้ ก็มีรัตนะมากมายหลายชนิด รัตนะในธรรมวินัยนั้นมีดังนี้ คือ สติปัฏฐาน ๔ , สัมมัปปธาน ๔ , อิทธิบาท ๔ , อินทรีย์ ๕ , พละ ๕ ,โพชฌงค์ ๗ , มรรคมีองค์ ๘ ดูกร ปหาราทะ ข้อที่ ธรรมวินัยนี้ มีรัตนะมากมายหลายชนิด รัตนะในธรรมวินัยนั้นมีดังนี้ คือสติปัฏฐาน ๔ , สัมมัปปธาน ๔ , อิทธิบาท ๔ , อินทรีย์ ๕ , พละ ๕ , โพชฌงค์ ๗ , มรรคมีองค์ ๘ นี้เป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์ อันไม่เคยมีมา ที่ภิกษุทั้งหลายเห็นแล้ว ๆ จึงอภิรมย์อยู่ (ปหาราทสูตร จากพระไตรปิฏก ฉบับหลวง เล่ม ๒๓ ข้อ ๑๐๙) ผู้เจริญโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุไม่หมั่นเจริญภาวนาแม้จะพึงเกิดความปรารถนาขึ้นอย่างนี้ว่า โอหนอ ขอจิตของเราพึงหลุดพ้นจากอาสวะเพราะไม่ถือมั่นก็จริง แต่จิตของภิกษุนั้นย่อมไม่หลุดพ้นจากอาสวะ เพราะไม่ถือมั่น ข้อนั้นเพราะเหตุไร จะพึงกล่าวได้ว่า เพราะไม่ได้เจริญ เพราะไม่ได้เจริญอะไร เพราะไม่ได้เจริญสติปัฏฐาน ๔ , สัมมัปปธาน ๔ , อิทธิบาท ๔ , อินทรีย์ ๕ , พละ ๕ , โพชฌงค์ ๗ , อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ เปรียบเหมือนแม่ไก่ มีไข่อยู่ ๘ ฟอง ๑๐ ฟอง หรือ ๑๒ ฟอง ไข่เหล่านั้น แม่ไก่กกไม่ดีให้ความอบอุ่นไม่พอ ฟักไม่ดี แม่ไก่นั้น แม้จะเกิดความปรารถนาขึ้นอย่างนี้ว่า โอหนอขอให้ลูกเราพึงใช้ปลายเล็บเท้า หรือจะงอยปากเจาะกระเปาไข่ ฟักตัวออกมาโดยสวัสดีก็จริงแต่ลูกไก่เหล่านั้นไม่สามารถที่จะใช้ปลายเล็บเท้าหรือจะงอยปากเจาะกระเปาไข่ ฟักตัวออกมาโดยสวัสดีได้ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะแม่ไก่กกไม่ดี ให้ความอบอุ่นไม่พอ ฟักไม่ดี ฉะนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุหมั่นเจริญภาวนา แม้จะไม่พึงเกิดความปรารถนาอย่างนี้ว่า โอหนอขอจิตของเราพึงหลุดพ้นจากอาสวะ เพราะไม่ถือมั่น ก็จริง แต่จิตของภิกษุนั้นย่อมหลุดพ้นจากอาสวะเพราะไม่ถือมั่น ข้อนั้นเพราะเหตุไร พึงกล่าวได้ว่า เพราะเจริญ เพราะเจริญอะไร เพราะสติปัฏฐาน ๔ , สัมมัปปธาน ๔ ,อิทธิบาท ๔ , อินทรีย์ ๕ , พละ ๕ , โพชฌงค์ ๗ , อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ เปรียบเหมือนแม่ไก่ มีไข่อยู่ ๘ ฟอง ๑๐ ฟอง หรือ ๑๒ ฟอง ไข่เหล่านั้น แม่ไก่กกดีให้ความอบอุ่นเพียงพอ ฟักดี แม้แม่ไก่นั้น แม้จะไม่พึงปรารถนาขึ้นอย่างนี้ว่า โอหนอขอให้ลูกเราพึงใช้ปลายเล็บเท้า หรือจะงอยปากเจาะกระเปาไข่ ฟักตัวออกมาโดยสวัสดีก็จริงแต่ลูกไก่เหล่านั้นก็สามารถที่จะใช้ปลายเล็บเท้าหรือจะงอยปากเจาะกระเปาไข่ ฟักตัวออกมาโดยสวัสดีได้ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะไข่เหล่านั้นแม่ไก่กกดี ให้ความอบอุ่นเพียงพอ ฟักดี ฉะนั้น ฯ เปรียบเหมือนรอยนิ้วมือ รอยนิ้วหัวแม่มือที่ด้ามมีดย่อมปรากฏแก่นายช่างไม้หรือลูกมือนายช่างไม้แต่เขาไม่รู้อย่างนี้ว่า วันนี้ด้ามมีดของเราสึกไปเท่านี้เมื่อวานสึกไปเท่านี้ หรือเมื่อวานซืนสึกไปเท่านี้ ที่จริง เมื่อด้ามมีดสึกไป เขาก็รู้ว่าสึกไปนั่นเทียว ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุหมั่นเจริญภาวนาอยู่ก็ฉันนั้นเหมือนกัน แม้จะไม่รู้อย่างนี้ว่าวันนี้ อาสวะของเราสิ้นไปเท่านี้ เมื่อวานสิ้นไปเท่านี้ หรือเมื่อวานซืนสิ้นไปเท่านี้ แต่ที่จริงเมื่ออาสวะสิ้นไป ภิกษุนั้นก็รู้ว่าสิ้นไปนั้นเทียว ฯ เปรียบเหมือนเรือเดินสมุทรที่เขาผูกหวาย ขันชะเนาะแล้วแล่นไปในน้ำตลอด ๖ เดือนถึงฤดูหนาวเข็นขึ้นบก เครื่องผูกประจำเรือตากลมและแดดไว้ เครื่องผูกเหล่านั้นถูกฝนชะ ย่อมชำรุดเสียหายเป็นของเปื่อยไป โดยไม่ยาก ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุหมั่นเจริญภาวนาอยู่สังโยชน์ย่อมสงบระงับไปโดยไม่ยาก ก็ฉันนั้นเหมือนกันแล ภาวนาสูตร รุกขสูตรที่ ๑ ปัญญินทรีย์เป็นยอดแห่งโพธิปักขิยธรรม ดูกรภิกษุทั้งหลาย ต้นไม้ในชมพูทวีปชนิดใดชนิดหนึ่ง ต้นหว้าโลกกล่าวว่า เป็นยอดของต้นไม้เหล่านั้น แม้ฉันใด โพธิปักขิยธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ปัญญินทรีย์ บัณฑิตกล่าวว่า เป็นยอดแห่งโพธิปักขิยธรรมเหล่านั้น เพราะเป็นไปเพื่อความตรัสรู้ ฉันนั้นเหมือนกัน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็โพธิปักขิยธรรมเป็นไฉน? คือ สัทธินทรีย์เป็นโพธิปักขิยธรรม ย่อมเป็นไปเพื่อความตรัสรู้ ฯลฯ ปัญญินทรีย์ เป็นโพธิปักขิยธรรม ย่อมเป็นไปเพื่อความตรัสรู้. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ต้นไม้ในชมพูทวีปชนิดใดชนิดหนึ่ง ต้นหว้าโลกกล่าวว่า เป็นยอดแห่งต้นไม้เหล่านั้น แม้ฉันใด โพธิปักขิยธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ปัญญินทรีย์บัณฑิตกล่าวว่า เป็นยอดแห่งโพธิปักขิยธรรมเหล่านั้น เพราะเป็นไปเพื่อความตรัสรู้ ฉันนั้นเหมือนกัน. รุกขสูตรที่ ๒ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ต้นไม้ของเทวดาชั้นดาวดึงส์ชนิดใดชนิดหนึ่ง ต้นปาริฉัตตกะ โลกกล่าวว่า เป็นยอดของต้นไม้เหล่านั้น แม้ฉันใด โพธิปักขิยธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่งปัญญินทรีย์ บัณฑิตกล่าวว่า เป็นยอดแห่งโพธิปักขิยธรรมเหล่านั้น เพราะเป็นไปเพื่อความตรัสรู้ฉันนั้นเหมือนกัน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็โพธิปักขิยธรรมเป็นไฉน? คือ สัทธินทรีย์ เป็นโพธิปักขิยธรรม ย่อมเป็นไปเพื่อความตรัสรู้ ฯลฯ ปัญญินทรีย์เป็นโพธิปักขิยธรรม ย่อมเป็นไปเพื่อความตรัสรู้. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ต้นไม้ของเทวดาชั้นดาวดึงส์ชนิดใดชนิดหนึ่ง ต้นปาริฉัตตกะ โลกกล่าวว่า เป็นยอดของต้นไม้เหล่านั้น แม้ฉันใด โพธิปักขิยธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่งปัญญินทรีย์ บัณฑิตกล่าวว่า เป็นยอดแห่งโพธิปักขิยธรรมเหล่านั้น เพราะเป็นไปเพื่อความตรัสรู้ฉันนั้นเหมือนกัน. รุกขสูตรที่ ๓ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ต้นไม้ของพวกอสูรชนิดใดชนิดหนึ่ง ต้นจิตตปาฏลีโลกกล่าวว่า เป็นยอดของต้นไม้เหล่านั้น แม้ฉันใด โพธิปักขิยธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ปัญญินทรีย์บัณฑิตกล่าวว่า เป็นยอดแห่งโพธิปักขิยธรรมเหล่านั้น เพราะเป็นไปเพื่อความตรัสรู้ ฉันนั้นเหมือนกัน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็โพธิปักขิยธรรมเป็นไฉน? คือ สัทธินทรีย์ เป็นโพธิปักขิยธรรม ย่อมเป็นไปเพื่อความตรัสรู้ ฯลฯ ปัญญินทรีย์เป็นโพธิปักขิยธรรม ย่อมเป็นไปเพื่อความตรัสรู้. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ต้นไม้ของพวกอสูรชนิดใดชนิดหนึ่ง ต้นจิตตปาฏลีโลกกล่าวว่า เป็นยอดของต้นไม้เหล่านี้ แม้ฉันใด โพธิปักขิยธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ปัญญินทรีย์บัณฑิตกล่าวว่า เป็นยอดแห่งโพธิปักขิยธรรมเหล่านั้น เพราะเป็นไปเพื่อความตรัสรู้ ฉันนั้นเหมือนกัน. รุกขสูตรที่ ๔ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ต้นไม้ของพวกครุฑชนิดใดชนิดหนึ่ง ต้นโกฏสิมพลี(ไม้งิ้วป่า) โลกกล่าวว่า เป็นยอดของต้นไม้เหล่านั้น แม้ฉันใด โพธิปักขิยธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่งปัญญินทรีย์ บัณฑิตกล่าวว่า เป็นยอดแห่งโพธิปักขิยธรรมเหล่านั้น เพราะเป็นไปเพื่อความตรัสรู้ฉันนั้นเหมือนกัน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย โพธิปักขิยธรรมเป็นไฉน? คือ สัทธินทรีย์ เป็นโพธิปักขิยธรรม ย่อมเป็นไปเพื่อความตรัสรู้ ฯลฯ ปัญญินทรีย์ เป็นโพธิปักขิยธรรม ย่อมเป็นไปเพื่อความตรัสรู้. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ต้นไม้ของพวกครุฑชนิดใดชนิดหนึ่ง ต้นโกฏสิมพลีโลกกล่าวว่า เป็นยอดของต้นไม้เหล่านั้น แม้ฉันใด โพธิปักขิยธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ปัญญินทรีย์บัณฑิตกล่าวว่า เป็นยอดแห่งโพธิปักขิยธรรมเหล่านั้น เพราะเป็นไปเพื่อความตรัสรู้ ฉันนั้น โกสลสูตร ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ โกสลพราหมณคาม ในแคว้นโกศล ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาแล้วตรัสว่า. ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาสัตว์ดิรัจฉานทุกจำพวก สีหมฤคราช โลกกล่าวว่า เป็นยอดของสัตว์เหล่านั้น เพราะมีกำลัง มีฝีเท้า มีความกล้า ฉันใด บรรดาโพธิปักขิยธรรมทุกอย่าง ปัญญินทรีย์ เรากล่าวว่า เป็นยอดแห่งโพธิปักขิยธรรมเหล่านั้น เพราะเป็นไปเพื่อความตรัสรู้ ฉันนั้นเหมือนกัน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็โพธิปักขิยธรรมเป็นไฉน? คือ สัทธินทรีย์ เป็นโพธิปักขิยธรรม ย่อมเป็นไปเพื่อความตรัสรู้ วิริยินทรีย์ ... สตินทรีย์ ... สมาธินทรีย์ ... ปัญญินทรีย์เป็นโพธิปักขิยธรรม ย่อมเป็นไปเพื่อความตรัสรู้. ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาสัตว์ดิรัจฉานทุกจำพวก สีหมฤคราช โลกกล่าวว่า เป็นยอดของสัตว์เหล่านั้น เพราะมีกำลัง มีฝีเท้า มีความกล้า ฉันใด บรรดาโพธิปักขิยธรรมทุกอย่าง ปัญญินทรีย์ เรากล่าวว่า เป็นยอดแห่งโพธิปักขิยธรรมเหล่านั้น เพราะเป็นไปเพื่อความตรัสรู้ ฉันนั้นเหมือนกัน. สารสูตร ดูกรภิกษุทั้งหลาย รอยเท้าของสัตว์ผู้เที่ยวไปบนพื้นแผ่นดิน ชนิดใดชนิดหนึ่ง รอยเท้าเหล่านั้นทั้งหมด ย่อมรวมลงในรอยเท้าช้าง รอยเท้าช้าง โลกกล่าวว่าเป็นยอดของรอยเท้าเหล่านั้น เพราะเป็นรอยใหญ่ แม้ฉันใด บทแห่งธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ย่อมเป็นไปเพื่อความตรัสรู้ บท คือ ปัญญินทรีย์ เรากล่าวว่า เป็นยอดของบทแห่งธรรมเหล่านั้นเพราะเป็นไปเพื่อความตรัสรู้ ฉันนั้นเหมือนกัน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ไม้มีกลิ่นที่แก่นชนิดใดชนิดหนึ่ง จันทน์แดง โลกกล่าวว่าเป็นยอดของไม้เหล่านั้น แม้ฉันใด โพธิปักขิยธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ปัญญินทรีย์ เรากล่าวว่า เป็นยอดแห่งโพธิปักขิยธรรมเหล่านั้น เพราะเป็นไปเพื่อความตรัสรู้ ฉันนั้นเหมือนกัน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็โพธิปักขิยธรรมเป็นไฉน? คือ สัทธินทรีย์ ...วิริยินทรีย์ ... สตินทรีย์ ... สมาธินทรีย์ ... ปัญญินทรีย์ เป็นโพธิปักขิยธรรม ย่อมเป็นไปเพื่อความตรัสรู้. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ไม้มีกลิ่นที่แก่นชนิดใดชนิดหนึ่ง จันทน์แดง โลกกล่าวว่าเป็นยอดของไม้เหล่านั้น แม้ฉันใด โพธิปักขิยธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ปัญญินทรีย์ เรากล่าวว่าเป็นยอดแห่งโพธิปักขิยธรรมเหล่านั้น เพราะเป็นไปเพื่อความตรัสรู้ ฉันนั้นเหมือนกัน. กัลยาณสูตร ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้มีศีลงาม มีธรรมงาม มีปัญญางามเรากล่าวว่าเป็นพระอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์ เป็นบุรุษผู้สูงสุดในธรรมวินัยนี้ ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้มีศีลงามอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศีลสำรวมแล้วด้วยความสำรวมในปาติโมกข์ ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจรมีปรกติเห็นภัยในโทษมีประมาณน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้มีศีลงามอย่างนี้แล ภิกษุเป็นผู้มีศีลงามด้วยประการดังนี้ ฯ ภิกษุเป็นผู้มีธรรมงามอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้ประกอบด้วยความเพียรในการเจริญโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการเนืองๆ ดูกรภิกษุทั้งหลายภิกษุเป็นผู้มีธรรมงามอย่างนี้แล ภิกษุเป็นผู้มีศีลงาม มีธรรมงาม ด้วยประการดังนี้ ฯ ภิกษุเป็นผู้มีปัญญางามอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้กระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้มีปัญญางามอย่างนี้แล ภิกษุเป็นผู้มีศีลงาม มีธรรมงาม มีปัญญางาม ด้วยประการดังนี้ เรากล่าวว่า เป็นพระอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์ เป็นบุรุษสูงสุดในธรรมวินัยนี้ ฯ ดูกรวาเสฏฐะและภารทวาชะ กษัตริย์ก็ดี ... พราหมณ์ก็ดี ... แพศย์ก็ดี ... ศูทรก็ดี ... สำรวมกาย สำรวมวาจา สำรวมใจ อาศัยการเจริญโพธิปักขิยธรรม ทั้ง ๗ แล้ว ย่อมปรินิพพานในปัจจุบันนี้ทีเดียว ฯ สัททสูตร ดูกรภิกษุทั้งหลาย เสียง (ที่เกิดขึ้นเพราะปีติ) ของเทวดา๓ อย่างนี้ย่อมเปล่งออกไปในเหล่าเทวดาเพราะอาศัยสมัยแต่สมัย ๓ อย่างเป็นไฉนดูกรภิกษุทั้งหลาย ในสมัยใด พระอริยสาวกย่อมคิดเพื่อจะปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสายะ ออกบวชเป็นบรรพชิต ในสมัยนั้น เสียงของเทวดาย่อมเปล่งออกไปในเหล่าเทวดาว่าพระอริยสาวกนี้ย่อมคิดเพื่อทำสงครามกับมาร ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นเสียงของเทวดาข้อที่ ๑ ย่อมเปล่งออกไปในเหล่าเทวดาเพราะอาศัยสมัยแต่สมัย ฯ อีกประการหนึ่ง ในสมัยใด พระอริยสาวกประกอบความเพียรในการเจริญโพธิปักขิยธรรม๗ ประการ ในสมัยนั้น เสียงของเทวดาย่อมเปล่งออกไปในเหล่าเทวดาว่า พระอริยสาวกนั้นทำสงครามกับมาร ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นเสียงของเทวดา ข้อที่ ๒ ย่อมเปล่งออกไปในเหล่าเทวดาเพราะอาศัยสมัยแต่สมัย อีกประการหนึ่ง ในสมัยใด พระอริยสาวกกระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติปัญญาวิมุติอันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ในสมัยนั้น เสียงของเทวดาย่อมเปล่งออกไปในเหล่าเทวดาว่า พระอริยสาวกนี้พิชิตสงครามชนะแดนแห่งสงครามนั้นแล้วครอบครองอยู่ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นเสียงของเทวดาข้อที่ ๓ย่อมเปล่งออกไปในเหล่าเทวดาเพราะอาศัยสมัยแต่สมัย ดูกรภิกษุทั้งหลาย เสียงของเทวดา ................................ ความสำคัญของโพธิปักขิยธรรมในมิลินทปัญหา พระเจ้ามิลินท์ได้ตรัสถามว่า “ดูก่อนพระนาคเสน พระคุณเจ้าเคยเห็นพระพุทธเจ้าหรือไม่” พระนาคเสนตอบว่า “ขอถวายพระพร ไม่เคยเห็น” พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามต่อว่า “แล้วอาจารย์ของพระคุณเจ้า อาจารย์เคยเห็นพระพุทธเจ้าหรือไม่” พระนาคเสนทูลตอบไปว่า “ตัวอาจารย์ก็ไม่เคยเห็นเหมือนกัน” พระเจ้ามิลินท์จึงตรัสสรุปว่า “พระพุทธเจ้าไม่มีอยู่จริง เพราะไม่มีใครเคยเห็น” พระนาคเสนท่านจึงย้อนกลับทูลถามพระเจ้ามิลินท์ว่า “อาตมาภาพขอถามพระองค์ว่า ปฐมกษัตริย์ผู้ตั้งราชวงศ์ของพระองค์มีหรือไม่” พระเจ้ามิลินท์ตรัสตอบว่า “มีสิพระคุณเจ้า” แล้วพระนาคเสนทูลถามต่อว่า “แล้วพระองค์เคยทอดพระเนตรเห็นปฐมวงศ์กษัตริย์ของพระองค์หรือไม่” พระเจ้ามิลินท์ตรัสตอบว่า “ไม่เคยเห็น” พระนาคเสนจึงทูลถามต่อไปว่า “พวกปุโรหิตาจารย์ ราชอำมาตย์ของพระองค์ผู้แก่เฒ่าเคยบ้างหรือไม่” (หมายถึงพวกที่อยู่ยาวๆ นาน อย่างเช่น ราชวงศ์จักรี พระพันวษา อัยยิกาเจ้า อยู่มาถึง ๖ แผ่นดินที่เป็นพระอัยยิกาของในหลวงองค์ปัจจุบันมีอายุ ๖ ขวบ ในสมัยรัชกาลที่ ๔ แล้วก็อยู่มาจนถึงรัชกาลที่ ๙ อยู่มาถึง ๖ แผ่นดิน เพราะฉะนั้นก็อาจจะมีพวกข้าราชบริพารพวกปุโรหิตาจารย์ที่อายุยืนๆ) พระนาคเสนจึงต้องทูลถามว่า “มีข้าราชบริพารพระองค์ไหนที่เคยเห็นหรือไม่” พระเจ้ามิลินท์ตรัสตอบว่า “ไม่เคยเห็น” พระนาคเสนก็ใช้เหตุผลหนามยอกเอาหนามบ่ง แล้วทูลต่อไปว่า “ถ้าอย่างนั้นอาตมาก็ขอบอกว่า ปฐมกษัตริย์ของพระองค์ก็ไม่มีเหมือนกัน” พระเจ้ามิลินท์ตรัสให้เหตุผลว่า “จะบอกว่าไม่มีได้อย่างไรพระคุณเจ้า เนื่องจากว่ามันมีราชสมบัติที่ตกทอดกันมา เขาเรียก เครื่องราชกกุธภัณฑ์ ซึ่งเป็นเครื่องใช้สอยของพระราชาเวลาขึ้นครองราชย์ แล้วตกทอดกันมา เป็นต้นว่า เศวตฉัตร มหามงกุฎ ฉลองพระบาท พัดวาลวิชนี พระขรรค์แก้ว ทั้งหมดเหล่านี้เป็นของที่ปรากฏมาตั้งแต่ปฐมวงศ์แล้วตกทอดมา เพราะฉะนั้นพระคุณเจ้าจะบอกว่า ปฐมวงศ์ของโยมไม่มีได้อย่างไร” พระนาคเสนทูลว่า “ถ้ามหาบพิตรอ้างอย่างนี้ อาตมาก็อ้างได้เหมือนกัน พระพุทธเจ้ามีจริงหลักฐานที่เป็นเครื่องยืนยันก็คือ โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ เหมือนเครื่องราชกกุธภัณฑ์ของพระองค์เหมือนกัน ก็คือ สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ เรื่องความเพียร ๔ ประการ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘ ตั้งแต่สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ” ท่านก็เลยสรุปว่า “มหาบพิตร ก็โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ ที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนก็ยังเป็นหลักธรรมที่มีอยู่ ทุกคนก็เข้าใจกันอยู่ การที่ยังมีโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ ทำให้อนุมานได้ว่า พระพุทธเจ้ามีจริง แล้วพระองค์เป็นผู้ที่ฉลาดที่สุด เหมือนกับที่มหาบพิตรยืนยันว่า ปฐมวงศ์ของมหาบพิตรมี เพราะอาศัยจากการอนุมานจากเครื่องราชกกุธภัณฑ์ซึ่งเป็นราชสมบัติเป็นมรดกตกทอด ฉันใดก็ฉันนั้น” พระเจ้ามิลินท์ตรัสตอบไปว่า “โยมฟังแล้วก็มีเหตุผล แต่โยมอยากจะให้พระคุณเจ้ายกตัวอย่างขึ้นมาเปรียบเทียบให้ฟังให้ดูซะหน่อย” พระนาคเสนจึงทูลว่า “มหาบพิตรก็เหมือนนายช่างที่ก่อสร้างซึ่งเป็นผู้ฉลาด เป็นสถาปนิกผู้เฉลียวฉลาด ก่อนจะสร้างเมืองต้องวางแผนผัง วางรูปโครงสร้างพระนคร ให้มีองค์ประกอบที่เหมาะสม มีทั้งบ้าน มีทั้งวัง มีโรงมหรสพ มีถนนหนทาง เพื่อทำให้ผู้อาศัยได้รับสันติสุข การจราจรไม่ติดขัดฉันใด แม้พระพุทธเจ้าก็ทรงสร้างธรรมนครอันวิจิตรตระการตาขึ้นอย่างสวยงามและมั่นคงฉันนั้น”
ผู้สละโลก ทุกข์ในรูปแห่งสุขเราภาวนาจนเห็นว่าทุกอย่างชั่วคราว สุข ทุกข์ ดี ชั่วทั้งหลาย ชั่วคราวทั้งหมด ตรงนี้แหละ ใจจะเป็นกลางกับทุกสิ่งทุกอย่าง ตัวนี้แหละคือสิ่งเรียกว่า สังขารุเบกขาญาน จิตมีปัญญานะ เป็นกลางกับความปรุงแต่งทั้งหลาย สุข ทุกข์ ดี ชั่วทั้งหลายนี่ จิตเป็นกลางหมดเลย เพราะอะไร เพราะปัญญา ไม่ใช่กลางเพราะการเพ่ง ไม่ใช่เป็นกลางเพราะกำหนดนะ กำหนดแล้วเป็นกลางนี่ยังไม่ใช่ ตัวนี้ต้องเป็นกลางเพราะปัญญา ถ้าเราตามรู้จิตใจของเราทุกวันๆ เราจะเห็นเลย ความสุขอยู่ชั่วคราว แล้วก็หาย ความทุกข์อยู่ชั่วคราวแล้วก็หาย โลภ โกรธ หลง อยู่ชั่วคราว แล้วก็หาย กุศลอยู่ชั่วคราวแล้วก็หายไป ถ้าตามดูอย่างนี้นานๆไปนะ จิตมันยอมรับความจริงว่า สิ่งใดเกิดขึ้นสิ่งนั้นดับไป ความสุขเกิดขึ้นจิตไม่หลงระเริง ความทุกข์เกิดขึ้นจิตไม่กลุ้มใจ จิตมันจะเป็นกลาง ต่อทุกสิ่งทุกอย่างที่มันไปรู้เข้า จิตที่มันเป็นกลางต่อทุกสิ่งทุกอย่าง นี่นะ ตัวนี้เป็นตัวสำคัญ นี่เป็นคือประตูแห่งการบรรลุมรรคผล พอมันเป็นกลางกับทุกสิ่งทุกอย่าง มันจะไม่ปรุงแต่งต่อ อย่างถ้ามันไม่เป็นกลาง มันจะปรุงแต่งต่อ เช่น ความโกรธเกิดขึ้น อยากให้หาย ก็ต้องหาทางทำให้หาย เห็นมั้ยปรุงแต่งต่อล่ะ ความสุขเกิดขึ้นอยากให้อยู่นานๆ ต้องหาทางรักษา นี่ปรุงแต่งต่อ มีการทำงาน แต่ถ้ามันเห็นทุกสิ่งทุกอย่างเกิดแล้วก็ดับๆ ไม่ปรุงแต่งต่อ จิตจะพ้นจากความปรุงแต่ง ตามรู้ตามดูจนมันพอ สติ สมาธิ ปัญญาแก่รอบ จิตใจยอมรับความจริง ยอมรับไตรลักษณ์ ว่าทุกอย่างเกิดแล้วก็ดับ ถึงจุดนี้เนี่ย มันจะเป็นรอยแยก พวกที่หวังพุทธภูมินะ ก็มีโอกาสจะเป็นพระโพธิสัตว์ ที่ได้รับคำพยากรณ์จากพระพุทธเจ้า ไม่ใช่พยากรณ์จากหมอดูนะ ต้องพยากรณ์จากพระพุทธเจ้า พวกที่ไม่ได้หวังจะเป็นพระโพธิสัตว์ แต่หวังความพ้นทุกข์นะ จิตมีโอกาสที่จะเกิดมรรคผลได้ เวลาที่จิตจะเกิดมรรคผลนั้น จิตจะรวมเข้าอัปนาสมาธิ เพราะฉะนั้นเวลาท่านพูดถึงองค์มรรคเนี่ย สัมมาสมาธิ ท่านจะพูดด้วยอัปนาสมาธิ ด้วยฌาน ๔ พวกเราตอนที่เจริญสติอยู่นี่เรียกว่า เจริญบุพพภาคมรรค เบื้องต้นแห่งมรรคยังไม่เป็นฌานนะ เราหัดเจริญสติอยู่ในชีวิตประจำวันอย่างนี้ ถึงวันที่อริยมรรคจะเกิด จิตจะรวมเข้าฌานโดยอัตโนมัตินะ จิตเวลาที่เกิดมรรคเกิดผล จะไม่เกิดในจิตของคนธรรมดา นี่เรียกว่ากามาวจรจิต กามาวจรภูมิ ไม่เป็นอย่างนั้น จะต้องเข้าฌานนะ เมื่อมันรวมเข้าไปแล้วมันจะเห็น สภาวะธรรมนี่เกิดดับสองขณะหรือสามขณะ แต่ละคนไม่เท่ากันนะ ถัดจากนั้นจิตจะวางการรู้อารมณ์ ทวนกระแสเข้ามาหาธาตุรู้ สิ่งที่ห่อหุ้มปกคลุมธาตุรู้อยู่นี่ ถูกอริยมรรคแหวกออกไป แล้วก็มันจะไปเห็นนิพพานนะ นิพพานไม่ใช่ว่างเปล่า นิพพานไม่ใช่โลกๆหนึ่ง พวกเรายังไม่เคยเห็น เราก็วาดภาพสุดโต่งไปสองข้าง ข้างหนึ่งก็นิพพานเป็นโลกๆหนึ่ง พวกนี้พวกสัสตะทิฐิ มีของที่เที่ยงคงที่ อีกพวกหนึ่งคิดว่านิพพานสูญไปเลย ขณะนั้นไม่มีอะไรเหลือเลย กระทั่งสติ พวกนี้หลงไปล่ะ คิดว่านิพพานไม่มีอะไรเลย นี่พวกอุจเฉททิฐินะ นิพพานมีนะ นิพพานมีสภาวะรองรับ สภาวะของนิพพานคือสันติ คือความสงบนั่นเอง สงบจากอะไร สงบจากกิเลส สงบจากอะไร สงบจากความปรุงแต่ง สงบจากอะไร สงบจากการแบกหามขันธ์นะ ดังนั้นเราภาวนานะ
การบรรลุมรรคผลเราภาวนาจนเห็นว่าทุกอย่างชั่วคราว สุข ทุกข์ ดี ชั่วทั้งหลาย ชั่วคราวทั้งหมด ตรงนี้แหละ ใจจะเป็นกลางกับทุกสิ่งทุกอย่าง ตัวนี้แหละคือสิ่งเรียกว่า สังขารุเบกขาญาน จิตมีปัญญานะ เป็นกลางกับความปรุงแต่งทั้งหลาย สุข ทุกข์ ดี ชั่วทั้งหลายนี่ จิตเป็นกลางหมดเลย เพราะอะไร เพราะปัญญา ไม่ใช่กลางเพราะการเพ่ง ไม่ใช่เป็นกลางเพราะกำหนดนะ กำหนดแล้วเป็นกลางนี่ยังไม่ใช่ ตัวนี้ต้องเป็นกลางเพราะปัญญา ถ้าเราตามรู้จิตใจของเราทุกวันๆ เราจะเห็นเลย ความสุขอยู่ชั่วคราว แล้วก็หาย ความทุกข์อยู่ชั่วคราวแล้วก็หาย โลภ โกรธ หลง อยู่ชั่วคราว แล้วก็หาย กุศลอยู่ชั่วคราวแล้วก็หายไป ถ้าตามดูอย่างนี้นานๆไปนะ จิตมันยอมรับความจริงว่า สิ่งใดเกิดขึ้นสิ่งนั้นดับไป ความสุขเกิดขึ้นจิตไม่หลงระเริง ความทุกข์เกิดขึ้นจิตไม่กลุ้มใจ จิตมันจะเป็นกลาง ต่อทุกสิ่งทุกอย่างที่มันไปรู้เข้า จิตที่มันเป็นกลางต่อทุกสิ่งทุกอย่าง นี่นะ ตัวนี้เป็นตัวสำคัญ นี่เป็นคือประตูแห่งการบรรลุมรรคผล พอมันเป็นกลางกับทุกสิ่งทุกอย่าง มันจะไม่ปรุงแต่งต่อ อย่างถ้ามันไม่เป็นกลาง มันจะปรุงแต่งต่อ เช่น ความโกรธเกิดขึ้น อยากให้หาย ก็ต้องหาทางทำให้หาย เห็นมั้ยปรุงแต่งต่อล่ะ ความสุขเกิดขึ้นอยากให้อยู่นานๆ ต้องหาทางรักษา นี่ปรุงแต่งต่อ มีการทำงาน แต่ถ้ามันเห็นทุกสิ่งทุกอย่างเกิดแล้วก็ดับๆ ไม่ปรุงแต่งต่อ จิตจะพ้นจากความปรุงแต่ง ตามรู้ตามดูจนมันพอ สติ สมาธิ ปัญญาแก่รอบ จิตใจยอมรับความจริง ยอมรับไตรลักษณ์ ว่าทุกอย่างเกิดแล้วก็ดับ ถึงจุดนี้เนี่ย มันจะเป็นรอยแยก พวกที่หวังพุทธภูมินะ ก็มีโอกาสจะเป็นพระโพธิสัตว์ ที่ได้รับคำพยากรณ์จากพระพุทธเจ้า ไม่ใช่พยากรณ์จากหมอดูนะ ต้องพยากรณ์จากพระพุทธเจ้า พวกที่ไม่ได้หวังจะเป็นพระโพธิสัตว์ แต่หวังความพ้นทุกข์นะ จิตมีโอกาสที่จะเกิดมรรคผลได้ เวลาที่จิตจะเกิดมรรคผลนั้น จิตจะรวมเข้าอัปนาสมาธิ เพราะฉะนั้นเวลาท่านพูดถึงองค์มรรคเนี่ย สัมมาสมาธิ ท่านจะพูดด้วยอัปนาสมาธิ ด้วยฌาน ๔ พวกเราตอนที่เจริญสติอยู่นี่เรียกว่า เจริญบุพพภาคมรรค เบื้องต้นแห่งมรรคยังไม่เป็นฌานนะ เราหัดเจริญสติอยู่ในชีวิตประจำวันอย่างนี้ ถึงวันที่อริยมรรคจะเกิด จิตจะรวมเข้าฌานโดยอัตโนมัตินะ จิตเวลาที่เกิดมรรคเกิดผล จะไม่เกิดในจิตของคนธรรมดา นี่เรียกว่ากามาวจรจิต กามาวจรภูมิ ไม่เป็นอย่างนั้น จะต้องเข้าฌานนะ เมื่อมันรวมเข้าไปแล้วมันจะเห็น สภาวะธรรมนี่เกิดดับสองขณะหรือสามขณะ แต่ละคนไม่เท่ากันนะ ถัดจากนั้นจิตจะวางการรู้อารมณ์ ทวนกระแสเข้ามาหาธาตุรู้ สิ่งที่ห่อหุ้มปกคลุมธาตุรู้อยู่นี่ ถูกอริยมรรคแหวกออกไป แล้วก็มันจะไปเห็นนิพพานนะ นิพพานไม่ใช่ว่างเปล่า นิพพานไม่ใช่โลกๆหนึ่ง พวกเรายังไม่เคยเห็น เราก็วาดภาพสุดโต่งไปสองข้าง ข้างหนึ่งก็นิพพานเป็นโลกๆหนึ่ง พวกนี้พวกสัสตะทิฐิ มีของที่เที่ยงคงที่ อีกพวกหนึ่งคิดว่านิพพานสูญไปเลย ขณะนั้นไม่มีอะไรเหลือเลย กระทั่งสติ พวกนี้หลงไปล่ะ คิดว่านิพพานไม่มีอะไรเลย นี่พวกอุจเฉททิฐินะ นิพพานมีนะ นิพพานมีสภาวะรองรับ สภาวะของนิพพานคือสันติ คือความสงบนั่นเอง สงบจากอะไร สงบจากกิเลส สงบจากอะไร สงบจากความปรุงแต่ง สงบจากอะไร สงบจากการแบกหามขันธ์นะ ดังนั้นเราภาวนานะ
การบรรลุมรรคผลเราภาวนาจนเห็นว่าทุกอย่างชั่วคราว สุข ทุกข์ ดี ชั่วทั้งหลาย ชั่วคราวทั้งหมด ตรงนี้แหละ ใจจะเป็นกลางกับทุกสิ่งทุกอย่าง ตัวนี้แหละคือสิ่งเรียกว่า สังขารุเบกขาญาน จิตมีปัญญานะ เป็นกลางกับความปรุงแต่งทั้งหลาย สุข ทุกข์ ดี ชั่วทั้งหลายนี่ จิตเป็นกลางหมดเลย เพราะอะไร เพราะปัญญา ไม่ใช่กลางเพราะการเพ่ง ไม่ใช่เป็นกลางเพราะกำหนดนะ กำหนดแล้วเป็นกลางนี่ยังไม่ใช่ ตัวนี้ต้องเป็นกลางเพราะปัญญา ถ้าเราตามรู้จิตใจของเราทุกวันๆ เราจะเห็นเลย ความสุขอยู่ชั่วคราว แล้วก็หาย ความทุกข์อยู่ชั่วคราวแล้วก็หาย โลภ โกรธ หลง อยู่ชั่วคราว แล้วก็หาย กุศลอยู่ชั่วคราวแล้วก็หายไป ถ้าตามดูอย่างนี้นานๆไปนะ จิตมันยอมรับความจริงว่า สิ่งใดเกิดขึ้นสิ่งนั้นดับไป ความสุขเกิดขึ้นจิตไม่หลงระเริง ความทุกข์เกิดขึ้นจิตไม่กลุ้มใจ จิตมันจะเป็นกลาง ต่อทุกสิ่งทุกอย่างที่มันไปรู้เข้า จิตที่มันเป็นกลางต่อทุกสิ่งทุกอย่าง นี่นะ ตัวนี้เป็นตัวสำคัญ นี่เป็นคือประตูแห่งการบรรลุมรรคผล พอมันเป็นกลางกับทุกสิ่งทุกอย่าง มันจะไม่ปรุงแต่งต่อ อย่างถ้ามันไม่เป็นกลาง มันจะปรุงแต่งต่อ เช่น ความโกรธเกิดขึ้น อยากให้หาย ก็ต้องหาทางทำให้หาย เห็นมั้ยปรุงแต่งต่อล่ะ ความสุขเกิดขึ้นอยากให้อยู่นานๆ ต้องหาทางรักษา นี่ปรุงแต่งต่อ มีการทำงาน แต่ถ้ามันเห็นทุกสิ่งทุกอย่างเกิดแล้วก็ดับๆ ไม่ปรุงแต่งต่อ จิตจะพ้นจากความปรุงแต่ง ตามรู้ตามดูจนมันพอ สติ สมาธิ ปัญญาแก่รอบ จิตใจยอมรับความจริง ยอมรับไตรลักษณ์ ว่าทุกอย่างเกิดแล้วก็ดับ ถึงจุดนี้เนี่ย มันจะเป็นรอยแยก พวกที่หวังพุทธภูมินะ ก็มีโอกาสจะเป็นพระโพธิสัตว์ ที่ได้รับคำพยากรณ์จากพระพุทธเจ้า ไม่ใช่พยากรณ์จากหมอดูนะ ต้องพยากรณ์จากพระพุทธเจ้า พวกที่ไม่ได้หวังจะเป็นพระโพธิสัตว์ แต่หวังความพ้นทุกข์นะ จิตมีโอกาสที่จะเกิดมรรคผลได้ เวลาที่จิตจะเกิดมรรคผลนั้น จิตจะรวมเข้าอัปนาสมาธิ เพราะฉะนั้นเวลาท่านพูดถึงองค์มรรคเนี่ย สัมมาสมาธิ ท่านจะพูดด้วยอัปนาสมาธิ ด้วยฌาน ๔ พวกเราตอนที่เจริญสติอยู่นี่เรียกว่า เจริญบุพพภาคมรรค เบื้องต้นแห่งมรรคยังไม่เป็นฌานนะ เราหัดเจริญสติอยู่ในชีวิตประจำวันอย่างนี้ ถึงวันที่อริยมรรคจะเกิด จิตจะรวมเข้าฌานโดยอัตโนมัตินะ จิตเวลาที่เกิดมรรคเกิดผล จะไม่เกิดในจิตของคนธรรมดา นี่เรียกว่ากามาวจรจิต กามาวจรภูมิ ไม่เป็นอย่างนั้น จะต้องเข้าฌานนะ เมื่อมันรวมเข้าไปแล้วมันจะเห็น สภาวะธรรมนี่เกิดดับสองขณะหรือสามขณะ แต่ละคนไม่เท่ากันนะ ถัดจากนั้นจิตจะวางการรู้อารมณ์ ทวนกระแสเข้ามาหาธาตุรู้ สิ่งที่ห่อหุ้มปกคลุมธาตุรู้อยู่นี่ ถูกอริยมรรคแหวกออกไป แล้วก็มันจะไปเห็นนิพพานนะ นิพพานไม่ใช่ว่างเปล่า นิพพานไม่ใช่โลกๆหนึ่ง พวกเรายังไม่เคยเห็น เราก็วาดภาพสุดโต่งไปสองข้าง ข้างหนึ่งก็นิพพานเป็นโลกๆหนึ่ง พวกนี้พวกสัสตะทิฐิ มีของที่เที่ยงคงที่ อีกพวกหนึ่งคิดว่านิพพานสูญไปเลย ขณะนั้นไม่มีอะไรเหลือเลย กระทั่งสติ พวกนี้หลงไปล่ะ คิดว่านิพพานไม่มีอะไรเลย นี่พวกอุจเฉททิฐินะ นิพพานมีนะ นิพพานมีสภาวะรองรับ สภาวะของนิพพานคือสันติ คือความสงบนั่นเอง สงบจากอะไร สงบจากกิเลส สงบจากอะไร สงบจากความปรุงแต่ง สงบจากอะไร สงบจากการแบกหามขันธ์นะ ดังนั้นเราภาวนานะ
ทางนิพพาน เพื่อ จรรโลง พระพุทธศาสนาเราภาวนาจนเห็นว่าทุกอย่างชั่วคราว สุข ทุกข์ ดี ชั่วทั้งหลาย ชั่วคราวทั้งหมด ตรงนี้แหละ ใจจะเป็นกลางกับทุกสิ่งทุกอย่าง ตัวนี้แหละคือสิ่งเรียกว่า สังขารุเบกขาญาน จิตมีปัญญานะ เป็นกลางกับความปรุงแต่งทั้งหลาย สุข ทุกข์ ดี ชั่วทั้งหลายนี่ จิตเป็นกลางหมดเลย เพราะอะไร เพราะปัญญา ไม่ใช่กลางเพราะการเพ่ง ไม่ใช่เป็นกลางเพราะกำหนดนะ กำหนดแล้วเป็นกลางนี่ยังไม่ใช่ ตัวนี้ต้องเป็นกลางเพราะปัญญา ถ้าเราตามรู้จิตใจของเราทุกวันๆ เราจะเห็นเลย ความสุขอยู่ชั่วคราว แล้วก็หาย ความทุกข์อยู่ชั่วคราวแล้วก็หาย โลภ โกรธ หลง อยู่ชั่วคราว แล้วก็หาย กุศลอยู่ชั่วคราวแล้วก็หายไป ถ้าตามดูอย่างนี้นานๆไปนะ จิตมันยอมรับความจริงว่า สิ่งใดเกิดขึ้นสิ่งนั้นดับไป ความสุขเกิดขึ้นจิตไม่หลงระเริง ความทุกข์เกิดขึ้นจิตไม่กลุ้มใจ จิตมันจะเป็นกลาง ต่อทุกสิ่งทุกอย่างที่มันไปรู้เข้า จิตที่มันเป็นกลางต่อทุกสิ่งทุกอย่าง นี่นะ ตัวนี้เป็นตัวสำคัญ นี่เป็นคือประตูแห่งการบรรลุมรรคผล พอมันเป็นกลางกับทุกสิ่งทุกอย่าง มันจะไม่ปรุงแต่งต่อ อย่างถ้ามันไม่เป็นกลาง มันจะปรุงแต่งต่อ เช่น ความโกรธเกิดขึ้น อยากให้หาย ก็ต้องหาทางทำให้หาย เห็นมั้ยปรุงแต่งต่อล่ะ ความสุขเกิดขึ้นอยากให้อยู่นานๆ ต้องหาทางรักษา นี่ปรุงแต่งต่อ มีการทำงาน แต่ถ้ามันเห็นทุกสิ่งทุกอย่างเกิดแล้วก็ดับๆ ไม่ปรุงแต่งต่อ จิตจะพ้นจากความปรุงแต่ง ตามรู้ตามดูจนมันพอ สติ สมาธิ ปัญญาแก่รอบ จิตใจยอมรับความจริง ยอมรับไตรลักษณ์ ว่าทุกอย่างเกิดแล้วก็ดับ ถึงจุดนี้เนี่ย มันจะเป็นรอยแยก พวกที่หวังพุทธภูมินะ ก็มีโอกาสจะเป็นพระโพธิสัตว์ ที่ได้รับคำพยากรณ์จากพระพุทธเจ้า ไม่ใช่พยากรณ์จากหมอดูนะ ต้องพยากรณ์จากพระพุทธเจ้า พวกที่ไม่ได้หวังจะเป็นพระโพธิสัตว์ แต่หวังความพ้นทุกข์นะ จิตมีโอกาสที่จะเกิดมรรคผลได้ เวลาที่จิตจะเกิดมรรคผลนั้น จิตจะรวมเข้าอัปนาสมาธิ เพราะฉะนั้นเวลาท่านพูดถึงองค์มรรคเนี่ย สัมมาสมาธิ ท่านจะพูดด้วยอัปนาสมาธิ ด้วยฌาน ๔ พวกเราตอนที่เจริญสติอยู่นี่เรียกว่า เจริญบุพพภาคมรรค เบื้องต้นแห่งมรรคยังไม่เป็นฌานนะ เราหัดเจริญสติอยู่ในชีวิตประจำวันอย่างนี้ ถึงวันที่อริยมรรคจะเกิด จิตจะรวมเข้าฌานโดยอัตโนมัตินะ จิตเวลาที่เกิดมรรคเกิดผล จะไม่เกิดในจิตของคนธรรมดา นี่เรียกว่ากามาวจรจิต กามาวจรภูมิ ไม่เป็นอย่างนั้น จะต้องเข้าฌานนะ เมื่อมันรวมเข้าไปแล้วมันจะเห็น สภาวะธรรมนี่เกิดดับสองขณะหรือสามขณะ แต่ละคนไม่เท่ากันนะ ถัดจากนั้นจิตจะวางการรู้อารมณ์ ทวนกระแสเข้ามาหาธาตุรู้ สิ่งที่ห่อหุ้มปกคลุมธาตุรู้อยู่นี่ ถูกอริยมรรคแหวกออกไป แล้วก็มันจะไปเห็นนิพพานนะ นิพพานไม่ใช่ว่างเปล่า นิพพานไม่ใช่โลกๆหนึ่ง พวกเรายังไม่เคยเห็น เราก็วาดภาพสุดโต่งไปสองข้าง ข้างหนึ่งก็นิพพานเป็นโลกๆหนึ่ง พวกนี้พวกสัสตะทิฐิ มีของที่เที่ยงคงที่ อีกพวกหนึ่งคิดว่านิพพานสูญไปเลย ขณะนั้นไม่มีอะไรเหลือเลย กระทั่งสติ พวกนี้หลงไปล่ะ คิดว่านิพพานไม่มีอะไรเลย นี่พวกอุจเฉททิฐินะ นิพพานมีนะ นิพพานมีสภาวะรองรับ สภาวะของนิพพานคือสันติ คือความสงบนั่นเอง สงบจากอะไร สงบจากกิเลส สงบจากอะไร สงบจากความปรุงแต่ง สงบจากอะไร สงบจากการแบกหามขันธ์นะ ดังนั้นเราภาวนานะ
การทำบุญถ้าทำง่าย ๆ ไว ๆ ถึงเวลาได้ก็จะได้ง่าย ๆ ไว ๆ ถ้ามัวแต่ช้าอยู่จะ...กราบขอบพระคุณ และอนุโมทนา หลวงพ่อและท่านอาจารย์ มากครับที่กรุณา ให้โอกาส บุคคลรู้แจ้งในธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว จากผู้ใด พึงนอบน้อมผู้นั้นโดยเคารพ เหมือนพราหมณ์นับถือการบูชาไฟ ฉะนั้น. เรื่องที่ควรพูด ๑๐ ประการ อันเป็นไปเพื่อขูดเกลากิเลส คือ เรื่องปรารถนาน้อย เรื่องสันโดษ เรื่องความสงบสงัด เรื่องไม่คลุกคลี เรื่องมีความเพียร เรื่องศีล เรื่องสมาธิ เรื่องปัญญา เรื่องวิมุตติ เรื่องวิมุตติญาณทัสสนะ.เขาจะดีจะชั่วช่างเรื่องของเขา เรื่องของเรามาชำระกระแสจิตตามกระแสพระพุทธดำรัสขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็แล้วกัน นี่ที่กล่าวมานี้เป็นอาการของท่านสุกขวิปัสสโกนะขอรับ ศึกษากันใน มหาสติปัฏฐานสูตร ธรรมดาๆ แต่ถ้าหากว่าพระคุณจ้าหรือบรรดาญาติโยมพุทธบริษัทที่รัก เจริญ มหาสติปัฏฐานสูตร ใน อานาปานุสสติกรรมฐาน แล้ว แล้วก็ทรงวิชชาสามหรือได้ ทิพจักขุญาณ ตอนนี้เห็นจะไม่ต้องนั่งไล่แบบล่ะขอรับ สบาย เรามานั่งดูกระแสของจิตกันดีกว่า
วิธีการตามรู้ลมหายใจโดยไม่บริกรรมเวลาอริยมรรคจะเกิดจิตจะรวมเข้าฌานโดยอัตโนมัตินะ จิตเวลาที่เกิดมรรคเกิดผลจะไม่เกิดในจิตของคนธรรมดา นี่เรียกว่ากามาวจรจิต กามาวจรภูมิ ไม่เป็นอย่างนั้น จะต้องเข้าฌานนะ เมื่อมันรวมเข้าไปแล้วมันจะเห็นสภาวะธรรมนี่เกิดดับสองขณะหรือสามขณะ แต่ละคนไม่เท่ากันนะ ถัดจากนั้นจิตจะวางการรู้อารมณ์ ทวนกระแสเข้ามาหาธาตุรู้ สิ่งที่ห่อหุ้มปกคลุมธาตุรู้อยู่นี่ ถูกอริยมรรคแหวกออกไปแล้วก็มันจะไปเห็นนิพพานนะ นิพพานไม่ใช่ว่างเปล่านิพพานไม่ใช่โลกๆหนึ่ง พวกเรายังไม่เคยเห็น เราก็วาดภาพสุดโต่งไปสองข้าง ข้างหนึ่งก็นิพพานเป็นโลกๆหนึ่ง พวกนี้พวกสัสตะทิฐิ มีของที่เที่ยงคงที่ อีกพวกหนึ่งคิดว่านิพพานสูญไปเลย ขณะนั้นไม่มีอะไรเหลือเลย กระทั่งสติ พวกนี้หลงไปล่ะ คิดว่านิพพานไม่มีอะไรเลย นี่พวกอุจเฉททิฐินะ นิพพานมีนะ นิพพานมีสภาวะรองรับ สภาวะของนิพพานคือสันติ คือความสงบนั่นเอง สงบจากอะไร สงบจากกิเลส สงบจากอะไร สงบจากความปรุงแต่ง สงบจากอะไร สงบจากการแบกหามขันธ์นะ ดังนั้นเราภาวนานะ
วิธีการตามรู้ลมหายใจโดยไม่บริกรรมเวลาอริยมรรคจะเกิดจิตจะรวมเข้าฌานโดยอัตโนมัตินะ จิตเวลาที่เกิดมรรคเกิดผลจะไม่เกิดในจิตของคนธรรมดา นี่เรียกว่ากามาวจรจิต กามาวจรภูมิ ไม่เป็นอย่างนั้น จะต้องเข้าฌานนะ เมื่อมันรวมเข้าไปแล้วมันจะเห็นสภาวะธรรมนี่เกิดดับสองขณะหรือสามขณะ แต่ละคนไม่เท่ากันนะ ถัดจากนั้นจิตจะวางการรู้อารมณ์ ทวนกระแสเข้ามาหาธาตุรู้ สิ่งที่ห่อหุ้มปกคลุมธาตุรู้อยู่นี่ ถูกอริยมรรคแหวกออกไปแล้วก็มันจะไปเห็นนิพพานนะ นิพพานไม่ใช่ว่างเปล่านิพพานไม่ใช่โลกๆหนึ่ง พวกเรายังไม่เคยเห็น เราก็วาดภาพสุดโต่งไปสองข้าง ข้างหนึ่งก็นิพพานเป็นโลกๆหนึ่ง พวกนี้พวกสัสตะทิฐิ มีของที่เที่ยงคงที่ อีกพวกหนึ่งคิดว่านิพพานสูญไปเลย ขณะนั้นไม่มีอะไรเหลือเลย กระทั่งสติ พวกนี้หลงไปล่ะ คิดว่านิพพานไม่มีอะไรเลย นี่พวกอุจเฉททิฐินะ นิพพานมีนะ นิพพานมีสภาวะรองรับ สภาวะของนิพพานคือสันติ คือความสงบนั่นเอง สงบจากอะไร สงบจากกิเลส สงบจากอะไร สงบจากความปรุงแต่ง สงบจากอะไร สงบจากการแบกหามขันธ์นะ ดังนั้นเราภาวนานะ
วิธีการตามรู้ลมหายใจโดยไม่บริกรรมเวลาอริยมรรคจะเกิดจิตจะรวมเข้าฌานโดยอัตโนมัตินะ จิตเวลาที่เกิดมรรคเกิดผลจะไม่เกิดในจิตของคนธรรมดา นี่เรียกว่ากามาวจรจิต กามาวจรภูมิ ไม่เป็นอย่างนั้น จะต้องเข้าฌานนะ เมื่อมันรวมเข้าไปแล้วมันจะเห็นสภาวะธรรมนี่เกิดดับสองขณะหรือสามขณะ แต่ละคนไม่เท่ากันนะ ถัดจากนั้นจิตจะวางการรู้อารมณ์ ทวนกระแสเข้ามาหาธาตุรู้ สิ่งที่ห่อหุ้มปกคลุมธาตุรู้อยู่นี่ ถูกอริยมรรคแหวกออกไปแล้วก็มันจะไปเห็นนิพพานนะ นิพพานไม่ใช่ว่างเปล่านิพพานไม่ใช่โลกๆหนึ่ง พวกเรายังไม่เคยเห็น เราก็วาดภาพสุดโต่งไปสองข้าง ข้างหนึ่งก็นิพพานเป็นโลกๆหนึ่ง พวกนี้พวกสัสตะทิฐิ มีของที่เที่ยงคงที่ อีกพวกหนึ่งคิดว่านิพพานสูญไปเลย ขณะนั้นไม่มีอะไรเหลือเลย กระทั่งสติ พวกนี้หลงไปล่ะ คิดว่านิพพานไม่มีอะไรเลย นี่พวกอุจเฉททิฐินะ นิพพานมีนะ นิพพานมีสภาวะรองรับ สภาวะของนิพพานคือสันติ คือความสงบนั่นเอง สงบจากอะไร สงบจากกิเลส สงบจากอะไร สงบจากความปรุงแต่ง สงบจากอะไร สงบจากการแบกหามขันธ์นะ ดังนั้นเราภาวนานะ
นิพพานมาตรฐานการที่จะเข้าถึงนิพพานนี้ องค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดาทรงตรัสไว้เป็น ๔ แบบ ด้วยกัน คือ แบบที่ ๑ สุกขวิปัสสโก แบบที่ ๒ เตวิชโช แบบที่ ๓ ฉฬภิญโญ แบบที่ ๔ ปฏิสัมภิทัปปัตโต สำหรับแบบที่ ๑ นี่ชื่อง่ายแต่ทำยาก คือปฏิบัติแล้วไม่เห็นอะไรเหมือนคนเอาผ้าดำผูกตาเดิน ถ้าจะกล่าวกันไปก็เหมือนกับที่บรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลายทำกันอยู่เวลานี้ ถ้าไม่เลิกก็ถึงนิพพานเหมือนกัน ก็ได้แก่ ๑. ทาน ๒. ศีล ๓. ภาวนา ทำใจแบบสบาย เพราะว่ากิเลส ๓ ประการนี้ ถ้าตัดได้เมื่อไรก็ถึงนิพพานเมื่อนั้น ทาน การให้ ที่บรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลายถวายกับพระก็ดี ให้แก่คนยากจนก็ดี ให้แก่คนที่มีความลำบากก็ดี ให้แก่สัตว์เดรัจฉานก็ดี ก็ชื่อว่าเป็นทาน และการให้ทานถ้ามีความมุ่งหมายอย่างอื่น จะพลาดจากนิพพานไปนิดหนึ่ง แต่ก็ไม่มากนักถ้าจิตใจของบรรดาท่านพุทธบริษัทตั้งใจโดยเฉพาะเพื่อตัดกิเลสให้เป็น สมุจเฉทปหาน คิดว่าการให้ทานตัวนี้เราให้เพื่อตัดโลภะ ความโลภที่อยู่ในจิตของเรา มันเป็นสิ่งสกปรก เราให้ไปไม่หวังผลตอบแทนใดๆ ในชาติปัจจุบัน สำหรับท่านผู้รับ เขาจะนำไปใช้ เขาจะนำไปทิ้งมันเป็นเรื่องของเขา แต่กำลังใจของเราตัดเยื่อใยในความผูกมัดในทรัพย์สมบัติเกินไป ไม่ให้มีในจิต อย่างนี้ สมเด็จพระธรรมสามิสรตรัสว่า ชื่อว่าชนะความโลภ เป็นการตัดกิเลสตัวสำคัญ ตัดรากเหง้าได้รากหนึ่ง และ ศีลมัย บุญสำเร็จด้วยการรักษาศีล การรักษาศีลนั้นถ้าจะว่ากันตามประเพณี ก็ประโยชน์น้อยเต็มที ถ้าจะรักษากันได้จริงๆ ละก็จะต้องรู้พื้นฐานของศีล พื้นฐานที่เราจะมีศีลได้น่ะ มันมีอะไรอยู่บ้าง จับตัวนี้ให้มันอยู่บ้าง เพราะศีลเป็นตัวตัดโทสะความโกรธ คือตัดกิเลสตัดที่ ๒ ถ้าสักแต่ว่าสมาทานมันก็ไม่ต่างกับนกแก้วนกขุนทองที่เขาสอนพูด ประโยชน์มันมีเหมือนกันแต่ไม่ได้ ๑ ใน ๑๐๐ ถ้ารักษากันให้ดีละก็ไปนิพพานได้ จงจำไว้ว่าศีลที่จะมีขึ้นกับใจได้ต้องอาศัยเหตุ ๓ ประการ คือ ๑. เมตตา ความรัก ๒. ความกรุณา ความสงสาร ๓. สันโดษ ยินดีเฉพาะของที่เรามีอยู่โดยเฉพาะ หมายความว่าของที่เราหามาได้เองโดยชอบธรรม นั่นเรายินดี เราไม่ยินดีในทรัพย์สินของคนอื่นที่เราจะลักจะขโมย....การรักษาศีล ถ้าบรรดาท่านพุทธบริษัทรักษาศีลด้วยเหตุ ๓ ประการอย่างนี้ โทสะ ความโกรธมันก็ลดลง เพราะว่าทุกวันเมื่อเราตื่นขึ้นมาเราก็ตั้งใจเว้นความโกรธอยู่แล้ว ความรักเป็นการตัดความโกรธ ความสงสารเป็นการตัดความโกรธ ความสันโดษเป็นเหตุตัดความเดือดร้อนจากความโกรธของบุคคลอื่น การรักษาศีลได้ดีองค์สมเด็จพระชินศรีกล่าวว่า ค่อยๆ รักษาไปเรื่อยๆ ทำใจสบายๆ กิเลสคือความโกรธ ก็ค่อยๆ ลดไป ในที่สุดมันก็จะหมดไปเอง เป็นการปฏิบัติด้านสุกขวิปัสสโก ภาวนามัย ที่องค์สมเด็จพระจอมไตรตรัสว่า เป็นเรื่องของภาวนาด้านสุกขวิปัสสโกนี้มีฌานเบื้องต้นไม่สูง เริ่มใช้อารมณ์พิจารณาตั้งแต่ขณิกสมาธิ คือยามปกติเราให้ทานก็คิดว่า คนที่เราให้ทานทุกคน เมื่อเขารับทานมาแล้วเขาก็มีความสุขในการบริโภคทาน แต่ว่าเราผู้ให้ทานก็ดี เขาผู้รับทานก็ดี คนทั้งหลายทั้งหมดนี้ไม่อยู่ตลอดกาลตลอดสมัย เกิดขึ้นเมื่อไรค่อยๆ เสื่อมไปทุกวันๆ ในที่สุดก็ตายเหมือนกัน ผู้ให้ทานก็ตาย ผู้รับทานก็ตาย แต่ว่าเกิดขึ้นมาชีวิตอย่างนี้ พระพุทธเจ้ากล่าวว่า ชาติปิ ทุกขา ความเกิดเป็นทุกข์ เราเกิดมาเราต้องทำมาหากิน ต้องบริหาร แล้วก็มีความหิว ความกระหาย ปวดอุจจาระ ปวดปัสสาวะ มีความหนาวความร้อนเกินไป อาการทั้งหมดนี้มันเป็นทุกข์ เราผู้ให้ทานก็ทุกข์ ผู้รับทานก็ทุกข์ไม่มีใครที่มีความสุข เมื่อความแก่เข้ามาถึงเราก็ทุกข์ ความป่วยไข้ไม่สบายเข้ามาเราก็ทุกข์ มีความปรารถนาไม่สมหวังเข้ามาเราก็ทุกข์ การพลัดพรากจากของรักของชอบใจเข้ามาถึงเราก็ทุกข์ ความตายจะเข้ามาถึงมันก็ทุกข์ รวมความว่าเรากับเขาต่างคนต่างมีทุกข์ เรากับเขาต่างคนต่างไม่มีความจีรังยั่งยืน เรากับเขาต่างคนต่างตาย จะเป็นคนก็ดี จะเป็นสัตว์ก็ดี วัตถุธาตุก็ดี ในโลกนี้ไม่มีอะไรเหลือ นี่เป็นด้านวิปัสสนาญาณควบสมถะ ของสุกขวิปัสสโก และต่อไปถ้าจิตคิดอีกว่า ถ้าเรายังหวังความเกิดเป็นมนุษย์ก็ดี เป็นเทวดาก็ดี พรหมก็ดี เราก็ต้องเวียนว่ายตายเกิดอย่างนี้หาที่สิ้นสุดไม่ได้ ฉะนั้น องค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดาจึงตรัสว่า สถานที่พระนิพพานเป็นแดนที่มั่นคง เป็นแดนอมตะ เรายอมเชื่อพระ ทำจิตให้หลุดพ้นจากกิเลสเป็นสมุจเฉทปหาน คือ ทำลายความโลภด้วยการให้ทาน ทำลายความโกรธด้วยศีล คือมีความเมตตาปรานีเป็นที่ตั้ง ทำลายความหลงด้วยปัญญา ให้เห็นจริงว่าโลกนี้ไม่เที่ยง ผู้ที่เกิดมาแล้วก็ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ในที่สุดกระทั่งจิตของเรานี้ก็ปลอดปราศจากกิเลสทั้ง ๓ ประการ คือ โลภะ ความโลภไม่มี โทสะ ความโกรธไม่มี โมหะ ความหลงไม่มี อย่างนี้ชื่อว่าเป็น นิพพานัง ปรมัง สุญญัง นิพพานเป็นธรรมว่างอย่างยิ่ง คือว่างจากความเดือดร้อน ว่างจากความโลภ ว่างจากความโกรธ ว่างจากความหลง จิตก็ถึงจุดตรง คือ นิพพานัง ปรมัง สุขัง คือ นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง ในเมื่อเชื้อสายความเร่าร้อนไม่มี จิตก็เป็นสุข อย่างนี้ท่านเรียกว่า นิพพานตัดกิเลสมีเบญจขันธ์เหลือ
ดูกรท่านผู้นิรทุกข์ถ้าเราพักอยู่เราจะจมลงถ้าเราเพียรอยู่เราจะลอยขึ้นเราไ...ครั้งหนึ่งมีเทวดา ไปทูลถามพระพุทธเจ้า เทวดานี้ท่านนึกว่าตัวเองเป็นพระอรหันต์ ก็ไปทูลถามพระพุทธเจ้า คล้ายๆจะไปแลกเปลี่ยนความรู้กัน มาที่วัดนะ กลางคืน ยังราตรีให้สว่างไสวไปหมดเลย ด้วยรัศมีของเทวดา พระที่มีหูทิพย์ตาทิพย์ก็จะเห็น ถ้าไม่มีก็ไม่เห็น สว่างไสวด้วยรัศมีของเทวดานี้ เทวดาไปถึงก็ยืนพนมมือนะ แล้วทูลถามพระพุทธเจ้า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์ข้ามโอฆะ โอฆะแปลว่าห้วงน้ำ ห้วงกิเลสนั่นเองแหละ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์ข้ามโอฆะได้อย่างไร คล้ายๆชวนแลกเปลี่ยนทัศนะกันนะ เดี๋ยวท่านตอบแล้วเราจะตอบบ้าง ว่าชั้นข้ามมาด้วยวิธีนี้นะ ท่านข้ามมาได้ด้วยวิธีไหน กะจะมาชวนคุยธรรมะนะ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์ข้ามโอฆะได้อย่างไร พระพุทธเจ้าท่านก็ตอบ ดูกรท่านนิรทุกข์ นิรทุกข์แปลว่าผู้ไม่มีความทุกข์ อันนี้เป็นคำยกย่องนะ จริงๆเทวดานี้ยังทุกข์แต่ยังไม่เห็นหรอก ดูก่อนท่านนิรทุกข์ เราข้ามโอฆะได้นะ เพราะเราไม่พักและเราไม่เพียร เทวดาเจอหมัดเด็ดเข้า ไม่พักไม่เพียร หา..ข้ามโอฆะได้ด้วยการไม่พักและไม่เพียรเหรอ ไม่พักเนี่ยพอเข้าใจใช่มั้ย ขยันปฏิบัติไป ไม่เพียรด้วยเหรอ เออ.. เทวดาผู้(คิดว่าตนเอง – ผู้ถอด)เป็นพระอรหันต์งงแล้ว เอ๊ะ พระพุทธเจ้าข้ามโอฆะด้วยการไม่พักและไม่เพียร เป็นไปได้อย่างไร มีแต่บอกให้เพียรเยอะๆไปเลย ใช่มั้ย เนี่ยท่านแกล้งน็อคนะ น็อค ทำให้งง เทวดาก็หมดความถือตัวนะ ทูลถามท่าน เป็นอย่างไรพระเจ้าข้า ไม่พักไม่เพียร ให้ช่วยขยายความหน่อย ไม่เข้าใจ ยอมรับแล้วนะว่าไม่เข้าใจ พระพุทธเจ้าท่านขยายความ ดูกรท่านผู้นิรทุกข์ ถ้าเราพักอยู่เราจะจมลง ถ้าเราเพียรอยู่เราจะลอยขึ้น เราไม่พักเราไม่เพียร เราข้ามโอฆะได้ด้วยวิธีนี้ เทวดาได้พระโสดาบันเลย ได้มั้ย พวกเราฟังเหมือนเทวดา ใครได้ยกมือสิ เห็นมั้ย บารมีสู้เขาไม่ได้นะ เทวดาแจ้งแล้วเทวดาก็ไป แต่พอพระพุทธเจ้ามาเล่าให้พระอานนท์ฟังใช่มั้ย มนุษย์ทั้งหลายที่ฟังตามหลังเนี่ย ไม่แจ้ง อรรถกถาก็เลยต้องมาขยายความให้อีกนะ พระพุทธเจ้าขยายความให้เทวดามา ๑ ชั้นแล้ว ทีแรกท่านบอกว่าท่านไม่พักไม่เพียร พอขยายความท่านบอกว่า ถ้าพักอยู่เราจะจมลง ถ้าเพียรอยู่เราจะลอยขึ้น เราไม่พักไม่เพียร เราข้ามโอฆะได้ด้วยวิธีนี้ อรรถกถาต้องมาแปลต่ออีกทีเพื่อให้คนรุ่นเรารู้เรื่อง คำว่าพักอยู่เนี่ย ก็คือการปล่อยตัวปล่อยใจไปตามกิเลส คือกามสุขัลลิกานุโยคนั่นเอง การที่เราวิ่งพล่านไปทางตา วิ่งพล่านไปทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย วิ่งคิดนึกปรุงแต่งฟุ้งซ่านไป นั่นแหละคือการหลงโลก เราติดต่อโลกภายนอกผ่านทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ นั่นเอง เรียกว่าอายตนะที่เชื่อมต่อสัมผัสโลกข้างนอก ถ้าจิตวิ่งพล่านออกไปทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ อันนี้เรียกว่าหย่อนเกินไป แล้วทำไมท่านบอกว่า ถ้าเราพักอยู่เราจะจมลง ถ้าเราปล่อยจิตใจของเรานะ ร่อนเร่ไปเรื่อย ตามกิเลสไปเรื่อย จะจมลง นึกออกหรือยังว่าจะจมลงอย่างไร จะลงอบาย(ภูมิ)นะ ใจจะลงอบาย ลงที่ต่ำไปเรื่อย คำว่าเพียรอยู่เนี่ย ก็คือการฝึกหัดตัวเอง บังคับควบคุมตัวเอง คือ อัตตกิลมถานุโยค ยกตัวอย่างเวลาที่พวกเราคิดถึงการเดินจงกรม เราก็เริ่มบังคับกาย เริ่มบังคับใจ เวลาเราคิดถึงเรื่องการนั่งสมาธิ เราก็บังคับกาย บังคับใจ มีแต่บังคับจนมันนิ่งๆแข็งๆทื่อๆ ไม่แสดงไตรลักษณ์ แล้วท่านก็บอกว่า ถ้าเราเพียรอยู่คือบังคับตัวเองอยู่เนี่ย เราจะลอยขึ้น ลอยขึ้นไปอย่างไร ก็ไปสุคติใช่มั้ย สุคติมีตั้งแต่เป็นมนุษย์นะ เป็นเทวดา เป็นพรหม ลอยขึ้น ถ้าพักอยู่ คือปล่อยตัวปล่อยใจไปตามกิเลสจะจมลง สู่อบาย อบายภูมิทั้ง ๔ นะ ตั้งแต่สัตว์นรก สัตว์เดรัจฉาน อสุรกาย เปรต ขึ้นมาใกล้มนุษย์แล้ว ถ้าเพียรอยู่ พยายามควบคุมตัวเองบังคับตัวเอง ไม่ให้ตามใจกิเลส ก็จะได้เป็นมนุษย์ ได้เป็นเทวดา ได้เป็นพรหม ไม่นิพพาน ทั้งสองฝั่ง เห็นมั้ยว่าไม่มีช่องของพระนิพพาน ช่องของพระนิพพานนั้น ไม่พักและไม่เพียร ไม่พักคือไม่หลงไปไม่เผลอไป ไม่เพียรคือไม่ควบคุมกดข่มบังคับตัวเอง ช่องตรงกลางก็คือ การรู้รูปนามตามความเป็นจริง รู้กายรู้ใจตามความเป็นจริง ไม่ใช่เรื่องคิดเอาเอง และไม่ใช่เรื่องบังคับกายบังคับใจให้นิ่งนะ เพราะฉะนั้นทางสายกลางอยู่ตรงที่เราไม่พักไม่เพียร ไม่หย่อนไม่ตึงนั่นเอง ให้รู้รูปนามตามความเป็นจริง ที่หลวงพ่อย่อลงมาบอกว่า “ให้มีสติ รู้กายรู้ใจ ตามความเป็นจริง ด้วยจิตที่ตั้งมั่นและเป็นกลาง” ถ้าเราไม่รู้กายรู้ใจเราก็ย่อหย่อนไป ลืมกายลืมใจเมื่อไหร่ นึกเลยนะ ถ้าเมื่อไหร่เผลอ ขาดสติ ลืมกายลืมใจ ต้องรู้นะ ขณะนั้นย่อหย่อนแล้ว โอกาสที่จะไปอบายภูมิเริ่มเกิดขึ้นแล้ว ถ้าขณะไหนลงมือปฏิบัติแล้วก็แน่นไปหมดเลย ควบคุมตัวเองแน่นไปหมดเลย ขณะนั้นตึงเกินไป ไปสุคติได้แต่ไปนิพพานไม่ได้ เพราะอะไร เพราะไม่เห็นไตรลักษณ์ กายก็จะนิ่ง ใจก็จะนิ่ง เมื่อไม่เห็นความเป็นไตรลักษณ์ของรูปของนาม เรียกว่าไม่เห็นความจริง เมื่อไม่เห็นความจริงย่อมไม่เบื่อหน่ายไม่คลายความยึดถือ ไม่หลุดพ้นนะ เพราะฉะนั้นหน้าที่ของเรา เดินจิตเข้าสู่ทางสายกลางให้ได้
ธรรมโอสถเมื่อใดบุคคล พิจารณาเห็นโลก เสมอด้วยหญ้าและไม้ด้วยปัญญา เมื่อ นั้น บุคคลนั้นย่อมไม่ยึดถือว่าเป็นของเรา ย่อมไม่เศร้า โศกว่า ของเราไม่มี เรารำคาญด้วยสรีระ เราไม่ต้อง- การด้วยภพ ร่างกายนี้จักแตกไป และจักไม่มีร่างกาย อื่น ถ้าท่านทั้งหลายปรารถนาจะทำกิจใดด้วยร่างกายของ เรา ก็จงทำกิจนั้นเถิด ความขัดเคืองและความรักใคร่ใน ร่างกายนั้น จักไม่มีแก่เรา เพราะเหตุที่ท่านทั้งหลายทำ กิจตามปรารถนาด้วยร่างกายของเรานั้น. โจรทั้งหลายได้ ฟังคำของท่านอันน่าอัศจรรย์ ทำให้ขนลุกชูชัน จึงพา กันวางศาสตราวุธ แล้วกล่าวดังนี้ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ความไม่เศร้าโศกที่ท่านได้นี้ เพราะท่านได้ทำกรรมอะไร ไว้ หรือใครเป็นอาจารย์ของท่าน หรือเพราะอาศัยคำสั่ง สอนของใคร. พระเถระได้ฟังดังนั้นแล้ว จึงได้กล่าวตอบว่า พระศาสดาผู้เป็นสัพพัญญู รู้เห็นธรรมทั้งปวง ชนะ หมู่มาร มีพระกรุณาใหญ่ ผู้รักษาพยาบาลชาวโลกทั้งปวง เป็นอาจารย์ของเรา ธรรมเครื่องให้ถึงความสิ้นอาสวะอัน ยอดเยี่ยมนี้ พระองค์ทรงแสดงไว้แล้ว ความไม่เศร้าโศก เราได้เพราะอาศัยคำสั่งสอนของพระองค์ พวกโจรฟั ถ้อยคำอันเป็นสุภาษิตของพระเถระผู้เป็นฤาษีแล้ว พากัน วางศาสตราและอาวุธ บางพวกก็งดเว้นจากโจรกรรม บาง พวกก็ขอบรรพชา โจรเหล่านั้นครั้นได้บรรพชาในศาสนา ของพระสุคตแล้ว ได้เจริญโพชฌงค์และพลธรรม เป็น บัณฑิต มีจิตเฟื่องฟู เบิกบาน มีอินทรีย์อันอบรมดีแล้ว ได้บรรลุสันตบท คือนิพพานอันหาปัจจัยปรุงแต่งมิได้
ฝันกับคิดคืออันเดียวกัน สันตินันท์ จิตถูกห่อหุ้มด้วยอาสวะกิเลส เวลาวิมุติอริยมรรคเกิดแต่ละขั้นๆ ก็มีความสุขเป็นลำดับๆ ไป ถึงจุดสุดท้ายก็มีความสุขล้วนๆ มีความสุขเพราะว่ามันไม่มีอะไรเข้ามาเคลือบจิตได้อีก หมอณัฐดูออกมั้ยจิตเราถูกห่อหุ้มไว้ มีเปลือกหุ้ม จิตเค้าถูกห่อหุ้มด้วยอาสวะ ยังปนเปื้อน เยิ้มๆ จิตยังปนเปื้อน ความปนเปื้อนนี้แหละ เป็นช่องทางให้กิเลสไหลเข้ามาสู่จิต (หมอณัฐถาม...ได้ยินไม่ชัด) .. อือ ดูอย่างนี้ก็ได้ แล้วจะเห็นเอง จิตใจนี้เป็นอิสระ รู้สึกมั้ยจิตใจไม่เป็นอิสระ ตอนนี้รู้สึกมั้ย อาจจะไม่เห็นตัวอาสวะตรงๆ แต่เห็นผลของจิตที่มีอาสวะ ไม่อิสระ จริงๆ จิตถูกอาสวะห่อหุ้มไว้ อาสวะนี่ เทียบแล้วคล้ายๆ กับ เรามี สมมติอยู่บ้านไม้ ใครเคยอยู่บ้านไม้ เวลาเราทำน้ำหกน้ำไหลไปเนี่ย เราจะเห็นเส้นทางที่เราเช็ดให้แห้ง เทน้ำลงไปที่เก่า มันไหลไปทางเดิมอย่างรวดเร็ว มันนำร่อง ความชื้นเดิมมันนำร่อง เพราะน้ำนี้ไหลไปตามความชื้นเดิม อาสวะกิเลสนี่มันนำร่องกิเลสเข้าไปย้อมจิต จิตของเราไม่มีอิสระ เหมือนลูกไก่ที่อยู่ในเปลือกไข่ พระพุทธเจ้าท่านบอกว่า ท่านเป็นลูกไก่ที่เจาะเปลือกไข่ออกมาเป็นตัวแรก ท่านใช้คำเปรียบเทียบได้ดี เคยมีพราหมณ์คนนึงไปว่าพระพุทธเจ้า บอกอายุก็ยังน้อยพราหมณ์ผู้แก่ผู้เฒ่ามาก็ไม่ไหว้ไม่ต้อนรับ เฉยเมย ท่านบอกว่าท่านอาวุโสที่สุด ท่านเป็นลูกไก่ที่เจาะเปลือกออกมาได้ พวกที่เหลือยังอยู่ในไข่อยู่เลย ท่านจะไปไหว้ทำไม คำพูดของท่านนะ น่าฟัง จริงๆ แล้วเรามีเปลือกที่ห่อหุ้มอยู่ จิตถูกอาสวะกิเลสห่อหุ้ม ทำยังไงก็ไม่ขาด ไม่ขาด ทำยังไง ยังไง้ ยังไงก็ไม่ขาด พระไตรปิฎกก็เลยใช้คำบอกว่า เวลาบรรลุพระอรหันต์นะ จิตหลุดพ้นจากอาสวะเพราะความไม่ถือมั่น เห็นมั้ย หลุดพ้นจากอาสวะ อาสวะมันห่อหุ้มไว้ จิตหลุดพ้นจากอาสวะเพราะความไม่ถือมั่น ไม่ถือมั่นในอะไร ในรูปนาม ในกายในใจ เนี่ยกุญแจของการปฏิบัติอยู่ที่กายกับใจนี่เอง เมื่อไรไม่ถือมั่นในกายในใจ โดยเฉพาะเมื่อไหร่ไม่ถือมั่นในใจในจิต อาสวะจะขาดโดยอัตโนมัติ ถ้าเราเห็นอาสวะแล้วพยายามตัด ทำยังไงก็ไม่ขาด กำหนดจิตให้แหลมคมแค่ไหนก็ไม่ขาดนะ แทงก็ไม่ทะลุนะ พอมันขาดเราจะรู้สึกว่าเรามีอิสระ 23 ก.ค. 2549 สภาวะทุกอย่างเสมอภาคกัน การเห็นสภาวะที่หยาบหรือละเอียด ธรรมะภายใน ธรรมะภายนอก ธรรมะที่เป็นกุศล อกุศล ธรรมะที่เป็นสุข เป็นทุกข์ ก็เสมอภาคกัน คือทั้งหมดเกิดและดับ ไม่ใช่ว่าต้องทำให้ละเอียดขึ้นๆ จึงจะบรรลุธรรม บางวันมันก็หยาบ บางวันมันก็ละเอียด เพราะว่าทั้งหมดนี้ เป็นเรื่องของอนัตตา ทั้งหมดเลย สติก็เป็นอนัตตา บางวันก็หยาบ บางวันก็ละเอียด บางวันก็ไม่มีเลย เขาเกิดขึ้นมาจะเป็นยังไงก็ได้ เราเรียนไม่ใช่เพื่อว่าจะเอาดี ไม่ใช่ว่าเราอยากได้สติเยอะๆ เราไม่ได้เรียนเอาตรงนั้นหรอก แต่เราเรียนจนกระทั่งจิตมันเกิดความเข้าใจ ว่าทุกอย่างบังคับไม่ได้ สติจะเกิดหรือไม่เกิด จะหยาบหรือละเอียด เราก็เลือกไม่ได้ ไม่ได้เรียนเอาดีนะ แต่เรียนเพื่อที่จะเห็นว่า ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นมาล้วนแต่ดับไปทั้งสิ้น ธรรมะที่หยาบเกิดขึ้นแล้วก็ดับ ธรรมะที่ละเอียดเกิดแล้วก็ดับ เสมอภาคกัน เรียนเพื่อให้เข้าใจตรงนี้เอง ในที่สุดก็เข้าใจว่า ทุกสิ่งที่เกิดล้วนแต่ดับไปทั้งสิ้น พระโสดาบันรู้แค่นี้เอง 22 ต.ค. 2548 การจำสภาวะธรรมได้เป็นเหตุใกล้ให้เกิดสติ สติเกิดขึ้นได้เพราะมีเหตุให้สติเกิด มันเกิดขึ้นเอง เราไปสั่งให้มันเกิดมันไม่เกิดหรอก สติมีการจำสภาวะได้ เป็นเหตุใกล้ให้เกิด เพราะเรารู้จักโกรธเป็นอย่างไร พอโกรธสติก็เกิด พอรู้จักเผลอเป็นยังไง พอเผลอสติก็เกิด พอหัดรู้กาย รู้ใจเนืองๆ สติปัญญาเริ่มแก่กล้าเพียงพอ จิตจะรวมเข้าอัปปนาสมาธิเอง พอรวมแล้วก็จะเห็นสภาวธรรมเกิดดับ 2 หรือ 3 ขณะ จะเห็นตัวสภาวะเกิดดับ ถัดจากนั้นโคตรภูญาณจะเกิดขึ้น มันจะเกิดการปล่อยวางตัวสภาวะ พอเห็นสภาวะเกิดดับ ปัญญาแก่รอบแล้ว มันวาง มันทิ้งโดยไม่ได้เจตนา ตรงนี้ไม่มีความจงใจเหลืออยู่เลยตั้งแต่จิตรวมแล้วเห็นสภาวะเกิดดับ 2 หรือ 3 ขณะนั้น จิต จะวางการรู้สภาวะแล้วทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้ ตรงเนี้ยตรงที่มันปล่อยสภาวะก็ไม่ใช่ปุถุชน ตรงที่ทวนเข้าหาธาตุรู้ยังไม่เข้าถึงธรรมธาตุตัวนี้ก็ไม่ใช่พระอริยะ เพราะงั้นเป็นรอยต่อ เกิดขึ้นแว๊บเดียวทวนเข้าถึงธาตุรู้แท้ๆ ตัวรู้จะมีปัญญาสุดขีดเกิดขึ้น ธาตุรู้นี้ก็เกิดแล้วก็ดับได้อีก จะเห็นเลยว่าความเป็นราไม่มีสักนิดเดียว ถัดจากนั้นจิตจะไปเห็นนิพพาน 2 หรือ 3 ขณะแล้วแต่คน จะเห็นสภาวธรรมเกิดดับ 2 หรือ 3 ขณะจากนั้นจิตจะถอยออกมาจากอัปปนาสมาธิ พอออกมาข้างนอกมันจะทวนกระแสเข้าไปพิจาณาสิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อกี๊แล้วมันจะเข้าใจ กิเลสยังเหลือ หรือไม่เหลือสักเท่าไร รู้ พอเราปฏิบัติได้อย่างนี้ พอเราต้องการเช็คตัวเอง เราสังเกตที่ใจของเรากิเลสของเราเหลือสักเท่าไร จะไปแล้วเท่าไร หลวงปู่ดูลย์ไปเรียนกรรมฐานกับหลวงปู่มั่นเสร็จแล้วไปเดินนะ เดินมาเดือนกว่าๆ กลับมารายงาน กิเลส 4 ส่วน ผมละเด็ดขาดไปแล้ว 1 ส่วน ส่วนที่ 2 ละได้ครึ่งเดียวยังไม่สมุจเฉจ (การตัดขาด) หลวงปู่มั่นบอกไปทำต่อถูกแล้ว จากนี้ดู สัพเพ สังขารา สัพพสัญญา อนัตตา 4 พ.ค. 2548 ทางลัด จิตที่พ้นความปรุงแต่ง จะรู้ธรรมชาติที่พ้นความปรุงแต่ง (นิพพาน) ทางลัดที่สุดสำหรับการปฏิบัติธรรม จึงไม่ใช่การกระทำ (ปรุงแต่ง) ใดๆ แต่เป็นการหยุดกระทำ โดยไม่กระทำ (ปรุงแต่ง) ความหยุดให้เกิดขึ้น มีเพียง การรู้อย่างเงียบสนิทจริงๆ เท่านั้น (โดยไม่มีมายาของการคิดนึกปรุงแต่ง และมายาของการหยุดคิดนึกปรุงแต่ง) ที่เป็นสิ่งสุดท้ายซึ่งผู้ปฏิบัติจะทำได้ ก่อนที่จิตเขาจะ "ก้าวกระโดด" ไปเอง หากพระพุทธเจ้าจะทรงแสดงธรรมอย่างถึงที่สุด ย่อมต้องปิดพระโอษฐ์เงียบ แต่นั่นเป็นสิ่งยากเกินกว่าเวไนยชนจะเข้าใจได้ และหากจะทรงกล่าวธรรมอย่างย่นย่อที่สุดว่า สิ่งทั้งปวงไม่ควรยึดมั่น ก็ยังยากที่จะมีผู้รู้ตามได้ เพราะสัตว์ทั้งหลายถ้าไม่ยึดรูปธรรม ก็ต้องยึดนามธรรมไว้ก่อน พระองค์จึงทรงบอก ทาง ของการปฏิบัติขึ้นมามากมาย โดยอิงกับรูปธรรมและนามธรรม เช่น ทาน ศีล ภาวนา กุศลกรรมบถ ตลอดจนการทำสมถะและวิปัสสนา ทั้งนี้ ก็เพื่อให้พวกเราเดินเข้าใกล้ การหยุดพฤติกรรมทางจิต จนเหลือเพียงรู้อย่างเงียบสนิทจริงๆ นั่นเอง เช่นทรงสอนให้ทำทาน เพื่อลดความกระวนกระวายเพราะความโลภ ทรงสอนให้รักษาศีล เพื่อเป็นพื้นฐานสำหรับความสงบระงับ ทรงสอนสัมมาสมาธิ เพื่อให้จิตตั้งมั่นและรู้ตัว และทรงสอนวิปัสสนา เพื่อทำลายแรงดึงดูดของอารมณ์ ที่จะพาจิตให้ทะยานไปก่อภพก่อชาติตลอดนิรันดร ผู้ปฏิบัติที่ยังขาดความเข้าใจ ย่อมปฏิบัติสิ่งเหล่านี้ เพื่อที่จะปฏิบัติต่อไป ส่วนผู้ที่เข้าใจแล้ว ก็จะ หยุด การปฏิบัติ ได้ด้วยปัญญาญาณอันแหลมคม หากต้องการทางลัด ก็จำเป็นต้อง รู้ และเลิกคิดเรื่อง ทาง ไปเลย แต่ถ้ายังไม่รู้จัก รู้ ก็ยังจำเป็นต้องอาศัยทางเหล่านั้นต่อไปก่อน 4 ธ.ค. 2544 ของฝากจากสวนโพธิ์ 1. เผลอก็ให้รู้ว่าเผลอ เมื่อรู้ว่าเผลอแล้วก็พอแล้ว อย่าเผลอต่อไปอีก ด้วยการคิดว่า ทำอย่างไรจึงจะรู้ตัวได้ต่อเนื่อง 2. เพ่งก็ให้รู้ว่าเพ่ง เมื่อรู้ว่าเพ่งแล้วก็พอแล้ว อย่าเผลอหรือเพ่งต่อไปอีก เพื่อจะทำลายการเพ่งนั้น 3. หงุดหงิดก็รู้ว่าหงุดหงิด กลัวก็รู้ว่ากลัว มีราคะก็รู้ว่ามีราคะ มีความฟุ้งซ่านก็รู้ว่ามีความฟุ้งซ่าน ให้รู้ด้วยจิตที่เป็นกลางๆ คือไม่คล้อยตาม และไม่ต่อต้าน เพราะถ้าคล้อยตามก็จะถูกกิเลสครอบงำ ถ้าต่อต้านก็จะเกิดความอึดอัดใจ 4. สรุปแล้ว ให้รู้ทุกอย่างที่จิตไปรู้เข้า โดยไม่เติมความคิดนึกปรุงแต่งใดๆ ลงไปอีก เพราะ "รู้" นั่นแหละคือประตูของมรรคผลนิพพาน 29 พ.ย. 2544 แก่นสารของการปฏิบัติธรรม การเจริญสติจริงๆ จะไปยากอะไร เพียงแต่ให้มีจิตที่รู้ตัวสบายๆ เป็นธรรมชาติธรรมดานี้เอง แล้วไปรู้อารมณ์ (ที่เป็นปรมัตถ์)ที่กำลังปรากฏ โดยไม่เผลอ ไม่เพ่ง ด้วยความเป็นกลางจริงๆ คลองแห่งความคิดจะขาดไป และจิตจะรู้ โดยปราศจากความปรุงแต่ง ไม่นานผู้ปฏิบัติก็จะสามารถเข้าในวิสังขารธรรม หรือธรรมที่พ้นความปรุงแต่งได้ จุดแรกที่พวกเราควรทำความรู้จักก็คือ จิตที่มีสติ ไม่เผลอ ไม่หลง ไม่ถูกครอบงำด้วยความปรุงแต่งมันเป็นอย่างไร เมื่อรู้ตัวเป็นแล้ว ก็รู้ปรมัตถธรรมที่กำลังปรากฏไปตามธรรมดาๆ นี่เอง เช่นรู้ลงในความไหวของกาย ด้วยจิตที่ไม่หลง ก็จะเห็นปรมัตถ์ของ "กาย" อย่างชัดเจน คลองแห่งความคิดจะขาดไป เหลือแต่รู้สักว่ารู้ รู้ตามความเป็นจริง รู้ด้วยจิตที่เป็นกลาง แล้วจะเห็นธรรมฝ่ายสังขารคือ "กาย" หากจิตมีความพร้อม ก็จะเห็นธรรมฝ่ายวิสังขาร คือฝ่ายเหนือความปรุงแต่งได้ในวับเดียว 29 พ.ค. 2544 รู้อย่างไรจึงจะบั่นทอนทุกข์ลงได้ "รู้ตัว" เป็น ก็คือมีจิตที่ตั้งมั่น เป็นกลาง เป็นธรรมเอก ถัดจากนั้นก็ต้องหัด "รู้" ทุกสิ่งที่กำลังปรากฏ ด้วยความ "รู้ตัว" ก็จะเห็นว่าทุกอย่างที่ถูกรู้ล้วนแต่เกิดขึ้นแล้วดับไป และถ้าเมื่อใดจิตขาดความรู้ตัว หลงเข้ายึดถือสิ่งที่ถูกรู้ ความทุกข์ก็เกิดขึ้น ถ้ารู้ โดยรู้ตัวอยู่ ก็เป็น รู้สักว่ารู้ จิตจะเป็นเพียง "ผู้สังเกตการณ์" ปรากฏการณ์ทั้งปวง โดยไม่โดดเข้าไปร่วมแสดงเอง ที่คุณสุรวัฒน์เล่าถึงการปฏิบัติว่า "ผมก็เลยต้องคอยทำตัวให้ รู้ เข้าไว้ อาบน้ำก็ฝึกรู้ ดูโทรทัศน์ก็ฝึกรู้ กินข้าวก็ฝึกรู้ ...นึกขึ้นได้ตอนไหนก็ฝึกรู้ วันๆก็ฝึกรู้ไปเรื่อยๆ" หัดต่อไปอย่างที่หัดนี่แหละครับ ยืน เดิน นั่ง นอน กิน ดื่ม ขับถ่าย ทำ พูด คิด ฯลฯ รู้อยู่ให้ตลอด ให้ต่อเนื่องไปเรื่อยๆ โดยมีผู้รู้ กับสิ่งที่ถูกรู้ ซึ่งถึงจุดนี้ จะเห็นมันแยกกันเองได้แล้วครับ ไม่ต้องไปพยายามทำอะไรเพื่อให้มันแยกกันมากกว่านี้จนผิดธรรมชาติ จะกลายเป็นปฏิบัติด้วยความจงใจและความอยากมากไปครับ 30 มิ.ย. 2543 ปัจจัยแห่งความเจริญงอกงามในธรรม (1) ให้พยายามมีสติสัมปชัญญะ รู้ อยู่ในชีวิตประจำวันให้ได้ จะยืน เดิน นั่ง นอน กิน ดื่ม ทำ พูด คิด ฯลฯ ก็ให้มีสติรู้กายรู้ใจอยู่เสมอ (2) ให้ปฏิบัติธรรมไปอย่างซื่อๆ ตรงๆ อย่าเอาแต่วุ่นวายกับการคิด การหาอุบายทางลัด และนิมิตต่างๆ เพราะนั่นล้วนเป็นทางแห่งความเนิ่นช้า (3) อย่าเอาแต่รวมกลุ่มสัญจรไปตามสำนักโน้นสำนักนี้ เที่ยวสนุกกับการไปฟังธรรมที่โน้นที่นี้ ละเลยการฟังธรรมในจิตใจตนเอง (4) มีผลการปฏิบัติใดๆ เกิดขึ้นในระหว่างทาง ก็อย่าเอาแต่ไปเขียนเล่าในกระทู้ให้กิเลสกระเพื่อม จนปฏิบัติต่อไปไม่ได้อีก (5) ขอให้ตั้งใจจริงจังเพื่อเอาตัวให้รอด ลองเอาจริงสัก ปี สองปีก็ยังดี โดยยอมเสียสละเรื่องรกรุงรังในจิตใจเสียสักช่วงหนึ่ง แล้วตั้งใจปฏิบัติให้สม่ำเสมอ 9 พ.ย. 2543 วันวานที่ผ่านมา วิปัสสนาที่แท้จริงนั้น มีแต่รู้ ไม่ต้องจงใจเติมสิ่งใดลงไปในรู้ ไม่ว่าจะเป็นศีล สมาธิ หรือปัญญา ไม่ต้องเอาสมมุติบัญญัติ หรือความคิดนึกปรุงแต่งใดๆ มาช่วยทำวิปัสสนา ไม่ต้องคิด ไม่ต้องพิจารณาโดยสิ้นเชิง เพราะความจงใจเคลื่อนไหวใดๆ จะทำให้จิตก่อภพก่อชาติ ก่อวัฏฏะหมุนวนขึ้นมาอีก ผมไม่แนะนำให้พยายามทรงความรู้ตัวให้นานๆ เพราะความพยายามนั้นเอง จะทำให้เกิดการ จงใจ เสแสร้ง ดัดจริต รู้ นักปฏิบัตินั้น อย่าไปนึกถึงเรื่องที่จะให้จิตรู้ตัวต่อเนื่อง ได้เป็นชั่วโมง เป็นวัน เป็นเดือน เลยครับ เพราะการปฏิบัติ เราจะดูกันเป็นขณะๆ ไปเท่านั้นเอง ว่าขณะนี้รู้ตัวหรือเผลอ ขณะนี้มีสติ หรือขาดสติ ขณะใดมีสติ ขณะนั้นกำลังปฏิบัติอยู่ ขณะใดขาดสติ ขณะนั้นไม่ได้ปฏิบัติ หรือปฏิบัติผิด ไม่ใช่พูดว่า ชั่วโมงนี้รู้ตัว หรือวันนี้รู้ตัว ชั่วโมงต่อมา หรือวันต่อมา ไม่รู้ตัว ดังนั้นเมื่อเผลอไป แล้วเกิดรู้ตัวว่าเผลอ ขณะนั้น จิต รู้ ถูกต้องแล้ว เมื่อเพ่ง แล้วเกิดรู้ตัวว่าเพ่ง ขณะนั้น จิต รู้ ถูกต้องแล้ว เมื่อมีราคะ แล้วเกิดรู้ตัวว่ามีราคะ ขณะนั้น จิต รู้ ถูกต้องแล้ว เมื่อโทสะ แล้วเกิดรู้ตัวว่ามีโทสะ ขณะนั้น จิต รู้ ถูกต้องแล้ว เมื่อมีโมหะ แล้วเกิดรู้ตัวว่าโมหะ ขณะนั้น จิต รู้ ถูกต้องแล้ว
วังวนแห่งความวุ่นวาย สันตินันท์ จิตถูกห่อหุ้มด้วยอาสวะกิเลส เวลาวิมุติอริยมรรคเกิดแต่ละขั้นๆ ก็มีความสุขเป็นลำดับๆ ไป ถึงจุดสุดท้ายก็มีความสุขล้วนๆ มีความสุขเพราะว่ามันไม่มีอะไรเข้ามาเคลือบจิตได้อีก หมอณัฐดูออกมั้ยจิตเราถูกห่อหุ้มไว้ มีเปลือกหุ้ม จิตเค้าถูกห่อหุ้มด้วยอาสวะ ยังปนเปื้อน เยิ้มๆ จิตยังปนเปื้อน ความปนเปื้อนนี้แหละ เป็นช่องทางให้กิเลสไหลเข้ามาสู่จิต (หมอณัฐถาม...ได้ยินไม่ชัด) .. อือ ดูอย่างนี้ก็ได้ แล้วจะเห็นเอง จิตใจนี้เป็นอิสระ รู้สึกมั้ยจิตใจไม่เป็นอิสระ ตอนนี้รู้สึกมั้ย อาจจะไม่เห็นตัวอาสวะตรงๆ แต่เห็นผลของจิตที่มีอาสวะ ไม่อิสระ จริงๆ จิตถูกอาสวะห่อหุ้มไว้ อาสวะนี่ เทียบแล้วคล้ายๆ กับ เรามี สมมติอยู่บ้านไม้ ใครเคยอยู่บ้านไม้ เวลาเราทำน้ำหกน้ำไหลไปเนี่ย เราจะเห็นเส้นทางที่เราเช็ดให้แห้ง เทน้ำลงไปที่เก่า มันไหลไปทางเดิมอย่างรวดเร็ว มันนำร่อง ความชื้นเดิมมันนำร่อง เพราะน้ำนี้ไหลไปตามความชื้นเดิม อาสวะกิเลสนี่มันนำร่องกิเลสเข้าไปย้อมจิต จิตของเราไม่มีอิสระ เหมือนลูกไก่ที่อยู่ในเปลือกไข่ พระพุทธเจ้าท่านบอกว่า ท่านเป็นลูกไก่ที่เจาะเปลือกไข่ออกมาเป็นตัวแรก ท่านใช้คำเปรียบเทียบได้ดี เคยมีพราหมณ์คนนึงไปว่าพระพุทธเจ้า บอกอายุก็ยังน้อยพราหมณ์ผู้แก่ผู้เฒ่ามาก็ไม่ไหว้ไม่ต้อนรับ เฉยเมย ท่านบอกว่าท่านอาวุโสที่สุด ท่านเป็นลูกไก่ที่เจาะเปลือกออกมาได้ พวกที่เหลือยังอยู่ในไข่อยู่เลย ท่านจะไปไหว้ทำไม คำพูดของท่านนะ น่าฟัง จริงๆ แล้วเรามีเปลือกที่ห่อหุ้มอยู่ จิตถูกอาสวะกิเลสห่อหุ้ม ทำยังไงก็ไม่ขาด ไม่ขาด ทำยังไง ยังไง้ ยังไงก็ไม่ขาด พระไตรปิฎกก็เลยใช้คำบอกว่า เวลาบรรลุพระอรหันต์นะ จิตหลุดพ้นจากอาสวะเพราะความไม่ถือมั่น เห็นมั้ย หลุดพ้นจากอาสวะ อาสวะมันห่อหุ้มไว้ จิตหลุดพ้นจากอาสวะเพราะความไม่ถือมั่น ไม่ถือมั่นในอะไร ในรูปนาม ในกายในใจ เนี่ยกุญแจของการปฏิบัติอยู่ที่กายกับใจนี่เอง เมื่อไรไม่ถือมั่นในกายในใจ โดยเฉพาะเมื่อไหร่ไม่ถือมั่นในใจในจิต อาสวะจะขาดโดยอัตโนมัติ ถ้าเราเห็นอาสวะแล้วพยายามตัด ทำยังไงก็ไม่ขาด กำหนดจิตให้แหลมคมแค่ไหนก็ไม่ขาดนะ แทงก็ไม่ทะลุนะ พอมันขาดเราจะรู้สึกว่าเรามีอิสระ 23 ก.ค. 2549 สภาวะทุกอย่างเสมอภาคกัน การเห็นสภาวะที่หยาบหรือละเอียด ธรรมะภายใน ธรรมะภายนอก ธรรมะที่เป็นกุศล อกุศล ธรรมะที่เป็นสุข เป็นทุกข์ ก็เสมอภาคกัน คือทั้งหมดเกิดและดับ ไม่ใช่ว่าต้องทำให้ละเอียดขึ้นๆ จึงจะบรรลุธรรม บางวันมันก็หยาบ บางวันมันก็ละเอียด เพราะว่าทั้งหมดนี้ เป็นเรื่องของอนัตตา ทั้งหมดเลย สติก็เป็นอนัตตา บางวันก็หยาบ บางวันก็ละเอียด บางวันก็ไม่มีเลย เขาเกิดขึ้นมาจะเป็นยังไงก็ได้ เราเรียนไม่ใช่เพื่อว่าจะเอาดี ไม่ใช่ว่าเราอยากได้สติเยอะๆ เราไม่ได้เรียนเอาตรงนั้นหรอก แต่เราเรียนจนกระทั่งจิตมันเกิดความเข้าใจ ว่าทุกอย่างบังคับไม่ได้ สติจะเกิดหรือไม่เกิด จะหยาบหรือละเอียด เราก็เลือกไม่ได้ ไม่ได้เรียนเอาดีนะ แต่เรียนเพื่อที่จะเห็นว่า ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นมาล้วนแต่ดับไปทั้งสิ้น ธรรมะที่หยาบเกิดขึ้นแล้วก็ดับ ธรรมะที่ละเอียดเกิดแล้วก็ดับ เสมอภาคกัน เรียนเพื่อให้เข้าใจตรงนี้เอง ในที่สุดก็เข้าใจว่า ทุกสิ่งที่เกิดล้วนแต่ดับไปทั้งสิ้น พระโสดาบันรู้แค่นี้เอง 22 ต.ค. 2548 การจำสภาวะธรรมได้เป็นเหตุใกล้ให้เกิดสติ สติเกิดขึ้นได้เพราะมีเหตุให้สติเกิด มันเกิดขึ้นเอง เราไปสั่งให้มันเกิดมันไม่เกิดหรอก สติมีการจำสภาวะได้ เป็นเหตุใกล้ให้เกิด เพราะเรารู้จักโกรธเป็นอย่างไร พอโกรธสติก็เกิด พอรู้จักเผลอเป็นยังไง พอเผลอสติก็เกิด พอหัดรู้กาย รู้ใจเนืองๆ สติปัญญาเริ่มแก่กล้าเพียงพอ จิตจะรวมเข้าอัปปนาสมาธิเอง พอรวมแล้วก็จะเห็นสภาวธรรมเกิดดับ 2 หรือ 3 ขณะ จะเห็นตัวสภาวะเกิดดับ ถัดจากนั้นโคตรภูญาณจะเกิดขึ้น มันจะเกิดการปล่อยวางตัวสภาวะ พอเห็นสภาวะเกิดดับ ปัญญาแก่รอบแล้ว มันวาง มันทิ้งโดยไม่ได้เจตนา ตรงนี้ไม่มีความจงใจเหลืออยู่เลยตั้งแต่จิตรวมแล้วเห็นสภาวะเกิดดับ 2 หรือ 3 ขณะนั้น จิต จะวางการรู้สภาวะแล้วทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้ ตรงเนี้ยตรงที่มันปล่อยสภาวะก็ไม่ใช่ปุถุชน ตรงที่ทวนเข้าหาธาตุรู้ยังไม่เข้าถึงธรรมธาตุตัวนี้ก็ไม่ใช่พระอริยะ เพราะงั้นเป็นรอยต่อ เกิดขึ้นแว๊บเดียวทวนเข้าถึงธาตุรู้แท้ๆ ตัวรู้จะมีปัญญาสุดขีดเกิดขึ้น ธาตุรู้นี้ก็เกิดแล้วก็ดับได้อีก จะเห็นเลยว่าความเป็นราไม่มีสักนิดเดียว ถัดจากนั้นจิตจะไปเห็นนิพพาน 2 หรือ 3 ขณะแล้วแต่คน จะเห็นสภาวธรรมเกิดดับ 2 หรือ 3 ขณะจากนั้นจิตจะถอยออกมาจากอัปปนาสมาธิ พอออกมาข้างนอกมันจะทวนกระแสเข้าไปพิจาณาสิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อกี๊แล้วมันจะเข้าใจ กิเลสยังเหลือ หรือไม่เหลือสักเท่าไร รู้ พอเราปฏิบัติได้อย่างนี้ พอเราต้องการเช็คตัวเอง เราสังเกตที่ใจของเรากิเลสของเราเหลือสักเท่าไร จะไปแล้วเท่าไร หลวงปู่ดูลย์ไปเรียนกรรมฐานกับหลวงปู่มั่นเสร็จแล้วไปเดินนะ เดินมาเดือนกว่าๆ กลับมารายงาน กิเลส 4 ส่วน ผมละเด็ดขาดไปแล้ว 1 ส่วน ส่วนที่ 2 ละได้ครึ่งเดียวยังไม่สมุจเฉจ (การตัดขาด) หลวงปู่มั่นบอกไปทำต่อถูกแล้ว จากนี้ดู สัพเพ สังขารา สัพพสัญญา อนัตตา 4 พ.ค. 2548 ทางลัด จิตที่พ้นความปรุงแต่ง จะรู้ธรรมชาติที่พ้นความปรุงแต่ง (นิพพาน) ทางลัดที่สุดสำหรับการปฏิบัติธรรม จึงไม่ใช่การกระทำ (ปรุงแต่ง) ใดๆ แต่เป็นการหยุดกระทำ โดยไม่กระทำ (ปรุงแต่ง) ความหยุดให้เกิดขึ้น มีเพียง การรู้อย่างเงียบสนิทจริงๆ เท่านั้น (โดยไม่มีมายาของการคิดนึกปรุงแต่ง และมายาของการหยุดคิดนึกปรุงแต่ง) ที่เป็นสิ่งสุดท้ายซึ่งผู้ปฏิบัติจะทำได้ ก่อนที่จิตเขาจะ "ก้าวกระโดด" ไปเอง หากพระพุทธเจ้าจะทรงแสดงธรรมอย่างถึงที่สุด ย่อมต้องปิดพระโอษฐ์เงียบ แต่นั่นเป็นสิ่งยากเกินกว่าเวไนยชนจะเข้าใจได้ และหากจะทรงกล่าวธรรมอย่างย่นย่อที่สุดว่า สิ่งทั้งปวงไม่ควรยึดมั่น ก็ยังยากที่จะมีผู้รู้ตามได้ เพราะสัตว์ทั้งหลายถ้าไม่ยึดรูปธรรม ก็ต้องยึดนามธรรมไว้ก่อน พระองค์จึงทรงบอก ทาง ของการปฏิบัติขึ้นมามากมาย โดยอิงกับรูปธรรมและนามธรรม เช่น ทาน ศีล ภาวนา กุศลกรรมบถ ตลอดจนการทำสมถะและวิปัสสนา ทั้งนี้ ก็เพื่อให้พวกเราเดินเข้าใกล้ การหยุดพฤติกรรมทางจิต จนเหลือเพียงรู้อย่างเงียบสนิทจริงๆ นั่นเอง เช่นทรงสอนให้ทำทาน เพื่อลดความกระวนกระวายเพราะความโลภ ทรงสอนให้รักษาศีล เพื่อเป็นพื้นฐานสำหรับความสงบระงับ ทรงสอนสัมมาสมาธิ เพื่อให้จิตตั้งมั่นและรู้ตัว และทรงสอนวิปัสสนา เพื่อทำลายแรงดึงดูดของอารมณ์ ที่จะพาจิตให้ทะยานไปก่อภพก่อชาติตลอดนิรันดร ผู้ปฏิบัติที่ยังขาดความเข้าใจ ย่อมปฏิบัติสิ่งเหล่านี้ เพื่อที่จะปฏิบัติต่อไป ส่วนผู้ที่เข้าใจแล้ว ก็จะ หยุด การปฏิบัติ ได้ด้วยปัญญาญาณอันแหลมคม หากต้องการทางลัด ก็จำเป็นต้อง รู้ และเลิกคิดเรื่อง ทาง ไปเลย แต่ถ้ายังไม่รู้จัก รู้ ก็ยังจำเป็นต้องอาศัยทางเหล่านั้นต่อไปก่อน 4 ธ.ค. 2544 ของฝากจากสวนโพธิ์ 1. เผลอก็ให้รู้ว่าเผลอ เมื่อรู้ว่าเผลอแล้วก็พอแล้ว อย่าเผลอต่อไปอีก ด้วยการคิดว่า ทำอย่างไรจึงจะรู้ตัวได้ต่อเนื่อง 2. เพ่งก็ให้รู้ว่าเพ่ง เมื่อรู้ว่าเพ่งแล้วก็พอแล้ว อย่าเผลอหรือเพ่งต่อไปอีก เพื่อจะทำลายการเพ่งนั้น 3. หงุดหงิดก็รู้ว่าหงุดหงิด กลัวก็รู้ว่ากลัว มีราคะก็รู้ว่ามีราคะ มีความฟุ้งซ่านก็รู้ว่ามีความฟุ้งซ่าน ให้รู้ด้วยจิตที่เป็นกลางๆ คือไม่คล้อยตาม และไม่ต่อต้าน เพราะถ้าคล้อยตามก็จะถูกกิเลสครอบงำ ถ้าต่อต้านก็จะเกิดความอึดอัดใจ 4. สรุปแล้ว ให้รู้ทุกอย่างที่จิตไปรู้เข้า โดยไม่เติมความคิดนึกปรุงแต่งใดๆ ลงไปอีก เพราะ "รู้" นั่นแหละคือประตูของมรรคผลนิพพาน 29 พ.ย. 2544 แก่นสารของการปฏิบัติธรรม การเจริญสติจริงๆ จะไปยากอะไร เพียงแต่ให้มีจิตที่รู้ตัวสบายๆ เป็นธรรมชาติธรรมดานี้เอง แล้วไปรู้อารมณ์ (ที่เป็นปรมัตถ์)ที่กำลังปรากฏ โดยไม่เผลอ ไม่เพ่ง ด้วยความเป็นกลางจริงๆ คลองแห่งความคิดจะขาดไป และจิตจะรู้ โดยปราศจากความปรุงแต่ง ไม่นานผู้ปฏิบัติก็จะสามารถเข้าในวิสังขารธรรม หรือธรรมที่พ้นความปรุงแต่งได้ จุดแรกที่พวกเราควรทำความรู้จักก็คือ จิตที่มีสติ ไม่เผลอ ไม่หลง ไม่ถูกครอบงำด้วยความปรุงแต่งมันเป็นอย่างไร เมื่อรู้ตัวเป็นแล้ว ก็รู้ปรมัตถธรรมที่กำลังปรากฏไปตามธรรมดาๆ นี่เอง เช่นรู้ลงในความไหวของกาย ด้วยจิตที่ไม่หลง ก็จะเห็นปรมัตถ์ของ "กาย" อย่างชัดเจน คลองแห่งความคิดจะขาดไป เหลือแต่รู้สักว่ารู้ รู้ตามความเป็นจริง รู้ด้วยจิตที่เป็นกลาง แล้วจะเห็นธรรมฝ่ายสังขารคือ "กาย" หากจิตมีความพร้อม ก็จะเห็นธรรมฝ่ายวิสังขาร คือฝ่ายเหนือความปรุงแต่งได้ในวับเดียว 29 พ.ค. 2544 รู้อย่างไรจึงจะบั่นทอนทุกข์ลงได้ "รู้ตัว" เป็น ก็คือมีจิตที่ตั้งมั่น เป็นกลาง เป็นธรรมเอก ถัดจากนั้นก็ต้องหัด "รู้" ทุกสิ่งที่กำลังปรากฏ ด้วยความ "รู้ตัว" ก็จะเห็นว่าทุกอย่างที่ถูกรู้ล้วนแต่เกิดขึ้นแล้วดับไป และถ้าเมื่อใดจิตขาดความรู้ตัว หลงเข้ายึดถือสิ่งที่ถูกรู้ ความทุกข์ก็เกิดขึ้น ถ้ารู้ โดยรู้ตัวอยู่ ก็เป็น รู้สักว่ารู้ จิตจะเป็นเพียง "ผู้สังเกตการณ์" ปรากฏการณ์ทั้งปวง โดยไม่โดดเข้าไปร่วมแสดงเอง ที่คุณสุรวัฒน์เล่าถึงการปฏิบัติว่า "ผมก็เลยต้องคอยทำตัวให้ รู้ เข้าไว้ อาบน้ำก็ฝึกรู้ ดูโทรทัศน์ก็ฝึกรู้ กินข้าวก็ฝึกรู้ ...นึกขึ้นได้ตอนไหนก็ฝึกรู้ วันๆก็ฝึกรู้ไปเรื่อยๆ" หัดต่อไปอย่างที่หัดนี่แหละครับ ยืน เดิน นั่ง นอน กิน ดื่ม ขับถ่าย ทำ พูด คิด ฯลฯ รู้อยู่ให้ตลอด ให้ต่อเนื่องไปเรื่อยๆ โดยมีผู้รู้ กับสิ่งที่ถูกรู้ ซึ่งถึงจุดนี้ จะเห็นมันแยกกันเองได้แล้วครับ ไม่ต้องไปพยายามทำอะไรเพื่อให้มันแยกกันมากกว่านี้จนผิดธรรมชาติ จะกลายเป็นปฏิบัติด้วยความจงใจและความอยากมากไปครับ 30 มิ.ย. 2543 ปัจจัยแห่งความเจริญงอกงามในธรรม (1) ให้พยายามมีสติสัมปชัญญะ รู้ อยู่ในชีวิตประจำวันให้ได้ จะยืน เดิน นั่ง นอน กิน ดื่ม ทำ พูด คิด ฯลฯ ก็ให้มีสติรู้กายรู้ใจอยู่เสมอ (2) ให้ปฏิบัติธรรมไปอย่างซื่อๆ ตรงๆ อย่าเอาแต่วุ่นวายกับการคิด การหาอุบายทางลัด และนิมิตต่างๆ เพราะนั่นล้วนเป็นทางแห่งความเนิ่นช้า (3) อย่าเอาแต่รวมกลุ่มสัญจรไปตามสำนักโน้นสำนักนี้ เที่ยวสนุกกับการไปฟังธรรมที่โน้นที่นี้ ละเลยการฟังธรรมในจิตใจตนเอง (4) มีผลการปฏิบัติใดๆ เกิดขึ้นในระหว่างทาง ก็อย่าเอาแต่ไปเขียนเล่าในกระทู้ให้กิเลสกระเพื่อม จนปฏิบัติต่อไปไม่ได้อีก (5) ขอให้ตั้งใจจริงจังเพื่อเอาตัวให้รอด ลองเอาจริงสัก ปี สองปีก็ยังดี โดยยอมเสียสละเรื่องรกรุงรังในจิตใจเสียสักช่วงหนึ่ง แล้วตั้งใจปฏิบัติให้สม่ำเสมอ 9 พ.ย. 2543 วันวานที่ผ่านมา วิปัสสนาที่แท้จริงนั้น มีแต่รู้ ไม่ต้องจงใจเติมสิ่งใดลงไปในรู้ ไม่ว่าจะเป็นศีล สมาธิ หรือปัญญา ไม่ต้องเอาสมมุติบัญญัติ หรือความคิดนึกปรุงแต่งใดๆ มาช่วยทำวิปัสสนา ไม่ต้องคิด ไม่ต้องพิจารณาโดยสิ้นเชิง เพราะความจงใจเคลื่อนไหวใดๆ จะทำให้จิตก่อภพก่อชาติ ก่อวัฏฏะหมุนวนขึ้นมาอีก ผมไม่แนะนำให้พยายามทรงความรู้ตัวให้นานๆ เพราะความพยายามนั้นเอง จะทำให้เกิดการ จงใจ เสแสร้ง ดัดจริต รู้ นักปฏิบัตินั้น อย่าไปนึกถึงเรื่องที่จะให้จิตรู้ตัวต่อเนื่อง ได้เป็นชั่วโมง เป็นวัน เป็นเดือน เลยครับ เพราะการปฏิบัติ เราจะดูกันเป็นขณะๆ ไปเท่านั้นเอง ว่าขณะนี้รู้ตัวหรือเผลอ ขณะนี้มีสติ หรือขาดสติ ขณะใดมีสติ ขณะนั้นกำลังปฏิบัติอยู่ ขณะใดขาดสติ ขณะนั้นไม่ได้ปฏิบัติ หรือปฏิบัติผิด ไม่ใช่พูดว่า ชั่วโมงนี้รู้ตัว หรือวันนี้รู้ตัว ชั่วโมงต่อมา หรือวันต่อมา ไม่รู้ตัว ดังนั้นเมื่อเผลอไป แล้วเกิดรู้ตัวว่าเผลอ ขณะนั้น จิต รู้ ถูกต้องแล้ว เมื่อเพ่ง แล้วเกิดรู้ตัวว่าเพ่ง ขณะนั้น จิต รู้ ถูกต้องแล้ว เมื่อมีราคะ แล้วเกิดรู้ตัวว่ามีราคะ ขณะนั้น จิต รู้ ถูกต้องแล้ว เมื่อโทสะ แล้วเกิดรู้ตัวว่ามีโทสะ ขณะนั้น จิต รู้ ถูกต้องแล้ว เมื่อมีโมหะ แล้วเกิดรู้ตัวว่าโมหะ ขณะนั้น จิต รู้ ถูกต้องแล้ว
วังวนแห่งความวุ่นวาย สันตินันท์ จิตถูกห่อหุ้มด้วยอาสวะกิเลส เวลาวิมุติอริยมรรคเกิดแต่ละขั้นๆ ก็มีความสุขเป็นลำดับๆ ไป ถึงจุดสุดท้ายก็มีความสุขล้วนๆ มีความสุขเพราะว่ามันไม่มีอะไรเข้ามาเคลือบจิตได้อีก หมอณัฐดูออกมั้ยจิตเราถูกห่อหุ้มไว้ มีเปลือกหุ้ม จิตเค้าถูกห่อหุ้มด้วยอาสวะ ยังปนเปื้อน เยิ้มๆ จิตยังปนเปื้อน ความปนเปื้อนนี้แหละ เป็นช่องทางให้กิเลสไหลเข้ามาสู่จิต (หมอณัฐถาม...ได้ยินไม่ชัด) .. อือ ดูอย่างนี้ก็ได้ แล้วจะเห็นเอง จิตใจนี้เป็นอิสระ รู้สึกมั้ยจิตใจไม่เป็นอิสระ ตอนนี้รู้สึกมั้ย อาจจะไม่เห็นตัวอาสวะตรงๆ แต่เห็นผลของจิตที่มีอาสวะ ไม่อิสระ จริงๆ จิตถูกอาสวะห่อหุ้มไว้ อาสวะนี่ เทียบแล้วคล้ายๆ กับ เรามี สมมติอยู่บ้านไม้ ใครเคยอยู่บ้านไม้ เวลาเราทำน้ำหกน้ำไหลไปเนี่ย เราจะเห็นเส้นทางที่เราเช็ดให้แห้ง เทน้ำลงไปที่เก่า มันไหลไปทางเดิมอย่างรวดเร็ว มันนำร่อง ความชื้นเดิมมันนำร่อง เพราะน้ำนี้ไหลไปตามความชื้นเดิม อาสวะกิเลสนี่มันนำร่องกิเลสเข้าไปย้อมจิต จิตของเราไม่มีอิสระ เหมือนลูกไก่ที่อยู่ในเปลือกไข่ พระพุทธเจ้าท่านบอกว่า ท่านเป็นลูกไก่ที่เจาะเปลือกไข่ออกมาเป็นตัวแรก ท่านใช้คำเปรียบเทียบได้ดี เคยมีพราหมณ์คนนึงไปว่าพระพุทธเจ้า บอกอายุก็ยังน้อยพราหมณ์ผู้แก่ผู้เฒ่ามาก็ไม่ไหว้ไม่ต้อนรับ เฉยเมย ท่านบอกว่าท่านอาวุโสที่สุด ท่านเป็นลูกไก่ที่เจาะเปลือกออกมาได้ พวกที่เหลือยังอยู่ในไข่อยู่เลย ท่านจะไปไหว้ทำไม คำพูดของท่านนะ น่าฟัง จริงๆ แล้วเรามีเปลือกที่ห่อหุ้มอยู่ จิตถูกอาสวะกิเลสห่อหุ้ม ทำยังไงก็ไม่ขาด ไม่ขาด ทำยังไง ยังไง้ ยังไงก็ไม่ขาด พระไตรปิฎกก็เลยใช้คำบอกว่า เวลาบรรลุพระอรหันต์นะ จิตหลุดพ้นจากอาสวะเพราะความไม่ถือมั่น เห็นมั้ย หลุดพ้นจากอาสวะ อาสวะมันห่อหุ้มไว้ จิตหลุดพ้นจากอาสวะเพราะความไม่ถือมั่น ไม่ถือมั่นในอะไร ในรูปนาม ในกายในใจ เนี่ยกุญแจของการปฏิบัติอยู่ที่กายกับใจนี่เอง เมื่อไรไม่ถือมั่นในกายในใจ โดยเฉพาะเมื่อไหร่ไม่ถือมั่นในใจในจิต อาสวะจะขาดโดยอัตโนมัติ ถ้าเราเห็นอาสวะแล้วพยายามตัด ทำยังไงก็ไม่ขาด กำหนดจิตให้แหลมคมแค่ไหนก็ไม่ขาดนะ แทงก็ไม่ทะลุนะ พอมันขาดเราจะรู้สึกว่าเรามีอิสระ 23 ก.ค. 2549 สภาวะทุกอย่างเสมอภาคกัน การเห็นสภาวะที่หยาบหรือละเอียด ธรรมะภายใน ธรรมะภายนอก ธรรมะที่เป็นกุศล อกุศล ธรรมะที่เป็นสุข เป็นทุกข์ ก็เสมอภาคกัน คือทั้งหมดเกิดและดับ ไม่ใช่ว่าต้องทำให้ละเอียดขึ้นๆ จึงจะบรรลุธรรม บางวันมันก็หยาบ บางวันมันก็ละเอียด เพราะว่าทั้งหมดนี้ เป็นเรื่องของอนัตตา ทั้งหมดเลย สติก็เป็นอนัตตา บางวันก็หยาบ บางวันก็ละเอียด บางวันก็ไม่มีเลย เขาเกิดขึ้นมาจะเป็นยังไงก็ได้ เราเรียนไม่ใช่เพื่อว่าจะเอาดี ไม่ใช่ว่าเราอยากได้สติเยอะๆ เราไม่ได้เรียนเอาตรงนั้นหรอก แต่เราเรียนจนกระทั่งจิตมันเกิดความเข้าใจ ว่าทุกอย่างบังคับไม่ได้ สติจะเกิดหรือไม่เกิด จะหยาบหรือละเอียด เราก็เลือกไม่ได้ ไม่ได้เรียนเอาดีนะ แต่เรียนเพื่อที่จะเห็นว่า ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นมาล้วนแต่ดับไปทั้งสิ้น ธรรมะที่หยาบเกิดขึ้นแล้วก็ดับ ธรรมะที่ละเอียดเกิดแล้วก็ดับ เสมอภาคกัน เรียนเพื่อให้เข้าใจตรงนี้เอง ในที่สุดก็เข้าใจว่า ทุกสิ่งที่เกิดล้วนแต่ดับไปทั้งสิ้น พระโสดาบันรู้แค่นี้เอง 22 ต.ค. 2548 การจำสภาวะธรรมได้เป็นเหตุใกล้ให้เกิดสติ สติเกิดขึ้นได้เพราะมีเหตุให้สติเกิด มันเกิดขึ้นเอง เราไปสั่งให้มันเกิดมันไม่เกิดหรอก สติมีการจำสภาวะได้ เป็นเหตุใกล้ให้เกิด เพราะเรารู้จักโกรธเป็นอย่างไร พอโกรธสติก็เกิด พอรู้จักเผลอเป็นยังไง พอเผลอสติก็เกิด พอหัดรู้กาย รู้ใจเนืองๆ สติปัญญาเริ่มแก่กล้าเพียงพอ จิตจะรวมเข้าอัปปนาสมาธิเอง พอรวมแล้วก็จะเห็นสภาวธรรมเกิดดับ 2 หรือ 3 ขณะ จะเห็นตัวสภาวะเกิดดับ ถัดจากนั้นโคตรภูญาณจะเกิดขึ้น มันจะเกิดการปล่อยวางตัวสภาวะ พอเห็นสภาวะเกิดดับ ปัญญาแก่รอบแล้ว มันวาง มันทิ้งโดยไม่ได้เจตนา ตรงนี้ไม่มีความจงใจเหลืออยู่เลยตั้งแต่จิตรวมแล้วเห็นสภาวะเกิดดับ 2 หรือ 3 ขณะนั้น จิต จะวางการรู้สภาวะแล้วทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้ ตรงเนี้ยตรงที่มันปล่อยสภาวะก็ไม่ใช่ปุถุชน ตรงที่ทวนเข้าหาธาตุรู้ยังไม่เข้าถึงธรรมธาตุตัวนี้ก็ไม่ใช่พระอริยะ เพราะงั้นเป็นรอยต่อ เกิดขึ้นแว๊บเดียวทวนเข้าถึงธาตุรู้แท้ๆ ตัวรู้จะมีปัญญาสุดขีดเกิดขึ้น ธาตุรู้นี้ก็เกิดแล้วก็ดับได้อีก จะเห็นเลยว่าความเป็นราไม่มีสักนิดเดียว ถัดจากนั้นจิตจะไปเห็นนิพพาน 2 หรือ 3 ขณะแล้วแต่คน จะเห็นสภาวธรรมเกิดดับ 2 หรือ 3 ขณะจากนั้นจิตจะถอยออกมาจากอัปปนาสมาธิ พอออกมาข้างนอกมันจะทวนกระแสเข้าไปพิจาณาสิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อกี๊แล้วมันจะเข้าใจ กิเลสยังเหลือ หรือไม่เหลือสักเท่าไร รู้ พอเราปฏิบัติได้อย่างนี้ พอเราต้องการเช็คตัวเอง เราสังเกตที่ใจของเรากิเลสของเราเหลือสักเท่าไร จะไปแล้วเท่าไร หลวงปู่ดูลย์ไปเรียนกรรมฐานกับหลวงปู่มั่นเสร็จแล้วไปเดินนะ เดินมาเดือนกว่าๆ กลับมารายงาน กิเลส 4 ส่วน ผมละเด็ดขาดไปแล้ว 1 ส่วน ส่วนที่ 2 ละได้ครึ่งเดียวยังไม่สมุจเฉจ (การตัดขาด) หลวงปู่มั่นบอกไปทำต่อถูกแล้ว จากนี้ดู สัพเพ สังขารา สัพพสัญญา อนัตตา 4 พ.ค. 2548 ทางลัด จิตที่พ้นความปรุงแต่ง จะรู้ธรรมชาติที่พ้นความปรุงแต่ง (นิพพาน) ทางลัดที่สุดสำหรับการปฏิบัติธรรม จึงไม่ใช่การกระทำ (ปรุงแต่ง) ใดๆ แต่เป็นการหยุดกระทำ โดยไม่กระทำ (ปรุงแต่ง) ความหยุดให้เกิดขึ้น มีเพียง การรู้อย่างเงียบสนิทจริงๆ เท่านั้น (โดยไม่มีมายาของการคิดนึกปรุงแต่ง และมายาของการหยุดคิดนึกปรุงแต่ง) ที่เป็นสิ่งสุดท้ายซึ่งผู้ปฏิบัติจะทำได้ ก่อนที่จิตเขาจะ "ก้าวกระโดด" ไปเอง หากพระพุทธเจ้าจะทรงแสดงธรรมอย่างถึงที่สุด ย่อมต้องปิดพระโอษฐ์เงียบ แต่นั่นเป็นสิ่งยากเกินกว่าเวไนยชนจะเข้าใจได้ และหากจะทรงกล่าวธรรมอย่างย่นย่อที่สุดว่า สิ่งทั้งปวงไม่ควรยึดมั่น ก็ยังยากที่จะมีผู้รู้ตามได้ เพราะสัตว์ทั้งหลายถ้าไม่ยึดรูปธรรม ก็ต้องยึดนามธรรมไว้ก่อน พระองค์จึงทรงบอก ทาง ของการปฏิบัติขึ้นมามากมาย โดยอิงกับรูปธรรมและนามธรรม เช่น ทาน ศีล ภาวนา กุศลกรรมบถ ตลอดจนการทำสมถะและวิปัสสนา ทั้งนี้ ก็เพื่อให้พวกเราเดินเข้าใกล้ การหยุดพฤติกรรมทางจิต จนเหลือเพียงรู้อย่างเงียบสนิทจริงๆ นั่นเอง เช่นทรงสอนให้ทำทาน เพื่อลดความกระวนกระวายเพราะความโลภ ทรงสอนให้รักษาศีล เพื่อเป็นพื้นฐานสำหรับความสงบระงับ ทรงสอนสัมมาสมาธิ เพื่อให้จิตตั้งมั่นและรู้ตัว และทรงสอนวิปัสสนา เพื่อทำลายแรงดึงดูดของอารมณ์ ที่จะพาจิตให้ทะยานไปก่อภพก่อชาติตลอดนิรันดร ผู้ปฏิบัติที่ยังขาดความเข้าใจ ย่อมปฏิบัติสิ่งเหล่านี้ เพื่อที่จะปฏิบัติต่อไป ส่วนผู้ที่เข้าใจแล้ว ก็จะ หยุด การปฏิบัติ ได้ด้วยปัญญาญาณอันแหลมคม หากต้องการทางลัด ก็จำเป็นต้อง รู้ และเลิกคิดเรื่อง ทาง ไปเลย แต่ถ้ายังไม่รู้จัก รู้ ก็ยังจำเป็นต้องอาศัยทางเหล่านั้นต่อไปก่อน 4 ธ.ค. 2544 ของฝากจากสวนโพธิ์ 1. เผลอก็ให้รู้ว่าเผลอ เมื่อรู้ว่าเผลอแล้วก็พอแล้ว อย่าเผลอต่อไปอีก ด้วยการคิดว่า ทำอย่างไรจึงจะรู้ตัวได้ต่อเนื่อง 2. เพ่งก็ให้รู้ว่าเพ่ง เมื่อรู้ว่าเพ่งแล้วก็พอแล้ว อย่าเผลอหรือเพ่งต่อไปอีก เพื่อจะทำลายการเพ่งนั้น 3. หงุดหงิดก็รู้ว่าหงุดหงิด กลัวก็รู้ว่ากลัว มีราคะก็รู้ว่ามีราคะ มีความฟุ้งซ่านก็รู้ว่ามีความฟุ้งซ่าน ให้รู้ด้วยจิตที่เป็นกลางๆ คือไม่คล้อยตาม และไม่ต่อต้าน เพราะถ้าคล้อยตามก็จะถูกกิเลสครอบงำ ถ้าต่อต้านก็จะเกิดความอึดอัดใจ 4. สรุปแล้ว ให้รู้ทุกอย่างที่จิตไปรู้เข้า โดยไม่เติมความคิดนึกปรุงแต่งใดๆ ลงไปอีก เพราะ "รู้" นั่นแหละคือประตูของมรรคผลนิพพาน 29 พ.ย. 2544 แก่นสารของการปฏิบัติธรรม การเจริญสติจริงๆ จะไปยากอะไร เพียงแต่ให้มีจิตที่รู้ตัวสบายๆ เป็นธรรมชาติธรรมดานี้เอง แล้วไปรู้อารมณ์ (ที่เป็นปรมัตถ์)ที่กำลังปรากฏ โดยไม่เผลอ ไม่เพ่ง ด้วยความเป็นกลางจริงๆ คลองแห่งความคิดจะขาดไป และจิตจะรู้ โดยปราศจากความปรุงแต่ง ไม่นานผู้ปฏิบัติก็จะสามารถเข้าในวิสังขารธรรม หรือธรรมที่พ้นความปรุงแต่งได้ จุดแรกที่พวกเราควรทำความรู้จักก็คือ จิตที่มีสติ ไม่เผลอ ไม่หลง ไม่ถูกครอบงำด้วยความปรุงแต่งมันเป็นอย่างไร เมื่อรู้ตัวเป็นแล้ว ก็รู้ปรมัตถธรรมที่กำลังปรากฏไปตามธรรมดาๆ นี่เอง เช่นรู้ลงในความไหวของกาย ด้วยจิตที่ไม่หลง ก็จะเห็นปรมัตถ์ของ "กาย" อย่างชัดเจน คลองแห่งความคิดจะขาดไป เหลือแต่รู้สักว่ารู้ รู้ตามความเป็นจริง รู้ด้วยจิตที่เป็นกลาง แล้วจะเห็นธรรมฝ่ายสังขารคือ "กาย" หากจิตมีความพร้อม ก็จะเห็นธรรมฝ่ายวิสังขาร คือฝ่ายเหนือความปรุงแต่งได้ในวับเดียว 29 พ.ค. 2544 รู้อย่างไรจึงจะบั่นทอนทุกข์ลงได้ "รู้ตัว" เป็น ก็คือมีจิตที่ตั้งมั่น เป็นกลาง เป็นธรรมเอก ถัดจากนั้นก็ต้องหัด "รู้" ทุกสิ่งที่กำลังปรากฏ ด้วยความ "รู้ตัว" ก็จะเห็นว่าทุกอย่างที่ถูกรู้ล้วนแต่เกิดขึ้นแล้วดับไป และถ้าเมื่อใดจิตขาดความรู้ตัว หลงเข้ายึดถือสิ่งที่ถูกรู้ ความทุกข์ก็เกิดขึ้น ถ้ารู้ โดยรู้ตัวอยู่ ก็เป็น รู้สักว่ารู้ จิตจะเป็นเพียง "ผู้สังเกตการณ์" ปรากฏการณ์ทั้งปวง โดยไม่โดดเข้าไปร่วมแสดงเอง ที่คุณสุรวัฒน์เล่าถึงการปฏิบัติว่า "ผมก็เลยต้องคอยทำตัวให้ รู้ เข้าไว้ อาบน้ำก็ฝึกรู้ ดูโทรทัศน์ก็ฝึกรู้ กินข้าวก็ฝึกรู้ ...นึกขึ้นได้ตอนไหนก็ฝึกรู้ วันๆก็ฝึกรู้ไปเรื่อยๆ" หัดต่อไปอย่างที่หัดนี่แหละครับ ยืน เดิน นั่ง นอน กิน ดื่ม ขับถ่าย ทำ พูด คิด ฯลฯ รู้อยู่ให้ตลอด ให้ต่อเนื่องไปเรื่อยๆ โดยมีผู้รู้ กับสิ่งที่ถูกรู้ ซึ่งถึงจุดนี้ จะเห็นมันแยกกันเองได้แล้วครับ ไม่ต้องไปพยายามทำอะไรเพื่อให้มันแยกกันมากกว่านี้จนผิดธรรมชาติ จะกลายเป็นปฏิบัติด้วยความจงใจและความอยากมากไปครับ 30 มิ.ย. 2543 ปัจจัยแห่งความเจริญงอกงามในธรรม (1) ให้พยายามมีสติสัมปชัญญะ รู้ อยู่ในชีวิตประจำวันให้ได้ จะยืน เดิน นั่ง นอน กิน ดื่ม ทำ พูด คิด ฯลฯ ก็ให้มีสติรู้กายรู้ใจอยู่เสมอ (2) ให้ปฏิบัติธรรมไปอย่างซื่อๆ ตรงๆ อย่าเอาแต่วุ่นวายกับการคิด การหาอุบายทางลัด และนิมิตต่างๆ เพราะนั่นล้วนเป็นทางแห่งความเนิ่นช้า (3) อย่าเอาแต่รวมกลุ่มสัญจรไปตามสำนักโน้นสำนักนี้ เที่ยวสนุกกับการไปฟังธรรมที่โน้นที่นี้ ละเลยการฟังธรรมในจิตใจตนเอง (4) มีผลการปฏิบัติใดๆ เกิดขึ้นในระหว่างทาง ก็อย่าเอาแต่ไปเขียนเล่าในกระทู้ให้กิเลสกระเพื่อม จนปฏิบัติต่อไปไม่ได้อีก (5) ขอให้ตั้งใจจริงจังเพื่อเอาตัวให้รอด ลองเอาจริงสัก ปี สองปีก็ยังดี โดยยอมเสียสละเรื่องรกรุงรังในจิตใจเสียสักช่วงหนึ่ง แล้วตั้งใจปฏิบัติให้สม่ำเสมอ 9 พ.ย. 2543 วันวานที่ผ่านมา วิปัสสนาที่แท้จริงนั้น มีแต่รู้ ไม่ต้องจงใจเติมสิ่งใดลงไปในรู้ ไม่ว่าจะเป็นศีล สมาธิ หรือปัญญา ไม่ต้องเอาสมมุติบัญญัติ หรือความคิดนึกปรุงแต่งใดๆ มาช่วยทำวิปัสสนา ไม่ต้องคิด ไม่ต้องพิจารณาโดยสิ้นเชิง เพราะความจงใจเคลื่อนไหวใดๆ จะทำให้จิตก่อภพก่อชาติ ก่อวัฏฏะหมุนวนขึ้นมาอีก ผมไม่แนะนำให้พยายามทรงความรู้ตัวให้นานๆ เพราะความพยายามนั้นเอง จะทำให้เกิดการ จงใจ เสแสร้ง ดัดจริต รู้ นักปฏิบัตินั้น อย่าไปนึกถึงเรื่องที่จะให้จิตรู้ตัวต่อเนื่อง ได้เป็นชั่วโมง เป็นวัน เป็นเดือน เลยครับ เพราะการปฏิบัติ เราจะดูกันเป็นขณะๆ ไปเท่านั้นเอง ว่าขณะนี้รู้ตัวหรือเผลอ ขณะนี้มีสติ หรือขาดสติ ขณะใดมีสติ ขณะนั้นกำลังปฏิบัติอยู่ ขณะใดขาดสติ ขณะนั้นไม่ได้ปฏิบัติ หรือปฏิบัติผิด ไม่ใช่พูดว่า ชั่วโมงนี้รู้ตัว หรือวันนี้รู้ตัว ชั่วโมงต่อมา หรือวันต่อมา ไม่รู้ตัว ดังนั้นเมื่อเผลอไป แล้วเกิดรู้ตัวว่าเผลอ ขณะนั้น จิต รู้ ถูกต้องแล้ว เมื่อเพ่ง แล้วเกิดรู้ตัวว่าเพ่ง ขณะนั้น จิต รู้ ถูกต้องแล้ว เมื่อมีราคะ แล้วเกิดรู้ตัวว่ามีราคะ ขณะนั้น จิต รู้ ถูกต้องแล้ว เมื่อโทสะ แล้วเกิดรู้ตัวว่ามีโทสะ ขณะนั้น จิต รู้ ถูกต้องแล้ว เมื่อมีโมหะ แล้วเกิดรู้ตัวว่าโมหะ ขณะนั้น จิต รู้ ถูกต้องแล้ว
วังวนแห่งความวุ่นวาย สันตินันท์ จิตถูกห่อหุ้มด้วยอาสวะกิเลส เวลาวิมุติอริยมรรคเกิดแต่ละขั้นๆ ก็มีความสุขเป็นลำดับๆ ไป ถึงจุดสุดท้ายก็มีความสุขล้วนๆ มีความสุขเพราะว่ามันไม่มีอะไรเข้ามาเคลือบจิตได้อีก หมอณัฐดูออกมั้ยจิตเราถูกห่อหุ้มไว้ มีเปลือกหุ้ม จิตเค้าถูกห่อหุ้มด้วยอาสวะ ยังปนเปื้อน เยิ้มๆ จิตยังปนเปื้อน ความปนเปื้อนนี้แหละ เป็นช่องทางให้กิเลสไหลเข้ามาสู่จิต (หมอณัฐถาม...ได้ยินไม่ชัด) .. อือ ดูอย่างนี้ก็ได้ แล้วจะเห็นเอง จิตใจนี้เป็นอิสระ รู้สึกมั้ยจิตใจไม่เป็นอิสระ ตอนนี้รู้สึกมั้ย อาจจะไม่เห็นตัวอาสวะตรงๆ แต่เห็นผลของจิตที่มีอาสวะ ไม่อิสระ จริงๆ จิตถูกอาสวะห่อหุ้มไว้ อาสวะนี่ เทียบแล้วคล้ายๆ กับ เรามี สมมติอยู่บ้านไม้ ใครเคยอยู่บ้านไม้ เวลาเราทำน้ำหกน้ำไหลไปเนี่ย เราจะเห็นเส้นทางที่เราเช็ดให้แห้ง เทน้ำลงไปที่เก่า มันไหลไปทางเดิมอย่างรวดเร็ว มันนำร่อง ความชื้นเดิมมันนำร่อง เพราะน้ำนี้ไหลไปตามความชื้นเดิม อาสวะกิเลสนี่มันนำร่องกิเลสเข้าไปย้อมจิต จิตของเราไม่มีอิสระ เหมือนลูกไก่ที่อยู่ในเปลือกไข่ พระพุทธเจ้าท่านบอกว่า ท่านเป็นลูกไก่ที่เจาะเปลือกไข่ออกมาเป็นตัวแรก ท่านใช้คำเปรียบเทียบได้ดี เคยมีพราหมณ์คนนึงไปว่าพระพุทธเจ้า บอกอายุก็ยังน้อยพราหมณ์ผู้แก่ผู้เฒ่ามาก็ไม่ไหว้ไม่ต้อนรับ เฉยเมย ท่านบอกว่าท่านอาวุโสที่สุด ท่านเป็นลูกไก่ที่เจาะเปลือกออกมาได้ พวกที่เหลือยังอยู่ในไข่อยู่เลย ท่านจะไปไหว้ทำไม คำพูดของท่านนะ น่าฟัง จริงๆ แล้วเรามีเปลือกที่ห่อหุ้มอยู่ จิตถูกอาสวะกิเลสห่อหุ้ม ทำยังไงก็ไม่ขาด ไม่ขาด ทำยังไง ยังไง้ ยังไงก็ไม่ขาด พระไตรปิฎกก็เลยใช้คำบอกว่า เวลาบรรลุพระอรหันต์นะ จิตหลุดพ้นจากอาสวะเพราะความไม่ถือมั่น เห็นมั้ย หลุดพ้นจากอาสวะ อาสวะมันห่อหุ้มไว้ จิตหลุดพ้นจากอาสวะเพราะความไม่ถือมั่น ไม่ถือมั่นในอะไร ในรูปนาม ในกายในใจ เนี่ยกุญแจของการปฏิบัติอยู่ที่กายกับใจนี่เอง เมื่อไรไม่ถือมั่นในกายในใจ โดยเฉพาะเมื่อไหร่ไม่ถือมั่นในใจในจิต อาสวะจะขาดโดยอัตโนมัติ ถ้าเราเห็นอาสวะแล้วพยายามตัด ทำยังไงก็ไม่ขาด กำหนดจิตให้แหลมคมแค่ไหนก็ไม่ขาดนะ แทงก็ไม่ทะลุนะ พอมันขาดเราจะรู้สึกว่าเรามีอิสระ 23 ก.ค. 2549 สภาวะทุกอย่างเสมอภาคกัน การเห็นสภาวะที่หยาบหรือละเอียด ธรรมะภายใน ธรรมะภายนอก ธรรมะที่เป็นกุศล อกุศล ธรรมะที่เป็นสุข เป็นทุกข์ ก็เสมอภาคกัน คือทั้งหมดเกิดและดับ ไม่ใช่ว่าต้องทำให้ละเอียดขึ้นๆ จึงจะบรรลุธรรม บางวันมันก็หยาบ บางวันมันก็ละเอียด เพราะว่าทั้งหมดนี้ เป็นเรื่องของอนัตตา ทั้งหมดเลย สติก็เป็นอนัตตา บางวันก็หยาบ บางวันก็ละเอียด บางวันก็ไม่มีเลย เขาเกิดขึ้นมาจะเป็นยังไงก็ได้ เราเรียนไม่ใช่เพื่อว่าจะเอาดี ไม่ใช่ว่าเราอยากได้สติเยอะๆ เราไม่ได้เรียนเอาตรงนั้นหรอก แต่เราเรียนจนกระทั่งจิตมันเกิดความเข้าใจ ว่าทุกอย่างบังคับไม่ได้ สติจะเกิดหรือไม่เกิด จะหยาบหรือละเอียด เราก็เลือกไม่ได้ ไม่ได้เรียนเอาดีนะ แต่เรียนเพื่อที่จะเห็นว่า ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นมาล้วนแต่ดับไปทั้งสิ้น ธรรมะที่หยาบเกิดขึ้นแล้วก็ดับ ธรรมะที่ละเอียดเกิดแล้วก็ดับ เสมอภาคกัน เรียนเพื่อให้เข้าใจตรงนี้เอง ในที่สุดก็เข้าใจว่า ทุกสิ่งที่เกิดล้วนแต่ดับไปทั้งสิ้น พระโสดาบันรู้แค่นี้เอง 22 ต.ค. 2548 การจำสภาวะธรรมได้เป็นเหตุใกล้ให้เกิดสติ สติเกิดขึ้นได้เพราะมีเหตุให้สติเกิด มันเกิดขึ้นเอง เราไปสั่งให้มันเกิดมันไม่เกิดหรอก สติมีการจำสภาวะได้ เป็นเหตุใกล้ให้เกิด เพราะเรารู้จักโกรธเป็นอย่างไร พอโกรธสติก็เกิด พอรู้จักเผลอเป็นยังไง พอเผลอสติก็เกิด พอหัดรู้กาย รู้ใจเนืองๆ สติปัญญาเริ่มแก่กล้าเพียงพอ จิตจะรวมเข้าอัปปนาสมาธิเอง พอรวมแล้วก็จะเห็นสภาวธรรมเกิดดับ 2 หรือ 3 ขณะ จะเห็นตัวสภาวะเกิดดับ ถัดจากนั้นโคตรภูญาณจะเกิดขึ้น มันจะเกิดการปล่อยวางตัวสภาวะ พอเห็นสภาวะเกิดดับ ปัญญาแก่รอบแล้ว มันวาง มันทิ้งโดยไม่ได้เจตนา ตรงนี้ไม่มีความจงใจเหลืออยู่เลยตั้งแต่จิตรวมแล้วเห็นสภาวะเกิดดับ 2 หรือ 3 ขณะนั้น จิต จะวางการรู้สภาวะแล้วทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้ ตรงเนี้ยตรงที่มันปล่อยสภาวะก็ไม่ใช่ปุถุชน ตรงที่ทวนเข้าหาธาตุรู้ยังไม่เข้าถึงธรรมธาตุตัวนี้ก็ไม่ใช่พระอริยะ เพราะงั้นเป็นรอยต่อ เกิดขึ้นแว๊บเดียวทวนเข้าถึงธาตุรู้แท้ๆ ตัวรู้จะมีปัญญาสุดขีดเกิดขึ้น ธาตุรู้นี้ก็เกิดแล้วก็ดับได้อีก จะเห็นเลยว่าความเป็นราไม่มีสักนิดเดียว ถัดจากนั้นจิตจะไปเห็นนิพพาน 2 หรือ 3 ขณะแล้วแต่คน จะเห็นสภาวธรรมเกิดดับ 2 หรือ 3 ขณะจากนั้นจิตจะถอยออกมาจากอัปปนาสมาธิ พอออกมาข้างนอกมันจะทวนกระแสเข้าไปพิจาณาสิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อกี๊แล้วมันจะเข้าใจ กิเลสยังเหลือ หรือไม่เหลือสักเท่าไร รู้ พอเราปฏิบัติได้อย่างนี้ พอเราต้องการเช็คตัวเอง เราสังเกตที่ใจของเรากิเลสของเราเหลือสักเท่าไร จะไปแล้วเท่าไร หลวงปู่ดูลย์ไปเรียนกรรมฐานกับหลวงปู่มั่นเสร็จแล้วไปเดินนะ เดินมาเดือนกว่าๆ กลับมารายงาน กิเลส 4 ส่วน ผมละเด็ดขาดไปแล้ว 1 ส่วน ส่วนที่ 2 ละได้ครึ่งเดียวยังไม่สมุจเฉจ (การตัดขาด) หลวงปู่มั่นบอกไปทำต่อถูกแล้ว จากนี้ดู สัพเพ สังขารา สัพพสัญญา อนัตตา 4 พ.ค. 2548 ทางลัด จิตที่พ้นความปรุงแต่ง จะรู้ธรรมชาติที่พ้นความปรุงแต่ง (นิพพาน) ทางลัดที่สุดสำหรับการปฏิบัติธรรม จึงไม่ใช่การกระทำ (ปรุงแต่ง) ใดๆ แต่เป็นการหยุดกระทำ โดยไม่กระทำ (ปรุงแต่ง) ความหยุดให้เกิดขึ้น มีเพียง การรู้อย่างเงียบสนิทจริงๆ เท่านั้น (โดยไม่มีมายาของการคิดนึกปรุงแต่ง และมายาของการหยุดคิดนึกปรุงแต่ง) ที่เป็นสิ่งสุดท้ายซึ่งผู้ปฏิบัติจะทำได้ ก่อนที่จิตเขาจะ "ก้าวกระโดด" ไปเอง หากพระพุทธเจ้าจะทรงแสดงธรรมอย่างถึงที่สุด ย่อมต้องปิดพระโอษฐ์เงียบ แต่นั่นเป็นสิ่งยากเกินกว่าเวไนยชนจะเข้าใจได้ และหากจะทรงกล่าวธรรมอย่างย่นย่อที่สุดว่า สิ่งทั้งปวงไม่ควรยึดมั่น ก็ยังยากที่จะมีผู้รู้ตามได้ เพราะสัตว์ทั้งหลายถ้าไม่ยึดรูปธรรม ก็ต้องยึดนามธรรมไว้ก่อน พระองค์จึงทรงบอก ทาง ของการปฏิบัติขึ้นมามากมาย โดยอิงกับรูปธรรมและนามธรรม เช่น ทาน ศีล ภาวนา กุศลกรรมบถ ตลอดจนการทำสมถะและวิปัสสนา ทั้งนี้ ก็เพื่อให้พวกเราเดินเข้าใกล้ การหยุดพฤติกรรมทางจิต จนเหลือเพียงรู้อย่างเงียบสนิทจริงๆ นั่นเอง เช่นทรงสอนให้ทำทาน เพื่อลดความกระวนกระวายเพราะความโลภ ทรงสอนให้รักษาศีล เพื่อเป็นพื้นฐานสำหรับความสงบระงับ ทรงสอนสัมมาสมาธิ เพื่อให้จิตตั้งมั่นและรู้ตัว และทรงสอนวิปัสสนา เพื่อทำลายแรงดึงดูดของอารมณ์ ที่จะพาจิตให้ทะยานไปก่อภพก่อชาติตลอดนิรันดร ผู้ปฏิบัติที่ยังขาดความเข้าใจ ย่อมปฏิบัติสิ่งเหล่านี้ เพื่อที่จะปฏิบัติต่อไป ส่วนผู้ที่เข้าใจแล้ว ก็จะ หยุด การปฏิบัติ ได้ด้วยปัญญาญาณอันแหลมคม หากต้องการทางลัด ก็จำเป็นต้อง รู้ และเลิกคิดเรื่อง ทาง ไปเลย แต่ถ้ายังไม่รู้จัก รู้ ก็ยังจำเป็นต้องอาศัยทางเหล่านั้นต่อไปก่อน 4 ธ.ค. 2544 ของฝากจากสวนโพธิ์ 1. เผลอก็ให้รู้ว่าเผลอ เมื่อรู้ว่าเผลอแล้วก็พอแล้ว อย่าเผลอต่อไปอีก ด้วยการคิดว่า ทำอย่างไรจึงจะรู้ตัวได้ต่อเนื่อง 2. เพ่งก็ให้รู้ว่าเพ่ง เมื่อรู้ว่าเพ่งแล้วก็พอแล้ว อย่าเผลอหรือเพ่งต่อไปอีก เพื่อจะทำลายการเพ่งนั้น 3. หงุดหงิดก็รู้ว่าหงุดหงิด กลัวก็รู้ว่ากลัว มีราคะก็รู้ว่ามีราคะ มีความฟุ้งซ่านก็รู้ว่ามีความฟุ้งซ่าน ให้รู้ด้วยจิตที่เป็นกลางๆ คือไม่คล้อยตาม และไม่ต่อต้าน เพราะถ้าคล้อยตามก็จะถูกกิเลสครอบงำ ถ้าต่อต้านก็จะเกิดความอึดอัดใจ 4. สรุปแล้ว ให้รู้ทุกอย่างที่จิตไปรู้เข้า โดยไม่เติมความคิดนึกปรุงแต่งใดๆ ลงไปอีก เพราะ "รู้" นั่นแหละคือประตูของมรรคผลนิพพาน 29 พ.ย. 2544 แก่นสารของการปฏิบัติธรรม การเจริญสติจริงๆ จะไปยากอะไร เพียงแต่ให้มีจิตที่รู้ตัวสบายๆ เป็นธรรมชาติธรรมดานี้เอง แล้วไปรู้อารมณ์ (ที่เป็นปรมัตถ์)ที่กำลังปรากฏ โดยไม่เผลอ ไม่เพ่ง ด้วยความเป็นกลางจริงๆ คลองแห่งความคิดจะขาดไป และจิตจะรู้ โดยปราศจากความปรุงแต่ง ไม่นานผู้ปฏิบัติก็จะสามารถเข้าในวิสังขารธรรม หรือธรรมที่พ้นความปรุงแต่งได้ จุดแรกที่พวกเราควรทำความรู้จักก็คือ จิตที่มีสติ ไม่เผลอ ไม่หลง ไม่ถูกครอบงำด้วยความปรุงแต่งมันเป็นอย่างไร เมื่อรู้ตัวเป็นแล้ว ก็รู้ปรมัตถธรรมที่กำลังปรากฏไปตามธรรมดาๆ นี่เอง เช่นรู้ลงในความไหวของกาย ด้วยจิตที่ไม่หลง ก็จะเห็นปรมัตถ์ของ "กาย" อย่างชัดเจน คลองแห่งความคิดจะขาดไป เหลือแต่รู้สักว่ารู้ รู้ตามความเป็นจริง รู้ด้วยจิตที่เป็นกลาง แล้วจะเห็นธรรมฝ่ายสังขารคือ "กาย" หากจิตมีความพร้อม ก็จะเห็นธรรมฝ่ายวิสังขาร คือฝ่ายเหนือความปรุงแต่งได้ในวับเดียว 29 พ.ค. 2544 รู้อย่างไรจึงจะบั่นทอนทุกข์ลงได้ "รู้ตัว" เป็น ก็คือมีจิตที่ตั้งมั่น เป็นกลาง เป็นธรรมเอก ถัดจากนั้นก็ต้องหัด "รู้" ทุกสิ่งที่กำลังปรากฏ ด้วยความ "รู้ตัว" ก็จะเห็นว่าทุกอย่างที่ถูกรู้ล้วนแต่เกิดขึ้นแล้วดับไป และถ้าเมื่อใดจิตขาดความรู้ตัว หลงเข้ายึดถือสิ่งที่ถูกรู้ ความทุกข์ก็เกิดขึ้น ถ้ารู้ โดยรู้ตัวอยู่ ก็เป็น รู้สักว่ารู้ จิตจะเป็นเพียง "ผู้สังเกตการณ์" ปรากฏการณ์ทั้งปวง โดยไม่โดดเข้าไปร่วมแสดงเอง ที่คุณสุรวัฒน์เล่าถึงการปฏิบัติว่า "ผมก็เลยต้องคอยทำตัวให้ รู้ เข้าไว้ อาบน้ำก็ฝึกรู้ ดูโทรทัศน์ก็ฝึกรู้ กินข้าวก็ฝึกรู้ ...นึกขึ้นได้ตอนไหนก็ฝึกรู้ วันๆก็ฝึกรู้ไปเรื่อยๆ" หัดต่อไปอย่างที่หัดนี่แหละครับ ยืน เดิน นั่ง นอน กิน ดื่ม ขับถ่าย ทำ พูด คิด ฯลฯ รู้อยู่ให้ตลอด ให้ต่อเนื่องไปเรื่อยๆ โดยมีผู้รู้ กับสิ่งที่ถูกรู้ ซึ่งถึงจุดนี้ จะเห็นมันแยกกันเองได้แล้วครับ ไม่ต้องไปพยายามทำอะไรเพื่อให้มันแยกกันมากกว่านี้จนผิดธรรมชาติ จะกลายเป็นปฏิบัติด้วยความจงใจและความอยากมากไปครับ 30 มิ.ย. 2543 ปัจจัยแห่งความเจริญงอกงามในธรรม (1) ให้พยายามมีสติสัมปชัญญะ รู้ อยู่ในชีวิตประจำวันให้ได้ จะยืน เดิน นั่ง นอน กิน ดื่ม ทำ พูด คิด ฯลฯ ก็ให้มีสติรู้กายรู้ใจอยู่เสมอ (2) ให้ปฏิบัติธรรมไปอย่างซื่อๆ ตรงๆ อย่าเอาแต่วุ่นวายกับการคิด การหาอุบายทางลัด และนิมิตต่างๆ เพราะนั่นล้วนเป็นทางแห่งความเนิ่นช้า (3) อย่าเอาแต่รวมกลุ่มสัญจรไปตามสำนักโน้นสำนักนี้ เที่ยวสนุกกับการไปฟังธรรมที่โน้นที่นี้ ละเลยการฟังธรรมในจิตใจตนเอง (4) มีผลการปฏิบัติใดๆ เกิดขึ้นในระหว่างทาง ก็อย่าเอาแต่ไปเขียนเล่าในกระทู้ให้กิเลสกระเพื่อม จนปฏิบัติต่อไปไม่ได้อีก (5) ขอให้ตั้งใจจริงจังเพื่อเอาตัวให้รอด ลองเอาจริงสัก ปี สองปีก็ยังดี โดยยอมเสียสละเรื่องรกรุงรังในจิตใจเสียสักช่วงหนึ่ง แล้วตั้งใจปฏิบัติให้สม่ำเสมอ 9 พ.ย. 2543 วันวานที่ผ่านมา วิปัสสนาที่แท้จริงนั้น มีแต่รู้ ไม่ต้องจงใจเติมสิ่งใดลงไปในรู้ ไม่ว่าจะเป็นศีล สมาธิ หรือปัญญา ไม่ต้องเอาสมมุติบัญญัติ หรือความคิดนึกปรุงแต่งใดๆ มาช่วยทำวิปัสสนา ไม่ต้องคิด ไม่ต้องพิจารณาโดยสิ้นเชิง เพราะความจงใจเคลื่อนไหวใดๆ จะทำให้จิตก่อภพก่อชาติ ก่อวัฏฏะหมุนวนขึ้นมาอีก ผมไม่แนะนำให้พยายามทรงความรู้ตัวให้นานๆ เพราะความพยายามนั้นเอง จะทำให้เกิดการ จงใจ เสแสร้ง ดัดจริต รู้ นักปฏิบัตินั้น อย่าไปนึกถึงเรื่องที่จะให้จิตรู้ตัวต่อเนื่อง ได้เป็นชั่วโมง เป็นวัน เป็นเดือน เลยครับ เพราะการปฏิบัติ เราจะดูกันเป็นขณะๆ ไปเท่านั้นเอง ว่าขณะนี้รู้ตัวหรือเผลอ ขณะนี้มีสติ หรือขาดสติ ขณะใดมีสติ ขณะนั้นกำลังปฏิบัติอยู่ ขณะใดขาดสติ ขณะนั้นไม่ได้ปฏิบัติ หรือปฏิบัติผิด ไม่ใช่พูดว่า ชั่วโมงนี้รู้ตัว หรือวันนี้รู้ตัว ชั่วโมงต่อมา หรือวันต่อมา ไม่รู้ตัว ดังนั้นเมื่อเผลอไป แล้วเกิดรู้ตัวว่าเผลอ ขณะนั้น จิต รู้ ถูกต้องแล้ว เมื่อเพ่ง แล้วเกิดรู้ตัวว่าเพ่ง ขณะนั้น จิต รู้ ถูกต้องแล้ว เมื่อมีราคะ แล้วเกิดรู้ตัวว่ามีราคะ ขณะนั้น จิต รู้ ถูกต้องแล้ว เมื่อโทสะ แล้วเกิดรู้ตัวว่ามีโทสะ ขณะนั้น จิต รู้ ถูกต้องแล้ว เมื่อมีโมหะ แล้วเกิดรู้ตัวว่าโมหะ ขณะนั้น จิต รู้ ถูกต้องแล้ว
วังวนแห่งความวุ่นวาย สันตินันท์ จิตถูกห่อหุ้มด้วยอาสวะกิเลส เวลาวิมุติอริยมรรคเกิดแต่ละขั้นๆ ก็มีความสุขเป็นลำดับๆ ไป ถึงจุดสุดท้ายก็มีความสุขล้วนๆ มีความสุขเพราะว่ามันไม่มีอะไรเข้ามาเคลือบจิตได้อีก หมอณัฐดูออกมั้ยจิตเราถูกห่อหุ้มไว้ มีเปลือกหุ้ม จิตเค้าถูกห่อหุ้มด้วยอาสวะ ยังปนเปื้อน เยิ้มๆ จิตยังปนเปื้อน ความปนเปื้อนนี้แหละ เป็นช่องทางให้กิเลสไหลเข้ามาสู่จิต (หมอณัฐถาม...ได้ยินไม่ชัด) .. อือ ดูอย่างนี้ก็ได้ แล้วจะเห็นเอง จิตใจนี้เป็นอิสระ รู้สึกมั้ยจิตใจไม่เป็นอิสระ ตอนนี้รู้สึกมั้ย อาจจะไม่เห็นตัวอาสวะตรงๆ แต่เห็นผลของจิตที่มีอาสวะ ไม่อิสระ จริงๆ จิตถูกอาสวะห่อหุ้มไว้ อาสวะนี่ เทียบแล้วคล้ายๆ กับ เรามี สมมติอยู่บ้านไม้ ใครเคยอยู่บ้านไม้ เวลาเราทำน้ำหกน้ำไหลไปเนี่ย เราจะเห็นเส้นทางที่เราเช็ดให้แห้ง เทน้ำลงไปที่เก่า มันไหลไปทางเดิมอย่างรวดเร็ว มันนำร่อง ความชื้นเดิมมันนำร่อง เพราะน้ำนี้ไหลไปตามความชื้นเดิม อาสวะกิเลสนี่มันนำร่องกิเลสเข้าไปย้อมจิต จิตของเราไม่มีอิสระ เหมือนลูกไก่ที่อยู่ในเปลือกไข่ พระพุทธเจ้าท่านบอกว่า ท่านเป็นลูกไก่ที่เจาะเปลือกไข่ออกมาเป็นตัวแรก ท่านใช้คำเปรียบเทียบได้ดี เคยมีพราหมณ์คนนึงไปว่าพระพุทธเจ้า บอกอายุก็ยังน้อยพราหมณ์ผู้แก่ผู้เฒ่ามาก็ไม่ไหว้ไม่ต้อนรับ เฉยเมย ท่านบอกว่าท่านอาวุโสที่สุด ท่านเป็นลูกไก่ที่เจาะเปลือกออกมาได้ พวกที่เหลือยังอยู่ในไข่อยู่เลย ท่านจะไปไหว้ทำไม คำพูดของท่านนะ น่าฟัง จริงๆ แล้วเรามีเปลือกที่ห่อหุ้มอยู่ จิตถูกอาสวะกิเลสห่อหุ้ม ทำยังไงก็ไม่ขาด ไม่ขาด ทำยังไง ยังไง้ ยังไงก็ไม่ขาด พระไตรปิฎกก็เลยใช้คำบอกว่า เวลาบรรลุพระอรหันต์นะ จิตหลุดพ้นจากอาสวะเพราะความไม่ถือมั่น เห็นมั้ย หลุดพ้นจากอาสวะ อาสวะมันห่อหุ้มไว้ จิตหลุดพ้นจากอาสวะเพราะความไม่ถือมั่น ไม่ถือมั่นในอะไร ในรูปนาม ในกายในใจ เนี่ยกุญแจของการปฏิบัติอยู่ที่กายกับใจนี่เอง เมื่อไรไม่ถือมั่นในกายในใจ โดยเฉพาะเมื่อไหร่ไม่ถือมั่นในใจในจิต อาสวะจะขาดโดยอัตโนมัติ ถ้าเราเห็นอาสวะแล้วพยายามตัด ทำยังไงก็ไม่ขาด กำหนดจิตให้แหลมคมแค่ไหนก็ไม่ขาดนะ แทงก็ไม่ทะลุนะ พอมันขาดเราจะรู้สึกว่าเรามีอิสระ 23 ก.ค. 2549 สภาวะทุกอย่างเสมอภาคกัน การเห็นสภาวะที่หยาบหรือละเอียด ธรรมะภายใน ธรรมะภายนอก ธรรมะที่เป็นกุศล อกุศล ธรรมะที่เป็นสุข เป็นทุกข์ ก็เสมอภาคกัน คือทั้งหมดเกิดและดับ ไม่ใช่ว่าต้องทำให้ละเอียดขึ้นๆ จึงจะบรรลุธรรม บางวันมันก็หยาบ บางวันมันก็ละเอียด เพราะว่าทั้งหมดนี้ เป็นเรื่องของอนัตตา ทั้งหมดเลย สติก็เป็นอนัตตา บางวันก็หยาบ บางวันก็ละเอียด บางวันก็ไม่มีเลย เขาเกิดขึ้นมาจะเป็นยังไงก็ได้ เราเรียนไม่ใช่เพื่อว่าจะเอาดี ไม่ใช่ว่าเราอยากได้สติเยอะๆ เราไม่ได้เรียนเอาตรงนั้นหรอก แต่เราเรียนจนกระทั่งจิตมันเกิดความเข้าใจ ว่าทุกอย่างบังคับไม่ได้ สติจะเกิดหรือไม่เกิด จะหยาบหรือละเอียด เราก็เลือกไม่ได้ ไม่ได้เรียนเอาดีนะ แต่เรียนเพื่อที่จะเห็นว่า ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นมาล้วนแต่ดับไปทั้งสิ้น ธรรมะที่หยาบเกิดขึ้นแล้วก็ดับ ธรรมะที่ละเอียดเกิดแล้วก็ดับ เสมอภาคกัน เรียนเพื่อให้เข้าใจตรงนี้เอง ในที่สุดก็เข้าใจว่า ทุกสิ่งที่เกิดล้วนแต่ดับไปทั้งสิ้น พระโสดาบันรู้แค่นี้เอง 22 ต.ค. 2548 การจำสภาวะธรรมได้เป็นเหตุใกล้ให้เกิดสติ สติเกิดขึ้นได้เพราะมีเหตุให้สติเกิด มันเกิดขึ้นเอง เราไปสั่งให้มันเกิดมันไม่เกิดหรอก สติมีการจำสภาวะได้ เป็นเหตุใกล้ให้เกิด เพราะเรารู้จักโกรธเป็นอย่างไร พอโกรธสติก็เกิด พอรู้จักเผลอเป็นยังไง พอเผลอสติก็เกิด พอหัดรู้กาย รู้ใจเนืองๆ สติปัญญาเริ่มแก่กล้าเพียงพอ จิตจะรวมเข้าอัปปนาสมาธิเอง พอรวมแล้วก็จะเห็นสภาวธรรมเกิดดับ 2 หรือ 3 ขณะ จะเห็นตัวสภาวะเกิดดับ ถัดจากนั้นโคตรภูญาณจะเกิดขึ้น มันจะเกิดการปล่อยวางตัวสภาวะ พอเห็นสภาวะเกิดดับ ปัญญาแก่รอบแล้ว มันวาง มันทิ้งโดยไม่ได้เจตนา ตรงนี้ไม่มีความจงใจเหลืออยู่เลยตั้งแต่จิตรวมแล้วเห็นสภาวะเกิดดับ 2 หรือ 3 ขณะนั้น จิต จะวางการรู้สภาวะแล้วทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้ ตรงเนี้ยตรงที่มันปล่อยสภาวะก็ไม่ใช่ปุถุชน ตรงที่ทวนเข้าหาธาตุรู้ยังไม่เข้าถึงธรรมธาตุตัวนี้ก็ไม่ใช่พระอริยะ เพราะงั้นเป็นรอยต่อ เกิดขึ้นแว๊บเดียวทวนเข้าถึงธาตุรู้แท้ๆ ตัวรู้จะมีปัญญาสุดขีดเกิดขึ้น ธาตุรู้นี้ก็เกิดแล้วก็ดับได้อีก จะเห็นเลยว่าความเป็นราไม่มีสักนิดเดียว ถัดจากนั้นจิตจะไปเห็นนิพพาน 2 หรือ 3 ขณะแล้วแต่คน จะเห็นสภาวธรรมเกิดดับ 2 หรือ 3 ขณะจากนั้นจิตจะถอยออกมาจากอัปปนาสมาธิ พอออกมาข้างนอกมันจะทวนกระแสเข้าไปพิจาณาสิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อกี๊แล้วมันจะเข้าใจ กิเลสยังเหลือ หรือไม่เหลือสักเท่าไร รู้ พอเราปฏิบัติได้อย่างนี้ พอเราต้องการเช็คตัวเอง เราสังเกตที่ใจของเรากิเลสของเราเหลือสักเท่าไร จะไปแล้วเท่าไร หลวงปู่ดูลย์ไปเรียนกรรมฐานกับหลวงปู่มั่นเสร็จแล้วไปเดินนะ เดินมาเดือนกว่าๆ กลับมารายงาน กิเลส 4 ส่วน ผมละเด็ดขาดไปแล้ว 1 ส่วน ส่วนที่ 2 ละได้ครึ่งเดียวยังไม่สมุจเฉจ (การตัดขาด) หลวงปู่มั่นบอกไปทำต่อถูกแล้ว จากนี้ดู สัพเพ สังขารา สัพพสัญญา อนัตตา 4 พ.ค. 2548 ทางลัด จิตที่พ้นความปรุงแต่ง จะรู้ธรรมชาติที่พ้นความปรุงแต่ง (นิพพาน) ทางลัดที่สุดสำหรับการปฏิบัติธรรม จึงไม่ใช่การกระทำ (ปรุงแต่ง) ใดๆ แต่เป็นการหยุดกระทำ โดยไม่กระทำ (ปรุงแต่ง) ความหยุดให้เกิดขึ้น มีเพียง การรู้อย่างเงียบสนิทจริงๆ เท่านั้น (โดยไม่มีมายาของการคิดนึกปรุงแต่ง และมายาของการหยุดคิดนึกปรุงแต่ง) ที่เป็นสิ่งสุดท้ายซึ่งผู้ปฏิบัติจะทำได้ ก่อนที่จิตเขาจะ "ก้าวกระโดด" ไปเอง หากพระพุทธเจ้าจะทรงแสดงธรรมอย่างถึงที่สุด ย่อมต้องปิดพระโอษฐ์เงียบ แต่นั่นเป็นสิ่งยากเกินกว่าเวไนยชนจะเข้าใจได้ และหากจะทรงกล่าวธรรมอย่างย่นย่อที่สุดว่า สิ่งทั้งปวงไม่ควรยึดมั่น ก็ยังยากที่จะมีผู้รู้ตามได้ เพราะสัตว์ทั้งหลายถ้าไม่ยึดรูปธรรม ก็ต้องยึดนามธรรมไว้ก่อน พระองค์จึงทรงบอก ทาง ของการปฏิบัติขึ้นมามากมาย โดยอิงกับรูปธรรมและนามธรรม เช่น ทาน ศีล ภาวนา กุศลกรรมบถ ตลอดจนการทำสมถะและวิปัสสนา ทั้งนี้ ก็เพื่อให้พวกเราเดินเข้าใกล้ การหยุดพฤติกรรมทางจิต จนเหลือเพียงรู้อย่างเงียบสนิทจริงๆ นั่นเอง เช่นทรงสอนให้ทำทาน เพื่อลดความกระวนกระวายเพราะความโลภ ทรงสอนให้รักษาศีล เพื่อเป็นพื้นฐานสำหรับความสงบระงับ ทรงสอนสัมมาสมาธิ เพื่อให้จิตตั้งมั่นและรู้ตัว และทรงสอนวิปัสสนา เพื่อทำลายแรงดึงดูดของอารมณ์ ที่จะพาจิตให้ทะยานไปก่อภพก่อชาติตลอดนิรันดร ผู้ปฏิบัติที่ยังขาดความเข้าใจ ย่อมปฏิบัติสิ่งเหล่านี้ เพื่อที่จะปฏิบัติต่อไป ส่วนผู้ที่เข้าใจแล้ว ก็จะ หยุด การปฏิบัติ ได้ด้วยปัญญาญาณอันแหลมคม หากต้องการทางลัด ก็จำเป็นต้อง รู้ และเลิกคิดเรื่อง ทาง ไปเลย แต่ถ้ายังไม่รู้จัก รู้ ก็ยังจำเป็นต้องอาศัยทางเหล่านั้นต่อไปก่อน 4 ธ.ค. 2544 ของฝากจากสวนโพธิ์ 1. เผลอก็ให้รู้ว่าเผลอ เมื่อรู้ว่าเผลอแล้วก็พอแล้ว อย่าเผลอต่อไปอีก ด้วยการคิดว่า ทำอย่างไรจึงจะรู้ตัวได้ต่อเนื่อง 2. เพ่งก็ให้รู้ว่าเพ่ง เมื่อรู้ว่าเพ่งแล้วก็พอแล้ว อย่าเผลอหรือเพ่งต่อไปอีก เพื่อจะทำลายการเพ่งนั้น 3. หงุดหงิดก็รู้ว่าหงุดหงิด กลัวก็รู้ว่ากลัว มีราคะก็รู้ว่ามีราคะ มีความฟุ้งซ่านก็รู้ว่ามีความฟุ้งซ่าน ให้รู้ด้วยจิตที่เป็นกลางๆ คือไม่คล้อยตาม และไม่ต่อต้าน เพราะถ้าคล้อยตามก็จะถูกกิเลสครอบงำ ถ้าต่อต้านก็จะเกิดความอึดอัดใจ 4. สรุปแล้ว ให้รู้ทุกอย่างที่จิตไปรู้เข้า โดยไม่เติมความคิดนึกปรุงแต่งใดๆ ลงไปอีก เพราะ "รู้" นั่นแหละคือประตูของมรรคผลนิพพาน 29 พ.ย. 2544 แก่นสารของการปฏิบัติธรรม การเจริญสติจริงๆ จะไปยากอะไร เพียงแต่ให้มีจิตที่รู้ตัวสบายๆ เป็นธรรมชาติธรรมดานี้เอง แล้วไปรู้อารมณ์ (ที่เป็นปรมัตถ์)ที่กำลังปรากฏ โดยไม่เผลอ ไม่เพ่ง ด้วยความเป็นกลางจริงๆ คลองแห่งความคิดจะขาดไป และจิตจะรู้ โดยปราศจากความปรุงแต่ง ไม่นานผู้ปฏิบัติก็จะสามารถเข้าในวิสังขารธรรม หรือธรรมที่พ้นความปรุงแต่งได้ จุดแรกที่พวกเราควรทำความรู้จักก็คือ จิตที่มีสติ ไม่เผลอ ไม่หลง ไม่ถูกครอบงำด้วยความปรุงแต่งมันเป็นอย่างไร เมื่อรู้ตัวเป็นแล้ว ก็รู้ปรมัตถธรรมที่กำลังปรากฏไปตามธรรมดาๆ นี่เอง เช่นรู้ลงในความไหวของกาย ด้วยจิตที่ไม่หลง ก็จะเห็นปรมัตถ์ของ "กาย" อย่างชัดเจน คลองแห่งความคิดจะขาดไป เหลือแต่รู้สักว่ารู้ รู้ตามความเป็นจริง รู้ด้วยจิตที่เป็นกลาง แล้วจะเห็นธรรมฝ่ายสังขารคือ "กาย" หากจิตมีความพร้อม ก็จะเห็นธรรมฝ่ายวิสังขาร คือฝ่ายเหนือความปรุงแต่งได้ในวับเดียว 29 พ.ค. 2544 รู้อย่างไรจึงจะบั่นทอนทุกข์ลงได้ "รู้ตัว" เป็น ก็คือมีจิตที่ตั้งมั่น เป็นกลาง เป็นธรรมเอก ถัดจากนั้นก็ต้องหัด "รู้" ทุกสิ่งที่กำลังปรากฏ ด้วยความ "รู้ตัว" ก็จะเห็นว่าทุกอย่างที่ถูกรู้ล้วนแต่เกิดขึ้นแล้วดับไป และถ้าเมื่อใดจิตขาดความรู้ตัว หลงเข้ายึดถือสิ่งที่ถูกรู้ ความทุกข์ก็เกิดขึ้น ถ้ารู้ โดยรู้ตัวอยู่ ก็เป็น รู้สักว่ารู้ จิตจะเป็นเพียง "ผู้สังเกตการณ์" ปรากฏการณ์ทั้งปวง โดยไม่โดดเข้าไปร่วมแสดงเอง ที่คุณสุรวัฒน์เล่าถึงการปฏิบัติว่า "ผมก็เลยต้องคอยทำตัวให้ รู้ เข้าไว้ อาบน้ำก็ฝึกรู้ ดูโทรทัศน์ก็ฝึกรู้ กินข้าวก็ฝึกรู้ ...นึกขึ้นได้ตอนไหนก็ฝึกรู้ วันๆก็ฝึกรู้ไปเรื่อยๆ" หัดต่อไปอย่างที่หัดนี่แหละครับ ยืน เดิน นั่ง นอน กิน ดื่ม ขับถ่าย ทำ พูด คิด ฯลฯ รู้อยู่ให้ตลอด ให้ต่อเนื่องไปเรื่อยๆ โดยมีผู้รู้ กับสิ่งที่ถูกรู้ ซึ่งถึงจุดนี้ จะเห็นมันแยกกันเองได้แล้วครับ ไม่ต้องไปพยายามทำอะไรเพื่อให้มันแยกกันมากกว่านี้จนผิดธรรมชาติ จะกลายเป็นปฏิบัติด้วยความจงใจและความอยากมากไปครับ 30 มิ.ย. 2543 ปัจจัยแห่งความเจริญงอกงามในธรรม (1) ให้พยายามมีสติสัมปชัญญะ รู้ อยู่ในชีวิตประจำวันให้ได้ จะยืน เดิน นั่ง นอน กิน ดื่ม ทำ พูด คิด ฯลฯ ก็ให้มีสติรู้กายรู้ใจอยู่เสมอ (2) ให้ปฏิบัติธรรมไปอย่างซื่อๆ ตรงๆ อย่าเอาแต่วุ่นวายกับการคิด การหาอุบายทางลัด และนิมิตต่างๆ เพราะนั่นล้วนเป็นทางแห่งความเนิ่นช้า (3) อย่าเอาแต่รวมกลุ่มสัญจรไปตามสำนักโน้นสำนักนี้ เที่ยวสนุกกับการไปฟังธรรมที่โน้นที่นี้ ละเลยการฟังธรรมในจิตใจตนเอง (4) มีผลการปฏิบัติใดๆ เกิดขึ้นในระหว่างทาง ก็อย่าเอาแต่ไปเขียนเล่าในกระทู้ให้กิเลสกระเพื่อม จนปฏิบัติต่อไปไม่ได้อีก (5) ขอให้ตั้งใจจริงจังเพื่อเอาตัวให้รอด ลองเอาจริงสัก ปี สองปีก็ยังดี โดยยอมเสียสละเรื่องรกรุงรังในจิตใจเสียสักช่วงหนึ่ง แล้วตั้งใจปฏิบัติให้สม่ำเสมอ 9 พ.ย. 2543 วันวานที่ผ่านมา วิปัสสนาที่แท้จริงนั้น มีแต่รู้ ไม่ต้องจงใจเติมสิ่งใดลงไปในรู้ ไม่ว่าจะเป็นศีล สมาธิ หรือปัญญา ไม่ต้องเอาสมมุติบัญญัติ หรือความคิดนึกปรุงแต่งใดๆ มาช่วยทำวิปัสสนา ไม่ต้องคิด ไม่ต้องพิจารณาโดยสิ้นเชิง เพราะความจงใจเคลื่อนไหวใดๆ จะทำให้จิตก่อภพก่อชาติ ก่อวัฏฏะหมุนวนขึ้นมาอีก ผมไม่แนะนำให้พยายามทรงความรู้ตัวให้นานๆ เพราะความพยายามนั้นเอง จะทำให้เกิดการ จงใจ เสแสร้ง ดัดจริต รู้ นักปฏิบัตินั้น อย่าไปนึกถึงเรื่องที่จะให้จิตรู้ตัวต่อเนื่อง ได้เป็นชั่วโมง เป็นวัน เป็นเดือน เลยครับ เพราะการปฏิบัติ เราจะดูกันเป็นขณะๆ ไปเท่านั้นเอง ว่าขณะนี้รู้ตัวหรือเผลอ ขณะนี้มีสติ หรือขาดสติ ขณะใดมีสติ ขณะนั้นกำลังปฏิบัติอยู่ ขณะใดขาดสติ ขณะนั้นไม่ได้ปฏิบัติ หรือปฏิบัติผิด ไม่ใช่พูดว่า ชั่วโมงนี้รู้ตัว หรือวันนี้รู้ตัว ชั่วโมงต่อมา หรือวันต่อมา ไม่รู้ตัว ดังนั้นเมื่อเผลอไป แล้วเกิดรู้ตัวว่าเผลอ ขณะนั้น จิต รู้ ถูกต้องแล้ว เมื่อเพ่ง แล้วเกิดรู้ตัวว่าเพ่ง ขณะนั้น จิต รู้ ถูกต้องแล้ว เมื่อมีราคะ แล้วเกิดรู้ตัวว่ามีราคะ ขณะนั้น จิต รู้ ถูกต้องแล้ว เมื่อโทสะ แล้วเกิดรู้ตัวว่ามีโทสะ ขณะนั้น จิต รู้ ถูกต้องแล้ว เมื่อมีโมหะ แล้วเกิดรู้ตัวว่าโมหะ ขณะนั้น จิต รู้ ถูกต้องแล้ว
นิพพานมาตรฐานการที่จะเข้าถึงนิพพานนี้ องค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดาทรงตรัสไว้เป็น ๔ แบบ ด้วยกัน คือ แบบที่ ๑ สุกขวิปัสสโก แบบที่ ๒ เตวิชโช แบบที่ ๓ ฉฬภิญโญ แบบที่ ๔ ปฏิสัมภิทัปปัตโต สำหรับแบบที่ ๑ นี่ชื่อง่ายแต่ทำยาก คือปฏิบัติแล้วไม่เห็นอะไรเหมือนคนเอาผ้าดำผูกตาเดิน ถ้าจะกล่าวกันไปก็เหมือนกับที่บรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลายทำกันอยู่เวลานี้ ถ้าไม่เลิกก็ถึงนิพพานเหมือนกัน ก็ได้แก่ ๑. ทาน ๒. ศีล ๓. ภาวนา ทำใจแบบสบาย เพราะว่ากิเลส ๓ ประการนี้ ถ้าตัดได้เมื่อไรก็ถึงนิพพานเมื่อนั้น ทาน การให้ ที่บรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลายถวายกับพระก็ดี ให้แก่คนยากจนก็ดี ให้แก่คนที่มีความลำบากก็ดี ให้แก่สัตว์เดรัจฉานก็ดี ก็ชื่อว่าเป็นทาน และการให้ทานถ้ามีความมุ่งหมายอย่างอื่น จะพลาดจากนิพพานไปนิดหนึ่ง แต่ก็ไม่มากนักถ้าจิตใจของบรรดาท่านพุทธบริษัทตั้งใจโดยเฉพาะเพื่อตัดกิเลสให้เป็น สมุจเฉทปหาน คิดว่าการให้ทานตัวนี้เราให้เพื่อตัดโลภะ ความโลภที่อยู่ในจิตของเรา มันเป็นสิ่งสกปรก เราให้ไปไม่หวังผลตอบแทนใดๆ ในชาติปัจจุบัน สำหรับท่านผู้รับ เขาจะนำไปใช้ เขาจะนำไปทิ้งมันเป็นเรื่องของเขา แต่กำลังใจของเราตัดเยื่อใยในความผูกมัดในทรัพย์สมบัติเกินไป ไม่ให้มีในจิต อย่างนี้ สมเด็จพระธรรมสามิสรตรัสว่า ชื่อว่าชนะความโลภ เป็นการตัดกิเลสตัวสำคัญ ตัดรากเหง้าได้รากหนึ่ง และ ศีลมัย บุญสำเร็จด้วยการรักษาศีล การรักษาศีลนั้นถ้าจะว่ากันตามประเพณี ก็ประโยชน์น้อยเต็มที ถ้าจะรักษากันได้จริงๆ ละก็จะต้องรู้พื้นฐานของศีล พื้นฐานที่เราจะมีศีลได้น่ะ มันมีอะไรอยู่บ้าง จับตัวนี้ให้มันอยู่บ้าง เพราะศีลเป็นตัวตัดโทสะความโกรธ คือตัดกิเลสตัดที่ ๒ ถ้าสักแต่ว่าสมาทานมันก็ไม่ต่างกับนกแก้วนกขุนทองที่เขาสอนพูด ประโยชน์มันมีเหมือนกันแต่ไม่ได้ ๑ ใน ๑๐๐ ถ้ารักษากันให้ดีละก็ไปนิพพานได้ จงจำไว้ว่าศีลที่จะมีขึ้นกับใจได้ต้องอาศัยเหตุ ๓ ประการ คือ ๑. เมตตา ความรัก ๒. ความกรุณา ความสงสาร ๓. สันโดษ ยินดีเฉพาะของที่เรามีอยู่โดยเฉพาะ หมายความว่าของที่เราหามาได้เองโดยชอบธรรม นั่นเรายินดี เราไม่ยินดีในทรัพย์สินของคนอื่นที่เราจะลักจะขโมย....การรักษาศีล ถ้าบรรดาท่านพุทธบริษัทรักษาศีลด้วยเหตุ ๓ ประการอย่างนี้ โทสะ ความโกรธมันก็ลดลง เพราะว่าทุกวันเมื่อเราตื่นขึ้นมาเราก็ตั้งใจเว้นความโกรธอยู่แล้ว ความรักเป็นการตัดความโกรธ ความสงสารเป็นการตัดความโกรธ ความสันโดษเป็นเหตุตัดความเดือดร้อนจากความโกรธของบุคคลอื่น การรักษาศีลได้ดีองค์สมเด็จพระชินศรีกล่าวว่า ค่อยๆ รักษาไปเรื่อยๆ ทำใจสบายๆ กิเลสคือความโกรธ ก็ค่อยๆ ลดไป ในที่สุดมันก็จะหมดไปเอง เป็นการปฏิบัติด้านสุกขวิปัสสโก ภาวนามัย ที่องค์สมเด็จพระจอมไตรตรัสว่า เป็นเรื่องของภาวนาด้านสุกขวิปัสสโกนี้มีฌานเบื้องต้นไม่สูง เริ่มใช้อารมณ์พิจารณาตั้งแต่ขณิกสมาธิ คือยามปกติเราให้ทานก็คิดว่า คนที่เราให้ทานทุกคน เมื่อเขารับทานมาแล้วเขาก็มีความสุขในการบริโภคทาน แต่ว่าเราผู้ให้ทานก็ดี เขาผู้รับทานก็ดี คนทั้งหลายทั้งหมดนี้ไม่อยู่ตลอดกาลตลอดสมัย เกิดขึ้นเมื่อไรค่อยๆ เสื่อมไปทุกวันๆ ในที่สุดก็ตายเหมือนกัน ผู้ให้ทานก็ตาย ผู้รับทานก็ตาย แต่ว่าเกิดขึ้นมาชีวิตอย่างนี้ พระพุทธเจ้ากล่าวว่า ชาติปิ ทุกขา ความเกิดเป็นทุกข์ เราเกิดมาเราต้องทำมาหากิน ต้องบริหาร แล้วก็มีความหิว ความกระหาย ปวดอุจจาระ ปวดปัสสาวะ มีความหนาวความร้อนเกินไป อาการทั้งหมดนี้มันเป็นทุกข์ เราผู้ให้ทานก็ทุกข์ ผู้รับทานก็ทุกข์ไม่มีใครที่มีความสุข เมื่อความแก่เข้ามาถึงเราก็ทุกข์ ความป่วยไข้ไม่สบายเข้ามาเราก็ทุกข์ มีความปรารถนาไม่สมหวังเข้ามาเราก็ทุกข์ การพลัดพรากจากของรักของชอบใจเข้ามาถึงเราก็ทุกข์ ความตายจะเข้ามาถึงมันก็ทุกข์ รวมความว่าเรากับเขาต่างคนต่างมีทุกข์ เรากับเขาต่างคนต่างไม่มีความจีรังยั่งยืน เรากับเขาต่างคนต่างตาย จะเป็นคนก็ดี จะเป็นสัตว์ก็ดี วัตถุธาตุก็ดี ในโลกนี้ไม่มีอะไรเหลือ นี่เป็นด้านวิปัสสนาญาณควบสมถะ ของสุกขวิปัสสโก และต่อไปถ้าจิตคิดอีกว่า ถ้าเรายังหวังความเกิดเป็นมนุษย์ก็ดี เป็นเทวดาก็ดี พรหมก็ดี เราก็ต้องเวียนว่ายตายเกิดอย่างนี้หาที่สิ้นสุดไม่ได้ ฉะนั้น องค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดาจึงตรัสว่า สถานที่พระนิพพานเป็นแดนที่มั่นคง เป็นแดนอมตะ เรายอมเชื่อพระ ทำจิตให้หลุดพ้นจากกิเลสเป็นสมุจเฉทปหาน คือ ทำลายความโลภด้วยการให้ทาน ทำลายความโกรธด้วยศีล คือมีความเมตตาปรานีเป็นที่ตั้ง ทำลายความหลงด้วยปัญญา ให้เห็นจริงว่าโลกนี้ไม่เที่ยง ผู้ที่เกิดมาแล้วก็ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ในที่สุดกระทั่งจิตของเรานี้ก็ปลอดปราศจากกิเลสทั้ง ๓ ประการ คือ โลภะ ความโลภไม่มี โทสะ ความโกรธไม่มี โมหะ ความหลงไม่มี อย่างนี้ชื่อว่าเป็น นิพพานัง ปรมัง สุญญัง นิพพานเป็นธรรมว่างอย่างยิ่ง คือว่างจากความเดือดร้อน ว่างจากความโลภ ว่างจากความโกรธ ว่างจากความหลง จิตก็ถึงจุดตรง คือ นิพพานัง ปรมัง สุขัง คือ นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง ในเมื่อเชื้อสายความเร่าร้อนไม่มี จิตก็เป็นสุข อย่างนี้ท่านเรียกว่า นิพพานตัดกิเลสมีเบญจขันธ์เหลือ
Buddan Saranan Gachchamiเมื่อใดแล เหล่ามนุษย์ผู้ถือตนว่าเป็นสัตว์ประเสริฐ ได้เกิดความหวาดกลัว เกิดหัวใจสะดุ้งหวั่นไหว เม เมื่อใดแล เหล่ามนุษย์ผู้ถือตนว่าเป็นสัตว์ประเสริฐ ได้เกิดความหวาดกลัว เกิดหัวใจสะดุ้งหวั่นไหว เมื่อใดแล เหล่ามนุษย์ผู้ถือตนว่าเป็นสัตว์ประเสริฐ ได้เกิดความหวาดกลัว หรือว่า เกิดหัวใจสะดุ้งหวั่นไหว เมื่อนั้น ขอให้ท่าน จงเปล่งคำว่า “พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ” ไว้เถิด เมื่อนั้น ขอให้ท่าน จงเปล่งคำว่า “พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ” ไว้เถิด เมื่อใดแล เกิดความมัวเมาอันเป็นเหตุแห่งความไม่สงบวุ่นวาย พื้นแผ่นดินไหลอาบนองแดงฉานไปด้วยเลือด เปลวไฟแห่งความมุ่งร้ายเบียดเบียนแผดเผากระจายไป จิตใจของมวลหมู่มนุษย์กลับกลายไปเป็นดั่งเดรัจฉาน มีใบหน้ายิ้มแย้มแจ่มใส แต่ภายในแผดเผาเร่าร้อน เมื่อนั้น ขอให้ท่าน จงเปล่งคำว่า “พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ” ไว้เถิด เมื่อนั้น ขอให้ท่าน จงเปล่งคำว่า “พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ” ไว้เถิด "พุทธํ สรณํ คจฺฉามิ ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ" เมื่อใดแล ความรักเมตตาแห้งเหือดหายไปจากโลก ความกรุณาสงสารก็แห้งเหือดหายไป คนทั้งหลายเชือดเฉือนสายใยแห่งความรัก แม้ของมารดาตนเอง เกิดผืนแผ่นดินเลื่อนลั่น ฟ้าสั่นไหว เมื่อนั้น ขอให้ท่าน จงเปล่งคำว่า “พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ” ไว้เถิด เมื่อนั้น ขอให้ท่าน จงเปล่งคำว่า “พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ” ไว้เถิด "พุทธํ สรณํ คจฺฉามิ ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ" พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใดแล ผู้ทรงขจัดเสียซึ่งความมืดมิดภายในจิตใจที่เร่าร้อนของปวงประชา มวลหมู่สรรพสัตว์ทั้งหลาย ได้พบหนทางแสงสว่าง เพียงแค่ได้สัมผัสเส้นใยแห่งรัศมีที่แผ่ออกมาของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใด ด้วยอานุภาพของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ขอพระสัทธรรมอันเป็นที่พึ่งพิง ขออริยสัจจ์คือความจริง จงเจริญรุ่งเรืองตลอดกาลนาน ขอมวลหมู่มนุษย์จงเห็นอกเห็นใจเกื้อกูลเอ็นดูกันเถิด ขอหมู่มนุษย์จงทนุถนอมความรัก ความเยื่อใยของมนุษย์ด้วยกัน อยู่อย่างร่มเย็นสันติสุขเถิด ขอบทแห่งมนต์อันประเสริฐ ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของชาวภารตะ (อินเดีย) จงกระหึ่มกังวานไปในทุกครัวเรือน เพื่อนมนุษย์เอ๋ย ขอให้ท่าน จงหมั่นเปล่งคำว่า "พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ" ไว้บ่อย ๆ เถิด "พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ”คำอ่านอักษรไทย พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ. ฆพฑาเอ ชพฺ มนฺ-อนฺโมลฺ หฺริทย โห อุเธ ฑาณฺวาโฑลฺ. ฆพฑาเอ ชพฺ มนฺ-อนฺโมลฺ ออุรฺ หฺริทย อุเธ โห ฑาณฺวาโฑลฺ. โห ตพฺ มานวฺ ตุ มุขเส โพลฺ พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ ฮี ตพฺ มานวฺ ตุ มุขเส โพลฺ พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ. ชพฺ อศานฺติกา รคฺ อุเธ. ลาลฺลหุกา ภคฺ อุเธ. หินฺสา กี ตุ อาคฺ อุเธ. มานวฺ เมญฺ ปศุ ชคฺ อุเธ. อูปรเส มุสกา เตนนฺ ภิตารฺ ทหก รเห ตุ โห. โห ตพฺ มานวฺ ตุ มุขเส โพลฺ พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ ฮี ตพฺ มานวฺ ตุ มุขเส โพลฺ พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ. พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ ชพฺ ทุนิยานฺ เส ปฺยารฺ อุเธ. ชพฺ ทุนิยานฺ เส ปฺยารฺ อุเธ. นผรตฺ กี ทีวารฺ อุเธ. มานฺ กี มมตา ปารฺ อุสกี เพเตกี ตลวารฺ อุเธ. ธรตี กี กายากาเป อมฺพรฺ ทคฺมคฺ อุเธ โทลฺ. โห ตพฺ มานวฺ ตุ มุขเส โพลฺ พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ ฮี ตพฺ มานวฺ ตุ มุขเส โพลฺ พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ. ทูรฺ กิยา ชิสเน ชนชนเก วฺยากุล มนกา อนฺธิยารา ชิสฺสกี เอกกีรณโก ฉูกรฺ จมกฺ อุธา เย ชค ศารา. ทีป สตฺยกา สทา ชเล. ทยา อหึสา สทา ปเล. สุขศานฺติ กี ฉยมฺ เมนฺ ชนฺ คณ มนกา เปฺรมฺ ปเล. ภารตฺ เก ภควนฺ พุทฺธกา คูญเช ฆรฺฆรฺ มนฺตร อโมลฺ. เห มานวฺ นิต มุขเส โพลฺ. พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ เห มานวฺ นิต มุขเส โพลฺ. พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ. แสดงน้อยลงBUDDHAM SARANAM GACCHÃMI DHAMMAM SARANAM GACCHÃMI SANGG̣HAM SARANAM GACCHÃMI GHABADAE JAB MAN-ANAMOL HRIDYA HO UTHE ḌAṆVAḌOL. GHABADAE JAB MAN-ANAMOL AUR HRIDYA UTHE HO ḌAṆVAḌOL. HO TAB MANAV TO MUKHASE BOL. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. HĨ TAB MANAV TO MUKHASE BOL. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI DHAMMAM SARANAM GACCHÃMI SANGG̣HAM SARANAM GACCHÃMI JAB AṢANTIKÃ RAG UTHE LÃLLAHUKÃ̃ PHAG UTHE. HINSÃ KI TO ÃG UTHE MÃNAV MEṆ PAṢU JAG̣ UTHE. UPARASE MUSAKÃ TE NAN BHITÃR DAHAKA RAHE TO HO. HO TAB MANAV TO MUKHASE BOL. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. HĨ TAB MANAV TO MUKHASE BOL. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI DHAMMAM SARANAM GACCHÃMI SANGG̣HAM SARANAM GACCHÃMI. (BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI) JAB DUNIYÃN SE PYAR UTHE. JAB DUNIYÃN SE PYAR UTHE . NAPHARAT KĨ DĨVÃR UTHE. MÃN KI MAMATÃ PAR USKĨ BEṬEKI TALAVÃR UTHE. DHARATĨ KĨ KÃYÃKÃPE AMBAR DAGMAG UTHE DOL . HO TAB MÃNAV TO MUKHASE BOL. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. HĨ TAB MANAV TO MUKHASE BOL. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. DHAMMAM SARANAM GACCHÃMI. SANGG̣HAM SARANAM GACCHÃMI. DŨR KIYÃ JISANE JANAJANAKE VYÃKULMANAKÃ ANDHIYÃRÃ JISAKI EKA KIRNAKO CHŨKAR CAMAK UTHÃ YE JAGA SÃRÃ.. DĨPA SATYAKÃ SADÃ JALE. DAYÃ AHIṂSA SADÃ PALE. SUKHAṢANTI KĨ CHAYAM MEṆ JAN GAṆA MANAKÃ PREM PALE. PHÃRAT KE BHAGAVAN BUDDHAKÃ GŨÑJE GHARGHAR MANTRA AMOL. HE MÃNAV NITA MUKHASE BOL. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. HE MÃNAV NITA MUKHASE BOL. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. DHAMMAM SARANAM GACCHÃMI. SANGG̣HAM SARANAM GACCHÃMI.
เมื่อใดแล เหล่ามนุษย์ผู้ถือตนว่าเป็นสัตว์ประเสริฐ ได้เกิดความหวาดกลัว เก...เมื่อใดแล เหล่ามนุษย์ผู้ถือตนว่าเป็นสัตว์ประเสริฐ ได้เกิดความหวาดกลัว เกิดหัวใจสะดุ้งหวั่นไหว เม เมื่อใดแล เหล่ามนุษย์ผู้ถือตนว่าเป็นสัตว์ประเสริฐ ได้เกิดความหวาดกลัว เกิดหัวใจสะดุ้งหวั่นไหว เมื่อใดแล เหล่ามนุษย์ผู้ถือตนว่าเป็นสัตว์ประเสริฐ ได้เกิดความหวาดกลัว หรือว่า เกิดหัวใจสะดุ้งหวั่นไหว เมื่อนั้น ขอให้ท่าน จงเปล่งคำว่า “พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ” ไว้เถิด เมื่อนั้น ขอให้ท่าน จงเปล่งคำว่า “พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ” ไว้เถิด เมื่อใดแล เกิดความมัวเมาอันเป็นเหตุแห่งความไม่สงบวุ่นวาย พื้นแผ่นดินไหลอาบนองแดงฉานไปด้วยเลือด เปลวไฟแห่งความมุ่งร้ายเบียดเบียนแผดเผากระจายไป จิตใจของมวลหมู่มนุษย์กลับกลายไปเป็นดั่งเดรัจฉาน มีใบหน้ายิ้มแย้มแจ่มใส แต่ภายในแผดเผาเร่าร้อน เมื่อนั้น ขอให้ท่าน จงเปล่งคำว่า “พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ” ไว้เถิด เมื่อนั้น ขอให้ท่าน จงเปล่งคำว่า “พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ” ไว้เถิด "พุทธํ สรณํ คจฺฉามิ ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ" เมื่อใดแล ความรักเมตตาแห้งเหือดหายไปจากโลก ความกรุณาสงสารก็แห้งเหือดหายไป คนทั้งหลายเชือดเฉือนสายใยแห่งความรัก แม้ของมารดาตนเอง เกิดผืนแผ่นดินเลื่อนลั่น ฟ้าสั่นไหว เมื่อนั้น ขอให้ท่าน จงเปล่งคำว่า “พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ” ไว้เถิด เมื่อนั้น ขอให้ท่าน จงเปล่งคำว่า “พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ” ไว้เถิด "พุทธํ สรณํ คจฺฉามิ ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ" พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใดแล ผู้ทรงขจัดเสียซึ่งความมืดมิดภายในจิตใจที่เร่าร้อนของปวงประชา มวลหมู่สรรพสัตว์ทั้งหลาย ได้พบหนทางแสงสว่าง เพียงแค่ได้สัมผัสเส้นใยแห่งรัศมีที่แผ่ออกมาของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใด ด้วยอานุภาพของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ขอพระสัทธรรมอันเป็นที่พึ่งพิง ขออริยสัจจ์คือความจริง จงเจริญรุ่งเรืองตลอดกาลนาน ขอมวลหมู่มนุษย์จงเห็นอกเห็นใจเกื้อกูลเอ็นดูกันเถิด ขอหมู่มนุษย์จงทนุถนอมความรัก ความเยื่อใยของมนุษย์ด้วยกัน อยู่อย่างร่มเย็นสันติสุขเถิด ขอบทแห่งมนต์อันประเสริฐ ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของชาวภารตะ (อินเดีย) จงกระหึ่มกังวานไปในทุกครัวเรือน เพื่อนมนุษย์เอ๋ย ขอให้ท่าน จงหมั่นเปล่งคำว่า "พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ" ไว้บ่อย ๆ เถิด "พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ”คำอ่านอักษรไทย พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ. ฆพฑาเอ ชพฺ มนฺ-อนฺโมลฺ หฺริทย โห อุเธ ฑาณฺวาโฑลฺ. ฆพฑาเอ ชพฺ มนฺ-อนฺโมลฺ ออุรฺ หฺริทย อุเธ โห ฑาณฺวาโฑลฺ. โห ตพฺ มานวฺ ตุ มุขเส โพลฺ พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ ฮี ตพฺ มานวฺ ตุ มุขเส โพลฺ พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ. ชพฺ อศานฺติกา รคฺ อุเธ. ลาลฺลหุกา ภคฺ อุเธ. หินฺสา กี ตุ อาคฺ อุเธ. มานวฺ เมญฺ ปศุ ชคฺ อุเธ. อูปรเส มุสกา เตนนฺ ภิตารฺ ทหก รเห ตุ โห. โห ตพฺ มานวฺ ตุ มุขเส โพลฺ พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ ฮี ตพฺ มานวฺ ตุ มุขเส โพลฺ พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ. พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ ชพฺ ทุนิยานฺ เส ปฺยารฺ อุเธ. ชพฺ ทุนิยานฺ เส ปฺยารฺ อุเธ. นผรตฺ กี ทีวารฺ อุเธ. มานฺ กี มมตา ปารฺ อุสกี เพเตกี ตลวารฺ อุเธ. ธรตี กี กายากาเป อมฺพรฺ ทคฺมคฺ อุเธ โทลฺ. โห ตพฺ มานวฺ ตุ มุขเส โพลฺ พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ ฮี ตพฺ มานวฺ ตุ มุขเส โพลฺ พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ. ทูรฺ กิยา ชิสเน ชนชนเก วฺยากุล มนกา อนฺธิยารา ชิสฺสกี เอกกีรณโก ฉูกรฺ จมกฺ อุธา เย ชค ศารา. ทีป สตฺยกา สทา ชเล. ทยา อหึสา สทา ปเล. สุขศานฺติ กี ฉยมฺ เมนฺ ชนฺ คณ มนกา เปฺรมฺ ปเล. ภารตฺ เก ภควนฺ พุทฺธกา คูญเช ฆรฺฆรฺ มนฺตร อโมลฺ. เห มานวฺ นิต มุขเส โพลฺ. พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ เห มานวฺ นิต มุขเส โพลฺ. พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ. แสดงน้อยลงBUDDHAM SARANAM GACCHÃMI DHAMMAM SARANAM GACCHÃMI SANGG̣HAM SARANAM GACCHÃMI GHABADAE JAB MAN-ANAMOL HRIDYA HO UTHE ḌAṆVAḌOL. GHABADAE JAB MAN-ANAMOL AUR HRIDYA UTHE HO ḌAṆVAḌOL. HO TAB MANAV TO MUKHASE BOL. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. HĨ TAB MANAV TO MUKHASE BOL. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI DHAMMAM SARANAM GACCHÃMI SANGG̣HAM SARANAM GACCHÃMI JAB AṢANTIKÃ RAG UTHE LÃLLAHUKÃ̃ PHAG UTHE. HINSÃ KI TO ÃG UTHE MÃNAV MEṆ PAṢU JAG̣ UTHE. UPARASE MUSAKÃ TE NAN BHITÃR DAHAKA RAHE TO HO. HO TAB MANAV TO MUKHASE BOL. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. HĨ TAB MANAV TO MUKHASE BOL. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI DHAMMAM SARANAM GACCHÃMI SANGG̣HAM SARANAM GACCHÃMI. (BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI) JAB DUNIYÃN SE PYAR UTHE. JAB DUNIYÃN SE PYAR UTHE . NAPHARAT KĨ DĨVÃR UTHE. MÃN KI MAMATÃ PAR USKĨ BEṬEKI TALAVÃR UTHE. DHARATĨ KĨ KÃYÃKÃPE AMBAR DAGMAG UTHE DOL . HO TAB MÃNAV TO MUKHASE BOL. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. HĨ TAB MANAV TO MUKHASE BOL. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. DHAMMAM SARANAM GACCHÃMI. SANGG̣HAM SARANAM GACCHÃMI. DŨR KIYÃ JISANE JANAJANAKE VYÃKULMANAKÃ ANDHIYÃRÃ JISAKI EKA KIRNAKO CHŨKAR CAMAK UTHÃ YE JAGA SÃRÃ.. DĨPA SATYAKÃ SADÃ JALE. DAYÃ AHIṂSA SADÃ PALE. SUKHAṢANTI KĨ CHAYAM MEṆ JAN GAṆA MANAKÃ PREM PALE. PHÃRAT KE BHAGAVAN BUDDHAKÃ GŨÑJE GHARGHAR MANTRA AMOL. HE MÃNAV NITA MUKHASE BOL. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. HE MÃNAV NITA MUKHASE BOL. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. DHAMMAM SARANAM GACCHÃMI. SANGG̣HAM SARANAM GACCHÃMI.
พระอาจารย์คึกฤทธิ์-บรรยายพุทธวจน-ลมหายใจไปวิมุตติเราเป็นเด็กหลงทางหาทางกลับบ้านไม่เจอ วันนี้เรากลับถึงบ้านได้แล้วมันมีความสุขนะเจอพ่อเจอแม่ของเรา ถ้าเราสัมผัสพระนิพพานแล้ว เราจะรู้เลยว่าโลกนี้หาสาระแก่นสารไม่ได้ โลกนี้เหมือนฝัน ความสุขเหมือนกับฝันอยู่เท่านั้นแหละ ไม่ใช่มีของจริงอะไรให้เราดูเลย ความสุขของพระนิพพานนั้นเหมือนกับของจริง มันเหมือนว่าเรากลับบ้านเราได้แล้ว เราเป็นเด็กหลงทางหาทางกลับบ้านไม่เจอ วันนี้เรากลับถึงบ้านได้แล้ว มันมีความสุขนะ เจอพ่อเจอแม่ของเรา คือเจอพระพุทธเจ้าจิตของเรานั้นแหละ กับพระพุทธเจ้า จะหลอมรวมเป็นสิ่งเดียวกัน จิตของเรากับพระธรรมจะหลอมรวมเข้าเป็นสิ่งเดียวกัน จิตนั้นแหละก็คือตัวพระสงฆ์ พระรัตนตรัยรวมเข้าเป็นหนึ่งที่จิตนั้นเอง ที่จิตที่บริสุทธิ์จิตที่สะอาด จะมีความสุขที่ไม่มีอะไรเหมือน?
วันอาทิตย์ที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2560
ผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าญี่ปุ่นเตรียมตั้งฐานผลิตในไทย ขายอาเซียน-ยุโรป คันละ3แสน
ผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าญี่ปุ่นเตรียมตั้งฐานผลิตในไทย ขายอาเซียน-ยุโรป คันละ3แสน
มอเตอร์ไฟฟ้าแทนเครื่องยนต์มอเตอร์ไฟฟ้าแทนเครื่องยนต์เครื่องแปลงไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ใช้ขับมอเตอร์สามเฟส...TM51 TM52A MC3PHAC...ช่วงนี้ TM52A สินค้าหมดแล้ว...ให้ใช้ PS21244 PS21963 GT15J331 แทนได้ครับ....
มอเตอร์ไฟฟ้าแทนเครื่องยนต์มอเตอร์ไฟฟ้าแทนเครื่องยนต์เครื่องแปลงไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ใช้ขับมอเตอร์สามเฟส...TM51 TM52A MC3PHAC...ช่วงนี้ TM52A สินค้าหมดแล้ว...ให้ใช้ PS21244 PS21963 GT15J331 แทนได้ครับ....
สถานที่จำหน่าย อุปกรณ์ soft start motor มอเตอร์ไฟฟ้าสามเฟสทดสอบPower Module GT15J331 โดยใช้มอเตอร์สามเฟสครับ gate drive ใช้ IC L6569 สาม ตัว power module รุ่นนี้เป็น IGBT ของ TOSHIBA เบอร์ GT15J 331 จำนวน 6 ตัว ดิตตั้งบนแผ่น วงจร ALUMINIUM CIRCUIT BOARD มี อุปกรณ์ น้อยชิ้น..ประกอบง่าย..ราคา ประหยัด...ครับ...ภาคจ่ายไฟ คอนโทรล 15-20 Volts ใช้ RESISTER 6K2 5 WATTS ลดแรงดันจาก 200-300 VDC จาก ภาค POWER ครับ ใช้ ZENER 27-30 VILTS แล้วใช้ IC 7815-7818 ครับ ให้ได้ไฟฟ้า 15- 18 โวลต์ เลี้ยงภาคคอนโทรลและภาค GATE DRIVER
PS21244 MC3PHAC ภาพและเสียงชัดครับ เบื้องต้นทำสัญญาน 6 ตำแหน่งการต่อ ATmega 328 P ให้ใช้ R 330 -560 โอมห์ ต่อ กับ PC817 สามตำแหน่ง เฉพาะ ด้าน HIGH SIDE คือ D6 PIN 12 D9 PIN 15 D11 PIN 17 หรือ ด้าน LOW SIDE คือ D5 PIN 11 D10 PIN16 D3 PIN5 ก็พอ ไม่ต้องต่อ 6 ตำแหน่ง เพราะ L6569 หรือ IR 2153 1 ตัว จะเป้น ตัว ขับ IGBT 2 ตัว รายละเอียดดูภาพและฟังเสียงจากคลิปนี้ประกอบด้วยก็ดีครับ ง่ายครับ... รับออกแบบและเขียนโปรแกรม ควบคุม ด้วย INTEL MCS 51 STMICRO STM 8 STM32 ATMEL ATMEGA 168 ATMEGA 328 P ARDUINO PIC MICROCHIP และ Microcontroller เบอร์อื่น ติดต่อที่ Sompong industrial Electronics sompongindustrial@gmail.com mrsompongt@hotmail.com Line pornpimon 1411 02-951-1356 อำเภอเมือง นนทบุรี 11000 Thailand การสร้างอินเวอร์เตอร์สามเฟสแบบใหม่ 3 เฟสอินเวอร์เตอร์มอเตอร์ขนาดเล็กรวมคลิปการเปลี่ยนพลังงานและประหยัดพลังงาน การสร้างเครื่อง ปรับรอบ ความเร็วมอเตอร์มอเตอร์ไฟฟ้า สามเฟส ใช้ไฟฟ้ากระแสลับ เฟสเดียว ใช้ไฟฟ้ากระแสตรง จากแบตเตอรี่ โดยใช้เทคโนโลยี ไมโครคอนโทรลเลอร์ ATMEL Atmega และ Arduino จำหน่าย Power Module และ โปรแกรม Arduino ให้เป็น อินเวอร์เตอร์ สามเฟส ได้รับความอนุเคราะห์ โค๊ด จากท่าน Tomasz Drazek ประเทศโปแลนด์ 3 Phase Motor Control Code Arduino 328 P Thank you very much, sir โค๊ด และวงจร อยู่นี่ครับ https://onedrive.live.com/?authkey=%21AGul_y3NOhiUL68&id=5D7E6463F144D1A1%2174036&cid=5D7E6463F144D1A1 hank you very much, sir https://onedrive.live.com/?authkey=%21AGul_y3NOhiUL68&id=5D7E6463F144D1A1%2174036&cid=5D7E6463F144D1A1 รุ่นใหม่ ราคา1000 บาท ครับ นำไปบัดกรีและต่อเติมตามถนัดครับ..มี บอร์ด Arduino 1 บอร์ด ราคา 700 บาท และ PS21244 1 หรือ PS21963 หรือ PS219A2 ราคา ตัวละ 300 บาท ครับ ลงวันที่ 14 ตุลาคม 2559 จำหน่าย POWER MODULE 6DI15s-050 MP6501A TM51 PS21244 PS21963 GT15J331 ใช้สำหรับ สร้าง อินเวอร์เตอร์ คอนเวอร์เตอร์ สามเฟส ที่ใช้ใน เครื่องปรับอากาศ ตู้เย็น เครื่องซักผ้า เครื่องใช้ไฟฟ้า ที่มีมอเตอร์ ชนิดสามเฟส ติดต่อที่ LINE pornpimon 1411 Intelligent power module PS21244 มีจำหน่าย ราคาตัวละ 300 บาท NEW MODULE 6DI15S-050 FUJI LOCATION M in Business & Industrial, Electrical & Test Equipment, Industrial Automation, Control มีจำหน่ายราคาตัวละ 300 บาท TM52A สินค้าหมดแล้วครับ....https://www..com/watch?v=fpP69G42wok ดูรายละเอียดจากคลิป ง่ายกว่าครับ มีหลายคลิป เบื้องต้นทำสัญญาน 6 ตำแหน่งให้ ต่ำกว่า 0.5 Volt ครับ ค่า R PULL UP ใช้ 5.6 K-10K จะพอดีครับ ไฟเลี้ยง ต้องเรียบพอ ไม่ต่ำกว่า 15 Vdc ครับ รายละเอียดการต่อ PS21244 กับ MC3PHACแบบขนานและแบบธรรมดา...ชมการทดสอบจริงกับมอเตอร์ ห้าแรงไม่มีโหลด จากคลิปนี้ก็ได้ครับ...วงจรขนานที่ใช้ MOSFET STU 418 ยังใช้ไม่ได้..ไม่สมบูรณ์..ครับ...ยังไม่ได้ผลที่น่าพอใจhttps://www..com/watch?v=yXZhTqUhXqA TM52A...หมดแล้ว.ใช้ PS21244 ขนานกัน....ได้ครับ....ขาย ic หาง่าย ใช้ง่าย PS21244 PS21963 PS219A2 6DI15S-050 D 6DI15S-050 C MP6501A TM52A TM51 ใช้ทำเครื่องอินเวอร์เตอร์ เครื่องปรับรอบมอเตอร์ เครื่องแปลงไฟฟ้า PS21244 ราคาตัวละ 300 บาท 4 ตัว 1000 บาท ครับค่าส่ง Ems 100 บาท ครับ Line:pornpimon 1411 มือถือ 081-803-6553 เบอร์บ้าน 02-951-1356 sompongindustrial@gmail.com mrsompongt@hotmail.com https://www..com/watch?v=TYuLuP31QOw https://www..com/watch?v=yuMdz3fqhtg https://www..com/watch?v=ThGs-s99_J0 https://www..com/watch?v=bd97PM3v66A จำหน่าย ออกแบบ ซ่อม สร้าง อินเวอร์เตอร์ เครื่องควบคุมมอเตอร์ อินดัตชั่น สามเฟส จำหน่าย power module ขนาด 15 Amps 400 Volts ราคาตัวละ 300 บาท สำหรับ ใช้กับมอเตอร์ ไฟฟ้า ยุคใหม่ ทั้ง DC และ AC ได้ 1 แรงม้า sompongindustrial@gmail.com 02-951-1356 Line pornpimon 1411 081-803-6553
PS21244 MC3PHAC ภาพและเสียงชัดครับ เบื้องต้นทำสัญญาน 6 ตำแหน่งการต่อ ATmega 328 P ให้ใช้ R 330 -560 โอมห์ ต่อ กับ PC817 สามตำแหน่ง เฉพาะ ด้าน HIGH SIDE คือ D6 PIN 12 D9 PIN 15 D11 PIN 17 หรือ ด้าน LOW SIDE คือ D5 PIN 11 D10 PIN16 D3 PIN5 ก็พอ ไม่ต้องต่อ 6 ตำแหน่ง เพราะ L6569 หรือ IR 2153 1 ตัว จะเป้น ตัว ขับ IGBT 2 ตัว รายละเอียดดูภาพและฟังเสียงจากคลิปนี้ประกอบด้วยก็ดีครับ ง่ายครับ... รับออกแบบและเขียนโปรแกรม ควบคุม ด้วย INTEL MCS 51 STMICRO STM 8 STM32 ATMEL ATMEGA 168 ATMEGA 328 P ARDUINO PIC MICROCHIP และ Microcontroller เบอร์อื่น ติดต่อที่ Sompong industrial Electronics sompongindustrial@gmail.com mrsompongt@hotmail.com Line pornpimon 1411 02-951-1356 อำเภอเมือง นนทบุรี 11000 Thailand การสร้างอินเวอร์เตอร์สามเฟสแบบใหม่ 3 เฟสอินเวอร์เตอร์มอเตอร์ขนาดเล็กรวมคลิปการเปลี่ยนพลังงานและประหยัดพลังงาน การสร้างเครื่อง ปรับรอบ ความเร็วมอเตอร์มอเตอร์ไฟฟ้า สามเฟส ใช้ไฟฟ้ากระแสลับ เฟสเดียว ใช้ไฟฟ้ากระแสตรง จากแบตเตอรี่ โดยใช้เทคโนโลยี ไมโครคอนโทรลเลอร์ ATMEL Atmega และ Arduino จำหน่าย Power Module และ โปรแกรม Arduino ให้เป็น อินเวอร์เตอร์ สามเฟส ได้รับความอนุเคราะห์ โค๊ด จากท่าน Tomasz Drazek ประเทศโปแลนด์ 3 Phase Motor Control Code Arduino 328 P Thank you very much, sir โค๊ด และวงจร อยู่นี่ครับ https://onedrive.live.com/?authkey=%21AGul_y3NOhiUL68&id=5D7E6463F144D1A1%2174036&cid=5D7E6463F144D1A1 hank you very much, sir https://onedrive.live.com/?authkey=%21AGul_y3NOhiUL68&id=5D7E6463F144D1A1%2174036&cid=5D7E6463F144D1A1 รุ่นใหม่ ราคา1000 บาท ครับ นำไปบัดกรีและต่อเติมตามถนัดครับ..มี บอร์ด Arduino 1 บอร์ด ราคา 700 บาท และ PS21244 1 หรือ PS21963 หรือ PS219A2 ราคา ตัวละ 300 บาท ครับ ลงวันที่ 14 ตุลาคม 2559 จำหน่าย POWER MODULE 6DI15s-050 MP6501A TM51 PS21244 PS21963 GT15J331 ใช้สำหรับ สร้าง อินเวอร์เตอร์ คอนเวอร์เตอร์ สามเฟส ที่ใช้ใน เครื่องปรับอากาศ ตู้เย็น เครื่องซักผ้า เครื่องใช้ไฟฟ้า ที่มีมอเตอร์ ชนิดสามเฟส ติดต่อที่ LINE pornpimon 1411 Intelligent power module PS21244 มีจำหน่าย ราคาตัวละ 300 บาท NEW MODULE 6DI15S-050 FUJI LOCATION M in Business & Industrial, Electrical & Test Equipment, Industrial Automation, Control มีจำหน่ายราคาตัวละ 300 บาท TM52A สินค้าหมดแล้วครับ....https://www..com/watch?v=fpP69G42wok ดูรายละเอียดจากคลิป ง่ายกว่าครับ มีหลายคลิป เบื้องต้นทำสัญญาน 6 ตำแหน่งให้ ต่ำกว่า 0.5 Volt ครับ ค่า R PULL UP ใช้ 5.6 K-10K จะพอดีครับ ไฟเลี้ยง ต้องเรียบพอ ไม่ต่ำกว่า 15 Vdc ครับ รายละเอียดการต่อ PS21244 กับ MC3PHACแบบขนานและแบบธรรมดา...ชมการทดสอบจริงกับมอเตอร์ ห้าแรงไม่มีโหลด จากคลิปนี้ก็ได้ครับ...วงจรขนานที่ใช้ MOSFET STU 418 ยังใช้ไม่ได้..ไม่สมบูรณ์..ครับ...ยังไม่ได้ผลที่น่าพอใจhttps://www..com/watch?v=yXZhTqUhXqA TM52A...หมดแล้ว.ใช้ PS21244 ขนานกัน....ได้ครับ....ขาย ic หาง่าย ใช้ง่าย PS21244 PS21963 PS219A2 6DI15S-050 D 6DI15S-050 C MP6501A TM52A TM51 ใช้ทำเครื่องอินเวอร์เตอร์ เครื่องปรับรอบมอเตอร์ เครื่องแปลงไฟฟ้า PS21244 ราคาตัวละ 300 บาท 4 ตัว 1000 บาท ครับค่าส่ง Ems 100 บาท ครับ Line:pornpimon 1411 มือถือ 081-803-6553 เบอร์บ้าน 02-951-1356 sompongindustrial@gmail.com mrsompongt@hotmail.com https://www..com/watch?v=TYuLuP31QOw https://www..com/watch?v=yuMdz3fqhtg https://www..com/watch?v=ThGs-s99_J0 https://www..com/watch?v=bd97PM3v66A จำหน่าย ออกแบบ ซ่อม สร้าง อินเวอร์เตอร์ เครื่องควบคุมมอเตอร์ อินดัตชั่น สามเฟส จำหน่าย power module ขนาด 15 Amps 400 Volts ราคาตัวละ 300 บาท สำหรับ ใช้กับมอเตอร์ ไฟฟ้า ยุคใหม่ ทั้ง DC และ AC ได้ 1 แรงม้า sompongindustrial@gmail.com 02-951-1356 Line pornpimon 1411 081-803-6553
เทคนิคการควบคุมมอเตอร์การต่อ ATmega 328 P ให้ใช้ R 330 -560 โอมห์ ต่อ กับ PC817 สามตำแหน่ง เฉพาะ ด้าน HIGH SIDE คือ D6 PIN 12 D9 PIN 15 D11 PIN 17 หรือ ด้าน LOW SIDE คือ D5 PIN 11 D10 PIN16 D3 PIN5 ก็พอ ไม่ต้องต่อ 6 ตำแหน่ง เพราะ L6569 หรือ IR 2153 1 ตัว จะเป้น ตัว ขับ IGBT 2 ตัว รายละเอียดดูภาพและฟังเสียงจากคลิปนี้ประกอบด้วยก็ดีครับ ง่ายครับ... รับออกแบบและเขียนโปรแกรม ควบคุม ด้วย INTEL MCS 51 STMICRO STM 8 STM32 ATMEL ATMEGA 168 ATMEGA 328 P ARDUINO PIC MICROCHIP และ Microcontroller เบอร์อื่น ติดต่อที่ Sompong industrial Electronics sompongindustrial@gmail.com mrsompongt@hotmail.com Line pornpimon 1411 02-951-1356 อำเภอเมือง นนทบุรี 11000 Thailand การสร้างอินเวอร์เตอร์สามเฟสแบบใหม่ 3 เฟสอินเวอร์เตอร์มอเตอร์ขนาดเล็กรวมคลิปการเปลี่ยนพลังงานและประหยัดพลังงาน การสร้างเครื่อง ปรับรอบ ความเร็วมอเตอร์มอเตอร์ไฟฟ้า สามเฟส ใช้ไฟฟ้ากระแสลับ เฟสเดียว ใช้ไฟฟ้ากระแสตรง จากแบตเตอรี่ โดยใช้เทคโนโลยี ไมโครคอนโทรลเลอร์ ATMEL Atmega และ Arduino จำหน่าย Power Module และ โปรแกรม Arduino ให้เป็น อินเวอร์เตอร์ สามเฟส ได้รับความอนุเคราะห์ โค๊ด จากท่าน Tomasz Drazek ประเทศโปแลนด์ 3 Phase Motor Control Code Arduino 328 P Thank you very much, sir โค๊ด และวงจร อยู่นี่ครับ https://onedrive.live.com/?authkey=%21AGul_y3NOhiUL68&id=5D7E6463F144D1A1%2174036&cid=5D7E6463F144D1A1 hank you very much, sir https://onedrive.live.com/?authkey=%21AGul_y3NOhiUL68&id=5D7E6463F144D1A1%2174036&cid=5D7E6463F144D1A1 รุ่นใหม่ ราคา1000 บาท ครับ นำไปบัดกรีและต่อเติมตามถนัดครับ..มี บอร์ด Arduino 1 บอร์ด ราคา 700 บาท และ PS21244 1 หรือ PS21963 หรือ PS219A2 ราคา ตัวละ 300 บาท ครับ ลงวันที่ 14 ตุลาคม 2559 จำหน่าย POWER MODULE 6DI15s-050 MP6501A TM51 PS21244 PS21963 GT15J331 ใช้สำหรับ สร้าง อินเวอร์เตอร์ คอนเวอร์เตอร์ สามเฟส ที่ใช้ใน เครื่องปรับอากาศ ตู้เย็น เครื่องซักผ้า เครื่องใช้ไฟฟ้า ที่มีมอเตอร์ ชนิดสามเฟส ติดต่อที่ LINE pornpimon 1411 Intelligent power module PS21244 มีจำหน่าย ราคาตัวละ 300 บาท NEW MODULE 6DI15S-050 FUJI LOCATION M in Business & Industrial, Electrical & Test Equipment, Industrial Automation, Control มีจำหน่ายราคาตัวละ 300 บาท TM52A สินค้าหมดแล้วครับ....https://www..com/watch?v=fpP69G42wok ดูรายละเอียดจากคลิป ง่ายกว่าครับ มีหลายคลิป เบื้องต้นทำสัญญาน 6 ตำแหน่งให้ ต่ำกว่า 0.5 Volt ครับ ค่า R PULL UP ใช้ 5.6 K-10K จะพอดีครับ ไฟเลี้ยง ต้องเรียบพอ ไม่ต่ำกว่า 15 Vdc ครับ รายละเอียดการต่อ PS21244 กับ MC3PHACแบบขนานและแบบธรรมดา...ชมการทดสอบจริงกับมอเตอร์ ห้าแรงไม่มีโหลด จากคลิปนี้ก็ได้ครับ...วงจรขนานที่ใช้ MOSFET STU 418 ยังใช้ไม่ได้..ไม่สมบูรณ์..ครับ...ยังไม่ได้ผลที่น่าพอใจhttps://www..com/watch?v=yXZhTqUhXqA TM52A...หมดแล้ว.ใช้ PS21244 ขนานกัน....ได้ครับ....ขาย ic หาง่าย ใช้ง่าย PS21244 PS21963 PS219A2 6DI15S-050 D 6DI15S-050 C MP6501A TM52A TM51 ใช้ทำเครื่องอินเวอร์เตอร์ เครื่องปรับรอบมอเตอร์ เครื่องแปลงไฟฟ้า PS21244 ราคาตัวละ 300 บาท 4 ตัว 1000 บาท ครับค่าส่ง Ems 100 บาท ครับ Line:pornpimon 1411 มือถือ 081-803-6553 เบอร์บ้าน 02-951-1356 sompongindustrial@gmail.com mrsompongt@hotmail.com https://www..com/watch?v=TYuLuP31QOw https://www..com/watch?v=yuMdz3fqhtg https://www..com/watch?v=ThGs-s99_J0 https://www..com/watch?v=bd97PM3v66A จำหน่าย ออกแบบ ซ่อม สร้าง อินเวอร์เตอร์ เครื่องควบคุมมอเตอร์ อินดัตชั่น สามเฟส จำหน่าย power module ขนาด 15 Amps 400 Volts ราคาตัวละ 300 บาท สำหรับ ใช้กับมอเตอร์ ไฟฟ้า ยุคใหม่ ทั้ง DC และ AC ได้ 1 แรงม้า sompongindustrial@gmail.com 02-951-1356 Line pornpimon 1411 081-803-6553
เทคนิคการควบคุมมอเตอร์การต่อ ATmega 328 P ให้ใช้ R 330 -560 โอมห์ ต่อ กับ PC817 สามตำแหน่ง เฉพาะ ด้าน HIGH SIDE คือ D6 PIN 12 D9 PIN 15 D11 PIN 17 หรือ ด้าน LOW SIDE คือ D5 PIN 11 D10 PIN16 D3 PIN5 ก็พอ ไม่ต้องต่อ 6 ตำแหน่ง เพราะ L6569 หรือ IR 2153 1 ตัว จะเป้น ตัว ขับ IGBT 2 ตัว รายละเอียดดูภาพและฟังเสียงจากคลิปนี้ประกอบด้วยก็ดีครับ ง่ายครับ... รับออกแบบและเขียนโปรแกรม ควบคุม ด้วย INTEL MCS 51 STMICRO STM 8 STM32 ATMEL ATMEGA 168 ATMEGA 328 P ARDUINO PIC MICROCHIP และ Microcontroller เบอร์อื่น ติดต่อที่ Sompong industrial Electronics sompongindustrial@gmail.com mrsompongt@hotmail.com Line pornpimon 1411 02-951-1356 อำเภอเมือง นนทบุรี 11000 Thailand การสร้างอินเวอร์เตอร์สามเฟสแบบใหม่ 3 เฟสอินเวอร์เตอร์มอเตอร์ขนาดเล็กรวมคลิปการเปลี่ยนพลังงานและประหยัดพลังงาน การสร้างเครื่อง ปรับรอบ ความเร็วมอเตอร์มอเตอร์ไฟฟ้า สามเฟส ใช้ไฟฟ้ากระแสลับ เฟสเดียว ใช้ไฟฟ้ากระแสตรง จากแบตเตอรี่ โดยใช้เทคโนโลยี ไมโครคอนโทรลเลอร์ ATMEL Atmega และ Arduino จำหน่าย Power Module และ โปรแกรม Arduino ให้เป็น อินเวอร์เตอร์ สามเฟส ได้รับความอนุเคราะห์ โค๊ด จากท่าน Tomasz Drazek ประเทศโปแลนด์ 3 Phase Motor Control Code Arduino 328 P Thank you very much, sir โค๊ด และวงจร อยู่นี่ครับ https://onedrive.live.com/?authkey=%21AGul_y3NOhiUL68&id=5D7E6463F144D1A1%2174036&cid=5D7E6463F144D1A1 hank you very much, sir https://onedrive.live.com/?authkey=%21AGul_y3NOhiUL68&id=5D7E6463F144D1A1%2174036&cid=5D7E6463F144D1A1 รุ่นใหม่ ราคา1000 บาท ครับ นำไปบัดกรีและต่อเติมตามถนัดครับ..มี บอร์ด Arduino 1 บอร์ด ราคา 700 บาท และ PS21244 1 หรือ PS21963 หรือ PS219A2 ราคา ตัวละ 300 บาท ครับ ลงวันที่ 14 ตุลาคม 2559 จำหน่าย POWER MODULE 6DI15s-050 MP6501A TM51 PS21244 PS21963 GT15J331 ใช้สำหรับ สร้าง อินเวอร์เตอร์ คอนเวอร์เตอร์ สามเฟส ที่ใช้ใน เครื่องปรับอากาศ ตู้เย็น เครื่องซักผ้า เครื่องใช้ไฟฟ้า ที่มีมอเตอร์ ชนิดสามเฟส ติดต่อที่ LINE pornpimon 1411 Intelligent power module PS21244 มีจำหน่าย ราคาตัวละ 300 บาท NEW MODULE 6DI15S-050 FUJI LOCATION M in Business & Industrial, Electrical & Test Equipment, Industrial Automation, Control มีจำหน่ายราคาตัวละ 300 บาท TM52A สินค้าหมดแล้วครับ....https://www..com/watch?v=fpP69G42wok ดูรายละเอียดจากคลิป ง่ายกว่าครับ มีหลายคลิป เบื้องต้นทำสัญญาน 6 ตำแหน่งให้ ต่ำกว่า 0.5 Volt ครับ ค่า R PULL UP ใช้ 5.6 K-10K จะพอดีครับ ไฟเลี้ยง ต้องเรียบพอ ไม่ต่ำกว่า 15 Vdc ครับ รายละเอียดการต่อ PS21244 กับ MC3PHACแบบขนานและแบบธรรมดา...ชมการทดสอบจริงกับมอเตอร์ ห้าแรงไม่มีโหลด จากคลิปนี้ก็ได้ครับ...วงจรขนานที่ใช้ MOSFET STU 418 ยังใช้ไม่ได้..ไม่สมบูรณ์..ครับ...ยังไม่ได้ผลที่น่าพอใจhttps://www..com/watch?v=yXZhTqUhXqA TM52A...หมดแล้ว.ใช้ PS21244 ขนานกัน....ได้ครับ....ขาย ic หาง่าย ใช้ง่าย PS21244 PS21963 PS219A2 6DI15S-050 D 6DI15S-050 C MP6501A TM52A TM51 ใช้ทำเครื่องอินเวอร์เตอร์ เครื่องปรับรอบมอเตอร์ เครื่องแปลงไฟฟ้า PS21244 ราคาตัวละ 300 บาท 4 ตัว 1000 บาท ครับค่าส่ง Ems 100 บาท ครับ Line:pornpimon 1411 มือถือ 081-803-6553 เบอร์บ้าน 02-951-1356 sompongindustrial@gmail.com mrsompongt@hotmail.com https://www..com/watch?v=TYuLuP31QOw https://www..com/watch?v=yuMdz3fqhtg https://www..com/watch?v=ThGs-s99_J0 https://www..com/watch?v=bd97PM3v66A จำหน่าย ออกแบบ ซ่อม สร้าง อินเวอร์เตอร์ เครื่องควบคุมมอเตอร์ อินดัตชั่น สามเฟส จำหน่าย power module ขนาด 15 Amps 400 Volts ราคาตัวละ 300 บาท สำหรับ ใช้กับมอเตอร์ ไฟฟ้า ยุคใหม่ ทั้ง DC และ AC ได้ 1 แรงม้า sompongindustrial@gmail.com 02-951-1356 Line pornpimon 1411 081-803-6553
PS21244 ไอซี สำหรับขับมอเตอร์สามเฟสโดยใช้โซล่าเซลล์การต่อ ATmega 328 P ให้ใช้ R 330 -560 โอมห์ ต่อ กับ PC817 สามตำแหน่ง เฉพาะ ด้าน HIGH SIDE คือ D6 PIN 12 D9 PIN 15 D11 PIN 17 หรือ ด้าน LOW SIDE คือ D5 PIN 11 D10 PIN16 D3 PIN5 ก็พอ ไม่ต้องต่อ 6 ตำแหน่ง เพราะ L6569 หรือ IR 2153 1 ตัว จะเป้น ตัว ขับ IGBT 2 ตัว รายละเอียดดูภาพและฟังเสียงจากคลิปนี้ประกอบด้วยก็ดีครับ ง่ายครับ... รับออกแบบและเขียนโปรแกรม ควบคุม ด้วย INTEL MCS 51 STMICRO STM 8 STM32 ATMEL ATMEGA 168 ATMEGA 328 P ARDUINO PIC MICROCHIP และ Microcontroller เบอร์อื่น ติดต่อที่ Sompong industrial Electronics sompongindustrial@gmail.com mrsompongt@hotmail.com Line pornpimon 1411 02-951-1356 อำเภอเมือง นนทบุรี 11000 Thailand การสร้างอินเวอร์เตอร์สามเฟสแบบใหม่ 3 เฟสอินเวอร์เตอร์มอเตอร์ขนาดเล็กรวมคลิปการเปลี่ยนพลังงานและประหยัดพลังงาน การสร้างเครื่อง ปรับรอบ ความเร็วมอเตอร์มอเตอร์ไฟฟ้า สามเฟส ใช้ไฟฟ้ากระแสลับ เฟสเดียว ใช้ไฟฟ้ากระแสตรง จากแบตเตอรี่ โดยใช้เทคโนโลยี ไมโครคอนโทรลเลอร์ ATMEL Atmega และ Arduino จำหน่าย Power Module และ โปรแกรม Arduino ให้เป็น อินเวอร์เตอร์ สามเฟส ได้รับความอนุเคราะห์ โค๊ด จากท่าน Tomasz Drazek ประเทศโปแลนด์ 3 Phase Motor Control Code Arduino 328 P Thank you very much, sir โค๊ด และวงจร อยู่นี่ครับ https://onedrive.live.com/?authkey=%21AGul_y3NOhiUL68&id=5D7E6463F144D1A1%2174036&cid=5D7E6463F144D1A1 hank you very much, sir https://onedrive.live.com/?authkey=%21AGul_y3NOhiUL68&id=5D7E6463F144D1A1%2174036&cid=5D7E6463F144D1A1 รุ่นใหม่ ราคา1000 บาท ครับ นำไปบัดกรีและต่อเติมตามถนัดครับ..มี บอร์ด Arduino 1 บอร์ด ราคา 700 บาท และ PS21244 1 หรือ PS21963 หรือ PS219A2 ราคา ตัวละ 300 บาท ครับ ลงวันที่ 14 ตุลาคม 2559 จำหน่าย POWER MODULE 6DI15s-050 MP6501A TM51 PS21244 PS21963 GT15J331 ใช้สำหรับ สร้าง อินเวอร์เตอร์ คอนเวอร์เตอร์ สามเฟส ที่ใช้ใน เครื่องปรับอากาศ ตู้เย็น เครื่องซักผ้า เครื่องใช้ไฟฟ้า ที่มีมอเตอร์ ชนิดสามเฟส ติดต่อที่ LINE pornpimon 1411 Intelligent power module PS21244 มีจำหน่าย ราคาตัวละ 300 บาท NEW MODULE 6DI15S-050 FUJI LOCATION M in Business & Industrial, Electrical & Test Equipment, Industrial Automation, Control มีจำหน่ายราคาตัวละ 300 บาท TM52A สินค้าหมดแล้วครับ....https://www..com/watch?v=fpP69G42wok ดูรายละเอียดจากคลิป ง่ายกว่าครับ มีหลายคลิป เบื้องต้นทำสัญญาน 6 ตำแหน่งให้ ต่ำกว่า 0.5 Volt ครับ ค่า R PULL UP ใช้ 5.6 K-10K จะพอดีครับ ไฟเลี้ยง ต้องเรียบพอ ไม่ต่ำกว่า 15 Vdc ครับ รายละเอียดการต่อ PS21244 กับ MC3PHACแบบขนานและแบบธรรมดา...ชมการทดสอบจริงกับมอเตอร์ ห้าแรงไม่มีโหลด จากคลิปนี้ก็ได้ครับ...วงจรขนานที่ใช้ MOSFET STU 418 ยังใช้ไม่ได้..ไม่สมบูรณ์..ครับ...ยังไม่ได้ผลที่น่าพอใจhttps://www..com/watch?v=yXZhTqUhXqA TM52A...หมดแล้ว.ใช้ PS21244 ขนานกัน....ได้ครับ....ขาย ic หาง่าย ใช้ง่าย PS21244 PS21963 PS219A2 6DI15S-050 D 6DI15S-050 C MP6501A TM52A TM51 ใช้ทำเครื่องอินเวอร์เตอร์ เครื่องปรับรอบมอเตอร์ เครื่องแปลงไฟฟ้า PS21244 ราคาตัวละ 300 บาท 4 ตัว 1000 บาท ครับค่าส่ง Ems 100 บาท ครับ Line:pornpimon 1411 มือถือ 081-803-6553 เบอร์บ้าน 02-951-1356 sompongindustrial@gmail.com mrsompongt@hotmail.com https://www..com/watch?v=TYuLuP31QOw https://www..com/watch?v=yuMdz3fqhtg https://www..com/watch?v=ThGs-s99_J0 https://www..com/watch?v=bd97PM3v66A จำหน่าย ออกแบบ ซ่อม สร้าง อินเวอร์เตอร์ เครื่องควบคุมมอเตอร์ อินดัตชั่น สามเฟส จำหน่าย power module ขนาด 15 Amps 400 Volts ราคาตัวละ 300 บาท สำหรับ ใช้กับมอเตอร์ ไฟฟ้า ยุคใหม่ ทั้ง DC และ AC ได้ 1 แรงม้า sompongindustrial@gmail.com 02-951-1356 Line pornpimon 1411 081-803-6553
การสร้างอินเวอร์เตอร์สามเฟสแบบใหม่ ใช้ได้กับมอเตอร์ขนาดเล็กไม่เกินสามแร.การต่อ ATmega 328 P ให้ใช้ R 330 -560 โอมห์ ต่อ กับ PC817 สามตำแหน่ง เฉพาะ ด้าน HIGH SIDE คือ D6 PIN 12 D9 PIN 15 D11 PIN 17 หรือ ด้าน LOW SIDE คือ D5 PIN 11 D10 PIN16 D3 PIN5 ก็พอ ไม่ต้องต่อ 6 ตำแหน่ง เพราะ L6569 หรือ IR 2153 1 ตัว จะเป้น ตัว ขับ IGBT 2 ตัว รายละเอียดดูภาพและฟังเสียงจากคลิปนี้ประกอบด้วยก็ดีครับ ง่ายครับ... รับออกแบบและเขียนโปรแกรม ควบคุม ด้วย INTEL MCS 51 STMICRO STM 8 STM32 ATMEL ATMEGA 168 ATMEGA 328 P ARDUINO PIC MICROCHIP และ Microcontroller เบอร์อื่น ติดต่อที่ Sompong industrial Electronics sompongindustrial@gmail.com mrsompongt@hotmail.com Line pornpimon 1411 02-951-1356 อำเภอเมือง นนทบุรี 11000 Thailand การสร้างอินเวอร์เตอร์สามเฟสแบบใหม่ 3 เฟสอินเวอร์เตอร์มอเตอร์ขนาดเล็กรวมคลิปการเปลี่ยนพลังงานและประหยัดพลังงาน การสร้างเครื่อง ปรับรอบ ความเร็วมอเตอร์มอเตอร์ไฟฟ้า สามเฟส ใช้ไฟฟ้ากระแสลับ เฟสเดียว ใช้ไฟฟ้ากระแสตรง จากแบตเตอรี่ โดยใช้เทคโนโลยี ไมโครคอนโทรลเลอร์ ATMEL Atmega และ Arduino จำหน่าย Power Module และ โปรแกรม Arduino ให้เป็น อินเวอร์เตอร์ สามเฟส ได้รับความอนุเคราะห์ โค๊ด จากท่าน Tomasz Drazek ประเทศโปแลนด์ 3 Phase Motor Control Code Arduino 328 P Thank you very much, sir โค๊ด และวงจร อยู่นี่ครับ https://onedrive.live.com/?authkey=%21AGul_y3NOhiUL68&id=5D7E6463F144D1A1%2174036&cid=5D7E6463F144D1A1 hank you very much, sir https://onedrive.live.com/?authkey=%21AGul_y3NOhiUL68&id=5D7E6463F144D1A1%2174036&cid=5D7E6463F144D1A1 รุ่นใหม่ ราคา1000 บาท ครับ นำไปบัดกรีและต่อเติมตามถนัดครับ..มี บอร์ด Arduino 1 บอร์ด ราคา 700 บาท และ PS21244 1 หรือ PS21963 หรือ PS219A2 ราคา ตัวละ 300 บาท ครับ ลงวันที่ 14 ตุลาคม 2559 จำหน่าย POWER MODULE 6DI15s-050 MP6501A TM51 PS21244 PS21963 GT15J331 ใช้สำหรับ สร้าง อินเวอร์เตอร์ คอนเวอร์เตอร์ สามเฟส ที่ใช้ใน เครื่องปรับอากาศ ตู้เย็น เครื่องซักผ้า เครื่องใช้ไฟฟ้า ที่มีมอเตอร์ ชนิดสามเฟส ติดต่อที่ LINE pornpimon 1411 Intelligent power module PS21244 มีจำหน่าย ราคาตัวละ 300 บาท NEW MODULE 6DI15S-050 FUJI LOCATION M in Business & Industrial, Electrical & Test Equipment, Industrial Automation, Control มีจำหน่ายราคาตัวละ 300 บาท TM52A สินค้าหมดแล้วครับ....https://www..com/watch?v=fpP69G42wok ดูรายละเอียดจากคลิป ง่ายกว่าครับ มีหลายคลิป เบื้องต้นทำสัญญาน 6 ตำแหน่งให้ ต่ำกว่า 0.5 Volt ครับ ค่า R PULL UP ใช้ 5.6 K-10K จะพอดีครับ ไฟเลี้ยง ต้องเรียบพอ ไม่ต่ำกว่า 15 Vdc ครับ รายละเอียดการต่อ PS21244 กับ MC3PHACแบบขนานและแบบธรรมดา...ชมการทดสอบจริงกับมอเตอร์ ห้าแรงไม่มีโหลด จากคลิปนี้ก็ได้ครับ...วงจรขนานที่ใช้ MOSFET STU 418 ยังใช้ไม่ได้..ไม่สมบูรณ์..ครับ...ยังไม่ได้ผลที่น่าพอใจhttps://www..com/watch?v=yXZhTqUhXqA TM52A...หมดแล้ว.ใช้ PS21244 ขนานกัน....ได้ครับ....ขาย ic หาง่าย ใช้ง่าย PS21244 PS21963 PS219A2 6DI15S-050 D 6DI15S-050 C MP6501A TM52A TM51 ใช้ทำเครื่องอินเวอร์เตอร์ เครื่องปรับรอบมอเตอร์ เครื่องแปลงไฟฟ้า PS21244 ราคาตัวละ 300 บาท 4 ตัว 1000 บาท ครับค่าส่ง Ems 100 บาท ครับ Line:pornpimon 1411 มือถือ 081-803-6553 เบอร์บ้าน 02-951-1356 sompongindustrial@gmail.com mrsompongt@hotmail.com https://www..com/watch?v=TYuLuP31QOw https://www..com/watch?v=yuMdz3fqhtg https://www..com/watch?v=ThGs-s99_J0 https://www..com/watch?v=bd97PM3v66A จำหน่าย ออกแบบ ซ่อม สร้าง อินเวอร์เตอร์ เครื่องควบคุมมอเตอร์ อินดัตชั่น สามเฟส จำหน่าย power module ขนาด 15 Amps 400 Volts ราคาตัวละ 300 บาท สำหรับ ใช้กับมอเตอร์ ไฟฟ้า ยุคใหม่ ทั้ง DC และ AC ได้ 1 แรงม้า sompongindustrial@gmail.com 02-951-1356 Line pornpimon 1411 081-803-6553..
การสร้างอินเวอร์เตอร์สามเฟสแบบใหม่ ใช้ได้กับมอเตอร์ขนาดเล็กไม่เกินสามแร.การต่อ ATmega 328 P ให้ใช้ R 330 -560 โอมห์ ต่อ กับ PC817 สามตำแหน่ง เฉพาะ ด้าน HIGH SIDE คือ D6 PIN 12 D9 PIN 15 D11 PIN 17 หรือ ด้าน LOW SIDE คือ D5 PIN 11 D10 PIN16 D3 PIN5 ก็พอ ไม่ต้องต่อ 6 ตำแหน่ง เพราะ L6569 หรือ IR 2153 1 ตัว จะเป้น ตัว ขับ IGBT 2 ตัว รายละเอียดดูภาพและฟังเสียงจากคลิปนี้ประกอบด้วยก็ดีครับ ง่ายครับ... รับออกแบบและเขียนโปรแกรม ควบคุม ด้วย INTEL MCS 51 STMICRO STM 8 STM32 ATMEL ATMEGA 168 ATMEGA 328 P ARDUINO PIC MICROCHIP และ Microcontroller เบอร์อื่น ติดต่อที่ Sompong industrial Electronics sompongindustrial@gmail.com mrsompongt@hotmail.com Line pornpimon 1411 02-951-1356 อำเภอเมือง นนทบุรี 11000 Thailand การสร้างอินเวอร์เตอร์สามเฟสแบบใหม่ 3 เฟสอินเวอร์เตอร์มอเตอร์ขนาดเล็กรวมคลิปการเปลี่ยนพลังงานและประหยัดพลังงาน การสร้างเครื่อง ปรับรอบ ความเร็วมอเตอร์มอเตอร์ไฟฟ้า สามเฟส ใช้ไฟฟ้ากระแสลับ เฟสเดียว ใช้ไฟฟ้ากระแสตรง จากแบตเตอรี่ โดยใช้เทคโนโลยี ไมโครคอนโทรลเลอร์ ATMEL Atmega และ Arduino จำหน่าย Power Module และ โปรแกรม Arduino ให้เป็น อินเวอร์เตอร์ สามเฟส ได้รับความอนุเคราะห์ โค๊ด จากท่าน Tomasz Drazek ประเทศโปแลนด์ 3 Phase Motor Control Code Arduino 328 P Thank you very much, sir โค๊ด และวงจร อยู่นี่ครับ https://onedrive.live.com/?authkey=%21AGul_y3NOhiUL68&id=5D7E6463F144D1A1%2174036&cid=5D7E6463F144D1A1 hank you very much, sir https://onedrive.live.com/?authkey=%21AGul_y3NOhiUL68&id=5D7E6463F144D1A1%2174036&cid=5D7E6463F144D1A1 รุ่นใหม่ ราคา1000 บาท ครับ นำไปบัดกรีและต่อเติมตามถนัดครับ..มี บอร์ด Arduino 1 บอร์ด ราคา 700 บาท และ PS21244 1 หรือ PS21963 หรือ PS219A2 ราคา ตัวละ 300 บาท ครับ ลงวันที่ 14 ตุลาคม 2559 จำหน่าย POWER MODULE 6DI15s-050 MP6501A TM51 PS21244 PS21963 GT15J331 ใช้สำหรับ สร้าง อินเวอร์เตอร์ คอนเวอร์เตอร์ สามเฟส ที่ใช้ใน เครื่องปรับอากาศ ตู้เย็น เครื่องซักผ้า เครื่องใช้ไฟฟ้า ที่มีมอเตอร์ ชนิดสามเฟส ติดต่อที่ LINE pornpimon 1411 Intelligent power module PS21244 มีจำหน่าย ราคาตัวละ 300 บาท NEW MODULE 6DI15S-050 FUJI LOCATION M in Business & Industrial, Electrical & Test Equipment, Industrial Automation, Control มีจำหน่ายราคาตัวละ 300 บาท TM52A สินค้าหมดแล้วครับ....https://www..com/watch?v=fpP69G42wok ดูรายละเอียดจากคลิป ง่ายกว่าครับ มีหลายคลิป เบื้องต้นทำสัญญาน 6 ตำแหน่งให้ ต่ำกว่า 0.5 Volt ครับ ค่า R PULL UP ใช้ 5.6 K-10K จะพอดีครับ ไฟเลี้ยง ต้องเรียบพอ ไม่ต่ำกว่า 15 Vdc ครับ รายละเอียดการต่อ PS21244 กับ MC3PHACแบบขนานและแบบธรรมดา...ชมการทดสอบจริงกับมอเตอร์ ห้าแรงไม่มีโหลด จากคลิปนี้ก็ได้ครับ...วงจรขนานที่ใช้ MOSFET STU 418 ยังใช้ไม่ได้..ไม่สมบูรณ์..ครับ...ยังไม่ได้ผลที่น่าพอใจhttps://www..com/watch?v=yXZhTqUhXqA TM52A...หมดแล้ว.ใช้ PS21244 ขนานกัน....ได้ครับ....ขาย ic หาง่าย ใช้ง่าย PS21244 PS21963 PS219A2 6DI15S-050 D 6DI15S-050 C MP6501A TM52A TM51 ใช้ทำเครื่องอินเวอร์เตอร์ เครื่องปรับรอบมอเตอร์ เครื่องแปลงไฟฟ้า PS21244 ราคาตัวละ 300 บาท 4 ตัว 1000 บาท ครับค่าส่ง Ems 100 บาท ครับ Line:pornpimon 1411 มือถือ 081-803-6553 เบอร์บ้าน 02-951-1356 sompongindustrial@gmail.com mrsompongt@hotmail.com https://www..com/watch?v=TYuLuP31QOw https://www..com/watch?v=yuMdz3fqhtg https://www..com/watch?v=ThGs-s99_J0 https://www..com/watch?v=bd97PM3v66A จำหน่าย ออกแบบ ซ่อม สร้าง อินเวอร์เตอร์ เครื่องควบคุมมอเตอร์ อินดัตชั่น สามเฟส จำหน่าย power module ขนาด 15 Amps 400 Volts ราคาตัวละ 300 บาท สำหรับ ใช้กับมอเตอร์ ไฟฟ้า ยุคใหม่ ทั้ง DC และ AC ได้ 1 แรงม้า sompongindustrial@gmail.com 02-951-1356 Line pornpimon 1411 081-803-6553..
การสร้างอินเวอร์เตอร์สามเฟสแบบใหม่ ใช้ได้กับมอเตอร์ขนาดเล็กไม่เกินสามแร.การต่อ ATmega 328 P ให้ใช้ R 330 -560 โอมห์ ต่อ กับ PC817 สามตำแหน่ง เฉพาะ ด้าน HIGH SIDE คือ D6 PIN 12 D9 PIN 15 D11 PIN 17 หรือ ด้าน LOW SIDE คือ D5 PIN 11 D10 PIN16 D3 PIN5 ก็พอ ไม่ต้องต่อ 6 ตำแหน่ง เพราะ L6569 หรือ IR 2153 1 ตัว จะเป้น ตัว ขับ IGBT 2 ตัว รายละเอียดดูภาพและฟังเสียงจากคลิปนี้ประกอบด้วยก็ดีครับ ง่ายครับ... รับออกแบบและเขียนโปรแกรม ควบคุม ด้วย INTEL MCS 51 STMICRO STM 8 STM32 ATMEL ATMEGA 168 ATMEGA 328 P ARDUINO PIC MICROCHIP และ Microcontroller เบอร์อื่น ติดต่อที่ Sompong industrial Electronics sompongindustrial@gmail.com mrsompongt@hotmail.com Line pornpimon 1411 02-951-1356 อำเภอเมือง นนทบุรี 11000 Thailand การสร้างอินเวอร์เตอร์สามเฟสแบบใหม่ 3 เฟสอินเวอร์เตอร์มอเตอร์ขนาดเล็กรวมคลิปการเปลี่ยนพลังงานและประหยัดพลังงาน การสร้างเครื่อง ปรับรอบ ความเร็วมอเตอร์มอเตอร์ไฟฟ้า สามเฟส ใช้ไฟฟ้ากระแสลับ เฟสเดียว ใช้ไฟฟ้ากระแสตรง จากแบตเตอรี่ โดยใช้เทคโนโลยี ไมโครคอนโทรลเลอร์ ATMEL Atmega และ Arduino จำหน่าย Power Module และ โปรแกรม Arduino ให้เป็น อินเวอร์เตอร์ สามเฟส ได้รับความอนุเคราะห์ โค๊ด จากท่าน Tomasz Drazek ประเทศโปแลนด์ 3 Phase Motor Control Code Arduino 328 P Thank you very much, sir โค๊ด และวงจร อยู่นี่ครับ https://onedrive.live.com/?authkey=%21AGul_y3NOhiUL68&id=5D7E6463F144D1A1%2174036&cid=5D7E6463F144D1A1 hank you very much, sir https://onedrive.live.com/?authkey=%21AGul_y3NOhiUL68&id=5D7E6463F144D1A1%2174036&cid=5D7E6463F144D1A1 รุ่นใหม่ ราคา1000 บาท ครับ นำไปบัดกรีและต่อเติมตามถนัดครับ..มี บอร์ด Arduino 1 บอร์ด ราคา 700 บาท และ PS21244 1 หรือ PS21963 หรือ PS219A2 ราคา ตัวละ 300 บาท ครับ ลงวันที่ 14 ตุลาคม 2559 จำหน่าย POWER MODULE 6DI15s-050 MP6501A TM51 PS21244 PS21963 GT15J331 ใช้สำหรับ สร้าง อินเวอร์เตอร์ คอนเวอร์เตอร์ สามเฟส ที่ใช้ใน เครื่องปรับอากาศ ตู้เย็น เครื่องซักผ้า เครื่องใช้ไฟฟ้า ที่มีมอเตอร์ ชนิดสามเฟส ติดต่อที่ LINE pornpimon 1411 Intelligent power module PS21244 มีจำหน่าย ราคาตัวละ 300 บาท NEW MODULE 6DI15S-050 FUJI LOCATION M in Business & Industrial, Electrical & Test Equipment, Industrial Automation, Control มีจำหน่ายราคาตัวละ 300 บาท TM52A สินค้าหมดแล้วครับ....https://www..com/watch?v=fpP69G42wok ดูรายละเอียดจากคลิป ง่ายกว่าครับ มีหลายคลิป เบื้องต้นทำสัญญาน 6 ตำแหน่งให้ ต่ำกว่า 0.5 Volt ครับ ค่า R PULL UP ใช้ 5.6 K-10K จะพอดีครับ ไฟเลี้ยง ต้องเรียบพอ ไม่ต่ำกว่า 15 Vdc ครับ รายละเอียดการต่อ PS21244 กับ MC3PHACแบบขนานและแบบธรรมดา...ชมการทดสอบจริงกับมอเตอร์ ห้าแรงไม่มีโหลด จากคลิปนี้ก็ได้ครับ...วงจรขนานที่ใช้ MOSFET STU 418 ยังใช้ไม่ได้..ไม่สมบูรณ์..ครับ...ยังไม่ได้ผลที่น่าพอใจhttps://www..com/watch?v=yXZhTqUhXqA TM52A...หมดแล้ว.ใช้ PS21244 ขนานกัน....ได้ครับ....ขาย ic หาง่าย ใช้ง่าย PS21244 PS21963 PS219A2 6DI15S-050 D 6DI15S-050 C MP6501A TM52A TM51 ใช้ทำเครื่องอินเวอร์เตอร์ เครื่องปรับรอบมอเตอร์ เครื่องแปลงไฟฟ้า PS21244 ราคาตัวละ 300 บาท 4 ตัว 1000 บาท ครับค่าส่ง Ems 100 บาท ครับ Line:pornpimon 1411 มือถือ 081-803-6553 เบอร์บ้าน 02-951-1356 sompongindustrial@gmail.com mrsompongt@hotmail.com https://www..com/watch?v=TYuLuP31QOw https://www..com/watch?v=yuMdz3fqhtg https://www..com/watch?v=ThGs-s99_J0 https://www..com/watch?v=bd97PM3v66A จำหน่าย ออกแบบ ซ่อม สร้าง อินเวอร์เตอร์ เครื่องควบคุมมอเตอร์ อินดัตชั่น สามเฟส จำหน่าย power module ขนาด 15 Amps 400 Volts ราคาตัวละ 300 บาท สำหรับ ใช้กับมอเตอร์ ไฟฟ้า ยุคใหม่ ทั้ง DC และ AC ได้ 1 แรงม้า sompongindustrial@gmail.com 02-951-1356 Line pornpimon 1411 081-803-6553..
ความเป็นจริงของร่างกายและจิตใจลูกรักทั้งหลาย จงจำไว้ว่าท่านกับเรามีสภาวะเหมือนกัน คือมีความเกิดขึ้นในเบื้องต้น มีความเปลี่ยนไปในท่ามกลาง .... เราจะทำจิตของเราให้ผ่องใส มีพระนิพพานเป็นอารมณ์ ... ทำให้ตนเป็นพระโสดาบัน สกิทาคามี อนาคามี อรหันต์ให้เร็วที่สุดเท่าที่จะเร็วได้ "อย่างนั้น ภิกษุทั้งหลาย เราคิดว่า ‘เราเมื่อมาสิ้นทางกันดาร ๓๐ โยชน์ เห็นอุปนิสัยของอุบาสกคนนั้นแล้วจึงมา', อุบาสกนั้นหิวยิ่งนัก ลุกขึ้นแต่เช้าตรู่แล้วเที่ยวไปหาโคในป่า แม้เมื่อเราแสดงธรรมอยู่ ก็ไม่อาจบรรลุได้ เพราะความเป็นทุกข์อันเกิดแต่ความหิว จึงได้กระทำอย่างนี้ ภิกษุทั้งหลาย ด้วยว่าชื่อว่าโรค เช่นกับโรค คือความหิวไม่มี" ดังนี้แล้ว จึงตรัสพระคาถานี้ว่า :- ๕. ชิฆจฺฉา ปรมา โรคา สงฺขารา ปรมา ทุกฺขา เอตํ ญตฺวา ยถาภูตํ นิพฺพานํ ปรมํ สุขํ. ความหิวเป็นโรคอย่างยิ่ง, สังขารทั้งหลายเป็นทุกข์อย่างยิ่ง, บัณฑิตทราบเนื้อความนั่น ตามความจริงแล้ว (กระทำให้ แจ้งซึ่งพระนิพพาน) เพราะพระนิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง.
ความเป็นจริงของร่างกายและจิตใจลูกรักทั้งหลาย จงจำไว้ว่าท่านกับเรามีสภาวะเหมือนกัน คือมีความเกิดขึ้นในเบื้องต้น มีความเปลี่ยนไปในท่ามกลาง .... เราจะทำจิตของเราให้ผ่องใส มีพระนิพพานเป็นอารมณ์ ... ทำให้ตนเป็นพระโสดาบัน สกิทาคามี อนาคามี อรหันต์ให้เร็วที่สุดเท่าที่จะเร็วได้ "อย่างนั้น ภิกษุทั้งหลาย เราคิดว่า ‘เราเมื่อมาสิ้นทางกันดาร ๓๐ โยชน์ เห็นอุปนิสัยของอุบาสกคนนั้นแล้วจึงมา', อุบาสกนั้นหิวยิ่งนัก ลุกขึ้นแต่เช้าตรู่แล้วเที่ยวไปหาโคในป่า แม้เมื่อเราแสดงธรรมอยู่ ก็ไม่อาจบรรลุได้ เพราะความเป็นทุกข์อันเกิดแต่ความหิว จึงได้กระทำอย่างนี้ ภิกษุทั้งหลาย ด้วยว่าชื่อว่าโรค เช่นกับโรค คือความหิวไม่มี" ดังนี้แล้ว จึงตรัสพระคาถานี้ว่า :- ๕. ชิฆจฺฉา ปรมา โรคา สงฺขารา ปรมา ทุกฺขา เอตํ ญตฺวา ยถาภูตํ นิพฺพานํ ปรมํ สุขํ. ความหิวเป็นโรคอย่างยิ่ง, สังขารทั้งหลายเป็นทุกข์อย่างยิ่ง, บัณฑิตทราบเนื้อความนั่น ตามความจริงแล้ว (กระทำให้ แจ้งซึ่งพระนิพพาน) เพราะพระนิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง.
ขอคำอธิบายข่มจิตในสมัยที่ควรข่ม ประคองจิตในสมัยที่ควรประคอง ร่าเริงในส...ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๖ ประการ ย่อมเป็นผู้ไม่ควรเพื่อทำให้แจ้งซึ่งความเป็นผู้เย็นอย่างยิ่ง ธรรม ๖ ประการเป็น ไฉน คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมไม่ข่มจิตในสมัยที่ควรข่ม ๑ ไม่ประคอง จิตในสมัยที่ควรประคอง ๑ ไม่ยังจิตให้ร่าเริงในสมัยที่ควรให้ร่าเริง ๑ ไม่วาง เฉยจิตในสมัยที่ควรวางเฉย ๑ เป็นผู้น้อมไปในธรรมเลว ๑ และเป็นผู้ยินดียิ่ง ในสักกายะ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๖ ประการนี้แล ย่อมเป็นผู้ไม่ควรเพื่อทำให้แจ้งซึ่งความเป็นผู้เย็นอย่างยิ่ง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๖ ประการ ย่อมเป็นผู้ ควรเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งความเป็นผู้เย็นอย่างยิ่ง ธรรม ๖ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมข่มจิตในสมัยที่ควรข่ม ๑ ย่อมประคองจิตในสมัยที่ควร ประคอง ๑ ย่อมยังจิตให้ร่าเริงในสมัยที่ควรให้ร่าเริง ๑ ย่อมวางเฉยจิตในสมัยที่ ควรวางเฉย ๑ เป็นผู้น้อมไปในธรรมประณีต ๑ และเป็นผู้ยินดียิ่งในนิพพาน ดูกร ภิกษุทั้งหลายภิกษุประกอบด้วยธรรม ๖ ประการนี้แล ย่อมเป็นผู้ควรกระทำให้ แจ้งซึ่งความเป็นผู้เย็นอย่างยิ่ง ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๖ ประการ
ย่อมเป็นผู้ไม่ควรเพื่อทำให้แจ้งซึ่งความเป็นผู้เย็นอย่างยิ่ง ธรรม ๖ ประการเป็น ไฉน คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมไม่ข่มจิตในสมัยที่ควรข่ม ๑ ไม่ประคอง จิตในสมัยที่ควรประคอง ๑ ไม่ยังจิตให้ร่าเริงในสมัยที่ควรให้ร่าเริง ๑ ไม่วาง เฉยจิตในสมัยที่ควรวางเฉย ๑ เป็นผู้น้อมไปในธรรมเลว ๑ และเป็นผู้ยินดียิ่ง ในสักกายะ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๖ ประการนี้แล ย่อมเป็นผู้ไม่ควรเพื่อทำให้แจ้งซึ่งความเป็นผู้เย็นอย่างยิ่ง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๖ ประการ ย่อมเป็นผู้ ควรเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งความเป็นผู้เย็นอย่างยิ่ง ธรรม ๖ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมข่มจิตในสมัยที่ควรข่ม ๑ ย่อมประคองจิตในสมัยที่ควร ประคอง ๑ ย่อมยังจิตให้ร่าเริงในสมัยที่ควรให้ร่าเริง ๑ ย่อมวางเฉยจิตในสมัยที่ ควรวางเฉย ๑ เป็นผู้น้อมไปในธรรมประณีต ๑ และเป็นผู้ยินดียิ่งในนิพพาน ดูกร ภิกษุทั้งหลายภิกษุประกอบด้วยธรรม ๖ ประการนี้แล ย่อมเป็นผู้ควรกระทำให้ แจ้งซึ่งความเป็นผู้เย็นอย่างยิ่ง ฯ
ขอคำอธิบายข่มจิตในสมัยที่ควรข่ม ประคองจิตในสมัยที่ควรประคอง ร่าเริงในส...ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๖ ประการ ย่อมเป็นผู้ไม่ควรเพื่อทำให้แจ้งซึ่งความเป็นผู้เย็นอย่างยิ่ง ธรรม ๖ ประการเป็น ไฉน คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมไม่ข่มจิตในสมัยที่ควรข่ม ๑ ไม่ประคอง จิตในสมัยที่ควรประคอง ๑ ไม่ยังจิตให้ร่าเริงในสมัยที่ควรให้ร่าเริง ๑ ไม่วาง เฉยจิตในสมัยที่ควรวางเฉย ๑ เป็นผู้น้อมไปในธรรมเลว ๑ และเป็นผู้ยินดียิ่ง ในสักกายะ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๖ ประการนี้แล ย่อมเป็นผู้ไม่ควรเพื่อทำให้แจ้งซึ่งความเป็นผู้เย็นอย่างยิ่ง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๖ ประการ ย่อมเป็นผู้ ควรเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งความเป็นผู้เย็นอย่างยิ่ง ธรรม ๖ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมข่มจิตในสมัยที่ควรข่ม ๑ ย่อมประคองจิตในสมัยที่ควร ประคอง ๑ ย่อมยังจิตให้ร่าเริงในสมัยที่ควรให้ร่าเริง ๑ ย่อมวางเฉยจิตในสมัยที่ ควรวางเฉย ๑ เป็นผู้น้อมไปในธรรมประณีต ๑ และเป็นผู้ยินดียิ่งในนิพพาน ดูกร ภิกษุทั้งหลายภิกษุประกอบด้วยธรรม ๖ ประการนี้แล ย่อมเป็นผู้ควรกระทำให้ แจ้งซึ่งความเป็นผู้เย็นอย่างยิ่ง ฯ
Buddan Saranan Gachchami
https://www.youtube.com/watch?v=Jc8dHhXG2U4
https://www.youtube.com/watch?v=Jc8dHhXG2U4
https://www.youtube.com/watch?v=YFVyVaUwb5s
https://www.youtube.com/watch?v=tx5GBUq3O88
https://www.youtube.com/watch?v=4Khf1c-7r48
https://www.youtube.com/watch?v=Hl5ial_TbOo
https://www.youtube.com/watch?v=3AagI-81YOg
https://www.youtube.com/watch?v=h-jgak6TWRc
https://www.youtube.com/watch?v=NPhu3--o3RU
https://www.youtube.com/watch?v=SC7nVazbiIQ
https://www.youtube.com/watch?v=9U6yyPR_K5o
https://www.youtube.com/watch?v=BJCFqIcdPfM
https://www.youtube.com/watch?v=Xiev-a3IrIg
https://www.youtube.com/watch?v=sHMTAjmFvR8
https://www.youtube.com/watch?v=-EvBgBk3e9o
https://www.youtube.com/watch?v=Wk7-ZaT2Uw8
https://www.youtube.com/watch?v=BGbVOqitY7s
https://www.youtube.com/watch?v=_yJs0qPDRs0
https://www.youtube.com/watch?v=A4SYw84o9kA
https://www.youtube.com/watch?v=lZcoKPtIUn0
https://www.youtube.com/watch?v=tdewTF-qEY4
https://www.youtube.com/watch?v=APyV290P_cU
https://www.youtube.com/watch?v=H5c7UAkRcr8
https://www.youtube.com/watch?v=MMAwTjGpu9s
https://www.youtube.com/watch?v=Xiev-a3IrIg&index=149&list=UUqUBA96OsqMgSFvTwLXY9yw
https://www.youtube.com/watch?v=oC_Y_cAHI-c
https://www.youtube.com/watch?v=YFVyVaUwb5s&index=7&list=PLRssuW0bM7jLRQaJtlEGmw3MgH-FUYPqK
http://www.dailymotion.com/video/x5bgb73_%E0%B8%AD%E0%B8%A3-%E0%B8%A2%E0%B8%97-%E0%B8%A8%E0%B8%99-%E0%B8%AD-%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%94-%E0%B8%A2-%E0%B8%81%E0%B8%A7-%E0%B8%B2%E0%B8%88%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%9B-%E0%B8%99%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9E-%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B9%80%E0%B8%88-%E0%B8%B2_people
https://www.dailymotion.com/video/x5bg4ba
https://www.youtube.com/watch?v=APyV290P_cU&list=PLFT3MJ8EK2d9P9K5wfORbwWeU3_0w1jWE&index=10
https://www.youtube.com/watch?v=ZU-fUntsp-o
http://www.dailymotion.com/video/x5box4z
https://www.youtube.com/watch?v=R9qK0fD7SWc
http://www.dailymotion.com/video/x5bg4bb
https://www.youtube.com/watch?v=F4vGs7qCGF0
https://www.youtube.com/watch?v=lNd_8TO5X94
https://www.youtube.com/watch?v=dFfQ14Gwzko
https://www.youtube.com/watch?v=YlXaeQpq2Rk
https://www.youtube.com/watch?v=p5o3-uj0CVM
https://www.youtube.com/watch?v=OFffnmNqSDc
https://www.youtube.com/watch?v=ayoEcXITVbQ
https://www.youtube.com/watch?v=Q7idVW-08bY
https://www.youtube.com/watch?v=eoo0BQUol-c
https://www.youtube.com/watch?v=8zBvHpYaNLE
https://www.youtube.com/watch?v=xe69QxGGgeA
https://www.youtube.com/watch?v=FUuQdDmX62E
https://www.youtube.com/watch?v=SeT3eqZZJ_o
https://www.youtube.com/watch?v=k9lJCMy8VJE
https://www.youtube.com/watch?v=KZZv9sGn1YI
https://www.youtube.com/watch?v=MDlyzcDWFmk
https://www.youtube.com/watch?v=KZZv9sGn1YI
https://www.youtube.com/watch?v=xNDuWxrWvsc
https://www.youtube.com/watch?v=g0WsUN-xnW8
https://www.youtube.com/watch?v=gLMa7vYNHZw
https://www.youtube.com/watch?v=4NKRQMXqOIg
จริตนิสัยคนแต่ละคน ไม่เหมือนกัน เราจะมาบังคับทุกคนให้ทำกรรมฐานอย่างเดียว...
จริตนิสัยคนแต่ละคน ไม่เหมือนกัน เราจะมาบังคับทุกคนให้ทำกรรมฐานอย่างเดียว...
จริตนิสัยคนแต่ละคน ไม่เหมือนกัน เราจะมาบังคับทุกคนให้ทำกรรมฐานอย่างเดียว...เรามาเรียนรู้ให้เห็นความจริงของโลกนะ เรียนรู้ให้เห็นความจริงของชีวิตเรา เราจะเห็นเลยว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ที่ปรากฏขึ้นในกายในใจของเราเนี่ย นอกจากทุกข์นะ ไม่มีอะไรเกิดขึ้น นอกจากทุกข์ ไม่มีอะไรตั้งอยู่ นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรดับไป ถ้าเราเห็นได้อย่างนี้ จิตจะถึงหมดความยึดถือในกายในใจ กายกับใจเป็นตัวทุกข์นะ ถ้าเมื่อไหร่เราสลัดคืนกายคืนใจให้โลกได้ ก็คือทิ้งตัวทุกข์ไปนะ พ้นจากกายจากใจ จากรูปจากนามนี้ไป จะสัมผัสพระนิพพาน มีความสุขที่มหาศาลขึ้นมา ความชั่วเกิดที่จิต รู้ทันปุ๊บ ความชั่วกระเด็น กลายเป็นดี ก็เห็นอีก จิตปรุงดีก็ทุกข์นะ จิตปรุงชั่วก็ทุกข์อีก เราเฝ้ารู้ไปเรื่อย ถ้าปัญญามันพอนะ จะเห็นเลย ปัญญาเบื้องต้นมันจะเห็นเลยว่า ทุกอย่างเกิดแล้วดับ ปัญญาเบื้องปลายจะเห็นว่า ทุกอย่างนั้นแหละทุกข์ ถ้าเห็นแจ้งทุกข์ จิตจะสลัดคืนกองทุกข์ให้โลก คืนกายคืนใจให้โลกไป ถ้าจิตเราไม่ยึดถือในรูปนามกายใจนะ จะไม่ยึดถืออะไรในโลกอีกแล้ว จะเป็นอิสระ ใจจะโปร่งโล่งเบา มีความสุขอยู่อย่างนั้นแหละทั้งวันทั้งคืน เข้าถึงความสุขอีกชนิดหนึ่งแล้ว ความสุขที่มหาศาลเลย คือความสุขของพระนิพพาน จิตซึ่งไปสัมผัสพระนิพพาน ก็ได้สัมผัสความสุขของพระนิพพานมา มีความสุขมหาศาล จิตที่สัมผัสพระนิพพานมีความสุข ท่านบอกว่า “นิพฺพานํ ปรมํ สุขํ” นิพพานเป็นบรมสุข สุขจริงๆ สุขที่พวกเรารู้จักในวันนี้นะ เล็กน้อยมากเลยนะ ถ้าเทียบกับสุขในธรรมะที่ปราณีตขึ้นเป็นลำดับๆ สุขของเราอย่างนี้เรียกว่า “กามสุข” กินของอร่อยมีความสุข เห็นของสวยๆมีความสุข ได้ยินเสียงไพเราะๆ เสียงชมเสียงอะไรเหล่านี้ มีความสุข นี้เป็นกามสุข กามสุขที่โลกเขาใฝ่หาเนี่ย เล็กน้อยเหลือเกินเมื่อเทียบกับฌานสุข ถ้าเราทำฌานทำสมาธิได้ เราจะรู้เลยว่า กามสุขเป็นเรื่องเล็กน้อย สกปรกโสโครก ความสุขของกามเนี่ย คล้ายๆเด็กที่ไร้เดียงสาไปเล่นไส้เดือนกิ้งกือ เล่นของขยะสกปรก เล่นได้หมดเลย ก็มีความสุข เด็กไปเล่นดินเล่นทรายสกปรกนะ ตัวมอมแมมหน้ามอมแมมไปหมด มันมีความสุข เนี่ยกามสุขมันเป็นแบบนั้น ฌานสุขมันสูงกว่านั้นนะ ฌานสุขมันเป็นสุขที่มันอิ่มมันเต็มมากขึ้น แต่ว่าความสุขในโลกุตตระ ความสุขในพระนิพพานนั้นน่ะ ฌานสุขเทียบไม่ติดเลย ฌานนั้นแหละกลายเป็นตัวทุกข์เลย คนที่ทรงฌานก็จะเห็นว่ากามสุขนั้นเป็นตัวทุกข์ แต่ว่าคนซึ่งเข้าถึงโลกุตตระแล้ว ก็ยังเห็นอีกว่าฌานนั้นแหละเป็นตัวทุกข์ จะเห็นกันเป็นลำดับๆไปนะ คล้ายๆพัฒนาขึ้นไปๆตามสติปัญญาที่แก่กล้าขึ้นไปๆ ถ้าเราสัมผัสพระนิพพานแล้ว เราจะรู้เลยว่าโลกนี้หาสาระแก่นสารไม่ได้ โลกนี้เหมือนฝัน ความสุขเหมือนกับฝันอยู่เท่านั้นแหละ ไม่ใช่มีของจริงอะไรให้เราดูเลย ความสุขของพระนิพพานนั้นเหมือนกับของจริง มันเหมือนว่าเรากลับบ้านเราได้แล้ว เราเป็นเด็กหลงทางหาทางกลับบ้านไม่เจอ วันนี้เรากลับถึงบ้านได้แล้ว มันมีความสุขนะ เจอพ่อเจอแม่ของเรา คือเจอพระพุทธเจ้า จิตของเรานั้นแหละ กับพระพุทธเจ้า จะหลอมรวมเป็นสิ่งเดียวกัน จิตของเรากับพระธรรมจะหลอมรวมเข้าเป็นสิ่งเดียวกัน จิตนั้นแหละก็คือตัวพระสงฆ์ พระรัตนตรัยรวมเข้าเป็นหนึ่งที่จิตนั้นเอง ที่จิตที่บริสุทธิ์จิตที่สะอาด จะมีความสุขที่ไม่มีอะไรเหมือน? ตรงที่จิตถึงสัจจานุโลมิกญาณหรืออนุโลมญาณ ใจคล้อยตามความจริง(ไตรลักษณ์)แล้ว ตรงนี้มีสามขณะถ้าเต็มรูป มีบริกรรม อุปจาร อนุโลม อนุโลมตัวสุดท้ายเป็นตัวตัด ตัดกระแสการรู้อารมณ์รูปนาม ฉะนั้นเวลาที่จิตรวมเข้าไป จิตเป็นกลางๆไปถึงขีดสุดแล้ว ปัญญาพอแล้ว มันเข้าอัปปนาสมาธิแล้วจะเห็นสภาวะเกิดดับ สองขณะบ้าง สามขณะบ้าง ขณะที่สองหรือขณะที่สามเป็นตัวสุดท้ายนี่มันจะตัด ตัดการรู้รูปนาม ตัดอารมณ์ของฝ่ายโลกียะ เสร็จแล้วมันจะทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้
จริตนิสัยคนแต่ละคน ไม่เหมือนกัน เราจะมาบังคับทุกคนให้ทำกรรมฐานอย่างเดียว...เรามาเรียนรู้ให้เห็นความจริงของโลกนะ เรียนรู้ให้เห็นความจริงของชีวิตเรา เราจะเห็นเลยว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ที่ปรากฏขึ้นในกายในใจของเราเนี่ย นอกจากทุกข์นะ ไม่มีอะไรเกิดขึ้น นอกจากทุกข์ ไม่มีอะไรตั้งอยู่ นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรดับไป ถ้าเราเห็นได้อย่างนี้ จิตจะถึงหมดความยึดถือในกายในใจ กายกับใจเป็นตัวทุกข์นะ ถ้าเมื่อไหร่เราสลัดคืนกายคืนใจให้โลกได้ ก็คือทิ้งตัวทุกข์ไปนะ พ้นจากกายจากใจ จากรูปจากนามนี้ไป จะสัมผัสพระนิพพาน มีความสุขที่มหาศาลขึ้นมา ความชั่วเกิดที่จิต รู้ทันปุ๊บ ความชั่วกระเด็น กลายเป็นดี ก็เห็นอีก จิตปรุงดีก็ทุกข์นะ จิตปรุงชั่วก็ทุกข์อีก เราเฝ้ารู้ไปเรื่อย ถ้าปัญญามันพอนะ จะเห็นเลย ปัญญาเบื้องต้นมันจะเห็นเลยว่า ทุกอย่างเกิดแล้วดับ ปัญญาเบื้องปลายจะเห็นว่า ทุกอย่างนั้นแหละทุกข์ ถ้าเห็นแจ้งทุกข์ จิตจะสลัดคืนกองทุกข์ให้โลก คืนกายคืนใจให้โลกไป ถ้าจิตเราไม่ยึดถือในรูปนามกายใจนะ จะไม่ยึดถืออะไรในโลกอีกแล้ว จะเป็นอิสระ ใจจะโปร่งโล่งเบา มีความสุขอยู่อย่างนั้นแหละทั้งวันทั้งคืน เข้าถึงความสุขอีกชนิดหนึ่งแล้ว ความสุขที่มหาศาลเลย คือความสุขของพระนิพพาน จิตซึ่งไปสัมผัสพระนิพพาน ก็ได้สัมผัสความสุขของพระนิพพานมา มีความสุขมหาศาล จิตที่สัมผัสพระนิพพานมีความสุข ท่านบอกว่า “นิพฺพานํ ปรมํ สุขํ” นิพพานเป็นบรมสุข สุขจริงๆ สุขที่พวกเรารู้จักในวันนี้นะ เล็กน้อยมากเลยนะ ถ้าเทียบกับสุขในธรรมะที่ปราณีตขึ้นเป็นลำดับๆ สุขของเราอย่างนี้เรียกว่า “กามสุข” กินของอร่อยมีความสุข เห็นของสวยๆมีความสุข ได้ยินเสียงไพเราะๆ เสียงชมเสียงอะไรเหล่านี้ มีความสุข นี้เป็นกามสุข กามสุขที่โลกเขาใฝ่หาเนี่ย เล็กน้อยเหลือเกินเมื่อเทียบกับฌานสุข ถ้าเราทำฌานทำสมาธิได้ เราจะรู้เลยว่า กามสุขเป็นเรื่องเล็กน้อย สกปรกโสโครก ความสุขของกามเนี่ย คล้ายๆเด็กที่ไร้เดียงสาไปเล่นไส้เดือนกิ้งกือ เล่นของขยะสกปรก เล่นได้หมดเลย ก็มีความสุข เด็กไปเล่นดินเล่นทรายสกปรกนะ ตัวมอมแมมหน้ามอมแมมไปหมด มันมีความสุข เนี่ยกามสุขมันเป็นแบบนั้น ฌานสุขมันสูงกว่านั้นนะ ฌานสุขมันเป็นสุขที่มันอิ่มมันเต็มมากขึ้น แต่ว่าความสุขในโลกุตตระ ความสุขในพระนิพพานนั้นน่ะ ฌานสุขเทียบไม่ติดเลย ฌานนั้นแหละกลายเป็นตัวทุกข์เลย คนที่ทรงฌานก็จะเห็นว่ากามสุขนั้นเป็นตัวทุกข์ แต่ว่าคนซึ่งเข้าถึงโลกุตตระแล้ว ก็ยังเห็นอีกว่าฌานนั้นแหละเป็นตัวทุกข์ จะเห็นกันเป็นลำดับๆไปนะ คล้ายๆพัฒนาขึ้นไปๆตามสติปัญญาที่แก่กล้าขึ้นไปๆ ถ้าเราสัมผัสพระนิพพานแล้ว เราจะรู้เลยว่าโลกนี้หาสาระแก่นสารไม่ได้ โลกนี้เหมือนฝัน ความสุขเหมือนกับฝันอยู่เท่านั้นแหละ ไม่ใช่มีของจริงอะไรให้เราดูเลย ความสุขของพระนิพพานนั้นเหมือนกับของจริง มันเหมือนว่าเรากลับบ้านเราได้แล้ว เราเป็นเด็กหลงทางหาทางกลับบ้านไม่เจอ วันนี้เรากลับถึงบ้านได้แล้ว มันมีความสุขนะ เจอพ่อเจอแม่ของเรา คือเจอพระพุทธเจ้า จิตของเรานั้นแหละ กับพระพุทธเจ้า จะหลอมรวมเป็นสิ่งเดียวกัน จิตของเรากับพระธรรมจะหลอมรวมเข้าเป็นสิ่งเดียวกัน จิตนั้นแหละก็คือตัวพระสงฆ์ พระรัตนตรัยรวมเข้าเป็นหนึ่งที่จิตนั้นเอง ที่จิตที่บริสุทธิ์จิตที่สะอาด จะมีความสุขที่ไม่มีอะไรเหมือน? ตรงที่จิตถึงสัจจานุโลมิกญาณหรืออนุโลมญาณ ใจคล้อยตามความจริง(ไตรลักษณ์)แล้ว ตรงนี้มีสามขณะถ้าเต็มรูป มีบริกรรม อุปจาร อนุโลม อนุโลมตัวสุดท้ายเป็นตัวตัด ตัดกระแสการรู้อารมณ์รูปนาม ฉะนั้นเวลาที่จิตรวมเข้าไป จิตเป็นกลางๆไปถึงขีดสุดแล้ว ปัญญาพอแล้ว มันเข้าอัปปนาสมาธิแล้วจะเห็นสภาวะเกิดดับ สองขณะบ้าง สามขณะบ้าง ขณะที่สองหรือขณะที่สามเป็นตัวสุดท้ายนี่มันจะตัด ตัดการรู้รูปนาม ตัดอารมณ์ของฝ่ายโลกียะ เสร็จแล้วมันจะทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้
จิตปรุงดีก็ทุกข์นะ จิตปรุงชั่วก็ทุกข์อีก เราเฝ้ารู้ไปเรื่อย ถ้าปัญญามันพ...เรามาเรียนรู้ให้เห็นความจริงของโลกนะ เรียนรู้ให้เห็นความจริงของชีวิตเรา เราจะเห็นเลยว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ที่ปรากฏขึ้นในกายในใจของเราเนี่ย นอกจากทุกข์นะ ไม่มีอะไรเกิดขึ้น นอกจากทุกข์ ไม่มีอะไรตั้งอยู่ นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรดับไป ถ้าเราเห็นได้อย่างนี้ จิตจะถึงหมดความยึดถือในกายในใจ กายกับใจเป็นตัวทุกข์นะ ถ้าเมื่อไหร่เราสลัดคืนกายคืนใจให้โลกได้ ก็คือทิ้งตัวทุกข์ไปนะ พ้นจากกายจากใจ จากรูปจากนามนี้ไป จะสัมผัสพระนิพพาน มีความสุขที่มหาศาลขึ้นมา ความชั่วเกิดที่จิต รู้ทันปุ๊บ ความชั่วกระเด็น กลายเป็นดี ก็เห็นอีก จิตปรุงดีก็ทุกข์นะ จิตปรุงชั่วก็ทุกข์อีก เราเฝ้ารู้ไปเรื่อย ถ้าปัญญามันพอนะ จะเห็นเลย ปัญญาเบื้องต้นมันจะเห็นเลยว่า ทุกอย่างเกิดแล้วดับ ปัญญาเบื้องปลายจะเห็นว่า ทุกอย่างนั้นแหละทุกข์ ถ้าเห็นแจ้งทุกข์ จิตจะสลัดคืนกองทุกข์ให้โลก คืนกายคืนใจให้โลกไป ถ้าจิตเราไม่ยึดถือในรูปนามกายใจนะ จะไม่ยึดถืออะไรในโลกอีกแล้ว จะเป็นอิสระ ใจจะโปร่งโล่งเบา มีความสุขอยู่อย่างนั้นแหละทั้งวันทั้งคืน เข้าถึงความสุขอีกชนิดหนึ่งแล้ว ความสุขที่มหาศาลเลย คือความสุขของพระนิพพาน จิตซึ่งไปสัมผัสพระนิพพาน ก็ได้สัมผัสความสุขของพระนิพพานมา มีความสุขมหาศาล จิตที่สัมผัสพระนิพพานมีความสุข ท่านบอกว่า “นิพฺพานํ ปรมํ สุขํ” นิพพานเป็นบรมสุข สุขจริงๆ สุขที่พวกเรารู้จักในวันนี้นะ เล็กน้อยมากเลยนะ ถ้าเทียบกับสุขในธรรมะที่ปราณีตขึ้นเป็นลำดับๆ สุขของเราอย่างนี้เรียกว่า “กามสุข” กินของอร่อยมีความสุข เห็นของสวยๆมีความสุข ได้ยินเสียงไพเราะๆ เสียงชมเสียงอะไรเหล่านี้ มีความสุข นี้เป็นกามสุข กามสุขที่โลกเขาใฝ่หาเนี่ย เล็กน้อยเหลือเกินเมื่อเทียบกับฌานสุข ถ้าเราทำฌานทำสมาธิได้ เราจะรู้เลยว่า กามสุขเป็นเรื่องเล็กน้อย สกปรกโสโครก ความสุขของกามเนี่ย คล้ายๆเด็กที่ไร้เดียงสาไปเล่นไส้เดือนกิ้งกือ เล่นของขยะสกปรก เล่นได้หมดเลย ก็มีความสุข เด็กไปเล่นดินเล่นทรายสกปรกนะ ตัวมอมแมมหน้ามอมแมมไปหมด มันมีความสุข เนี่ยกามสุขมันเป็นแบบนั้น ฌานสุขมันสูงกว่านั้นนะ ฌานสุขมันเป็นสุขที่มันอิ่มมันเต็มมากขึ้น แต่ว่าความสุขในโลกุตตระ ความสุขในพระนิพพานนั้นน่ะ ฌานสุขเทียบไม่ติดเลย ฌานนั้นแหละกลายเป็นตัวทุกข์เลย คนที่ทรงฌานก็จะเห็นว่ากามสุขนั้นเป็นตัวทุกข์ แต่ว่าคนซึ่งเข้าถึงโลกุตตระแล้ว ก็ยังเห็นอีกว่าฌานนั้นแหละเป็นตัวทุกข์ จะเห็นกันเป็นลำดับๆไปนะ คล้ายๆพัฒนาขึ้นไปๆตามสติปัญญาที่แก่กล้าขึ้นไปๆ ถ้าเราสัมผัสพระนิพพานแล้ว เราจะรู้เลยว่าโลกนี้หาสาระแก่นสารไม่ได้ โลกนี้เหมือนฝัน ความสุขเหมือนกับฝันอยู่เท่านั้นแหละ ไม่ใช่มีของจริงอะไรให้เราดูเลย ความสุขของพระนิพพานนั้นเหมือนกับของจริง มันเหมือนว่าเรากลับบ้านเราได้แล้ว เราเป็นเด็กหลงทางหาทางกลับบ้านไม่เจอ วันนี้เรากลับถึงบ้านได้แล้ว มันมีความสุขนะ เจอพ่อเจอแม่ของเรา คือเจอพระพุทธเจ้า จิตของเรานั้นแหละ กับพระพุทธเจ้า จะหลอมรวมเป็นสิ่งเดียวกัน จิตของเรากับพระธรรมจะหลอมรวมเข้าเป็นสิ่งเดียวกัน จิตนั้นแหละก็คือตัวพระสงฆ์ พระรัตนตรัยรวมเข้าเป็นหนึ่งที่จิตนั้นเอง ที่จิตที่บริสุทธิ์จิตที่สะอาด จะมีความสุขที่ไม่มีอะไรเหมือน? ตรงที่จิตถึงสัจจานุโลมิกญาณหรืออนุโลมญาณ ใจคล้อยตามความจริง(ไตรลักษณ์)แล้ว ตรงนี้มีสามขณะถ้าเต็มรูป มีบริกรรม อุปจาร อนุโลม อนุโลมตัวสุดท้ายเป็นตัวตัด ตัดกระแสการรู้อารมณ์รูปนาม ฉะนั้นเวลาที่จิตรวมเข้าไป จิตเป็นกลางๆไปถึงขีดสุดแล้ว ปัญญาพอแล้ว มันเข้าอัปปนาสมาธิแล้วจะเห็นสภาวะเกิดดับ สองขณะบ้าง สามขณะบ้าง ขณะที่สองหรือขณะที่สามเป็นตัวสุดท้ายนี่มันจะตัด ตัดการรู้รูปนาม ตัดอารมณ์ของฝ่ายโลกียะ เสร็จแล้วมันจะทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้
หลักของการทำวิปัสสนา มีสติไม่ใช่ขาดสติลืมกายลืมใจ ให้มีสติ มีสติแล้วก็แค...เรามีศีลแล้วนะใจเราจะอยู่กับเนื้อกับตัวง่าย ใจตั้งมั่นง่าย ถ้าเราไม่มีศีลนะ วอกแวกๆ คิดกลุ้มใจไปโน่นไปนี่เรื่อยๆ ถ้ามีศีลอยู่ ใจก็อยู่กับเนื้อกับตัวไปนะ พอใจอยู่กับเนื้อกับตัวแล้ว เราก็คอยตามรู้กายรู้ใจไป บางคนก็ดูกาย เห็นร่างกายเคลื่อนไหว ใจเป็นคนดู บางคนก็ดูจิตดูใจไป วิธีดูจิตก็คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ กระทบอารมณ์ ความรู้สึกใดแปลกปลอมขึ้นมารู้มัน แต่รู้ด้วยความเป็นกลางนะ มีเงื่อนไขสำคัญมาก รู้ด้วยความเป็นกลาง เช่นกิเลสเกิดขึ้นมา รู้ว่ามีกิเลส เช่น ความโกรธเกิดขึ้นรู้ว่าโกรธ พอความโกรธเกิดขึ้น ใจเราไม่ชอบ ให้รู้ทันใจที่ไม่ชอบนี่นะ ความไม่ชอบนี่คือความไม่เป็นกลาง ถ้าเมื่อไหร่ เราสามารถ รู้กายรู้ใจตามความเป็นจริง ด้วยจิตใจที่ตั้งมั่น ด้วยจิตใจที่เป็นกลางได้นะ ปัญญาแท้ๆมันจะเกิด เห็นกายไม่ใช่เรา ใจไม่ใช่เรา มันจะเห็นว่า ทุกสิ่งนี้เป็นของชั่วคราว ความสุข ความทุกข์ กุศล อกุศล ทั้งหลายนี้เป็นของชั่วคราวทั้งหมด เราภาวนาจนเห็นว่าทุกอย่างชั่วคราว สุข ทุกข์ ดี ชั่วทั้งหลาย ชั่วคราวทั้งหมด ตรงนี้แหละ ใจจะเป็นกลางกับทุกสิ่งทุกอย่าง ตัวนี้แหละคือสิ่งเรียกว่า สังขารุเบกขาญาน จิตมีปัญญานะ เป็นกลางกับความปรุงแต่งทั้งหลาย สุข ทุกข์ ดี ชั่วทั้งหลายนี่ จิตเป็นกลางหมดเลย เพราะอะไร เพราะปัญญา ไม่ใช่กลางเพราะการเพ่ง ไม่ใช่เป็นกลางเพราะกำหนดนะ กำหนดแล้วเป็นกลางนี่ยังไม่ใช่ ตัวนี้ต้องเป็นกลางเพราะปัญญา ถ้าเราตามรู้จิตใจของเราทุกวันๆ เราจะเห็นเลย ความสุขอยู่ชั่วคราว แล้วก็หาย ความทุกข์อยู่ชั่วคราวแล้วก็หาย โลภ โกรธ หลง อยู่ชั่วคราว แล้วก็หาย กุศลอยู่ชั่วคราวแล้วก็หายไป ถ้าตามดูอย่างนี้นานๆไปนะ จิตมันยอมรับความจริงว่า สิ่งใดเกิดขึ้นสิ่งนั้นดับไป ความสุขเกิดขึ้นจิตไม่หลงระเริง ความทุกข์เกิดขึ้นจิตไม่กลุ้มใจ จิตมันจะเป็นกลาง ต่อทุกสิ่งทุกอย่างที่มันไปรู้เข้า จิตที่มันเป็นกลางต่อทุกสิ่งทุกอย่าง นี่นะ ตัวนี้เป็นตัวสำคัญ นี่เป็นคือประตูแห่งการบรรลุมรรคผล พอมันเป็นกลางกับทุกสิ่งทุกอย่าง มันจะไม่ปรุงแต่งต่อ อย่างถ้ามันไม่เป็นกลาง มันจะปรุงแต่งต่อ เช่น ความโกรธเกิดขึ้น อยากให้หาย ก็ต้องหาทางทำให้หาย เห็นมั้ยปรุงแต่งต่อล่ะ ความสุขเกิดขึ้นอยากให้อยู่นานๆ ต้องหาทางรักษา นี่ปรุงแต่งต่อ มีการทำงาน แต่ถ้ามันเห็นทุกสิ่งทุกอย่างเกิดแล้วก็ดับๆ ไม่ปรุงแต่งต่อ จิตจะพ้นจากความปรุงแต่ง ตามรู้ตามดูจนมันพอ สติ สมาธิ ปัญญาแก่รอบ จิตใจยอมรับความจริง ยอมรับไตรลักษณ์ ว่าทุกอย่างเกิดแล้วก็ดับ ถึงจุดนี้เนี่ย มันจะเป็นรอยแยก พวกที่หวังพุทธภูมินะ ก็มีโอกาสจะเป็นพระโพธิสัตว์ ที่ได้รับคำพยากรณ์จากพระพุทธเจ้า ไม่ใช่พยากรณ์จากหมอดูนะ ต้องพยากรณ์จากพระพุทธเจ้า พวกที่ไม่ได้หวังจะเป็นพระโพธิสัตว์ แต่หวังความพ้นทุกข์นะ จิตมีโอกาสที่จะเกิดมรรคผลได้ เวลาที่จิตจะเกิดมรรคผลนั้น จิตจะรวมเข้าอัปนาสมาธิ เพราะฉะนั้นเวลาท่านพูดถึงองค์มรรคเนี่ย สัมมาสมาธิ ท่านจะพูดด้วยอัปนาสมาธิ ด้วยฌาน ๔ พวกเราตอนที่เจริญสติอยู่นี่เรียกว่า เจริญบุพพภาคมรรค เบื้องต้นแห่งมรรคยังไม่เป็นฌานนะ เราหัดเจริญสติอยู่ในชีวิตประจำวันอย่างนี้ ถึงวันที่อริยมรรคจะเกิด จิตจะรวมเข้าฌานโดยอัตโนมัตินะ จิตเวลาที่เกิดมรรคเกิดผล จะไม่เกิดในจิตของคนธรรมดา นี่เรียกว่ากามาวจรจิต กามาวจรภูมิ ไม่เป็นอย่างนั้น จะต้องเข้าฌานนะ เมื่อมันรวมเข้าไปแล้วมันจะเห็น สภาวะธรรมนี่เกิดดับสองขณะหรือสามขณะ แต่ละคนไม่เท่ากันนะ ถัดจากนั้นจิตจะวางการรู้อารมณ์ ทวนกระแสเข้ามาหาธาตุรู้ สิ่งที่ห่อหุ้มปกคลุมธาตุรู้อยู่นี่ ถูกอริยมรรคแหวกออกไป แล้วก็มันจะไปเห็นนิพพานนะ นิพพานไม่ใช่ว่างเปล่า นิพพานไม่ใช่โลกๆหนึ่ง พวกเรายังไม่เคยเห็น เราก็วาดภาพสุดโต่งไปสองข้าง ข้างหนึ่งก็นิพพานเป็นโลกๆหนึ่ง พวกนี้พวกสัสตะทิฐิ มีของที่เที่ยงคงที่ อีกพวกหนึ่งคิดว่านิพพานสูญไปเลย ขณะนั้นไม่มีอะไรเหลือเลย กระทั่งสติ พวกนี้หลงไปล่ะ คิดว่านิพพานไม่มีอะไรเลย นี่พวกอุจเฉททิฐินะ นิพพานมีนะ นิพพานมีสภาวะรองรับ สภาวะของนิพพานคือสันติ คือความสงบนั่นเอง สงบจากอะไร สงบจากกิเลส สงบจากอะไร สงบจากความปรุงแต่ง สงบจากอะไร สงบจากการแบกหามขันธ์นะ ดังนั้นเราภาวนานะ
ดูกรท่านผู้นิรทุกข์ถ้าเราพักอยู่เราจะจมลงถ้าเราเพียรอยู่เราจะลอยขึ้นเราไ...ครั้งหนึ่งมีเทวดา ไปทูลถามพระพุทธเจ้า เทวดานี้ท่านนึกว่าตัวเองเป็นพระอรหันต์ ก็ไปทูลถามพระพุทธเจ้า คล้ายๆจะไปแลกเปลี่ยนความรู้กัน มาที่วัดนะ กลางคืน ยังราตรีให้สว่างไสวไปหมดเลย ด้วยรัศมีของเทวดา พระที่มีหูทิพย์ตาทิพย์ก็จะเห็น ถ้าไม่มีก็ไม่เห็น สว่างไสวด้วยรัศมีของเทวดานี้ เทวดาไปถึงก็ยืนพนมมือนะ แล้วทูลถามพระพุทธเจ้า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์ข้ามโอฆะ โอฆะแปลว่าห้วงน้ำ ห้วงกิเลสนั่นเองแหละ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์ข้ามโอฆะได้อย่างไร คล้ายๆชวนแลกเปลี่ยนทัศนะกันนะ เดี๋ยวท่านตอบแล้วเราจะตอบบ้าง ว่าชั้นข้ามมาด้วยวิธีนี้นะ ท่านข้ามมาได้ด้วยวิธีไหน กะจะมาชวนคุยธรรมะนะ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์ข้ามโอฆะได้อย่างไร พระพุทธเจ้าท่านก็ตอบ ดูกรท่านนิรทุกข์ นิรทุกข์แปลว่าผู้ไม่มีความทุกข์ อันนี้เป็นคำยกย่องนะ จริงๆเทวดานี้ยังทุกข์แต่ยังไม่เห็นหรอก ดูก่อนท่านนิรทุกข์ เราข้ามโอฆะได้นะ เพราะเราไม่พักและเราไม่เพียร เทวดาเจอหมัดเด็ดเข้า ไม่พักไม่เพียร หา..ข้ามโอฆะได้ด้วยการไม่พักและไม่เพียรเหรอ ไม่พักเนี่ยพอเข้าใจใช่มั้ย ขยันปฏิบัติไป ไม่เพียรด้วยเหรอ เออ.. เทวดาผู้(คิดว่าตนเอง – ผู้ถอด)เป็นพระอรหันต์งงแล้ว เอ๊ะ พระพุทธเจ้าข้ามโอฆะด้วยการไม่พักและไม่เพียร เป็นไปได้อย่างไร มีแต่บอกให้เพียรเยอะๆไปเลย ใช่มั้ย เนี่ยท่านแกล้งน็อคนะ น็อค ทำให้งง เทวดาก็หมดความถือตัวนะ ทูลถามท่าน เป็นอย่างไรพระเจ้าข้า ไม่พักไม่เพียร ให้ช่วยขยายความหน่อย ไม่เข้าใจ ยอมรับแล้วนะว่าไม่เข้าใจ พระพุทธเจ้าท่านขยายความ ดูกรท่านผู้นิรทุกข์ ถ้าเราพักอยู่เราจะจมลง ถ้าเราเพียรอยู่เราจะลอยขึ้น เราไม่พักเราไม่เพียร เราข้ามโอฆะได้ด้วยวิธีนี้ เทวดาได้พระโสดาบันเลย ได้มั้ย พวกเราฟังเหมือนเทวดา ใครได้ยกมือสิ เห็นมั้ย บารมีสู้เขาไม่ได้นะ เทวดาแจ้งแล้วเทวดาก็ไป แต่พอพระพุทธเจ้ามาเล่าให้พระอานนท์ฟังใช่มั้ย มนุษย์ทั้งหลายที่ฟังตามหลังเนี่ย ไม่แจ้ง อรรถกถาก็เลยต้องมาขยายความให้อีกนะ พระพุทธเจ้าขยายความให้เทวดามา ๑ ชั้นแล้ว ทีแรกท่านบอกว่าท่านไม่พักไม่เพียร พอขยายความท่านบอกว่า ถ้าพักอยู่เราจะจมลง ถ้าเพียรอยู่เราจะลอยขึ้น เราไม่พักไม่เพียร เราข้ามโอฆะได้ด้วยวิธีนี้ อรรถกถาต้องมาแปลต่ออีกทีเพื่อให้คนรุ่นเรารู้เรื่อง คำว่าพักอยู่เนี่ย ก็คือการปล่อยตัวปล่อยใจไปตามกิเลส คือกามสุขัลลิกานุโยคนั่นเอง การที่เราวิ่งพล่านไปทางตา วิ่งพล่านไปทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย วิ่งคิดนึกปรุงแต่งฟุ้งซ่านไป นั่นแหละคือการหลงโลก เราติดต่อโลกภายนอกผ่านทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ นั่นเอง เรียกว่าอายตนะที่เชื่อมต่อสัมผัสโลกข้างนอก ถ้าจิตวิ่งพล่านออกไปทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ อันนี้เรียกว่าหย่อนเกินไป แล้วทำไมท่านบอกว่า ถ้าเราพักอยู่เราจะจมลง ถ้าเราปล่อยจิตใจของเรานะ ร่อนเร่ไปเรื่อย ตามกิเลสไปเรื่อย จะจมลง นึกออกหรือยังว่าจะจมลงอย่างไร จะลงอบาย(ภูมิ)นะ ใจจะลงอบาย ลงที่ต่ำไปเรื่อย คำว่าเพียรอยู่เนี่ย ก็คือการฝึกหัดตัวเอง บังคับควบคุมตัวเอง คือ อัตตกิลมถานุโยค ยกตัวอย่างเวลาที่พวกเราคิดถึงการเดินจงกรม เราก็เริ่มบังคับกาย เริ่มบังคับใจ เวลาเราคิดถึงเรื่องการนั่งสมาธิ เราก็บังคับกาย บังคับใจ มีแต่บังคับจนมันนิ่งๆแข็งๆทื่อๆ ไม่แสดงไตรลักษณ์ แล้วท่านก็บอกว่า ถ้าเราเพียรอยู่คือบังคับตัวเองอยู่เนี่ย เราจะลอยขึ้น ลอยขึ้นไปอย่างไร ก็ไปสุคติใช่มั้ย สุคติมีตั้งแต่เป็นมนุษย์นะ เป็นเทวดา เป็นพรหม ลอยขึ้น ถ้าพักอยู่ คือปล่อยตัวปล่อยใจไปตามกิเลสจะจมลง สู่อบาย อบายภูมิทั้ง ๔ นะ ตั้งแต่สัตว์นรก สัตว์เดรัจฉาน อสุรกาย เปรต ขึ้นมาใกล้มนุษย์แล้ว ถ้าเพียรอยู่ พยายามควบคุมตัวเองบังคับตัวเอง ไม่ให้ตามใจกิเลส ก็จะได้เป็นมนุษย์ ได้เป็นเทวดา ได้เป็นพรหม ไม่นิพพาน ทั้งสองฝั่ง เห็นมั้ยว่าไม่มีช่องของพระนิพพาน ช่องของพระนิพพานนั้น ไม่พักและไม่เพียร ไม่พักคือไม่หลงไปไม่เผลอไป ไม่เพียรคือไม่ควบคุมกดข่มบังคับตัวเอง ช่องตรงกลางก็คือ การรู้รูปนามตามความเป็นจริง รู้กายรู้ใจตามความเป็นจริง ไม่ใช่เรื่องคิดเอาเอง และไม่ใช่เรื่องบังคับกายบังคับใจให้นิ่งนะ เพราะฉะนั้นทางสายกลางอยู่ตรงที่เราไม่พักไม่เพียร ไม่หย่อนไม่ตึงนั่นเอง ให้รู้รูปนามตามความเป็นจริง ที่หลวงพ่อย่อลงมาบอกว่า “ให้มีสติ รู้กายรู้ใจ ตามความเป็นจริง ด้วยจิตที่ตั้งมั่นและเป็นกลาง” ถ้าเราไม่รู้กายรู้ใจเราก็ย่อหย่อนไป ลืมกายลืมใจเมื่อไหร่ นึกเลยนะ ถ้าเมื่อไหร่เผลอ ขาดสติ ลืมกายลืมใจ ต้องรู้นะ ขณะนั้นย่อหย่อนแล้ว โอกาสที่จะไปอบายภูมิเริ่มเกิดขึ้นแล้ว ถ้าขณะไหนลงมือปฏิบัติแล้วก็แน่นไปหมดเลย ควบคุมตัวเองแน่นไปหมดเลย ขณะนั้นตึงเกินไป ไปสุคติได้แต่ไปนิพพานไม่ได้ เพราะอะไร เพราะไม่เห็นไตรลักษณ์ กายก็จะนิ่ง ใจก็จะนิ่ง เมื่อไม่เห็นความเป็นไตรลักษณ์ของรูปของนาม เรียกว่าไม่เห็นความจริง เมื่อไม่เห็นความจริงย่อมไม่เบื่อหน่ายไม่คลายความยึดถือ ไม่หลุดพ้นนะ เพราะฉะนั้นหน้าที่ของเรา เดินจิตเข้าสู่ทางสายกลางให้ได้
ดูกรท่านผู้นิรทุกข์ถ้าเราพักอยู่เราจะจมลงถ้าเราเพียรอยู่เราจะลอยขึ้นเราไ...ครั้งหนึ่งมีเทวดา ไปทูลถามพระพุทธเจ้า เทวดานี้ท่านนึกว่าตัวเองเป็นพระอรหันต์ ก็ไปทูลถามพระพุทธเจ้า คล้ายๆจะไปแลกเปลี่ยนความรู้กัน มาที่วัดนะ กลางคืน ยังราตรีให้สว่างไสวไปหมดเลย ด้วยรัศมีของเทวดา พระที่มีหูทิพย์ตาทิพย์ก็จะเห็น ถ้าไม่มีก็ไม่เห็น สว่างไสวด้วยรัศมีของเทวดานี้ เทวดาไปถึงก็ยืนพนมมือนะ แล้วทูลถามพระพุทธเจ้า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์ข้ามโอฆะ โอฆะแปลว่าห้วงน้ำ ห้วงกิเลสนั่นเองแหละ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์ข้ามโอฆะได้อย่างไร คล้ายๆชวนแลกเปลี่ยนทัศนะกันนะ เดี๋ยวท่านตอบแล้วเราจะตอบบ้าง ว่าชั้นข้ามมาด้วยวิธีนี้นะ ท่านข้ามมาได้ด้วยวิธีไหน กะจะมาชวนคุยธรรมะนะ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์ข้ามโอฆะได้อย่างไร พระพุทธเจ้าท่านก็ตอบ ดูกรท่านนิรทุกข์ นิรทุกข์แปลว่าผู้ไม่มีความทุกข์ อันนี้เป็นคำยกย่องนะ จริงๆเทวดานี้ยังทุกข์แต่ยังไม่เห็นหรอก ดูก่อนท่านนิรทุกข์ เราข้ามโอฆะได้นะ เพราะเราไม่พักและเราไม่เพียร เทวดาเจอหมัดเด็ดเข้า ไม่พักไม่เพียร หา..ข้ามโอฆะได้ด้วยการไม่พักและไม่เพียรเหรอ ไม่พักเนี่ยพอเข้าใจใช่มั้ย ขยันปฏิบัติไป ไม่เพียรด้วยเหรอ เออ.. เทวดาผู้(คิดว่าตนเอง – ผู้ถอด)เป็นพระอรหันต์งงแล้ว เอ๊ะ พระพุทธเจ้าข้ามโอฆะด้วยการไม่พักและไม่เพียร เป็นไปได้อย่างไร มีแต่บอกให้เพียรเยอะๆไปเลย ใช่มั้ย เนี่ยท่านแกล้งน็อคนะ น็อค ทำให้งง เทวดาก็หมดความถือตัวนะ ทูลถามท่าน เป็นอย่างไรพระเจ้าข้า ไม่พักไม่เพียร ให้ช่วยขยายความหน่อย ไม่เข้าใจ ยอมรับแล้วนะว่าไม่เข้าใจ พระพุทธเจ้าท่านขยายความ ดูกรท่านผู้นิรทุกข์ ถ้าเราพักอยู่เราจะจมลง ถ้าเราเพียรอยู่เราจะลอยขึ้น เราไม่พักเราไม่เพียร เราข้ามโอฆะได้ด้วยวิธีนี้ เทวดาได้พระโสดาบันเลย ได้มั้ย พวกเราฟังเหมือนเทวดา ใครได้ยกมือสิ เห็นมั้ย บารมีสู้เขาไม่ได้นะ เทวดาแจ้งแล้วเทวดาก็ไป แต่พอพระพุทธเจ้ามาเล่าให้พระอานนท์ฟังใช่มั้ย มนุษย์ทั้งหลายที่ฟังตามหลังเนี่ย ไม่แจ้ง อรรถกถาก็เลยต้องมาขยายความให้อีกนะ พระพุทธเจ้าขยายความให้เทวดามา ๑ ชั้นแล้ว ทีแรกท่านบอกว่าท่านไม่พักไม่เพียร พอขยายความท่านบอกว่า ถ้าพักอยู่เราจะจมลง ถ้าเพียรอยู่เราจะลอยขึ้น เราไม่พักไม่เพียร เราข้ามโอฆะได้ด้วยวิธีนี้ อรรถกถาต้องมาแปลต่ออีกทีเพื่อให้คนรุ่นเรารู้เรื่อง คำว่าพักอยู่เนี่ย ก็คือการปล่อยตัวปล่อยใจไปตามกิเลส คือกามสุขัลลิกานุโยคนั่นเอง การที่เราวิ่งพล่านไปทางตา วิ่งพล่านไปทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย วิ่งคิดนึกปรุงแต่งฟุ้งซ่านไป นั่นแหละคือการหลงโลก เราติดต่อโลกภายนอกผ่านทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ นั่นเอง เรียกว่าอายตนะที่เชื่อมต่อสัมผัสโลกข้างนอก ถ้าจิตวิ่งพล่านออกไปทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ อันนี้เรียกว่าหย่อนเกินไป แล้วทำไมท่านบอกว่า ถ้าเราพักอยู่เราจะจมลง ถ้าเราปล่อยจิตใจของเรานะ ร่อนเร่ไปเรื่อย ตามกิเลสไปเรื่อย จะจมลง นึกออกหรือยังว่าจะจมลงอย่างไร จะลงอบาย(ภูมิ)นะ ใจจะลงอบาย ลงที่ต่ำไปเรื่อย คำว่าเพียรอยู่เนี่ย ก็คือการฝึกหัดตัวเอง บังคับควบคุมตัวเอง คือ อัตตกิลมถานุโยค ยกตัวอย่างเวลาที่พวกเราคิดถึงการเดินจงกรม เราก็เริ่มบังคับกาย เริ่มบังคับใจ เวลาเราคิดถึงเรื่องการนั่งสมาธิ เราก็บังคับกาย บังคับใจ มีแต่บังคับจนมันนิ่งๆแข็งๆทื่อๆ ไม่แสดงไตรลักษณ์ แล้วท่านก็บอกว่า ถ้าเราเพียรอยู่คือบังคับตัวเองอยู่เนี่ย เราจะลอยขึ้น ลอยขึ้นไปอย่างไร ก็ไปสุคติใช่มั้ย สุคติมีตั้งแต่เป็นมนุษย์นะ เป็นเทวดา เป็นพรหม ลอยขึ้น ถ้าพักอยู่ คือปล่อยตัวปล่อยใจไปตามกิเลสจะจมลง สู่อบาย อบายภูมิทั้ง ๔ นะ ตั้งแต่สัตว์นรก สัตว์เดรัจฉาน อสุรกาย เปรต ขึ้นมาใกล้มนุษย์แล้ว ถ้าเพียรอยู่ พยายามควบคุมตัวเองบังคับตัวเอง ไม่ให้ตามใจกิเลส ก็จะได้เป็นมนุษย์ ได้เป็นเทวดา ได้เป็นพรหม ไม่นิพพาน ทั้งสองฝั่ง เห็นมั้ยว่าไม่มีช่องของพระนิพพาน ช่องของพระนิพพานนั้น ไม่พักและไม่เพียร ไม่พักคือไม่หลงไปไม่เผลอไป ไม่เพียรคือไม่ควบคุมกดข่มบังคับตัวเอง ช่องตรงกลางก็คือ การรู้รูปนามตามความเป็นจริง รู้กายรู้ใจตามความเป็นจริง ไม่ใช่เรื่องคิดเอาเอง และไม่ใช่เรื่องบังคับกายบังคับใจให้นิ่งนะ เพราะฉะนั้นทางสายกลางอยู่ตรงที่เราไม่พักไม่เพียร ไม่หย่อนไม่ตึงนั่นเอง ให้รู้รูปนามตามความเป็นจริง ที่หลวงพ่อย่อลงมาบอกว่า “ให้มีสติ รู้กายรู้ใจ ตามความเป็นจริง ด้วยจิตที่ตั้งมั่นและเป็นกลาง” ถ้าเราไม่รู้กายรู้ใจเราก็ย่อหย่อนไป ลืมกายลืมใจเมื่อไหร่ นึกเลยนะ ถ้าเมื่อไหร่เผลอ ขาดสติ ลืมกายลืมใจ ต้องรู้นะ ขณะนั้นย่อหย่อนแล้ว โอกาสที่จะไปอบายภูมิเริ่มเกิดขึ้นแล้ว ถ้าขณะไหนลงมือปฏิบัติแล้วก็แน่นไปหมดเลย ควบคุมตัวเองแน่นไปหมดเลย ขณะนั้นตึงเกินไป ไปสุคติได้แต่ไปนิพพานไม่ได้ เพราะอะไร เพราะไม่เห็นไตรลักษณ์ กายก็จะนิ่ง ใจก็จะนิ่ง เมื่อไม่เห็นความเป็นไตรลักษณ์ของรูปของนาม เรียกว่าไม่เห็นความจริง เมื่อไม่เห็นความจริงย่อมไม่เบื่อหน่ายไม่คลายความยึดถือ ไม่หลุดพ้นนะ เพราะฉะนั้นหน้าที่ของเรา เดินจิตเข้าสู่ทางสายกลางให้ได้
ดูกรท่านผู้นิรทุกข์ถ้าเราพักอยู่เราจะจมลงถ้าเราเพียรอยู่เราจะลอยขึ้นเราไ...ครั้งหนึ่งมีเทวดา ไปทูลถามพระพุทธเจ้า เทวดานี้ท่านนึกว่าตัวเองเป็นพระอรหันต์ ก็ไปทูลถามพระพุทธเจ้า คล้ายๆจะไปแลกเปลี่ยนความรู้กัน มาที่วัดนะ กลางคืน ยังราตรีให้สว่างไสวไปหมดเลย ด้วยรัศมีของเทวดา พระที่มีหูทิพย์ตาทิพย์ก็จะเห็น ถ้าไม่มีก็ไม่เห็น สว่างไสวด้วยรัศมีของเทวดานี้ เทวดาไปถึงก็ยืนพนมมือนะ แล้วทูลถามพระพุทธเจ้า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์ข้ามโอฆะ โอฆะแปลว่าห้วงน้ำ ห้วงกิเลสนั่นเองแหละ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์ข้ามโอฆะได้อย่างไร คล้ายๆชวนแลกเปลี่ยนทัศนะกันนะ เดี๋ยวท่านตอบแล้วเราจะตอบบ้าง ว่าชั้นข้ามมาด้วยวิธีนี้นะ ท่านข้ามมาได้ด้วยวิธีไหน กะจะมาชวนคุยธรรมะนะ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์ข้ามโอฆะได้อย่างไร พระพุทธเจ้าท่านก็ตอบ ดูกรท่านนิรทุกข์ นิรทุกข์แปลว่าผู้ไม่มีความทุกข์ อันนี้เป็นคำยกย่องนะ จริงๆเทวดานี้ยังทุกข์แต่ยังไม่เห็นหรอก ดูก่อนท่านนิรทุกข์ เราข้ามโอฆะได้นะ เพราะเราไม่พักและเราไม่เพียร เทวดาเจอหมัดเด็ดเข้า ไม่พักไม่เพียร หา..ข้ามโอฆะได้ด้วยการไม่พักและไม่เพียรเหรอ ไม่พักเนี่ยพอเข้าใจใช่มั้ย ขยันปฏิบัติไป ไม่เพียรด้วยเหรอ เออ.. เทวดาผู้(คิดว่าตนเอง – ผู้ถอด)เป็นพระอรหันต์งงแล้ว เอ๊ะ พระพุทธเจ้าข้ามโอฆะด้วยการไม่พักและไม่เพียร เป็นไปได้อย่างไร มีแต่บอกให้เพียรเยอะๆไปเลย ใช่มั้ย เนี่ยท่านแกล้งน็อคนะ น็อค ทำให้งง เทวดาก็หมดความถือตัวนะ ทูลถามท่าน เป็นอย่างไรพระเจ้าข้า ไม่พักไม่เพียร ให้ช่วยขยายความหน่อย ไม่เข้าใจ ยอมรับแล้วนะว่าไม่เข้าใจ พระพุทธเจ้าท่านขยายความ ดูกรท่านผู้นิรทุกข์ ถ้าเราพักอยู่เราจะจมลง ถ้าเราเพียรอยู่เราจะลอยขึ้น เราไม่พักเราไม่เพียร เราข้ามโอฆะได้ด้วยวิธีนี้ เทวดาได้พระโสดาบันเลย ได้มั้ย พวกเราฟังเหมือนเทวดา ใครได้ยกมือสิ เห็นมั้ย บารมีสู้เขาไม่ได้นะ เทวดาแจ้งแล้วเทวดาก็ไป แต่พอพระพุทธเจ้ามาเล่าให้พระอานนท์ฟังใช่มั้ย มนุษย์ทั้งหลายที่ฟังตามหลังเนี่ย ไม่แจ้ง อรรถกถาก็เลยต้องมาขยายความให้อีกนะ พระพุทธเจ้าขยายความให้เทวดามา ๑ ชั้นแล้ว ทีแรกท่านบอกว่าท่านไม่พักไม่เพียร พอขยายความท่านบอกว่า ถ้าพักอยู่เราจะจมลง ถ้าเพียรอยู่เราจะลอยขึ้น เราไม่พักไม่เพียร เราข้ามโอฆะได้ด้วยวิธีนี้ อรรถกถาต้องมาแปลต่ออีกทีเพื่อให้คนรุ่นเรารู้เรื่อง คำว่าพักอยู่เนี่ย ก็คือการปล่อยตัวปล่อยใจไปตามกิเลส คือกามสุขัลลิกานุโยคนั่นเอง การที่เราวิ่งพล่านไปทางตา วิ่งพล่านไปทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย วิ่งคิดนึกปรุงแต่งฟุ้งซ่านไป นั่นแหละคือการหลงโลก เราติดต่อโลกภายนอกผ่านทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ นั่นเอง เรียกว่าอายตนะที่เชื่อมต่อสัมผัสโลกข้างนอก ถ้าจิตวิ่งพล่านออกไปทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ อันนี้เรียกว่าหย่อนเกินไป แล้วทำไมท่านบอกว่า ถ้าเราพักอยู่เราจะจมลง ถ้าเราปล่อยจิตใจของเรานะ ร่อนเร่ไปเรื่อย ตามกิเลสไปเรื่อย จะจมลง นึกออกหรือยังว่าจะจมลงอย่างไร จะลงอบาย(ภูมิ)นะ ใจจะลงอบาย ลงที่ต่ำไปเรื่อย คำว่าเพียรอยู่เนี่ย ก็คือการฝึกหัดตัวเอง บังคับควบคุมตัวเอง คือ อัตตกิลมถานุโยค ยกตัวอย่างเวลาที่พวกเราคิดถึงการเดินจงกรม เราก็เริ่มบังคับกาย เริ่มบังคับใจ เวลาเราคิดถึงเรื่องการนั่งสมาธิ เราก็บังคับกาย บังคับใจ มีแต่บังคับจนมันนิ่งๆแข็งๆทื่อๆ ไม่แสดงไตรลักษณ์ แล้วท่านก็บอกว่า ถ้าเราเพียรอยู่คือบังคับตัวเองอยู่เนี่ย เราจะลอยขึ้น ลอยขึ้นไปอย่างไร ก็ไปสุคติใช่มั้ย สุคติมีตั้งแต่เป็นมนุษย์นะ เป็นเทวดา เป็นพรหม ลอยขึ้น ถ้าพักอยู่ คือปล่อยตัวปล่อยใจไปตามกิเลสจะจมลง สู่อบาย อบายภูมิทั้ง ๔ นะ ตั้งแต่สัตว์นรก สัตว์เดรัจฉาน อสุรกาย เปรต ขึ้นมาใกล้มนุษย์แล้ว ถ้าเพียรอยู่ พยายามควบคุมตัวเองบังคับตัวเอง ไม่ให้ตามใจกิเลส ก็จะได้เป็นมนุษย์ ได้เป็นเทวดา ได้เป็นพรหม ไม่นิพพาน ทั้งสองฝั่ง เห็นมั้ยว่าไม่มีช่องของพระนิพพาน ช่องของพระนิพพานนั้น ไม่พักและไม่เพียร ไม่พักคือไม่หลงไปไม่เผลอไป ไม่เพียรคือไม่ควบคุมกดข่มบังคับตัวเอง ช่องตรงกลางก็คือ การรู้รูปนามตามความเป็นจริง รู้กายรู้ใจตามความเป็นจริง ไม่ใช่เรื่องคิดเอาเอง และไม่ใช่เรื่องบังคับกายบังคับใจให้นิ่งนะ เพราะฉะนั้นทางสายกลางอยู่ตรงที่เราไม่พักไม่เพียร ไม่หย่อนไม่ตึงนั่นเอง ให้รู้รูปนามตามความเป็นจริง ที่หลวงพ่อย่อลงมาบอกว่า “ให้มีสติ รู้กายรู้ใจ ตามความเป็นจริง ด้วยจิตที่ตั้งมั่นและเป็นกลาง” ถ้าเราไม่รู้กายรู้ใจเราก็ย่อหย่อนไป ลืมกายลืมใจเมื่อไหร่ นึกเลยนะ ถ้าเมื่อไหร่เผลอ ขาดสติ ลืมกายลืมใจ ต้องรู้นะ ขณะนั้นย่อหย่อนแล้ว โอกาสที่จะไปอบายภูมิเริ่มเกิดขึ้นแล้ว ถ้าขณะไหนลงมือปฏิบัติแล้วก็แน่นไปหมดเลย ควบคุมตัวเองแน่นไปหมดเลย ขณะนั้นตึงเกินไป ไปสุคติได้แต่ไปนิพพานไม่ได้ เพราะอะไร เพราะไม่เห็นไตรลักษณ์ กายก็จะนิ่ง ใจก็จะนิ่ง เมื่อไม่เห็นความเป็นไตรลักษณ์ของรูปของนาม เรียกว่าไม่เห็นความจริง เมื่อไม่เห็นความจริงย่อมไม่เบื่อหน่ายไม่คลายความยึดถือ ไม่หลุดพ้นนะ เพราะฉะนั้นหน้าที่ของเรา เดินจิตเข้าสู่ทางสายกลางให้ได้
ดูกรท่านผู้นิรทุกข์ถ้าเราพักอยู่เราจะจมลงถ้าเราเพียรอยู่เราจะลอยขึ้นเราไ...ครั้งหนึ่งมีเทวดา ไปทูลถามพระพุทธเจ้า เทวดานี้ท่านนึกว่าตัวเองเป็นพระอรหันต์ ก็ไปทูลถามพระพุทธเจ้า คล้ายๆจะไปแลกเปลี่ยนความรู้กัน มาที่วัดนะ กลางคืน ยังราตรีให้สว่างไสวไปหมดเลย ด้วยรัศมีของเทวดา พระที่มีหูทิพย์ตาทิพย์ก็จะเห็น ถ้าไม่มีก็ไม่เห็น สว่างไสวด้วยรัศมีของเทวดานี้ เทวดาไปถึงก็ยืนพนมมือนะ แล้วทูลถามพระพุทธเจ้า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์ข้ามโอฆะ โอฆะแปลว่าห้วงน้ำ ห้วงกิเลสนั่นเองแหละ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์ข้ามโอฆะได้อย่างไร คล้ายๆชวนแลกเปลี่ยนทัศนะกันนะ เดี๋ยวท่านตอบแล้วเราจะตอบบ้าง ว่าชั้นข้ามมาด้วยวิธีนี้นะ ท่านข้ามมาได้ด้วยวิธีไหน กะจะมาชวนคุยธรรมะนะ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์ข้ามโอฆะได้อย่างไร พระพุทธเจ้าท่านก็ตอบ ดูกรท่านนิรทุกข์ นิรทุกข์แปลว่าผู้ไม่มีความทุกข์ อันนี้เป็นคำยกย่องนะ จริงๆเทวดานี้ยังทุกข์แต่ยังไม่เห็นหรอก ดูก่อนท่านนิรทุกข์ เราข้ามโอฆะได้นะ เพราะเราไม่พักและเราไม่เพียร เทวดาเจอหมัดเด็ดเข้า ไม่พักไม่เพียร หา..ข้ามโอฆะได้ด้วยการไม่พักและไม่เพียรเหรอ ไม่พักเนี่ยพอเข้าใจใช่มั้ย ขยันปฏิบัติไป ไม่เพียรด้วยเหรอ เออ.. เทวดาผู้(คิดว่าตนเอง – ผู้ถอด)เป็นพระอรหันต์งงแล้ว เอ๊ะ พระพุทธเจ้าข้ามโอฆะด้วยการไม่พักและไม่เพียร เป็นไปได้อย่างไร มีแต่บอกให้เพียรเยอะๆไปเลย ใช่มั้ย เนี่ยท่านแกล้งน็อคนะ น็อค ทำให้งง เทวดาก็หมดความถือตัวนะ ทูลถามท่าน เป็นอย่างไรพระเจ้าข้า ไม่พักไม่เพียร ให้ช่วยขยายความหน่อย ไม่เข้าใจ ยอมรับแล้วนะว่าไม่เข้าใจ พระพุทธเจ้าท่านขยายความ ดูกรท่านผู้นิรทุกข์ ถ้าเราพักอยู่เราจะจมลง ถ้าเราเพียรอยู่เราจะลอยขึ้น เราไม่พักเราไม่เพียร เราข้ามโอฆะได้ด้วยวิธีนี้ เทวดาได้พระโสดาบันเลย ได้มั้ย พวกเราฟังเหมือนเทวดา ใครได้ยกมือสิ เห็นมั้ย บารมีสู้เขาไม่ได้นะ เทวดาแจ้งแล้วเทวดาก็ไป แต่พอพระพุทธเจ้ามาเล่าให้พระอานนท์ฟังใช่มั้ย มนุษย์ทั้งหลายที่ฟังตามหลังเนี่ย ไม่แจ้ง อรรถกถาก็เลยต้องมาขยายความให้อีกนะ พระพุทธเจ้าขยายความให้เทวดามา ๑ ชั้นแล้ว ทีแรกท่านบอกว่าท่านไม่พักไม่เพียร พอขยายความท่านบอกว่า ถ้าพักอยู่เราจะจมลง ถ้าเพียรอยู่เราจะลอยขึ้น เราไม่พักไม่เพียร เราข้ามโอฆะได้ด้วยวิธีนี้ อรรถกถาต้องมาแปลต่ออีกทีเพื่อให้คนรุ่นเรารู้เรื่อง คำว่าพักอยู่เนี่ย ก็คือการปล่อยตัวปล่อยใจไปตามกิเลส คือกามสุขัลลิกานุโยคนั่นเอง การที่เราวิ่งพล่านไปทางตา วิ่งพล่านไปทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย วิ่งคิดนึกปรุงแต่งฟุ้งซ่านไป นั่นแหละคือการหลงโลก เราติดต่อโลกภายนอกผ่านทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ นั่นเอง เรียกว่าอายตนะที่เชื่อมต่อสัมผัสโลกข้างนอก ถ้าจิตวิ่งพล่านออกไปทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ อันนี้เรียกว่าหย่อนเกินไป แล้วทำไมท่านบอกว่า ถ้าเราพักอยู่เราจะจมลง ถ้าเราปล่อยจิตใจของเรานะ ร่อนเร่ไปเรื่อย ตามกิเลสไปเรื่อย จะจมลง นึกออกหรือยังว่าจะจมลงอย่างไร จะลงอบาย(ภูมิ)นะ ใจจะลงอบาย ลงที่ต่ำไปเรื่อย คำว่าเพียรอยู่เนี่ย ก็คือการฝึกหัดตัวเอง บังคับควบคุมตัวเอง คือ อัตตกิลมถานุโยค ยกตัวอย่างเวลาที่พวกเราคิดถึงการเดินจงกรม เราก็เริ่มบังคับกาย เริ่มบังคับใจ เวลาเราคิดถึงเรื่องการนั่งสมาธิ เราก็บังคับกาย บังคับใจ มีแต่บังคับจนมันนิ่งๆแข็งๆทื่อๆ ไม่แสดงไตรลักษณ์ แล้วท่านก็บอกว่า ถ้าเราเพียรอยู่คือบังคับตัวเองอยู่เนี่ย เราจะลอยขึ้น ลอยขึ้นไปอย่างไร ก็ไปสุคติใช่มั้ย สุคติมีตั้งแต่เป็นมนุษย์นะ เป็นเทวดา เป็นพรหม ลอยขึ้น ถ้าพักอยู่ คือปล่อยตัวปล่อยใจไปตามกิเลสจะจมลง สู่อบาย อบายภูมิทั้ง ๔ นะ ตั้งแต่สัตว์นรก สัตว์เดรัจฉาน อสุรกาย เปรต ขึ้นมาใกล้มนุษย์แล้ว ถ้าเพียรอยู่ พยายามควบคุมตัวเองบังคับตัวเอง ไม่ให้ตามใจกิเลส ก็จะได้เป็นมนุษย์ ได้เป็นเทวดา ได้เป็นพรหม ไม่นิพพาน ทั้งสองฝั่ง เห็นมั้ยว่าไม่มีช่องของพระนิพพาน ช่องของพระนิพพานนั้น ไม่พักและไม่เพียร ไม่พักคือไม่หลงไปไม่เผลอไป ไม่เพียรคือไม่ควบคุมกดข่มบังคับตัวเอง ช่องตรงกลางก็คือ การรู้รูปนามตามความเป็นจริง รู้กายรู้ใจตามความเป็นจริง ไม่ใช่เรื่องคิดเอาเอง และไม่ใช่เรื่องบังคับกายบังคับใจให้นิ่งนะ เพราะฉะนั้นทางสายกลางอยู่ตรงที่เราไม่พักไม่เพียร ไม่หย่อนไม่ตึงนั่นเอง ให้รู้รูปนามตามความเป็นจริง ที่หลวงพ่อย่อลงมาบอกว่า “ให้มีสติ รู้กายรู้ใจ ตามความเป็นจริง ด้วยจิตที่ตั้งมั่นและเป็นกลาง” ถ้าเราไม่รู้กายรู้ใจเราก็ย่อหย่อนไป ลืมกายลืมใจเมื่อไหร่ นึกเลยนะ ถ้าเมื่อไหร่เผลอ ขาดสติ ลืมกายลืมใจ ต้องรู้นะ ขณะนั้นย่อหย่อนแล้ว โอกาสที่จะไปอบายภูมิเริ่มเกิดขึ้นแล้ว ถ้าขณะไหนลงมือปฏิบัติแล้วก็แน่นไปหมดเลย ควบคุมตัวเองแน่นไปหมดเลย ขณะนั้นตึงเกินไป ไปสุคติได้แต่ไปนิพพานไม่ได้ เพราะอะไร เพราะไม่เห็นไตรลักษณ์ กายก็จะนิ่ง ใจก็จะนิ่ง เมื่อไม่เห็นความเป็นไตรลักษณ์ของรูปของนาม เรียกว่าไม่เห็นความจริง เมื่อไม่เห็นความจริงย่อมไม่เบื่อหน่ายไม่คลายความยึดถือ ไม่หลุดพ้นนะ เพราะฉะนั้นหน้าที่ของเรา เดินจิตเข้าสู่ทางสายกลางให้ได้
ดูกรท่านผู้นิรทุกข์ถ้าเราพักอยู่เราจะจมลงถ้าเราเพียรอยู่เราจะลอยขึ้นเราไ...ครั้งหนึ่งมีเทวดา ไปทูลถามพระพุทธเจ้า เทวดานี้ท่านนึกว่าตัวเองเป็นพระอรหันต์ ก็ไปทูลถามพระพุทธเจ้า คล้ายๆจะไปแลกเปลี่ยนความรู้กัน มาที่วัดนะ กลางคืน ยังราตรีให้สว่างไสวไปหมดเลย ด้วยรัศมีของเทวดา พระที่มีหูทิพย์ตาทิพย์ก็จะเห็น ถ้าไม่มีก็ไม่เห็น สว่างไสวด้วยรัศมีของเทวดานี้ เทวดาไปถึงก็ยืนพนมมือนะ แล้วทูลถามพระพุทธเจ้า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์ข้ามโอฆะ โอฆะแปลว่าห้วงน้ำ ห้วงกิเลสนั่นเองแหละ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์ข้ามโอฆะได้อย่างไร คล้ายๆชวนแลกเปลี่ยนทัศนะกันนะ เดี๋ยวท่านตอบแล้วเราจะตอบบ้าง ว่าชั้นข้ามมาด้วยวิธีนี้นะ ท่านข้ามมาได้ด้วยวิธีไหน กะจะมาชวนคุยธรรมะนะ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์ข้ามโอฆะได้อย่างไร พระพุทธเจ้าท่านก็ตอบ ดูกรท่านนิรทุกข์ นิรทุกข์แปลว่าผู้ไม่มีความทุกข์ อันนี้เป็นคำยกย่องนะ จริงๆเทวดานี้ยังทุกข์แต่ยังไม่เห็นหรอก ดูก่อนท่านนิรทุกข์ เราข้ามโอฆะได้นะ เพราะเราไม่พักและเราไม่เพียร เทวดาเจอหมัดเด็ดเข้า ไม่พักไม่เพียร หา..ข้ามโอฆะได้ด้วยการไม่พักและไม่เพียรเหรอ ไม่พักเนี่ยพอเข้าใจใช่มั้ย ขยันปฏิบัติไป ไม่เพียรด้วยเหรอ เออ.. เทวดาผู้(คิดว่าตนเอง – ผู้ถอด)เป็นพระอรหันต์งงแล้ว เอ๊ะ พระพุทธเจ้าข้ามโอฆะด้วยการไม่พักและไม่เพียร เป็นไปได้อย่างไร มีแต่บอกให้เพียรเยอะๆไปเลย ใช่มั้ย เนี่ยท่านแกล้งน็อคนะ น็อค ทำให้งง เทวดาก็หมดความถือตัวนะ ทูลถามท่าน เป็นอย่างไรพระเจ้าข้า ไม่พักไม่เพียร ให้ช่วยขยายความหน่อย ไม่เข้าใจ ยอมรับแล้วนะว่าไม่เข้าใจ พระพุทธเจ้าท่านขยายความ ดูกรท่านผู้นิรทุกข์ ถ้าเราพักอยู่เราจะจมลง ถ้าเราเพียรอยู่เราจะลอยขึ้น เราไม่พักเราไม่เพียร เราข้ามโอฆะได้ด้วยวิธีนี้ เทวดาได้พระโสดาบันเลย ได้มั้ย พวกเราฟังเหมือนเทวดา ใครได้ยกมือสิ เห็นมั้ย บารมีสู้เขาไม่ได้นะ เทวดาแจ้งแล้วเทวดาก็ไป แต่พอพระพุทธเจ้ามาเล่าให้พระอานนท์ฟังใช่มั้ย มนุษย์ทั้งหลายที่ฟังตามหลังเนี่ย ไม่แจ้ง อรรถกถาก็เลยต้องมาขยายความให้อีกนะ พระพุทธเจ้าขยายความให้เทวดามา ๑ ชั้นแล้ว ทีแรกท่านบอกว่าท่านไม่พักไม่เพียร พอขยายความท่านบอกว่า ถ้าพักอยู่เราจะจมลง ถ้าเพียรอยู่เราจะลอยขึ้น เราไม่พักไม่เพียร เราข้ามโอฆะได้ด้วยวิธีนี้ อรรถกถาต้องมาแปลต่ออีกทีเพื่อให้คนรุ่นเรารู้เรื่อง คำว่าพักอยู่เนี่ย ก็คือการปล่อยตัวปล่อยใจไปตามกิเลส คือกามสุขัลลิกานุโยคนั่นเอง การที่เราวิ่งพล่านไปทางตา วิ่งพล่านไปทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย วิ่งคิดนึกปรุงแต่งฟุ้งซ่านไป นั่นแหละคือการหลงโลก เราติดต่อโลกภายนอกผ่านทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ นั่นเอง เรียกว่าอายตนะที่เชื่อมต่อสัมผัสโลกข้างนอก ถ้าจิตวิ่งพล่านออกไปทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ อันนี้เรียกว่าหย่อนเกินไป แล้วทำไมท่านบอกว่า ถ้าเราพักอยู่เราจะจมลง ถ้าเราปล่อยจิตใจของเรานะ ร่อนเร่ไปเรื่อย ตามกิเลสไปเรื่อย จะจมลง นึกออกหรือยังว่าจะจมลงอย่างไร จะลงอบาย(ภูมิ)นะ ใจจะลงอบาย ลงที่ต่ำไปเรื่อย คำว่าเพียรอยู่เนี่ย ก็คือการฝึกหัดตัวเอง บังคับควบคุมตัวเอง คือ อัตตกิลมถานุโยค ยกตัวอย่างเวลาที่พวกเราคิดถึงการเดินจงกรม เราก็เริ่มบังคับกาย เริ่มบังคับใจ เวลาเราคิดถึงเรื่องการนั่งสมาธิ เราก็บังคับกาย บังคับใจ มีแต่บังคับจนมันนิ่งๆแข็งๆทื่อๆ ไม่แสดงไตรลักษณ์ แล้วท่านก็บอกว่า ถ้าเราเพียรอยู่คือบังคับตัวเองอยู่เนี่ย เราจะลอยขึ้น ลอยขึ้นไปอย่างไร ก็ไปสุคติใช่มั้ย สุคติมีตั้งแต่เป็นมนุษย์นะ เป็นเทวดา เป็นพรหม ลอยขึ้น ถ้าพักอยู่ คือปล่อยตัวปล่อยใจไปตามกิเลสจะจมลง สู่อบาย อบายภูมิทั้ง ๔ นะ ตั้งแต่สัตว์นรก สัตว์เดรัจฉาน อสุรกาย เปรต ขึ้นมาใกล้มนุษย์แล้ว ถ้าเพียรอยู่ พยายามควบคุมตัวเองบังคับตัวเอง ไม่ให้ตามใจกิเลส ก็จะได้เป็นมนุษย์ ได้เป็นเทวดา ได้เป็นพรหม ไม่นิพพาน ทั้งสองฝั่ง เห็นมั้ยว่าไม่มีช่องของพระนิพพาน ช่องของพระนิพพานนั้น ไม่พักและไม่เพียร ไม่พักคือไม่หลงไปไม่เผลอไป ไม่เพียรคือไม่ควบคุมกดข่มบังคับตัวเอง ช่องตรงกลางก็คือ การรู้รูปนามตามความเป็นจริง รู้กายรู้ใจตามความเป็นจริง ไม่ใช่เรื่องคิดเอาเอง และไม่ใช่เรื่องบังคับกายบังคับใจให้นิ่งนะ เพราะฉะนั้นทางสายกลางอยู่ตรงที่เราไม่พักไม่เพียร ไม่หย่อนไม่ตึงนั่นเอง ให้รู้รูปนามตามความเป็นจริง ที่หลวงพ่อย่อลงมาบอกว่า “ให้มีสติ รู้กายรู้ใจ ตามความเป็นจริง ด้วยจิตที่ตั้งมั่นและเป็นกลาง” ถ้าเราไม่รู้กายรู้ใจเราก็ย่อหย่อนไป ลืมกายลืมใจเมื่อไหร่ นึกเลยนะ ถ้าเมื่อไหร่เผลอ ขาดสติ ลืมกายลืมใจ ต้องรู้นะ ขณะนั้นย่อหย่อนแล้ว โอกาสที่จะไปอบายภูมิเริ่มเกิดขึ้นแล้ว ถ้าขณะไหนลงมือปฏิบัติแล้วก็แน่นไปหมดเลย ควบคุมตัวเองแน่นไปหมดเลย ขณะนั้นตึงเกินไป ไปสุคติได้แต่ไปนิพพานไม่ได้ เพราะอะไร เพราะไม่เห็นไตรลักษณ์ กายก็จะนิ่ง ใจก็จะนิ่ง เมื่อไม่เห็นความเป็นไตรลักษณ์ของรูปของนาม เรียกว่าไม่เห็นความจริง เมื่อไม่เห็นความจริงย่อมไม่เบื่อหน่ายไม่คลายความยึดถือ ไม่หลุดพ้นนะ เพราะฉะนั้นหน้าที่ของเรา เดินจิตเข้าสู่ทางสายกลางให้ได้
ดูกรท่านผู้นิรทุกข์ถ้าเราพักอยู่เราจะจมลงถ้าเราเพียรอยู่เราจะลอยขึ้นเราไ...ครั้งหนึ่งมีเทวดา ไปทูลถามพระพุทธเจ้า เทวดานี้ท่านนึกว่าตัวเองเป็นพระอรหันต์ ก็ไปทูลถามพระพุทธเจ้า คล้ายๆจะไปแลกเปลี่ยนความรู้กัน มาที่วัดนะ กลางคืน ยังราตรีให้สว่างไสวไปหมดเลย ด้วยรัศมีของเทวดา พระที่มีหูทิพย์ตาทิพย์ก็จะเห็น ถ้าไม่มีก็ไม่เห็น สว่างไสวด้วยรัศมีของเทวดานี้ เทวดาไปถึงก็ยืนพนมมือนะ แล้วทูลถามพระพุทธเจ้า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์ข้ามโอฆะ โอฆะแปลว่าห้วงน้ำ ห้วงกิเลสนั่นเองแหละ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์ข้ามโอฆะได้อย่างไร คล้ายๆชวนแลกเปลี่ยนทัศนะกันนะ เดี๋ยวท่านตอบแล้วเราจะตอบบ้าง ว่าชั้นข้ามมาด้วยวิธีนี้นะ ท่านข้ามมาได้ด้วยวิธีไหน กะจะมาชวนคุยธรรมะนะ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์ข้ามโอฆะได้อย่างไร พระพุทธเจ้าท่านก็ตอบ ดูกรท่านนิรทุกข์ นิรทุกข์แปลว่าผู้ไม่มีความทุกข์ อันนี้เป็นคำยกย่องนะ จริงๆเทวดานี้ยังทุกข์แต่ยังไม่เห็นหรอก ดูก่อนท่านนิรทุกข์ เราข้ามโอฆะได้นะ เพราะเราไม่พักและเราไม่เพียร เทวดาเจอหมัดเด็ดเข้า ไม่พักไม่เพียร หา..ข้ามโอฆะได้ด้วยการไม่พักและไม่เพียรเหรอ ไม่พักเนี่ยพอเข้าใจใช่มั้ย ขยันปฏิบัติไป ไม่เพียรด้วยเหรอ เออ.. เทวดาผู้(คิดว่าตนเอง – ผู้ถอด)เป็นพระอรหันต์งงแล้ว เอ๊ะ พระพุทธเจ้าข้ามโอฆะด้วยการไม่พักและไม่เพียร เป็นไปได้อย่างไร มีแต่บอกให้เพียรเยอะๆไปเลย ใช่มั้ย เนี่ยท่านแกล้งน็อคนะ น็อค ทำให้งง เทวดาก็หมดความถือตัวนะ ทูลถามท่าน เป็นอย่างไรพระเจ้าข้า ไม่พักไม่เพียร ให้ช่วยขยายความหน่อย ไม่เข้าใจ ยอมรับแล้วนะว่าไม่เข้าใจ พระพุทธเจ้าท่านขยายความ ดูกรท่านผู้นิรทุกข์ ถ้าเราพักอยู่เราจะจมลง ถ้าเราเพียรอยู่เราจะลอยขึ้น เราไม่พักเราไม่เพียร เราข้ามโอฆะได้ด้วยวิธีนี้ เทวดาได้พระโสดาบันเลย ได้มั้ย พวกเราฟังเหมือนเทวดา ใครได้ยกมือสิ เห็นมั้ย บารมีสู้เขาไม่ได้นะ เทวดาแจ้งแล้วเทวดาก็ไป แต่พอพระพุทธเจ้ามาเล่าให้พระอานนท์ฟังใช่มั้ย มนุษย์ทั้งหลายที่ฟังตามหลังเนี่ย ไม่แจ้ง อรรถกถาก็เลยต้องมาขยายความให้อีกนะ พระพุทธเจ้าขยายความให้เทวดามา ๑ ชั้นแล้ว ทีแรกท่านบอกว่าท่านไม่พักไม่เพียร พอขยายความท่านบอกว่า ถ้าพักอยู่เราจะจมลง ถ้าเพียรอยู่เราจะลอยขึ้น เราไม่พักไม่เพียร เราข้ามโอฆะได้ด้วยวิธีนี้ อรรถกถาต้องมาแปลต่ออีกทีเพื่อให้คนรุ่นเรารู้เรื่อง คำว่าพักอยู่เนี่ย ก็คือการปล่อยตัวปล่อยใจไปตามกิเลส คือกามสุขัลลิกานุโยคนั่นเอง การที่เราวิ่งพล่านไปทางตา วิ่งพล่านไปทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย วิ่งคิดนึกปรุงแต่งฟุ้งซ่านไป นั่นแหละคือการหลงโลก เราติดต่อโลกภายนอกผ่านทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ นั่นเอง เรียกว่าอายตนะที่เชื่อมต่อสัมผัสโลกข้างนอก ถ้าจิตวิ่งพล่านออกไปทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ อันนี้เรียกว่าหย่อนเกินไป แล้วทำไมท่านบอกว่า ถ้าเราพักอยู่เราจะจมลง ถ้าเราปล่อยจิตใจของเรานะ ร่อนเร่ไปเรื่อย ตามกิเลสไปเรื่อย จะจมลง นึกออกหรือยังว่าจะจมลงอย่างไร จะลงอบาย(ภูมิ)นะ ใจจะลงอบาย ลงที่ต่ำไปเรื่อย คำว่าเพียรอยู่เนี่ย ก็คือการฝึกหัดตัวเอง บังคับควบคุมตัวเอง คือ อัตตกิลมถานุโยค ยกตัวอย่างเวลาที่พวกเราคิดถึงการเดินจงกรม เราก็เริ่มบังคับกาย เริ่มบังคับใจ เวลาเราคิดถึงเรื่องการนั่งสมาธิ เราก็บังคับกาย บังคับใจ มีแต่บังคับจนมันนิ่งๆแข็งๆทื่อๆ ไม่แสดงไตรลักษณ์ แล้วท่านก็บอกว่า ถ้าเราเพียรอยู่คือบังคับตัวเองอยู่เนี่ย เราจะลอยขึ้น ลอยขึ้นไปอย่างไร ก็ไปสุคติใช่มั้ย สุคติมีตั้งแต่เป็นมนุษย์นะ เป็นเทวดา เป็นพรหม ลอยขึ้น ถ้าพักอยู่ คือปล่อยตัวปล่อยใจไปตามกิเลสจะจมลง สู่อบาย อบายภูมิทั้ง ๔ นะ ตั้งแต่สัตว์นรก สัตว์เดรัจฉาน อสุรกาย เปรต ขึ้นมาใกล้มนุษย์แล้ว ถ้าเพียรอยู่ พยายามควบคุมตัวเองบังคับตัวเอง ไม่ให้ตามใจกิเลส ก็จะได้เป็นมนุษย์ ได้เป็นเทวดา ได้เป็นพรหม ไม่นิพพาน ทั้งสองฝั่ง เห็นมั้ยว่าไม่มีช่องของพระนิพพาน ช่องของพระนิพพานนั้น ไม่พักและไม่เพียร ไม่พักคือไม่หลงไปไม่เผลอไป ไม่เพียรคือไม่ควบคุมกดข่มบังคับตัวเอง ช่องตรงกลางก็คือ การรู้รูปนามตามความเป็นจริง รู้กายรู้ใจตามความเป็นจริง ไม่ใช่เรื่องคิดเอาเอง และไม่ใช่เรื่องบังคับกายบังคับใจให้นิ่งนะ เพราะฉะนั้นทางสายกลางอยู่ตรงที่เราไม่พักไม่เพียร ไม่หย่อนไม่ตึงนั่นเอง ให้รู้รูปนามตามความเป็นจริง ที่หลวงพ่อย่อลงมาบอกว่า “ให้มีสติ รู้กายรู้ใจ ตามความเป็นจริง ด้วยจิตที่ตั้งมั่นและเป็นกลาง” ถ้าเราไม่รู้กายรู้ใจเราก็ย่อหย่อนไป ลืมกายลืมใจเมื่อไหร่ นึกเลยนะ ถ้าเมื่อไหร่เผลอ ขาดสติ ลืมกายลืมใจ ต้องรู้นะ ขณะนั้นย่อหย่อนแล้ว โอกาสที่จะไปอบายภูมิเริ่มเกิดขึ้นแล้ว ถ้าขณะไหนลงมือปฏิบัติแล้วก็แน่นไปหมดเลย ควบคุมตัวเองแน่นไปหมดเลย ขณะนั้นตึงเกินไป ไปสุคติได้แต่ไปนิพพานไม่ได้ เพราะอะไร เพราะไม่เห็นไตรลักษณ์ กายก็จะนิ่ง ใจก็จะนิ่ง เมื่อไม่เห็นความเป็นไตรลักษณ์ของรูปของนาม เรียกว่าไม่เห็นความจริง เมื่อไม่เห็นความจริงย่อมไม่เบื่อหน่ายไม่คลายความยึดถือ ไม่หลุดพ้นนะ เพราะฉะนั้นหน้าที่ของเรา เดินจิตเข้าสู่ทางสายกลางให้ได้
ในกาลสมัยที่พระผู้มีภาคเจ้าเป็นอกิตติดาบส พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงประกาศเพียงบุญจริยา ที่ทำได้ยากของ พระองค์ในอัตภาพนี้แก่พระมหาเถระในวรรคนี้ ด้วยประการฉะนี้. แต่ใน เทศนาชาดก ท่านประกาศถึงท้าวสักกะเข้าไปหาในวันที่สี่ แล้วทรงทราบ อัธยาศัยของพระโพธิสัตว์ การประทานพร การแสดงธรรมของพระโพธิ- สัตว์ด้วยหัวข้อการรับพร และความหวังไทยธรรมและทักขิไณยบุคคล และ การไม่มาของท้าวสักกะ. สมดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า :- ท้าวสักกะผู้เป็นภูตบดี ทอดพระเนตร เห็นท่านอกิตติดาบส พักสำราญอยู่ จึงถามว่า ข้าแต่มหาพรหม พระคุณเจ้าปรารถนาอะไรจึง อยู่ผู้เดียวในฤดูร้อน. ท่านท้าวสักกรินทรเทพ ความเกิดใหม่ เป็นทุกข์ การแตกทำลายแห่งสรีระ เป็นทุกข์ การตายด้วยความหลง เป็นทุกข์ เพราะฉะนั้น อาตมาจึงอยู่ผู้เดียว. ข้าแต่ท่านกัสสปะ เมื่อพระคุณเจ้ากล่าว คำสุภาษิตอันสมควรนี้แล้ว พระคุณเจ้า ปรารถนาอะไร ข้าพเจ้าจะให้พรนั้นแก่ท่าน. ...................................................... เนื่องจากพระสูตรนี้ยาวจึงขอตอบเป็นตอนๆเพื่อความเข้าใจง่ายนะครับ ท้าวสักกะได้เสด็จมาหาท่านอกิตติดาบส ซึ่งเป็นพระโพธิสัตว์ ได้สนทนากัน และท้าวสักกะประทานพรแก่ท่านอกิตติดาบสด้วย ที่จรืงการขอพร คือการขอโอกาศที่จะทำกุศล นะครับ ไม่ใช่ไปขอให้ผู้อื่นมาขอให้ผลของกรรมดีเช่น มั่งคั่งร่ำรวย หรือมีสุขภาพดี และอื่นๆ เกิดแก่ผู้ขอ โดยผู้ขอนั้นได้ทำเหตุหรือเปล่าก็ไม่ทราบ และเหตุสมควรแก่ผลไหม ตอนแรกนี้ ท้าวสักกะถามว่า พระคุณเจ้าปราถนาอะไร จึงอยู่ผู้เดียว ท่านอกิตติดาบส ตอบ ความเกิดใหม่เป็นทุกข์ การแตกทำลายแห่งสรีระ เป็นทุกข์ การตายด้วยความหลง เป็นทุกข์ เพราะฉะนั้น อาตมาจึงอยู่ผู้เดียว ท้าวสักกะฟัง คำสุภาษิตอันสมควแล้ว จะให้พรแก่ท่านอกิตติดาบส พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 48 ท่านท้าวสักกะผู้เป็นจอมเทพทั้งหลาย หากท่านจะให้พรแก่อาตมา ขอจงให้พรดังนี้ คนทั้งหลายได้บุตร ภรรยา ทรัพย์สมบัติ และ ของเป็นที่รักด้วยความโลภใดแล้วไม่เดือดร้อน ขอความโลภนั้นไม่พึงอยู่ในอาตมาเลย. ........................................... ท่านอกิตติดาบส ขอพร ว่า การได้บุตร ภรรยา ทรัพย์สมบัติ และของที่เป็นที่รัก แล้วไม่เดือดร้อน ขออาตมาอย่าได้มีความโลภอย่างนั้นเลย หมายความว่า แม้แต่ความโลภ ความยินดีพอใจ ที่ถูกต้องทำนองคลองธรรม แล้วไม่เดือดร้อน ซึ่งคนทั้งหลาย ชอบและต้องการกันทั้งนั้น ท่านอกิตติดาบสขออย่าให้มีความโลภนั้นเลย คือท่านไม่ต้องการ บุตร ภรรยา ทรัพย์สมบัติ และของที่เป็นที่รัก ท่านจะมีความสุขความสบายใจมาก พราะไม่ต้องคี้นรนขวนขวายทำกิจการงานเหน็จเหนื่อย วิตกกังวล เดือดร้อนทั้งกายและใจ แสดงว่าท่านไม่ต้องการให้ความโลภทีไม่เดือดร้อนเกิดกับท่าน เป็นการขัดเกลาไม่ให้ติดในโลภะมากขึ้น เพราะยีงได้ยิ่งติด และท่านอาจจะเห็นโทษของโลภนั้น จึงขอ ให้ความโลภนั้นอย่าอยู่ในท่านเลย ................... ข้าแต่ท่านกัสสปะ เมื่อพระคุณเจ้ากล่าว ดีแล้ว ฯลฯ พระคุณเจ้าปรารถนาอะไรอีก. ท่านท้าวสักกะผู้เป็นจอมเทพทั้งหลาย หากท่านจะให้พรแก่อาตมา ขอจงให้พรดังนี้ นา ไร่ ทอง โค ม้า ทาสและบุรุษ ย่อม เสื่อมไปด้วยโทษใด โทษนั้น ไม่พึงอยู่ใน อาตมาเลย. ........................................... ท่านอกิตติดาบส ขอพรว่า โทษอย่ามีในท่านเลย ซึ่งหมายถึงอกุศลที่เป็นเหตุให้ นา ไร่ ทอง โค ม้าทาสและบุรุษย่อมเสื่อมไป ท่านขอโอกาศที่ไม่ทำ อกุศลใด ซึ่งเป็นเหตุที่ ทำให้ นา ไร่ ทอง โค ม้า ทาสและบุรษ เสื่อมเสียไป ขออกุศลนั้นไม่พึงอบู่ในท่านเลย ..................................... ข้าแต่ท่านกัสสปะ ฯลฯ พระคุณเจ้า ปรารถนาอะไรอีก. ท่านท้าวสักกะหากท่านจะให้พรแก่อาตมา ขอจงให้พรดังนี้ บุคคลไม่พึงเห็น ไม่พึงได้ยิน คนพาล ไม่พึงอยู่ร่วมด้วยคนพาล ไม่พึง พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 49 กระทำ และไม่พึงชอบใจการสนทนาปราศรัย ด้วยคนพาล. ข้าแต่ท่านกัสสปะ เพราะอะไรท่านจึง ไม่ชอบคนพาล ขอจงบอกเหตุ เพราะเหตุไร พระคุณเจ้าจึงไม่ปรารถนาที่จะเห็นคนพาล. คนพาลย่อมแนะนำสิ่งไม่ควรแนะนำ ย่อมขวนขวายในกิจอันไม่ใช่ธุระ คนพาล แนะนำให้ดีได้ยาก พูดดีหวังจะให้เขาเป็นคน ประเสริฐกลับโกรธ คนพาลนั้นไม่รู้วินัย การ ไม่เห็นคนพาลได้เป็นความดี. ข้าแต่ท่านกัสสปะ พระคุณเจ้าปรารถนา อะไรอีก. ท่านท้าวสักกะจอมเทพ หากท่านจะให้ พรแก่อาตมา ขอจงให้พรดังนี้ บุคคลพึงเห็น นักปราชญ์ พึงฟังนักปราชญ์ พึงอยู่ร่วมกับ นักปราชญ์ พึงกระทำและพึงชอบใจการ สนทนาปราศรัยกับนักปราชญ์. พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 50 ข้าแต่ท่านกัสสปะ เพราะเหตุไร พระ- คุณเจ้าจึงชอบใจนักปราชญ์ ขอจงบอกเหตุนั้น เพราะเหตุไร พระคุณเจ้าจึงปรารถนาจะเห็น นักปราชญ์. นักปราชญ์แนะนำสิ่งที่ควรแนะนำไม่ ขวนขวายในกิจที่มิใช่ธุระ นักปราชญ์แนะนำ ได้ง่าย พูดหวังจะให้ดีก็ไม่โกรธ นักปราชญ์ ย่อมรู้จักวินัย การสมโคมกับนักปราชญ์เป็น ความดี. พระคุณเจ้าปรารถนาอะไรอีก. ท่านท้าวสักกะผู้เป็นจอมเทพ หากท่าน จะให้พรแก่อาตมา ขอจงให้พรดังนี้ เมื่อราตรี หมดไป ดวงอาทิตย์ขึ้นเป็นเจ้าโลก ของ บริโภคอันเป็นทิพย์ฟังปรากฏ ผู้ขอฟังเป็นผู้มี ศีล. เมื่ออาตมาให้ ของบริโภคไม่หมดสิ้นไป ครั้นให้แล้วอาตมาไม่พึงเดือดร้อน เมื่อให้จิต พึงผ่องใส ท่านท้าวสักกะขอจงให้พรนี้เถิด. พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 51 พระคุณเจ้าปรารถนาอะไรอีก. ท่านท้าวสักกะผู้เป็นจอมเทพ หากท่าน จะให้พรแก่อาตมา ขอจงให้พรดังนี้ ท่านไม่ พึงกลับมาหาอาตมาอีก ท่านท้าวสักกะ ขอจง ให้พรนี้เถิด. เทพบุตร หรือ เทพธิดา ปรารถนาจะเห็น ด้วยการประพฤติพรตเป็นอันมาก อะไรจะเป็น ภัยในการเห็นของอาตมา. ตบะพึงแตกไป เพราะเห็นสีสรรของ พวกเทพเช่นนั้น ผู้ล้วนแล้วไปด้วยความสุข สมบูรณ์ในกามนี้เป็นภัยในการเห็นของพระ- คุณเจ้า. ลำดับนั้นท้าวสักกะตรัสว่า ดีแล้วพระคุณเจ้า ตั้งแต่บัดนี้ไปข้าพเจ้า จักไม่มาหาพระคุณเจ้าอีกแล้ว ทรงกราบพระดาบสนั้นเสด็จกลับไป. พระ- มหาสัตว์อยู่ ณ การทวีปนั้นตลอดชีวิต เมื่อสิ้นอายุก็ไปบังเกิดในพรหมโลก. ในครั้งนั้นพระอนุรุทธเถระเป็นท้าวสักกะ. พระโลกนาถเจ้าเป็น อกิตติบัณฑิต.
อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธหลวงพ่อจะบอกแลนด์มาร์คที่สำคัญไว้นะ แลนด์มาร์คที่สำคัญก่อนที่จะเกิดอริยมรรคนี่ จิตจะเกิดปัญญาชนิดหนึ่ง เรียกว่า "สังขารุเบกขาญาณ"สังขารุเบกขาญาณ ญาณ แปลว่าปัญญา มีปัญญาที่จะเป็นอุเบกขา เป็นกลางต่อสังขาร อะไรที่เรียกว่า สังขาร ความปรุงแต่งทั้งปวงเรียกว่าสังขาร ร่างกายก็เป็นสังขารนะ ความสุข ความทุกข์ ก็เป็นสังขาร ความโลภ ความโกรธ ความหลง ก็เป็นสังขาร อะไรๆ ก็เป็นสังขาร ในขันธ์ 5 นี่แหล่ะ คือ ตัวสังขารทั้งหมด ถ้าเราค่อยๆ ฝึกตามดูไปเรื่อย มีสติตามดูไป เราจะเห็นเลย ร่างกายที่หายใจออกก็อยู่ชั่วคราว ร่างกายที่หายใจเข้าก็อยู่ชั่วคราว ความสุขก็อยู่ชั่วคราว ความทุกข์ก็อยู่ชั่วคราว จิตที่เฉยๆ ก็ชั่วคราว มีใครไม่สุขชั่วคราวไหม มีไหม สุขถาวรมีไหม ไม่มีหรอก ใครทุกข์ถาวรมีไหม ใครทุกข์ถาวร ไม่มี นี่เรามีสติตามดูความเปลี่ยนแปลงของจิตไปนะ เราจะเห็นเลย สุขก็ชั่วคราว ทุกข์ก็ชั่วคราว โลภ โกรธ หลง ก็ชั่วคราว ดูไปเรื่อยนะ ในที่สุดปัญญามันเกิด ก็จะรู้ว่าทุกอย่างเป็นของชั่วคราว พอเมื่อไหร่ที่จิตมันเห็นว่าทุกอย่างเป็นของชั่วคราว จิตก็จะเริ่มเข้าสู่ความเป็นกลางด้วยปัญญาแล้ว เป็นกลางนี่เกิดได้หลายแบบ เป็นกลางอันแรกเกิดด้วยการกดข่มไว้ เช่น ถูกเค้าด่า ก็กัดฟัน ไม่โกรธเลย ไม่โกรธเลยนะ บอกเป็นกลางเพราะกดข่มเอาไว้ เป็นกลางอีกอันหนึ่งเรียก เป็นกลางด้วยมีสติ เป็นกลางอีกอย่างหนึ่ง เป็นกลางด้วยปัญญา เป็นกลางแบบมีสติ ก็คือ เช่น เราขับรถอยู่ คนมันปาดหน้า ใจเราโมโหขึ้นมา เราเห็นเลยใจมันโมโห พอเราเป็นนักปฏิบัตินี่ เราเห็นว่าใจเราโมโหขึ้นมาไม่ดี คุณแม่บอกให้เมตตา โมโหไม่ดีใช่มั๊ย เราต้องรีบไปรู้ทันใจที่ไม่ชอบ ความโกรธเกิดขึ้นแล้วใจเกิดยินร้าย ไม่ชอบความโกรธ หรือกุศลเกิดขึ้นใจเราหลงยินดีเราไม่รู้ว่ายินดี อย่างนี้จิตไม่เป็นกลาง ถ้าจิตยินดีเรารู้ทัน จิตยินร้ายเรารู้ทัน มันจะเป็นกลางด้วยสติ แต่ถ้าเป็นกลางด้วยปัญญา ตรงนี้สำคัญมากเลย ก่อนที่จะเกิดอริยมรรคนี่ จิตจะเป็นกลางด้วยปัญญา แล้วมันจะเห็นเลยว่า ความสุขก็ชั่วคราว ความทุกข์ก็ชั่วคราว กุศลก็ชั่วคราวนะ โลภ โกรธ หลง อะไรต่ออะไรก็ชั่วคราว ฟุ้งซ่านก็ชั่วคราว หดหู่ก็ชั่วคราว ทุกอย่างชั่วคราวหมดเลยถ้าเมื่อไหร่ จิตเห็นว่าทุกอย่างเป็นของชั่วคราว จิตมันจะเป็นกลางด้วยปัญญาขึ้นมา ความสุขเกิดขึ้นมันไม่หลงระเริงแล้ว เพราะมันรู้แล้วว่าชั่วคราว ความทุกข์เกิดขึ้นมันไม่ทุรนทุราย เพราะมันรู้ว่าชั่วคราว ดีใจ เสียใจ สมหวัง ผิดหวัง มันไม่หลงระเริงเลยนะ ไม่เสียอกเสียใจเพราะมันรู้ว่าชั่วคราว เห็นไหมพอมันเห็นว่าทุกอย่าง เป็นของชั่วคราวนี่ ใจจะหมดความดิ้นรน นี่เรียกว่า เป็นกลางด้วยปัญญา ก่อนที่จะเกิดอริยมรรคนี่ จิตจะเป็นกลางด้วยปัญญา ก่อนที่จิตจะเป็นกลาง ด้วยปัญญานี่ เราจะต้อง หัดเจริญสติ ตามดูความเปลี่ยนแปลงของกาย ของใจ เรื่อยไป จนปัญญามันเกิดว่าทุกอย่างชั่วคราว สุข ทุกข์ ดี ชั่ว ชั่วคราว หายใจออก หายใจเข้า ชั่วคราว ยืนก็ชั่วคราว เดินก็ชั่วคราว นั่ง นอนชั่วคราว ดูไปเรื่อยๆ นะ มีแต่ของชั่วคราวไปหมดเลย มาเสถียรก็มาชั่วคราวใช่ไหมนะ เดี๋ยวก็ไปแล้ว นี่ทุกอย่างชั่วคราวนะ ดูไป ทุกสิ่งในชีวิตเรานะ ถ้าเห็นว่าทุกอย่างชั่วคราวนะ ต่อไปไม่ว่าอะไรเกิดขึ้นจิตจะเป็นกลาง จิตที่เป็นกลางแล้วมันจะเกิดอะไรขึ้น จิตจะหมดความดิ้นรน จิตที่ไม่เป็นกลางนะมันจะดิ้นรนไม่เลิก พวกเรารู้สึกไหม อย่างจิตใจเราไม่มีความสุข เราอยากให้มีความสุข เราเกลียดความทุกข์ จิตที่เกลียดความทุกข์ก็ดิ้นรนนะ ดิ้นว่าทำอย่างไรจะมีความสุข หรือจิตมันดิ้นรนหาความสุข จิตดิ้นรนหนีความทุกข์ การที่จิตต้องดิ้นรนอยู่ตลอดเวลานี่นะ คือตัวทุกข์เลย จิตจะมีแต่ความทุกข์ล้วนๆ เลย สร้างภพ สร้างชาติ สร้างความปรุงแต่งอยู่ตลอดเวลา พวกเราเห็นไหม ในใจของเรามีความอยากเกิดตลอดเวลา ไปหัดดูนะ แล้วเราจะเห็นเลยใจเรามีความอยากตลอดเวลา เดี๋ยวอยากดู เดี๋ยวอยากฟัง เดี๋ยวอยากคิด เดี๋ยวอยากหนีไปที่อื่นอย่างตอนนี้แดดร้อนแล้วอยากหนีแล้ว ถอยได้นะถอย ถอยไปอยู่ข้างหลัง ถอยได้ แบ่งๆ กันนะ แบ่งๆกัน หรือจะเอาเสื่อ ขึ้นคลุมก็ไม่ว่านะ สังเกตมั้ยตอนหัวเราะเมื่อกี้ใจฟุ้งซ่าน ดูออกมั้ย ลืมตัวเอง นี่ฝึกนะ ฝึกรู้อย่างนี้แหละ ดูไปเรื่อยๆนะ ถึงจุดหนึ่งที่ปัญญามันพอนี่ จิตมันจะรวม รวมเข้าอัปปนาสมาธิ รวมของมันเองนะ แล้วจะเห็นสภาวะธรรมเกิดดับอยู่สองสามขณะ แล้วถัดจากนั้นอริยะมรรคก็จะเกิดขึ้น จะล้างกิเลส อริยมรรคเวลาล้างกิเลส จะไม่เหมือนการล้างกิเลสด้วยสติ ด้วยสมาธิ ด้วยศีล ด้วยการข่มไว้ อริยมรรค เวลาล้างกิเลส ล้างตัวไหนแล้วล้างเลย ไม่ต้องล้างอีกแล้ว ล้างทีเดียวสะอาดหมดจด ไม่เกิดขึ้นอีกแล้ว แล้วเราค่อยๆ ฝึกนะ วันหนึ่งเราได้เป็นพระอริยะ อย่าวาดภาพว่าพระอริยะยากเกินไป อย่าวาดภาพว่าพระอริยะอยู่ไกล บารมีเราน้อย มัวแต่คิดว่าบารมีน้อยไม่ภาวนา มันก็น้อยไปทุกชาตินั่นแหล่ะ ถึงบารมีน้อยก็ขยันภาวนานะ หายใจไปก็รู้สึกตัวไป หายใจไปรู้สึกตัวไป มีสติรู้สึกตัวไปเรื่อย อย่าให้ลืมตัวเอง ต่อไปก็หายใจไป เห็นร่างกายที่หายใจอยู่ไม่ใช่เรา เห็นจิตใจมันทำงานได้เองนะ นี่ขั้นเดินปัญญา ง่ายๆ แค่นี้แหละ ลองไปทำดู
อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธหลวงพ่อจะบอกแลนด์มาร์คที่สำคัญไว้นะ แลนด์มาร์คที่สำคัญก่อนที่จะเกิดอริยมรรคนี่ จิตจะเกิดปัญญาชนิดหนึ่ง เรียกว่า "สังขารุเบกขาญาณ"สังขารุเบกขาญาณ ญาณ แปลว่าปัญญา มีปัญญาที่จะเป็นอุเบกขา เป็นกลางต่อสังขาร อะไรที่เรียกว่า สังขาร ความปรุงแต่งทั้งปวงเรียกว่าสังขาร ร่างกายก็เป็นสังขารนะ ความสุข ความทุกข์ ก็เป็นสังขาร ความโลภ ความโกรธ ความหลง ก็เป็นสังขาร อะไรๆ ก็เป็นสังขาร ในขันธ์ 5 นี่แหล่ะ คือ ตัวสังขารทั้งหมด ถ้าเราค่อยๆ ฝึกตามดูไปเรื่อย มีสติตามดูไป เราจะเห็นเลย ร่างกายที่หายใจออกก็อยู่ชั่วคราว ร่างกายที่หายใจเข้าก็อยู่ชั่วคราว ความสุขก็อยู่ชั่วคราว ความทุกข์ก็อยู่ชั่วคราว จิตที่เฉยๆ ก็ชั่วคราว มีใครไม่สุขชั่วคราวไหม มีไหม สุขถาวรมีไหม ไม่มีหรอก ใครทุกข์ถาวรมีไหม ใครทุกข์ถาวร ไม่มี นี่เรามีสติตามดูความเปลี่ยนแปลงของจิตไปนะ เราจะเห็นเลย สุขก็ชั่วคราว ทุกข์ก็ชั่วคราว โลภ โกรธ หลง ก็ชั่วคราว ดูไปเรื่อยนะ ในที่สุดปัญญามันเกิด ก็จะรู้ว่าทุกอย่างเป็นของชั่วคราว พอเมื่อไหร่ที่จิตมันเห็นว่าทุกอย่างเป็นของชั่วคราว จิตก็จะเริ่มเข้าสู่ความเป็นกลางด้วยปัญญาแล้ว เป็นกลางนี่เกิดได้หลายแบบ เป็นกลางอันแรกเกิดด้วยการกดข่มไว้ เช่น ถูกเค้าด่า ก็กัดฟัน ไม่โกรธเลย ไม่โกรธเลยนะ บอกเป็นกลางเพราะกดข่มเอาไว้ เป็นกลางอีกอันหนึ่งเรียก เป็นกลางด้วยมีสติ เป็นกลางอีกอย่างหนึ่ง เป็นกลางด้วยปัญญา เป็นกลางแบบมีสติ ก็คือ เช่น เราขับรถอยู่ คนมันปาดหน้า ใจเราโมโหขึ้นมา เราเห็นเลยใจมันโมโห พอเราเป็นนักปฏิบัตินี่ เราเห็นว่าใจเราโมโหขึ้นมาไม่ดี คุณแม่บอกให้เมตตา โมโหไม่ดีใช่มั๊ย เราต้องรีบไปรู้ทันใจที่ไม่ชอบ ความโกรธเกิดขึ้นแล้วใจเกิดยินร้าย ไม่ชอบความโกรธ หรือกุศลเกิดขึ้นใจเราหลงยินดีเราไม่รู้ว่ายินดี อย่างนี้จิตไม่เป็นกลาง ถ้าจิตยินดีเรารู้ทัน จิตยินร้ายเรารู้ทัน มันจะเป็นกลางด้วยสติ แต่ถ้าเป็นกลางด้วยปัญญา ตรงนี้สำคัญมากเลย ก่อนที่จะเกิดอริยมรรคนี่ จิตจะเป็นกลางด้วยปัญญา แล้วมันจะเห็นเลยว่า ความสุขก็ชั่วคราว ความทุกข์ก็ชั่วคราว กุศลก็ชั่วคราวนะ โลภ โกรธ หลง อะไรต่ออะไรก็ชั่วคราว ฟุ้งซ่านก็ชั่วคราว หดหู่ก็ชั่วคราว ทุกอย่างชั่วคราวหมดเลยถ้าเมื่อไหร่ จิตเห็นว่าทุกอย่างเป็นของชั่วคราว จิตมันจะเป็นกลางด้วยปัญญาขึ้นมา ความสุขเกิดขึ้นมันไม่หลงระเริงแล้ว เพราะมันรู้แล้วว่าชั่วคราว ความทุกข์เกิดขึ้นมันไม่ทุรนทุราย เพราะมันรู้ว่าชั่วคราว ดีใจ เสียใจ สมหวัง ผิดหวัง มันไม่หลงระเริงเลยนะ ไม่เสียอกเสียใจเพราะมันรู้ว่าชั่วคราว เห็นไหมพอมันเห็นว่าทุกอย่าง เป็นของชั่วคราวนี่ ใจจะหมดความดิ้นรน นี่เรียกว่า เป็นกลางด้วยปัญญา ก่อนที่จะเกิดอริยมรรคนี่ จิตจะเป็นกลางด้วยปัญญา ก่อนที่จิตจะเป็นกลาง ด้วยปัญญานี่ เราจะต้อง หัดเจริญสติ ตามดูความเปลี่ยนแปลงของกาย ของใจ เรื่อยไป จนปัญญามันเกิดว่าทุกอย่างชั่วคราว สุข ทุกข์ ดี ชั่ว ชั่วคราว หายใจออก หายใจเข้า ชั่วคราว ยืนก็ชั่วคราว เดินก็ชั่วคราว นั่ง นอนชั่วคราว ดูไปเรื่อยๆ นะ มีแต่ของชั่วคราวไปหมดเลย มาเสถียรก็มาชั่วคราวใช่ไหมนะ เดี๋ยวก็ไปแล้ว นี่ทุกอย่างชั่วคราวนะ ดูไป ทุกสิ่งในชีวิตเรานะ ถ้าเห็นว่าทุกอย่างชั่วคราวนะ ต่อไปไม่ว่าอะไรเกิดขึ้นจิตจะเป็นกลาง จิตที่เป็นกลางแล้วมันจะเกิดอะไรขึ้น จิตจะหมดความดิ้นรน จิตที่ไม่เป็นกลางนะมันจะดิ้นรนไม่เลิก พวกเรารู้สึกไหม อย่างจิตใจเราไม่มีความสุข เราอยากให้มีความสุข เราเกลียดความทุกข์ จิตที่เกลียดความทุกข์ก็ดิ้นรนนะ ดิ้นว่าทำอย่างไรจะมีความสุข หรือจิตมันดิ้นรนหาความสุข จิตดิ้นรนหนีความทุกข์ การที่จิตต้องดิ้นรนอยู่ตลอดเวลานี่นะ คือตัวทุกข์เลย จิตจะมีแต่ความทุกข์ล้วนๆ เลย สร้างภพ สร้างชาติ สร้างความปรุงแต่งอยู่ตลอดเวลา พวกเราเห็นไหม ในใจของเรามีความอยากเกิดตลอดเวลา ไปหัดดูนะ แล้วเราจะเห็นเลยใจเรามีความอยากตลอดเวลา เดี๋ยวอยากดู เดี๋ยวอยากฟัง เดี๋ยวอยากคิด เดี๋ยวอยากหนีไปที่อื่นอย่างตอนนี้แดดร้อนแล้วอยากหนีแล้ว ถอยได้นะถอย ถอยไปอยู่ข้างหลัง ถอยได้ แบ่งๆ กันนะ แบ่งๆกัน หรือจะเอาเสื่อ ขึ้นคลุมก็ไม่ว่านะ สังเกตมั้ยตอนหัวเราะเมื่อกี้ใจฟุ้งซ่าน ดูออกมั้ย ลืมตัวเอง นี่ฝึกนะ ฝึกรู้อย่างนี้แหละ ดูไปเรื่อยๆนะ ถึงจุดหนึ่งที่ปัญญามันพอนี่ จิตมันจะรวม รวมเข้าอัปปนาสมาธิ รวมของมันเองนะ แล้วจะเห็นสภาวะธรรมเกิดดับอยู่สองสามขณะ แล้วถัดจากนั้นอริยะมรรคก็จะเกิดขึ้น จะล้างกิเลส อริยมรรคเวลาล้างกิเลส จะไม่เหมือนการล้างกิเลสด้วยสติ ด้วยสมาธิ ด้วยศีล ด้วยการข่มไว้ อริยมรรค เวลาล้างกิเลส ล้างตัวไหนแล้วล้างเลย ไม่ต้องล้างอีกแล้ว ล้างทีเดียวสะอาดหมดจด ไม่เกิดขึ้นอีกแล้ว แล้วเราค่อยๆ ฝึกนะ วันหนึ่งเราได้เป็นพระอริยะ อย่าวาดภาพว่าพระอริยะยากเกินไป อย่าวาดภาพว่าพระอริยะอยู่ไกล บารมีเราน้อย มัวแต่คิดว่าบารมีน้อยไม่ภาวนา มันก็น้อยไปทุกชาตินั่นแหล่ะ ถึงบารมีน้อยก็ขยันภาวนานะ หายใจไปก็รู้สึกตัวไป หายใจไปรู้สึกตัวไป มีสติรู้สึกตัวไปเรื่อย อย่าให้ลืมตัวเอง ต่อไปก็หายใจไป เห็นร่างกายที่หายใจอยู่ไม่ใช่เรา เห็นจิตใจมันทำงานได้เองนะ นี่ขั้นเดินปัญญา ง่ายๆ แค่นี้แหละ ลองไปทำดู
วันเสาร์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2560
หลวงพ่อปราโมทย์ แสดงธรรม ณ วัดสวนสันติธรรม 30 เม.ย. 2560 ช่วงสาย
พระพุทธอนุชาผู้ประเสริฐจากโกสัมพี ราชธานีแห่งแคว้นวังสะ พระพุทธอนุชาผู้ประเสริฐ ได้เดินทางเลียบลำน้ำยมุนาขึ้นไปตอนบนสู่แคว้นกุรุ ซึ่งมีนครอินทปัตถ์เป็นเมืองหลวง และจาริกไปในแคว้นต่างๆ อีกหลายแคว้น จนกระทั่งหวนกลับมาสู่ลุ่มแม่น้ำคงคา วนเวียนอยู่ ณ ลุ่มแม่น้ำคงคาตอนบนแห่งแคว้นปัญจาละ ซึ่งมีนครหัสตินาปุระหรือหัสดินบุรีเป็นราชธานี อันว่าแคว้นปัญจาละนี้ มีแคว้นโกศลอยู่ทางทิศตะวันออก มีแคว้นกุรุอยู่ทางทิศตะวันตก มีหิมาลัยบรรพตอยู่ทางทิศเหนือ และแม่น้ำคงคาอยู่ทางทิศใต้ เป็นแคว้นที่มั่งคั่งพรั่งพร้อมด้วยทรัพยากรธรรมชาติมากหลาย มีทุ่งสาลีเกษตรเหลืองอร่าม มองดูสุดสายตาประดุจปูด้วยหนังโคสีแดง มีดงมะพร้าวเรียงรายยาวเหยียด บางแห่งพื้นที่ประดับด้วยต้นชงโคดอกสีแสดเข้มบานสะพรั่งเรืองอุไรเย็นตา ทัศนาการไปทางทิศเหนือจะเห็นทิวเขาหิมาลัยสูงตระหง่านเสียดฟ้า บางยอดถูกปกคลุมด้วยหิมะตลอดเวลา หิมาลัยบรรพตแดนเกิดแห่งนิยายและเป็นที่รื่นรมย์อย่างยิ่งของผู้สละโลกีย์ มุ่งแสวงหาสันติวรบท มองไปทางด้านใต้ จะเห็นแม่น้ำคงคาไหลเอื่อยเป็นเส้นเลือดใหญ่ของชมพูทวีป เป็นจุดรวมใจของชาวภารตะ แทบจะทุกคนมอบความไว้วางใจไว้ให้พระแม่คงคาเป็นผู้กำชีวิตของตน ทั้งด้านชำระมลทินภายใน และด้านเกษตรกรรม ณ ริมฝั่งแม่น้ำคงคาตอนเหนือ มีชงโคขึ้นระดะ แม้ไม่สู้จะเป็นระเบียบนัก แต่ดอกอันงามเย็นตาของมันก่อให้เกิดความเย็นใจเมื่อได้เห็น เป็นสถานที่ร่มรื่นสงบไม่ใช่ทางสัญจร จึงเหมาะอย่างยิ่งสำหรับสมณะผู้แสวงหาวิเวก วันนั้นพระพุทธอนุชา จาริกเพียงผู้เดียวด้วยจุดประสงค์ คือ แสวงหาที่วิเวกเพื่อพักผ่อน เมื่อผ่านมาเห็นชงโคมีดอกงามบานสะพรั่ง และดูบริเวณเป็นที่รื่นรมย์จึงแวะเข้าพักผ่อนใต้ต้นชงโค ซึ่งมีใบหนาเงาครึ้มต้นหนึ่ง ตรงเบื้องหน้าของท่านมีสระซึ่งเกิดเองตามธรรมชาติ (ชาตสระ) มีปทุมชูดอกสลอน น้ำใสเย็นและจืดสนิทดี ท่านได้ดื่มและล้างหน้าเพื่อระงับความกระหายแล้วนั่งพักอยู่ ณ ที่นั้น จนตะวันรอนแดดอ่อนลง ส่องลอดใบไม้ลงมาเป็นรูปต่างๆ งามน่าดู เสียงนกเล็กๆ บนกิ่งชงโคร้องทักทายกันอย่างเพลิดเพลิน แสดงถึงจิตใจที่ชื่นบาน มันมีความสุขตามประสาสัตว์ ความสุขเป็นสิ่งหาได้ในที่ทุกแห่งและทุกฐานะ เว้นแต่บุคคลจะไม่รู้จักมองหาเท่านั้น พระพุทธองค์เคยตรัสไว้ว่าบุคคลผู้มีปัญญา สามารถจะหาความสุขได้แม้ในสถานะที่น่าทุกข์ ตรงกันข้ามกับคนเขลา แม้จะอยู่ในฐานะที่น่าจะสุขก็มีแต่ความทุกข์ร้อนเศร้าหมองเสียร่ำไป ถ้าเราฝึกใจให้อดได้ ทนได้อยู่เสมอๆ เราจะมีความสุขสบายขึ้นอีกมาก โลกนี้มีคนร้ายและเรื่องร้ายมาก ไม่ว่าจะไปอยู่ที่ไหนและในฐานะใด ย่อมจะต้องพบคนร้ายและเรื่องร้ายทุกหนทุกแห่ง ถ้าสามารถกลับเรื่องร้ายให้กลายเป็นดีได้นั้นเป็นเรื่องประเสริฐ แต่ถ้าไม่สามารถกลับเรื่องร้ายให้เป็นดีได้ในทันที ก็ลองอดทนดูเป็นการศึกษาสถานการณ์และศึกษาบุคคลพร้อมๆ กันไป นานๆ เข้าเรื่องที่เขาเข้าใจว่าร้ายในเบื้องต้นอาจจะเป็นผลดีแก่เรามากในบั้นปลาย จงดูเถิดขยะมูลฝอยที่ใครๆ ทิ้งลงๆ แต่พื้นดินก็สามารถรับขยะมูลฝอยนั้นกลายเป็นปุ๋ย ที่ดินตรงนั้นกลายเป็นดินดีมีคนต้องการมีราคามาก ปลูกพืชผักอะไรลงก็ขึ้นเร็วและสวยงาม คนที่ฝึกตนให้อดได้ ทนได้ มักจะเป็นคนดีมีค่าแก่สังคมอย่างมาก สถานที่จำกัด ทรัพยากรธรรมชาติมีน้อย แต่คนเพิ่มมากขึ้นนานวันไปมนุษย์ยิ่งจะต้องแย่งกันอยู่แย่งกันกินมากขึ้น ความบากบั่นอดทนก็จะต้องใช้มากขึ้น นอกจากนี้ในสังคมมนุษย์มีทั้งคนดีและคนเลว มีอัธยาศัยประณีตและอัธยาศัยทราม ยิ่งผู้น้อยที่ต้องอยู่ร่วมกับผู้ใหญ่ที่มีอัธยาศัยทราม เห็นแก่ตัว และโหดร้ายด้วยแล้ว เขาจะต้องกระทบกระเทือนใจและอดทนสักเพียงใด ลองให้ผู้ใหญ่เลวๆ อย่างนั้นไปอยู่ใต้บังคับบัญชาของคนอื่นดูบ้างซิ เขาจะเป็นผู้ใต้บังคับบัญชาที่เลวหรือไม่ แต่ก็มีอยู่บ้างเหมือนกัน หรือบางทีก็มีอยู่เสมอๆ ที่ทำให้เราต้องประหลาดใจว่า เหตุไฉนคนเลวๆ อย่างนี้จึงเป็นใหญ่เป็นโตขึ้นมาได้ มันเป็นเรื่องของกรรมที่สลับซับซ้อนสุดที่จะแยกแยะให้ถี่ถ้วนด้วยปัญญาสามัญ บัดนี้ พระอาทิตย์ลับขอบฟ้าไปแล้ว ทิ้งไว้แต่ร่องรอยแห่งแสงสว่างเพียงรางๆ เสมือนดรุณีวัยกำดัดยิ้มด้วยความเบิกบานใจ เมื่อหยุดยิ้มแล้วรอยแห่งความร่าเริงก็ยังเหลืออยู่เพียงเล็กน้อย ฉะนั้น พระพุทธอนุชาตั้งใจจะถือเอาโคนชงโคเป็นที่พักกายในราตรีนี้ แต่พอท่านเอนกายลงพิงโคนชงโคนั่นเองได้เหลือบเห็นชายหญิงคู่หนึ่งเดินมา ถือหม้อมาคนละใบมุ่งตรงมาสู่สระ เมื่อได้มองเห็นสมณะนั่งพิงโคนชงโคอยู่เขาจึงเดินอ้อมสระมา พอเห็นชัดว่าเป็นสมณะศากยบุตรเข้าจึงนั่งละไหว้ แล้วชายผู้นั้นก็กล่าวขึ้นว่า "ข้าแต่สมณะ! ข้าพเจ้าอยู่ที่นี่มาเป็นเวลานานไม่เคยได้พบเห็นสมณะผู้ใดมาเยือนสถานที่นี้เลย ข้าพเจ้าทั้งสองแม้จะมิใช่เจ้าของถิ่นโดยแท้จริงก็เหมือนเป็นเจ้าของถิ่น ข้าพเจ้าขอต้อนรับท่านสมณะผู้เป็นอาคันตุกะด้วยความรู้สึกเป็นมิตร และถือเป็นโชคดีที่ได้พบท่านผู้สงบ" "ดูก่อนผู้มีใจอารี" พระพุทธอนุชากล่าวตอบ "ข้าพเจ้าขอขอบใจในไมตรีจิตของท่านทั้งสอง และถือเป็นโชคดีเช่นกันที่ได้พบท่าน ซึ่งข้าพเจ้ามิได้คาดหวังว่าจะได้พบในป่าเปลี่ยวเช่นนี้" ชายหญิงทั้งสองแสดงอาการพอใจต่อคำกล่าวที่ไพเราะ และแสดงความเป็นมิตรของพระพุทธอนุชา แล้วกล่าวว่า "ท่านผู้ประเสริฐ! เวลานี้ก็จวนค่ำแล้ว ท่านมีที่พำนัก ณ แห่งใดเป็นที่ประจำ หรือท่านเป็นนักพรตผู้จาริก ไม่อยู่เป็นหลักแหล่ง?" "ข้าพเจ้าเป็นนักพรตผู้จาริกไปตามอัธยาศัย ไม่ติดที่ หรือยึดถือที่ใดที่หนึ่งเป็นแหล่งของตน ข้าพเจ้าพอใจการกระทำเช่นนี้" พระอานนท์ตอบ "ข้าแต่สมณะ! ถ้าอย่างนั้นข้าพเจ้าใคร่ขอเชิญท่านพำนัก ณ กระท่อมของข้าพเจ้า ข้าพเจ้ามีกระท่อมอยู่สองหลัง หลังหนึ่งเพื่อข้าพเจ้าและภรรยาอยู่อาศัย อีกหลังหนึ่งเพื่อเก็บของเล็กๆ น้อยๆ ถ้าท่านไม่รังเกียจ และยินดีรับคำเชื้อเชิญของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจะเก็บของเล็กๆ น้อยๆ ไว้อีกมุมหนึ่ง ส่วนอีกมุมหนึ่งพอเป็นที่พักของท่านได้อย่างสบาย มีประตูหน้าต่างเปิดปิดได้สะดวก มีลมพัดเย็น ถ้าท่านรับคำเชื้อเชิญข้าพเจ้าจะยินดีมาก ข้าพเจ้าจะได้สนทนากับท่านผู้ประเสริฐให้เป็นที่เอิบอิ่มใจ ข้าแต่อาคันตุกะ! ข้าพเจ้าเคยสดับมาว่าการได้เห็น การได้เข้าใกล้ และการได้สนทนากับสมณะนั้นเป็นมงคล ข้าพเจ้าต้องการมงคลเช่นนั้นด้วยเหมือนกัน" เขากล่าวจบหันมามองดูภรรยาเหมือนเป็นเชิงปรึกษาสตรีผู้นั้นจึงกล่าวขึ้นว่า "ข้าแต่สมณะ! ถ้าท่านยังไม่มีกิจกังวลเรื่องอื่นหรือไม่เป็นการรบกวนความวิเวกสงัดของท่าน ก็โปรดรับคำอาราธนาของข้าพเจ้าทั้งสองด้วยเถิด" พระพุทธอนุชาดำริว่าสามีภรรยาทั้งสองนี้ดูท่าทีเป็นผู้มีตระกูลและได้รับการศึกษาสูง แต่เหตุไฉนจึงมาซ่อนตัวเองอยู่ในป่าเปลี่ยว ดูวัยก็ยังหนุ่มสาว คงจะมีอะไรอยู่เบื้องหลังที่น่าสนใจบ้างกระมัง การสนทนากับผู้เช่นนี้คงไม่ไร้ประโยชน์เป็นแน่แท้ คิดดังนี้แล้วท่านจึงกล่าวว่า "ดูก่อนผู้ใจอารี! ข้าพเจ้ายินดีรับคำเชื้อเชิญของท่าน" สามีภรรยาทั้งสองแสดงอาการพอใจอย่างยิ่ง แล้วชวนกันลงตักน้ำในสระคนละหม้อ แล้วเดินนำพระพุทธอนุชาไปสู่กระท่อมน้อย จัดของเล็กๆ น้อยๆ ไว้มุมหนึ่ง ปัดกวาดเช็ดถูเสนาสนะจนสะอาดเรียบร้อย แล้วเชื้อเชิญพระพุทธอนุชาให้นั่ง นำน้ำมันมานวดเท้า ส่วนภรรยาของเขากลับไปกระท่อมอีกหลังหนึ่ง ซึ่งอยู่ห่างกันเพียงเล็กน้อย "ดูก่อนผู้มีใจอารี!" พระอานนท์ "กระท่อมของท่านนี้แม้จะอยู่ป่า แต่ก็ปลูกสร้างอย่างดีน่าอยู่อาศัย สะอาดเรียบร้อย เป็นการแสดงถึงอัธยาศัยประณีตแห่งเจ้าของ" "ข้าแต่อาคันตุกะ! ข้าพเจ้าขอขอบคุณในคำกล่าวของท่าน อนึ่งป่าชงโคนี้เป็นสวรรค์ของข้าพเจ้า เป็นที่ๆ ข้าพเจ้าพอใจเป็นที่สุด ข้าพเจ้าอาศัยอยู่อย่างสงบสุข ข้าพเจ้ากล่าวว่า "สงบสุข" เป็นความถูกต้องโดยแท้ คือทั้งสงบและสุขรวมอยู่ในกระท่อมน้อย และในป่าชงโคนี้" เขากล่าวแล้วยิ้มอย่างภาคภูมิใจ "ดูก่อนผู้มีใจอารี! เหตุไฉนท่านจึงพอใจป่าชงโคนี้เป็นหนักหนา ดูท่านยังอยู่ในวัยหนุ่ม และภรรยาของท่านก็ยังอยู่ในวัยสาว คนหนุ่มสาวน่าจะพอใจในแสงสีแห่งนครหลวงมากกว่าจะยินดีในที่สงัดเปล่าเปลี่ยวเช่นนี้ ท่านถือกำเนิดหรือภูมิลำเนาเดิมอยู่ที่นี้หรือ?" "หามิได้ ท่านสมณะ ข้าพเจ้าเกิดแล้วในท่ามกลางพระนครหลวงทีเดียว" เขาตอบ "คำกล่าวของท่านยิ่งทำให้ข้าพเจ้าประหลาดใจมากขึ้น" พระอานนท์กล่าว "เป็นของน่าประหลาดเกินไปหรือท่าน" ชายหนุ่มกล่าว "ที่คนหนุ่มอย่างข้าพเจ้ามาพอใจในวิเวกดำเนินชีวิตอย่างสงบ" "ประหลาดมากทีเดียว" พระอานนท์รับ "เพราะเหตุใดหรือ?" ชายหนุ่มถาม "เพราะคนส่วนใหญ่หรือโดยมาก ในวัยท่านนี้ย่อมพอใจในความสนุกเพลิดเพลินอีกแบบหนึ่ง คือแบบที่คนส่วนมากเขานิยมกัน คลุกคลีอยู่ด้วยหมู่คณะและอารมณ์เย้ายวนต่างๆ แต่ท่านไม่เป็นอย่างนั้น เพราะฉะนั้นข้าพเจ้าจึงกล่าวว่า ท่านเป็นชายหนุ่มที่ประหลาด มีเหตุการณ์อะไรกระทบกระเทือนใจท่านอย่างรุนแรงหรือ หรือท่านมีอัธยาศัยน้อมไปในวิเวกตั้งแต่ยังเยาว์?" "ข้าแต่อาคันตุกะ! ชายหนุ่มกล่าว "ข้าพเจ้าเข้าใจว่า ทุกคนน่าจะมีหัวเลี้ยวแห่งชีวิตที่สำคัญที่สุดสักครั้งหนึ่งในชีวิตของแต่ละคน และหัวเลี้ยวนั้นเองจะเป็นสาเหตุให้เขาดำเนินชีวิตที่ยืดยาวไปจนกว่าชีวิตจะจบลง ข้าพเจ้ามีหัวเลี้ยวชีวิตอยู่ตอนหนึ่งซึ่งทำให้ข้าพเจ้าเลี้ยวมาทางนี้ และเข้าใจว่า ข้าพเจ้าจะดำเนินชีวิตแบบนี้ต่อไป จนสิ้นลมปราณ" "ดูก่อนผู้พอใจในวิเวก" พระอานนท์กล่าว "ถ้าไม่เป็นการรบกวนเวลาของท่าน ข้าพเจ้าปรารถนาจะรับฟังความเป็นมาแห่งท่านพอเป็นเครื่องประดับความรู้ เวลานี้ปฐมยามแห่งราตรีก็ยังไม่สิ้น ถ้าท่านไม่ขัดข้องหรือไม่ถือเป็นความลับก็ขอได้โปรดเล่าเถิด" ลมปราณปฐมยามพัดแผ่วเข้ามาทางหน้าต่างรำเพยเอากลิ่นดอกไม้ป่าบางชนิดติดตามด้วย หอมเย็นระรื่น ความอบอ้าวของอากาศเมื่อทิวากาลได้ปลาสนการไปแล้ว บรรยากาศในยามนี้เย็นสบาย แสงโสมสาดส่องเข้ามาทางหน้าต่าง ต้องผิวหน้าของชายหนุ่มดูสดใสแต่แฝงไว้ซึ่งแววเศร้าอย่างลึกซึ้ง เขาขยับกายเล็กน้อยก่อนจะกล่าวว่า "ข้าแต่ท่านผู้ทรงพรต! ถ้าท่านยินดีรับฟังเรื่องราวความเป็นมาแห่งข้าพเจ้า ข้าพเจ้าก็ยินดีเล่าสู่ท่านฟัง เรื่องของข้าพเจ้ามีทั้งความสุขและความเศร้า มีทั้งความหวานชื่นและขื่นขม มีสาระบ้างไม่มีสาระบ้าง" เมื่อพระอานนท์แสดงอาการว่าพร้อมแล้ว ชายหนุ่มจึงเริ่มเล่าดังนี้.
ท่านผู้มีใจอารีย์จากโกสัมพี ราชธานีแห่งแคว้นวังสะ พระพุทธอนุชาผู้ประเสริฐ ได้เดินทางเลียบลำน้ำยมุนาขึ้นไปตอนบนสู่แคว้นกุรุ ซึ่งมีนครอินทปัตถ์เป็นเมืองหลวง และจาริกไปในแคว้นต่างๆ อีกหลายแคว้น จนกระทั่งหวนกลับมาสู่ลุ่มแม่น้ำคงคา วนเวียนอยู่ ณ ลุ่มแม่น้ำคงคาตอนบนแห่งแคว้นปัญจาละ ซึ่งมีนครหัสตินาปุระหรือหัสดินบุรีเป็นราชธานี อันว่าแคว้นปัญจาละนี้ มีแคว้นโกศลอยู่ทางทิศตะวันออก มีแคว้นกุรุอยู่ทางทิศตะวันตก มีหิมาลัยบรรพตอยู่ทางทิศเหนือ และแม่น้ำคงคาอยู่ทางทิศใต้ เป็นแคว้นที่มั่งคั่งพรั่งพร้อมด้วยทรัพยากรธรรมชาติมากหลาย มีทุ่งสาลีเกษตรเหลืองอร่าม มองดูสุดสายตาประดุจปูด้วยหนังโคสีแดง มีดงมะพร้าวเรียงรายยาวเหยียด บางแห่งพื้นที่ประดับด้วยต้นชงโคดอกสีแสดเข้มบานสะพรั่งเรืองอุไรเย็นตา ทัศนาการไปทางทิศเหนือจะเห็นทิวเขาหิมาลัยสูงตระหง่านเสียดฟ้า บางยอดถูกปกคลุมด้วยหิมะตลอดเวลา หิมาลัยบรรพตแดนเกิดแห่งนิยายและเป็นที่รื่นรมย์อย่างยิ่งของผู้สละโลกีย์ มุ่งแสวงหาสันติวรบท มองไปทางด้านใต้ จะเห็นแม่น้ำคงคาไหลเอื่อยเป็นเส้นเลือดใหญ่ของชมพูทวีป เป็นจุดรวมใจของชาวภารตะ แทบจะทุกคนมอบความไว้วางใจไว้ให้พระแม่คงคาเป็นผู้กำชีวิตของตน ทั้งด้านชำระมลทินภายใน และด้านเกษตรกรรม ณ ริมฝั่งแม่น้ำคงคาตอนเหนือ มีชงโคขึ้นระดะ แม้ไม่สู้จะเป็นระเบียบนัก แต่ดอกอันงามเย็นตาของมันก่อให้เกิดความเย็นใจเมื่อได้เห็น เป็นสถานที่ร่มรื่นสงบไม่ใช่ทางสัญจร จึงเหมาะอย่างยิ่งสำหรับสมณะผู้แสวงหาวิเวก วันนั้นพระพุทธอนุชา จาริกเพียงผู้เดียวด้วยจุดประสงค์ คือ แสวงหาที่วิเวกเพื่อพักผ่อน เมื่อผ่านมาเห็นชงโคมีดอกงามบานสะพรั่ง และดูบริเวณเป็นที่รื่นรมย์จึงแวะเข้าพักผ่อนใต้ต้นชงโค ซึ่งมีใบหนาเงาครึ้มต้นหนึ่ง ตรงเบื้องหน้าของท่านมีสระซึ่งเกิดเองตามธรรมชาติ (ชาตสระ) มีปทุมชูดอกสลอน น้ำใสเย็นและจืดสนิทดี ท่านได้ดื่มและล้างหน้าเพื่อระงับความกระหายแล้วนั่งพักอยู่ ณ ที่นั้น จนตะวันรอนแดดอ่อนลง ส่องลอดใบไม้ลงมาเป็นรูปต่างๆ งามน่าดู เสียงนกเล็กๆ บนกิ่งชงโคร้องทักทายกันอย่างเพลิดเพลิน แสดงถึงจิตใจที่ชื่นบาน มันมีความสุขตามประสาสัตว์ ความสุขเป็นสิ่งหาได้ในที่ทุกแห่งและทุกฐานะ เว้นแต่บุคคลจะไม่รู้จักมองหาเท่านั้น พระพุทธองค์เคยตรัสไว้ว่าบุคคลผู้มีปัญญา สามารถจะหาความสุขได้แม้ในสถานะที่น่าทุกข์ ตรงกันข้ามกับคนเขลา แม้จะอยู่ในฐานะที่น่าจะสุขก็มีแต่ความทุกข์ร้อนเศร้าหมองเสียร่ำไป ถ้าเราฝึกใจให้อดได้ ทนได้อยู่เสมอๆ เราจะมีความสุขสบายขึ้นอีกมาก โลกนี้มีคนร้ายและเรื่องร้ายมาก ไม่ว่าจะไปอยู่ที่ไหนและในฐานะใด ย่อมจะต้องพบคนร้ายและเรื่องร้ายทุกหนทุกแห่ง ถ้าสามารถกลับเรื่องร้ายให้กลายเป็นดีได้นั้นเป็นเรื่องประเสริฐ แต่ถ้าไม่สามารถกลับเรื่องร้ายให้เป็นดีได้ในทันที ก็ลองอดทนดูเป็นการศึกษาสถานการณ์และศึกษาบุคคลพร้อมๆ กันไป นานๆ เข้าเรื่องที่เขาเข้าใจว่าร้ายในเบื้องต้นอาจจะเป็นผลดีแก่เรามากในบั้นปลาย จงดูเถิดขยะมูลฝอยที่ใครๆ ทิ้งลงๆ แต่พื้นดินก็สามารถรับขยะมูลฝอยนั้นกลายเป็นปุ๋ย ที่ดินตรงนั้นกลายเป็นดินดีมีคนต้องการมีราคามาก ปลูกพืชผักอะไรลงก็ขึ้นเร็วและสวยงาม คนที่ฝึกตนให้อดได้ ทนได้ มักจะเป็นคนดีมีค่าแก่สังคมอย่างมาก สถานที่จำกัด ทรัพยากรธรรมชาติมีน้อย แต่คนเพิ่มมากขึ้นนานวันไปมนุษย์ยิ่งจะต้องแย่งกันอยู่แย่งกันกินมากขึ้น ความบากบั่นอดทนก็จะต้องใช้มากขึ้น นอกจากนี้ในสังคมมนุษย์มีทั้งคนดีและคนเลว มีอัธยาศัยประณีตและอัธยาศัยทราม ยิ่งผู้น้อยที่ต้องอยู่ร่วมกับผู้ใหญ่ที่มีอัธยาศัยทราม เห็นแก่ตัว และโหดร้ายด้วยแล้ว เขาจะต้องกระทบกระเทือนใจและอดทนสักเพียงใด ลองให้ผู้ใหญ่เลวๆ อย่างนั้นไปอยู่ใต้บังคับบัญชาของคนอื่นดูบ้างซิ เขาจะเป็นผู้ใต้บังคับบัญชาที่เลวหรือไม่ แต่ก็มีอยู่บ้างเหมือนกัน หรือบางทีก็มีอยู่เสมอๆ ที่ทำให้เราต้องประหลาดใจว่า เหตุไฉนคนเลวๆ อย่างนี้จึงเป็นใหญ่เป็นโตขึ้นมาได้ มันเป็นเรื่องของกรรมที่สลับซับซ้อนสุดที่จะแยกแยะให้ถี่ถ้วนด้วยปัญญาสามัญ บัดนี้ พระอาทิตย์ลับขอบฟ้าไปแล้ว ทิ้งไว้แต่ร่องรอยแห่งแสงสว่างเพียงรางๆ เสมือนดรุณีวัยกำดัดยิ้มด้วยความเบิกบานใจ เมื่อหยุดยิ้มแล้วรอยแห่งความร่าเริงก็ยังเหลืออยู่เพียงเล็กน้อย ฉะนั้น พระพุทธอนุชาตั้งใจจะถือเอาโคนชงโคเป็นที่พักกายในราตรีนี้ แต่พอท่านเอนกายลงพิงโคนชงโคนั่นเองได้เหลือบเห็นชายหญิงคู่หนึ่งเดินมา ถือหม้อมาคนละใบมุ่งตรงมาสู่สระ เมื่อได้มองเห็นสมณะนั่งพิงโคนชงโคอยู่เขาจึงเดินอ้อมสระมา พอเห็นชัดว่าเป็นสมณะศากยบุตรเข้าจึงนั่งละไหว้ แล้วชายผู้นั้นก็กล่าวขึ้นว่า "ข้าแต่สมณะ! ข้าพเจ้าอยู่ที่นี่มาเป็นเวลานานไม่เคยได้พบเห็นสมณะผู้ใดมาเยือนสถานที่นี้เลย ข้าพเจ้าทั้งสองแม้จะมิใช่เจ้าของถิ่นโดยแท้จริงก็เหมือนเป็นเจ้าของถิ่น ข้าพเจ้าขอต้อนรับท่านสมณะผู้เป็นอาคันตุกะด้วยความรู้สึกเป็นมิตร และถือเป็นโชคดีที่ได้พบท่านผู้สงบ" "ดูก่อนผู้มีใจอารี" พระพุทธอนุชากล่าวตอบ "ข้าพเจ้าขอขอบใจในไมตรีจิตของท่านทั้งสอง และถือเป็นโชคดีเช่นกันที่ได้พบท่าน ซึ่งข้าพเจ้ามิได้คาดหวังว่าจะได้พบในป่าเปลี่ยวเช่นนี้" ชายหญิงทั้งสองแสดงอาการพอใจต่อคำกล่าวที่ไพเราะ และแสดงความเป็นมิตรของพระพุทธอนุชา แล้วกล่าวว่า "ท่านผู้ประเสริฐ! เวลานี้ก็จวนค่ำแล้ว ท่านมีที่พำนัก ณ แห่งใดเป็นที่ประจำ หรือท่านเป็นนักพรตผู้จาริก ไม่อยู่เป็นหลักแหล่ง?" "ข้าพเจ้าเป็นนักพรตผู้จาริกไปตามอัธยาศัย ไม่ติดที่ หรือยึดถือที่ใดที่หนึ่งเป็นแหล่งของตน ข้าพเจ้าพอใจการกระทำเช่นนี้" พระอานนท์ตอบ "ข้าแต่สมณะ! ถ้าอย่างนั้นข้าพเจ้าใคร่ขอเชิญท่านพำนัก ณ กระท่อมของข้าพเจ้า ข้าพเจ้ามีกระท่อมอยู่สองหลัง หลังหนึ่งเพื่อข้าพเจ้าและภรรยาอยู่อาศัย อีกหลังหนึ่งเพื่อเก็บของเล็กๆ น้อยๆ ถ้าท่านไม่รังเกียจ และยินดีรับคำเชื้อเชิญของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจะเก็บของเล็กๆ น้อยๆ ไว้อีกมุมหนึ่ง ส่วนอีกมุมหนึ่งพอเป็นที่พักของท่านได้อย่างสบาย มีประตูหน้าต่างเปิดปิดได้สะดวก มีลมพัดเย็น ถ้าท่านรับคำเชื้อเชิญข้าพเจ้าจะยินดีมาก ข้าพเจ้าจะได้สนทนากับท่านผู้ประเสริฐให้เป็นที่เอิบอิ่มใจ ข้าแต่อาคันตุกะ! ข้าพเจ้าเคยสดับมาว่าการได้เห็น การได้เข้าใกล้ และการได้สนทนากับสมณะนั้นเป็นมงคล ข้าพเจ้าต้องการมงคลเช่นนั้นด้วยเหมือนกัน" เขากล่าวจบหันมามองดูภรรยาเหมือนเป็นเชิงปรึกษาสตรีผู้นั้นจึงกล่าวขึ้นว่า "ข้าแต่สมณะ! ถ้าท่านยังไม่มีกิจกังวลเรื่องอื่นหรือไม่เป็นการรบกวนความวิเวกสงัดของท่าน ก็โปรดรับคำอาราธนาของข้าพเจ้าทั้งสองด้วยเถิด" พระพุทธอนุชาดำริว่าสามีภรรยาทั้งสองนี้ดูท่าทีเป็นผู้มีตระกูลและได้รับการศึกษาสูง แต่เหตุไฉนจึงมาซ่อนตัวเองอยู่ในป่าเปลี่ยว ดูวัยก็ยังหนุ่มสาว คงจะมีอะไรอยู่เบื้องหลังที่น่าสนใจบ้างกระมัง การสนทนากับผู้เช่นนี้คงไม่ไร้ประโยชน์เป็นแน่แท้ คิดดังนี้แล้วท่านจึงกล่าวว่า "ดูก่อนผู้ใจอารี! ข้าพเจ้ายินดีรับคำเชื้อเชิญของท่าน" สามีภรรยาทั้งสองแสดงอาการพอใจอย่างยิ่ง แล้วชวนกันลงตักน้ำในสระคนละหม้อ แล้วเดินนำพระพุทธอนุชาไปสู่กระท่อมน้อย จัดของเล็กๆ น้อยๆ ไว้มุมหนึ่ง ปัดกวาดเช็ดถูเสนาสนะจนสะอาดเรียบร้อย แล้วเชื้อเชิญพระพุทธอนุชาให้นั่ง นำน้ำมันมานวดเท้า ส่วนภรรยาของเขากลับไปกระท่อมอีกหลังหนึ่ง ซึ่งอยู่ห่างกันเพียงเล็กน้อย "ดูก่อนผู้มีใจอารี!" พระอานนท์ "กระท่อมของท่านนี้แม้จะอยู่ป่า แต่ก็ปลูกสร้างอย่างดีน่าอยู่อาศัย สะอาดเรียบร้อย เป็นการแสดงถึงอัธยาศัยประณีตแห่งเจ้าของ" "ข้าแต่อาคันตุกะ! ข้าพเจ้าขอขอบคุณในคำกล่าวของท่าน อนึ่งป่าชงโคนี้เป็นสวรรค์ของข้าพเจ้า เป็นที่ๆ ข้าพเจ้าพอใจเป็นที่สุด ข้าพเจ้าอาศัยอยู่อย่างสงบสุข ข้าพเจ้ากล่าวว่า "สงบสุข" เป็นความถูกต้องโดยแท้ คือทั้งสงบและสุขรวมอยู่ในกระท่อมน้อย และในป่าชงโคนี้" เขากล่าวแล้วยิ้มอย่างภาคภูมิใจ "ดูก่อนผู้มีใจอารี! เหตุไฉนท่านจึงพอใจป่าชงโคนี้เป็นหนักหนา ดูท่านยังอยู่ในวัยหนุ่ม และภรรยาของท่านก็ยังอยู่ในวัยสาว คนหนุ่มสาวน่าจะพอใจในแสงสีแห่งนครหลวงมากกว่าจะยินดีในที่สงัดเปล่าเปลี่ยวเช่นนี้ ท่านถือกำเนิดหรือภูมิลำเนาเดิมอยู่ที่นี้หรือ?" "หามิได้ ท่านสมณะ ข้าพเจ้าเกิดแล้วในท่ามกลางพระนครหลวงทีเดียว" เขาตอบ "คำกล่าวของท่านยิ่งทำให้ข้าพเจ้าประหลาดใจมากขึ้น" พระอานนท์กล่าว "เป็นของน่าประหลาดเกินไปหรือท่าน" ชายหนุ่มกล่าว "ที่คนหนุ่มอย่างข้าพเจ้ามาพอใจในวิเวกดำเนินชีวิตอย่างสงบ" "ประหลาดมากทีเดียว" พระอานนท์รับ "เพราะเหตุใดหรือ?" ชายหนุ่มถาม "เพราะคนส่วนใหญ่หรือโดยมาก ในวัยท่านนี้ย่อมพอใจในความสนุกเพลิดเพลินอีกแบบหนึ่ง คือแบบที่คนส่วนมากเขานิยมกัน คลุกคลีอยู่ด้วยหมู่คณะและอารมณ์เย้ายวนต่างๆ แต่ท่านไม่เป็นอย่างนั้น เพราะฉะนั้นข้าพเจ้าจึงกล่าวว่า ท่านเป็นชายหนุ่มที่ประหลาด มีเหตุการณ์อะไรกระทบกระเทือนใจท่านอย่างรุนแรงหรือ หรือท่านมีอัธยาศัยน้อมไปในวิเวกตั้งแต่ยังเยาว์?" "ข้าแต่อาคันตุกะ! ชายหนุ่มกล่าว "ข้าพเจ้าเข้าใจว่า ทุกคนน่าจะมีหัวเลี้ยวแห่งชีวิตที่สำคัญที่สุดสักครั้งหนึ่งในชีวิตของแต่ละคน และหัวเลี้ยวนั้นเองจะเป็นสาเหตุให้เขาดำเนินชีวิตที่ยืดยาวไปจนกว่าชีวิตจะจบลง ข้าพเจ้ามีหัวเลี้ยวชีวิตอยู่ตอนหนึ่งซึ่งทำให้ข้าพเจ้าเลี้ยวมาทางนี้ และเข้าใจว่า ข้าพเจ้าจะดำเนินชีวิตแบบนี้ต่อไป จนสิ้นลมปราณ" "ดูก่อนผู้พอใจในวิเวก" พระอานนท์กล่าว "ถ้าไม่เป็นการรบกวนเวลาของท่าน ข้าพเจ้าปรารถนาจะรับฟังความเป็นมาแห่งท่านพอเป็นเครื่องประดับความรู้ เวลานี้ปฐมยามแห่งราตรีก็ยังไม่สิ้น ถ้าท่านไม่ขัดข้องหรือไม่ถือเป็นความลับก็ขอได้โปรดเล่าเถิด" ลมปราณปฐมยามพัดแผ่วเข้ามาทางหน้าต่างรำเพยเอากลิ่นดอกไม้ป่าบางชนิดติดตามด้วย หอมเย็นระรื่น ความอบอ้าวของอากาศเมื่อทิวากาลได้ปลาสนการไปแล้ว บรรยากาศในยามนี้เย็นสบาย แสงโสมสาดส่องเข้ามาทางหน้าต่าง ต้องผิวหน้าของชายหนุ่มดูสดใสแต่แฝงไว้ซึ่งแววเศร้าอย่างลึกซึ้ง เขาขยับกายเล็กน้อยก่อนจะกล่าวว่า "ข้าแต่ท่านผู้ทรงพรต! ถ้าท่านยินดีรับฟังเรื่องราวความเป็นมาแห่งข้าพเจ้า ข้าพเจ้าก็ยินดีเล่าสู่ท่านฟัง เรื่องของข้าพเจ้ามีทั้งความสุขและความเศร้า มีทั้งความหวานชื่นและขื่นขม มีสาระบ้างไม่มีสาระบ้าง" เมื่อพระอานนท์แสดงอาการว่าพร้อมแล้ว ชายหนุ่มจึงเริ่มเล่าดังนี้.
ความสุขเป็นสิ่งหาได้ในที่ทุกแห่งและทุกฐานะ เว้นแต่บุคคลจะไม่รู้จักมองหาเ...จากโกสัมพี ราชธานีแห่งแคว้นวังสะ พระพุทธอนุชาผู้ประเสริฐ ได้เดินทางเลียบลำน้ำยมุนาขึ้นไปตอนบนสู่แคว้นกุรุ ซึ่งมีนครอินทปัตถ์เป็นเมืองหลวง และจาริกไปในแคว้นต่างๆ อีกหลายแคว้น จนกระทั่งหวนกลับมาสู่ลุ่มแม่น้ำคงคา วนเวียนอยู่ ณ ลุ่มแม่น้ำคงคาตอนบนแห่งแคว้นปัญจาละ ซึ่งมีนครหัสตินาปุระหรือหัสดินบุรีเป็นราชธานี อันว่าแคว้นปัญจาละนี้ มีแคว้นโกศลอยู่ทางทิศตะวันออก มีแคว้นกุรุอยู่ทางทิศตะวันตก มีหิมาลัยบรรพตอยู่ทางทิศเหนือ และแม่น้ำคงคาอยู่ทางทิศใต้ เป็นแคว้นที่มั่งคั่งพรั่งพร้อมด้วยทรัพยากรธรรมชาติมากหลาย มีทุ่งสาลีเกษตรเหลืองอร่าม มองดูสุดสายตาประดุจปูด้วยหนังโคสีแดง มีดงมะพร้าวเรียงรายยาวเหยียด บางแห่งพื้นที่ประดับด้วยต้นชงโคดอกสีแสดเข้มบานสะพรั่งเรืองอุไรเย็นตา ทัศนาการไปทางทิศเหนือจะเห็นทิวเขาหิมาลัยสูงตระหง่านเสียดฟ้า บางยอดถูกปกคลุมด้วยหิมะตลอดเวลา หิมาลัยบรรพตแดนเกิดแห่งนิยายและเป็นที่รื่นรมย์อย่างยิ่งของผู้สละโลกีย์ มุ่งแสวงหาสันติวรบท มองไปทางด้านใต้ จะเห็นแม่น้ำคงคาไหลเอื่อยเป็นเส้นเลือดใหญ่ของชมพูทวีป เป็นจุดรวมใจของชาวภารตะ แทบจะทุกคนมอบความไว้วางใจไว้ให้พระแม่คงคาเป็นผู้กำชีวิตของตน ทั้งด้านชำระมลทินภายใน และด้านเกษตรกรรม ณ ริมฝั่งแม่น้ำคงคาตอนเหนือ มีชงโคขึ้นระดะ แม้ไม่สู้จะเป็นระเบียบนัก แต่ดอกอันงามเย็นตาของมันก่อให้เกิดความเย็นใจเมื่อได้เห็น เป็นสถานที่ร่มรื่นสงบไม่ใช่ทางสัญจร จึงเหมาะอย่างยิ่งสำหรับสมณะผู้แสวงหาวิเวก วันนั้นพระพุทธอนุชา จาริกเพียงผู้เดียวด้วยจุดประสงค์ คือ แสวงหาที่วิเวกเพื่อพักผ่อน เมื่อผ่านมาเห็นชงโคมีดอกงามบานสะพรั่ง และดูบริเวณเป็นที่รื่นรมย์จึงแวะเข้าพักผ่อนใต้ต้นชงโค ซึ่งมีใบหนาเงาครึ้มต้นหนึ่ง ตรงเบื้องหน้าของท่านมีสระซึ่งเกิดเองตามธรรมชาติ (ชาตสระ) มีปทุมชูดอกสลอน น้ำใสเย็นและจืดสนิทดี ท่านได้ดื่มและล้างหน้าเพื่อระงับความกระหายแล้วนั่งพักอยู่ ณ ที่นั้น จนตะวันรอนแดดอ่อนลง ส่องลอดใบไม้ลงมาเป็นรูปต่างๆ งามน่าดู เสียงนกเล็กๆ บนกิ่งชงโคร้องทักทายกันอย่างเพลิดเพลิน แสดงถึงจิตใจที่ชื่นบาน มันมีความสุขตามประสาสัตว์ ความสุขเป็นสิ่งหาได้ในที่ทุกแห่งและทุกฐานะ เว้นแต่บุคคลจะไม่รู้จักมองหาเท่านั้น พระพุทธองค์เคยตรัสไว้ว่าบุคคลผู้มีปัญญา สามารถจะหาความสุขได้แม้ในสถานะที่น่าทุกข์ ตรงกันข้ามกับคนเขลา แม้จะอยู่ในฐานะที่น่าจะสุขก็มีแต่ความทุกข์ร้อนเศร้าหมองเสียร่ำไป ถ้าเราฝึกใจให้อดได้ ทนได้อยู่เสมอๆ เราจะมีความสุขสบายขึ้นอีกมาก กิเลสซ่อนอยู่ในจิตใจเรา เราไม่ประมาทนะ เราก็คอยรู้เท่าทันจิตใจของเราต่อไป เราอย่าประมาท เราเดินอยู่บนขอบเหวแท้ๆเลย เหมือนเราไต่เชือกไต่อะไรอยู่ พลาดพลั่งไม่ได้นะ ต้องสู้นะ ประมาทไม่ได้เลยนะสังสารวัฎเนี่ย พลาดแวบเดียวเนี่ยไปยาวมากเลยเหมือนเราไต่ภูเขา พลัดตกเหวลงมานะไม่ใช่ง่ายที่จะขึ้นไปทุลักทุเลนะ ต้องเข้มแข็งนะสู้กับกิเลสถอยไม่ได้แต่สู้ต้องมีสติปัญญาเหมือนเราไต่เขาต้องมีสติปัญญาไม่ใช่ไต่โง่ๆ ขึ้นไปนะ ตอนนี้เหนื่อยแล้วต้องหยุดพักหาชะง่อนหิน พักก่อน มีเรี่ยวมีแรงค่อยไต่ใหม่เราภาวนาไปแล้วช่วงนี้เหน็ดเหนื่อยแล้วก็ให้ทำสมถะ ทำความสงบสงบแล้วจิตใจมีเรี่ยวแรงแล้วมาเจริญปัญญารู้กายรู้ใจอีกกระดึ๊บๆๆ ไปเรื่อยไม่ท้อถอยนะจะยากลำบากแค่ไหนก็ถอยไม่ได้นะเป็นโอกาสดีมากๆของพวกเราแล้วที่ได้เจอศาสนาพุทธนะมีโอกาสแล้วต้องทำ ทิ้งโอกาสผ่านไปแล้วก็คือหมดโอกาสหนทางยังมีอยู่ ผู้เดินทางไม่ขาดสาย ให้ลงมือเดินทางเสียตั้งแต่วันนี้ก่อนที่เส้นทางนี้ หรือรอยเท้าของท่านเหล่านี้จะหายไป ถ้าวันใดปัญญาแก่รอบ เห็นความจริงว่าร่างกายนี้เป็นทุกข์ล้วนๆ จิตจะหมดความยึดถือในตัวกายนี้ ตาหูจมูกลิ้นกายนี้ไม่ยึดถือแล้ว เนี่ยก็เลยจะไม่ยึดถือในรูปในเสียงในกลิ่นในรสในโผฏฐัพพะ คือสิ่งที่สัมผัสทางกายด้วยเมื่อไม่ยึดในรูปในเสียงในกลิ่นในรสในโผฏฐัพพะ ไม่ยึดในตาหูจมูกลิ้นกาย ความยินดีในรูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะ ความยินดีในตาหูจมูกลิ้นกาย ก็ไม่มี ความยินร้ายในรูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะ ตาหูจมูกลิ้นกาย ก็ไม่มี จิตไม่ยินดีไม่ยินร้าย จิตพ้นจากกามและปฏิฆะโดยอัตโนมัติ งั้นที่เป็นพระอนาคามีกันนะ เพราะท่านแจ้งแล้ว หมดความยึดถือในตัวรูปธรรม ในตัวกายนี้ ถัดจากนั้นจะไปยึดอยู่ที่จิตอันเดียวแล้ว ต้องภาวนากัน นิพพานอยู่ฟากตาย ต้องสู้ตาย งั้นไม่มีทางเลย เห็นว่าจิตเป็นตัวทุกข์เนี่ย ยิ่งภาวนามากๆนะ จิตยิ่งเป็นตัวสุข ยิ่งสุขโดดเด่นเด่นดวงอยู่ทั้งวันทั้งคืน มีแต่ความสุข ต้องสติปัญญาแก่รอบจริงๆ ถึงจะเห็นเลย จิตนี้เอาเป็นที่พี่งที่อาศัยไม่ได้ มีแต่ทุกข์ กายนี้ก็มีแต่ทุกข์ จิตนี้ก็มีแต่ทุกข์ เพียงแต่บางทีก็ทุกข์มาก บางทีก็ทุกข์น้อย นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรเกิดขึ้น นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรตั้งอยู่ นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรดับไป มีแต่ทุกข์มากกับทุกข์น้อย ถ้าสติปัญญาไม่พอ เวลาทุกข์มากก็ว่าทุกข์ เวลาทุกข์น้อยก็ว่าสุข ทุกข์กับสุขเลยเป็นของสัมพัทธ์ สิ่งสัมพัทธ์ เปรียบเทียบเอา ถ้าตัวสภาวะแท้ๆ มันก็คือตัวทุกข์ ทุกข์มากกับทุกข์น้อย ทีนี้ทำยังไงเราจะเห็นความจริงของธาตุขันธ์อายตนะ รูปนามกายใจได้ เรียกมีหลายชื่อ เป็นธาตุเป็นขันธ์ เป็นอายตนะ เป็นรูปเป็นนาม เป็นกายเป็นใจ จริงๆย่อลงมาก็คือรูปธรรม กับนามธรรมทั้งหมดเลย ทำอย่างไรเราจึงจะเห็นความจริงอันนี้ได้ พระพุทธเจ้าสอนวิธีที่จะเห็นความจริง ชื่อว่าวิปัสสนากรรมฐาน วิปัสสนากรรมฐาน ปัสสนะ แปลว่าการเห็น วิ คือเห็นแจ้งเห็นจริงเห็นถูกต้อง งั้นเราต้องมาเรียน ถ้าเราอยากเข้าสู่ความพ้นทุกข์นะ จนจิตหมดความยึดถือในรูปนาม ไม่หยิบฉวยเอากองทุกข์ขึ้นมา ตัวกายตัวใจเรานี่แหละ รูปนามนี่แหละ ท่านจัดอยู่ในกองทุกข์ ท่านสรุปเลยว่า สังขิตเตนะ ปัญจุปาทานักขันธา ทุกขา โดยสรุป ตัวขันธ์ ๕ นั่นแหละตัวทุกข์ ถ้าเราเห็นตรงนี้นะ ความอยากจะไม่มี เห็นทุกข์เมื่อไหร่ก็ละสมุทัยเมื่อนั้น อย่างถ้าเราเห็นว่ากายนี้ใจนี้เป็นทุกข์ มีแต่ทุกข์อย่างเดียวเลย ทุกข์มากกับทุกข์น้อยเท่านั้น ความอยากจะให้กายเป็นสุขไม่เกิดขึ้น ความอยากจะให้ใจเป็นสุขไม่เกิดขึ้น เพราะรู้ว่ามันเป็นไปไม่ได้ เป็นความอยากที่ไร้เดียงสา เพราะมันเป็นตัวทุกข์ จะไปอยากให้มันสุขได้ยังไง ความอยากจะให้กายให้ใจพ้นทุกข์ก็ไม่มี เพราะมันเป็นตัวทุกข์มันจะพ้นตัวของมันได้อย่างไร งั้นถ้ารู้ทุกข์แจ่มแจ้งนะ ความอยากจะไม่มี เป็นอันละสมุทัยเด็ดขาดเลย ทันทีที่รู้ทุกข์แจ่มแจ้งก็ละสมุทัยเด็ดขาดในขณะนั้นเลย ทันทีที่รู้สมุทัยเด็ดขาด ก็แจ้งพระนิพพานในขณะนั้นเลย ทันทีที่แจ้งพระนิพพานในขณะนั้นนะ อริยมรรค โดยเฉพาะอรหัตมรรคก็จะเกิดขึ้นในขณะนั้นเลย
พระพุทธองค์เคยตรัสไว้ว่าบุคคลผู้มีปัญญาสามารถจะหาความสุขได้แม้ในสถานะที่...ความสุขเป็นสิ่งหาได้ในที่ทุกแห่งและทุกฐานะ เว้นแต่บุคคลจะไม่รู้จักมองหาเท่านั้น พระพุทธองค์เคยตรัสไว้ว่าบุคคลผู้มีปัญญา สามารถจะหาความสุขได้แม้ในสถานะที่น่าทุกข์ ตรงกันข้ามกับคนเขลา แม้จะอยู่ในฐานะที่น่าจะสุขก็มีแต่ความทุกข์ร้อนเศร้าหมองเสียร่ำไป ถ้าเราฝึกใจให้อดได้ ทนได้อยู่เสมอๆ เราจะมีความสุขสบายขึ้นอีกมาก โลกนี้มีคนร้ายและเรื่องร้ายมาก ไม่ว่าจะไปอยู่ที่ไหนและในฐานะใด ย่อมจะต้องพบคนร้ายและเรื่องร้ายทุกหนทุกแห่ง ถ้าสามารถกลับเรื่องร้ายให้กลายเป็นดีได้นั้นเป็นเรื่องประเสริฐ แต่ถ้าไม่สามารถกลับเรื่องร้ายให้เป็นดีได้ในทันที ก็ลองอดทนดูเป็นการศึกษาสถานการณ์และศึกษาบุคคลพร้อมๆ กันไป นานๆ เข้าเรื่องที่เขาเข้าใจว่าร้ายในเบื้องต้นอาจจะเป็นผลดีแก่เรามากในบั้นปลาย จงดูเถิดขยะมูลฝอยที่ใครๆ ทิ้งลงๆ แต่พื้นดินก็สามารถรับขยะมูลฝอยนั้นกลายเป็นปุ๋ย ที่ดินตรงนั้นกลายเป็นดินดีมีคนต้องการมีราคามาก ปลูกพืชผักอะไรลงก็ขึ้นเร็วและสวยงาม คนที่ฝึกตนให้อดได้ ทนได้ มักจะเป็นคนดีมีค่าแก่สังคมอย่างมาก สถานที่จำกัด ทรัพยากรธรรมชาติมีน้อย แต่คนเพิ่มมากขึ้นนานวันไปมนุษย์ยิ่งจะต้องแย่งกันอยู่แย่งกันกินมากขึ้น ความบากบั่นอดทนก็จะต้องใช้มากขึ้น นอกจากนี้ในสังคมมนุษย์มีทั้งคนดีและคนเลว มีอัธยาศัยประณีตและอัธยาศัยทราม ยิ่งผู้น้อยที่ต้องอยู่ร่วมกับผู้ใหญ่ที่มีอัธยาศัยทราม เห็นแก่ตัว และโหดร้ายด้วยแล้ว เขาจะต้องกระทบกระเทือนใจและอดทนสักเพียงใด ลองให้ผู้ใหญ่เลวๆ อย่างนั้นไปอยู่ใต้บังคับบัญชาของคนอื่นดูบ้างซิ เขาจะเป็นผู้ใต้บังคับบัญชาที่เลวหรือไม่ แต่ก็มีอยู่บ้างเหมือนกัน หรือบางทีก็มีอยู่เสมอๆ ที่ทำให้เราต้องประหลาดใจว่า เหตุไฉนคนเลวๆ อย่างนี้จึงเป็นใหญ่เป็นโตขึ้นมาได้ มันเป็นเรื่องของกรรมที่สลับซับซ้อนสุดที่จะแยกแยะให้ถี่ถ้วนด้วยปัญญาสามัญ บัดนี้ พระอาทิตย์ลับขอบฟ้าไปแล้ว ทิ้งไว้แต่ร่องรอยแห่งแสงสว่างเพียงรางๆ เสมือนดรุณีวัยกำดัดยิ้มด้วยความเบิกบานใจ เมื่อหยุดยิ้มแล้วรอยแห่งความร่าเริงก็ยังเหลืออยู่เพียงเล็กน้อย ฉะนั้น พระพุทธอนุชาตั้งใจจะถือเอาโคนชงโคเป็นที่พักกายในราตรีนี้ แต่พอท่านเอนกายลงพิงโคนชงโคนั่นเองได้เหลือบเห็นชายหญิงคู่หนึ่งเดินมา ถือหม้อมาคนละใบมุ่งตรงมาสู่สระ เมื่อได้มองเห็นสมณะนั่งพิงโคนชงโคอยู่เขาจึงเดินอ้อมสระมา พอเห็นชัดว่าเป็นสมณะศากยบุตรเข้าจึงนั่งละไหว้ แล้วชายผู้นั้นก็กล่าวขึ้นว่า "ข้าแต่สมณะ! ข้าพเจ้าอยู่ที่นี่มาเป็นเวลานานไม่เคยได้พบเห็นสมณะผู้ใดมาเยือนสถานที่นี้เลย ข้าพเจ้าทั้งสองแม้จะมิใช่เจ้าของถิ่นโดยแท้จริงก็เหมือนเป็นเจ้าของถิ่น ข้าพเจ้าขอต้อนรับท่านสมณะผู้เป็นอาคันตุกะด้วยความรู้สึกเป็นมิตร และถือเป็นโชคดีที่ได้พบท่านผู้สงบ"
ผู้สละโลกหญ้าสดในทะเลทรายผู้สละโลกและพระอานนท์พระพุทธอนุชาเป็นผลของของท่านอาจารย์ วศิน อินทสระhttp://www.fungdham.com/book/wasin.ht... ฟังธรรม:ท่านอาจารย์วศิน อินทสระหญ้าสดในทะเลทราย ภราดา ! เรื่องเป็นมาอย่างนี้ สมณะรูปหนึ่ง ผิวพรรณผ่องใส มีอินทรีย์สงบ ดำเนินอย่างเชื่องช้าออกจากโคจรคาม ท่านมีจักษุทอดลงต่ำ จะเหลียวซ้ายแลขวาก็เต็มไปด้วยความสำรวมระวังมั่นคงและแจ่มใส ผ้าสีเหลืองหม่นที่คลุมกาย แม้จะเป็นผ้าราคาถูก แต่ได้กลายเป็นของสูงส่งและศักดิ์สิทธิ์ควรแก่การเชิดชูบูชา เพราะได้มาห่อหุ้มสรีระของผู้ทรงศีล มีใจอันประเสริฐ ใครเห็นก็น้อมกายลงเคารพ กาสาวพัสตร์-สัญลักษณ์แห่งความบริสุทธิ์สูงส่ง ที่พระมหาสมณโคดมบรมศาสดาแห่งพระบวรพุทธศาสนา เคยตรัสว่า “ผู้ใดคายกิเลสที่เหนียวแน่นดุจน้ำฝาดได้แล้ว มั่นคงในศีล ประกอบด้วยการฝึกอินทรีย์ (ทมะ) และมีสัจจะ ผู้นั้นควรห่มผ้ากาสาวะ”กาสาวพัสตร์-ธงชัยแห่งผู้มีชัย คือชนะจิตของตนเองได้แล้วใครเล่าจะรังเกียจกาสาวพัสตร์ ถ้ากาสาวะนั้นห่อหุ้มร่างของบุคคลผู้มีกายวาจาใจสะอาดสมควรแก่ภูมิชั้นของตน หนุ่มใหญ่ สง่างาม เครื่องแต่งกายบอกว่าเป็นนักพรตประเภทปริพพาชก* ได้เดินตามสมณะรูปนั้นไปห่างๆ กิริยาอาการของสมณะนั้นจับตาจับใจของเขายิ่งนัก เขาคิดว่าภายในของสมณะรูปนี้ น่าจะมีรัศมีแห่งธรรมอันประเสริฐส่องแสงเจิดจ้าอยู่เป็นแน่แท้ จึงทำให้ท่านมีอินทรีย์สงบและผ่องใสเช่นนั้น มาถึงบริเวณร่มไม้ใหญ่แห่งหนึ่ง สมณะแสดงอาการว่าจะนั่ง ผู้เฝ้าติดตามจึงจัดอาสนะถวาย รอคอยท่านฉัน ไม่กล้าถามอะไรเพราะเกรงใจ ท่าน...
หลวงพ่อปราโมทย์ แสดงธรรม ณ วัดสวนสันติธรรม 30 เม.ย. 2560 ช่วงเช้า
หน้าที่ของเรา เดินจิตเข้าสู่ทางสายกลางพวกเราเวลาคิดถึงการปฏิบัติในใจลึกๆมีไหมคำว่า "จะทำยังไง" คิดตลอดนะ คิดทุกคนแหละ จะทำยังไง จะทำยังไง ห้ามมันไม่ได้หรอก มันจะคิด เพราะมันอยากทำ มันคิดว่าทำแล้วถึงจะได้ ปลอบใจตัวเองอีกนะ ความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จอยู่ที่นั่น พยายามอยู่อย่างนั้น พยายามจนสุดสติสุดปัญญาถึงตรงนั้นนะถึงจะได้ของจริง แต่อาศัยที่เคยพยายามปฏิบัตินะ มันเป็นการพัฒนาสติให้เร็วขึ้น สมาธิให้ตั้งมั่นมากขึ้น ปัญญาก็มีสะสมไปนะ เห็นรูปธรรมนามธรรมเค้าทำงานได้เอง ตรงที่เราจงใจปฏิบัติ จงใจอยากทำ นั่นแหละมันค่อยๆฝึกฝนสติสมาธิปัญญาให้เข้มแข็งมากขึ้นๆนะ ถึงจุดหนึ่งสติปัญญา สติ สมาธิ ปัญญา มันแก่กล้าขึ้นมา จนมันอัตโนมัติ ร่างการพลิกนะ พลิกตัวเนี่ย รู้สึกเองเลยไม่ต้องเจตนารู้สึก ความสุขความทุกข์ กุศลอกุศล อะไรเกิดขึ้นที่จิตนะรู้เองเลยโดยไม่เจตนาจะรู้ มันสารพัดจะเกิดมันจะรู้ได้เอง นี่สติมันอัตโนมัติขึ้นมาแล้ว ไม่ได้จงใจ แต่ก่อนที่จะอัตโนมัติก็ต้องจงใจมาก่อน การที่เราคิดอยู่นะ ทำยังไงจะดี ทำยังไงจะดี แล้วพยายามทำ มันได้พัฒนาสติสมาธิปัญญาขึ้นมา ทำไปเรื่อยๆถึงวันหนึ่งพบว่า เอ..ทำไงมันก็ดีไม่ถาวร สุขก็ไม่ถาวร สงบก็ไม่ถาวร ตัวผู้รู้ก็ไม่ถาวร ตัวผู้รู้เกิดได้กลายเป็นตัวผู้คิดได้ หรือกลายเป็นตัวผู้เพ่งได้ มีแต่ของไม่ถาวร ก็พย๊ามพยามนะ อยากจะให้ดีถาวร สุขถาวร สงบถาวร ถามใจของพวกเราดูซิ เราปฏิบัติเราอยากได้ตรงนี้ใช่ไหม อยากได้มรรคผลนิพพานนะจริงๆเพราะอะไร? มรรคผลนิพพานมันน่าจะดีถาวร มันน่าจะสุขถาวร มันน่าจะสงบถาวร เราอยากได้สิ่งเหล่านี้ ถ้ามีสติปัญญามาก ก็อยากได้มรรคผลนิพพานเพื่อจะดีถาวร สุขถาวร สงบถาวร ถ้าโง่กว่านั้นนะ ก็ไปทำสมาธิ ทำอะไรขึ้นมา ก็ดีเหมือนกัน ดีช่วงที่มีสมาธิอยู่ สงบช่วงที่มีสมาธิอยู่ สุขช่วงที่มีสมาธิอยู่ พอมันเสื่อมแล้วก็หายไปอีก ต้องมาทำอีก นี้ก็แล้วแต่สติ แล้วแต่ปัญญา บางคนอยากได้มรรคผลนิพพานเพราะว่ามันดี มันสุข มันสงบนั่นแหละ ตะเกียกตะกายนะหาสิ่งเหล่านี้ไปเรื่อย คิดว่าถ้าเราฝึกได้ดีเต็มที่แล้ววันหนึ่งจิตเราจะดีถาวร สุขถาวร สงบถาวร เพราะคิดว่าจิตเป็นเรานั่นแหละ คิดจะทำให้มันดีให้ได้ คิดจะทำให้มันสุขให้ได้ คิดจะทำให้มันสงบให้ได้ ดีชั่วคราว สุขชั่วคราว สงบชั่วคราว ก็ไม่พอใจ จะเอาถาวร สุดท้าย พากเพียรแทบล้มแทบตายก็พบว่าดีก็ชั่วคราว สุขก็ชั่วคราว สงบก็ชั่วคราว จิตผู้รู้ก็ชั่วคราว อะไรๆก็ชั่วคราวหมดเลย ไม่เห็นมีตรงไหนเลยที่มันจะถาวรได้ จิตยอมรับความจริงตรงนี้ได้ จิตก็หมดแรงดิ้นนะ จะดิ้นไปทำไมล่ะ ดิ้นหาดี หาสุข หาสงบ ดิ้นยังไงก็ไม่มี มีก็มีชั่วคราวเดี๋ยวก็หายไปอีก นี่จิตจะหยุดแรงดิ้น หมดแรงดิ้น จิตที่แรงดิ้นเพราะว่าดิ้นมาสุดขีดแล้วนะ สติก็สุดขีดแล้ว สมาธิก็สุดขีดแล้ว ปัญญาก็สุดขีดแล้ว สติสุดขีดก็คือ ไม่เจตนาจะรู้ ก็รู้..รู้..รู้ทั้งวันเลย รู้ทั้งคืนด้วย สมาธิก็จิตตั้งมั่นเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน รู้อยู่อย่างนี้ ไม่เป็นผู้หลงนะ อย่างมากก็หลงแว๊บๆ ก็กลับมาเป็นผู้รู้อย่างรวดเร็ว จะทำสมาธิให้มากกว่านี้ก็ไม่รู้จะทำยังไง จะทำสติให้มากกว่านี้ก็ไม่รู้จะทำยังไง จะเจริญปัญญาให้มากกว่านี้ก็ไม่รู้จะทำยังไงนะ มันจนมุมไปหมดเลย คือ สติก็ทำมาจนไม่รู้จะทำยังไงแล้ว สมาธิก็ทำจนไม่รู้จะทำยังไง ปัญญาก็ไม่รู้จะพลิกแพลงไปพิจารณาอะไรอีกต่อไปแล้ว เนี่ยจิตถ้าภาวนามาสุดขีดนะมันจะเข้ามาสู่ภาวะแห่งความจนมุม มันจะหยุดแรงดิ้น มันจะหมดความอยากว่าทำยังไงจะพ้นทุกข์ได้ ทำยังไงจะสุขถาวร ทำยังไงจะดีถาวร ทำยังไงจะสงบถาวร เพราะมันดิ้นมาจนสุดฤทธิ์สุดเดชแล้ว ก็ไม่รู้จะทำยังไง ทำไม่ได้สักที พอจิตหมดแรงดิ้นนะ จิตก็สักว่ารู้ว่าเห็น ตรงนี้แหละสักว่ารู้ว่าเห็นขึ้นมา อย่างที่พวกเราพูดว่าสักว่ารู้ว่าเห็น ไม่จริงหรอก ไม่ยอมสักว่ารู้ว่าเห็นหรอก มีแต่ว่าทำยังไงจะดีกว่านี้อีก ทำยังไงดี ทำยังไงจะดี ทำยังไงจะถูก รู้สึกไหมแต่ละวัน นักปฏิบัติตื่นนอนก็คิดวันนี้จะทำยังไงดี คิดอย่างนี้แหละนะ จนกระทั่งมันสุดสติสุดปัญญา ทำยังไงมันก็ดีกว่านี้ไปไม่ได้แล้ว ยอมรับสภาพมัน จิตหมดแรงดิ้น จิตหมดความปรุงแต่ง หมดแรงดิ้นรน พอจิตไม่มีความปรุงแต่ง ไม่มีความดิ้นรน อยู่ตรงนี้ช่วงหนึ่งนะ พอจิตหมดแรงดิ้นก็ไม่ปรุง อะไรเกิดขึ้นก็แค่รู้ อะไรเกิดขึ้นก็แค่รู้ ไม่ปรุงต่อ จิตก็เรียกว่าจิตเข้าถึงความเป็นอนุโลม อนุโลมญาณ หมายถึงว่าอะไรเกิดขึ้นก็คล้อยตามมันไป คล้อยตามนี่ไม่ใชหลงตามมันไป ก็แค่เห็นนะ เออ ก็มีขึ้นมา เออ หายไป ก็แค่นั้นเองนะ ไม่ต่อต้าน ไม่หลงตามไป ยอมรับ มันมาก็มา มันไปก็ไป นี่จิตมีอุเบกขาอย่างแท้จริงเลยนะ คล้อยตามทุกสิ่งทุกอย่าง ก็เห็นแต่ความจริง ทุกอย่างมาแล้วก็ไปมาแล้วก็ไป นี่จิตเห็นอยู่แค่นี้เอง นี่ถ้าจิต สติ สมาธิ ปัญญา ศีล สมาธิ ปัญญา บุญบารมีอะไรแก่รอบแล้วนะ จิตหยุดความปรุงแต่งแล้วมันจะรวมเข้าอัปปนาสมาธิ รวมเอง ทำไมมันรวมเข้าอัปปนาสมาธิได้เอง เพราะว่าจิตไม่ไหลไปตามกาม ฌานมันจะเกิดเอง โดยธรรมชาติของจิตนี่ต้องเวียนอยู่ในภพ ภพที่จิตเวียนอยู่ได้มี ๓ ภพเท่านั้น หนึ่ง กามาวจรภพ ภพที่เวียนไปในกาม คือหาอารมณ์เพลิดเพลินไปทางตา หู จมูก ลิ้น กาย เพลินไปเรื่อย พวกเราจิตหมุนอยู่ติ้วๆ ทางตาหูจมูกลิ้นกาย นึกออกไหม อันนี้แหละเรียกว่ากามภพ เรียกให้เต็มยศนะเรียก กามาวจรภูมิ ใจก็ไปเวียนอย่างนี้ ถ้าหลุดออกจากกามภพนะ ก็เข้าไป รูปภพ หรือว่า รูปภูมิ ก็คือเข้าไปสงบอยู่กับการรู้รูป เช่นรู้ลมหายใจ แล้วจิตไม่เอาแล้วโลกข้างนอก อารมณ์ทางตาหูจมูกลิ้นกาย ไม่เห็นจะมีสาระอะไร จิตมารวมลงที่อารมณ์ภายในอันเดียว อาจจะมารู้ลมหายใจอยู่อันเดียว รู้ร่างกายอยู่อันเดียว มาเพ่งรูปอยู่อันเดียว เพ่งดวงกสิณ ดวงนิมิตอยู่อันเดียว จิตเพ่งรูปอยู่เรียกว่ารูปภูมิ ถ้าจิตไม่อยู่ในกามภูมิ ไม่อยู่ในรูปภูมิ จิตก็ต้องเข้า อรูปภูมิ ทิ้งรูปไปแล้วไปอยู่กับนามธรรม เช่นไปอยู่กับความว่าง จิตอยู่ในความว่าง อยู่กับความไม่มีอะไรเลย เพราะงั้นที่เค้าสอนภาวนา บางคนสอนภาวนาให้ไปอยู่ในความว่าง อันนั้นเพี้ยนนะ ไม่ใช่ทางของพระพุทธเจ้า มันก็เป็นอรูปภูมิ เป็นภูมิอีกภูมิหนึ่ง เป็นภพอีกภพหนึ่งเท่านั้นเอง งั้นถ้าสติปัญญาเราพอนะ เรารู้เลยจิตมันแส่ส่ายออกทางตาหูจมูกลิ้นกายมีแต่ทุกข์ จิตไม่แส่ส่าย พอจิตไม่แส่ส่ายจิตก็หลุดออกจากกามภูมิ เข้ารูปภูมิหรืออรูปภูมิ เข้าเองเลย เพราะงั้นพวกเราหัดเจริญสติไปเรื่อย พอศีลสมาธิปัญญา สติสมาธิปัญญาแก่รอบนะ จิตจะหมดความหลงไหลรูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะทั้งหลายมาดึงดูดจิตไหลไปไม่ได้แล้ว อย่างน้อยก็ชั่วขณะ ชั่วขณะเท่านั้นแหละ ถ้าจิตมันตั้งมั่นรู้ไหลออกไปแล้วทุกข์ ก็ตั้งเด่นดวงอยู่ จิตก็เข้าฌานอัตโนมัติ เพราะงั้นถึงเราจะเจริญสติเจริญปัญญาโดยเข้าฌานไม่เป็น ถึงนาทีสุดท้ายที่จะเกิดอริยมรรคอริยผลในทุกขั้นตอน ตั้งแต่โสดาปัตติมรรคจนถึงอรหัตมรรคเนี่ย จิตจะเข้าฌานของเค้าเอง ยกเว้นคนซึ่งเดินปัญญาอยู่ในฌาน เวลาที่จะเกิดอริยมรรคไม่ต้องถอยออกมาอยู่ในโลกก่อนนะ ไม่ต้องกลับมาอยู่กามภูมิก่อนนะ จิตเค้าจะตัดอยู่ข้างในได้เลย นี่เป็นพวกหนึ่ง แต่รวมความก็คืออริยมรรคไม่เกิดอยู่ในจิตที่อยู่ในกามอย่างพวกเรา อริยมรรคจะต้องเกิดอยู่ในรูปภูมิหรืออรูปภูมินะ จะเกิดอยู่ตรงนั้น ไปล้างกันตรงนั้น จิตจะเข้าฌานอัตโนมัติ พอจิตเข้าฌานแล้วคราวนี้สติระลึกรู้อยู่ที่จิตนะ ไม่ได้เจตนาระลึก มันรู้เอง เพราะมันไม่แส่ส่ายออกไปที่ตาหูจมูกลิ้นกายใจ ไม่แส่ส่ายไปในความคิด ก็หยุดลงที่จิตดวงเดียว สติหยั่งลงที่จิต จิตตั้งมั่นอยู่ที่จิต เพราะงั้นสมาธินี่เต็มสมบูรณ์แล้ว ตั้งมั่นอยู่ที่จิต สติสมบูรณ์แล้ว ระลึกอยู่ที่จิต ปัญญาสมบูรณ์แล้ว เห็นความเป็นจริงทุกสิ่งที่อย่างที่เคลื่อนไหวอยู่ในจิตนะ ตรงนี้แหละจิตจะไหวตัวขึ้นมาสองสามขณะ คือปรุงขึ้นมานะแต่ไม่รู้ว่าคิดอะไร ไม่รู้ว่าปรุงอะไร มีความปรุงแต่งเกิดขึ้นแต่ไม่รู้ว่าปรุงอะไร จะเห็นแต่ว่าสิ่งบางสิ่งเกิดขึ้นแล้วสิ่งนั้นดับไป จะเห็นอย่างนี้เอง เห็นเอง ถัดจากนั้นนะจิตจะรู้เลยมันไม่มีสาระอะไร จิตมันจืดนะ มันไม่เอาอีกแล้ว ก็แค่เห็นความปรุงภายในจิตผุดขึ้น พอเห็นความปรุงภายในจิตผุดขึ้นสองสามขณะ ความเห็นกลางอย่างแท้จริงเลย รู้อย่างเป็นกลางอย่างแท้จริงไม่ปรุงต่อนะ จิตจะวาง พอมันวางแล้วมันจะทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้ วางจิตแล้วทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้ ธาตุรู้ก็จิตนั่นแหละ มันเป็นจิตอีกอย่างหนึ่ง พอจิตดวงเก่ามันดับไป จิตที่อยู่ในภพภูมิต่างๆมันดับไป มันทวนกระแสเข้าหาจิตที่เหนือภพเหนือภูมิ ทวนกระแสเข้ามา ขณะที่มันปล่อยวางจิตดวงเดิมนะ แล้วก็ทวนเข้ามาแต่ยังไม่ถึงธาตุรู้นะ คาบลูกคาบดอก ไม่ได้เกาะขันธ์แล้วนะ แต่ก็ยังเข้ามาไม่ถึงตัวธาตุรู้ ไม่ถึงอมตะธาตุอมตะธรรม ไม่ถึงพระนิพพาน ธาตุรู้ไม่ใช่พระนิพพานนะ แต่ธาตุรู้ไปเห็นพระนิพพาน ต้องแยกให้ออก มันยังทวนไม่ถึงธาตุรู้ ไม่ใช่ปุถุชน ไม่ใช่พระอริยะ ทำไมไม่ใช่ปุถุชน เพราะมันปล่อยขันธ์แล้ว ขันธ์สุดท้ายที่มันปล่อยก็คือจิต ไม่ใช่พระอริยะ เพราะยังไม่เข้ามาถึงธาตุรู้ ไม่เข้าถึงพระนิพพาน ตัวธาตุรู้นั่นแหละเป็นตัวไปเห็นพระนิพพาน ตรงนี้นะเรียกว่าโคตรภูญาณ ญาณข้ามโคตร มีปัญญาข้ามโคตร ข้ามโคตรจากโคตรไหนมาสู่โคตรไหน? จากโคตรของปุถุชนมาสู่โคตรของอริยชน เพราะงั้นบรรลุมรรคผลแล้วเปลี่ยนโคตรนะ ข้ามจากสกุลของปุถุชน ข้ามมาสู่อริยวงศ์อริยโคตร เรียกญาณข้ามโคตร ไม่ใช่ปุถุชนนะ กำลังข้ามอยู่ ไม่ใช่พระอริยะ มีอยู่ขณะจิตเดียวแหละที่คาบลูกคาบดอกประหลาดอยู่อย่างนี้ ข้ามมา ทวนเข้ามาถึงจิตแท้ ถึงธาตุรู้แท้ๆ ธรรมธาตุ ตัวนี้อริยมรรคก็จะเกิดขึ้น อาสวกิเลสที่ห่อหุ้มจิตอยู่ถูกอริยมรรคแหวกออกทำลายออก ก็ล้างกิเลส ล้างในพริบตาเดียว ในขณะเดียว วับเดียวเลย ขาดเลย มันคล้ายๆเปิดสวิตซ์ไฟ ปั๊บ สว่างวุ๊บเดียวความมืดหายไปเลย ในพริบตานั้นเลย จากนั้นนะจะเห็นพระนิพพานอีกสองสามขณะ เห็นไม่เท่ากันหรอก บางคนเห็นสองขณะ บางคนเห็นสามขณะ ถ้าพวกอินทรีย์กล้ามากๆก็เห็นสามขณะ พวกอินทรีย์ยังไม่กล้ามากก็เห็นสองขณะนะ งั้นพระอริยะในภูมิธรรมอันเดียวกันระดับเดียวกัน ความรู้ความเข้าใจไม่เท่ากัน ความแตกฉานอะไรนี้ไม่เท่ากัน เห็นพระนิพพานแล้วก็รู้ว่านิพพานอยู่ต่อหน้าต่อตา นิพพานไม่เคยหายไปไหน อยู่ต่อหน้าต่อตานี่แหละ แต่โง่เองไม่เห็น ทำไมไม่เห็น? มัวแต่เห็นแต่กาม มัวแต่เห็นรูปภพ มัวแต่เห็นอรูปภพ จิตไม่รู้จักปล่อย ตรงที่เค้าปล่อยน่ะเค้าข้าม เค้าทิ้งแล้ว ตรงโคตรภูญาณที่จิตข้ามโคตร ข้ามจากปุถุชนมาเป็นพระอริยะ ข้ามตรงนี้มันทิ้งหมดเลยนะ มันทิ้งกามภูมิ รูปภูมิ อรูปภูมิ ทิ้งหมดเลย ข้ามมาสู่อริยภูมิ โลกุตรภูมิ ข้ามเอง พวกเราก็มีหน้าที่ภาวนาให้มันพอเท่านั้นแหละนะ ถ้ามันพอเมื่อไหร่มันก็ข้ามโคตรไป เปลี่ยนสกุลไม่ใช่นามสกุลเดิม โดยสมมุติบัญญัติก็เป็นนามสกุลเดิม โดยปรมัตถ์แท้ๆก็ไม่ใช่แล้ว ก็มาเป็นลูกพระพุทธเจ้า ..งั้นเราภาวนานะ ค่อยหัดไปเรื่อย ถึงวันหนึ่งเราก็คงได้รับผลประโยชน์จากการที่เราอดทนภาวนากันนะ สวนสันติธรรม วันศุกร์ ที่ ๕ สิงหาคม ๒๕๕๔
หน้าที่ของเรา เดินจิตเข้าสู่ทางสายกลางพวกเราเวลาคิดถึงการปฏิบัติในใจลึกๆมีไหมคำว่า "จะทำยังไง" คิดตลอดนะ คิดทุกคนแหละ จะทำยังไง จะทำยังไง ห้ามมันไม่ได้หรอก มันจะคิด เพราะมันอยากทำ มันคิดว่าทำแล้วถึงจะได้ ปลอบใจตัวเองอีกนะ ความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จอยู่ที่นั่น พยายามอยู่อย่างนั้น พยายามจนสุดสติสุดปัญญาถึงตรงนั้นนะถึงจะได้ของจริง แต่อาศัยที่เคยพยายามปฏิบัตินะ มันเป็นการพัฒนาสติให้เร็วขึ้น สมาธิให้ตั้งมั่นมากขึ้น ปัญญาก็มีสะสมไปนะ เห็นรูปธรรมนามธรรมเค้าทำงานได้เอง ตรงที่เราจงใจปฏิบัติ จงใจอยากทำ นั่นแหละมันค่อยๆฝึกฝนสติสมาธิปัญญาให้เข้มแข็งมากขึ้นๆนะ ถึงจุดหนึ่งสติปัญญา สติ สมาธิ ปัญญา มันแก่กล้าขึ้นมา จนมันอัตโนมัติ ร่างการพลิกนะ พลิกตัวเนี่ย รู้สึกเองเลยไม่ต้องเจตนารู้สึก ความสุขความทุกข์ กุศลอกุศล อะไรเกิดขึ้นที่จิตนะรู้เองเลยโดยไม่เจตนาจะรู้ มันสารพัดจะเกิดมันจะรู้ได้เอง นี่สติมันอัตโนมัติขึ้นมาแล้ว ไม่ได้จงใจ แต่ก่อนที่จะอัตโนมัติก็ต้องจงใจมาก่อน การที่เราคิดอยู่นะ ทำยังไงจะดี ทำยังไงจะดี แล้วพยายามทำ มันได้พัฒนาสติสมาธิปัญญาขึ้นมา ทำไปเรื่อยๆถึงวันหนึ่งพบว่า เอ..ทำไงมันก็ดีไม่ถาวร สุขก็ไม่ถาวร สงบก็ไม่ถาวร ตัวผู้รู้ก็ไม่ถาวร ตัวผู้รู้เกิดได้กลายเป็นตัวผู้คิดได้ หรือกลายเป็นตัวผู้เพ่งได้ มีแต่ของไม่ถาวร ก็พย๊ามพยามนะ อยากจะให้ดีถาวร สุขถาวร สงบถาวร ถามใจของพวกเราดูซิ เราปฏิบัติเราอยากได้ตรงนี้ใช่ไหม อยากได้มรรคผลนิพพานนะจริงๆเพราะอะไร? มรรคผลนิพพานมันน่าจะดีถาวร มันน่าจะสุขถาวร มันน่าจะสงบถาวร เราอยากได้สิ่งเหล่านี้ ถ้ามีสติปัญญามาก ก็อยากได้มรรคผลนิพพานเพื่อจะดีถาวร สุขถาวร สงบถาวร ถ้าโง่กว่านั้นนะ ก็ไปทำสมาธิ ทำอะไรขึ้นมา ก็ดีเหมือนกัน ดีช่วงที่มีสมาธิอยู่ สงบช่วงที่มีสมาธิอยู่ สุขช่วงที่มีสมาธิอยู่ พอมันเสื่อมแล้วก็หายไปอีก ต้องมาทำอีก นี้ก็แล้วแต่สติ แล้วแต่ปัญญา บางคนอยากได้มรรคผลนิพพานเพราะว่ามันดี มันสุข มันสงบนั่นแหละ ตะเกียกตะกายนะหาสิ่งเหล่านี้ไปเรื่อย คิดว่าถ้าเราฝึกได้ดีเต็มที่แล้ววันหนึ่งจิตเราจะดีถาวร สุขถาวร สงบถาวร เพราะคิดว่าจิตเป็นเรานั่นแหละ คิดจะทำให้มันดีให้ได้ คิดจะทำให้มันสุขให้ได้ คิดจะทำให้มันสงบให้ได้ ดีชั่วคราว สุขชั่วคราว สงบชั่วคราว ก็ไม่พอใจ จะเอาถาวร สุดท้าย พากเพียรแทบล้มแทบตายก็พบว่าดีก็ชั่วคราว สุขก็ชั่วคราว สงบก็ชั่วคราว จิตผู้รู้ก็ชั่วคราว อะไรๆก็ชั่วคราวหมดเลย ไม่เห็นมีตรงไหนเลยที่มันจะถาวรได้ จิตยอมรับความจริงตรงนี้ได้ จิตก็หมดแรงดิ้นนะ จะดิ้นไปทำไมล่ะ ดิ้นหาดี หาสุข หาสงบ ดิ้นยังไงก็ไม่มี มีก็มีชั่วคราวเดี๋ยวก็หายไปอีก นี่จิตจะหยุดแรงดิ้น หมดแรงดิ้น จิตที่แรงดิ้นเพราะว่าดิ้นมาสุดขีดแล้วนะ สติก็สุดขีดแล้ว สมาธิก็สุดขีดแล้ว ปัญญาก็สุดขีดแล้ว สติสุดขีดก็คือ ไม่เจตนาจะรู้ ก็รู้..รู้..รู้ทั้งวันเลย รู้ทั้งคืนด้วย สมาธิก็จิตตั้งมั่นเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน รู้อยู่อย่างนี้ ไม่เป็นผู้หลงนะ อย่างมากก็หลงแว๊บๆ ก็กลับมาเป็นผู้รู้อย่างรวดเร็ว จะทำสมาธิให้มากกว่านี้ก็ไม่รู้จะทำยังไง จะทำสติให้มากกว่านี้ก็ไม่รู้จะทำยังไง จะเจริญปัญญาให้มากกว่านี้ก็ไม่รู้จะทำยังไงนะ มันจนมุมไปหมดเลย คือ สติก็ทำมาจนไม่รู้จะทำยังไงแล้ว สมาธิก็ทำจนไม่รู้จะทำยังไง ปัญญาก็ไม่รู้จะพลิกแพลงไปพิจารณาอะไรอีกต่อไปแล้ว เนี่ยจิตถ้าภาวนามาสุดขีดนะมันจะเข้ามาสู่ภาวะแห่งความจนมุม มันจะหยุดแรงดิ้น มันจะหมดความอยากว่าทำยังไงจะพ้นทุกข์ได้ ทำยังไงจะสุขถาวร ทำยังไงจะดีถาวร ทำยังไงจะสงบถาวร เพราะมันดิ้นมาจนสุดฤทธิ์สุดเดชแล้ว ก็ไม่รู้จะทำยังไง ทำไม่ได้สักที พอจิตหมดแรงดิ้นนะ จิตก็สักว่ารู้ว่าเห็น ตรงนี้แหละสักว่ารู้ว่าเห็นขึ้นมา อย่างที่พวกเราพูดว่าสักว่ารู้ว่าเห็น ไม่จริงหรอก ไม่ยอมสักว่ารู้ว่าเห็นหรอก มีแต่ว่าทำยังไงจะดีกว่านี้อีก ทำยังไงดี ทำยังไงจะดี ทำยังไงจะถูก รู้สึกไหมแต่ละวัน นักปฏิบัติตื่นนอนก็คิดวันนี้จะทำยังไงดี คิดอย่างนี้แหละนะ จนกระทั่งมันสุดสติสุดปัญญา ทำยังไงมันก็ดีกว่านี้ไปไม่ได้แล้ว ยอมรับสภาพมัน จิตหมดแรงดิ้น จิตหมดความปรุงแต่ง หมดแรงดิ้นรน พอจิตไม่มีความปรุงแต่ง ไม่มีความดิ้นรน อยู่ตรงนี้ช่วงหนึ่งนะ พอจิตหมดแรงดิ้นก็ไม่ปรุง อะไรเกิดขึ้นก็แค่รู้ อะไรเกิดขึ้นก็แค่รู้ ไม่ปรุงต่อ จิตก็เรียกว่าจิตเข้าถึงความเป็นอนุโลม อนุโลมญาณ หมายถึงว่าอะไรเกิดขึ้นก็คล้อยตามมันไป คล้อยตามนี่ไม่ใชหลงตามมันไป ก็แค่เห็นนะ เออ ก็มีขึ้นมา เออ หายไป ก็แค่นั้นเองนะ ไม่ต่อต้าน ไม่หลงตามไป ยอมรับ มันมาก็มา มันไปก็ไป นี่จิตมีอุเบกขาอย่างแท้จริงเลยนะ คล้อยตามทุกสิ่งทุกอย่าง ก็เห็นแต่ความจริง ทุกอย่างมาแล้วก็ไปมาแล้วก็ไป นี่จิตเห็นอยู่แค่นี้เอง นี่ถ้าจิต สติ สมาธิ ปัญญา ศีล สมาธิ ปัญญา บุญบารมีอะไรแก่รอบแล้วนะ จิตหยุดความปรุงแต่งแล้วมันจะรวมเข้าอัปปนาสมาธิ รวมเอง ทำไมมันรวมเข้าอัปปนาสมาธิได้เอง เพราะว่าจิตไม่ไหลไปตามกาม ฌานมันจะเกิดเอง โดยธรรมชาติของจิตนี่ต้องเวียนอยู่ในภพ ภพที่จิตเวียนอยู่ได้มี ๓ ภพเท่านั้น หนึ่ง กามาวจรภพ ภพที่เวียนไปในกาม คือหาอารมณ์เพลิดเพลินไปทางตา หู จมูก ลิ้น กาย เพลินไปเรื่อย พวกเราจิตหมุนอยู่ติ้วๆ ทางตาหูจมูกลิ้นกาย นึกออกไหม อันนี้แหละเรียกว่ากามภพ เรียกให้เต็มยศนะเรียก กามาวจรภูมิ ใจก็ไปเวียนอย่างนี้ ถ้าหลุดออกจากกามภพนะ ก็เข้าไป รูปภพ หรือว่า รูปภูมิ ก็คือเข้าไปสงบอยู่กับการรู้รูป เช่นรู้ลมหายใจ แล้วจิตไม่เอาแล้วโลกข้างนอก อารมณ์ทางตาหูจมูกลิ้นกาย ไม่เห็นจะมีสาระอะไร จิตมารวมลงที่อารมณ์ภายในอันเดียว อาจจะมารู้ลมหายใจอยู่อันเดียว รู้ร่างกายอยู่อันเดียว มาเพ่งรูปอยู่อันเดียว เพ่งดวงกสิณ ดวงนิมิตอยู่อันเดียว จิตเพ่งรูปอยู่เรียกว่ารูปภูมิ ถ้าจิตไม่อยู่ในกามภูมิ ไม่อยู่ในรูปภูมิ จิตก็ต้องเข้า อรูปภูมิ ทิ้งรูปไปแล้วไปอยู่กับนามธรรม เช่นไปอยู่กับความว่าง จิตอยู่ในความว่าง อยู่กับความไม่มีอะไรเลย เพราะงั้นที่เค้าสอนภาวนา บางคนสอนภาวนาให้ไปอยู่ในความว่าง อันนั้นเพี้ยนนะ ไม่ใช่ทางของพระพุทธเจ้า มันก็เป็นอรูปภูมิ เป็นภูมิอีกภูมิหนึ่ง เป็นภพอีกภพหนึ่งเท่านั้นเอง งั้นถ้าสติปัญญาเราพอนะ เรารู้เลยจิตมันแส่ส่ายออกทางตาหูจมูกลิ้นกายมีแต่ทุกข์ จิตไม่แส่ส่าย พอจิตไม่แส่ส่ายจิตก็หลุดออกจากกามภูมิ เข้ารูปภูมิหรืออรูปภูมิ เข้าเองเลย เพราะงั้นพวกเราหัดเจริญสติไปเรื่อย พอศีลสมาธิปัญญา สติสมาธิปัญญาแก่รอบนะ จิตจะหมดความหลงไหลรูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะทั้งหลายมาดึงดูดจิตไหลไปไม่ได้แล้ว อย่างน้อยก็ชั่วขณะ ชั่วขณะเท่านั้นแหละ ถ้าจิตมันตั้งมั่นรู้ไหลออกไปแล้วทุกข์ ก็ตั้งเด่นดวงอยู่ จิตก็เข้าฌานอัตโนมัติ เพราะงั้นถึงเราจะเจริญสติเจริญปัญญาโดยเข้าฌานไม่เป็น ถึงนาทีสุดท้ายที่จะเกิดอริยมรรคอริยผลในทุกขั้นตอน ตั้งแต่โสดาปัตติมรรคจนถึงอรหัตมรรคเนี่ย จิตจะเข้าฌานของเค้าเอง ยกเว้นคนซึ่งเดินปัญญาอยู่ในฌาน เวลาที่จะเกิดอริยมรรคไม่ต้องถอยออกมาอยู่ในโลกก่อนนะ ไม่ต้องกลับมาอยู่กามภูมิก่อนนะ จิตเค้าจะตัดอยู่ข้างในได้เลย นี่เป็นพวกหนึ่ง แต่รวมความก็คืออริยมรรคไม่เกิดอยู่ในจิตที่อยู่ในกามอย่างพวกเรา อริยมรรคจะต้องเกิดอยู่ในรูปภูมิหรืออรูปภูมินะ จะเกิดอยู่ตรงนั้น ไปล้างกันตรงนั้น จิตจะเข้าฌานอัตโนมัติ พอจิตเข้าฌานแล้วคราวนี้สติระลึกรู้อยู่ที่จิตนะ ไม่ได้เจตนาระลึก มันรู้เอง เพราะมันไม่แส่ส่ายออกไปที่ตาหูจมูกลิ้นกายใจ ไม่แส่ส่ายไปในความคิด ก็หยุดลงที่จิตดวงเดียว สติหยั่งลงที่จิต จิตตั้งมั่นอยู่ที่จิต เพราะงั้นสมาธินี่เต็มสมบูรณ์แล้ว ตั้งมั่นอยู่ที่จิต สติสมบูรณ์แล้ว ระลึกอยู่ที่จิต ปัญญาสมบูรณ์แล้ว เห็นความเป็นจริงทุกสิ่งที่อย่างที่เคลื่อนไหวอยู่ในจิตนะ ตรงนี้แหละจิตจะไหวตัวขึ้นมาสองสามขณะ คือปรุงขึ้นมานะแต่ไม่รู้ว่าคิดอะไร ไม่รู้ว่าปรุงอะไร มีความปรุงแต่งเกิดขึ้นแต่ไม่รู้ว่าปรุงอะไร จะเห็นแต่ว่าสิ่งบางสิ่งเกิดขึ้นแล้วสิ่งนั้นดับไป จะเห็นอย่างนี้เอง เห็นเอง ถัดจากนั้นนะจิตจะรู้เลยมันไม่มีสาระอะไร จิตมันจืดนะ มันไม่เอาอีกแล้ว ก็แค่เห็นความปรุงภายในจิตผุดขึ้น พอเห็นความปรุงภายในจิตผุดขึ้นสองสามขณะ ความเห็นกลางอย่างแท้จริงเลย รู้อย่างเป็นกลางอย่างแท้จริงไม่ปรุงต่อนะ จิตจะวาง พอมันวางแล้วมันจะทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้ วางจิตแล้วทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้ ธาตุรู้ก็จิตนั่นแหละ มันเป็นจิตอีกอย่างหนึ่ง พอจิตดวงเก่ามันดับไป จิตที่อยู่ในภพภูมิต่างๆมันดับไป มันทวนกระแสเข้าหาจิตที่เหนือภพเหนือภูมิ ทวนกระแสเข้ามา ขณะที่มันปล่อยวางจิตดวงเดิมนะ แล้วก็ทวนเข้ามาแต่ยังไม่ถึงธาตุรู้นะ คาบลูกคาบดอก ไม่ได้เกาะขันธ์แล้วนะ แต่ก็ยังเข้ามาไม่ถึงตัวธาตุรู้ ไม่ถึงอมตะธาตุอมตะธรรม ไม่ถึงพระนิพพาน ธาตุรู้ไม่ใช่พระนิพพานนะ แต่ธาตุรู้ไปเห็นพระนิพพาน ต้องแยกให้ออก มันยังทวนไม่ถึงธาตุรู้ ไม่ใช่ปุถุชน ไม่ใช่พระอริยะ ทำไมไม่ใช่ปุถุชน เพราะมันปล่อยขันธ์แล้ว ขันธ์สุดท้ายที่มันปล่อยก็คือจิต ไม่ใช่พระอริยะ เพราะยังไม่เข้ามาถึงธาตุรู้ ไม่เข้าถึงพระนิพพาน ตัวธาตุรู้นั่นแหละเป็นตัวไปเห็นพระนิพพาน ตรงนี้นะเรียกว่าโคตรภูญาณ ญาณข้ามโคตร มีปัญญาข้ามโคตร ข้ามโคตรจากโคตรไหนมาสู่โคตรไหน? จากโคตรของปุถุชนมาสู่โคตรของอริยชน เพราะงั้นบรรลุมรรคผลแล้วเปลี่ยนโคตรนะ ข้ามจากสกุลของปุถุชน ข้ามมาสู่อริยวงศ์อริยโคตร เรียกญาณข้ามโคตร ไม่ใช่ปุถุชนนะ กำลังข้ามอยู่ ไม่ใช่พระอริยะ มีอยู่ขณะจิตเดียวแหละที่คาบลูกคาบดอกประหลาดอยู่อย่างนี้ ข้ามมา ทวนเข้ามาถึงจิตแท้ ถึงธาตุรู้แท้ๆ ธรรมธาตุ ตัวนี้อริยมรรคก็จะเกิดขึ้น อาสวกิเลสที่ห่อหุ้มจิตอยู่ถูกอริยมรรคแหวกออกทำลายออก ก็ล้างกิเลส ล้างในพริบตาเดียว ในขณะเดียว วับเดียวเลย ขาดเลย มันคล้ายๆเปิดสวิตซ์ไฟ ปั๊บ สว่างวุ๊บเดียวความมืดหายไปเลย ในพริบตานั้นเลย จากนั้นนะจะเห็นพระนิพพานอีกสองสามขณะ เห็นไม่เท่ากันหรอก บางคนเห็นสองขณะ บางคนเห็นสามขณะ ถ้าพวกอินทรีย์กล้ามากๆก็เห็นสามขณะ พวกอินทรีย์ยังไม่กล้ามากก็เห็นสองขณะนะ งั้นพระอริยะในภูมิธรรมอันเดียวกันระดับเดียวกัน ความรู้ความเข้าใจไม่เท่ากัน ความแตกฉานอะไรนี้ไม่เท่ากัน เห็นพระนิพพานแล้วก็รู้ว่านิพพานอยู่ต่อหน้าต่อตา นิพพานไม่เคยหายไปไหน อยู่ต่อหน้าต่อตานี่แหละ แต่โง่เองไม่เห็น ทำไมไม่เห็น? มัวแต่เห็นแต่กาม มัวแต่เห็นรูปภพ มัวแต่เห็นอรูปภพ จิตไม่รู้จักปล่อย ตรงที่เค้าปล่อยน่ะเค้าข้าม เค้าทิ้งแล้ว ตรงโคตรภูญาณที่จิตข้ามโคตร ข้ามจากปุถุชนมาเป็นพระอริยะ ข้ามตรงนี้มันทิ้งหมดเลยนะ มันทิ้งกามภูมิ รูปภูมิ อรูปภูมิ ทิ้งหมดเลย ข้ามมาสู่อริยภูมิ โลกุตรภูมิ ข้ามเอง พวกเราก็มีหน้าที่ภาวนาให้มันพอเท่านั้นแหละนะ ถ้ามันพอเมื่อไหร่มันก็ข้ามโคตรไป เปลี่ยนสกุลไม่ใช่นามสกุลเดิม โดยสมมุติบัญญัติก็เป็นนามสกุลเดิม โดยปรมัตถ์แท้ๆก็ไม่ใช่แล้ว ก็มาเป็นลูกพระพุทธเจ้า ..งั้นเราภาวนานะ ค่อยหัดไปเรื่อย ถึงวันหนึ่งเราก็คงได้รับผลประโยชน์จากการที่เราอดทนภาวนากันนะ สวนสันติธรรม วันศุกร์ ที่ ๕ สิงหาคม ๒๕๕๔
การทำตนให้หลุดพ้นจากสังสารวัฎวิมุตติสูตร ว่าด้วยเหตุแห่งวิมุตติ ๕ ประการ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหตุแห่งวิมุตติ ๕ ประการนี้ ซึ่งเป็น เหตุให้จิตของภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวที่ยังไม่หลุดพ้น ย่อมหลุดพ้น อาสวะที่ยังไม่สิ้น ย่อมถึงความสิ้นไป หรือเธอย่อมบรรลุธรรม อันเกษมจากโยคะชั้นเยี่ยม ที่ยังไม่ได้บรรลุ เหตุแห่งวิมุตติ ๕ ประการ เป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหมจารีผู้อยู่ในฐานะ ครูบางรูปแสดงธรรมแก่ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เธอย่อมเข้าใจอรรถเข้าใจธรรม ในธรรมนั้นตามที่พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหมจารี ผู้อยู่ในฐานะครูแสดงแก่ เธอ เมื่อเธอเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรม ย่อมเกิดปราโมทย์ เมื่อเกิดปราโมทย์ แล้ว ย่อมเกิดปีติ เมื่อใจเกิดปีติ กายย่อมสงบ ผู้มีการสงบแล้ว ย่อมได้ เสวยสุข เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นเหตุแห่งวิมุตติ ข้อที่ ๑ ซึ่งเป็นเหตุให้จิตของภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว ที่ยังไม่หลุดพ้น ย่อมหลุดพ้น อาสวะที่ยังไม่สิ้นไป ย่อมถึงความสิ้นไป หรือเธอย่อมได้บรรลุธรรมอันเกษมจากโยคะชั้นเยี่ยม ที่ยังไม่ได้บรรลุ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหม- จารี ผู้อยู่ในฐานะครูบางรูป ก็ไม่ได้แสดงธรรมแก่ภิกษุ ก็แต่ว่าภิกษุย่อม แสดงธรรมเท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาแก่ชนเหล่าอื่นโดยพิสดาร เธอ ย่อมเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรมในธรรมนั้น ที่ภิกษุแสดงธรรมเท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาแก่ชนเหล่าอื่นโดยพิสดาร เมื่อเธอเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรม ย่อมเกิดปราโมทย์. . .เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็น เหตุแห่งวิมุตติข้อที่ ๒. . . ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหม- จารีผู้อยู่ในฐานะครูบางรูป ก็ไม่ได้แสดงธรรมแก่ภิกษุ แม้ภิกษุก็ไม่ได้แสดง- ธรรมเท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาแก่ชนเหล่าอื่นโดยพิสดาร ก็แต่ว่า ภิกษุย่อมทำการสาธยายธรรมเท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาโดยพิสดาร เธอย่อมเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรม ในธรรมนั้น ตามที่ภิกษุสาธยายธรรม เท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาโดยพิสดาร เมื่อเธอเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรม ย่อมเกิดปราโมทย์. . . เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็น เหตุแห่งวิมุตติข้อ ๓. . . ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหม- จารีผู้อยู่ในฐานะครูบางรูป ก็ไม่ได้แสดงธรรมแก่ภิกษุ ภิกษุก็ไม่ได้แสดงธรรม เท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาแก่ชนเหล่าอื่นโดยพิสดาร แม้ภิกษุก็ไม่ได้ ทำการสาธยายธรรมเท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาโดยพิสดาร ก็แต่ว่า ภิกษุย่อมตรึกตรองใคร่ครวญธรรมเท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาด้วยใจ เธอย่อมเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรมในธรรมนั้น ตามที่ภิกษุตรึกตรองใคร่ครวญ ธรรมตามที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาด้วยใจ เมื่อเธอเข้าใจอรรถ เข้าใจ ธรรมย่อมเกิดปราโมทย์. . .เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นเหตุแห่งวิมุตติข้อที่ ๔. . . ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหม- จารีผู้อยู่ในฐานะครูบางรูป ก็ไม่ได้แสดงธรรมแก่ภิกษุ ภิกษุก็ไม่ได้แสดงธรรม เท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาแก่ชนเหล่าอื่นโดยพิสดาร ภิกษุก็ไม่ได้ สาธยายธรรมเท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาโดยพิสดาร แม้ภิกษุก็ไม่ได้ ตรึกตรอง ใคร่ครวญธรรมเท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาด้วยใจ ก็แต่ว่า สมาธินิมิตอย่างใดอย่างหนึ่ง เธอเล่าเรียนมาด้วยดี ทำไว้ในใจด้วยดี ทรงไว้ ด้วยดี แทงตลอดด้วยดี ด้วยปัญญา เธอย่อมเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรมใน ธรรมนั้น ตามที่เธอเล่าเรียนสมาธินิมิตอย่างใดอย่างหนึ่งมาด้วยดี ทำไว้ในใจ ด้วยดี ทรงไว้ด้วยดี แทงตลอดด้วยดี ด้วยปัญญา เมื่อเธอเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรม ย่อมเกิดปราโมทย์ เมื่อเกิดปราโมทย์แล้วย่อมเกิดปีติ เมื่อมีใจ เกิดปีติ กายย่อมสงบ ผู้มีกายสงบแล้วย่อมได้เสวยสุข เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นเหตุแห่งวิมุตติข้อที่ ๕ ซึ่งเป็นเหตุให้จิตของภิกษุ ผู้ไม่ประมาทมีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวอยู่ ที่ยังไม่หลุดพ้นย่อมหลุดพ้น อาสวะที่ยังไม่สิ้น ย่อมถึงความสิ้นไป หรือเธอย่อมได้บรรลุธรรมอันเกษมจาก โยคะชั้นเยี่ยม ที่ยังไม่ได้บรรลุ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหตุแห่งวิมุตติ ๕ ประการนี้แล ซึ่งเป็นเหตุให้ จิตของภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวอยู่ ที่ยังไม่หลุดพ้น ย่อมหลุดพ้น อาสวะที่ยังไม่สิ้น ย่อมถึงความสิ้นไป หรือเธอย่อมได้บรรลุ ธรรมอันเกษมจากโยคะชั้นเยี่ยม ที่ยังไม่ได้บรรลุ. จบวิมุตติสูตรที่ ๖
นิพพานัง ปรมัง สุขังบุญทานแม้เล็กน้อยไม่พึงดูหมิ่น บุคคลเมื่อล้างภาชนะบรรจุอาหาร พึงปรารภว่า แม้สัตว์เล็ก สัตว์น้อย ที่อยู่ในดิน ขอจงได้กิน ดื่ม อาหารและน้ำนี้ ขอจงมีอายุยืนนาน และมีความสุขสำราญ เทอญ
ความดับสนิทแห่งทุกข์ทุกข์ทางใจย่อมไม่มีแก่ผู้ไม่ห่วงใยใน ชีวิต ความกลัวทั้งปวงอันเราผู้สิ้นสังโยชน์ล่วงพ้นได้แล้ว เมื่อตัณหาเครื่องนำไปสู่ภพสิ้นไปแล้ว ความกลัวตายใน ปัจจุบัน มิได้มีด้วยประการใดประการหนึ่งเลย ดุจบุรุษ ไม่กลัวความหนัก เพราะวางภาระแล้วฉะนั้น พรหมจรรย์ เราประพฤติดีแล้ว แม้ธรรมเราก็อบรมดีแล้ว เราไม่มี ความกลัวตาย เหมือนบุคคลไม่กลัวโรคเพราะโรคสิ้นไป แล้วฉะนั้น พรหมจรรย์เราประพฤติดีแล้ว แม้มรรคเราก็ อบรมดีแล้ว ภพทั้งหลายอันไม่น่ายินดีเราได้เห็นแล้ว เหมือนบุคคลดื่มยาพิษแล้วบ้วนทิ้งฉะนั้น บุคคลผู้ถึงฝั่ง แห่งภพ ไม่มีความถือมั่น ทำกิจเสร็จแล้ว หมดอาสวะ ย่อมยินดี เพราะเหตุความสิ้นอายุ เหมือนบุคคลพ้นแล้ว จากการถูกประหารฉะนั้น บุคคลผู้บรรลุธรรมอันสูงสุดแล้ว ไม่มีความต้องการอะไรในโลกทั้งปวง ย่อมไม่เศร้าโศก ในเวลาตาย ดุจบุคคลออกจากเรือนที่ถูกไฟไหม้ฉะนั้น สิ่งใดสิ่งหนึ่งซึ่งมีอยู่ในโลกนี้ก็ดี ภพที่สัตว์ได้อยู่ในโลก นี้ก็ดี พระพุทธเจ้าผู้แสวงหาคุณอันใหญ่ได้ตรัสไว้ว่า สิ่ง ทั้งหมดนี้ไม่เป็นอิสระ ผู้ใดรู้แจ้งธรรมข้อนั้น เหมือนดัง ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ ผู้นั้นย่อมไม่ยึดถือภพไร ๆ ดังบุคคลผู้ไม่จับก้อนเหล็กแดงอันร้อนโชนฉะนั้น เราไม่มี ความคิดว่า ได้มีมาแล้ว จักมีต่อไป สังขารจักปราศจาก ไป จะคร่ำครวญไปทำไมในเพราะสังขารนั้นเล่า. ดูก่อนนายโจร ความกลัวย่อมไม่มีแก่ผู้พิจารณาเห็น ตามความเป็นจริง ซึ่งความเกิดขึ้นแห่งธรรมอันบริสุทธิ์ และความสืบต่อแห่งสังขารอันบริสุทธิ์ เมื่อใดบุคคล พิจารณาเห็นโลกเสมอด้วยหญ้าและไม้ด้วยปัญญา เมื่อ นั้น บุคคลนั้นย่อมไม่ยึดถือว่าเป็นของเรา ย่อมไม่เศร้า โศกว่า ของเราไม่มี เรารำคาญด้วยสรีระ เราไม่ต้อง- การด้วยภพ ร่างกายนี้จักแตกไป และจักไม่มีร่างกาย อื่น ถ้าท่านทั้งหลายปรารถนาจะทำกิจใดด้วยร่างกายของ เรา ก็จงทำกิจนั้นเถิด ความขัดเคืองและความรักใคร่ใน ร่างกายนั้น จักไม่มีแก่เรา เพราะเหตุที่ท่านทั้งหลายทำ กิจตามปรารถนาด้วยร่างกายของเรานั้น. โจรทั้งหลายได้ ฟังคำของท่านอันน่าอัศจรรย์ ทำให้ขนลุกชูชัน จึงพา กันวางศาสตราวุธ แล้วกล่าวดังนี้ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ความไม่เศร้าโศกที่ท่านได้นี้ เพราะท่านได้ทำกรรมอะไร ไว้ หรือใครเป็นอาจารย์ของท่าน หรือเพราะอาศัยคำสั่ง สอนของใคร.พระเถระได้ฟังดังนั้นแล้ว จึงได้กล่าวตอบว่า พระศาสดาผู้เป็นสัพพัญญู รู้เห็นธรรมทั้งปวง ชนะ หมู่มาร มีพระกรุณาใหญ่ ผู้รักษาพยาบาลชาวโลกทั้งปวง เป็นอาจารย์ของเรา ธรรมเครื่องให้ถึงความสิ้นอาสวะอัน ยอดเยี่ยมนี้ พระองค์ทรงแสดงไว้แล้ว ความไม่เศร้าโศก เราได้เพราะอาศัยคำสั่งสอนของพระองค์ พวกโจรฟัง ถ้อยคำอันเป็นสุภาษิตของพระเถระผู้เป็นฤาษีแล้ว พากัน วางศาสตราและอาวุธ บางพวกก็งดเว้นจากโจรกรรม บาง พวกก็ขอบรรพชา โจรเหล่านั้นครั้นได้บรรพชาในศาสนา ของพระสุคตแล้ว ได้เจริญโพชฌงค์และพลธรรม เป็น บัณฑิต มีจิตเฟื่องฟู เบิกบาน มีอินทรีย์อันอบรมดีแล้ว ได้บรรลุสันตบท คือนิพพานอันหาปัจจัยปรุงแต่งมิได้
ความดับสนิทแห่งทุกข์ทุกข์ทางใจย่อมไม่มีแก่ผู้ไม่ห่วงใยใน ชีวิต ความกลัวทั้งปวงอันเราผู้สิ้นสังโยชน์ล่วงพ้นได้แล้ว เมื่อตัณหาเครื่องนำไปสู่ภพสิ้นไปแล้ว ความกลัวตายใน ปัจจุบัน มิได้มีด้วยประการใดประการหนึ่งเลย ดุจบุรุษ ไม่กลัวความหนัก เพราะวางภาระแล้วฉะนั้น พรหมจรรย์ เราประพฤติดีแล้ว แม้ธรรมเราก็อบรมดีแล้ว เราไม่มี ความกลัวตาย เหมือนบุคคลไม่กลัวโรคเพราะโรคสิ้นไป แล้วฉะนั้น พรหมจรรย์เราประพฤติดีแล้ว แม้มรรคเราก็ อบรมดีแล้ว ภพทั้งหลายอันไม่น่ายินดีเราได้เห็นแล้ว เหมือนบุคคลดื่มยาพิษแล้วบ้วนทิ้งฉะนั้น บุคคลผู้ถึงฝั่ง แห่งภพ ไม่มีความถือมั่น ทำกิจเสร็จแล้ว หมดอาสวะ ย่อมยินดี เพราะเหตุความสิ้นอายุ เหมือนบุคคลพ้นแล้ว จากการถูกประหารฉะนั้น บุคคลผู้บรรลุธรรมอันสูงสุดแล้ว ไม่มีความต้องการอะไรในโลกทั้งปวง ย่อมไม่เศร้าโศก ในเวลาตาย ดุจบุคคลออกจากเรือนที่ถูกไฟไหม้ฉะนั้น สิ่งใดสิ่งหนึ่งซึ่งมีอยู่ในโลกนี้ก็ดี ภพที่สัตว์ได้อยู่ในโลก นี้ก็ดี พระพุทธเจ้าผู้แสวงหาคุณอันใหญ่ได้ตรัสไว้ว่า สิ่ง ทั้งหมดนี้ไม่เป็นอิสระ ผู้ใดรู้แจ้งธรรมข้อนั้น เหมือนดัง ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ ผู้นั้นย่อมไม่ยึดถือภพไร ๆ ดังบุคคลผู้ไม่จับก้อนเหล็กแดงอันร้อนโชนฉะนั้น เราไม่มี ความคิดว่า ได้มีมาแล้ว จักมีต่อไป สังขารจักปราศจาก ไป จะคร่ำครวญไปทำไมในเพราะสังขารนั้นเล่า. ดูก่อนนายโจร ความกลัวย่อมไม่มีแก่ผู้พิจารณาเห็น ตามความเป็นจริง ซึ่งความเกิดขึ้นแห่งธรรมอันบริสุทธิ์ และความสืบต่อแห่งสังขารอันบริสุทธิ์ เมื่อใดบุคคล พิจารณาเห็นโลกเสมอด้วยหญ้าและไม้ด้วยปัญญา เมื่อ นั้น บุคคลนั้นย่อมไม่ยึดถือว่าเป็นของเรา ย่อมไม่เศร้า โศกว่า ของเราไม่มี เรารำคาญด้วยสรีระ เราไม่ต้อง- การด้วยภพ ร่างกายนี้จักแตกไป และจักไม่มีร่างกาย อื่น ถ้าท่านทั้งหลายปรารถนาจะทำกิจใดด้วยร่างกายของ เรา ก็จงทำกิจนั้นเถิด ความขัดเคืองและความรักใคร่ใน ร่างกายนั้น จักไม่มีแก่เรา เพราะเหตุที่ท่านทั้งหลายทำ กิจตามปรารถนาด้วยร่างกายของเรานั้น. โจรทั้งหลายได้ ฟังคำของท่านอันน่าอัศจรรย์ ทำให้ขนลุกชูชัน จึงพา กันวางศาสตราวุธ แล้วกล่าวดังนี้ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ความไม่เศร้าโศกที่ท่านได้นี้ เพราะท่านได้ทำกรรมอะไร ไว้ หรือใครเป็นอาจารย์ของท่าน หรือเพราะอาศัยคำสั่ง สอนของใคร.พระเถระได้ฟังดังนั้นแล้ว จึงได้กล่าวตอบว่า พระศาสดาผู้เป็นสัพพัญญู รู้เห็นธรรมทั้งปวง ชนะ หมู่มาร มีพระกรุณาใหญ่ ผู้รักษาพยาบาลชาวโลกทั้งปวง เป็นอาจารย์ของเรา ธรรมเครื่องให้ถึงความสิ้นอาสวะอัน ยอดเยี่ยมนี้ พระองค์ทรงแสดงไว้แล้ว ความไม่เศร้าโศก เราได้เพราะอาศัยคำสั่งสอนของพระองค์ พวกโจรฟัง ถ้อยคำอันเป็นสุภาษิตของพระเถระผู้เป็นฤาษีแล้ว พากัน วางศาสตราและอาวุธ บางพวกก็งดเว้นจากโจรกรรม บาง พวกก็ขอบรรพชา โจรเหล่านั้นครั้นได้บรรพชาในศาสนา ของพระสุคตแล้ว ได้เจริญโพชฌงค์และพลธรรม เป็น บัณฑิต มีจิตเฟื่องฟู เบิกบาน มีอินทรีย์อันอบรมดีแล้ว ได้บรรลุสันตบท คือนิพพานอันหาปัจจัยปรุงแต่งมิได้
การเจริญเมตตาอัปปมัญญาเจโตสมาธิ อัปปนาสมาธิ เจโตวิมุตติ อันไม่กำเริบกลับดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุส้องเสพ เจริญ ทำในใจ ซึ่งเมตตาจิต แม้ชั่วเวลาสักว่าลัดนิ้วมือเดียว เราย่อมกล่าวว่า เธอผู้นี้ อยู่อย่างไม่ว่างจากฌาน เป็นผู้ทำตามคำสอนของศาสดา เป็นผู้ปฏิบัติตามโอวาท ไม่ฉันอาหารของราษฎรไปเปล่า ๆ จะกล่าวไย ถึงข้อที่ภิกษุจะทำเมตตาจิตนั้นให้มากเล่า." พระพุทธเจ้า...กับ...มังสวิรัติ หลายที่หลายแห่งนานาประเทศทั่วโลก มีผู้คนส่วนหนึ่งพากันดำรงชีวิตอยู่ ด้วยการอาศัยอาหาร ที่ได้มาจากพืชผัก และนมเนย โดยไม่ต้องอาศัยการฆ่าแกงทำร้ายสัตว์อื่น แล้วนำมากินเป็นอาหารเลย โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ประเทศอินเดีย อันเป็นต้นกำเนิดของพุทธศาสนา ซึ่งนับแต่โบราณกาล มาจนตราบ เท่าทุกวันนี้ ชาวอินเดียส่วนใหญ่ก็ยังคงไม่กินเนื้อสัตว์กันเป็นอาหาร แต่จะกินพืช ผัก ผลไม้ นม เนย เป็นอาหาร หลักสำคัญของชีวิต บทความนี้ จะเป็นการเสนอแง่มุมคิดเกี่ยวกับ "อาหารมังสวิรัติ" ในแง่มุมทางพุทธศาสนาเท่านั้น ไม่ใช่แง่มุม ทางสุขภาพอนามัย ไม่ใช่ทางโภชนาการ ไม่ใช่ทางวิทยาศาสตร์ ไม่ใช่ทางเศรษฐกิจ ฯลฯ เป็นความคิดเห็น ที่อาศัยคำตรัสของพระพุทธเจ้า ที่มีปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎกเป็นหลักฐานอ้างอิง ในพระไตรปิฎกมีอยู่มากมายหลายพระสูตร ที่พระพุทธเจ้าตรัสเอาไว้ แล้วมีส่วนเกี่ยวพันกันไปถึง "มังสวิรัติ" อันคือ งดเว้นการกินอาหารที่เป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆจากสัตว์ ซึ่งได้มาจากการฆ่าสัตว์เพื่อทำเป็นอาหาร ที่นี้จะขอยกมากล่าวถึงเพียงบางพระสูตรเท่านั้น ได้แก่... พระพุทธองค์ตรัส (๑) "ละการฆ่า เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ วางทัณฑะ(โทษภัย) วางศาสตรา(ของมีคม)แล้ว มีความละอาย มีความเอ็นดู มีความกรุณา หวังประโยชน์ แก่สัตว์ทั้งปวงอยู่ ตลอดคืนหนึ่งกับวันหนึ่งในวันนี้ แม้ด้วยการกระทำอย่างนี้ ก็ชื่อว่าได้ทำตามพระอรหันต์ทั้งหลาย" (พระไตรปิฎก เล่ม ๒๐ "อุโปสถสูตร" ข้อ๕๑๐) จากพระสูตรนี้ก็คือ ศีลข้อที่ ๑ ละเว้นจากการฆ่าสัตว์นั่นเอง ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงห้าม การฆ่าสัตว์เอาไว้ แก่พุทธศาสนิกชนทุกคน ไม่ว่าจะอยู่ในฐานะ อาชีพใดๆ คือ เป็นข้าราชการ พ่อค้า ลูกจ้าง กรรมกร ทั้งหญิง ชาย ทั้งเด็ก และผู้ใหญ่ เมื่อเป็นชาวพุทธ ก็ต้องพยายามถือศีลข้อที่ ๑ ละเว้นจากการฆ่าสัตว์ มีใจเอ็นดู แก่สัตว์ทั้งปวง ถ้าปฏิบัติกันจริงเมืองไทยย่อมจะหาเนื้อสัตว์กินกันได้ยาก ภายในเมืองพุทธ แห่งนี้ อาหาร การกินส่วนใหญ่ ก็คงต้องเป็น "อาหารมังสวิรัติ" นั่นแหละมากกว่า ดังนั้นการที่ชาวพุทธชักชวนกันเลิกกินเนื้อสัตว์ได้ ก็จะเป็นการเอื้อเฟื้อต่อศีลข้อที่ ๑ ที่พระพุทธเจ้า ทรงบัญญัติ เอาไว้ จะได้ไม่ทำให้ศีลข้อนี้ต้องกลายเป็นหมันไป มิฉะนั้นแล้ว ยิ่งมีคนกินเนื้อสัตว์กันมากเท่าใด ก็ย่อมต้องมีการฆ่าสัตว์เพิ่มมากขึ้นเท่านั้น อันเป็น การส่งเสริม ให้ชาวพุทธ กระทำผิดศีลข้อที่ ๑ เพิ่มมากขึ้นนั่นเอง พระพุทธองค์ตรัส (๒) การค้าขาย ๕ ประการนี้ อันอุบาสกไม่พึงกระทำคือ ๑.การค้าขายศาสตรา ๒.การค้าขายสัตว์(เป็น) ๓.การค้าขายเนื้อสัตว์(ตาย) ๔.การค้าขายน้ำเมา ๕.การค้าขายยาพิษ (พระไตรปิฎก เล่ม ๒๒ "วณิชชสูตร" ข้อ๑๗๗) นอกจากทรงห้ามการฆ่าสัตว์แล้ว พระพุทธเจ้าก็ยังทรงห้ามไปถึง....การค้าขายสัตว์ทั้งที่มีชีวิตอยู่ หรือ ทั้งที่ตาย กลายเป็นเนื้อสัตว์ด้วย ดังนั้นก็จะยิ่งเห็นได้ชัดเจน ถึงสภาพชีวิตความเป็นอยู่ ในด้านอาหารการกินของชาวพุทธได้ว่า จะทำเป็น "อาหารมังสวิรัติ" ค้าขายกันเกลื่อนกล่นทั่วไปอย่างแน่นอน ถ้าพุทธศาสนิกชน ปฏิบัติตามคำสอน ของพระพุทธเจ้า อย่างถูกตรงแล้ว พระพุทธองค์ตรัส (๓) "สัตว์ทั้งหลายที่ไม่ได้ประทุษร้ายใคร ถูกนำมาฆ่า คนผู้ทำการบูชาด้วยความตายของสัตว์ทั้งหลาย ย่อมเสื่อมจากธรรม วิญญูชนติเตียนแล้วอย่างนี้ วิญญูชนเห็นความจริง อันเลวทรามเช่นนี้ ในที่ใด ย่อมติเตียนคนผู้ทำการบูชาด้วยความตายของสัตว์ในที่นั้น" (พระไตรปิฎก เล่ม ๒๕ "พราหมณธรรมิกสูตร" ข้อ ๓๒๓) ไม่ใช่แค่เพียงห้ามชาวพุทธไม่ให้ฆ่าสัตว์ และห้ามค้าขายเนื้อสัตว์เท่านั้น พระพุทธเจ้ายังทรงติเตียนห้ามปราม แม้กระทั่งการใช้ความตายของสัตว์อื่น มาเป็นเครื่องสักการะบูชาอีกด้วย ดังนั้นการที่จะนำเอาเลือด เนื้อ เอ็น กระดูก ตับ ไต ไส้พุง หรืออวัยวะอื่นใดของสัตว์ มาเป็นเครื่องบูชา ต่อสิ่งที่ เราเคารพนับถือ หรือต่อบุคคลที่เราเคารพนับถือนั้น จึงเป็นการทำบาปมาหวังบุญ ช่างน่าติเตียน ไม่สมควรทำอย่างยิ่ง เมื่อเป็นเช่นนี้ การกราบไหว้บูชาใดๆของชาวพุทธ หรือแม้การตักบาตรพระ ก็ควรเป็นอาหาร ที่ไม่ต้อง เกิดบาปกรรม จากการฆ่าสัตว์ให้ถึงแก่ความตายเลย คือเป็น"อาหารมังสวิรัติ" จะประเสริฐกว่า
สัจจะนี้ คือนิพพาน มีความไม่เลอะเลือนเป็นธรรมดา เป็นสัจจะอันประเสริฐยิ่งสมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อเสด็จจาริกไปในมคธชนบท ทรงแวะยังพระนครราชคฤห์ เสด็จเข้าไปหานายช่างหม้อ ชื่อภัคควะยังที่อยู่ แล้วตรัสดังนี้ว่า ดูก่อนนายภัคควะ ถ้าไม่เป็นความหนักใจแก่ท่าน เราจะขอพักอยู่ในโรงสักคืนหนึ่งเถิด. นายภัคควะทูลว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าไม่มีความหนักใจเลย แต่ในโรงนี้มีบรรพชิตเข้าไปอยู่ก่อนแล้ว ถ้าบรรพชิตนั้นอนุญาต ก็นิมนต์ท่านพักตามสบายเถิด. ก็สมัยนั้นแล กุลบุตรชื่อปุกกุสาติ ออกจากเรือนบวชเป็น บรรพชิตอุทิศพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยศรัทธา. ปุกกุสาติกุลบุตรนั้นเข้าไปพักอยู่ ในโรงของนายช่างหม้อนั้นก่อนแล้ว. ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จเข้า ไปหาท่านปุกกุสาติยังที่พัก แล้วตรัสกะท่านปุกกุสาติดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุ ถ้าไม่เป็นความหนักใจแก่ท่าน เราจะขอพักอยู่ในโรงสักคืนหนึ่งเถิด. ท่านปุกกุสาติตอบว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ โรงช่างหม้อกว้างขวาง นิมนต์ท่านผู้มีอายุพักตามสบายเถิด. ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จเข้าไปสู่โรงช่างหม้อแล้ว ทรงลาดสันถัดหญ้า ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ประทับนั่งคู้บัลลังก์ ตั้งพระกายตรงดำรงพระสติมั่นเฉพาะหน้า พระองค์ประทับนั่งล่วงเลยราตรีไปเป็นอันมาก. แม้ท่านปุกกุสาติก็นั่งล่วงเลยราตรีไปเป็นอันมากเหมือนกัน . ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระดำริดังนี้ว่า กุลบุตรนี้ ประพฤติน่าเลื่อมใสหนอ เราควรถามดูบ้าง. ต่อนั้น พระองค์จึงตรัสถามท่านปุกกุสาติดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุท่านบวช อุทิศใครเล่า หรือว่าใครเป็นศาสดาของท่าน หรือท่านชอบใจธรรมของใคร. ท่านปุกกุสาติตอบว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ มีพระสมณโคดมผู้ศากยบุตร เสด็จออกจากศากยราชสกุลทรงผนวชแล้ว ก็พระโคดมผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นแล มีกิตติศัพท์งามฟุ้งไป อย่างนี้ว่า แม้เพราะเหตุดังนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นเป็นผู้ไกลจากกิเลส รู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ ดำเนินไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีผู้ฝึกบุรุษที่ควรฝึกอย่างหา คนอื่นยิ่งกว่ามิได้ เป็นครูของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้ตื่นแล้ว เป็นผู้แจงธรรม ดังนี้ ข้าพเจ้าบวชอุทิศพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น และพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เป็นศาสดาของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าชอบใจธรรมของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น. พ. ดูก่อนภิกษุ ก็เดี่ยวนี้ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์นั้น ประทับอยู่ที่ไหน. ปุ. ดูก่อนท่านผู้มีอายุ มีพระนครชื่อว่าสาวัตถีอยู่ในชนบท ทางทิศเหนือ เดี่ยวนี้ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ประทับอยู่ที่นั่น. พ. ดูก่อนภิกษุ ก็ท่านเคยเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นหรือ และท่านเห็นแล้วจะรู้จักไหม. ปุ. ดูก่อนผู้มีอายุ ข้าพเจ้าไม่เคยเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เลย ถึงเห็นแล้ว ก็ไม่รู้จัก . ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้มีพระดำริดังนี้ว่า กุลบุตร นี้บวชอุทิศเรา เราควรจะแสดงธรรมแก่เขา. แต่นั้น พระองค์จึงตรัสเรียกท่านปุกกุสาติว่า ดูก่อนภิกษุ เราจักแสดงธรรมแก่ท่าน ท่านจงพึงธรรมนี้ จงใส่ใจให้ดี. เราจักกล่าวต่อไป ท่านปุกกุสาติทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ชอบแล้ว ท่านผู้มีอายุ. พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงได้ตรัสดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุ คนเรานี้ มีธาตุ ๖ มีแดนสัมผัส ๖ มีความหน่วงนึกของใจ ๑๘ มีธรรมที่ควรตั้งไว้ในใจ ๔ อันเป็นธรรมที่ผู้ตั้งอยู่แล้ว ไม่มีกิเลสเครื่องสำคัญตน และกิเลสเครื่องหมักหมมเป็นไป ก็เมื่อกิเลสเครื่องสำคัญตนและกิเลสเครื่องหมักหมม ไม่เป็นไปอยู่ บัณฑิตจะเรียกเขาว่า มุนีผู้สงบแล้ว ไม่พึงประมาทปัญญา พึงตามรักษาสัจจะ พึงเพิ่มพูนจาคะ พึงศึกษาสันติเท่านั้น นี้อุเทศแห่งธาตุวิภังค์หก. ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุ คนเรานี้มีธาตุ ๖ นั้น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว. ดูก่อนภิกษุ ธาตุนี้มี ๖ อย่างนี้ คือ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ อากาสธาตุ วิญญาณธาตุ. ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุ คนเรานี้มีธาตุ ๖ นั้น เราอาศัยธาตุดังนี้ กล่าวแล้ว . ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุ คนเรานี้มีแดนสัมผัส ๖ นั้นเราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว. คือ จักษุ โสต ฆานะ ชิวหา กาย มโน เป็นแดนสัมผัส. ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุ คนเรานี้มีแดนสัมผัส. นั่น เราอาศัยอายตนะนี้ กล่าวแล้ว. ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุ คนเรานี้มีความหน่วงนึก ของใจ ๑๘ นั้น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว. คือ บุคคลเห็นรูปด้วยจักษุแล้วย่อม หน่วงนึกรูปเป็นที่ตั้งแห่งโสมนัส หน่วงนึกรูปเป็นที่ตั้งแห่งโทมนัส หน่วงนึกรูปเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา ฟังเสียงด้วยโสตแล้ว . . . ดมกลิ่นด้วยฆานะแล้ว ... ลิ้มรสด้วยชิวหาแล้ว. . . ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกายแล้ว. . . รู้ธรรมารมณ์ด้วยมโนแล้ว ย่อมหน่วงนึกธรรมารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งโสมนัส หน่วงนึกธรรมารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งโทมนัส หน่วงนึกธรรมารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา นี้เป็นการหน่วงนึกโสมนัส ๖ หน่วงนึกโทมนัส ๖ หน่วงนึกอุเบกขา ๖. ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุ คนเรานี้มีความหน่วงนึกของใจ ๑๘ นั่น เราอาศัยความหน่วงนึกนี้ กล่าวแล้ว. ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุ คนเรานี้มีธรรมที่ควรตั้งไว้ในใจ ๔ นั่น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว. คือ มีปัญญาเป็นธรรมควรตั้งไว้ในใจ มีสัจจะเป็นธรรมควรตั้งไว้ในใจ มีจาคะเป็นธรรมควรตั้งไว้ในใจ มีอุปสมะเป็นธรรมควรตั้งไว้ในใจ ความสงบ ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุ คนเรานี้ มีธรรมที่ควรตั้งไว้ในใจ ๔ นั้น เราอาศัยธรรมที่ควรตั้งไว้ในใจนี้ กล่าวแล้ว. ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ไม่พึงประมาทปัญญา พึงตามรักษาสัจจะ พึงเพิ่มพูนจาคะ พึงศึกษาสันติเท่านั้น นั่น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว. ดูก่อนภิกษุ อย่างไรเล่า ชื่อว่าไม่ประมาทปัญญา. ดูก่อนภิกษุ ธาตุนี้มี ๖ คือ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ อากาสธาตุ วิญญาณธาตุ. ดูก่อนภิกษุ ก็ปฐวีธาตุเป็นไฉน คือ ปฐวีธาตุภายในก็มีภายนอกก็มี. ก็ปฐวีธาตุภายในเป็นไฉน. ได้แก่สิ่งที่แข่นแข็ง กำหนดได้มีในตน อาศัยตน คือ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื้อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่าหรือแม้สิ่งอื่นไม่ว่าชนิดไร ๆ ที่แข่นแข็ง กำหนดได้ มีในตน อาศัยตนนี้เรียกว่าปฐวีธาตุภายใน. ก็ปฐวีธาตุทั้งภายในและภายนอก นี้แล เป็นปฐวีธาตุทั้งนั้น. พึงเห็นปฐวีธาตุนั้น ด้วยปัญญาชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่เรา นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา ครั้นเห็นแล้วจะเบื่อหน่าย ปฐวีธาตุ และจะให้จิตคลายกำหนัดปฐวีธาตุได้. ดูก่อนภิกษุ ก็อาโปธาตุเป็นไฉน. คืออาโปธาตุภายในก็มีภายนอกก็มี. ก็อาโปธาตุภายใน เป็นไฉน. ได้แก่สิ่งที่เอิบอาบ ซึมซาบไปกำหนดได้ มีในตน อาศัยตน คือ ดี เสลด น้ำเหลือง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา เปลวมัน น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร หรือแม้สิ่งอื่นไม่ว่าชนิดไร ๆ ที่เอิบอาบซึมซาบไป กำหนดได้ มีในตน อาศัยตน นี้เรียกว่า อาโปธาตุภายใน. ก็อาโปธาตุทั้งภายในและภายนอก นี้แล เป็นอาโปธาตุทั้งนั้น. พึงเห็นอาโปธาตุนั้น ด้วยปัญญาชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่เรา นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา. ครั้นเห็นแล้ว จะเบื่อหน่ายอาโปธาตุ และจะให้จิตคลายกำหนัดอาโปธาตุได้. ดูก่อนภิกษุ ก็เตโชธาตุเป็นไฉน. คือ เตโชธาตุภายในก็มีภายนอกก็มี. ก็เตโชธาตุภายในเป็นไฉน. ได้แก่สิ่งที่อบอุ่น ถึงความเร่าร้อนกำหนดได้ มีในตน อาศัยตน คือ ธาตุที่เป็นเครื่องยังกายให้อบอุ่น ยังกายให้ทรุดโทรม ยังกายให้กระวนกระวาย และธาตุที่เป็นเหตุให้ของที่กิน ที่ดื่มที่เคี้ยว ที่ลิ้มแล้วถึงความย่อยไปด้วยดี หรือแม้สิ่งอื่นไม่ว่าชนิดไร ๆ ที่อบอุ่น ถึงความเร่าร้อนกำหนดได้ มีในตน อาศัยตน นี้เรียกว่า เตโชธาตุภายใน. ก็เตโชธาตุทั้งภายในและภายนอก นี้แล เป็นเตโชธาตุทั้งนั้น. พึงเห็นเตโชธาตุนั้นด้วยปัญญาชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรานั่นไม่ใช่เรา นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา ครั้นเห็นแล้ว จะเบื่อหน่ายเตโชธาตุ และจะให้จิตคลายกำหนัดเตโชธาตุได้. ดูก่อนภิกษุ ก็วาโยธาตุเป็นไฉน. คือ วาโยธาตุภายในก็มีภายนอกก็มี. ก็วาโยธาตุภายในเป็นไฉน. ได้แก่สิ่งที่พัดผันไป กำหนดได้มีในตน อาศัยตน คือ ลมพัดขึ้นเบื้องบน ลมพัดลงเบื้องต่ำ ลมในท้อง ลมในลำไส้ ลมแล่นไปตามอวัยวะน้อยใหญ่ ลมหายใจออก ลมหายใจเข้าหรือแม้สิ่งอื่นไม่ว่าชนิดไร ๆ ที่พัดผันไป กำหนดได้ มีในตน อาศัยตน นี้เรียกว่าวาโยธาตุภายใน. ก็วาโยธาตุทั้งภายในและภายนอก นี้แล เป็นวาโยธาตุทั้งนั้น . พึงเห็นวาโยธาตุนั้น ด้วยปัญญาชอบตามความเป็นจริงอย่าง นี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่เรา นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา. ครั้นเห็นแล้วจะเบื่อหน่ายวาโยธาตุ และจะให้จิตคลายกำหนัดวาโยธาตุได้. ดูก่อนภิกษุ ก็อากาสธาตุเป็นไฉน คือ อากาสธาตุภายในก็มีภายนอกก็มี ก็อากาสธาตุภายในเป็นไฉน. ได้แก่สิ่งที่ว่าง ปรุโปร่ง กำหนดได้มีในตน อาศัยตน คือ ช่องหู ช่องจมูก ช่องปากซึ่งเป็นทางให้กลืนของที่กิน ที่ดม ที่เคี้ยว ที่ลิ้ม. เป็นที่ตั้งของที่กิน ที่ดื่ม ที่เคี้ยว ที่ลิ้ม และเป็นทางระบายของที่กิน ที่ดม ที่เคี้ยว ที่ลิ้มแล้วออกทางเบื้องล่าง หรือแม้สิ่งอื่นไม่ว่าชนิดไร ๆ ที่ว่าง ปรุโปร่ง กำหนดได้ มีในตน อาศัยตน นี้เรียกว่าอากาสธาตุภายใน. ก็อากาสธาตุทั้งภายในและภายนอก นี้แล เป็นอากาสธาตุทั้งนั้น. พึงเห็นอากาสธาตุนั้นด้วยปัญญาชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั้นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่เรา นั้นไม่ใช่อัตตาของเรา. ครั้นเห็นแล้ว จะเบื่อหน่ายอากาสธาตุ และจะให้จิตคลายกำหนัดอากาสธาตุได้. ต่อนั้นสิ่งที่จะเหลืออยู่อีกก็คือวิญญาณอันบริสุทธิ์ ผุดผ่อง บุคคลย่อมรู้อะไร ๆ ได้ด้วยวิญญาณนั้น คือ รู้ชัดว่า สุขบ้าง ทุกข์บ้างไม่ทุกข์ไม่สุขบ้าง. ดูก่อนภิกษุ เพราะอาศัยผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนา ย่อมเกิดสุขเวทนา. บุคคลนั้นเมื่อเสวยสุขเวทนา ย่อมรู้ชัดว่า กำลังเสวยสุขเวทนาอยู่ เพราะผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนานั้นแลดับไป ย่อมรู้ชัดว่า ความเสวยอารมณ์ที่เกิดแต่ผัสสะนั้น คือตัวสุขเวทนาอันเกิดเพราะอาศัยผัสสะเป็นที่ตั้ง แห่งสุขเวทนา ย่อมดับ ย่อมเข้าไปสงบ เพราะอาศัยผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา ย่อมเกิดทุกขเวทนา. บุคคลนั้น เมื่อเสวยทุกขเวทนา ย่อมรู้ชัดว่ากำลังเสวยทุกขเวทนาอยู่ เพราะผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนานั้น แลดับไป ย่อมรู้ชัดว่า ความเสวยอารมณ์ที่เกิดแต่ผัสสะนั้น คือตัวทุกขเวทนาอันเกิด เพราะอาศัยผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา ย่อมดับ ย่อมเข้าไปสงบ. เพราะอาศัยผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนา ย่อมเกิดอทุกขมสุขเวทนา. บุคคลนั้นเมื่อเสวยอทุกขมสุขเวทนา ย่อมรู้ชัดว่า กำลังเสวยอทุกขมสุขเวทนาอยู่ เพราะผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนานั้นแลดับไป ย่อมรู้ชัดว่าความเสวยอารมณ์ที่เกิดแต่ผัสสะนั้น คือตัวอทุกขมสุขเวทนาอันเกิดเพราะอาศัยผัสสะเป็น ที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนา ย่อมดับ ย่อมเข้าไปสงบ. ดูก่อนภิกษุ เปรียบเหมือนเกิดความร้อน เกิดไฟได้ เพราะไม้สองท่อนประชุมสีกัน ความร้อนที่เกิดแต่ไม้สองท่อนนั้น ย่อมดับ ย่อมเข้าไปสงบ เพราะไม้สองท่อนนั้น เองแยกกันไปเสียคนละทาง แม้ฉัน ใด ดูก่อนภิกษุ ฉันนั้นเหมือนกันแล เพราะอาศัยผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนา ย่อมเกิดสุขเวทนา. บุคคลนั้น เมื่อเสวยสุขเวทนา ย่อมรู้ชัดว่า กำลังเสวยสุขเวทนาอยู่ เพราะผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนานั้นแลดับไป ย่อมรู้ชัดว่า ความเสวยอารมณ์ที่เกิดแต่ผัสสะนั้น คือตัวสุขเวทนาอันเกิดเพราะอาศัยผัสสะเป็นที่ตั้ง แห่งสุขเวทนา ย่อมดับ ย่อมเข้าไปสงบ เพราะอาศัยผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา ย่อมเกิดทุกขเวทนา บุคคลนั้นเมื่อเสวยทุกขเวทนา ย่อมรู้ชัดว่ากำลังเสวยทุกขเวทนาอยู่ เพราะผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนานั้นแลดับไป ย่อมรู้ชัดว่า ความเสวยอารมณ์ที่เกิดแต่ผัสสะนั้น คือ ตัวทุกขเวทนาอันเกิด เพราะอาศัยผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา ย่อมดับ ย่อมเข้าไปสงบ. เพราะอาศัยผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนา ย่อมเกิดอทุกขมสุขเวทนา. บุคคลนั้น เมื่อเสวยอทุกขมสุขเวทนา ย่อมรู้ชัดว่า กำลังเสวยอทุกขมสุขเวทนาอยู่ เพราะผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนานั้นแลดับไป ย่อมรู้ชัดว่า ความเสวยอารมณ์ที่เกิดแต่ผัสสะนั้น คือตัวอทุกขมสุขเวทนาอันเกิดเพราะอาศัยผัสสะ เป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนา ย่อมดับ ย่อมเข้าไปสงบ. ต่อนั้นสิ่งที่จะเหลืออยู่อีกก็คือ อุเบกขา อัน บริสุทธิ์ ผุดผ่อง อ่อน ควรแก่การงานและผ่องแผ้ว. ดูก่อนภิกษุ เปรียบเหมือนนายช่างทอง หรือลูกมือ ของนายช่างทองผู้ฉลาด ติดเตาสุมเบ้าแล้ว เอาคีมคีบทองใส่เบ้า หลอมไป ซัดน้ำไป สังเกตดูไปเป็นระยะ ๆ ทองนั้น จะเป็นของถูกไล่ขี้แล้ว หมดฝ้า เป็นเนื้ออ่อนสลวย และผ่องแผ้ว เขาประสงค์ชนิดเครื่องประดับใด ๆ จะเป็นแหวน ตุ้มหูเครื่องประดับคอ มาลัยทองก็ตาม ย่อมสำเร็จความประสงค์อันนั้นแต่ทองนั้นได้ ฉันใด ดูก่อนภิกษุ ฉันนั้นเหมือนกันแล เมื่อเหลืออยู่แต่อุเบกขา อันบริสุทธิ์ ผุดผ่อง อ่อน ควรแก่การงาน และผ่องแผ้ว บุคคลนั้นย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า ถ้าเราน้อมอุเบกขานี้ อันบริสุทธิ์ ผุดผ่องอย่างนี้ เข้าไปสู่อากาสานัญจายตนฌาน และเจริญจิตมีธรรมควรแก่ฌานนั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ อุเบกขาของเรานี้ ก็จะเป็นอุเบกขาอาศัยอากาสานัญจายตนฌานนั้น ยึดอากาสานัญจายตนฌานนั้น ดำรงอยู่ตลอดกาลยืนนาน ถ้าเราน้อมอุเบกขานี้ อันบริสุทธิ์ผุดผ่องอย่างนี้ เข้าไปสู่วิญญาณัญจายตนฌาน และเจริญจิตมีธรรมควรแก่ ฌานนั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ อุเบกขาของเรานี้ ก็จะเป็นอุเบกขาอาศัยวิญญาณัญจายตนฌานนั้น ยึดวิญญาณัญจายตนฌานนั้น ดำรงอยู่ตลอดกาลยืนนาน ถ้าเราน้อมอุเบกขานี้ อันบริสุทธิ์ ผุดผ่องอย่างนี้ เข้าไปสู่อากิญจัญญายตนฌานและเจริญจิตมีธรรมควรแก่ฌานนั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ อุเบกขาของเรานี้ ก็จะ เป็นอุเบกขาอาศัยอากิญจัญญายตนฌานนั้น ยึดอากิญจัญญายตนฌานนั้น ดำรงอยู่ตลอดกาลยืนนาน ถ้าเราน้อมอุเบกขานี้ อันบริสุทธิ์ ผุดผ่องอย่างนี้ เข้าไปสู่เนวสัญญานาสัญญายตนฌานนั้น และเจริญจิตมีธรรมควรแก่ฌานนั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ อุเบกขาของเรานี้ ก็จะเป็นอุเบกขาอาศัยเนวสัญญานาสัญญายตนฌานนั้น ยึดเนวสัญญานาสัญญายตนฌานนั้น ดำรงอยู่ตลอดกาลยืนนาน. บุคคลนั้นย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า ถ้าเราน้อมอุเบกขานี้ อันบริสุทธิ์ ผุดผ่องอย่างนี้ เข้าไปสู่อากาสานัญจายตนฌาน และเจริญจิตมีธรรมควรแก่ฌานนั้น จิตนี้ก็เป็นสังขตะ ถ้าเราน้อมอุเบกขานี้ อันบริสุทธิ์ ผุดผ่องอย่างนี้ เข้าไปสู่ วิญญาณัญจายตนฌาน และเจริญจิตมีธรรมควรแก่ฌานนั้น จิตนี้ก็เป็นสังขตะ ถ้าเราน้อมอุเบกขานี้ อันบริสุทธิ์ผุดผ่องอย่างนี้ เข้าไปสู่อากิญจัญญายตนฌาน และเจริญจิตมีธรรมควรแก่ฌานนั้น จิตนี้ก็เป็นสังขตะ ถ้าเราน้อมอุเบกขานี้อันบริสุทธิ์ ผุดผ่องอย่างนี้ เข้าไปสู่เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน และเจริญ จิตมีธรรมควรแก่ฌานนั้น จิตนี้ก็เป็นสังขตะ. บุคคลนั้นจะไม่คำนึง จะไม่คิดถึงความเจริญหรือความเสื่อมเลย เมื่อไม่คำนึง ไม่คิดถึง ย่อมไม่ยึดมั่นอะไร ๆ ในโลก เมื่อไม่ยึดมั่น ย่อมไม่หวาดเสียว เมื่อไม่หวาดเสียว ย่อมปรินิพพานเฉพาะตนทีเดียว ย่อมทราบชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี. ถ้าเขาเสวยสุขเวทนาอยู่ ย่อมรู้ชัดว่า สุขเวทนานั้น ไม่เที่ยง อันบัณฑิตไม่ติดใจไม่เพลิดเพลิน ถ้าเสวยทุกขเวทนาอยู่ ย่อมรู้ชัดว่า ทุกขเวทนานั้น ไม่เที่ยง อันบัณฑิตไม่ติดใจ ไม่เพลิดเพลิน ถ้าเสวยอทุกขมสุขเวทนาอยู่ ย่อมรู้ชัดว่าอทุกขมสุขเวทนานั้น ไม่เที่ยง อันบัณฑิตไม่ติดใจ ไม่เพลิดเพลิน. ถ้าเสวยสุขเวทนาก็เป็นผู้ไม่ประกอบเสวย ถ้าเสวยทุกขเวทนาก็เป็นผู้ไม่ประกอบเสวย ถ้าเสวยอทุกขมสุขเวทนาก็เป็นผู้ไม่ประกอบเสวย เขาเมื่อเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด ย่อมรู้ชัดว่า กำลังเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด. เมื่อเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด ย่อมรู้ชัดว่า กำลังเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด. และรู้ชัดว่า เบื้องหน้าแต่สิ้นชีวิต เพราะตายไปแล้ว ความเสวยอารมณ์ทั้งหมดที่ยินดีกัน แล้วในโลกนี้แล จักเป็นของสงบ. ดูก่อนภิกษุ เปรียบเหมือนประทีปน้ำมัน อาศัยน้ำมันและไส้ จึงโพลงอยู่ได้ เพราะสิ้นน้ำมันและไส้นั้น และไม่เติมน้ำมัน และไส้อื่นย่อมเป็นประทีปหมดเชื้อ ดับไป ฉันใด ดูก่อนภิกษุ ฉันนั้นเหมือนกันแล บุคคลนั้นเมื่อเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด ย่อมรู้ชัดว่า กำลังเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด เมื่อเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด ย่อมรู้ชัดว่า กำลังเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด และรู้ชัดว่า เบื้องหน้าแต่สิ้นชีวิต เพราะตายไปแล้ว ความเสวยอารมณ์ทั้งหมดที่ยินดีกันแล้วในโลกนี้แล จักเป็นของสงบ. เพราะเหตุนั้นผู้ถึงพร้อมด้วยความรู้สึกอย่างนี้ ชื่อว่าเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญาอันเป็นธรรม ควรตั้งไว้ในใจอย่างยิ่งด้วยประการนี้. ก็ปัญญานี้ คือความรู้ในความสิ้นทุกข์ ทั้งปวงเป็นปัญญาอันประเสริฐยิ่ง ความหลุดพ้นของเขานั้น จัดว่าตั้งอยู่ในสัจจะเป็นคุณไม่กำเริบ. ดูก่อนภิกษุ เพราะสิ่งที่เปล่าประโยชน์เป็นธรรมดา นั้นเท็จ สิ่งที่ไม่เลอะเลือนเป็นธรรมดา ได้แก่ นิพพาน นั้นจริง ฉะนั้น ผู้ถึงพร้อมด้วยสัจจะอย่างนี้ ชื่อว่า เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยสัจจะอันเป็นธรรม ควรตั้งไว้ในใจอย่างยิ่งประการนี้. ก็สัจจะนี้ คือนิพพาน มีความไม่เลอะเลือนเป็นธรรมดา เป็นสัจจะอันประเสริฐยิ่ง. อนึ่ง บุคคลนั่นแล ยังไม่ทราบในกาลก่อน จึงเป็นอันพรั่งพร้อม สมาทานอุปธิเข้าไป อุปธิเหล่านั้นเป็นอันเขาละได้แล้วถอนรากขึ้นแล้ว ทำให้เหมือนตาลยอดด้วนแล้ว ถึงความเป็นอีกไม่ได้ มีความไม่เกิดต่อไปเป็นธรรมดา เพราะฉะนั้น ผู้ถึงพร้อมด้วยการสละอย่างนี้ ชื่อว่าเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยจาคะอันเป็นธรรมควรตั้งไว้ในใจอย่างยิ่งประการนี้. ก็จาคะนี้ คือความสละคืนอุปธิทั้งปวง เป็นจาคะอันประเสริฐยิ่ง. อนึ่ง บุคคลนั้น แลยังไม่ทราบในกาลก่อน จึงมีอภิชฌา ฉันทะ ราคะกล้า อาฆาต พยาบาท ความคิดประทุษร้าย อวิชชา ความหลงพร้อม และความหลงงมงาย อกุศลธรรมนั้น ๆ เป็นอันเขาละได้แล้ว ถอนรากขึ้นแล้ว ทำให้เหมือนตาลยอดด้วนแล้ว ถึงความเป็นอีกไม่ได้ มีความไม่เกิดต่อไปเป็นธรรมดา เพราะฉะนั้น ผู้ถึงพร้อมด้วยความสงบอย่างนี้ ชื่อว่า เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยอุปสมะอันเป็น ธรรมควรตั้งไว้ในใจอย่างยิ่งประการนี้. ก็อุปสมะนี้ คือความเข้าไปสงบราคะ โทสะ โมหะ เป็นอุปสนะอันประเสริฐอย่างยิ่ง. ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ไม่พึงประมาทปัญญา พึงตามรักษาสัจจะ พึงเพิ่มพูนจาคะ พึงศึกษาสันติเท่านั้น. นั่น เราอาศัยเนื้อความนี้ กล่าวแล้ว. ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า คนเรามีธรรมที่ควรตั้งไว้ในใจ ๔ อันเป็นธรรมที่ผู้ตั้งอยู่แล้ว ไม่มีกิเลสเครื่องสำคัญตนและกิเลสเครื่องหมักหมมเป็นไป ก็เมื่อกิเลสเครื่องสำคัญตนและกิเลสเครื่องหมักหมม ไม่เป็นไปอยู่ บัณฑิตจะเรียกเขาว่า มุนีผู้สงบแล้ว นั่น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว. ดูก่อนภิกษุ ความสำคัญคนมีอยู่ดังนี้ ว่า เราเป็น เราไม่เป็น เราจักเป็น เราจักไม่เป็น เราจักต้องเป็นสัตว์มีรูป เราจักต้องเป็นสัตว์ไม่มีรูป เราจักต้องเป็นสัตว์มีสัญญา เราจักต้องเป็นสัตว์ไม่มีสัญญา เราจักต้องเป็นสัตว์ไม่มีสัญญาก็มิใช่มีสัญญาก็มิใช่. ดูก่อนภิกษุ ความสำคัญตนจัดเป็นโรค เป็นหัวผี เป็นลูกศร ก็ท่านเรียกบุคคลว่า เป็นมุนีผู้สงบแล้ว เพราะล่วงความสำคัญตนได้ทั้งหมดเทียว และมุนีผู้สงบแล้วแล ย่อมไม่เกิดไม่แก่ ไม่ตาย ไม่กำเริบ. ไม่ทะเยอทะยาน. แม้มุนีนั้นก็ไม่มีเหตุที่จะต้องเกิดเมื่อไม่เกิด จักแก่ได้อย่างไร เมื้อไม่แก่ จักตายได้อย่าง ไร เมื่อไม่ตาย จักกำเริบได้อย่างไร เมื่อไม่กำเริบจักทะเยอทะยานได้อย่างไร. ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า คนเรามีธรรมที่ควรตั้งไว้ ในใจ ๔ อันเป็นธรรมที่ผู้ตั้งอยู่แล้ว ไม่มีกิเลสเครื่องสำคัญตนและกิเลสเครื่องหมักหมม เป็นไป ก็เมื่อกิเลสเครื่องสำคัญตนและกิเลสเครื่องหมักหมม ไม่เป็นไปอยู่ บัณฑิตจะเรียกเขาว่า มุนีผู้สงบแล้ว นั่นเราอาศัยเนื้อความกล่าวแล้ว. ดูก่อนภิกษุ ท่านจงทรงจำธาตุวิภังค์ ๖ โดยย่อนี้ของเราไว้เถิด. ลำดับนั้นแล ท่านปุกกุสาติทราบแน่นอนว่า พระศาสดา พระสุคต พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เสด็จมาถึงแล้วโดยลำดับ จึงลุกจากอาสนะทำจีวรเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง ซบเศียรลงแทบพระยุคลบาทของพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ โทษล่วงเกินได้ต้อง ข้าพระองค์เข้าแล้ว ผู้มีอาการโง่เขลา ไม่ฉลาด ซึ่งข้าพระองค์ได้สำคัญ ถ้อยคำที่เรียกพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยวาทะว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงรับอดโทษล่วงเกินแก่ข้าพระองค์ เพื่อจะสำรวมต่อไปเถิด. พ. ดูก่อนภิกษุ เอาเถอะ โทษล่วงเกินได้ต้องเธอผู้มีอาการโง่เขลา ไม่ฉลาด ซึ่งเธอได้สำคัญ ถ้อยคำที่เรียกเราด้วยวาทะว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ แต่เพราะเธอเห็นโทษล่วงเกินโดยความเป็นโทษแล้วกระทำคืน ตามธรรม เราขอรับอดโทษนั้นแก่เธอ ดูก่อนภิกษุ ก็ข้อที่บุคคลเห็นโทษล่วงเกินโดยความเป็นโทษ แล้วกระทำคืนตามธรรม ถึงความสำรวมต่อไปได้นั้น เป็นความเจริญในอริยวินัย. ปุ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอข้าพระองค์พึงได้อุปสนบทในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้าเถิด. พ. ดูก่อนภิกษุ ก็บาตรจีวรของเธอครบแล้วหรือ. ปุ. ยังไม่ครบ พระพุทธเจ้าข้า. พ. ดูก่อนภิกษุ ตถาคตทั้งหลาย จะให้กุลบุตรผู้มีบาตรและจีวรยัง ไม่ครบอุปสมบทไม่ได้เลย. ลำดับนั้น ท่านปุกกุสาติ ยินดี อนุโมทนาพระภาษิตของ พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ลุกจากอาสนะ ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้ากระทำประทักษิณแล้ว หลีกไปหาบาตรจีวร. ทันใดนั้นแล แม่โคได้ปลิดชีพท่านปุกกุสาติ ผู้กำลังเที่ยวหาบาตรจีวรอยู่. ต่อนั้น ภิกษุมากรูปด้วยกัน ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ยังที่ประทับแล้ว ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้า นั่งณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พอนั่งเรียบร้อยแล้ว ได้ทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ กุลบุตร ชื่อปุกกุสาติที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสสอนด้วย พระโอวาทย่อ ๆ คนนั้น ทำกาละเสียแล้ว เขาจะมีคติอย่างไร มีสัมปรายภพอย่างไร. พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปุกกุสาติกุลบุตรเป็นบัณฑิต ได้บรรลุธรรมสมควรแก่ธรรมแล้ว ทั้งไม่ให้เราลำบากเพราะเหตุแห่งธรรม ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปุกกุสาติกุลบุตร เป็นผู้เข้าถึงอุปปาติกเทพ เพราะสิ้นสัญโญชน์อันเป็นส่วนเบื้องต่ำ ๕ เป็นอันปรินิพพานในโลกนั้น มีความไม่กลับมาจากโลกนั้นอีกเป็นธรรมดา. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้น ต่างชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล. จบ ธาตุวิภังคสูตร ที่ ๑๐
คิดถึงพระพุทธเจ้าพระพุทธเจ้าตรัสถึงสิ่งซึ่งเป็นไปได้ยากหลายอย่าง เช่น การได้เกิดเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์อย่างพวกเรานั้นยาก เกิดมาแล้ว จะได้พบสัตบุรุษคือคนดีคนมีศีลมีธรรมก็เป็นไปได้ยาก พบแล้ว จะมีศรัทธาเข้าใกล้ก็ยาก เข้าใกล้แล้วจะได้ฟังธรรมก็ยาก ได้ฟัง ธรรมแล้วจะปฏิบัติธรรมให้สมควรแก่ธรรมก็ยากขึ้นไปอีก หัดภาวนาใหม่ๆ มันมีความสุขมาก ไม่ได้ทำอะไรก็มีความสุขโชยขึ้นมาแผ่วๆ ความสุขผุดขึ้นมาทั้งวันเลย มีสติทีไรก็มีความสุข ทุกทีเลย ต่อไปพอสติปัญญาแก่กล้าขึ้นมา มันเปลี่ยนนะ ใจไม่ค่อยมีความสุขหวือหวาขึ้นมาอย่างตอนแรกแล้ว มันเริ่มเห็นทุกข์มากขึ้นๆ ยิ่งภาวนายิ่งเห็นทุกข์มากขึ้น เป็นเรื่องแปลก พอเรารู้สึกตัวขึ้นมา จิตตั้งมั่นอยู่กับเนื้อกับตัว ทำไมมีความสุข เพราะว่าเป็นสมถะ สมถะที่มีสมาธิ มีจิตตั้งมั่น จิตใจอยู่กับเนื้อกับตัวก็มีความสุข แต่พอถึงขั้นเดินปัญญา มันเป็นขั้นรู้ทุกข์ ไม่ใช่ขั้นมีความสุข ถ้าเราเดินปัญญา เราเริ่มเห็นทุกข์นานาชนิดหมุนเวียนกันเข้ามา ในกายในใจนี้ตลอดเวลา ไม่ได้เห็นสุขแล้ว แต่จะเห็นทุกข์ โลกนี้เต็มไปด้วยปัญหา คนเต็มไปด้วยความทุกข์ ถ้าคนไม่มีสติปัญญาก็จะแยกไม่ออกว่าปัญหากับความทุกข์เป็น คนละส่วนกัน โลกมันไม่เที่ยง มันเคลื่อนไปเรื่อยๆ ปัญหา ก็เกิดขึ้นตลอดเวลา เช่น สุขภาพ เรารักษาเอาไว้ดีแล้ว ไม่นานก็ ป่วยอีก เพราะมันไม่เที่ยง ทุกข์มีหลายแบบ มีหลายขั้น มีหลายตอน ในทางปริยัติ จําแนกไว้ถึง ๑๐ ประการ แต่สําหรับนักปฏิบัติ เรามาเรียนรู้ทุกข์ บางอย่างก็พอแล้ว ทุกข์หยาบที่สุดเรียกว่า “ทุกขเวทนา” อย่าง เจ็บไข้ได้ป่วย ปวดเมื่อย หนาวไป ร้อนไป หิวข้าวก็ทุกข์นะ มีทุกข์ ทางกาย มีทุกข์ทางใจ เรียกว่า “ทุกขเวทนา” อันนี้เป็นทุกข์ทั่วๆ ไป ใครๆ ก็มี สัตว์ก็มีทุกข์กายทุกข์ใจ ถ้าพวกเราภาวนา เราก็จะเห็นทุกขเวทนาเยอะแยะเลย นั่งอยู่ก็เมื่อย หายใจเข้าก็ทุกข์ หายใจออกก็ทุกข์ ถ้าสติเราเร็วพอ สติปัญญามากพอ ก็จะเห็นเลยว่าที่พยายามหายใจอยู่ตลอดเวลา นี่หายใจไปเพื่อแก้ทุกข์เท่านั้นเอง ที่เปลี่ยนอิริยาบถอยู่ตลอดเวลา ก็เพื่อแก้ทุกข์เท่านั้นเอง หายใจเข้าไปเรื่อยๆ ก็ทุกข์ ต้องหายใจออก แก้ทุกข์ หายใจออกไปเรื่อยๆ ก็ทุกข์ ต้องหายใจเข้า แก้ทุกข์ นั่งนานๆ มันเมื่อยมันทุกข์ ก็ต้องเปลี่ยนอิริยาบถไปขยับซ้าย ขยับขวา หรือลุกขึ้นยืน หรือลุกขึ้นเดิน หรือนั่ง เมื่อยมากก็ ลงนอน เปลี่ยนอิริยาบถเพื่อแก้ทุกข์ ในจิตใจก็เหมือนกัน จิตใจมันมีความทุกข์เกิดขึ้นเรื่อยๆ มันก็ดิ้นรนเที่ยวหาความสุขไปเรื่อย เวลามีความอยากเกิดขึ้นทีไร ก็มีความทุกข์เกิดขึ้นทุกที แต่เราไม่เห็นหรอก เราเห็นว่ามันไม่ สบายใจ พอไม่สบายใจ เราก็เที่ยวหาอารมณ์ที่เพลิดเพลินพอใจ มาป้อนมัน ไปดูหนัง ไปฟังเพลง ไปคุยกับเพื่อน ไปดูโน่นดูนี่ หรือหาหนังสือมาอ่านให้เพลินๆ ไปกินเหล้า เปลี่ยนอารมณ์ไป เรื่อยๆ จริงๆ ก็เพื่อแสวงหาความสุข เพื่อหนีความทุกข์ ใจมันไม่มีความสุขหรอก เฝ้ารู้เฝ้าดูไปนะ ไม่ว่าจะอารมณ์ชนิดไหนมันก็อยู่ได้ ชั่วคราว มันทนอยู่ไม่ได้สักอันเดียว เปลี่ยนอิริยาบถมาอยู่ใน อิริยาบถแบบนี้แล้ว นึกว่าจะอยู่สบายก็ไม่สบาย ทนอยู่ไม่ได้อีก จิตใจก็เหมือนกัน ไปกระทบอารมณ์อย่างนี้นึกว่าจะสบาย ก็สบายแป๊บๆ เดี๋ยวก็ทนอยู่ไม่ได้อีก ทุกสิ่งทุกอย่างเป็นของทนอยู่ ไม่ได้ ภาวะแห่งการทนอยู่ไม่ได้นี่แหละคือทุกข์อีกชนิดหนึ่ง เรียกว่า “ทุกขลักษณะ” ไม่ใช่ทุกขเวทนาแล้ว “ทุกขลักษณะ” หมายถึงว่าสิ่งทั้งหลายนั้นมันทนทาน อยู่ไม่ได้จริง ถ้ามันทนอยู่ได้เรื่อยๆ ไปก็ยิ่งทุกข์หนักนะ เกิดทุกขเวทนาหนักเสียอีก สิ่งทั้งหลายมันเปลี่ยนไปเรื่อย ไม่คงที่ เวลาเราภาวนา มากเข้าๆ ไม่ใช่เห็นแค่ทุกข์ทางร่างกาย เราจะเห็นเลยว่าทุกสิ่ง ทุกอย่างที่เกิดขึ้นในกายในใจนี้เป็นของชั่วคราวทั้งหมดเลย มีขึ้นมา แล้วก็หายไป เช่นนั่งอยู่ รูปนั่งก็ทนอยู่ได้ไม่นาน รูปนั่งมันถูกทุกขเวทนาบีบคั้นแล้วมันมีทุกขลักษณะ คือมันไม่สามารถทนอยู่ได้นานในรูปนั่ง ต้องเปลี่ยนเป็นรูปนอน นอนก็อยู่ได้ไม่นานก็ต้อง เปลี่ยนอีก ความสุขเป็นของทนอยู่ไม่ได้ เกิดขึ้นก็อยู่ได้ไม่นานก็ต้องเปลี่ยน ดังนั้นความสุขก็มีทุกขลักษณะ หมายถึงว่ามันทนอยู่ไม่ได้ นี่สติปัญญาของเราเริ่มแก่กล้าขึ้นมา เห็นกระทั่งสุขเป็นตัวทุกข์ ในชีวิตเต็มไปด้วยของไม่เที่ยง ถ้าใจยอมรับความจริงได้ ว่าทุกอย่างในโลกนี้ไม่เที่ยง ใจก็จะไม่ทุกข์ ปัญหาที่เกิดขึ้น ก็ส่วนปัญหา แต่ใจไม่ทุกข์ ถ้ายอมรับความจริงไม่ได้ว่าโลก มันไม่เที่ยง เกิดปัญหาขึ้นมา ใจจะทุกข์ มันอยู่ที่ว่าใจเรายอมรับได้ หรือยอมรับไม่ได้ ตรงขั้นที่เห็นทุกขเวทนานั่นใครๆ ก็เห็น อันนี้เรื่องธรรมดา เป็นเรื่องโลกๆ ตรงขั้นที่เห็นทุกขลักษณะนี่ขึ้นวิปัสสนากัมมัฏฐานแล้ว ถ้าขึ้นวิปัสสนาจะเห็นไตรลักษณ์ (อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา) ของรูป นาม ถ้ายังไม่เห็นไตรลักษณ์ แม้จะเห็นรูปนามก็ยังไม่ขึ้นวิปัสสนา พอเราเห็นไปเรื่อยๆ ต่อไปการเห็นทุกข์มันจะประณีตขึ้น ตรงที่เห็นทุกขลักษณะนี่สามารถบรรลุธรรมได้แล้ว เป็นโสดาบัน สกิทาคามี อนาคามี บรรลุได้เพราะมันเห็นทุกข์ โลกนี้เต็มไปด้วยปัญหา คนเต็มไปด้วยความทุกข์ ถ้าคนไม่มีสติปัญญาก็จะแยกไม่ออกว่าปัญหากับความทุกข์เป็น คนละส่วนกัน โลกมันไม่เที่ยง มันเคลื่อนไปเรื่อยๆ ปัญหา ก็เกิดขึ้นตลอดเวลา เช่น สุขภาพ เรารักษาเอาไว้ดีแล้ว ไม่นานก็ ป่วยอีก เพราะมันไม่เที่ยง ในชีวิตเต็มไปด้วยของไม่เที่ยง ถ้าใจยอมรับความจริงได้ ว่าทุกอย่างในโลกนี้ไม่เที่ยง ใจก็จะไม่ทุกข์ ปัญหาที่เกิดขึ้น ก็ส่วนปัญหา แต่ใจไม่ทุกข์ ถ้ายอมรับความจริงไม่ได้ว่าโลก มันไม่เที่ยง เกิดปัญหาขึ้นมา ใจจะทุกข์ มันอยู่ที่ว่าใจเรายอมรับได้ หรือยอมรับไม่ได้ เรามาหัดเรียนวิปัสสนากัมมัฏฐานกันก็เพื่อให้เห็นความ จริงของโลก ความจริงของชีวิต ความจริงของกายของใจ ให้เห็นว่า มันเป็นของไม่เที่ยง ถ้าใจยอมรับได้นะกระทั่งกายนี้ใจนี้ยังไม่เที่ยง สิ่งที่เรียกว่าตัวเรายังไม่เที่ยง “ของเรา” มันก็ไม่มีความหมายอะไร ก็แค่เครื่องอาศัย สามีของเรา ภรรยาของเรา ลูกของเรา บ้านของเรา รถของเรา หน้าที่การงานของเรา มี “ของเรา” เยอะเลย ทั้งหมด ก็เป็นแค่เครื่องอาศัย ถ้าฉลาดก็รู้ว่างานหลักของเราจริงๆ ไม่ใช่งานทํานุบํารุงรักษาสิ่งซึ่งไม่คงที่พวกนี้ ทุ่มเทเท่าไร เหนื่อยยากเท่าไร มันก็แปรปรวน ฉะนั้น เรามาฝึกใจของตัวเองให้ยอมรับความจริงให้ได้ ความจริงก็คือทุกสิ่งทุกอย่างนั้นไม่เที่ยงหรอก ทุกสิ่งทุกอย่างแปรปรวนอยู่ตลอดเวลา ไม่คงที่ ให้พาจิตพาใจของเราไปดูความจริงเนืองๆ ดูบ่อยๆ ดูนานๆ พอถึงพระอนาคามี จะเห็นเลยว่ากายนี้ทุกข์ล้วนๆ พวกเรายังไม่เห็น พวกเรายังเห็นว่าร่างกายนี้เป็นทุกข์บ้างเป็นสุขบ้าง จิตใจนี้เป็นทุกข์บ้างเป็นสุขบ้าง พระอนาคามีท่านเห็นกายนี้เป็นทุกข์ล้วนๆ เพราะฉะนั้น ท่านไม่ติดอกติดใจในกาย อะไรที่เรียกว่ากาย ตาหูจมูกลิ้นกาย นี่เรียกว่ากาย เมื่อไม่ ติดใจในตาในหูในจมูกในลิ้นในกาย กระทั่งตายังไม่ติดใจ ก็ไม่ติดใจในรูป ไม่ติดใจในเสียง ในกลิ่น ในรส ในโผฏฐัพพะ (สิ่งที่มากระทบกาย) ไม่ติดอกติดใจในรูปก็ไม่มีความยินดียินร้ายในรูป กามและปฏิฆะ ในรูปก็ไม่มี ไม่ติดใจในเสียงก็ไม่ยินดียินร้ายในเสียง กามและปฏิฆะ ในเสียงก็ไม่มี ฯลฯ ถ้าฉลาดก็รู้ว่างานหลักของเราจริงๆ ไม่ใช่งานทํานุบํารุงรักษาสิ่งซึ่งไม่คงที่พวกนี้ ทุ่มเทเท่าไร เหนื่อยยากเท่าไร มันก็แปรปรวน ฉะนั้น เรามาฝึกใจของตัวเองให้ยอมรับความจริงให้ได้ ความจริงก็คือทุกสิ่งทุกอย่างนั้นไม่เที่ยงหรอก ทุกสิ่งทุกอย่างแปรปรวนอยู่ตลอดเวลา ไม่คงที่ ให้พาจิตพาใจของเราไปดูความจริงเนืองๆ ดูบ่อยๆ ดูนานๆ นี่ภาวนาไปเรื่อยนะ เห็นทุกข์ไปเรื่อย สุดท้ายใจมันเต็มอิ่ม ขึ้นมา มันไม่หิวโหยหาอารมณ์ภายนอกแล้ว อารมณ์ภายนอก เอามันทําไม มันมีแต่ทุกข์ทั้งนั้นเลย ใจไม่หิวไปหาอารมณ์ ภายนอก ไม่แส่ส่าย ไม่ฟุ้งซ่านไปสู่อารมณ์ภายนอก เพราะมีแต่ทุกข์ทั้งนั้นเลย พอใจไม่แส่ส่าย ใจสงบ ใจตั้งมั่น ใจเด่นดวง เป็นผู้รู้ผู้ตื่น ผู้เบิกบานอยู่ ใจก็มีแต่ความสุข เพราะฉะนั้น พระอนาคามีจะเห็น กายเป็นทุกข์ล้วนๆ ไม่ยึดถือกาย แต่ยึดถือจิต ที่จริงเห็นมาตั้งแต่ ขั้นพระโสดาบันแล้วว่า จิตไม่ใช่ตัวเรา รู้ว่าเป็นของยืมโลกมาใช้ แต่ว่ามันนำความสุขมาให้ ติดอกติดใจไม่ยอมคืนโลก แล้วไม่เห็นช่องทางที่จะคืนเลย นี่มาถึงตรงนี้นะ มันคือการปฏิบัติในขั้นแตกหักว่า ทําอย่างไรจะปล่อยวางตัวจิตนี้ได้ ถ้าภาวนามาเรื่อยนะ จนรู้สึกว่าใจมันขาดอะไรอย่างหนึ่ง มันจึงไม่สามารถปล่อยวางจิตได้ ปล่อยไปเดี๋ยวก็หยิบขึ้นมา ไม่ปล่อยจริง ในใจรู้แต่ว่ามันขาด แต่ขาดอะไรไม่รู้นะ ภาวนาไปเรื่อยนะ วันหนึ่งก็เข้าใจ มันขาดความเข้าใจอริยสัจ มันไม่เห็นหรอกว่าตัวจิต เป็นตัวทุกข์ มันเห็นว่าจิตนี้เป็นสุขบ้างเป็นทุกข์บ้าง ถ้าภาวนาดีๆ ก็เห็นจิตมีแต่ความสุข ไม่มีความทุกข์ ไม่สามารถเห็นได้ว่าตัวจิต เป็นตัวทุกข์ เพราะว่าไม่เห็นความเป็นไตรลักษณ์ของจิตผู้รู้ ถ้าเห็นความเป็นไตรลักษณ์ของจิตผู้รู้ถึงจะเข้าใจความจริง ว่าจิตเองก็ตกอยู่ภายใต้ความทุกข์ ตกอยู่ใต้สภาวะที่เป็นตัวทุกข์ การที่เราเห็นอย่างแจ่มแจ้งว่ากายนี้เป็นทุกข์โดยตัวของมันเอง จิตนี้เป็นทุกข์โดยตัวของมันเอง อันนี้เรียกว่ารู้แจ้งใน “ทุกขสัจ” วันใดเห็นว่าจิตเป็นตัวทุกข์นั่นแหละเรียกว่าเรา “รู้ทุกข์” แจ่มแจ้งแล้ว เป็นภาวะที่จะเกิดขึ้นได้ต่อเมื่อเรารู้อริยสัจแจ่มแจ้ง พระพุทธเจ้าทรงสอนเรื่องทุกขสัจเอาไว้ว่า “สังขิตเตนะ ปัฐจุหาทานักขันธา ทุกขา” โดยสรุปอุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ เป็นตัวทุกข์ ขันธ์ทั้ง ๕ ย่อลงมาก็คือรูปกับนาม เราต้องเห็นรูปกับนามเป็น ตัวทุกข์ เราถึงจะปล่อยวางรูปนามได้ ถ้าปล่อยวางรูปนามได้ ก็พ้นทุกข์ได้ เบื้องต้นเราได้ยินว่าเกิดแก่เจ็บตายเป็นทุกข์ เราจะคิดว่า คนเกิด คนแก่ คนเจ็บ คนตาย เป็นทุกข์ พอเราภาวนาประณีตขึ้น เราก็จะรู้สึกว่าไม่ใช่คนเกิด คนแก่ คนเจ็บ คนตาย เป็นทุกข์หรอก ขันธ์ทั้งหลายถ้าเราเข้าไป ยึดมันแล้วจะเป็นทุกข์ จะรู้สึกอย่างนี้ พอได้ยินคําว่า “ว่าโดยย่อ อุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ เป็นทุกข์” ก็คิดว่าถ้ามีอุปาทานในขันธ์ ๕ ก็จะเป็นทุกข์ มีขันธ์ ๕ เฉยๆ ไม่ทุกข์ จะเข้าใจอย่างนี้ แต่ไม่ใช่คนเป็นทุกข์แล้ว ไม่ใช่คนเกิด คนแก่ คนเจ็บ คนตายแล้ว ขันธ์ของเราเกิด ขันธ์ของเราแก่ ขันธ์ ของเราเจ็บ ขันธ์ของเราตาย ถึงจะทุกข์ นี่ความเข้าใจก็เปลี่ยนไป พอภาวนาต่อไปอีก ก็เห็นว่าขันธ์นั่นแหละเป็นตัวทุกข์ จิตจะมีความอยาก จิตจะมีความยึดขันธ์หรือไม่ก็ตาม ขันธ์นั่น แหละเป็นตัวทุกข์ ท่านถึงบอกว่า ว่าโดยย่อ อุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ เป็นตัวทุกข์ การรู้ทุกข์นี่เป็นเรื่องสําคัญที่สุดสําหรับการปฏิบัติ ธรรมในทางพระพุทธศาสนา ไม่ใช่แค่นั่งสมาธิ หวังว่าทําสมาธิ ไปเรื่อยๆ แล้วจะพ้นทุกข์ ไม่มีทางพ้นเลย ทําสมาธิก็ไปสร้างภพภูมิ ที่ละเอียดขึ้นไปอีก นอกจากการรู้ทุกข์แล้ว ไม่มีวิธีอย่างอื่นที่จะเห็นธรรมได้เลย คำว่า อุปาทานขันธ์ ไม่ใช่แปลว่า ขันธ์ที่ถูกยึดมั่น แต่เป็นขันธ์ซึ่งเป็นที่ตั้งของความยึดมั่นได้ คือขันธ์ที่พวกเราทั้งหลายมีกันอยู่นี่แหละ ขันธ์บางอย่างไม่จัดเป็นอุปาทานขันธ์ เช่น โลกุตตรจิต (มรรคจิต, ผลจิต) ทั้งหลายไม่จัดเป็นอุปาทานขันธ์ จึงเอามาทำวิปัสสนาไม่ได้ เพราะไม่ใช่ตัวทุกข์ ขันธ์ทั้งหมดไม่ใช่ตัวทุกข์ เฉพาะขันธ์ที่เรียกว่าอุปาทานขันธ์ คือขันธ์ซึ่งสามารถเอาไปยึดมั่นได้ เป็นที่ตั้งของความยึดมั่นได้เท่านั้นที่เป็นตัวทุกข์ ไม่ใช่ต่อเมื่อยึดมั่นแล้วขันธ์จึงจะกลายเป็นตัวทุกข์ ในความเป็นจริง อุปาทานขันธ์ทั้งหมดเป็นตัวทุกข์ จะยึด หรือไม่ยึด มันก็ทุกข์โดยตัวของมันเองอยู่แล้ว ความเข้าใจจากการปฏิบัตินั้นประณีตมากเลย อ่านๆ เอา นึกว่าเข้าใจ แต่เข้าใจไปคนละเรื่อง ถ้าความรู้ความเข้าใจมีแค่ว่า ถ้ามีความอยากมีความยึด แล้วก็มีความทุกข์ขึ้นมา ไปยึดขันธ์แล้วทุกข์ เราจะมุ่งมาในจุดที่ว่า ทําอย่างไรจะไม่ไปยึดขันธ์ จะหาทางไม่ให้ยึดขันธ์ คนศาสนาอื่นเขาก็หาทางที่จะไม่ให้ยึด อย่างพวกที่ทรมาน ร่างกาย มันรักร่างกายเหรอ ทรมานมันไปเลยจะได้ไม่รักมัน ใจมัน อยากกินก็ทรมานไม่กิน หาเรื่องทรมาน ไม่ตามใจกิเลส พยายาม เข้าไปจัดการกับจิตใจซึ่งมันจะเข้าไปอยาก เข้าไปยึดในรูปในนาม ทั้งหลาย นี่เพราะว่าความเข้าใจในอริยสัจไม่แจ่มแจ้ง ลงท้ายวิธี ปฏิบัติก็คลาดเคลื่อน พอเราคิดว่าถ้าอยากถ้ายึดก็ทุกข์ ก็เลยคิดว่าทําอย่างไร จะหายอยาก อยากกินก็ไม่กิน แกล้งมันซะ ต่อไปจะได้ไม่มี ความอยาก มุ่งไปจัดการที่ตัวความอยาก ถ้าเข้าใจแจ่มแจ้ง ในคําสอนของพระพุทธเจ้า จะรู้เลยว่า ขันธ์นั่นแหละเป็นตัวทุกข์ ไม่ใช่ขันธ์นี้เป็นทุกข์บ้างเป็นสุขบ้าง แต่เป็นตัวทุกข์ล้วนๆ มีแต่ทุกข์มากกับทุกข์น้อย ถ้ารู้ทุกข์แจ่มแจ้งความอยากให้ขันธ์เป็นสุขจะไม่เกิดขึ้น ความอยากให้ขันธ์พ้นทุกข์ก็ไม่เกิดขึ้น อยากให้มีสุขไปทําไม อยากให้โง่หรือ มันไม่มีทางมีความสุขได้เพราะมันเป็นตัวทุกข์ อยากให้มันพ้นทุกข์หรือ อยากให้โง่สิ เพราะถึงอย่างไรมันก็ทุกข์ ไม่มีทางพ้นเลย ความอยากทั้งหลายแหล่มันก็มีอยู่แค่นี้เอง ความอยากที่ ว่ากิเลส ๑,๕๐๐ ตัณหา ๑๐๘ จริงๆ ก็คืออยากให้ขันธ์เป็นสุข อยากให้ขันธ์พ้นทุกข์ ย่อๆ ลงมาก็คือรักสุขเกลียดทุกข์นั่นแหละ พอเข้าใจขันธ์เท่านั้น ความอยากดับเอง ไม่ต้องไปทรมาน กายทรมานใจเพื่อจะดับตัณหา ขอให้รู้ทุกข์แจ่มแจ้งแล้วตัณหา จะดับไปโดยอัตโนมัติเลย ถ้าเราเข้าใจตัวนี้ ความเข้าใจมันจะประณีตมาก จิตมันจะสลัดคืนขันธ์ให้โลกไปเลย พอจิตมันเห็นว่าขันธ์ไม่ใช่ของดีของวิเศษ ขันธ์นี้เป็นทุกข์ล้วนๆ กระทั่งตัวจิตก็เป็นทุกข์ล้วนๆ จิตมันก็อยู่ใน ขันธ์นั่นเอง อยู่ในวิญญาณขันธ์ พอมันปล่อยขันธ์ทิ้งไป ไม่มีอะไรให้ยึดอีก มันก็พ้นจากอุปาทานขันธ์ อุปาทานขันธ์ก็กองอยู่อย่างนั้น กองอยู่กับโลกนั้นเอง ไม่ใช่ต้องไปทําลายล้างมัน มันมีเหตุมันก็เกิด หมดเหตุมันก็ดับ บังคับมันไม่ได้ แต่ใจไม่เข้าไปยึดถือมันแล้ว ที่ใจไม่เข้าไปยึดถือมันก็เพราะรู้ทุกข์แจ่มแจ้ง รู้ว่าขันธ์ทั้งหลาย ทั้งปวงนี้แหละเป็นตัวทุกข์ ฉะนั้น การรู้ทุกข์นี่เป็นเรื่องสําคัญที่สุดสําหรับการปฏิบัติ ธรรมในทางพระพุทธศาสนา ไม่ใช่แค่นั่งสมาธิ หวังว่าทําสมาธิ ไปเรื่อยๆ แล้วจะพ้นทุกข์ ไม่มีทางพ้นเลย ทําสมาธิก็ไปสร้างภพภูมิ ที่ละเอียดขึ้นไปอีก นอกจากการรู้ทุกข์แล้ว ไม่มีวิธีอย่างอื่นที่จะเห็นธรรมได้เลย
ทางแห่งอริยมรรคท่านพระสารีบุตรตอบว่า พึงมี ท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งอาสวะ อาสวสมุทัย อาสวนิโรธ อาสวนิโรธคามินีปฏิปทา แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่า เป็นสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นดำเนินไปตรงแล้ว ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันแน่วแน่ในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้ ก็อาสวะ เหตุเกิดแห่งอาสวะ ความดับอาสวะ ทางที่จะให้ถึงความดับอาสวะ เป็นไฉน? ได้แก่ อาสวะ ๓ เหล่านี้ คือ กามาสวะ ภวาสวะ อวิชชาสวะ เหตุเกิดแห่งอาสวะ ย่อมมีเพราะอวิชชาเป็นเหตุให้เกิด ความดับอาสวะ ย่อมมีเพราะอวิชชาดับ อริยมรรคประกอบ ด้วยองค์ ๘ นี้แหละ คือ ความเห็นชอบ ดำริชอบ เจรจาชอบ การงานชอบ เลี้ยงชีพชอบ พยายามชอบ ระลึกชอบ ตั้งใจชอบ ชื่อว่าปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับอาสวะ ดูกรท่านผู้มีอายุ เมื่อใด อริยสาวกรู้ชัดซึ่งอาสวะ เหตุเกิดแห่งอาสวะ ความดับอาสวะ ปฏิปทาที่จะให้ถึงความ ดับอาสวะ อย่างนี้ๆ เมื่อนั้นท่านละราคานุสัย บรรเทาปฏิฆานุสัย ถอนทิฏฐานุสัย และ มานานุสัย โดยประการทั้งปวง ละอวิชชา ยังวิชชาให้เกิด ย่อมกระทำซึ่งที่สุดแห่งทุกข์ในปัจจุบัน เทียว แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นดำเนินไปตรงแล้ว ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันแน่วแน่ในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้. ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวคำนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้น ชื่นชม ยินดีภาษิตของท่านพระสารี- *บุตรแล้วแล. จบ สัมมาทิฏฐิสูตร ที่ ๙ ดูกรท่านผู้มีอายุ ก็ ๖ บทที่กล่าวว่าเป็นไฉน ได้แก่ ทุกข์ ชรามรณะ อุปาทาน อายตนะ ๖ นามรูป วิญญาณ ๔ บทที่กล่าวว่าเป็นไฉน ได้แก่ ชาติ ตัณหา เวทนา และหมวด ๔ แห่งอวิชชา ๕ บทที่กล่าวว่าเป็นไฉน ได้แก่ อาหาร ภพ ผัสสะ สังขาร อาสวะเป็นที่ ๕ หกอย่างเป็นไฉน ข้าพเจ้าได้กล่าวแล้ว สี่อย่างเป็นไฉน ข้าพเจ้าได้กล่าวแล้ว ห้าอย่างเป็นไฉน ข้าพเจ้าได้กล่าวแล้ว บทแห่งสังขารทั้งปวง มี ๑๕ บท ฉะนี้แล.
ทางพ้นทุกข์มโนปุพฺพงฺคมา ธมฺมา มโนเสฏฺฐา มโนมยา มนสา เจ ปทุฏฺเฐน ภาสติ วา กโรติ วา ตโต นํ ทุกฺขมเนฺวติ จกฺกํว วหโต ปทํ. ธรรมทั้งหลาย มีใจเป็นหัวหน้า มีใจเป็นใหญ่ ถ้าเราเห็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เห็นเพียงมุมใดมุมหนึ่งอย่างแจ่มแจ้ง เราจะรู้เลยว่ากายนี้ใจนี้ไม่ใช่ของดีของวิเศษ ไม่ใช่ของที่น่ารักน่าหวงแหน มันเป็นภาระทั้งสิ้น มันเป็นทุกข์ทั้งสิ้น ถ้าเราได้เห็นซ้ำแล้วซ้ำอีก จนใจเรายอมรับความจริงได้ ความยึดถือจะหมดไป พระพุทธเจ้าจึงสอนบอกว่า “เพราะเห็นตามความเป็นจริง จึงเบื่อหน่าย เพราะเบื่อหน่ายจึงคลายกำหนัด คือคลายความรักใคร่ยึดถือ เพราะคลายกำหนัดจึงหลุดพ้น เพราะหลุดพ้นจึงรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว
วันศุกร์ที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2560
ความหิวเป็นโรคอย่างยิ่งสังขารเมื่อมีสภาพต้องเสื่อมไปเพราะวันเวลาล่วงไปก็ดี เสื่อมเพราะเป็นรังของโรค มีโรคภัยนานาชนิดที่คอยเบียดเบียนเสียดแทงจนหาความปกติสุขมิได้ โรคอื่นยังไม่มี โรคหิวก็รบกวน ตลอดวัน กินเท่าไรก็ไม่อิ่มไม่พอ กินแล้วกินอีก กินในบ้านก็แล้ว กินนอกบ้านก็แล้ว อาหารราคาถูกก็แล้ว ราคาแพงก็แล้ว มันก็ไม่หายหิว ถึงเวลามันก็เสียดแทงหิวโหยเป็นปกติของมัน ฉะนั้น โรคที่สำคัญที่สุด พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า โรคนั้น คือ โรคหิว ดังพระบาลี ว่า ชิฆจฺฉาปรมา โรคา แปลว่า ความหิวเป็นโรคอย่างยิ่ง โรคภัยต่างๆ มีขึ้นได้ก็เพราะอาศัยสังขาร ความหิวจะมีได้ก็เพราะอาศัยสังขาร ความแก่ ความทุกข์อันเกิดจากภยันตรายจะมีได้ ก็เพราะอาศัยสังขาร เพราะมีสังขารจึงมีทุกข์ ในที่สุดก็ถึงความแตกดับ ก็เพราะสังขารเป็นมูลเหตุ สังขารจึงเป็นสิ่งน่ากลัวมาก ควรจะหาทางหลีกเร้นสังขารต่อไป ๔.อาทีนวานุปัสสนาญาณ ญาณนี้ท่านให้พิจารณาให้เห็นโทษของสังขาร ความเจริญญาณนี้น่าจะจัดรวมกับญาณที่ ๓ เพราะอาการที่ทำลายนั้น เป็นอาการของสิ่งที่เป็นโทษอยู่แล้ว ฉะนั้นข้อนี้จึงไม่ต้องอธิบาย โปรดถือคำอธิบายของญาณที่ ๓ เป็นเครื่องพิจ ๕.นิพพิทานุปัสสนาญาณ ญาณนี้ท่านให้พิจารณาให้มีความเบื่อหน่ายจากสังขาร เพราะสังขารเกิดแล้วดับในที่สุดนี้ประการหนึ่ง สังขารมีความดับเป็นปกติทุกวันเวลา หรือจะว่าทุกลมหายใจเข้าออกก็ไม่ผิด นี้ประการหนึ่ง สังขารเป็นภัยเพราะมีโรคภัยไข้เจ็บเบียดเบียนเป็นปกติ และ ทำลายในที่สุดประการหนึ่ง สังขารเต็มไปด้วยความทุกข์และโทษประการหนึ่ง ฉะนั้นสังขารนี้เป็นสภาพที่น่าเบื่อหน่าย ไม่เป็นของน่ารัก น่าปรารถนาเลย ญาณนี้ควรเอาอสุภสัญญาความเห็นว่าไม่สวยไม่งามมาร่วมพิจารณาด้วย เอามรณานุสสติธาตุ ๔ มาร่วมพิจารณาด้วย จะเห็นเหตุเห็นผลชัดเจน เกิดความเบื่อหน่ายได้โดยฉับพลัน เพราะกรรมฐานที่กล่าวแล้วนั้น เราพิจารณาในรูปสมถะอยู่แล้ว และเห็นเหตุผลอยู่แล้ว เอามาร่วมด้วยจะได้ผลรวดเร็ว และชัดเจนแจ่มใสมาก เกิดความเบื่อหน่ายในสังขารอย่างชนิดที่ไม่มีวันที่จะเห็นว่าน่ารักได้เลย ๖.มุญจิตุกัมมยตาญาณ ญาณนี้ท่านให้พิจารณาเพื่อใคร่ให้พ้นจากสังขาร ทั้งนี้เพราะอาศัยที่เห็นแล้วจากญาณต้น ๆ ว่า เกิดแล้วก็ดับ มีความดับเป็นปกติ เป็นเรือนร่างที่เต็มไปด้วยความทุกข์ เพราะโรคภัยไข้เจ็บ จนเกิดความเบื่อหน่ายเพราะหาความเที่ยง ความแน่นอนไม่ได้ ท่านให้พยายามหาทางพ้นต่อไป ด้วยการพยายามหาเหตุที่สังขารจะพึงเกิดขึ้น เพราะถ้าไม่มีสังขารแล้ว ความทุกข์ความเบื่อหน่ายทั้งหลายเหล่านี้จะมีไม่ได้เลย
คนที่มีฤทธิ์ทางใจ สังเกตให้ดีเถอะ เงียบๆ พวกที่มีฤทธิ์มากๆนะ มีอภิญญามาก...ทุกครั้งที่เราพูดกับคนอื่น เราเสียพลังงานนะ พลังของจิตจะเสียไป เพราะฉะนั้นพูดน้อยๆนะ ดี คนที่มีฤทธิ์ทางใจ สังเกตให้ดีเถอะ เงียบๆ พวกที่มีฤทธิ์มากๆนะ มีอภิญญามากๆ ไม่ค่อยพูดอะไรหรอก เงียบๆ เพราะพูดมาก เสียพลัง พลังฝึกปรือเสื่อม ยิ่งไปคลุกคลีกับคนยิ่งไปคบคนฟุ้งซ่านนะ ยิ่งหมดพลังฝึกปรือเลย แล้วไปคบกับพวกพูดธรรมะด้วยกันนะ วันๆนั่งพูดธรรมะเรื่อยๆนะก็หมดพลังนะ กระทั่งพูดธรรมะก็หมดพลังนะ ไม่ใช่ไม่หมดพลัง พูดเท่าที่จำเป็น กถาวัตถุ 10 หมายถึง เรื่องที่ควรพูด เรื่องที่ควรนำมาสนทนากันในหมู่ภิกษุ ได้แก่ อัปปิจฉกถา เรื่องความมักน้อย ถ้อยคำที่ชักชวนให้มีความปรารถนาน้อยสันตุฏฐิกถา เรื่องความสันโดษ ถ้อยคำที่ชักนำให้มีความสันโดษ ไม่ชอบฟุ้งเฟ้อหรือปรนปรือปวิเวกกถา เรื่องความสงัด ถ้อยคำที่ชักนำให้มีความสงัดกายใจอสังสัคคกถา เรื่องความไม่คลุกคลี ถ้อยคำที่ชักนำให้ไม่คลุกคลีด้วยหมู่วิริยารัมภกถา เรื่องการปรารภความเพียร ถ้อยคำที่ชักนำให้มุ่งมั่นทำความเพียรสีลกถา เรื่องศีล ถ้อยคำที่ชักนำให้ตั้งอยู่ในศีลสมาธิกถา เรื่องสมาธิ ถ้อยคำที่ชักนำให้ทำจิตมั่นปัญญากถา เรื่องปัญญา ถ้อยคำที่ชักนำให้เกิดปัญญาวิมุตติกถา เรื่องวิมุตติ ถ้อยคำที่ชักนำให้ทำใจให้พ้นจากกิเลสและความทุกข์วิมุตติญาณทัสสนกถา เรื่องความรู้ความเห็นในวิมุตติ ถ้อยคำที่ชักนำให้สนใจ และเข้าใจเรื่องความรู้ ความเห็นในภาวะที่หลุดพ้น จากกิเลสและความทุกข์ คำว่าเอาจิตที่รู้อยู่นั้นคือว่ามันมีอยู่แล้ว ความจริงจิตของคนเราจริง ๆ มันไม่ได้ไปไหน คิดไปปรุงไปอันนั้นเป็นเรื่องสังขาร มันปรุงมันแต่งไปเอง เป็นเรื่องสังขาร เป็นเรื่องสัญญาอารมณ์ เป็นเรื่องกิเลสที่มันดิ้นรนวุ่นวาย กามตัณหามันไป เมื่อจิตใจผู้ภาวนาไม่หลงไปตามไป มันก็ดับไปเอง ไม่มีใครส่งเสริมต่อเติมมันก็ดับ แต่จิตผู้ใดหลงไป ส่งเสริมต่อเติมให้มันก็ไม่มีที่จบที่สิ้น เป็นกามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ไม่มีที่จบที่สิ้น ละวางเสีย หยุดเสีย สงบเสียได้ ขณะนี้เวลานี้มันก็มีเท่านี้ นั่งอยู่ก็พุทโธจิตใจดวงผู้รู้อยู่อย่างนี้ ยืนอยู่ก็พุทโธจิตดวงผู้รู้นี้ เดินไปมาก็จิตดวงนี้ มานั่งมานอนก็จิตดวงนี้แหละ ก็ไม่ต้องหาที่ไหนแล้ว รวมกำลังตั้งมั่นรวมไปในจิตใจดวงผู้รู้อยู่ตลอดเวลา
สมาธิที่พระพุทธเจ้าทรงสอนสมาธิคือความตั้งมั่นของจิต จิตตั้งมั่นนะ ไม่ใช่จิตสงบ คนละอันกัน แต่ในความตั้งมั่น มีความสงบ สงบจากอะไร สงบจากนิวรณ์เท่านั้นเอง ไม่ใช่สงบจากอารมณ์ ต้องแยกให้ออกนะที่ว่าสงบๆน่ะ ไม่ใช่สงบจากอารมณ์นะ แต่สงบจากนิวรณ์อารมณ์มีร้อยอารมณ์ก็ได้ พันอารมณ์ก็ได้ หมื่นอารมณ์ก็ได้ ล้านอารมณ์ก็ได้ แต่จิตนั้นสงบจากนิวรณ์ ไม่ถูกยั่วให้ฟุ้งซ่านไป ตั้งมั่นเป็นผู้รู้ผู้ดูอยู่ นี่แหละ สงบแบบตั้งมั่นนะ ไม่ใช่สงบอยู่ในอารมณ์อันเดียวแบบสมถะ คนละอัน จิตบางชนิดนะ สมาธิบางชนิดนะ จิตไปสงบอยู่ในอารมณ์อันเดียว อารมณ์เป็นหนึ่งจิตเป็นหนึ่ง นี่คือสมถกรรมฐาน สมาธิอีกชนิดหนึ่งนะ จิตเป็นหนึ่งอารมณ์ล้านอารมณ์ก็ได้ เคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงตลอด จิตเป็นหนึ่งคือเป็นแค่ผู้รู้ผู้ดูไม่ฟุ้งซ่านตามอารมณ์ไป แต่ไม่ได้เพ่งตัวจิตไว้นะ ถ้าเพ่งตัวจิตเมื่อไหร่ ตัวจิตจะเปลี่ยนสภาพจากผู้รู้ไปเป็นอารมณ์ทันทีเลย จิตจะแปลสภาพจากจิต คือธรรมชาติที่รู้นะ กลายเป็นอารมณ์คือสิ่งที่ถูกรู้ เพราะฉะนั้นเราอย่าไปเพ่งใส่จิตด้วย เราจะต้องฝึกจนกระทั่งจิตตั้งมั่นขึ้นมาเป็นผู้รู้ผู้ดู วิธีฝึกให้จิตตั้งมั่นเป็นผู้รู้ผู้ดู อาศัยสติรู้ทันจิตที่ไหลไป จิตไหลไปดูไหลไปฟังไหลไปคิด ไหลไปเพ่ง ยกตัวอย่างหายใจอยู่ก็ไหลไปอยู่ที่ท้องไหลไปอยู่ที่ลมหายใจ หรือไหลไปคิดเรื่องอื่นเลย หรือไหลไปคิดเรื่องบริกรรมพองหนอยุบหนออะไรขึ้นมา นี่ไหลไปคิด ให้รู้ทันจิตที่ไหลไปคิด จิตรู้จะเกิด หลวงพ่อเทียนจึงสอนนะว่า เมื่อไรรู้ว่าจิตคิด เมื่อนั้นจะได้ต้นทางของการปฏิบัติ หลวงปู่ดูลย์ก็สอนอันเดียวกันบอกว่า คิดเท่าไรก็ไม่รู้ หยุดคิดถึงรู้ หยุดคิดถึงรู้ แต่ไม่ใช่เป็นวิปัสสนานะ เพิ่งจะตั้งต้นเท่านั้นเอง เพิ่งหลุด หมายถึงหลุดออกจากโลกของความคิด หลังจากนั้นต้องเจริญวิปัสสนา
สมาธิที่พระพุทธเจ้าทรงสอนสมาธิคือความตั้งมั่นของจิต จิตตั้งมั่นนะ ไม่ใช่จิตสงบ คนละอันกัน แต่ในความตั้งมั่น มีความสงบ สงบจากอะไร สงบจากนิวรณ์เท่านั้นเอง ไม่ใช่สงบจากอารมณ์ ต้องแยกให้ออกนะที่ว่าสงบๆน่ะ ไม่ใช่สงบจากอารมณ์นะ แต่สงบจากนิวรณ์อารมณ์มีร้อยอารมณ์ก็ได้ พันอารมณ์ก็ได้ หมื่นอารมณ์ก็ได้ ล้านอารมณ์ก็ได้ แต่จิตนั้นสงบจากนิวรณ์ ไม่ถูกยั่วให้ฟุ้งซ่านไป ตั้งมั่นเป็นผู้รู้ผู้ดูอยู่ นี่แหละ สงบแบบตั้งมั่นนะ ไม่ใช่สงบอยู่ในอารมณ์อันเดียวแบบสมถะ คนละอัน จิตบางชนิดนะ สมาธิบางชนิดนะ จิตไปสงบอยู่ในอารมณ์อันเดียว อารมณ์เป็นหนึ่งจิตเป็นหนึ่ง นี่คือสมถกรรมฐาน สมาธิอีกชนิดหนึ่งนะ จิตเป็นหนึ่งอารมณ์ล้านอารมณ์ก็ได้ เคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงตลอด จิตเป็นหนึ่งคือเป็นแค่ผู้รู้ผู้ดูไม่ฟุ้งซ่านตามอารมณ์ไป แต่ไม่ได้เพ่งตัวจิตไว้นะ ถ้าเพ่งตัวจิตเมื่อไหร่ ตัวจิตจะเปลี่ยนสภาพจากผู้รู้ไปเป็นอารมณ์ทันทีเลย จิตจะแปลสภาพจากจิต คือธรรมชาติที่รู้นะ กลายเป็นอารมณ์คือสิ่งที่ถูกรู้ เพราะฉะนั้นเราอย่าไปเพ่งใส่จิตด้วย เราจะต้องฝึกจนกระทั่งจิตตั้งมั่นขึ้นมาเป็นผู้รู้ผู้ดู วิธีฝึกให้จิตตั้งมั่นเป็นผู้รู้ผู้ดู อาศัยสติรู้ทันจิตที่ไหลไป จิตไหลไปดูไหลไปฟังไหลไปคิด ไหลไปเพ่ง ยกตัวอย่างหายใจอยู่ก็ไหลไปอยู่ที่ท้องไหลไปอยู่ที่ลมหายใจ หรือไหลไปคิดเรื่องอื่นเลย หรือไหลไปคิดเรื่องบริกรรมพองหนอยุบหนออะไรขึ้นมา นี่ไหลไปคิด ให้รู้ทันจิตที่ไหลไปคิด จิตรู้จะเกิด หลวงพ่อเทียนจึงสอนนะว่า เมื่อไรรู้ว่าจิตคิด เมื่อนั้นจะได้ต้นทางของการปฏิบัติ หลวงปู่ดูลย์ก็สอนอันเดียวกันบอกว่า คิดเท่าไรก็ไม่รู้ หยุดคิดถึงรู้ หยุดคิดถึงรู้ แต่ไม่ใช่เป็นวิปัสสนานะ เพิ่งจะตั้งต้นเท่านั้นเอง เพิ่งหลุด หมายถึงหลุดออกจากโลกของความคิด หลังจากนั้นต้องเจริญวิปัสสนา
สมาธิที่พระพุทธเจ้าทรงสอนสมาธิคือความตั้งมั่นของจิต จิตตั้งมั่นนะ ไม่ใช่จิตสงบ คนละอันกัน แต่ในความตั้งมั่น มีความสงบ สงบจากอะไร สงบจากนิวรณ์เท่านั้นเอง ไม่ใช่สงบจากอารมณ์ ต้องแยกให้ออกนะที่ว่าสงบๆน่ะ ไม่ใช่สงบจากอารมณ์นะ แต่สงบจากนิวรณ์อารมณ์มีร้อยอารมณ์ก็ได้ พันอารมณ์ก็ได้ หมื่นอารมณ์ก็ได้ ล้านอารมณ์ก็ได้ แต่จิตนั้นสงบจากนิวรณ์ ไม่ถูกยั่วให้ฟุ้งซ่านไป ตั้งมั่นเป็นผู้รู้ผู้ดูอยู่ นี่แหละ สงบแบบตั้งมั่นนะ ไม่ใช่สงบอยู่ในอารมณ์อันเดียวแบบสมถะ คนละอัน จิตบางชนิดนะ สมาธิบางชนิดนะ จิตไปสงบอยู่ในอารมณ์อันเดียว อารมณ์เป็นหนึ่งจิตเป็นหนึ่ง นี่คือสมถกรรมฐาน สมาธิอีกชนิดหนึ่งนะ จิตเป็นหนึ่งอารมณ์ล้านอารมณ์ก็ได้ เคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงตลอด จิตเป็นหนึ่งคือเป็นแค่ผู้รู้ผู้ดูไม่ฟุ้งซ่านตามอารมณ์ไป แต่ไม่ได้เพ่งตัวจิตไว้นะ ถ้าเพ่งตัวจิตเมื่อไหร่ ตัวจิตจะเปลี่ยนสภาพจากผู้รู้ไปเป็นอารมณ์ทันทีเลย จิตจะแปลสภาพจากจิต คือธรรมชาติที่รู้นะ กลายเป็นอารมณ์คือสิ่งที่ถูกรู้ เพราะฉะนั้นเราอย่าไปเพ่งใส่จิตด้วย เราจะต้องฝึกจนกระทั่งจิตตั้งมั่นขึ้นมาเป็นผู้รู้ผู้ดู วิธีฝึกให้จิตตั้งมั่นเป็นผู้รู้ผู้ดู อาศัยสติรู้ทันจิตที่ไหลไป จิตไหลไปดูไหลไปฟังไหลไปคิด ไหลไปเพ่ง ยกตัวอย่างหายใจอยู่ก็ไหลไปอยู่ที่ท้องไหลไปอยู่ที่ลมหายใจ หรือไหลไปคิดเรื่องอื่นเลย หรือไหลไปคิดเรื่องบริกรรมพองหนอยุบหนออะไรขึ้นมา นี่ไหลไปคิด ให้รู้ทันจิตที่ไหลไปคิด จิตรู้จะเกิด หลวงพ่อเทียนจึงสอนนะว่า เมื่อไรรู้ว่าจิตคิด เมื่อนั้นจะได้ต้นทางของการปฏิบัติ หลวงปู่ดูลย์ก็สอนอันเดียวกันบอกว่า คิดเท่าไรก็ไม่รู้ หยุดคิดถึงรู้ หยุดคิดถึงรู้ แต่ไม่ใช่เป็นวิปัสสนานะ เพิ่งจะตั้งต้นเท่านั้นเอง เพิ่งหลุด หมายถึงหลุดออกจากโลกของความคิด หลังจากนั้นต้องเจริญวิปัสสนา
การปฏิบัติในขั้นแตกหักว่า ทําอย่างไรจะปล่อยวางตัวจิตนี้ได้เราหัดเจริญสติอยู่ในชีวิตประจำวันอย่างนี้ ถึงวันที่อริยมรรคจะเกิด จิตจะรวมเข้าฌานโดยอัตโนมัตินะ จิตเวลาที่เกิดมรรคเกิดผล จะไม่เกิดในจิตของคนธรรมดา นี่เรียกว่ากามาวจรจิต กามาวจรภูมิ ไม่เป็นอย่างนั้น จะต้องเข้าฌานนะ เมื่อมันรวมเข้าไปแล้วมันจะเห็น สภาวะธรรมนี่เกิดดับสองขณะหรือสามขณะ แต่ละคนไม่เท่ากันนะ ถัดจากนั้นจิตจะวางการรู้อารมณ์ ทวนกระแสเข้ามาหาธาตุรู้ สิ่งที่ห่อหุ้มปกคลุมธาตุรู้อยู่นี่ ถูกอริยมรรคแหวกออกไป แล้วก็มันจะไปเห็นนิพพานนะ นิพพานไม่ใช่ว่างเปล่า นิพพานไม่ใช่โลกๆหนึ่ง พวกเรายังไม่เคยเห็น เราก็วาดภาพสุดโต่งไปสองข้าง ข้างหนึ่งก็นิพพานเป็นโลกๆหนึ่ง พวกนี้พวกสัสตะทิฐิ มีของที่เที่ยงคงที่ อีกพวกหนึ่งคิดว่านิพพานสูญไปเลย ขณะนั้นไม่มีอะไรเหลือเลย กระทั่งสติ พวกนี้หลงไปล่ะ คิดว่านิพพานไม่มีอะไรเลย นี่พวกอุจเฉททิฐินะ นิพพานมีนะ นิพพานมีสภาวะรองรับ สภาวะของนิพพานคือสันติ คือความสงบนั่นเอง สงบจากอะไร สงบจากกิเลส สงบจากอะไร สงบจากความปรุงแต่ง สงบจากอะไร สงบจากการแบกหามขันธ์นะ ดังนั้นเราภาวนานะ ภาวนาไปเรื่อยนะ เห็นทุกข์ไปเรื่อย สุดท้ายใจมันเต็มอิ่ม ขึ้นมา มันไม่หิวโหยหาอารมณ์ภายนอกแล้ว อารมณ์ภายนอก เอามันทําไม มันมีแต่ทุกข์ทั้งนั้นเลย ใจไม่หิวไปหาอารมณ์ ภายนอก ไม่แส่ส่าย ไม่ฟุ้งซ่านไปสู่อารมณ์ภายนอก เพราะมีแต่ทุกข์ทั้งนั้นเลยพอใจไม่แส่ส่าย ใจสงบ ใจตั้งมั่น ใจเด่นดวง เป็นผู้รู้ผู้ตื่น ผู้เบิกบานอยู่ ใจก็มีแต่ความสุข เพราะฉะนั้น พระอนาคามีจะเห็น กายเป็นทุกข์ล้วนๆ ไม่ยึดถือกาย แต่ยึดถือจิต ที่จริงเห็นมาตั้งแต่ ขั้นพระโสดาบันแล้วว่า จิตไม่ใช่ตัวเรา รู้ว่าเป็นของยืมโลกมาใช้ แต่ว่ามันนำความสุขมาให้ ติดอกติดใจไม่ยอมคืนโลก แล้วไม่เห็นช่องทางที่จะคืนเลย นี่มาถึงตรงนี้นะ มันคือการปฏิบัติในขั้นแตกหักว่า ทําอย่างไรจะปล่อยวางตัวจิตนี้ได้ถ้าภาวนามาเรื่อยนะ จนรู้สึกว่าใจมันขาดอะไรอย่างหนึ่ง มันจึงไม่สามารถปล่อยวางจิตได้ ปล่อยไปเดี๋ยวก็หยิบขึ้นมา ไม่ปล่อยจริง ในใจรู้แต่ว่ามันขาด แต่ขาดอะไรไม่รู้นะ ภาวนาไปเรื่อยนะ วันหนึ่งก็เข้าใจ มันขาดความเข้าใจอริยสัจ มันไม่เห็นหรอกว่าตัวจิต เป็นตัวทุกข์ มันเห็นว่าจิตนี้เป็นสุขบ้างเป็นทุกข์บ้าง ถ้าภาวนาดีๆ ก็เห็นจิตมีแต่ความสุข ไม่มีความทุกข์ ไม่สามารถเห็นได้ว่าตัวจิต เป็นตัวทุกข์ เพราะว่าไม่เห็นความเป็นไตรลักษณ์ของจิตผู้รู้ถ้าเห็นความเป็นไตรลักษณ์ของจิตผู้รู้ถึงจะเข้าใจความจริง ว่าจิตเองก็ตกอยู่ภายใต้ความทุกข์ ตกอยู่ใต้สภาวะที่เป็นตัวทุกข์ การที่เราเห็นอย่างแจ่มแจ้งว่ากายนี้เป็นทุกข์โดยตัวของมันเอง จิตนี้เป็นทุกข์โดยตัวของมันเอง อันนี้เรียกว่ารู้แจ้งใน “ทุกขสัจ” วันใดเห็นว่าจิตเป็นตัวทุกข์นั่นแหละเรียกว่าเรา “รู้ทุกข์” แจ่มแจ้งแล้ว เป็นภาวะที่จะเกิดขึ้นได้ต่อเมื่อเรารู้อริยสัจแจ่มแจ้ง พระพุทธเจ้าทรงสอนเรื่องทุกขสัจเอาไว้ว่า “สังขิตเตนะ ปัฐจุหาทานักขันธา ทุกขา” โดยสรุปอุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ เป็นตัวทุกข์ ขันธ์ทั้ง ๕ ย่อลงมาก็คือรูปกับนาม เราต้องเห็นรูปกับนามเป็น ตัวทุกข์ เราถึงจะปล่อยวางรูปนามได้ ถ้าปล่อยวางรูปนามได้ ก็พ้นทุกข์ได้ เอ้าชั่วโมงนึงพอดีๆนะ ให้หลวงพ่อเทศน์เรื่องนี้ยาวมากนะ เนื้อหามันยาวมากเลย เทศน์รอบเดียวไม่จบหรอก
ต้นตอของมันอยู่ตรงนี้https://www.youtube.com/watch?v=v7fbIw4DqXkเราหัดเจริญสติอยู่ในชีวิตประจำวันอย่างนี้ ถึงวันที่อริยมรรคจะเกิด จิตจะรวมเข้าฌานโดยอัตโนมัตินะ จิตเวลาที่เกิดมรรคเกิดผล จะไม่เกิดในจิตของคนธรรมดา นี่เรียกว่ากามาวจรจิต กามาวจรภูมิ ไม่เป็นอย่างนั้น จะต้องเข้าฌานนะ เมื่อมันรวมเข้าไปแล้วมันจะเห็น สภาวะธรรมนี่เกิดดับสองขณะหรือสามขณะ แต่ละคนไม่เท่ากันนะ ถัดจากนั้นจิตจะวางการรู้อารมณ์ ทวนกระแสเข้ามาหาธาตุรู้ สิ่งที่ห่อหุ้มปกคลุมธาตุรู้อยู่นี่ ถูกอริยมรรคแหวกออกไป แล้วก็มันจะไปเห็นนิพพานนะ นิพพานไม่ใช่ว่างเปล่า นิพพานไม่ใช่โลกๆหนึ่ง พวกเรายังไม่เคยเห็น เราก็วาดภาพสุดโต่งไปสองข้าง ข้างหนึ่งก็นิพพานเป็นโลกๆหนึ่ง พวกนี้พวกสัสตะทิฐิ มีของที่เที่ยงคงที่ อีกพวกหนึ่งคิดว่านิพพานสูญไปเลย ขณะนั้นไม่มีอะไรเหลือเลย กระทั่งสติ พวกนี้หลงไปล่ะ คิดว่านิพพานไม่มีอะไรเลย นี่พวกอุจเฉททิฐินะ นิพพานมีนะ นิพพานมีสภาวะรองรับ สภาวะของนิพพานคือสันติ คือความสงบนั่นเอง สงบจากอะไร สงบจากกิเลส สงบจากอะไร สงบจากความปรุงแต่ง สงบจากอะไร สงบจากการแบกหามขันธ์นะ ดังนั้นเราภาวนานะ ภาวนาไปเรื่อยนะ เห็นทุกข์ไปเรื่อย สุดท้ายใจมันเต็มอิ่ม ขึ้นมา มันไม่หิวโหยหาอารมณ์ภายนอกแล้ว อารมณ์ภายนอก เอามันทําไม มันมีแต่ทุกข์ทั้งนั้นเลย ใจไม่หิวไปหาอารมณ์ ภายนอก ไม่แส่ส่าย ไม่ฟุ้งซ่านไปสู่อารมณ์ภายนอก เพราะมีแต่ทุกข์ทั้งนั้นเลยพอใจไม่แส่ส่าย ใจสงบ ใจตั้งมั่น ใจเด่นดวง เป็นผู้รู้ผู้ตื่น ผู้เบิกบานอยู่ ใจก็มีแต่ความสุข เพราะฉะนั้น พระอนาคามีจะเห็น กายเป็นทุกข์ล้วนๆ ไม่ยึดถือกาย แต่ยึดถือจิต ที่จริงเห็นมาตั้งแต่ ขั้นพระโสดาบันแล้วว่า จิตไม่ใช่ตัวเรา รู้ว่าเป็นของยืมโลกมาใช้ แต่ว่ามันนำความสุขมาให้ ติดอกติดใจไม่ยอมคืนโลก แล้วไม่เห็นช่องทางที่จะคืนเลย นี่มาถึงตรงนี้นะ มันคือการปฏิบัติในขั้นแตกหักว่า ทําอย่างไรจะปล่อยวางตัวจิตนี้ได้ถ้าภาวนามาเรื่อยนะ จนรู้สึกว่าใจมันขาดอะไรอย่างหนึ่ง มันจึงไม่สามารถปล่อยวางจิตได้ ปล่อยไปเดี๋ยวก็หยิบขึ้นมา ไม่ปล่อยจริง ในใจรู้แต่ว่ามันขาด แต่ขาดอะไรไม่รู้นะ ภาวนาไปเรื่อยนะ วันหนึ่งก็เข้าใจ มันขาดความเข้าใจอริยสัจ มันไม่เห็นหรอกว่าตัวจิต เป็นตัวทุกข์ มันเห็นว่าจิตนี้เป็นสุขบ้างเป็นทุกข์บ้าง ถ้าภาวนาดีๆ ก็เห็นจิตมีแต่ความสุข ไม่มีความทุกข์ ไม่สามารถเห็นได้ว่าตัวจิต เป็นตัวทุกข์ เพราะว่าไม่เห็นความเป็นไตรลักษณ์ของจิตผู้รู้ถ้าเห็นความเป็นไตรลักษณ์ของจิตผู้รู้ถึงจะเข้าใจความจริง ว่าจิตเองก็ตกอยู่ภายใต้ความทุกข์ ตกอยู่ใต้สภาวะที่เป็นตัวทุกข์ การที่เราเห็นอย่างแจ่มแจ้งว่ากายนี้เป็นทุกข์โดยตัวของมันเอง จิตนี้เป็นทุกข์โดยตัวของมันเอง อันนี้เรียกว่ารู้แจ้งใน “ทุกขสัจ” วันใดเห็นว่าจิตเป็นตัวทุกข์นั่นแหละเรียกว่าเรา “รู้ทุกข์” แจ่มแจ้งแล้ว เป็นภาวะที่จะเกิดขึ้นได้ต่อเมื่อเรารู้อริยสัจแจ่มแจ้ง พระพุทธเจ้าทรงสอนเรื่องทุกขสัจเอาไว้ว่า “สังขิตเตนะ ปัฐจุหาทานักขันธา ทุกขา” โดยสรุปอุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ เป็นตัวทุกข์ ขันธ์ทั้ง ๕ ย่อลงมาก็คือรูปกับนาม เราต้องเห็นรูปกับนามเป็น ตัวทุกข์ เราถึงจะปล่อยวางรูปนามได้ ถ้าปล่อยวางรูปนามได้ ก็พ้นทุกข์ได้ เอ้าชั่วโมงนึงพอดีๆนะ ให้หลวงพ่อเทศน์เรื่องนี้ยาวมากนะ เนื้อหามันยาวมากเลย เทศน์รอบเดียวไม่จบหรอก
ข้ามโอฆะได้ด้วยการไม่พักไม่เพียรครั้งหนึ่งมีเทวดา ไปทูลถามพระพุทธเจ้า เทวดานี้ท่านนึกว่าตัวเองเป็นพระอรหันต์ ก็ไปทูลถามพระพุทธเจ้า คล้ายๆจะไปแลกเปลี่ยนความรู้กัน มาที่วัดนะ กลางคืน ยังราตรีให้สว่างไสวไปหมดเลย ด้วยรัศมีของเทวดา พระที่มีหูทิพย์ตาทิพย์ก็จะเห็น ถ้าไม่มีก็ไม่เห็น สว่างไสวด้วยรัศมีของเทวดานี้ เทวดาไปถึงก็ยืนพนมมือนะ แล้วทูลถามพระพุทธเจ้า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์ข้ามโอฆะ โอฆะแปลว่าห้วงน้ำ ห้วงกิเลสนั่นเองแหละ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์ข้ามโอฆะได้อย่างไร คล้ายๆชวนแลกเปลี่ยนทัศนะกันนะ เดี๋ยวท่านตอบแล้วเราจะตอบบ้าง ว่าชั้นข้ามมาด้วยวิธีนี้นะ ท่านข้ามมาได้ด้วยวิธีไหน กะจะมาชวนคุยธรรมะนะ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์ข้ามโอฆะได้อย่างไร พระพุทธเจ้าท่านก็ตอบ ดูกรท่านนิรทุกข์ นิรทุกข์แปลว่าผู้ไม่มีความทุกข์ อันนี้เป็นคำยกย่องนะ จริงๆเทวดานี้ยังทุกข์แต่ยังไม่เห็นหรอก ดูก่อนท่านนิรทุกข์ เราข้ามโอฆะได้นะ เพราะเราไม่พักและเราไม่เพียร เทวดาเจอหมัดเด็ดเข้า ไม่พักไม่เพียร หา..ข้ามโอฆะได้ด้วยการไม่พักและไม่เพียรเหรอ ไม่พักเนี่ยพอเข้าใจใช่มั้ย ขยันปฏิบัติไป ไม่เพียรด้วยเหรอ เออ.. เทวดาผู้(คิดว่าตนเอง – ผู้ถอด)เป็นพระอรหันต์งงแล้ว เอ๊ะ พระพุทธเจ้าข้ามโอฆะด้วยการไม่พักและไม่เพียร เป็นไปได้อย่างไร มีแต่บอกให้เพียรเยอะๆไปเลย ใช่มั้ย เนี่ยท่านแกล้งน็อคนะ น็อค ทำให้งง เทวดาก็หมดความถือตัวนะ ทูลถามท่าน เป็นอย่างไรพระเจ้าข้า ไม่พักไม่เพียร ให้ช่วยขยายความหน่อย ไม่เข้าใจ ยอมรับแล้วนะว่าไม่เข้าใจ พระพุทธเจ้าท่านขยายความ ดูกรท่านผู้นิรทุกข์ ถ้าเราพักอยู่เราจะจมลง ถ้าเราเพียรอยู่เราจะลอยขึ้น เราไม่พักเราไม่เพียร เราข้ามโอฆะได้ด้วยวิธีนี้ เทวดาได้พระโสดาบันเลย ได้มั้ย พวกเราฟังเหมือนเทวดา ใครได้ยกมือสิ เห็นมั้ย บารมีสู้เขาไม่ได้นะ เทวดาแจ้งแล้วเทวดาก็ไป แต่พอพระพุทธเจ้ามาเล่าให้พระอานนท์ฟังใช่มั้ย มนุษย์ทั้งหลายที่ฟังตามหลังเนี่ย ไม่แจ้ง อรรถกถาก็เลยต้องมาขยายความให้อีกนะ พระพุทธเจ้าขยายความให้เทวดามา ๑ ชั้นแล้ว ทีแรกท่านบอกว่าท่านไม่พักไม่เพียร พอขยายความท่านบอกว่า ถ้าพักอยู่เราจะจมลง ถ้าเพียรอยู่เราจะลอยขึ้น เราไม่พักไม่เพียร เราข้ามโอฆะได้ด้วยวิธีนี้ อรรถกถาต้องมาแปลต่ออีกทีเพื่อให้คนรุ่นเรารู้เรื่อง คำว่าพักอยู่เนี่ย ก็คือการปล่อยตัวปล่อยใจไปตามกิเลส คือกามสุขัลลิกานุโยคนั่นเอง การที่เราวิ่งพล่านไปทางตา วิ่งพล่านไปทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย วิ่งคิดนึกปรุงแต่งฟุ้งซ่านไป นั่นแหละคือการหลงโลก เราติดต่อโลกภายนอกผ่านทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ นั่นเอง เรียกว่าอายตนะที่เชื่อมต่อสัมผัสโลกข้างนอก ถ้าจิตวิ่งพล่านออกไปทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ อันนี้เรียกว่าหย่อนเกินไป แล้วทำไมท่านบอกว่า ถ้าเราพักอยู่เราจะจมลง ถ้าเราปล่อยจิตใจของเรานะ ร่อนเร่ไปเรื่อย ตามกิเลสไปเรื่อย จะจมลง นึกออกหรือยังว่าจะจมลงอย่างไร จะลงอบาย(ภูมิ)นะ ใจจะลงอบาย ลงที่ต่ำไปเรื่อย คำว่าเพียรอยู่เนี่ย ก็คือการฝึกหัดตัวเอง บังคับควบคุมตัวเอง คือ อัตตกิลมถานุโยค ยกตัวอย่างเวลาที่พวกเราคิดถึงการเดินจงกรม เราก็เริ่มบังคับกาย เริ่มบังคับใจ เวลาเราคิดถึงเรื่องการนั่งสมาธิ เราก็บังคับกาย บังคับใจ มีแต่บังคับจนมันนิ่งๆแข็งๆทื่อๆ ไม่แสดงไตรลักษณ์ แล้วท่านก็บอกว่า ถ้าเราเพียรอยู่คือบังคับตัวเองอยู่เนี่ย เราจะลอยขึ้น ลอยขึ้นไปอย่างไร ก็ไปสุคติใช่มั้ย สุคติมีตั้งแต่เป็นมนุษย์นะ เป็นเทวดา เป็นพรหม ลอยขึ้น ถ้าพักอยู่ คือปล่อยตัวปล่อยใจไปตามกิเลสจะจมลง สู่อบาย อบายภูมิทั้ง ๔ นะ ตั้งแต่สัตว์นรก สัตว์เดรัจฉาน อสุรกาย เปรต ขึ้นมาใกล้มนุษย์แล้ว ถ้าเพียรอยู่ พยายามควบคุมตัวเองบังคับตัวเอง ไม่ให้ตามใจกิเลส ก็จะได้เป็นมนุษย์ ได้เป็นเทวดา ได้เป็นพรหม ไม่นิพพาน ทั้งสองฝั่ง เห็นมั้ยว่าไม่มีช่องของพระนิพพาน ช่องของพระนิพพานนั้น ไม่พักและไม่เพียร ไม่พักคือไม่หลงไปไม่เผลอไป ไม่เพียรคือไม่ควบคุมกดข่มบังคับตัวเอง ช่องตรงกลางก็คือ การรู้รูปนามตามความเป็นจริง รู้กายรู้ใจตามความเป็นจริง ไม่ใช่เรื่องคิดเอาเอง และไม่ใช่เรื่องบังคับกายบังคับใจให้นิ่งนะ เพราะฉะนั้นทางสายกลางอยู่ตรงที่เราไม่พักไม่เพียร ไม่หย่อนไม่ตึงนั่นเอง ให้รู้รูปนามตามความเป็นจริง ที่หลวงพ่อย่อลงมาบอกว่า “ให้มีสติ รู้กายรู้ใจ ตามความเป็นจริง ด้วยจิตที่ตั้งมั่นและเป็นกลาง” ถ้าเราไม่รู้กายรู้ใจเราก็ย่อหย่อนไป ลืมกายลืมใจเมื่อไหร่ นึกเลยนะ ถ้าเมื่อไหร่เผลอ ขาดสติ ลืมกายลืมใจ ต้องรู้นะ ขณะนั้นย่อหย่อนแล้ว โอกาสที่จะไปอบายภูมิเริ่มเกิดขึ้นแล้ว ถ้าขณะไหนลงมือปฏิบัติแล้วก็แน่นไปหมดเลย ควบคุมตัวเองแน่นไปหมดเลย ขณะนั้นตึงเกินไป ไปสุคติได้แต่ไปนิพพานไม่ได้ เพราะอะไร เพราะไม่เห็นไตรลักษณ์ กายก็จะนิ่ง ใจก็จะนิ่ง เมื่อไม่เห็นความเป็นไตรลักษณ์ของรูปของนาม เรียกว่าไม่เห็นความจริง เมื่อไม่เห็นความจริงย่อมไม่เบื่อหน่ายไม่คลายความยึดถือ ไม่หลุดพ้นนะ เพราะฉะนั้นหน้าที่ของเรา เดินจิตเข้าสู่ทางสายกลางให้ได้
เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะ คลายกำหนัด จึงหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแ...พระพุทธเจ้าตรัสถึงสิ่งซึ่งเป็นไปได้ยากหลายอย่าง เช่น การได้เกิดเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์อย่างพวกเรานั้นยาก เกิดมาแล้ว จะได้พบสัตบุรุษคือคนดีคนมีศีลมีธรรมก็เป็นไปได้ยาก พบแล้ว จะมีศรัทธาเข้าใกล้ก็ยาก เข้าใกล้แล้วจะได้ฟังธรรมก็ยาก ได้ฟัง ธรรมแล้วจะปฏิบัติธรรมให้สมควรแก่ธรรมก็ยากขึ้นไปอีก หัดภาวนาใหม่ๆ มันมีความสุขมาก ไม่ได้ทำอะไรก็มีความสุขโชยขึ้นมาแผ่วๆ ความสุขผุดขึ้นมาทั้งวันเลย มีสติทีไรก็มีความสุข ทุกทีเลย ต่อไปพอสติปัญญาแก่กล้าขึ้นมา มันเปลี่ยนนะ ใจไม่ค่อยมีความสุขหวือหวาขึ้นมาอย่างตอนแรกแล้ว มันเริ่มเห็นทุกข์มากขึ้นๆ ยิ่งภาวนายิ่งเห็นทุกข์มากขึ้น เป็นเรื่องแปลก พอเรารู้สึกตัวขึ้นมา จิตตั้งมั่นอยู่กับเนื้อกับตัว ทำไมมีความสุข เพราะว่าเป็นสมถะ สมถะที่มีสมาธิ มีจิตตั้งมั่น จิตใจอยู่กับเนื้อกับตัวก็มีความสุข แต่พอถึงขั้นเดินปัญญา มันเป็นขั้นรู้ทุกข์ ไม่ใช่ขั้นมีความสุข ถ้าเราเดินปัญญา เราเริ่มเห็นทุกข์นานาชนิดหมุนเวียนกันเข้ามา ในกายในใจนี้ตลอดเวลา ไม่ได้เห็นสุขแล้ว แต่จะเห็นทุกข์ โลกนี้เต็มไปด้วยปัญหา คนเต็มไปด้วยความทุกข์ ถ้าคนไม่มีสติปัญญาก็จะแยกไม่ออกว่าปัญหากับความทุกข์เป็น คนละส่วนกัน โลกมันไม่เที่ยง มันเคลื่อนไปเรื่อยๆ ปัญหา ก็เกิดขึ้นตลอดเวลา เช่น สุขภาพ เรารักษาเอาไว้ดีแล้ว ไม่นานก็ ป่วยอีก เพราะมันไม่เที่ยง ทุกข์มีหลายแบบ มีหลายขั้น มีหลายตอน ในทางปริยัติ จําแนกไว้ถึง ๑๐ ประการ แต่สําหรับนักปฏิบัติ เรามาเรียนรู้ทุกข์ บางอย่างก็พอแล้ว ทุกข์หยาบที่สุดเรียกว่า “ทุกขเวทนา” อย่าง เจ็บไข้ได้ป่วย ปวดเมื่อย หนาวไป ร้อนไป หิวข้าวก็ทุกข์นะ มีทุกข์ ทางกาย มีทุกข์ทางใจ เรียกว่า “ทุกขเวทนา” อันนี้เป็นทุกข์ทั่วๆ ไป ใครๆ ก็มี สัตว์ก็มีทุกข์กายทุกข์ใจ ถ้าพวกเราภาวนา เราก็จะเห็นทุกขเวทนาเยอะแยะเลย นั่งอยู่ก็เมื่อย หายใจเข้าก็ทุกข์ หายใจออกก็ทุกข์ ถ้าสติเราเร็วพอ สติปัญญามากพอ ก็จะเห็นเลยว่าที่พยายามหายใจอยู่ตลอดเวลา นี่หายใจไปเพื่อแก้ทุกข์เท่านั้นเอง ที่เปลี่ยนอิริยาบถอยู่ตลอดเวลา ก็เพื่อแก้ทุกข์เท่านั้นเอง หายใจเข้าไปเรื่อยๆ ก็ทุกข์ ต้องหายใจออก แก้ทุกข์ หายใจออกไปเรื่อยๆ ก็ทุกข์ ต้องหายใจเข้า แก้ทุกข์ นั่งนานๆ มันเมื่อยมันทุกข์ ก็ต้องเปลี่ยนอิริยาบถไปขยับซ้าย ขยับขวา หรือลุกขึ้นยืน หรือลุกขึ้นเดิน หรือนั่ง เมื่อยมากก็ ลงนอน เปลี่ยนอิริยาบถเพื่อแก้ทุกข์ ในจิตใจก็เหมือนกัน จิตใจมันมีความทุกข์เกิดขึ้นเรื่อยๆ มันก็ดิ้นรนเที่ยวหาความสุขไปเรื่อย เวลามีความอยากเกิดขึ้นทีไร ก็มีความทุกข์เกิดขึ้นทุกที แต่เราไม่เห็นหรอก เราเห็นว่ามันไม่ สบายใจ พอไม่สบายใจ เราก็เที่ยวหาอารมณ์ที่เพลิดเพลินพอใจ มาป้อนมัน ไปดูหนัง ไปฟังเพลง ไปคุยกับเพื่อน ไปดูโน่นดูนี่ หรือหาหนังสือมาอ่านให้เพลินๆ ไปกินเหล้า เปลี่ยนอารมณ์ไป เรื่อยๆ จริงๆ ก็เพื่อแสวงหาความสุข เพื่อหนีความทุกข์ ใจมันไม่มีความสุขหรอก เฝ้ารู้เฝ้าดูไปนะ ไม่ว่าจะอารมณ์ชนิดไหนมันก็อยู่ได้ ชั่วคราว มันทนอยู่ไม่ได้สักอันเดียว เปลี่ยนอิริยาบถมาอยู่ใน อิริยาบถแบบนี้แล้ว นึกว่าจะอยู่สบายก็ไม่สบาย ทนอยู่ไม่ได้อีก จิตใจก็เหมือนกัน ไปกระทบอารมณ์อย่างนี้นึกว่าจะสบาย ก็สบายแป๊บๆ เดี๋ยวก็ทนอยู่ไม่ได้อีก ทุกสิ่งทุกอย่างเป็นของทนอยู่ ไม่ได้ ภาวะแห่งการทนอยู่ไม่ได้นี่แหละคือทุกข์อีกชนิดหนึ่ง เรียกว่า “ทุกขลักษณะ” ไม่ใช่ทุกขเวทนาแล้ว “ทุกขลักษณะ” หมายถึงว่าสิ่งทั้งหลายนั้นมันทนทาน อยู่ไม่ได้จริง ถ้ามันทนอยู่ได้เรื่อยๆ ไปก็ยิ่งทุกข์หนักนะ เกิดทุกขเวทนาหนักเสียอีก สิ่งทั้งหลายมันเปลี่ยนไปเรื่อย ไม่คงที่ เวลาเราภาวนา มากเข้าๆ ไม่ใช่เห็นแค่ทุกข์ทางร่างกาย เราจะเห็นเลยว่าทุกสิ่ง ทุกอย่างที่เกิดขึ้นในกายในใจนี้เป็นของชั่วคราวทั้งหมดเลย มีขึ้นมา แล้วก็หายไป เช่นนั่งอยู่ รูปนั่งก็ทนอยู่ได้ไม่นาน รูปนั่งมันถูกทุกขเวทนาบีบคั้นแล้วมันมีทุกขลักษณะ คือมันไม่สามารถทนอยู่ได้นานในรูปนั่ง ต้องเปลี่ยนเป็นรูปนอน นอนก็อยู่ได้ไม่นานก็ต้อง เปลี่ยนอีก ความสุขเป็นของทนอยู่ไม่ได้ เกิดขึ้นก็อยู่ได้ไม่นานก็ต้องเปลี่ยน ดังนั้นความสุขก็มีทุกขลักษณะ หมายถึงว่ามันทนอยู่ไม่ได้ นี่สติปัญญาของเราเริ่มแก่กล้าขึ้นมา เห็นกระทั่งสุขเป็นตัวทุกข์ ในชีวิตเต็มไปด้วยของไม่เที่ยง ถ้าใจยอมรับความจริงได้ ว่าทุกอย่างในโลกนี้ไม่เที่ยง ใจก็จะไม่ทุกข์ ปัญหาที่เกิดขึ้น ก็ส่วนปัญหา แต่ใจไม่ทุกข์ ถ้ายอมรับความจริงไม่ได้ว่าโลก มันไม่เที่ยง เกิดปัญหาขึ้นมา ใจจะทุกข์ มันอยู่ที่ว่าใจเรายอมรับได้ หรือยอมรับไม่ได้ ตรงขั้นที่เห็นทุกขเวทนานั่นใครๆ ก็เห็น อันนี้เรื่องธรรมดา เป็นเรื่องโลกๆ ตรงขั้นที่เห็นทุกขลักษณะนี่ขึ้นวิปัสสนากัมมัฏฐานแล้ว ถ้าขึ้นวิปัสสนาจะเห็นไตรลักษณ์ (อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา) ของรูป นาม ถ้ายังไม่เห็นไตรลักษณ์ แม้จะเห็นรูปนามก็ยังไม่ขึ้นวิปัสสนา พอเราเห็นไปเรื่อยๆ ต่อไปการเห็นทุกข์มันจะประณีตขึ้น ตรงที่เห็นทุกขลักษณะนี่สามารถบรรลุธรรมได้แล้ว เป็นโสดาบัน สกิทาคามี อนาคามี บรรลุได้เพราะมันเห็นทุกข์ โลกนี้เต็มไปด้วยปัญหา คนเต็มไปด้วยความทุกข์ ถ้าคนไม่มีสติปัญญาก็จะแยกไม่ออกว่าปัญหากับความทุกข์เป็น คนละส่วนกัน โลกมันไม่เที่ยง มันเคลื่อนไปเรื่อยๆ ปัญหา ก็เกิดขึ้นตลอดเวลา เช่น สุขภาพ เรารักษาเอาไว้ดีแล้ว ไม่นานก็ ป่วยอีก เพราะมันไม่เที่ยง ในชีวิตเต็มไปด้วยของไม่เที่ยง ถ้าใจยอมรับความจริงได้ ว่าทุกอย่างในโลกนี้ไม่เที่ยง ใจก็จะไม่ทุกข์ ปัญหาที่เกิดขึ้น ก็ส่วนปัญหา แต่ใจไม่ทุกข์ ถ้ายอมรับความจริงไม่ได้ว่าโลก มันไม่เที่ยง เกิดปัญหาขึ้นมา ใจจะทุกข์ มันอยู่ที่ว่าใจเรายอมรับได้ หรือยอมรับไม่ได้ เรามาหัดเรียนวิปัสสนากัมมัฏฐานกันก็เพื่อให้เห็นความ จริงของโลก ความจริงของชีวิต ความจริงของกายของใจ ให้เห็นว่า มันเป็นของไม่เที่ยง ถ้าใจยอมรับได้นะกระทั่งกายนี้ใจนี้ยังไม่เที่ยง สิ่งที่เรียกว่าตัวเรายังไม่เที่ยง “ของเรา” มันก็ไม่มีความหมายอะไร ก็แค่เครื่องอาศัย สามีของเรา ภรรยาของเรา ลูกของเรา บ้านของเรา รถของเรา หน้าที่การงานของเรา มี “ของเรา” เยอะเลย ทั้งหมด ก็เป็นแค่เครื่องอาศัย ถ้าฉลาดก็รู้ว่างานหลักของเราจริงๆ ไม่ใช่งานทํานุบํารุงรักษาสิ่งซึ่งไม่คงที่พวกนี้ ทุ่มเทเท่าไร เหนื่อยยากเท่าไร มันก็แปรปรวน ฉะนั้น เรามาฝึกใจของตัวเองให้ยอมรับความจริงให้ได้ ความจริงก็คือทุกสิ่งทุกอย่างนั้นไม่เที่ยงหรอก ทุกสิ่งทุกอย่างแปรปรวนอยู่ตลอดเวลา ไม่คงที่ ให้พาจิตพาใจของเราไปดูความจริงเนืองๆ ดูบ่อยๆ ดูนานๆ พอถึงพระอนาคามี จะเห็นเลยว่ากายนี้ทุกข์ล้วนๆ พวกเรายังไม่เห็น พวกเรายังเห็นว่าร่างกายนี้เป็นทุกข์บ้างเป็นสุขบ้าง จิตใจนี้เป็นทุกข์บ้างเป็นสุขบ้าง พระอนาคามีท่านเห็นกายนี้เป็นทุกข์ล้วนๆ เพราะฉะนั้น ท่านไม่ติดอกติดใจในกาย อะไรที่เรียกว่ากาย ตาหูจมูกลิ้นกาย นี่เรียกว่ากาย เมื่อไม่ ติดใจในตาในหูในจมูกในลิ้นในกาย กระทั่งตายังไม่ติดใจ ก็ไม่ติดใจในรูป ไม่ติดใจในเสียง ในกลิ่น ในรส ในโผฏฐัพพะ (สิ่งที่มากระทบกาย) ไม่ติดอกติดใจในรูปก็ไม่มีความยินดียินร้ายในรูป กามและปฏิฆะ ในรูปก็ไม่มี ไม่ติดใจในเสียงก็ไม่ยินดียินร้ายในเสียง กามและปฏิฆะ ในเสียงก็ไม่มี ฯลฯ ถ้าฉลาดก็รู้ว่างานหลักของเราจริงๆ ไม่ใช่งานทํานุบํารุงรักษาสิ่งซึ่งไม่คงที่พวกนี้ ทุ่มเทเท่าไร เหนื่อยยากเท่าไร มันก็แปรปรวน ฉะนั้น เรามาฝึกใจของตัวเองให้ยอมรับความจริงให้ได้ ความจริงก็คือทุกสิ่งทุกอย่างนั้นไม่เที่ยงหรอก ทุกสิ่งทุกอย่างแปรปรวนอยู่ตลอดเวลา ไม่คงที่ ให้พาจิตพาใจของเราไปดูความจริงเนืองๆ ดูบ่อยๆ ดูนานๆ นี่ภาวนาไปเรื่อยนะ เห็นทุกข์ไปเรื่อย สุดท้ายใจมันเต็มอิ่ม ขึ้นมา มันไม่หิวโหยหาอารมณ์ภายนอกแล้ว อารมณ์ภายนอก เอามันทําไม มันมีแต่ทุกข์ทั้งนั้นเลย ใจไม่หิวไปหาอารมณ์ ภายนอก ไม่แส่ส่าย ไม่ฟุ้งซ่านไปสู่อารมณ์ภายนอก เพราะมีแต่ทุกข์ทั้งนั้นเลย พอใจไม่แส่ส่าย ใจสงบ ใจตั้งมั่น ใจเด่นดวง เป็นผู้รู้ผู้ตื่น ผู้เบิกบานอยู่ ใจก็มีแต่ความสุข เพราะฉะนั้น พระอนาคามีจะเห็น กายเป็นทุกข์ล้วนๆ ไม่ยึดถือกาย แต่ยึดถือจิต ที่จริงเห็นมาตั้งแต่ ขั้นพระโสดาบันแล้วว่า จิตไม่ใช่ตัวเรา รู้ว่าเป็นของยืมโลกมาใช้ แต่ว่ามันนำความสุขมาให้ ติดอกติดใจไม่ยอมคืนโลก แล้วไม่เห็นช่องทางที่จะคืนเลย นี่มาถึงตรงนี้นะ มันคือการปฏิบัติในขั้นแตกหักว่า ทําอย่างไรจะปล่อยวางตัวจิตนี้ได้ ถ้าภาวนามาเรื่อยนะ จนรู้สึกว่าใจมันขาดอะไรอย่างหนึ่ง มันจึงไม่สามารถปล่อยวางจิตได้ ปล่อยไปเดี๋ยวก็หยิบขึ้นมา ไม่ปล่อยจริง ในใจรู้แต่ว่ามันขาด แต่ขาดอะไรไม่รู้นะ ภาวนาไปเรื่อยนะ วันหนึ่งก็เข้าใจ มันขาดความเข้าใจอริยสัจ มันไม่เห็นหรอกว่าตัวจิต เป็นตัวทุกข์ มันเห็นว่าจิตนี้เป็นสุขบ้างเป็นทุกข์บ้าง ถ้าภาวนาดีๆ ก็เห็นจิตมีแต่ความสุข ไม่มีความทุกข์ ไม่สามารถเห็นได้ว่าตัวจิต เป็นตัวทุกข์ เพราะว่าไม่เห็นความเป็นไตรลักษณ์ของจิตผู้รู้ ถ้าเห็นความเป็นไตรลักษณ์ของจิตผู้รู้ถึงจะเข้าใจความจริง ว่าจิตเองก็ตกอยู่ภายใต้ความทุกข์ ตกอยู่ใต้สภาวะที่เป็นตัวทุกข์ การที่เราเห็นอย่างแจ่มแจ้งว่ากายนี้เป็นทุกข์โดยตัวของมันเอง จิตนี้เป็นทุกข์โดยตัวของมันเอง อันนี้เรียกว่ารู้แจ้งใน “ทุกขสัจ” วันใดเห็นว่าจิตเป็นตัวทุกข์นั่นแหละเรียกว่าเรา “รู้ทุกข์” แจ่มแจ้งแล้ว เป็นภาวะที่จะเกิดขึ้นได้ต่อเมื่อเรารู้อริยสัจแจ่มแจ้ง พระพุทธเจ้าทรงสอนเรื่องทุกขสัจเอาไว้ว่า “สังขิตเตนะ ปัฐจุหาทานักขันธา ทุกขา” โดยสรุปอุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ เป็นตัวทุกข์ ขันธ์ทั้ง ๕ ย่อลงมาก็คือรูปกับนาม เราต้องเห็นรูปกับนามเป็น ตัวทุกข์ เราถึงจะปล่อยวางรูปนามได้ ถ้าปล่อยวางรูปนามได้ ก็พ้นทุกข์ได้ เบื้องต้นเราได้ยินว่าเกิดแก่เจ็บตายเป็นทุกข์ เราจะคิดว่า คนเกิด คนแก่ คนเจ็บ คนตาย เป็นทุกข์ พอเราภาวนาประณีตขึ้น เราก็จะรู้สึกว่าไม่ใช่คนเกิด คนแก่ คนเจ็บ คนตาย เป็นทุกข์หรอก ขันธ์ทั้งหลายถ้าเราเข้าไป ยึดมันแล้วจะเป็นทุกข์ จะรู้สึกอย่างนี้ พอได้ยินคําว่า “ว่าโดยย่อ อุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ เป็นทุกข์” ก็คิดว่าถ้ามีอุปาทานในขันธ์ ๕ ก็จะเป็นทุกข์ มีขันธ์ ๕ เฉยๆ ไม่ทุกข์ จะเข้าใจอย่างนี้ แต่ไม่ใช่คนเป็นทุกข์แล้ว ไม่ใช่คนเกิด คนแก่ คนเจ็บ คนตายแล้ว ขันธ์ของเราเกิด ขันธ์ของเราแก่ ขันธ์ ของเราเจ็บ ขันธ์ของเราตาย ถึงจะทุกข์ นี่ความเข้าใจก็เปลี่ยนไป พอภาวนาต่อไปอีก ก็เห็นว่าขันธ์นั่นแหละเป็นตัวทุกข์ จิตจะมีความอยาก จิตจะมีความยึดขันธ์หรือไม่ก็ตาม ขันธ์นั่น แหละเป็นตัวทุกข์ ท่านถึงบอกว่า ว่าโดยย่อ อุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ เป็นตัวทุกข์ การรู้ทุกข์นี่เป็นเรื่องสําคัญที่สุดสําหรับการปฏิบัติ ธรรมในทางพระพุทธศาสนา ไม่ใช่แค่นั่งสมาธิ หวังว่าทําสมาธิ ไปเรื่อยๆ แล้วจะพ้นทุกข์ ไม่มีทางพ้นเลย ทําสมาธิก็ไปสร้างภพภูมิ ที่ละเอียดขึ้นไปอีก นอกจากการรู้ทุกข์แล้ว ไม่มีวิธีอย่างอื่นที่จะเห็นธรรมได้เลย คำว่า อุปาทานขันธ์ ไม่ใช่แปลว่า ขันธ์ที่ถูกยึดมั่น แต่เป็นขันธ์ซึ่งเป็นที่ตั้งของความยึดมั่นได้ คือขันธ์ที่พวกเราทั้งหลายมีกันอยู่นี่แหละ ขันธ์บางอย่างไม่จัดเป็นอุปาทานขันธ์ เช่น โลกุตตรจิต (มรรคจิต, ผลจิต) ทั้งหลายไม่จัดเป็นอุปาทานขันธ์ จึงเอามาทำวิปัสสนาไม่ได้ เพราะไม่ใช่ตัวทุกข์ ขันธ์ทั้งหมดไม่ใช่ตัวทุกข์ เฉพาะขันธ์ที่เรียกว่าอุปาทานขันธ์ คือขันธ์ซึ่งสามารถเอาไปยึดมั่นได้ เป็นที่ตั้งของความยึดมั่นได้เท่านั้นที่เป็นตัวทุกข์ ไม่ใช่ต่อเมื่อยึดมั่นแล้วขันธ์จึงจะกลายเป็นตัวทุกข์ ในความเป็นจริง อุปาทานขันธ์ทั้งหมดเป็นตัวทุกข์ จะยึด หรือไม่ยึด มันก็ทุกข์โดยตัวของมันเองอยู่แล้ว ความเข้าใจจากการปฏิบัตินั้นประณีตมากเลย อ่านๆ เอา นึกว่าเข้าใจ แต่เข้าใจไปคนละเรื่อง ถ้าความรู้ความเข้าใจมีแค่ว่า ถ้ามีความอยากมีความยึด แล้วก็มีความทุกข์ขึ้นมา ไปยึดขันธ์แล้วทุกข์ เราจะมุ่งมาในจุดที่ว่า ทําอย่างไรจะไม่ไปยึดขันธ์ จะหาทางไม่ให้ยึดขันธ์ คนศาสนาอื่นเขาก็หาทางที่จะไม่ให้ยึด อย่างพวกที่ทรมาน ร่างกาย มันรักร่างกายเหรอ ทรมานมันไปเลยจะได้ไม่รักมัน ใจมัน อยากกินก็ทรมานไม่กิน หาเรื่องทรมาน ไม่ตามใจกิเลส พยายาม เข้าไปจัดการกับจิตใจซึ่งมันจะเข้าไปอยาก เข้าไปยึดในรูปในนาม ทั้งหลาย นี่เพราะว่าความเข้าใจในอริยสัจไม่แจ่มแจ้ง ลงท้ายวิธี ปฏิบัติก็คลาดเคลื่อน พอเราคิดว่าถ้าอยากถ้ายึดก็ทุกข์ ก็เลยคิดว่าทําอย่างไร จะหายอยาก อยากกินก็ไม่กิน แกล้งมันซะ ต่อไปจะได้ไม่มี ความอยาก มุ่งไปจัดการที่ตัวความอยาก ถ้าเข้าใจแจ่มแจ้ง ในคําสอนของพระพุทธเจ้า จะรู้เลยว่า ขันธ์นั่นแหละเป็นตัวทุกข์ ไม่ใช่ขันธ์นี้เป็นทุกข์บ้างเป็นสุขบ้าง แต่เป็นตัวทุกข์ล้วนๆ มีแต่ทุกข์มากกับทุกข์น้อย ถ้ารู้ทุกข์แจ่มแจ้งความอยากให้ขันธ์เป็นสุขจะไม่เกิดขึ้น ความอยากให้ขันธ์พ้นทุกข์ก็ไม่เกิดขึ้น อยากให้มีสุขไปทําไม อยากให้โง่หรือ มันไม่มีทางมีความสุขได้เพราะมันเป็นตัวทุกข์ อยากให้มันพ้นทุกข์หรือ อยากให้โง่สิ เพราะถึงอย่างไรมันก็ทุกข์ ไม่มีทางพ้นเลย ความอยากทั้งหลายแหล่มันก็มีอยู่แค่นี้เอง ความอยากที่ ว่ากิเลส ๑,๕๐๐ ตัณหา ๑๐๘ จริงๆ ก็คืออยากให้ขันธ์เป็นสุข อยากให้ขันธ์พ้นทุกข์ ย่อๆ ลงมาก็คือรักสุขเกลียดทุกข์นั่นแหละ พอเข้าใจขันธ์เท่านั้น ความอยากดับเอง ไม่ต้องไปทรมาน กายทรมานใจเพื่อจะดับตัณหา ขอให้รู้ทุกข์แจ่มแจ้งแล้วตัณหา จะดับไปโดยอัตโนมัติเลย ถ้าเราเข้าใจตัวนี้ ความเข้าใจมันจะประณีตมาก จิตมันจะสลัดคืนขันธ์ให้โลกไปเลย พอจิตมันเห็นว่าขันธ์ไม่ใช่ของดีของวิเศษ ขันธ์นี้เป็นทุกข์ล้วนๆ กระทั่งตัวจิตก็เป็นทุกข์ล้วนๆ จิตมันก็อยู่ใน ขันธ์นั่นเอง อยู่ในวิญญาณขันธ์ พอมันปล่อยขันธ์ทิ้งไป ไม่มีอะไรให้ยึดอีก มันก็พ้นจากอุปาทานขันธ์ อุปาทานขันธ์ก็กองอยู่อย่างนั้น กองอยู่กับโลกนั้นเอง ไม่ใช่ต้องไปทําลายล้างมัน มันมีเหตุมันก็เกิด หมดเหตุมันก็ดับ บังคับมันไม่ได้ แต่ใจไม่เข้าไปยึดถือมันแล้ว ที่ใจไม่เข้าไปยึดถือมันก็เพราะรู้ทุกข์แจ่มแจ้ง รู้ว่าขันธ์ทั้งหลาย ทั้งปวงนี้แหละเป็นตัวทุกข์ ฉะนั้น การรู้ทุกข์นี่เป็นเรื่องสําคัญที่สุดสําหรับการปฏิบัติ ธรรมในทางพระพุทธศาสนา ไม่ใช่แค่นั่งสมาธิ หวังว่าทําสมาธิ ไปเรื่อยๆ แล้วจะพ้นทุกข์ ไม่มีทางพ้นเลย ทําสมาธิก็ไปสร้างภพภูมิ ที่ละเอียดขึ้นไปอีก นอกจากการรู้ทุกข์แล้ว ไม่มีวิธีอย่างอื่นที่จะเห็นธรรมได้เลย
เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะ คลายกำหนัด จึงหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแ...พระพุทธเจ้าตรัสถึงสิ่งซึ่งเป็นไปได้ยากหลายอย่าง เช่น การได้เกิดเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์อย่างพวกเรานั้นยาก เกิดมาแล้ว จะได้พบสัตบุรุษคือคนดีคนมีศีลมีธรรมก็เป็นไปได้ยาก พบแล้ว จะมีศรัทธาเข้าใกล้ก็ยาก เข้าใกล้แล้วจะได้ฟังธรรมก็ยาก ได้ฟัง ธรรมแล้วจะปฏิบัติธรรมให้สมควรแก่ธรรมก็ยากขึ้นไปอีก หัดภาวนาใหม่ๆ มันมีความสุขมาก ไม่ได้ทำอะไรก็มีความสุขโชยขึ้นมาแผ่วๆ ความสุขผุดขึ้นมาทั้งวันเลย มีสติทีไรก็มีความสุข ทุกทีเลย ต่อไปพอสติปัญญาแก่กล้าขึ้นมา มันเปลี่ยนนะ ใจไม่ค่อยมีความสุขหวือหวาขึ้นมาอย่างตอนแรกแล้ว มันเริ่มเห็นทุกข์มากขึ้นๆ ยิ่งภาวนายิ่งเห็นทุกข์มากขึ้น เป็นเรื่องแปลก พอเรารู้สึกตัวขึ้นมา จิตตั้งมั่นอยู่กับเนื้อกับตัว ทำไมมีความสุข เพราะว่าเป็นสมถะ สมถะที่มีสมาธิ มีจิตตั้งมั่น จิตใจอยู่กับเนื้อกับตัวก็มีความสุข แต่พอถึงขั้นเดินปัญญา มันเป็นขั้นรู้ทุกข์ ไม่ใช่ขั้นมีความสุข ถ้าเราเดินปัญญา เราเริ่มเห็นทุกข์นานาชนิดหมุนเวียนกันเข้ามา ในกายในใจนี้ตลอดเวลา ไม่ได้เห็นสุขแล้ว แต่จะเห็นทุกข์ โลกนี้เต็มไปด้วยปัญหา คนเต็มไปด้วยความทุกข์ ถ้าคนไม่มีสติปัญญาก็จะแยกไม่ออกว่าปัญหากับความทุกข์เป็น คนละส่วนกัน โลกมันไม่เที่ยง มันเคลื่อนไปเรื่อยๆ ปัญหา ก็เกิดขึ้นตลอดเวลา เช่น สุขภาพ เรารักษาเอาไว้ดีแล้ว ไม่นานก็ ป่วยอีก เพราะมันไม่เที่ยง ทุกข์มีหลายแบบ มีหลายขั้น มีหลายตอน ในทางปริยัติ จําแนกไว้ถึง ๑๐ ประการ แต่สําหรับนักปฏิบัติ เรามาเรียนรู้ทุกข์ บางอย่างก็พอแล้ว ทุกข์หยาบที่สุดเรียกว่า “ทุกขเวทนา” อย่าง เจ็บไข้ได้ป่วย ปวดเมื่อย หนาวไป ร้อนไป หิวข้าวก็ทุกข์นะ มีทุกข์ ทางกาย มีทุกข์ทางใจ เรียกว่า “ทุกขเวทนา” อันนี้เป็นทุกข์ทั่วๆ ไป ใครๆ ก็มี สัตว์ก็มีทุกข์กายทุกข์ใจ ถ้าพวกเราภาวนา เราก็จะเห็นทุกขเวทนาเยอะแยะเลย นั่งอยู่ก็เมื่อย หายใจเข้าก็ทุกข์ หายใจออกก็ทุกข์ ถ้าสติเราเร็วพอ สติปัญญามากพอ ก็จะเห็นเลยว่าที่พยายามหายใจอยู่ตลอดเวลา นี่หายใจไปเพื่อแก้ทุกข์เท่านั้นเอง ที่เปลี่ยนอิริยาบถอยู่ตลอดเวลา ก็เพื่อแก้ทุกข์เท่านั้นเอง หายใจเข้าไปเรื่อยๆ ก็ทุกข์ ต้องหายใจออก แก้ทุกข์ หายใจออกไปเรื่อยๆ ก็ทุกข์ ต้องหายใจเข้า แก้ทุกข์ นั่งนานๆ มันเมื่อยมันทุกข์ ก็ต้องเปลี่ยนอิริยาบถไปขยับซ้าย ขยับขวา หรือลุกขึ้นยืน หรือลุกขึ้นเดิน หรือนั่ง เมื่อยมากก็ ลงนอน เปลี่ยนอิริยาบถเพื่อแก้ทุกข์ ในจิตใจก็เหมือนกัน จิตใจมันมีความทุกข์เกิดขึ้นเรื่อยๆ มันก็ดิ้นรนเที่ยวหาความสุขไปเรื่อย เวลามีความอยากเกิดขึ้นทีไร ก็มีความทุกข์เกิดขึ้นทุกที แต่เราไม่เห็นหรอก เราเห็นว่ามันไม่ สบายใจ พอไม่สบายใจ เราก็เที่ยวหาอารมณ์ที่เพลิดเพลินพอใจ มาป้อนมัน ไปดูหนัง ไปฟังเพลง ไปคุยกับเพื่อน ไปดูโน่นดูนี่ หรือหาหนังสือมาอ่านให้เพลินๆ ไปกินเหล้า เปลี่ยนอารมณ์ไป เรื่อยๆ จริงๆ ก็เพื่อแสวงหาความสุข เพื่อหนีความทุกข์ ใจมันไม่มีความสุขหรอก เฝ้ารู้เฝ้าดูไปนะ ไม่ว่าจะอารมณ์ชนิดไหนมันก็อยู่ได้ ชั่วคราว มันทนอยู่ไม่ได้สักอันเดียว เปลี่ยนอิริยาบถมาอยู่ใน อิริยาบถแบบนี้แล้ว นึกว่าจะอยู่สบายก็ไม่สบาย ทนอยู่ไม่ได้อีก จิตใจก็เหมือนกัน ไปกระทบอารมณ์อย่างนี้นึกว่าจะสบาย ก็สบายแป๊บๆ เดี๋ยวก็ทนอยู่ไม่ได้อีก ทุกสิ่งทุกอย่างเป็นของทนอยู่ ไม่ได้ ภาวะแห่งการทนอยู่ไม่ได้นี่แหละคือทุกข์อีกชนิดหนึ่ง เรียกว่า “ทุกขลักษณะ” ไม่ใช่ทุกขเวทนาแล้ว “ทุกขลักษณะ” หมายถึงว่าสิ่งทั้งหลายนั้นมันทนทาน อยู่ไม่ได้จริง ถ้ามันทนอยู่ได้เรื่อยๆ ไปก็ยิ่งทุกข์หนักนะ เกิดทุกขเวทนาหนักเสียอีก สิ่งทั้งหลายมันเปลี่ยนไปเรื่อย ไม่คงที่ เวลาเราภาวนา มากเข้าๆ ไม่ใช่เห็นแค่ทุกข์ทางร่างกาย เราจะเห็นเลยว่าทุกสิ่ง ทุกอย่างที่เกิดขึ้นในกายในใจนี้เป็นของชั่วคราวทั้งหมดเลย มีขึ้นมา แล้วก็หายไป เช่นนั่งอยู่ รูปนั่งก็ทนอยู่ได้ไม่นาน รูปนั่งมันถูกทุกขเวทนาบีบคั้นแล้วมันมีทุกขลักษณะ คือมันไม่สามารถทนอยู่ได้นานในรูปนั่ง ต้องเปลี่ยนเป็นรูปนอน นอนก็อยู่ได้ไม่นานก็ต้อง เปลี่ยนอีก ความสุขเป็นของทนอยู่ไม่ได้ เกิดขึ้นก็อยู่ได้ไม่นานก็ต้องเปลี่ยน ดังนั้นความสุขก็มีทุกขลักษณะ หมายถึงว่ามันทนอยู่ไม่ได้ นี่สติปัญญาของเราเริ่มแก่กล้าขึ้นมา เห็นกระทั่งสุขเป็นตัวทุกข์ ในชีวิตเต็มไปด้วยของไม่เที่ยง ถ้าใจยอมรับความจริงได้ ว่าทุกอย่างในโลกนี้ไม่เที่ยง ใจก็จะไม่ทุกข์ ปัญหาที่เกิดขึ้น ก็ส่วนปัญหา แต่ใจไม่ทุกข์ ถ้ายอมรับความจริงไม่ได้ว่าโลก มันไม่เที่ยง เกิดปัญหาขึ้นมา ใจจะทุกข์ มันอยู่ที่ว่าใจเรายอมรับได้ หรือยอมรับไม่ได้ ตรงขั้นที่เห็นทุกขเวทนานั่นใครๆ ก็เห็น อันนี้เรื่องธรรมดา เป็นเรื่องโลกๆ ตรงขั้นที่เห็นทุกขลักษณะนี่ขึ้นวิปัสสนากัมมัฏฐานแล้ว ถ้าขึ้นวิปัสสนาจะเห็นไตรลักษณ์ (อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา) ของรูป นาม ถ้ายังไม่เห็นไตรลักษณ์ แม้จะเห็นรูปนามก็ยังไม่ขึ้นวิปัสสนา พอเราเห็นไปเรื่อยๆ ต่อไปการเห็นทุกข์มันจะประณีตขึ้น ตรงที่เห็นทุกขลักษณะนี่สามารถบรรลุธรรมได้แล้ว เป็นโสดาบัน สกิทาคามี อนาคามี บรรลุได้เพราะมันเห็นทุกข์ โลกนี้เต็มไปด้วยปัญหา คนเต็มไปด้วยความทุกข์ ถ้าคนไม่มีสติปัญญาก็จะแยกไม่ออกว่าปัญหากับความทุกข์เป็น คนละส่วนกัน โลกมันไม่เที่ยง มันเคลื่อนไปเรื่อยๆ ปัญหา ก็เกิดขึ้นตลอดเวลา เช่น สุขภาพ เรารักษาเอาไว้ดีแล้ว ไม่นานก็ ป่วยอีก เพราะมันไม่เที่ยง ในชีวิตเต็มไปด้วยของไม่เที่ยง ถ้าใจยอมรับความจริงได้ ว่าทุกอย่างในโลกนี้ไม่เที่ยง ใจก็จะไม่ทุกข์ ปัญหาที่เกิดขึ้น ก็ส่วนปัญหา แต่ใจไม่ทุกข์ ถ้ายอมรับความจริงไม่ได้ว่าโลก มันไม่เที่ยง เกิดปัญหาขึ้นมา ใจจะทุกข์ มันอยู่ที่ว่าใจเรายอมรับได้ หรือยอมรับไม่ได้ เรามาหัดเรียนวิปัสสนากัมมัฏฐานกันก็เพื่อให้เห็นความ จริงของโลก ความจริงของชีวิต ความจริงของกายของใจ ให้เห็นว่า มันเป็นของไม่เที่ยง ถ้าใจยอมรับได้นะกระทั่งกายนี้ใจนี้ยังไม่เที่ยง สิ่งที่เรียกว่าตัวเรายังไม่เที่ยง “ของเรา” มันก็ไม่มีความหมายอะไร ก็แค่เครื่องอาศัย สามีของเรา ภรรยาของเรา ลูกของเรา บ้านของเรา รถของเรา หน้าที่การงานของเรา มี “ของเรา” เยอะเลย ทั้งหมด ก็เป็นแค่เครื่องอาศัย ถ้าฉลาดก็รู้ว่างานหลักของเราจริงๆ ไม่ใช่งานทํานุบํารุงรักษาสิ่งซึ่งไม่คงที่พวกนี้ ทุ่มเทเท่าไร เหนื่อยยากเท่าไร มันก็แปรปรวน ฉะนั้น เรามาฝึกใจของตัวเองให้ยอมรับความจริงให้ได้ ความจริงก็คือทุกสิ่งทุกอย่างนั้นไม่เที่ยงหรอก ทุกสิ่งทุกอย่างแปรปรวนอยู่ตลอดเวลา ไม่คงที่ ให้พาจิตพาใจของเราไปดูความจริงเนืองๆ ดูบ่อยๆ ดูนานๆ พอถึงพระอนาคามี จะเห็นเลยว่ากายนี้ทุกข์ล้วนๆ พวกเรายังไม่เห็น พวกเรายังเห็นว่าร่างกายนี้เป็นทุกข์บ้างเป็นสุขบ้าง จิตใจนี้เป็นทุกข์บ้างเป็นสุขบ้าง พระอนาคามีท่านเห็นกายนี้เป็นทุกข์ล้วนๆ เพราะฉะนั้น ท่านไม่ติดอกติดใจในกาย อะไรที่เรียกว่ากาย ตาหูจมูกลิ้นกาย นี่เรียกว่ากาย เมื่อไม่ ติดใจในตาในหูในจมูกในลิ้นในกาย กระทั่งตายังไม่ติดใจ ก็ไม่ติดใจในรูป ไม่ติดใจในเสียง ในกลิ่น ในรส ในโผฏฐัพพะ (สิ่งที่มากระทบกาย) ไม่ติดอกติดใจในรูปก็ไม่มีความยินดียินร้ายในรูป กามและปฏิฆะ ในรูปก็ไม่มี ไม่ติดใจในเสียงก็ไม่ยินดียินร้ายในเสียง กามและปฏิฆะ ในเสียงก็ไม่มี ฯลฯ ถ้าฉลาดก็รู้ว่างานหลักของเราจริงๆ ไม่ใช่งานทํานุบํารุงรักษาสิ่งซึ่งไม่คงที่พวกนี้ ทุ่มเทเท่าไร เหนื่อยยากเท่าไร มันก็แปรปรวน ฉะนั้น เรามาฝึกใจของตัวเองให้ยอมรับความจริงให้ได้ ความจริงก็คือทุกสิ่งทุกอย่างนั้นไม่เที่ยงหรอก ทุกสิ่งทุกอย่างแปรปรวนอยู่ตลอดเวลา ไม่คงที่ ให้พาจิตพาใจของเราไปดูความจริงเนืองๆ ดูบ่อยๆ ดูนานๆ นี่ภาวนาไปเรื่อยนะ เห็นทุกข์ไปเรื่อย สุดท้ายใจมันเต็มอิ่ม ขึ้นมา มันไม่หิวโหยหาอารมณ์ภายนอกแล้ว อารมณ์ภายนอก เอามันทําไม มันมีแต่ทุกข์ทั้งนั้นเลย ใจไม่หิวไปหาอารมณ์ ภายนอก ไม่แส่ส่าย ไม่ฟุ้งซ่านไปสู่อารมณ์ภายนอก เพราะมีแต่ทุกข์ทั้งนั้นเลย พอใจไม่แส่ส่าย ใจสงบ ใจตั้งมั่น ใจเด่นดวง เป็นผู้รู้ผู้ตื่น ผู้เบิกบานอยู่ ใจก็มีแต่ความสุข เพราะฉะนั้น พระอนาคามีจะเห็น กายเป็นทุกข์ล้วนๆ ไม่ยึดถือกาย แต่ยึดถือจิต ที่จริงเห็นมาตั้งแต่ ขั้นพระโสดาบันแล้วว่า จิตไม่ใช่ตัวเรา รู้ว่าเป็นของยืมโลกมาใช้ แต่ว่ามันนำความสุขมาให้ ติดอกติดใจไม่ยอมคืนโลก แล้วไม่เห็นช่องทางที่จะคืนเลย นี่มาถึงตรงนี้นะ มันคือการปฏิบัติในขั้นแตกหักว่า ทําอย่างไรจะปล่อยวางตัวจิตนี้ได้ ถ้าภาวนามาเรื่อยนะ จนรู้สึกว่าใจมันขาดอะไรอย่างหนึ่ง มันจึงไม่สามารถปล่อยวางจิตได้ ปล่อยไปเดี๋ยวก็หยิบขึ้นมา ไม่ปล่อยจริง ในใจรู้แต่ว่ามันขาด แต่ขาดอะไรไม่รู้นะ ภาวนาไปเรื่อยนะ วันหนึ่งก็เข้าใจ มันขาดความเข้าใจอริยสัจ มันไม่เห็นหรอกว่าตัวจิต เป็นตัวทุกข์ มันเห็นว่าจิตนี้เป็นสุขบ้างเป็นทุกข์บ้าง ถ้าภาวนาดีๆ ก็เห็นจิตมีแต่ความสุข ไม่มีความทุกข์ ไม่สามารถเห็นได้ว่าตัวจิต เป็นตัวทุกข์ เพราะว่าไม่เห็นความเป็นไตรลักษณ์ของจิตผู้รู้ ถ้าเห็นความเป็นไตรลักษณ์ของจิตผู้รู้ถึงจะเข้าใจความจริง ว่าจิตเองก็ตกอยู่ภายใต้ความทุกข์ ตกอยู่ใต้สภาวะที่เป็นตัวทุกข์ การที่เราเห็นอย่างแจ่มแจ้งว่ากายนี้เป็นทุกข์โดยตัวของมันเอง จิตนี้เป็นทุกข์โดยตัวของมันเอง อันนี้เรียกว่ารู้แจ้งใน “ทุกขสัจ” วันใดเห็นว่าจิตเป็นตัวทุกข์นั่นแหละเรียกว่าเรา “รู้ทุกข์” แจ่มแจ้งแล้ว เป็นภาวะที่จะเกิดขึ้นได้ต่อเมื่อเรารู้อริยสัจแจ่มแจ้ง พระพุทธเจ้าทรงสอนเรื่องทุกขสัจเอาไว้ว่า “สังขิตเตนะ ปัฐจุหาทานักขันธา ทุกขา” โดยสรุปอุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ เป็นตัวทุกข์ ขันธ์ทั้ง ๕ ย่อลงมาก็คือรูปกับนาม เราต้องเห็นรูปกับนามเป็น ตัวทุกข์ เราถึงจะปล่อยวางรูปนามได้ ถ้าปล่อยวางรูปนามได้ ก็พ้นทุกข์ได้ เบื้องต้นเราได้ยินว่าเกิดแก่เจ็บตายเป็นทุกข์ เราจะคิดว่า คนเกิด คนแก่ คนเจ็บ คนตาย เป็นทุกข์ พอเราภาวนาประณีตขึ้น เราก็จะรู้สึกว่าไม่ใช่คนเกิด คนแก่ คนเจ็บ คนตาย เป็นทุกข์หรอก ขันธ์ทั้งหลายถ้าเราเข้าไป ยึดมันแล้วจะเป็นทุกข์ จะรู้สึกอย่างนี้ พอได้ยินคําว่า “ว่าโดยย่อ อุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ เป็นทุกข์” ก็คิดว่าถ้ามีอุปาทานในขันธ์ ๕ ก็จะเป็นทุกข์ มีขันธ์ ๕ เฉยๆ ไม่ทุกข์ จะเข้าใจอย่างนี้ แต่ไม่ใช่คนเป็นทุกข์แล้ว ไม่ใช่คนเกิด คนแก่ คนเจ็บ คนตายแล้ว ขันธ์ของเราเกิด ขันธ์ของเราแก่ ขันธ์ ของเราเจ็บ ขันธ์ของเราตาย ถึงจะทุกข์ นี่ความเข้าใจก็เปลี่ยนไป พอภาวนาต่อไปอีก ก็เห็นว่าขันธ์นั่นแหละเป็นตัวทุกข์ จิตจะมีความอยาก จิตจะมีความยึดขันธ์หรือไม่ก็ตาม ขันธ์นั่น แหละเป็นตัวทุกข์ ท่านถึงบอกว่า ว่าโดยย่อ อุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ เป็นตัวทุกข์ การรู้ทุกข์นี่เป็นเรื่องสําคัญที่สุดสําหรับการปฏิบัติ ธรรมในทางพระพุทธศาสนา ไม่ใช่แค่นั่งสมาธิ หวังว่าทําสมาธิ ไปเรื่อยๆ แล้วจะพ้นทุกข์ ไม่มีทางพ้นเลย ทําสมาธิก็ไปสร้างภพภูมิ ที่ละเอียดขึ้นไปอีก นอกจากการรู้ทุกข์แล้ว ไม่มีวิธีอย่างอื่นที่จะเห็นธรรมได้เลย คำว่า อุปาทานขันธ์ ไม่ใช่แปลว่า ขันธ์ที่ถูกยึดมั่น แต่เป็นขันธ์ซึ่งเป็นที่ตั้งของความยึดมั่นได้ คือขันธ์ที่พวกเราทั้งหลายมีกันอยู่นี่แหละ ขันธ์บางอย่างไม่จัดเป็นอุปาทานขันธ์ เช่น โลกุตตรจิต (มรรคจิต, ผลจิต) ทั้งหลายไม่จัดเป็นอุปาทานขันธ์ จึงเอามาทำวิปัสสนาไม่ได้ เพราะไม่ใช่ตัวทุกข์ ขันธ์ทั้งหมดไม่ใช่ตัวทุกข์ เฉพาะขันธ์ที่เรียกว่าอุปาทานขันธ์ คือขันธ์ซึ่งสามารถเอาไปยึดมั่นได้ เป็นที่ตั้งของความยึดมั่นได้เท่านั้นที่เป็นตัวทุกข์ ไม่ใช่ต่อเมื่อยึดมั่นแล้วขันธ์จึงจะกลายเป็นตัวทุกข์ ในความเป็นจริง อุปาทานขันธ์ทั้งหมดเป็นตัวทุกข์ จะยึด หรือไม่ยึด มันก็ทุกข์โดยตัวของมันเองอยู่แล้ว ความเข้าใจจากการปฏิบัตินั้นประณีตมากเลย อ่านๆ เอา นึกว่าเข้าใจ แต่เข้าใจไปคนละเรื่อง ถ้าความรู้ความเข้าใจมีแค่ว่า ถ้ามีความอยากมีความยึด แล้วก็มีความทุกข์ขึ้นมา ไปยึดขันธ์แล้วทุกข์ เราจะมุ่งมาในจุดที่ว่า ทําอย่างไรจะไม่ไปยึดขันธ์ จะหาทางไม่ให้ยึดขันธ์ คนศาสนาอื่นเขาก็หาทางที่จะไม่ให้ยึด อย่างพวกที่ทรมาน ร่างกาย มันรักร่างกายเหรอ ทรมานมันไปเลยจะได้ไม่รักมัน ใจมัน อยากกินก็ทรมานไม่กิน หาเรื่องทรมาน ไม่ตามใจกิเลส พยายาม เข้าไปจัดการกับจิตใจซึ่งมันจะเข้าไปอยาก เข้าไปยึดในรูปในนาม ทั้งหลาย นี่เพราะว่าความเข้าใจในอริยสัจไม่แจ่มแจ้ง ลงท้ายวิธี ปฏิบัติก็คลาดเคลื่อน พอเราคิดว่าถ้าอยากถ้ายึดก็ทุกข์ ก็เลยคิดว่าทําอย่างไร จะหายอยาก อยากกินก็ไม่กิน แกล้งมันซะ ต่อไปจะได้ไม่มี ความอยาก มุ่งไปจัดการที่ตัวความอยาก ถ้าเข้าใจแจ่มแจ้ง ในคําสอนของพระพุทธเจ้า จะรู้เลยว่า ขันธ์นั่นแหละเป็นตัวทุกข์ ไม่ใช่ขันธ์นี้เป็นทุกข์บ้างเป็นสุขบ้าง แต่เป็นตัวทุกข์ล้วนๆ มีแต่ทุกข์มากกับทุกข์น้อย ถ้ารู้ทุกข์แจ่มแจ้งความอยากให้ขันธ์เป็นสุขจะไม่เกิดขึ้น ความอยากให้ขันธ์พ้นทุกข์ก็ไม่เกิดขึ้น อยากให้มีสุขไปทําไม อยากให้โง่หรือ มันไม่มีทางมีความสุขได้เพราะมันเป็นตัวทุกข์ อยากให้มันพ้นทุกข์หรือ อยากให้โง่สิ เพราะถึงอย่างไรมันก็ทุกข์ ไม่มีทางพ้นเลย ความอยากทั้งหลายแหล่มันก็มีอยู่แค่นี้เอง ความอยากที่ ว่ากิเลส ๑,๕๐๐ ตัณหา ๑๐๘ จริงๆ ก็คืออยากให้ขันธ์เป็นสุข อยากให้ขันธ์พ้นทุกข์ ย่อๆ ลงมาก็คือรักสุขเกลียดทุกข์นั่นแหละ พอเข้าใจขันธ์เท่านั้น ความอยากดับเอง ไม่ต้องไปทรมาน กายทรมานใจเพื่อจะดับตัณหา ขอให้รู้ทุกข์แจ่มแจ้งแล้วตัณหา จะดับไปโดยอัตโนมัติเลย ถ้าเราเข้าใจตัวนี้ ความเข้าใจมันจะประณีตมาก จิตมันจะสลัดคืนขันธ์ให้โลกไปเลย พอจิตมันเห็นว่าขันธ์ไม่ใช่ของดีของวิเศษ ขันธ์นี้เป็นทุกข์ล้วนๆ กระทั่งตัวจิตก็เป็นทุกข์ล้วนๆ จิตมันก็อยู่ใน ขันธ์นั่นเอง อยู่ในวิญญาณขันธ์ พอมันปล่อยขันธ์ทิ้งไป ไม่มีอะไรให้ยึดอีก มันก็พ้นจากอุปาทานขันธ์ อุปาทานขันธ์ก็กองอยู่อย่างนั้น กองอยู่กับโลกนั้นเอง ไม่ใช่ต้องไปทําลายล้างมัน มันมีเหตุมันก็เกิด หมดเหตุมันก็ดับ บังคับมันไม่ได้ แต่ใจไม่เข้าไปยึดถือมันแล้ว ที่ใจไม่เข้าไปยึดถือมันก็เพราะรู้ทุกข์แจ่มแจ้ง รู้ว่าขันธ์ทั้งหลาย ทั้งปวงนี้แหละเป็นตัวทุกข์ ฉะนั้น การรู้ทุกข์นี่เป็นเรื่องสําคัญที่สุดสําหรับการปฏิบัติ ธรรมในทางพระพุทธศาสนา ไม่ใช่แค่นั่งสมาธิ หวังว่าทําสมาธิ ไปเรื่อยๆ แล้วจะพ้นทุกข์ ไม่มีทางพ้นเลย ทําสมาธิก็ไปสร้างภพภูมิ ที่ละเอียดขึ้นไปอีก นอกจากการรู้ทุกข์แล้ว ไม่มีวิธีอย่างอื่นที่จะเห็นธรรมได้เลย
อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธจะไปอยู่ตามวัดภาวนา หวังว่าจะมีความสุข ก็ไม่มี เพราะว่าไปที่ไหนนะ ก็เอากายเอาใจไปด้วย กายกับใจมันตัวทุกข์น่ะ ไปไหนก็เอาทุกข์ไปด้วย เพราะฉะนั้นไม่มีที่หนีเลย เข้าสมาธินะ เข้าไปลึกเลย สบายๆ เผลอๆ เพลินๆ นะ เข้าไม่นานนะ สติปัญญาทำงานขึ้นมา มันถอนออกมา เห็นเลย สมาธิก็เป็นภพอีกอันหนึ่ง ไปเข้าฌานอยู่ เป็นภพอีกอันหนึ่ง ก็ทุกข์อีกนะ อยู่ได้ชั่วคราวก็ถอนออกมาอีกแล้ว เนี่ยฝึกจนกระทั่ง ครูบาอาจารย์ท่านใช้คำบอกว่า สามแดนโลกธาตุเนี่ย หาที่จะหยั่งเท้าลงไปด้วยความสุขไม่ได้เลย แล้วทำอย่างไร ทำอย่างไรดี จึงจะพ้นจากความทุกข์ ไม่มีทางทำเลย ขอเลิกไม่ดูได้มั้ย เลิกก็ไม่ได้อีก สติปัญญามันอัตโนมัตินะ หมุนจี๋อยู่อย่างนั้นทั้งวันทั้งคืนนะ เห็นจิตหมุนติ้วๆๆ จับอารมณ์โน้น จับอารมณ์นี้ ตลอดเวลาเลยนะ เดี๋ยวเหวี่ยงไปที่ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ นะ หมุนจี๋ๆๆอยู่ ข้างในก็หมุนอยู่ตลอด มีแต่ทุกข์ล้วนๆเกิดขึ้นเลย นี่เห็นอย่างนี้จนถึงจุดหนึ่งที่จิตมันพอนะ จิตมันจนมุมแล้ว มันไม่รู้จะหาทางออกยังไงอีกต่อไปแล้ว เพราะว่า ไม่ว่าทำอะไรก็ทุกข์หมดเลย ไม่มีทางหนีจากความทุกข์ได้เลย พอจิตยอมจำนนกับความทุกข์ จิตยอมรับความจริง เรียกว่าคล้อยตามความจริงแล้วว่า กายนี้ใจนี้มีแต่ทุกข์ล้วนๆ นี่เรียกว่าจิตคล้อยตามอริยสัจจ์แล้วล่ะ คล้อยตามความจริงนะ จิตก็หมดความดิ้นรนเลย เพราะจิตมันหมดความดิ้นรนนะ มันยอมรับความจริงแล้ว มีแต่ทุกข์ล้วนๆ นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรเกิดขึ้น ไม่มีอะไรตั้งอยู่ ไม่มีอะไรดับไป มีแต่ทุกข์ล้วนๆ จิตยอมรับความจริงแล้วจิตจะสลัดตัวเองออกจากกองทุกข์ ตรงนี้มันสลัดของมันเอง มันจะพ้นออกไปเอง เป็นเรื่องที่แปลกเป็นเรื่องที่อัศจรรย์นะ เราดิ้นรนหาทางพ้นทุกข์แทบตายก็ไม่พ้นหรอก แต่ว่าพอจิตมันเอียนทุกข์เต็มที่นะ มันรู้เต็มที่แล้ว จนกระทั่งมันรู้ว่าไม่มีทางหนีแล้ว มันยอมจำนนกับความทุกข์แล้ว หมดดสติหมดปัญญาที่จะแก้ไขให้พ้นจากความทุกข์แล้ว แบบหลังชนกำแพง ถูกผู้ร้าย ๕ ตัว ถือมีดมาไล่จิ้มเอาๆ ๕ ตัวคือมารทั้ง ๕ ตัว ไล่จิ้มเอาๆ หลังชนกำแพง รอบนี้ตายแน่ อย่างนี้จิตถึงจะยอมปล่อยวาง โอ้… กายนี้ใจนี้มีแต่ทุกข์ล้วนๆ บีบคั้นอยู่ตลอดเวลา เอาไว้ก็ไม่มีประโยชน์อะไรนะ หนีมันก็ไม่ได้ เห็นมั้ยเอาไว้ก็ไม่ดีใช่มั้ย หนีไปก็ไม่ได้ เนี่ยจิตยอมรับตรงนี้ จิตเป็นกลางเลย ยอมรับความจริง จิตจะเป็นกลางแล้วยอมรับความเป็นจริง กายนี้ใจนี้ทุกข์นะ ยอมรับมัน ความจริง รู้เลย หนีก็ไม่ได้นะ สู้ก็ไม่ได้ ทำอย่างไรก็ไม่ได้ ทำอย่างไรก็ไม่พ้น ตรงนี้แหละที่จิตจะสลัดคืนกายคืนใจให้โลกไป เป็นภาวะที่พวกเรานึกไม่ถึงน่ะ คิดด้วยคำพูดไม่ได้ นึกเอาไม่ได้ ต้องฝึกเอา เราจะรู้เลยความพ้นทุกข์มีจริง
จะไปอยู่ตามวัดภาวนา หวังว่าจะมีความสุข ก็ไม่มี เพราะว่าไปที่ไหนนะ ก็เอากายเอาใจไปด้วย กายกับใจมันตัวทุกข์น่ะ ไปไหนก็เอาทุกข์ไปด้วย เพราะฉะนั้นไม่มีที่หนีเลย เข้าสมาธินะ เข้าไปลึกเลย สบายๆ เผลอๆ เพลินๆ นะ เข้าไม่นานนะ สติปัญญาทำงานขึ้นมา มันถอนออกมา เห็นเลย สมาธิก็เป็นภพอีกอันหนึ่ง ไปเข้าฌานอยู่ เป็นภพอีกอันหนึ่ง ก็ทุกข์อีกนะ อยู่ได้ชั่วคราวก็ถอนออกมาอีกแล้ว
เนี่ยฝึกจนกระทั่ง ครูบาอาจารย์ท่านใช้คำบอกว่า สามแดนโลกธาตุเนี่ย หาที่จะหยั่งเท้าลงไปด้วยความสุขไม่ได้เลย แล้วทำอย่างไร ทำอย่างไรดี จึงจะพ้นจากความทุกข์ ไม่มีทางทำเลย ขอเลิกไม่ดูได้มั้ย เลิกก็ไม่ได้อีก สติปัญญามันอัตโนมัตินะ หมุนจี๋อยู่อย่างนั้นทั้งวันทั้งคืนนะ เห็นจิตหมุนติ้วๆๆ จับอารมณ์โน้น จับอารมณ์นี้ ตลอดเวลาเลยนะ เดี๋ยวเหวี่ยงไปที่ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ นะ หมุนจี๋ๆๆอยู่ ข้างในก็หมุนอยู่ตลอด มีแต่ทุกข์ล้วนๆเกิดขึ้นเลย นี่เห็นอย่างนี้จนถึงจุดหนึ่งที่จิตมันพอนะ จิตมันจนมุมแล้ว มันไม่รู้จะหาทางออกยังไงอีกต่อไปแล้ว เพราะว่า ไม่ว่าทำอะไรก็ทุกข์หมดเลย ไม่มีทางหนีจากความทุกข์ได้เลย
พอจิตยอมจำนนกับความทุกข์ จิตยอมรับความจริง เรียกว่าคล้อยตามความจริงแล้วว่า กายนี้ใจนี้มีแต่ทุกข์ล้วนๆ นี่เรียกว่าจิตคล้อยตามอริยสัจจ์แล้วล่ะ คล้อยตามความจริงนะ จิตก็หมดความดิ้นรนเลย เพราะจิตมันหมดความดิ้นรนนะ มันยอมรับความจริงแล้ว มีแต่ทุกข์ล้วนๆ นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรเกิดขึ้น ไม่มีอะไรตั้งอยู่ ไม่มีอะไรดับไป มีแต่ทุกข์ล้วนๆ จิตยอมรับความจริงแล้วจิตจะสลัดตัวเองออกจากกองทุกข์ ตรงนี้มันสลัดของมันเอง มันจะพ้นออกไปเอง
เป็นเรื่องที่แปลกเป็นเรื่องที่อัศจรรย์นะ เราดิ้นรนหาทางพ้นทุกข์แทบตายก็ไม่พ้นหรอก แต่ว่าพอจิตมันเอียนทุกข์เต็มที่นะ มันรู้เต็มที่แล้ว จนกระทั่งมันรู้ว่าไม่มีทางหนีแล้ว มันยอมจำนนกับความทุกข์แล้ว หมดดสติหมดปัญญาที่จะแก้ไขให้พ้นจากความทุกข์แล้ว แบบหลังชนกำแพง ถูกผู้ร้าย ๕ ตัว ถือมีดมาไล่จิ้มเอาๆ ๕ ตัวคือมารทั้ง ๕ ตัว ไล่จิ้มเอาๆ หลังชนกำแพง รอบนี้ตายแน่ อย่างนี้จิตถึงจะยอมปล่อยวาง โอ้… กายนี้ใจนี้มีแต่ทุกข์ล้วนๆ บีบคั้นอยู่ตลอดเวลา เอาไว้ก็ไม่มีประโยชน์อะไรนะ หนีมันก็ไม่ได้ เห็นมั้ยเอาไว้ก็ไม่ดีใช่มั้ย หนีไปก็ไม่ได้ เนี่ยจิตยอมรับตรงนี้ จิตเป็นกลางเลย ยอมรับความจริง จิตจะเป็นกลางแล้วยอมรับความเป็นจริง กายนี้ใจนี้ทุกข์นะ ยอมรับมัน ความจริง รู้เลย หนีก็ไม่ได้นะ สู้ก็ไม่ได้ ทำอย่างไรก็ไม่ได้ ทำอย่างไรก็ไม่พ้น ตรงนี้แหละที่จิตจะสลัดคืนกายคืนใจให้โลกไป เป็นภาวะที่พวกเรานึกไม่ถึงน่ะ คิดด้วยคำพูดไม่ได้ นึกเอาไม่ได้ ต้องฝึกเอา เราจะรู้เลยความพ้นทุกข์มีจริง
เนี่ยฝึกจนกระทั่ง ครูบาอาจารย์ท่านใช้คำบอกว่า สามแดนโลกธาตุเนี่ย หาที่จะหยั่งเท้าลงไปด้วยความสุขไม่ได้เลย แล้วทำอย่างไร ทำอย่างไรดี จึงจะพ้นจากความทุกข์ ไม่มีทางทำเลย ขอเลิกไม่ดูได้มั้ย เลิกก็ไม่ได้อีก สติปัญญามันอัตโนมัตินะ หมุนจี๋อยู่อย่างนั้นทั้งวันทั้งคืนนะ เห็นจิตหมุนติ้วๆๆ จับอารมณ์โน้น จับอารมณ์นี้ ตลอดเวลาเลยนะ เดี๋ยวเหวี่ยงไปที่ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ นะ หมุนจี๋ๆๆอยู่ ข้างในก็หมุนอยู่ตลอด มีแต่ทุกข์ล้วนๆเกิดขึ้นเลย นี่เห็นอย่างนี้จนถึงจุดหนึ่งที่จิตมันพอนะ จิตมันจนมุมแล้ว มันไม่รู้จะหาทางออกยังไงอีกต่อไปแล้ว เพราะว่า ไม่ว่าทำอะไรก็ทุกข์หมดเลย ไม่มีทางหนีจากความทุกข์ได้เลย
พอจิตยอมจำนนกับความทุกข์ จิตยอมรับความจริง เรียกว่าคล้อยตามความจริงแล้วว่า กายนี้ใจนี้มีแต่ทุกข์ล้วนๆ นี่เรียกว่าจิตคล้อยตามอริยสัจจ์แล้วล่ะ คล้อยตามความจริงนะ จิตก็หมดความดิ้นรนเลย เพราะจิตมันหมดความดิ้นรนนะ มันยอมรับความจริงแล้ว มีแต่ทุกข์ล้วนๆ นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรเกิดขึ้น ไม่มีอะไรตั้งอยู่ ไม่มีอะไรดับไป มีแต่ทุกข์ล้วนๆ จิตยอมรับความจริงแล้วจิตจะสลัดตัวเองออกจากกองทุกข์ ตรงนี้มันสลัดของมันเอง มันจะพ้นออกไปเอง
เป็นเรื่องที่แปลกเป็นเรื่องที่อัศจรรย์นะ เราดิ้นรนหาทางพ้นทุกข์แทบตายก็ไม่พ้นหรอก แต่ว่าพอจิตมันเอียนทุกข์เต็มที่นะ มันรู้เต็มที่แล้ว จนกระทั่งมันรู้ว่าไม่มีทางหนีแล้ว มันยอมจำนนกับความทุกข์แล้ว หมดดสติหมดปัญญาที่จะแก้ไขให้พ้นจากความทุกข์แล้ว แบบหลังชนกำแพง ถูกผู้ร้าย ๕ ตัว ถือมีดมาไล่จิ้มเอาๆ ๕ ตัวคือมารทั้ง ๕ ตัว ไล่จิ้มเอาๆ หลังชนกำแพง รอบนี้ตายแน่ อย่างนี้จิตถึงจะยอมปล่อยวาง โอ้… กายนี้ใจนี้มีแต่ทุกข์ล้วนๆ บีบคั้นอยู่ตลอดเวลา เอาไว้ก็ไม่มีประโยชน์อะไรนะ หนีมันก็ไม่ได้ เห็นมั้ยเอาไว้ก็ไม่ดีใช่มั้ย หนีไปก็ไม่ได้ เนี่ยจิตยอมรับตรงนี้ จิตเป็นกลางเลย ยอมรับความจริง จิตจะเป็นกลางแล้วยอมรับความเป็นจริง กายนี้ใจนี้ทุกข์นะ ยอมรับมัน ความจริง รู้เลย หนีก็ไม่ได้นะ สู้ก็ไม่ได้ ทำอย่างไรก็ไม่ได้ ทำอย่างไรก็ไม่พ้น ตรงนี้แหละที่จิตจะสลัดคืนกายคืนใจให้โลกไป เป็นภาวะที่พวกเรานึกไม่ถึงน่ะ คิดด้วยคำพูดไม่ได้ นึกเอาไม่ได้ ต้องฝึกเอา เราจะรู้เลยความพ้นทุกข์มีจริง
อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธจะไปอยู่ตามวัดภาวนา หวังว่าจะมีความสุข ก็ไม่มี เพราะว่าไปที่ไหนนะ ก็เอากายเอาใจไปด้วย กายกับใจมันตัวทุกข์น่ะ ไปไหนก็เอาทุกข์ไปด้วย เพราะฉะนั้นไม่มีที่หนีเลย เข้าสมาธินะ เข้าไปลึกเลย สบายๆ เผลอๆ เพลินๆ นะ เข้าไม่นานนะ สติปัญญาทำงานขึ้นมา มันถอนออกมา เห็นเลย สมาธิก็เป็นภพอีกอันหนึ่ง ไปเข้าฌานอยู่ เป็นภพอีกอันหนึ่ง ก็ทุกข์อีกนะ อยู่ได้ชั่วคราวก็ถอนออกมาอีกแล้ว เนี่ยฝึกจนกระทั่ง ครูบาอาจารย์ท่านใช้คำบอกว่า สามแดนโลกธาตุเนี่ย หาที่จะหยั่งเท้าลงไปด้วยความสุขไม่ได้เลย แล้วทำอย่างไร ทำอย่างไรดี จึงจะพ้นจากความทุกข์ ไม่มีทางทำเลย ขอเลิกไม่ดูได้มั้ย เลิกก็ไม่ได้อีก สติปัญญามันอัตโนมัตินะ หมุนจี๋อยู่อย่างนั้นทั้งวันทั้งคืนนะ เห็นจิตหมุนติ้วๆๆ จับอารมณ์โน้น จับอารมณ์นี้ ตลอดเวลาเลยนะ เดี๋ยวเหวี่ยงไปที่ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ นะ หมุนจี๋ๆๆอยู่ ข้างในก็หมุนอยู่ตลอด มีแต่ทุกข์ล้วนๆเกิดขึ้นเลย นี่เห็นอย่างนี้จนถึงจุดหนึ่งที่จิตมันพอนะ จิตมันจนมุมแล้ว มันไม่รู้จะหาทางออกยังไงอีกต่อไปแล้ว เพราะว่า ไม่ว่าทำอะไรก็ทุกข์หมดเลย ไม่มีทางหนีจากความทุกข์ได้เลย พอจิตยอมจำนนกับความทุกข์ จิตยอมรับความจริง เรียกว่าคล้อยตามความจริงแล้วว่า กายนี้ใจนี้มีแต่ทุกข์ล้วนๆ นี่เรียกว่าจิตคล้อยตามอริยสัจจ์แล้วล่ะ คล้อยตามความจริงนะ จิตก็หมดความดิ้นรนเลย เพราะจิตมันหมดความดิ้นรนนะ มันยอมรับความจริงแล้ว มีแต่ทุกข์ล้วนๆ นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรเกิดขึ้น ไม่มีอะไรตั้งอยู่ ไม่มีอะไรดับไป มีแต่ทุกข์ล้วนๆ จิตยอมรับความจริงแล้วจิตจะสลัดตัวเองออกจากกองทุกข์ ตรงนี้มันสลัดของมันเอง มันจะพ้นออกไปเอง เป็นเรื่องที่แปลกเป็นเรื่องที่อัศจรรย์นะ เราดิ้นรนหาทางพ้นทุกข์แทบตายก็ไม่พ้นหรอก แต่ว่าพอจิตมันเอียนทุกข์เต็มที่นะ มันรู้เต็มที่แล้ว จนกระทั่งมันรู้ว่าไม่มีทางหนีแล้ว มันยอมจำนนกับความทุกข์แล้ว หมดดสติหมดปัญญาที่จะแก้ไขให้พ้นจากความทุกข์แล้ว แบบหลังชนกำแพง ถูกผู้ร้าย ๕ ตัว ถือมีดมาไล่จิ้มเอาๆ ๕ ตัวคือมารทั้ง ๕ ตัว ไล่จิ้มเอาๆ หลังชนกำแพง รอบนี้ตายแน่ อย่างนี้จิตถึงจะยอมปล่อยวาง โอ้… กายนี้ใจนี้มีแต่ทุกข์ล้วนๆ บีบคั้นอยู่ตลอดเวลา เอาไว้ก็ไม่มีประโยชน์อะไรนะ หนีมันก็ไม่ได้ เห็นมั้ยเอาไว้ก็ไม่ดีใช่มั้ย หนีไปก็ไม่ได้ เนี่ยจิตยอมรับตรงนี้ จิตเป็นกลางเลย ยอมรับความจริง จิตจะเป็นกลางแล้วยอมรับความเป็นจริง กายนี้ใจนี้ทุกข์นะ ยอมรับมัน ความจริง รู้เลย หนีก็ไม่ได้นะ สู้ก็ไม่ได้ ทำอย่างไรก็ไม่ได้ ทำอย่างไรก็ไม่พ้น ตรงนี้แหละที่จิตจะสลัดคืนกายคืนใจให้โลกไป เป็นภาวะที่พวกเรานึกไม่ถึงน่ะ คิดด้วยคำพูดไม่ได้ นึกเอาไม่ได้ ต้องฝึกเอา เราจะรู้เลยความพ้นทุกข์มีจริง
จะไปอยู่ตามวัดภาวนา หวังว่าจะมีความสุข ก็ไม่มี เพราะว่าไปที่ไหนนะ ก็เอากายเอาใจไปด้วย กายกับใจมันตัวทุกข์น่ะ ไปไหนก็เอาทุกข์ไปด้วย เพราะฉะนั้นไม่มีที่หนีเลย เข้าสมาธินะ เข้าไปลึกเลย สบายๆ เผลอๆ เพลินๆ นะ เข้าไม่นานนะ สติปัญญาทำงานขึ้นมา มันถอนออกมา เห็นเลย สมาธิก็เป็นภพอีกอันหนึ่ง ไปเข้าฌานอยู่ เป็นภพอีกอันหนึ่ง ก็ทุกข์อีกนะ อยู่ได้ชั่วคราวก็ถอนออกมาอีกแล้ว
เนี่ยฝึกจนกระทั่ง ครูบาอาจารย์ท่านใช้คำบอกว่า สามแดนโลกธาตุเนี่ย หาที่จะหยั่งเท้าลงไปด้วยความสุขไม่ได้เลย แล้วทำอย่างไร ทำอย่างไรดี จึงจะพ้นจากความทุกข์ ไม่มีทางทำเลย ขอเลิกไม่ดูได้มั้ย เลิกก็ไม่ได้อีก สติปัญญามันอัตโนมัตินะ หมุนจี๋อยู่อย่างนั้นทั้งวันทั้งคืนนะ เห็นจิตหมุนติ้วๆๆ จับอารมณ์โน้น จับอารมณ์นี้ ตลอดเวลาเลยนะ เดี๋ยวเหวี่ยงไปที่ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ นะ หมุนจี๋ๆๆอยู่ ข้างในก็หมุนอยู่ตลอด มีแต่ทุกข์ล้วนๆเกิดขึ้นเลย นี่เห็นอย่างนี้จนถึงจุดหนึ่งที่จิตมันพอนะ จิตมันจนมุมแล้ว มันไม่รู้จะหาทางออกยังไงอีกต่อไปแล้ว เพราะว่า ไม่ว่าทำอะไรก็ทุกข์หมดเลย ไม่มีทางหนีจากความทุกข์ได้เลย
พอจิตยอมจำนนกับความทุกข์ จิตยอมรับความจริง เรียกว่าคล้อยตามความจริงแล้วว่า กายนี้ใจนี้มีแต่ทุกข์ล้วนๆ นี่เรียกว่าจิตคล้อยตามอริยสัจจ์แล้วล่ะ คล้อยตามความจริงนะ จิตก็หมดความดิ้นรนเลย เพราะจิตมันหมดความดิ้นรนนะ มันยอมรับความจริงแล้ว มีแต่ทุกข์ล้วนๆ นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรเกิดขึ้น ไม่มีอะไรตั้งอยู่ ไม่มีอะไรดับไป มีแต่ทุกข์ล้วนๆ จิตยอมรับความจริงแล้วจิตจะสลัดตัวเองออกจากกองทุกข์ ตรงนี้มันสลัดของมันเอง มันจะพ้นออกไปเอง
เป็นเรื่องที่แปลกเป็นเรื่องที่อัศจรรย์นะ เราดิ้นรนหาทางพ้นทุกข์แทบตายก็ไม่พ้นหรอก แต่ว่าพอจิตมันเอียนทุกข์เต็มที่นะ มันรู้เต็มที่แล้ว จนกระทั่งมันรู้ว่าไม่มีทางหนีแล้ว มันยอมจำนนกับความทุกข์แล้ว หมดดสติหมดปัญญาที่จะแก้ไขให้พ้นจากความทุกข์แล้ว แบบหลังชนกำแพง ถูกผู้ร้าย ๕ ตัว ถือมีดมาไล่จิ้มเอาๆ ๕ ตัวคือมารทั้ง ๕ ตัว ไล่จิ้มเอาๆ หลังชนกำแพง รอบนี้ตายแน่ อย่างนี้จิตถึงจะยอมปล่อยวาง โอ้… กายนี้ใจนี้มีแต่ทุกข์ล้วนๆ บีบคั้นอยู่ตลอดเวลา เอาไว้ก็ไม่มีประโยชน์อะไรนะ หนีมันก็ไม่ได้ เห็นมั้ยเอาไว้ก็ไม่ดีใช่มั้ย หนีไปก็ไม่ได้ เนี่ยจิตยอมรับตรงนี้ จิตเป็นกลางเลย ยอมรับความจริง จิตจะเป็นกลางแล้วยอมรับความเป็นจริง กายนี้ใจนี้ทุกข์นะ ยอมรับมัน ความจริง รู้เลย หนีก็ไม่ได้นะ สู้ก็ไม่ได้ ทำอย่างไรก็ไม่ได้ ทำอย่างไรก็ไม่พ้น ตรงนี้แหละที่จิตจะสลัดคืนกายคืนใจให้โลกไป เป็นภาวะที่พวกเรานึกไม่ถึงน่ะ คิดด้วยคำพูดไม่ได้ นึกเอาไม่ได้ ต้องฝึกเอา เราจะรู้เลยความพ้นทุกข์มีจริง
เนี่ยฝึกจนกระทั่ง ครูบาอาจารย์ท่านใช้คำบอกว่า สามแดนโลกธาตุเนี่ย หาที่จะหยั่งเท้าลงไปด้วยความสุขไม่ได้เลย แล้วทำอย่างไร ทำอย่างไรดี จึงจะพ้นจากความทุกข์ ไม่มีทางทำเลย ขอเลิกไม่ดูได้มั้ย เลิกก็ไม่ได้อีก สติปัญญามันอัตโนมัตินะ หมุนจี๋อยู่อย่างนั้นทั้งวันทั้งคืนนะ เห็นจิตหมุนติ้วๆๆ จับอารมณ์โน้น จับอารมณ์นี้ ตลอดเวลาเลยนะ เดี๋ยวเหวี่ยงไปที่ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ นะ หมุนจี๋ๆๆอยู่ ข้างในก็หมุนอยู่ตลอด มีแต่ทุกข์ล้วนๆเกิดขึ้นเลย นี่เห็นอย่างนี้จนถึงจุดหนึ่งที่จิตมันพอนะ จิตมันจนมุมแล้ว มันไม่รู้จะหาทางออกยังไงอีกต่อไปแล้ว เพราะว่า ไม่ว่าทำอะไรก็ทุกข์หมดเลย ไม่มีทางหนีจากความทุกข์ได้เลย
พอจิตยอมจำนนกับความทุกข์ จิตยอมรับความจริง เรียกว่าคล้อยตามความจริงแล้วว่า กายนี้ใจนี้มีแต่ทุกข์ล้วนๆ นี่เรียกว่าจิตคล้อยตามอริยสัจจ์แล้วล่ะ คล้อยตามความจริงนะ จิตก็หมดความดิ้นรนเลย เพราะจิตมันหมดความดิ้นรนนะ มันยอมรับความจริงแล้ว มีแต่ทุกข์ล้วนๆ นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรเกิดขึ้น ไม่มีอะไรตั้งอยู่ ไม่มีอะไรดับไป มีแต่ทุกข์ล้วนๆ จิตยอมรับความจริงแล้วจิตจะสลัดตัวเองออกจากกองทุกข์ ตรงนี้มันสลัดของมันเอง มันจะพ้นออกไปเอง
เป็นเรื่องที่แปลกเป็นเรื่องที่อัศจรรย์นะ เราดิ้นรนหาทางพ้นทุกข์แทบตายก็ไม่พ้นหรอก แต่ว่าพอจิตมันเอียนทุกข์เต็มที่นะ มันรู้เต็มที่แล้ว จนกระทั่งมันรู้ว่าไม่มีทางหนีแล้ว มันยอมจำนนกับความทุกข์แล้ว หมดดสติหมดปัญญาที่จะแก้ไขให้พ้นจากความทุกข์แล้ว แบบหลังชนกำแพง ถูกผู้ร้าย ๕ ตัว ถือมีดมาไล่จิ้มเอาๆ ๕ ตัวคือมารทั้ง ๕ ตัว ไล่จิ้มเอาๆ หลังชนกำแพง รอบนี้ตายแน่ อย่างนี้จิตถึงจะยอมปล่อยวาง โอ้… กายนี้ใจนี้มีแต่ทุกข์ล้วนๆ บีบคั้นอยู่ตลอดเวลา เอาไว้ก็ไม่มีประโยชน์อะไรนะ หนีมันก็ไม่ได้ เห็นมั้ยเอาไว้ก็ไม่ดีใช่มั้ย หนีไปก็ไม่ได้ เนี่ยจิตยอมรับตรงนี้ จิตเป็นกลางเลย ยอมรับความจริง จิตจะเป็นกลางแล้วยอมรับความเป็นจริง กายนี้ใจนี้ทุกข์นะ ยอมรับมัน ความจริง รู้เลย หนีก็ไม่ได้นะ สู้ก็ไม่ได้ ทำอย่างไรก็ไม่ได้ ทำอย่างไรก็ไม่พ้น ตรงนี้แหละที่จิตจะสลัดคืนกายคืนใจให้โลกไป เป็นภาวะที่พวกเรานึกไม่ถึงน่ะ คิดด้วยคำพูดไม่ได้ นึกเอาไม่ได้ ต้องฝึกเอา เราจะรู้เลยความพ้นทุกข์มีจริง
อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธจะไปอยู่ตามวัดภาวนา หวังว่าจะมีความสุข ก็ไม่มี เพราะว่าไปที่ไหนนะ ก็เอากายเอาใจไปด้วย กายกับใจมันตัวทุกข์น่ะ ไปไหนก็เอาทุกข์ไปด้วย เพราะฉะนั้นไม่มีที่หนีเลย เข้าสมาธินะ เข้าไปลึกเลย สบายๆ เผลอๆ เพลินๆ นะ เข้าไม่นานนะ สติปัญญาทำงานขึ้นมา มันถอนออกมา เห็นเลย สมาธิก็เป็นภพอีกอันหนึ่ง ไปเข้าฌานอยู่ เป็นภพอีกอันหนึ่ง ก็ทุกข์อีกนะ อยู่ได้ชั่วคราวก็ถอนออกมาอีกแล้ว เนี่ยฝึกจนกระทั่ง ครูบาอาจารย์ท่านใช้คำบอกว่า สามแดนโลกธาตุเนี่ย หาที่จะหยั่งเท้าลงไปด้วยความสุขไม่ได้เลย แล้วทำอย่างไร ทำอย่างไรดี จึงจะพ้นจากความทุกข์ ไม่มีทางทำเลย ขอเลิกไม่ดูได้มั้ย เลิกก็ไม่ได้อีก สติปัญญามันอัตโนมัตินะ หมุนจี๋อยู่อย่างนั้นทั้งวันทั้งคืนนะ เห็นจิตหมุนติ้วๆๆ จับอารมณ์โน้น จับอารมณ์นี้ ตลอดเวลาเลยนะ เดี๋ยวเหวี่ยงไปที่ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ นะ หมุนจี๋ๆๆอยู่ ข้างในก็หมุนอยู่ตลอด มีแต่ทุกข์ล้วนๆเกิดขึ้นเลย นี่เห็นอย่างนี้จนถึงจุดหนึ่งที่จิตมันพอนะ จิตมันจนมุมแล้ว มันไม่รู้จะหาทางออกยังไงอีกต่อไปแล้ว เพราะว่า ไม่ว่าทำอะไรก็ทุกข์หมดเลย ไม่มีทางหนีจากความทุกข์ได้เลย พอจิตยอมจำนนกับความทุกข์ จิตยอมรับความจริง เรียกว่าคล้อยตามความจริงแล้วว่า กายนี้ใจนี้มีแต่ทุกข์ล้วนๆ นี่เรียกว่าจิตคล้อยตามอริยสัจจ์แล้วล่ะ คล้อยตามความจริงนะ จิตก็หมดความดิ้นรนเลย เพราะจิตมันหมดความดิ้นรนนะ มันยอมรับความจริงแล้ว มีแต่ทุกข์ล้วนๆ นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรเกิดขึ้น ไม่มีอะไรตั้งอยู่ ไม่มีอะไรดับไป มีแต่ทุกข์ล้วนๆ จิตยอมรับความจริงแล้วจิตจะสลัดตัวเองออกจากกองทุกข์ ตรงนี้มันสลัดของมันเอง มันจะพ้นออกไปเอง เป็นเรื่องที่แปลกเป็นเรื่องที่อัศจรรย์นะ เราดิ้นรนหาทางพ้นทุกข์แทบตายก็ไม่พ้นหรอก แต่ว่าพอจิตมันเอียนทุกข์เต็มที่นะ มันรู้เต็มที่แล้ว จนกระทั่งมันรู้ว่าไม่มีทางหนีแล้ว มันยอมจำนนกับความทุกข์แล้ว หมดดสติหมดปัญญาที่จะแก้ไขให้พ้นจากความทุกข์แล้ว แบบหลังชนกำแพง ถูกผู้ร้าย ๕ ตัว ถือมีดมาไล่จิ้มเอาๆ ๕ ตัวคือมารทั้ง ๕ ตัว ไล่จิ้มเอาๆ หลังชนกำแพง รอบนี้ตายแน่ อย่างนี้จิตถึงจะยอมปล่อยวาง โอ้… กายนี้ใจนี้มีแต่ทุกข์ล้วนๆ บีบคั้นอยู่ตลอดเวลา เอาไว้ก็ไม่มีประโยชน์อะไรนะ หนีมันก็ไม่ได้ เห็นมั้ยเอาไว้ก็ไม่ดีใช่มั้ย หนีไปก็ไม่ได้ เนี่ยจิตยอมรับตรงนี้ จิตเป็นกลางเลย ยอมรับความจริง จิตจะเป็นกลางแล้วยอมรับความเป็นจริง กายนี้ใจนี้ทุกข์นะ ยอมรับมัน ความจริง รู้เลย หนีก็ไม่ได้นะ สู้ก็ไม่ได้ ทำอย่างไรก็ไม่ได้ ทำอย่างไรก็ไม่พ้น ตรงนี้แหละที่จิตจะสลัดคืนกายคืนใจให้โลกไป เป็นภาวะที่พวกเรานึกไม่ถึงน่ะ คิดด้วยคำพูดไม่ได้ นึกเอาไม่ได้ ต้องฝึกเอา เราจะรู้เลยความพ้นทุกข์มีจริง
อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธจะไปอยู่ตามวัดภาวนา หวังว่าจะมีความสุข ก็ไม่มี เพราะว่าไปที่ไหนนะ ก็เอากายเอาใจไปด้วย กายกับใจมันตัวทุกข์น่ะ ไปไหนก็เอาทุกข์ไปด้วย เพราะฉะนั้นไม่มีที่หนีเลย เข้าสมาธินะ เข้าไปลึกเลย สบายๆ เผลอๆ เพลินๆ นะ เข้าไม่นานนะ สติปัญญาทำงานขึ้นมา มันถอนออกมา เห็นเลย สมาธิก็เป็นภพอีกอันหนึ่ง ไปเข้าฌานอยู่ เป็นภพอีกอันหนึ่ง ก็ทุกข์อีกนะ อยู่ได้ชั่วคราวก็ถอนออกมาอีกแล้ว เนี่ยฝึกจนกระทั่ง ครูบาอาจารย์ท่านใช้คำบอกว่า สามแดนโลกธาตุเนี่ย หาที่จะหยั่งเท้าลงไปด้วยความสุขไม่ได้เลย แล้วทำอย่างไร ทำอย่างไรดี จึงจะพ้นจากความทุกข์ ไม่มีทางทำเลย ขอเลิกไม่ดูได้มั้ย เลิกก็ไม่ได้อีก สติปัญญามันอัตโนมัตินะ หมุนจี๋อยู่อย่างนั้นทั้งวันทั้งคืนนะ เห็นจิตหมุนติ้วๆๆ จับอารมณ์โน้น จับอารมณ์นี้ ตลอดเวลาเลยนะ เดี๋ยวเหวี่ยงไปที่ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ นะ หมุนจี๋ๆๆอยู่ ข้างในก็หมุนอยู่ตลอด มีแต่ทุกข์ล้วนๆเกิดขึ้นเลย นี่เห็นอย่างนี้จนถึงจุดหนึ่งที่จิตมันพอนะ จิตมันจนมุมแล้ว มันไม่รู้จะหาทางออกยังไงอีกต่อไปแล้ว เพราะว่า ไม่ว่าทำอะไรก็ทุกข์หมดเลย ไม่มีทางหนีจากความทุกข์ได้เลย พอจิตยอมจำนนกับความทุกข์ จิตยอมรับความจริง เรียกว่าคล้อยตามความจริงแล้วว่า กายนี้ใจนี้มีแต่ทุกข์ล้วนๆ นี่เรียกว่าจิตคล้อยตามอริยสัจจ์แล้วล่ะ คล้อยตามความจริงนะ จิตก็หมดความดิ้นรนเลย เพราะจิตมันหมดความดิ้นรนนะ มันยอมรับความจริงแล้ว มีแต่ทุกข์ล้วนๆ นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรเกิดขึ้น ไม่มีอะไรตั้งอยู่ ไม่มีอะไรดับไป มีแต่ทุกข์ล้วนๆ จิตยอมรับความจริงแล้วจิตจะสลัดตัวเองออกจากกองทุกข์ ตรงนี้มันสลัดของมันเอง มันจะพ้นออกไปเอง เป็นเรื่องที่แปลกเป็นเรื่องที่อัศจรรย์นะ เราดิ้นรนหาทางพ้นทุกข์แทบตายก็ไม่พ้นหรอก แต่ว่าพอจิตมันเอียนทุกข์เต็มที่นะ มันรู้เต็มที่แล้ว จนกระทั่งมันรู้ว่าไม่มีทางหนีแล้ว มันยอมจำนนกับความทุกข์แล้ว หมดดสติหมดปัญญาที่จะแก้ไขให้พ้นจากความทุกข์แล้ว แบบหลังชนกำแพง ถูกผู้ร้าย ๕ ตัว ถือมีดมาไล่จิ้มเอาๆ ๕ ตัวคือมารทั้ง ๕ ตัว ไล่จิ้มเอาๆ หลังชนกำแพง รอบนี้ตายแน่ อย่างนี้จิตถึงจะยอมปล่อยวาง โอ้… กายนี้ใจนี้มีแต่ทุกข์ล้วนๆ บีบคั้นอยู่ตลอดเวลา เอาไว้ก็ไม่มีประโยชน์อะไรนะ หนีมันก็ไม่ได้ เห็นมั้ยเอาไว้ก็ไม่ดีใช่มั้ย หนีไปก็ไม่ได้ เนี่ยจิตยอมรับตรงนี้ จิตเป็นกลางเลย ยอมรับความจริง จิตจะเป็นกลางแล้วยอมรับความเป็นจริง กายนี้ใจนี้ทุกข์นะ ยอมรับมัน ความจริง รู้เลย หนีก็ไม่ได้นะ สู้ก็ไม่ได้ ทำอย่างไรก็ไม่ได้ ทำอย่างไรก็ไม่พ้น ตรงนี้แหละที่จิตจะสลัดคืนกายคืนใจให้โลกไป เป็นภาวะที่พวกเรานึกไม่ถึงน่ะ คิดด้วยคำพูดไม่ได้ นึกเอาไม่ได้ ต้องฝึกเอา เราจะรู้เลยความพ้นทุกข์มีจริง
ครูบาอาจารย์ท่านใช้คำบอกว่า สามแดนโลกธาตุเนี่ย หาที่จะหยั่งเท้าลงไปด้วยค...กราบขอบพระคุณและอนุโมทนาท่านอาจารย์มากครับ ที่ให้โอกาส ภพคือการดิ้นรนทำงานของจิต เราทิ้งไตรสิกขาไม่ได้นะ เห็นร่างกายมันเต็มไปด้วยความทุกข์ ตัวจิตเอง พอมีสติถี่ๆขึ้นมานะ เห็นทุกอย่างหมุนเวียนเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา มันไม่ใช่สุขบ้างทุกข์บ้างแล้วนะ มันจะกลายเป็นทุกข์ล้วนๆเลย ทุกอย่างเกิดขึ้นมาแล้วก็บีบคั้นทั้งนั้นเลย เป็นความบีบคั้นทั้งสิ้น เป็นทุกข์ทั้งสิ้นเลย เนี่ยเห็นอย่างนี้นะ เห็นมาก มากๆเข้า ถึงจุดหนึ่งนะ มันไม่รู้จะไปทางไหนแล้ว จนมุมเลย จะไปอยู่ตามวัดภาวนา หวังว่าจะมีความสุข ก็ไม่มี เพราะว่าไปที่ไหนนะ ก็เอากายเอาใจไปด้วย กายกับใจมันตัวทุกข์น่ะ ไปไหนก็เอาทุกข์ไปด้วย เพราะฉะนั้นไม่มีที่หนีเลย เข้าสมาธินะ เข้าไปลึกเลย สบายๆ เผลอๆ เพลินๆ นะ เข้าไม่นานนะ สติปัญญาทำงานขึ้นมา มันถอนออกมา เห็นเลย สมาธิก็เป็นภพอีกอันหนึ่ง ไปเข้าฌานอยู่ เป็นภพอีกอันหนึ่ง ก็ทุกข์อีกนะ อยู่ได้ชั่วคราวก็ถอนออกมาอีกแล้ว เนี่ยฝึกจนกระทั่ง ครูบาอาจารย์ท่านใช้คำบอกว่า สามแดนโลกธาตุเนี่ย หาที่จะหยั่งเท้าลงไปด้วยความสุขไม่ได้เลย แล้วทำอย่างไร ทำอย่างไรดี จึงจะพ้นจากความทุกข์ ไม่มีทางทำเลย ขอเลิกไม่ดูได้มั้ย เลิกก็ไม่ได้อีก สติปัญญามันอัตโนมัตินะ หมุนจี๋อยู่อย่างนั้นทั้งวันทั้งคืนนะ เห็นจิตหมุนติ้วๆๆ จับอารมณ์โน้น จับอารมณ์นี้ ตลอดเวลาเลยนะ เดี๋ยวเหวี่ยงไปที่ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ นะ หมุนจี๋ๆๆอยู่ ข้างในก็หมุนอยู่ตลอด มีแต่ทุกข์ล้วนๆเกิดขึ้นเลย นี่เห็นอย่างนี้จนถึงจุดหนึ่งที่จิตมันพอนะ จิตมันจนมุมแล้ว มันไม่รู้จะหาทางออกยังไงอีกต่อไปแล้ว เพราะว่า ไม่ว่าทำอะไรก็ทุกข์หมดเลย ไม่มีทางหนีจากความทุกข์ได้เลย พอจิตยอมจำนนกับความทุกข์ จิตยอมรับความจริง เรียกว่าคล้อยตามความจริงแล้วว่า กายนี้ใจนี้มีแต่ทุกข์ล้วนๆ นี่เรียกว่าจิตคล้อยตามอริยสัจจ์แล้วล่ะ คล้อยตามความจริงนะ จิตก็หมดความดิ้นรนเลย เพราะจิตมันหมดความดิ้นรนนะ มันยอมรับความจริงแล้ว มีแต่ทุกข์ล้วนๆ นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรเกิดขึ้น ไม่มีอะไรตั้งอยู่ ไม่มีอะไรดับไป มีแต่ทุกข์ล้วนๆ จิตยอมรับความจริงแล้วจิตจะสลัดตัวเองออกจากกองทุกข์ ตรงนี้มันสลัดของมันเอง มันจะพ้นออกไปเอง เป็นเรื่องที่แปลกเป็นเรื่องที่อัศจรรย์นะ เราดิ้นรนหาทางพ้นทุกข์แทบตายก็ไม่พ้นหรอก แต่ว่าพอจิตมันเอียนทุกข์เต็มที่นะ มันรู้เต็มที่แล้ว จนกระทั่งมันรู้ว่าไม่มีทางหนีแล้ว มันยอมจำนนกับความทุกข์แล้ว หมดดสติหมดปัญญาที่จะแก้ไขให้พ้นจากความทุกข์แล้ว แบบหลังชนกำแพง ถูกผู้ร้าย ๕ ตัว ถือมีดมาไล่จิ้มเอาๆ ๕ ตัวคือมารทั้ง ๕ ตัว ไล่จิ้มเอาๆ หลังชนกำแพง รอบนี้ตายแน่ อย่างนี้จิตถึงจะยอมปล่อยวาง โอ้… กายนี้ใจนี้มีแต่ทุกข์ล้วนๆ บีบคั้นอยู่ตลอดเวลา เอาไว้ก็ไม่มีประโยชน์อะไรนะ หนีมันก็ไม่ได้ เห็นมั้ยเอาไว้ก็ไม่ดีใช่มั้ย หนีไปก็ไม่ได้ เนี่ยจิตยอมรับตรงนี้ จิตเป็นกลางเลย ยอมรับความจริง จิตจะเป็นกลางแล้วยอมรับความเป็นจริง กายนี้ใจนี้ทุกข์นะ ยอมรับมัน ความจริง รู้เลย หนีก็ไม่ได้นะ สู้ก็ไม่ได้ ทำอย่างไรก็ไม่ได้ ทำอย่างไรก็ไม่พ้น ตรงนี้แหละที่จิตจะสลัดคืนกายคืนใจให้โลกไป เป็นภาวะที่พวกเรานึกไม่ถึงน่ะ คิดด้วยคำพูดไม่ได้ นึกเอาไม่ได้ ต้องฝึกเอา เราจะรู้เลยความพ้นทุกข์มีจริง
ทุกอย่างหมุนเวียนเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา มันไม่ใช่สุขบ้างทุกข์บ้างแล้วนะ มัน...กราบขอบพระคุณและอนุโมทนาท่านอาจารย์มากครับ ที่ให้โอกาส ภพคือการดิ้นรนทำงานของจิต เราทิ้งไตรสิกขาไม่ได้นะ เห็นร่างกายมันเต็มไปด้วยความทุกข์ ตัวจิตเอง พอมีสติถี่ๆขึ้นมานะ เห็นทุกอย่างหมุนเวียนเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา มันไม่ใช่สุขบ้างทุกข์บ้างแล้วนะ มันจะกลายเป็นทุกข์ล้วนๆเลย ทุกอย่างเกิดขึ้นมาแล้วก็บีบคั้นทั้งนั้นเลย เป็นความบีบคั้นทั้งสิ้น เป็นทุกข์ทั้งสิ้นเลย เนี่ยเห็นอย่างนี้นะ เห็นมาก มากๆเข้า ถึงจุดหนึ่งนะ มันไม่รู้จะไปทางไหนแล้ว จนมุมเลย จะไปอยู่ตามวัดภาวนา หวังว่าจะมีความสุข ก็ไม่มี เพราะว่าไปที่ไหนนะ ก็เอากายเอาใจไปด้วย กายกับใจมันตัวทุกข์น่ะ ไปไหนก็เอาทุกข์ไปด้วย เพราะฉะนั้นไม่มีที่หนีเลย เข้าสมาธินะ เข้าไปลึกเลย สบายๆ เผลอๆ เพลินๆ นะ เข้าไม่นานนะ สติปัญญาทำงานขึ้นมา มันถอนออกมา เห็นเลย สมาธิก็เป็นภพอีกอันหนึ่ง ไปเข้าฌานอยู่ เป็นภพอีกอันหนึ่ง ก็ทุกข์อีกนะ อยู่ได้ชั่วคราวก็ถอนออกมาอีกแล้ว เนี่ยฝึกจนกระทั่ง ครูบาอาจารย์ท่านใช้คำบอกว่า สามแดนโลกธาตุเนี่ย หาที่จะหยั่งเท้าลงไปด้วยความสุขไม่ได้เลย แล้วทำอย่างไร ทำอย่างไรดี จึงจะพ้นจากความทุกข์ ไม่มีทางทำเลย ขอเลิกไม่ดูได้มั้ย เลิกก็ไม่ได้อีก สติปัญญามันอัตโนมัตินะ หมุนจี๋อยู่อย่างนั้นทั้งวันทั้งคืนนะ เห็นจิตหมุนติ้วๆๆ จับอารมณ์โน้น จับอารมณ์นี้ ตลอดเวลาเลยนะ เดี๋ยวเหวี่ยงไปที่ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ นะ หมุนจี๋ๆๆอยู่ ข้างในก็หมุนอยู่ตลอด มีแต่ทุกข์ล้วนๆเกิดขึ้นเลย นี่เห็นอย่างนี้จนถึงจุดหนึ่งที่จิตมันพอนะ จิตมันจนมุมแล้ว มันไม่รู้จะหาทางออกยังไงอีกต่อไปแล้ว เพราะว่า ไม่ว่าทำอะไรก็ทุกข์หมดเลย ไม่มีทางหนีจากความทุกข์ได้เลย พอจิตยอมจำนนกับความทุกข์ จิตยอมรับความจริง เรียกว่าคล้อยตามความจริงแล้วว่า กายนี้ใจนี้มีแต่ทุกข์ล้วนๆ นี่เรียกว่าจิตคล้อยตามอริยสัจจ์แล้วล่ะ คล้อยตามความจริงนะ จิตก็หมดความดิ้นรนเลย เพราะจิตมันหมดความดิ้นรนนะ มันยอมรับความจริงแล้ว มีแต่ทุกข์ล้วนๆ นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรเกิดขึ้น ไม่มีอะไรตั้งอยู่ ไม่มีอะไรดับไป มีแต่ทุกข์ล้วนๆ จิตยอมรับความจริงแล้วจิตจะสลัดตัวเองออกจากกองทุกข์ ตรงนี้มันสลัดของมันเอง มันจะพ้นออกไปเอง เป็นเรื่องที่แปลกเป็นเรื่องที่อัศจรรย์นะ เราดิ้นรนหาทางพ้นทุกข์แทบตายก็ไม่พ้นหรอก แต่ว่าพอจิตมันเอียนทุกข์เต็มที่นะ มันรู้เต็มที่แล้ว จนกระทั่งมันรู้ว่าไม่มีทางหนีแล้ว มันยอมจำนนกับความทุกข์แล้ว หมดดสติหมดปัญญาที่จะแก้ไขให้พ้นจากความทุกข์แล้ว แบบหลังชนกำแพง ถูกผู้ร้าย ๕ ตัว ถือมีดมาไล่จิ้มเอาๆ ๕ ตัวคือมารทั้ง ๕ ตัว ไล่จิ้มเอาๆ หลังชนกำแพง รอบนี้ตายแน่ อย่างนี้จิตถึงจะยอมปล่อยวาง โอ้… กายนี้ใจนี้มีแต่ทุกข์ล้วนๆ บีบคั้นอยู่ตลอดเวลา เอาไว้ก็ไม่มีประโยชน์อะไรนะ หนีมันก็ไม่ได้ เห็นมั้ยเอาไว้ก็ไม่ดีใช่มั้ย หนีไปก็ไม่ได้ เนี่ยจิตยอมรับตรงนี้ จิตเป็นกลางเลย ยอมรับความจริง จิตจะเป็นกลางแล้วยอมรับความเป็นจริง กายนี้ใจนี้ทุกข์นะ ยอมรับมัน ความจริง รู้เลย หนีก็ไม่ได้นะ สู้ก็ไม่ได้ ทำอย่างไรก็ไม่ได้ ทำอย่างไรก็ไม่พ้น ตรงนี้แหละที่จิตจะสลัดคืนกายคืนใจให้โลกไป เป็นภาวะที่พวกเรานึกไม่ถึงน่ะ คิดด้วยคำพูดไม่ได้ นึกเอาไม่ได้ ต้องฝึกเอา เราจะรู้เลยความพ้นทุกข์มีจริง
เลิกใช้น้ำมัน การสร้างเครื่อง ปรับรอบ ความเร็วมอเตอร์มอเตอร์ไฟฟ้า สามเฟสรวมคลิปการเปลี่ยนพลังงานและประหยัดพลังงาน การสร้างเครื่อง ปรับรอบ ความเร็วมอเตอร์มอเตอร์ไฟฟ้า สามเฟส ใช้ไฟฟ้ากระแสลับ เฟสเดียว ใช้ไฟฟ้ากระแสตรง จากแบตเตอรี่ โดยใช้เทคโนโลยี ไมโครคอนโทรลเลอร์ ATMEL Atmega และ Arduino จำหน่าย Power Module และ โปรแกรม Arduino ให้เป็น อินเวอร์เตอร์ สามเฟส ได้รับความอนุเคราะห์ โค๊ด จากท่าน Tomasz Drazek ประเทศโปแลนด์ 3 Phase Motor Control Code Arduino 328 P Thank you very much, sir โค๊ด และวงจร อยู่นี่ครับ https://onedrive.live.com/?authkey=%2... hank you very much, sir https://onedrive.live.com/?authkey=%2... รุ่นใหม่ ราคา1000 บาท ครับ นำไปบัดกรีและต่อเติมตามถนัดครับ..มี บอร์ด Arduino 1 บอร์ด ราคา 700 บาท และ PS21244 1 หรือ PS21963 หรือ PS219A2 ราคา ตัวละ 300 บาท ครับ ลงวันที่ 14 ตุลาคม 2559 จำหน่าย POWER MODULE 6DI15s-050 MP6501A TM51 PS21244 PS21963 GT15J331 ใช้สำหรับ สร้าง อินเวอร์เตอร์ คอนเวอร์เตอร์ สามเฟส ที่ใช้ใน เครื่องปรับอากาศ ตู้เย็น เครื่องซักผ้า เครื่องใช้ไฟฟ้า ที่มีมอเตอร์ ชนิดสามเฟส ติดต่อที่ LINE pornpimon 1411 Intelligent power module PS21244 มีจำหน่าย ราคาตัวละ 300 บาท NEW MODULE 6DI15S-050 FUJI LOCATION M in Business & Industrial, Electrical & Test Equipment, Industrial Automation, Control มีจำหน่ายราคาตัวละ 300 บาท TM52A สินค้าหมดแล้วครับ....https://www..com/watch?v=fpP69G42wok ดูรายละเอียดจากคลิป ง่ายกว่าครับ มีหลายคลิป เบื้องต้นทำสัญญาน 6 ตำแหน่งให้ ต่ำกว่า 0.5 Volt ครับ ค่า R PULL UP ใช้ 5.6 K-10K จะพอดีครับ ไฟเลี้ยง ต้องเรียบพอ ไม่ต่ำกว่า 15 Vdc ครับ รายละเอียดการต่อ PS21244 กับ MC3PHACแบบขนานและแบบธรรมดา...ชมการทดสอบจริงกับมอเตอร์ ห้าแรงไม่มีโหลด จากคลิปนี้ก็ได้ครับ...วงจรขนานที่ใช้ MOSFET STU 418 ยังใช้ไม่ได้..ไม่สมบูรณ์..ครับ...ยังไม่ได้ผลที่น่าพอใจhttps://www..com/watch?v=yXZhTqUhXqA TM52A...หมดแล้ว.ใช้ PS21244 ขนานกัน....ได้ครับ....ขาย ic หาง่าย ใช้ง่าย PS21244 PS21963 PS219A2 6DI15S-050 D 6DI15S-050 C MP6501A TM52A TM51 ใช้ทำเครื่องอินเวอร์เตอร์ เครื่องปรับรอบมอเตอร์ เครื่องแปลงไฟฟ้า PS21244 ราคาตัวละ 300 บาท 4 ตัว 1000 บาท ครับค่าส่ง Ems 100 บาท ครับ Line:pornpimon 1411 มือถือ 081-803-6553 เบอร์บ้าน 02-951-1356 sompongindustrial@gmail.com mrsompongt@hotmail.com https://www.youtube.com/watch?v=TYuLu... https://www.youtube.com/watch?v=yuMdz... https://www.youtube.com/watch?v=ThGs-... https://www.youtube.com/watch?v=bd97P... จำหน่าย ออกแบบ ซ่อม สร้าง อินเวอร์เตอร์ เครื่องควบคุมมอเตอร์ อินดัตชั่น สามเฟส จำหน่าย power module ขนาด 15 Amps 400 Volts ราคาตัวละ 300 บาท สำหรับ ใช้กับมอเตอร์ ไฟฟ้า ยุคใหม่ ทั้ง DC และ AC ได้ 1 แรงม้า sompongindustrial@gmail.com 02-951-1356 Line pornpimon 1411 081-803-6553 หมวดหมู่
สัญญาน อนาล็อก ดิจิตอล PWM ของ ATmega 168Analog in Analogread Digigtal Out Pwm ArduinoMC3PHAC ไม่มีการผลิต แล้วครับ ให้ใช้ เบอร์ ของAVR ATmega แทนได้ หรือ ARDUINO UNO 328P ARDUINO MINI 168 ARDUINO MEGA 1280 ARDUINO MEGA 2560 แทนได้ครับ ติดต่อ ซื้อ ที่ลงโปรแกรม และทดสอบการทำงานแล้ว ราคา 300 บาท ถึง 700 บาท จะเหมาะกับภาวะเศรษฐกิจช่วงนี้ครับ ซื้อ ได้ที่ sompongindustrial@gmail.com โทร 02-951-1356 Line pornpimon 1411 มือถือ 081-803-6553 ท่านผู้สนใจ โปรด ดู รายละเอียดจากคลิปอื่นด้วยก็ดีครับ สัญญาน ออกจะกลับกัน คือ โปรแกรม ที่เขียน บางโปรแกรม แล้ว UP LOAD ARDUINO จะ เป็น LOW จะใช้ได้กับ POWER MODULE เบอร์ PS 21244 โปรแกรม ที่เขียน บางโปรแกรม แล้ว UP LOAD ARDUINO จะ เป็น HIGH จะใช้ได้กับ POWER MODULE เบอร์ PS21963 PS219A2 ที่ผมจำหน่ายอยู่พอดี เนื่องจาก PS21244 ที่เป็น ของใหม่เหลือ ไม่ถึง ร้อยตัว แต่ ยังมี PS21244 ประมาณ 1000 ตัว เป็นตัวที่ติดอยู่ในแผงวงจร แอร์ ตัดเอามาเฉพาะ ตัว ไอ ซี สภาพ ใช้ได้ ต้อง ขออภัย ครับ คิด ราคา ตัวละ 120 บาท พอครับ PS21244 สัญญาน เข้า เป็น แบบ LOW ครับ ดูจาก DATA SHEET ง่ายดีครับ มีรายละเอียดมากกว่า ที่ผม อธิบาย ในคลิป ครับ PS21963 PS219A2 ราคาตัว ละ 300 บาท เป็นของใหม่ มีอยู่ประมาณ 800 ตัวครับ...ติดต่อที่เดิมครับ Line pornpimon 1411 Email sompongindustrial@gmail.com โทร 02-951-1356 มือถือ 081-803-6553 ขอบคุณ ทุกท่าน ครับที่กรุณาhttp://digitalcommons.calpoly.edu/cgi... OC0A 6 12 PD6 OC0B 5 11 PD5 OC1A 9 15 PB1 OC1B 10 16 PB2 OC2A 11 17 PB3 OC2B 3 5 PD3 https://onedrive.live.com/?authkey=%2... จำหน่าย Power Module และ โปรแกรม Arduino ให้เป็น อินเวอร์เตอร์ สามเฟส sompongindustrial@gmail.com 02-951-1356 Line pornpimon 1411 โปรแกรม Arduino ให้เป็น อินเวอร์เตอร์ สามเฟส ได้รับความอนุเคราะห์ โค๊ด จากท่าน Tomasz Drazek ประเทศโปแลนด์ 3 Phase Motor Control Code Arduino 328 P
สัญญาน อนาล็อก ดิจิตอล PWM ของ ATmega 168Analog in Analogread Digigtal Out Pwm ArduinoMC3PHAC ไม่มีการผลิต แล้วครับ ให้ใช้ เบอร์ ของAVR ATmega แทนได้ หรือ ARDUINO UNO 328P ARDUINO MINI 168 ARDUINO MEGA 1280 ARDUINO MEGA 2560 แทนได้ครับ ติดต่อ ซื้อ ที่ลงโปรแกรม และทดสอบการทำงานแล้ว ราคา 300 บาท ถึง 700 บาท จะเหมาะกับภาวะเศรษฐกิจช่วงนี้ครับ ซื้อ ได้ที่ sompongindustrial@gmail.com โทร 02-951-1356 Line pornpimon 1411 มือถือ 081-803-6553 ท่านผู้สนใจ โปรด ดู รายละเอียดจากคลิปอื่นด้วยก็ดีครับ สัญญาน ออกจะกลับกัน คือ โปรแกรม ที่เขียน บางโปรแกรม แล้ว UP LOAD ARDUINO จะ เป็น LOW จะใช้ได้กับ POWER MODULE เบอร์ PS 21244 โปรแกรม ที่เขียน บางโปรแกรม แล้ว UP LOAD ARDUINO จะ เป็น HIGH จะใช้ได้กับ POWER MODULE เบอร์ PS21963 PS219A2 ที่ผมจำหน่ายอยู่พอดี เนื่องจาก PS21244 ที่เป็น ของใหม่เหลือ ไม่ถึง ร้อยตัว แต่ ยังมี PS21244 ประมาณ 1000 ตัว เป็นตัวที่ติดอยู่ในแผงวงจร แอร์ ตัดเอามาเฉพาะ ตัว ไอ ซี สภาพ ใช้ได้ ต้อง ขออภัย ครับ คิด ราคา ตัวละ 120 บาท พอครับ PS21244 สัญญาน เข้า เป็น แบบ LOW ครับ ดูจาก DATA SHEET ง่ายดีครับ มีรายละเอียดมากกว่า ที่ผม อธิบาย ในคลิป ครับ PS21963 PS219A2 ราคาตัว ละ 300 บาท เป็นของใหม่ มีอยู่ประมาณ 800 ตัวครับ...ติดต่อที่เดิมครับ Line pornpimon 1411 Email sompongindustrial@gmail.com โทร 02-951-1356 มือถือ 081-803-6553 ขอบคุณ ทุกท่าน ครับที่กรุณาhttp://digitalcommons.calpoly.edu/cgi... OC0A 6 12 PD6 OC0B 5 11 PD5 OC1A 9 15 PB1 OC1B 10 16 PB2 OC2A 11 17 PB3 OC2B 3 5 PD3 https://onedrive.live.com/?authkey=%2... จำหน่าย Power Module และ โปรแกรม Arduino ให้เป็น อินเวอร์เตอร์ สามเฟส sompongindustrial@gmail.com 02-951-1356 Line pornpimon 1411 โปรแกรม Arduino ให้เป็น อินเวอร์เตอร์ สามเฟส ได้รับความอนุเคราะห์ โค๊ด จากท่าน Tomasz Drazek ประเทศโปแลนด์ 3 Phase Motor Control Code Arduino 328 P
ควบคุม มอเตอร์ สามเฟส แบบ ธรรมดา และ แบบ Direct Drive ด้วย ARDUINO MEGA ...
ทำอย่างไรก็ไม่พ้น ตรงนี้แหละที่จิตจะสลัดคืนกายคืนใจให้โลกไปกราบขอบพระคุณและอนุโมทนาท่านอาจารย์มากครับ ที่ให้โอกาส ภพคือการดิ้นรนทำงานของจิต เราทิ้งไตรสิกขาไม่ได้นะ เห็นร่างกายมันเต็มไปด้วยความทุกข์ ตัวจิตเอง พอมีสติถี่ๆขึ้นมานะ เห็นทุกอย่างหมุนเวียนเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา มันไม่ใช่สุขบ้างทุกข์บ้างแล้วนะ มันจะกลายเป็นทุกข์ล้วนๆเลย ทุกอย่างเกิดขึ้นมาแล้วก็บีบคั้นทั้งนั้นเลย เป็นความบีบคั้นทั้งสิ้น เป็นทุกข์ทั้งสิ้นเลย เนี่ยเห็นอย่างนี้นะ เห็นมาก มากๆเข้า ถึงจุดหนึ่งนะ มันไม่รู้จะไปทางไหนแล้ว จนมุมเลย จะไปอยู่ตามวัดภาวนา หวังว่าจะมีความสุข ก็ไม่มี เพราะว่าไปที่ไหนนะ ก็เอากายเอาใจไปด้วย กายกับใจมันตัวทุกข์น่ะ ไปไหนก็เอาทุกข์ไปด้วย เพราะฉะนั้นไม่มีที่หนีเลย เข้าสมาธินะ เข้าไปลึกเลย สบายๆ เผลอๆ เพลินๆ นะ เข้าไม่นานนะ สติปัญญาทำงานขึ้นมา มันถอนออกมา เห็นเลย สมาธิก็เป็นภพอีกอันหนึ่ง ไปเข้าฌานอยู่ เป็นภพอีกอันหนึ่ง ก็ทุกข์อีกนะ อยู่ได้ชั่วคราวก็ถอนออกมาอีกแล้ว เนี่ยฝึกจนกระทั่ง ครูบาอาจารย์ท่านใช้คำบอกว่า สามแดนโลกธาตุเนี่ย หาที่จะหยั่งเท้าลงไปด้วยความสุขไม่ได้เลย แล้วทำอย่างไร ทำอย่างไรดี จึงจะพ้นจากความทุกข์ ไม่มีทางทำเลย ขอเลิกไม่ดูได้มั้ย เลิกก็ไม่ได้อีก สติปัญญามันอัตโนมัตินะ หมุนจี๋อยู่อย่างนั้นทั้งวันทั้งคืนนะ เห็นจิตหมุนติ้วๆๆ จับอารมณ์โน้น จับอารมณ์นี้ ตลอดเวลาเลยนะ เดี๋ยวเหวี่ยงไปที่ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ นะ หมุนจี๋ๆๆอยู่ ข้างในก็หมุนอยู่ตลอด มีแต่ทุกข์ล้วนๆเกิดขึ้นเลย นี่เห็นอย่างนี้จนถึงจุดหนึ่งที่จิตมันพอนะ จิตมันจนมุมแล้ว มันไม่รู้จะหาทางออกยังไงอีกต่อไปแล้ว เพราะว่า ไม่ว่าทำอะไรก็ทุกข์หมดเลย ไม่มีทางหนีจากความทุกข์ได้เลย พอจิตยอมจำนนกับความทุกข์ จิตยอมรับความจริง เรียกว่าคล้อยตามความจริงแล้วว่า กายนี้ใจนี้มีแต่ทุกข์ล้วนๆ นี่เรียกว่าจิตคล้อยตามอริยสัจจ์แล้วล่ะ คล้อยตามความจริงนะ จิตก็หมดความดิ้นรนเลย เพราะจิตมันหมดความดิ้นรนนะ มันยอมรับความจริงแล้ว มีแต่ทุกข์ล้วนๆ นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรเกิดขึ้น ไม่มีอะไรตั้งอยู่ ไม่มีอะไรดับไป มีแต่ทุกข์ล้วนๆ จิตยอมรับความจริงแล้วจิตจะสลัดตัวเองออกจากกองทุกข์ ตรงนี้มันสลัดของมันเอง มันจะพ้นออกไปเอง เป็นเรื่องที่แปลกเป็นเรื่องที่อัศจรรย์นะ เราดิ้นรนหาทางพ้นทุกข์แทบตายก็ไม่พ้นหรอก แต่ว่าพอจิตมันเอียนทุกข์เต็มที่นะ มันรู้เต็มที่แล้ว จนกระทั่งมันรู้ว่าไม่มีทางหนีแล้ว มันยอมจำนนกับความทุกข์แล้ว หมดดสติหมดปัญญาที่จะแก้ไขให้พ้นจากความทุกข์แล้ว แบบหลังชนกำแพง ถูกผู้ร้าย ๕ ตัว ถือมีดมาไล่จิ้มเอาๆ ๕ ตัวคือมารทั้ง ๕ ตัว ไล่จิ้มเอาๆ หลังชนกำแพง รอบนี้ตายแน่ อย่างนี้จิตถึงจะยอมปล่อยวาง โอ้… กายนี้ใจนี้มีแต่ทุกข์ล้วนๆ บีบคั้นอยู่ตลอดเวลา เอาไว้ก็ไม่มีประโยชน์อะไรนะ หนีมันก็ไม่ได้ เห็นมั้ยเอาไว้ก็ไม่ดีใช่มั้ย หนีไปก็ไม่ได้ เนี่ยจิตยอมรับตรงนี้ จิตเป็นกลางเลย ยอมรับความจริง จิตจะเป็นกลางแล้วยอมรับความเป็นจริง กายนี้ใจนี้ทุกข์นะ ยอมรับมัน ความจริง รู้เลย หนีก็ไม่ได้นะ สู้ก็ไม่ได้ ทำอย่างไรก็ไม่ได้ ทำอย่างไรก็ไม่พ้น ตรงนี้แหละที่จิตจะสลัดคืนกายคืนใจให้โลกไป เป็นภาวะที่พวกเรานึกไม่ถึงน่ะ คิดด้วยคำพูดไม่ได้ นึกเอาไม่ได้ ต้องฝึกเอา เราจะรู้เลยความพ้นทุกข์มีจริง
การภาวนาขั้นทำลายอวิชชาจนปล่อยวางจิต โดยหลวงพ่อปราโมทย์การภาวนาขั้นทำลายอวิชชาจนปล่อยวางจิต โดยหลวงพ่อปราโมทย์
ที่สุดแห่งทุกข์ จิตปล่อยวางกาย จิตปล่อยวางจิตดูกรมาลุกยบุตร ก็ในธรรมเหล่านั้น คือ รูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ฟัง อารมณ์ที่ได้ทราบ และธรรมที่จะพึงรู้แจ้ง ในรูปที่ได้เห็นแล้ว เธอจักเป็นเพียงแต่ว่าเห็น ในเสียงที่ได้ฟังแล้ว เธอจักเป็นเพียงแต่ว่าได้ฟัง ในอารมณ์ที่ได้ทราบแล้ว เธอจักเป็นเพียงแต่ได้ทราบ ในธรรมที่ได้รู้แจ้ง เธอจักเป็นเพียงแต่ได้รู้แจ้ง ดูกรมาลุกยบุตร ในธรรมทั้งหลาย คือ รูปที่ได้เห็นเสียงที่ได้ฟัง อารมณ์ที่ได้ทราบ และธรรมที่จะพึงรู้แจ้ง ในรูปที่ได้เห็นแล้ว เธอจักเป็นเพียงแต่ว่าเห็น ในเสียงที่ได้ฟังแล้ว เธอจักเป็นเพียงแต่ว่าได้ฟัง ในอารมณ์ที่ได้ทราบแล้ว เธอจักเป็นเพียงแต่ได้ทราบ ในธรรมที่ได้รู้แจ้งแล้ว เธอจักเป็นเพียงแต่ได้รู้แจ้งแล้ว ในกาลใด ในกาลนั้น เธอจักเป็นผู้ไม่ถูกราคะย้อม ไม่ถูกโทสะประทุษร้าย ไม่หลงเพราะโมหะ เธอจักเป็นผู้ไม่ถูกราคะย้อม ไม่ถูกโทสะประทุษร้าย ไม่หลงเพราะโมหะ ในกาลใด ในกาลนั้น เธอจักไม่พัวพันในรูปที่ได้เห็น ในเสียงที่ได้ฟัง ในอารมณ์ที่ได้ทราบ หรือในธรรมารมณ์ที่ได้รู้แจ้ง ดูกรมาลุกยบุตร ในโลกนี้ก็ไม่มี ในโลกอื่นก็ไม่มี ในระหว่างโลกทั้งสองก็ไม่มี นี้แลเป็นที่สุดแห่งทุกข์
วันพฤหัสบดีที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2560
วิถีแห่งความเจริญ สัมมาสติ สัมมาสมาธิบุคคลรู้แจ้งในธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว จากผู้ใด พึงนอบน้อมผู้นั้นโดยเคารพ เหมือนพราหมณ์นับถือการบูชาไฟ ฉะนั้น. กราบขอบพระคุณและอนุโมทนาท่านอาจารย์มากครับ. รู้ทุกข์แล้ววางกายวางใจได้ ตัณหาจะสิ้นไป นิพพานจะปรากฏต่อหน้า..ให้จิต เป็นผู้แสดงเราไม่ต้องแสดงเราเป็นคนดูใจเป็นคนดู ต้องมีใจเป็นคนดูเห็นร่างกายทำงาน ร่างกายเป็นผู้แสดง ใจเป็นคนดู. คนไหนถนัดรู้เวทนา ... ใครเป็นคนรู้..? จิตเป็นคนรู้. เห็นมั๊ย...งั้นในสติปัฏฐานนะ เวลาเราลงมือทำ เราไม่ต้องไปแยกขันธ์ ๕ หรอก มากไป ... ไม่ยากอะไรหรอก ใช้เวลาไม่มาก แต่ว่าต้องจับหลักให้ได้
คนที่มีฤทธิ์ทางใจ สังเกตให้ดีเถอะ เงียบๆ พวกที่มีฤทธิ์มากๆนะ มีอภิญญามาก...ความสำรวมด้วยจักษุเป็นความดี ความสำรวมด้วยหูเป็น ความดี ความสำรวมด้วยจมูกเป็นความดี ความสำรวม ด้วยลิ้นเป็นความดี ความสำรวมด้วยกายเป็นความดี ความ สำรวมด้วยวาจาเป็นความดี ความสำรวมด้วยใจเป็นความดี ความสำรวมในทวารทั้งปวงเป็นความดี ภิกษุผู้สำรวมแล้ว ในทวารทั้งปวง ย่อมพ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้ ผู้ที่สำรวมมือ สำรวมเท้า สำรวมวาจา สำรวมตน ยินดีในอารมณ์ ภายใน มีจิตตั้งมั่น อยู่ผู้เดียว สันโดษ บัณฑิตทั้งหลาย กล่าวผู้นั้นว่าเป็นภิกษุ ภิกษุใดสำรวมปาก มีปกติกล่าว ด้วยปัญญา มีจิตไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมแสดงอรรถและธรรม ภาษิตของภิกษุนั้นไพเราะ ภิกษุผู้มีธรรมเป็นที่มายินดี ยินดี แล้วในธรรม ค้นคว้าธรรม ระลึกถึงธรรม ย่อมไม่ เสื่อมจากสัทธรรม ภิกษุไม่พึงดูหมิ่นลาภของตน ไม่พึง เที่ยวปรารถนาลาภของผู้อื่น เพราะภิกษุปรารถนาลาภของ ผู้อื่นอยู่ ย่อมไม่บรรลุสมาธิ ถ้าว่าภิกษุแม้มีลาภน้อย ก็ย่อมไม่ดูหมิ่นลาภของตนไซร้ เทวดาทั้งหลายย่อมสรรเสริญ ภิกษุนั้น ผู้มีอาชีพบริสุทธิ์ ไม่เกียจคร้าน ผู้ใดไม่มี ความยึดถือในนามรูปว่าของเราโดยประการทั้งปวง และย่อม ไม่เศร้าโศกเพราะนามรูปไม่มีอยู่ ผู้นั้นแลเรากล่าวว่า เป็น ภิกษุ ภิกษุใดมีปกติอยู่ด้วยเมตตา เลื่อมใสแล้วในพระ พุทธศาสนา ภิกษุนั้นพึงบรรลุสันตบทอันเป็นที่ระงับสังขาร เป็นสุข ดูกรภิกษุ เธอจงวิดเรือนี้ เรือที่เธอวิดแล้วจัก ถึงเร็ว เธอตัดราคะและโทสะแล้ว จักถึงนิพพานใน ภายหลัง ภิกษุพึงตัดโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ พึงละอุทธัม ภาคิยสังโยชน์ ๕ พึงเจริญอินทรีย์ ๕ ให้ยิ่ง ภิกษุล่วงธรรม- เป็นเครื่องข้อง ๕ อย่างได้แล้ว เรากล่าวว่า เป็นผู้ข้ามโอฆะ ได้ ดูกรภิกษุ เธอจงเพ่ง และอย่าประมาท จิตของเธอ หมุนไปในกามคุณ เธออย่าเป็นผู้ประมาทกลืนก้อนโลหะ อย่าถูกไฟเผาคร่ำครวญว่านี้ทุกข์ ฌานไม่มีแก่ผู้ไม่มีปัญญา ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่มีฌาน ฌานและปัญญามีอยู่ในผู้ใด ผู้นั้น แลอยู่ในที่ใกล้นิพพาน ความยินดีอันมิใช่ของมนุษย์ย่อม มีแก่ภิกษุผู้เข้าไปสู่เรือนว่าง ผู้มีจิตสงบ ผู้เห็นแจ้งซึ่ง ธรรมโดยชอบ ในกาลใดๆ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นความ เกิดขึ้น และความเสื่อมไปแห่งขันธ์ทั้งหลาย ในกาลนั้นๆ ภิกษุนั้นย่อมได้ปีติและปราโมทย์ ปีติและปราโมทย์นั้น เป็นอมตะของบัณฑิตทั้งหลายผู้รู้แจ้งอยู่ บรรดาธรรมเหล่านั้น ธรรมนี้ คือ ความคุ้มครองอินทรีย์ ความสันโดษ และ ความสำรวมในปาฏิโมกข์ เป็นเบื้องต้นของภิกษุผู้มีปัญญา ในธรรมวินัยนี้ ท่านจงคบกัลยาณมิตร มีอาชีพหมดจด ไม่เกียจคร้าน ภิกษุพึงเป็นผู้ประพฤติปฏิสันถาร พึงเป็นผู้ ฉลาดในอาจาระ เป็นผู้มากด้วยความปราโมทย์ เพราะความ ประพฤติในปฏิสันถาร และความเป็นผู้ฉลาดในอาจาระนั้น จักทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย จงเปลื้องราคะและโทสะเสีย เหมือนมะลิปล่อยดอกที่เหี่ยว แห้งแล้ว ฉะนั้น ภิกษุผู้มีกายสงบ มีวาจาสงบ มีใจสงบ มีใจตั้งมั่นดี มีอามิสในโลกอันคายแล้ว เรากล่าวว่า เป็นผู้ สงบระงับ จงเตือนตนด้วยตนเอง จงสงวนตน ด้วยตนเอง ดูกรภิกษุ เธอนั้นผู้มีตนอันคุ้มครองแล้ว มี สติ จักอยู่เป็นสุข ตนแลเป็นที่พึ่งของตน ตนแลเป็น คติของตน เพราะเหตุนั้น ท่านจงสำรวมตน เหมือน พ่อค้าระวังม้าดีไว้ ฉะนั้น ภิกษุผู้มากด้วยความปราโมทย์ เลื่อมใสแล้วในพุทธศาสนา พึงบรรลุสันตบทอันเป็นที่เข้า ไปสงบแห่งสังขาร เป็นสุข ภิกษุใดแล ยังเป็นหนุ่ม ย่อมเพียรพยายามในพุทธศาสนา ภิกษุนั้นย่อมยังโลกนี้ ให้สว่างไสว เหมือนพระจันทร์พ้นแล้วจากเมฆ ฉะนั้น ฯ
เอาจิตมารวมอยู่ในพุทโธอันเดียวจึงจะเห็นจิตพระธรรมเทศนาของหลวงปู่เทสก์จงทำตัวให้เหมือนกับนักรบโบราณ สมัยก่อนต้องทำกำแพงล้อมเมืองให้แน่นหนา มีค่ายคูประตูหอรบเสร็จ เพื่อป้องกันข้าศึกอันจะมาราวี นักรบที่ฉลาด เมื่อออกรบกับข้าศึกเห็นว่าจะสู้ข้าศึกไม้ได้แล้ว ก็ล่าทัพกลับสู่พระนคร แล้วรักษาพระนครเอาไว้ไม่ให้ข้าศึกเข้ามาทำลายได้ พร้อมกันนั้นก็สะสมรี้พลอาวุธและอาหารให้พร้อมเพรียง(คือ ทำสมาธิ ให้มั่นคงกล้าหาญ ) แล้วจึงออกรบข้าศึกอีกต่อไป (คือ มวลกิเลสทั้งปวง) สมาธิเป็นกำลังสำคัญมาก ถ้าไม่มีสมาธิแล้ววิปัสสนาจะเอากำลังมาจากไหน ปัญญาวิปัสสนามิใช่เป็นของจะพึงแต่งเอาได้เมื่อไร แต่เกิดจากสมาธิ ที่หัดได้ชำนิชำนาญมั่นคงดีแล้วต่างหาก ถึงผู้ได้สุกขวิปัสสกก็เถิด ถ้าไม่มีสมถะแล้วจะเอาวิปัสสนามาจากไหน เป็นแต่สมถะของท่านไม่คล่องเท่านั้น อย่างนี้พอฟังได้ ผู้ปฏิบัติทั้งหลาย เมื่อได้ทำสมาธิให้มั่นคงแน่นหนาดีแล้ว จนกระทั่งจะเข้าจะออกก็ได้ จะอยู่ให้นานๆ และพิจารณากายอันนี้ให้เป็นอสุภะ หรือเป็นธาตุก็ได้ พิจารณาคนในโลกนี้ทั้งหมดให้เป็นโครงกระดูกทั้งหมดก็ได้ หรือพิจารณาให้เห็นในโลกนี้ทั้งหมดว่างเป็นอัชฌัตตากาศ ว่างเปล่าไปหมดก็ได้ ฯลฯ จิตผู้มีสมาธิเต็มที่แล้ว ไม่ว่าจะยืน เดิน นั่ง นอน ย่อมเป็นสมาธิอยู่ตลอดเวลา แล้วก็มองเห็นกิเลสของตน ซึ่งเกิดจากจิตของตนได้ชัดเจนว่า กิเลส คือ ความโลภ ความโกรธ ความหลง ความมัน เกิดจากสิ่งนี้ๆ และมัน ตั้งอยู่ ได้ด้วยอาการอย่างนี้ ๆ แล้วก็หาอุบาย ละ ด้วยอย่างนี้ ๆ เหมือนกับน้ำในสระที่ขุ่นมาเป็นร้อยๆ ปี เพิ่งมาใสสะอาดมองเห็นสิ่งสารพัดที่มีอยู่ก้นสระว่า แต่ก่อนแต่ไรเราไม่นึกไม่คิดเลยว่า ในก้นสระนี้มันจะมีของเหล่านี้ นั้น เรียกว่า วิปัสสนา คือ ความรู้ความเห็นตามสภาพจริง มันเป็นจริง อย่างไรก็เห็นตามความเป็นจริงอย่างนั้น ไม่วิปริตผิดแปลกจากความเป็นจริงของมัน สมถะ ก็ละกิเลสได้เหมือนกัน แต่ละได้เหมือนคนถางหญ้า ตัดแต่ต้นให้ขาด ไม่ขุดเอารากออกให้หมด รากมันย่อมมีเวลางอกขึ้นมาอีกในเมื่อฝนตกลงมา คือ เห็นโทษในอารมณ์ที่มันเกิดจากอายตนะนะหกเหมือนกัน แต่เมื่อเห็นโทษก็รีบเข้าหาความสงบ โดยไม่พิจารณาอารมณ์นั้นๆให้ถี่ถ้วนอย่างสมาธิ สรุปความแล้วเรียกว่า ชอบเอาแต่ความสงบอย่างเดียว ไม่อยากพิจารณาให้เนิ่นช้า เหมือนกับตัวแย้อาศัยรูเป็นเครื่องป้องกันภัยอันตราย เมื่อเห็นศัตรูมาก็วิ่งเข้ารูเสีย พ้นภัยอันตรายไประยะหนึ่งๆ ก็เท่านั้น ผู้ต้องการขุดรากเหง้าของกิเลสในตัว เมื่อกิเลสมันเกิดจากอายตนะทั้งหกในตัวของตน เช่น ตาเห็นรูป หูได้ฟังเสียงเป็นต้น เกิดผู้ผัสสะขึ้นให้ยินดีหรือยินร้าย ดีใจและเสียใจ เป็นต้น แล้วเข้าไปยึดเอามาเป็นอารมณ์ของตน ขุ่นมัวอยู่ในใจ จนเป็นเหตุให้เกิดความเดือดร้อนดิ้นรน กินไม่ได้นอนไม่หลับ จนกระทั่งทำอัตตนิบาต ฆ่าคนตายก็มี เมื่อเห็นชัดอย่างนี้แล้ว พึงทำสมาธิ ให้มั่นคงเป็นหลักเสียก่อน แล้วจึงตั้งจิตพิจารณาเฉพาะในอารมณ์นั้น ๆ แต่สิ่งเดียว เช่น ตาเห็นรูปที่เป็น อิฏฐารมณ์ แล้วเกิดความยินดีพอใจขึ้น ก็ให้พิจารณาเฉพาะแต่ความยินดีพอใจนั้นว่า มันเกิดจากตาหรือเกิดจากรูปกันแน่ เมื่อพิจารณาถึงรูปก็เห็นว่า รูปมันเป็นแต่รูปธรรมต่างหาก มันจะดีหรือเลว มันไม่ได้มาชักชวนให้เราไปยินดี หรือยินร้าย หรือให้เราไปหลงรักหรือชัง มันเป็นแต่รูปเฉยๆ เกิดขึ้นมาแล้วก็ดับไป มันดับไปตามสภาพของมันต่างหาก เมื่อพิจารณาตามตาผู้ไปเห็นรูปเล่า ตาผู้ส่งส่ายไปเห็นรูป พอกระทบเท่านั้นแสงสะท้อนกลับเข้ามาหาจักษุประสาทเข้า ก็เป็นรูปต่าง ๆนานาเกิดขึ้น ตาก็ไม่ได้ชักชวนไปให้ยินดียินร้าย หรือให้รักให้ชังอะไร ตามีหน้าที่ให้เห็น เห็นรูปแล้วก็ดับไป สิ่งที่เป็นอิฏฐารมณ์ และอนิฏฐารมณ์ หรืออายตนะอื่นๆ ก็ให้พิจารณาอย่างเดียวกันนี้ เมื่อเราพิจารณาอย่างนี้แล้วก็จะเห็นชัดว่า สิ่งทั้งปวงหมดในโลกนี้ มันจะเกิดกิเลสขึ้นก็เพราะอายตนะทั้งหกนี้เป็นต้นเหตุทั้งนั้น ถ้าเราพิจารณาและไม่หลงตามอายตนะทั้งหกนี้ กิเลสก็จะไม่เกิดขึ้นในตัวของเรา ตรงกันข้าม มันจะเกิดปัญญาก็เพราะมีอายตนะทั้งหกนี้ อายตนะทั้งหกนี้เป็นสื่อกลางของความดีและความชั่ว จะไปสุคติและทุคติก็เพราะอายตนะทั้งหกเป็นต้นเหตุ โลกนี้จะกว้างก็เพราะจิตไม่มีสมาธิ ปล่อยตามอารมณ์ของอายตนะทั้งนั้น โลกนี้จะแคบก็เพราะจิตนี้ได้ฝึกหัดสมาธิ ให้อยู่ในบังคับของตน พิจารณาอารมณ์ของอายตนะทั้งหกแต่ภายใน คือ เมื่อจิตเป็นสมาธิแล้ว อายตนะ เป็นต้นว่า ตาเห็นรูป หูฟังเสียง ฯลฯ เหล่านี้จะไม่ปรากฏเลย จะปรากฏแต่รูปที่เป็นนามธรรม เสียงที่เป็นนามธรรมปรากฏเกิดขึ้นในสมาธินั้น โดยเฉพาะอายตนะภายนอกจะไม่รู้เลย เมื่อทำสมาธิให้แน่วแน่นเต็มที่แล้ว พิจารณาเห็น โลกจิต นี้มันเป็นเหตุทำให้เกิดอายตนผัสสะ สัญญา และอารมณ์ และตลอดสรรพกิเลสทั้งปวงแล้ว จิตก็จะถอนจากสิ่งทั้งหมด จะยังเหลือแต่ใจคือ ผู้รู้ อย่างเดียว จิต กับ ใจ ย่อมมีลักษณะอาการต่างกัน จิต ได้แก่ ผู้คิด ผู้นึก ผู้ปรุง ผู้แต่ง และสัญญา อารมณ์ต่างๆ ตลอดถึงไปยึดเอาสิ่งต่างๆ มาไว้ที่จิต จิตเมื่อเห็นโทษทุกข์ทั้งหลาย ที่ยึดเอากิเลสทั้งปวงมาไว้ที่จิตของตน แล้ว ยอมสละถอนจากอารมณ์และกิเลสทั้งปวงจากจิต จิต นั้นก็เป็น ใจ จิต กับ ใจ มีลักษณะอาการต่างกันอย่างนี้ ใจ คือ ผู้เป็นกลาง วางเฉย ไม่คิดนึกอะไรทั้งสิ้น เป็นแต่รู้ตัวอยู่ว่าวางเฉย ใจเป็นธรรมชาติเป็นกลางแท้ กลางไม่มีอดีตอนาคต ไม่มีบุญหรือบาป ไม่ดีและไม่ชั่วนั้นเรียกว่า ใจ สิ่งทั้งปวงหมด ถ้าพูดถึงใจแล้ว จะต้องหมายเอาตรงใจกลางทั้งนั้น แม้แต่ใจของคนซึ่งเป็นนามธรรม ก็ต้องชี้เข้าไปที่ท่ามกลางอก แต่ใจแท้ไม่ทราบว่าอยู่ตรงไหน เราเอาความรู้สึกไปไว้ในกายส่วนใดส่วนหนึ่ง ลองดูซิ จะรู้สึกขึ้นในที่นั้น หรือเอาความรู้สึกนั้นไปไว้ภายนอกกาย เป็นต้น ว่า เอาไปไว้ที่เสาหรือที่ฝาผนังบ้าน ก็จะมีความรู้สึกอยู่ ณ ที่นั้น เป็นอันสรุปได้ว่า ใจแท้ คือ ความรู้สึกเฉยอยู่เป็นกลางๆ เมื่อมีความรู้สึกกลางๆ อยู่ ณ ที่ใด ใจก็อยู่ ณ ที่นั้น ที่ชาวบ้านเขาพูดกันว่า หัวใจๆ นั้น มิใช่ใจแท้ เป็นแต่หทัยวัตถุ เครื่องสูบฉีดเลือดให้ไปหล่อเลี้ยงสรีระร่างกาย เพื่อให้อยู่ได้ ถ้าไม่มีเครื่องสูบฉีดเลือดไปหล่อเลี้ยงร่างกายแล้วกายอันนี้ก็จะอยู่ไม่ได้ต้องตาย สมองก็เหมือนกัน จะคิดดีหรือไม่ดีก็เพราะสมองเป็นเครื่องใช้ของจิตใจ ระบบประสาทของสมองเป็นรูปธรรม เมื่อปัจจัยต่างๆ ของรูปธรรมขาดไป รูปธรรมย่อมอยู่ไม่ได้ต้องดับไป แต่จิตซึ่งเป็นนามธรรมนั้นในพุทธศาสนาท่านว่า ยังเหลืออยู่ เกิดได้อีก นาม ธรรมจะดับก็ต่อเมื่อปัญญาไปรู้เหตุ รู้ผลของนามธรรมนั้น ๆ แล้วถอนมูลเหตุของมันเสีย ศาสตร์ทั้งหลายซึ่งมีอยู่ในโลกนี้ทั้งหมดสอนกันไม่มีที่สิ้นสุด ยิ่งเรียนยิ่งสอนก็ยิ่งกว้างขวางออกไปทุกที มีพุทธศาสนาเท่านั้นที่สอนให้ถึงที่สุดได้ พุทธศาสนาสอนเบื้องต้นให้รู้จักกาย อันนี้ว่า มีสิ่งต่างๆประกอบกันเข้า จึงเรียกว่าสรีระร่างกาย ( คือ อาการสามสิบสอง) และมีหน้าที่อะไรบ้าง พร้อมกันนั้น ก็สอนให้เห็นเป็นของ อสุภะ เป็นของจริงไปในตัว สอนให้รู้จักโลกอันนี้ (คือ มนุษย์ )ที่ประกอบไปด้วย ทุกข์ ทั้งนั้น ผลที่สุดก็ต้องแตกดับไปตามธรรมดาของมัน ฉะนั้น เมื่อเราเกิดขึ้นมาได้ก้อนนี้แล้ว ถึงจะเป็นของไม่งามเต็มไปด้วย อสุภะ และประกอบไปด้วย ทุกข์ นานัปการก็ตาม แต่เราก็ได้มาพึ่งอาศัยอยู่ชั่วระยะหนึ่ง พึงทำคุณงามความดีใช้หนี้โลกเสียก่อนจะตายไปจากโลกนี้ พระพุทธเจ้าทรงสอนไว้ว่า คน (คือ โลกอันนี้) แตกดับสลายไปเป็นธรรมดา แต่ จิต คือ เจ้าของของโลกนั้น เมื่อมีกิเลสอยู่จะต้องกลับมาเกิดอีก ฉะนั้น พระพุทธองค์จึงทรงสอนให้ฝึกหัดสมาธิ อันเป็นเรื่องของจิตโดยเฉพาะ เมื่อฝึกหัดทำสมาธิเข้าแล้ว หากมีอายตนผัสสะจะรู้สึกอยู่แต่ภายใน คือ จิต ผู้เดียว ผู้เห็นผู้ฟังจะไม่เกี่ยวด้วยตาและหู อายตนผัสสะ จะรู้ด้วยจิตอย่างเดียว (ได้ชื่อว่าทำโลกนี้ให้แคบเข้ามา ) อายตนะทั้งหลายเป็นเครื่องวัด จิต ของตนได้อย่างดีที่สุด เมื่ออายตนะผัสสะมากระทบ จิต ของเรา เราหวั่นไหวไหม เมื่อหวั่นไหวมาก ก็แสดงว่ามีสติน้อย มีธรรมเป็นเครื่องอยู่ก็ยังน้อย เมื่อหวั่นไหวน้อยหรือไม่หวั่นไหวเสียเลย ก็แสดงว่าเรามีสติมาก มีธรรมเป็นเครื่องอยู่มาก และรักษาตัวได้เลย เปรียบเหมือนกับพระเทวทัตและพระโพธิสัตว์ ย่อมก่อเวรก่อกรรมแก่กันมาโดยตลอด พระโพธิสัตว์ถ้าไม่มีพระเทวทัตก็จะไม่ได้สร้างบารมีให้เต็มเปี่ยม เมื่อบารมีเต็มเปี่ยมแล้วจึงได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ก่อนจะตรัสรู้พระองค์ก็ได้ทรงผจญพญามารอันมีแสนยานุภาพมหึมา เมื่อตรัสรู้แล้วก็มีลูกสาวพญามาราธิราชทั้งสามนางมาทดสอบอีกที เป็นอันว่าชาวโลกซ้องสาธุการว่า พระพุทธเจ้าทรงชนะกิเลสเด็ดขาดในโลกนี้โดยสิ้นเชิง เมื่ออายตนะภายในยังมีอยู่ มโนผัสสะก็ยังเป็นอารมณ์อยู่ ฉะนั้น ท่านผู้รู้ทั้งหลายมาเห็นโทษสิ่งทั้งหลายเหล่านั้น จึงยอมถอนออกจากสิ่งเหล่านั้นเสีย ยังคงเหลือแต่ใจ ที่เป็นกลางๆ ๆ ไม่คิด ไม่นึก ไม่ปรุง ไม่แต่ง แล้วโลกอันนี้มันจะมีมาแต่ที่ไหน พระพุทธเจ้าทรงสอนให้ถึงที่สุดของโลกด้วยประการอย่างนี้ นั่งสมาธิภาวนา (ท่านอาจารย์อบรมนำก่อน ) เราพากันมาสำรวมจิตกันเถิด จิตนี้พวกเราเคยปล่อยให้มันเสาะแสวงหาสิ่งที่มันชอบใจมานานแล้ว และสิ่งนั้นมันก็เคยได้มาแล้ว แต่จิตมันก็ไม่พอสักทีหาอยู่ร่ำไป เมื่อไรมันจะรู้จักจบจักพอกันสักที คนที่อยู่รอบๆ ตัวของเรานี้ เราก็เห็นตำตาอยู่แล้ว เมื่อตายไปก็ไม่เห็นเอาอะไรไปด้วย แม้แต่ร่างกายอันนี้ ก็ทอดทิ้งถมพื้นแผ่นดินด้วยกันทั้งนั้น แต่จิตที่อยู่นิ่งไม่แส่ส่ายแสวงหาอะไรทั้งหมด ตั้งมั่นอยู่กับพุทโธอันเดียว เรายังไม่เคยได้เลย จงพากันมาภาวนาพุทโธๆ ให้จิตมันหยุดนิ่งอยู่อันเดียว ลองดูซิ บางที จิตที่อยู่กับพุทโธอันเดียว กลับจะได้มากกว่า และเป็นของแปลกประหลาดกว่าที่เป็นมาแล้ว ทุกสิ่งทุกอย่างมันออกจากหนึ่ง สิ่งอันหนึ่งทั้งนั้น เช่น การนับก็ตั้งต้นจากหนึ่งก่อน หนึ่งสองหนก็เป็นสอง หนึ่งสามหนก็เป็นสาม ดังนี้เป็นต้น หรือต้นหมากรากไม้ทั้งปวงก็ออกมาจากหนึ่งทั้งนั้น (คือ รากของมัน ) คนเราก็เหมือนกันเมื่อเกิดมาทีแรก ก็เกิดจากปฏิสนธิจิตดวงเดียวแท้ๆ เมื่อคลอดออกมาแล้วมีอายตนะ ขันธ์ห้า เครื่องใช้หลายอย่าง จิตก็ปรุงแต่งไปหลายอย่างหลายอัน จนนับจิตไม่ถ้วน ไม่ทราบว่าจิตมีกี่ดวง ยุ่งกันไปหมด จิตเดิมแท้เลยไม่เห็น ฉะนั้น พระพุทธเจ้าจึงสอนให้ค้นหา จิต คือ ภาวนา พุทโธ เอาจิตมารวมอยู่ในพุทโธอันเดียว จึงจะเห็นจิต การค้นหาจิตเราจะต้องทำภาวนาพุทโธ ทำให้จิตรวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันจึงจะเห็นจิตของตน เมื่อเราค้นหาจิตเห็นจิตแล้ว และเห็นว่านี่คือต้นตอของจิต ของสิ่งทั้งปวงที่มีอยู่ในโลกนี้ จิตที่มากหลายอย่างนั้น มันออกไปจากจิตอันเดียวนี้ เมื่อจิตอยู่นิ่งกับพุทโธอันเดียว สรรพกิเลสทั้งหลายก็ไม่มี แล้วจงใช้สติประคองจิตอันนั้นให้นิ่งอยู่กับพุทโธอันเดียวเสียก่อน อย่าให้ส่งส่ายไปมาทุกอริยาบถทั้งสี่ ทำให้ชำนิชำนาญคล่องแคล่ว จนเราจะให้อยู่ก็ได้ หรือเราจะให้คิดค้นพิจารณาในธรรมต่างๆ ก็ได้ หรือคิดค้นธรรมต่างๆ แล้วจะให้มานิ่งอยู่กับใจก็ได้ เมื่อเข้าใจถึงแล้วพุทโธไม่ต้องบริกรรมก็ได้ จิต กับ ใจ มันต่างกัน จิต คือ ผู้คิด ผู้ส่งส่าย ผู้ปรุงแต่ง ใจ คือ ผู้รู้ตัว แล้วนิ่งเฉยไม่คิดไม่นึก เรียกว่าใจดังอธิบายมาข้างต้น เมื่อไม่อยากให้กิเลสมารบกวน จงอย่าคิดนึก ทำใจให้เป็นกลางๆ วางเฉยแล้วนิ่งอยู่ กิเลสทั้งปวงก็จะไม่มารบกวนอีกต่อไป
เอาจิตมารวมอยู่ในพุทโธอันเดียวจึงจะเห็นจิตพระธรรมเทศนาของหลวงปู่เทสก์เราพากันมาสำรวมจิตกันเถิด จิตนี้พวกเราเคยปล่อยให้มันเสาะแสวงหาสิ่งที่มันชอบใจมานานแล้ว และสิ่งนั้นมันก็เคยได้มาแล้ว แต่จิตมันก็ไม่พอสักทีหาอยู่ร่ำไป เมื่อไรมันจะรู้จักจบจักพอกันสักที คนที่อยู่รอบๆ ตัวของเรานี้ เราก็เห็นตำตาอยู่แล้ว เมื่อตายไปก็ไม่เห็นเอาอะไรไปด้วย แม้แต่ร่างกายอันนี้ ก็ทอดทิ้งถมพื้นแผ่นดินด้วยกันทั้งนั้น แต่จิตที่อยู่นิ่งไม่แส่ส่ายแสวงหาอะไรทั้งหมด ตั้งมั่นอยู่กับพุทโธอันเดียว เรายังไม่เคยได้เลย จงพากันมาภาวนาพุทโธๆ ให้จิตมันหยุดนิ่งอยู่อันเดียว ลองดูซิ บางที จิตที่อยู่กับพุทโธอันเดียว กลับจะได้มากกว่า และเป็นของแปลกประหลาดกว่าที่เป็นมาแล้ว เวลานั่งภาวนาเพื่อดูใจ จะต้องหาหลักหรือเป้าจับใจให้อยู่กับหลัก หลัก คือ "พุทโธ" เอาสติตั้งไว้ตรงนั้น ... เมื่อตั้งสติกำหนดไว้ที่ "พุทโธ" อย่างเดียวแล้ว ใจจะตั้งมั่นไม่วอกแวกไปมา เมื่อจิตอยู่นิ่งกับพุทโธอันเดียว สรรพกิเลสทั้งหลายก็ไม่มี แล้วจงใช้สติประคองจิตอันนั้นให้นิ่งอยู่กับพุทโธอันเดียวเสียก่อน อย่าให้ส่งส่ายไปมาทุกอริยาบถทั้งสี่ ทำให้ชำนิชำนาญคล่องแคล่ว จนเราจะให้อยู่ก็ได้ หรือเราจะให้คิดค้นพิจารณาในธรรมต่างๆ ก็ได้ หรือคิดค้นธรรมต่างๆ แล้วจะให้มานิ่งอยู่กับใจก็ได้ เมื่อเข้าใจถึงแล้วพุทโธไม่ต้องบริกรรมก็ได้
ตับ(liver)ของคุณจะกลับมาแข็งแรงเหมือนสมัยหนุ่มสาวอีกครั้งด้วยสูตรมหัศจรร...
อย่าปล่อยให้ตับ(Liver)อ่อนแอมากไปกว่านี้สูตรเครื่องดื่มช่วยล้างพิษDetoxต...
เมื่อปล่อยวางจิตจิตจะทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้ถึงโคตรภูญาณแล้วอริยมรรคก็จะเก...จนกระทั่งมันสุดสติสุดปัญญา ทำยังไงมันก็ดีกว่านี้ไปไม่ได้แล้ว ยอมรับสภาพมัน จิตหมดแรงดิ้น จิตหมดความปรุงแต่ง หมดแรงดิ้นรน พอจิตไม่มีความปรุงแต่ง ไม่มีความดิ้นรน อยู่ตรงนี้ช่วงหนึ่งนะ พอจิตหมดแรงดิ้นก็ไม่ปรุง อะไรเกิดขึ้นก็แค่รู้ อะไรเกิดขึ้นก็แค่รู้ ไม่ปรุงต่อ จิตก็เรียกว่าจิตเข้าถึงความเป็นอนุโลม อนุโลมญาณ หมายถึงว่าอะไรเกิดขึ้นก็คล้อยตามมันไป คล้อยตามนี่ไม่ใชหลงตามมันไป ก็แค่เห็นนะ เออ ก็มีขึ้นมา เออ หายไป ก็แค่นั้นเองนะ ไม่ต่อต้าน ไม่หลงตามไป ยอมรับ มันมาก็มา มันไปก็ไป นี่จิตมีอุเบกขาอย่างแท้จริงเลยนะ คล้อยตามทุกสิ่งทุกอย่าง ก็เห็นแต่ความจริง ทุกอย่างมาแล้วก็ไปมาแล้วก็ไป นี่จิตเห็นอยู่แค่นี้เอง นี่ถ้าจิต สติ สมาธิ ปัญญา ศีล สมาธิ ปัญญา บุญบารมีอะไรแก่รอบแล้วนะ จิตหยุดความปรุงแต่งแล้วมันจะรวมเข้าอัปปนาสมาธิ รวมเอง ทำไมมันรวมเข้าอัปปนาสมาธิได้เอง เพราะว่าจิตไม่ไหลไปตามกาม ฌานมันจะเกิดเอง โดยธรรมชาติของจิตนี่ต้องเวียนอยู่ในภพ ภพที่จิตเวียนอยู่ได้มี ๓ ภพเท่านั้น หนึ่ง กามาวจรภพ ภพที่เวียนไปในกาม คือหาอารมณ์เพลิดเพลินไปทางตา หู จมูก ลิ้น กาย เพลินไปเรื่อย พวกเราจิตหมุนอยู่ติ้วๆ ทางตาหูจมูกลิ้นกาย นึกออกไหม อันนี้แหละเรียกว่ากามภพ เรียกให้เต็มยศนะเรียก กามาวจรภูมิ ใจก็ไปเวียนอย่างนี้ ถ้าหลุดออกจากกามภพนะ ก็เข้าไป รูปภพ หรือว่า รูปภูมิ ก็คือเข้าไปสงบอยู่กับการรู้รูป เช่นรู้ลมหายใจ แล้วจิตไม่เอาแล้วโลกข้างนอก อารมณ์ทางตาหูจมูกลิ้นกาย ไม่เห็นจะมีสาระอะไร จิตมารวมลงที่อารมณ์ภายในอันเดียว อาจจะมารู้ลมหายใจอยู่อันเดียว รู้ร่างกายอยู่อันเดียว มาเพ่งรูปอยู่อันเดียว เพ่งดวงกสิณ ดวงนิมิตอยู่อันเดียว จิตเพ่งรูปอยู่เรียกว่ารูปภูมิ ถ้าจิตไม่อยู่ในกามภูมิ ไม่อยู่ในรูปภูมิ จิตก็ต้องเข้า อรูปภูมิ ทิ้งรูปไปแล้วไปอยู่กับนามธรรม เช่นไปอยู่กับความว่าง จิตอยู่ในความว่าง อยู่กับความไม่มีอะไรเลย เพราะงั้นที่เค้าสอนภาวนา บางคนสอนภาวนาให้ไปอยู่ในความว่าง อันนั้นเพี้ยนนะ ไม่ใช่ทางของพระพุทธเจ้า มันก็เป็นอรูปภูมิ เป็นภูมิอีกภูมิหนึ่ง เป็นภพอีกภพหนึ่งเท่านั้นเอง งั้นถ้าสติปัญญาเราพอนะ เรารู้เลยจิตมันแส่ส่ายออกทางตาหูจมูกลิ้นกายมีแต่ทุกข์ จิตไม่แส่ส่าย พอจิตไม่แส่ส่ายจิตก็หลุดออกจากกามภูมิ เข้ารูปภูมิหรืออรูปภูมิ เข้าเองเลย เพราะงั้นพวกเราหัดเจริญสติไปเรื่อย พอศีลสมาธิปัญญา สติสมาธิปัญญาแก่รอบนะ จิตจะหมดความหลงไหลรูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะทั้งหลายมาดึงดูดจิตไหลไปไม่ได้แล้ว อย่างน้อยก็ชั่วขณะ ชั่วขณะเท่านั้นแหละ ถ้าจิตมันตั้งมั่นรู้ไหลออกไปแล้วทุกข์ ก็ตั้งเด่นดวงอยู่ จิตก็เข้าฌานอัตโนมัติ เพราะงั้นถึงเราจะเจริญสติเจริญปัญญาโดยเข้าฌานไม่เป็น ถึงนาทีสุดท้ายที่จะเกิดอริยมรรคอริยผลในทุกขั้นตอน ตั้งแต่โสดาปัตติมรรคจนถึงอรหัตมรรคเนี่ย จิตจะเข้าฌานของเค้าเอง ยกเว้นคนซึ่งเดินปัญญาอยู่ในฌาน เวลาที่จะเกิดอริยมรรคไม่ต้องถอยออกมาอยู่ในโลกก่อนนะ ไม่ต้องกลับมาอยู่กามภูมิก่อนนะ จิตเค้าจะตัดอยู่ข้างในได้เลย นี่เป็นพวกหนึ่ง แต่รวมความก็คืออริยมรรคไม่เกิดอยู่ในจิตที่อยู่ในกามอย่างพวกเรา อริยมรรคจะต้องเกิดอยู่ในรูปภูมิหรืออรูปภูมินะ จะเกิดอยู่ตรงนั้น ไปล้างกันตรงนั้น จิตจะเข้าฌานอัตโนมัติ พอจิตเข้าฌานแล้วคราวนี้สติระลึกรู้อยู่ที่จิตนะ ไม่ได้เจตนาระลึก มันรู้เอง เพราะมันไม่แส่ส่ายออกไปที่ตาหูจมูกลิ้นกายใจ ไม่แส่ส่ายไปในความคิด ก็หยุดลงที่จิตดวงเดียว สติหยั่งลงที่จิต จิตตั้งมั่นอยู่ที่จิต เพราะงั้นสมาธินี่เต็มสมบูรณ์แล้ว ตั้งมั่นอยู่ที่จิต สติสมบูรณ์แล้ว ระลึกอยู่ที่จิต ปัญญาสมบูรณ์แล้ว เห็นความเป็นจริงทุกสิ่งที่อย่างที่เคลื่อนไหวอยู่ในจิตนะ ตรงนี้แหละจิตจะไหวตัวขึ้นมาสองสามขณะ คือปรุงขึ้นมานะแต่ไม่รู้ว่าคิดอะไร ไม่รู้ว่าปรุงอะไร มีความปรุงแต่งเกิดขึ้นแต่ไม่รู้ว่าปรุงอะไร จะเห็นแต่ว่าสิ่งบางสิ่งเกิดขึ้นแล้วสิ่งนั้นดับไป จะเห็นอย่างนี้เอง เห็นเอง ถัดจากนั้นนะจิตจะรู้เลยมันไม่มีสาระอะไร จิตมันจืดนะ มันไม่เอาอีกแล้ว ก็แค่เห็นความปรุงภายในจิตผุดขึ้น พอเห็นความปรุงภายในจิตผุดขึ้นสองสามขณะ ความเห็นกลางอย่างแท้จริงเลย รู้อย่างเป็นกลางอย่างแท้จริงไม่ปรุงต่อนะ จิตจะวาง พอมันวางแล้วมันจะทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้ วางจิตแล้วทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้ ธาตุรู้ก็จิตนั่นแหละ มันเป็นจิตอีกอย่างหนึ่ง พอจิตดวงเก่ามันดับไป จิตที่อยู่ในภพภูมิต่างๆมันดับไป มันทวนกระแสเข้าหาจิตที่เหนือภพเหนือภูมิ ทวนกระแสเข้ามา ขณะที่มันปล่อยวางจิตดวงเดิมนะ แล้วก็ทวนเข้ามาแต่ยังไม่ถึงธาตุรู้นะ คาบลูกคาบดอก ไม่ได้เกาะขันธ์แล้วนะ แต่ก็ยังเข้ามาไม่ถึงตัวธาตุรู้ ไม่ถึงอมตะธาตุอมตะธรรม ไม่ถึงพระนิพพาน ธาตุรู้ไม่ใช่พระนิพพานนะ แต่ธาตุรู้ไปเห็นพระนิพพาน ต้องแยกให้ออก มันยังทวนไม่ถึงธาตุรู้ ไม่ใช่ปุถุชน ไม่ใช่พระอริยะ ทำไมไม่ใช่ปุถุชน เพราะมันปล่อยขันธ์แล้ว ขันธ์สุดท้ายที่มันปล่อยก็คือจิต ไม่ใช่พระอริยะ เพราะยังไม่เข้ามาถึงธาตุรู้ ไม่เข้าถึงพระนิพพาน ตัวธาตุรู้นั่นแหละเป็นตัวไปเห็นพระนิพพาน ตรงนี้นะเรียกว่าโคตรภูญาณ ญาณข้ามโคตร มีปัญญาข้ามโคตร ข้ามโคตรจากโคตรไหนมาสู่โคตรไหน? จากโคตรของปุถุชนมาสู่โคตรของอริยชน เพราะงั้นบรรลุมรรคผลแล้วเปลี่ยนโคตรนะ ข้ามจากสกุลของปุถุชน ข้ามมาสู่อริยวงศ์อริยโคตร เรียกญาณข้ามโคตร ไม่ใช่ปุถุชนนะ กำลังข้ามอยู่ ไม่ใช่พระอริยะ มีอยู่ขณะจิตเดียวแหละที่คาบลูกคาบดอกประหลาดอยู่อย่างนี้
วันพุธที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2560
เมื่อปล่อยวางจิตจิตจะทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้ถึงโคตรภูญาณแล้วอริยมรรคก็จะเก...พวกเราเวลาคิดถึงการปฏิบัติในใจลึกๆมีไหมคำว่า "จะทำยังไง" คิดตลอดนะ คิดทุกคนแหละ จะทำยังไง จะทำยังไง ห้ามมันไม่ได้หรอก มันจะคิด เพราะมันอยากทำ มันคิดว่าทำแล้วถึงจะได้ ปลอบใจตัวเองอีกนะ ความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จอยู่ที่นั่น พยายามอยู่อย่างนั้น พยายามจนสุดสติสุดปัญญาถึงตรงนั้นนะถึงจะได้ของจริง แต่อาศัยที่เคยพยายามปฏิบัตินะ มันเป็นการพัฒนาสติให้เร็วขึ้น สมาธิให้ตั้งมั่นมากขึ้น ปัญญาก็มีสะสมไปนะ เห็นรูปธรรมนามธรรมเค้าทำงานได้เอง ตรงที่เราจงใจปฏิบัติ จงใจอยากทำ นั่นแหละมันค่อยๆฝึกฝนสติสมาธิปัญญาให้เข้มแข็งมากขึ้นๆนะ ถึงจุดหนึ่งสติปัญญา สติ สมาธิ ปัญญา มันแก่กล้าขึ้นมา จนมันอัตโนมัติ ร่างการพลิกนะ พลิกตัวเนี่ย รู้สึกเองเลยไม่ต้องเจตนารู้สึก ความสุขความทุกข์ กุศลอกุศล อะไรเกิดขึ้นที่จิตนะรู้เองเลยโดยไม่เจตนาจะรู้ มันสารพัดจะเกิดมันจะรู้ได้เอง นี่สติมันอัตโนมัติขึ้นมาแล้ว ไม่ได้จงใจ แต่ก่อนที่จะอัตโนมัติก็ต้องจงใจมาก่อน การที่เราคิดอยู่นะ ทำยังไงจะดี ทำยังไงจะดี แล้วพยายามทำ มันได้พัฒนาสติสมาธิปัญญาขึ้นมา ทำไปเรื่อยๆถึงวันหนึ่งพบว่า เอ..ทำไงมันก็ดีไม่ถาวร สุขก็ไม่ถาวร สงบก็ไม่ถาวร ตัวผู้รู้ก็ไม่ถาวร ตัวผู้รู้เกิดได้กลายเป็นตัวผู้คิดได้ หรือกลายเป็นตัวผู้เพ่งได้ มีแต่ของไม่ถาวร ก็พย๊ามพยามนะ อยากจะให้ดีถาวร สุขถาวร สงบถาวร ถามใจของพวกเราดูซิ เราปฏิบัติเราอยากได้ตรงนี้ใช่ไหม อยากได้มรรคผลนิพพานนะจริงๆเพราะอะไร? มรรคผลนิพพานมันน่าจะดีถาวร มันน่าจะสุขถาวร มันน่าจะสงบถาวร เราอยากได้สิ่งเหล่านี้ ถ้ามีสติปัญญามาก ก็อยากได้มรรคผลนิพพานเพื่อจะดีถาวร สุขถาวร สงบถาวร ถ้าโง่กว่านั้นนะ ก็ไปทำสมาธิ ทำอะไรขึ้นมา ก็ดีเหมือนกัน ดีช่วงที่มีสมาธิอยู่ สงบช่วงที่มีสมาธิอยู่ สุขช่วงที่มีสมาธิอยู่ พอมันเสื่อมแล้วก็หายไปอีก ต้องมาทำอีก นี้ก็แล้วแต่สติ แล้วแต่ปัญญา บางคนอยากได้มรรคผลนิพพานเพราะว่ามันดี มันสุข มันสงบนั่นแหละ ตะเกียกตะกายนะหาสิ่งเหล่านี้ไปเรื่อย คิดว่าถ้าเราฝึกได้ดีเต็มที่แล้ววันหนึ่งจิตเราจะดีถาวร สุขถาวร สงบถาวร เพราะคิดว่าจิตเป็นเรานั่นแหละ คิดจะทำให้มันดีให้ได้ คิดจะทำให้มันสุขให้ได้ คิดจะทำให้มันสงบให้ได้ ดีชั่วคราว สุขชั่วคราว สงบชั่วคราว ก็ไม่พอใจ จะเอาถาวร สุดท้าย พากเพียรแทบล้มแทบตายก็พบว่าดีก็ชั่วคราว สุขก็ชั่วคราว สงบก็ชั่วคราว จิตผู้รู้ก็ชั่วคราว อะไรๆก็ชั่วคราวหมดเลย ไม่เห็นมีตรงไหนเลยที่มันจะถาวรได้ จิตยอมรับความจริงตรงนี้ได้ จิตก็หมดแรงดิ้นนะ จะดิ้นไปทำไมล่ะ ดิ้นหาดี หาสุข หาสงบ ดิ้นยังไงก็ไม่มี มีก็มีชั่วคราวเดี๋ยวก็หายไปอีก นี่จิตจะหยุดแรงดิ้น หมดแรงดิ้น จิตที่แรงดิ้นเพราะว่าดิ้นมาสุดขีดแล้วนะ สติก็สุดขีดแล้ว สมาธิก็สุดขีดแล้ว ปัญญาก็สุดขีดแล้ว สติสุดขีดก็คือ ไม่เจตนาจะรู้ ก็รู้..รู้..รู้ทั้งวันเลย รู้ทั้งคืนด้วย สมาธิก็จิตตั้งมั่นเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน รู้อยู่อย่างนี้ ไม่เป็นผู้หลงนะ อย่างมากก็หลงแว๊บๆ ก็กลับมาเป็นผู้รู้อย่างรวดเร็ว จะทำสมาธิให้มากกว่านี้ก็ไม่รู้จะทำยังไง จะทำสติให้มากกว่านี้ก็ไม่รู้จะทำยังไง จะเจริญปัญญาให้มากกว่านี้ก็ไม่รู้จะทำยังไงนะ มันจนมุมไปหมดเลย คือ สติก็ทำมาจนไม่รู้จะทำยังไงแล้ว สมาธิก็ทำจนไม่รู้จะทำยังไง ปัญญาก็ไม่รู้จะพลิกแพลงไปพิจารณาอะไรอีกต่อไปแล้ว เนี่ยจิตถ้าภาวนามาสุดขีดนะมันจะเข้ามาสู่ภาวะแห่งความจนมุม มันจะหยุดแรงดิ้น มันจะหมดความอยากว่าทำยังไงจะพ้นทุกข์ได้ ทำยังไงจะสุขถาวร ทำยังไงจะดีถาวร ทำยังไงจะสงบถาวร เพราะมันดิ้นมาจนสุดฤทธิ์สุดเดชแล้ว ก็ไม่รู้จะทำยังไง ทำไม่ได้สักที พอจิตหมดแรงดิ้นนะ จิตก็สักว่ารู้ว่าเห็น ตรงนี้แหละสักว่ารู้ว่าเห็นขึ้นมา อย่างที่พวกเราพูดว่าสักว่ารู้ว่าเห็น ไม่จริงหรอก ไม่ยอมสักว่ารู้ว่าเห็นหรอก มีแต่ว่าทำยังไงจะดีกว่านี้อีก ทำยังไงดี ทำยังไงจะดี ทำยังไงจะถูก รู้สึกไหมแต่ละวัน นักปฏิบัติตื่นนอนก็คิดวันนี้จะทำยังไงดี คิดอย่างนี้แหละนะ จนกระทั่งมันสุดสติสุดปัญญา ทำยังไงมันก็ดีกว่านี้ไปไม่ได้แล้ว ยอมรับสภาพมัน จิตหมดแรงดิ้น จิตหมดความปรุงแต่ง หมดแรงดิ้นรน พอจิตไม่มีความปรุงแต่ง ไม่มีความดิ้นรน อยู่ตรงนี้ช่วงหนึ่งนะ พอจิตหมดแรงดิ้นก็ไม่ปรุง อะไรเกิดขึ้นก็แค่รู้ อะไรเกิดขึ้นก็แค่รู้ ไม่ปรุงต่อ จิตก็เรียกว่าจิตเข้าถึงความเป็นอนุโลม อนุโลมญาณ หมายถึงว่าอะไรเกิดขึ้นก็คล้อยตามมันไป คล้อยตามนี่ไม่ใชหลงตามมันไป ก็แค่เห็นนะ เออ ก็มีขึ้นมา เออ หายไป ก็แค่นั้นเองนะ ไม่ต่อต้าน ไม่หลงตามไป ยอมรับ มันมาก็มา มันไปก็ไป นี่จิตมีอุเบกขาอย่างแท้จริงเลยนะ คล้อยตามทุกสิ่งทุกอย่าง ก็เห็นแต่ความจริง ทุกอย่างมาแล้วก็ไปมาแล้วก็ไป นี่จิตเห็นอยู่แค่นี้เอง นี่ถ้าจิต สติ สมาธิ ปัญญา ศีล สมาธิ ปัญญา บุญบารมีอะไรแก่รอบแล้วนะ จิตหยุดความปรุงแต่งแล้วมันจะรวมเข้าอัปปนาสมาธิ รวมเอง ทำไมมันรวมเข้าอัปปนาสมาธิได้เอง เพราะว่าจิตไม่ไหลไปตามกาม ฌานมันจะเกิดเอง โดยธรรมชาติของจิตนี่ต้องเวียนอยู่ในภพ ภพที่จิตเวียนอยู่ได้มี ๓ ภพเท่านั้น หนึ่ง กามาวจรภพ ภพที่เวียนไปในกาม คือหาอารมณ์เพลิดเพลินไปทางตา หู จมูก ลิ้น กาย เพลินไปเรื่อย พวกเราจิตหมุนอยู่ติ้วๆ ทางตาหูจมูกลิ้นกาย นึกออกไหม อันนี้แหละเรียกว่ากามภพ เรียกให้เต็มยศนะเรียก กามาวจรภูมิ ใจก็ไปเวียนอย่างนี้ ถ้าหลุดออกจากกามภพนะ ก็เข้าไป รูปภพ หรือว่า รูปภูมิ ก็คือเข้าไปสงบอยู่กับการรู้รูป เช่นรู้ลมหายใจ แล้วจิตไม่เอาแล้วโลกข้างนอก อารมณ์ทางตาหูจมูกลิ้นกาย ไม่เห็นจะมีสาระอะไร จิตมารวมลงที่อารมณ์ภายในอันเดียว อาจจะมารู้ลมหายใจอยู่อันเดียว รู้ร่างกายอยู่อันเดียว มาเพ่งรูปอยู่อันเดียว เพ่งดวงกสิณ ดวงนิมิตอยู่อันเดียว จิตเพ่งรูปอยู่เรียกว่ารูปภูมิ ถ้าจิตไม่อยู่ในกามภูมิ ไม่อยู่ในรูปภูมิ จิตก็ต้องเข้า อรูปภูมิ ทิ้งรูปไปแล้วไปอยู่กับนามธรรม เช่นไปอยู่กับความว่าง จิตอยู่ในความว่าง อยู่กับความไม่มีอะไรเลย เพราะงั้นที่เค้าสอนภาวนา บางคนสอนภาวนาให้ไปอยู่ในความว่าง อันนั้นเพี้ยนนะ ไม่ใช่ทางของพระพุทธเจ้า มันก็เป็นอรูปภูมิ เป็นภูมิอีกภูมิหนึ่ง เป็นภพอีกภพหนึ่งเท่านั้นเอง งั้นถ้าสติปัญญาเราพอนะ เรารู้เลยจิตมันแส่ส่ายออกทางตาหูจมูกลิ้นกายมีแต่ทุกข์ จิตไม่แส่ส่าย พอจิตไม่แส่ส่ายจิตก็หลุดออกจากกามภูมิ เข้ารูปภูมิหรืออรูปภูมิ เข้าเองเลย เพราะงั้นพวกเราหัดเจริญสติไปเรื่อย พอศีลสมาธิปัญญา สติสมาธิปัญญาแก่รอบนะ จิตจะหมดความหลงไหลรูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะทั้งหลายมาดึงดูดจิตไหลไปไม่ได้แล้ว อย่างน้อยก็ชั่วขณะ ชั่วขณะเท่านั้นแหละ ถ้าจิตมันตั้งมั่นรู้ไหลออกไปแล้วทุกข์ ก็ตั้งเด่นดวงอยู่ จิตก็เข้าฌานอัตโนมัติ เพราะงั้นถึงเราจะเจริญสติเจริญปัญญาโดยเข้าฌานไม่เป็น ถึงนาทีสุดท้ายที่จะเกิดอริยมรรคอริยผลในทุกขั้นตอน ตั้งแต่โสดาปัตติมรรคจนถึงอรหัตมรรคเนี่ย จิตจะเข้าฌานของเค้าเอง ยกเว้นคนซึ่งเดินปัญญาอยู่ในฌาน เวลาที่จะเกิดอริยมรรคไม่ต้องถอยออกมาอยู่ในโลกก่อนนะ ไม่ต้องกลับมาอยู่กามภูมิก่อนนะ จิตเค้าจะตัดอยู่ข้างในได้เลย นี่เป็นพวกหนึ่ง แต่รวมความก็คืออริยมรรคไม่เกิดอยู่ในจิตที่อยู่ในกามอย่างพวกเรา อริยมรรคจะต้องเกิดอยู่ในรูปภูมิหรืออรูปภูมินะ จะเกิดอยู่ตรงนั้น ไปล้างกันตรงนั้น จิตจะเข้าฌานอัตโนมัติ พอจิตเข้าฌานแล้วคราวนี้สติระลึกรู้อยู่ที่จิตนะ ไม่ได้เจตนาระลึก มันรู้เอง เพราะมันไม่แส่ส่ายออกไปที่ตาหูจมูกลิ้นกายใจ ไม่แส่ส่ายไปในความคิด ก็หยุดลงที่จิตดวงเดียว สติหยั่งลงที่จิต จิตตั้งมั่นอยู่ที่จิต เพราะงั้นสมาธินี่เต็มสมบูรณ์แล้ว ตั้งมั่นอยู่ที่จิต สติสมบูรณ์แล้ว ระลึกอยู่ที่จิต ปัญญาสมบูรณ์แล้ว เห็นความเป็นจริงทุกสิ่งที่อย่างที่เคลื่อนไหวอยู่ในจิตนะ ตรงนี้แหละจิตจะไหวตัวขึ้นมาสองสามขณะ คือปรุงขึ้นมานะแต่ไม่รู้ว่าคิดอะไร ไม่รู้ว่าปรุงอะไร มีความปรุงแต่งเกิดขึ้นแต่ไม่รู้ว่าปรุงอะไร จะเห็นแต่ว่าสิ่งบางสิ่งเกิดขึ้นแล้วสิ่งนั้นดับไป จะเห็นอย่างนี้เอง เห็นเอง ถัดจากนั้นนะจิตจะรู้เลยมันไม่มีสาระอะไร จิตมันจืดนะ มันไม่เอาอีกแล้ว ก็แค่เห็นความปรุงภายในจิตผุดขึ้น พอเห็นความปรุงภายในจิตผุดขึ้นสองสามขณะ ความเห็นกลางอย่างแท้จริงเลย รู้อย่างเป็นกลางอย่างแท้จริงไม่ปรุงต่อนะ จิตจะวาง พอมันวางแล้วมันจะทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้ วางจิตแล้วทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้ ธาตุรู้ก็จิตนั่นแหละ มันเป็นจิตอีกอย่างหนึ่ง พอจิตดวงเก่ามันดับไป จิตที่อยู่ในภพภูมิต่างๆมันดับไป มันทวนกระแสเข้าหาจิตที่เหนือภพเหนือภูมิ ทวนกระแสเข้ามา ขณะที่มันปล่อยวางจิตดวงเดิมนะ แล้วก็ทวนเข้ามาแต่ยังไม่ถึงธาตุรู้นะ คาบลูกคาบดอก ไม่ได้เกาะขันธ์แล้วนะ แต่ก็ยังเข้ามาไม่ถึงตัวธาตุรู้ ไม่ถึงอมตะธาตุอมตะธรรม ไม่ถึงพระนิพพาน ธาตุรู้ไม่ใช่พระนิพพานนะ แต่ธาตุรู้ไปเห็นพระนิพพาน ต้องแยกให้ออก มันยังทวนไม่ถึงธาตุรู้ ไม่ใช่ปุถุชน ไม่ใช่พระอริยะ ทำไมไม่ใช่ปุถุชน เพราะมันปล่อยขันธ์แล้ว ขันธ์สุดท้ายที่มันปล่อยก็คือจิต ไม่ใช่พระอริยะ เพราะยังไม่เข้ามาถึงธาตุรู้ ไม่เข้าถึงพระนิพพาน ตัวธาตุรู้นั่นแหละเป็นตัวไปเห็นพระนิพพาน ตรงนี้นะเรียกว่าโคตรภูญาณ ญาณข้ามโคตร มีปัญญาข้ามโคตร ข้ามโคตรจากโคตรไหนมาสู่โคตรไหน? จากโคตรของปุถุชนมาสู่โคตรของอริยชน เพราะงั้นบรรลุมรรคผลแล้วเปลี่ยนโคตรนะ ข้ามจากสกุลของปุถุชน ข้ามมาสู่อริยวงศ์อริยโคตร เรียกญาณข้ามโคตร ไม่ใช่ปุถุชนนะ กำลังข้ามอยู่ ไม่ใช่พระอริยะ มีอยู่ขณะจิตเดียวแหละที่คาบลูกคาบดอกประหลาดอยู่อย่างนี้ ข้ามมา ทวนเข้ามาถึงจิตแท้ ถึงธาตุรู้แท้ๆ ธรรมธาตุ ตัวนี้อริยมรรคก็จะเกิดขึ้น อาสวกิเลสที่ห่อหุ้มจิตอยู่ถูกอริยมรรคแหวกออกทำลายออก ก็ล้างกิเลส ล้างในพริบตาเดียว ในขณะเดียว วับเดียวเลย ขาดเลย มันคล้ายๆเปิดสวิตซ์ไฟ ปั๊บ สว่างวุ๊บเดียวความมืดหายไปเลย ในพริบตานั้นเลย จากนั้นนะจะเห็นพระนิพพานอีกสองสามขณะ เห็นไม่เท่ากันหรอก บางคนเห็นสองขณะ บางคนเห็นสามขณะ ถ้าพวกอินทรีย์กล้ามากๆก็เห็นสามขณะ พวกอินทรีย์ยังไม่กล้ามากก็เห็นสองขณะนะ งั้นพระอริยะในภูมิธรรมอันเดียวกันระดับเดียวกัน ความรู้ความเข้าใจไม่เท่ากัน ความแตกฉานอะไรนี้ไม่เท่ากัน เห็นพระนิพพานแล้วก็รู้ว่านิพพานอยู่ต่อหน้าต่อตา นิพพานไม่เคยหายไปไหน อยู่ต่อหน้าต่อตานี่แหละ แต่โง่เองไม่เห็น ทำไมไม่เห็น? มัวแต่เห็นแต่กาม มัวแต่เห็นรูปภพ มัวแต่เห็นอรูปภพ จิตไม่รู้จักปล่อย ตรงที่เค้าปล่อยน่ะเค้าข้าม เค้าทิ้งแล้ว ตรงโคตรภูญาณที่จิตข้ามโคตร ข้ามจากปุถุชนมาเป็นพระอริยะ ข้ามตรงนี้มันทิ้งหมดเลยนะ มันทิ้งกามภูมิ รูปภูมิ อรูปภูมิ ทิ้งหมดเลย ข้ามมาสู่อริยภูมิ โลกุตรภูมิ ข้ามเอง พวกเราก็มีหน้าที่ภาวนาให้มันพอเท่านั้นแหละนะ ถ้ามันพอเมื่อไหร่มันก็ข้ามโคตรไป เปลี่ยนสกุลไม่ใช่นามสกุลเดิม โดยสมมุติบัญญัติก็เป็นนามสกุลเดิม โดยปรมัตถ์แท้ๆก็ไม่ใช่แล้ว ก็มาเป็นลูกพระพุทธเจ้า ..งั้นเราภาวนานะ ค่อยหัดไปเรื่อย ถึงวันหนึ่งเราก็คงได้รับผลประโยชน์จากการที่เราอดทนภาวนากันนะ
พระอานนท์พระพุทธอนุชาลำดับที่11 พระอานนท์บรรลุพระอรหันต์ท่ามกลางความสับสนอลหม่านใจจิตใจของผู้ คนอันเกิดจากเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของสังคม และศีลธรรมที่เสื่อมสลาย ทุกคนแสวงหาทางออกซึ่งยากที่จะประสบ แต่ทางออกเพื่อหนีจากความสับสน วุ่น..วาย...เหล่านี้ได้ปรากฏแล้วใน "พระอานนท์พุทธอนุชา" ซึ่งเป็นผลงานของวศิน อินทสระ ผู้ได้รับการยอมรับว่าเป็นนักปราชญ์ทางพุทธศาสนาท่านหนึ่ง ในผลงานดังกล่าวท่านได้หยิบยกเอาแง่มุมต่างๆ ของพระพุทธศาสนาที่สามารถประยุกต์ใช้ได้ในชีวิตปัจจุบันมากล่าวอธิบายไว้ด้ว ยภาษาที่สละสลวย และง่ายแก่การเข้าใจของคนทั่วๆ ไปhttp://www.youtube.com/watch?v=ZKxeHX...
พระอานนท์พระพุทธอนุชาลำดับที่11 พระอานนท์บรรลุพระอรหันต์The spiritual confusion arising from rapid social change and disintegrating morality finds expression in the work of Buddhist scholars, such as Wasin Inthasara's (b.1934) Phra-A-non Phutthaanucha (1965; Phra-A-non, the brother of the Lord Buddha), in which he discusses aspects of Buddhism applicable to modern life, in a language that can be grasped by laymen (p. 430) ("ท่ามกลางความสับสนอลหม่านใจจิตใจของผู้คนอันเกิดจากเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของสังคม และศีลธรรมที่เสื่อมสลาย ทุกคนแสวงหาทางออก ซึ่งยากที่จะประสบ แต่ทางออกเพื่อหนีจากความสับสนวนุ่ วายเหล่าน้ีไดป้รากฏแลว้ใน "พระอานนท์พุทธอนุชา" ซึ่งเป็นผลงานของวศิน อินทสระผู้ ได้รับการยอมรับว่าเป็นนักปราชญ์ทางพุทธศาสนาท่านหนึ่ง ในผลงานดังกล่าวท่านได้หยิบยกเอาแง่มุมต่างๆ ของพระพุทธศาสนาที่สามารถ ประยุกต์ใช้ได้ในชีวิตปัจจุบันมากล่าวอธิบายไว้ด้ว ยภาษาที่สละสลวยและง่ายแก่การเขา้ใจของคนทวั่ ๆ ไป") เรื่องท้งัปวงที่บอกเล่ามาน้ีมิใช่เพื่ออวดตน เพราะไม่จาํเป็นตอ้งอวดแต่เขียนบอกเล่าเพื่อช้ีให้เห็นจุดสาํคญั จุดหน่ึงในวงการศ
พระอานนท์พระพุทธอนุชาลำดับที่11 พระอานนท์บรรลุพระอรหันต์ท่ามกลางความสับสนอลหม่านใจจิตใจของผู้ คนอันเกิดจากเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของสังคม และศีลธรรมที่เสื่อมสลาย ทุกคนแสวงหาทางออกซึ่งยากที่จะประสบ แต่ทางออกเพื่อหนีจากความสับสน วุ่น..วาย...เหล่านี้ได้ปรากฏแล้วใน "พระอานนท์พุทธอนุชา" ซึ่งเป็นผลงานของวศิน อินทสระ ผู้ได้รับการยอมรับว่าเป็นนักปราชญ์ทางพุทธศาสนาท่านหนึ่ง ในผลงานดังกล่าวท่านได้หยิบยกเอาแง่มุมต่างๆ ของพระพุทธศาสนาที่สามารถประยุกต์ใช้ได้ในชีวิตปัจจุบันมากล่าวอธิบายไว้ด้ว ยภาษาที่สละสลวย และง่ายแก่การเข้าใจของคนทั่วๆ ไปhttp://www.youtube.com/watch?v=ZKxeHX...
พระอานนท์พระพุทธอนุชาลำดับที่11 พระอานนท์บรรลุพระอรหันต์ท่ามกลางความสับสนอลหม่านใจจิตใจของผู้ คนอันเกิดจากเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของสังคม และศีลธรรมที่เสื่อมสลาย ทุกคนแสวงหาทางออกซึ่งยากที่จะประสบ แต่ทางออกเพื่อหนีจากความสับสน วุ่น..วาย...เหล่านี้ได้ปรากฏแล้วใน "พระอานนท์พุทธอนุชา" ซึ่งเป็นผลงานของวศิน อินทสระ ผู้ได้รับการยอมรับว่าเป็นนักปราชญ์ทางพุทธศาสนาท่านหนึ่ง ในผลงานดังกล่าวท่านได้หยิบยกเอาแง่มุมต่างๆ ของพระพุทธศาสนาที่สามารถประยุกต์ใช้ได้ในชีวิตปัจจุบันมากล่าวอธิบายไว้ด้ว ยภาษาที่สละสลวย และง่ายแก่การเข้าใจของคนทั่วๆ ไปhttp://www.youtube.com/watch?v=ZKxeHX...
จิตไม่ใช่เรา เราไม่ใช่จิต เราไม่มีในจิต จิตไม่มีในเรา กายนี้ใจนี้ไม่ใช่เ...เอโกทิภาวะ หรือภาวะแห่งความเป็นหนึ่ง ในอรรถกถาบอกว่า คือสัมมาสมาธินั่นเอง เอโกทิภาวะก็คือ สภาวะที่ใจนี้ตั้งมั่น เด่นดวง ขึ้นมา แล้วมันเห็นอารมณ์ทุกสิ่งทุกอย่าง เป็นของถูกรู้ถูกดู ใจมันเป็นแค่ผู้รู้ผู้ดู เนี่ยถ้าใจเราเข้าไปถึงฌานที่ ๒ ทุติยฌาน เราจะได้ เอโกทิภาวะ ขึ้นมา และถ้าถึง ๓ ๔ ๕ ๖ ๗ ถึงฌานที่ ๘ อะไรเหล่านี้ เอโกทิภาวะก็ยังอยู่ ใจจะตั้งมั่นเด่นอยู่อย่างนั้นพอออกจากฌานแล้ว เอโกทิภาวะ นี้ยังทรงตัวอยู่อีกช่วงหนึ่ง อีกหลายชั่วโมง หรืออีกเป็นวันๆได้ ทรงตัว ถ้าฌานนั้นเกิดจากการเดินจงกรม เราเดินจงกรมอยู่แล้วจิตรวมลงไปถึงฌานที่ ๒ เนี่ย ถอยออกมาแล้วนะ เอเอโกทิภาวะทรงตัวอยู่ได้นาน เพราะฉะนั้นถ้าเราทำสมาธิด้วยการเดิน ได้เนี่ย กำลังของความรู้สึกตัวนี้จะทรงอยู่นานมาก จะนานกว่านั่ง เพราะฉะนั้นสมาธิที่เกิดจากการเดินจงกรมจะเข้มแข็ง ทีนี้พอเรามีตัวผู้รู้ขึ้นมา พระป่าท่านจะเรียกว่าตัวผู้รู้นะ ทันทีที่จิตทรงมีตัวผู้รู้ขึ้นมาแล้วเนี่ย เราจะเห็นทันที ว่าร่างกายที่ยืน เดิน นั่ง นอน เนี่ย ไม่ใช่ตัวเรา เห็นมั้ย พอใจทรงตัวขึ้นมา มีสัมมาสมาธิขึ้นมา ปัญญาจะเกิดขึ้นมาทันทีเลย จะเห็นทันทีเลยว่า กายที่ยืนเดินนั่งนอนอยู่นี้ไม่ใช่ตัวเรา กายที่หายใจเข้าหายใจออกนี้ไม่ใช่ตัวเรา กายที่พองที่ยุบนี้ไม่ใช่ตัวเรา จะเห็นทันที ไม่ต้องคิดนะ แต่จะเห็นทันที จะรู้สึกทันที ถ้าเราฝึกเต็มภูมินะ เราจะเดินมาอย่างนี้ เพราะฉะนั้นกายานุปัสสนานะ หรือเวทนานุปัสสนาก็ตามเนี่ย ในอภิธรรมท่านถึงสอบบอกว่า เหมาะกับคนเล่นฌาน กายานุปัสสนา เวทนานุปัสสนา จะทำได้ดีถ้าเราทำฌาน และฌานนั้นถ้าจะดีจริงๆต้องถึงฌานที่ ๒ แล้ว จะมีเอโกทิภาวะขึ้นมา แล้วจะเห็นทันทีว่ากายนี้ไม่ใช่เรา เวทนาไม่ใช่เรา จะเห็นอย่างนั้น ตัวนี้เองที่ว่าเราจะต้องฝึกจิตของเรา จะต้องฝึกจนมันตั้งมั่น มีเอโกทิภาวะอยู่ มีความตั้งมั่น ฉะนั้นพอมันวางอารมณ์รูปนามนี้ปุ๊บ มันจะหนีไปหาอารมณ์บัญญัติแทน ฉะนั้นใจเราต้องฝึกจนมีเอโกทิภาวะ พอมันรู้จนไม่รู้จะรู้อะไร มันจะทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้อัตโนมัติ เพราะถ้าเจือด้วยความจงใจแม้แต่นิดเดียว มรรคผลจะเกิดไม่ได้ ตรงที่มันดับกระแสของโลกิยะลงไป อนุโลมญาณดับกระแสของโลกิยะลงไปแล้ว มันจะทวนเข้าหาธาตุรู้เอง ไม่จับโลกียะ แต่ยังไม่เข้าถึงโลกุตตระเป็นโคตรภูญาณ มีจิตทำหน้าที่ตรงนี้อยู่ดวงหนึ่ง พอทวนเข้าถึงอริยมรรค ตัวมรรคนี้เป็นชาติกุศล แต่ตัวผลเป็นชาติวิบาก พอมันทวนกระแสเข้าถึงธาตุรู้ อริยมรรคจะแหวกสิ่งที่ห่อหุ้มจิตอยู่ จะแหวกแวบออกไป ขาดวาบออกไปอย่างเนียนๆ จิตที่ไม่มีอะไรห่อหุ้มจะเป็นอิสระขึ้นมาชั่วคราว สองสามขณะ ความไม่มีอะไร มีแต่ความสุขล้วนๆ แต่พอเห็นครั้งหนึ่งสองครั้งสามครั้งยังจำไม่ได้ จำไม่แม่น เห็นสี่ครั้งแล้วมันจะมีปัจจเวกฯทวนไปถึงนิพพาน ตอนครั้งที่หนึ่งสองสามนี่ปัจจเวกฯมันไม่ไปดูนิพพาน มันจะไปดูกิเลส กิเลสอะไรละแล้ว กิเลสอะไรยังเหลือ มันยังมีงานต้องทำ ครั้งสุดท้ายไม่มีงานทำ มันจะไปดูนิพพาน ตอนที่จิตแท้ๆซึ่งหลุดพ้นออกมาจากอาสวะปรากฏขึ้นมาแบบไร้ร่องรอยให้รู้ เป็นความว่างที่แท้จริง ถัดจากนั้นแสงสว่างจะปรากฏขึ้น ถัดจากแสงสว่างที่เกิดขึ้น จิตซึ่งเป็นอิสระแล้วเขาจะแสดงความมีอยู่ของเขาโดยการแสดงความเบิกบานออกมา บางคนเห็นสองขณะว่างแล้วก็สว่างขึ้นมา บางคนเห็นสามขณะ แสดงความเบิกบานขึ้นมาได้ด้วย ถัดจากนั้นจิตจะถอยออกมาสู่โลกภายนอก แล้วมันจะทวนกระแสกลับเข้าไปพิจารณา ตรงขณะที่สองหรือขณะที่สามที่ผ่านไปแล้ว อาสวกิเลสจะเข้ามาปกปิดจิตอย่างเดิมอีก สำหรับผู้ที่ผ่านมรรคครั้งที่หนึ่งสองสาม อาสวะที่แหวกออกไปจะกลับเข้ามาห่อหุ้มปกคลุมจิต อย่างฉับพลัน เวลาเข้ามาปิดก็ปิดเนียนๆ จนครั้งที่สี่จิตจึงหลุดจากอาสวะ ไม่ใช่จิตไปทำลายอาสวะ แต่หลุดเพราะไม่ยึดแล้ว เพราะไม่ยึดถือในขันธ์ห้า ในจิตอีกแล้ว ตรงนี้แหละ จิตจะไหวตัวขึ้นมา สองสามขณะ คือปรุงขึ้นมานะ แต่ไม่รู้ว่าคิดอะไร ไม่รู้ว่าปรุงอะไร มีความปรุงแต่งเกิดขึ้นแต่ไม่รู้ว่าปรุงอะไร จะเห็นว่าสิ่งบางสิ่งเกิดขึ้น แล้วสิ่งนั้นดับไป จะเห็นอย่างนี้เอง ถัดจากนั้นจิตจะรู้เลย มันไม่มีสาระนะ จิตมันจืดนะ มันไม่เอาอีกแล้ว ก็แค่เห็นความปรุงภายในจิตเกิดขึ้น พอเห็นความปรุงภายในจิตผุดขึ้น 2 – 3 ขณะ นะ ความเป็นกลางอย่างแท้จริงเลย รู้อย่างเป็นกลางอย่างแท้จริง ไม่ปรุงต่อนะ จิตจะวาง พอมันวางแล้วมันจะทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้ วางจิตแล้ว ทวนจิตที่อยู่ในภพภูมิต่างๆดับไป จะทวนกระแสเข้าหาจิตที่อยู่เหนือภพเหนือภูมิ ทวนกระแสเข้ามาทวนเข้ามาแต่ยังไม่ถึงธาตุรู้ ธาตุรู้ไม่ใช่พระนิพพานนะ แต่ธาตุรู้ไปเห็นพระนิพพาน นี้ต้องแยกให้ออก มันยังทวนเข้ามาไม่ถึงธาตุรู้ ไม่ใช่ปุถุชน ไม่ใช่พระอริยะ ทำไมไม่ใช่ปุถุชน เพราะมันปล่อยขันธ์แล้ว ขันธ์สุดท้ายที่มันปล่อยก็คือจิตนะ ไม่ใช่พระอริยะเพราะยังไม่เข้ามาถึงธาตุรู้ ไม่เข้าถึงพระนิพพาน ตัวธาตุรู้นั้นแหละเป็นตัวไปเห็นพระนิพพาน ตรงนี้เรียกว่า โคตรภูญาณ ญาณข้ามโคตร มีปัญญาข้ามโคตร
วันอังคารที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2560
จิตไม่ใช่เรา เราไม่ใช่จิต เราไม่มีในจิต จิตไม่มีในเรา กายนี้ใจนี้ไม่ใช่เ...ข้ามเข้ามา ทวนเข้ามาถึงจิตแท้ ถึงวิญญาณธาตุ ธาตุรู้แท้ๆแล้ว ธรรมธาตุ ตัวนี้ แล้วอริยมรรคก็จะเกิดขึ้น อาสวกิเลสที่ห่อหุ้มจิตอยู่นี้ ถูกอริยมรรคแหวกออก แหวกออกทำลายออก ก็ล้างกิเลส ล้างในพริบตาเดียว ในขณะเดียว วับเดียว ขาดเลย มันคล้ายๆ เปิดสวิตช์ไฟปั๊บ สว่างวูบเดียว ความมืดหายไปเลยนะ ในพริบตานั้นเลย จิตถัดจากนั้นนะ จะเห็นพระนิพพานอีก ๒ – ๓ ขณะ เห็นไม่เท่ากันหรอก บางคนเห็น ๒ ขณะ บางคนเห็น ๓ ขณะ ถ้าพวกอินทรีย์กล้ามากๆก็เห็น ๓ ขณะ พวกอินทรีย์ไม่กล้ามาก ก็เห็น ๒ ขณะ เพราะฉะน้นพระอริยะในภูมิเดียวกันนะ ระดับเดียวกัน ความรู้ความเข้าใจไม่เท่ากัน ความแตกฉานอะไรอย่างนี้ไม่เท่ากัน เห็นพระนิพพาน ก็รู้ว่าพระนิพพานอยู่ต่อหน้าต่อตา นิพพานไม่เคยหายไปไหน อยู่ต่อหน้าต่อตานี้แหละ แต่โง่เอง ไม่เห็น ทำไมไม่เห็น มัวแต่เห็นแต่กาม มัวแต่เห็นรูปภพ มัวแต่เห็นอรูปภพ จิตไม่รู้จักปล่อย ตรงที่เขาปล่อย เขาข้ามแล้ว เขาทิ้งแล้ว ตรงโคตรภูญาณที่จิตข้ามโคตรน่ะ ข้ามจากปุถุชน มาเป็นพระอริยะ ข้ามทิ้งตรงนี้ มันทิ้งหมดเลยนะ มันทิ้งกามภูมิ รูปภูมิ อรูปภูมิ ทิ้งหมดเลย ข้ามมาสู่อริยภูมิ โลกุตรภูมิ ข้ามเอง ทีนี้พวกเราก็มีหน้าที่ภาวนาให้มันพอเท่านั้นแหละ ถ้ามันพอเมื่อไหร่ มันก็ข้ามโคตร เปลี่ยนสกุล ก็ไม่ใช่นามสกุลเดิม โดยสมมุติบัญญัติก็เป็นนามสกุลเดิม โดยปรมัตถ์แท้ๆก็ไม่ใช่ละ ก็มาเป็นลูกพระพุทธเจ้า เพราะฉะนั้นเวลาพระพุทธเจ้าท่านพูดถึงพระอริยะนะ ท่านจะบอกว่า ลูกของเรา
อาสวกิเลสที่ห่อหุ้มจิตอยู่นี้ ถูกอริยมรรคแหวกออก แหวกออกทำลายออก ก็ล้างก.. ผมสังเกตเห็นอย่างหนึ่งว่า พวกเรามักกล่าวถึง กิเลส และนิวรณ์กันบ่อยครั้ง แต่ไม่ค่อยได้กล่าวถึง อาสวกิเลส กันมากนัก แทบไม่เคยเห็นกล่าวถึงกันทีเดียว แท้ที่จริง อาสวกิเลส เป็นเรื่องสำคัญมาก ถ้าสังเกตธรรมในพระไตรปิฎก จะเห็นได้ชัดเจนว่า เมื่อท่านกล่าวถึงความหลุดพ้น ท่านมักจะกล่าวว่า หลุดพ้นจากอาสวกิเลส ไม่กล่าวว่า หลุดพ้นจากกิเลส หรือนิวรณ์ อันที่จริง กิเลส นิวรณ์ และอาสวกิเลส ต่างก็เป็นกิเลสด้วยกัน แต่มีความหยาบและความละเอียดแตกต่างกัน กิเลส คือราคะ โทสะ และโมหะนั้น เป็นของหยาบๆ มันพลุ่งๆ วูบวาบขึ้นมาครอบงำจิต ในลักษณะเป็นสิ่งแปลกปลอมเข้ามาเป็นครั้งคราว ส่วนนิวรณ์ มักจะแทรกเข้ามานิ่มๆ ตามหลังความคิดเข้ามา นักปฏิบัติด้วยการดูจิต หรือเจริญจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน สามารถรู้เห็นกิเลสได้ไม่ยากเลย แม้แต่ผู้หัดดูจิตวันแรก ก็มักมองเห็นได้แล้ว โดยเฉพาะโทสะนั้น เป็นอารมณ์ที่รุนแรง สังเกตง่ายที่สุด ราคะมีความประณีตกว่าโทสะ แต่ก็ยังเป็นสิ่งแปลกปลอมที่มองเห็นง่าย ส่วนโมหะ เป็นความหมอง ความมัวของจิต เหมือนม่านควันที่ซึมซ่านเข้ามาทำให้จิตเสื่อมคุณภาพในการ "รู้ตามความเป็นจริง" ตัวนี้สังเกตยากขึ้นไปอีก หน่อย สำหรับ "นิวรณ์" มีความละเอียดประณีตยิ่งขึ้นไปอีก เพราะมันซึมซ่านนิ่มๆ ตามหลังความคิดเข้าครอบงำจิตได้ง่ายๆ โดยไม่ทันระวังตัว บางคราวถ้าไม่ชำนาญ จะดูไม่ออกเสียด้วยซ้ำไปว่ามันเป็นนิวรณ์ ส่วนอาสวกิเลสนั้น ดูยากกว่านิวรณ์มากนัก ในชั้นแรกนี้ ลองมาดูความหมายในทางปริยัติกันก่อน พจนานุกรมของท่านเจ้าคุณพระธรรมปิฎก ท่านอธิบายความหมายของอาสวกิเลสไว้ดังนี้ อาสวะ กิเลสที่หมักหมมหรือดองอยู่ในสันดาน ไหลซึมซ่านไปย้อมจิตเมื่อประสบอารมณ์ต่างๆ มี 3 อย่างคือ กามาสวะ ภวาสวะ และอวิชชาสวะ กามาสวะ อาสวะคือกาม กิเลสดองอยู่ในสันดาน ที่ทำให้เกิดความใคร่ ภวาสวะ อาสวะคือภพ กิเลสที่หมักหมมหรือดองอยู่ในสันดาน ทำให้อยากเป็น อยากเกิด อยากมีอยู่คงอยู่ตลอดไป อวิชชาสวะ อาสวะคืออวิชชา กิเลสที่หมักหมมหรือดองอยู่ในสันดาน ทำให้ไม่รู้ตามความเป็นจริง *********************************** คราวนี้เราลองหันมาพิจารณา ถึงสภาวะของอาสวกิเลสในมุมมองของนักปฏิบัติบ้าง อาสวกิเลสไม่ได้พลุ่งขึ้นมาเหมือนกิเลสหยาบ ไม่ได้ซึมซ่านเข้ามาเหมือนนิวรณ์อันเป็นกิเลสชั้นกลาง แต่เป็นกิเลสละเอียด ที่จิตจมแช่อยู่มาแต่ไหนแต่ไรแล้ว โดยจมแช่อยู่ อย่างไม่รู้ตัวว่ากำลังจมแช่อยู่ ถ้าเปรียบเทียบให้เป็นรูปธรรมหยาบๆ ก็คล้ายกับร่างกายนี้ จมแช่อยู่ในอากาศ เราแช่ในอากาศมาตั้งแต่เกิด จนลืม จนไม่เคยนึกถึง ถ้าไม่ลงไปแช่ในของหยาบยิ่งกว่านั้น เช่นแช่น้ำ เราจะรู้สึกเหมือนร่างกายนี้เป็นอิสระ ไม่ได้จมแช่อยู่ในอะไรเลย ทั้งที่ความจริง กายนี้จมแช่อยู่ในอากาศมาแต่ไหนแต่ไรแล้ว จิตเองก็จมแช่หมักดองอยู่ในอาสวกิเลสโดยไม่รู้ตัว แต่อาสวกิเลสที่จิตจมแช่อยู่นั้น มีถึง 3 ระดับ หรือ 3 ชนิด สิ่งแรกคือกาม ถัดไปคือภพและอวิชชา จิตของสรรพสัตว์ที่ยังไม่บรรลุพระอนาคามี ล้วนยังจมแช่อยู่ในกามทั้งสิ้น ถ้าทำใจให้สบาย มีสติปัญญาระลีกรู้ไปในกาย จะเห็นว่าจิตจมแช่อยู่ในกาม ซึมซ่านไปทั่วกายตลอดทุกขุมขน ยินดีพอใจในผัสสะทางกายที่เป็นสุข ระแวดระวัง เกลียดกลัวผัสสะทางกายที่เป็นทุกข์ ไม่ผิดอะไรกับสาวงามที่อาบน้ำใหม่ๆ ทาแป้งและของหอมเรียบร้อย มีความอิ่มเอิบพอใจอยู่ทุกขุมขน และเกลียดกลัวสิ่งสกปรกแม้เพียงเล็กน้อยที่จะมากระทบกาย เครื่องดองชั้นหยาบนี้จะถูกทำลายไปเมื่อจิตบรรลุพระอนาคามี เพราะจิตมีปัญญารู้แจ้งแทงตลอดในกาย เห็นแต่ความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เป็นอสุภะของกาย จึงหมดยางใยที่จะยึดถือในความสุขและความทุกข์ทางกายลงอย่างเด็ดขาด สำหรับภวาสวกิเลสนั้น พวกเราบางคนก็อาจจะเคยเห็นร่องรอยบ้าง คือเมื่อเรามีสติสัมปชัญญะ มีธรรมเอกหรือจิตผู้รู้ เห็นอารมณ์เกิดดับหมุนเวียนไปเรื่อยๆ คือผ่านภพน้อยภพใหญ่นับไม่ถ้วน ในที่สุดเมื่อจิตวางอารมณ์หยาบทั้งหมด มาหยุดรู้อยู่ที่จิตผู้รู้ ก็ยังเห็นอีกว่า จิตผู้รู้ที่กำลังรู้อยู่นั้น เอาเข้าจริงก็ยังเป็นภพอีกอันหนึ่ง จิตจมแช่อยู่ในภพ โดยไม่เคยเห็นเลยว่า กระทั่งจิตที่ดูสะอาดหมดจดสุดขีดแล้วนั้น เอาเข้าจริงก็ยังหลงอยู่ในภพอันหนึ่ง ที่ดูสะอาดหมดจดสุดขีดนั้น ผมเองเมื่อเจริญสติสัมปชัญญะ และเห็นจิตผู้รู้ จะรู้ชัดว่าจิตยังข้องอยู่ในภพ ยังผูกพันอยู่ในภพ เหมือนคนที่ถูกขังอยู่ในห้องขังที่ฝาและเพดานเป็นกระจกใส หรือเป็นแสงที่มองด้วยตาเปล่าไม่เห็น ดูผิวเผินเหมือนกับคนที่เป็นอิสระ ไม่ได้ถูกกักขัง แต่เอาเข้าจริงแล้ว จิตไม่ได้เป็นอิสระจริง ผู้ที่เคยเข้าถึงความหลุดพ้นชั่วขณะ จะเห็นจิตที่จมแช่ภวาสวกิเลสได้ชัดเจน เพราะสามารถเทียบกับสภาวะที่จิตเป็นอิสระ หลุดพ้นจากภพ ได้อย่างชัดเจน สำหรับอวิชชาสวกิเลสนั้น โยงใยอยู่กับภวาสวกิเลส คือที่จิตยังติดข้องอยู่ในภพ หรือจมแช่อยู่ด้วยภวาสวกิเลสนั้น ก็เพราะจิตยังถูกย้อมด้วยอวิชชา และปราศจากวิชชา คือยังมองไม่เห็น ทุกข์ มองไม่ออกว่า จิตผู้รู้ ก็คือก้อนทุกข์อันหนึ่ง ยังข้องอยู่ในภพอันหนึ่ง ยังเป็นทุกข์ ยังแปรปรวน ยังไม่ใช่ที่พึ่งที่แท้จริง หรือแม้ว่าจะพอรู้สึกบ้างว่า จิตผู้รู้เป็นจิตในภพอันหนึ่ง เป็นทุกข์อันหนึ่ง ก็ยังมองไม่เห็นว่า สมุทัย ที่ทำให้ภพของจิตผู้รู้เกิดขึ้นนั้น อยู่ตรงไหน คือมองไม่เห็นว่า เจตนา ที่จะประคองรักษาจิต ทำให้มโนวิญญาณหยั่งลง และสร้างภพของผู้รู้ขึ้นมา ครั้นจะ เจตนาที่จะไม่มีเจตนา มันก็ยังเป็นเจตนาอยู่อีก จึงจนปัญญา จมแช่อยู่กับความไม่รู้ว่าจะรอดจากความทุกข์ได้อย่างไร *********************************** หนทางที่จะทำลายอาวสวกิเลสนั้น พระศาสดาทรงแสดงไว้ชัดเจน วิธีที่มาตรฐานที่สุด ได้แก่การใช้จิตที่มีคุณภาพ คือมีสติสัมปชัญญะบริสุทธิ์แล้ว น้อมไปเจริญปัญญาจนรู้แจ้งอริยสัจจ์ และรู้แจ้งอาสวกิเลส ซึ่งพระองค์เองทรงใช้วิธีทำจิตจนถึงฌานที่ 4 แล้วน้อมจิตไปเจริญปัญญา ดังนี้ เรา(พระศาสดา)ก็เหมือนอย่างนั้นแล พราหมณ์ เมื่อประชาชนผู้ตกอยู่ในอวิชชา เกิดในฟอง อันกะเปาะฟองหุ้มห่อไว้ ผู้เดียวเท่านั้นในโลก ได้ทำลายกะเปาะฟอง คือ อวิชชา แล้วได้ตรัสรู้พระสัมมาสัมโพธิญาณอันยอดเยี่ยม เรานั้นเป็นผู้เจริญที่สุด ประเสริฐที่สุดของโลก เพราะความเพียรของเราที่ปรารภแล้วแล ไม่ย่อหย่อน สติดำรงมั่นไม่ฟั่นเฟือน กายสงบ ไม่กระสับกระส่าย จิตตั้งมั่น มีอารมณ์เป็นหนึ่ง. เรานั้นแล สงัดแล้วจากกาม สงัดแล้วจากอกุศลธรรม ได้บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขซึ่งเกิดแต่วิเวกอยู่. เราได้บรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิต ณ ภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตก วิจาร สงบไป มีปีติและสุขซึ่งเกิดแต่สมาธิอยู่. เรามีอุเบกขาอยู่ มีสติ มีสัมปชัญญะ และเสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป ได้บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ มีสุขอยู่ ดังนี้ อยู่. เราได้บรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัส โทมนัส ก่อนๆ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่. เรานั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้แล้ว ได้น้อมจิตไปเพื่ออาสวักขยญาณ เรานั้นได้รู้ชัดตามเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ได้รู้ชัดตามเป็นจริงว่า นี้เหตุให้เกิดทุกข์ ได้รู้ชัดตามเป็นจริงว่า นี้ความดับทุกข์ ได้รู้ชัดตามเป็นจริงว่า นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ ได้รู้ชัดตามเป็นจริงว่า เหล่านี้อาสวะ ได้รู้ชัดตามเป็นจริงว่า นี้เหตุให้เกิดอาสวะ ได้รู้ชัดตามเป็นจริงว่า นี้ความดับอาสวะ ได้รู้ชัดตามเป็นจริงว่า นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับอาสวะ เมื่อเรานั้นรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้ จิตได้หลุดพ้นแล้วแม้จากกามาสวะ ได้หลุดพ้นแล้วแม้จากภวาสวะ ได้หลุดพ้นแล้วแม้จากอวิชชาสวะ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ได้มีญาณหยั่งรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว ได้รู้ด้วยปัญญาอันยิ่งว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นอีกเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี พราหมณ์ วิชชาที่สามนี้แล เราได้บรรลุแล้วในปัจฉิมยามแห่งราตรี อวิชชา เรากำจัดได้แล้ว วิชชาเกิดแก่เราแล้ว ความมืดเรากำจัดได้แล้ว แสงสว่างเกิดแก่เราแล้ว เหมือนที่เกิดแก่บุคคลผู้ไม่ประมาท มีความเพียรเผากิเลสส่งจิตไปแล้วอยู่ ฉะนั้น ความชำแรกออก..ของเรานี้แล ได้เป็นเหมือนการทำลายออกจากกะเปาะฟองแห่งลูกไก่ ฉะนั้น. ธรรมตรงนี้ท่านแสดงไว้อย่างชัดเจนถึง กะเปาะฟองที่ห่อหุ้ม(จิต) สิ่งนี้ก็คือห้องขังที่มองไม่เห็น ที่ขังให้จิตติดข้องอยู่ในอาสวกิเลส และทรงกล่าวถึงการชำแรกออก หรือทำลายออกจากกะเปาะนั้น เพราะมีปัญญาเห็นแจ้งอริยสัจจ์ และเห็นแจ้งอาวสกิเลส ฟังผิวเผินเหมือนเป็นถ้อยคำเปรียบเทียบของพระองค์ แต่ผู้ปฏิบัติที่พบเห็นสภาวะ ภพของจิตผู้รู้ อ่านตรงนี้แล้วจะสะดุ้งใจ เพราะจะรู้สึกว่า พระองค์รับสั่งถึงสภาวะอันหนึ่งอย่างตรงไปตรงมาที่สุด เพราะเห็นชัดว่า จิตถูกขัง ถูกแช่จม อยู่ในขอบเขตอันหนึ่งจริงๆ ผมมีเรื่องอยู่เรื่องหนึ่ง ที่จะเล่าให้พวกเราฟังกันเป็นการภายใน ดังนี้ เมื่อประมาณปี 2525 - 2526 ผมได้ไปกราบหลวงพ่อพุธ ที่วัดป่าสาลวัน ท่านได้ถามถึงธรรมที่หลวงปู่ดูลย์สอนผม อันเป็นเรื่องการทำลายผู้รู้ แล้วท่านก็กล่าวว่า หลวงปู่ดูลย์ก็สอนท่านอย่างเดียวกันนี้ จากนั้นท่านก็เมตตา ให้โอกาสแก่ผมด้วยกุสโลบาย คือตามธรรมเนียมของผู้ปฏิบัติแล้ว จะไม่ก้าวก่ายเข้าไปสอนศิษย์ของท่านผู้อาวุโสกว่า หลวงพ่อจึงไม่บอกว่า จะสอนธรรมให้แก่ผม แต่กลับบอกว่า "คุณกับอาตมามาทำกติกาตกลงกันไว้ ใครทำลายผู้รู้ได้ก่อน ให้มาบอกวิธีแก่กัน" เมื่อประมาณปี 2541 - 2542 ผมมีโอกาสพบท่านอีกครั้งหนึ่ง เข้าไปกราบท่าน รายงานตัวฟื้นความหลังให้ว่าผมเป็นใคร ท่านก็บอกว่า ท่านจำได้ ผมก็กราบเรียนท่านว่า จนป่านนี้ผมยังทำลายจิตผู้รู้ไม่ได้เลย ขออุบายวิธีปฏิบัติจากหลวงพ่อ เพื่อทำลายผู้รู้ด้วยเถิด หลวงพ่อตอบว่า จิตผู้รู้ก็เหมือนฟองใข่ เมื่อจิตมีปัญญาแก่รอบแล้ว จิตจะทำลายสิ่งห่อหุ้มนั้นออกมาเอง เหมือนลูกไก่ที่โตได้ที่แล้ว เจาะทำลายเปลือกไข่ออกมาเอง.
อาสวกิเลสที่ห่อหุ้มจิตอยู่นี้ ถูกอริยมรรคแหวกออก แหวกออกทำลายออก ก็ล้างก...จิ ผมสังเกตเห็นอย่างหนึ่งว่า พวกเรามักกล่าวถึง กิเลส และนิวรณ์กันบ่อยครั้ง แต่ไม่ค่อยได้กล่าวถึง อาสวกิเลส กันมากนัก แทบไม่เคยเห็นกล่าวถึงกันทีเดียว แท้ที่จริง อาสวกิเลส เป็นเรื่องสำคัญมาก ถ้าสังเกตธรรมในพระไตรปิฎก จะเห็นได้ชัดเจนว่า เมื่อท่านกล่าวถึงความหลุดพ้น ท่านมักจะกล่าวว่า หลุดพ้นจากอาสวกิเลส ไม่กล่าวว่า หลุดพ้นจากกิเลส หรือนิวรณ์ อันที่จริง กิเลส นิวรณ์ และอาสวกิเลส ต่างก็เป็นกิเลสด้วยกัน แต่มีความหยาบและความละเอียดแตกต่างกัน กิเลส คือราคะ โทสะ และโมหะนั้น เป็นของหยาบๆ มันพลุ่งๆ วูบวาบขึ้นมาครอบงำจิต ในลักษณะเป็นสิ่งแปลกปลอมเข้ามาเป็นครั้งคราว ส่วนนิวรณ์ มักจะแทรกเข้ามานิ่มๆ ตามหลังความคิดเข้ามา นักปฏิบัติด้วยการดูจิต หรือเจริญจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน สามารถรู้เห็นกิเลสได้ไม่ยากเลย แม้แต่ผู้หัดดูจิตวันแรก ก็มักมองเห็นได้แล้ว โดยเฉพาะโทสะนั้น เป็นอารมณ์ที่รุนแรง สังเกตง่ายที่สุด ราคะมีความประณีตกว่าโทสะ แต่ก็ยังเป็นสิ่งแปลกปลอมที่มองเห็นง่าย ส่วนโมหะ เป็นความหมอง ความมัวของจิต เหมือนม่านควันที่ซึมซ่านเข้ามาทำให้จิตเสื่อมคุณภาพในการ "รู้ตามความเป็นจริง" ตัวนี้สังเกตยากขึ้นไปอีก หน่อย สำหรับ "นิวรณ์" มีความละเอียดประณีตยิ่งขึ้นไปอีก เพราะมันซึมซ่านนิ่มๆ ตามหลังความคิดเข้าครอบงำจิตได้ง่ายๆ โดยไม่ทันระวังตัว บางคราวถ้าไม่ชำนาญ จะดูไม่ออกเสียด้วยซ้ำไปว่ามันเป็นนิวรณ์ ส่วนอาสวกิเลสนั้น ดูยากกว่านิวรณ์มากนัก ในชั้นแรกนี้ ลองมาดูความหมายในทางปริยัติกันก่อน พจนานุกรมของท่านเจ้าคุณพระธรรมปิฎก ท่านอธิบายความหมายของอาสวกิเลสไว้ดังนี้ อาสวะ กิเลสที่หมักหมมหรือดองอยู่ในสันดาน ไหลซึมซ่านไปย้อมจิตเมื่อประสบอารมณ์ต่างๆ มี 3 อย่างคือ กามาสวะ ภวาสวะ และอวิชชาสวะ กามาสวะ อาสวะคือกาม กิเลสดองอยู่ในสันดาน ที่ทำให้เกิดความใคร่ ภวาสวะ อาสวะคือภพ กิเลสที่หมักหมมหรือดองอยู่ในสันดาน ทำให้อยากเป็น อยากเกิด อยากมีอยู่คงอยู่ตลอดไป อวิชชาสวะ อาสวะคืออวิชชา กิเลสที่หมักหมมหรือดองอยู่ในสันดาน ทำให้ไม่รู้ตามความเป็นจริง *********************************** คราวนี้เราลองหันมาพิจารณา ถึงสภาวะของอาสวกิเลสในมุมมองของนักปฏิบัติบ้าง อาสวกิเลสไม่ได้พลุ่งขึ้นมาเหมือนกิเลสหยาบ ไม่ได้ซึมซ่านเข้ามาเหมือนนิวรณ์อันเป็นกิเลสชั้นกลาง แต่เป็นกิเลสละเอียด ที่จิตจมแช่อยู่มาแต่ไหนแต่ไรแล้ว โดยจมแช่อยู่ อย่างไม่รู้ตัวว่ากำลังจมแช่อยู่ ถ้าเปรียบเทียบให้เป็นรูปธรรมหยาบๆ ก็คล้ายกับร่างกายนี้ จมแช่อยู่ในอากาศ เราแช่ในอากาศมาตั้งแต่เกิด จนลืม จนไม่เคยนึกถึง ถ้าไม่ลงไปแช่ในของหยาบยิ่งกว่านั้น เช่นแช่น้ำ เราจะรู้สึกเหมือนร่างกายนี้เป็นอิสระ ไม่ได้จมแช่อยู่ในอะไรเลย ทั้งที่ความจริง กายนี้จมแช่อยู่ในอากาศมาแต่ไหนแต่ไรแล้ว จิตเองก็จมแช่หมักดองอยู่ในอาสวกิเลสโดยไม่รู้ตัว แต่อาสวกิเลสที่จิตจมแช่อยู่นั้น มีถึง 3 ระดับ หรือ 3 ชนิด สิ่งแรกคือกาม ถัดไปคือภพและอวิชชา จิตของสรรพสัตว์ที่ยังไม่บรรลุพระอนาคามี ล้วนยังจมแช่อยู่ในกามทั้งสิ้น ถ้าทำใจให้สบาย มีสติปัญญาระลีกรู้ไปในกาย จะเห็นว่าจิตจมแช่อยู่ในกาม ซึมซ่านไปทั่วกายตลอดทุกขุมขน ยินดีพอใจในผัสสะทางกายที่เป็นสุข ระแวดระวัง เกลียดกลัวผัสสะทางกายที่เป็นทุกข์ ไม่ผิดอะไรกับสาวงามที่อาบน้ำใหม่ๆ ทาแป้งและของหอมเรียบร้อย มีความอิ่มเอิบพอใจอยู่ทุกขุมขน และเกลียดกลัวสิ่งสกปรกแม้เพียงเล็กน้อยที่จะมากระทบกาย เครื่องดองชั้นหยาบนี้จะถูกทำลายไปเมื่อจิตบรรลุพระอนาคามี เพราะจิตมีปัญญารู้แจ้งแทงตลอดในกาย เห็นแต่ความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เป็นอสุภะของกาย จึงหมดยางใยที่จะยึดถือในความสุขและความทุกข์ทางกายลงอย่างเด็ดขาด สำหรับภวาสวกิเลสนั้น พวกเราบางคนก็อาจจะเคยเห็นร่องรอยบ้าง คือเมื่อเรามีสติสัมปชัญญะ มีธรรมเอกหรือจิตผู้รู้ เห็นอารมณ์เกิดดับหมุนเวียนไปเรื่อยๆ คือผ่านภพน้อยภพใหญ่นับไม่ถ้วน ในที่สุดเมื่อจิตวางอารมณ์หยาบทั้งหมด มาหยุดรู้อยู่ที่จิตผู้รู้ ก็ยังเห็นอีกว่า จิตผู้รู้ที่กำลังรู้อยู่นั้น เอาเข้าจริงก็ยังเป็นภพอีกอันหนึ่ง จิตจมแช่อยู่ในภพ โดยไม่เคยเห็นเลยว่า กระทั่งจิตที่ดูสะอาดหมดจดสุดขีดแล้วนั้น เอาเข้าจริงก็ยังหลงอยู่ในภพอันหนึ่ง ที่ดูสะอาดหมดจดสุดขีดนั้น ผมเองเมื่อเจริญสติสัมปชัญญะ และเห็นจิตผู้รู้ จะรู้ชัดว่าจิตยังข้องอยู่ในภพ ยังผูกพันอยู่ในภพ เหมือนคนที่ถูกขังอยู่ในห้องขังที่ฝาและเพดานเป็นกระจกใส หรือเป็นแสงที่มองด้วยตาเปล่าไม่เห็น ดูผิวเผินเหมือนกับคนที่เป็นอิสระ ไม่ได้ถูกกักขัง แต่เอาเข้าจริงแล้ว จิตไม่ได้เป็นอิสระจริง ผู้ที่เคยเข้าถึงความหลุดพ้นชั่วขณะ จะเห็นจิตที่จมแช่ภวาสวกิเลสได้ชัดเจน เพราะสามารถเทียบกับสภาวะที่จิตเป็นอิสระ หลุดพ้นจากภพ ได้อย่างชัดเจน สำหรับอวิชชาสวกิเลสนั้น โยงใยอยู่กับภวาสวกิเลส คือที่จิตยังติดข้องอยู่ในภพ หรือจมแช่อยู่ด้วยภวาสวกิเลสนั้น ก็เพราะจิตยังถูกย้อมด้วยอวิชชา และปราศจากวิชชา คือยังมองไม่เห็น ทุกข์ มองไม่ออกว่า จิตผู้รู้ ก็คือก้อนทุกข์อันหนึ่ง ยังข้องอยู่ในภพอันหนึ่ง ยังเป็นทุกข์ ยังแปรปรวน ยังไม่ใช่ที่พึ่งที่แท้จริง หรือแม้ว่าจะพอรู้สึกบ้างว่า จิตผู้รู้เป็นจิตในภพอันหนึ่ง เป็นทุกข์อันหนึ่ง ก็ยังมองไม่เห็นว่า สมุทัย ที่ทำให้ภพของจิตผู้รู้เกิดขึ้นนั้น อยู่ตรงไหน คือมองไม่เห็นว่า เจตนา ที่จะประคองรักษาจิต ทำให้มโนวิญญาณหยั่งลง และสร้างภพของผู้รู้ขึ้นมา ครั้นจะ เจตนาที่จะไม่มีเจตนา มันก็ยังเป็นเจตนาอยู่อีก จึงจนปัญญา จมแช่อยู่กับความไม่รู้ว่าจะรอดจากความทุกข์ได้อย่างไร *********************************** หนทางที่จะทำลายอาวสวกิเลสนั้น พระศาสดาทรงแสดงไว้ชัดเจน วิธีที่มาตรฐานที่สุด ได้แก่การใช้จิตที่มีคุณภาพ คือมีสติสัมปชัญญะบริสุทธิ์แล้ว น้อมไปเจริญปัญญาจนรู้แจ้งอริยสัจจ์ และรู้แจ้งอาสวกิเลส ซึ่งพระองค์เองทรงใช้วิธีทำจิตจนถึงฌานที่ 4 แล้วน้อมจิตไปเจริญปัญญา ดังนี้ เรา(พระศาสดา)ก็เหมือนอย่างนั้นแล พราหมณ์ เมื่อประชาชนผู้ตกอยู่ในอวิชชา เกิดในฟอง อันกะเปาะฟองหุ้มห่อไว้ ผู้เดียวเท่านั้นในโลก ได้ทำลายกะเปาะฟอง คือ อวิชชา แล้วได้ตรัสรู้พระสัมมาสัมโพธิญาณอันยอดเยี่ยม เรานั้นเป็นผู้เจริญที่สุด ประเสริฐที่สุดของโลก เพราะความเพียรของเราที่ปรารภแล้วแล ไม่ย่อหย่อน สติดำรงมั่นไม่ฟั่นเฟือน กายสงบ ไม่กระสับกระส่าย จิตตั้งมั่น มีอารมณ์เป็นหนึ่ง. เรานั้นแล สงัดแล้วจากกาม สงัดแล้วจากอกุศลธรรม ได้บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขซึ่งเกิดแต่วิเวกอยู่. เราได้บรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิต ณ ภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตก วิจาร สงบไป มีปีติและสุขซึ่งเกิดแต่สมาธิอยู่. เรามีอุเบกขาอยู่ มีสติ มีสัมปชัญญะ และเสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป ได้บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ มีสุขอยู่ ดังนี้ อยู่. เราได้บรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัส โทมนัส ก่อนๆ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่. เรานั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้แล้ว ได้น้อมจิตไปเพื่ออาสวักขยญาณ เรานั้นได้รู้ชัดตามเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ได้รู้ชัดตามเป็นจริงว่า นี้เหตุให้เกิดทุกข์ ได้รู้ชัดตามเป็นจริงว่า นี้ความดับทุกข์ ได้รู้ชัดตามเป็นจริงว่า นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ ได้รู้ชัดตามเป็นจริงว่า เหล่านี้อาสวะ ได้รู้ชัดตามเป็นจริงว่า นี้เหตุให้เกิดอาสวะ ได้รู้ชัดตามเป็นจริงว่า นี้ความดับอาสวะ ได้รู้ชัดตามเป็นจริงว่า นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับอาสวะ เมื่อเรานั้นรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้ จิตได้หลุดพ้นแล้วแม้จากกามาสวะ ได้หลุดพ้นแล้วแม้จากภวาสวะ ได้หลุดพ้นแล้วแม้จากอวิชชาสวะ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ได้มีญาณหยั่งรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว ได้รู้ด้วยปัญญาอันยิ่งว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นอีกเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี พราหมณ์ วิชชาที่สามนี้แล เราได้บรรลุแล้วในปัจฉิมยามแห่งราตรี อวิชชา เรากำจัดได้แล้ว วิชชาเกิดแก่เราแล้ว ความมืดเรากำจัดได้แล้ว แสงสว่างเกิดแก่เราแล้ว เหมือนที่เกิดแก่บุคคลผู้ไม่ประมาท มีความเพียรเผากิเลสส่งจิตไปแล้วอยู่ ฉะนั้น ความชำแรกออก..ของเรานี้แล ได้เป็นเหมือนการทำลายออกจากกะเปาะฟองแห่งลูกไก่ ฉะนั้น. ธรรมตรงนี้ท่านแสดงไว้อย่างชัดเจนถึง กะเปาะฟองที่ห่อหุ้ม(จิต) สิ่งนี้ก็คือห้องขังที่มองไม่เห็น ที่ขังให้จิตติดข้องอยู่ในอาสวกิเลส และทรงกล่าวถึงการชำแรกออก หรือทำลายออกจากกะเปาะนั้น เพราะมีปัญญาเห็นแจ้งอริยสัจจ์ และเห็นแจ้งอาวสกิเลส ฟังผิวเผินเหมือนเป็นถ้อยคำเปรียบเทียบของพระองค์ แต่ผู้ปฏิบัติที่พบเห็นสภาวะ ภพของจิตผู้รู้ อ่านตรงนี้แล้วจะสะดุ้งใจ เพราะจะรู้สึกว่า พระองค์รับสั่งถึงสภาวะอันหนึ่งอย่างตรงไปตรงมาที่สุด เพราะเห็นชัดว่า จิตถูกขัง ถูกแช่จม อยู่ในขอบเขตอันหนึ่งจริงๆ ผมมีเรื่องอยู่เรื่องหนึ่ง ที่จะเล่าให้พวกเราฟังกันเป็นการภายใน ดังนี้ เมื่อประมาณปี 2525 - 2526 ผมได้ไปกราบหลวงพ่อพุธ ที่วัดป่าสาลวัน ท่านได้ถามถึงธรรมที่หลวงปู่ดูลย์สอนผม อันเป็นเรื่องการทำลายผู้รู้ แล้วท่านก็กล่าวว่า หลวงปู่ดูลย์ก็สอนท่านอย่างเดียวกันนี้ จากนั้นท่านก็เมตตา ให้โอกาสแก่ผมด้วยกุสโลบาย คือตามธรรมเนียมของผู้ปฏิบัติแล้ว จะไม่ก้าวก่ายเข้าไปสอนศิษย์ของท่านผู้อาวุโสกว่า หลวงพ่อจึงไม่บอกว่า จะสอนธรรมให้แก่ผม แต่กลับบอกว่า "คุณกับอาตมามาทำกติกาตกลงกันไว้ ใครทำลายผู้รู้ได้ก่อน ให้มาบอกวิธีแก่กัน" เมื่อประมาณปี 2541 - 2542 ผมมีโอกาสพบท่านอีกครั้งหนึ่ง เข้าไปกราบท่าน รายงานตัวฟื้นความหลังให้ว่าผมเป็นใคร ท่านก็บอกว่า ท่านจำได้ ผมก็กราบเรียนท่านว่า จนป่านนี้ผมยังทำลายจิตผู้รู้ไม่ได้เลย ขออุบายวิธีปฏิบัติจากหลวงพ่อ เพื่อทำลายผู้รู้ด้วยเถิด หลวงพ่อตอบว่า จิตผู้รู้ก็เหมือนฟองใข่ เมื่อจิตมีปัญญาแก่รอบแล้ว จิตจะทำลายสิ่งห่อหุ้มนั้นออกมาเอง เหมือนลูกไก่ที่โตได้ที่แล้ว เจาะทำลายเปลือกไข่ออกมาเองตถูกห่อหุ้มด้วยอาสวะกิเลส เวลาวิมุติอริยมรรคเกิดแต่ละขั้นๆ ก็มีความสุขเป็นลำดับๆ ไป ถึงจุดสุดท้ายก็มีความสุขล้วนๆ มีความสุขเพราะว่ามันไม่มีอะไรเข้ามาเคลือบจิตได้อีก หมอณัฐดูออกมั้ยจิตเราถูกห่อหุ้มไว้ มีเปลือกหุ้ม จิตเค้าถูกห่อหุ้มด้วยอาสวะ ยังปนเปื้อน เยิ้มๆ จิตยังปนเปื้อน ความปนเปื้อนนี้แหละ เป็นช่องทางให้กิเลสไหลเข้ามาสู่จิต (หมอณัฐถาม...ได้ยินไม่ชัด) .. อือ ดูอย่างนี้ก็ได้ แล้วจะเห็นเอง จิตใจนี้เป็นอิสระ รู้สึกมั้ยจิตใจไม่เป็นอิสระ ตอนนี้รู้สึกมั้ย อาจจะไม่เห็นตัวอาสวะตรงๆ แต่เห็นผลของจิตที่มีอาสวะ ไม่อิสระ จริงๆ จิตถูกอาสวะห่อหุ้มไว้ อาสวะนี่ เทียบแล้วคล้ายๆ กับ เรามี สมมติอยู่บ้านไม้ ใครเคยอยู่บ้านไม้ เวลาเราทำน้ำหกน้ำไหลไปเนี่ย เราจะเห็นเส้นทางที่เราเช็ดให้แห้ง เทน้ำลงไปที่เก่า มันไหลไปทางเดิมอย่างรวดเร็ว มันนำร่อง ความชื้นเดิมมันนำร่อง เพราะน้ำนี้ไหลไปตามความชื้นเดิม อาสวะกิเลสนี่มันนำร่องกิเลสเข้าไปย้อมจิต จิตของเราไม่มีอิสระ เหมือนลูกไก่ที่อยู่ในเปลือกไข่ พระพุทธเจ้าท่านบอกว่า ท่านเป็นลูกไก่ที่เจาะเปลือกไข่ออกมาเป็นตัวแรก ท่านใช้คำเปรียบเทียบได้ดี เคยมีพราหมณ์คนนึงไปว่าพระพุทธเจ้า บอกอายุก็ยังน้อยพราหมณ์ผู้แก่ผู้เฒ่ามาก็ไม่ไหว้ไม่ต้อนรับ เฉยเมย ท่านบอกว่าท่านอาวุโสที่สุด ท่านเป็นลูกไก่ที่เจาะเปลือกออกมาได้ พวกที่เหลือยังอยู่ในไข่อยู่เลย ท่านจะไปไหว้ทำไม คำพูดของท่านนะ น่าฟัง จริงๆ แล้วเรามีเปลือกที่ห่อหุ้มอยู่ จิตถูกอาสวะกิเลสห่อหุ้ม ทำยังไงก็ไม่ขาด ไม่ขาด ทำยังไง ยังไง้ ยังไงก็ไม่ขาด พระไตรปิฎกก็เลยใช้คำบอกว่า เวลาบรรลุพระอรหันต์นะ จิตหลุดพ้นจากอาสวะเพราะความไม่ถือมั่น เห็นมั้ย หลุดพ้นจากอาสวะ อาสวะมันห่อหุ้มไว้ จิตหลุดพ้นจากอาสวะเพราะความไม่ถือมั่น ไม่ถือมั่นในอะไร ในรูปนาม ในกายในใจ เนี่ยกุญแจของการปฏิบัติอยู่ที่กายกับใจนี่เอง เมื่อไรไม่ถือมั่นในกายในใจ โดยเฉพาะเมื่อไหร่ไม่ถือมั่นในใจในจิต อาสวะจะขาดโดยอัตโนมัติ ถ้าเราเห็นอาสวะแล้วพยายามตัด ทำยังไงก็ไม่ขาด กำหนดจิตให้แหลมคมแค่ไหนก็ไม่ขาดนะ แทงก็ไม่ทะลุนะ พอมันขาดเราจะรู้สึกว่าเรามีอิสระ23 ก.ค. 2549 สภาวะทุกอย่างเสมอภาคกัน การเห็นสภาวะที่หยาบหรือละเอียด ธรรมะภายใน ธรรมะภายนอก ธรรมะที่เป็นกุศล อกุศล ธรรมะที่เป็นสุข เป็นทุกข์ ก็เสมอภาคกัน คือทั้งหมดเกิดและดับ ไม่ใช่ว่าต้องทำให้ละเอียดขึ้นๆ จึงจะบรรลุธรรม บางวันมันก็หยาบ บางวันมันก็ละเอียด เพราะว่าทั้งหมดนี้ เป็นเรื่องของอนัตตา ทั้งหมดเลย สติก็เป็นอนัตตา บางวันก็หยาบ บางวันก็ละเอียด บางวันก็ไม่มีเลย เขาเกิดขึ้นมาจะเป็นยังไงก็ได้ เราเรียนไม่ใช่เพื่อว่าจะเอาดี ไม่ใช่ว่าเราอยากได้สติเยอะๆ เราไม่ได้เรียนเอาตรงนั้นหรอก แต่เราเรียนจนกระทั่งจิตมันเกิดความเข้าใจ ว่าทุกอย่างบังคับไม่ได้ สติจะเกิดหรือไม่เกิด จะหยาบหรือละเอียด เราก็เลือกไม่ได้ ไม่ได้เรียนเอาดีนะ แต่เรียนเพื่อที่จะเห็นว่า ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นมาล้วนแต่ดับไปทั้งสิ้น ธรรมะที่หยาบเกิดขึ้นแล้วก็ดับ ธรรมะที่ละเอียดเกิดแล้วก็ดับ เสมอภาคกัน เรียนเพื่อให้เข้าใจตรงนี้เอง ในที่สุดก็เข้าใจว่า ทุกสิ่งที่เกิดล้วนแต่ดับไปทั้งสิ้น พระโสดาบันรู้แค่นี้เอง22 ต.ค. 2548 การจำสภาวะธรรมได้เป็นเหตุใกล้ให้เกิดสติ สติเกิดขึ้นได้เพราะมีเหตุให้สติเกิด มันเกิดขึ้นเอง เราไปสั่งให้มันเกิดมันไม่เกิดหรอก สติมีการจำสภาวะได้ เป็นเหตุใกล้ให้เกิด เพราะเรารู้จักโกรธเป็นอย่างไร พอโกรธสติก็เกิด พอรู้จักเผลอเป็นยังไง พอเผลอสติก็เกิดพอหัดรู้กาย รู้ใจเนืองๆ สติปัญญาเริ่มแก่กล้าเพียงพอ จิตจะรวมเข้าอัปปนาสมาธิเอง พอรวมแล้วก็จะเห็นสภาวธรรมเกิดดับ 2 หรือ 3 ขณะ จะเห็นตัวสภาวะเกิดดับ ถัดจากนั้นโคตรภูญาณจะเกิดขึ้น มันจะเกิดการปล่อยวางตัวสภาวะ พอเห็นสภาวะเกิดดับ ปัญญาแก่รอบแล้ว มันวาง มันทิ้งโดยไม่ได้เจตนา ตรงนี้ไม่มีความจงใจเหลืออยู่เลยตั้งแต่จิตรวมแล้วเห็นสภาวะเกิดดับ 2 หรือ 3 ขณะนั้น จิต จะวางการรู้สภาวะแล้วทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้ ตรงเนี้ยตรงที่มันปล่อยสภาวะก็ไม่ใช่ปุถุชน ตรงที่ทวนเข้าหาธาตุรู้ยังไม่เข้าถึงธรรมธาตุตัวนี้ก็ไม่ใช่พระอริยะ เพราะงั้นเป็นรอยต่อ เกิดขึ้นแว๊บเดียวทวนเข้าถึงธาตุรู้แท้ๆ ตัวรู้จะมีปัญญาสุดขีดเกิดขึ้น ธาตุรู้นี้ก็เกิดแล้วก็ดับได้อีก จะเห็นเลยว่าความเป็นราไม่มีสักนิดเดียว ถัดจากนั้นจิตจะไปเห็นนิพพาน 2 หรือ 3 ขณะแล้วแต่คน จะเห็นสภาวธรรมเกิดดับ 2 หรือ 3 ขณะจากนั้นจิตจะถอยออกมาจากอัปปนาสมาธิ พอออกมาข้างนอกมันจะทวนกระแสเข้าไปพิจาณาสิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อกี๊แล้วมันจะเข้าใจ กิเลสยังเหลือ หรือไม่เหลือสักเท่าไร รู้ พอเราปฏิบัติได้อย่างนี้ พอเราต้องการเช็คตัวเอง เราสังเกตที่ใจของเรากิเลสของเราเหลือสักเท่าไร จะไปแล้วเท่าไร หลวงปู่ดูลย์ไปเรียนกรรมฐานกับหลวงปู่มั่นเสร็จแล้วไปเดินนะ เดินมาเดือนกว่าๆ กลับมารายงาน กิเลส 4 ส่วน ผมละเด็ดขาดไปแล้ว 1 ส่วน ส่วนที่ 2 ละได้ครึ่งเดียวยังไม่สมุจเฉจ (การตัดขาด) หลวงปู่มั่นบอกไปทำต่อถูกแล้ว จากนี้ดู สัพเพ สังขารา สัพพสัญญา อนัตตา4 พ.ค. 2548 ทางลัด จิตที่พ้นความปรุงแต่ง จะรู้ธรรมชาติที่พ้นความปรุงแต่ง (นิพพาน) ทางลัดที่สุดสำหรับการปฏิบัติธรรม จึงไม่ใช่การกระทำ (ปรุงแต่ง) ใดๆ แต่เป็นการหยุดกระทำ โดยไม่กระทำ (ปรุงแต่ง) ความหยุดให้เกิดขึ้น มีเพียง การรู้อย่างเงียบสนิทจริงๆ เท่านั้น (โดยไม่มีมายาของการคิดนึกปรุงแต่ง และมายาของการหยุดคิดนึกปรุงแต่ง) ที่เป็นสิ่งสุดท้ายซึ่งผู้ปฏิบัติจะทำได้ ก่อนที่จิตเขาจะ "ก้าวกระโดด" ไปเองหากพระพุทธเจ้าจะทรงแสดงธรรมอย่างถึงที่สุด ย่อมต้องปิดพระโอษฐ์เงียบ แต่นั่นเป็นสิ่งยากเกินกว่าเวไนยชนจะเข้าใจได้ และหากจะทรงกล่าวธรรมอย่างย่นย่อที่สุดว่า สิ่งทั้งปวงไม่ควรยึดมั่น ก็ยังยากที่จะมีผู้รู้ตามได้ เพราะสัตว์ทั้งหลายถ้าไม่ยึดรูปธรรม ก็ต้องยึดนามธรรมไว้ก่อน พระองค์จึงทรงบอก ทางของการปฏิบัติขึ้นมามากมาย โดยอิงกับรูปธรรมและนามธรรม เช่น ทาน ศีล ภาวนา กุศลกรรมบถ ตลอดจนการทำสมถะและวิปัสสนา ทั้งนี้ ก็เพื่อให้พวกเราเดินเข้าใกล้การหยุดพฤติกรรมทางจิต จนเหลือเพียงรู้อย่างเงียบสนิทจริงๆ นั่นเองเช่นทรงสอนให้ทำทาน เพื่อลดความกระวนกระวายเพราะความโลภ ทรงสอนให้รักษาศีล เพื่อเป็นพื้นฐานสำหรับความสงบระงับ ทรงสอนสัมมาสมาธิ เพื่อให้จิตตั้งมั่นและรู้ตัว และทรงสอนวิปัสสนา เพื่อทำลายแรงดึงดูดของอารมณ์ ที่จะพาจิตให้ทะยานไปก่อภพก่อชาติตลอดนิรันดร ผู้ปฏิบัติที่ยังขาดความเข้าใจ ย่อมปฏิบัติสิ่งเหล่านี้ เพื่อที่จะปฏิบัติต่อไป ส่วนผู้ที่เข้าใจแล้ว ก็จะ หยุดการปฏิบัติ ได้ด้วยปัญญาญาณอันแหลมคมหากต้องการทางลัด ก็จำเป็นต้อง รู้ และเลิกคิดเรื่อง ทาง ไปเลย แต่ถ้ายังไม่รู้จัก รู้ ก็ยังจำเป็นต้องอาศัยทางเหล่านั้นต่อไปก่อน4 ธ.ค. 2544 ของฝากจากสวนโพธิ์ 1. เผลอก็ให้รู้ว่าเผลอ เมื่อรู้ว่าเผลอแล้วก็พอแล้ว อย่าเผลอต่อไปอีก ด้วยการคิดว่า ทำอย่างไรจึงจะรู้ตัวได้ต่อเนื่อง2. เพ่งก็ให้รู้ว่าเพ่ง เมื่อรู้ว่าเพ่งแล้วก็พอแล้ว อย่าเผลอหรือเพ่งต่อไปอีก เพื่อจะทำลายการเพ่งนั้น3. หงุดหงิดก็รู้ว่าหงุดหงิด กลัวก็รู้ว่ากลัว มีราคะก็รู้ว่ามีราคะ มีความฟุ้งซ่านก็รู้ว่ามีความฟุ้งซ่าน ให้รู้ด้วยจิตที่เป็นกลางๆ คือไม่คล้อยตาม และไม่ต่อต้าน เพราะถ้าคล้อยตามก็จะถูกกิเลสครอบงำ ถ้าต่อต้านก็จะเกิดความอึดอัดใจ4. สรุปแล้ว ให้รู้ทุกอย่างที่จิตไปรู้เข้า โดยไม่เติมความคิดนึกปรุงแต่งใดๆ ลงไปอีก เพราะ "รู้" นั่นแหละคือประตูของมรรคผลนิพพาน29 พ.ย. 2544 แก่นสารของการปฏิบัติธรรม การเจริญสติจริงๆ จะไปยากอะไร เพียงแต่ให้มีจิตที่รู้ตัวสบายๆ เป็นธรรมชาติธรรมดานี้เอง แล้วไปรู้อารมณ์ (ที่เป็นปรมัตถ์)ที่กำลังปรากฏ โดยไม่เผลอ ไม่เพ่ง ด้วยความเป็นกลางจริงๆ คลองแห่งความคิดจะขาดไป และจิตจะรู้ โดยปราศจากความปรุงแต่ง ไม่นานผู้ปฏิบัติก็จะสามารถเข้าในวิสังขารธรรม หรือธรรมที่พ้นความปรุงแต่งได้จุดแรกที่พวกเราควรทำความรู้จักก็คือ จิตที่มีสติ ไม่เผลอ ไม่หลง ไม่ถูกครอบงำด้วยความปรุงแต่งมันเป็นอย่างไร เมื่อรู้ตัวเป็นแล้ว ก็รู้ปรมัตถธรรมที่กำลังปรากฏไปตามธรรมดาๆ นี่เอง เช่นรู้ลงในความไหวของกาย ด้วยจิตที่ไม่หลง ก็จะเห็นปรมัตถ์ของ "กาย" อย่างชัดเจน คลองแห่งความคิดจะขาดไป เหลือแต่รู้สักว่ารู้ รู้ตามความเป็นจริง รู้ด้วยจิตที่เป็นกลาง แล้วจะเห็นธรรมฝ่ายสังขารคือ "กาย" หากจิตมีความพร้อม ก็จะเห็นธรรมฝ่ายวิสังขาร คือฝ่ายเหนือความปรุงแต่งได้ในวับเดียว29 พ.ค. 2544 รู้อย่างไรจึงจะบั่นทอนทุกข์ลงได้ "รู้ตัว" เป็น ก็คือมีจิตที่ตั้งมั่น เป็นกลาง เป็นธรรมเอก ถัดจากนั้นก็ต้องหัด "รู้" ทุกสิ่งที่กำลังปรากฏ ด้วยความ "รู้ตัว" ก็จะเห็นว่าทุกอย่างที่ถูกรู้ล้วนแต่เกิดขึ้นแล้วดับไป และถ้าเมื่อใดจิตขาดความรู้ตัว หลงเข้ายึดถือสิ่งที่ถูกรู้ ความทุกข์ก็เกิดขึ้น ถ้ารู้ โดยรู้ตัวอยู่ ก็เป็น รู้สักว่ารู้ จิตจะเป็นเพียง "ผู้สังเกตการณ์" ปรากฏการณ์ทั้งปวง โดยไม่โดดเข้าไปร่วมแสดงเองที่คุณสุรวัฒน์เล่าถึงการปฏิบัติว่า "ผมก็เลยต้องคอยทำตัวให้ รู้ เข้าไว้ อาบน้ำก็ฝึกรู้ ดูโทรทัศน์ก็ฝึกรู้ กินข้าวก็ฝึกรู้ ...นึกขึ้นได้ตอนไหนก็ฝึกรู้ วันๆก็ฝึกรู้ไปเรื่อยๆ"หัดต่อไปอย่างที่หัดนี่แหละครับ ยืน เดิน นั่ง นอน กิน ดื่ม ขับถ่าย ทำ พูด คิด ฯลฯ รู้อยู่ให้ตลอด ให้ต่อเนื่องไปเรื่อยๆ โดยมีผู้รู้ กับสิ่งที่ถูกรู้ ซึ่งถึงจุดนี้ จะเห็นมันแยกกันเองได้แล้วครับ ไม่ต้องไปพยายามทำอะไรเพื่อให้มันแยกกันมากกว่านี้จนผิดธรรมชาติ จะกลายเป็นปฏิบัติด้วยความจงใจและความอยากมากไปครับ30 มิ.ย. 2543 ปัจจัยแห่งความเจริญงอกงามในธรรม (1) ให้พยายามมีสติสัมปชัญญะ รู้ อยู่ในชีวิตประจำวันให้ได้ จะยืน เดิน นั่ง นอน กิน ดื่ม ทำ พูด คิด ฯลฯ ก็ให้มีสติรู้กายรู้ใจอยู่เสมอ(2) ให้ปฏิบัติธรรมไปอย่างซื่อๆ ตรงๆ อย่าเอาแต่วุ่นวายกับการคิด การหาอุบายทางลัด และนิมิตต่างๆ เพราะนั่นล้วนเป็นทางแห่งความเนิ่นช้า(3) อย่าเอาแต่รวมกลุ่มสัญจรไปตามสำนักโน้นสำนักนี้ เที่ยวสนุกกับการไปฟังธรรมที่โน้นที่นี้ ละเลยการฟังธรรมในจิตใจตนเอง(4) มีผลการปฏิบัติใดๆ เกิดขึ้นในระหว่างทาง ก็อย่าเอาแต่ไปเขียนเล่าในกระทู้ให้กิเลสกระเพื่อม จนปฏิบัติต่อไปไม่ได้อีก(5) ขอให้ตั้งใจจริงจังเพื่อเอาตัวให้รอด ลองเอาจริงสัก ปี สองปีก็ยังดี โดยยอมเสียสละเรื่องรกรุงรังในจิตใจเสียสักช่วงหนึ่ง แล้วตั้งใจปฏิบัติให้สม่ำเสมอ9 พ.ย. 2543 วันวานที่ผ่านมา วิปัสสนาที่แท้จริงนั้น มีแต่รู้ ไม่ต้องจงใจเติมสิ่งใดลงไปในรู้ ไม่ว่าจะเป็นศีล สมาธิ หรือปัญญา ไม่ต้องเอาสมมุติบัญญัติ หรือความคิดนึกปรุงแต่งใดๆ มาช่วยทำวิปัสสนา ไม่ต้องคิด ไม่ต้องพิจารณาโดยสิ้นเชิง เพราะความจงใจเคลื่อนไหวใดๆ จะทำให้จิตก่อภพก่อชาติ ก่อวัฏฏะหมุนวนขึ้นมาอีกผมไม่แนะนำให้พยายามทรงความรู้ตัวให้นานๆ เพราะความพยายามนั้นเอง จะทำให้เกิดการ จงใจ เสแสร้ง ดัดจริต รู้ นักปฏิบัตินั้น อย่าไปนึกถึงเรื่องที่จะให้จิตรู้ตัวต่อเนื่อง ได้เป็นชั่วโมง เป็นวัน เป็นเดือน เลยครับ เพราะการปฏิบัติ เราจะดูกันเป็นขณะๆ ไปเท่านั้นเอง ว่าขณะนี้รู้ตัวหรือเผลอ ขณะนี้มีสติ หรือขาดสติ ขณะใดมีสติ ขณะนั้นกำลังปฏิบัติอยู่ ขณะใดขาดสติ ขณะนั้นไม่ได้ปฏิบัติ หรือปฏิบัติผิด ไม่ใช่พูดว่า ชั่วโมงนี้รู้ตัว หรือวันนี้รู้ตัว ชั่วโมงต่อมา หรือวันต่อมา ไม่รู้ตัวดังนั้นเมื่อเผลอไป แล้วเกิดรู้ตัวว่าเผลอ ขณะนั้น จิต รู้ ถูกต้องแล้ว เมื่อเพ่ง แล้วเกิดรู้ตัวว่าเพ่ง ขณะนั้น จิต รู้ ถูกต้องแล้ว เมื่อมีราคะ แล้วเกิดรู้ตัวว่ามีราคะ ขณะนั้น จิต รู้ ถูกต้องแล้ว เมื่อโทสะ แล้วเกิดรู้ตัวว่ามีโทสะ ขณะนั้น จิต รู้ ถูกต้องแล้ว เมื่อมีโมหะ แล้วเกิดรู้ตัวว่าโมหะ ขณะนั้น จิต รู้ ถูกต้องแล้ว
อาสวกิเลสที่ห่อหุ้มจิตอยู่นี้ ถูกอริยมรรคแหวกออก แหวกออกทำลายออก ก็ล้างก...จิ ผมสังเกตเห็นอย่างหนึ่งว่า พวกเรามักกล่าวถึง กิเลส และนิวรณ์กันบ่อยครั้ง แต่ไม่ค่อยได้กล่าวถึง อาสวกิเลส กันมากนัก แทบไม่เคยเห็นกล่าวถึงกันทีเดียว แท้ที่จริง อาสวกิเลส เป็นเรื่องสำคัญมาก ถ้าสังเกตธรรมในพระไตรปิฎก จะเห็นได้ชัดเจนว่า เมื่อท่านกล่าวถึงความหลุดพ้น ท่านมักจะกล่าวว่า หลุดพ้นจากอาสวกิเลส ไม่กล่าวว่า หลุดพ้นจากกิเลส หรือนิวรณ์ อันที่จริง กิเลส นิวรณ์ และอาสวกิเลส ต่างก็เป็นกิเลสด้วยกัน แต่มีความหยาบและความละเอียดแตกต่างกัน กิเลส คือราคะ โทสะ และโมหะนั้น เป็นของหยาบๆ มันพลุ่งๆ วูบวาบขึ้นมาครอบงำจิต ในลักษณะเป็นสิ่งแปลกปลอมเข้ามาเป็นครั้งคราว ส่วนนิวรณ์ มักจะแทรกเข้ามานิ่มๆ ตามหลังความคิดเข้ามา นักปฏิบัติด้วยการดูจิต หรือเจริญจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน สามารถรู้เห็นกิเลสได้ไม่ยากเลย แม้แต่ผู้หัดดูจิตวันแรก ก็มักมองเห็นได้แล้ว โดยเฉพาะโทสะนั้น เป็นอารมณ์ที่รุนแรง สังเกตง่ายที่สุด ราคะมีความประณีตกว่าโทสะ แต่ก็ยังเป็นสิ่งแปลกปลอมที่มองเห็นง่าย ส่วนโมหะ เป็นความหมอง ความมัวของจิต เหมือนม่านควันที่ซึมซ่านเข้ามาทำให้จิตเสื่อมคุณภาพในการ "รู้ตามความเป็นจริง" ตัวนี้สังเกตยากขึ้นไปอีก หน่อย สำหรับ "นิวรณ์" มีความละเอียดประณีตยิ่งขึ้นไปอีก เพราะมันซึมซ่านนิ่มๆ ตามหลังความคิดเข้าครอบงำจิตได้ง่ายๆ โดยไม่ทันระวังตัว บางคราวถ้าไม่ชำนาญ จะดูไม่ออกเสียด้วยซ้ำไปว่ามันเป็นนิวรณ์ ส่วนอาสวกิเลสนั้น ดูยากกว่านิวรณ์มากนัก ในชั้นแรกนี้ ลองมาดูความหมายในทางปริยัติกันก่อน พจนานุกรมของท่านเจ้าคุณพระธรรมปิฎก ท่านอธิบายความหมายของอาสวกิเลสไว้ดังนี้ อาสวะ กิเลสที่หมักหมมหรือดองอยู่ในสันดาน ไหลซึมซ่านไปย้อมจิตเมื่อประสบอารมณ์ต่างๆ มี 3 อย่างคือ กามาสวะ ภวาสวะ และอวิชชาสวะ กามาสวะ อาสวะคือกาม กิเลสดองอยู่ในสันดาน ที่ทำให้เกิดความใคร่ ภวาสวะ อาสวะคือภพ กิเลสที่หมักหมมหรือดองอยู่ในสันดาน ทำให้อยากเป็น อยากเกิด อยากมีอยู่คงอยู่ตลอดไป อวิชชาสวะ อาสวะคืออวิชชา กิเลสที่หมักหมมหรือดองอยู่ในสันดาน ทำให้ไม่รู้ตามความเป็นจริง *********************************** คราวนี้เราลองหันมาพิจารณา ถึงสภาวะของอาสวกิเลสในมุมมองของนักปฏิบัติบ้าง อาสวกิเลสไม่ได้พลุ่งขึ้นมาเหมือนกิเลสหยาบ ไม่ได้ซึมซ่านเข้ามาเหมือนนิวรณ์อันเป็นกิเลสชั้นกลาง แต่เป็นกิเลสละเอียด ที่จิตจมแช่อยู่มาแต่ไหนแต่ไรแล้ว โดยจมแช่อยู่ อย่างไม่รู้ตัวว่ากำลังจมแช่อยู่ ถ้าเปรียบเทียบให้เป็นรูปธรรมหยาบๆ ก็คล้ายกับร่างกายนี้ จมแช่อยู่ในอากาศ เราแช่ในอากาศมาตั้งแต่เกิด จนลืม จนไม่เคยนึกถึง ถ้าไม่ลงไปแช่ในของหยาบยิ่งกว่านั้น เช่นแช่น้ำ เราจะรู้สึกเหมือนร่างกายนี้เป็นอิสระ ไม่ได้จมแช่อยู่ในอะไรเลย ทั้งที่ความจริง กายนี้จมแช่อยู่ในอากาศมาแต่ไหนแต่ไรแล้ว จิตเองก็จมแช่หมักดองอยู่ในอาสวกิเลสโดยไม่รู้ตัว แต่อาสวกิเลสที่จิตจมแช่อยู่นั้น มีถึง 3 ระดับ หรือ 3 ชนิด สิ่งแรกคือกาม ถัดไปคือภพและอวิชชา จิตของสรรพสัตว์ที่ยังไม่บรรลุพระอนาคามี ล้วนยังจมแช่อยู่ในกามทั้งสิ้น ถ้าทำใจให้สบาย มีสติปัญญาระลีกรู้ไปในกาย จะเห็นว่าจิตจมแช่อยู่ในกาม ซึมซ่านไปทั่วกายตลอดทุกขุมขน ยินดีพอใจในผัสสะทางกายที่เป็นสุข ระแวดระวัง เกลียดกลัวผัสสะทางกายที่เป็นทุกข์ ไม่ผิดอะไรกับสาวงามที่อาบน้ำใหม่ๆ ทาแป้งและของหอมเรียบร้อย มีความอิ่มเอิบพอใจอยู่ทุกขุมขน และเกลียดกลัวสิ่งสกปรกแม้เพียงเล็กน้อยที่จะมากระทบกาย เครื่องดองชั้นหยาบนี้จะถูกทำลายไปเมื่อจิตบรรลุพระอนาคามี เพราะจิตมีปัญญารู้แจ้งแทงตลอดในกาย เห็นแต่ความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เป็นอสุภะของกาย จึงหมดยางใยที่จะยึดถือในความสุขและความทุกข์ทางกายลงอย่างเด็ดขาด สำหรับภวาสวกิเลสนั้น พวกเราบางคนก็อาจจะเคยเห็นร่องรอยบ้าง คือเมื่อเรามีสติสัมปชัญญะ มีธรรมเอกหรือจิตผู้รู้ เห็นอารมณ์เกิดดับหมุนเวียนไปเรื่อยๆ คือผ่านภพน้อยภพใหญ่นับไม่ถ้วน ในที่สุดเมื่อจิตวางอารมณ์หยาบทั้งหมด มาหยุดรู้อยู่ที่จิตผู้รู้ ก็ยังเห็นอีกว่า จิตผู้รู้ที่กำลังรู้อยู่นั้น เอาเข้าจริงก็ยังเป็นภพอีกอันหนึ่ง จิตจมแช่อยู่ในภพ โดยไม่เคยเห็นเลยว่า กระทั่งจิตที่ดูสะอาดหมดจดสุดขีดแล้วนั้น เอาเข้าจริงก็ยังหลงอยู่ในภพอันหนึ่ง ที่ดูสะอาดหมดจดสุดขีดนั้น ผมเองเมื่อเจริญสติสัมปชัญญะ และเห็นจิตผู้รู้ จะรู้ชัดว่าจิตยังข้องอยู่ในภพ ยังผูกพันอยู่ในภพ เหมือนคนที่ถูกขังอยู่ในห้องขังที่ฝาและเพดานเป็นกระจกใส หรือเป็นแสงที่มองด้วยตาเปล่าไม่เห็น ดูผิวเผินเหมือนกับคนที่เป็นอิสระ ไม่ได้ถูกกักขัง แต่เอาเข้าจริงแล้ว จิตไม่ได้เป็นอิสระจริง ผู้ที่เคยเข้าถึงความหลุดพ้นชั่วขณะ จะเห็นจิตที่จมแช่ภวาสวกิเลสได้ชัดเจน เพราะสามารถเทียบกับสภาวะที่จิตเป็นอิสระ หลุดพ้นจากภพ ได้อย่างชัดเจน สำหรับอวิชชาสวกิเลสนั้น โยงใยอยู่กับภวาสวกิเลส คือที่จิตยังติดข้องอยู่ในภพ หรือจมแช่อยู่ด้วยภวาสวกิเลสนั้น ก็เพราะจิตยังถูกย้อมด้วยอวิชชา และปราศจากวิชชา คือยังมองไม่เห็น ทุกข์ มองไม่ออกว่า จิตผู้รู้ ก็คือก้อนทุกข์อันหนึ่ง ยังข้องอยู่ในภพอันหนึ่ง ยังเป็นทุกข์ ยังแปรปรวน ยังไม่ใช่ที่พึ่งที่แท้จริง หรือแม้ว่าจะพอรู้สึกบ้างว่า จิตผู้รู้เป็นจิตในภพอันหนึ่ง เป็นทุกข์อันหนึ่ง ก็ยังมองไม่เห็นว่า สมุทัย ที่ทำให้ภพของจิตผู้รู้เกิดขึ้นนั้น อยู่ตรงไหน คือมองไม่เห็นว่า เจตนา ที่จะประคองรักษาจิต ทำให้มโนวิญญาณหยั่งลง และสร้างภพของผู้รู้ขึ้นมา ครั้นจะ เจตนาที่จะไม่มีเจตนา มันก็ยังเป็นเจตนาอยู่อีก จึงจนปัญญา จมแช่อยู่กับความไม่รู้ว่าจะรอดจากความทุกข์ได้อย่างไร *********************************** หนทางที่จะทำลายอาวสวกิเลสนั้น พระศาสดาทรงแสดงไว้ชัดเจน วิธีที่มาตรฐานที่สุด ได้แก่การใช้จิตที่มีคุณภาพ คือมีสติสัมปชัญญะบริสุทธิ์แล้ว น้อมไปเจริญปัญญาจนรู้แจ้งอริยสัจจ์ และรู้แจ้งอาสวกิเลส ซึ่งพระองค์เองทรงใช้วิธีทำจิตจนถึงฌานที่ 4 แล้วน้อมจิตไปเจริญปัญญา ดังนี้ เรา(พระศาสดา)ก็เหมือนอย่างนั้นแล พราหมณ์ เมื่อประชาชนผู้ตกอยู่ในอวิชชา เกิดในฟอง อันกะเปาะฟองหุ้มห่อไว้ ผู้เดียวเท่านั้นในโลก ได้ทำลายกะเปาะฟอง คือ อวิชชา แล้วได้ตรัสรู้พระสัมมาสัมโพธิญาณอันยอดเยี่ยม เรานั้นเป็นผู้เจริญที่สุด ประเสริฐที่สุดของโลก เพราะความเพียรของเราที่ปรารภแล้วแล ไม่ย่อหย่อน สติดำรงมั่นไม่ฟั่นเฟือน กายสงบ ไม่กระสับกระส่าย จิตตั้งมั่น มีอารมณ์เป็นหนึ่ง. เรานั้นแล สงัดแล้วจากกาม สงัดแล้วจากอกุศลธรรม ได้บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขซึ่งเกิดแต่วิเวกอยู่. เราได้บรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิต ณ ภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตก วิจาร สงบไป มีปีติและสุขซึ่งเกิดแต่สมาธิอยู่. เรามีอุเบกขาอยู่ มีสติ มีสัมปชัญญะ และเสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป ได้บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ มีสุขอยู่ ดังนี้ อยู่. เราได้บรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัส โทมนัส ก่อนๆ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่. เรานั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้แล้ว ได้น้อมจิตไปเพื่ออาสวักขยญาณ เรานั้นได้รู้ชัดตามเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ได้รู้ชัดตามเป็นจริงว่า นี้เหตุให้เกิดทุกข์ ได้รู้ชัดตามเป็นจริงว่า นี้ความดับทุกข์ ได้รู้ชัดตามเป็นจริงว่า นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ ได้รู้ชัดตามเป็นจริงว่า เหล่านี้อาสวะ ได้รู้ชัดตามเป็นจริงว่า นี้เหตุให้เกิดอาสวะ ได้รู้ชัดตามเป็นจริงว่า นี้ความดับอาสวะ ได้รู้ชัดตามเป็นจริงว่า นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับอาสวะ เมื่อเรานั้นรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้ จิตได้หลุดพ้นแล้วแม้จากกามาสวะ ได้หลุดพ้นแล้วแม้จากภวาสวะ ได้หลุดพ้นแล้วแม้จากอวิชชาสวะ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ได้มีญาณหยั่งรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว ได้รู้ด้วยปัญญาอันยิ่งว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นอีกเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี พราหมณ์ วิชชาที่สามนี้แล เราได้บรรลุแล้วในปัจฉิมยามแห่งราตรี อวิชชา เรากำจัดได้แล้ว วิชชาเกิดแก่เราแล้ว ความมืดเรากำจัดได้แล้ว แสงสว่างเกิดแก่เราแล้ว เหมือนที่เกิดแก่บุคคลผู้ไม่ประมาท มีความเพียรเผากิเลสส่งจิตไปแล้วอยู่ ฉะนั้น ความชำแรกออก..ของเรานี้แล ได้เป็นเหมือนการทำลายออกจากกะเปาะฟองแห่งลูกไก่ ฉะนั้น. ธรรมตรงนี้ท่านแสดงไว้อย่างชัดเจนถึง กะเปาะฟองที่ห่อหุ้ม(จิต) สิ่งนี้ก็คือห้องขังที่มองไม่เห็น ที่ขังให้จิตติดข้องอยู่ในอาสวกิเลส และทรงกล่าวถึงการชำแรกออก หรือทำลายออกจากกะเปาะนั้น เพราะมีปัญญาเห็นแจ้งอริยสัจจ์ และเห็นแจ้งอาวสกิเลส ฟังผิวเผินเหมือนเป็นถ้อยคำเปรียบเทียบของพระองค์ แต่ผู้ปฏิบัติที่พบเห็นสภาวะ ภพของจิตผู้รู้ อ่านตรงนี้แล้วจะสะดุ้งใจ เพราะจะรู้สึกว่า พระองค์รับสั่งถึงสภาวะอันหนึ่งอย่างตรงไปตรงมาที่สุด เพราะเห็นชัดว่า จิตถูกขัง ถูกแช่จม อยู่ในขอบเขตอันหนึ่งจริงๆ ผมมีเรื่องอยู่เรื่องหนึ่ง ที่จะเล่าให้พวกเราฟังกันเป็นการภายใน ดังนี้ เมื่อประมาณปี 2525 - 2526 ผมได้ไปกราบหลวงพ่อพุธ ที่วัดป่าสาลวัน ท่านได้ถามถึงธรรมที่หลวงปู่ดูลย์สอนผม อันเป็นเรื่องการทำลายผู้รู้ แล้วท่านก็กล่าวว่า หลวงปู่ดูลย์ก็สอนท่านอย่างเดียวกันนี้ จากนั้นท่านก็เมตตา ให้โอกาสแก่ผมด้วยกุสโลบาย คือตามธรรมเนียมของผู้ปฏิบัติแล้ว จะไม่ก้าวก่ายเข้าไปสอนศิษย์ของท่านผู้อาวุโสกว่า หลวงพ่อจึงไม่บอกว่า จะสอนธรรมให้แก่ผม แต่กลับบอกว่า "คุณกับอาตมามาทำกติกาตกลงกันไว้ ใครทำลายผู้รู้ได้ก่อน ให้มาบอกวิธีแก่กัน" เมื่อประมาณปี 2541 - 2542 ผมมีโอกาสพบท่านอีกครั้งหนึ่ง เข้าไปกราบท่าน รายงานตัวฟื้นความหลังให้ว่าผมเป็นใคร ท่านก็บอกว่า ท่านจำได้ ผมก็กราบเรียนท่านว่า จนป่านนี้ผมยังทำลายจิตผู้รู้ไม่ได้เลย ขออุบายวิธีปฏิบัติจากหลวงพ่อ เพื่อทำลายผู้รู้ด้วยเถิด หลวงพ่อตอบว่า จิตผู้รู้ก็เหมือนฟองใข่ เมื่อจิตมีปัญญาแก่รอบแล้ว จิตจะทำลายสิ่งห่อหุ้มนั้นออกมาเอง เหมือนลูกไก่ที่โตได้ที่แล้ว เจาะทำลายเปลือกไข่ออกมาเองตถูกห่อหุ้มด้วยอาสวะกิเลส เวลาวิมุติอริยมรรคเกิดแต่ละขั้นๆ ก็มีความสุขเป็นลำดับๆ ไป ถึงจุดสุดท้ายก็มีความสุขล้วนๆ มีความสุขเพราะว่ามันไม่มีอะไรเข้ามาเคลือบจิตได้อีก หมอณัฐดูออกมั้ยจิตเราถูกห่อหุ้มไว้ มีเปลือกหุ้ม จิตเค้าถูกห่อหุ้มด้วยอาสวะ ยังปนเปื้อน เยิ้มๆ จิตยังปนเปื้อน ความปนเปื้อนนี้แหละ เป็นช่องทางให้กิเลสไหลเข้ามาสู่จิต (หมอณัฐถาม...ได้ยินไม่ชัด) .. อือ ดูอย่างนี้ก็ได้ แล้วจะเห็นเอง จิตใจนี้เป็นอิสระ รู้สึกมั้ยจิตใจไม่เป็นอิสระ ตอนนี้รู้สึกมั้ย อาจจะไม่เห็นตัวอาสวะตรงๆ แต่เห็นผลของจิตที่มีอาสวะ ไม่อิสระ จริงๆ จิตถูกอาสวะห่อหุ้มไว้ อาสวะนี่ เทียบแล้วคล้ายๆ กับ เรามี สมมติอยู่บ้านไม้ ใครเคยอยู่บ้านไม้ เวลาเราทำน้ำหกน้ำไหลไปเนี่ย เราจะเห็นเส้นทางที่เราเช็ดให้แห้ง เทน้ำลงไปที่เก่า มันไหลไปทางเดิมอย่างรวดเร็ว มันนำร่อง ความชื้นเดิมมันนำร่อง เพราะน้ำนี้ไหลไปตามความชื้นเดิม อาสวะกิเลสนี่มันนำร่องกิเลสเข้าไปย้อมจิต จิตของเราไม่มีอิสระ เหมือนลูกไก่ที่อยู่ในเปลือกไข่ พระพุทธเจ้าท่านบอกว่า ท่านเป็นลูกไก่ที่เจาะเปลือกไข่ออกมาเป็นตัวแรก ท่านใช้คำเปรียบเทียบได้ดี เคยมีพราหมณ์คนนึงไปว่าพระพุทธเจ้า บอกอายุก็ยังน้อยพราหมณ์ผู้แก่ผู้เฒ่ามาก็ไม่ไหว้ไม่ต้อนรับ เฉยเมย ท่านบอกว่าท่านอาวุโสที่สุด ท่านเป็นลูกไก่ที่เจาะเปลือกออกมาได้ พวกที่เหลือยังอยู่ในไข่อยู่เลย ท่านจะไปไหว้ทำไม คำพูดของท่านนะ น่าฟัง จริงๆ แล้วเรามีเปลือกที่ห่อหุ้มอยู่ จิตถูกอาสวะกิเลสห่อหุ้ม ทำยังไงก็ไม่ขาด ไม่ขาด ทำยังไง ยังไง้ ยังไงก็ไม่ขาด พระไตรปิฎกก็เลยใช้คำบอกว่า เวลาบรรลุพระอรหันต์นะ จิตหลุดพ้นจากอาสวะเพราะความไม่ถือมั่น เห็นมั้ย หลุดพ้นจากอาสวะ อาสวะมันห่อหุ้มไว้ จิตหลุดพ้นจากอาสวะเพราะความไม่ถือมั่น ไม่ถือมั่นในอะไร ในรูปนาม ในกายในใจ เนี่ยกุญแจของการปฏิบัติอยู่ที่กายกับใจนี่เอง เมื่อไรไม่ถือมั่นในกายในใจ โดยเฉพาะเมื่อไหร่ไม่ถือมั่นในใจในจิต อาสวะจะขาดโดยอัตโนมัติ ถ้าเราเห็นอาสวะแล้วพยายามตัด ทำยังไงก็ไม่ขาด กำหนดจิตให้แหลมคมแค่ไหนก็ไม่ขาดนะ แทงก็ไม่ทะลุนะ พอมันขาดเราจะรู้สึกว่าเรามีอิสระ23 ก.ค. 2549 สภาวะทุกอย่างเสมอภาคกัน การเห็นสภาวะที่หยาบหรือละเอียด ธรรมะภายใน ธรรมะภายนอก ธรรมะที่เป็นกุศล อกุศล ธรรมะที่เป็นสุข เป็นทุกข์ ก็เสมอภาคกัน คือทั้งหมดเกิดและดับ ไม่ใช่ว่าต้องทำให้ละเอียดขึ้นๆ จึงจะบรรลุธรรม บางวันมันก็หยาบ บางวันมันก็ละเอียด เพราะว่าทั้งหมดนี้ เป็นเรื่องของอนัตตา ทั้งหมดเลย สติก็เป็นอนัตตา บางวันก็หยาบ บางวันก็ละเอียด บางวันก็ไม่มีเลย เขาเกิดขึ้นมาจะเป็นยังไงก็ได้ เราเรียนไม่ใช่เพื่อว่าจะเอาดี ไม่ใช่ว่าเราอยากได้สติเยอะๆ เราไม่ได้เรียนเอาตรงนั้นหรอก แต่เราเรียนจนกระทั่งจิตมันเกิดความเข้าใจ ว่าทุกอย่างบังคับไม่ได้ สติจะเกิดหรือไม่เกิด จะหยาบหรือละเอียด เราก็เลือกไม่ได้ ไม่ได้เรียนเอาดีนะ แต่เรียนเพื่อที่จะเห็นว่า ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นมาล้วนแต่ดับไปทั้งสิ้น ธรรมะที่หยาบเกิดขึ้นแล้วก็ดับ ธรรมะที่ละเอียดเกิดแล้วก็ดับ เสมอภาคกัน เรียนเพื่อให้เข้าใจตรงนี้เอง ในที่สุดก็เข้าใจว่า ทุกสิ่งที่เกิดล้วนแต่ดับไปทั้งสิ้น พระโสดาบันรู้แค่นี้เอง22 ต.ค. 2548 การจำสภาวะธรรมได้เป็นเหตุใกล้ให้เกิดสติ สติเกิดขึ้นได้เพราะมีเหตุให้สติเกิด มันเกิดขึ้นเอง เราไปสั่งให้มันเกิดมันไม่เกิดหรอก สติมีการจำสภาวะได้ เป็นเหตุใกล้ให้เกิด เพราะเรารู้จักโกรธเป็นอย่างไร พอโกรธสติก็เกิด พอรู้จักเผลอเป็นยังไง พอเผลอสติก็เกิดพอหัดรู้กาย รู้ใจเนืองๆ สติปัญญาเริ่มแก่กล้าเพียงพอ จิตจะรวมเข้าอัปปนาสมาธิเอง พอรวมแล้วก็จะเห็นสภาวธรรมเกิดดับ 2 หรือ 3 ขณะ จะเห็นตัวสภาวะเกิดดับ ถัดจากนั้นโคตรภูญาณจะเกิดขึ้น มันจะเกิดการปล่อยวางตัวสภาวะ พอเห็นสภาวะเกิดดับ ปัญญาแก่รอบแล้ว มันวาง มันทิ้งโดยไม่ได้เจตนา ตรงนี้ไม่มีความจงใจเหลืออยู่เลยตั้งแต่จิตรวมแล้วเห็นสภาวะเกิดดับ 2 หรือ 3 ขณะนั้น จิต จะวางการรู้สภาวะแล้วทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้ ตรงเนี้ยตรงที่มันปล่อยสภาวะก็ไม่ใช่ปุถุชน ตรงที่ทวนเข้าหาธาตุรู้ยังไม่เข้าถึงธรรมธาตุตัวนี้ก็ไม่ใช่พระอริยะ เพราะงั้นเป็นรอยต่อ เกิดขึ้นแว๊บเดียวทวนเข้าถึงธาตุรู้แท้ๆ ตัวรู้จะมีปัญญาสุดขีดเกิดขึ้น ธาตุรู้นี้ก็เกิดแล้วก็ดับได้อีก จะเห็นเลยว่าความเป็นราไม่มีสักนิดเดียว ถัดจากนั้นจิตจะไปเห็นนิพพาน 2 หรือ 3 ขณะแล้วแต่คน จะเห็นสภาวธรรมเกิดดับ 2 หรือ 3 ขณะจากนั้นจิตจะถอยออกมาจากอัปปนาสมาธิ พอออกมาข้างนอกมันจะทวนกระแสเข้าไปพิจาณาสิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อกี๊แล้วมันจะเข้าใจ กิเลสยังเหลือ หรือไม่เหลือสักเท่าไร รู้ พอเราปฏิบัติได้อย่างนี้ พอเราต้องการเช็คตัวเอง เราสังเกตที่ใจของเรากิเลสของเราเหลือสักเท่าไร จะไปแล้วเท่าไร หลวงปู่ดูลย์ไปเรียนกรรมฐานกับหลวงปู่มั่นเสร็จแล้วไปเดินนะ เดินมาเดือนกว่าๆ กลับมารายงาน กิเลส 4 ส่วน ผมละเด็ดขาดไปแล้ว 1 ส่วน ส่วนที่ 2 ละได้ครึ่งเดียวยังไม่สมุจเฉจ (การตัดขาด) หลวงปู่มั่นบอกไปทำต่อถูกแล้ว จากนี้ดู สัพเพ สังขารา สัพพสัญญา อนัตตา4 พ.ค. 2548 ทางลัด จิตที่พ้นความปรุงแต่ง จะรู้ธรรมชาติที่พ้นความปรุงแต่ง (นิพพาน) ทางลัดที่สุดสำหรับการปฏิบัติธรรม จึงไม่ใช่การกระทำ (ปรุงแต่ง) ใดๆ แต่เป็นการหยุดกระทำ โดยไม่กระทำ (ปรุงแต่ง) ความหยุดให้เกิดขึ้น มีเพียง การรู้อย่างเงียบสนิทจริงๆ เท่านั้น (โดยไม่มีมายาของการคิดนึกปรุงแต่ง และมายาของการหยุดคิดนึกปรุงแต่ง) ที่เป็นสิ่งสุดท้ายซึ่งผู้ปฏิบัติจะทำได้ ก่อนที่จิตเขาจะ "ก้าวกระโดด" ไปเองหากพระพุทธเจ้าจะทรงแสดงธรรมอย่างถึงที่สุด ย่อมต้องปิดพระโอษฐ์เงียบ แต่นั่นเป็นสิ่งยากเกินกว่าเวไนยชนจะเข้าใจได้ และหากจะทรงกล่าวธรรมอย่างย่นย่อที่สุดว่า สิ่งทั้งปวงไม่ควรยึดมั่น ก็ยังยากที่จะมีผู้รู้ตามได้ เพราะสัตว์ทั้งหลายถ้าไม่ยึดรูปธรรม ก็ต้องยึดนามธรรมไว้ก่อน พระองค์จึงทรงบอก ทางของการปฏิบัติขึ้นมามากมาย โดยอิงกับรูปธรรมและนามธรรม เช่น ทาน ศีล ภาวนา กุศลกรรมบถ ตลอดจนการทำสมถะและวิปัสสนา ทั้งนี้ ก็เพื่อให้พวกเราเดินเข้าใกล้การหยุดพฤติกรรมทางจิต จนเหลือเพียงรู้อย่างเงียบสนิทจริงๆ นั่นเองเช่นทรงสอนให้ทำทาน เพื่อลดความกระวนกระวายเพราะความโลภ ทรงสอนให้รักษาศีล เพื่อเป็นพื้นฐานสำหรับความสงบระงับ ทรงสอนสัมมาสมาธิ เพื่อให้จิตตั้งมั่นและรู้ตัว และทรงสอนวิปัสสนา เพื่อทำลายแรงดึงดูดของอารมณ์ ที่จะพาจิตให้ทะยานไปก่อภพก่อชาติตลอดนิรันดร ผู้ปฏิบัติที่ยังขาดความเข้าใจ ย่อมปฏิบัติสิ่งเหล่านี้ เพื่อที่จะปฏิบัติต่อไป ส่วนผู้ที่เข้าใจแล้ว ก็จะ หยุดการปฏิบัติ ได้ด้วยปัญญาญาณอันแหลมคมหากต้องการทางลัด ก็จำเป็นต้อง รู้ และเลิกคิดเรื่อง ทาง ไปเลย แต่ถ้ายังไม่รู้จัก รู้ ก็ยังจำเป็นต้องอาศัยทางเหล่านั้นต่อไปก่อน4 ธ.ค. 2544 ของฝากจากสวนโพธิ์ 1. เผลอก็ให้รู้ว่าเผลอ เมื่อรู้ว่าเผลอแล้วก็พอแล้ว อย่าเผลอต่อไปอีก ด้วยการคิดว่า ทำอย่างไรจึงจะรู้ตัวได้ต่อเนื่อง2. เพ่งก็ให้รู้ว่าเพ่ง เมื่อรู้ว่าเพ่งแล้วก็พอแล้ว อย่าเผลอหรือเพ่งต่อไปอีก เพื่อจะทำลายการเพ่งนั้น3. หงุดหงิดก็รู้ว่าหงุดหงิด กลัวก็รู้ว่ากลัว มีราคะก็รู้ว่ามีราคะ มีความฟุ้งซ่านก็รู้ว่ามีความฟุ้งซ่าน ให้รู้ด้วยจิตที่เป็นกลางๆ คือไม่คล้อยตาม และไม่ต่อต้าน เพราะถ้าคล้อยตามก็จะถูกกิเลสครอบงำ ถ้าต่อต้านก็จะเกิดความอึดอัดใจ4. สรุปแล้ว ให้รู้ทุกอย่างที่จิตไปรู้เข้า โดยไม่เติมความคิดนึกปรุงแต่งใดๆ ลงไปอีก เพราะ "รู้" นั่นแหละคือประตูของมรรคผลนิพพาน29 พ.ย. 2544 แก่นสารของการปฏิบัติธรรม การเจริญสติจริงๆ จะไปยากอะไร เพียงแต่ให้มีจิตที่รู้ตัวสบายๆ เป็นธรรมชาติธรรมดานี้เอง แล้วไปรู้อารมณ์ (ที่เป็นปรมัตถ์)ที่กำลังปรากฏ โดยไม่เผลอ ไม่เพ่ง ด้วยความเป็นกลางจริงๆ คลองแห่งความคิดจะขาดไป และจิตจะรู้ โดยปราศจากความปรุงแต่ง ไม่นานผู้ปฏิบัติก็จะสามารถเข้าในวิสังขารธรรม หรือธรรมที่พ้นความปรุงแต่งได้จุดแรกที่พวกเราควรทำความรู้จักก็คือ จิตที่มีสติ ไม่เผลอ ไม่หลง ไม่ถูกครอบงำด้วยความปรุงแต่งมันเป็นอย่างไร เมื่อรู้ตัวเป็นแล้ว ก็รู้ปรมัตถธรรมที่กำลังปรากฏไปตามธรรมดาๆ นี่เอง เช่นรู้ลงในความไหวของกาย ด้วยจิตที่ไม่หลง ก็จะเห็นปรมัตถ์ของ "กาย" อย่างชัดเจน คลองแห่งความคิดจะขาดไป เหลือแต่รู้สักว่ารู้ รู้ตามความเป็นจริง รู้ด้วยจิตที่เป็นกลาง แล้วจะเห็นธรรมฝ่ายสังขารคือ "กาย" หากจิตมีความพร้อม ก็จะเห็นธรรมฝ่ายวิสังขาร คือฝ่ายเหนือความปรุงแต่งได้ในวับเดียว29 พ.ค. 2544 รู้อย่างไรจึงจะบั่นทอนทุกข์ลงได้ "รู้ตัว" เป็น ก็คือมีจิตที่ตั้งมั่น เป็นกลาง เป็นธรรมเอก ถัดจากนั้นก็ต้องหัด "รู้" ทุกสิ่งที่กำลังปรากฏ ด้วยความ "รู้ตัว" ก็จะเห็นว่าทุกอย่างที่ถูกรู้ล้วนแต่เกิดขึ้นแล้วดับไป และถ้าเมื่อใดจิตขาดความรู้ตัว หลงเข้ายึดถือสิ่งที่ถูกรู้ ความทุกข์ก็เกิดขึ้น ถ้ารู้ โดยรู้ตัวอยู่ ก็เป็น รู้สักว่ารู้ จิตจะเป็นเพียง "ผู้สังเกตการณ์" ปรากฏการณ์ทั้งปวง โดยไม่โดดเข้าไปร่วมแสดงเองที่คุณสุรวัฒน์เล่าถึงการปฏิบัติว่า "ผมก็เลยต้องคอยทำตัวให้ รู้ เข้าไว้ อาบน้ำก็ฝึกรู้ ดูโทรทัศน์ก็ฝึกรู้ กินข้าวก็ฝึกรู้ ...นึกขึ้นได้ตอนไหนก็ฝึกรู้ วันๆก็ฝึกรู้ไปเรื่อยๆ"หัดต่อไปอย่างที่หัดนี่แหละครับ ยืน เดิน นั่ง นอน กิน ดื่ม ขับถ่าย ทำ พูด คิด ฯลฯ รู้อยู่ให้ตลอด ให้ต่อเนื่องไปเรื่อยๆ โดยมีผู้รู้ กับสิ่งที่ถูกรู้ ซึ่งถึงจุดนี้ จะเห็นมันแยกกันเองได้แล้วครับ ไม่ต้องไปพยายามทำอะไรเพื่อให้มันแยกกันมากกว่านี้จนผิดธรรมชาติ จะกลายเป็นปฏิบัติด้วยความจงใจและความอยากมากไปครับ30 มิ.ย. 2543 ปัจจัยแห่งความเจริญงอกงามในธรรม (1) ให้พยายามมีสติสัมปชัญญะ รู้ อยู่ในชีวิตประจำวันให้ได้ จะยืน เดิน นั่ง นอน กิน ดื่ม ทำ พูด คิด ฯลฯ ก็ให้มีสติรู้กายรู้ใจอยู่เสมอ(2) ให้ปฏิบัติธรรมไปอย่างซื่อๆ ตรงๆ อย่าเอาแต่วุ่นวายกับการคิด การหาอุบายทางลัด และนิมิตต่างๆ เพราะนั่นล้วนเป็นทางแห่งความเนิ่นช้า(3) อย่าเอาแต่รวมกลุ่มสัญจรไปตามสำนักโน้นสำนักนี้ เที่ยวสนุกกับการไปฟังธรรมที่โน้นที่นี้ ละเลยการฟังธรรมในจิตใจตนเอง(4) มีผลการปฏิบัติใดๆ เกิดขึ้นในระหว่างทาง ก็อย่าเอาแต่ไปเขียนเล่าในกระทู้ให้กิเลสกระเพื่อม จนปฏิบัติต่อไปไม่ได้อีก(5) ขอให้ตั้งใจจริงจังเพื่อเอาตัวให้รอด ลองเอาจริงสัก ปี สองปีก็ยังดี โดยยอมเสียสละเรื่องรกรุงรังในจิตใจเสียสักช่วงหนึ่ง แล้วตั้งใจปฏิบัติให้สม่ำเสมอ9 พ.ย. 2543 วันวานที่ผ่านมา วิปัสสนาที่แท้จริงนั้น มีแต่รู้ ไม่ต้องจงใจเติมสิ่งใดลงไปในรู้ ไม่ว่าจะเป็นศีล สมาธิ หรือปัญญา ไม่ต้องเอาสมมุติบัญญัติ หรือความคิดนึกปรุงแต่งใดๆ มาช่วยทำวิปัสสนา ไม่ต้องคิด ไม่ต้องพิจารณาโดยสิ้นเชิง เพราะความจงใจเคลื่อนไหวใดๆ จะทำให้จิตก่อภพก่อชาติ ก่อวัฏฏะหมุนวนขึ้นมาอีกผมไม่แนะนำให้พยายามทรงความรู้ตัวให้นานๆ เพราะความพยายามนั้นเอง จะทำให้เกิดการ จงใจ เสแสร้ง ดัดจริต รู้ นักปฏิบัตินั้น อย่าไปนึกถึงเรื่องที่จะให้จิตรู้ตัวต่อเนื่อง ได้เป็นชั่วโมง เป็นวัน เป็นเดือน เลยครับ เพราะการปฏิบัติ เราจะดูกันเป็นขณะๆ ไปเท่านั้นเอง ว่าขณะนี้รู้ตัวหรือเผลอ ขณะนี้มีสติ หรือขาดสติ ขณะใดมีสติ ขณะนั้นกำลังปฏิบัติอยู่ ขณะใดขาดสติ ขณะนั้นไม่ได้ปฏิบัติ หรือปฏิบัติผิด ไม่ใช่พูดว่า ชั่วโมงนี้รู้ตัว หรือวันนี้รู้ตัว ชั่วโมงต่อมา หรือวันต่อมา ไม่รู้ตัวดังนั้นเมื่อเผลอไป แล้วเกิดรู้ตัวว่าเผลอ ขณะนั้น จิต รู้ ถูกต้องแล้ว เมื่อเพ่ง แล้วเกิดรู้ตัวว่าเพ่ง ขณะนั้น จิต รู้ ถูกต้องแล้ว เมื่อมีราคะ แล้วเกิดรู้ตัวว่ามีราคะ ขณะนั้น จิต รู้ ถูกต้องแล้ว เมื่อโทสะ แล้วเกิดรู้ตัวว่ามีโทสะ ขณะนั้น จิต รู้ ถูกต้องแล้ว เมื่อมีโมหะ แล้วเกิดรู้ตัวว่าโมหะ ขณะนั้น จิต รู้ ถูกต้องแล้ว
ถ้าวันใดเห็นว่าจิตก็ไม่ใช่เรา ไม่มีเราในกาย ไม่มีเราในจิต ก็ได้ธรรมะถ้าสามารถเห็นได้ว่า กายนี้ใจนี้เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เห็นเพียงมุมใดมุมหนึ่ง ไม่ต้องเห็นทั้งสามอย่าง เห็นเพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง จิตก็สามารถปล่อยวาง ความยึดถือกายยึดถือใจได้ในที่สุด แต่ในเบื้องต้นก็จะเห็นก่อนว่า กายนี้ใจนี้ไม่ใช่เรา ถึงจะเห็นว่าไม่ใช่เราแต่ก็ยังไม่ปล่อยวาง พระโสดาบันเนี่ย ท่านเห็นความจริงแล้วว่าตัวเราไม่มี กายนี้ไม่ใช่เรา ใจนี้ไม่ใช่เรา กายนี้เป็นวัตถุธาตุที่ยืมโลกมาใช้ จิตใจก็เป็นธาตุเรียกว่าธาตุรู้ ธาตุรู้เนี่ยเกิดดับๆ สืบเนื่องกันไปเรื่อยๆ ก็ไม่ใช่ตัวเรา แต่ท่านยังยึดถืออยู่นะ ยังเห็นว่า กายนี้ใจนี้ยังนำความดีงามมาให้ได้ ยังรักมันอยู่ ยังนำความสุขมาให้ได้ ต้องเจริญสติต่อไปอีกนะ รู้กายรู้ใจๆ เรื่อยไป ถึงวันหนึ่ง ถึงจะเห็นความจริงว่า กายนี้ใจนี้มีแต่ทุกข์ล้วนๆ ทุกข์เพราะไม่เที่ยง ทุกข์เพราะทนอยู่ไม่ได้ ถูกบีบคั้น ทุกข์เพราะว่าไม่ใช่ตัวเรา บังคับมันไม่ได้ อยู่นอกเหนืออำนาจบังคับ ถ้าเห็นอย่างนี้นะก็จะปล่อยวาง ปล่อยวางเป็นพระอรหันต์ พระโสดาบันเนี่ยไม่ได้ยากเท่าไหร่ แค่รู้ว่ากายนี้ใจนี้ไม่ใช่เรา ไม่มีเราในกายในใจ แต่ยังยึดถืออยู่ ทำไมไม่เห็นว่าเป็นเรา แล้วยังยึดถือได้ คล้ายๆ คนที่ยืมของคนอื่นเค้ามาใช้นะ สมมุติหลวงพ่อไปยืมรถยนต์ ของคุณอนุรุธมาใช้ซักคันนึง โอ้...รถคันนี้มันโก้จังนะ เรามีแต่รถกระบะ นี่รถเค้าสวย ยืมมาใช้นาน จนหลงไปว่าเป็นรถของเราเอง ยืมเค้ามานาน จนเราคิดว่าเป็นของเราเอง เหมือนกายนี้ใจนี้ เรายืมของโลกมาใช้ ยืมมานานจนสำคัญผิดว่าเป็นของเราเอง วันหนึ่งเป็นพระโสดาบัน รู้แล้วว่ากายนี้ใจนี้เป็นของโลกนะไม่ใช่ของเรา ไม่มีเราหรอก ก็จะคล้ายๆคนขี้งกอ่ะ รู้แล้วว่ารถคันนี้ไมใช่ของเรานะ แต่มันดีนะ เอาไว้ก่อน เพราะฉะนั้นพระโสดาบันยังมีอารมณ์ขี้งกอยู่ ยังไม่ปล่อยวางกายวางใจจริงนะ ต้องมาเรียนรู้กายรู้ใจให้หนักเข้าอีก ดูไปเรื่อย วันหนึ่งเกิดปัญญาขึ้นมา ก็เห็นมันเป็นแต่ทุกข์ล้วนๆเลย ไม่ใช่ของดีของวิเศษอีกต่อไป ก็ยอมคืนเจ้าของ คืนให้โลกไป นี่ ฮ นกฮูกนะ มีหลัง ฮ นกฮูกอีก after ฮ นกฮูก คือภาวะซึ่งมันสิ้นทุกข์ไปแล้วนะ จิตใจซึ่งมันสิ้นทุกข์ไปแล้วนะ มันจะบอกว่ามีความสุขมันก็ไม่เหมือนนะ มันไม่รู้จะเทียบกับอะไร มันสุขเพราะไม่มีอะไรเสียดแทง เป็นสุขเพราะเป็นอิสระ จิตใจปลอดโปร่งโล่งเบาอยู่ทั้งวันทั้งคืน ทั้งหลับทั้งตื่นนะ มันมีแต่ความสุขอย่างงั้น สุขเพราะพ้นความปรุงแต่ง สุขเพราะพ้นกิเลส สุขเพราะไม่มีภาระที่จะต้องไปยึดถืออะไร ใจมันโล่ง อย่างถ้าเรายึดอะไรซักอย่าง เราก็มีภาระ ยกตัวอย่างนะ ตรงนี้มีผ้าอยู่ชิ้นหนึ่ง เอาอะไรดีล่ะที่จะไม่แตกง่าย เอานี่ก็แล้วกัน ระหว่างแก้วน้ำกับผ้านี่ อันไหนหนักกว่ากัน (หลวงพ่อถือใช้มือหนึ่งถือแก้วน้ำและอีกมือหนึ่งถือผ้าไว้) แก้วน้ำใช่มั้ย ถ้าหลวงพ่อวางแก้วน้ำลงเนี่ย ระหว่างแก้วน้ำกับผ้า อันไหนจะหนักกว่ากัน เห็นมั้ยแก้วน้ำมันหนักของมัน ไม่เกี่ยวกับเรา....ใช่มั้ย ถ้าเรายึดผ้าไว้ เราก็หนักเพราะผ้า ขันธ์นี้เหมือนกันนะ ขันธ์นี้เป็นของหนัก ขันธ์นี้เป็นภาระโดยตัวของมันเอง เหมือนแก้วน้ำเนี่ย มันหนักโดยตัวของมันเองอยู่แล้ว แต่ถ้าเราไม่ไปหยิบฉวยขึ้นมา มันไม่หนัก ใจของพระอรหันต์ ใจที่ภาวนามาเต็มเปี่ยมแล้วนะ มันไม่ยึดถืออะไร เพราะฉะนั้นมันไม่หนักเพราะอะไรอีกแล้ว หมดภาระที่จะต้องแบกหาม เพราะฉะนั้นอย่าไปวาดภาพ พระอรหันต์ เหมือนคนพิกลพิการนะ ต้องซึม เซื่องๆ ซึมๆ ทำอะไรก็ไม่ได้นะ กระดุกกระดิกมาก ก็บอกมีตัณหานะ อะไรอย่างนี้ มากไปนะอันนั้นมันคนพิการนะ ดูพระอรหันต์สมัยพุทธกาลนะ บางองค์เจอท้องร่องกระโดดเลย อย่างพระสารีบุตรเนี่ย ไม่มาย่องๆ เลยนะ กระโดดเลย พวกเรานะพากเพียรนะ เจริญวิปัสสนา ได้เป็นพระโสดาบัน ก็มีความสุขมากมาย ได้เป็นพระอรหันต์มีความสุขที่สุดเลย มีความสุขแล้วก็พ้นกิเลส พ้นความปรุงแต่ง พ้นความเสียดแทง พ้นภาระนะ มีความสุขเป็นอิสรภาพ
คนซึ่งเดินปัญญาอยู่ในฌาน เวลาที่จะเกิดอริยมรรคไม่ต้องถอยออกมาอยู่ในโลกก่...พระอาจารย์ปราโมทย์ ปาโมชฺโช luangporพวกเราเวลาคิดถึงการปฏิบัติในใจลึกๆมีไหมคำว่า "จะทำยังไง" คิดตลอดนะ คิดทุกคนแหละ จะทำยังไง จะทำยังไง ห้ามมันไม่ได้หรอก มันจะคิด เพราะมันอยากทำ มันคิดว่าทำแล้วถึงจะได้ ปลอบใจตัวเองอีกนะ ความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จอยู่ที่นั่น พยายามอยู่อย่างนั้น พยายามจนสุดสติสุดปัญญาถึงตรงนั้นนะถึงจะได้ของจริง แต่อาศัยที่เคยพยายามปฏิบัตินะ มันเป็นการพัฒนาสติให้เร็วขึ้น สมาธิให้ตั้งมั่นมากขึ้น ปัญญาก็มีสะสมไปนะ เห็นรูปธรรมนามธรรมเค้าทำงานได้เอง ตรงที่เราจงใจปฏิบัติ จงใจอยากทำ นั่นแหละมันค่อยๆฝึกฝนสติสมาธิปัญญาให้เข้มแข็งมากขึ้นๆนะ ถึงจุดหนึ่งสติปัญญา สติ สมาธิ ปัญญา มันแก่กล้าขึ้นมา จนมันอัตโนมัติ ร่างการพลิกนะ พลิกตัวเนี่ย รู้สึกเองเลยไม่ต้องเจตนารู้สึก ความสุขความทุกข์ กุศลอกุศล อะไรเกิดขึ้นที่จิตนะรู้เองเลยโดยไม่เจตนาจะรู้ มันสารพัดจะเกิดมันจะรู้ได้เอง นี่สติมันอัตโนมัติขึ้นมาแล้ว ไม่ได้จงใจ แต่ก่อนที่จะอัตโนมัติก็ต้องจงใจมาก่อน การที่เราคิดอยู่นะ ทำยังไงจะดี ทำยังไงจะดี แล้วพยายามทำ มันได้พัฒนาสติสมาธิปัญญาขึ้นมา ทำไปเรื่อยๆถึงวันหนึ่งพบว่า เอ..ทำไงมันก็ดีไม่ถาวร สุขก็ไม่ถาวร สงบก็ไม่ถาวร ตัวผู้รู้ก็ไม่ถาวร ตัวผู้รู้เกิดได้กลายเป็นตัวผู้คิดได้ หรือกลายเป็นตัวผู้เพ่งได้ มีแต่ของไม่ถาวร ก็พย๊ามพยามนะ อยากจะให้ดีถาวร สุขถาวร สงบถาวร ถามใจของพวกเราดูซิ เราปฏิบัติเราอยากได้ตรงนี้ใช่ไหม อยากได้มรรคผลนิพพานนะจริงๆเพราะอะไร? มรรคผลนิพพานมันน่าจะดีถาวร มันน่าจะสุขถาวร มันน่าจะสงบถาวร เราอยากได้สิ่งเหล่านี้ ถ้ามีสติปัญญามาก ก็อยากได้มรรคผลนิพพานเพื่อจะดีถาวร สุขถาวร สงบถาวร ถ้าโง่กว่านั้นนะ ก็ไปทำสมาธิ ทำอะไรขึ้นมา ก็ดีเหมือนกัน ดีช่วงที่มีสมาธิอยู่ สงบช่วงที่มีสมาธิอยู่ สุขช่วงที่มีสมาธิอยู่ พอมันเสื่อมแล้วก็หายไปอีก ต้องมาทำอีก นี้ก็แล้วแต่สติ แล้วแต่ปัญญา บางคนอยากได้มรรคผลนิพพานเพราะว่ามันดี มันสุข มันสงบนั่นแหละ ตะเกียกตะกายนะหาสิ่งเหล่านี้ไปเรื่อย คิดว่าถ้าเราฝึกได้ดีเต็มที่แล้ววันหนึ่งจิตเราจะดีถาวร สุขถาวร สงบถาวร เพราะคิดว่าจิตเป็นเรานั่นแหละ คิดจะทำให้มันดีให้ได้ คิดจะทำให้มันสุขให้ได้ คิดจะทำให้มันสงบให้ได้ ดีชั่วคราว สุขชั่วคราว สงบชั่วคราว ก็ไม่พอใจ จะเอาถาวร สุดท้าย พากเพียรแทบล้มแทบตายก็พบว่าดีก็ชั่วคราว สุขก็ชั่วคราว สงบก็ชั่วคราว จิตผู้รู้ก็ชั่วคราว อะไรๆก็ชั่วคราวหมดเลย ไม่เห็นมีตรงไหนเลยที่มันจะถาวรได้ จิตยอมรับความจริงตรงนี้ได้ จิตก็หมดแรงดิ้นนะ จะดิ้นไปทำไมล่ะ ดิ้นหาดี หาสุข หาสงบ ดิ้นยังไงก็ไม่มี มีก็มีชั่วคราวเดี๋ยวก็หายไปอีก นี่จิตจะหยุดแรงดิ้น หมดแรงดิ้น จิตที่แรงดิ้นเพราะว่าดิ้นมาสุดขีดแล้วนะ สติก็สุดขีดแล้ว สมาธิก็สุดขีดแล้ว ปัญญาก็สุดขีดแล้ว สติสุดขีดก็คือ ไม่เจตนาจะรู้ ก็รู้..รู้..รู้ทั้งวันเลย รู้ทั้งคืนด้วย สมาธิก็จิตตั้งมั่นเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน รู้อยู่อย่างนี้ ไม่เป็นผู้หลงนะ อย่างมากก็หลงแว๊บๆ ก็กลับมาเป็นผู้รู้อย่างรวดเร็ว จะทำสมาธิให้มากกว่านี้ก็ไม่รู้จะทำยังไง จะทำสติให้มากกว่านี้ก็ไม่รู้จะทำยังไง จะเจริญปัญญาให้มากกว่านี้ก็ไม่รู้จะทำยังไงนะ มันจนมุมไปหมดเลย คือ สติก็ทำมาจนไม่รู้จะทำยังไงแล้ว สมาธิก็ทำจนไม่รู้จะทำยังไง ปัญญาก็ไม่รู้จะพลิกแพลงไปพิจารณาอะไรอีกต่อไปแล้ว เนี่ยจิตถ้าภาวนามาสุดขีดนะมันจะเข้ามาสู่ภาวะแห่งความจนมุม มันจะหยุดแรงดิ้น มันจะหมดความอยากว่าทำยังไงจะพ้นทุกข์ได้ ทำยังไงจะสุขถาวร ทำยังไงจะดีถาวร ทำยังไงจะสงบถาวร เพราะมันดิ้นมาจนสุดฤทธิ์สุดเดชแล้ว ก็ไม่รู้จะทำยังไง ทำไม่ได้สักที พอจิตหมดแรงดิ้นนะ จิตก็สักว่ารู้ว่าเห็น ตรงนี้แหละสักว่ารู้ว่าเห็นขึ้นมา อย่างที่พวกเราพูดว่าสักว่ารู้ว่าเห็น ไม่จริงหรอก ไม่ยอมสักว่ารู้ว่าเห็นหรอก มีแต่ว่าทำยังไงจะดีกว่านี้อีก ทำยังไงดี ทำยังไงจะดี ทำยังไงจะถูก รู้สึกไหมแต่ละวัน นักปฏิบัติตื่นนอนก็คิดวันนี้จะทำยังไงดี คิดอย่างนี้แหละนะ จนกระทั่งมันสุดสติสุดปัญญา ทำยังไงมันก็ดีกว่านี้ไปไม่ได้แล้ว ยอมรับสภาพมัน จิตหมดแรงดิ้น จิตหมดความปรุงแต่ง หมดแรงดิ้นรน พอจิตไม่มีความปรุงแต่ง ไม่มีความดิ้นรน อยู่ตรงนี้ช่วงหนึ่งนะ พอจิตหมดแรงดิ้นก็ไม่ปรุง อะไรเกิดขึ้นก็แค่รู้ อะไรเกิดขึ้นก็แค่รู้ ไม่ปรุงต่อ จิตก็เรียกว่าจิตเข้าถึงความเป็นอนุโลม อนุโลมญาณ หมายถึงว่าอะไรเกิดขึ้นก็คล้อยตามมันไป คล้อยตามนี่ไม่ใชหลงตามมันไป ก็แค่เห็นนะ เออ ก็มีขึ้นมา เออ หายไป ก็แค่นั้นเองนะ ไม่ต่อต้าน ไม่หลงตามไป ยอมรับ มันมาก็มา มันไปก็ไป นี่จิตมีอุเบกขาอย่างแท้จริงเลยนะ คล้อยตามทุกสิ่งทุกอย่าง ก็เห็นแต่ความจริง ทุกอย่างมาแล้วก็ไปมาแล้วก็ไป นี่จิตเห็นอยู่แค่นี้เอง นี่ถ้าจิต สติ สมาธิ ปัญญา ศีล สมาธิ ปัญญา บุญบารมีอะไรแก่รอบแล้วนะ จิตหยุดความปรุงแต่งแล้วมันจะรวมเข้าอัปปนาสมาธิ รวมเอง ทำไมมันรวมเข้าอัปปนาสมาธิได้เอง เพราะว่าจิตไม่ไหลไปตามกาม ฌานมันจะเกิดเอง โดยธรรมชาติของจิตนี่ต้องเวียนอยู่ในภพ ภพที่จิตเวียนอยู่ได้มี ๓ ภพเท่านั้น หนึ่ง กามาวจรภพ ภพที่เวียนไปในกาม คือหาอารมณ์เพลิดเพลินไปทางตา หู จมูก ลิ้น กาย เพลินไปเรื่อย พวกเราจิตหมุนอยู่ติ้วๆ ทางตาหูจมูกลิ้นกาย นึกออกไหม อันนี้แหละเรียกว่ากามภพ เรียกให้เต็มยศนะเรียก กามาวจรภูมิ ใจก็ไปเวียนอย่างนี้ ถ้าหลุดออกจากกามภพนะ ก็เข้าไป รูปภพ หรือว่า รูปภูมิ ก็คือเข้าไปสงบอยู่กับการรู้รูป เช่นรู้ลมหายใจ แล้วจิตไม่เอาแล้วโลกข้างนอก อารมณ์ทางตาหูจมูกลิ้นกาย ไม่เห็นจะมีสาระอะไร จิตมารวมลงที่อารมณ์ภายในอันเดียว อาจจะมารู้ลมหายใจอยู่อันเดียว รู้ร่างกายอยู่อันเดียว มาเพ่งรูปอยู่อันเดียว เพ่งดวงกสิณ ดวงนิมิตอยู่อันเดียว จิตเพ่งรูปอยู่เรียกว่ารูปภูมิ ถ้าจิตไม่อยู่ในกามภูมิ ไม่อยู่ในรูปภูมิ จิตก็ต้องเข้า อรูปภูมิ ทิ้งรูปไปแล้วไปอยู่กับนามธรรม เช่นไปอยู่กับความว่าง จิตอยู่ในความว่าง อยู่กับความไม่มีอะไรเลย เพราะงั้นที่เค้าสอนภาวนา บางคนสอนภาวนาให้ไปอยู่ในความว่าง อันนั้นเพี้ยนนะ ไม่ใช่ทางของพระพุทธเจ้า มันก็เป็นอรูปภูมิ เป็นภูมิอีกภูมิหนึ่ง เป็นภพอีกภพหนึ่งเท่านั้นเอง งั้นถ้าสติปัญญาเราพอนะ เรารู้เลยจิตมันแส่ส่ายออกทางตาหูจมูกลิ้นกายมีแต่ทุกข์ จิตไม่แส่ส่าย พอจิตไม่แส่ส่ายจิตก็หลุดออกจากกามภูมิ เข้ารูปภูมิหรืออรูปภูมิ เข้าเองเลย เพราะงั้นพวกเราหัดเจริญสติไปเรื่อย พอศีลสมาธิปัญญา สติสมาธิปัญญาแก่รอบนะ จิตจะหมดความหลงไหลรูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะทั้งหลายมาดึงดูดจิตไหลไปไม่ได้แล้ว อย่างน้อยก็ชั่วขณะ ชั่วขณะเท่านั้นแหละ ถ้าจิตมันตั้งมั่นรู้ไหลออกไปแล้วทุกข์ ก็ตั้งเด่นดวงอยู่ จิตก็เข้าฌานอัตโนมัติ เพราะงั้นถึงเราจะเจริญสติเจริญปัญญาโดยเข้าฌานไม่เป็น ถึงนาทีสุดท้ายที่จะเกิดอริยมรรคอริยผลในทุกขั้นตอน ตั้งแต่โสดาปัตติมรรคจนถึงอรหัตมรรคเนี่ย จิตจะเข้าฌานของเค้าเอง ยกเว้นคนซึ่งเดินปัญญาอยู่ในฌาน เวลาที่จะเกิดอริยมรรคไม่ต้องถอยออกมาอยู่ในโลกก่อนนะ ไม่ต้องกลับมาอยู่กามภูมิก่อนนะ จิตเค้าจะตัดอยู่ข้างในได้เลย นี่เป็นพวกหนึ่ง แต่รวมความก็คืออริยมรรคไม่เกิดอยู่ในจิตที่อยู่ในกามอย่างพวกเรา อริยมรรคจะต้องเกิดอยู่ในรูปภูมิหรืออรูปภูมินะ จะเกิดอยู่ตรงนั้น ไปล้างกันตรงนั้น จิตจะเข้าฌานอัตโนมัติ พอจิตเข้าฌานแล้วคราวนี้สติระลึกรู้อยู่ที่จิตนะ ไม่ได้เจตนาระลึก มันรู้เอง เพราะมันไม่แส่ส่ายออกไปที่ตาหูจมูกลิ้นกายใจ ไม่แส่ส่ายไปในความคิด ก็หยุดลงที่จิตดวงเดียว สติหยั่งลงที่จิต จิตตั้งมั่นอยู่ที่จิต เพราะงั้นสมาธินี่เต็มสมบูรณ์แล้ว ตั้งมั่นอยู่ที่จิต สติสมบูรณ์แล้ว ระลึกอยู่ที่จิต ปัญญาสมบูรณ์แล้ว เห็นความเป็นจริงทุกสิ่งที่อย่างที่เคลื่อนไหวอยู่ในจิตนะ ตรงนี้แหละจิตจะไหวตัวขึ้นมาสองสามขณะ คือปรุงขึ้นมานะแต่ไม่รู้ว่าคิดอะไร ไม่รู้ว่าปรุงอะไร มีความปรุงแต่งเกิดขึ้นแต่ไม่รู้ว่าปรุงอะไร จะเห็นแต่ว่าสิ่งบางสิ่งเกิดขึ้นแล้วสิ่งนั้นดับไป จะเห็นอย่างนี้เอง เห็นเอง ถัดจากนั้นนะจิตจะรู้เลยมันไม่มีสาระอะไร จิตมันจืดนะ มันไม่เอาอีกแล้ว ก็แค่เห็นความปรุงภายในจิตผุดขึ้น พอเห็นความปรุงภายในจิตผุดขึ้นสองสามขณะ ความเห็นกลางอย่างแท้จริงเลย รู้อย่างเป็นกลางอย่างแท้จริงไม่ปรุงต่อนะ จิตจะวาง พอมันวางแล้วมันจะทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้ วางจิตแล้วทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้ ธาตุรู้ก็จิตนั่นแหละ มันเป็นจิตอีกอย่างหนึ่ง พอจิตดวงเก่ามันดับไป จิตที่อยู่ในภพภูมิต่างๆมันดับไป มันทวนกระแสเข้าหาจิตที่เหนือภพเหนือภูมิ ทวนกระแสเข้ามา ขณะที่มันปล่อยวางจิตดวงเดิมนะ แล้วก็ทวนเข้ามาแต่ยังไม่ถึงธาตุรู้นะ คาบลูกคาบดอก ไม่ได้เกาะขันธ์แล้วนะ แต่ก็ยังเข้ามาไม่ถึงตัวธาตุรู้ ไม่ถึงอมตะธาตุอมตะธรรม ไม่ถึงพระนิพพาน ธาตุรู้ไม่ใช่พระนิพพานนะ แต่ธาตุรู้ไปเห็นพระนิพพาน ต้องแยกให้ออก มันยังทวนไม่ถึงธาตุรู้ ไม่ใช่ปุถุชน ไม่ใช่พระอริยะ ทำไมไม่ใช่ปุถุชน เพราะมันปล่อยขันธ์แล้ว ขันธ์สุดท้ายที่มันปล่อยก็คือจิต ไม่ใช่พระอริยะ เพราะยังไม่เข้ามาถึงธาตุรู้ ไม่เข้าถึงพระนิพพาน ตัวธาตุรู้นั่นแหละเป็นตัวไปเห็นพระนิพพาน ตรงนี้นะเรียกว่าโคตรภูญาณ ญาณข้ามโคตร มีปัญญาข้ามโคตร ข้ามโคตรจากโคตรไหนมาสู่โคตรไหน? จากโคตรของปุถุชนมาสู่โคตรของอริยชน เพราะงั้นบรรลุมรรคผลแล้วเปลี่ยนโคตรนะ ข้ามจากสกุลของปุถุชน ข้ามมาสู่อริยวงศ์อริยโคตร เรียกญาณข้ามโคตร ไม่ใช่ปุถุชนนะ กำลังข้ามอยู่ ไม่ใช่พระอริยะ มีอยู่ขณะจิตเดียวแหละที่คาบลูกคาบดอกประหลาดอยู่อย่างนี้ ข้ามมา ทวนเข้ามาถึงจิตแท้ ถึงธาตุรู้แท้ๆ ธรรมธาตุ ตัวนี้อริยมรรคก็จะเกิดขึ้น อาสวกิเลสที่ห่อหุ้มจิตอยู่ถูกอริยมรรคแหวกออกทำลายออก ก็ล้างกิเลส ล้างในพริบตาเดียว ในขณะเดียว วับเดียวเลย ขาดเลย มันคล้ายๆเปิดสวิตซ์ไฟ ปั๊บ สว่างวุ๊บเดียวความมืดหายไปเลย ในพริบตานั้นเลย จากนั้นนะจะเห็นพระนิพพานอีกสองสามขณะ เห็นไม่เท่ากันหรอก บางคนเห็นสองขณะ บางคนเห็นสามขณะ ถ้าพวกอินทรีย์กล้ามากๆก็เห็นสามขณะ พวกอินทรีย์ยังไม่กล้ามากก็เห็นสองขณะนะ งั้นพระอริยะในภูมิธรรมอันเดียวกันระดับเดียวกัน ความรู้ความเข้าใจไม่เท่ากัน ความแตกฉานอะไรนี้ไม่เท่ากัน เห็นพระนิพพานแล้วก็รู้ว่านิพพานอยู่ต่อหน้าต่อตา นิพพานไม่เคยหายไปไหน อยู่ต่อหน้าต่อตานี่แหละ แต่โง่เองไม่เห็น ทำไมไม่เห็น? มัวแต่เห็นแต่กาม มัวแต่เห็นรูปภพ มัวแต่เห็นอรูปภพ จิตไม่รู้จักปล่อย ตรงที่เค้าปล่อยน่ะเค้าข้าม เค้าทิ้งแล้ว ตรงโคตรภูญาณที่จิตข้ามโคตร ข้ามจากปุถุชนมาเป็นพระอริยะ ข้ามตรงนี้มันทิ้งหมดเลยนะ มันทิ้งกามภูมิ รูปภูมิ อรูปภูมิ ทิ้งหมดเลย ข้ามมาสู่อริยภูมิ โลกุตรภูมิ ข้ามเอง พวกเราก็มีหน้าที่ภาวนาให้มันพอเท่านั้นแหละนะ ถ้ามันพอเมื่อไหร่มันก็ข้ามโคตรไป เปลี่ยนสกุลไม่ใช่นามสกุลเดิม โดยสมมุติบัญญัติก็เป็นนามสกุลเดิม โดยปรมัตถ์แท้ๆก็ไม่ใช่แล้ว ก็มาเป็นลูกพระพุทธเจ้า ..งั้นเราภาวนานะ ค่อยหัดไปเรื่อย ถึงวันหนึ่งเราก็คงได้รับผลประโยชน์จากการที่เราอดทนภาวนากันนะ สวนสันติธรรม วันศุกร์ ที่ ๕ สิงหาคม ๒๕๕๔ แสดงน้อยลง ตอบกลับ
ถ้าเรามีจิตตั้งมั่นอย่างเดียว รักษาตัวรู้อยู่อย่างเดียว ก็ไม่เห็นไตรลักษณ์พระอาจารย์ปราโมทย์ ปาโมชฺโช luangporพวกเราเวลาคิดถึงการปฏิบัติในใจลึกๆมีไหมคำว่า "จะทำยังไง" คิดตลอดนะ คิดทุกคนแหละ จะทำยังไง จะทำยังไง ห้ามมันไม่ได้หรอก มันจะคิด เพราะมันอยากทำ มันคิดว่าทำแล้วถึงจะได้ ปลอบใจตัวเองอีกนะ ความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จอยู่ที่นั่น พยายามอยู่อย่างนั้น พยายามจนสุดสติสุดปัญญาถึงตรงนั้นนะถึงจะได้ของจริง แต่อาศัยที่เคยพยายามปฏิบัตินะ มันเป็นการพัฒนาสติให้เร็วขึ้น สมาธิให้ตั้งมั่นมากขึ้น ปัญญาก็มีสะสมไปนะ เห็นรูปธรรมนามธรรมเค้าทำงานได้เอง ตรงที่เราจงใจปฏิบัติ จงใจอยากทำ นั่นแหละมันค่อยๆฝึกฝนสติสมาธิปัญญาให้เข้มแข็งมากขึ้นๆนะ ถึงจุดหนึ่งสติปัญญา สติ สมาธิ ปัญญา มันแก่กล้าขึ้นมา จนมันอัตโนมัติ ร่างการพลิกนะ พลิกตัวเนี่ย รู้สึกเองเลยไม่ต้องเจตนารู้สึก ความสุขความทุกข์ กุศลอกุศล อะไรเกิดขึ้นที่จิตนะรู้เองเลยโดยไม่เจตนาจะรู้ มันสารพัดจะเกิดมันจะรู้ได้เอง นี่สติมันอัตโนมัติขึ้นมาแล้ว ไม่ได้จงใจ แต่ก่อนที่จะอัตโนมัติก็ต้องจงใจมาก่อน การที่เราคิดอยู่นะ ทำยังไงจะดี ทำยังไงจะดี แล้วพยายามทำ มันได้พัฒนาสติสมาธิปัญญาขึ้นมา ทำไปเรื่อยๆถึงวันหนึ่งพบว่า เอ..ทำไงมันก็ดีไม่ถาวร สุขก็ไม่ถาวร สงบก็ไม่ถาวร ตัวผู้รู้ก็ไม่ถาวร ตัวผู้รู้เกิดได้กลายเป็นตัวผู้คิดได้ หรือกลายเป็นตัวผู้เพ่งได้ มีแต่ของไม่ถาวร ก็พย๊ามพยามนะ อยากจะให้ดีถาวร สุขถาวร สงบถาวร ถามใจของพวกเราดูซิ เราปฏิบัติเราอยากได้ตรงนี้ใช่ไหม อยากได้มรรคผลนิพพานนะจริงๆเพราะอะไร? มรรคผลนิพพานมันน่าจะดีถาวร มันน่าจะสุขถาวร มันน่าจะสงบถาวร เราอยากได้สิ่งเหล่านี้ ถ้ามีสติปัญญามาก ก็อยากได้มรรคผลนิพพานเพื่อจะดีถาวร สุขถาวร สงบถาวร ถ้าโง่กว่านั้นนะ ก็ไปทำสมาธิ ทำอะไรขึ้นมา ก็ดีเหมือนกัน ดีช่วงที่มีสมาธิอยู่ สงบช่วงที่มีสมาธิอยู่ สุขช่วงที่มีสมาธิอยู่ พอมันเสื่อมแล้วก็หายไปอีก ต้องมาทำอีก นี้ก็แล้วแต่สติ แล้วแต่ปัญญา บางคนอยากได้มรรคผลนิพพานเพราะว่ามันดี มันสุข มันสงบนั่นแหละ ตะเกียกตะกายนะหาสิ่งเหล่านี้ไปเรื่อย คิดว่าถ้าเราฝึกได้ดีเต็มที่แล้ววันหนึ่งจิตเราจะดีถาวร สุขถาวร สงบถาวร เพราะคิดว่าจิตเป็นเรานั่นแหละ คิดจะทำให้มันดีให้ได้ คิดจะทำให้มันสุขให้ได้ คิดจะทำให้มันสงบให้ได้ ดีชั่วคราว สุขชั่วคราว สงบชั่วคราว ก็ไม่พอใจ จะเอาถาวร สุดท้าย พากเพียรแทบล้มแทบตายก็พบว่าดีก็ชั่วคราว สุขก็ชั่วคราว สงบก็ชั่วคราว จิตผู้รู้ก็ชั่วคราว อะไรๆก็ชั่วคราวหมดเลย ไม่เห็นมีตรงไหนเลยที่มันจะถาวรได้ จิตยอมรับความจริงตรงนี้ได้ จิตก็หมดแรงดิ้นนะ จะดิ้นไปทำไมล่ะ ดิ้นหาดี หาสุข หาสงบ ดิ้นยังไงก็ไม่มี มีก็มีชั่วคราวเดี๋ยวก็หายไปอีก นี่จิตจะหยุดแรงดิ้น หมดแรงดิ้น จิตที่แรงดิ้นเพราะว่าดิ้นมาสุดขีดแล้วนะ สติก็สุดขีดแล้ว สมาธิก็สุดขีดแล้ว ปัญญาก็สุดขีดแล้ว สติสุดขีดก็คือ ไม่เจตนาจะรู้ ก็รู้..รู้..รู้ทั้งวันเลย รู้ทั้งคืนด้วย สมาธิก็จิตตั้งมั่นเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน รู้อยู่อย่างนี้ ไม่เป็นผู้หลงนะ อย่างมากก็หลงแว๊บๆ ก็กลับมาเป็นผู้รู้อย่างรวดเร็ว จะทำสมาธิให้มากกว่านี้ก็ไม่รู้จะทำยังไง จะทำสติให้มากกว่านี้ก็ไม่รู้จะทำยังไง จะเจริญปัญญาให้มากกว่านี้ก็ไม่รู้จะทำยังไงนะ มันจนมุมไปหมดเลย คือ สติก็ทำมาจนไม่รู้จะทำยังไงแล้ว สมาธิก็ทำจนไม่รู้จะทำยังไง ปัญญาก็ไม่รู้จะพลิกแพลงไปพิจารณาอะไรอีกต่อไปแล้ว เนี่ยจิตถ้าภาวนามาสุดขีดนะมันจะเข้ามาสู่ภาวะแห่งความจนมุม มันจะหยุดแรงดิ้น มันจะหมดความอยากว่าทำยังไงจะพ้นทุกข์ได้ ทำยังไงจะสุขถาวร ทำยังไงจะดีถาวร ทำยังไงจะสงบถาวร เพราะมันดิ้นมาจนสุดฤทธิ์สุดเดชแล้ว ก็ไม่รู้จะทำยังไง ทำไม่ได้สักที พอจิตหมดแรงดิ้นนะ จิตก็สักว่ารู้ว่าเห็น ตรงนี้แหละสักว่ารู้ว่าเห็นขึ้นมา อย่างที่พวกเราพูดว่าสักว่ารู้ว่าเห็น ไม่จริงหรอก ไม่ยอมสักว่ารู้ว่าเห็นหรอก มีแต่ว่าทำยังไงจะดีกว่านี้อีก ทำยังไงดี ทำยังไงจะดี ทำยังไงจะถูก รู้สึกไหมแต่ละวัน นักปฏิบัติตื่นนอนก็คิดวันนี้จะทำยังไงดี คิดอย่างนี้แหละนะ จนกระทั่งมันสุดสติสุดปัญญา ทำยังไงมันก็ดีกว่านี้ไปไม่ได้แล้ว ยอมรับสภาพมัน จิตหมดแรงดิ้น จิตหมดความปรุงแต่ง หมดแรงดิ้นรน พอจิตไม่มีความปรุงแต่ง ไม่มีความดิ้นรน อยู่ตรงนี้ช่วงหนึ่งนะ พอจิตหมดแรงดิ้นก็ไม่ปรุง อะไรเกิดขึ้นก็แค่รู้ อะไรเกิดขึ้นก็แค่รู้ ไม่ปรุงต่อ จิตก็เรียกว่าจิตเข้าถึงความเป็นอนุโลม อนุโลมญาณ หมายถึงว่าอะไรเกิดขึ้นก็คล้อยตามมันไป คล้อยตามนี่ไม่ใชหลงตามมันไป ก็แค่เห็นนะ เออ ก็มีขึ้นมา เออ หายไป ก็แค่นั้นเองนะ ไม่ต่อต้าน ไม่หลงตามไป ยอมรับ มันมาก็มา มันไปก็ไป นี่จิตมีอุเบกขาอย่างแท้จริงเลยนะ คล้อยตามทุกสิ่งทุกอย่าง ก็เห็นแต่ความจริง ทุกอย่างมาแล้วก็ไปมาแล้วก็ไป นี่จิตเห็นอยู่แค่นี้เอง นี่ถ้าจิต สติ สมาธิ ปัญญา ศีล สมาธิ ปัญญา บุญบารมีอะไรแก่รอบแล้วนะ จิตหยุดความปรุงแต่งแล้วมันจะรวมเข้าอัปปนาสมาธิ รวมเอง ทำไมมันรวมเข้าอัปปนาสมาธิได้เอง เพราะว่าจิตไม่ไหลไปตามกาม ฌานมันจะเกิดเอง โดยธรรมชาติของจิตนี่ต้องเวียนอยู่ในภพ ภพที่จิตเวียนอยู่ได้มี ๓ ภพเท่านั้น หนึ่ง กามาวจรภพ ภพที่เวียนไปในกาม คือหาอารมณ์เพลิดเพลินไปทางตา หู จมูก ลิ้น กาย เพลินไปเรื่อย พวกเราจิตหมุนอยู่ติ้วๆ ทางตาหูจมูกลิ้นกาย นึกออกไหม อันนี้แหละเรียกว่ากามภพ เรียกให้เต็มยศนะเรียก กามาวจรภูมิ ใจก็ไปเวียนอย่างนี้ ถ้าหลุดออกจากกามภพนะ ก็เข้าไป รูปภพ หรือว่า รูปภูมิ ก็คือเข้าไปสงบอยู่กับการรู้รูป เช่นรู้ลมหายใจ แล้วจิตไม่เอาแล้วโลกข้างนอก อารมณ์ทางตาหูจมูกลิ้นกาย ไม่เห็นจะมีสาระอะไร จิตมารวมลงที่อารมณ์ภายในอันเดียว อาจจะมารู้ลมหายใจอยู่อันเดียว รู้ร่างกายอยู่อันเดียว มาเพ่งรูปอยู่อันเดียว เพ่งดวงกสิณ ดวงนิมิตอยู่อันเดียว จิตเพ่งรูปอยู่เรียกว่ารูปภูมิ ถ้าจิตไม่อยู่ในกามภูมิ ไม่อยู่ในรูปภูมิ จิตก็ต้องเข้า อรูปภูมิ ทิ้งรูปไปแล้วไปอยู่กับนามธรรม เช่นไปอยู่กับความว่าง จิตอยู่ในความว่าง อยู่กับความไม่มีอะไรเลย เพราะงั้นที่เค้าสอนภาวนา บางคนสอนภาวนาให้ไปอยู่ในความว่าง อันนั้นเพี้ยนนะ ไม่ใช่ทางของพระพุทธเจ้า มันก็เป็นอรูปภูมิ เป็นภูมิอีกภูมิหนึ่ง เป็นภพอีกภพหนึ่งเท่านั้นเอง งั้นถ้าสติปัญญาเราพอนะ เรารู้เลยจิตมันแส่ส่ายออกทางตาหูจมูกลิ้นกายมีแต่ทุกข์ จิตไม่แส่ส่าย พอจิตไม่แส่ส่ายจิตก็หลุดออกจากกามภูมิ เข้ารูปภูมิหรืออรูปภูมิ เข้าเองเลย เพราะงั้นพวกเราหัดเจริญสติไปเรื่อย พอศีลสมาธิปัญญา สติสมาธิปัญญาแก่รอบนะ จิตจะหมดความหลงไหลรูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะทั้งหลายมาดึงดูดจิตไหลไปไม่ได้แล้ว อย่างน้อยก็ชั่วขณะ ชั่วขณะเท่านั้นแหละ ถ้าจิตมันตั้งมั่นรู้ไหลออกไปแล้วทุกข์ ก็ตั้งเด่นดวงอยู่ จิตก็เข้าฌานอัตโนมัติ เพราะงั้นถึงเราจะเจริญสติเจริญปัญญาโดยเข้าฌานไม่เป็น ถึงนาทีสุดท้ายที่จะเกิดอริยมรรคอริยผลในทุกขั้นตอน ตั้งแต่โสดาปัตติมรรคจนถึงอรหัตมรรคเนี่ย จิตจะเข้าฌานของเค้าเอง ยกเว้นคนซึ่งเดินปัญญาอยู่ในฌาน เวลาที่จะเกิดอริยมรรคไม่ต้องถอยออกมาอยู่ในโลกก่อนนะ ไม่ต้องกลับมาอยู่กามภูมิก่อนนะ จิตเค้าจะตัดอยู่ข้างในได้เลย นี่เป็นพวกหนึ่ง แต่รวมความก็คืออริยมรรคไม่เกิดอยู่ในจิตที่อยู่ในกามอย่างพวกเรา อริยมรรคจะต้องเกิดอยู่ในรูปภูมิหรืออรูปภูมินะ จะเกิดอยู่ตรงนั้น ไปล้างกันตรงนั้น จิตจะเข้าฌานอัตโนมัติ พอจิตเข้าฌานแล้วคราวนี้สติระลึกรู้อยู่ที่จิตนะ ไม่ได้เจตนาระลึก มันรู้เอง เพราะมันไม่แส่ส่ายออกไปที่ตาหูจมูกลิ้นกายใจ ไม่แส่ส่ายไปในความคิด ก็หยุดลงที่จิตดวงเดียว สติหยั่งลงที่จิต จิตตั้งมั่นอยู่ที่จิต เพราะงั้นสมาธินี่เต็มสมบูรณ์แล้ว ตั้งมั่นอยู่ที่จิต สติสมบูรณ์แล้ว ระลึกอยู่ที่จิต ปัญญาสมบูรณ์แล้ว เห็นความเป็นจริงทุกสิ่งที่อย่างที่เคลื่อนไหวอยู่ในจิตนะ ตรงนี้แหละจิตจะไหวตัวขึ้นมาสองสามขณะ คือปรุงขึ้นมานะแต่ไม่รู้ว่าคิดอะไร ไม่รู้ว่าปรุงอะไร มีความปรุงแต่งเกิดขึ้นแต่ไม่รู้ว่าปรุงอะไร จะเห็นแต่ว่าสิ่งบางสิ่งเกิดขึ้นแล้วสิ่งนั้นดับไป จะเห็นอย่างนี้เอง เห็นเอง ถัดจากนั้นนะจิตจะรู้เลยมันไม่มีสาระอะไร จิตมันจืดนะ มันไม่เอาอีกแล้ว ก็แค่เห็นความปรุงภายในจิตผุดขึ้น พอเห็นความปรุงภายในจิตผุดขึ้นสองสามขณะ ความเห็นกลางอย่างแท้จริงเลย รู้อย่างเป็นกลางอย่างแท้จริงไม่ปรุงต่อนะ จิตจะวาง พอมันวางแล้วมันจะทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้ วางจิตแล้วทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้ ธาตุรู้ก็จิตนั่นแหละ มันเป็นจิตอีกอย่างหนึ่ง พอจิตดวงเก่ามันดับไป จิตที่อยู่ในภพภูมิต่างๆมันดับไป มันทวนกระแสเข้าหาจิตที่เหนือภพเหนือภูมิ ทวนกระแสเข้ามา ขณะที่มันปล่อยวางจิตดวงเดิมนะ แล้วก็ทวนเข้ามาแต่ยังไม่ถึงธาตุรู้นะ คาบลูกคาบดอก ไม่ได้เกาะขันธ์แล้วนะ แต่ก็ยังเข้ามาไม่ถึงตัวธาตุรู้ ไม่ถึงอมตะธาตุอมตะธรรม ไม่ถึงพระนิพพาน ธาตุรู้ไม่ใช่พระนิพพานนะ แต่ธาตุรู้ไปเห็นพระนิพพาน ต้องแยกให้ออก มันยังทวนไม่ถึงธาตุรู้ ไม่ใช่ปุถุชน ไม่ใช่พระอริยะ ทำไมไม่ใช่ปุถุชน เพราะมันปล่อยขันธ์แล้ว ขันธ์สุดท้ายที่มันปล่อยก็คือจิต ไม่ใช่พระอริยะ เพราะยังไม่เข้ามาถึงธาตุรู้ ไม่เข้าถึงพระนิพพาน ตัวธาตุรู้นั่นแหละเป็นตัวไปเห็นพระนิพพาน ตรงนี้นะเรียกว่าโคตรภูญาณ ญาณข้ามโคตร มีปัญญาข้ามโคตร ข้ามโคตรจากโคตรไหนมาสู่โคตรไหน? จากโคตรของปุถุชนมาสู่โคตรของอริยชน เพราะงั้นบรรลุมรรคผลแล้วเปลี่ยนโคตรนะ ข้ามจากสกุลของปุถุชน ข้ามมาสู่อริยวงศ์อริยโคตร เรียกญาณข้ามโคตร ไม่ใช่ปุถุชนนะ กำลังข้ามอยู่ ไม่ใช่พระอริยะ มีอยู่ขณะจิตเดียวแหละที่คาบลูกคาบดอกประหลาดอยู่อย่างนี้ ข้ามมา ทวนเข้ามาถึงจิตแท้ ถึงธาตุรู้แท้ๆ ธรรมธาตุ ตัวนี้อริยมรรคก็จะเกิดขึ้น อาสวกิเลสที่ห่อหุ้มจิตอยู่ถูกอริยมรรคแหวกออกทำลายออก ก็ล้างกิเลส ล้างในพริบตาเดียว ในขณะเดียว วับเดียวเลย ขาดเลย มันคล้ายๆเปิดสวิตซ์ไฟ ปั๊บ สว่างวุ๊บเดียวความมืดหายไปเลย ในพริบตานั้นเลย จากนั้นนะจะเห็นพระนิพพานอีกสองสามขณะ เห็นไม่เท่ากันหรอก บางคนเห็นสองขณะ บางคนเห็นสามขณะ ถ้าพวกอินทรีย์กล้ามากๆก็เห็นสามขณะ พวกอินทรีย์ยังไม่กล้ามากก็เห็นสองขณะนะ งั้นพระอริยะในภูมิธรรมอันเดียวกันระดับเดียวกัน ความรู้ความเข้าใจไม่เท่ากัน ความแตกฉานอะไรนี้ไม่เท่ากัน เห็นพระนิพพานแล้วก็รู้ว่านิพพานอยู่ต่อหน้าต่อตา นิพพานไม่เคยหายไปไหน อยู่ต่อหน้าต่อตานี่แหละ แต่โง่เองไม่เห็น ทำไมไม่เห็น? มัวแต่เห็นแต่กาม มัวแต่เห็นรูปภพ มัวแต่เห็นอรูปภพ จิตไม่รู้จักปล่อย ตรงที่เค้าปล่อยน่ะเค้าข้าม เค้าทิ้งแล้ว ตรงโคตรภูญาณที่จิตข้ามโคตร ข้ามจากปุถุชนมาเป็นพระอริยะ ข้ามตรงนี้มันทิ้งหมดเลยนะ มันทิ้งกามภูมิ รูปภูมิ อรูปภูมิ ทิ้งหมดเลย ข้ามมาสู่อริยภูมิ โลกุตรภูมิ ข้ามเอง พวกเราก็มีหน้าที่ภาวนาให้มันพอเท่านั้นแหละนะ ถ้ามันพอเมื่อไหร่มันก็ข้ามโคตรไป เปลี่ยนสกุลไม่ใช่นามสกุลเดิม โดยสมมุติบัญญัติก็เป็นนามสกุลเดิม โดยปรมัตถ์แท้ๆก็ไม่ใช่แล้ว ก็มาเป็นลูกพระพุทธเจ้า ..งั้นเราภาวนานะ ค่อยหัดไปเรื่อย ถึงวันหนึ่งเราก็คงได้รับผลประโยชน์จากการที่เราอดทนภาวนากันนะ สวนสันติธรรม วันศุกร์ ที่ ๕ สิงหาคม ๒๕๕๔ แสดงน้อยลง ตอบกลับ
ถ้าสติปัญญาเราพอนะ เรารู้เลยจิตมันแส่ส่ายออกทางตาหูจมูกลิ้นกายมีแต่ทุกข์พระอาจารย์ปราโมทย์ ปาโมชฺโช luangporพวกเราเวลาคิดถึงการปฏิบัติในใจลึกๆมีไหมคำว่า "จะทำยังไง" คิดตลอดนะ คิดทุกคนแหละ จะทำยังไง จะทำยังไง ห้ามมันไม่ได้หรอก มันจะคิด เพราะมันอยากทำ มันคิดว่าทำแล้วถึงจะได้ ปลอบใจตัวเองอีกนะ ความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จอยู่ที่นั่น พยายามอยู่อย่างนั้น พยายามจนสุดสติสุดปัญญาถึงตรงนั้นนะถึงจะได้ของจริง แต่อาศัยที่เคยพยายามปฏิบัตินะ มันเป็นการพัฒนาสติให้เร็วขึ้น สมาธิให้ตั้งมั่นมากขึ้น ปัญญาก็มีสะสมไปนะ เห็นรูปธรรมนามธรรมเค้าทำงานได้เอง ตรงที่เราจงใจปฏิบัติ จงใจอยากทำ นั่นแหละมันค่อยๆฝึกฝนสติสมาธิปัญญาให้เข้มแข็งมากขึ้นๆนะ ถึงจุดหนึ่งสติปัญญา สติ สมาธิ ปัญญา มันแก่กล้าขึ้นมา จนมันอัตโนมัติ ร่างการพลิกนะ พลิกตัวเนี่ย รู้สึกเองเลยไม่ต้องเจตนารู้สึก ความสุขความทุกข์ กุศลอกุศล อะไรเกิดขึ้นที่จิตนะรู้เองเลยโดยไม่เจตนาจะรู้ มันสารพัดจะเกิดมันจะรู้ได้เอง นี่สติมันอัตโนมัติขึ้นมาแล้ว ไม่ได้จงใจ แต่ก่อนที่จะอัตโนมัติก็ต้องจงใจมาก่อน การที่เราคิดอยู่นะ ทำยังไงจะดี ทำยังไงจะดี แล้วพยายามทำ มันได้พัฒนาสติสมาธิปัญญาขึ้นมา ทำไปเรื่อยๆถึงวันหนึ่งพบว่า เอ..ทำไงมันก็ดีไม่ถาวร สุขก็ไม่ถาวร สงบก็ไม่ถาวร ตัวผู้รู้ก็ไม่ถาวร ตัวผู้รู้เกิดได้กลายเป็นตัวผู้คิดได้ หรือกลายเป็นตัวผู้เพ่งได้ มีแต่ของไม่ถาวร ก็พย๊ามพยามนะ อยากจะให้ดีถาวร สุขถาวร สงบถาวร ถามใจของพวกเราดูซิ เราปฏิบัติเราอยากได้ตรงนี้ใช่ไหม อยากได้มรรคผลนิพพานนะจริงๆเพราะอะไร? มรรคผลนิพพานมันน่าจะดีถาวร มันน่าจะสุขถาวร มันน่าจะสงบถาวร เราอยากได้สิ่งเหล่านี้ ถ้ามีสติปัญญามาก ก็อยากได้มรรคผลนิพพานเพื่อจะดีถาวร สุขถาวร สงบถาวร ถ้าโง่กว่านั้นนะ ก็ไปทำสมาธิ ทำอะไรขึ้นมา ก็ดีเหมือนกัน ดีช่วงที่มีสมาธิอยู่ สงบช่วงที่มีสมาธิอยู่ สุขช่วงที่มีสมาธิอยู่ พอมันเสื่อมแล้วก็หายไปอีก ต้องมาทำอีก นี้ก็แล้วแต่สติ แล้วแต่ปัญญา บางคนอยากได้มรรคผลนิพพานเพราะว่ามันดี มันสุข มันสงบนั่นแหละ ตะเกียกตะกายนะหาสิ่งเหล่านี้ไปเรื่อย คิดว่าถ้าเราฝึกได้ดีเต็มที่แล้ววันหนึ่งจิตเราจะดีถาวร สุขถาวร สงบถาวร เพราะคิดว่าจิตเป็นเรานั่นแหละ คิดจะทำให้มันดีให้ได้ คิดจะทำให้มันสุขให้ได้ คิดจะทำให้มันสงบให้ได้ ดีชั่วคราว สุขชั่วคราว สงบชั่วคราว ก็ไม่พอใจ จะเอาถาวร สุดท้าย พากเพียรแทบล้มแทบตายก็พบว่าดีก็ชั่วคราว สุขก็ชั่วคราว สงบก็ชั่วคราว จิตผู้รู้ก็ชั่วคราว อะไรๆก็ชั่วคราวหมดเลย ไม่เห็นมีตรงไหนเลยที่มันจะถาวรได้ จิตยอมรับความจริงตรงนี้ได้ จิตก็หมดแรงดิ้นนะ จะดิ้นไปทำไมล่ะ ดิ้นหาดี หาสุข หาสงบ ดิ้นยังไงก็ไม่มี มีก็มีชั่วคราวเดี๋ยวก็หายไปอีก นี่จิตจะหยุดแรงดิ้น หมดแรงดิ้น จิตที่แรงดิ้นเพราะว่าดิ้นมาสุดขีดแล้วนะ สติก็สุดขีดแล้ว สมาธิก็สุดขีดแล้ว ปัญญาก็สุดขีดแล้ว สติสุดขีดก็คือ ไม่เจตนาจะรู้ ก็รู้..รู้..รู้ทั้งวันเลย รู้ทั้งคืนด้วย สมาธิก็จิตตั้งมั่นเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน รู้อยู่อย่างนี้ ไม่เป็นผู้หลงนะ อย่างมากก็หลงแว๊บๆ ก็กลับมาเป็นผู้รู้อย่างรวดเร็ว จะทำสมาธิให้มากกว่านี้ก็ไม่รู้จะทำยังไง จะทำสติให้มากกว่านี้ก็ไม่รู้จะทำยังไง จะเจริญปัญญาให้มากกว่านี้ก็ไม่รู้จะทำยังไงนะ มันจนมุมไปหมดเลย คือ สติก็ทำมาจนไม่รู้จะทำยังไงแล้ว สมาธิก็ทำจนไม่รู้จะทำยังไง ปัญญาก็ไม่รู้จะพลิกแพลงไปพิจารณาอะไรอีกต่อไปแล้ว เนี่ยจิตถ้าภาวนามาสุดขีดนะมันจะเข้ามาสู่ภาวะแห่งความจนมุม มันจะหยุดแรงดิ้น มันจะหมดความอยากว่าทำยังไงจะพ้นทุกข์ได้ ทำยังไงจะสุขถาวร ทำยังไงจะดีถาวร ทำยังไงจะสงบถาวร เพราะมันดิ้นมาจนสุดฤทธิ์สุดเดชแล้ว ก็ไม่รู้จะทำยังไง ทำไม่ได้สักที พอจิตหมดแรงดิ้นนะ จิตก็สักว่ารู้ว่าเห็น ตรงนี้แหละสักว่ารู้ว่าเห็นขึ้นมา อย่างที่พวกเราพูดว่าสักว่ารู้ว่าเห็น ไม่จริงหรอก ไม่ยอมสักว่ารู้ว่าเห็นหรอก มีแต่ว่าทำยังไงจะดีกว่านี้อีก ทำยังไงดี ทำยังไงจะดี ทำยังไงจะถูก รู้สึกไหมแต่ละวัน นักปฏิบัติตื่นนอนก็คิดวันนี้จะทำยังไงดี คิดอย่างนี้แหละนะ จนกระทั่งมันสุดสติสุดปัญญา ทำยังไงมันก็ดีกว่านี้ไปไม่ได้แล้ว ยอมรับสภาพมัน จิตหมดแรงดิ้น จิตหมดความปรุงแต่ง หมดแรงดิ้นรน พอจิตไม่มีความปรุงแต่ง ไม่มีความดิ้นรน อยู่ตรงนี้ช่วงหนึ่งนะ พอจิตหมดแรงดิ้นก็ไม่ปรุง อะไรเกิดขึ้นก็แค่รู้ อะไรเกิดขึ้นก็แค่รู้ ไม่ปรุงต่อ จิตก็เรียกว่าจิตเข้าถึงความเป็นอนุโลม อนุโลมญาณ หมายถึงว่าอะไรเกิดขึ้นก็คล้อยตามมันไป คล้อยตามนี่ไม่ใชหลงตามมันไป ก็แค่เห็นนะ เออ ก็มีขึ้นมา เออ หายไป ก็แค่นั้นเองนะ ไม่ต่อต้าน ไม่หลงตามไป ยอมรับ มันมาก็มา มันไปก็ไป นี่จิตมีอุเบกขาอย่างแท้จริงเลยนะ คล้อยตามทุกสิ่งทุกอย่าง ก็เห็นแต่ความจริง ทุกอย่างมาแล้วก็ไปมาแล้วก็ไป นี่จิตเห็นอยู่แค่นี้เอง นี่ถ้าจิต สติ สมาธิ ปัญญา ศีล สมาธิ ปัญญา บุญบารมีอะไรแก่รอบแล้วนะ จิตหยุดความปรุงแต่งแล้วมันจะรวมเข้าอัปปนาสมาธิ รวมเอง ทำไมมันรวมเข้าอัปปนาสมาธิได้เอง เพราะว่าจิตไม่ไหลไปตามกาม ฌานมันจะเกิดเอง โดยธรรมชาติของจิตนี่ต้องเวียนอยู่ในภพ ภพที่จิตเวียนอยู่ได้มี ๓ ภพเท่านั้น หนึ่ง กามาวจรภพ ภพที่เวียนไปในกาม คือหาอารมณ์เพลิดเพลินไปทางตา หู จมูก ลิ้น กาย เพลินไปเรื่อย พวกเราจิตหมุนอยู่ติ้วๆ ทางตาหูจมูกลิ้นกาย นึกออกไหม อันนี้แหละเรียกว่ากามภพ เรียกให้เต็มยศนะเรียก กามาวจรภูมิ ใจก็ไปเวียนอย่างนี้ ถ้าหลุดออกจากกามภพนะ ก็เข้าไป รูปภพ หรือว่า รูปภูมิ ก็คือเข้าไปสงบอยู่กับการรู้รูป เช่นรู้ลมหายใจ แล้วจิตไม่เอาแล้วโลกข้างนอก อารมณ์ทางตาหูจมูกลิ้นกาย ไม่เห็นจะมีสาระอะไร จิตมารวมลงที่อารมณ์ภายในอันเดียว อาจจะมารู้ลมหายใจอยู่อันเดียว รู้ร่างกายอยู่อันเดียว มาเพ่งรูปอยู่อันเดียว เพ่งดวงกสิณ ดวงนิมิตอยู่อันเดียว จิตเพ่งรูปอยู่เรียกว่ารูปภูมิ ถ้าจิตไม่อยู่ในกามภูมิ ไม่อยู่ในรูปภูมิ จิตก็ต้องเข้า อรูปภูมิ ทิ้งรูปไปแล้วไปอยู่กับนามธรรม เช่นไปอยู่กับความว่าง จิตอยู่ในความว่าง อยู่กับความไม่มีอะไรเลย เพราะงั้นที่เค้าสอนภาวนา บางคนสอนภาวนาให้ไปอยู่ในความว่าง อันนั้นเพี้ยนนะ ไม่ใช่ทางของพระพุทธเจ้า มันก็เป็นอรูปภูมิ เป็นภูมิอีกภูมิหนึ่ง เป็นภพอีกภพหนึ่งเท่านั้นเอง งั้นถ้าสติปัญญาเราพอนะ เรารู้เลยจิตมันแส่ส่ายออกทางตาหูจมูกลิ้นกายมีแต่ทุกข์ จิตไม่แส่ส่าย พอจิตไม่แส่ส่ายจิตก็หลุดออกจากกามภูมิ เข้ารูปภูมิหรืออรูปภูมิ เข้าเองเลย เพราะงั้นพวกเราหัดเจริญสติไปเรื่อย พอศีลสมาธิปัญญา สติสมาธิปัญญาแก่รอบนะ จิตจะหมดความหลงไหลรูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะทั้งหลายมาดึงดูดจิตไหลไปไม่ได้แล้ว อย่างน้อยก็ชั่วขณะ ชั่วขณะเท่านั้นแหละ ถ้าจิตมันตั้งมั่นรู้ไหลออกไปแล้วทุกข์ ก็ตั้งเด่นดวงอยู่ จิตก็เข้าฌานอัตโนมัติ เพราะงั้นถึงเราจะเจริญสติเจริญปัญญาโดยเข้าฌานไม่เป็น ถึงนาทีสุดท้ายที่จะเกิดอริยมรรคอริยผลในทุกขั้นตอน ตั้งแต่โสดาปัตติมรรคจนถึงอรหัตมรรคเนี่ย จิตจะเข้าฌานของเค้าเอง ยกเว้นคนซึ่งเดินปัญญาอยู่ในฌาน เวลาที่จะเกิดอริยมรรคไม่ต้องถอยออกมาอยู่ในโลกก่อนนะ ไม่ต้องกลับมาอยู่กามภูมิก่อนนะ จิตเค้าจะตัดอยู่ข้างในได้เลย นี่เป็นพวกหนึ่ง แต่รวมความก็คืออริยมรรคไม่เกิดอยู่ในจิตที่อยู่ในกามอย่างพวกเรา อริยมรรคจะต้องเกิดอยู่ในรูปภูมิหรืออรูปภูมินะ จะเกิดอยู่ตรงนั้น ไปล้างกันตรงนั้น จิตจะเข้าฌานอัตโนมัติ พอจิตเข้าฌานแล้วคราวนี้สติระลึกรู้อยู่ที่จิตนะ ไม่ได้เจตนาระลึก มันรู้เอง เพราะมันไม่แส่ส่ายออกไปที่ตาหูจมูกลิ้นกายใจ ไม่แส่ส่ายไปในความคิด ก็หยุดลงที่จิตดวงเดียว สติหยั่งลงที่จิต จิตตั้งมั่นอยู่ที่จิต เพราะงั้นสมาธินี่เต็มสมบูรณ์แล้ว ตั้งมั่นอยู่ที่จิต สติสมบูรณ์แล้ว ระลึกอยู่ที่จิต ปัญญาสมบูรณ์แล้ว เห็นความเป็นจริงทุกสิ่งที่อย่างที่เคลื่อนไหวอยู่ในจิตนะ ตรงนี้แหละจิตจะไหวตัวขึ้นมาสองสามขณะ คือปรุงขึ้นมานะแต่ไม่รู้ว่าคิดอะไร ไม่รู้ว่าปรุงอะไร มีความปรุงแต่งเกิดขึ้นแต่ไม่รู้ว่าปรุงอะไร จะเห็นแต่ว่าสิ่งบางสิ่งเกิดขึ้นแล้วสิ่งนั้นดับไป จะเห็นอย่างนี้เอง เห็นเอง ถัดจากนั้นนะจิตจะรู้เลยมันไม่มีสาระอะไร จิตมันจืดนะ มันไม่เอาอีกแล้ว ก็แค่เห็นความปรุงภายในจิตผุดขึ้น พอเห็นความปรุงภายในจิตผุดขึ้นสองสามขณะ ความเห็นกลางอย่างแท้จริงเลย รู้อย่างเป็นกลางอย่างแท้จริงไม่ปรุงต่อนะ จิตจะวาง พอมันวางแล้วมันจะทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้ วางจิตแล้วทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้ ธาตุรู้ก็จิตนั่นแหละ มันเป็นจิตอีกอย่างหนึ่ง พอจิตดวงเก่ามันดับไป จิตที่อยู่ในภพภูมิต่างๆมันดับไป มันทวนกระแสเข้าหาจิตที่เหนือภพเหนือภูมิ ทวนกระแสเข้ามา ขณะที่มันปล่อยวางจิตดวงเดิมนะ แล้วก็ทวนเข้ามาแต่ยังไม่ถึงธาตุรู้นะ คาบลูกคาบดอก ไม่ได้เกาะขันธ์แล้วนะ แต่ก็ยังเข้ามาไม่ถึงตัวธาตุรู้ ไม่ถึงอมตะธาตุอมตะธรรม ไม่ถึงพระนิพพาน ธาตุรู้ไม่ใช่พระนิพพานนะ แต่ธาตุรู้ไปเห็นพระนิพพาน ต้องแยกให้ออก มันยังทวนไม่ถึงธาตุรู้ ไม่ใช่ปุถุชน ไม่ใช่พระอริยะ ทำไมไม่ใช่ปุถุชน เพราะมันปล่อยขันธ์แล้ว ขันธ์สุดท้ายที่มันปล่อยก็คือจิต ไม่ใช่พระอริยะ เพราะยังไม่เข้ามาถึงธาตุรู้ ไม่เข้าถึงพระนิพพาน ตัวธาตุรู้นั่นแหละเป็นตัวไปเห็นพระนิพพาน ตรงนี้นะเรียกว่าโคตรภูญาณ ญาณข้ามโคตร มีปัญญาข้ามโคตร ข้ามโคตรจากโคตรไหนมาสู่โคตรไหน? จากโคตรของปุถุชนมาสู่โคตรของอริยชน เพราะงั้นบรรลุมรรคผลแล้วเปลี่ยนโคตรนะ ข้ามจากสกุลของปุถุชน ข้ามมาสู่อริยวงศ์อริยโคตร เรียกญาณข้ามโคตร ไม่ใช่ปุถุชนนะ กำลังข้ามอยู่ ไม่ใช่พระอริยะ มีอยู่ขณะจิตเดียวแหละที่คาบลูกคาบดอกประหลาดอยู่อย่างนี้ ข้ามมา ทวนเข้ามาถึงจิตแท้ ถึงธาตุรู้แท้ๆ ธรรมธาตุ ตัวนี้อริยมรรคก็จะเกิดขึ้น อาสวกิเลสที่ห่อหุ้มจิตอยู่ถูกอริยมรรคแหวกออกทำลายออก ก็ล้างกิเลส ล้างในพริบตาเดียว ในขณะเดียว วับเดียวเลย ขาดเลย มันคล้ายๆเปิดสวิตซ์ไฟ ปั๊บ สว่างวุ๊บเดียวความมืดหายไปเลย ในพริบตานั้นเลย จากนั้นนะจะเห็นพระนิพพานอีกสองสามขณะ เห็นไม่เท่ากันหรอก บางคนเห็นสองขณะ บางคนเห็นสามขณะ ถ้าพวกอินทรีย์กล้ามากๆก็เห็นสามขณะ พวกอินทรีย์ยังไม่กล้ามากก็เห็นสองขณะนะ งั้นพระอริยะในภูมิธรรมอันเดียวกันระดับเดียวกัน ความรู้ความเข้าใจไม่เท่ากัน ความแตกฉานอะไรนี้ไม่เท่ากัน เห็นพระนิพพานแล้วก็รู้ว่านิพพานอยู่ต่อหน้าต่อตา นิพพานไม่เคยหายไปไหน อยู่ต่อหน้าต่อตานี่แหละ แต่โง่เองไม่เห็น ทำไมไม่เห็น? มัวแต่เห็นแต่กาม มัวแต่เห็นรูปภพ มัวแต่เห็นอรูปภพ จิตไม่รู้จักปล่อย ตรงที่เค้าปล่อยน่ะเค้าข้าม เค้าทิ้งแล้ว ตรงโคตรภูญาณที่จิตข้ามโคตร ข้ามจากปุถุชนมาเป็นพระอริยะ ข้ามตรงนี้มันทิ้งหมดเลยนะ มันทิ้งกามภูมิ รูปภูมิ อรูปภูมิ ทิ้งหมดเลย ข้ามมาสู่อริยภูมิ โลกุตรภูมิ ข้ามเอง พวกเราก็มีหน้าที่ภาวนาให้มันพอเท่านั้นแหละนะ ถ้ามันพอเมื่อไหร่มันก็ข้ามโคตรไป เปลี่ยนสกุลไม่ใช่นามสกุลเดิม โดยสมมุติบัญญัติก็เป็นนามสกุลเดิม โดยปรมัตถ์แท้ๆก็ไม่ใช่แล้ว ก็มาเป็นลูกพระพุทธเจ้า ..งั้นเราภาวนานะ ค่อยหัดไปเรื่อย ถึงวันหนึ่งเราก็คงได้รับผลประโยชน์จากการที่เราอดทนภาวนากันนะ สวนสันติธรรม วันศุกร์ ที่ ๕ สิงหาคม ๒๕๕๔ แสดงน้อยลง ตอบกลับ
ถ้าสติปัญญาเราพอนะ เรารู้เลยจิตมันแส่ส่ายออกทางตาหูจมูกลิ้นกายมีแต่ทุกข์พระอาจารย์ปราโมทย์ ปาโมชฺโช luangporพวกเราเวลาคิดถึงการปฏิบัติในใจลึกๆมีไหมคำว่า "จะทำยังไง" คิดตลอดนะ คิดทุกคนแหละ จะทำยังไง จะทำยังไง ห้ามมันไม่ได้หรอก มันจะคิด เพราะมันอยากทำ มันคิดว่าทำแล้วถึงจะได้ ปลอบใจตัวเองอีกนะ ความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จอยู่ที่นั่น พยายามอยู่อย่างนั้น พยายามจนสุดสติสุดปัญญาถึงตรงนั้นนะถึงจะได้ของจริง แต่อาศัยที่เคยพยายามปฏิบัตินะ มันเป็นการพัฒนาสติให้เร็วขึ้น สมาธิให้ตั้งมั่นมากขึ้น ปัญญาก็มีสะสมไปนะ เห็นรูปธรรมนามธรรมเค้าทำงานได้เอง ตรงที่เราจงใจปฏิบัติ จงใจอยากทำ นั่นแหละมันค่อยๆฝึกฝนสติสมาธิปัญญาให้เข้มแข็งมากขึ้นๆนะ ถึงจุดหนึ่งสติปัญญา สติ สมาธิ ปัญญา มันแก่กล้าขึ้นมา จนมันอัตโนมัติ ร่างการพลิกนะ พลิกตัวเนี่ย รู้สึกเองเลยไม่ต้องเจตนารู้สึก ความสุขความทุกข์ กุศลอกุศล อะไรเกิดขึ้นที่จิตนะรู้เองเลยโดยไม่เจตนาจะรู้ มันสารพัดจะเกิดมันจะรู้ได้เอง นี่สติมันอัตโนมัติขึ้นมาแล้ว ไม่ได้จงใจ แต่ก่อนที่จะอัตโนมัติก็ต้องจงใจมาก่อน การที่เราคิดอยู่นะ ทำยังไงจะดี ทำยังไงจะดี แล้วพยายามทำ มันได้พัฒนาสติสมาธิปัญญาขึ้นมา ทำไปเรื่อยๆถึงวันหนึ่งพบว่า เอ..ทำไงมันก็ดีไม่ถาวร สุขก็ไม่ถาวร สงบก็ไม่ถาวร ตัวผู้รู้ก็ไม่ถาวร ตัวผู้รู้เกิดได้กลายเป็นตัวผู้คิดได้ หรือกลายเป็นตัวผู้เพ่งได้ มีแต่ของไม่ถาวร ก็พย๊ามพยามนะ อยากจะให้ดีถาวร สุขถาวร สงบถาวร ถามใจของพวกเราดูซิ เราปฏิบัติเราอยากได้ตรงนี้ใช่ไหม อยากได้มรรคผลนิพพานนะจริงๆเพราะอะไร? มรรคผลนิพพานมันน่าจะดีถาวร มันน่าจะสุขถาวร มันน่าจะสงบถาวร เราอยากได้สิ่งเหล่านี้ ถ้ามีสติปัญญามาก ก็อยากได้มรรคผลนิพพานเพื่อจะดีถาวร สุขถาวร สงบถาวร ถ้าโง่กว่านั้นนะ ก็ไปทำสมาธิ ทำอะไรขึ้นมา ก็ดีเหมือนกัน ดีช่วงที่มีสมาธิอยู่ สงบช่วงที่มีสมาธิอยู่ สุขช่วงที่มีสมาธิอยู่ พอมันเสื่อมแล้วก็หายไปอีก ต้องมาทำอีก นี้ก็แล้วแต่สติ แล้วแต่ปัญญา บางคนอยากได้มรรคผลนิพพานเพราะว่ามันดี มันสุข มันสงบนั่นแหละ ตะเกียกตะกายนะหาสิ่งเหล่านี้ไปเรื่อย คิดว่าถ้าเราฝึกได้ดีเต็มที่แล้ววันหนึ่งจิตเราจะดีถาวร สุขถาวร สงบถาวร เพราะคิดว่าจิตเป็นเรานั่นแหละ คิดจะทำให้มันดีให้ได้ คิดจะทำให้มันสุขให้ได้ คิดจะทำให้มันสงบให้ได้ ดีชั่วคราว สุขชั่วคราว สงบชั่วคราว ก็ไม่พอใจ จะเอาถาวร สุดท้าย พากเพียรแทบล้มแทบตายก็พบว่าดีก็ชั่วคราว สุขก็ชั่วคราว สงบก็ชั่วคราว จิตผู้รู้ก็ชั่วคราว อะไรๆก็ชั่วคราวหมดเลย ไม่เห็นมีตรงไหนเลยที่มันจะถาวรได้ จิตยอมรับความจริงตรงนี้ได้ จิตก็หมดแรงดิ้นนะ จะดิ้นไปทำไมล่ะ ดิ้นหาดี หาสุข หาสงบ ดิ้นยังไงก็ไม่มี มีก็มีชั่วคราวเดี๋ยวก็หายไปอีก นี่จิตจะหยุดแรงดิ้น หมดแรงดิ้น จิตที่แรงดิ้นเพราะว่าดิ้นมาสุดขีดแล้วนะ สติก็สุดขีดแล้ว สมาธิก็สุดขีดแล้ว ปัญญาก็สุดขีดแล้ว สติสุดขีดก็คือ ไม่เจตนาจะรู้ ก็รู้..รู้..รู้ทั้งวันเลย รู้ทั้งคืนด้วย สมาธิก็จิตตั้งมั่นเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน รู้อยู่อย่างนี้ ไม่เป็นผู้หลงนะ อย่างมากก็หลงแว๊บๆ ก็กลับมาเป็นผู้รู้อย่างรวดเร็ว จะทำสมาธิให้มากกว่านี้ก็ไม่รู้จะทำยังไง จะทำสติให้มากกว่านี้ก็ไม่รู้จะทำยังไง จะเจริญปัญญาให้มากกว่านี้ก็ไม่รู้จะทำยังไงนะ มันจนมุมไปหมดเลย คือ สติก็ทำมาจนไม่รู้จะทำยังไงแล้ว สมาธิก็ทำจนไม่รู้จะทำยังไง ปัญญาก็ไม่รู้จะพลิกแพลงไปพิจารณาอะไรอีกต่อไปแล้ว เนี่ยจิตถ้าภาวนามาสุดขีดนะมันจะเข้ามาสู่ภาวะแห่งความจนมุม มันจะหยุดแรงดิ้น มันจะหมดความอยากว่าทำยังไงจะพ้นทุกข์ได้ ทำยังไงจะสุขถาวร ทำยังไงจะดีถาวร ทำยังไงจะสงบถาวร เพราะมันดิ้นมาจนสุดฤทธิ์สุดเดชแล้ว ก็ไม่รู้จะทำยังไง ทำไม่ได้สักที พอจิตหมดแรงดิ้นนะ จิตก็สักว่ารู้ว่าเห็น ตรงนี้แหละสักว่ารู้ว่าเห็นขึ้นมา อย่างที่พวกเราพูดว่าสักว่ารู้ว่าเห็น ไม่จริงหรอก ไม่ยอมสักว่ารู้ว่าเห็นหรอก มีแต่ว่าทำยังไงจะดีกว่านี้อีก ทำยังไงดี ทำยังไงจะดี ทำยังไงจะถูก รู้สึกไหมแต่ละวัน นักปฏิบัติตื่นนอนก็คิดวันนี้จะทำยังไงดี คิดอย่างนี้แหละนะ จนกระทั่งมันสุดสติสุดปัญญา ทำยังไงมันก็ดีกว่านี้ไปไม่ได้แล้ว ยอมรับสภาพมัน จิตหมดแรงดิ้น จิตหมดความปรุงแต่ง หมดแรงดิ้นรน พอจิตไม่มีความปรุงแต่ง ไม่มีความดิ้นรน อยู่ตรงนี้ช่วงหนึ่งนะ พอจิตหมดแรงดิ้นก็ไม่ปรุง อะไรเกิดขึ้นก็แค่รู้ อะไรเกิดขึ้นก็แค่รู้ ไม่ปรุงต่อ จิตก็เรียกว่าจิตเข้าถึงความเป็นอนุโลม อนุโลมญาณ หมายถึงว่าอะไรเกิดขึ้นก็คล้อยตามมันไป คล้อยตามนี่ไม่ใชหลงตามมันไป ก็แค่เห็นนะ เออ ก็มีขึ้นมา เออ หายไป ก็แค่นั้นเองนะ ไม่ต่อต้าน ไม่หลงตามไป ยอมรับ มันมาก็มา มันไปก็ไป นี่จิตมีอุเบกขาอย่างแท้จริงเลยนะ คล้อยตามทุกสิ่งทุกอย่าง ก็เห็นแต่ความจริง ทุกอย่างมาแล้วก็ไปมาแล้วก็ไป นี่จิตเห็นอยู่แค่นี้เอง นี่ถ้าจิต สติ สมาธิ ปัญญา ศีล สมาธิ ปัญญา บุญบารมีอะไรแก่รอบแล้วนะ จิตหยุดความปรุงแต่งแล้วมันจะรวมเข้าอัปปนาสมาธิ รวมเอง ทำไมมันรวมเข้าอัปปนาสมาธิได้เอง เพราะว่าจิตไม่ไหลไปตามกาม ฌานมันจะเกิดเอง โดยธรรมชาติของจิตนี่ต้องเวียนอยู่ในภพ ภพที่จิตเวียนอยู่ได้มี ๓ ภพเท่านั้น หนึ่ง กามาวจรภพ ภพที่เวียนไปในกาม คือหาอารมณ์เพลิดเพลินไปทางตา หู จมูก ลิ้น กาย เพลินไปเรื่อย พวกเราจิตหมุนอยู่ติ้วๆ ทางตาหูจมูกลิ้นกาย นึกออกไหม อันนี้แหละเรียกว่ากามภพ เรียกให้เต็มยศนะเรียก กามาวจรภูมิ ใจก็ไปเวียนอย่างนี้ ถ้าหลุดออกจากกามภพนะ ก็เข้าไป รูปภพ หรือว่า รูปภูมิ ก็คือเข้าไปสงบอยู่กับการรู้รูป เช่นรู้ลมหายใจ แล้วจิตไม่เอาแล้วโลกข้างนอก อารมณ์ทางตาหูจมูกลิ้นกาย ไม่เห็นจะมีสาระอะไร จิตมารวมลงที่อารมณ์ภายในอันเดียว อาจจะมารู้ลมหายใจอยู่อันเดียว รู้ร่างกายอยู่อันเดียว มาเพ่งรูปอยู่อันเดียว เพ่งดวงกสิณ ดวงนิมิตอยู่อันเดียว จิตเพ่งรูปอยู่เรียกว่ารูปภูมิ ถ้าจิตไม่อยู่ในกามภูมิ ไม่อยู่ในรูปภูมิ จิตก็ต้องเข้า อรูปภูมิ ทิ้งรูปไปแล้วไปอยู่กับนามธรรม เช่นไปอยู่กับความว่าง จิตอยู่ในความว่าง อยู่กับความไม่มีอะไรเลย เพราะงั้นที่เค้าสอนภาวนา บางคนสอนภาวนาให้ไปอยู่ในความว่าง อันนั้นเพี้ยนนะ ไม่ใช่ทางของพระพุทธเจ้า มันก็เป็นอรูปภูมิ เป็นภูมิอีกภูมิหนึ่ง เป็นภพอีกภพหนึ่งเท่านั้นเอง งั้นถ้าสติปัญญาเราพอนะ เรารู้เลยจิตมันแส่ส่ายออกทางตาหูจมูกลิ้นกายมีแต่ทุกข์ จิตไม่แส่ส่าย พอจิตไม่แส่ส่ายจิตก็หลุดออกจากกามภูมิ เข้ารูปภูมิหรืออรูปภูมิ เข้าเองเลย เพราะงั้นพวกเราหัดเจริญสติไปเรื่อย พอศีลสมาธิปัญญา สติสมาธิปัญญาแก่รอบนะ จิตจะหมดความหลงไหลรูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะทั้งหลายมาดึงดูดจิตไหลไปไม่ได้แล้ว อย่างน้อยก็ชั่วขณะ ชั่วขณะเท่านั้นแหละ ถ้าจิตมันตั้งมั่นรู้ไหลออกไปแล้วทุกข์ ก็ตั้งเด่นดวงอยู่ จิตก็เข้าฌานอัตโนมัติ เพราะงั้นถึงเราจะเจริญสติเจริญปัญญาโดยเข้าฌานไม่เป็น ถึงนาทีสุดท้ายที่จะเกิดอริยมรรคอริยผลในทุกขั้นตอน ตั้งแต่โสดาปัตติมรรคจนถึงอรหัตมรรคเนี่ย จิตจะเข้าฌานของเค้าเอง ยกเว้นคนซึ่งเดินปัญญาอยู่ในฌาน เวลาที่จะเกิดอริยมรรคไม่ต้องถอยออกมาอยู่ในโลกก่อนนะ ไม่ต้องกลับมาอยู่กามภูมิก่อนนะ จิตเค้าจะตัดอยู่ข้างในได้เลย นี่เป็นพวกหนึ่ง แต่รวมความก็คืออริยมรรคไม่เกิดอยู่ในจิตที่อยู่ในกามอย่างพวกเรา อริยมรรคจะต้องเกิดอยู่ในรูปภูมิหรืออรูปภูมินะ จะเกิดอยู่ตรงนั้น ไปล้างกันตรงนั้น จิตจะเข้าฌานอัตโนมัติ พอจิตเข้าฌานแล้วคราวนี้สติระลึกรู้อยู่ที่จิตนะ ไม่ได้เจตนาระลึก มันรู้เอง เพราะมันไม่แส่ส่ายออกไปที่ตาหูจมูกลิ้นกายใจ ไม่แส่ส่ายไปในความคิด ก็หยุดลงที่จิตดวงเดียว สติหยั่งลงที่จิต จิตตั้งมั่นอยู่ที่จิต เพราะงั้นสมาธินี่เต็มสมบูรณ์แล้ว ตั้งมั่นอยู่ที่จิต สติสมบูรณ์แล้ว ระลึกอยู่ที่จิต ปัญญาสมบูรณ์แล้ว เห็นความเป็นจริงทุกสิ่งที่อย่างที่เคลื่อนไหวอยู่ในจิตนะ ตรงนี้แหละจิตจะไหวตัวขึ้นมาสองสามขณะ คือปรุงขึ้นมานะแต่ไม่รู้ว่าคิดอะไร ไม่รู้ว่าปรุงอะไร มีความปรุงแต่งเกิดขึ้นแต่ไม่รู้ว่าปรุงอะไร จะเห็นแต่ว่าสิ่งบางสิ่งเกิดขึ้นแล้วสิ่งนั้นดับไป จะเห็นอย่างนี้เอง เห็นเอง ถัดจากนั้นนะจิตจะรู้เลยมันไม่มีสาระอะไร จิตมันจืดนะ มันไม่เอาอีกแล้ว ก็แค่เห็นความปรุงภายในจิตผุดขึ้น พอเห็นความปรุงภายในจิตผุดขึ้นสองสามขณะ ความเห็นกลางอย่างแท้จริงเลย รู้อย่างเป็นกลางอย่างแท้จริงไม่ปรุงต่อนะ จิตจะวาง พอมันวางแล้วมันจะทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้ วางจิตแล้วทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้ ธาตุรู้ก็จิตนั่นแหละ มันเป็นจิตอีกอย่างหนึ่ง พอจิตดวงเก่ามันดับไป จิตที่อยู่ในภพภูมิต่างๆมันดับไป มันทวนกระแสเข้าหาจิตที่เหนือภพเหนือภูมิ ทวนกระแสเข้ามา ขณะที่มันปล่อยวางจิตดวงเดิมนะ แล้วก็ทวนเข้ามาแต่ยังไม่ถึงธาตุรู้นะ คาบลูกคาบดอก ไม่ได้เกาะขันธ์แล้วนะ แต่ก็ยังเข้ามาไม่ถึงตัวธาตุรู้ ไม่ถึงอมตะธาตุอมตะธรรม ไม่ถึงพระนิพพาน ธาตุรู้ไม่ใช่พระนิพพานนะ แต่ธาตุรู้ไปเห็นพระนิพพาน ต้องแยกให้ออก มันยังทวนไม่ถึงธาตุรู้ ไม่ใช่ปุถุชน ไม่ใช่พระอริยะ ทำไมไม่ใช่ปุถุชน เพราะมันปล่อยขันธ์แล้ว ขันธ์สุดท้ายที่มันปล่อยก็คือจิต ไม่ใช่พระอริยะ เพราะยังไม่เข้ามาถึงธาตุรู้ ไม่เข้าถึงพระนิพพาน ตัวธาตุรู้นั่นแหละเป็นตัวไปเห็นพระนิพพาน ตรงนี้นะเรียกว่าโคตรภูญาณ ญาณข้ามโคตร มีปัญญาข้ามโคตร ข้ามโคตรจากโคตรไหนมาสู่โคตรไหน? จากโคตรของปุถุชนมาสู่โคตรของอริยชน เพราะงั้นบรรลุมรรคผลแล้วเปลี่ยนโคตรนะ ข้ามจากสกุลของปุถุชน ข้ามมาสู่อริยวงศ์อริยโคตร เรียกญาณข้ามโคตร ไม่ใช่ปุถุชนนะ กำลังข้ามอยู่ ไม่ใช่พระอริยะ มีอยู่ขณะจิตเดียวแหละที่คาบลูกคาบดอกประหลาดอยู่อย่างนี้ ข้ามมา ทวนเข้ามาถึงจิตแท้ ถึงธาตุรู้แท้ๆ ธรรมธาตุ ตัวนี้อริยมรรคก็จะเกิดขึ้น อาสวกิเลสที่ห่อหุ้มจิตอยู่ถูกอริยมรรคแหวกออกทำลายออก ก็ล้างกิเลส ล้างในพริบตาเดียว ในขณะเดียว วับเดียวเลย ขาดเลย มันคล้ายๆเปิดสวิตซ์ไฟ ปั๊บ สว่างวุ๊บเดียวความมืดหายไปเลย ในพริบตานั้นเลย จากนั้นนะจะเห็นพระนิพพานอีกสองสามขณะ เห็นไม่เท่ากันหรอก บางคนเห็นสองขณะ บางคนเห็นสามขณะ ถ้าพวกอินทรีย์กล้ามากๆก็เห็นสามขณะ พวกอินทรีย์ยังไม่กล้ามากก็เห็นสองขณะนะ งั้นพระอริยะในภูมิธรรมอันเดียวกันระดับเดียวกัน ความรู้ความเข้าใจไม่เท่ากัน ความแตกฉานอะไรนี้ไม่เท่ากัน เห็นพระนิพพานแล้วก็รู้ว่านิพพานอยู่ต่อหน้าต่อตา นิพพานไม่เคยหายไปไหน อยู่ต่อหน้าต่อตานี่แหละ แต่โง่เองไม่เห็น ทำไมไม่เห็น? มัวแต่เห็นแต่กาม มัวแต่เห็นรูปภพ มัวแต่เห็นอรูปภพ จิตไม่รู้จักปล่อย ตรงที่เค้าปล่อยน่ะเค้าข้าม เค้าทิ้งแล้ว ตรงโคตรภูญาณที่จิตข้ามโคตร ข้ามจากปุถุชนมาเป็นพระอริยะ ข้ามตรงนี้มันทิ้งหมดเลยนะ มันทิ้งกามภูมิ รูปภูมิ อรูปภูมิ ทิ้งหมดเลย ข้ามมาสู่อริยภูมิ โลกุตรภูมิ ข้ามเอง พวกเราก็มีหน้าที่ภาวนาให้มันพอเท่านั้นแหละนะ ถ้ามันพอเมื่อไหร่มันก็ข้ามโคตรไป เปลี่ยนสกุลไม่ใช่นามสกุลเดิม โดยสมมุติบัญญัติก็เป็นนามสกุลเดิม โดยปรมัตถ์แท้ๆก็ไม่ใช่แล้ว ก็มาเป็นลูกพระพุทธเจ้า ..งั้นเราภาวนานะ ค่อยหัดไปเรื่อย ถึงวันหนึ่งเราก็คงได้รับผลประโยชน์จากการที่เราอดทนภาวนากันนะ สวนสันติธรรม วันศุกร์ ที่ ๕ สิงหาคม ๒๕๕๔ แสดงน้อยลง ตอบกลับ
วิธีทำลายตัณหาอย่างสิ้นเชิงหลวงพ่อจะบอกแลนด์มาร์คที่สำคัญไว้นะ แลนด์มาร์คที่สำคัญก่อนที่จะเกิดอริยมรรคนี่ จิตจะเกิดปัญญาชนิดหนึ่ง เรียกว่า "สังขารุเบกขาญาณ" สังขารุเบกขาญาณ ญาณ แปลว่าปัญญา มีปัญญาที่จะเป็นอุเบกขา เป็นกลางต่อสังขาร อะไรที่เรียกว่า สังขาร ความปรุงแต่งทั้งปวงเรียกว่าสังขาร ร่างกายก็เป็นสังขารนะ ความสุข ความทุกข์ ก็เป็นสังขาร ความโลภ ความโกรธ ความหลง ก็เป็นสังขาร อะไรๆ ก็เป็นสังขาร ในขันธ์ 5 นี่แหล่ะ คือ ตัวสังขารทั้งหมด ถ้าเราค่อยๆ ฝึกตามดูไปเรื่อย มีสติตามดูไป เราจะเห็นเลย ร่างกายที่หายใจออกก็อยู่ชั่วคราว ร่างกายที่หายใจเข้าก็อยู่ชั่วคราว ความสุขก็อยู่ชั่วคราว ความทุกข์ก็อยู่ชั่วคราว จิตที่เฉยๆ ก็ชั่วคราว มีใครไม่สุขชั่วคราวไหม มีไหม สุขถาวรมีไหม ไม่มีหรอก ใครทุกข์ถาวรมีไหม ใครทุกข์ถาวร ไม่มี นี่เรามีสติตามดูความเปลี่ยนแปลงของจิตไปนะ เราจะเห็นเลย สุขก็ชั่วคราว ทุกข์ก็ชั่วคราว โลภ โกรธ หลง ก็ชั่วคราว ดูไปเรื่อยนะ ในที่สุดปัญญามันเกิด ก็จะรู้ว่าทุกอย่างเป็นของชั่วคราว พอเมื่อไหร่ที่จิตมันเห็นว่าทุกอย่างเป็นของชั่วคราว จิตก็จะเริ่มเข้าสู่ความเป็นกลางด้วยปัญญาแล้ว เป็นกลางนี่เกิดได้หลายแบบ เป็นกลางอันแรกเกิดด้วยการกดข่มไว้ เช่น ถูกเค้าด่า ก็กัดฟัน ไม่โกรธเลย ไม่โกรธเลยนะ บอกเป็นกลางเพราะกดข่มเอาไว้ เป็นกลางอีกอันหนึ่งเรียก เป็นกลางด้วยมีสติ เป็นกลางอีกอย่างหนึ่ง เป็นกลางด้วยปัญญา เป็นกลางแบบมีสติ ก็คือ เช่น เราขับรถอยู่ คนมันปาดหน้า ใจเราโมโหขึ้นมา เราเห็นเลยใจมันโมโห พอเราเป็นนักปฏิบัตินี่ เราเห็นว่าใจเราโมโหขึ้นมาไม่ดี คุณแม่บอกให้เมตตา โมโหไม่ดีใช่มั๊ย เราต้องรีบไปรู้ทันใจที่ไม่ชอบ ความโกรธเกิดขึ้นแล้วใจเกิดยินร้าย ไม่ชอบความโกรธ หรือกุศลเกิดขึ้นใจเราหลงยินดีเราไม่รู้ว่ายินดี อย่างนี้จิตไม่เป็นกลาง ถ้าจิตยินดีเรารู้ทัน จิตยินร้ายเรารู้ทัน มันจะเป็นกลางด้วยสติ แต่ถ้าเป็นกลางด้วยปัญญา ตรงนี้สำคัญมากเลย ก่อนที่จะเกิดอริยมรรคนี่ จิตจะเป็นกลางด้วยปัญญา แล้วมันจะเห็นเลยว่า ความสุขก็ชั่วคราว ความทุกข์ก็ชั่วคราว กุศลก็ชั่วคราวนะ โลภ โกรธ หลง อะไรต่ออะไรก็ชั่วคราว ฟุ้งซ่านก็ชั่วคราว หดหู่ก็ชั่วคราว ทุกอย่างชั่วคราวหมดเลย ถ้าเมื่อไหร่ จิตเห็นว่าทุกอย่างเป็นของชั่วคราว จิตมันจะเป็นกลางด้วยปัญญาขึ้นมา ความสุขเกิดขึ้นมันไม่หลงระเริงแล้ว เพราะมันรู้แล้วว่าชั่วคราว ความทุกข์เกิดขึ้นมันไม่ทุรนทุราย เพราะมันรู้ว่าชั่วคราว ดีใจ เสียใจ สมหวัง ผิดหวัง มันไม่หลงระเริงเลยนะ ไม่เสียอกเสียใจเพราะมันรู้ว่าชั่วคราว เห็นไหมพอมันเห็นว่าทุกอย่าง เป็นของชั่วคราวนี่ ใจจะหมดความดิ้นรน นี่เรียกว่า เป็นกลางด้วยปัญญา ก่อนที่จะเกิดอริยมรรคนี่ จิตจะเป็นกลางด้วยปัญญา ก่อนที่จิตจะเป็นกลาง ด้วยปัญญานี่ เราจะต้อง หัดเจริญสติ ตามดูความเปลี่ยนแปลงของกาย ของใจ เรื่อยไป จนปัญญามันเกิดว่าทุกอย่างชั่วคราว สุข ทุกข์ ดี ชั่ว ชั่วคราว หายใจออก หายใจเข้า ชั่วคราว ยืนก็ชั่วคราว เดินก็ชั่วคราว นั่ง นอนชั่วคราว ดูไปเรื่อยๆ นะ มีแต่ของชั่วคราวไปหมดเลย มาเสถียรก็มาชั่วคราวใช่ไหมนะ เดี๋ยวก็ไปแล้ว นี่ทุกอย่างชั่วคราวนะ ดูไป ทุกสิ่งในชีวิตเรานะ ถ้าเห็นว่าทุกอย่างชั่วคราวนะ ต่อไปไม่ว่าอะไรเกิดขึ้นจิตจะเป็นกลาง จิตที่เป็นกลางแล้วมันจะเกิดอะไรขึ้น จิตจะหมดความดิ้นรน จิตที่ไม่เป็นกลางนะมันจะดิ้นรนไม่เลิก พวกเรารู้สึกไหม อย่างจิตใจเราไม่มีความสุข เราอยากให้มีความสุข เราเกลียดความทุกข์ จิตที่เกลียดความทุกข์ก็ดิ้นรนนะ ดิ้นว่าทำอย่างไรจะมีความสุข หรือจิตมันดิ้นรนหาความสุข จิตดิ้นรนหนีความทุกข์ การที่จิตต้องดิ้นรนอยู่ตลอดเวลานี่นะ คือตัวทุกข์เลย จิตจะมีแต่ความทุกข์ล้วนๆ เลย สร้างภพ สร้างชาติ สร้างความปรุงแต่งอยู่ตลอดเวลา พวกเราเห็นไหม ในใจของเรามีความอยากเกิดตลอดเวลา ไปหัดดูนะ แล้วเราจะเห็นเลยใจเรามีความอยากตลอดเวลา เดี๋ยวอยากดู เดี๋ยวอยากฟัง เดี๋ยวอยากคิด เดี๋ยวอยากหนีไปที่อื่น อย่างตอนนี้แดดร้อนแล้วอยากหนีแล้ว ถอยได้นะถอย ถอยไปอยู่ข้างหลัง ถอยได้ แบ่งๆ กันนะ แบ่งๆกัน หรือจะเอาเสื่อ ขึ้นคลุมก็ไม่ว่านะ สังเกตมั้ยตอนหัวเราะเมื่อกี้ใจฟุ้งซ่าน ดูออกมั้ย ลืมตัวเอง นี่ฝึกนะ ฝึกรู้อย่างนี้แหละ ดูไปเรื่อยๆนะ ถึงจุดหนึ่งที่ปัญญามันพอนี่ จิตมันจะรวม รวมเข้าอัปปนาสมาธิ รวมของมันเองนะ แล้วจะเห็นสภาวะธรรมเกิดดับอยู่สองสามขณะ แล้วถัดจากนั้นอริยะมรรคก็จะเกิดขึ้น จะล้างกิเลส อริยมรรคเวลาล้างกิเลส จะไม่เหมือนการล้างกิเลสด้วยสติ ด้วยสมาธิ ด้วยศีล ด้วยการข่มไว้ อริยมรรค เวลาล้างกิเลส ล้างตัวไหนแล้วล้างเลย ไม่ต้องล้างอีกแล้ว ล้างทีเดียวสะอาดหมดจด ไม่เกิดขึ้นอีกแล้ว แล้วเราค่อยๆ ฝึกนะ วันหนึ่งเราได้เป็นพระอริยะ อย่าวาดภาพว่าพระอริยะยากเกินไป อย่าวาดภาพว่าพระอริยะอยู่ไกล บารมีเราน้อย มัวแต่คิดว่าบารมีน้อยไม่ภาวนา มันก็น้อยไปทุกชาตินั่นแหล่ะ ถึงบารมีน้อยก็ขยันภาวนานะ หายใจไปก็รู้สึกตัวไป หายใจไปรู้สึกตัวไป มีสติรู้สึกตัวไปเรื่อย อย่าให้ลืมตัวเอง ต่อไปก็หายใจไป เห็นร่างกายที่หายใจอยู่ไม่ใช่เรา เห็นจิตใจมันทำงานได้เองนะ นี่ขั้นเดินปัญญา ง่ายๆ แค่นี้แหละ ลองไปทำดู หมวดหมู่ การศึกษา สัญญาอนุญาต สัญญาอนุญาตมาตรฐานของ YouTube
วิธีทำลายตัณหาอย่างสิ้นเชิงหลวงพ่อจะบอกแลนด์มาร์คที่สำคัญไว้นะ แลนด์มาร์คที่สำคัญก่อนที่จะเกิดอริยมรรคนี่ จิตจะเกิดปัญญาชนิดหนึ่ง เรียกว่า "สังขารุเบกขาญาณ" สังขารุเบกขาญาณ ญาณ แปลว่าปัญญา มีปัญญาที่จะเป็นอุเบกขา เป็นกลางต่อสังขาร อะไรที่เรียกว่า สังขาร ความปรุงแต่งทั้งปวงเรียกว่าสังขาร ร่างกายก็เป็นสังขารนะ ความสุข ความทุกข์ ก็เป็นสังขาร ความโลภ ความโกรธ ความหลง ก็เป็นสังขาร อะไรๆ ก็เป็นสังขาร ในขันธ์ 5 นี่แหล่ะ คือ ตัวสังขารทั้งหมด ถ้าเราค่อยๆ ฝึกตามดูไปเรื่อย มีสติตามดูไป เราจะเห็นเลย ร่างกายที่หายใจออกก็อยู่ชั่วคราว ร่างกายที่หายใจเข้าก็อยู่ชั่วคราว ความสุขก็อยู่ชั่วคราว ความทุกข์ก็อยู่ชั่วคราว จิตที่เฉยๆ ก็ชั่วคราว มีใครไม่สุขชั่วคราวไหม มีไหม สุขถาวรมีไหม ไม่มีหรอก ใครทุกข์ถาวรมีไหม ใครทุกข์ถาวร ไม่มี นี่เรามีสติตามดูความเปลี่ยนแปลงของจิตไปนะ เราจะเห็นเลย สุขก็ชั่วคราว ทุกข์ก็ชั่วคราว โลภ โกรธ หลง ก็ชั่วคราว ดูไปเรื่อยนะ ในที่สุดปัญญามันเกิด ก็จะรู้ว่าทุกอย่างเป็นของชั่วคราว พอเมื่อไหร่ที่จิตมันเห็นว่าทุกอย่างเป็นของชั่วคราว จิตก็จะเริ่มเข้าสู่ความเป็นกลางด้วยปัญญาแล้ว เป็นกลางนี่เกิดได้หลายแบบ เป็นกลางอันแรกเกิดด้วยการกดข่มไว้ เช่น ถูกเค้าด่า ก็กัดฟัน ไม่โกรธเลย ไม่โกรธเลยนะ บอกเป็นกลางเพราะกดข่มเอาไว้ เป็นกลางอีกอันหนึ่งเรียก เป็นกลางด้วยมีสติ เป็นกลางอีกอย่างหนึ่ง เป็นกลางด้วยปัญญา เป็นกลางแบบมีสติ ก็คือ เช่น เราขับรถอยู่ คนมันปาดหน้า ใจเราโมโหขึ้นมา เราเห็นเลยใจมันโมโห พอเราเป็นนักปฏิบัตินี่ เราเห็นว่าใจเราโมโหขึ้นมาไม่ดี คุณแม่บอกให้เมตตา โมโหไม่ดีใช่มั๊ย เราต้องรีบไปรู้ทันใจที่ไม่ชอบ ความโกรธเกิดขึ้นแล้วใจเกิดยินร้าย ไม่ชอบความโกรธ หรือกุศลเกิดขึ้นใจเราหลงยินดีเราไม่รู้ว่ายินดี อย่างนี้จิตไม่เป็นกลาง ถ้าจิตยินดีเรารู้ทัน จิตยินร้ายเรารู้ทัน มันจะเป็นกลางด้วยสติ แต่ถ้าเป็นกลางด้วยปัญญา ตรงนี้สำคัญมากเลย ก่อนที่จะเกิดอริยมรรคนี่ จิตจะเป็นกลางด้วยปัญญา แล้วมันจะเห็นเลยว่า ความสุขก็ชั่วคราว ความทุกข์ก็ชั่วคราว กุศลก็ชั่วคราวนะ โลภ โกรธ หลง อะไรต่ออะไรก็ชั่วคราว ฟุ้งซ่านก็ชั่วคราว หดหู่ก็ชั่วคราว ทุกอย่างชั่วคราวหมดเลย ถ้าเมื่อไหร่ จิตเห็นว่าทุกอย่างเป็นของชั่วคราว จิตมันจะเป็นกลางด้วยปัญญาขึ้นมา ความสุขเกิดขึ้นมันไม่หลงระเริงแล้ว เพราะมันรู้แล้วว่าชั่วคราว ความทุกข์เกิดขึ้นมันไม่ทุรนทุราย เพราะมันรู้ว่าชั่วคราว ดีใจ เสียใจ สมหวัง ผิดหวัง มันไม่หลงระเริงเลยนะ ไม่เสียอกเสียใจเพราะมันรู้ว่าชั่วคราว เห็นไหมพอมันเห็นว่าทุกอย่าง เป็นของชั่วคราวนี่ ใจจะหมดความดิ้นรน นี่เรียกว่า เป็นกลางด้วยปัญญา ก่อนที่จะเกิดอริยมรรคนี่ จิตจะเป็นกลางด้วยปัญญา ก่อนที่จิตจะเป็นกลาง ด้วยปัญญานี่ เราจะต้อง หัดเจริญสติ ตามดูความเปลี่ยนแปลงของกาย ของใจ เรื่อยไป จนปัญญามันเกิดว่าทุกอย่างชั่วคราว สุข ทุกข์ ดี ชั่ว ชั่วคราว หายใจออก หายใจเข้า ชั่วคราว ยืนก็ชั่วคราว เดินก็ชั่วคราว นั่ง นอนชั่วคราว ดูไปเรื่อยๆ นะ มีแต่ของชั่วคราวไปหมดเลย มาเสถียรก็มาชั่วคราวใช่ไหมนะ เดี๋ยวก็ไปแล้ว นี่ทุกอย่างชั่วคราวนะ ดูไป ทุกสิ่งในชีวิตเรานะ ถ้าเห็นว่าทุกอย่างชั่วคราวนะ ต่อไปไม่ว่าอะไรเกิดขึ้นจิตจะเป็นกลาง จิตที่เป็นกลางแล้วมันจะเกิดอะไรขึ้น จิตจะหมดความดิ้นรน จิตที่ไม่เป็นกลางนะมันจะดิ้นรนไม่เลิก พวกเรารู้สึกไหม อย่างจิตใจเราไม่มีความสุข เราอยากให้มีความสุข เราเกลียดความทุกข์ จิตที่เกลียดความทุกข์ก็ดิ้นรนนะ ดิ้นว่าทำอย่างไรจะมีความสุข หรือจิตมันดิ้นรนหาความสุข จิตดิ้นรนหนีความทุกข์ การที่จิตต้องดิ้นรนอยู่ตลอดเวลานี่นะ คือตัวทุกข์เลย จิตจะมีแต่ความทุกข์ล้วนๆ เลย สร้างภพ สร้างชาติ สร้างความปรุงแต่งอยู่ตลอดเวลา พวกเราเห็นไหม ในใจของเรามีความอยากเกิดตลอดเวลา ไปหัดดูนะ แล้วเราจะเห็นเลยใจเรามีความอยากตลอดเวลา เดี๋ยวอยากดู เดี๋ยวอยากฟัง เดี๋ยวอยากคิด เดี๋ยวอยากหนีไปที่อื่น อย่างตอนนี้แดดร้อนแล้วอยากหนีแล้ว ถอยได้นะถอย ถอยไปอยู่ข้างหลัง ถอยได้ แบ่งๆ กันนะ แบ่งๆกัน หรือจะเอาเสื่อ ขึ้นคลุมก็ไม่ว่านะ สังเกตมั้ยตอนหัวเราะเมื่อกี้ใจฟุ้งซ่าน ดูออกมั้ย ลืมตัวเอง นี่ฝึกนะ ฝึกรู้อย่างนี้แหละ ดูไปเรื่อยๆนะ ถึงจุดหนึ่งที่ปัญญามันพอนี่ จิตมันจะรวม รวมเข้าอัปปนาสมาธิ รวมของมันเองนะ แล้วจะเห็นสภาวะธรรมเกิดดับอยู่สองสามขณะ แล้วถัดจากนั้นอริยะมรรคก็จะเกิดขึ้น จะล้างกิเลส อริยมรรคเวลาล้างกิเลส จะไม่เหมือนการล้างกิเลสด้วยสติ ด้วยสมาธิ ด้วยศีล ด้วยการข่มไว้ อริยมรรค เวลาล้างกิเลส ล้างตัวไหนแล้วล้างเลย ไม่ต้องล้างอีกแล้ว ล้างทีเดียวสะอาดหมดจด ไม่เกิดขึ้นอีกแล้ว แล้วเราค่อยๆ ฝึกนะ วันหนึ่งเราได้เป็นพระอริยะ อย่าวาดภาพว่าพระอริยะยากเกินไป อย่าวาดภาพว่าพระอริยะอยู่ไกล บารมีเราน้อย มัวแต่คิดว่าบารมีน้อยไม่ภาวนา มันก็น้อยไปทุกชาตินั่นแหล่ะ ถึงบารมีน้อยก็ขยันภาวนานะ หายใจไปก็รู้สึกตัวไป หายใจไปรู้สึกตัวไป มีสติรู้สึกตัวไปเรื่อย อย่าให้ลืมตัวเอง ต่อไปก็หายใจไป เห็นร่างกายที่หายใจอยู่ไม่ใช่เรา เห็นจิตใจมันทำงานได้เองนะ นี่ขั้นเดินปัญญา ง่ายๆ แค่นี้แหละ ลองไปทำดู หมวดหมู่ การศึกษา สัญญาอนุญาต สัญญาอนุญาตมาตรฐานของ YouTube
วิธีทำลายตัณหาอย่างสิ้นเชิงหลวงพ่อจะบอกแลนด์มาร์คที่สำคัญไว้นะ แลนด์มาร์คที่สำคัญก่อนที่จะเกิดอริยมรรคนี่ จิตจะเกิดปัญญาชนิดหนึ่ง เรียกว่า "สังขารุเบกขาญาณ" สังขารุเบกขาญาณ ญาณ แปลว่าปัญญา มีปัญญาที่จะเป็นอุเบกขา เป็นกลางต่อสังขาร อะไรที่เรียกว่า สังขาร ความปรุงแต่งทั้งปวงเรียกว่าสังขาร ร่างกายก็เป็นสังขารนะ ความสุข ความทุกข์ ก็เป็นสังขาร ความโลภ ความโกรธ ความหลง ก็เป็นสังขาร อะไรๆ ก็เป็นสังขาร ในขันธ์ 5 นี่แหล่ะ คือ ตัวสังขารทั้งหมด ถ้าเราค่อยๆ ฝึกตามดูไปเรื่อย มีสติตามดูไป เราจะเห็นเลย ร่างกายที่หายใจออกก็อยู่ชั่วคราว ร่างกายที่หายใจเข้าก็อยู่ชั่วคราว ความสุขก็อยู่ชั่วคราว ความทุกข์ก็อยู่ชั่วคราว จิตที่เฉยๆ ก็ชั่วคราว มีใครไม่สุขชั่วคราวไหม มีไหม สุขถาวรมีไหม ไม่มีหรอก ใครทุกข์ถาวรมีไหม ใครทุกข์ถาวร ไม่มี นี่เรามีสติตามดูความเปลี่ยนแปลงของจิตไปนะ เราจะเห็นเลย สุขก็ชั่วคราว ทุกข์ก็ชั่วคราว โลภ โกรธ หลง ก็ชั่วคราว ดูไปเรื่อยนะ ในที่สุดปัญญามันเกิด ก็จะรู้ว่าทุกอย่างเป็นของชั่วคราว พอเมื่อไหร่ที่จิตมันเห็นว่าทุกอย่างเป็นของชั่วคราว จิตก็จะเริ่มเข้าสู่ความเป็นกลางด้วยปัญญาแล้ว เป็นกลางนี่เกิดได้หลายแบบ เป็นกลางอันแรกเกิดด้วยการกดข่มไว้ เช่น ถูกเค้าด่า ก็กัดฟัน ไม่โกรธเลย ไม่โกรธเลยนะ บอกเป็นกลางเพราะกดข่มเอาไว้ เป็นกลางอีกอันหนึ่งเรียก เป็นกลางด้วยมีสติ เป็นกลางอีกอย่างหนึ่ง เป็นกลางด้วยปัญญา เป็นกลางแบบมีสติ ก็คือ เช่น เราขับรถอยู่ คนมันปาดหน้า ใจเราโมโหขึ้นมา เราเห็นเลยใจมันโมโห พอเราเป็นนักปฏิบัตินี่ เราเห็นว่าใจเราโมโหขึ้นมาไม่ดี คุณแม่บอกให้เมตตา โมโหไม่ดีใช่มั๊ย เราต้องรีบไปรู้ทันใจที่ไม่ชอบ ความโกรธเกิดขึ้นแล้วใจเกิดยินร้าย ไม่ชอบความโกรธ หรือกุศลเกิดขึ้นใจเราหลงยินดีเราไม่รู้ว่ายินดี อย่างนี้จิตไม่เป็นกลาง ถ้าจิตยินดีเรารู้ทัน จิตยินร้ายเรารู้ทัน มันจะเป็นกลางด้วยสติ แต่ถ้าเป็นกลางด้วยปัญญา ตรงนี้สำคัญมากเลย ก่อนที่จะเกิดอริยมรรคนี่ จิตจะเป็นกลางด้วยปัญญา แล้วมันจะเห็นเลยว่า ความสุขก็ชั่วคราว ความทุกข์ก็ชั่วคราว กุศลก็ชั่วคราวนะ โลภ โกรธ หลง อะไรต่ออะไรก็ชั่วคราว ฟุ้งซ่านก็ชั่วคราว หดหู่ก็ชั่วคราว ทุกอย่างชั่วคราวหมดเลย ถ้าเมื่อไหร่ จิตเห็นว่าทุกอย่างเป็นของชั่วคราว จิตมันจะเป็นกลางด้วยปัญญาขึ้นมา ความสุขเกิดขึ้นมันไม่หลงระเริงแล้ว เพราะมันรู้แล้วว่าชั่วคราว ความทุกข์เกิดขึ้นมันไม่ทุรนทุราย เพราะมันรู้ว่าชั่วคราว ดีใจ เสียใจ สมหวัง ผิดหวัง มันไม่หลงระเริงเลยนะ ไม่เสียอกเสียใจเพราะมันรู้ว่าชั่วคราว เห็นไหมพอมันเห็นว่าทุกอย่าง เป็นของชั่วคราวนี่ ใจจะหมดความดิ้นรน นี่เรียกว่า เป็นกลางด้วยปัญญา ก่อนที่จะเกิดอริยมรรคนี่ จิตจะเป็นกลางด้วยปัญญา ก่อนที่จิตจะเป็นกลาง ด้วยปัญญานี่ เราจะต้อง หัดเจริญสติ ตามดูความเปลี่ยนแปลงของกาย ของใจ เรื่อยไป จนปัญญามันเกิดว่าทุกอย่างชั่วคราว สุข ทุกข์ ดี ชั่ว ชั่วคราว หายใจออก หายใจเข้า ชั่วคราว ยืนก็ชั่วคราว เดินก็ชั่วคราว นั่ง นอนชั่วคราว ดูไปเรื่อยๆ นะ มีแต่ของชั่วคราวไปหมดเลย มาเสถียรก็มาชั่วคราวใช่ไหมนะ เดี๋ยวก็ไปแล้ว นี่ทุกอย่างชั่วคราวนะ ดูไป ทุกสิ่งในชีวิตเรานะ ถ้าเห็นว่าทุกอย่างชั่วคราวนะ ต่อไปไม่ว่าอะไรเกิดขึ้นจิตจะเป็นกลาง จิตที่เป็นกลางแล้วมันจะเกิดอะไรขึ้น จิตจะหมดความดิ้นรน จิตที่ไม่เป็นกลางนะมันจะดิ้นรนไม่เลิก พวกเรารู้สึกไหม อย่างจิตใจเราไม่มีความสุข เราอยากให้มีความสุข เราเกลียดความทุกข์ จิตที่เกลียดความทุกข์ก็ดิ้นรนนะ ดิ้นว่าทำอย่างไรจะมีความสุข หรือจิตมันดิ้นรนหาความสุข จิตดิ้นรนหนีความทุกข์ การที่จิตต้องดิ้นรนอยู่ตลอดเวลานี่นะ คือตัวทุกข์เลย จิตจะมีแต่ความทุกข์ล้วนๆ เลย สร้างภพ สร้างชาติ สร้างความปรุงแต่งอยู่ตลอดเวลา พวกเราเห็นไหม ในใจของเรามีความอยากเกิดตลอดเวลา ไปหัดดูนะ แล้วเราจะเห็นเลยใจเรามีความอยากตลอดเวลา เดี๋ยวอยากดู เดี๋ยวอยากฟัง เดี๋ยวอยากคิด เดี๋ยวอยากหนีไปที่อื่น อย่างตอนนี้แดดร้อนแล้วอยากหนีแล้ว ถอยได้นะถอย ถอยไปอยู่ข้างหลัง ถอยได้ แบ่งๆ กันนะ แบ่งๆกัน หรือจะเอาเสื่อ ขึ้นคลุมก็ไม่ว่านะ สังเกตมั้ยตอนหัวเราะเมื่อกี้ใจฟุ้งซ่าน ดูออกมั้ย ลืมตัวเอง นี่ฝึกนะ ฝึกรู้อย่างนี้แหละ ดูไปเรื่อยๆนะ ถึงจุดหนึ่งที่ปัญญามันพอนี่ จิตมันจะรวม รวมเข้าอัปปนาสมาธิ รวมของมันเองนะ แล้วจะเห็นสภาวะธรรมเกิดดับอยู่สองสามขณะ แล้วถัดจากนั้นอริยะมรรคก็จะเกิดขึ้น จะล้างกิเลส อริยมรรคเวลาล้างกิเลส จะไม่เหมือนการล้างกิเลสด้วยสติ ด้วยสมาธิ ด้วยศีล ด้วยการข่มไว้ อริยมรรค เวลาล้างกิเลส ล้างตัวไหนแล้วล้างเลย ไม่ต้องล้างอีกแล้ว ล้างทีเดียวสะอาดหมดจด ไม่เกิดขึ้นอีกแล้ว แล้วเราค่อยๆ ฝึกนะ วันหนึ่งเราได้เป็นพระอริยะ อย่าวาดภาพว่าพระอริยะยากเกินไป อย่าวาดภาพว่าพระอริยะอยู่ไกล บารมีเราน้อย มัวแต่คิดว่าบารมีน้อยไม่ภาวนา มันก็น้อยไปทุกชาตินั่นแหล่ะ ถึงบารมีน้อยก็ขยันภาวนานะ หายใจไปก็รู้สึกตัวไป หายใจไปรู้สึกตัวไป มีสติรู้สึกตัวไปเรื่อย อย่าให้ลืมตัวเอง ต่อไปก็หายใจไป เห็นร่างกายที่หายใจอยู่ไม่ใช่เรา เห็นจิตใจมันทำงานได้เองนะ นี่ขั้นเดินปัญญา ง่ายๆ แค่นี้แหละ ลองไปทำดู หมวดหมู่ การศึกษา สัญญาอนุญาต สัญญาอนุญาตมาตรฐานของ YouTube
ฮือฮา!!พระเเอฟริการูปแรก ดอกบัวแห่งพระพุทธศาสนาได้เบ่งบานขึ้นแล้วในยูกัน..ฮือฮา!!พระเเอฟริการูปแรก ดอกบัวแห่งพระพุทธศาสนาได้เบ่งบานขึ้นแล้วในยูกันดา แอฟริกา ปลดล็อค ปลดล็อค.
พระพุทธเจ้าสอน ให้เรา เรียนจนรู้ความจริงว่าความทุกข์มันเกิดได้อย่างไร ทำ...เธออย่าได้กล่าวคำหยาบต่อใคร ๆ คนที่ถูกเธอว่ากล่าวจะกล่าวโต้ตอบเธอ เพราะว่าถ้อยคำที่โต้เถียงกัน ก่อให้เกิดทุกข์ และการทำร้ายโต้ตอบกันจะมาถึงเธอ ถ้าเธอทำตนให้นิ่งเงียบได้ เหมือนกังสดาลที่ตัดขอบปากออกแล้ว เธอก็จะบรรลุนิพพานได้ การโต้เถียงกันก็จะไม่มีแก่เธอ กราบขอบพระคุณ และอนุโมทนา ท่านอาจารย์ มากครับที่กรุณา ให้โอกาส บุคคลรู้แจ้งในธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว จากผู้ใด พึงนอบน้อมผู้นั้นโดยเคารพ เหมือนพราหมณ์นับถือการบูชาไฟ ฉะนั้น. มโนปุพฺพงฺคมา ธมฺมา มโนเสฏฺฐา มโนมยา มนสา เจ ปทุฏฺเฐน ภาสติ วา กโรติ วา ตโต นํ ทุกฺขมเนฺวติ จกฺกํว วหโต ปทํ. “ธรรมทั้งหลาย มีใจเป็นหัวหน้า มีใจเป็นใหญ่."ธรรมบท" อุปมาเหมือน "ปิยมิตร" ผู้ซื่อสัตย์คอยชี้ทางแห่งความสุขและความเจริญ และคอยป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้น คำสอนในคัมภีร์พระธรรมบทมีคุณค่าและเหมาะสมกับคนทุกเพศ ทุกวัย ทุกเชื้อชาติศาสนา ดังนั้น ธรรมบทจึงได้ชื่อว่า "วรรณคดีโลก" (World Literature) คัมภีร์ธรรมบทเป็นคัมภีร์รวบรวมบทต่าง ๆ ที่พระพุทธเจ้าตรัสเป็นพุทธภาษิตแก่บุคคลต่าง ๆ ต่างกรรม ต่างวาระ ต่างสถานที่ เป็นบทธรรมสั้น ๆ ในรูปคาถา ประพันธ์เป็นบทร้อยกรองหรือบทกวี ตามหลักฉันทลักษณศาสตร์ ผู้อ่านสามารถจดจำได้ง่าย และมีความไพเราะลึกซึ้งมาก ที่สำคัญคือ ธรรมบทแต่ละบทล้วนเป็นสัจจธรรม และถือว่าเป็นอมตวาจาของพระพุทธเจ้าเลยทีเดียว นัยว่า บรรดาคัมภีร์ในพระไตรปิฎก คัมภีร์ธรรมบทเป็นคัมภีร์ที่มีการแปลเป็นภาษาต่าง ๆ มากที่สุด ธรรมบทจึงเป็นเพชรงามน้ำเอกชั้นเยี่ยมที่ควรค่าแก่การศึกษาเป็นอย่างยิ่ง http://metta.exteen.com,เมตตาธรรมค้ำจุนโลก วันนี้เรากลับถึงบ้านได้แล้ว มันมีความสุขนะ เจอพ่อเจอแม่ของเรา คือเจอพระพุทธเจ้า ถ้าเราสัมผัสพระนิพพานแล้ว เราจะรู้เลยว่าโลกนี้หาสาระแก่นสารไม่ได้ โลกนี้เหมือนฝัน ความสุขเหมือนกับฝันอยู่เท่านั้นแหละ ไม่ใช่มีของจริงอะไรให้เราดูเลย ความสุขของพระนิพพานนั้นเหมือนกับของจริง มันเหมือนว่าเรากลับบ้านเราได้แล้ว เราเป็นเด็กหลงทางหาทางกลับบ้านไม่เจอ วันนี้เรากลับถึงบ้านได้แล้ว มันมีความสุขนะ เจอพ่อเจอแม่ของเรา คือเจอพระพุทธเจ้า จิตของเรานั้นแหละ กับพระพุทธเจ้า จะหลอมรวมเป็นสิ่งเดียวกัน จิตของเรากับพระธรรมจะหลอมรวมเข้าเป็นสิ่งเดียวกัน จิตนั้นแหละก็คือตัวพระสงฆ์ พระรัตนตรัยรวมเข้าเป็นหนึ่งที่จิตนั้นเอง ที่จิตที่บริสุทธิ์จิตที่สะอาด จะมีความสุขที่ไม่มีอะไรเหมือน
ธรรมที่ควรรู้ยิ่ง
14 ความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 1
๑. คำปรารภ
หลวงปู่ดูลย์ อตุโล เป็นศิษย์รุ่นแรกสุดของท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถร ภายหลังจากท่านออกเดินธุดงค์จนสิ้นธุระในส่วนขององค์ท่านแล้ว ท่านได้ไปประจำอยู่ที่วัดบูรพาราม อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ ตลอดมาจนถึง วันมรณภาพ หลวงปู่เป็นผู้เคร่งครัดในพระธรรมวินัย และได้แผ่บารมีธรรม อบรมสั่งสอนศิษย์ทั้งที่เป็นบรรพชิตและคฤหัสถ์ ประสบผลสำเร็จในการปฏิบัติธรรมเป็นจำนวนมาก ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว หลักปฏิบัติที่ท่านนำมาสั่งสอนนั้น ไม่ใช่หลักธรรมของท่าน หรือของท่านอาจารย์ของท่าน แต่เป็นพระธรรมคำสอน อันพระผู้มีพระภาคเจ้าประทานไว้นั่นเอง ท่านเพียงแต่เลือกเฟ้นกลั่นกรองนำมาสอน ให้ถูกกับจริตนิสัยของศิษย์แต่ละคนเท่านั้น
หลวงปู่มีปรกติสอนเรื่องจิต จนบางคนเข้าใจว่า ท่านสอนเฉพาะการดูจิตหรือการพิจารณาจิต (จิตตานุปัสสนาและธัมมานุปัสสนา) แต่ในความเป็นจริงแล้ว ท่านสอนไว้สารพัดรูปแบบ คือใครดูจิตได้ท่านก็สอนให้ดูจิต แต่หากใครไม่สามารถดูจิตโดยตรงได้ ท่านก็สอนให้พิจารณากาย (กายานุปัสสนา และเวทนานุปัสสนา)เช่น เดียวกับที่ท่านพระอาจารย์มั่นสอน และในความเป็นจริง ศิษย์ฝ่ายบรรพชิตที่พิจารณากายนั้น ดูจะมีมากกว่าผู้พิจารณาจิตโดยตรงเสียอีก
๒. เหตุผลที่ท่านเน้นการศึกษาที่จิต
หลวงปู่พิจารณาเห็นว่ากุศลธรรมทั้งหลายรวมลงได้ในอริยสัจสี่ทั้งนั้น และอริยสัจสี่นั้นสามารถรู้เห็นและเข้าใจได้ด้วยการศึกษาจิตของตนเอง เพราะทุกข์นั้นเกิดมาจากสมุทัยคือตัณหา (ความทะยานอยากของจิต) และความพ้นทุกข์ก็เกิดจากความสิ้นไปของตัณหา แม้แต่มรรคมีองค์แปด ซึ่งย่อลงเป็นศีล สมาธิ และปัญญานั้น ก็เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นกับจิตทั้งสิ้น กล่าวคือศีลได้แก่ความเป็นปรกติธรรมดาของจิตที่ไม่ถูกสภาวะอันใดครอบงำ สมาธิคือความตั้งมั่นของจิต และปัญญาคือความรอบรู้ของจิต ท่านจึงกล้ากล่าวว่า พระธรรมทั้งปวงนั้น สามารถเรียนรู้ได้ที่จิตของตนเอง ด้วยเหตุนี้ ท่านจึงให้ความสำคัญเป็นพิเศษกับการดูจิต
๓. วิธีดูจิต
๓.๑ การเตรียมความพร้อมของจิต พระกรรมฐานสายท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถร จะสอนตรงกันว่า จิตที่จะเจริญวิปัสสนาได้นั้น ต้องมีสมาธิหรือความสงบตั้งมั่นของจิตเป็นฐานเสียก่อน จิตจะได้ไม่ถูกกิเลสครอบงำ จนเห็นไม่สามารถเห็นสภาวธรรมตามความเป็นจริงได้ หลวงปู่ดูลย์ท่านก็สอนในลักษณะเดียวกัน และท่านมักจะให้เจริญพุทธานุสติบริกรรม "พุทโธ" หรือ ควบด้วยการทำอานาปานสติ คือการกำหนดลมหายใจเข้า บริกรรม "พุท" หายใจออกบริกรรม "โธ"
เคล็ดลับของการทำความสงบ ในเวลาที่จะทำความสงบนั้น ท่านให้ทำความสงบจริงๆ ไม่ต้องคิดถึงเรื่องการเจริญปัญญา และมีเคล็ดลับที่ช่วยให้จิตสงบง่ายคือ ให้รู้คำบริกรรมหรือกำหนดลมหายใจไปเรื่อยๆ ตามสบาย อย่าอยากหรือจงใจจะให้จิตสงบ เพราะธรรมชาติของจิตนั้นจะไปบังคับให้สงบไม่ได้ ยิ่งพยายามให้สงบกลับจะยิ่งฟุ้งซ่านหนักเข้าไปอีก
เมื่อจิตสงบลงแล้ว จิตจะทิ้งคำบริกรรม ก็ไม่ต้องนึกหาคำบริกรรมอีก แต่ให้รู้อยู่ตรงความรู้สึกที่สงบนั้น จนกว่าจิตจะถอนออกมาสู่ความเป็นปรกติด้วยตัวของมันเอง
๓.๒ การแยกจิตผู้รู้กับอารมณ์ที่ถูกจิตรู้ เมื่อจิตรวมสงบทิ้งคำบริกรรมไปแล้ว ท่านให้สังเกตอยู่ที่ความสงบนั้นเอง และสังเกตต่อไปว่า ความสงบนั้นเป็นเพียงสิ่งที่ถูกรู้เท่านั้น จิตคือตัวผู้รู้ ผู้ดูอยู่นั้น มีอยู่ต่างหาก สรุปก็คือ ท่านสอนให้แยกจิตผู้รู้ออกจากอารมณ์ที่ถูกรู้
บางคนไม่สามารถทำความสงบด้วยการบริกรรม หรือด้วยกรรมฐานอื่นใด ก็อาจใช้วิธีอื่นในการแยกผู้รู้กับสิ่งที่ถูกรู้ได้ ตัวอย่างเช่น
นึกถึงพุทโธ หรือบทสวดมนต์บทใดก็ได้ที่คุ้นเคย แล้วก็เฝ้ารู้การสวดมนต์ที่แจ้วๆ อยู่ในสมองตนเองไป จากนั้นจึงแยกว่า บทสวดนั้นถูกรู้ ผู้รู้มีอยู่ต่างหาก ตรงจุดนี้มีอุบายยักย้ายอีกหลายอย่าง เช่น อาจจะสังเกตดูความคิดของตนเอง ซึ่งพูดแจ้วๆ อยู่ในสมองก็ได้ แล้วเห็นว่า ความคิดนั้นถูกรู้ จิตผู้รู้มีอยู่ต่างหาก
หรือตามรู้ความเคลื่อนไหวของร่างกายไปเรื่อยๆ หรือตามรู้ความ รู้สึกเป็นสุข เป็นทุกข์ หรือเฉยๆ ไปเรื่อยๆ หรือ ฯลฯ (สรุปว่า รู้อะไรก็ได้ให้ต่อเนื่อง) และสังเกตเห็นว่าสิ่งนั้นเป็นแค่สิ่งที่ถูกรู้ จิตผู้รู้มีอยู่ต่างหาก
หรืออย่างท่านพระอาจารย์เทสก์ เทสรังสี ศิษย์อาวุโสอีกรูปหนึ่งของท่านพระอาจารย์มั่น ท่านสอนให้ลองกลั้นหายใจดูชั่วขณะ แล้วสังเกตดูความรู้สึกตรงที่นิ่งๆ ว่างๆ นั้น แล้วทำสติรู้อยู่ตรงนั้นเรื่อยๆ ไป เป็นต้น เมื่อแยกจิตผู้รู้กับอารมณ์ที่ถูกรู้ได้แล้ว ก็ให้เจริญสติสัมปชัญญะต่อไป
๓.๓ การเจริญสติและสัมปชัญญะ ให้ทำความรู้ตัวอยู่กับจิตผู้รู้ อย่างสบายๆ ไม่เพ่งจ้องหรือควานหา ค้นคว้า พิจารณาเข้าไปที่จิตผู้รู้ เพียงแค่รู้อยู่เฉยๆ เท่านั้น ต่อมาเมื่อมีความคิดนึกปรุงแต่งอื่นๆ เกิดขึ้น ก็จะเห็นความเปลี่ยนแปลงของอารมณ์ชัดเจน เช่น เดิมมีความนิ่งว่างอยู่ ต่อมาเกิดคิดถึงคนๆ หนึ่ง แล้วเกิดความรู้สึกรัก หรือชังขึ้น ก็ให้สังเกตรู้ความรักความชังนั้น และเห็นว่ามันเป็นสิ่งที่ถูกรู้เท่านั้น ตัวจิตผู้รู้มีอยู่ต่างหาก ให้รู้ตัวไปเรื่อยๆ สิ่งใดเป็นอารมณ์ปรากฏขึ้นกับจิต ก็ให้มีสติรู้อารมณ์ที่กำลังปรากฏนั้น ในขณะเดียวกัน ก็ต้องไม่เผลอส่งจิตเข้าไปในอารมณ์นั้น ตรงที่จิตไม่เผลอส่งออกไปนั้นเอง คือความรู้ตัวหรือสัมปชัญญะ
เรื่องสตินั้นเข้าใจง่าย เพราะหมายถึงตัวที่ไปรู้เท่าอารมณ์ที่กำลังปรากฏ เช่นคนอ่านหนังสือ สติจดจ่ออยู่กับหนังสือ จึงอ่านหนังสือได้รู้เรื่อง คนขับรถสติจดจ่อกับการขับรถก็ทำให้ขับรถได้ ฉะนั้นโดยธรรมชาติแล้ว คนมีสติอยู่เสมอเมื่อจิตรู้อารมณ์ แต่จะเป็นสัมมาสติได้ ก็ต่อเมื่อมีสัมปชัญญะคือ ความรู้ตัวไม่เผลอควบคู่ไปด้วย
ความรู้ตัวไม่เผลอนั้นเข้าใจยากที่สุด เพราะถามใครเขาก็ว่าเขารู้ตัวทั้งนั้น ทั้งที่ความจริงจิตยังมีความหลง (โมหะ) แฝงอยู่เกือบตลอดเวลา สัมปชัญญะที่ใช้เจริญสติปัฏฐาน จะต้องเป็น "อสัมโมหสัมปชัญญะ" เท่านั้น
ยกตัวอย่าง เมื่อเราดูละครโทรทัศน์ ตาเห็นรูป หูได้ยินเสียง ใจรู้ คิดนึกตามเรื่องของละครไป ในขณะนั้นเรามีสติดูโทรทัศน์ แต่ไม่อาจไม่มีสัมปชัญญะ เพราะเราส่งจิตหลงไปทางตา ทางหู และทางใจ เราลืมนึกถึง ตัวเองที่นั่งดูโทรทัศน์อยู่ อันนี้เรียกว่าไม่มีสัมปชัญญะหรือไม่รู้ตัว
บางคนเดินจงกรม กำหนดรู้ความเคลื่อนไหวของเท้าซ้าย เท้าขวา รู้ความเคลื่อนไหวของกาย อันนั้นมีสติ แต่อาจไม่มีสัมปชัญญะถ้าส่งจิตเผลอไปในเรื่องของเท้าและร่างกาย มัวแต่จดจ่อที่เท้าและร่างกายที่กำลังเคลื่อนไหว จนเหมือนกับลืมตัวเอง เหมือนตัวเองหรือตัวจิตผู้รู้นั้นไม่มีอยู่ในโลกเลยใน ขณะนั้น
ความรู้ตัวหรือการไม่หลงเผลอส่งจิตออกไปตามอารมณ์ภายนอกนั้นเองคือสัมปชัญญะ วิธีฝึกให้ได้สัมปชัญญะที่ดีที่สุดคือการทำสมถะกรรมฐาน เช่น การบริกรรมพุทโธจนจิตรวมเข้าถึงฐานของมัน แล้วรู้อยู่ตรง ฐานนั้นเรื่อยไป หากมีอารมณ์มาล่อทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ ก็ไม่เผลอ หลงลืมฐานของตน ส่งจิตตามอารมณ์ไปอย่างไม่รู้ตัว
๓.๔ ดูจิตแล้วรู้อารมณ์อะไรบ้าง การที่เราเฝ้ารู้จิตผู้รู้ไปเรื่อยๆ อย่างสบายๆ นั้น เราสามารถรู้อารมณ์ทุกชนิดที่ผ่านเข้ามาให้จิตรู้ แล้วแต่ว่า ในขณะนั้นอารมณ์ตัวไหนจะแรงและเด่นชัดที่สุด ดังนั้น เราสามารถเจริญ สติปัฏฐานได้ทั้ง ๔ ประเภท (ในทางตรงข้าม ถ้าแยกจิตผู้รู้กับอารมณ์ที่ถูกรู้ออกจากกันไม่ได้ จะไม่สามารถเจริญสติปัฏฐานทุกประเภทเช่นกัน ที่กล่าวว่าสมถะเป็นฐานของวิปัสสนาก็คือเรื่องตรงนี้เอง คือถ้าขาดสมถะที่ถูกต้อง จิตจะตกเป็นทางอารมณ์ ถ้ามีสมถะที่ถูกต้อง จิตจะมีสัมปชัญญะ รู้ตัว ไม่เป็นทาสของ อารมณ์ จึงเห็นความเกิดดับของอารมณ์ชัดเจนตามความเป็นจริงได้) กล่าวคือ
๓.๔.๑ รู้กาย เมื่อมีสัมผัสทางกาย เช่นรู้ลมหายใจเข้า ออก รู้ทางกายว่ามีอากาศเย็นมากระทบกาย กายเกิดอาการหนาวสะท้านขึ้น หรือเมื่อเดินกลางแดดร้อนจัด กายอิดโรยมีเหงื่อไคล สกปรกชุ่มอยู่ หรือเมื่อเดินจงกรมเคลื่อนไหวไปมา ผู้ที่มีจิตผู้รู้ จะเห็นกายสักแต่ว่าเป็นกลุ่มของธาตุมารวมกัน และเคลื่อนไหวไปมาได้เหมือนหุ่นยนต์ตัวหนึ่ง ไม่เห็นว่ากายส่วนใดจะเรียกตัวเองว่ากายเลย หรือเดินจงกรมจนเมื่อยขา ก็ไม่เห็นว่าขาจะบ่นอะไรได้เลย กายกับจิตมันแยกชัดเป็นคนละส่วนกันทีเดียว ผู้ปฏิบัติจะเห็นกายเป็นไตรลักษณ์ชัดเจนมาก
๓.๔.๒ รู้เวทนา บางครั้งในขณะที่รู้จิตผู้รู้อยู่นั้น เรา จะรู้เวทนา ทางกายบ้าง ทางจิตบ้าง แล้วแต่ตัวใดจะเด่นชัดในขณะนั้น เช่นในขณะที่เดินอยู่ เกิดเมื่อยขารุนแรง ถ้าเรามีจิตผู้รู้ เราจะเห็นชัดเลยว่า ความเมื่อยไม่ใช่ขาที่เป็นวัตถุธาตุ แต่เป็นอีกสิ่งหนึ่ง แฝงอยู่ในวัตถุธาตุที่ประกอบกันขึ้นเป็นขา หรืออย่างนั่งอยู่ร้อนๆ มีลมเย็นพัดมา รู้สึกสบาย ความสบายนั้นเป็นความรู้สึกอีกตัวหนึ่ง ที่แทรกเข้ามา โดยที่กายไม่ได้สบายไปด้วย หรืออย่างเราปวดฟัน ถ้าเรามีจิตผู้รู้ จะเห็นชัดว่า ความปวดไม่ใช่ฟัน และไม่ใช่จิตด้วย แต่เป็นอีกสิ่งหนึ่ง (อีกขันธ์หนึ่ง) และความปวดนั้นเปลี่ยนระดับตลอด ไม่ได้ปวดเท่ากันตลอดเวลา อันเป็นการแสดงความเป็นไตรลักษณ์ของเวทนาขันธ์ให้ปรากฏ
ในส่วนของเวทนาทางจิต ก็เห็นได้ชัดมาก เช่น เวลาปวดฟัน มีเวทนาทางกายแล้ว บางครั้งจิตก็ปรุงแต่งเวทนาทางจิตขึ้นมาด้วย คือเกิดความรู้สึกเป็นทุกข์ใจขึ้นมา หรือในเวลารับประทานอาหารที่ชอบใจ แม้รสยังไม่ทันสัมผัสลิ้น ความสุขทางใจก็เกิดขึ้นก่อนแล้ว อย่างนี้ก็มี
การรู้เวทนาขณะที่รู้จิตผู้รู้อยู่นั้น จะเห็นเวทนาเป็นไตรลักษณ์ชัดเจนมาก
๓.๔.๓ รู้จิต จิตตานุปัสสนานั้น ไม่ใช่การเห็นจิตผู้รู้ หรือจิตที่แท้จริง แต่เป็นการเห็นจิตสังขาร(ความคิดนึกปรุงแต่ง) ที่กำลังปรากฏ เช่น เห็นชัดว่า ขณะนั้นจิตมีความโกรธเกิดขึ้น มีความใคร่เกิดขึ้น มีความหลงฟุ้งซ่านเกิดขึ้น ความความผ่องใส เบิกบานเกิดขึ้น ฯลฯ แล้วก็จะเห็นอีกว่า ความปรุงแต่งทั้งฝ่ายชั่ว และฝ่ายดี ล้วนเป็นเพียงสิ่งที่เกิดขึ้นแล้วก็ดับไป มันไม่ใช่จิต มันเป็นแค่อารมณ์ที่ถูกรู้ ทั้งนี้การรู้จิต (สังขาร) ในขณะที่รู้ตัวหรือรู้จิตผู้รู้อยู่นั้น จะเห็นจิตสังขารเป็นไตรลักษณ์อย่างชัดเจนมาก
๓.๔.๔ รู้ธรรม ถ้ารู้จิตผู้รู้อยู่นั้น หากสภาวธรรมอันใดปรากฏขึ้น ก็จะเห็นสภาวธรรมนั้นตามที่มันเป็นจริง เช่น ขณะที่รู้ตัวอยู่ จิตคิดถึงคนที่รัก แล้วจิตก็ทะยานออกไปเกาะความคิดนั้น คลุกคลีกับความคิดนั้น ผู้ปฏิบัติจะเห็นชัดว่า จิตเกิดความยึดว่าจิตเป็นตัวตนของตนขึ้นมา เพราะความที่จิตหลงไปยึดอารมณ์นั้นเอง ความเป็นตัวตน ความเป็นกลุ่มก้อน ความหนัก ได้เกิดขึ้นแทนความไม่มีอะไรในตอนแรก และถ้ารู้ทันว่าจิตส่งออกไปนำความทุกข์มาให้ จิตจะปล่อยอารมณ์นั้น กลับมาอยู่กับรู้ ความเป็นกลุ่มก้อน ความหนัก ความแน่น หรือทุกข์ก็จะสลายตัวไปเอง อันนี้คือการเห็นอริยสัจสี่นั่นเอง คือเห็นว่าถ้ามีตัณหาคือความทะยานอยากไปตามอารมณ์ ความเป็นตัวตนและเป็นทุกข์จะเกิดขึ้น ถ้าไม่อยากทุกข์ก็ ไม่เกิด
การรู้สภาวธรรมในขณะที่รู้ตัว หรือรู้จิตผู้รู้นั้น จะเห็นจิตเป็นไตรลักษณ์ชัดเจนทีเดียว เช่นเห็นว่า เป็นของบังคับบัญชาไม่ได้ มันส่งออกไปยึดอารมณ์ มันก็ไปเอง ถ้ามันรู้ว่าไปยึดแล้วทุกข์ มันก็ไม่ไปเอง เราจะบังคับว่า จงอย่าไป ไม่ได้เลย
ตัวอย่างการพิจารณาหรือการดูจิต
๑. นาย จ. กำลังซักผ้า ขณะนั้น สัญญาคือความจำภาพของสาวคนรักผุดขึ้นมา จิตของเขาปรุงแต่งราคะคือความรักใคร่ผูกพันขึ้นมา ทั้งที่ไม่ได้เห็นสาวคนรักจริงๆ วิธีดูจิตนั้น ไม่ได้หมายความว่าให้นาย จ. หันมาทำสติว่ามือกำลังขยี้ผ้าอยู่ แต่นาย จ. จะต้องมองเห็นกิเลสที่เกิดขึ้นในใจของตนเอง เมื่อเห็นกิเลสแล้ว ก็ไม่ใช่เกลียดหรืออยากดับกิเลส แต่การเห็นกิเลสด้วยจิตที่เป็นกลาง กิเลสมันจะดับไปเอง เมื่อกิเลสดับไป นาย จ. ก็ต้องรู้ว่ากิเลสดับไป เป็นต้น
๒. กรณีเดียวกับตัวอย่างแรก ถ้านาย จ. เกิดราคะเพราะคิดถึงคนรัก บางครั้งกำลังกิเลสที่แรงมากๆ แม้นาย จ. จะรู้ว่ากิเลสเกิดขึ้น แต่ราคะนั้นอาจจะไม่ดับไป มิหนำซ้ำ จิตของนาย จ. ยังเคลื่อนออกจากฐานผู้รู้ เข้าไปเกาะกับภาพคนรัก หรือหลงเข้าไปในความคิ
หลวงปู่ดูลย์ อตุโล เป็นศิษย์รุ่นแรกสุดของท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถร ภายหลังจากท่านออกเดินธุดงค์จนสิ้นธุระในส่วนขององค์ท่านแล้ว ท่านได้ไปประจำอยู่ที่วัดบูรพาราม อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ ตลอดมาจนถึง วันมรณภาพ หลวงปู่เป็นผู้เคร่งครัดในพระธรรมวินัย และได้แผ่บารมีธรรม อบรมสั่งสอนศิษย์ทั้งที่เป็นบรรพชิตและคฤหัสถ์ ประสบผลสำเร็จในการปฏิบัติธรรมเป็นจำนวนมาก ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว หลักปฏิบัติที่ท่านนำมาสั่งสอนนั้น ไม่ใช่หลักธรรมของท่าน หรือของท่านอาจารย์ของท่าน แต่เป็นพระธรรมคำสอน อันพระผู้มีพระภาคเจ้าประทานไว้นั่นเอง ท่านเพียงแต่เลือกเฟ้นกลั่นกรองนำมาสอน ให้ถูกกับจริตนิสัยของศิษย์แต่ละคนเท่านั้น
หลวงปู่มีปรกติสอนเรื่องจิต จนบางคนเข้าใจว่า ท่านสอนเฉพาะการดูจิตหรือการพิจารณาจิต (จิตตานุปัสสนาและธัมมานุปัสสนา) แต่ในความเป็นจริงแล้ว ท่านสอนไว้สารพัดรูปแบบ คือใครดูจิตได้ท่านก็สอนให้ดูจิต แต่หากใครไม่สามารถดูจิตโดยตรงได้ ท่านก็สอนให้พิจารณากาย (กายานุปัสสนา และเวทนานุปัสสนา)เช่น เดียวกับที่ท่านพระอาจารย์มั่นสอน และในความเป็นจริง ศิษย์ฝ่ายบรรพชิตที่พิจารณากายนั้น ดูจะมีมากกว่าผู้พิจารณาจิตโดยตรงเสียอีก
๒. เหตุผลที่ท่านเน้นการศึกษาที่จิต
หลวงปู่พิจารณาเห็นว่ากุศลธรรมทั้งหลายรวมลงได้ในอริยสัจสี่ทั้งนั้น และอริยสัจสี่นั้นสามารถรู้เห็นและเข้าใจได้ด้วยการศึกษาจิตของตนเอง เพราะทุกข์นั้นเกิดมาจากสมุทัยคือตัณหา (ความทะยานอยากของจิต) และความพ้นทุกข์ก็เกิดจากความสิ้นไปของตัณหา แม้แต่มรรคมีองค์แปด ซึ่งย่อลงเป็นศีล สมาธิ และปัญญานั้น ก็เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นกับจิตทั้งสิ้น กล่าวคือศีลได้แก่ความเป็นปรกติธรรมดาของจิตที่ไม่ถูกสภาวะอันใดครอบงำ สมาธิคือความตั้งมั่นของจิต และปัญญาคือความรอบรู้ของจิต ท่านจึงกล้ากล่าวว่า พระธรรมทั้งปวงนั้น สามารถเรียนรู้ได้ที่จิตของตนเอง ด้วยเหตุนี้ ท่านจึงให้ความสำคัญเป็นพิเศษกับการดูจิต
๓. วิธีดูจิต
๓.๑ การเตรียมความพร้อมของจิต พระกรรมฐานสายท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถร จะสอนตรงกันว่า จิตที่จะเจริญวิปัสสนาได้นั้น ต้องมีสมาธิหรือความสงบตั้งมั่นของจิตเป็นฐานเสียก่อน จิตจะได้ไม่ถูกกิเลสครอบงำ จนเห็นไม่สามารถเห็นสภาวธรรมตามความเป็นจริงได้ หลวงปู่ดูลย์ท่านก็สอนในลักษณะเดียวกัน และท่านมักจะให้เจริญพุทธานุสติบริกรรม "พุทโธ" หรือ ควบด้วยการทำอานาปานสติ คือการกำหนดลมหายใจเข้า บริกรรม "พุท" หายใจออกบริกรรม "โธ"
เคล็ดลับของการทำความสงบ ในเวลาที่จะทำความสงบนั้น ท่านให้ทำความสงบจริงๆ ไม่ต้องคิดถึงเรื่องการเจริญปัญญา และมีเคล็ดลับที่ช่วยให้จิตสงบง่ายคือ ให้รู้คำบริกรรมหรือกำหนดลมหายใจไปเรื่อยๆ ตามสบาย อย่าอยากหรือจงใจจะให้จิตสงบ เพราะธรรมชาติของจิตนั้นจะไปบังคับให้สงบไม่ได้ ยิ่งพยายามให้สงบกลับจะยิ่งฟุ้งซ่านหนักเข้าไปอีก
เมื่อจิตสงบลงแล้ว จิตจะทิ้งคำบริกรรม ก็ไม่ต้องนึกหาคำบริกรรมอีก แต่ให้รู้อยู่ตรงความรู้สึกที่สงบนั้น จนกว่าจิตจะถอนออกมาสู่ความเป็นปรกติด้วยตัวของมันเอง
๓.๒ การแยกจิตผู้รู้กับอารมณ์ที่ถูกจิตรู้ เมื่อจิตรวมสงบทิ้งคำบริกรรมไปแล้ว ท่านให้สังเกตอยู่ที่ความสงบนั้นเอง และสังเกตต่อไปว่า ความสงบนั้นเป็นเพียงสิ่งที่ถูกรู้เท่านั้น จิตคือตัวผู้รู้ ผู้ดูอยู่นั้น มีอยู่ต่างหาก สรุปก็คือ ท่านสอนให้แยกจิตผู้รู้ออกจากอารมณ์ที่ถูกรู้
บางคนไม่สามารถทำความสงบด้วยการบริกรรม หรือด้วยกรรมฐานอื่นใด ก็อาจใช้วิธีอื่นในการแยกผู้รู้กับสิ่งที่ถูกรู้ได้ ตัวอย่างเช่น
นึกถึงพุทโธ หรือบทสวดมนต์บทใดก็ได้ที่คุ้นเคย แล้วก็เฝ้ารู้การสวดมนต์ที่แจ้วๆ อยู่ในสมองตนเองไป จากนั้นจึงแยกว่า บทสวดนั้นถูกรู้ ผู้รู้มีอยู่ต่างหาก ตรงจุดนี้มีอุบายยักย้ายอีกหลายอย่าง เช่น อาจจะสังเกตดูความคิดของตนเอง ซึ่งพูดแจ้วๆ อยู่ในสมองก็ได้ แล้วเห็นว่า ความคิดนั้นถูกรู้ จิตผู้รู้มีอยู่ต่างหาก
หรือตามรู้ความเคลื่อนไหวของร่างกายไปเรื่อยๆ หรือตามรู้ความ รู้สึกเป็นสุข เป็นทุกข์ หรือเฉยๆ ไปเรื่อยๆ หรือ ฯลฯ (สรุปว่า รู้อะไรก็ได้ให้ต่อเนื่อง) และสังเกตเห็นว่าสิ่งนั้นเป็นแค่สิ่งที่ถูกรู้ จิตผู้รู้มีอยู่ต่างหาก
หรืออย่างท่านพระอาจารย์เทสก์ เทสรังสี ศิษย์อาวุโสอีกรูปหนึ่งของท่านพระอาจารย์มั่น ท่านสอนให้ลองกลั้นหายใจดูชั่วขณะ แล้วสังเกตดูความรู้สึกตรงที่นิ่งๆ ว่างๆ นั้น แล้วทำสติรู้อยู่ตรงนั้นเรื่อยๆ ไป เป็นต้น เมื่อแยกจิตผู้รู้กับอารมณ์ที่ถูกรู้ได้แล้ว ก็ให้เจริญสติสัมปชัญญะต่อไป
๓.๓ การเจริญสติและสัมปชัญญะ ให้ทำความรู้ตัวอยู่กับจิตผู้รู้ อย่างสบายๆ ไม่เพ่งจ้องหรือควานหา ค้นคว้า พิจารณาเข้าไปที่จิตผู้รู้ เพียงแค่รู้อยู่เฉยๆ เท่านั้น ต่อมาเมื่อมีความคิดนึกปรุงแต่งอื่นๆ เกิดขึ้น ก็จะเห็นความเปลี่ยนแปลงของอารมณ์ชัดเจน เช่น เดิมมีความนิ่งว่างอยู่ ต่อมาเกิดคิดถึงคนๆ หนึ่ง แล้วเกิดความรู้สึกรัก หรือชังขึ้น ก็ให้สังเกตรู้ความรักความชังนั้น และเห็นว่ามันเป็นสิ่งที่ถูกรู้เท่านั้น ตัวจิตผู้รู้มีอยู่ต่างหาก ให้รู้ตัวไปเรื่อยๆ สิ่งใดเป็นอารมณ์ปรากฏขึ้นกับจิต ก็ให้มีสติรู้อารมณ์ที่กำลังปรากฏนั้น ในขณะเดียวกัน ก็ต้องไม่เผลอส่งจิตเข้าไปในอารมณ์นั้น ตรงที่จิตไม่เผลอส่งออกไปนั้นเอง คือความรู้ตัวหรือสัมปชัญญะ
เรื่องสตินั้นเข้าใจง่าย เพราะหมายถึงตัวที่ไปรู้เท่าอารมณ์ที่กำลังปรากฏ เช่นคนอ่านหนังสือ สติจดจ่ออยู่กับหนังสือ จึงอ่านหนังสือได้รู้เรื่อง คนขับรถสติจดจ่อกับการขับรถก็ทำให้ขับรถได้ ฉะนั้นโดยธรรมชาติแล้ว คนมีสติอยู่เสมอเมื่อจิตรู้อารมณ์ แต่จะเป็นสัมมาสติได้ ก็ต่อเมื่อมีสัมปชัญญะคือ ความรู้ตัวไม่เผลอควบคู่ไปด้วย
ความรู้ตัวไม่เผลอนั้นเข้าใจยากที่สุด เพราะถามใครเขาก็ว่าเขารู้ตัวทั้งนั้น ทั้งที่ความจริงจิตยังมีความหลง (โมหะ) แฝงอยู่เกือบตลอดเวลา สัมปชัญญะที่ใช้เจริญสติปัฏฐาน จะต้องเป็น "อสัมโมหสัมปชัญญะ" เท่านั้น
ยกตัวอย่าง เมื่อเราดูละครโทรทัศน์ ตาเห็นรูป หูได้ยินเสียง ใจรู้ คิดนึกตามเรื่องของละครไป ในขณะนั้นเรามีสติดูโทรทัศน์ แต่ไม่อาจไม่มีสัมปชัญญะ เพราะเราส่งจิตหลงไปทางตา ทางหู และทางใจ เราลืมนึกถึง ตัวเองที่นั่งดูโทรทัศน์อยู่ อันนี้เรียกว่าไม่มีสัมปชัญญะหรือไม่รู้ตัว
บางคนเดินจงกรม กำหนดรู้ความเคลื่อนไหวของเท้าซ้าย เท้าขวา รู้ความเคลื่อนไหวของกาย อันนั้นมีสติ แต่อาจไม่มีสัมปชัญญะถ้าส่งจิตเผลอไปในเรื่องของเท้าและร่างกาย มัวแต่จดจ่อที่เท้าและร่างกายที่กำลังเคลื่อนไหว จนเหมือนกับลืมตัวเอง เหมือนตัวเองหรือตัวจิตผู้รู้นั้นไม่มีอยู่ในโลกเลยใน ขณะนั้น
ความรู้ตัวหรือการไม่หลงเผลอส่งจิตออกไปตามอารมณ์ภายนอกนั้นเองคือสัมปชัญญะ วิธีฝึกให้ได้สัมปชัญญะที่ดีที่สุดคือการทำสมถะกรรมฐาน เช่น การบริกรรมพุทโธจนจิตรวมเข้าถึงฐานของมัน แล้วรู้อยู่ตรง ฐานนั้นเรื่อยไป หากมีอารมณ์มาล่อทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ ก็ไม่เผลอ หลงลืมฐานของตน ส่งจิตตามอารมณ์ไปอย่างไม่รู้ตัว
๓.๔ ดูจิตแล้วรู้อารมณ์อะไรบ้าง การที่เราเฝ้ารู้จิตผู้รู้ไปเรื่อยๆ อย่างสบายๆ นั้น เราสามารถรู้อารมณ์ทุกชนิดที่ผ่านเข้ามาให้จิตรู้ แล้วแต่ว่า ในขณะนั้นอารมณ์ตัวไหนจะแรงและเด่นชัดที่สุด ดังนั้น เราสามารถเจริญ สติปัฏฐานได้ทั้ง ๔ ประเภท (ในทางตรงข้าม ถ้าแยกจิตผู้รู้กับอารมณ์ที่ถูกรู้ออกจากกันไม่ได้ จะไม่สามารถเจริญสติปัฏฐานทุกประเภทเช่นกัน ที่กล่าวว่าสมถะเป็นฐานของวิปัสสนาก็คือเรื่องตรงนี้เอง คือถ้าขาดสมถะที่ถูกต้อง จิตจะตกเป็นทางอารมณ์ ถ้ามีสมถะที่ถูกต้อง จิตจะมีสัมปชัญญะ รู้ตัว ไม่เป็นทาสของ อารมณ์ จึงเห็นความเกิดดับของอารมณ์ชัดเจนตามความเป็นจริงได้) กล่าวคือ
๓.๔.๑ รู้กาย เมื่อมีสัมผัสทางกาย เช่นรู้ลมหายใจเข้า ออก รู้ทางกายว่ามีอากาศเย็นมากระทบกาย กายเกิดอาการหนาวสะท้านขึ้น หรือเมื่อเดินกลางแดดร้อนจัด กายอิดโรยมีเหงื่อไคล สกปรกชุ่มอยู่ หรือเมื่อเดินจงกรมเคลื่อนไหวไปมา ผู้ที่มีจิตผู้รู้ จะเห็นกายสักแต่ว่าเป็นกลุ่มของธาตุมารวมกัน และเคลื่อนไหวไปมาได้เหมือนหุ่นยนต์ตัวหนึ่ง ไม่เห็นว่ากายส่วนใดจะเรียกตัวเองว่ากายเลย หรือเดินจงกรมจนเมื่อยขา ก็ไม่เห็นว่าขาจะบ่นอะไรได้เลย กายกับจิตมันแยกชัดเป็นคนละส่วนกันทีเดียว ผู้ปฏิบัติจะเห็นกายเป็นไตรลักษณ์ชัดเจนมาก
๓.๔.๒ รู้เวทนา บางครั้งในขณะที่รู้จิตผู้รู้อยู่นั้น เรา จะรู้เวทนา ทางกายบ้าง ทางจิตบ้าง แล้วแต่ตัวใดจะเด่นชัดในขณะนั้น เช่นในขณะที่เดินอยู่ เกิดเมื่อยขารุนแรง ถ้าเรามีจิตผู้รู้ เราจะเห็นชัดเลยว่า ความเมื่อยไม่ใช่ขาที่เป็นวัตถุธาตุ แต่เป็นอีกสิ่งหนึ่ง แฝงอยู่ในวัตถุธาตุที่ประกอบกันขึ้นเป็นขา หรืออย่างนั่งอยู่ร้อนๆ มีลมเย็นพัดมา รู้สึกสบาย ความสบายนั้นเป็นความรู้สึกอีกตัวหนึ่ง ที่แทรกเข้ามา โดยที่กายไม่ได้สบายไปด้วย หรืออย่างเราปวดฟัน ถ้าเรามีจิตผู้รู้ จะเห็นชัดว่า ความปวดไม่ใช่ฟัน และไม่ใช่จิตด้วย แต่เป็นอีกสิ่งหนึ่ง (อีกขันธ์หนึ่ง) และความปวดนั้นเปลี่ยนระดับตลอด ไม่ได้ปวดเท่ากันตลอดเวลา อันเป็นการแสดงความเป็นไตรลักษณ์ของเวทนาขันธ์ให้ปรากฏ
ในส่วนของเวทนาทางจิต ก็เห็นได้ชัดมาก เช่น เวลาปวดฟัน มีเวทนาทางกายแล้ว บางครั้งจิตก็ปรุงแต่งเวทนาทางจิตขึ้นมาด้วย คือเกิดความรู้สึกเป็นทุกข์ใจขึ้นมา หรือในเวลารับประทานอาหารที่ชอบใจ แม้รสยังไม่ทันสัมผัสลิ้น ความสุขทางใจก็เกิดขึ้นก่อนแล้ว อย่างนี้ก็มี
การรู้เวทนาขณะที่รู้จิตผู้รู้อยู่นั้น จะเห็นเวทนาเป็นไตรลักษณ์ชัดเจนมาก
๓.๔.๓ รู้จิต จิตตานุปัสสนานั้น ไม่ใช่การเห็นจิตผู้รู้ หรือจิตที่แท้จริง แต่เป็นการเห็นจิตสังขาร(ความคิดนึกปรุงแต่ง) ที่กำลังปรากฏ เช่น เห็นชัดว่า ขณะนั้นจิตมีความโกรธเกิดขึ้น มีความใคร่เกิดขึ้น มีความหลงฟุ้งซ่านเกิดขึ้น ความความผ่องใส เบิกบานเกิดขึ้น ฯลฯ แล้วก็จะเห็นอีกว่า ความปรุงแต่งทั้งฝ่ายชั่ว และฝ่ายดี ล้วนเป็นเพียงสิ่งที่เกิดขึ้นแล้วก็ดับไป มันไม่ใช่จิต มันเป็นแค่อารมณ์ที่ถูกรู้ ทั้งนี้การรู้จิต (สังขาร) ในขณะที่รู้ตัวหรือรู้จิตผู้รู้อยู่นั้น จะเห็นจิตสังขารเป็นไตรลักษณ์อย่างชัดเจนมาก
๓.๔.๔ รู้ธรรม ถ้ารู้จิตผู้รู้อยู่นั้น หากสภาวธรรมอันใดปรากฏขึ้น ก็จะเห็นสภาวธรรมนั้นตามที่มันเป็นจริง เช่น ขณะที่รู้ตัวอยู่ จิตคิดถึงคนที่รัก แล้วจิตก็ทะยานออกไปเกาะความคิดนั้น คลุกคลีกับความคิดนั้น ผู้ปฏิบัติจะเห็นชัดว่า จิตเกิดความยึดว่าจิตเป็นตัวตนของตนขึ้นมา เพราะความที่จิตหลงไปยึดอารมณ์นั้นเอง ความเป็นตัวตน ความเป็นกลุ่มก้อน ความหนัก ได้เกิดขึ้นแทนความไม่มีอะไรในตอนแรก และถ้ารู้ทันว่าจิตส่งออกไปนำความทุกข์มาให้ จิตจะปล่อยอารมณ์นั้น กลับมาอยู่กับรู้ ความเป็นกลุ่มก้อน ความหนัก ความแน่น หรือทุกข์ก็จะสลายตัวไปเอง อันนี้คือการเห็นอริยสัจสี่นั่นเอง คือเห็นว่าถ้ามีตัณหาคือความทะยานอยากไปตามอารมณ์ ความเป็นตัวตนและเป็นทุกข์จะเกิดขึ้น ถ้าไม่อยากทุกข์ก็ ไม่เกิด
การรู้สภาวธรรมในขณะที่รู้ตัว หรือรู้จิตผู้รู้นั้น จะเห็นจิตเป็นไตรลักษณ์ชัดเจนทีเดียว เช่นเห็นว่า เป็นของบังคับบัญชาไม่ได้ มันส่งออกไปยึดอารมณ์ มันก็ไปเอง ถ้ามันรู้ว่าไปยึดแล้วทุกข์ มันก็ไม่ไปเอง เราจะบังคับว่า จงอย่าไป ไม่ได้เลย
ตัวอย่างการพิจารณาหรือการดูจิต
๑. นาย จ. กำลังซักผ้า ขณะนั้น สัญญาคือความจำภาพของสาวคนรักผุดขึ้นมา จิตของเขาปรุงแต่งราคะคือความรักใคร่ผูกพันขึ้นมา ทั้งที่ไม่ได้เห็นสาวคนรักจริงๆ วิธีดูจิตนั้น ไม่ได้หมายความว่าให้นาย จ. หันมาทำสติว่ามือกำลังขยี้ผ้าอยู่ แต่นาย จ. จะต้องมองเห็นกิเลสที่เกิดขึ้นในใจของตนเอง เมื่อเห็นกิเลสแล้ว ก็ไม่ใช่เกลียดหรืออยากดับกิเลส แต่การเห็นกิเลสด้วยจิตที่เป็นกลาง กิเลสมันจะดับไปเอง เมื่อกิเลสดับไป นาย จ. ก็ต้องรู้ว่ากิเลสดับไป เป็นต้น
๒. กรณีเดียวกับตัวอย่างแรก ถ้านาย จ. เกิดราคะเพราะคิดถึงคนรัก บางครั้งกำลังกิเลสที่แรงมากๆ แม้นาย จ. จะรู้ว่ากิเลสเกิดขึ้น แต่ราคะนั้นอาจจะไม่ดับไป มิหนำซ้ำ จิตของนาย จ. ยังเคลื่อนออกจากฐานผู้รู้ เข้าไปเกาะกับภาพคนรัก หรือหลงเข้าไปในความคิ
ความคิดเห็นที่ 2
๒. กรณีเดียวกับตัวอย่างแรก ถ้านาย จ. เกิดราคะเพราะคิดถึงคนรัก บางครั้งกำลังกิเลสที่แรงมากๆ แม้นาย จ. จะรู้ว่ากิเลสเกิดขึ้น แต่ราคะนั้นอาจจะไม่ดับไป มิหนำซ้ำ จิตของนาย จ. ยังเคลื่อนออกจากฐานผู้รู้ เข้าไปเกาะกับภาพคนรัก หรือหลงเข้าไปในความคิดเกี่ยวกับคนรัก ถึงขั้นนี้ก็ให้นาย จ. รู้ว่า จิตเคลื่อนออกไปรวมกับอารมณ์แล้ว ไม่ต้องทำอะไร แค่รู้เฉยๆ เท่านั้น
๓. เมื่อจิตของนาย จ. มีราคะ หรือจิตของนาย จ. เคลื่อนเข้าไปรวมกับอารมณ์ นาย จ. อาจจะสงสัยว่า เอ..เราควรต้องพิจารณาอสุภกรรมฐานช่วยจิตหรือไม่ เพื่อให้พ้นอำนาจดึงดูดของราคะ เรื่องอย่างนี้ในกรณีที่ผู้ ปฏิบัติพิจารณากาย อาจจะใช้การพิจารณาอสุภกรรมฐานมาเป็นเครื่องแก้กิเลสก็ได้ แต่นักดูจิตจะไม่ใช้ความคิดเข้าไปช่วยจิต เขาจะทำแค่รู้ทันสภาพจิตของตนอยู่ตลอดเวลาเท่านั้น เพราะจริงๆ แล้ว จิตจะเปลี่ยนสภาพอยู่ตลอดเวลา ถ้าตั้งใจสังเกตดู เช่น กำลังราคะจะแรงขึ้นบ้าง อ่อนลงบ้าง ความคิดเกี่ยวกับคนรักจะปรากฏขึ้นบ้าง และดับไปบ้าง การเคลื่อนของจิตก็อาจเคลื่อนถลำเข้าไปในอารมณ์บ้าง แล้วถอยออกมาอยู่กับรู้บ้าง มันแสดงไตรลักษณ์อยู่ ตลอดเวลา
๔. เมื่อนาย จ. รู้ทันจิตเรื่อยๆ ไปโดยไม่ได้ใช้ความคิดเข้าไปช่วยจิต นาย จ. ซึ่งเป็นปัญญาชน เคยชินกับการแก้ปัญหาด้วยการคิด อาจเกิดความลังเลสงสัยขึ้นมาว่า เอ..ถ้าเราเฝ้ารู้จิตไปเฉยๆ เราจะเกิดปัญญา ได้อย่างไร เราจะกลายเป็นคนโง่สมองฝ่อหรือเปล่า ก็ให้นาย จ. รู้ว่าความลังเลสงสัยเกิดขึ้นแล้ว ไม่ต้องคิดหาคำตอบ แค่เห็นว่าความสงสัยเกิดขึ้นก็พอ ที่สุดมันจะดับไปเองเหมือนอารมณ์ตัวอื่นๆ นั่นเอง
แท้ที่จริง การที่จิตเป็นกลางรู้อารมณ์นั้น จิตเห็นไตรลักษณ์อยู่ตลอดเวลา และจะเห็นอริยสัจ ๔ ไปในตัวด้วยนั้น เป็นปัญญาขั้นสุดยอดอยู่แล้วที่จะปลดเปลื้องจิตจากความทุกข์ ทั้งนี้ปัญญาอันเกิดจากการใช้ ความคิด (จินตมยปัญญา) ซึ่งเป็นวิธีการเรียนรู้เก่าๆ ที่ปัญญาชนอย่างนาย จ. เคยชิน ไม่สามารถนำผู้ปฏิบัติออกจากทุกข์ได้ แต่ปัญญาที่เกิดจากการภาวนา (ภาวนามยปัญญา) คือการเจริญสติสัมปชัญญะนั้น นำผู้ปฏิบัติออกจากทุกข์ได้ และมันเป็นปัญญาคนละชนิดกัน
๕. เมื่อนาย จ. ซักผ้าไปนานๆ แขนของนาย จ. ก็ปวด มือก็ล้า นาย จ. รับรู้ทุกขเวทนาทางกายที่เกิดขึ้น แล้วสังเกตเห็นว่า ความจริงร่างกายของนาย จ.ไม่ได้ปวดเมื่อยเลย แต่ความปวดเมื่อยเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่แฝงอยู่ในกาย จิตผู้รู้ก็เป็นอีกส่วนหนึ่ง มันสงบสบายอยู่ได้ ในขณะที่ทุกข์ทางกายเกิดขึ้น อันนี้ก็เป็นการเห็นความจริงเกี่ยวกับขันธ์ที่แยกออกจากกันเป็นส่วนๆ เมื่อมองดูแต่ละส่วน ไม่เห็นมีส่วนใดเลยที่เรียกว่า "นาย จ." นี่ก็เป็นสภาพอีกอันหนึ่งที่ผู้ดูจิตจะรู้เห็นได้ไม่ยาก
๓.๕ การดูจิตจะพลิกไปมาระหว่างสมถะกับวิปัสสนาได้ การดูจิตก็ดี หรือการพิจารณากายก็ดี จิตสามารถพลิกกลับไปมาระหว่างการเจริญสมถ กรรมฐานและวิปัสนากรรมฐานได้
ในทางตำราทั่วๆ ไป มักจะแยกสมถะกับวิปัสสนาด้วยอารมณ์กรรมฐาน คือถ้าใครทำกรรมฐาน ๔๐ เช่น อนุสติ ๑๐ ถือว่าทำสมถะ ถ้าเจริญสติปัฏฐานคือรู้กาย เวทนา จิต หรือธรรม ถือว่าเจริญวิปัสสนา และเมื่อพบว่า กรรมฐานบางอย่าง เช่น อานาปานสติ มีอยู่ทั้งในกรรมฐาน ๔๐ และในสติปัฏฐาน ก็อธิบายเลี่ยงไปว่า อานาปานสติเป็นข้อยกเว้น คือเป็นได้ทั้งสมถะและวิปัสสนา
แต่ในแง่ของนักปฏิบัติแล้วไม่ใช่เช่นนั้น การจำแนกสมถะกับวิปัสสนานั้น สามารถจำแนกด้วยอาการดำเนินของจิตได้ด้วย คือถ้าขณะใด จิตมีสติรู้ อารมณ์อันเดียวโดยต่อเนื่อง อันนั้นเป็นการทำสมถะ และเมื่อทำไปจนจิตจับอารมณ์นั้นเองโดยไม่ต้องบังคับควบคุม หรือไม่ต้องตั้งใจแล้ว จิตเกาะเข้ากับอารมณ์อันเดียว เกิดความสุขความสงบ อันนั้นเป็นฌานอันเป็นผลของการทำสมถะ
เมื่อใดที่ผู้ปฏิบัติมีสติรู้อารมณ์ที่กำลังปรากฏ ในขณะเดียวกันก็มีสัมปชัญญะคือความรู้ตัว หรืออีกนัยหนึ่ง ผู้รู้กับสิ่งที่ถูกรู้แยกออกจากกันแล้ว ตามเห็นความเกิดดับของอารมณ์ อันนั้นเป็นการทำวิปัสสนา และเมื่อถึงจุดหนึ่ง จิตจะไม่จงใจรู้อารมณ์และไม่จงใจประคองผู้รู้ แต่สามารถเจริญสติและสัมปชัญญะได้เอง อันนั้นจิตเดินวิปัสสนาเองโดยอัตโนมัติ อันเป็นวิปัสสนาแท้ ที่จิตทำของเขาเอง
เปรียบเทียบคนที่ทำสมถะ เหมือนคนที่ตกลงในกระแสน้ำ ว่ายอยู่ในน้ำ ย่อมเห็นสิ่งต่างๆ ไม่ชัดเจน ในขณะที่ผู้ทำวิปัสสนา เหมือนคนที่นั่งบนฝั่งน้ำ แล้วมองดูสายน้ำที่ไหลผ่านเฉพาะหน้าไป ย่อมเห็นชัดว่า มีอะไรลอยมากับน้ำบ้าง ทั้งของสะอาดสวยงาม และของสกปรก
ด้วยเหตุนี้ จึงเป็นบทเฉลยที่ว่า ทำไมจึงต้องหัดแยกจิตผู้รู้ ออกจากอารมณ์ที่ถูกรู้ ก่อนที่จะดูจิตหรือพิจารณากายอย่างหนึ่งอย่างใด
ตัวอย่างเช่น หากพิจารณาอัฐิหรือกระดูก โดยให้สมาธิเพ่งรู้รูปร่างของกระดูก ว่าเป็นแท่งยาวๆ กลมๆ อันนั้นเป็นการเพ่ง เป็นกสิณดิน หากเพ่งดูว่า กระดูกมีสีขาว อันนั้นก็เป็นกสิณสี ซึ่งการเพ่งจนจิตสงบเกาะอยู่กับรูปกระดูกก็ดี สีกระดูกก็ดี เป็นการทำสมถะ
แต่หากรู้กระดูก โดยมีจิตผู้รู้ตั้งมั่นอยู่ต่างหาก แล้วคิดพิจารณาไปในแง่ที่กระดูกเป็นไตรลักษณ์ อันนั้นเป็นการเจริญวิปัสสนาขั้นต้น และในระหว่างที่พิจารณากายอย่างเป็นวิปัสสนานั้น บางครั้งจิตก็เข้าไปจับอยู่กับกาย ส่วนใดส่วนหนึ่งนิ่งพักอยู่เป็นสมถะ แล้วค่อยกลับออกมาพิจารณากายต่อก็มี แต่ถ้าจิตไม่เข้าพักเอง แล้วกลับตะลุยพิจารณากายจนจิตฟุ้งซ่าน ผู้ปฏิบัติจะต้องย้อนกลับไปทำสมถะใหม่ เพื่อให้จิตมีกำลังและแยกตัวออกจากอารมณ์เสียก่อน
การดูจิตก็เป็นได้ทั้งสองอย่าง คือถ้าเพ่งความว่างเปล่าของจิต หรือเพ่งสิ่งใดสิ่งหนึ่งในจิต อันนั้นเป็นสมถะ หากรู้อารมณ์ที่เกิดดับไป โดยจิตผู้รู้อยู่ต่างหาก อันนั้นเป็นการทำวิปัสสนา และตามธรรมดาแล้ว เมื่อผู้ปฏิบัติ ดูจิตอยู่อย่างเป็นวิปัสสนานั้น บางครั้งจิตก็เข้าพักในสมถะด้วยการจับนิ่งเข้ากับอารมณ์อันเดียว
ผู้ปฏิบัติควรจำแนกได้ว่า ขณะนั้นจิตของตนทำสมถะหรือเดินวิปัสสนา มิฉะนั้น อาจหลงผิดทำสมถะ แล้วคิดว่ากำลังทำวิปัสสนาอยู่ ผู้ปฏิบัติที่ครูบาอาจารย์ขาดญาณทัศนะ ไม่รู้วาระจิตของศิษย์อาจหลงผิดได้ง่ายโดยไม่มีใครแก้ไขให้ เช่น เดินจงกรมกำหนดยกหนอ ย่างหนอ เหยียบหนอ ฯลฯ แล้วจิตไหลลงไปอยู่ในเท้า หรือหลงคิดแต่เรื่องยก ย่าง เหยียบ ไม่มีสัมปชัญญะคือความรู้ตัวของจิต อันนั้นเป็นการทำสมถะอย่างเดียวเท่านั้น
อันตรายอีกอย่างหนึ่งของการที่แยกไม่ออกระหว่างการทำสมถะกับวิปัสสนาก็คือ การเกิดวิปัสสนูปกิเลส คือในระหว่างที่ทำวิปัสสนาอยู่นั้น บางครั้งจิตพลิกกลับไปสู่ภูมิของสมถะ แล้วเกิดความรู้ความเห็นหรืออาการบางอย่าง ทำให้หลงผิดว่าตนบรรลุธรรมชั้นสูงแล้ว เช่น เกิดอาการที่สติรู้อารมณ์ชัดกริบด้วยจิตที่แข็งกระด้าง (แทนที่จะรู้ด้วยจิตที่อ่อนโยน ว่องไว ควรแก่การทำวิปัสสนา) หรือเกิดความรู้ความเห็นผิด เช่น แยกไม่ออกระหว่างสมมุติสัจจะ กับปรมัตถสัจจะ หลงผิดว่าพระพุทธเจ้าก็ไม่มี พ่อแม่ก็ไม่มี ทุกอย่างว่างเปล่าหมด เป็นการปฏิเสธสมมุติบัญญัติคิดว่ามันไม่มี ทั้งที่สมมุติเขาก็มีของเขาอยู่ แต่มีอย่างเป็นสมมุติ เป็นต้น
การที่ดูจิตแล้วจิตพลิกกลับไปมาระหว่างสมถะและวิปัสสนาได้นั้น ทำให้ผู้ปฏิบัติบางคน จะได้ฌานโดยอัตโนมัติ ทั้งที่ไม่ต้องหัดเข้าฌาน
๓.๖ การปล่อยวางอารมณ์หยาบเข้าถึงความว่าง เมื่อดูจิตชำนาญเข้า อารมณ์ใดกระทบจิต อารมณ์นั้นก็ดับไป เหมือนแมลงเม่าบินเข้ากองไฟ เริ่มต้นผู้ปฏิบัติจะรู้เห็นแต่อารมณ์หยาบ เช่น โกรธแรงๆ จึงจะดูออก แต่เมื่อปฏิบัติมากเข้า แม้ความขัดใจเล็กน้อย หรือความพอใจเล็กน้อยเกิดขึ้นกับจิต ก็สามารถรู้เห็นได้อย่างชัดเจน เช่น ในขณะที่ร้อนๆ มีลมเย็นโชยกระทบผิวกายนิดเดียว จิตก็เกิดยินดีมีราคะขึ้นแล้ว หรือปวดปัสสาวะ พอเริ่มถ่ายปัสสาวะจิตก็ยินดีเสียแล้ว หรือกำลังหิวข้าว พอเห็นเขายกอาหารมาวางต่อหน้า จิตก็ยินดีเสียแล้ว เป็นต้น
เมื่อรู้อารมณ์ละเอียดแล้ว โอกาสที่อารมณ์หยาบจะเกิดก็ยากขึ้น เพราะอารมณ์หยาบนั้นงอกงามขึ้นไปจากอารมณ์ละเอียดนั่นเอง
อนึ่ง หลักการที่สำคัญมากในการดูจิตที่ขอย้ำก็คือ ให้รู้อารมณ์เฉยๆ อย่าไปพยายามละอารมณ์นั้นเด็ดขาด จะเดินทางผิดทันที เพราะอารมณ์ทั้งปวงนั้น เป็นตัวขันธ์ เป็นตัวทุกข์ ผู้ปฏิบัติมีหน้าที่รู้เท่านั้น อย่าอยาก (มีตัณหา) ที่จะไปละมันเข้า จะผิดหลักการเกี่ยวกับกิจของอริยสัจที่พระพุทธเจ้าทรงสอนว่า "ทุกข์ให้รู้ สมุทัยให้ละ" เพราะยิ่งพยายามละ ก็จะยิ่งหลงผิดมากขึ้น ตัวอย่างเช่น เห็นความโกรธเกิดขึ้นในจิต ท่านให้รู้เฉยๆ บางครั้งผู้ปฏิบัติพยายามหาทางดับความโกรธนั้น แล้วความโกรธก็ดับได้จริงๆ เหมือนกัน นักปฏิบัติจะหลงผิดว่าตนเองเก่ง ดับกิเลสได้ และเห็นว่า จิตเป็นอัตตา กิเลสเป็นอัตตา ทั้งที่ความจริงนั้น กิเลสมันดับเพราะหมดเหตุของมันต่างหาก เช่น เราถูกคนด่า เราใคร่ครวญเก่าอยู่กับเรื่องที่เขาด่า ความโกรธก็เกิดและแรงขึ้นเรื่อยๆ พอเราคิดเรื่องจะดับความโกรธ เราละเหตุของความโกรธเสียแล้วคือไม่ได้คิดเรื่องว่าเขาด่า มัวแต่คิดจะดับความโกรธ ความโกรธหมดเหตุมันก็ดับไปเอง แต่ผู้ปฏิบัติหลงผิดว่า ตนดับความโกรธได้ แล้วเมื่อไปเจอกิเลสอื่น ก็จะวุ่นวายอยู่กับความพยายามจะดับมันอีก เรียกว่าหางานให้จิตทำวุ่นวายอยู่ตลอดเวลา
การที่ผู้ปฏิบัติรู้อารมณ์เร็วขึ้น ชัดเจนขึ้นตามลำดับนั้น อารมณ์ก็จะยิ่งละเอียดเข้าไปอีกตามลำดับเช่นกัน แต่ทั้งนี้ต้องเข้าใจว่า จิตก็ดี อารมณ์ก็ดี สติสัมปชัญญะหรือสมาธิก็ดี เป็นของที่อยู่ในอำนาจไตรลักษณ์
เหมือนกัน ดังนั้น เมื่อจิตละเอียดแล้ว ช่วงหนึ่งมันก็จะหยาบอีก อย่าตกใจเพราะนั่นมันเป็นธรรมดา ให้ตั้งหน้าปฏิบัติไปเรื่อยๆ มันจะกลับดี และดีขึ้นไปตามลำดับ
เมื่ออารมณ์ละเอียดถึงที่สุด จิตจะปรากฏเหมือนว่า จิตว่างไปหมด ถึงจุดนี้ผู้ปฏิบัติอาจหลงผิดว่าตนสิ้นกิเลสแล้ว ความจริงความว่างนั้นก็คืออารมณ์อีกอันหนึ่ง เพียงแต่ละเอียดถึงที่สุดเท่านั้นเอง
๓. เมื่อจิตของนาย จ. มีราคะ หรือจิตของนาย จ. เคลื่อนเข้าไปรวมกับอารมณ์ นาย จ. อาจจะสงสัยว่า เอ..เราควรต้องพิจารณาอสุภกรรมฐานช่วยจิตหรือไม่ เพื่อให้พ้นอำนาจดึงดูดของราคะ เรื่องอย่างนี้ในกรณีที่ผู้ ปฏิบัติพิจารณากาย อาจจะใช้การพิจารณาอสุภกรรมฐานมาเป็นเครื่องแก้กิเลสก็ได้ แต่นักดูจิตจะไม่ใช้ความคิดเข้าไปช่วยจิต เขาจะทำแค่รู้ทันสภาพจิตของตนอยู่ตลอดเวลาเท่านั้น เพราะจริงๆ แล้ว จิตจะเปลี่ยนสภาพอยู่ตลอดเวลา ถ้าตั้งใจสังเกตดู เช่น กำลังราคะจะแรงขึ้นบ้าง อ่อนลงบ้าง ความคิดเกี่ยวกับคนรักจะปรากฏขึ้นบ้าง และดับไปบ้าง การเคลื่อนของจิตก็อาจเคลื่อนถลำเข้าไปในอารมณ์บ้าง แล้วถอยออกมาอยู่กับรู้บ้าง มันแสดงไตรลักษณ์อยู่ ตลอดเวลา
๔. เมื่อนาย จ. รู้ทันจิตเรื่อยๆ ไปโดยไม่ได้ใช้ความคิดเข้าไปช่วยจิต นาย จ. ซึ่งเป็นปัญญาชน เคยชินกับการแก้ปัญหาด้วยการคิด อาจเกิดความลังเลสงสัยขึ้นมาว่า เอ..ถ้าเราเฝ้ารู้จิตไปเฉยๆ เราจะเกิดปัญญา ได้อย่างไร เราจะกลายเป็นคนโง่สมองฝ่อหรือเปล่า ก็ให้นาย จ. รู้ว่าความลังเลสงสัยเกิดขึ้นแล้ว ไม่ต้องคิดหาคำตอบ แค่เห็นว่าความสงสัยเกิดขึ้นก็พอ ที่สุดมันจะดับไปเองเหมือนอารมณ์ตัวอื่นๆ นั่นเอง
แท้ที่จริง การที่จิตเป็นกลางรู้อารมณ์นั้น จิตเห็นไตรลักษณ์อยู่ตลอดเวลา และจะเห็นอริยสัจ ๔ ไปในตัวด้วยนั้น เป็นปัญญาขั้นสุดยอดอยู่แล้วที่จะปลดเปลื้องจิตจากความทุกข์ ทั้งนี้ปัญญาอันเกิดจากการใช้ ความคิด (จินตมยปัญญา) ซึ่งเป็นวิธีการเรียนรู้เก่าๆ ที่ปัญญาชนอย่างนาย จ. เคยชิน ไม่สามารถนำผู้ปฏิบัติออกจากทุกข์ได้ แต่ปัญญาที่เกิดจากการภาวนา (ภาวนามยปัญญา) คือการเจริญสติสัมปชัญญะนั้น นำผู้ปฏิบัติออกจากทุกข์ได้ และมันเป็นปัญญาคนละชนิดกัน
๕. เมื่อนาย จ. ซักผ้าไปนานๆ แขนของนาย จ. ก็ปวด มือก็ล้า นาย จ. รับรู้ทุกขเวทนาทางกายที่เกิดขึ้น แล้วสังเกตเห็นว่า ความจริงร่างกายของนาย จ.ไม่ได้ปวดเมื่อยเลย แต่ความปวดเมื่อยเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่แฝงอยู่ในกาย จิตผู้รู้ก็เป็นอีกส่วนหนึ่ง มันสงบสบายอยู่ได้ ในขณะที่ทุกข์ทางกายเกิดขึ้น อันนี้ก็เป็นการเห็นความจริงเกี่ยวกับขันธ์ที่แยกออกจากกันเป็นส่วนๆ เมื่อมองดูแต่ละส่วน ไม่เห็นมีส่วนใดเลยที่เรียกว่า "นาย จ." นี่ก็เป็นสภาพอีกอันหนึ่งที่ผู้ดูจิตจะรู้เห็นได้ไม่ยาก
๓.๕ การดูจิตจะพลิกไปมาระหว่างสมถะกับวิปัสสนาได้ การดูจิตก็ดี หรือการพิจารณากายก็ดี จิตสามารถพลิกกลับไปมาระหว่างการเจริญสมถ กรรมฐานและวิปัสนากรรมฐานได้
ในทางตำราทั่วๆ ไป มักจะแยกสมถะกับวิปัสสนาด้วยอารมณ์กรรมฐาน คือถ้าใครทำกรรมฐาน ๔๐ เช่น อนุสติ ๑๐ ถือว่าทำสมถะ ถ้าเจริญสติปัฏฐานคือรู้กาย เวทนา จิต หรือธรรม ถือว่าเจริญวิปัสสนา และเมื่อพบว่า กรรมฐานบางอย่าง เช่น อานาปานสติ มีอยู่ทั้งในกรรมฐาน ๔๐ และในสติปัฏฐาน ก็อธิบายเลี่ยงไปว่า อานาปานสติเป็นข้อยกเว้น คือเป็นได้ทั้งสมถะและวิปัสสนา
แต่ในแง่ของนักปฏิบัติแล้วไม่ใช่เช่นนั้น การจำแนกสมถะกับวิปัสสนานั้น สามารถจำแนกด้วยอาการดำเนินของจิตได้ด้วย คือถ้าขณะใด จิตมีสติรู้ อารมณ์อันเดียวโดยต่อเนื่อง อันนั้นเป็นการทำสมถะ และเมื่อทำไปจนจิตจับอารมณ์นั้นเองโดยไม่ต้องบังคับควบคุม หรือไม่ต้องตั้งใจแล้ว จิตเกาะเข้ากับอารมณ์อันเดียว เกิดความสุขความสงบ อันนั้นเป็นฌานอันเป็นผลของการทำสมถะ
เมื่อใดที่ผู้ปฏิบัติมีสติรู้อารมณ์ที่กำลังปรากฏ ในขณะเดียวกันก็มีสัมปชัญญะคือความรู้ตัว หรืออีกนัยหนึ่ง ผู้รู้กับสิ่งที่ถูกรู้แยกออกจากกันแล้ว ตามเห็นความเกิดดับของอารมณ์ อันนั้นเป็นการทำวิปัสสนา และเมื่อถึงจุดหนึ่ง จิตจะไม่จงใจรู้อารมณ์และไม่จงใจประคองผู้รู้ แต่สามารถเจริญสติและสัมปชัญญะได้เอง อันนั้นจิตเดินวิปัสสนาเองโดยอัตโนมัติ อันเป็นวิปัสสนาแท้ ที่จิตทำของเขาเอง
เปรียบเทียบคนที่ทำสมถะ เหมือนคนที่ตกลงในกระแสน้ำ ว่ายอยู่ในน้ำ ย่อมเห็นสิ่งต่างๆ ไม่ชัดเจน ในขณะที่ผู้ทำวิปัสสนา เหมือนคนที่นั่งบนฝั่งน้ำ แล้วมองดูสายน้ำที่ไหลผ่านเฉพาะหน้าไป ย่อมเห็นชัดว่า มีอะไรลอยมากับน้ำบ้าง ทั้งของสะอาดสวยงาม และของสกปรก
ด้วยเหตุนี้ จึงเป็นบทเฉลยที่ว่า ทำไมจึงต้องหัดแยกจิตผู้รู้ ออกจากอารมณ์ที่ถูกรู้ ก่อนที่จะดูจิตหรือพิจารณากายอย่างหนึ่งอย่างใด
ตัวอย่างเช่น หากพิจารณาอัฐิหรือกระดูก โดยให้สมาธิเพ่งรู้รูปร่างของกระดูก ว่าเป็นแท่งยาวๆ กลมๆ อันนั้นเป็นการเพ่ง เป็นกสิณดิน หากเพ่งดูว่า กระดูกมีสีขาว อันนั้นก็เป็นกสิณสี ซึ่งการเพ่งจนจิตสงบเกาะอยู่กับรูปกระดูกก็ดี สีกระดูกก็ดี เป็นการทำสมถะ
แต่หากรู้กระดูก โดยมีจิตผู้รู้ตั้งมั่นอยู่ต่างหาก แล้วคิดพิจารณาไปในแง่ที่กระดูกเป็นไตรลักษณ์ อันนั้นเป็นการเจริญวิปัสสนาขั้นต้น และในระหว่างที่พิจารณากายอย่างเป็นวิปัสสนานั้น บางครั้งจิตก็เข้าไปจับอยู่กับกาย ส่วนใดส่วนหนึ่งนิ่งพักอยู่เป็นสมถะ แล้วค่อยกลับออกมาพิจารณากายต่อก็มี แต่ถ้าจิตไม่เข้าพักเอง แล้วกลับตะลุยพิจารณากายจนจิตฟุ้งซ่าน ผู้ปฏิบัติจะต้องย้อนกลับไปทำสมถะใหม่ เพื่อให้จิตมีกำลังและแยกตัวออกจากอารมณ์เสียก่อน
การดูจิตก็เป็นได้ทั้งสองอย่าง คือถ้าเพ่งความว่างเปล่าของจิต หรือเพ่งสิ่งใดสิ่งหนึ่งในจิต อันนั้นเป็นสมถะ หากรู้อารมณ์ที่เกิดดับไป โดยจิตผู้รู้อยู่ต่างหาก อันนั้นเป็นการทำวิปัสสนา และตามธรรมดาแล้ว เมื่อผู้ปฏิบัติ ดูจิตอยู่อย่างเป็นวิปัสสนานั้น บางครั้งจิตก็เข้าพักในสมถะด้วยการจับนิ่งเข้ากับอารมณ์อันเดียว
ผู้ปฏิบัติควรจำแนกได้ว่า ขณะนั้นจิตของตนทำสมถะหรือเดินวิปัสสนา มิฉะนั้น อาจหลงผิดทำสมถะ แล้วคิดว่ากำลังทำวิปัสสนาอยู่ ผู้ปฏิบัติที่ครูบาอาจารย์ขาดญาณทัศนะ ไม่รู้วาระจิตของศิษย์อาจหลงผิดได้ง่ายโดยไม่มีใครแก้ไขให้ เช่น เดินจงกรมกำหนดยกหนอ ย่างหนอ เหยียบหนอ ฯลฯ แล้วจิตไหลลงไปอยู่ในเท้า หรือหลงคิดแต่เรื่องยก ย่าง เหยียบ ไม่มีสัมปชัญญะคือความรู้ตัวของจิต อันนั้นเป็นการทำสมถะอย่างเดียวเท่านั้น
อันตรายอีกอย่างหนึ่งของการที่แยกไม่ออกระหว่างการทำสมถะกับวิปัสสนาก็คือ การเกิดวิปัสสนูปกิเลส คือในระหว่างที่ทำวิปัสสนาอยู่นั้น บางครั้งจิตพลิกกลับไปสู่ภูมิของสมถะ แล้วเกิดความรู้ความเห็นหรืออาการบางอย่าง ทำให้หลงผิดว่าตนบรรลุธรรมชั้นสูงแล้ว เช่น เกิดอาการที่สติรู้อารมณ์ชัดกริบด้วยจิตที่แข็งกระด้าง (แทนที่จะรู้ด้วยจิตที่อ่อนโยน ว่องไว ควรแก่การทำวิปัสสนา) หรือเกิดความรู้ความเห็นผิด เช่น แยกไม่ออกระหว่างสมมุติสัจจะ กับปรมัตถสัจจะ หลงผิดว่าพระพุทธเจ้าก็ไม่มี พ่อแม่ก็ไม่มี ทุกอย่างว่างเปล่าหมด เป็นการปฏิเสธสมมุติบัญญัติคิดว่ามันไม่มี ทั้งที่สมมุติเขาก็มีของเขาอยู่ แต่มีอย่างเป็นสมมุติ เป็นต้น
การที่ดูจิตแล้วจิตพลิกกลับไปมาระหว่างสมถะและวิปัสสนาได้นั้น ทำให้ผู้ปฏิบัติบางคน จะได้ฌานโดยอัตโนมัติ ทั้งที่ไม่ต้องหัดเข้าฌาน
๓.๖ การปล่อยวางอารมณ์หยาบเข้าถึงความว่าง เมื่อดูจิตชำนาญเข้า อารมณ์ใดกระทบจิต อารมณ์นั้นก็ดับไป เหมือนแมลงเม่าบินเข้ากองไฟ เริ่มต้นผู้ปฏิบัติจะรู้เห็นแต่อารมณ์หยาบ เช่น โกรธแรงๆ จึงจะดูออก แต่เมื่อปฏิบัติมากเข้า แม้ความขัดใจเล็กน้อย หรือความพอใจเล็กน้อยเกิดขึ้นกับจิต ก็สามารถรู้เห็นได้อย่างชัดเจน เช่น ในขณะที่ร้อนๆ มีลมเย็นโชยกระทบผิวกายนิดเดียว จิตก็เกิดยินดีมีราคะขึ้นแล้ว หรือปวดปัสสาวะ พอเริ่มถ่ายปัสสาวะจิตก็ยินดีเสียแล้ว หรือกำลังหิวข้าว พอเห็นเขายกอาหารมาวางต่อหน้า จิตก็ยินดีเสียแล้ว เป็นต้น
เมื่อรู้อารมณ์ละเอียดแล้ว โอกาสที่อารมณ์หยาบจะเกิดก็ยากขึ้น เพราะอารมณ์หยาบนั้นงอกงามขึ้นไปจากอารมณ์ละเอียดนั่นเอง
อนึ่ง หลักการที่สำคัญมากในการดูจิตที่ขอย้ำก็คือ ให้รู้อารมณ์เฉยๆ อย่าไปพยายามละอารมณ์นั้นเด็ดขาด จะเดินทางผิดทันที เพราะอารมณ์ทั้งปวงนั้น เป็นตัวขันธ์ เป็นตัวทุกข์ ผู้ปฏิบัติมีหน้าที่รู้เท่านั้น อย่าอยาก (มีตัณหา) ที่จะไปละมันเข้า จะผิดหลักการเกี่ยวกับกิจของอริยสัจที่พระพุทธเจ้าทรงสอนว่า "ทุกข์ให้รู้ สมุทัยให้ละ" เพราะยิ่งพยายามละ ก็จะยิ่งหลงผิดมากขึ้น ตัวอย่างเช่น เห็นความโกรธเกิดขึ้นในจิต ท่านให้รู้เฉยๆ บางครั้งผู้ปฏิบัติพยายามหาทางดับความโกรธนั้น แล้วความโกรธก็ดับได้จริงๆ เหมือนกัน นักปฏิบัติจะหลงผิดว่าตนเองเก่ง ดับกิเลสได้ และเห็นว่า จิตเป็นอัตตา กิเลสเป็นอัตตา ทั้งที่ความจริงนั้น กิเลสมันดับเพราะหมดเหตุของมันต่างหาก เช่น เราถูกคนด่า เราใคร่ครวญเก่าอยู่กับเรื่องที่เขาด่า ความโกรธก็เกิดและแรงขึ้นเรื่อยๆ พอเราคิดเรื่องจะดับความโกรธ เราละเหตุของความโกรธเสียแล้วคือไม่ได้คิดเรื่องว่าเขาด่า มัวแต่คิดจะดับความโกรธ ความโกรธหมดเหตุมันก็ดับไปเอง แต่ผู้ปฏิบัติหลงผิดว่า ตนดับความโกรธได้ แล้วเมื่อไปเจอกิเลสอื่น ก็จะวุ่นวายอยู่กับความพยายามจะดับมันอีก เรียกว่าหางานให้จิตทำวุ่นวายอยู่ตลอดเวลา
การที่ผู้ปฏิบัติรู้อารมณ์เร็วขึ้น ชัดเจนขึ้นตามลำดับนั้น อารมณ์ก็จะยิ่งละเอียดเข้าไปอีกตามลำดับเช่นกัน แต่ทั้งนี้ต้องเข้าใจว่า จิตก็ดี อารมณ์ก็ดี สติสัมปชัญญะหรือสมาธิก็ดี เป็นของที่อยู่ในอำนาจไตรลักษณ์
เหมือนกัน ดังนั้น เมื่อจิตละเอียดแล้ว ช่วงหนึ่งมันก็จะหยาบอีก อย่าตกใจเพราะนั่นมันเป็นธรรมดา ให้ตั้งหน้าปฏิบัติไปเรื่อยๆ มันจะกลับดี และดีขึ้นไปตามลำดับ
เมื่ออารมณ์ละเอียดถึงที่สุด จิตจะปรากฏเหมือนว่า จิตว่างไปหมด ถึงจุดนี้ผู้ปฏิบัติอาจหลงผิดว่าตนสิ้นกิเลสแล้ว ความจริงความว่างนั้นก็คืออารมณ์อีกอันหนึ่ง เพียงแต่ละเอียดถึงที่สุดเท่านั้นเอง
ความคิดเห็นที่ 3
ทุกวันนี้มีผู้ประกาศเรื่องให้ดำรงชีวิตด้วยจิตว่าง ทั้งที่เขาไม่รู้จักจิตว่างเลย และไม่รู้ว่าจิตว่างนั้นยังหาสาระแก่นสารเอาเป็นที่พึ่งอะไรไม่ได้ เพราะมันก็ยังตกอยู่ใต้อำนาจของไตรลักษณ์นั่นเอง และที่สำคัญก็คือ คนที่คิดเรื่องจิตว่างและพยายามทำให้จิตว่างนั้น จิตยังห่างจากความว่างมากมายนัก เพราะแม้จิตที่มีอารมณ์หยาบก็ยังไม่เข้าใจแม้แต่น้อย
๓.๗ การปล่อยวางความว่าง เข้าถึงธรรมที่แท้จริง เมื่อปฏิบัติเข้าถึงขั้นที่ละเอียดเช่นนั้นแล้ว หลักที่จะปฏิบัติต่อไปยังคงเหมือนเดิม คือรู้หรือดูจิตต่อไป ไม่ต้องสงสัย ไม่ต้องคิดค้นวิพากษ์วิจารณ์ว่าทำอย่างไรจะปล่อยวางความว่างนั้นได้ เพราะแค่เริ่มคิดนิดเดียว จิตก็จะหลงทางเข้าสู่ความวุ่นวายสับสนอีกแล้ว ผู้ปฏิบัติจะต้องรู้อย่างเดียวเท่านั้น
การรู้โดยไม่คิดนั้นเอง คือการเจริญวิปัสสนาที่แท้จริง และละเอียดที่สุด ควรทราบว่าจิตจะหลุดพ้นได้นั้น จิตเขาจะต้องหลุดพ้นเองเพราะเขาเห็นความจริง การคิดใคร่ครวญด้วยสัญญาอารมณ์ มันเป็นเพียงความรู้ขั้นสัญญาของตัวผู้ปฏิบัติ แต่ความรู้จริงของจิตนั้น จิตเขาต้องเรียนรู้เอง ผู้ปฏิบัติเพียงแต่ทำสิ่งที่เอื้อต่อการที่จิตจะเรียนรู้เท่านั้น คืออย่าไปรบกวนจิตให้วุ่นวายขึ้นมาอีก มีสติ มีสัมปชัญญะ รู้แต่ไม่คิดค้นคว้าใดๆ ในที่สุด จิตจะเกิดความเข้าใจขึ้นมาเองว่า จิตว่างนั้นเองไม่ใช่สาระแก่นสาร ตราบใดที่ยังเห็นว่าจิตเป็นตัวเรา หรือเป็นของเราที่จะต้องช่วยให้จิตหลุดพ้น ตราบนั้นตัณหาหรือสมุทัย ก็จะสร้างภพของจิตว่างขึ้นมาร่ำไป
ขอย้ำว่าในขั้นนี้ จิตจะดำเนินวิปัสสนาเอง ไม่ใช่ผู้ปฏิบัติจงใจกระทำ ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า ไม่มีใครเลยที่จงใจหรือตั้งใจบรรลุมรรคผลนิพพานได้ มีแต่จิตเขาปฏิวัติตนเองไปเท่านั้น
๓.๘ การรู้ธรรมในขั้นของพระโสดาบัน และการปฏิบัติเพื่อบรรลุอรหัตมรรค เมื่อจิตทรงตัวรู้แต่ไม่คิดอะไรนั้น บางครั้งจะมีสิ่งบางสิ่งผุดขึ้นมาสู่ภูมิรู้ของจิต แต่จิตไม่สำคัญมั่นหมายว่านั่นคืออะไร เพียงแต่รู้เฉยๆ ถึงความเกิดดับนั้นเท่านั้น ในขั้นนี้เป็นการเดินวิปัสสนาในขั้นละเอียดที่สุด ถึงจุดหนึ่ง จิตจะก้าวกระโดดต่อไปเอง ซึ่งจะขอไม่กล่าวถึงขั้นตอนอย่างละเอียด เพราะผู้อ่านอาจคิดตามแล้วปรุงแต่งอาการนั้นขึ้นมาได้
การเข้าสู่มรรคผลนั้น "รู้" มีอยู่ตลอด แต่ไม่คิดและไม่สำคัญ มั่นหมายในสังขารละเอียดที่ผุดขึ้น บางอาจารย์จะสอนผิดๆ ว่า ในเวลาบรรลุมรรคผลนิพพาน หรือในเวลาเข้าผลสมาบัตินั้น จิตดับความรู้หายเงียบไปเลย โดยเข้าใจผิดในคำว่า "นิพพานัง ปรมัง สุญญัง" สูญอย่างนั้นเป็นการสูญหาย แบบอุทเฉททิฏฐิ สภาพของมรรคผลนิพพานไม่ได้เป็นเช่นนั้น การที่จิตดับ ความรับรู้นั้น เป็นภพชนิดหนึ่งเรียกว่า "อสัญญี" หรือที่คนโบราณเรียกว่าพรหมลูกฟัก เท่านั้นเอง
เมื่อจิตถอยออกจากอริยมรรคและอริยผลที่เกิดขึ้นแล้ว ผู้ปฏิบัติจะรู้ชัดว่า ธรรมเป็นอย่างนี้ สิ่งใดเกิดขึ้น สิ่งนั้นต้องดับไป ธรรมชาติบางอย่างมีอยู่ แต่ก็ไม่มีความเป็นตัวตนสักอณูเดียว นี้เป็นการรู้ธรรมในขั้นของพระโสดาบัน คือไม่เห็นว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่ง แม้แต่ตัวจิตเองเป็นตัวเรา แต่ความยึดถือในความเป็นเรายังมีอยู่ เพราะขั้นความเห็นกับความยึดนั้นมันคนละขั้นกัน
เมื่อบรรลุถึงสิ่งที่บัญญัติว่า "พระโสดาบัน" แล้ว ผู้ปฏิบัติยังคงปฏิบัติอย่างเดิมนั้นเอง แต่ตัวจิตผู้รู้จะยิ่งเด่นดวงขึ้นตามลำดับ จนเมื่อบรรลุพระอนาคามีแล้ว จิตผู้รู้จะเด่นดวงเต็มที่ เพราะพ้นจากอำนาจของกาม การที่จิตรู้อยู่กับจิตเช่นนั้น แสดงถึงกำลังสมาธิอันเต็มเปี่ยม เพราะสิ่งที่เป็นอันตรายต่อสมาธิคือกามได้ถูกล้างออกจากจิตหมดแล้ว ผู้ปฏิบัติในขั้นนี้ หากตายลง จึงไปสู่พรหมโลกชันสุทธาวาสโดยส่วนเดียว ไม่สามารถกลับมาเกิดในภพมนุษย์ได้อีกแล้ว
นักปฏิบัติจำนวนมากที่ไม่มีครูบาอาจารย์ชี้แนะ จะคิดว่าเมื่อถึงขั้นที่จิตผู้รู้หมดจดผ่องใสแล้วนั้น ไม่มีทางไปต่อแล้ว แต่หลวงปู่ดูลย์ อตุโล กลับสอนต่อไปอีกว่า "พบผู้รู้ให้ทำลายผู้รู้ พบจิตให้ทำลายจิต"
จุดนี้ไม่ใช่การเล่นสำนวนโวหารที่จะนำมาพูดกันเล่นๆ ได้ ความจริง ก็คือการสอนว่า ยังจะต้องปล่อยวางความยึดมั่นจิตอีกชั้นหนึ่ง มันละเอียดเสียจนผู้ที่ไม่ละเอียดพอ ไม่รู้ว่ามีอะไรจะต้องปล่อยวางอีก เพราะความจริงตัวจิตผู้รู้นั้น ยังเป็นของที่อยู่ในอำนาจของไตรลักษณ์ บางครั้งยังมีอาการหมองลงนิดๆ พอให้สังเกตเห็นความเป็นไตรลักษณ์ของมัน แต่ผู้ปฏิบัติที่ได้รับการอบรมเรื่องจิตมาดีแล้ว จะเห็นความยึดมั่นนั้น แล้วไม่ต้องทำอะไรเลย แค่รู้ทันเท่านั้น จิตจะประคองตัวอยู่ที่รู้ ไม่คิดค้นคว้าอะไร มันเงียบสนิทจริงๆ ถึงจุด หนึ่ง จิตจะปล่อยวางความยึดถือจิต จิตจะเป็นอิสระเปิดโล่งไปหมด ไม่กลับเข้าเกาะเกี่ยวกับอารมณ์ใดๆ ที่จะพาไปก่อเกิดได้อีก
๔. บทสรุปคำสอนของหลวงปู่ดูลย์ อตุโล
๔.๑ ธรรมเรียนรู้ได้ที่จิต
๔.๒ ให้บริกรรมเพื่อรวมอารมณ์ให้เป็นหนึ่ง สังเกตดูว่า ใครเป็นผู้ บริกรรม "พุทโธ"
๔.๓ ทำความเข้าใจในอารมณ์ความคิดนึก สังเกตกิเลสที่กำลัง ปรากฏให้ออก
๔.๔ อย่าส่งจิตออกนอก อย่าให้จิตคิดส่งไปภายนอก (เผลอ) ให้สังเกตความหวั่นไหวหรือปฏิกิริยาของจิตต่ออารมณ์ที่รับ เข้ามาทางอายตนะทั้ง ๖
๔.๕ จงทำญาณให้เห็นจิต เหมือนดั่งตาเห็นรูป คือรู้ทันพฤติของจิต
๔.๖ รู้ เพราะคิดเท่าไหร่ก็ไม่รู้ ต้องหยุดคิดถึงจะรู้ แต่ก็ต้องอาศัยคิด คืออย่าไปห้ามความคิด
๔.๗ แยกรูปถอด (ความปรุงแต่ง) ก็ถึงความว่าง แยกความว่าง ถึงมหาสุญตา
๔.๘ สรุปอริยสัจแห่งจิต
จิตส่งออกนอก เป็นสมุทัย
ผลอันเปิดจากจิตส่งออกนอก เป็นทุกข์
จิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้ง เป็นมรรค
ผลอันเกิดจากจิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้ง เป็นนิโรธ
--------------------------------------------------------------------------------
ดูจิตด้วยความรู้สึกตัว >>> http://www.wimutti.net/pramote/ <<<
--------------------------------------------------------------------------------
ลึกลับ 27-09-2007 00:33:18
โมทนาสาธุด้วยครับ เป็นแนวทางคำสอนการปฏิบัติที่ดีมาก คมและลึกซึ้งยิ่งนัก สมควรที่จะนำไปเผยแพร่ตามเว็บไซต์ต่างๆให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ เพราะจะเป็นประโยชน์แก่ผู้ปฏิบัติในชีวิตประจำวันจริงๆ สุดท้าย อย่าลืม
"พบผู้รู้แล้วให้ทำลายผู้รู้ พบจิตให้ทำลายจิต" ด้วยนะครับ......
ชัย แสงทิพย์
ChaiSangthip@www.com
จาก http://www.buddhapoem.com
http://www.buddha-dhamma.com
๓.๗ การปล่อยวางความว่าง เข้าถึงธรรมที่แท้จริง เมื่อปฏิบัติเข้าถึงขั้นที่ละเอียดเช่นนั้นแล้ว หลักที่จะปฏิบัติต่อไปยังคงเหมือนเดิม คือรู้หรือดูจิตต่อไป ไม่ต้องสงสัย ไม่ต้องคิดค้นวิพากษ์วิจารณ์ว่าทำอย่างไรจะปล่อยวางความว่างนั้นได้ เพราะแค่เริ่มคิดนิดเดียว จิตก็จะหลงทางเข้าสู่ความวุ่นวายสับสนอีกแล้ว ผู้ปฏิบัติจะต้องรู้อย่างเดียวเท่านั้น
การรู้โดยไม่คิดนั้นเอง คือการเจริญวิปัสสนาที่แท้จริง และละเอียดที่สุด ควรทราบว่าจิตจะหลุดพ้นได้นั้น จิตเขาจะต้องหลุดพ้นเองเพราะเขาเห็นความจริง การคิดใคร่ครวญด้วยสัญญาอารมณ์ มันเป็นเพียงความรู้ขั้นสัญญาของตัวผู้ปฏิบัติ แต่ความรู้จริงของจิตนั้น จิตเขาต้องเรียนรู้เอง ผู้ปฏิบัติเพียงแต่ทำสิ่งที่เอื้อต่อการที่จิตจะเรียนรู้เท่านั้น คืออย่าไปรบกวนจิตให้วุ่นวายขึ้นมาอีก มีสติ มีสัมปชัญญะ รู้แต่ไม่คิดค้นคว้าใดๆ ในที่สุด จิตจะเกิดความเข้าใจขึ้นมาเองว่า จิตว่างนั้นเองไม่ใช่สาระแก่นสาร ตราบใดที่ยังเห็นว่าจิตเป็นตัวเรา หรือเป็นของเราที่จะต้องช่วยให้จิตหลุดพ้น ตราบนั้นตัณหาหรือสมุทัย ก็จะสร้างภพของจิตว่างขึ้นมาร่ำไป
ขอย้ำว่าในขั้นนี้ จิตจะดำเนินวิปัสสนาเอง ไม่ใช่ผู้ปฏิบัติจงใจกระทำ ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า ไม่มีใครเลยที่จงใจหรือตั้งใจบรรลุมรรคผลนิพพานได้ มีแต่จิตเขาปฏิวัติตนเองไปเท่านั้น
๓.๘ การรู้ธรรมในขั้นของพระโสดาบัน และการปฏิบัติเพื่อบรรลุอรหัตมรรค เมื่อจิตทรงตัวรู้แต่ไม่คิดอะไรนั้น บางครั้งจะมีสิ่งบางสิ่งผุดขึ้นมาสู่ภูมิรู้ของจิต แต่จิตไม่สำคัญมั่นหมายว่านั่นคืออะไร เพียงแต่รู้เฉยๆ ถึงความเกิดดับนั้นเท่านั้น ในขั้นนี้เป็นการเดินวิปัสสนาในขั้นละเอียดที่สุด ถึงจุดหนึ่ง จิตจะก้าวกระโดดต่อไปเอง ซึ่งจะขอไม่กล่าวถึงขั้นตอนอย่างละเอียด เพราะผู้อ่านอาจคิดตามแล้วปรุงแต่งอาการนั้นขึ้นมาได้
การเข้าสู่มรรคผลนั้น "รู้" มีอยู่ตลอด แต่ไม่คิดและไม่สำคัญ มั่นหมายในสังขารละเอียดที่ผุดขึ้น บางอาจารย์จะสอนผิดๆ ว่า ในเวลาบรรลุมรรคผลนิพพาน หรือในเวลาเข้าผลสมาบัตินั้น จิตดับความรู้หายเงียบไปเลย โดยเข้าใจผิดในคำว่า "นิพพานัง ปรมัง สุญญัง" สูญอย่างนั้นเป็นการสูญหาย แบบอุทเฉททิฏฐิ สภาพของมรรคผลนิพพานไม่ได้เป็นเช่นนั้น การที่จิตดับ ความรับรู้นั้น เป็นภพชนิดหนึ่งเรียกว่า "อสัญญี" หรือที่คนโบราณเรียกว่าพรหมลูกฟัก เท่านั้นเอง
เมื่อจิตถอยออกจากอริยมรรคและอริยผลที่เกิดขึ้นแล้ว ผู้ปฏิบัติจะรู้ชัดว่า ธรรมเป็นอย่างนี้ สิ่งใดเกิดขึ้น สิ่งนั้นต้องดับไป ธรรมชาติบางอย่างมีอยู่ แต่ก็ไม่มีความเป็นตัวตนสักอณูเดียว นี้เป็นการรู้ธรรมในขั้นของพระโสดาบัน คือไม่เห็นว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่ง แม้แต่ตัวจิตเองเป็นตัวเรา แต่ความยึดถือในความเป็นเรายังมีอยู่ เพราะขั้นความเห็นกับความยึดนั้นมันคนละขั้นกัน
เมื่อบรรลุถึงสิ่งที่บัญญัติว่า "พระโสดาบัน" แล้ว ผู้ปฏิบัติยังคงปฏิบัติอย่างเดิมนั้นเอง แต่ตัวจิตผู้รู้จะยิ่งเด่นดวงขึ้นตามลำดับ จนเมื่อบรรลุพระอนาคามีแล้ว จิตผู้รู้จะเด่นดวงเต็มที่ เพราะพ้นจากอำนาจของกาม การที่จิตรู้อยู่กับจิตเช่นนั้น แสดงถึงกำลังสมาธิอันเต็มเปี่ยม เพราะสิ่งที่เป็นอันตรายต่อสมาธิคือกามได้ถูกล้างออกจากจิตหมดแล้ว ผู้ปฏิบัติในขั้นนี้ หากตายลง จึงไปสู่พรหมโลกชันสุทธาวาสโดยส่วนเดียว ไม่สามารถกลับมาเกิดในภพมนุษย์ได้อีกแล้ว
นักปฏิบัติจำนวนมากที่ไม่มีครูบาอาจารย์ชี้แนะ จะคิดว่าเมื่อถึงขั้นที่จิตผู้รู้หมดจดผ่องใสแล้วนั้น ไม่มีทางไปต่อแล้ว แต่หลวงปู่ดูลย์ อตุโล กลับสอนต่อไปอีกว่า "พบผู้รู้ให้ทำลายผู้รู้ พบจิตให้ทำลายจิต"
จุดนี้ไม่ใช่การเล่นสำนวนโวหารที่จะนำมาพูดกันเล่นๆ ได้ ความจริง ก็คือการสอนว่า ยังจะต้องปล่อยวางความยึดมั่นจิตอีกชั้นหนึ่ง มันละเอียดเสียจนผู้ที่ไม่ละเอียดพอ ไม่รู้ว่ามีอะไรจะต้องปล่อยวางอีก เพราะความจริงตัวจิตผู้รู้นั้น ยังเป็นของที่อยู่ในอำนาจของไตรลักษณ์ บางครั้งยังมีอาการหมองลงนิดๆ พอให้สังเกตเห็นความเป็นไตรลักษณ์ของมัน แต่ผู้ปฏิบัติที่ได้รับการอบรมเรื่องจิตมาดีแล้ว จะเห็นความยึดมั่นนั้น แล้วไม่ต้องทำอะไรเลย แค่รู้ทันเท่านั้น จิตจะประคองตัวอยู่ที่รู้ ไม่คิดค้นคว้าอะไร มันเงียบสนิทจริงๆ ถึงจุด หนึ่ง จิตจะปล่อยวางความยึดถือจิต จิตจะเป็นอิสระเปิดโล่งไปหมด ไม่กลับเข้าเกาะเกี่ยวกับอารมณ์ใดๆ ที่จะพาไปก่อเกิดได้อีก
๔. บทสรุปคำสอนของหลวงปู่ดูลย์ อตุโล
๔.๑ ธรรมเรียนรู้ได้ที่จิต
๔.๒ ให้บริกรรมเพื่อรวมอารมณ์ให้เป็นหนึ่ง สังเกตดูว่า ใครเป็นผู้ บริกรรม "พุทโธ"
๔.๓ ทำความเข้าใจในอารมณ์ความคิดนึก สังเกตกิเลสที่กำลัง ปรากฏให้ออก
๔.๔ อย่าส่งจิตออกนอก อย่าให้จิตคิดส่งไปภายนอก (เผลอ) ให้สังเกตความหวั่นไหวหรือปฏิกิริยาของจิตต่ออารมณ์ที่รับ เข้ามาทางอายตนะทั้ง ๖
๔.๕ จงทำญาณให้เห็นจิต เหมือนดั่งตาเห็นรูป คือรู้ทันพฤติของจิต
๔.๖ รู้ เพราะคิดเท่าไหร่ก็ไม่รู้ ต้องหยุดคิดถึงจะรู้ แต่ก็ต้องอาศัยคิด คืออย่าไปห้ามความคิด
๔.๗ แยกรูปถอด (ความปรุงแต่ง) ก็ถึงความว่าง แยกความว่าง ถึงมหาสุญตา
๔.๘ สรุปอริยสัจแห่งจิต
จิตส่งออกนอก เป็นสมุทัย
ผลอันเปิดจากจิตส่งออกนอก เป็นทุกข์
จิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้ง เป็นมรรค
ผลอันเกิดจากจิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้ง เป็นนิโรธ
--------------------------------------------------------------------------------
ดูจิตด้วยความรู้สึกตัว >>> http://www.wimutti.net/pramote/ <<<
--------------------------------------------------------------------------------
ลึกลับ 27-09-2007 00:33:18
โมทนาสาธุด้วยครับ เป็นแนวทางคำสอนการปฏิบัติที่ดีมาก คมและลึกซึ้งยิ่งนัก สมควรที่จะนำไปเผยแพร่ตามเว็บไซต์ต่างๆให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ เพราะจะเป็นประโยชน์แก่ผู้ปฏิบัติในชีวิตประจำวันจริงๆ สุดท้าย อย่าลืม
"พบผู้รู้แล้วให้ทำลายผู้รู้ พบจิตให้ทำลายจิต" ด้วยนะครับ......
ชัย แสงทิพย์
ChaiSangthip@www.com
จาก http://www.buddhapoem.com
http://www.buddha-dhamma.com
ความคิดเห็นที่ 4
เกรงว่า "หัวข้อกระทู้" จะตัดสั้น จนคนอ่านเข้าใจผิดได้นะครับ
เพราะตกคำสำคัญ คือ ให้ "รู้" ครับ
(ซึ่งในบทความที่ยกมานั้น ก็ระบุไว้อยู่แล้ว)
คือต้องมีความเพียร คือ "เพียรที่จะรู้"
เพราะถ้าไม่เพียร ไม่ต้องทำไรเลย ก็เรียกว่าไม่ใช่แนวทางของพุทธศาสนาแล้วครับ
ปล.
บุคคลที่รอเพ่งเล็งกับแนวทางและของพระอาจารย์ท่านมีอยู่ครับ
ควรโปรดระมัดระวังในการโพสท์แต่ละครั้ง
ไม่ควรตัดต่อ ตัดตอนจนเข้าใจคลาดเคลื่อนไปได้ครับ
.. แล้วท่านอื่นๆ มาอ่านข้อโต้แย้งนั้น จะยิ่งเข้าใจผิดไปกันใหญ่
ด้วยความปรารถนาดีครับ
เพราะตกคำสำคัญ คือ ให้ "รู้" ครับ
(ซึ่งในบทความที่ยกมานั้น ก็ระบุไว้อยู่แล้ว)
คือต้องมีความเพียร คือ "เพียรที่จะรู้"
เพราะถ้าไม่เพียร ไม่ต้องทำไรเลย ก็เรียกว่าไม่ใช่แนวทางของพุทธศาสนาแล้วครับ
ปล.
บุคคลที่รอเพ่งเล็งกับแนวทางและของพระอาจารย์ท่านมีอยู่ครับ
ควรโปรดระมัดระวังในการโพสท์แต่ละครั้ง
ไม่ควรตัดต่อ ตัดตอนจนเข้าใจคลาดเคลื่อนไปได้ครับ
.. แล้วท่านอื่นๆ มาอ่านข้อโต้แย้งนั้น จะยิ่งเข้าใจผิดไปกันใหญ่
ด้วยความปรารถนาดีครับ
ความคิดเห็นที่ 5
เคยอ่านบทความนี้แล้วเหมือนกันค่ะ
เผลอๆอาจจะตรงกับสภาวะธรรมของหลายท่านที่กำลังเป็น
จะสามารถต่อยอดการปฏิบัติให้กับหลายท่านได้เลยด้วย
ขอบคุณมากค่ะ
เผลอๆอาจจะตรงกับสภาวะธรรมของหลายท่านที่กำลังเป็น
จะสามารถต่อยอดการปฏิบัติให้กับหลายท่านได้เลยด้วย
ขอบคุณมากค่ะ
ความคิดเห็นที่ 6
ในความเห็นส่วนตัวของผมนะ
ถ้าถามว่า พอจ.ท่านสอนผิดไหม ผมว่าพอจ.ท่านสอนไม่ผิด แต่ผมเห็นว่าท่านสอนไม่ครบถ้วนซะมากกว่า
ถามว่าอะไรไม่ครบถ้วน ท่านไม่เน้นอริยมรรคให้ครบถ้วน ไม่เน้นนะไม่ใช่ไม่สอน (เมื่อก่อนนะ เดี๋ยวนี้ไม่รู้ท่านเปลี่ยนการสอนเป็นอย่างไรแล้ว)
ถามว่าไม่เน้นอริยมรรคอย่างไร อริยมรรค ข้อสัมมาวายามะ สัมมาสมาธิ
สัมมาวายามะ เพียรละอกุศลให้อย่ามี เพียรสร้างกุศลให้เกิดมีและดำรงคงไว้ -- ถามว่าถ้ารู้เฉยๆ ไม่ละอกุศล อกุศลจะหมดไปได้ไหม
ถ้ารู้เฉยๆ ไม่เพียรสร้างกุศลขึ้นในจิต กุศลจะเกิดขึ้นและดำรงคงไว้ได้ไหม
สัมมาสมาธิ คือการทำสมาธิ((ในขั้นรูปฌาน 1-4)) ซึ่งมีคนที่รู้จัก เขาค่อนข้างใกล้ชิด พอจ.ท่านเลย คนที่ผมรู้จักคนนี้ ทำสมาธิน้อยมาก
เหตุผลของเขาคือ กลัวเกิดเป็นพรหมลูกฟัก ไม่ได้ว่าเขานะ แถมยังชอบมาแนวอ่านจิตออกดูจิตได้ ทักคนโน้นคนนี้ ซึ่งทักมานี่
มันไม่ถูกไม่ใช่เลยน่ะ บอกไปว่าไม่ใช่เขาก็ยัดเยียดให้ว่าใช่ รู้ลงไปสิ ยังไม่รู้อีก อะไรอย่างนี้ เหมือนว่าเขาก็พยายามเลียนแบบสไตล์ของ
พอจ.น่ะ เพื่อจะสอนคนอื่นๆให้ได้แบบเดียวกับ พอจ.
ที่ตอบตรงนี้เพราะเห็นว่า อริยมรรค สำคัญครับ คือเรารู้ว่า พอจ.ท่านสอนขาดตกยังไงเราก็เสริมของเราเอง เพราะยังไงท่านก็เป็นกัลยาณมิตร
ถ้าถามว่า พอจ.ท่านสอนผิดไหม ผมว่าพอจ.ท่านสอนไม่ผิด แต่ผมเห็นว่าท่านสอนไม่ครบถ้วนซะมากกว่า
ถามว่าอะไรไม่ครบถ้วน ท่านไม่เน้นอริยมรรคให้ครบถ้วน ไม่เน้นนะไม่ใช่ไม่สอน (เมื่อก่อนนะ เดี๋ยวนี้ไม่รู้ท่านเปลี่ยนการสอนเป็นอย่างไรแล้ว)
ถามว่าไม่เน้นอริยมรรคอย่างไร อริยมรรค ข้อสัมมาวายามะ สัมมาสมาธิ
สัมมาวายามะ เพียรละอกุศลให้อย่ามี เพียรสร้างกุศลให้เกิดมีและดำรงคงไว้ -- ถามว่าถ้ารู้เฉยๆ ไม่ละอกุศล อกุศลจะหมดไปได้ไหม
ถ้ารู้เฉยๆ ไม่เพียรสร้างกุศลขึ้นในจิต กุศลจะเกิดขึ้นและดำรงคงไว้ได้ไหม
สัมมาสมาธิ คือการทำสมาธิ((ในขั้นรูปฌาน 1-4)) ซึ่งมีคนที่รู้จัก เขาค่อนข้างใกล้ชิด พอจ.ท่านเลย คนที่ผมรู้จักคนนี้ ทำสมาธิน้อยมาก
เหตุผลของเขาคือ กลัวเกิดเป็นพรหมลูกฟัก ไม่ได้ว่าเขานะ แถมยังชอบมาแนวอ่านจิตออกดูจิตได้ ทักคนโน้นคนนี้ ซึ่งทักมานี่
มันไม่ถูกไม่ใช่เลยน่ะ บอกไปว่าไม่ใช่เขาก็ยัดเยียดให้ว่าใช่ รู้ลงไปสิ ยังไม่รู้อีก อะไรอย่างนี้ เหมือนว่าเขาก็พยายามเลียนแบบสไตล์ของ
พอจ.น่ะ เพื่อจะสอนคนอื่นๆให้ได้แบบเดียวกับ พอจ.
ที่ตอบตรงนี้เพราะเห็นว่า อริยมรรค สำคัญครับ คือเรารู้ว่า พอจ.ท่านสอนขาดตกยังไงเราก็เสริมของเราเอง เพราะยังไงท่านก็เป็นกัลยาณมิตร
ความคิดเห็นที่ 9
หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชโชใช่มั้ย
ท่านเป็นพระที่เก่งมาก มีสติเข้มแข็ง กว่าจะได้ขั้นนี้ต้องสั่งสมความเพียรเป็นอย่างยิ่ง
คงมีไม่กี่คนที่ทำได้แบบท่าน แต่ท่านทำไมบอกว่าไม่ต้องทำอะไรเลย ๆ หรือว่าการดูจิต ไม่ใช่การทำ
แต่พอทำไมผมไม่ทำ(การดู) มันก็ไม่เกิดการดู หรือผมเข้าใจผิดไปว่าการ(ทำการ)ดู ไม่ใช่การทำ.....
ท่านเป็นพระที่เก่งมาก มีสติเข้มแข็ง กว่าจะได้ขั้นนี้ต้องสั่งสมความเพียรเป็นอย่างยิ่ง
คงมีไม่กี่คนที่ทำได้แบบท่าน แต่ท่านทำไมบอกว่าไม่ต้องทำอะไรเลย ๆ หรือว่าการดูจิต ไม่ใช่การทำ
แต่พอทำไมผมไม่ทำ(การดู) มันก็ไม่เกิดการดู หรือผมเข้าใจผิดไปว่าการ(ทำการ)ดู ไม่ใช่การทำ.....
ความคิดเห็นที่ 12
" หลวงปู่หลับตานิ่งเงียบไปเกือบครึ่งชั่วโมง พอลืมตาท่านก็แสดงธรรมทันทีว่า การภาวนานั้นไม่ยาก แต่มันก็ยากสำหรับผู้ไม่ภาวนา ขั้นแรกให้ภาวนา "พุทโธ" จนจิตวูบลงไป แล้วตามดูจิตผู้รู้ไป จะรู้อริยสัจจ์ ๔ เอง (หลวงปู่ท่านสอนศิษย์แต่ละคนด้วยวิธีที่แตกต่างกันตามจริตนิสัย นับว่าท่านมีอนุสาสนีปาฏิหารย์อย่างสูง) แล้วท่านถามว่าเข้าใจไหม ก็กราบเรียนว่าเข้าใจ ท่านก็บอกให้กลับไปทำเอา "
อย่าลืมขั้นแรก ที่หลวงปู่ท่านสอนนะครับ
อย่าลืมขั้นแรก ที่หลวงปู่ท่านสอนนะครับ
แสดงความคิดเห็น
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)
ไม่ต้องทำไรเลย การดูจิตในจิต มันจะเป็นไปโดยอัตโนมัติ
บันทึก(ไม่)ลับอุบาสกนิรนาม
(ผู้เขียนได้ปรับปรุงจากต้นฉบับเรื่องประสบการณ์ภาวนาซึ่งเคยส่งไปลงพิมพ์ในหนังสือโลกทิพย์ ในนามสันตินันทอุบาสก)
ผมลังเลใจอยู่นานที่จะเล่าถึงการปฏิบัติธรรมของตนเอง เพราะมันเป็นเพียงเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ซึ่งถ้าใครตั้งใจปฏิบัติก็ทำกันได้ แต่ด้วยความเคารพในคำสั่งของครูบาอาจารย์รูปหนึ่งคือหลวงพ่อพุธ ฐานิโย แห่งวัดป่าสาลวัน ที่ท่านสั่งให้เขียนเรื่องนี้ออกเผยแพร่ ผมจึงต้องปฏิบัติตาม โดยเขียนเรื่องนี้ให้ท่านอ่าน
ผมเป็นคนวาสนาน้อย ไม่เคยรู้เรื่องพระธุดงคกรรมฐานอย่างจริงจังมาก่อน จนแทบจะละทิ้งพระพุทธศาสนาไปแล้ว เพราะเกิดตื่นเต้นกับลัทธิวัตถุนิยม แต่แล้ววันหนึ่ง ผมได้พบข้อธรรมสั้นๆ บทหนึ่งของหลวงปู่ดูลย์ อตุโล แห่งวัดบูรพาราม จังหวัดสุรินทร์ มีสาระสำคัญว่า
"จิตส่งออกนอกคือสมุทัย มีผลเป็นทุกข์
จิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้งเป็นมรรค มีผลเป็นนิโรธ"
“อนึ่ง ตามสภาพที่แท้จริงของจิต ย่อมส่งออกนอกเพื่อรับอารมณ์นั้นๆ โดยธรรมชาติของมันเอง ก็แต่ว่า ถ้าจิตส่งออกนอกได้รับอารมณ์แล้ว จิตเกิดหวั่นไหวหรือเกิดกระเพื่อมไปตามอารมณ์นั้น เป็นสมุทัย ผลอันเกิดจากจิตหวั่นไหวหรือกระเพื่อมไปตามอารมณ์นั้นๆ เป็นทุกข์ ถ้าจิตที่ส่งออกนอกได้รับอารมณ์แล้ว แต่ไม่หวั่นไหว หรือไม่กระเพื่อมไปตามอารมณ์นั้นๆ มีสติอยู่อย่างสมบูรณ์ เป็นมรรค ผลอันเกิดจากจิตไม่หวั่นไหว หรือไม่กระเพื่อม เพราะมีสติอยู่อย่างสมบูรณ์ เป็นนิโรธ พระอริยเจ้าทั้งหลายมีจิตไม่ส่งออกนอก จิตไม่หวั่นไหว จิตไม่กระเพื่อม เป็นวิหารธรรม จบอริยสัจจ์ ๔”
ผมเกิดความซาบซึ้งจับจิตจับใจ และเห็นจริงตามว่า ถ้าจิตไม่ออกไปรับความทุกข์แล้ว ใครกันล่ะที่จะเป็นผู้ทุกข์ จิตใจของผมมันยอมรับนับถือหลวงปู่ดูลย์เป็นครูบาอาจารย์ตั้งแต่นั้น
ต่อมาในต้นปี พ.ศ.๒๕๒๕ ผมมีโอกาสด้นดั้นไปนมัสการหลวงปู่ดูลย์ที่จังหวัดสุรินทร์ เมื่อไปถึงวัดของท่านแล้ว เกิดความรู้สึกกลัวเกรงเป็นที่สุด เพราะท่านเป็นพระเถระผู้ใหญ่และไม่เคยรู้จักอัธยาศัยของท่านมาก่อน ประกอบกับผมไม่คุ้นเคยที่จะพบปะพูดจากับพระผู้ใหญ่มาก่อนด้วย จึงรีรออยู่ห่างๆ นอกกุฏิของท่าน
ขณะที่รีรออยู่ครู่หนึ่งนั้น หลวงปู่ดูลย์เดินออกมาจากกุฏิของท่าน มาชะโงกมองดูผม ผมจึงรวบรวมความกล้าเข้าไปกราบท่านซึ่งถอยกลับไปนั่งเก้าอี้โยกที่หน้าประตูกุฏิ แล้วเรียนท่านว่า
"ผมอยากภาวนาครับหลวงปู่"
หลวงปู่หลับตานิ่งเงียบไปเกือบครึ่งชั่วโมง พอลืมตาท่านก็แสดงธรรมทันทีว่า การภาวนานั้นไม่ยาก แต่มันก็ยากสำหรับผู้ไม่ภาวนา ขั้นแรกให้ภาวนา "พุทโธ" จนจิตวูบลงไป แล้วตามดูจิตผู้รู้ไป จะรู้อริยสัจจ์ ๔ เอง (หลวงปู่ท่านสอนศิษย์แต่ละคนด้วยวิธีที่แตกต่างกันตามจริตนิสัย นับว่าท่านมีอนุสาสนีปาฏิหารย์อย่างสูง) แล้วท่านถามว่าเข้าใจไหม ก็กราบเรียนว่าเข้าใจ ท่านก็บอกให้กลับไปทำเอา
พอขึ้นรถไฟกลับกรุงเทพเกิดเฉลียวใจขึ้นว่า ท่านให้เราดูจิตนั้นจะดูอย่างไร จิตมันเป็นอย่างไร อยู่ที่ไหนและจะเอาอะไรไปดู ตอนนั้นชักจะกลุ้มใจไม่ทราบว่าจะทำอย่างไร ก็ภาวนาพุทโธไปเรื่อยๆ จนจิตสงบลง แล้วพิจารณาว่าจิตจะต้องอยู่ในกายนี้แน่ หากแยกแยะเข้าไปในขันธ์ ๕ ถึงอย่างไรก็ต้องเจอจิต จึงพิจารณาเข้าไปที่รูปว่าไม่ใช่จิต รูปก็แยกออกเป็นสิ่งที่ถูกรู้เท่านั้น หันมามองเวทนาแล้วแยกออกเป็นอีกส่วนหนึ่ง ตัวสัญญาก็แยกเป็นอีกส่วนหนึ่ง จากนั้นมาแยกตัวสังขารคือความคิดนึกปรุงแต่ง โดยนึกถึงบทสวดมนต์ เห็นความคิดบทสวดมนต์ผุดขึ้น และเป็นสิ่งที่ถูกรู้ ถึงตอนนี้ก็เลยจับเอาตัวจิตผู้รู้ขึ้นมาได้
หลังจากนั้น ผมได้ตามดูจิตไปเรื่อยๆ จนสามารถรู้ว่า ขณะนั้นเกิดกิเลสขึ้นกับจิตหรือไม่ ถ้าเกิดขึ้นและรู้ทัน กิเลสมันก็ดับไปเอง เหลือแต่จิตผู้รู้ ซึ่งรู้ความรู้สึกนึกคิดปรุงแต่งไปเรื่อยๆ อย่างเป็นอิสระจากกิเลสและอารมณ์ต่างๆ ต่อมาภายหลังผมได้หาหนังสือธรรมะมาอ่าน จึงรู้ว่าในทางปริยัติธรรมจัดเป็นการจำแนกรูปนาม จัดเป็นการเจริญวิปัสสนาแล้ว แต่ในเวลาปฏิบัตินั้น จิตไม่ได้กังวลสนใจว่าเป็นวิปัสสนาญาณขั้นใด
ปฏิบัติอยู่ ๓ เดือน จึงไปรายงานผลกับหลวงปู่ดูลย์ว่า
"ผมหาจิตเจอแล้ว จะต้องปฏิบัติอย่างไรต่อไป"
คราวนี้ปรากฏว่าท่านแสดงธรรมอันลึกซึ้งมากมาย เกี่ยวกับการถอดถอนทำลายอุปาทานในขันธ์ ๕ท่านสอนถึงกำเนิดและการทำงานของจิตวิญญาณ จนถึงการเจริญอริยมรรค จนมีญาณเห็นจิตเหมือนมีตาเห็นรูป
ท่านสอนอีกว่า เมื่อเราดูจิต คือตามรู้จิตเรื่อยๆ ไปนั้น สิ่งปรุงแต่งจะดับไปตามลำดับ จนถึงความว่า แต่ในความว่างนั้นยังไม่ว่างจริง มันมีสิ่งละเอียดเหลืออยู่คือวิญญาณ ให้ตามรู้จิตเรื่อยๆ ไป ความยึดในวิญญาณจะถูกทำลายออกไปอีก แล้วจิตจริงแท้หรือพุทธะ (หลวงปู่เทสก์เรียกว่าใจ) จึงปรากฎออกมา
คำสอนครั้งนี้ลึกซึ้งกว้างขวางเหมือนฝนตกทั่วฟ้า แต่ภูมิปัญญาของผมมีจำกัด จึงรองน้ำฝนไว้ได้เพียงถ้วยเดียว คือได้เรียนถามท่านว่า
"ที่หลวงปู่สอนมาทั้งหมดนี้ หากผมจะปฏิบัติด้วยการดูจิตไปเรื่อยๆ จะพอไหม"
หลวงปู่ดูลย์ตอบว่า
"การปฏิบัติก็มีอยู่เท่านั้นแหละ แม้จะพิจารณากายหรือกำหนดนิมิตหมายใดๆ ก็เพื่อให้ถึงจิตถึงใจตนเองเท่านั้น นอกจากจิตแล้วไม่มีสิ่งใดอีก พระธรรม ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ก็รวมลงที่จิตตัวเดียวนี้เอง”
หลังจากนั้นผมก็เพียรดูจิตเรื่อยๆ มา มีสติเมื่อใดดูเมื่อนั้น ขาดสติแล้วก็แล้วกันไป นึกขึ้นได้ก็ดูใหม่ เวลาทำงานก็ทำไป พอเหนื่อยหรือเครียดก็ย้อนดูจิต เลิกงานแล้วแม้มีเวลาเล็กน้อยก็ดูจิต ดูอยู่นั่นแหละ ไม่นานก็เห็นความเปลี่ยนแปลงในตัวเองอย่างไม่น่าจะเป็นไปได้
วันหนึ่งของอีก ๔ เดือนต่อมา ขณะนั้นเป็นเวลาเย็นปลายเดือนกันยายน ๒๕๒๕ ได้เกิดพายุพัดหนัก ผมออกจากที่ทำงานเปียกฝนไปทั้งตัว และได้เข้าไปหลบฝนอยู่ในกุฏิพระหลังหนึ่งในวัดใกล้ๆ ที่ทำงาน ได้นั่งกอดเข่ากับพื้นห้องเพราะไม่กล้านั่งตามสบายเนื่องจากตัวเราเปียกมากกลัวกุฏิพระจะเลอะมาก พอนั่งลงก็เกิดเป็นห่วงร่างกายว่า ร่างกายเราไม่แข็งแรง คราวนี้คงไม่สบายแน่
สักครู่ก็ตัดใจว่า ถ้าจะป่วยมันก็ต้องป่วย นี่กายยังไม่ทันป่วยใจกลับป่วยเสียก่อนแล้วด้วยความกังวล พอรู้ตัวว่าจิตกังวลผมก็ดูจิตทันทีเพราะเคยฝึกดูจนเป็นนิสัยแล้ว ขณะนั้นนั่งกอดเข่าลืมตาอยู่แท้ๆ แต่ประสาทสัมผัสทางกายดับหายไปหมด โลกทั้งโลก เสียงฝน เสียงพายุหายไปหมด เหลือแต่สติที่ละเอียดอ่อนประคองรู้อยู่เท่านั้น (ไม่รู้ว่ารู้อะไรเพราะไม่มีสัญญา)
ต่อมามันมีสิ่งละเอียดๆ ผ่านมาสู่ความรับรู้ของจิตเป็นระยะๆ แต่ไม่รู้ว่าสิ่งนั้นคืออะไร เพราะจิตไม่มีความสำคัญมั่นหมายใดๆ ต่อมาจิตมีอาการไหวดับวูบลง สิ่งที่ผ่านมาให้รู้ดับไปหมดแล้ว แล้วก็รู้ชัดเหมือนตาเห็นว่า ความว่างที่เหลืออยู่นั้น ถูกแหวกพรวดอย่างรวดเร็วและนุ่มนวลออกไปอีก กลายเป็นความว่างที่บริสุทธิ์หมดจดอย่างแท้จริง
ในความว่างนั้น จิตซึ่งเป็นอิสระแล้วได้อุทานขึ้นว่า
"เอ๊ะ จิตไม่ใช่เรานี่"
จากนั้นจิตได้มีอาการปิติยินดี ยิ้มแย้มแจ่มใสขึ้น พร้อมๆ กับเกิดแสงสว่างโพลงขึ้นรอบทิศทาง จากนั้นจิตจึงรวมสงบลงอีกครั้งหนึ่ง แล้วถอนออกจากสมาธิ เมื่อความรับรู้ต่างๆ กลับมาสู่ตัวแล้ว ถึงกับอุทานในใจ (จิตไม่ได้อุทานอย่างทีแรก) ว่า
"อ้อ ธรรมะเป็นอย่างนี้เอง เมื่อจิตไม่ใช่ตัวเราเสียแล้ว สิ่งใดสิ่งหนึ่งก็ไม่เป็นตัวเราอีกต่อไป"
เมื่อผมไปกราบหลวงปู่ดูลย์ และเล่าเรื่องนี้ให้ท่านทราบ พอเล่าว่าสติละเอียดเหมือนเคลิ้มๆ ไป ท่านก็อธิบายว่า จิตผ่านฌานทั้ง ๘ ผมได้แย้งท่านตามประสาคนโง่ว่า ผมไม่ได้หัดเข้าฌาน และไม่ได้ตั้งใจจะเข้าฌานด้วย
หลวงปู่ดูลย์อธิบายว่า ถ้าตั้งใจก็ไม่ใช่ฌาน และขณะที่จิตผ่านฌานอย่างรวดเร็วนั้น จิตจะไม่มานั่งนับว่ากำลังผ่านฌานอะไรอยู่ การดูจิตนั้นจะได้ฌานโดยอัตโนมัติ (หลวงปู่ไม่ชอบสอนเรื่องฌาน เพราะเห็นเป็นของธรรมดาที่จะต้องผ่านไปเอง หากสอนเรื่องนี้ ศิษย์จะมัวสนใจฌาน ทำให้เสียเวลาปฏิบัติ)
พอผมเล่าว่าจิตอุทานได้เอง หลวงปู่ก็บอกอาการต่างๆ ที่ผมยังเล่าไม่ถึง ออกมาตรงกับที่ผมผ่านมาแล้วทุกอย่าง แล้วท่านก็สรุปยิ้มๆ ว่า จิตยิ้มแล้ว พึ่งตัวเองได้แล้ว ถึงพระรัตนตรัยแล้ว ต่อไปนี้ไม่จำเป็นต้องมาหาอาตมาอีก
แล้วท่านแสดงธรรมเรื่อง จิตเหนือเหตุ หรือ อเหตุกจิต ให้ฟัง มีใจความว่า
อเหตุกจิต มี ๓ ประการคือ
๑. ปัญจทวารวัชนจิต ได้แก่ความไหวตัวของจิตขึ้นรับรู้อารมณ์ทางตา หู จมูก ลิ้น และกาย
๒. มโนทวารวัชนจิต ได้แก่ความไหวตัวของใจขึ้นรับรู้อารมณ์ทางใจ
๓. หสิตุปปาท หรือจิตยิ้ม เป็นการแสดงความเบิกบานของจิตที่ปราศจากอารมณ์ปรุงแต่ง เพื่อแสดงความมีอยู่ของจิตซึ่งไม่มีตัวตนให้ปรากฏออกมาสู่ความรับรู้
อเหตุกจิต ๒ อย่างแรกเป็นของสาธารณะ มีทั้งในปุถุชนและพระอริยเจ้า แต่จิตยิ้มเป็นโลกุตรจิต เป็นจิตสูงสุด เกิดขึ้นเพียง ๓ - ๔ ครั้งก็ถึงที่สุดแห่งทุกข์
หลังจากนั้นผมก็ปฏิบัติด้วยการดูจิตเรื่อยมา และเห็นว่าเวลามีการกระทบทางตา หู จมูก ลิ้น และกาย จะมีคลื่นวิ่งเข้าสู่ใจ หรือบางครั้งก็มีธรรมารมณ์เป็นคลื่นเข้าสู่ใจ
หากขณะนั้นขาดสติ จิตจะส่งกระแสไปยึดอารมณ์นั้น ตอนนั้นจิตยังไม่ละเอียดพอ ผมเข้าใจว่าจิตวิ่งไปยึดอารมณ์แล้วขยับๆ ตัวเสวยอารมณ์อยู่ จึงไปเรียนให้หลวงปู่ดูลย์ทราบ
ท่านกลับตอบว่า
“จิตจริงแท้ไม่มีการไป ไม่มีการมา”
ผมได้มาดูจิตต่ออีกสักครึ่งปีต่อมา วันหนึ่งจิตผ่านเข้าสู่อัปปนาสมาธิ และเดินวิปัสสนาคือมีสิ่งให้รู้ผ่านมาสู่จิต แต่จิตไม่มีความสำคัญมั่นหมายว่าคือสิ่งใด จากนั้นเกิดอาการแยกความว่างขึ้นแบบเดียวกับเมื่อจิตยิ้ม คราวนี้จิตพูดขึ้นเบาๆ ว่า จิตไม่ใช่เรา แต่ต่อจากนั้นแทนที่จิตจะยิ้ม จิตกลับพลิกไปสู่ภูมิของสมถะ ปรากฏนิมิตเป็นเหมือนดวงอาทิตย์โผล่ผุดขึ้นจากสิ่งห่อหุ้ม แต่โผล่ไม่หมดดวง เป็นสิ่งแสดงให้รู้ว่ายังไม่ถึงที่สุดของการปฏิบัติ
ปรากฏการณ์นี้เป็นเครื่องพิสูจน์ว่า การดำเนินของจิตในขั้นวิปัสสนานั้น หากสติอ่อนลง จิตจะวกกลับมาสู่ภูมิของสมถะ และวิปัสสนูปกิเลสจะแทรกเข้ามาตรงนี้ถ้าไม่กำหนดรู้ให้ชัดเจนว่า วิปัสสนาพลิกกลับเป็นสมถะไปแล้ว นักปฏิบัติจึงต้องระวังให้มาก โดยเฉพาะผู้ที่ยังไม่เคยพบกับจิตยิ้ม (สำนวนของหลวงปู่ดูลย์) หรือใจ (สำนวนของหลวงปู่เทสก์) หรือจิตรวมใหญ่ (สำนวนของท่านอาจารย์สิงห์)
เมื่อผมนำเรื่องนี้ไปรายงานหลวงปู่ดูลย์ ท่านก็ว่า ดีแล้ว ให้ดูจิตต่อไป ผมก็ทำเรื่อยๆ มา ส่วนมากเป็นการดูจิตในชีวิตประจำวัน ไม่ค่อยได้นั่งสมาธิแบบเป็นพิธีการ ต่อมาอีก ๑ เดือน วันหนึ่งขณะนั่งสนทนาธรรมอยู่กับน้องชาย จิตเกิดรวมวูบลงไป มีการแยกความว่างซึ่งมีขันธ์ละเอียด (วิญญาณขันธ์) ออกอีกทีหนึ่ง แล้วจิตก็หัวเราะออกมาเองโดยปราศจากอารมณ์ (ร่างกายไม่ได้หัวเราะ) มันเป็นการหัวเราะเยาะกิเลสว่า มันผูกมัดมานาน ต่อๆ ไป จิตจะเป็นอิสระยิ่งขึ้นไปเรื่อยๆ
เหตุการณ์นี้ทำให้ได้ความรู้ชัดว่า ทำไมเมื่อครั้งพุทธกาล จึงมีผู้รู้ธรรมในขณะฟังธรรมเกิดขึ้นได้เป็นจำนวนมาก
ผมนำเรื่องนี้ไปรายงานหลวงปู่ดูลย์ คราวนี้ท่านไม่ได้สอนอะไรอีก เพียงแต่ให้กำลังใจว่า ให้พยายามทำให้จบเสียแต่ในชาตินี้ หลังจากนั้นไม่นาน ท่านก็มรณภาพ
หลวงพ่อพุธ ฐานิโย ซึ่งเป็นครูบาอาจารย์อีกรูปหนึ่ง เคยสั่งให้ผมเขียนเรื่องการปฏิบัติของตนเองออกเผยแพร่ เพราะอาจมีผู้ที่มีจริตคล้ายๆ กันได้ประโยชน์บ้าง ผมจึงเขียนเรื่องนี้ขึ้น เพื่อสนองคำสั่งครูบาอาจารย์ และเพื่อรำลึกถึงหลวงปู่ดูลย์ อตุโล ผู้เปี่ยมด้วยอนุสาสนีปาฏิหารย์ รวมทั้งหวังว่าจะเป็นประโยชน์สักเล็กน้อย สำหรับท่านที่กำลังแสวงหาหนทางปฏิบัติอยู่
แนวทางปฏิบัติธรรม ของพระราชวุฒาจารย์ (หลวงปู่ดูลย์ อตุโล)
(เรียบเรียงโดย : อุบาสกนิรนาม)
๑. คำปรารภ
หลวงปู่ดูลย์ อตุโล เป็นศิษย์รุ่นแรกสุดของท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถร ภายหลังจากท่านออกเดินธุดงค์จนสิ้นธุระในส่วนขององค์ท่านแล้ว ท่านได้ไปประจำอยู่ที่วัดบูรพาราม อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ ตลอดมาจนถึง วันมรณภาพ หลวงปู่เป็นผู้เ
20 สิงหาคม 2556 เวลา 21:02 น.