วันเสาร์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2560

ความสุขเป็นสิ่งหาได้ในที่ทุกแห่งและทุกฐานะ เว้นแต่บุคคลจะไม่รู้จักมองหาเ...จากโกสัมพี ราชธานีแห่งแคว้นวังสะ พระพุทธอนุชาผู้ประเสริฐ ได้เดินทางเลียบลำน้ำยมุนาขึ้นไปตอนบนสู่แคว้นกุรุ ซึ่งมีนครอินทปัตถ์เป็นเมืองหลวง และจาริกไปในแคว้นต่างๆ อีกหลายแคว้น จนกระทั่งหวนกลับมาสู่ลุ่มแม่น้ำคงคา วนเวียนอยู่ ณ ลุ่มแม่น้ำคงคาตอนบนแห่งแคว้นปัญจาละ ซึ่งมีนครหัสตินาปุระหรือหัสดินบุรีเป็นราชธานี อันว่าแคว้นปัญจาละนี้ มีแคว้นโกศลอยู่ทางทิศตะวันออก มีแคว้นกุรุอยู่ทางทิศตะวันตก มีหิมาลัยบรรพตอยู่ทางทิศเหนือ และแม่น้ำคงคาอยู่ทางทิศใต้ เป็นแคว้นที่มั่งคั่งพรั่งพร้อมด้วยทรัพยากรธรรมชาติมากหลาย มีทุ่งสาลีเกษตรเหลืองอร่าม มองดูสุดสายตาประดุจปูด้วยหนังโคสีแดง มีดงมะพร้าวเรียงรายยาวเหยียด บางแห่งพื้นที่ประดับด้วยต้นชงโคดอกสีแสดเข้มบานสะพรั่งเรืองอุไรเย็นตา ทัศนาการไปทางทิศเหนือจะเห็นทิวเขาหิมาลัยสูงตระหง่านเสียดฟ้า บางยอดถูกปกคลุมด้วยหิมะตลอดเวลา หิมาลัยบรรพตแดนเกิดแห่งนิยายและเป็นที่รื่นรมย์อย่างยิ่งของผู้สละโลกีย์ มุ่งแสวงหาสันติวรบท มองไปทางด้านใต้ จะเห็นแม่น้ำคงคาไหลเอื่อยเป็นเส้นเลือดใหญ่ของชมพูทวีป เป็นจุดรวมใจของชาวภารตะ แทบจะทุกคนมอบความไว้วางใจไว้ให้พระแม่คงคาเป็นผู้กำชีวิตของตน ทั้งด้านชำระมลทินภายใน และด้านเกษตรกรรม ณ ริมฝั่งแม่น้ำคงคาตอนเหนือ มีชงโคขึ้นระดะ แม้ไม่สู้จะเป็นระเบียบนัก แต่ดอกอันงามเย็นตาของมันก่อให้เกิดความเย็นใจเมื่อได้เห็น เป็นสถานที่ร่มรื่นสงบไม่ใช่ทางสัญจร จึงเหมาะอย่างยิ่งสำหรับสมณะผู้แสวงหาวิเวก วันนั้นพระพุทธอนุชา จาริกเพียงผู้เดียวด้วยจุดประสงค์ คือ แสวงหาที่วิเวกเพื่อพักผ่อน เมื่อผ่านมาเห็นชงโคมีดอกงามบานสะพรั่ง และดูบริเวณเป็นที่รื่นรมย์จึงแวะเข้าพักผ่อนใต้ต้นชงโค ซึ่งมีใบหนาเงาครึ้มต้นหนึ่ง ตรงเบื้องหน้าของท่านมีสระซึ่งเกิดเองตามธรรมชาติ (ชาตสระ) มีปทุมชูดอกสลอน น้ำใสเย็นและจืดสนิทดี ท่านได้ดื่มและล้างหน้าเพื่อระงับความกระหายแล้วนั่งพักอยู่ ณ ที่นั้น จนตะวันรอนแดดอ่อนลง ส่องลอดใบไม้ลงมาเป็นรูปต่างๆ งามน่าดู เสียงนกเล็กๆ บนกิ่งชงโคร้องทักทายกันอย่างเพลิดเพลิน แสดงถึงจิตใจที่ชื่นบาน มันมีความสุขตามประสาสัตว์ ความสุขเป็นสิ่งหาได้ในที่ทุกแห่งและทุกฐานะ เว้นแต่บุคคลจะไม่รู้จักมองหาเท่านั้น พระพุทธองค์เคยตรัสไว้ว่าบุคคลผู้มีปัญญา สามารถจะหาความสุขได้แม้ในสถานะที่น่าทุกข์ ตรงกันข้ามกับคนเขลา แม้จะอยู่ในฐานะที่น่าจะสุขก็มีแต่ความทุกข์ร้อนเศร้าหมองเสียร่ำไป ถ้าเราฝึกใจให้อดได้ ทนได้อยู่เสมอๆ เราจะมีความสุขสบายขึ้นอีกมาก กิเลสซ่อนอยู่ในจิตใจเรา เราไม่ประมาทนะ เราก็คอยรู้เท่าทันจิตใจของเราต่อไป เราอย่าประมาท เราเดินอยู่บนขอบเหวแท้ๆเลย เหมือนเราไต่เชือกไต่อะไรอยู่ พลาดพลั่งไม่ได้นะ ต้องสู้นะ ประมาทไม่ได้เลยนะสังสารวัฎเนี่ย พลาดแวบเดียวเนี่ยไปยาวมากเลยเหมือนเราไต่­ภูเขา พลัดตกเหวลงมานะไม่ใช่ง่ายที่จะขึ้นไปทุลั­กทุเลนะ ต้องเข้มแข็งนะสู้กับกิเลสถอยไม่ได้แต่สู้­ต้องมีสติปัญญาเหมือนเราไต่เขาต้องมีสติปั­ญญาไม่ใช่ไต่โง่ๆ ขึ้นไปนะ ตอนนี้เหนื่อยแล้วต้องหยุดพักหาชะง่อนหิน พักก่อน มีเรี่ยวมีแรงค่อยไต่ใหม่เราภาวนาไปแล้วช่­วงนี้เหน็ดเหนื่อยแล้วก็ให้ทำสมถะ ทำความสงบสงบแล้วจิตใจมีเรี่ยวแรงแล้วมาเจ­ริญปัญญารู้กายรู้ใจอีกกระดึ๊บๆๆ ไปเรื่อยไม่ท้อถอยนะจะยากลำบากแค่ไหนก็ถอย­ไม่ได้นะเป็นโอกาสดีมากๆของพวกเราแล้วที่ไ­ด้เจอศาสนาพุทธนะมีโอกาสแล้วต้องทำ ทิ้งโอกาสผ่านไปแล้วก็คือหมดโอกาสหนทางยัง­มีอยู่ ผู้เดินทางไม่ขาดสาย ให้ลงมือเดินทางเสียตั้งแต่วันนี้ก่อนที่เ­ส้นทางนี้ หรือรอยเท้าของท่านเหล่านี้จะหายไป ถ้าวันใดปัญญาแก่รอบ เห็นความจริงว่าร่างกายนี้เป็นทุกข์ล้วนๆ จิตจะหมดความยึดถือในตัวกายนี้ ตาหูจมูกลิ้นกายนี้ไม่ยึดถือแล้ว เนี่ยก็เลยจะไม่ยึดถือในรูปในเสียงในกลิ่นในรสในโผฏฐัพพะ คือสิ่งที่สัมผัสทางกายด้วยเมื่อไม่ยึดในรูปในเสียงในกลิ่นในรสในโผฏฐัพพะ ไม่ยึดในตาหูจมูกลิ้นกาย ความยินดีในรูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะ ความยินดีในตาหูจมูกลิ้นกาย ก็ไม่มี ความยินร้ายในรูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะ ตาหูจมูกลิ้นกาย ก็ไม่มี จิตไม่ยินดีไม่ยินร้าย จิตพ้นจากกามและปฏิฆะโดยอัตโนมัติ งั้นที่เป็นพระอนาคามีกันนะ เพราะท่านแจ้งแล้ว หมดความยึดถือในตัวรูปธรรม ในตัวกายนี้ ถัดจากนั้นจะไปยึดอยู่ที่จิตอันเดียวแล้ว ต้องภาวนากัน นิพพานอยู่ฟากตาย ต้องสู้ตาย งั้นไม่มีทางเลย เห็นว่าจิตเป็นตัวทุกข์เนี่ย ยิ่งภาวนามากๆนะ จิตยิ่งเป็นตัวสุข ยิ่งสุขโดดเด่นเด่นดวงอยู่ทั้งวันทั้งคืน มีแต่ความสุข ต้องสติปัญญาแก่รอบจริงๆ ถึงจะเห็นเลย จิตนี้เอาเป็นที่พี่งที่อาศัยไม่ได้ มีแต่ทุกข์ กายนี้ก็มีแต่ทุกข์ จิตนี้ก็มีแต่ทุกข์ เพียงแต่บางทีก็ทุกข์มาก บางทีก็ทุกข์น้อย นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรเกิดขึ้น นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรตั้งอยู่ นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรดับไป มีแต่ทุกข์มากกับทุกข์น้อย ถ้าสติปัญญาไม่พอ เวลาทุกข์มากก็ว่าทุกข์ เวลาทุกข์น้อยก็ว่าสุข ทุกข์กับสุขเลยเป็นของสัมพัทธ์ สิ่งสัมพัทธ์ เปรียบเทียบเอา ถ้าตัวสภาวะแท้ๆ มันก็คือตัวทุกข์ ทุกข์มากกับทุกข์น้อย ทีนี้ทำยังไงเราจะเห็นความจริงของธาตุขันธ์อายตนะ รูปนามกายใจได้ เรียกมีหลายชื่อ เป็นธาตุเป็นขันธ์ เป็นอายตนะ เป็นรูปเป็นนาม เป็นกายเป็นใจ จริงๆย่อลงมาก็คือรูปธรรม กับนามธรรมทั้งหมดเลย ทำอย่างไรเราจึงจะเห็นความจริงอันนี้ได้ พระพุทธเจ้าสอนวิธีที่จะเห็นความจริง ชื่อว่าวิปัสสนากรรมฐาน วิปัสสนากรรมฐาน ปัสสนะ แปลว่าการเห็น วิ คือเห็นแจ้งเห็นจริงเห็นถูกต้อง งั้นเราต้องมาเรียน ถ้าเราอยากเข้าสู่ความพ้นทุกข์นะ จนจิตหมดความยึดถือในรูปนาม ไม่หยิบฉวยเอากองทุกข์ขึ้นมา ตัวกายตัวใจเรานี่แหละ รูปนามนี่แหละ ท่านจัดอยู่ในกองทุกข์ ท่านสรุปเลยว่า สังขิตเตนะ ปัญจุปาทานักขันธา ทุกขา โดยสรุป ตัวขันธ์ ๕ นั่นแหละตัวทุกข์ ถ้าเราเห็นตรงนี้นะ ความอยากจะไม่มี เห็นทุกข์เมื่อไหร่ก็ละสมุทัยเมื่อนั้น อย่างถ้าเราเห็นว่ากายนี้ใจนี้เป็นทุกข์ มีแต่ทุกข์อย่างเดียวเลย ทุกข์มากกับทุกข์น้อยเท่านั้น ความอยากจะให้กายเป็นสุขไม่เกิดขึ้น ความอยากจะให้ใจเป็นสุขไม่เกิดขึ้น เพราะรู้ว่ามันเป็นไปไม่ได้ เป็นความอยากที่ไร้เดียงสา เพราะมันเป็นตัวทุกข์ จะไปอยากให้มันสุขได้ยังไง ความอยากจะให้กายให้ใจพ้นทุกข์ก็ไม่มี เพราะมันเป็นตัวทุกข์มันจะพ้นตัวของมันได้อย่างไร งั้นถ้ารู้ทุกข์แจ่มแจ้งนะ ความอยากจะไม่มี เป็นอันละสมุทัยเด็ดขาดเลย ทันทีที่รู้ทุกข์แจ่มแจ้งก็ละสมุทัยเด็ดขาดในขณะนั้นเลย ทันทีที่รู้สมุทัยเด็ดขาด ก็แจ้งพระนิพพานในขณะนั้นเลย ทันทีที่แจ้งพระนิพพานในขณะนั้นนะ อริยมรรค โดยเฉพาะอรหัตมรรคก็จะเกิดขึ้นในขณะนั้นเลย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น