หากเรามองจาก ท้องฟ้า เราจะเห็น สิ่งที่เคลื่อนไหว ภายใต้ ของความคิดเรา ถ้าเรามองขึ้นไปจากใจเรา เราจะเห็น ทุกชีวิต กำลังดิ้นรน เพื่อ แสวงหา อาหาร เพื่อ หล่อเลี้ยง ชีวิตของตนเอง และ สิ่งที่ตนรัก และเป็นที่รัก ของตนเอง และแล้ว ทุกชีวิต ก็ พบว่า ความกระหายใคร่ ได้ ใคร่มี ใคร่เป็น หรือ ความทะยานอยาก นี่เอง ที่เป็นสาเหตุ ให้มนุษย์ ต้องเดินทางอยู่ ตลอดชีวิต ลองหยุดเดินทางด้วยยานพาหนะ แล้วหันมาเดินทาง ด้วยจิตวิญญาณ แล้วการ เดินทางไกล จะใกล้เข้าทุกขณะจิต หายใจเข้า ตามรู้ หายใจออก ตามรู้
วันศุกร์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2560
นิพพานชาตินี้ท่านอาจารย์แนบ มหานีรานนท์ได้ถือกำเนิดเป็นบุตรีของพระยาสัตยานุกูล อดีตเจ้าเมืองกาญจนบุรี และคุณหญิงแปลก นางพระกำนัลในรัชกาลที่ 5 ท่านเป็นศิษย์เอกของ พระอาจารย์ ภัททันต วิลาสะ ที่ได้รับการถ่ายทอดธุระ 2 อย่างในพุทธศาสนาอย่างดีเยี่ยม และเป็นผู้ที่ทำให้วงการปริยัติศาสนาและปฏิบัติในเมืองไทยตื่นตัว ท่านเป็นคนแรกที่นำพระอภิธรรมมาสอนในเมืองไทย ชีวิต และ งาน ของ อาจารย์ แนบ มหานีรานนท์ 31 ม.ค. 2440 ท่านอาจารย์แนบ มหานีรานนท์ได้ถือกำเนิดเป็นบุตรีของพระยาสัตยานุกูล อดีตเจ้าเมืองกาญจนบุรี และคุณหญิงแปลก นางพระกำนัลในรัชกาลที่ 5 พุทธศักราช 2474 อายุประมาณ 34 ได้เกิดมีความรู้สึกจากผลการปฏิบัติของตนว่า วิธีที่จะละกิเลสให้ลดน้อยถอยลงไปสู่ทางพระนิพพานได้นั้น น่าจะต้องรู้อยู่ที่ อารมณ์ปัจจุบัน เท่านั้น แต่การทดลองปฏิบัติขณะนั้นได้แต่ทางตาอย่างเดียว จึงเที่ยวแสวงหาพระอาจารย์ต่างๆ ที่จะบอกทางที่เป็นปัจจุบันให้เข้าใจได้ เที่ยวแสวงหาอยู่เป็นเวลานาน ก็ยังไม่พบเหตุผลตรงกับที่เกิดความรู้สึกกับตนเอง ดังกล่าวแล้วได้ พุทธศักราช 2475 ได้พบกับพระอาจารย์วิลาสะ อดีต พระอธิการวัดปรก ตรอกจันทร์ ยานานาวา ได้แนะนำว่า การเจริญธรรม ต้องเจริญโดยกำหนดปัจจุบันอารมณ์ได้ตลอดทั้งหมดทุกทวาร ทางตา หู จมูก ลิ้น กายและใจ จึงได้เหตุผลตรงกัน และได้มอบตัวเป็นศิษย์ท่านทันที ขั้นแรก พระอาจารย์สอนให้ทำความเข้าใจใน รูปนาม อันเป็นอารมณ์ปัจจุบัน ตลอดทั่วทั้ง 6 ทวารดังกล่าวแล้ว เรียนอารมณ์รูปนามอยู่ 7 วัน จึงได้เริ่มเข้าปฏิบัติโดยพระอาจารย์วิลาสะ เป็นผู้กำกับตรวจสอบ ประมาณปีเศษ ประสบผลสำเร็จ ดีกว่าบรรดาศิษย์ทั้งปวง จึงได้เรียนพระอภิธรรมจากพระอาจารย์ ฯ ต่อไปอีกหลายปี โดยมีล่ามภาษาพม่าคอยช่วยเหลืออยู่ตลอดมา นับว่าได้รับคำสอนจากพระอาจารย์รูปนี้อย่างดีเลิศทั้งหมด จนพระอาจารย์ขอร้องให้ทำหน้าที่เป็นอาจารย์วิปัสสนา และสอนพระอภิธรรมแทนท่าน พุทธศักราช 2487 ได้จัดตั้งสำนักปฏิบัติวิปัสสนา ที่วัดระฆังโฆสิตาราม . วันสามพระยา วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ สำนักนาฬิกาวัน อยุธยา , วัดป่าธรรมโสภณ ลพบุรี ได้เดินทางไปอบรมสอนวิปัสสนา และสนับสนุนการตั้งสำนักปฏิบัติวิปัสสนาในจังหวัดต่างๆ รวมถึง 41 จังหวัด และยังเดินทางไปสอนวิปัสสนา ที่เวียงจันทร์ ประเทศลาว พุทธศักราช 2496 เปิดการศึกษาพระอภิธรรม และเป็นอาจารย์สอนประจำ ที่พุทธสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นเวลา 10 ปี ได้บันทึกหัวข้อพระอภิธรรมขึ้นประกอบการสอน ที่พุทธสมาคม ไว้ตั้งแต่ปริจเฉทที่ 1 – 9 รวม 14 เล่ม และพิมพ์หนังสือ เกี่ยวกับการปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานจากคำสอน และการแสดงปาฐกถาธรรมอีกมากมายหลายเล่ม นับเป็นหนังสือคำสอนพระอภิธรรมและวิปัสสนากัมมัฏฐานเล่มแรกของประเทศไทย ที่ยังไม่เคยมีใครจัดทำมาก่อน พุทธศักราช 2506 ได้จัดตั้งสมาคมศูนย์ค้นคว้าทางพระพุทธศาสนา และสมาคมสังคมสงเคราะห์ทางจิต ที่วัดสระเกศราชวรวิหาร และดำรงตำแหน่งนายกสมาคมทั้งสองแห่ง จนถึงมรณะ ระหว่างนั้นท่านยังคงเดินทางไปอบรมสั่งสอนที่สำนักวัดระฆัง วัดสระเกศ วัดพระเชตุพน สำนักปฏิบัติวิปัสสนาอ้อมน้อย, สำนักปฏิบัติธรรมบุณยกัญจนาราม พัทยา ชลบุรี, สำนักนาฬิกาวัน, สำนักวิวัฏฏะ , สำนักวัดสบสวรรค์ ที่จังหวัดอยุธยา, วัดไทรยืด, วัดโพธิ์เอน อ.วิเศษไชยชาญ จ.อ่างทอง , สำนักที่นครสวรรค์, วัดแจ้งนอก โคราช, วัดป่าธรรมโสภณ ลพบุรี, วัดปราสาททอง สุพรรณบุรี, และยังทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาคณะผู้แปลคำบาลี ที่จารึกในใบลานด้วยอักษรขอมได้เป็นอย่างดีเยี่ยม ถึงแม้ว่าขณะนั้นสุขภาพจะทรุดโทรมลงมากแล้วก็ตาม
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น