วันพฤหัสบดีที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2560

เรามีจิตที่รู้เนื้อรู้ตัวอยู่ จิตเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานอยู่ วิธี...นิพพานไม่เคยหายไปไหน นิพพานอยู่ต่อหน้าต่อตาเรา เมื่อไหร่เราเห็นนิพพานครั้งแรก เราก็จะได้เป็นพระโสดาบัน อย่างตอนนี้เราอยู่กับนิพพานนะ แต่เราไม่เห็น เพราะอะไร เพราะใจเราไม่มีคุณภาพพอ นิพพานเป็นสภาวะที่สิ้นกิเลสตัณหา เรียกว่า “วิราคะ” ใจของคนซึ่งยังมีกิเลสตัณหา มันก็ไม่เห็นนิพพาน นิพพานเป็นสภาวะที่สิ้นความปรุงแต่ง เรียกว่า “วิสังขาร” ใจของคนที่ยังปรุงแต่ง ก็ไม่เห็นนิพพาน พวกเราปรุงแต่งทั้งวัน รู้สึกมั้ย ใจเราฟุ้งซ่านทั้งวันนะ เดี่ยวปรุงดี เดี๋ยวปรุงชั่ว เดี๋ยวปรุงว่างๆขึ้นมา สารพัดจะปรุง นิพพานพ้นจากความปรุงแต่งไป แต่ใจที่ปรุงแต่งก็จะไม่เห็นนิพพาน นิพพานนั้นพ้นจากรูป จากนาม จากกาย จากใจ ไม่ยึดถือกาย ไม่ยึดถือใจเมื่อไหร่ก็จะเห็นนิพพาน ถ้ายังยึดถือกาย ยึดถือใจอยู่ ก็ไม่เห็นนิพพานนะ งั้นถ้าเราค่อยๆพัฒนาใจของเรา จนมันหมดกิเลสตัณหา หมดความดิ้นรนปรุงแต่ง หมดความยึดถือในรูปในนามในกายในใจ ถึงไม่อยากจะเห็นนิพพานก็จะเห็น เพราะนิพพานนะ อยากเห็นก็ไม่เห็นหรอก แต่หมดกิเลสเมื่อไหร่ หมดความปรุงแต่งเมื่อไหร่ หมดความยึดถือในกายในใจเมื่อไหร่ มันเห็นของมันเอง แสดงน้อยลง ตอบกลับ 6 Sompong Tungmepol Sompong Tungmepol8 เดือนที่ผ่านมา หลักของวิปัสสนากรรมฐานเป็นสิ่งที่ชาวพุทธทุกคนควรอย่างยิ่งที่จะเรียน ถ้ามีสติปัญญาพอนะ ต้องเรียน ถ้าเราไม่เรียนวิปัสสนากรรมฐาน เรียกว่าเราไม่ได้รับประโยชน์ที่แท้จริงของพระพุทธศาสนาเลย วิปัสสนากรรมฐานคือวิชา วิชาๆหนึ่ง ที่สอนให้เราเรียนรู้ความจริงของชีวิต ไปเรียนรู้ความจริงของรูปธรรมนามธรรม ของกายของใจ ของธาตุของขันธ์ ที่ประกอบกันขึ้นเป็นตัวเรา เป็นศาสตร์สาขาหนึ่งเท่านั้นแหละ อย่าไปคิดว่าเป็นอะไรที่น่ากลัวลึกลับเหลือเกิน เราเป็นนักศึกษาเราก็วางใจแค่ว่าวิปัสสนากรรมฐานก็เป็นวิชาๆหนึ่ง เป็นศาสตร์สาขาหนึ่งเท่านั้นเอง ไม่ยากเกินไปที่จะเรียนนะ หัวใจแท้ๆเลยของวิปัสสนากรรมฐานนี่นะ คือทำยังไงเราจะเห็นความจริงของขันธ์ ๕ ของธาตุของขันธ์ ของอายตนะ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ รวมกันเป็นตัวเรา ธาตุต่างๆรวมกันก็เป็นตัวเรา ขันธ์ต่างๆรวมกันก็เป็นตัวเรา แล้วแต่จะมอง จะมองในมุมจะแยกสิ่งที่เรียกว่าตัวเราออกในมุมของขันธ์ ๕ ก็ได้ จะแยกสิ่งที่เรียกว่าตัวเรา ออกในมุมของอายตนะ ๖ ก็ได้ จะแยกสิ่งที่เรียกว่าตัวเรา ออกเป็นธาตุ ๑๘ ธาตุก็ได้ ไม่ใช่ธาตุทางเคมี ธาตุเป็นสภาวะที่มันทรงตัวอยู่ได้ แยกออกไปแล้วมันจะเห็นว่าตัวเราไม่มี ความจริงเลยก็คือตัวเราไม่มีหรอก สิ่งที่เราคิดว่าเป็นตัวเรา เป็นตัวเรา นี่เป็นความคิดของเราเอง เพราะฉะนั้นมนุษย์ทั้งหลายเนี่ย ไม่ได้ถูกใครหลอกนะ ถูกความคิดของตัวเองหลอก ความคิดหลอกเพราะว่าเราไม่รู้ความจริง เราไม่เคยเห็นความจริง เราไม่รู้วิธีที่จะรู้ความจริง วิธีที่จะรู้ความจริงนั่นแหละเรียกว่าวิปัสสนากรรมฐาน พูดง่ายๆเลยนะ จับหลักให้แม่นๆนะ หลวงพ่อพยายามกลั่นกรองออกมาเพื่อเป็นภาษาที่มนุษย์สมัยนี้จะรู้เรื่อง วิธีที่จะทำวิปัสสนากรรมฐานนะ ให้มีสติ ฟังให้ดีนะ ให้มีสติ รู้ รู้อะไร รู้รูปรู้นาม รู้กายรู้ใจ ของตัวเอง ให้รู้นะไม่ได้ให้คิด ให้รู้นะไม่ใช่ให้เข้าไปแทรกแซง มันเป็นอย่างไร รู้ว่าเป็นอย่างงั้น งั้นหลักของวิปัสสนาจริงๆ ก็คือการมีสติ รู้รูปนาม ตามความเป็นจริงนั่นเอง ความจริงของรูปนาม ไม่มีอะไรเกินคำว่าไตรลักษณ์ ความจริงมีแต่เรื่องอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา รูปเที่ยงหรือรูปไม่เที่ยง? รูปไม่เที่ยง เวทนาเที่ยงหรือไม่เที่ยง? เวทนาก็ไม่เที่ยง สัญญา สังขาร วิญญาณ ไม่เที่ยง เห็นไหม รูปเป็นสุขหรือรูปเป็นทุกข์? ดูให้ดีนะ ดูไม่ดีก็รู้สึกเป็นสุขบ้างเป็นทุกข์บ้าง ถ้าเมื่อไหร่สติปัญญาแก่รอบจริงๆ จะเห็นรูปนี้เป็นทุกข์ เพียงแต่ทุกข์มากกับทุกข์น้อย ช่วงไหนทุกข์น้อย คนสติปัญญาไม่พอก็ว่าเป็นสุข เวทนานั้นน่ะเป็นทุกข์หรือเป็นสุข? มีสุขเวทนาด้วยนะ สุขเวทนาก็เป็นทุกข์ คือตัวมันเองน่ะถูกบีบคั้นตลอดเวลา ในที่สุดมันก็ทนอยู่ไม่ได้ มันทนอยู่ไม่ได้ตลอดหรอกความสุข งั้นเราไม่ภาวนาเพื่อหาความสุข เพราะอะไร เพราะความสุขไม่เที่ยง ไปหาของไม่เที่ยงก็ได้แต่ของไม่เที่ยง สุขประเดี๋ยวประด๋าวก็ทุกข์อีกแล้ว หลวงพ่อตั้งแต่เด็ก หัดทำสมาธิ ทำไปจิตใจมีความสุข มันก็อยู่ชั่วคราวเดี๋ยวมันก็ไม่สุขอีกแล้ว จิตใจมีความสงบ มันก็อยู่ชั่วคราวเดี๋ยวมันก็ไม่สงบอีกแล้ว งั้นเราจะไปมุ่งหาของที่ชั่วคราวนี่มาเป็นที่พึ่งที่อาศัย ยังเรียกว่าประมาทอยู่ สิ่งที่เป็นที่พึ่งที่อาศัยของเราได้จริง ต้องเที่ยง ต้องสุข ต้องมีความสุข ต้องเป็นของที่เที่ยงด้วย พึ่งพาได้จริงๆ อะไรที่พึ่งพาได้จริงๆ? คือธรรมะนั่นเอง ธรรมนะนี่คงทนถาวร พระพุทธเจ้าหมดไปกี่องค์ๆ ธรรมะก็ยังเป็นธรรมะอย่างเดิมนั่นเอง สิ่งนี้แหละจะเป็นที่พึ่งที่อาศัยของเราได้จริงๆ ธรรมะก็สอนความจริงเรา งั้นวิธีที่จะให้รู้ความจริงของชีวิตมีหลักง่ายๆ ตอนนี้ท่องไว้ก่อน ให้มีสติ รู้รูปนาม ถ้ารูปนามฟังยากก็ลดระดับลงมานิดนึง ให้มีสติ รู้กายรู้ใจ ตามความเป็นจริง ความจริงของกายของใจคือไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตานะ ไม่เที่ยงหมายถึงว่า ของที่เคยมีแล้ววันหนึ่งก็ไม่มี ของที่เคยไม่มี วันหนึ่งก็เกิดมีขึ้นมา นี้เรียกว่าไม่เที่ยง คำว่าเป็นทุกข์ หมายถึงมันถูกบีบคั้น มันทนอยู่ในสภาวะเดิมตลอดไปไม่ได้ คำว่าอนัตตาหมายถึงว่า ไม่อยู่ในอำนาจบังคับ ไม่มีสิ่งที่เรียกว่าตัวตนถาวร มีความรู้สึกเป็นตัวเป็นตน มีเป็นแว๊บๆตอนที่หลงคิดเท่านั้นเอง เมื่อไรไม่หลงคิดตัวตนไม่มีหรอก ทุกสิ่งเกิดแล้วดับ เพราะงั้นไม่มีอะไรที่เป็นตัวตนถาวร กระทั่งจิตเองเกิดแล้วก็ดับ ไม่มีอะไรเป็นตัวตนถาวร นี่คือความจริงของรูปของนาม ของกายของใจ คือไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ให้มีสติรู้กายรู้ใจตามความเป็นจริง เราจะรู้กายรู้ใจได้ ต้องรู้ด้วยสติ เราจะเห็นความจริงของกายของใจได้ ต้องเห็นด้วยปัญญา เครื่องมือที่ทำให้เราทำวิปัสสนา คือสติกับปัญญา แต่ปัญญาโดยตัวของมันเอง อยู่ๆไม่เกิดขึ้นมา ปัญญาเกิดจากอะไร? ปัญญามีสมาธิเป็นเหตุใกล้ให้เกิด เพราะงั้นเครื่องมือจริงๆที่เราต้องพัฒนาขึ้นมานะ สติกับสมาธินะ ถ้ามีสติกับสมาธิแล้วปัญญาจะเกิด พอสติกับสมาธิปัญญาแก่รอบสมบูรณ์ ได้สัดได้ส่วนกัน อริยมรรคก็จะเกิดขึ้น อริยมรรคมีจริงๆ ไม่ใช่กันพูดลอยๆ ไม่ใช่อยู่ๆก็นึกว่าฉันบรรลุมรรคผลนิพพานแล้ว อริยมรรคมีกระบวนการ มีกระบวนการเกิดขึ้นนะ มีกระบวนการที่เกิดขึ้น ไม่ใช่อยู่ๆก็นึกๆว่าเกิดแล้ว กระบวนการแห่งการเกิดอริยมรรคเกิดขึ้นใน ๗ ขณะจิตแค่นั้นเอง ในกระบวนการนี้นะใช้เวลา ๗ ขณะจิตที่จะเกิด และเวลาที่เกิดอริยมรรคนั้น ๑ ใน ๗ เท่านั้น ถัดจากนั้นเกิดอริยผล ๒ หรือ ๓ ขณะจิต จะเป็นอย่างนั้น เพราะงั้นมีกระบวนการนะ จิตใจเรามีกระบวนการทำงาน ถ้าหัดภาวนา หัดฝึกอย่างที่หลวงพ่อสอนไปเรื่อย เราจะเห็นกระบวนการทำงานของจิต เราจะรู้เลยจิตมันปรุงความเป็นตัวตนขึ้นมาได้ยังไง จิตมันปรุงความทุกข์ขึ้นมาได้ยังไง จิตที่ทรงสมาธิแล้วจะทำให้เกิดปัญญาเนี่ย สมาธิมีสองชนิด นี่ก็ต้องศึกษาเหมือนกัน สมาธิที่คนทั้งโลกเขาเรียนกันคือสมาธิสงบ สงบหมายถึงว่าจิตไม่ฟุ้งซ่านไปในอารมณ์ต่างๆ แต่จิตสงบแน่วแน่อยู่ในอารมณ์อันเดียว เช่นเราหัดพุทโธจิตก็อยู่กับพุทโธไม่หนีไปที่อื่น หัดรู้ลมหายใจจิตอยู่กับลมหายใจไม่หนีไปที่อื่น หัดดูท้องพองยุบจิตอยู่ที่ท้องพองยุบไม่หนีไปที่อื่น จิตที่แนบสนิทอยู่ในอารมณ์อันเดียวนี่มีสมาธิ แต่เป็นสมาธิที่มีชื่อเฉพาะนะ สมาธิชนิดนี้ชื่อ อารัมมณูปนิชฌาน ต้องเรียนนะตัวนี้สำคัญมากเลย ที่ทุกวันนี้ที่ภาวนาไม่ได้ผลนะ เพราะแยกสมาธิสองชนิดไม่ได้ สมาธิมีสองชนิด ชนิดที่หนึ่งชื่อ อารัมมณูปนิชฌาน ชนิดที่สองชื่อ ลักขณูปนิชฌาน อารัมมณูปนิชฌาน เนี่ยจิตสงบแน่วแน่อยู่ในอารมณ์อันเดียว เน้นที่ความสงบ จิตสงบแน่วแน่อยู่ในอารมณ์อันเดียว ไม่ฟุ้งไปในอารมณ์โน้นอารมณ์นี้นะ นี้ก็มีวิธีฝึก ฝึกให้จิตอยู่ในอารมณ์อันเดียว เช่นพุทโธ พุทโธ จิตหนีไปแล้วรู้ทันนะ จิตก็จะอยู่ในอารมณ์อันเดียว สุดท้ายจิตเชื่อง มีความสุขอยู่ในอารมณ์อันเดียว เคล็ดลับอยู่ที่ความสุข ถ้าเมื่อไหร่มีความสุขจะมีความสงบนะ สมาธิอีกชนิดหนึ่ง เป็นสมาธิที่อาภัพที่สุดเลย ที่ครูบาอาจารย์สอนดูจิตๆ เพื่อจะสร้างสมาธิชนิดนี้เพื่อจะฝึกให้จิตเนี่ยเป็นผู้รู้ผู้ดู จิตเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน จิตที่เป็นพุทโธ พุทโธแปลว่าผู้รู้ผู้ตื่นผู้เบิกบาน เราจะฝึกจิตจนกระทั่งเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน จิตชนิดนี้ไม่ได้เน้นที่สงบ แต่จิตชนิดนี้ตั้งมั่นในการรู้อารมณ์ สมาธิชนิดแรกจิตอยู่ในอารมณ์อันเดียว จิตมีหนึ่ง อารมณ์มีหนึ่ง สมาธิชนิดที่สองเนี่ย อารมณ์มีแสนอารมณ์ล้านอารมณ์ก็ได้ แต่จิตตั้งมั่นเป็นคนดูอยู่นะ ตัวนี้แหละตัวสำคัญเลยที่จะแตกหักเลยนะว่าเราจะบรรลุมรรคผลนิพพานได้หรือไม่ จะเจริญวิปัสสนาได้หรือไม่ อยู่ที่ว่าเราได้พัฒนาจิตจนเกิดสมาธิชนิดที่ตั้งมั่นเป็นผู้รู้ผู้ดูนี้หรือไม่ ถ้าจิตตั้งมั่นเป็นผู้รู้ผู้ดูได้เรียกว่ามี ลักขณูปนิชฌาน ลักขณูปนิชฌาน นี้คือตั้งมั่นในการรู้ลักษณะ เห็นความเป็นไตรลักษณ์ ไม่ได้ดูตัวอารมณ์แล้ว ตอนที่จิตทำสมถะนะ จิตทำสมถะ ทำอารัมมณูปนิชฌานเนี่ยจิตไปรู้ตัวอารมณ์ เช่นรู้พุทโธ รู้ลมหายใจ รู้ท้องพองยุบ อะไรที่ถูกรู้สิ่งนั้นเรียกว่าอารมณ์ทั้งสิ้นเลย คำว่าอารมณ์ในศาสนาพุทธนะ เรียกว่าสิ่งที่ถูกรู้ เพราะงั้นสมถะกรรมฐานนี่จิตไปรู้ตัวอารมณ์ ไปแนบอยู่ที่ตัวอารมณ์ สงบอยู่ที่ตัวอารมณ์ ลักขณูปนิชฌาน ไม่ดูตัวอารมณ์แต่ดูไตรลักษณ์ เห็นความเป็นไตรลักษณ์ของอารมณ์ อารมณ์จะมีร้อยอารมณ์ ทุกอารมณ์ก็แสดงไตรลักษณ์ อารมณ์จะมีพันอารมณ์ ทุกอารมณ์ก็แสดงไตรลักษณ์ จิตตั้งมั่นเป็นคนดูไตรลักษณ์ งั้นอารมณ์นะไหลตลอดเวลาเลย มันคือปรากฏการณ์ของรูปธรรมนามธรรมที่เคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาในขณะที่จิตเป็นแค่คนดู เหมือนเราดูฟุตบอลอยู่บนอัฐจรรย์นะ ไม่โดดลงไปในสนามฟุตบอล ดูอยู่เห็นภาพในสนามได้ชัดเจน และต้องไม่มีอคติด้วย ถ้ามีอคติก็เห็นไม่ชัดใช่ไหม หรือดูมวย เราเป็นคนดู เราไม่โดดขึ้นไปอยู่ในเวทีมวย เดี๋ยวถูกชกด้วย เราอยู่ข้างนอกเวที ดูด้วยใจที่เป็นกลาง เราจะเห็นเลยว่าใครชกดี ชกไม่ดี ถ้าดูแบบมี Bias(อคติ) ใช่ไหม นักมวยของเราชกไม่ถูกเค้า ชกเฉียดๆเราก็ว่าถูกแล้ว เพราะงั้นเวลาเราจะทำวิปัสสนานะ มันจะมีเคล็ดลับ สมาธิชนิดที่เป็นลักขณูปนิชฌานเนี่ย อันหนึ่งนะคือตั้งมั่น อันที่สองคือเป็นกลาง คุณสมบัติของมันนะ ตั้งมั่น และเป็นกลาง หลวงพ่อจะสอนเรื่อยๆบอกว่า ถ้าเราจะเจริญปัญญานะ ให้มีสติ รู้กายรู้ใจตามความเป็นจริง เราจะรู้ตามความเป็นจริงได้ เราต้องรู้ด้วยจิตที่ตั้งมั่นและเป็นกลาง จิตที่ตั้งมั่นและเป็นกลาง คือจิตที่ทรงสมาธิชนิดที่เรียกว่าลักขณูปนิชฌานนั่นเองนะ มีสติ สติเป็นยังไง สติทำหน้าที่ยังไง ทำยังไงสติจะเกิดขึ้น สติเป็นยังไง สติทำหน้าที่อะไร ถ้าสติทำงานขึ้นมาแล้ว อะไรจะเกิดขึ้น อะไรเป็นเหตุให้สติเกิดขึ้น ๔ อย่าง มันคืออะไร สติคืออะไร สติทำหน้าที่อะไร ถ้าสติทำหน้าที่แล้วจะมีผลยังไง ผลของมันนะคือการคุ้มครองรักษาจิตนะ ทันทีที่สติเกิดอกุศลดับทันทีเลย ทันทีที่สติเกิดนะ กุศลเกิดทันทีเลย เนี่ยผลของการที่มีสตินะ จะมีความเพียรชอบขึ้นมาได้ สติเกิดจากอะไร? เกิดจากจิตจำสภาวะได้แม่น มีสติรู้ รู้ไม่ใช่ใช่เผลอไปคิดเอา รู้ไม่ใช่นั่งเพ่งนั่งจ้องเอาไว้ รู้คือไม่เผลอกับไม่เพ่ง รู้อะไร รู้กายรู้ใจ วิธีรู้กายรู้ลงปัจจุบัน เป็นปัจจุบันขณะ วิธีดูจิตดูใจ เป็นปัจจุบันสันตติ คือสืบเนื่องกับปัจจุบัน ไม่ใช่ปัจจุบันขณะ นี่ต้องเรียนทั้งสิ้นนะ ค่อยๆเรียนไป ตามความเป็นจริง คือต้องเห็นไตรลักษณ์ ถ้าไปเห็นอย่างอื่นของกายของใจ เช่นเห็นปฏิกูลอสุภะ ไม่ใช่วิปัสสนากรรมฐานนะ จะเห็นความจริงของธาตุของขันธ์ของกายของใจ จะเห็นไตรลักษณ์ได้ ต้องมีสมาธิ จิตต้องตั้งมั่นและเป็นกลาง งั้นเราจะเรียนอยู่ในขอบเขตนี้แหละ มีสติ รู้กายรู้ใจตามความเป็นจริง ด้วยจิตที่ตั้งมั่นและเป็นกลาง เดี๋ยวค่อยไปแตกรายละเอียดเอานะ แต่ละตัวถ้าเข้าใจแล้วการปฏิบัติจะสั้นนิดเดียว ถ้าไม่เข้าใจจะลูบคลำนานเลย สติทำไม่เป็นเนี่ยกี่ชาติก็ไม่ได้ มีสติแล้วไปเพ่งเอา กี่ชาติก็ไม่ได้ หรือไม่สติแล้วไปคิดเรื่องไตรลักษณ์ กี่ชาติก็ไม่ได้ มีสติแล้วแต่จิตไม่ตั้งมั่น จิตไปแนบสงบนิ่งอยู่กับอารมณ์ ไม่ตั้งมั่นเป็นกลาง ก็ไม่ได้ กี่ชาติก็ไม่ได้ งั้นเราค่อยๆเรียนสิ่งเหล่านี้ขึ้นมาให้ได้ แสดงน้อยลง แสดงน้อยลง ตอบกลับ ดูการตอบกลับทั้ง 4 รายการ Sompong Tungmepol Sompong Tungmepol2 เดือนที่ผ่านมา ถ้าจิต สมาธิ ปัญญา ศีล สมาธิ ปัญญา บุญ บารมี แก่รอบแล้ว จิตหยุดความปรุงแต่งแล้ว มันจะรวมเข้าอัปนาสมาธิ รวมเอง ทำไมมันรวมเข้าอัปนาสมาธิได้เอง เพราะว่าจิตไม่ไหลไปตามกาม ฌานจะเกิดเอง โดยธรรมชาติของจิตนี้ต้องเวียนอยู่ในภพ ภพที่จิตเวียนอยู่ได้ มีอยู่ ๓ ภพ เท่านั้น ๑ กามวจรภพ ภพที่เวียนไปในกาม คือ หาอารมณ์เพลิดเพลินไปทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย เพลินไปเรื่อย พวกเราจิตหมุนอยู่ติ้วๆ ทาง หู ตา จมูก ลิ้น กาย นึกออกมั้ย อันนี้แหละเรียกว่า กามภพ เรียกให้เต็มยศนะ เรียกว่า กามวจรภูมิ ใจก็ไปเวียนอยู่อย่างนี้ ถ้าหลุดออกจากกามภพแล้วนะ ก็จะเข้าไปรูปภพ หรือรูปภูมิ ก็คือ ไปสงบอยู่กับการรู้รูป เช่น รู้ลมหายใจแล้วจิตไม่เอาแล้วโลกข้างนอก อารมณ์ทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ไม่เห็นจะมีสาระอะไรเลย จิตมารวมลงที่อารมณ์ภายในอันเดียว อาจจะมารู้ลมหายใจอยู่อันเดียว รู้ร่างกายอยู่อันเดียว มาเพ่งรูปอยู่อันเดียว เพ่งดวงกสิณ ดวงนิมิตอยู่อันเดียว จิตเพ่งรูปอยู่เรียกว่ารูปภูมิ ถ้าจิตไม่อยู่ในกามภูมิ ไม่อยู่ในรูปภูมิ จิตก็ต้องเข้าอรูปภูมิ ทิ้งรูปไปแล้วไปอยู่กับนามธรรม เช่นไปอยู่กับความว่าง จิตอยู่ในความว่าง อยู่กับความไม่มีอะไรเลย เพราะฉะนั้นบางคนที่เขาสอนให้ภาวนาเพื่อให้ไปอยู่กับความว่าง อันนั้นเพี้ยนนะ ไม่ใช่ทางของพระพุทธเจ้า มันก็เป็นอรูปภูมิ เป็นภูมิอีกภูมิหนึ่ง เป็นภพอีกภพหนึ่งเท่านั้นเอง ทีนี้ถ้าสติปัญญาเราพอนะ เรารู้เลย จิตแส่ส่ายออกทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย มีแต่ทุกข์ จิตไม่แส่ส่าย จิตก็หลุดออกกามภูมิ เข้ารูปภูมิ หรืออรปภูมิ เข้าเองเลยนะ เพราะฉะนั้นอย่างพวกเรา หัดเจริญสติไปเรื่อย พอ ศีล สมาธิ ปัญญา สติ สมาธิ ปัญญา แก่รอบนะ จิตจะหมดความหลงใหล รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ทั้งหลาย มาดึงดูจิตไหลไปไม่ได้แล้ว อย่างน้อยก็ชั่วขณะ ชั่วขณะเท่านั้นแหละ ชั่วขณะ จิตจะตั้งมั่น รู้ว่าไหลออกไปแล้วทุกข์ ก็ตั้ง เด่นดวง จิตก็เข้าฌานอัตโนมัติ เพราะฉะนั้น ถึงเราจะเจริญสติ เจริญปัญญา โดยเข้าฌานไม่เป็น ถึงนาทีสุดท้าย ที่จะเกิดอริยมรรค อริยผล ในทุกขั้นตอน ตั้งแต่โสดาปัตติมรรค จนถึงอรหัตตมรรค จิตจะเข้าฌานของเขาเองนะ จิตจะเข้าฌานของเขาเอง ยกเว้นคนซึ่งเดินปัญญาอยู่ในฌาน เวลาที่จะเกิอริยมรรคเนี่ย ไม่ต้องถอยออกมาอยู่กับโลกก่อนนะ ไม่ต้องกลับมาอยู่ในกามภูมิก่อน จิตก็ไปตัดอยู่ข้างในได้เลยนะ นี่เป็นอีกพวกหนึ่ง แต่รวมความก็คือ อริยมรรค ไม่เกิดอยู่ในจิตที่อยู่ในกาม อย่างพวกเรา อริยมรรคจะต้องเกิดในรูปภูมิ หรืออรูปภูมินะ จะเกิดกันตรงนั้น จะล้างกันตรงนั้น เพราะฉะนั้นจิตจะเข้าฌานอัตโนมัติ 540805.12m44-15m52 หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช สวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี แสดงน้อยลง ตอบกลับ Varut Wichai Varut Wichai8 เดือนที่ผ่านมา อย่าพึ่งเป็นอะไรเลยท่านเทศดีมากผมเข้าใจเยอะมาก ตอบกลับ สมพงศ์ อินดัสเตรียล อิเล็กทรอนิคส์ สมพงศ์ อินดัสเตรียล อิเล็กทรอนิคส์6 เดือนที่ผ่านมา ทางสายกลางมีอยู่ ถ้าเราอยากพ้นทุกข์จริงๆ เบื้องต้นหัดรู้สึกตัวไว้ก่อน การที่เราคอยรู้เนื้อรู้ตัวนี่เราจะไม่หลงตามกิเลสไป แต่ให้รู้ ไม่ใช่ให้เพ่ง ไม่ใช่ให้บังคับ ไม่ใช่ให้ดัดแปลง ถ้าเพ่ง ถ้าบังคับ ถ้าดัดแปลง อันนี้คือการบังคับตัวเอง มีผลให้เราได้เป็นมนุษย์ที่ดี เป็นเทวดา เป็นพรหม ถึงวันหนึ่งก็เสื่อมอีก ยังไม่พ้นการเวียนว่ายตายเกิด ...พยายามรู้สึกตัวขึ้นมานะ แล้วมาเรียนรู้ความจริงของรูปของนาม ถ้าจิตใจยังติดใจในรูปในนามอยู่ ก็ยังเวียนว่ายตายเกิดอยู่ ยังก่อภพก่อชาติไปไม่สิ้นสุด แสวงหารูปนามใหม่ๆ ขันธ์ ๕ ใหม่ๆไปเรื่อยๆ เพราะใจยังติดอยู่ แต่ถ้าจิตมีสติปัญญาแก่รอบขึ้นมา เห็นขันธ์ ๕ ไม่ใช่สาระแก่นสาร พอจิตเห็นขันธ์ ๕ ไม่ใช่สาระแก่นสาร ความหวังที่จะให้ขันธ์ ๕ มันดี ขันธ์ ๕ มันสุข ขันธ์ ๕ มันสงบ ไม่มี มันดีไปไม่ได้หรอก มันเป็นตัวทุกข์ มันสุขไปไม่ได้หรอก มันทุกข์ มันสงบ มันก็สงบอยู่ไม่ได้จริงหรอก มันยังถูกความทุกข์บีบคั้นอยู่ตลอด ถ้าเมื่อไหร่เราเห็นขันธ์ ๕ ตกอยู่ใต้ความจริง เห็นความจริงของรูปนาม จิตจะคลายความยึดถือ ความยินดีในขันธ์ ๕ เมื่อจิตหมดความยึดถือ หมดความยินดีในขันธ์ ๕ เชื้อเกิดจะถูกทำลายไป จิตที่ยังเวียนว่ายตายเกิด เป็นจิตที่ยังมีเชื้อเกิดอยู่ เชื้อเกิดนี้มันก็เป็นเชื้อที่ยินดีในขันธ์ ๕ นั่นเอง มันโง่ มันมีอวิชชาซ่อนอยู่ในจิตดวงนี้ มันไม่รู้ความจริงของทุกข์ ไม่รู้ความจริงของสมุทัย ไม่รู้ความจริงของนิโรธ ไม่รู้ความจริงของมรรค ไม่รู้ความจริงของทุกข์ก็คือ ไม่รู้ว่าขันธ์ ๕ นี้เป็นตัวทุกข์ ยังคิดว่าจะหาทางหาขันธ์ ๕ ที่มีความสุขได้ พอไม่รู้ว่าขันธ์ ๕ เป็นตัวทุกข์ ความอยากจะให้ขันธ์ ๕ เป็นสุขก็เกิดขึ้น ความอยากจะให้ขันธ์ ๕ พ้นทุกข์ก็เกิดขึ้น สมุทัยก็มีขึ้นมา พอมีสมุทัยมีความอยากขึ้นมานี่ จิตก็มีความดิ้นรน จิตที่มีความดิ้นรนอยู่ ไม่มีความสงบสันติคือไม่มีนิพพาน ไม่เห็นนิพพาน งั้นเราต้องมาล้างเชื้อเกิดในใจของเรา ล้างความหลงผิดในใจของเรานั่นเอง ล้างอวิชชานั่นเอง อยากล้างอวิชชาได้ มีสตินี่แหละ รู้ขันธ์ ๕ ตามความเป็นจริง รู้กายรู้ใจนั่นแหละตามความเป็นจริง ดูลงไปเรื่อยเลย กายนี้ใจนี้ไม่ใช่ของดีของวิเศษ ไม่ต้องคิดหรอก มันไม่ใช่ของดีของวิเศษมาแต่ไหนแต่ไรแล้ว เราเพียงหลงผิดว่ามันดีมันวิเศษ เราเลยติดอกติดใจเพลิดเพลินอยู่ ถ้าเราดูซ้ำดูซากนะ ดูแล้วดูอีก อยู่ในกายในใจนี้ เราจะเห็นว่ากายนี้เป็นทุกข์ล้วนๆ ใจนี้เป็นทุกข์ล้วนๆ พวกเรายังไม่เห็น พวกเราเห็นว่าร่างกายนี้เป็นทุกข์บ้างเป็นสุขบ้าง จิตใจนี้เป็นทุกข์บ้างเป็นสุขบ้าง เพราะเราเห็นอย่างนี้นะ อวิชชาเรามีอยู่ เมื่อมันยังเห็นว่าร่างกายจิตใจเป็นสุขบ้างเป็นทุกข์บ้างได้ มันยังมีทางเลือก มีทางดิ้นต่อ มันก็จะดิ้นหนีความทุกข์ ดิ้นไปแสวงหาความสุข จิตที่ดิ้นรนนั่นแหละ ห่างไกลพระนิพพานไปเรื่อยๆ แต่ถ้าเรารู้ความจริงแจ่มแจ้ง ว่าขันธ์ ๕ หรือรูปนาม หรือกายใจนี้เป็นทุกข์ล้วนๆ มีแต่ทุกข์มาก กับทุกข์น้อย ไม่ใช่มีทุกข์กับสุข ถ้าเห็นแจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งอย่างนี้ จิตมันจะสลัดคืนหมดความยึดถือขันธ์ ๕ จะรู้สึกเลย ร่างกายนี้เหมือนยืมแผ่นดินมาใช้นะ ยืมธาตุมาใช้ จิตใจก็เหมือนยึมเค้ามาใช้ ไม่ใช่ของเราสักอันเดียว มันสลัดคืนรูปคืนนาม คืนกายคืนใจให้โลกไป ไม่ยึดถือในรูปนามในกายใจนั้นเอง เมื่อเราไม่ยึดถือนะ ความหนักก็ไม่เกิดขึ้นในใจ ใจที่มีความหนัก ใครรู้จักหนักใจบ้าง หนัก หนักทุกวันเลย หนักเพราะเรายึดถือ ถ้าเราไม่ได้ยึดถือรูปนามอยู่ ความหนักใจจะไม่มี ปัญหามีนะ แต่ความหนักใจไม่มี งั้นเรามาเรียนรู้ความจริงของรูปของนามนี้แหละ เรียกว่าการเจริญปัญญา รู้ลงไปที่กายบ่อยๆ รู้ลงไปที่ใจบ่อยๆ จะรู้กายรู้ใจได้ จิตต้องรู้สึกตัวเป็นก่อน อย่าหลง ขั้นต้นเลย ต้องรู้สึกตัวให้เป็น ถ้ารู้สึกตัวไม่ได้ ใจหลงไปอยู่ในโลกของความคิด ลืมกายลืมใจ มีกายก็ลืมกาย มีใจก็ลืมใจนะ ใช้ไม่ได้ เราต้องคอยรู้สึกตัวบ่อยๆ หัดรู้สึกตัวนะ เบื้องต้นจะพุทโธ จะหายใจ หรือทำกรรมฐานอะไรสักอย่างหนึ่งก็ได้ แล้วแต่ถนัด ทำกรรมฐานขึ้นอย่างหนึ่ง แล้วคอยรู้ทันจิตตนเอง จิตไหลไปคิดรู้ทัน จิตไหลไปคิดรู้ทัน จิตก็จะหลุดออกจากโลกของความคิด มาอยู่ในโลกของความรู้สึกตัว จิตที่ไม่รู้สึกตัวนี้ไปหลงอยู่ในโลกของความคิด คนทั้งโลกหลงอยู่ในโลกของความคิดนะ มีเป็นส่วนน้อย ผู้ที่ได้ฟังธรรมแล้ว ผู้ที่มีบุญบารมีแล้วอย่างพวกเรานี้ มันรู้ทันจิตที่ไหลไปคิด แล้วก็ตื่น เกิดภาวะแห่งความรู้สึกตัวขึ้นมา พอเรารู้สึกตัวได้ ก็คือมีกายเราก็รู้ว่ามีอยู่ มีใจเราก็รู้ว่ามีอยู่ เราก็จะเรียนรู้ความจริงของกายของใจได้ ถ้าเราใจลอย เราลืมกายลืมใจ เราก็ไม่สามารถเรียนรู้ความจริงของกายของใจได้ เพราะงั้นความรู้สึกตัวนี้แหละ เป็นจุดตั้งต้นที่จะเริ่มเดินปัญญานะ ทีนี้พอรู้สึกตัวเป็นแล้ว อย่ารู้สึกอยู่เฉยๆ รู้สึกแล้วมาเรียนรู้ความจริงของกายของใจ ค่อยๆแยก กายก็อยู่ส่วนกาย ใจก็อยู่ส่วนใจนะ แยกกัน กายส่วนกาย ใจส่วนใจ เวทนาคือความรู้สึกสุขทุกข์ก็อยู่ส่วนเวทนา ไม่ใช่กายไม่ใช่ใจ สังขาร ความปรุงดีความปรุงชั่ว เช่นโลภ โกรธ หลงทั้งหลาย ก็อยู่ส่วนโลภ โกรธ หลงทั้งหลาย ไม่ใช่ร่างกาย ไม่ใช่ความสุข ไม่ใช่ความทุกข์ ไม่ใช่จิตใจ นี่หัดแยกธาตุแยกขันธ์ ต้องรู้สึกตัวเป็นก่อน ถึงจะแยกธาตุแยกขันธ์ได้ แต่บางคนรู้สึกตัวแล้วอยู่เฉยๆ ไม่ยอมแยกธาตุแยกขันธ์ อันนั้นต้องช่วยมันคิดพิจารณาแยกธาตุแยกขันธ์ไป เช่นนั่งอยู่ ก็คอยคิดเอา เออร่างกายที่นั่งอยู่นี่เป็นของถูกรู้นะ อะไรอย่างนี้ ค่อยๆคิดไป ดู ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก ผม เป็นของถูกรู้ ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เป็นของถูกรู้ ค่อยๆหัดดูไปอย่างนี้ ต่อไปมันแยกได้เอง ความสุขความทุกข์เกิดขึ้น ก็เป็นของถูกรู้ ความโลภ ความโกรธ ความหลง เกิดขึ้นเป็นของถูกรู้ จิตเป็นคนไปรู้มันเข้า เบื้องต้นอาจจะต้องช่วยมันคิดพิจารณาอย่างนี้ แต่ต่อไปมันแยกได้เอง พอแยกได้เอง เราจะเดินปัญญาอัตโนมัติ มันจะเห็นเลย ร่างกายเคลื่อนไหว แค่รู้สึกนะ แล้วจะรู้เลยร่างกายไม่คงที่ เวทนาเกิดขึ้นในกาย เวทนาเกิดขึ้นในใจ ความสุขความทุกข์นั้นแหละเกิดขึ้นในกายในใจ ก็เห็นเลยมันแค่ผ่านมาแล้วก็ผ่านไป ใจอยู่ต่างๆหาก เวทนานี้ไม่ใช่ตัวเราหรอก เป็นสิ่งที่แปลกปลอมเข้ามาชั่วคราวแล้วก็หายไป กุศลอกุศล ก็เป็นสิ่งที่แปลกปลอมเข้ามาชั่วคราวแล้วก็หายไป จิตเองก็เกิดแล้วก็ดับ เดี๋ยวก็เป็นจิตผู้รู้ เดี๋ยวก็เป็นจิตผู้คิด เดี๋ยวเป็นจิตผู้เพ่ง หมุนเวียนเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา การที่เราเห็นขันธ์ทั้งรูปธรรมนามธรรมทั้งหลายที่ประกอบกันเป็นตัวเรานี้ มีแต่ความหมุนเวียนเปลี่ยนแปลง ทั้งวันทั้งคืน ทั้งหลับทั้งตื่น เป็นอย่างนี้ตลอด มันจะรู้เลย ไม่ใช่ของดีของวิเศษ ความสุขเกิดขึ้นก็แค่ของชั่วคราว เอาเป็นที่พึ่งที่อาศัยไม่ได้ เดี๋ยวก็ดับ กุศลเกิดขึ้นก็เป็นแค่ของชั่วคราว เอาเป็นที่พึ่งที่อาศัยก็ไม่ได้จริง เดี๋ยวก็ดับ ทุกสิ่งหาที่พึ่งที่อาศัยไม่ได้เลยในขันธ์ ๕ มีแต่ของน่าเอือมระอา มีแต่ความทุกข์ นี่จิตเห็นความจริงอย่างนี้ จิตจะคืนขันธ์ ๕ ให้โลก ไม่ยึดถืออีกแล้ว ที่มันคืนไม่ได้ เพราะว่ามันหวง มันห่วง เพราะว่ามันดี นี่เราทำลายเชื้อเกิดได้ พอมันคืนขันธ์ ๕ ไปนะ คล้ายๆมีเมล็ดต้นไม้ เมล็ดมะม่วงสักเมล็ดหนึ่ง แต่ต้นอ่อนข้างในมันตายไปแล้ว ต้นอ่อนที่มันจะงอกขึ้นมาเป็นขันธ์ ๕ ถูกทำลาย ถ้าเราทำลายความเห็นผิดนะ ว่าจิตนี้เป็นของดีของวิเศษ ขันธ์ ๕ เป็นของดีของวิเศษ ทำลายตัวนี้ได้ เชื้อเกิดจะถูกทำลายไป เมื่อขันธ์ ๕ ไม่ใช่ของดีแล้ว ความอยากให้ขันธ์ ๕ มันสุข ให้มันดี ให้มันสงบ ไม่มีแล้ว รู้ว่ามันไม่ดี ความอยากจะพ้นจากทุกข์ ให้ขันธ์ ๕ พ้นทุกข์ ก็ไม่มี เห็นไหม อยากให้พ้นทุกข์ก็ไม่มีนะ อยากให้สุขก็ไม่มีนะ เพราะรู้แจ้งแล้วว่าทุกข์แน่นอน พอรู้แจ้งอย่างนี้ หมดแรงดิ้น จิตที่หมดแรงดิ้นนี่แหละจะเห็นพระนิพพาน จิตที่ยังดิ้นอยู่ ยังอยากอยู่ นี่มีตัณหาอยู่ ไม่เห็นพระนิพพาน พวกเรามีบุญแล้วนะ ได้ฟังธรรม ฝึกรู้สึกตัวไปบ่อยๆ รู้สึกตัวแล้วอย่ารู้อยู่เฉยๆ ดูรูปดูนาม ดูกายดูใจ ดูขันธ์ ๕ ทำงานเรื่อยไป วันหนึ่งเราก็จะตามพระพุทธเจ้าของเราไปนะ แสดงน้อยลง ตอบกลับ 13 Sompong Tungmepol Sompong Tungmepol2 ปีที่ผ่านมา ถ้าจะเอาสมาธิชนิดที่ใช้เจริญปัญญาต้องคอยรู้ทันจิต เพราะฉะนั้นบทเรียนที่จะได้สมาธิที่รู้ทันจิต ได้สมาธิที่ถูกต้อง ต้องรู้ทันจิต พระพุทธเจ้าถึงได้เรียกว่า “จิตตสิกขา” ศีลสิกขา จิตตสิกขา ได้สมาธิที่ถูกต้อง ให้คอยรู้ทันจิตนะ พุทโธๆ หนีไปคิด รู้ทัน จิตไปเพ่งความนิ่งๆว่างๆอยู่ รู้ทัน ถ้าใช้ลมหายใจก็หายใจไป รู้สึกตัวไป หายใจไปจิตหนีไปคิด รู้ทัน ก็กลับมารู้สึกตัวอีก หายใจไปจิตไปเพ่งอยู่ที่ลมหายใจเพราะว่ากลัวจะหลง ก็เลยไปเพ่งอยู่ที่ลมหายใจ ก็รู้ทันอีกว่าจิตไหลไปเพ่งที่ลมหายใจแล้ว เนี่ยทำกรรมฐานแล้วรู้ทันจิตนะ จิตหนีไปคิดก็รู้ จิตรู้สึกตัวขึ้นมา ก็รู้ จิตไปเพ่งลมหายใจหรือไปเพ่งมือเพ่งเท้าเพ่งท้องอะไร ก็รู้ ฝึกให้มากต่อไปจิตเคลื่อนไปปุ๊บเนี่ย สติจะเกิดเอง เพราะสติจะเกิดได้ไม่ใช่เพราะมีใครสั่งสติให้เกิดได้ สติจะเกิดเมื่อมีเหตุของสติ เหตุใกล้ให้เกิดสติเรียกว่า “ถิรสัญญา” ถอถุงสระอิรอเรือ ถิระ.. สัญญา ถิรสัญญาคือการที่จิตจำสภาวะได้แม่น จิตจะจำสภาวะได้แม่นถ้าจิตเคยเห็นสภาวะบ่อยๆ เพราะฉะนั้นเราจึงต้องพาจิตให้ดูสภาวะบ่อยๆ พุทโธไป หายใจไป จิตหนีไปแล้วรู้เนี่ย ต่อไปจิตหนีไปนะ จิตจำสภาวะที่จิตหนีไปได้แม่น อ้อ..อย่างนี้หลงไปแล้วนะ อย่างนี้ไหลไปเพ่ง อย่างนี้ไหลไปคิด พอจิตจดจำได้แม่นนะ พอไหลไปเพ่งปุ๊บ มันก็รู้สึกตัวขึ้นมาเลย สติระลึกได้ หรือไหลไปคิด จิตจดจำสภาวะที่ไหลไปคิดได้แล้ว พอไหลไปคิดสติระลึกปั๊บ เออนี่ไหลไปคิดแล้ว มีคำว่าแล้วด้วย คือมันเป็นไปก่อน ตอนที่หลงอยู่นะมันมีสติไม่ได้ เพราะตอนที่หลงจิตมีความฟุ้งซ่าน มีโมหะ ตอนที่สติเกิดน่ะมันไม่หลงแล้ว ก็เลยต้องมีคำว่าแล้ว เมื่อกี้นี้เผลอ ตอนนี้รู้สึก เพราะฉะนั้นการดูจิตดูใจนะ เราจะดูตามหลังไปเรื่อยๆ ตามไปติดๆ หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช อ่านเพิ่มเติม ตอบกลับ 3 Sompong Tungmepol Sompong Tungmepol2 ปีที่ผ่านมา ถ้าจะเอาสมาธิชนิดที่ใช้เจริญปัญญาต้องคอยรู้ทันจิต เพราะฉะนั้นบทเรียนที่จะได้สมาธิที่รู้ทันจิต ได้สมาธิที่ถูกต้อง ต้องรู้ทันจิต พระพุทธเจ้าถึงได้เรียกว่า “จิตตสิกขา” ศีลสิกขา จิตตสิกขา ได้สมาธิที่ถูกต้อง ให้คอยรู้ทันจิตนะ พุทโธๆ หนีไปคิด รู้ทัน จิตไปเพ่งความนิ่งๆว่างๆอยู่ รู้ทัน ถ้าใช้ลมหายใจก็หายใจไป รู้สึกตัวไป หายใจไปจิตหนีไปคิด รู้ทัน ก็กลับมารู้สึกตัวอีก หายใจไปจิตไปเพ่งอยู่ที่ลมหายใจเพราะว่ากลัวจะหลง ก็เลยไปเพ่งอยู่ที่ลมหายใจ ก็รู้ทันอีกว่าจิตไหลไปเพ่งที่ลมหายใจแล้ว เนี่ยทำกรรมฐานแล้วรู้ทันจิตนะ จิตหนีไปคิดก็รู้ จิตรู้สึกตัวขึ้นมา ก็รู้ จิตไปเพ่งลมหายใจหรือไปเพ่งมือเพ่งเท้าเพ่งท้องอะไร ก็รู้ ฝึกให้มากต่อไปจิตเคลื่อนไปปุ๊บเนี่ย สติจะเกิดเอง เพราะสติจะเกิดได้ไม่ใช่เพราะมีใครสั่งสติให้เกิดได้ สติจะเกิดเมื่อมีเหตุของสติ เหตุใกล้ให้เกิดสติเรียกว่า “ถิรสัญญา” ถอถุงสระอิรอเรือ ถิระ.. สัญญา ถิรสัญญาคือการที่จิตจำสภาวะได้แม่น จิตจะจำสภาวะได้แม่นถ้าจิตเคยเห็นสภาวะบ่อยๆ เพราะฉะนั้นเราจึงต้องพาจิตให้ดูสภาวะบ่อยๆ พุทโธไป หายใจไป จิตหนีไปแล้วรู้เนี่ย ต่อไปจิตหนีไปนะ จิตจำสภาวะที่จิตหนีไปได้แม่น อ้อ..อย่างนี้หลงไปแล้วนะ อย่างนี้ไหลไปเพ่ง อย่างนี้ไหลไปคิด พอจิตจดจำได้แม่นนะ พอไหลไปเพ่งปุ๊บ มันก็รู้สึกตัวขึ้นมาเลย สติระลึกได้ หรือไหลไปคิด จิตจดจำสภาวะที่ไหลไปคิดได้แล้ว พอไหลไปคิดสติระลึกปั๊บ เออนี่ไหลไปคิดแล้ว มีคำว่าแล้วด้วย คือมันเป็นไปก่อน ตอนที่หลงอยู่นะมันมีสติไม่ได้ เพราะตอนที่หลงจิตมีความฟุ้งซ่าน มีโมหะ ตอนที่สติเกิดน่ะมันไม่หลงแล้ว ก็เลยต้องมีคำว่าแล้ว เมื่อกี้นี้เผลอ ตอนนี้รู้สึก เพราะฉะนั้นการดูจิตดูใจนะ เราจะดูตามหลังไปเรื่อยๆ ตามไปติดๆ หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช แสดงน้อยลง ตอบกลับ 2 Sompong Tungmepol Sompong Tungmepol2 ปีที่ผ่านมา รู้อยู่ที่กาย รู้อยู่ที่ใจ ทำยังไงเราจะรู้กายรู้ใจได้ ตัวนี้ตัวสำคัญ ต้องค่อยๆ เรียน ค่อยๆ ศึกษา เพราะเราจะรู้สึกว่าเรารู้กายรู้ใจตัวเองอยู่แล้ว ทั้งที่ในความเป็นจริงในโลกนี้ไม่มีคนรู้กายรู้ใจตัวเองหรอก มีแต่คนหลง มีแต่คนเผลอ คนที่สามารถรู้กายรู้ใจตัวเองได้ มีนับตัวได้ ส่วนมากก็คือเราจะตื่นขึ้นมาแต่กาย แต่ใจเรานี่จะคิดๆ ฝันๆ ไปทั้งวัน ใจเราไม่ตื่นนะ ใจเราจะคิด ใจเราจะฝันไปเรื่อยๆ ต้องค่อยๆ ฝึกจนใจของเราตื่นขึ้นมา ตื่นทั้งกายตื่นทั้งใจนะ จิตใจที่ตื่นขึ้นมานั้นแหละ คือตัว "พุทโธ" ที่เรียกว่า ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน จิตใจของเราไม่ใช่ ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน จิตใจของเราส่วนใหญ่ในโลก เป็นผู้คิด ผู้นึก ผู้ปรุง ผู้แต่ง ไม่ใช่ ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน สังเกตให้ดี ใจเรานี้ตั้งแต่ตื่นนอนจนหลับ เราคิดทั้งวัน เรารู้เรื่องราวที่เราคิด สังเกตให้ดีนะ พวกเราเวลาเราคิดอะไรไป เรามักจะรู้เรื่องที่เราคิด เรื่องราวที่เราคิดนี้เรียกว่า สมมติบัญญัติ แต่ในขณะที่เรารู้เรื่องราวที่เราคิด เราจะลืมกายลืมใจตัวเอง มีกายก็เหมือนไม่มี เช่น นั่งอยู่ ไม่รู้ว่านั่งอยู่ นั่งฟังหลวงพ่อพูด รู้เรื่องพยักหน้าหงึกๆ หงึกๆ แต่ใจไปที่อื่น เราไม่รู้กาย ร่างกายเคลื่อนไหว ไม่รู้สึก เราไม่รู้ใจตัวเอง จิตใจเราเป็นสุขก็ไม่รู้ เป็นทุกข์ก็ไม่รู้ เฉยๆ ก็ไม่รู้ เป็นกุศลก็ไม่รู้ เป็นอกุศลก็ไม่รู้ เราไม่รู้อะไรเลยที่เกี่ยวกับตัวเราเอง ไม่รู้อะไรเกี่ยวกับกายกับใจ เรารู้แต่เรื่องราวที่เราคิดเอาเอง การที่รู้เรื่องราวที่เราคิดเอาเองนั่นแหละ เรียกว่า รู้สมมติบัญญัติ ในขณะที่การรู้กายรู้ใจ เรียกว่า รู้อารมณ์ปรมัตถ์ คือรูปนาม เรียกว่ากายกับใจก็แล้วกันนะ ให้คอยรู้กายรู้ใจ คนในโลกไม่รู้กายรู้ใจ มีแต่คนลืมตัว มีแต่คนหลง มีแต่คนเผลอ เผลอคิดทั้งวัน เวลาเราดู เราก็เผลอดู เวลาฟัง เราก็เผลอฟัง เวลาคิด เราก็เผลอไปคิด ลืมกายลืมใจตัวเองตลอดเวลา เมื่อเราลืมกายลืมใจตลอดอย่างนี้ เราก็ไม่สามารถเรียนรู้กาย เรียนรู้ใจ ปัญญามันไม่เกิด ไม่สามารถเข้าใจความเป็นจริงของกายของใจได้ว่ามันไม่ใช่ตัวเราหรอก เราไปหลงยึดติดอยู่ ความเป็นตัวเราก็เกิดขึ้นมา ทีนี้ทำยังไงเราจะรู้กายรู้ใจได้ ศัตรู ของการรู้กายรู้ใจของเรามีสองอย่าง ศัตรูหมายเลขหนึ่ง ก็คือ การที่เราหลงไปอยู่กับความคิดของเรา ถ้าเมื่อไหร่เราสามารถรู้ทันว่าใจเราไหลไปคิดแล้ว เมื่อนั้นเราจะตื่นขึ้นในฉับพลัน เพราะฉะนั้น การปฏิบัตินี้ ถ้าเข้าใจสิ่งที่พระพุทธเจ้าบอก เราจะตื่นขึ้นในฉับพลัน ธรรมะนี่ถ้าใครเข้าถึงแล้วจะอุทานเลยว่า "อัศจรรย์จริงๆ อัศจรรย์" ดูในพระไตรปิฎก เวลาพระพุทธเจ้าเทศน์จบ คนจะอุทาน "อัศจรรย์จริงๆ แจ่มแจ้งนักพระเจ้าข้า แจ่มแจ้งนัก" ไม่ใช่ว่า "สับสนนักพระเจ้าข้า" แต่จะพูดว่า "แจ่มแจ้งนักพระเจ้าข้า เหมือนเปิดของคว่ำให้หงาย" ของง่ายๆ นะ ศัตรูหมายเลขสอง คือการเพ่งกายเพ่งใจ ทำให้ไม่สามารถรู้กายรู้ใจตามความเป็นจริงได้ เพราะมันนิ่งไปหมด พระพุทธเจ้าเป็นคนจุดไฟขึ้นมา แล้วคนตาดีก็มองเห็นแสงสว่าง มองเห็นสิ่งต่างๆ เพราะฉะนั้น ธรรมะจริงๆ ไม่ใช่เรื่องยาก เพียงแต่พวกเราไม่ค่อยได้ยิน ไม่ค่อยได้ฟัง เราชอบไปคิดเอาเอง ชอบหลงอยู่ในโลกของความคิด การตื่นขึ้นมาอยู่ในโลกของความเป็นจริง เป็นสิ่งที่ยากที่สุด ทางลัดที่สุดที่จะตื่นขึ้นมา ก็คือรู้ทันว่าใจเราหนีไปคิดแล้ว มีครูบาอาจารย์องค์หนึ่ง ไม่ใช่สายวัดป่า หลวงพ่อเทียน วัดสนามใน หลวงพ่อเทียนท่านสอนเหมือนกัน ธรรมะมันลงกัน สายไหนก็เหมือนกัน ถ้าทำถูกต้องก็อันเดียวกัน หลวงพ่อเทียนท่านสอนว่า "ถ้าเมื่อไหร่รู้ว่าจิตคิด จะได้ต้นทางของการปฏิบัติ" รู้ว่าจิตคิดนะ ไม่ใช่รู้เรื่องที่จิตคิด สองอันนี้ไม่เหมือนกัน ในโลกนี้มีแต่คนรู้เรื่องที่จิตคิด แต่ไม่รู้ว่าจิตกำลังแอบไปคิดอยู่ เพราะฉะนั้น หน้าที่ของเราค่อยๆ ศึกษา ค่อยๆ สังเกตตัวเองไป  แสดงน้อยลง ตอบกลับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น