หากเรามองจาก ท้องฟ้า เราจะเห็น สิ่งที่เคลื่อนไหว ภายใต้ ของความคิดเรา ถ้าเรามองขึ้นไปจากใจเรา เราจะเห็น ทุกชีวิต กำลังดิ้นรน เพื่อ แสวงหา อาหาร เพื่อ หล่อเลี้ยง ชีวิตของตนเอง และ สิ่งที่ตนรัก และเป็นที่รัก ของตนเอง และแล้ว ทุกชีวิต ก็ พบว่า ความกระหายใคร่ ได้ ใคร่มี ใคร่เป็น หรือ ความทะยานอยาก นี่เอง ที่เป็นสาเหตุ ให้มนุษย์ ต้องเดินทางอยู่ ตลอดชีวิต ลองหยุดเดินทางด้วยยานพาหนะ แล้วหันมาเดินทาง ด้วยจิตวิญญาณ แล้วการ เดินทางไกล จะใกล้เข้าทุกขณะจิต หายใจเข้า ตามรู้ หายใจออก ตามรู้
วันศุกร์ที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2560
ผู้สละโลก ปลดแอกพระมหาโมคคัลลานะ เป็นบุตรพราหมณ์นายบ้านในหมู่บ้านโกลิตคาม ได้ชื่อว่า “โกลิตะ” ตามชื่อของหมู่บ้าน มารดาชื่อ โมคคัลลี คนทั่วไปจึงเรียกท่านว่า “โมคคัลลานะ” ตามชื่อของมารดา ท่านเป็นสหายที่รักกันมากับอุปติสสมาณพ (พระสารีบุตร) เที่ยวแสวงหาความสุขความสำราญ ตามประสาวัยรุ่น และพ่อแม่มีฐานะร่ำรวย นอกจากนี้ยังมีอุปนิสัยใจคอเหมือนกัน และยังได้ออกบวชพร้อมกัน สาเหตุที่ได้เป็นเอตทัคคะ[แก้] เมื่อนับถอยหลังไปด้วยระยะเวลาได้หนึ่งอสงไขยกัปและอีกหนึ่งแสนกัปจากภัทรกัปนี้ พระมหาโมคคัลลานะเถระบังเกิดเป็น สิริวัฑฒกุฏมพี อยู่ในตระกูลคฤหบดีมหาศาล และได้เป็นสหายกับ สรทมาณพ (พระสารีบุตรเถระ) ในอดีตชาติ สรทมาณพนั้นคิดจะออกบรรพชาแสวงหาโมกขธรรมจึงไปชวน สิริวัฑฒกุฎุมพี ๆ ปฏิเสธว่าไม่สามารถออกบรรพชาได้ แล้วสรทมาณพออกไปบรรพชาเป็นดาบสพร้อมด้วยบริวารเป็นจำนวนมาก ได้สำเร็จอภิญญา 5 และสมาบัติ 8 ประการ ต่อมาได้กระทำอธิสักการบูชาแด่พระอโนมทัสสีพุทธเจ้า และตั้งความปรารถนาไว้ในที่เฉพาะพระพักต์เพื่อเป็นอัครสาวกเมื่อได้รับพุทธพยากรณ์แล้ว พลันหวนนึกถึงสิริวัฑฒกุฎมพีผู้เป็นสหายขึ้นได้ จึงรีบไปที่บ้านของสิริวัฒกุฎมพีแต่ผู้เดียว และได้ชี้แจงให้ผู้เป็นสหายทราบและให้ปรารถนาตำแหน่งทุติยสาวก (สาวกเบื้องซ้าย) ในศาสนาของพระพุทธโคดม เช่นเดียวกับตน สิริวัฒกุฎมพี ได้ฟังดังนั้น จึงให้สรทดาบสไปนิมนต์พระพระอโนมทัสสีพุทธเจ้า มาที่บ้านและทำการถวายมหาทานและเครื่องมหาสักการบูชามากมายตลอดเจ็ดวัน แล้วก็ประนมมือกราบทูลแทบพระบาทพระะอโนมทัสสีพุทธเจ้า ว่า สรทดาบสผู้เป็นสหายของข้าพระองค์ปรารถนาเป็นอัครสาวกของพระบรมศาสดาพระองค์ใด ข้าพระองค์ขอได้เป็นทุติยะสาวกของศาสดาพระองค์นั้นด้วยเถิดพระเจ้าข้าพระอโนมทัสสีพระพุทธเจ้าทรงพิจารณาดูอนาคตกาลแล้ว ทรงเห็นว่าความปรารถนาของสิริวัฒกุฏมพีจะสำเร็จสมมโนรถ จึงทรงพยากรณ์ว่า เมื่อเวลาล่วงเลยไปหนึ่งอสงไขยกับอีกหนึ่งแสนกัป นับจากกัปนี้ไป เธอจะได้เป็นทุติยสาวกของพระโคดมพุทธเจ้า สิริวัฒกุฎพีรับฟังพระพุทธพยากรณ์นั้นแล้ว มีใจร่าเริงยินดีเป็นที่สุด ราวกับว่าความปรารถนานั้นจะสำเร็จในวันพรุ่งนี้หรือมะรืนนี้ฉะนั้น ฝ่ายพระอโนมทัสสีพุทธเจ้าเสวยพระกระยาหารเสร็จแล้ว เสด็จกลับพระวิหาร พร้อมด้วยพระภิกษุทั้งหลาย จำเดิมแต่วันนั้นมาสิริวัฒกุฎมพีได้กระทำกัลยาณกรรมอยู่เป็นประจำตลอดชีวิต ครั้นเขาสิ้นชีวิตแล้วขึ้นไปเกิดในกามาวจรเทวโลก ในวาระแห่งจิตที่ 2 และกลับมาเกิดเป็นมนุษย์อีกในชาติต่อมา และในสมัยพระโคดมพระพุทธเจ้านี้ เกิดมาเป็นโกลิตมาณพ เพื่อนของอุปปติสสมาณพ เมื่ออุปติสสมาณพได้ไปพบพระอัสสชิในกรุงราชคฤห์ ได้ฟัง "พระคาถาเย ธัมมา" จากพระอัสสชิ ทำให้ได้ดวงตาเห็นธรรม คือ บรรลุโสดาบัน อุปติสสมาณพได้นำคำสอนของพระอัสสชิไปแจ้งให้โกลิตมาณพทราบ โกลิตมาณพก็ได้ดวงตาเห็นธรรมเช่นดียวกัน ทั้งสองมาณพได้ไปเฝ้าพระพุทธเจ้าที่วัดเวฬุวนาราม และได้ทูลขออุปสมบทต่อพระพุทธเจ้า พระองค์ก็ได้ทรงอนุญาตให้อุปสมบทเป็นภิกษุ โกลิตมาณพซึ่งอุปสมบทเป็นพระมหาโมคคัลลานะ บำเพ็ญความเพียรได้ 7 วัน ก็สำเร็จพระอรหันต์ ส่วนอุปติสสมาณพซึ่งอุปสมบทเป็นพระสารีบุตรอุปสมบทได้ 15 วัน จึงสำเร็จพระอรหันต์ ในวันที่พระสารีบุตรบรรลุพระอรหันต์ ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือนมาฆะ ในคืนวันนั้น พระพุทธเจ้าทรงประทานพระโอวาทปาติโมกข์แก่จาตุรงคสันนิบาต จากนั้น พระพุทธเจ้าทรงประกาศแต่งตั้งพระสารีบุตรเป็นอัครสาวกเบื้องขวา เลิศกว่าผู้อื่นในทางปัญญา พระมหาโมคคัลลานะเป็นอัครสาวกเบื้องซ้าย (ทุติยสาวก) เลิศกว่าผู้อื่นในทางฤทธิ์ ความสำคัญในพระพุทธศาสนา[แก้] การสำเร็จเป็นพระอรหันต์[แก้] พระพุทธเจ้าทรงแสดงอุบายแก้ง่วงแก่พระโมคคัลลานะ[แก้] พระมหาโมคคัลลานะ เมื่ออุปสมบทได้ 7 วัน ได้ไปทำความเพียรอยู่ที่ป่าใกล้บ้านกัลป์ลาวาลมุตตาคาม แขวงมคธ ถูกถีนมิทธารมณ์ คือ ความง่วงเหงาเข้าครอบงำ ไม่สามารถจะทำความเพียรได้ ขณะนั้น พระผู้มีพระภาค ประทับอยู่ ณ สวนเภสกลาวัน ซึ่งเป็นสถานที่ให้เหยื่อแก่เนื้อ ใกล้เมืองสุงสุมารคิรี อันเป็นเมืองหลวงของแคว้นภัคคะ ทรงทราบด้วยพระญาณว่าพระโมคคัลลานะ โงกง่วงอยู่ จึงทรงทำปาฏิหาริย์ให้เห็นปรากฏ ประหนึ่งว่าเสด็จประทับอยู่ตรงหน้า ทรงแสดงอุบายสำหรับระงับความง่วงแก่เธอตามลำดับ ดังนี้ โมคคัลลานะ เมื่อเธอมีสัญญาอย่างใดแล้ว เกิดความง่วงขึ้น เธอจงทำไว้ในใจซึ่งสัญญาอย่างนั้นให้มาก จะเป็นเหตุให้ละความง่วงได้ ( หมายเหตุ ข้างต้นเป็นไปตามพระไตรปิฏกฉบับมหามกุฏและสยามรัฐ ซึ่งแปลสำนวนจาก บาลีฉบับสยามฯ ส่วน พระไตรปิฏกฉบับมหาจุฬา แปลสำนวนตาม บาลีสากล ซึ่งตรงตามบาลีลังกาและพม่า ได้เนื้อความว่า "เมื่อเธอมีสัญญาอยู่อย่างไร ความง่วงนั้น ย่อมครอบงำเธอได้ เธออย่าได้มนสิการถึงสัญญานั้น อย่าได้ทำสัญญานั้นให้มาก เป็นไปได้ที่เมื่อเธออยู่อย่างนั้นจะละความง่วงนั้นได้" . สำหรับ บาลีจากพระไตรปิฎกบาลีฉบับต่างๆเป็นดังนี้ : "ตสฺมาติห, โมคฺคลฺลาน, ยถาสญฺญิสฺส เต วิหรโต ตํ มิทฺธํ โอกฺกมติ, ตํ สญฺญํ มา มนสากาสิ [มา มนสิกาสิ (สี.), มนสิ กเรยฺยาสิ (สฺยา.), มนสากาสิ (ก.)], ตํ สญฺญํ มา พหุลมกาสิ [ตํ สญฺญํ พหุลํ กเรยฺยาสิ (สฺยา.), ตํ สญฺญํ พหุลมกาสิ (ก.)]ฯ ฐานํ โข ปเนตํ, โมคฺคลฺลาน, วิชฺชติ ยํ เต เอวํ วิหรโต ตํ มิทฺธํ ปหีเยถ". ) ถ้ายังละไม่ได้ เธอควรตรึกตรองถึงธรรมที่ได้เรียนมาแล้ว ได้ฟังมาแล้วให้มาก จะเป็นเหตุให้ละความง่วงได้ ถ้ายังละไม่ได้ เธอควรสาธยายธรรมที่ได้เรียนได้ฟังมาแล้วให้มากจะเป็นเหตุให้ละความง่วงได้ ถ้ายังละไม่ได้ เธอควรยอนช่วงหูทั้งสองข้าง และลูบตัวด้วยฝ่ามือจะเป็นเหตุให้ละความง่วงได้ ถ้ายังละไม่ได้ เธอจงลุกขึ้นแล้วลูบนัยน์ตา ลูบหน้าด้วยน้ำเหลียวดูทิศทั้งหลาย แหงนดูดาว จะเป็นเหตุให้ละความง่วงได้ ถ้ายังละไม่ได้ เธอควรทำไว้ในใจถึงอาโลกสัญญา ถือ กำหนดความสว่างไว้ในใจเหมือนกัน ทั้งกลางวันและกลางคืน ทำใจให้เปิด ให้สว่าง จะเป็นเหตุให้ละความง่วงได้ ถ้ายังละไม่ได้ เธอควรเดินจงกรมสำรวมอินทรีย์ มีจิตใจไม่คิดไปภายนอก จะเป็นเหตุให้ละความง่วงได้ ถ้ายังละไม่ได้ เธอควรสำเร็จสีหไสยาสน์ นอนตะแคงขวา ซ้อนเท้าให้เลื่อมกัน มีสติสัมปชัญญะ หมายใจว่าจะลุกขึ้นเป็นนิตย์ เมื่อตื่นแล้วควรรีบลุกขึ้นด้วยตั้งใจว่า เราจะไม่ประกอบความสุขในการนอนและการเคลิ้มหลับอีกจะเป็นเหตุให้ละความง่วงได้ พระพุทธองค์ ตรัสสอนอุบายเพื่อบรรเทาความง่วงโดยลำดับจนที่สุดถ้ายังไม่หายง่วงก็ให้นอน แต่ให้นอนอย่างมีสติ พระพุทธเจ้าได้ประทานพระโอวาท 3 ข้อ[แก้] โมคคัลลานะ เธอจงทำไว้ในใจว่า เราจะไม่ชูงวง คือ ความถือตัวว่าเราเป็นนั่น เป็นนี่ เข้าไปสู่สกุล เพราะถ้าภิกษุถือตัวเข้าไปสู่สกุลด้วยคิดว่าเขาจะต้องต้อนรับเราอย่างนั้นอย่างนี้ ถ้าคนในสกุลเขามีการงานมาก ก็จะเกิดอิดหนาระอาใจ ถ้าเขาไม่ใส่ใจต้อนรับ เธอก็จะเก้อเขินคิดไปในทางต่าง ๆ เกิดความฟุ้งซ่านไม่สำรวม จิตก็จะห่างจากสมาธิ โมคคัลลานะ เธอจงทำไว้ในใจว่า เราจักไม่พูดคำอันเป็นเหตุเถียงกันเพราะถ้าเถียงกันก็จะต้องพูดมาก และผิดใจกัน เป็นเหตุให้ฟุ้งซ่านไม่สำรวม และจิตก็จะห่างจากสมาธิ โมคคัลลานะ ตถาคตไม่สรรเสริญการคลุกคลีด้วยประการทั้งปวง แต่ก็ไม่ตำหนิการคลุกคลีไปทุกอย่าง คือ เราไม่สรรเสริญการคลุกคลีกับหมู่ชน ทั้งคฤหัสถ์และบรรพชิต แต่เราสรรเสริญการคลุกคลีด้วยเสนาสนะ อันสงบสงัดปราศจากเสียงอื้ออึง ควรแก่การหลีกเร้นอยู่ตามสมณวิสัย ลำดับนั้น พระมหาโมคคัลลานะ ได้กราบทูลถามถึงข้อปฏิบัติอันเป็นธรรมชักนำไปสู่การสิ้นตัณหา เกษมจากโยคะคือกิเลสเครื่องประกอบให้จิตติดอยู่ พระพุทธองค์ ตรัสสอนในเรื่องธาตุกรรมฐาน โดยใจความว่า “ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เมื่อได้สดับว่าธรรมทั้งปวงไม่ควรยึดมั่น ก็ควรกำหนดธรรมเหล่านั้น ในยามเมื่อเสวยเวทนา อันเป็นสุขหรือทุกข์ หรือไม่สุขไม่ทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่ง และให้พิจารณาดังปัญญา อันประกอบด้วยความหน่าย ความดับ และความไม่ยึดมั่น จิตก็จะพ้นจากอาสวกิเลส เป็นผู้รู้ว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว” พระมหาโมคคัลลานะ ได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์แล้ว ท่านเป็นกำลังสำคัญของพระศาสนา ช่วยแบ่งเบาภารกิจ และยังพุทธดำริต่าง ๆ ให้สำเร็จด้วยดี เพราะท่านมีฤทธิ์มีอานุภาพยิ่งกว่าพระสาวกรูปอื่น ๆ จนได้รับการยกย่องจากพระบรมศาสดา แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง พระอัครสาวกเบื้องซ้าย โดยทรงยกย่องให้เป็นอัครสาวกคู่กับพระสารีบุตรว่า “พระสารีบุตรเป็นพระอัครสาวกเบื้องขวา เปรียบเสมือนมารดาผู้ให้กำเนิดบุตร พระโมคคัลลานะ เป็นพระอัครสาวกเบื้องซ้าย เปรียบเสมือนนางนมผู้เลี้ยงทารกที่เกิดมาแล้ว พระสารีบุตร ย่อมแนะนำให้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล พระโมคคัลลานะ ย่อมแนะนำให้ตั้งอยู่ในคุณเบื้องสูงขึ้นไป”นอกจากนี้ พระมหาโมคคัลลานะ ยังเป็นผู้มีความสามารถในการ นวกรรม คือ งานก่อสร้าง พระบรมศาสดาเคยทรงมอบหมายให้ท่านรับหน้าที่ นวกัมมาธิฏฐายี คือ ผู้ควบคุมดูแลการก่อสร้างวิหารบุพพาราม ที่เมืองสาวัตถี ซึ่งนางวิสาขาบริจาคทรัพย์สร้างถวายอีกด้วย การบำเพ็ญประโยชน์ในการประกาศพระพุทธศาสนา[แก้] พระมหาโมคคัลลานเถระมีความสามารถในทางอิทธิปาฏิหาริย์ พระมหาโมคคัลลานะ เมื่อบวชและสำเร็จเป็นพระอรหันต์แล้วปรากฏว่าท่านมีความสามารถโดดเด่นในทางอิทธิปาฏิหาริย์ เป็นเลิศ กว่าภิกษุทั้งหลาย ท่านสามารถแสดงฤทธิ์ ไปยังภูมิของสัตว์นรก และไปโลกสวรรค์ชั้นต่าง ๆ ได้ ท่านได้พบเห็นสัตว์นรกในขุมต่าง ๆ และของเทพบุตรเทพธิดาที่ได้เสวยความสุขจากการทำบุญไว้ในเมืองมนุษย์เช่นกัน ท่านได้นำข่าวสารของสัตว์นรกและของเทพบุตรเทพธิดาเหล่านั้น มาแจ้งแก่บรรดาญาติและชนทั้งหลายให้ทราบ ทำให้บรรดาญาติและชนเหล่านั้นพากันละเว้นกรรมชั่วลามกอันจะพาตนไปเสวยผลกรรมในนรก พากันสร้างบุญกุศล อันจะนำตนไปสู่สุคติโลกสวรรค์ และพร้อมกันนั้นก็พากันทำบุญอุทิศไปให้แก่ญาติของตน เหล่าชนบางพวกที่ไม่มีศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ก็พากันละทิ้งลัทธิศาสนาเดิมมาศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนามากยิ่งขึ้น ทำให้พวกเดียรถีย์ทั้งหลายต้องเสื่อมจากลาภสักการะ เป็นอยู่ลำบากอดอยากขึ้นเรื่อย ๆ เรื่องที่พระเถระไปเยี่ยมชมโลกสวรรค์ชั้นต่าง ๆ[แก้] นั้นมีเรื่องกล่าวไว้ในคัมภีร์ธรรมบทหมวดปิยวรรคและโกธวรรคว่าวันหนึ่ง พระเถระได้ขึ้นไปยังดาวดึงส์โลกสวรรค์ ด้วยอริยฤทธิ์ ได้เห็นปราสาทหลังหนึ่ง มีแสงแวววาวด้วยแก้วนานาประการ มีขนาดใหญ่ทั้งกว้าง ทั้งสูง มีนางเทพธิดาอยู่ในปราสาทนั้นจนเนืองแน่น พระเถระจึงถามว่า “แม่เทพธิดา วิมานนี้เป็นของใคร (เกิดขึ้นเพื่อใคร) ?" “ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ วิมานนี้เกิดขึ้นเพื่อนันทิยะ ผู้สร้างศาล 4 มุข 4 ห้อง ถวายพระบรมศาสดา พวกดิฉันมาเกิดในที่นี้ก็ด้วยหวังว่าจะได้เป็นบาทจาริกาของนันทิยะนั้น แต่จนบัดนี้ก็ยังไม่พบนันทิยะ เพราะท่านยังไม่ละอัตภาพจากโลกมนุษย์เลยขอพระคุณเจ้าได้โปรดนำข่าวสารไปบอกแก่นันทิยะให้ละอัตภาพมนุษย์อันเปรียบประดุจถาดดิน มาถือเอาอัตภาพอันเป็นทิพย์ ซึ่งเปรียบประดุจถาดทองคำล้ำค่าในโลกสวรรค์นี้ด้วยเถิด เจ้าค่ะ” อันที่จริง วิมานนั้นได้เกิดขึ้นบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์พร้อมกับขณะที่นันทิยมาณพ ได้สร้างศาลาจัตุรมุขมี 4 ห้อง ถวายแด่พระบรมพระศาสดาแล้ว หลั่งน้ำทักษิโณทก ตกลงบนฝ่าพระหัตถ์ของพระบรมศาสดา พระเถระได้จาริกท่องเที่ยวไปยังสวรรค์ชั้นอื่น ๆ ได้พบเห็นวิมานทองของเหล่าเทพบุตรเทพธิดาทั้งหลายแล้ว ได้ไต่ถามเทพบุตรเทพธิดาเหล่านั้นว่า ทำบุญอะไร ทานด้วยสิ่งใด จึงได้เสวยผลบุญ ได้รับทิพยสมบัติวิมานแล้ว วิมานทองอันงดงามยิ่งนัก เช่นนี้ เทพบุตรและเทพธิดาเหล่านั้น ต่างก็รู้สึกละอายที่จะบอกแก่พระเถระเพราะบุญทานที่พวกตนกระทำนั้นมีประมาณเพียงเล็กน้อย คือ บางองค์บอกว่า เพียงรักษาคำสัตย์ จึงได้สมบัติคือวิมานนี้ บางองค์บอกว่า เพียงห้ามความโกรธ จึงได้วิมานนี้ บางองค์บอกว่า เพียงถวายอ้อยลำเดียว จึงได้วิมานนี้ บางองค์บอกว่า เพียงถวายมะพลับ, ลิ้นจี่ ฯลฯ ผลเดียว จึงได้วิมานนี้ พระเถระจาริกไปยังสวรรค์ชั้นต่าง ๆ พอสมควรแก่อัธยาศัยแล้วก็กลับมาสู่มนุษย์โลก นำข่าวสารที่ได้พบเห็นมาแจ้งแก่หมู่ชนทั้งหลาย ซึ่งต่างก็พากันศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ทำบุญสร้างกุศล เพื่อหวังผลอันเป็นสุขสมบัติในปรโลก พระเถระทรมานพญานาค[แก้] สมัยหนึ่ง พระพุทธองค์ทรงพิจารณาเห็นอุปนิสัยแห่งพระอรหัตของนักบวชนอกพระพุทธศาสนานามว่า “อัคคิทัต” จึงรับสั่งให้พระมหาโมคคัลลานเถระไปอบรมสั่งสอนให้ลดทิฏฐิมานะ ละการถือลัทธินั้นเสียพระเถระรับพระพุทธบัญชาแล้วไปยังสำนักของอัคคิทัต นั้น กล่าวขอที่พักอาศัยสักราตรีหนึ่ง แต่อัคคิทัต ปฏิเสธว่าไม่มีสถานที่ให้พัก พระเถระจึงกล่าวต่อไปว่า “อัคคิทัต ถ้าอย่างนั้น เราขอพักที่กองทรายนั่นก็แล้วกัน”ก็ที่กองทรายนั้นมีพญานาคตัวใหญ่มีพิษร้ายแรงอาศัยอยู่ อัคคิทัต เกรงว่าพระเถระจะได้รับอันตรายจึงไม่อนุญาต แต่เมื่อพระเถระรบเร้าหนักขึ้นจนต้องยอมอนุญาต พระเถระจึงเดินไปที่กองทรายนั้น พญานาคเห็นพระเถระเดินมารู้ว่าไม่ใช่พวกของตนจึงพ่นควันพิษเข้าใส่พระเถระ ฝ่ายพระเถระก็เข้าเตโชกสิณบังหวนควันไฟให้กลับไปทำอันตรายแก่พญานาค ทั้งพระเถระและพญานาคต่างก็พ่นควันพ่นไฟเข้าใส่กันจนเกิดแสงรุ่งโรจน์โชตนาการ พิษควันไฟไม่สามารถทำอันตรายพระเถระได้เลย แต่ทำอันตรายแก่พญานาคฝ่ายเดียวอัคคิทัต กับบริวารมองดูแล้วคิดตรงกันว่า “พระเถระคงจะมอดไหม้ในกองเพลิงเสียแล้ว” พร้อมทั้งคิดว่า “สาสมแล้ว เพราะเราห้ามแล้วก็ไม่ยอมเชื่อฟัง” รุ่งเช้า อัคคิทัตกับบริวารเดินมาดู ปรากฏว่าพระเถระนั่งอยู่บนกองทราย โดยมีพญานาค ขดรอบกองทรายแล้วแผ่พังพานอยู่เหนือศีรษะ พระเถระจึงพากันคิดว่า “น่าอัศจรรย์ สมณะนี้มีอานุภาพยิ่งนัก” ขณะนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จมาถึง พระมหาโมคคัลลานเถระ จึงลงจากกองทรายแล้ว เข้าไปกราบบังคมทูลอาราธนาให้เสด็จประทับนั่งบนกองทรายแล้วกล่าวกับอัคคิทัตว่า “พระพุทธ องค์ เป็นศาสดาของข้าพเจ้า ๆ เป็นสาวกของพระพุทธองค์”ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาค ทรงแสดงพระธรรมเทศนาให้อัคคิทัตพร้อมทั้งบริวารเลิกละการเคารพบูชาภูเขา ป่า ต้นไม้ และจอมปลวก เป็นต้น ที่พวกตนพากันเคารพบูชาว่าเป็นที่พึ่งอันเกษมสูงสุด ให้หันมาระลึกถึงพระรัตนตรัยคือ พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ อันเป็นสิ่งประเสริฐสุดนำไปสู่การพ้นทุกข์ทั้งปวงเมื่อจบพระธรรมเทศนา อัคคิทัต และบริวารได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ด้วยกันทั้งหมดแล้วกราบทูบขอบรรพชาในพระพุทธศาสนา พระบรมศาสดาได้ประทานให้ด้วยวิธีเอหิภิกขุอุปสัมปทา เรื่องอิทธิปาฏิหาริย์ของพระมหาโมคคัลลานเถระนั้นมีมาก แต่นำมากล่าวไว้ในที่นี้พอเป็นตัวอย่างเพียงเท่านี้ พระเถระมีอัธยาศัยใจกว้าง[แก้] พระมหาโมคคัลลานเถระ ผู้เปี่ยมล้นด้วยคุณธรรมและความสามารถในอิทธิปาฏิหาริย์เหนือกว่าพระพุทธสาวกรูปอื่น ๆ แต่ท่านก็เป็นผู้มีอัธยาศัย ใจกว้างไม่กีดกัน ไม่เบียดบังความดีความสามารถของคนอื่น ไม่ฉวยโอกาสชิงความดี ความชอบจากผู้อื่น ดังจะเห็นได้จากเรื่องต่อไปนี้ สมัยหนึ่ง เศรษฐีชาวเมืองราชคฤห์ อยากจะเห็นพระอรหันต์ที่แท้จริงเพราะในเมือง ราชคฤห์นั้นมีเจ้าลัทธิหลายสำนัก ซึ่งต่างก็โอ้อวดว่าตนเป็นพระอรหันต์ ทั้ง ๆ ที่การปฏิบัติและหลักคำสอนก็แตกต่างกันเป็นอย่างมาก และหาแก่นสารมิได้ จึงให้บริวารกลึงไม้จันทน์แดง ทำเป็นบาตรแล้วผูกติดปลายไม้ไผ่ต่อกัน หลาย ๆ ลำตั้งไว้แล้วประกาศว่า “ใครเป็นพระอรหันต์ ก็จงเหาะมาเอาบาตรใบนี้ไป” เจ้าลัทธิทั้งหลายปรารถนาจะได้บาตร แต่ไม่สามารถเหาะมาเอาไปได้ จึงมาเกลี้ยกล่อมเศรษฐีให้ยกบาตรให้ตน โดยไม่ต้องเหาะขึ้นไป แต่เศรษฐีก็ยงคงยืนยันว่าต้องเหาะขึ้นไปเอาเอง เท่านั้นจึงจะได้ ขณะนั้น พระมหาโมคคัลลานเถระ กับพระปิณโฑลภารทวาชะเถระ กำลังยืนห่มจีวรอยู่บนก้อนหินใหญ่ เพื่อเข้าไปบิณฑบาตในเมือง ได้ยินพวกชาวบ้านพูดกันว่า “ในโลกนี้ คงจะไม่มีพระอรหันต์ เพราะวันนี้เป็นวันที่ 7 แล้วท่านเศรษฐีประกาศให้พระอรหันต์เหาะมาเอาบาตร แม้แต่ครูทั้ง 6 ที่โอ้อวดนักหนาว่าเป็นพระอรหันต์ ก็ยังไม่สามารถเหาะขึ้นไปเอาบาตรได้เลย เราเพิ่งรู้วันนี้เองว่าพระอรหันต์ไม่มีในโลก” พระเถระทั้งสอง ต้องการประกาศให้ประชาชนทั้งหลายรู้ว่าในพระพุทธศาสนามีพระอรหันต์อยู่จริง ดังนั้น พระมหาโมคคัลลานเถระ แม้จะมีฤทธิ์มีอานุภาพมากกว่า มีอายุพรรษามากกว่า แต่อาศัยความที่ท่านเป็นผู้มีใจกว้างมีความเอื้อเฟื้อต่อผู้อื่น ต้องการให้คุณของพระเถระรูปอื่นปรากฏบ้าง จึงบอกให้ พระปิณโฑลภารทวาชเถระ เหาะขึ้นไปเอาบาตรนั้นลงมา จนเศรษฐีและชาวเมืองพากันแตกตื่นมาดูกันอย่างโกลาหล เมื่อครั้งพระบรมศาสดา ทรงแสดงยมกปาฏิหาริย์แล้วเสด็จขึ้นไปจำพรรษา ณ ดาวดึงส์เทวโลก มหาชนที่ประชุมกันอยู่ที่นั่นไม่ทราบว่าพระพุทธองค์หายไปไหน จึงพากันเข้าไปถามพระมหาโมคคัลลานเถระ แม้พระเถระจะทราบเป็นอย่างดี แต่ท่านก็ไม่ตอบโดยตรง กลับบอกให้ไปถามพระอนุรุทธะเถระ ทั้งนี้ ก็เพื่อยกย่องคุณความรู้ความสามารถของพระพุทธสาวกรูปอื่น ๆ ให้ปรากฏบ้างนั่นเอง บั้นปลายชีวิต[แก้] พระมหาโมคคัลลานเถระถูกโจรทุบ[แก้] พระมหาโมคคัลลานะนิพพาน วันเวลาผ่านไปตามลำดับ เข้าสู่ปัจฉิมโพธิกาล ขณะที่ท่านพระมหาโมคคัลลานเถระพักอยู่ที่กาฬศิลา ในมคธชนบทนั้นพวกเดียรถีย์ ทั้งหลาย มีความโกรธแค้นพระมหาโมคคัลลานเถระ เป็นอย่างมาก เพราะความที่ท่านมีฤทธานุภาพมาก สามารถกระทำอิทธิฤทธิ์ ไปเยี่ยมชมสวรรค์และนรกได้ แล้วนำข่าวสารมาบอกแก่ญาติมิตรของผู้ไปเกิดในสวรรค์และนรกให้ได้ทราบประชาชนทั้งหลายจึงพากันเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาทำให้พวกเดียรถีย์ ต้องเสื่อมคลายความเคารพนับถือจากประชาชน ลาภสักการะก็เสื่อมลง ความเป็นอยู่ก็ลำบากฝืดเคือง จึงปรึกษากันแล้วมีความเห็นอันเดียวกันว่า “ต้องกำจัดพระมหาโมคคัลลานะ เพื่อตัดปัญหา” ตกลงกันแล้ว ก็เรี่ยไรเงินทุนจากบรรดาศิษย์ และอุปัฏฐากของตนเมื่อได้เงินมาพอแก่ความต้องการแล้ว ได้ติดต่อจ้างโจรให้ฆ่าพระเถระ พวกโจรใจบาป ได้รับเงินสินบนแล้วพากันไปล้อมจับพระเถระถึงที่พัก แต่พระเถระรู้ตัวและหลบหนีไปได้ถึง 2 ครั้งในครั้งที่ 3 พระเถระได้พิจารณาเห็นกรรมเก่า ที่ตนเคยทำไว้ในอดีตชาติติดตามมา และเห็นว่ากรรมเก่านั้นทำอย่างไรก็หนีไม่พ้น จึงยอมให้พวกโจรจับอย่างง่ายดาย และถูกพวกโจรทุบตีจนกระดูกแตกแหลกเหลวไม่มีชิ้นดี พวกโจรแน่ใจว่าท่านตายแล้ว จึงนำร่างของท่านไปทิ้งในป่าแห่งหนึ่ง แล้วพากันหลบหนีไป บุพกรรมของพระมหาโมคคัลลานเถระ[แก้] ในอดีตชาติ พระมหาโมคคัลลานเถระ เกิดเป็นลูกคนเดียวของพ่อแม่ ต่อมาเมื่อเจริญเติบโตขึ้นพ่อแม่ทั้งสองประสบเคราะห์กรรมตาบอดด้วยกันทั้งสองคนเป็นภาระที่ลูกชายคนเดียวต้องปรนนิบัติเลี้ยงดู การงานทุกอย่างทั้งนอกบ้านในบ้านลูกชายจัดการเป็นที่เรียบร้อย พ่อแม่ทั้งสองมิต้องกังวล ต่อมาพ่อแม่เห็นลูกชายอยู่ในวัยที่สมควรจะมีครอบครัวได้แล้ว จึงจัดการสู่ขอหญิงสาวที่มีชาติตระกูลใกล้เคียงกัน ให้มาแต่งงานเป็นคู่ของลูกชายทั้ง ๆ ที่ลูกชายมิได้เต็มใจ เพราะตนเองผู้เดียวก็สามารถปฏิบัติเลี้ยงดูบิดามารดาได้เป็นอย่างดี แต่เมื่อบิดามารดาเป็นภาระจัดการให้แล้วก็ไม่ขัดความประสงค์ของท่าน เมื่อแต่งงานแล้ว ชีวิตครอบครัวที่มีลูกสะใภ้พ่อผัวแม่ผัวอยู่ร่วมกันมาในระยะแรก ๆ ก็ราบรื่นสงบสุขเป็นอย่างดีเมื่อกาลเวลาผ่านนาน ๆ ไป ลูกสะใภ้ก็เริ่มรังเกียจพ่อผัวแม่ผัวที่ตาบอดด้วยกันทั้งสองคน จึงหาวิธีกำจัดท่านทั้งสองด้วยการยุแหย่สามีให้เกลียดชังพ่อแม่ คือ เมื่อสามีออกทำงานนอกบ้านก็แกล้งทำบ้านเรือนให้สกปรกรกรุงรัง เมื่อสามีกลับมาก็ฟ้องว่าพ่อแม่ทั้งสองเป็นผู้กระทำ ตนเองไม่สามารถที่จะทนเห็นทนอยู่ผู้เฒ่าตาบอดทั้งสองคนนี้ได้อีกต่อไปแล้ว ระยะแรก ๆ สามีก็ไม่ค่อยเชื่อเท่าไรนักได้แต่รับฟังแล้วก็นิ่งเฉยแต่เมื่อภรรยาพูดบ่อย ๆ และเห็นบ้านเรือนสกปรกมากยิ่งขึ้นจึงเชื่อคำของภรรยา และได้ปรึกษากันว่าจะทำอย่างไรกับคนแก่ตาบอดทั้งสองคนนี้ดี “เอาท่านใส่เกวียนไปฆ่าทิ้งในป่า” ภรรยาเสนอความคิดเห็น สามีแม้จะไม่เห็นด้วยกับความคิดนี้ เพราะตนเป็นคนรักและกตัญญูต่อพ่อแม่มาตลอดแต่เมื่อภรรยารบเร้าไม่รู้จบสิ้น จึงใจอ่อนยอมทำตามที่ภรรยาแนะนำ รุ่งเช้า ได้จัดหาอาหารเลี้ยงดูพ่อแม่เป็นอย่างดีแล้วกล่าวว่า“ข้าแต่คุณพ่อคุณแม่ ญาติที่หมู่บ้านโน้นต้องการให้คุณพ่อคุณแม่ไปเยี่ยมพวกเราไปกันในวันนี้เถิด”ลูกชายให้พ่อแม่นั่งบนเกวียนแล้วออกเดินทาง พอมาถึงกลางป่าส่งเชือกบังคับโคให้พ่อถือไว้แล้วพูดหลอกว่า “คุณพ่อจับปลายเชือกนี้ไว้ โคจะลากเกวียนไปตามทางนี้ ทราบว่าในป่านี้มีพวกโจรซุ่มอยู่ ลูกจะลงเดินตรวจดูโดยรอบ” เมื่อลงเดินได้สักครู่หนึ่ง ก็เปลี่ยนเสียงร้องตะโกนประหนึ่งว่าเสียงโจรดักซุ่มอยู่ แล้วเข้ามาทุบตีทำร้ายบิดามารดา ฝ่ายบิดามารดาเชื่อว่าเป็นโจรจริง ๆ แม้จะถูกทุบตีอยู่ก็ยังร้องบอกให้ลูกรีบหนีไป พ่อแม่แก่แล้วไม่ต้องเป็นห่วง ลูกจงรักษาชีวิตไว้เถิด ลูกชายพอได้ยินเสียงมารดาบิดาร้องบอกให้รีบหนีไปไม่ต้องเป็นห่วงพ่อแม่ ก็กลับคิดไม่ได้ว่า “ตนทำกรรมหนัก พ่อแม่แม้จะถูกเราทุบตีอยู่นี้ ก็ยังร้องคร่ำครวญด้วยความรักและห่วงใยให้เรารีบหนีไปโดยมิได้คำนึงถึงชีวิตของตนเอง” แม้บิดามารดาจะร้องอยู่เช่นนี้ เขาก็ยังกระทำเสียงโจร และทุบบิดามารดาให้ตาย แล้วจึงโยนทิ้งไปในดงแล้วกลับมา ลูกชาย เมื่อตายแล้วต้องชดใช้กรรมในนรกเป็นเวลานาน เมื่อพ้นจากนรกแล้วมาเกิดใหม่ ต้องถูกทุบตีจนแหลกละเอียดอีกหลายร้อยชาติ ในชาติสุดท้ายนี้แม้จะได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ มีฤทธิ์ สามารถจะดำดินล่องหนหายตัวได้ เหาะเหินเดินอากาศได้ แต่ก็ไม่สามารถจะหนีผลกรรมได้ ท่านจึงยอมให้พวกโจรจับทุบจนร่างแหลกเหลวดังกล่าวมานั่นเอง กราบทูลลานิพพาน[แก้] พระมหาโมคคัลลานเถระ คิดว่า “เราควรไปกราบทูลลาพระผู้มีพระภาค ก่อนจึง ปรินิพพาน” ดังนี้แล้วก็เรียบเรียงสรีรกายประสานกระดูกด้วยกำลังฌานฤทธิ์ เหาะมาเฝ้าพระบรมศาสดา ถวายบังคมแล้วกราบทูลลาปรินิพพาน พระพุทธองค์ตรัสถามว่า “โมคคัลลานะ เธอจะปรินิพพาน ที่ไหน เมื่อไร ?” “ข้าพระองค์ จะนิพพานที่กาฬศิลาในวันนี้ พระเจ้าข้า” “โมคคัลลานะ ถ้าอย่างนั้น เธอจงแสดงธรรมแก่ตถาคตก่อน ด้วยว่าการได้เห็นพระเถระเช่นเธอนี้ จะไม่มีอีกแล้ว” พระเถระได้รับพระพุทธบัญชาเช่นนั้นจึงทำปาฏิหาริย์เหาะขึ้นไปบนอากาศแสดงพระธรรมเทศนาแล้วลงมาถวายอภิวาทกราบทูลลาไปยังกาฬศิลา และปรินิพพาน ณ ที่นั้น ตรงกับวันแรม 15 ค่ำ เดือน 12 หลังจากพระสารีบุตรนิพพานได้ 15 วัน พระผู้มีพระภาค เสด็จไปพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ทั้งหลาย ทรงเป็นองค์ประธานจุดเพลิงฌาปนกิจศพให้ท่าน ขณะนั้น ฝนดอกไม้ทิพย์ตกลงมาโดยรอบบริเวณ มหาชนพากันประชุมทำ สักการะอัฐิธาตุตลอด 7 วัน พระพุทธองค์โปรดให้สร้างเจดีย์บรรจุอัฐิไว้ ณ ที่ใกล้ซุ้มประตูแห่งพระเชตะวันมหาวิหารนั้น ในทางมหายาน[แก้] พระมหาโมคคัลลานะ ปรากฏในความเชื่อของศาสนาพุทธนิกายมหายานแบบจีน โดยเรียกว่า "มู่เหลียน" (จีน: 目連) เมื่อมารดาของพระมหาโมคคัลลานะได้ตายไป วิญญาณของนางได้ลงไปชดใช้กรรมในนรก เนื่องจากทำบาปไว้มาก วันหนึ่งพระมหาโมคคัลานะได้เพ่งจิตพิจารณาความเป็นอยู่ของมารดาตน พบว่านางต้องประสบเคราะห์กรรมอย่างมากต้องแย่งอาหารกินกับเปรต หรืออสุรกายตนอื่น ๆ ด้วยความกตัญญูพระมหาโมคคัลลานได้เพ่งจิตส่งอาหารลงไปให้ถึงในนรก แต่ก็ไม่สำเร็จเนื่องจากอาหารนั้นได้กลายเป็นเถ้าไฟไปทุกครั้ง พระมหาโมคคัลลานะมีความทุกข์ใจที่ไม่อาจช่วยมารดาของตนได้ จึงได้ไปกราบทูลปรึกษาพระพุทธเจ้า ซึ่งพระองค์ได้ทรงแนะให้โปรยทานด้วยผลไม้เพื่ออุทิศแก่ดวงวิญญาณคนตายทั้งหลายใน 10 จุด ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 7 ตามปฏิทินจันทรคติแบบจีน อันเป็นที่มาของประเพณีทำบุญให้แก่คนตาย ที่เรียกว่า เทศกาลพ้อต่อ (普渡) หรือ อุลลัมพน (盂蘭勝會) ดูเพิ่ม[แก้] พระสารีบุตร (อัครสาวกเบื้องขวาผู้เอตทัคคะเลิศด้วยปัญญา) อ้างอิง[แก้] ชีวประวัติพุทธสาวก ประวัติพระอัจฉริยะมหาเถระเมื่อครั้งพุทธกาล เล่ม 1 จำเนียร ทรงฤกษ์ , 2542 , พิมพ์โดยสำนักปฏิบัติธรรมสวนแก้ว (สาขาวัดปากน้ำ), สำนักพิมพ์ธรรมสภา เว็บไซต์ 84000 เว็บไชต ธรรมะ เกตเวย์ ประวัติพระสารีบุตรและโมคคัลลานะ จาก อรรถกถาธรรมบท http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=32&i=4 สนุกกับเทศกาลเฉลิมฉลอง Goh Pei Ki เขียน แสงจินดา กันยาทิพย์ แปลและเรียบเรียง, เมษายน พ.ศ. 2541, สำนักพิมพ์ดอกหญ้า ISBN 974-604-217-3 [แสดง] ด พ ก เอตทัคบุคคล (ในศาสนาของพระโคตมพุทธเจ้า) [แสดง] ด พ ก บุคคลในพุทธประวัติ [แสดง] ด พ ก บุคคลศักดิ์สิทธิ์ในคติพุทธศาสนาแบบจีน หมวดหมู่: พระอสีติมหาสาวกบุคคลในศตวรรษที่ 6 ก่อนคริสตกาลบุคคลในพุทธประวัติเอตทัคคะ รายการเลือกการนำทาง ไม่ได้ล็อกอินพูดคุยเรื่องที่เขียนสร้างบัญชีล็อกอินบทความอภิปรายเนื้อหาแก้ไขประวัติค้นหา ค้นหา วิกิพีเดีย ไป หน้าหลัก ถามคำถาม บทความคัดสรร บทความคุณภาพ เหตุการณ์ปัจจุบัน สุ่มบทความ มีส่วนร่วม เกี่ยวกับวิกิพีเดีย ศาลาประชาคม ปรับปรุงล่าสุด ติดต่อวิกิพีเดีย บริจาคให้วิกิพีเดีย วิธีใช้ เครื่องมือ หน้าที่ลิงก์มา การปรับปรุงที่เกี่ยวโยง อัปโหลดไฟล์ หน้าพิเศษ ลิงก์ถาวร สารสนเทศหน้า วิกิสนเทศ ไอเท็ม อ้างอิงบทความนี้ พิมพ์/ส่งออก สร้างหนังสือ ดาวน์โหลดเป็น PDF รุ่นพร้อมพิมพ์ ภาษาอื่น العربية Deutsch English Français हिन्दी Bahasa Indonesia Português Русский 中文 14 more แก้ไขลิงก์ หน้านี้แก้ไขล่าสุดเมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2559 เวลา 05:50 น. อนุญาตให้เผยแพร่ภายใต้สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์ แบบแสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน และอาจมีเงื่อนไขเพิ่มเติม ดูรายละเอียดที่ ข้อกำหนดการใช้งาน Wikipedia® เป็นเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของมูลนิธิวิกิมีเดีย องค์กรไม่แสวงผลกำไร ติดต่อเรา
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น