หากเรามองจาก ท้องฟ้า เราจะเห็น สิ่งที่เคลื่อนไหว ภายใต้ ของความคิดเรา ถ้าเรามองขึ้นไปจากใจเรา เราจะเห็น ทุกชีวิต กำลังดิ้นรน เพื่อ แสวงหา อาหาร เพื่อ หล่อเลี้ยง ชีวิตของตนเอง และ สิ่งที่ตนรัก และเป็นที่รัก ของตนเอง และแล้ว ทุกชีวิต ก็ พบว่า ความกระหายใคร่ ได้ ใคร่มี ใคร่เป็น หรือ ความทะยานอยาก นี่เอง ที่เป็นสาเหตุ ให้มนุษย์ ต้องเดินทางอยู่ ตลอดชีวิต ลองหยุดเดินทางด้วยยานพาหนะ แล้วหันมาเดินทาง ด้วยจิตวิญญาณ แล้วการ เดินทางไกล จะใกล้เข้าทุกขณะจิต หายใจเข้า ตามรู้ หายใจออก ตามรู้
วันศุกร์ที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2559
ร่างกาย คือก้อนทุกข์ จิตคือตัวทุกข์เรายึดถือจิตใจเหนียวแน่นกว่าเรายึดถือร่างกาย เวลาเราภาวนาเนี่ยจะปล่อยวางความยึดถือในร่างกายได้ก่อนการปล่อยวางความยึดถือในจิตใจ ปล่อยวางความยึดถือในร่างกายได้ ภูมิธรรมของพระอนาคานาเนี่ยปล่อยแล้ว แต่ปล่อยความยึดถือในจิตใจต้องพระอรหันต์ถึงจะปล่อยได้ พวกเรายังไม่ปล่อยแต่ว่าก็เดินในร่องรอยที่พระอริยเจ้าทั้งหลายท่านเดินกัน ค่อยๆฝึกค่อยๆดำเนินไปนะวันละเล็กวันละน้อย ไม่ต้องรีบร้อนหรอกที่จะบรรลุเร็วๆ แต่ว่าปฏิบัติสม่ำเสมอ อย่ารีบร้อนที่จะให้ได้ผล อย่าลุกลี้ลุกลน ปฏิบัติลุกลี้ลุกลนไม่ได้กินหรอก แต่ว่าปฏิบัติแบบย่อหย่อนก็ไม่ได้กินเหมือนกัน งั้นเราขยันดูนะ ดูบ่อยๆดูเนืองๆ แต่ไม่ได้ดูด้วยหวังผลว่าจะได้อะไร ดูไปจนวันหนึ่งมันเข้าใจความเป็นจริงของกายของใจได้มันจะเข้าใจความเป็นจริงของโลกด้วย ทั้งกายกับใจนี้ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ในโลกนี้จะมีอะไรที่น่ายึดถือ คนและสัตว์ทั้งหลายพยายามดิ้นรนหาความสุขและหลีกหนีความทุกข์ด้วยวิธีการต่างๆ แต่ไม่มีผู้ใดสามารถหนีพ้นจากความทุกข์ได้จริง เพราะความทุกข์เป็นสิ่งที่แนบประจำอยู่กับขันธ์คือร่างกาย และจิตใจนี้เอง มีแต่พระพุทธเจ้าเท่านั้นที่ทรงค้นพบทางรอดอันเป็นทางเอก คือทางสายเดียวที่จะพาผู้ดำเนินตามให้พ้นจากทุกข์ได้จริง ทางเอกนี้คือการเจริญวิปัสสนากรรมฐานนั่นเอง การเจริญวิปัสสนากรรมฐานเป็นการหันมาเผชิญหน้าและเรียนรู้ ความ จริงของทุกข์ เมื่อทุกข์อยู่ที่กายก็มีสติระลึกรู้กายตามความเป็นจริง เมื่อทุกข์ อยู่ที่จิตก็มีสติตามรู้จิตตามความเป็นจริง จนในที่สุดก็สามารถเข้าถึงความจริงสูงสุดคืออริยสัจจ์ข้อแรกได้ คือการรู้ทุกข์ ได้แก่การรู้ความจริงว่ากายนี้ใจนี้ไม่ใช่ตัวเรา ผู้ที่รู้ความจริงนี้เรียกว่าพระโสดาบัน เป็นผู้ละความเห็นผิดว่ากายกับใจคือตัวเรา เมื่อตามรู้กายและตามรู้ใจต่อไปอีก ถึงจุดหนึ่งจิตจะวางความยึดถือกายและใจลงได้อย่างสิ้นเชิง และไม่หยิบฉวยเอากายและใจขึ้นมาถือไว้ให้เป็นภาระกดถ่วงจิตใจอีกต่อไป เมื่อไม่ยึดถือกายและใจแล้ว ความดิ้นรนทะยานอยากของจิตที่จะให้กาย และใจมีความสุขและพ้นจากความทุกข์ ทั้งด้วยการแสวงหา อารมณ์ที่เพลิดเพลินพอใจ การทำความสงบจิต และการหลีกหนีการรับรู้อารมณ์หยาบๆ ก็จะหมดสิ้นไป การรู้ทุกข์อย่างแจ่มแจ้งจึงเป็นเครื่องทำลายสมุทัยหรือตัณหาให้ดับสนิทลงโดยอัตโนมัติ เมื่อปราศจากตัณหา จิตก็ได้ประจักษ์แจ้งถึงนิโรธหรือนิพพานอันเป็นสภาวธรรมซึ่งสงบสันติ ปราศจากทุกข์และกิเลสตัณหาทั้งปวง การรู้ทุกข์จนสมุทัยถูกละไปเองและนิโรธปรากฏให้ประจักษ์โดยไม่ต้อง แสวงหานั้น คือมรรคหรือทางเอกนั่นเอง พวกเราควรเจริญมรรคให้มาก คือ หมั่นตามรู้กายตามรู้ใจอย่างถูกวิธีเนืองๆ แล้วจะพบความอัศจรรย์ของพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระอริยสาวกด้วยตนเอง ทางเอก/การละสักกายทิฏฐิ/ทางผิดที่ติดตาย/ทางผิดสองสายที่ต้องทำความรู้จัก/ความสุดโต่งในข้างตามใจกิเลส/ความสุดโต่งในข้างการบังคับกดข่มตนเอง/การทรมานกาย/การทรมานใจ/ผลที่เกิดจากความสุดโต่ง/ความเป็นไปได้ที่จิตจะไม่หลงไปสู่ความสุดโต่งและเดินทางสายกลางได้เอง/วิธีสังเกตว่าจิตหลงสู่ทางที่สุดโต่งหรือไม่/ความสุดโต่งในข้างตามใจกิเลส/ความสุดโต่งในข้างการบังคับตนเอง/จะเข้าสู่ทางสายกลางได้อย่างไร/การทำความรู้จักทางที่ถูก/การทำความรู้จักทางที่ผิดและรู้ทันจิตที่เดินทางผิด/อาการของจิตที่รู้สึกตัว ไม่เผลอและไม่เพ่ง เป็นอย่างไร/เมื่อรู้สึกตัวได้แล้วจะต้องทำอะไรต่อไป/จากต้นสายถึงปลายทาง/บทนำ/ทางสายนี้เรียบง่าย ลัดสั้น และน่ารื่นรมย์/เครื่องขัดขวางการเรียนรู้ธรรม/มานะ/ทิฏฐิ/ตัณหา/จากปลายทางถึงต้นทางของการปฏิบัติธรรม/นิพพานคือจุดหมายสูงสุดของชาวพุทธ/นิพพานย่อมปรากฏแก่ผู้ถึงวิมุตติ/วิมุตติย่อมปรากฏแก่ผู้มีวิปัสสนาปัญญาบริบูรณ์/ปัญญามีสัมมาสมาธิเป็นเหตุใกล้ให้เกิด/สัมมาสมาธิมีความสุขอันเนื่องมาจาก/ความมีสติเป็นเหตุใกล้ให้เกิด/จิตที่มีสติคุ้มครองย่อมมีความสุข/สติมีการจดจำอารมณ์รูปนามได้แม่นยำเป็นเหตุใกล้ให้เกิด/การตามรู้อารมณ์รูปนามเนืองๆ /ทำให้จิตจำอารมณ์รูปนามได้แม่นยำ/จากต้นทางถึงปลายทางของการปฏิบัติธรรม/การเตรียมความพร้อมก่อนลงมือปฏิบัติธรรม/การลงมือเดินทาง/หัวใจกรรมฐาน/ธรรมที่ควรเจริญด้วยปัญญาอันยิ่ง/สมถกรรมฐาน/อารมณ์กรรมฐาน/จริต/นิมิต/ระดับของความสงบ/วิปัสสนากรรมฐาน/หลักการเจริญวิปัสสนากรรมฐานที่ถูกต้อง/ต้องรู้อารมณ์ที่ถูกต้อง/ต้องรู้วิธีการรู้อารมณ์รูปนามอย่างถูกต้อง/ต้องรู้อารมณ์รูปนามเนืองๆ/ขยายความเกี่ยวกับ "อารมณ์ที่ถูกต้อง"/ความหมายของอารมณ์ /ประเภทของอารมณ์ /อารมณ์บัญญัติ /อารมณ์ปรมัตถ์ /ประเภทของอารมณ์ปรมัตถ์ /นิพพานไม่ใช่อารมณ์ของวิปัสสนากรรมฐาน/สมมติบัญญัติปิดบังปรมัตถ์ /สติช่วยให้จิตพ้นออกชั่วคราว/จากอารมณ์บัญญัติและรู้อารมณ์ปรมัตถ์ได้ /การรู้กายง่ายกว่าการรู้จิตจริงหรือ/เรื่องแทรกเกี่ยวกับกายและจิต/วิธีการตามรู้รูปเพื่อให้เกิดสติ/วิธีการตามรู้นามเพื่อให้เกิดสติ/ขยายความ "วิธีการรู้รูปนามเพื่อให้เกิดปัญญา" /เครื่องมือ เหตุให้เกิดเครื่องมือและวิธีใช้เครื่องมือในการเจริญวิปัสสนา/วิธีการรู้รูปหรือกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน/วิธีการรู้นาม/วิธีการรู้รูปนามในธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน/ขยายความ "การรู้เนืองๆ"/ผลของการปฏิบัติธรรม/ความสุขจากการมีศีล/ความสุขจากการเจริญสมถกรรมฐาน/ความสุขจากการมีสติเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน/ความสุขจากการมีปัญญารู้รูปนามตามความเป็นจริง/ความสุขเมื่อละความเห็นผิดว่ารูปนามเป็นตัวเราของเราได้/ความสุขเมื่อละความยึดถือรูปนามได้/เรื่องของพระใบลานเปล่า/เรื่องราวของพระใบลานเปล่า/การทำกรรมฐานทางมโนทวารง่ายกว่าการทำกรรมฐานทั้ง 6 ทวาร/การทำกรรมฐานทางทวารทั้ง 6 เป็นงานมาก/การทำกรรมฐานทางทวารทั้ง 6 เป็นงานยาก/การทำกรรมฐานทางทวารทั้ง 6 เป็นเรื่องเกินความจำเป็นสำหรับนักปฏิบัติทั่วไป/วิธีเจริญวิปัสสนากรรมฐานโดยการรู้อารมณ์ทางมโนทวาร/สุญญตา/ ของฝาก
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น