หากเรามองจาก ท้องฟ้า เราจะเห็น สิ่งที่เคลื่อนไหว ภายใต้ ของความคิดเรา ถ้าเรามองขึ้นไปจากใจเรา เราจะเห็น ทุกชีวิต กำลังดิ้นรน เพื่อ แสวงหา อาหาร เพื่อ หล่อเลี้ยง ชีวิตของตนเอง และ สิ่งที่ตนรัก และเป็นที่รัก ของตนเอง และแล้ว ทุกชีวิต ก็ พบว่า ความกระหายใคร่ ได้ ใคร่มี ใคร่เป็น หรือ ความทะยานอยาก นี่เอง ที่เป็นสาเหตุ ให้มนุษย์ ต้องเดินทางอยู่ ตลอดชีวิต ลองหยุดเดินทางด้วยยานพาหนะ แล้วหันมาเดินทาง ด้วยจิตวิญญาณ แล้วการ เดินทางไกล จะใกล้เข้าทุกขณะจิต หายใจเข้า ตามรู้ หายใจออก ตามรู้
วันจันทร์ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2559
วิธีเจริญสติเพื่อให้รู้ทันจิตพวกพระเจ้าแผ่นดิน พวกนักปราชญ์ พวกนักคิดทั้งหลายนะ มีสติรู้นิวรณ์ใจจะมีสมาธิขึ้นมา การมีสติแล้วมีศีล มีสติแล้วมีสมาธิ ต่อไปมีสติแล้วมีปัญญา ถ้าไม่มีสติจะไม่มีปัญญา ถ้ามีสติอย่างเดียวปัญญาจะไม่เกิด มีเงือนไขเฉพาะอีกอัน จะต้องมีสัมมาสมาธิด้วย สัมมาสมาธิ คือ ใจที่ตั้งมั่น เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ใจเป็นคนรู้คนดูนะ ฉะนั้นเวลาเราทำวิปัสนา ครูบาอาจารย์ชอบพูดเหมือนๆ กันนะ กระทั่งอาจารย์อภิธรรม เมื่อก่อนตอนหลวงพ่อเด็กๆ หลวงพ่อชอบฟังอภิธรรมนะ เปิดวิทยุฟังอภิธรรม มีอาจารย์แนบ อาจารย์แนบชอบสอนบอกว่า ให้เหมือนคนดูละคร สมัยสองพันห้าร้อยกว่าๆ นะ เปรียบเทียบกับการดูละครคนรู้เรื่อง เดี๋ยวนี้ต้องเปรียบเทียบกับการดูคอนเสิร์ท ครูบาอาจารย์ก่อนๆ นะสอนเหมือนดูละคร ใจเราอยู่ต่างหากใช่ไหม เห็นละครแสดงไปเราไม่เข้าไปเกี่ยวข้อง เป็นคนดูนะ ใจที่เป็นคนดูนะ เป็นใจที่ตั้งมั่น ใจเป็นมีสัมมาสมาธิ แต่ถ้าใจกระโดดลงไป ใจถลำลงไป เป็นผู้แสดงเมื่อไหร่ละก็ เป็นใจที่ไม่มีสัมมาสมาธิ ทำอย่างไรหล่ะจิตจะเกิดสัมมาสมาธิ อาศัยสติก็ได้นะ สติหน่ะเก่งเหลือเกิน สติทำให้เกิด ศีลก็ได้ สติทำให้เกิดสมาธิคือความสงบใจก็ได้นะ ทำให้ใจตั้งมั่นเป็นสัมมาสมาธิ ทำใหเกิดปัญญาก็ได้นะ จิตที่มีสมาธิที่ไม่ตั้งมั่นนะ แต่จะมีสมาธิธรรมดา เช่น บางคนรู้ลมหายใจเข้า รู้ลมหายใจออก จิตไหลไปเกาะนิ่งอยู่ที่ลมนะ ไปเกาะเพลินอยู่ที่ลมนะ ไม่ไหลเพลินออกไปไหนเลย จิตมีสมาธินะแต่ไม่ใช่สัมมาสมาธิ เป็นสมาธิธรรมดา จิตเข้าไปแช่อยู่ที่ตัว อารมณ์ เวลามาดูท้องพองยุบนะ จิตไหลไปแช่นิ่ง อยู่ที่ท้อง ตอนนี้เดินปัญญาไมได้สงบอยู่อย่างเดียว ไปเดินจงกรมนะ จิตไหลไปเกาะอยู่ที่เท้ายกเท้าย่างเท้า รู้สึกหมดเลยนะ หรือดูที่กายนะจิตเพ่งไปที่ร่างกายทั้งร่างกาย จิตไปเกาะร่างกายทั้งร่างกาย
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น