หากเรามองจาก ท้องฟ้า เราจะเห็น สิ่งที่เคลื่อนไหว ภายใต้ ของความคิดเรา ถ้าเรามองขึ้นไปจากใจเรา เราจะเห็น ทุกชีวิต กำลังดิ้นรน เพื่อ แสวงหา อาหาร เพื่อ หล่อเลี้ยง ชีวิตของตนเอง และ สิ่งที่ตนรัก และเป็นที่รัก ของตนเอง และแล้ว ทุกชีวิต ก็ พบว่า ความกระหายใคร่ ได้ ใคร่มี ใคร่เป็น หรือ ความทะยานอยาก นี่เอง ที่เป็นสาเหตุ ให้มนุษย์ ต้องเดินทางอยู่ ตลอดชีวิต ลองหยุดเดินทางด้วยยานพาหนะ แล้วหันมาเดินทาง ด้วยจิตวิญญาณ แล้วการ เดินทางไกล จะใกล้เข้าทุกขณะจิต หายใจเข้า ตามรู้ หายใจออก ตามรู้
วันเสาร์ที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2559
การฝึกจิตให้มีคุณภาพ สภาพจิตทีมีคุณภาพเพื่อรู้แจ้งอริยสัจธรรม
เอโกทิภาวะ หรือภาวะแห่งความเป็นหนึ่ง ในอรรถกถาบอกว่า คือสัมมาสมาธินั่นเอง เอโกทิภาวะก็คือ สภาวะที่ใจนี้ตั้งมั่น เด่นดวง ขึ้นมา แล้วมันเห็นอารมณ์ทุกสิ่งทุกอย่างเป็นของถูกรู้ถูกดู ใจมันเป็นแค่ผู้รู้ผู้ดู เนี่ยถ้าใจเราเข้าไปถึงฌานที่ ๒ ทุติยฌาน เราจะได้ เอโกทิภาวะ ขึ้นมา และถ้าถึง ๓ ๔ ๕ ๖ ๗ ถึงฌานที่ ๘ อะไรเหล่านี้ เอโกทิภาวะก็ยังอยู่ ใจจะตั้งมั่นเด่นอยู่อย่างนั้น
พอออกจากฌานแล้ว เอโกทิภาวะ นี้ยังทรงตัวอยู่อีกช่วงหนึ่ง อีกหลายชั่วโมง หรืออีกเป็นวันๆได้ ทรงตัว ถ้าฌานนั้นเกิดจากการเดินจงกรม เราเดินจงกรมอยู่แล้วจิตรวมลงไปถึงฌานที่ ๒ เนี่ย ถอยออกมาแล้วนะ เอเอโกทิภาวะทรงตัวอยู่ได้นาน เพราะฉะนั้นถ้าเราทำสมาธิด้วยการเดินได้เนี่ย กำลังของความรู้สึกตัวนี้จะทรงอยู่นานมาก จะนานกว่านั่ง เพราะฉะนั้นสมาธิที่เกิดจากการเดินจงกรมจะเข้มแข็ง
ทีนี้พอเรามีตัวผู้รู้ขึ้นมา พระป่าท่านจะเรียกว่าตัวผู้รู้นะ ทันทีที่จิตทรงมีตัวผู้รู้ขึ้นมาแล้วเนี่ย เราจะเห็นทันที ว่าร่างกายที่ยืน เดิน นั่ง นอน เนี่ย ไม่ใช่ตัวเรา เห็นมั้ย พอใจทรงตัวขึ้นมา มีสัมมาสมาธิขึ้นมา ปัญญาจะเกิดขึ้นมาทันทีเลย จะเห็นทันทีเลยว่า กายที่ยืนเดินนั่งนอนอยู่นี้ไม่ใช่ตัวเรา กายที่หายใจเข้าหายใจออกนี้ไม่ใช่ตัวเรา กายที่พองที่ยุบนี้ไม่ใช่ตัวเรา จะเห็นทันที ไม่ต้องคิดนะ แต่จะเห็นทันที จะรู้สึกทันที
เนี่ยถ้าเราฝึกเต็มภูมินะ เราจะเดินมาอย่างนี้ เพราะฉะนั้นกายานุปัสสนานะ หรือเวทนานุปัสสนาก็ตามเนี่ย ในอภิธรรมท่านถึงสอบบอกว่า เหมาะกับคนเล่นฌาน กายานุปัสสนา เวทนานุปัสสนา จะทำได้ดีถ้าเราทำฌาน และฌานนั้นถ้าจะดีจริงๆต้องถึงฌานที่ ๒ แล้ว จะมีเอโกทิภาวะขึ้นมา แล้วจะเห็นทันทีว่ากายนี้ไม่ใช่เรา เวทนาไม่ใช่เรา จะเห็นอย่างนั้น
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น