วันอาทิตย์ที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2559

วิธีละกิเลส วิธีเข้าถึงคำสอนของพระพุทธเจ้า

การปฏิบัติธรรมนี่ พอกิเลสผุดขึ้นมาเรามีสติรู้ทัน กิเลสก็ดับไป ทันทีที่เกิดสติไม่มีกิเลส เพราะฉะนั้นในการปฏิบัติธรรมนี่ไม่ได้ปฏิบัติเพื่อละกิเลส แต่แค่มีสติกิเลสก็ดับ ทีนี้พอกิเลสดับไปเราก็ไม่ทำตามความเคยชินเก่าๆ ที่กิเลสสอนให้ทำ ความเคยชินของเราก็ค่อยๆ เปลี่ยน อนุสัยก็จะค่อยๆ เปลี่ยนไป อย่างแต่เดิมเราด่าไวมากเลย ใครมากระทบนะ เราโมโห เราด่าเลยนี่ พอกิเลสเกิดขึ้นมา โทสะเกิด เราก็ด่า อนุสัยนี่มันปรุงกิเลสหยาบขึ้นมา พอมันปรุงกิเลสหยาบขึ้นมาแล้วครอบงำใจเราได้ เราทำกรรมใหม่ มันจะสะสมอนุสัยให้มากขึ้น หลวงพ่อยกตัวอย่างนะ สมมติสาวๆ คนหนึ่งนี่บ่นไม่เป็นนะ พอแต่งงานแล้วจะบ่นเก่งขึ้นเรื่อยๆ ใช่ไหม เพราะต้องดูแลบ้าน ดูแลสามี ดูแลลูก ทีแรกก็อบรมสั่งสอนนะ ในที่สุดกลายเป็นยายแก่ขี้บ่น มันเคยชิน มันเคยชินไปเรื่อย
เพราะฉะนั้น ถ้าหากอนุสัยมันทำงานขึ้นมา แล้วเราก็ตอบสนองกิเลสไป อนุสัยจะยิ่งตัวใหญ่ขึ้น แต่ถ้าอนุสัยปรุงกิเลสขึ้นมา เรามีสติรู้ทันปั๊บ กิเลสดับไป อนุสัยลงทุนแล้วขาดทุน มันจะค่อยๆ ฝ่อไป เพราะฉะนั้นเราเจริญสตินี่ อนุสัยจะค่อยๆ เหี่ยวแห้งไปเรื่อยๆ

จิตมันรู้ตื่นแล้วก็เป็นกลาง สักว่ารู้ สักว่าเห็น มันเห็นทุกสิ่งทุกอย่างเกิดแล้วดับ ทุกสิ่งทุกอย่างเท่าเทียมกัน สุขกับทุกข์เท่ากัน มีความสุขเกิดขึ้นมาก็สักว่ารู้สักว่าเห็นได้ มีความทุกข์เกิดขึ้นมาก็สักว่ารู้สักว่าเห็นได้ เมื่อสักว่า สักว่า แล้วอะไรจะเกิดขึ้น ก็จะหมดการดิ้นรนของจิต หมดความปรุงแต่งของจิต จิตจะค่อยๆ ปรุงน้อยลงๆ ถึงจุดหนึ่งหยุดปั๊บลงไปตรงหยุดปั๊บลงไปนี่จิตจะรวมเข้าอัปปนาสมาธิโดยสมาธิโดยอัตโนมัติเลย เมื่อรวมเข้าอัปปนาสมาธิแล้ว ตรงนี้จะไม่คิดไม่นึกอะไรแล้ว จะเห็นสภาวธรรม (รูปธรรม นามธรรม) เกิดดับขึ้นภายใน ๒-๓ ขณะ ใจนี้สักว่ารู้สักว่าเห็นอย่างแท้จริง ไม่มีกระทั่งความคิดนึกปรุงแต่งใดๆ สักนิดเดียวเลย ถัดจากนั้น จิตจะวางการรู้สภาวะทบทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้ พอทวนกระแสเข้าถึงธาตุรู้แล้วอริยมรรคจะแหวกอาสวะกิเลสทั้งหลายหรือสังโยชน์ทั้งหลาย อาสวะที่ห่อหุ้มจิตอยู่ สังโยชน์ที่แทรกอยู่ในจิตจะถูกทำลายออกไปตรงกระบวนการทำลายล้างนี่ ๑ ขณะเท่านั้น พอขาดสะบั้นลงแล้ว ตรงนี้เราจะเห็นนิพพาน ๒ ขณะบ้าง ๓ ขณะบ้าง ตรงนี้เป็นผลแล้ว เป็นโลกุตรผลนะ ตรงที่เกิดอริยมรรคเรียกว่าโลกุตตรเหตุ มรรคเป็นเหตุ ผลเป็นผล ตรงที่เห็นเป็นผลนี่จะเห็นไม่เท่ากัน พวกที่สติปัญญาแก่กล้าจะเห็นนิพพาน ๓ ครั้ง ๓ ขณะ พวกที่ยังไม่แก่กล้าจะเห็นนิพพาน ๒ ขณะ
ถัดจากนั้นจิตจะถอยออกมากลับสู่โลกภายนอกนี้ พอกลับมาสู่โลกภายนอก มันจะทวนกลับเข้าไปพิจารณาใหม่ว่าเมื่อกี้นี้เกิดอะไรขึ้น มันจะรู้เลยว่ากิเลสตัวไหนหายไปแล้ว กิเลสตัวไหนยังเหลืออยู่ รู้ว่ายังมีงานต้องทำอีก แต่ถ้าตัดครั้งที่สี่เป็นพระอรหันต์นะ มันทวนวับเข้าไป มันจะเห็นนิพพานชัดเจนเลย ไม่มีกิเลสอะไรให้ต้องลดละอีกแล้ว มันไม่มีกิเลสเหลือ จะเห็นนิพพานล้วนๆเราเป็นลูกพระพุทธเจ้า เราต้องเชื่อพ่อแม่ เราต้องรู้กายรู้ใจของเราไปเรื่อยๆ แล้ววันหนึ่งเราจะได้มรดกของพระพุทธเจ้า

ถ้าสติปัญญาเราพอนะ เรารู้เลยจิตมันแส่ส่ายออกทางตาหูจมูกลิ้นกายมีแต่ทุกข์จิตไม่แส่ส่าย พอจิตไม่แส่ส่ายจิตก็หลุดออกจากกามภูมิ เข้ารูปภูมิหรืออรูปภูมิ เข้าเองเลยเพราะงั้นพวกเรา หัดเจริญสติไปเรื่อย พอศีลสมาธิปัญญา สติสมาธิปัญญาแก่รอบนะจิต จะหมดความหลงไหลรูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะ ทั้งหลายมาดึงดูดจิตไหลไปไม่ได้แล้ว อย่างน้อยก็ชั่วขณะ ชั่วขณะเท่านั้นแหละถ้าจิตมันตั้งมั่นรู้ไหลออกไปแล้วทุกข์ ก็ตั้งเด่นดวงอยู่ จิตก็เข้าฌานอัตโนมัติเพราะงั้นถึงเราจะเจริญสติเจริญปัญญาโดยเข้าฌานไม่เป็นถึงนาทีสุดท้ายที่จะเกิดอริยมรรคอริยผลในทุกขั้นตอนตั้งแต่โสดาปัตติมรรคจนถึงอรหัตมรรคเนี่ย จิตจะเข้าฌานของเค้าเอง
ยกเว้นคนซึ่งเดินปัญญาอยู่ในฌาน เวลาที่จะเกิดอริยมรรคไม่ต้องถอยออกมาอยู่ในโลกก่อนนะนภูมิธรรมอันเดียวกันระดับเดียวกัน ความรู้ความเข้าใจไม่เท่ากัน ความแตกฉานอะไรนี้ไม่เท่ากันเห็นพระนิพพานแล้วก็รู้ว่านิพพานอยู่ต่อหน

ธรรมะของพระพุทธเจ้าไม่ใช่ธรรมะของคนส่วนใหญ่หรอก แต่สิ่งที่พระองค์สอนนั้นเป็นประโยชน์กับคนส่วนใหญ่ เพราะธรรมะมีหลายระดับ
ธรรมะสำหรับคนที่รักในตัวในตน พระองค์ก็สอนกว้างขวางมาก เช่น ธรรมะของพ่อแม่กับลูก ของลูกกับพ่อแม่ ของสามีภรรยา ธรรมะระหว่างเพื่อนฝูง ระหว่างผู้บังคับบัญชากับผู้ใต้บังคับบัญชา จนกระทั่งธรรมะที่จะทำให้รวย มีคนส่วนน้อยเท่านั้นที่จะภาวนาไปสู่ความพ้นทุกข์
ถ้าต้องการธรรมะที่จะพ้นไปจากโลก พระองค์ถึงจะสอนธรรมะที่ประณีตสูงขึ้นไป เป็นธรรมะที่ไม่มีตัวตน สำหรับคนที่อยากพ้นทุกข์จริงๆ
ถ้าเรามีปัญญา เราจะเห็นว่าความสุขในโลกเป็นของชั่วคราว กระทั่งสวรรค์และพรหมโลกก็เป็นของชั่วคราวเพราะสังขาร(สิ่งที่เกิดจากเหตุปัจจัย ทั้งรูปธรรมและนามธรรม) ทุกอย่างไม่เที่ยงเลย ทนอยู่ไม่ได้ ไม่ใช่ตัวตนที่ถาวร เป็นที่พึ่งอาศัยไม่ได้จริง จึงหาทางออกจากโลก โลกก็คือรูปนาม(กายใจ) นั่นแหละ
ให้เรามาเรียนรู้รูปนามให้แจ่มแจ้งด้วยการเจริญวิปัสสนา โดยมีสติรู้รูปรู้นามที่กำลังเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ด้วยใจที่ตั้งมั่น เป็นผู้รู้ผู้ดู ดูห่างๆเห็นซ้ำแล้วซ้ำอีก ใจจะค่อยเป็นกลางขึ้นเรื่อยๆ รู้ว่ารูปนานไม่ใช่ของดีของวิเศษอีกต่อไปแล้ว รูปนามนั่นแหละเป็นตัวทุกข์ มันเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา รู้แล้วจบที่รู้ รู้แล้วเป็นกลางจริงๆ เพราะใจมันเห็นความจริงว่าทุกอย่างเป็นของชั่งคราว ความสุขก็ชั่วคราว ความทุกข์ก็ชั่วคราว กุศลก็ชั่วคราว อกุศลก็ชั่วตราว แล้วเราจะไม่ไปหลงเอาของชั่วคราวมาเป็นที่พึ่งอาศัย
พอเห็นทุกสิ่งทุกอย่างเสมอกันหมด มีแต่เกิดแล้วดับเท่าเทียมกันหมด ความสุขเกิดขึ้นอีกก็ไม่ดิ้นรนที่จะให้มันอยู่นานๆ ความสุขที่ยังไม่เกิดขึ้นก็ไม่ดิ้นรนไปแสวงหามัน ความทุกข์ที่ยังไม่เกิดขึ้นก็ไม่ดิ้นรนต่อต้านไม่ให้เกิด ความทุกข์ที่เกิดแล้วก็ไม่ดิ้นรนหาทางทำลายมัน จิตหมดความดิ้นรน หมดความปรุงแต่ง เพราะเห็นความจริงของตัวขันธ์(กายใจ) ว่าเป็นตัวทุกข์
เมื่อเรียนรู้รูปนามจนแจ่มแจ้ง จิตก็เป็นกลางกับรูปนาม สามารถถอดถอนความยินดียินร้ายในโลก(รูปนาม)เสียได้ จิตก็หมดตัณหา หมดความอยาก หมดดิ้นรน พ้นการปรุงแต่ง เรียกว่า วิสังขาร หรือวิราคะ ซึ่งเป็นชื่อของพระนิพพาน
จากพระธรรมเทศนาของ หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น