วันศุกร์ที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2560

Buddhist Chant Maha Mangla Suttua 2มังคะละสุตตัง เอวัมเม สุตังฯเอกัง สะมะยัง ภะคะวา สาวัตถิ ยัง วิหะระติเชตะวะเน อะนาถะปิณฑิกัสสะ อาราเม ฯ อะถะโขอัญญะตะรา เทวะตา อะภิกกันตายะ รัตติยา อะภิกกันตะวัณณา เกวะละกัปปัง เชตะวะนัง โอภาเสตวา เยนะ ภะคะวา เตนุปะสังกะมิ อุปะสังกะมิตวา ภะคะวันตัง อะภิวาเทตวา เอกะมันตัง อัฏฐาสิฯ เอกะมันตังฐิตาโข สาเทวะตา ภะคะวนตั ังคาถายะอัชฌะภาสิฯ หยุด (พะหูเทวา มะนุสสา จะ มังคะลานิอะจินตะยุง อากังขะมานาโสตถานัง พรูหิมังคะละมุตตะมังฯ) ๑. อะเสวะนา จะ พาลานัง ปัณฑิตานัญจะ เสวะนา ปูชา จะ ปูชะนียานัง เอตัมมังคะละมุตตะมัง ฯ ๒. ปะฏิรูปะเทสะวาโส จะ ปุพเพ จะ กะตะปุญญะตา อัตตะสัมมาปะณิธิ จะ เอตัมมังคะละมุตตะมัง ฯ ๓. พาหุสัจจัญจะ สิปปัญจะ วินะโย จะ สุสิกขิโต สุภาสิตา จะ ยา วาจา เอตัมมังคะละมุตตะมัง ฯ ๔. มาตาปิตุอุปัฏฐานัง ปุตตะทารัสสะ สังคะโห อะนากุลา จะ กัมมันตา เอตัมมังคะละมุตตะมัง ฯ ๕. ทานัญจะ ธัมมะจะริยา จะ ญาตะกานัญจะ สังคะโห อะนะวัชชานิ กัมมานิ เอตัมมังคะละมุตตะมัง ฯ ๖. อาระตี วิระตี ปาปา มัชชะปานา จะ สัญญะโม อัปปะมาโท จะ ธัมเมสุ เอตัมมังคะละมุตตะมัง ฯ ๗. คาระโว จะ นิวาโต จะ สันตุฏฐี จะ กะตัญญุตา กาเลนะ ธัมมัสสะวะนัง เอตัมมังคะละมุตตะมัง ฯ ๘. ขันตี จะ โสวะจัสสะตา สะมะณานัญจะ ทัสสะนัง กาเลนะ ธัมมะสากัจฉา เอตัมมังคะละมุตตะมัง ฯ ๙. ตะโป จะ พรัหมะจะริยัญจะ อะริยะสัจจานะ ทัสสะนัง นิพพานะสัจฉิกิริยา จะ เอตัมมังคะละมุตตะมัง ฯ ๑๐. ผุฏฐัสสะ โลกะธัมเมหิ จิตตัง ยัสสะ นะ กัมปะติ อะโสกัง วิระชัง เขมัง เอตัมมังคะละมุตตะมัง ฯ ๑๑. เอตาทิสานิ กัตวานะ สัพพัตถะมะปะราชิตา สัพพัตถะ โสตถิง คัจฉันติ ตันเตสัง มังคะละมุตตะมันติ ฯ ** ช่วยจํา อะ ปะ พา, มา ทาอา, คาขัน ตะ, ผุฏ เอตาฯ ********************************************************** คำแปล มงคลสูตร พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสแสดงมงคลอันสูงสุด ดังต่อไปนี้ ๑. การไม่คบคนพาล การคยแต่ยัณฑิต การบูชาบุคคลผู้ควรบูชา ทั้ง ๓ ประการนี้เป็นมงคลอันสูงสุด ฯ ๒. การอยู่ในสถานที่อันสมควร ความเป็นคนผู้มีบุญอันได้กระทำไว้แต่กาลก่อนการตั้งตนไว้โดยชอบตามทำนองคลองธรรม ทั้ง ๓ ประการนี้ ก็เป็นมงคลอันสูงสุด ฯ ๓. ความเป็นผู้ได้ยินได้ฟังธรรมและปฏิบัติธรรมมาก ความเป็นผู้มีศิลปวิทยา ความเป็นผู้ได้ศึกษาเล่าเรียนและปฏิบัติในระเบียบวินัยเป็นอันดี การกล่าววาจาที่เป็นธรรมและไพเราะ แม้ทั้ง ๔ ประการนี้ก็เป็นมงคลอันสูงสุด ๔. การอุปัฎฐากบำรุงบิดามารดาให้มีสุข การสงเคราะห์บุตรและภรรยาให้มีสุข การทำการงานให้เสร็จเรียบร้อยไม่คั่งค้าง ทั้ง ๓ ประการนี้ ก็เป็นมงคลอันสูงสุด ฯ ๕. การให้ทาน การประพฤิตธรรม การสงเคราะห์ญาติและคนใกล้ชิดทั้งหลาย การทำการงานที่ไม่ประกอบด้วยโทษทั้งทางโลกและทางธรรม แม้ทั้ง ๔ ประการนี้ ก็เป็นมงคลอันสูงสุด ฯ ๖. การงดเว้นจากการทำบาปทั้งหลาย การงดเว้นจากการดื่มน้ำเมา ความไม่ประมาทในธรรมทั้งหลาย ทั้ง ๓ ประการนี้ ก็เป็นมงคลอันสูงสุด ฯ ๗. การเคารพต่อบุคคลและสิ่งที่ควรเคารพ ความไม่เย่อหยิ่งจองหอง ความสันโดษยินดีในสิ่งที่ตนมีอยู่ และสิ่งที่ตนถึงหาได้โดยชอบธรรม ความเป็นผู้มีกตัญญูรู้คุณที่ท่านได้ทำไว้แล้วแก่ตน การได้ฟังธรรมคำสอนของสัตบุรุษตามกาลเวลาอันสมควร แม้ทั้ง ๕ ประการนี้ ก็เป็นมงคลอันสูงสุด ฯ ๘. ความเป็นผู้มีขันติความอดทน ความเป็นผู้ว่าง่ายสอนง่าย การได้เห็นสมณพราหมณ์ผู้ทรงศีลทั้งหลาย การได้เจรจาสนทนาธรรมตามกาลเวลาอันสมควร ทั้ง ๔ ประการนี้ ก็เป็นมงคลอันสูงสุด ฯ ๙. การมีความเพียรเพื่อเผากิเลส การประพฤติพรหมจรรย์คือปฏิบัติตนให้เป็นผู้ประเสริฐ การมีปัญญาเห็นอริยสัจทั้งหลาย การทำมห้แจ้งซึ่งพระนิพพาน ทั้ง ๔ ประการนี้ ก็เป็นมงคลอันสูงสุด ฯ ๑๐. การทำจิตไม่ให้หวั่นไหวในโลกธรรมที่มากระทบ การไม่ทำใจให้เศร้าโศก การทำจิตให้ปราศจากธุลี คือกิเลสทั้งหลาย การทำจิตให้ถึงพระนิพพาน อันเป็นแดนอันพ้นจากภัยทั้งหลาย ทั้ง ๔ ประการนี้ ก็เป็นมงคลอันสูงสุด ฯ ๑๑. อนึ่ง เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เมื่อได้กระทำมงคลทั้งหลายเช่นนี้แล้ว ย่อมเป็นผู้ไม่พ่ายแพ้ในที่ทั้งปวง และย่อยถึงความสวัสดีในที่ทั้งปวง ทั้งหมดนั้นเป็นมงคลอันสูงสุด ของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายเหล่านั้นแล ฯ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น