วันอาทิตย์ที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2560

ทางแห่งความหลุดพ้นเวลาที่สติที่แท้จริงเกิดนะ เดี๋ยวก็รู้กาย เดี๋ยวก็รู้เวทนา เดี๋ยวก็รู้จิต แต่ทุกสิ่งแสดงธรรมะเรื่องเดียวกัน คล้ายๆ มีครูหลายคนนะ ครูเวียนกันเข้ามาสอนเราตลอดเวลาเลยเดี๋ยวครูยิ้มหวานมา เดี๋ยวครูหน้ายักษ์มา เดี๋ยวครูใจดี เดี๋ยวครูใจร้าย หมุนเวียนเข้ามาสอนเราทั้งวันเลยสอนเรื่องเดียวกันคือสอนไตรลักษณ์ทั้งหมดเลย สอนถึงความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา โลภ โกรธ หลง ก็สอนไตรลักษณ์ มีโลภแล้วมันก็ไม่มี มีโกรธแล้วก็ไม่มี มีหลงแล้วก็มันไม่มี กุศลทั้งหลายก็สอนไตรลักษณ์ใช่ไหม จิตมีสติขึ้นมาแล้วก็ขาดสติ มีปัญญาขึ้นมาบางทีก็ไม่มีปัญญา เอาแน่เอานอนไม่ได้บางทีก็มีฉันทะ บางทีก็ขี้เกียจ บางทีก็มีศรัทธา บางทีก็เสื่อมศรัทธา มันหมุนเวียนอยู่ คอยรู้มันไปเรื่อย รู้มันไปทุกสิ่งทุกอย่างสอนไตรลักษณ์ทั้งสิ้นเลย สอนให้เห็นเลยว่า มีแล้วก็ไม่มี มีแล้วก็ไม่มี การที่เห็นทุกสิ่งทุกอย่างนะ สอนไตรลักษณ์ไปเรื่อย มีแล้วก็ไม่มี มีแล้วก็ไม่มี ถึงจุดหนึ่งจะได้พระโสดาบัน เพราะพระโสดาบันคือท่านผู้เห็นความจริง ผู้ยอมรับความจริงว่า ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นมาดับทั้งสิ้นเลย สิ่งใดเกิดขึ้นสิ่งนั้นดับไปเป็นธรรมดาเราฝึกให้มีสตินะ แล้วทุกอย่างมันจะไหลเข้ามา เราก็รู้ไปเรื่อยๆ อย่าไปเพ่งมัน มันจะแสดงไตรลักษณ์ แสดงน้อยลง ตอบกลับ สมพงศ์ อินดัสเตรียล อิเล็กทรอนิคส์ สมพงศ์ อินดัสเตรียล อิเล็กทรอนิคส์3 เดือนที่ผ่านมา ทางสายกลางมีอยู่ ถ้าเราอยากพ้นทุกข์จริงๆ เบื้องต้นหัดรู้สึกตัวไว้ก่อน การที่เราคอยรู้เนื้อรู้ตัวนี่เราจะไม่หลงตามกิเลสไป แต่ให้รู้ ไม่ใช่ให้เพ่ง ไม่ใช่ให้บังคับ ไม่ใช่ให้ดัดแปลง ถ้าเพ่ง ถ้าบังคับ ถ้าดัดแปลง อันนี้คือการบังคับตัวเอง มีผลให้เราได้เป็นมนุษย์ที่ดี เป็นเทวดา เป็นพรหม ถึงวันหนึ่งก็เสื่อมอีก ยังไม่พ้นการเวียนว่ายตายเกิด ...พยายามรู้สึกตัวขึ้นมานะ แล้วมาเรียนรู้ความจริงของรูปของนาม ถ้าจิตใจยังติดใจในรูปในนามอยู่ ก็ยังเวียนว่ายตายเกิดอยู่ ยังก่อภพก่อชาติไปไม่สิ้นสุด แสวงหารูปนามใหม่ๆ ขันธ์ ๕ ใหม่ๆไปเรื่อยๆ เพราะใจยังติดอยู่ แต่ถ้าจิตมีสติปัญญาแก่รอบขึ้นมา เห็นขันธ์ ๕ ไม่ใช่สาระแก่นสาร พอจิตเห็นขันธ์ ๕ ไม่ใช่สาระแก่นสาร ความหวังที่จะให้ขันธ์ ๕ มันดี ขันธ์ ๕ มันสุข ขันธ์ ๕ มันสงบ ไม่มี มันดีไปไม่ได้หรอก มันเป็นตัวทุกข์ มันสุขไปไม่ได้หรอก มันทุกข์ มันสงบ มันก็สงบอยู่ไม่ได้จริงหรอก มันยังถูกความทุกข์บีบคั้นอยู่ตลอด ถ้าเมื่อไหร่เราเห็นขันธ์ ๕ ตกอยู่ใต้ความจริง เห็นความจริงของรูปนาม จิตจะคลายความยึดถือ ความยินดีในขันธ์ ๕ เมื่อจิตหมดความยึดถือ หมดความยินดีในขันธ์ ๕ เชื้อเกิดจะถูกทำลายไป จิตที่ยังเวียนว่ายตายเกิด เป็นจิตที่ยังมีเชื้อเกิดอยู่ เชื้อเกิดนี้มันก็เป็นเชื้อที่ยินดีในขันธ์ ๕ นั่นเอง มันโง่ มันมีอวิชชาซ่อนอยู่ในจิตดวงนี้ มันไม่รู้ความจริงของทุกข์ ไม่รู้ความจริงของสมุทัย ไม่รู้ความจริงของนิโรธ ไม่รู้ความจริงของมรรค ไม่รู้ความจริงของทุกข์ก็คือ ไม่รู้ว่าขันธ์ ๕ นี้เป็นตัวทุกข์ ยังคิดว่าจะหาทางหาขันธ์ ๕ ที่มีความสุขได้ พอไม่รู้ว่าขันธ์ ๕ เป็นตัวทุกข์ ความอยากจะให้ขันธ์ ๕ เป็นสุขก็เกิดขึ้น ความอยากจะให้ขันธ์ ๕ พ้นทุกข์ก็เกิดขึ้น สมุทัยก็มีขึ้นมา พอมีสมุทัยมีความอยากขึ้นมานี่ จิตก็มีความดิ้นรน จิตที่มีความดิ้นรนอยู่ ไม่มีความสงบสันติคือไม่มีนิพพาน ไม่เห็นนิพพาน งั้นเราต้องมาล้างเชื้อเกิดในใจของเรา ล้างความหลงผิดในใจของเรานั่นเอง ล้างอวิชชานั่นเอง อยากล้างอวิชชาได้ มีสตินี่แหละ รู้ขันธ์ ๕ ตามความเป็นจริง รู้กายรู้ใจนั่นแหละตามความเป็นจริง ดูลงไปเรื่อยเลย กายนี้ใจนี้ไม่ใช่ของดีของวิเศษ ไม่ต้องคิดหรอก มันไม่ใช่ของดีของวิเศษมาแต่ไหนแต่ไรแล้ว เราเพียงหลงผิดว่ามันดีมันวิเศษ เราเลยติดอกติดใจเพลิดเพลินอยู่ ถ้าเราดูซ้ำดูซากนะ ดูแล้วดูอีก อยู่ในกายในใจนี้ เราจะเห็นว่ากายนี้เป็นทุกข์ล้วนๆ ใจนี้เป็นทุกข์ล้วนๆ พวกเรายังไม่เห็น พวกเราเห็นว่าร่างกายนี้เป็นทุกข์บ้างเป็นสุขบ้าง จิตใจนี้เป็นทุกข์บ้างเป็นสุขบ้าง เพราะเราเห็นอย่างนี้นะ อวิชชาเรามีอยู่ เมื่อมันยังเห็นว่าร่างกายจิตใจเป็นสุขบ้างเป็นทุกข์บ้างได้ มันยังมีทางเลือก มีทางดิ้นต่อ มันก็จะดิ้นหนีความทุกข์ ดิ้นไปแสวงหาความสุข จิตที่ดิ้นรนนั่นแหละ ห่างไกลพระนิพพานไปเรื่อยๆ แต่ถ้าเรารู้ความจริงแจ่มแจ้ง ว่าขันธ์ ๕ หรือรูปนาม หรือกายใจนี้เป็นทุกข์ล้วนๆ มีแต่ทุกข์มาก กับทุกข์น้อย ไม่ใช่มีทุกข์กับสุข ถ้าเห็นแจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งอย่างนี้ จิตมันจะสลัดคืนหมดความยึดถือขันธ์ ๕ จะรู้สึกเลย ร่างกายนี้เหมือนยืมแผ่นดินมาใช้นะ ยืมธาตุมาใช้ จิตใจก็เหมือนยึมเค้ามาใช้ ไม่ใช่ของเราสักอันเดียว มันสลัดคืนรูปคืนนาม คืนกายคืนใจให้โลกไป ไม่ยึดถือในรูปนามในกายใจนั้นเอง เมื่อเราไม่ยึดถือนะ ความหนักก็ไม่เกิดขึ้นในใจ ใจที่มีความหนัก ใครรู้จักหนักใจบ้าง หนัก หนักทุกวันเลย หนักเพราะเรายึดถือ ถ้าเราไม่ได้ยึดถือรูปนามอยู่ ความหนักใจจะไม่มี ปัญหามีนะ แต่ความหนักใจไม่มี งั้นเรามาเรียนรู้ความจริงของรูปของนามนี้แหละ เรียกว่าการเจริญปัญญา รู้ลงไปที่กายบ่อยๆ รู้ลงไปที่ใจบ่อยๆ จะรู้กายรู้ใจได้ จิตต้องรู้สึกตัวเป็นก่อน อย่าหลง ขั้นต้นเลย ต้องรู้สึกตัวให้เป็น ถ้ารู้สึกตัวไม่ได้ ใจหลงไปอยู่ในโลกของความคิด ลืมกายลืมใจ มีกายก็ลืมกาย มีใจก็ลืมใจนะ ใช้ไม่ได้ เราต้องคอยรู้สึกตัวบ่อยๆ หัดรู้สึกตัวนะ เบื้องต้นจะพุทโธ จะหายใจ หรือทำกรรมฐานอะไรสักอย่างหนึ่งก็ได้ แล้วแต่ถนัด ทำกรรมฐานขึ้นอย่างหนึ่ง แล้วคอยรู้ทันจิตตนเอง จิตไหลไปคิดรู้ทัน จิตไหลไปคิดรู้ทัน จิตก็จะหลุดออกจากโลกของความคิด มาอยู่ในโลกของความรู้สึกตัว จิตที่ไม่รู้สึกตัวนี้ไปหลงอยู่ในโลกของความคิด คนทั้งโลกหลงอยู่ในโลกของความคิดนะ มีเป็นส่วนน้อย ผู้ที่ได้ฟังธรรมแล้ว ผู้ที่มีบุญบารมีแล้วอย่างพวกเรานี้ มันรู้ทันจิตที่ไหลไปคิด แล้วก็ตื่น เกิดภาวะแห่งความรู้สึกตัวขึ้นมา พอเรารู้สึกตัวได้ ก็คือมีกายเราก็รู้ว่ามีอยู่ มีใจเราก็รู้ว่ามีอยู่ เราก็จะเรียนรู้ความจริงของกายของใจได้ ถ้าเราใจลอย เราลืมกายลืมใจ เราก็ไม่สามารถเรียนรู้ความจริงของกายของใจได้ เพราะงั้นความรู้สึกตัวนี้แหละ เป็นจุดตั้งต้นที่จะเริ่มเดินปัญญานะ ทีนี้พอรู้สึกตัวเป็นแล้ว อย่ารู้สึกอยู่เฉยๆ รู้สึกแล้วมาเรียนรู้ความจริงของกายของใจ ค่อยๆแยก กายก็อยู่ส่วนกาย ใจก็อยู่ส่วนใจนะ แยกกัน กายส่วนกาย ใจส่วนใจ เวทนาคือความรู้สึกสุขทุกข์ก็อยู่ส่วนเวทนา ไม่ใช่กายไม่ใช่ใจ สังขาร ความปรุงดีความปรุงชั่ว เช่นโลภ โกรธ หลงทั้งหลาย ก็อยู่ส่วนโลภ โกรธ หลงทั้งหลาย ไม่ใช่ร่างกาย ไม่ใช่ความสุข ไม่ใช่ความทุกข์ ไม่ใช่จิตใจ นี่หัดแยกธาตุแยกขันธ์ ต้องรู้สึกตัวเป็นก่อน ถึงจะแยกธาตุแยกขันธ์ได้ แต่บางคนรู้สึกตัวแล้วอยู่เฉยๆ ไม่ยอมแยกธาตุแยกขันธ์ อันนั้นต้องช่วยมันคิดพิจารณาแยกธาตุแยกขันธ์ไป เช่นนั่งอยู่ ก็คอยคิดเอา เออร่างกายที่นั่งอยู่นี่เป็นของถูกรู้นะ อะไรอย่างนี้ ค่อยๆคิดไป ดู ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก ผม เป็นของถูกรู้ ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เป็นของถูกรู้ ค่อยๆหัดดูไปอย่างนี้ ต่อไปมันแยกได้เอง ความสุขความทุกข์เกิดขึ้น ก็เป็นของถูกรู้ ความโลภ ความโกรธ ความหลง เกิดขึ้นเป็นของถูกรู้ จิตเป็นคนไปรู้มันเข้า เบื้องต้นอาจจะต้องช่วยมันคิดพิจารณาอย่างนี้ แต่ต่อไปมันแยกได้เอง พอแยกได้เอง เราจะเดินปัญญาอัตโนมัติ มันจะเห็นเลย ร่างกายเคลื่อนไหว แค่รู้สึกนะ แล้วจะรู้เลยร่างกายไม่คงที่ เวทนาเกิดขึ้นในกาย เวทนาเกิดขึ้นในใจ ความสุขความทุกข์นั้นแหละเกิดขึ้นในกายในใจ ก็เห็นเลยมันแค่ผ่านมาแล้วก็ผ่านไป ใจอยู่ต่างๆหาก เวทนานี้ไม่ใช่ตัวเราหรอก เป็นสิ่งที่แปลกปลอมเข้ามาชั่วคราวแล้วก็หายไป กุศลอกุศล ก็เป็นสิ่งที่แปลกปลอมเข้ามาชั่วคราวแล้วก็หายไป จิตเองก็เกิดแล้วก็ดับ เดี๋ยวก็เป็นจิตผู้รู้ เดี๋ยวก็เป็นจิตผู้คิด เดี๋ยวเป็นจิตผู้เพ่ง หมุนเวียนเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา การที่เราเห็นขันธ์ทั้งรูปธรรมนามธรรมทั้งหลายที่ประกอบกันเป็นตัวเรานี้ มีแต่ความหมุนเวียนเปลี่ยนแปลง ทั้งวันทั้งคืน ทั้งหลับทั้งตื่น เป็นอย่างนี้ตลอด มันจะรู้เลย ไม่ใช่ของดีของวิเศษ ความสุขเกิดขึ้นก็แค่ของชั่วคราว เอาเป็นที่พึ่งที่อาศัยไม่ได้ เดี๋ยวก็ดับ กุศลเกิดขึ้นก็เป็นแค่ของชั่วคราว เอาเป็นที่พึ่งที่อาศัยก็ไม่ได้จริง เดี๋ยวก็ดับ ทุกสิ่งหาที่พึ่งที่อาศัยไม่ได้เลยในขันธ์ ๕ มีแต่ของน่าเอือมระอา มีแต่ความทุกข์ นี่จิตเห็นความจริงอย่างนี้ จิตจะคืนขันธ์ ๕ ให้โลก ไม่ยึดถืออีกแล้ว ที่มันคืนไม่ได้ เพราะว่ามันหวง มันห่วง เพราะว่ามันดี นี่เราทำลายเชื้อเกิดได้ พอมันคืนขันธ์ ๕ ไปนะ คล้ายๆมีเมล็ดต้นไม้ เมล็ดมะม่วงสักเมล็ดหนึ่ง แต่ต้นอ่อนข้างในมันตายไปแล้ว ต้นอ่อนที่มันจะงอกขึ้นมาเป็นขันธ์ ๕ ถูกทำลาย ถ้าเราทำลายความเห็นผิดนะ ว่าจิตนี้เป็นของดีของวิเศษ ขันธ์ ๕ เป็นของดีของวิเศษ ทำลายตัวนี้ได้ เชื้อเกิดจะถูกทำลายไป เมื่อขันธ์ ๕ ไม่ใช่ของดีแล้ว ความอยากให้ขันธ์ ๕ มันสุข ให้มันดี ให้มันสงบ ไม่มีแล้ว รู้ว่ามันไม่ดี ความอยากจะพ้นจากทุกข์ ให้ขันธ์ ๕ พ้นทุกข์ ก็ไม่มี เห็นไหม อยากให้พ้นทุกข์ก็ไม่มีนะ อยากให้สุขก็ไม่มีนะ เพราะรู้แจ้งแล้วว่าทุกข์แน่นอน พอรู้แจ้งอย่างนี้ หมดแรงดิ้น จิตที่หมดแรงดิ้นนี่แหละจะเห็นพระนิพพาน จิตที่ยังดิ้นอยู่ ยังอยากอยู่ นี่มีตัณหาอยู่ ไม่เห็นพระนิพพาน พวกเรามีบุญแล้วนะ ได้ฟังธรรม ฝึกรู้สึกตัวไปบ่อยๆ รู้สึกตัวแล้วอย่ารู้อยู่เฉยๆ ดูรูปดูนาม ดูกายดูใจ ดูขันธ์ ๕ ทำงานเรื่อยไป วันหนึ่งเราก็จะตามพระพุทธเจ้าของเราไปนะ แสดงน้อยลง ตอบกลับ หมดเกิดหมดแก่หมดเจ็บหมดตาย หมดเกิดหมดแก่หมดเจ็บหมดตาย3 เดือนที่ผ่านมา ตรงที่จิตเข้าสู่ความเป็นกลางต่อความปรุงแต่งทั้งปวง สุขกับทุกข์ก็เสมอกัน ดีกับชั่วก็เสมอกัน เข้าไปถึงความเป็นกลางด้วยปัญญาเห็นว่าทุกสิ่งชั่วคราว ถ้าเป็นกลางแบบนี้เรียกว่ามีปัญญาที่เรียกว่า สังขารุเบกขาญาณ จิตจะเป็นกลางต่อทุกสิ่งทุกอย่างสุขกับทุกข์ ดีกับชั่วจะเสมอภาคกัน ไม่ใช่รักอันหนึ่ง เกลียดอันหนึ่ง พวกเรารู้สึกไหม ใจเรายังรักอันหนึ่ง เกลียดอันหนึ่งอยู่ตลอดเวลา นั่นละ ปัญญายังไม่พอ ให้รู้ลงไปอีก จนกระทั่งเห็นว่าทุกอย่างก็ชั่วคราวทั้งหมดเลย ทั้งสิ่งที่เรารัก สิ่งที่เราเกลียด พอเห็นซ้ำลงไปจนทุกอย่างชั่วคราวหมด จิตจะเป็นกลาง เมื่อจิตเป็นกลางคือจุดสูงสุดที่เราจะภาวนาได้ละ คือจุดสุดท้ายถัดจากนี้ก็คือมรรคผลจะเกิดขึ้น แต่บางคนจะไม่เกิดมรรคผล บางคนเมื่อภาวนาไป จนเป็นกลางต่อสรรพสิ่งนั้น จิตใจน้อมไปสู่มหากรุณา เห็นอกเห็นใจสรรพสัตว์ทั้งหลาย อยากช่วยสรรพสัตว์ทั้งหลาย จิตจะน้อมไปสู่พุทธภูมิ และถ้าได้พบพระพุทธเจ้าในวันนั้น ท่านก็จะพยากรณ์ให้ ว่าอีกเท่านั้น เท่านี้นะจะได้เป็นพระพุทธเจ้าองค์หนึ่ง แต่ถ้าจิตยังไม่เป็นกลาง ไม่สามารถได้รับพยากรณ์ เมื่อจิตยังกลับกลอก ยังกลัวทุกข์อยู่ ยังรักสุขอยู่ ยังไม่แน่นอน เป็นโพธิสัตว์ที่ยังไม่แน่นอน ใครอยากเป็นโพธิสัตว์ต้องภาวนาอย่างที่หลวงพ่อสอนนี่ รู้กาย รู้ใจ จนกระทั่งเป็นกลางต่อทุกสิ่งทุกอย่าง และตรงทุกจุดนั้น จิตจะเลือกของเขาเอง ถ้าจะไปพุทธภูมิ มันก็จะไปค้างอยู่ตรงนั้นล่ะ ออกมาสร้างบารมี ช่วยเหลือผู้คนไป ด้วยจิตที่เป็นกลางBUDDHAM SARANAM GACCHÃMI DHAMMAM SARANAM GACCHÃMI SANGG̣HAM SARANAM GACCHÃMI GHABADAE JAB MAN-ANAMOL HRIDYA HO UTHE ḌAṆVAḌOL. GHABADAE JAB MAN-ANAMOL AUR HRIDYA UTHE HO ḌAṆVAḌOL. HO TAB MANAV TO MUKHASE BOL. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. HĨ TAB MANAV TO MUKHASE BOL. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI DHAMMAM SARANAM GACCHÃMI SANGG̣HAM SARANAM GACCHÃMI JAB AṢANTIKÃ RAG UTHE LÃLLAHUKÃ̃ PHAG UTHE. HINSÃ KI TO ÃG UTHE MÃNAV MEṆ PAṢU JAG̣ UTHE. UPARASE MUSAKÃ TE NAN BHITÃR DAHAKA RAHE TO HO. HO TAB MANAV TO MUKHASE BOL. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. HĨ TAB MANAV TO MUKHASE BOL. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI DHAMMAM SARANAM GACCHÃMI SANGG̣HAM SARANAM GACCHÃMI. (BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI) JAB DUNIYÃN SE PYAR UTHE. JAB DUNIYÃN SE PYAR UTHE . NAPHARAT KĨ DĨVÃR UTHE. MÃN KI MAMATÃ PAR USKĨ BEṬEKI TALAVÃR UTHE. DHARATĨ KĨ KÃYÃKÃPE AMBAR DAGMAG UTHE DOL . HO TAB MÃNAV TO MUKHASE BOL. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. HĨ TAB MANAV TO MUKHASE BOL. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. DHAMMAM SARANAM GACCHÃMI. SANGG̣HAM SARANAM GACCHÃMI. DŨR KIYÃ JISANE JANAJANAKE VYÃKULMANAKÃ ANDHIYÃRÃ JISAKI EKA KIRNAKO CHŨKAR CAMAK UTHÃ YE JAGA SÃRÃ.. DĨPA SATYAKÃ SADÃ JALE. DAYÃ AHIṂSA SADÃ PALE. SUKHAṢANTI KĨ CHAYAM MEṆ JAN GAṆA MANAKÃ PREM PALE. PHÃRAT KE BHAGAVAN BUDDHAKÃ GŨÑJE GHARGHAR MANTRA AMOL. HE MÃNAV NITA MUKHASE BOL. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. HE MÃNAV NITA MUKHASE BOL. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. DHAMMAM SARANAM GACCHÃMI. SANGG̣HAM SARANAM GACCHÃMI. เมื่อใดแล เหล่ามนุษย์ผู้ถือตนว่าเป็นสัตว์ประเสริฐ ได้เกิดความหวาดกลัว เกิดหัวใจสะดุ้งหวั่นไหว เมื่อใดแล เหล่ามนุษย์ผู้ถือตนว่าเป็นสัตว์ประเสริฐ ได้เกิดความหวาดกลัว หรือว่า เกิดหัวใจสะดุ้งหวั่นไหว เมื่อนั้น ขอให้ท่าน จงเปล่งคำว่า “พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ” ไว้เถิด เมื่อนั้น ขอให้ท่าน จงเปล่งคำว่า “พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ” ไว้เถิด เมื่อใดแล เกิดความมัวเมาอันเป็นเหตุแห่งความไม่สงบวุ่นวาย พื้นแผ่นดินไหลอาบนองแดงฉานไปด้วยเลือด เปลวไฟแห่งความมุ่งร้ายเบียดเบียนแผดเผากระจายไป จิตใจของมวลหมู่มนุษย์กลับกลายไปเป็นดั่งเดรัจฉาน มีใบหน้ายิ้มแย้มแจ่มใส แต่ภายในแผดเผาเร่าร้อน เมื่อนั้น ขอให้ท่าน จงเปล่งคำว่า “พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ” ไว้เถิด เมื่อนั้น ขอให้ท่าน จงเปล่งคำว่า “พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ” ไว้เถิด "พุทธํ สรณํ คจฺฉามิ ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ" เมื่อใดแล ความรักเมตตาแห้งเหือดหายไปจากโลก ความกรุณาสงสารก็แห้งเหือดหายไป คนทั้งหลายเชือดเฉือนสายใยแห่งความรัก แม้ของมารดาตนเอง เกิดผืนแผ่นดินเลื่อนลั่น ฟ้าสั่นไหว เมื่อนั้น ขอให้ท่าน จงเปล่งคำว่า “พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ” ไว้เถิด เมื่อนั้น ขอให้ท่าน จงเปล่งคำว่า “พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ” ไว้เถิด "พุทธํ สรณํ คจฺฉามิ ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ" พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใดแล ผู้ทรงขจัดเสียซึ่งความมืดมิดภายในจิตใจที่เร่าร้อนของปวงประชา มวลหมู่สรรพสัตว์ทั้งหลาย ได้พบหนทางแสงสว่าง เพียงแค่ได้สัมผัสเส้นใยแห่งรัศมีที่แผ่ออกมาของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใด ด้วยอานุภาพของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ขอพระสัทธรรมอันเป็นที่พึ่งพิง ขออริยสัจจ์คือความจริง จงเจริญรุ่งเรืองตลอดกาลนาน ขอมวลหมู่มนุษย์จงเห็นอกเห็นใจเกื้อกูลเอ็นดูกันเถิด ขอหมู่มนุษย์จงทนุถนอมความรัก ความเยื่อใยของมนุษย์ด้วยกัน อยู่อย่างร่มเย็นสันติสุขเถิด ขอบทแห่งมนต์อันประเสริฐ ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของชาวภารตะ (อินเดีย) จงกระหึ่มกังวานไปในทุกครัวเรือน เพื่อนมนุษย์เอ๋ย ขอให้ท่าน จงหมั่นเปล่งคำว่า "พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ" ไว้บ่อย ๆ เถิด "พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ” แสดงน้อยลง ตอบกลับ หมดเกิดหมดแก่หมดเจ็บหมดตาย หมดเกิดหมดแก่หมดเจ็บหมดตาย3 เดือนที่ผ่านมา ท่านสอนให้รู้ทันที่จิตนี้เอง สมาธิมันเกิดขึ้นได้ง่ายๆเลย อย่างใจเราฟุ้งซ่านเก่งมั้ย วันนึงวันนึงนะใจเราหนีไปคิดนับครั้งไม่ถ้วน ร้อยครั้งพันครั้งหมื่นครั้งนะหนีทั้งวัน นั้นเราคอยมีสติรู้ทันนะจิตมันไหลไปแล้ว จิตมันฟุ้งซ่านไปแล้ว จิตมันหนีไปคิดแล้ว ให้เราคอยรู้ทันไว้ ถ้าเรารู้ทันจิตที่ไหลไปคิดจิตจะตั้งมั่น จิตจะตื่นขึ้นมาเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ไม่ใช่ผู้คิดผู้นึกผู้ปรุงผู้แต่ง จิตที่เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานเนี่ยเป็นจิตที่มีสมาธิที่ดี สมาธิอย่างนี้เป็นสมาธิที่สำคัญสำหรับการเจริญปัญญา เมื่อเดินปัญญาแก่รอบเต็มที่แล้ว จิตจะรวมเข้าอัปปนาเอง ในนาทีที่จะตัดสินความรู้บรรลุ อริยมรรค อริยผล ... เจริญปัญญาให้มาก มีแค่ขณิกสมาธินะ ทุกวันพยายามไหว้พระสวดมนต์ไว้ ทำในรูปแบบ จิตหนีไปคิดแล้วรู้ทัน ฝึกให้มันมีขณิกสมาธิ แล้วมาเดินปัญญา รู้กาย รู้ใจ ในชีวิตประจำวัน ... แล้วสิ่งนั้นดับไป อย่างนี้ก็ใช้ได้ ถ้าถึงขนาดเห็นองค์ฌานเกิดดับอย่างนี้มีน้อยเต็มที ถ้าเมื่อไหร่จิตเห็นว่าทุกอย่างเป็นของชั่วคราว จิตมันจะเป็นกลางด้วยปัญญา ความสุขเกิดขึ้นมันไม่หลงระเริงแระ เพราะมันรู้ว่าชั่วคราว ความทุกข์เกิดขึ้นมันไม่ทุรนทุราย เพราะมันรู้ว่าชั่วคราว ดีใจ เสียใจ สมหวัง ผิดหวัง มัน ไม่หลงระเริง ไม่เสียอกเสียใจเพราะมันรู้ว่าชั่วคราว เห็นมั๊ยพอมันเห็นว่าทุกอย่าง ชั่วคราวเนี่ยใจจะหมดความดิ้นรน เนี่ยะเรียกว่า เป็นกลางด้วยปัญญา ก่อนที่จะเกิดอริยมรรคเนี่ยะ จิตจะเป็นกลางด้วยปัญญา ก่อนที่จิตจะเป็นกลางด้วยปัญญาเนี่ยะ เราจะต้องหัดเจริญสติ ตามดูความเปลี่ยนแปลงของกาย ของใจ เรื่อยไปจนปัญญามันเกิดว่าทุกอย่างชั่วคราว สุข ทุกข์ ดี ชั่ว ชั่วคราว หายใจออก หายใจเข้า ชั่วคราว ยืนก็ชั่วคราว เดินก็ชั่วคราว นั่งนอนชั่วคราว ดูไปเรื่อยๆ นะมีแต่ของชั่วคราวไปหมดเลย …. ทุกอย่างชั่วคราวนะ ดูไป ในชีวิตเรานะ ถ้าเห็นว่าทุกอย่างชั่วคราวนะ ต่อไปไม่ว่าอะไรเกิดขึ้นจิตจะเป็นกลาง จิตที่เป็นกลางแล้วนะจะเกิดอะไร จิตจะหมด ความดิ้นรน จิตที่ไม่เป็นกลางนะมันจะดิ้นรนไม่เลิก พวกเรารู้สึกไหม จิตใจไม่มีความสุข เราอยากให้มีความสุข เราเกลียดความทุกข์ จิตที่เกลียดความทุกข์ก็ดิ้นรนนะ คิดอยู่ว่าเอ่..ทำอย่างไรจะมีความสุข หรือจิต ดิ้นรนหาความสุข จิตดิ้นรนหนีความทุกข์ การที่จิตต้องดิ้นรนหนีตลอดเวลานะคือตัวทุกข์เลย จิตจะมีแต่ความทุกข์ล้วนๆ เลย สร้างภพ สร้างชาติ สร้าง ความปรุงแต่งตลอดเวลา พวกเราเห็นมั๊ยในใจของเรามีความอยากเกิดตลอดเวลา ไปหัดดูนะ แล้วเราจะเห็นเลยใจเรามีความอยากตลอดเวลา เดี๋ยวอยากดู เดี๋ยวอยากฟัง เดี๋ยวอยากคิด เดี๋ยวอยากหนีไปที่อื่น อย่างตอนนี้แดดร้อนแล้วอยากหนีแล้ว ถอยได้นะถอยเลย ถอยไปอยู่ข้างหลัง… แบ่งๆ กัน หรือจะเอาเสื่อ ขึ้นคลุมก็ไม่ว่านะ (โยมหัวเราะ)… จะเห็นมั๊ยตอน หัวเราะเมื่อกี้ใจฟุ้งซ่าน ดูออกมั๊ย ดูตัวเอง เนี่ยะนะฝึกรู้ อย่างนี้ไปเรื่อยๆ แหล่ะ ดูไปเรื่อยนะ ถึงจุดหนึ่งที่ปัญญามันพอเนี่ยะ จิตมันจะรวม รวมเข้าอัปปนาสมาธินะ มันรวมของมันเองนะ แล้วจะเห็นสภาวะธรรมเกิดดับอยู่สองสามขณะ แล้วถัดจากนั้นอริยมรรคก็จะเกิดขึ้น จะล้างกิเลส อริยมรรคเวลาล้างกิเลส มันจะไม่เหมือนการล้างกิเลสด้วยสติ ด้วยสมาธิ ด้วยศีล ด้วยการกดไว้ อริยมรรค เวลาล้างกิเลส ล้างตัวไหนแล้วล้างเลยนะ ไม่ต้องล้างอีกนะ ล้างทีเดียวสะอาดหมดจด ไม่เกิดขึ้นอีกแล้ว แล้วเราค่อยๆ ฝึกนะ วันหนึ่งเราได้เป็นพระอริยะ อย่าวาดภาพว่าพระอริยะยากเกินไป อย่าวาดภาพว่าพระอริยะอยู่ไกล บารมีเราน้อย มัวแต่คิดว่าบารมีน้อยไม่ภาวนามันก็น้อยไปทุกชาตินั่นแหล่ะ ถึงบารมีน้อยก็ขยันภาวนานะ หายใจไปก็รู้สึกตัวไป หายใจไปรู้สึก ตัวไป มีสติรู้สึกตัวไปเรื่อย อย่าให้ลืมตัวเอง ต่อไปก็หายใจไป เห็นร่างกายที่หายใจอยู่ไม่ใช่เรา เห็นจิตใจมันทำงานได้เองนะ นี่ขั้นเดินปัญญา ง่ายๆ แค่นี้เองนะ ลองไปทำดู ไม่ยากหรอก จุดสุดท้ายที่พวกเราจะภาวนาได้นะ ก็คือ ภาวนาจนกระทั่งจิตเป็นกลางด้วยปัญญา เป็นกลางต่อทุกสิ่งทุกอย่างเลย ความสุขความทุกข์ กุศลอกุศล เกิดแล้วดับๆ ดูไปวันนึงจิตมีปัญญาเห็นว่าทุกอย่างเกิดแล้วดับ จิตจะเป็นกลาง จิตเป็นกลางตัวนี้เรียกว่าจิตมีสังขารุเบกขาญาณ ญาณแปลว่าปัญญา สังขารุเบกขา ก็คือ มีอุเบกขาต่อความปรุงแต่งทั้งดีทั้งชั่ว ทั้งสุขทั้งทุกข์ จิตที่เดินมาถึงสังขารุเบกขาญาณเนี่ยจะมีรอยแยกสองทาง มีทางแยก ทางที่หนึ่งนะ พวกเห็นภัยในสังสารวัฏ พวกนี้จะพลิกไปสู่การเกิดมรรคผล พวกที่สองนะ เกิดความกรุณาสงสารสัตว์โลก จิตจะพลิกไปสู่ความเป็นพระโพธิสัตว์ มีพลิกไปได้สองทาง แล้วพวกที่เป็นโพธิสัตว์ ที่เข้ามาถึงตรงนี้ได้นะ ถ้าไปเจอพระพุทธเจ้าเนี่ย อาจจะได้รับพยากรณ์ว่าอีก 16 อสงไขยแสนมหากัปป์จะได้เป็นพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่ง อีกนาน โลกแตกหลายรอบ ตรงที่จิตถึงสัจจานุโลมิกญาณหรืออนุโลมญาณ ใจคล้อยตามความจริง(ไตรลักษณ์)แล้ว ตรงนี้มีสามขณะถ้าเต็มรูป มีบริกรรม อุปจาร อนุโลม อนุโลมตัวสุดท้ายเป็นตัวตัด ตัดกระแสการรู้อารมณ์รูปนาม ฉะนั้นเวลาที่จิตรวมเข้าไป จิตเป็นกลางๆไปถึงขีดสุดแล้ว ปัญญาพอแล้ว มันเข้าอัปปนาสมาธิแล้วจะเห็นสภาวะเกิดดับ สองขณะบ้าง สามขณะบ้าง ขณะที่สองหรือขณะที่สามเป็นตัวสุดท้ายนี่มันจะตัด ตัดการรู้รูปนาม ตัดอารมณ์ของฝ่ายโลกียะ เสร็จแล้วมันจะทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้ ตัวนี้เองที่ว่าเราจะต้องฝึกจิตของเรา จะต้องฝึกจนมันตั้งมั่น มีเอโกทิภาวะอยู่ มีความตั้งมั่น ฉะนั้นพอมันวางอารมณ์รูปนามนี้ปุ๊บ มันจะหนีไปหาอารมณ์บัญญัติแทน ฉะนั้นใจเราต้องฝึกจนมีเอโกทิภาวะ พอมันรู้จนไม่รู้จะรู้อะไร มันจะทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้อัตโนมัติ เพราะถ้าเจือด้วยความจงใจแม้แต่นิดเดียว มรรคผลจะเกิดไม่ได้ ตรงที่มันดับกระแสของโลกิยะลงไป อนุโลมญาณดับกระแสของโลกิยะลงไปแล้ว มันจะทวนเข้าหาธาตุรู้เอง ไม่จับโลกียะ แต่ยังไม่เข้าถึงโลกุตตระเป็นโคตรภูญาณ มีจิตทำหน้าที่ตรงนี้อยู่ดวงหนึ่ง พอทวนเข้าถึงอริยมรรค ตัวมรรคนี้เป็นชาติกุศล แต่ตัวผลเป็นชาติวิบาก พอมันทวนกระแสเข้าถึงธาตุรู้ อริยมรรคจะแหวกสิ่งที่ห่อหุ้มจิตอยู่ จะแหวกแวบออกไป ขาดวาบออกไปอย่างเนียนๆ จิตที่ไม่มีอะไรห่อหุ้มจะเป็นอิสระขึ้นมาชั่วคราว สองสามขณะ ความไม่มีอะไร มีแต่ความสุขล้วนๆ แต่พอเห็นครั้งหนึ่งสองครั้งสามครั้งยังจำไม่ได้ จำไม่แม่น เห็นสี่ครั้งแล้วมันจะมีปัจจเวกฯทวนไปถึงนิพพาน ตอนครั้งที่หนึ่งสองสามนี่ปัจจเวกฯมันไม่ไปดูนิพพาน มันจะไปดูกิเลส กิเลสอะไรละแล้ว กิเลสอะไรยังเหลือ มันยังมีงานต้องทำ ครั้งสุดท้ายไม่มีงานทำ มันจะไปดูนิพพาน ตอนที่จิตแท้ๆซึ่งหลุดพ้นออกมาจากอาสวะปรากฏขึ้นมาแบบไร้ร่องรอยให้รู้ เป็นความว่างที่แท้จริง ถัดจากนั้นแสงสว่างจะปรากฏขึ้น ถัดจากแสงสว่างที่เกิดขึ้น จิตซึ่งเป็นอิสระแล้วเขาจะแสดงความมีอยู่ของเขาโดยการแสดงความเบิกบานออกมา บางคนเห็นสองขณะว่างแล้วก็สว่างขึ้นมา บางคนเห็นสามขณะ แสดงความเบิกบานขึ้นมาได้ด้วย ถัดจากนั้นจิตจะถอยออกมาสู่โลกภายนอก แล้วมันจะทวนกระแสกลับเข้าไปพิจารณา ตรงขณะที่สองหรือขณะที่สามที่ผ่านไปแล้ว อาสวกิเลสจะเข้ามาปกปิดจิตอย่างเดิมอีก สำหรับผู้ที่ผ่านมรรคครั้งที่หนึ่งสองสาม อาสวะที่แหวกออกไปจะกลับเข้ามาห่อหุ้มปกคลุมจิต อย่างฉับพลัน เวลาเข้ามาปิดก็ปิดเนียนๆ จนครั้งที่สี่จิตจึงหลุดจากอาสวะ ถ้าหลุดออกจากกามภพนะ ก็เข้าไป รูปภพ หรือว่า รูปภูมิ ก็คือเข้าไปสงบอยู่กับการรู้รูป เช่นรู้ลมหายใจ แล้วจิตไม่เอาแล้วโลกข้างนอก อารมณ์ทางตาหูจมูกลิ้นกาย ไม่เห็นจะมีสาระอะไร จิตมารวมลงที่อารมณ์ภายในอันเดียว อาจจะมารู้ลมหายใจอยู่อันเดียว รู้ร่างกายอยู่อันเดียว มาเพ่งรูปอยู่อันเดียว เพ่งดวงกสิณ ดวงนิมิตอยู่อันเดียว จิตเพ่งรูปอยู่เรียกว่ารูปภูมิ ถ้าจิตไม่อยู่ในกามภูมิ ไม่อยู่ในรูปภูมิ จิตก็ต้องเข้า อรูปภูมิ ทิ้งรูปไปแล้วไปอยู่กับนามธรรม เช่นไปอยู่กับความว่าง จิตอยู่ในความว่าง อยู่กับความไม่มีอะไรเลย เพราะงั้นที่เค้าสอนภาวนา บางคนสอนภาวนาให้ไปอยู่ในความว่าง อันนั้นเพี้ยนนะ ไม่ใช่ทางของพระพุทธเจ้า มันก็เป็นอรูปภูมิ เป็นภูมิอีกภูมิหนึ่ง เป็นภพอีกภพหนึ่งเท่านั้นเอง งั้นถ้าสติปัญญาเราพอนะ เรารู้เลยจิตมันแส่ส่ายออกทางตาหูจมูกลิ้นกายมีแต่ทุกข์ จิตไม่แส่ส่าย พอจิตไม่แส่ส่ายจิตก็หลุดออกจากกามภูมิ เข้ารูปภูมิหรืออรูปภูมิ เข้าเองเลย เพราะงั้นพวกเราหัดเจริญสติไปเรื่อย พอศีลสมาธิปัญญา สติสมาธิปัญญาแก่รอบนะ จิตจะหมดความหลงไหลรูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะทั้งหลายมาดึงดูดจิตไหลไปไม่ได้แล้ว อย่างน้อยก็ชั่วขณะ ชั่วขณะเท่านั้นแหละ ถ้าจิตมันตั้งมั่นรู้ไหลออกไปแล้วทุกข์ ก็ตั้งเด่นดวงอยู่ จิตก็เข้าฌานอัตโนมัติ เพราะงั้นถึงเราจะเจริญสติเจริญปัญญาโดยเข้าฌานไม่เป็น ถึงนาทีสุดท้ายที่จะเกิดอริยมรรคอริยผลในทุกขั้นตอน ตั้งแต่โสดาปัตติมรรคจนถึงอรหัตมรรคเนี่ย จิตจะเข้าฌานของเค้าเอง ยกเว้นคนซึ่งเดินปัญญาอยู่ในฌาน เวลาที่จะเกิดอริยมรรคไม่ต้องถอยออกมาอยู่ในโลกก่อนนะ ไม่ต้องกลับมาอยู่กามภูมิก่อนนะ จิตเค้าจะตัดอยู่ข้างในได้เลย นี่เป็นพวกหนึ่ง แต่รวมความก็คืออริยมรรคไม่เกิดอยู่ในจิตที่อยู่ในกามอย่างพวกเรา อริยมรรคจะต้องเกิดอยู่ในรูปภูมิหรืออรูปภูมินะ จะเกิดอยู่ตรงนั้น ไปล้างกันตรงนั้น จิตจะเข้าฌานอัตโนมัติ พอจิตเข้าฌานแล้วคราวนี้สติระลึกรู้อยู่ที่จิตนะ ไม่ได้เจตนาระลึก มันรู้เอง เพราะมันไม่แส่ส่ายออกไปที่ตาหูจมูกลิ้นกายใจ ไม่แส่ส่ายไปในความคิด ก็หยุดลงที่จิตดวงเดียว สติหยั่งลงที่จิต จิตตั้งมั่นอยู่ที่จิต เพราะงั้นสมาธินี่เต็มสมบูรณ์แล้ว ตั้งมั่นอยู่ที่จิต สติสมบูรณ์แล้ว ระลึกอยู่ที่จิต ปัญญาสมบูรณ์แล้ว เห็นความเป็นจริงทุกสิ่งที่อย่างที่เคลื่อนไหวอยู่ในจิตนะ ตรงนี้แหละจิตจะไหวตัวขึ้นมาสองสามขณะ คือปรุงขึ้นมานะแต่ไม่รู้ว่าคิดอะไร ไม่รู้ว่าปรุงอะไร มีความปรุงแต่งเกิดขึ้นแต่ไม่รู้ว่าปรุงอะไร จะเห็นแต่ว่าสิ่งบางสิ่งเกิดขึ้นแล้วสิ่งนั้นดับไป จะเห็นอย่างนี้เอง เห็นเอง ถัดจากนั้นนะจิตจะรู้เลยมันไม่มีสาระอะไร จิตมันจืดนะ มันไม่เอาอีกแล้ว ก็แค่เห็นความปรุงภายในจิตผุดขึ้น พอเห็นความปรุงภายในจิตผุดขึ้นสองสามขณะ ความเห็นกลางอย่างแท้จริงเลย รู้อย่างเป็นกลางอย่างแท้จริงไม่ปรุงต่อนะ จิตจะวาง พอมันวางแล้วมันจะทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้ วางจิตแล้วทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้ ธาตุรู้ก็จิตนั่นแหละ มันเป็นจิตอีกอย่างหนึ่ง พอจิตดวงเก่ามันดับไป จิตที่อยู่ในภพภูมิต่างๆมันดับไป มันทวนกระแสเข้าหาจิตที่เหนือภพเหนือภูมิ ทวนกระแสเข้ามา ขณะที่มันปล่อยวางจิตดวงเดิมนะ แล้วก็ทวนเข้ามาแต่ยังไม่ถึงธาตุรู้นะ คาบลูกคาบดอก ไม่ได้เกาะขันธ์แล้วนะ แต่ก็ยังเข้ามาไม่ถึงตัวธาตุรู้ ไม่ถึงอมตะธาตุอมตะธรรม ไม่ถึงพระนิพพาน ธาตุรู้ไม่ใช่พระนิพพานนะ แต่ธาตุรู้ไปเห็นพระนิพพาน ต้องแยกให้ออก มันยังทวนไม่ถึงธาตุรู้ ไม่ใช่ปุถุชน ไม่ใช่พระอริยะ ทำไมไม่ใช่ปุถุชน เพราะมันปล่อยขันธ์แล้ว ขันธ์สุดท้ายที่มันปล่อยก็คือจิต แสดงน้อยลง ตอบกลับ สมพงศ์ อินดัสเตรียล อิเล็กทรอนิคส์ สมพงศ์ อินดัสเตรียล อิเล็กทรอนิคส์5 เดือนที่ผ่านมา จิตของเรามันทำงานทั้งวันทั้งคืน ไม่เคยหยุดพักเลย ปรุงแต่ง คิดนึกปรุงแต่ง ปรุงดี ปรุงชั่ว ปรุงสุข ปรุงทุกข์ มันปรุงทั้งวันทั้งคืน ทันทีที่จิตปรุงแต่งอะไรขึ้นมา จิตก็มีความทุกข์ขึ้นมาทุกที ทะเลภพนี้เป็นทะเลที่ไม่ใช่หมุนวนแล้ว มีลักษณะอีกชนิดหนึ่ง เป็นทะเลที่น้ำเชี่ยว มันพัดพาเราจากภพหนึ่งไปสู่อีกภพหนึ่งตลอดเวลาเลย จิตเราจะเปลี่ยนภพตลอดเวลานะ จากภพอันนึงไปสู่ภพอีกอันนึง จากภพหนึ่งไปสู่ภพอีกอันหนึ่ง เราจะเวียนตายเวียนเกิดไม่มีเงื่อนต้นเงื่อนปลายใดๆในสังสารวัฏนี้ แม้กระทั่งในชีวิตเดียวของเราขณะนี้ จิตของเราก็เปลี่ยนภพย่อยๆ อยู่ในใจตลอดเวลา เดี๋ยวเราก็เป็นคนดี เดี๋ยวเราก็เป็นคนร้าย เดี๋ยวเราเป็นนักปฏิบัติ เดี๋ยวเราเป็นจอมเจ้าเล่ห์แสนกล เดี๋ยวเราเป็นคนเมตตา เดี๋ยวเราเป็นคนขี้โมโห จิตใจเราเปลี่ยนภพอยู่ตลอดเวลา เวลาเราโมโหทีนะ เราก็เป็นสัตว์นรกที เพราะมันเป็นโทสะ เวลาเราโลภขึ้นมาทีนะ เราก็เป็นเปรตทีนึง เวลาเรายึดถือในความคิดความเห็น เราก็ไปอยู่ในภพของอสุรกายทีนึง เวลาเราใจลอยไป เผลอไป เหม่อไป เราไปภพของเดรัจฉาน ถ้าเราเป็นคนมีศีลมีธรรมนะ เราก็ไปภพมนุษย์ ถ้าเราเป็นคนที่มีหิริโอตตัปปะ ละอายบาป กลัวผลของบาป เราก็ไปภพของเทวดา ถ้าเรามีใจสงบ มีใจตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์อันเดียว เราก็ไปภพของพรหม จิตใจของเราหมุนเวียนอยู่ตามภพต่างๆ ภพทั้งหมดเป็นทุกข์ทั้งหมดนะ ไม่มีนะภพที่ไม่ทุกข์ ถึงเป็นพรหมเป็นเทวดาก็มีความทุกข์ ทุกข์แบบเทวดา ทุกข์แบบพรหม ไม่ว่าภพอะไรก็ลำบากหมดเลย มีแต่ความทุกข์ล้วนๆ เลย นี่ถ้าสติปัญญาของเราแก่กล้าไม่พอ เราจะมองไม่ออก การจะข้ามทะเลน้ำเชี่ยวอันนี้ได้ มีทางเดียว ต้องละอวิชชาได้ เพราะฉะนั้นการข้ามภพ กับการละอวิชชานี้จะควบกันไป เป็นเรื่องของพระอรหันต์ที่จะเห็น ทะเลของอวิชชานี้ไม่เหมือนทะเลของทิฏฐิที่เป็นทะเลกว้างไม่มีขอบมีเขต หาฝั่งไม่เจอ ไม่เหมือนทะเลกามที่เป็นทะเลน้ำวน ไม่เหมือนทะเลภพที่เป็นทะเลน้ำเชี่ยว ทะเลของอวิชชาเป็นทะเลน้ำตื้น คลื่นลมสงบ แต่หมอกลง เป็นทะเลหมอกนะ เพราะฉะนั้นเราว่ายน้ำมาจนถึงริมฝั่งแล้ว ขึ้นฝั่งไม่ได้หรอก ว่ายไปว่ายมานะมันหลุดออกไปทะเลลึกได้อีกนะ เพราะฉะนั้นอย่างปุถุชนหลายคนนะ ที่คิดจะสู้อวิชชา ไม่ได้กินหรอก แป๊ปเดียวก็กลับไปมีทิฏฐิอย่างเดิม อย่างถ้าเราไม่ใช่พระอนาคานะ จะมาริหาญสู้อวิชชา มวยคนละชั้นนะ แป๊ปเดียวก็หลงกามไปอีกแล้ว หลงในกาม หลงในทิฏฐิอีกแล้ว ถ้าไม่ใช่พระอนาคานะ ทีนี้เราจะละอวิชชา ทะเลน้ำตื้นหรือทะเลหมอกนี้ได้ต้องมีวิชชา คือรู้แจ้งอริยสัจจ์ก่อน การรู้แจ้งอริยสัจจ์นี้ทำให้เราขึ้นฝั่งได้ ถ้ายังไม่รู้แจ้งอริยสัจจ์ได้นะ จะขึ้นฝั่งไม่ได้ พระไตรปิฎกสอนไว้ว่า ตราบใดที่ไม่รู้แจ้งอริยสัจจ์ ยังข้ามภพไม่ได้ ยังวนเวียนอยู่ในสังสารวัฏ เพราะฉะนั้นการเรียนธรรมะนะ ต้องรู้แจ้งอริยสัจจ์ถึงจะข้ามภพข้ามชาติได้ ข้ามทุกข์ได้ ถ้ารู้แจ้งอริยสัจจ์ซะอย่างเดียว ทิฏฐิก็ไม่มี กามก็ไม่มีนะ ภพก็ไม่มี อวิชชาก็ไม่มี การรู้แจ้งอริยสัจจ์ตัวที่ ๑ เรียกว่า ทุกขสัจจ์ ทุกขสัจจ์คืออะไร คือกายกับใจนี้เอง เพราะฉะนั้นหน้าที่ของผู้ปฏิบัติ ตั้งแต่เบื้องต้นเลย จนสุดท้ายมีแต่การรู้กายรู้ใจตนเอง รู้ลงมาเรื่อยๆ กายของเราเป็นยังไง รู้สึกไว้ จิตใจของเราเป็นยังไง คอยรู้สึกไว้ อย่าลืมกาย อย่าลืมใจ ถ้าลืมกายลืมใจเรียกว่าขาดสติ แต่ก็ห้ามเพ่งกายเพ่งใจ ให้รู้กายรู้ใจ ไม่ได้ให้เพ่งกายเพ่งใจ ไม่ได้ให้กำหนดกายกำหนดใจ คนละเรื่องเลยนะ รุ่นหลังๆ นี้ชอบกำหนดนะ กำหนดเป็นสมถะ กำหนดลงไป จิตจะไปแน่วไปนิ่งอยู่ในอารมณ์อันเดียว บังคับให้อยู่ในอารมณ์อันเดียว ถ้าบังคับไม่เป็น หรือบังคับแบบฝืนใจ ก็จะหนักๆขึ้นมา แน่นๆ แข็งๆ ทื่อๆ เครียดๆ ขึ้นมา ถ้าน้อมใจเก่ง จะสงบ จะสบาย จะโปร่ง โล่ง เบานะ จะเป็นสมาธิไปอีกแบบนึง แต่ส่วนใหญ่ที่พวกเราทำจะเป็นมิจฉาสมาธิแท้ๆ เลย เป็นสมาธิที่หนักๆ แข็งๆ ตัวก็เกร็งๆ กายก็เกร็งๆ ใจก็เกร็งๆ ใช้ไม่ได้จริงนะ เราคอยรู้สึกนะ คอยรู้ รู้ลงมาในกาย รู้ลงมาในใจ ร่างกายของเราเคลื่อนไหวคอยรู้สึก จิตใจของเราเคลื่อนไหวเราคอยรู้สึก แต่อย่าไปเพ่งให้นิ่ง ไม่ใช่คอยบังคับกายให้นิ่ง จะเดินก็เดินไม่เหมือนคนธรรมดา คล้ายๆ ผีดิบนะ เดินต้องตัวทื่อๆ อย่างนั้นใช้ไม่ได้นะ จิตใจก็อย่าไปข่มให้มันซึมกะทือซื่อบื้ออยู่อย่างนั้นทั้งวันทั้งคืน เราต้องการเห็นความจริงของกายของใจ เพราะฉะนั้นอย่าไปบังคับมัน แต่คอยดูมันไป แต่ถ้ามันจะเอากายเอาใจไปทำผิดศีลห้าไม่เอานะ ตรงนี้ต้องฝืนใจ ศีลห้านี้มาตรฐานปราการขั้นสุดท้ายแล้ว มาตรฐานของเราเลย ถ้าขาดศีลห้าเราไม่ใช่มนุษย์แล้ว ต้องระมัดระวังนะ ขนาดพระโพธิสัตว์ยังตกนรกได้เลย นับประสาอะไรกับพวกเราจะไม่ตก ยังเชื่อใจตัวเองไม่ได้นะ อย่าประมาทกิเลสนะ แสดงน้อยลง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น