วันอาทิตย์ที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2560

บัณฑิต มีจิตเฟื่องฟูเบิกบาน มีอินทรีย์อันอบรมดีแล้ว ได้บรรลุสันตบท

สตังค์มี..สติ..ลด..สตังค์.หมด..สติ...มา...รักษาศีลไว้ครับ...แล้วจะ..รักษาจิตได้
เขย่า...ธาตุรู้..ด้วยเพลงนี้..ครับ..
สวดมนต์...ช้าไป...เขย่าธาตูรู้ กูก็จะเพ่ง..อยู่..กับโลก..ไป..ดู..กาย..ดู..ใจ..ของเรา..ไป..เรื่อย..เรื่อย...โลก..มันทุกข์...แต่ใจเราไม่ทุกข์..กายเรา...ทุกข์..แก้ได้...ใจเรา..ทุกข์...แก้ได้..ศาสนาพุทธสอนให้เราเรียนรู้ตัวเอง สิ่งที่เรียกว่าตัวเราคือกายกับใจ ท่านสอนว่า ถ้าเรารักสิ่งใด ..เราจะทุกข์..เพราะสิ่งนั้น..ถ้าเรามีสติคอยรู้ทันจิตใจของเราอยู่เรื่อยๆ กิเลสครอบงำจิตไม่ได้ ไม่ผิดศีลหรอก เช่น .... วันใดที่จิตมันเดินปัญญาแก่รอบถึงขนาดนี้แล้ว จิตมันจะรวมเข้าอัปปนาสมาธิ รวมเองนะ
ธรรมะแท้ๆนี้ไม่เนิ่นช้าหรอก ที่เนิ่นช้าเพราะทำผิด ทำผิดที่สาหัสที่สุดก็คือ ไปติดสมถะ ติดแล้วก็เพ่งๆลูกเดียวแหละ ติดตรงนั้นหลายปี หลวงพ่อติดสมถะยี่สิบสองปี จะว่าติดสมถะก็ไม่เชิงนะ เพราะว่าเราไม่รู้วิธีไปต่อ เราก็จำเป็นต้องทำอยู่แค่นั้นแหละ ทำได้แค่นั้น ทำแต่สมาธิ ทำอานาปานสติ เล่าให้ฟัง อย่างหมดเปลือกไปแล้วนะ
ทีนี้เห็นพวกเรา นักปฏิบัติส่วนใหญ่ติดสมถะนั่นแหละ แล้วไม่ใช่ติดสำนักใดสำนักหนึ่งด้วย ติดทุกสำนัก กระทั่งแต่สำนักที่บอกว่าทำแต่วิปัสสนาไม่ทำสมถะ ก็ติดสมถะ เพราะอะไร เพราะว่าไม่ได้เรียนจิตตสิกขาให้ดี ไม่รู้ลักษณะของจิต ว่าจิตชนิดใดเอาไว้ทำสมถะ จิตชนิดไหนเอาไว้ทำวิปัสสนา
เมื่อขาดความรู้เรื่องจิตตสิกขาที่ถ่องแท้แล้วเนี่ย ส่วนใหญ่ก็ไปหลงทำสมถะแล้วนึกว่าเป็นวิปัสสนา ยกตัวอย่างนะ บางคนนั่งภาวนา จิตสงบ แล้วคิดพิจารณากาย แล้วคิดว่าการคิดพิจารณากายเป็นวิปัสสนา ครูบาอาจารย์สอนมาชัดๆเลยนะ ยกตัวอย่างหลวงพ่อพุธสอนมา บอกว่า สมถะเริ่มเมื่อหมดความตั้งใจ วิปัสสนาเริ่มเมื่อหมดความคิด หลวงปู่เทสก์เคยสอน การคิดพิจารณากายเป็นปฏิกูลเป็นอสุภะ เป็นการแก้อาการของจิต แก้นิวรณ์ แก้กิเลส แก้ชั่วครั้งชั่วคราว เป็นสมถะ การคิดพิจารณากายเป็นธาตุเป็นขันธ์ ไม่ใช่ปฏิกูลอสุภะแล้วนะ คิดเป็นธาตุเป็นขันธ์ คิดลงเป็นไตรลักษณ์น่ะ ก็เพื่อแก้อาการของจิต เป็นสมถะ
ทีนี้พวกเราบางทีคิดว่าการคิดพิจารณากายเป็นวิปัสสนา วิปัสสนาแท้ๆเริ่มเมื่อหมดความคิด พ้นความคิดไปแล้วเห็นความจริง ความคิดกับความจริงเกิดพร้อมๆกันไม่ได้ ความคิดนั้นแหละปิดบังความจริงไว้ ความคิดนั้นแหละคืออภิสังขารมาร ปิดกั้นการมองเห็นความจริงไว้
เนี่ยธรรมะอย่างนี้เราไม่ค่อยได้ยินได้ฟัง บางทีครูบาอาจารย์ท่านก็สอน คือสอนด้วยความเมตตานะ เอ้า..พุทโธ พิจารณากายไป อะไรอย่างนี้ เรานึกว่าตรงพุทโธเป็นสมถะ พิจารณากายเป็นวิปัสสนา ความจริงเป็นสมถะคนละแบบ ตอนแรกตามลมหายใจ หัดพุทโธเนี่ย จิตสงบ พอจิตสงบก็ติดนิ่งติดเฉย ติดนิ่งติดเฉยเนี่ย จิตจะไม่มีทางเจริญปัญญาได้เลย ท่านก็บอกอุบายแก้ให้ ให้จิตไม่ติดเฉย
นี่หลวงปู่มั่นแต่งกลอนไว้ ขันธะวิมุติสมังคี บอกว่า ระวังอย่าให้จิตไปติดเฉย วิธีที่จะไม่ให้ติด จิตไปติดเฉย ก็ให้จิตออกมาทำงาน ให้ทำงาน จิตทำงานอะไร จิตชอบทำงานคิด ให้มันคิด คิดเรื่องอะไรเป็นเรื่องที่ปลอดภัยสำหรับพระหนุ่มเณรน้อย คิดพิจารณากายตัวเองนี่แหละ ปลอดภัยสำหรับพระหนุ่มเณรน้อย ไปคิดเรื่องอื่นไม่ปลอดภัย หรือคิดถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ คิดถึงธรรมะ คิดถึงไตรลักษณ์ อันนี้เป็นคิดถึงธรรมะ คิดถึงครูบาอาจารย์ คิดถึงเทวดา เทวดาก็คือ อย่างคนดีๆ อย่างพระเจ้าแผ่นดิน พระเจ้าอยู่หัวเรานี้ เป็นเทวดา เทวดาในภาคมนุษย์ เรียกว่า สมมุติเทพ คิดถึงท่านแล้วจิตใจเราอบอุ่น นุ่มนวล มีความสุข หรือให้คิดถึงร่างกาย เป็นชิ้นนะ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก อันนี้เรียกว่า กายคตาสติ เรื่องที่ท่านให้คิดนั้นมีอยู่สิบเรื่อง เรียกว่าอนุสติ ๑๐
อนุสติ ๑๐ เป็นเรื่องของสมถกรรมฐาน คิดเพื่ออะไร เพื่อไม่ให้จิตไปติดเฉย พอจิตไม่ติดเฉย หมดเวลาที่จะพุทโธพิจารณากายแล้ว เวลาที่เหลือ ยืน เดิน นั่ง นอน ต้องรู้สึกตัว เพราะฉะนั้นคำสอนของครูบาอาจารย์วัดป่ารุ่นก่อนๆ จะสอนครบ ๓ อัน สอนหัดทำความสงบเข้ามาก่อน สงบแล้วไม่ให้อยู่เฉย ให้ออกพิจารณา พิจารณาพอสมควรแล้ว กลับทำความสงบไป หมดเวลา ถอยออกมา ยืน เดิน นั่ง นอน ต้องรู้สึกตัว

หลวงปู่มั่นถึงสอน บอกว่า ทำสมถะ ทำความสงบมาก เนิ่นช้า คิดพิจารณามาก ฟุ้งซ่าน หัวใจสำคัญของการปฏิบัติ คือการมีสติในชีวิตประจำวัน ยืน เดิน นั่ง นอน ต้องรู้สึกตัว


วิปัสสนาแท้ๆเริ่มเมื่อหมดความคิด พ้นความคิดไปแล้วเห็นความจริง ความคิดกับความจริงเกิดพร้อมๆกันไม่ได้ ความคิดนั้นแหละปิดบังความจริงไว้ ความคิดนั้นแหละคืออภิสังขารมาร ปิดกั้นการมองเห็นความจริงไว้
เนี่ยธรรมะอย่างนี้เราไม่ค่อยได้ยินได้ฟัง บางทีครูบาอาจารย์ท่านก็สอน คือสอนด้วยความเมตตานะ เอ้า..พุทโธ พิจารณากายไป อะไรอย่างนี้ เรานึกว่าตรงพุทโธเป็นสมถะ พิจารณากายเป็นวิปัสสนา ความจริงเป็นสมถะคนละแบบ ตอนแรกตามลมหายใจ หัดพุทโธเนี่ย จิตสงบ พอจิตสงบก็ติดนิ่งติดเฉย ติดนิ่งติดเฉยเนี่ย จิตจะไม่มีทางเจริญปัญญาได้เลย ท่านก็บอกอุบายแก้ให้ ให้จิตไม่ติดเฉย
นี่หลวงปู่มั่นแต่งกลอนไว้ ขันธะวิมุติสมังคี บอกว่า ระวังอย่าให้จิตไปติดเฉย วิธีที่จะไม่ให้ติด จิตไปติดเฉย ก็ให้จิตออกมาทำงาน ให้ทำงาน จิตทำงานอะไร จิตชอบทำงานคิด ให้มันคิด คิดเรื่องอะไรเป็นเรื่องที่ปลอดภัยสำหรับพระหนุ่มเณรน้อย คิดพิจารณากายตัวเองนี่แหละ ปลอดภัยสำหรับพระหนุ่มเณรน้อย ไปคิดเรื่องอื่นไม่ปลอดภัย หรือคิดถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ คิดถึงธรรมะ คิดถึงไตรลักษณ์ อันนี้เป็นคิดถึงธรรมะ คิดถึงครูบาอาจารย์ คิดถึงเทวดา เทวดาก็คือ อย่างคนดีๆ อย่างพระเจ้าแผ่นดิน พระเจ้าอยู่หัวเรานี้ เป็นเทวดา เทวดาในภาคมนุษย์ เรียกว่า สมมุติเทพ คิดถึงท่านแล้วจิตใจเราอบอุ่น นุ่มนวล มีความสุข หรือให้คิดถึงร่างกาย เป็นชิ้นนะ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก อันนี้เรียกว่า กายคตาสติ เรื่องที่ท่านให้คิดนั้นมีอยู่สิบเรื่อง เรียกว่าอนุสติ ๑๐

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น