หากเรามองจาก ท้องฟ้า เราจะเห็น สิ่งที่เคลื่อนไหว ภายใต้ ของความคิดเรา ถ้าเรามองขึ้นไปจากใจเรา เราจะเห็น ทุกชีวิต กำลังดิ้นรน เพื่อ แสวงหา อาหาร เพื่อ หล่อเลี้ยง ชีวิตของตนเอง และ สิ่งที่ตนรัก และเป็นที่รัก ของตนเอง และแล้ว ทุกชีวิต ก็ พบว่า ความกระหายใคร่ ได้ ใคร่มี ใคร่เป็น หรือ ความทะยานอยาก นี่เอง ที่เป็นสาเหตุ ให้มนุษย์ ต้องเดินทางอยู่ ตลอดชีวิต ลองหยุดเดินทางด้วยยานพาหนะ แล้วหันมาเดินทาง ด้วยจิตวิญญาณ แล้วการ เดินทางไกล จะใกล้เข้าทุกขณะจิต หายใจเข้า ตามรู้ หายใจออก ตามรู้
วันอาทิตย์ที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2560
มงคลสูตรถ้าเข้าใจสิ่งที่หลวงพ่อสอนนะ เดือนสองเดือนก็เริ่มเปลี่ยนแล้ว อย่างคนไม่เคยรู้สึกตัวไม่เคยมีสติเลย จิตใจล่องลอยมีกายลืมกายมีใจลืมใจ คนในโลกเป็นอย่างนั้น พอรู้สึกตัวเป็นครั้งแรกนะรู้สึกอัศจรรย์มากเลย มันเหมือนเราพึ่งจะตื่นขึ้นมาครั้งแรกในชีวิต พอตื่นได้แล้วคราวนี้เราจะเห็นได้ว่า ศีลสมาธิปัญญาจะค่อยๆดีขึ้น แต่ถ้าจิตมันตื่นขึ้นมาได้ มีสติรู้เนื้อรู้ตัวขึ้นมาได้ แค่พอรู้สึกตัวนี่นะ มันจะมีความสุขโชยขึ้นมาแผ่วๆ เป็นระยะๆ ไม่ได้ทำอะไรมันผุดขึ้นมาเอง เพราะว่าจิตใจอยู่กับเนื้อกับตัวขึ้นมาแล้ว สมาธิมันก็เกิดโดยอัตโนมัติด้วย มันมีความสุขผุดขึ้นมา ถัดจากนั้นก็มาฝึกพัฒนาต่อไป ไม่ใช่ฝึกเอาแค่ความสุข ต้องฝึกให้จิตมันฉลาดด้วยนะ จิตมันเห็นความจริงของรูปนาม/กายใจ สมาธิมีหลากหลาย สมาธิที่เป็นมิจฉาสมาธิก็มี เอาไว้รู้โน่นรู้นี่(จิต)ส่งออกนอก[บางทีส่งออกไปรู้นอกกายใจก็มี=ผู้ถอด] (แม้แต่ส่งจิตดูบางส่วนในร่างกาย ลป. ดุลย์ก็เรียกว่าจิตส่งออกนอก เพราะไม่รู้เนื้อตัวได้จริงๆ แต่ไปรู้ที่ spot นั้นที่่เดียว=ผู้ถอดคำ) สมาธิที่ดีมีสองอย่าง สมาธิเอาไว้พักผ่อน น้อมจิตสบายๆนะ ไปอยู่กับอารมณ์ที่มีความสุข แล้วจิตก็สงบ สมาธิอีกชนิดหนึ่ง จิตตั้งมั่น (เอาไว้เดินปัญญารู้ธรรม=ผู้ถอดคำ) สมาธิอย่างนี้สำคัญมาก จะขึ้นวิปัสสนาได้ต้องมีสมาธิชนิดจิตตั้งมั่น สมาธิอย่างนี้เรียกว่า"ลักขนูปณิชฌาน" ส่วนสมาธิที่จิตสงบอยู่ในอารมณ์อันเดียว เรียกว่า " อารัมณูปนิชฌาน " อารัมมะ ก็คืออารมณ์นั้นเอง สิ่งเหล่านี้ต้องเรียน ถ้าเราไม่แตกฉานในเรื่องของสมาธิ เราจะเอาอะไรไปเจริญปัญญา เราเอาจิตที่ไม่มีคุณภาพไปเจริญปัญญา จิตอันหนึ่งติดเพ่ง จิตอันหนึ่งฟุ้งซ่าน เจริญปัญญาไม่ได้ ไม่ใช่จิตที่เป็นผู้รู้ผู้ตื่นผู้เบิกบาน นี่คือสิ่งที่หลวงพ่อพากเพียรสอนมานานนะ "เราจำเป็นต้องเรียนเรื่องจิตสิกขาให้ชำนิชำนาญ เราจะสามารถแยกได้ว่าจิตขณะนี้มันเป็นจิตชนิดใด จิตที่ไม่มีคุณภาพ ทำสมถะก็ไม่ได้ ทำวิปัสสนาก็ไม่ได้ มีแต่สมาธิออกนอกนะ เป็นมิจฉาสมาธิ สมาธิอย่างนี้เอาไว้ทำงานทางโลก ฟุ้งๆไป จินตนาการไป บางพวกก็แต่งโน่นแต่งนี่ไป เคลิบเคลิ้มลืมเนื้อลืมตัว เอาไปภาวนาไม่ได้" อย่างเราจะทำสมาธิพักผ่อนเนี่ย น้อมจิต อย่างสบายๆ ไปอยู่ในอารมณ์อันเดียว รู้เนื้อรู้ตัวอยู่ไม่ขาดสติ นี่คือ อารัมณูปนิชณาน นี้เป็นสมาธิที่ดี เอาไว้พักผ่อนทีนี้พวกเราทำไม่เป็น พอจะทำสมาธิพักผ่อนเนีย เราจะทำใจเคลิ้มๆ ก่อน..หรือไม่เราจะชอบน้อมจิตให้ซึมๆ หรือไม่ก็เครียดบังคับตัวเอง นี่จิตเป็นมิจฉาสมาธิ เครียด จิตลืมตัวเอง..ก็เป็นมิจฉาสมาธิ "งั้นเวลาที่ทำสมาธิชนิดพักผ่อนนะ(สมถะกรรมฐาน) ใช้ใจธรรมดา ใช้ใจที่มีความสุข หลวงพ่อจะให้ ยิ้มหวานๆก่อนนะ เวลายิ้มเนี่ยอย่ายิ้มแต่ปาก ด้องยิ้มด้วยใจให้ใจคลี่ บาน เหมือนดอกไม้บานนะ พอใจขยายตัวเบิกบานแล้วนะ ใช้ใจอย่างนี่แหละ ไปรู้อารมณ์กรรมฐานที่เราเลื่อกแล้วนะ ว่าเป็นอารมณ์ที่เราอยู่ด้วยแล้วมีความสุข ใจจะสงบอย่างรวดเร็วเลย ความสุขกับความสุขมันเชื่อมต่อกัน" เคล็ดลับทำสมถะ 1. เลือกอารมณ์ที่มีความสุข 2. ใช้ใจที่มีความสุขไปรู้อารมณ์ที่มีความสุขอย่างมีสติรู้เนื้อรู้ตัว 3. ถ้าเครียดมากนะ ต้องไปหาอะไรทำก่อนที่ตนชอบนะ ให้ใจคลายก่อน งั้นขณะฝึกสมาธิเนี่ย มันอยู่ที่การวางใจของเรานะ ทำใจให้สบายก่อนสงบก็ช่าง ไม่สงบก็ช่าง ถ้าอยากสงบจะไม่สงบ เพราะความอยากเกิดขึ้นเมื่อไหร่ ความทุกข์เกิดเมื่อนั้น...อย่าไปอยาก..มันสงบก็ได้ ไม่สงบก็ได้ ดีก็ได้ไม่ดีก็ได้ อารมณ์อันนั้น (อารมณ์คือสิ่งที่จิตไปรู้เข้า--ผู้ถอดความ) ถ้าจะต่อยอดขึ้นวิปัสสนาเนี่ย ขอแนะนำว่าอารมณ์นั้นควรจะเกี่ยวเนื่องกับกายกับใจ อย่างพุทโธ พุทโธเกี่ยวเนื่องกับกายกับ คำว่าพุทโธก็คือตัวจิตนั้นแหละ จิตนั้นแหละคือตัวผู้รู้ผู้ตื่นผู้เบิกบานคือตัวพุทโธ พุทโธแล้วรู้ทันจิต--พุทโธแล้วรู้ทันจิต จิตฟุ้งซ่านแล้วรู้ๆ ใจมันมันสงบเข้ามาอยู่กับพุทโธแล้วมีความสุขใจก็ไม่หนีไปที่อื่น สงบแล้วมันต่อขึ้น ลักขนูปณิชฌานง่าย พอใจเคลื่อนไปจากพุทโธรู้ทันๆ ตรงที่รู้ทันว่าใจเคลื่อนเนี่ยจะได้สมาธิ ที่เรียกว่าลักขนูปณิชฌานนะ งั้นเราหัดพุทโธนะ ได้ความสงบขึ้นมาเนี่ยได้อารัมณูปนิชฌาน ถ้าพุทโธไปแล้วรู้ทันใจที่เคลื่อนจะได้ลักขนูปณิชฌานนะ งั้นอย่างรู้ลมหายใจนะ จิตเราเคลื่อนไปอยู่กับลมหายใจ สบายมีความสุขอยู๋ลมหายใจยังเป็นกายอยู่ถือว่ายังใช้ได้ กรรมฐานเนี่ยถ้าจะขึ้นวิปัสสนา อย่าใช้กรรมฐานที่เกินกายเกินใจออกไป เรียกว่าอย่าให้เกินร่างกายออกไปรู้สึกอยู่ในร่างกายนี้ใช้ได้ เรารู้ลมหายใจ รู้ลมหายใจ แล้วจิตเราเคลื่อนไปอยู่ที่ลมหายใจ สบายมีความสุขอยู่กับลมหายใจ ลมหายใจมันก็ยังเป็นกายอยู่ถือว่ายังใช้ได้ อันนี้อยู่ในกายานุปัสนา...ดีนะ อยู่เนื่องด้วยกายเราก็เห็นร่างกายหายใจสบายใจไม่ต้องบังคับให้สงบ แค่เห็นร่างกายมันหายใจไปอย่างมีความสุข อันนี้สำหรับคนที่ชอบรู้ลมหายใจ ถ้าคนที่ไม่ชอบลมหายใจ จะไปรู้ลมหายใจด้วยใจหวานๆ นะ ใจก็ไม่สงบ งั้นต้องรู้จักตัวเองว่าอยู่กับอารมณ์อะไร แล้วมีความสุข อย่างเรารู้ลมหายใจแล้วเนี่ย ใจเรามีความสุข ลมหายใจก็เป็นอารมณ์ที่เราชอบ ใจมันชอบ แป๊บเดียวก็สงบ ถ้าต่อยอดขึ้นวิปัสสนาจะต่อยอดยังไง ..? รู้ลมหายใจไปด้วยใจที่มีความสุขนั่นแหละ แต่ถ้าใจมันไหลไปคิดรู้ทัน ใจมันไหลไปอยู่ที่ลมหายใจรู้ทัน รู้ตรงไหน..? รู้ตรงที่ใจไหลนะ(ไหลไปรู้..จิตคิดอยู่ ไหลไปรู้ลมหายใจ) รู้ทันจิตไหลไปนะ พอรู้ตรงที่ใจไหลจะได้สมาธิลักขนูปณิชฌานจิตจะตั้งมั่นเด่นดวงขึ้นมาเลยเป็นผู้รู้ผู้ตื่นผู้เบิกบาน พอจิตตั้งมั่นขึ้นมาแล้วต่อยอดได้ทันทีเลย เห็นร่างกายหายใจไปใจเป็นคนดู ร่างกายกับใจนี้เป็นคนละอันกัน แยกขันธ์ได้แล้วนะ ร่างกายที่หายใจกับจิตเนี่ยเป็นคนละอันกัน หรือบางคนถนัดเดินจงกรม ใช้ความเคลื่อนไหวของร่างกายเป็นอารมณ์ เดินจงกรมนี่นะ หรือเรานั่งอยู่แล้วรู้สึกว่าร่างกายนั่ง อันนี้เรียกว่าอิริยาบถบรรพ รู้การยืนเดินนั่งนอนเอายืนเดินนั่งนอนเป็นอารมณ์กรรมฐาน ถ้ายืนเดินนั่งนอนแล้ว มีความสุข ที่ได้เห็นร่างกายนั่งเห็นร่างกายเดินแล้วใจเราเข้าไปเคล้าเคลียใจที่สบายๆ ไปรู้ร่างกายที่เดินอย่างสบายๆ จะได้อารัมณูปนิชฌาน จิตจะสงบอยู่กับการเดินแต่ถ้าเดินจงกรมอยู่นะ แล้วใจไหลไปคิดก็รู้ใจไหลไปอยู่ที่เท้าก็รู้ ใจไหลมาจ้องร่างกายทั้งร่างกายก็รู้ ใจเคลื่อนแล้วรู้ๆนะ จะได้ลักขนูปณิชฌาน มีอยู่สองคำนะ จำชื่อไว้ก่อน อารัมณูปนิชฌาน กับ ลักขนูปณิชฌาน ลักขนูปณิชฌาน คือสมาธิที่จิตตั้งมั่นเห็นลักษณะความเปลี่ยนแปลง(ไม่ใช่เห็นกายเห็นใจนะ แต่เห็นความเปลี่ยนแปลงของกายใจ จะเห็นไตรลักษณ์ได้) อารัมณูปนิชฌาน คือจิตสงบอยู่ในอารมณ์อันเดียว อารัมมะ คืออารมณ์ ถ้าทำให้ได้สองชนิดดีที่สุด ถ้าทำไม่ได้นะ ต้องได้ลักขนูปณิชฌาน ถ้าได้แต่อารัมณูปนิชฌานชาตินี้ไม่บรรลุมรรคผลหรอก ตัวที่เราใช้เดินปัญญาจนบรรลุมรรคผล คือลักขนูปณิชฌาน แต่พอเดินปัญญาไปพอเหนื่อย กลับมาทำอารัมณูปนิชฌาน ให้จิตสงบในอารมณ์ที่มีความสุข จิตมีความสุขมีเรี่ยวแรงขึ้นมาใหม่ แล้วไปเดินปัญญาต่อนะ จะปรับจิตขึ้นมาให้เป็นลักขนูปณิชฌาน เดินปัญญา งั้นเราใช้กรรมฐานที่เนื่องด้วยกายด้วยใจแล้วจะดีที่สุดนะ เห็นร่างกายหายใจ เห็นร่างกายยืนเดินนั่งนอน ถ้าเรารู้ร่างกายหายใจด้วยใจ ที่มีความสุขใจก็สงบ ถ้าเราเห็นร่างกายหายใจแล้วเรารู้ว่าใจหนีไป หรือใจไหลไปอยู่ที่ลมหายใจ เรารู้ว่าใจไหลไป จะได้ลักขนูปณิชฌาน ได้สมาธิที่จิตตั้งมั่น ตรงที่จิตตั้งมั่นเราจะรู้ได้เลยว่าตื่นอย่างแท้จริงขึ้นมาแล้ว ส่วนจิตที่ไปหลับ/จม..อยู่ในอารมณ์นั้นมันเพลินสบาย งั้นตรงที่ใจมันตื่นขึ้นมาเนี่ยสำคัญ หลวงพ่อไม่แนะนำกรรมฐานที่เกินกายออกไป กรรมฐานที่เกี่ยวเนื่องกับกายกับใจเนี่ยต่อยอดง่าย อย่างเรารู้ลมหายใจ ใจสงบอยู่ที่ลมหายใจได้สมาธิชนิด..อารัมณูปนิชฌาน ใจสงบอยู่ในอารมณ์เดียว แต่ถ้าจิตเห็นร่างกายหายใจแล้วใจหนีไปคิดรู้ทัน หนีไปอยู่ที่ลมหายใจรู้ทัน อย่างนี้จะได้ลักขนูปณิชฌาน เพราะรู้ทันว่าใจไหล ใจจะตั้งมั่น.. เดินจงกรมถ้าใจสงบอยู่กับร่างกายที่เดินอย่างนี้เป็นอารัมณูปนิชฌาน ดูท้องพองยุบดูด้วยใจที่สบายได้อารัมณูปนิชฌาน แต่ถ้าเดินจงกรมหรือดูท้องพองยุบนะ แล้วเห็นจิตเคลื่อนเคลื่อนไปคิดรู้ทัน เคลื่อนไปอยู่ที่เท้ารู้ทันเคลื่อนไปอยู่ที่ท้องนี้รู้ทัน ตรงที่รู้ทันจิตที่เคลื่อน จะได้จิตที่ตั้งมั่น จิตที่ตั้งมั่นมันตรงข้ามกับจิตที่เคลื่อนเมื่อไร่จิตเคลื่อนแล้วเรามีสติรู้ทันนะจิตจะตั้งมั่นอัตโนมัติ(คือมีสมาธิจิตตั้งมั่นนั่นเอง) พอจิตตั้งมั่นแล้วเนี่ยเราต่อยอดได้เลยอย่างเราเดินจงกรมเนี่ยเห็นร่างกายเดินใจเป็นคนดู ร่างกายกับจิตใจนี้คนละอันกัน เห็นร่างกายพองร่างกายยุบ อย่าไปดูท้องนะถ้าดูท้องพองจิตเพ่งไปที่ท้องเมื่อไหร่ เป็นอารัมณูปนิชฌานแล้ว เห็นร่างกายหายใจ รู้ร่างกายพองร่างกายยุบก็ได้ หรือจะรู้ร่างกายยืนเดินนั่งนอนก็ได้ ใจเป็นแค่คนดูอยู่เฉยๆ เห็นว่ากายกับใจเป็นคนละอันกัน พอกายกับใจแยกกันได้นะ ปัญญามันจะเริ่มมองเห็นได้แล้ว ว่าร่างกายนี้ไม่ใช่ตัวเรา มันจะเกิดความรู้ชัดขึ้นในใจเวลารู้เนี่ย รู้แวบเดียว ไม่รู้ยาวๆ แบบบรรยายได้นะ เวลาที่จิตจะรู้เนี่ยรู้แวบเดียวเท่านั้นแหละ มันจะรู้สึกขึ้นมาว่า เฮ้ย! นี่ไม่ใช่ตัวเราแล้ว รู้สึกร่างกายไม่ใช่ตัวเรา แล้วต่อไปก็หัดดูไปเรื่อย ความรู้สึกนึกคิดทั้งหลายก็ไม่ใช่ตัวเรา กระทั่งจิตใจที่เป็นผู้รู้ผู้ดูนะ เดี๋ยวก็เป็นผู้ รู้เดี๋ยวก็เป็นผู้คิด เดี๋ยวก็เป็นผู้รู้ เดี๋ยวก็เป็นผู้เพ่ง ไม่ใช่ตัวเราเปลี่ยนไปเปลี่ยนมาได้เอง ทีนี้บางคนไม่ถนัดดูกายก็มาดูจิตเอานะ ก็อาจจะมาพุทโธบริกรรมไปก็ได้ พุทโธไม่ใช่ให้จิตไปอยู่ที่พุทโธ.. พุทโธแล้วคอยรู้ทันจิต(เอาคำพุทโธเป็นเครื่องอยู่ให้จิต=ผู้ถอดคำ).. พุทโธๆๆไป จิตสงบก็รู้ พุทโธไปจิตฟุ้งซ่านก็รู้ รู้เล่นๆ พุทโธไปจิตฟุ้งซ่านกับจิตหนีไปคิด รู้ทัน รู้ว่าจิตหนีไปคิดเรื่องอื่นแล้วลืมพุทโธ ตรงที่รู้ทันว่าจิตไหลไปคิดนั้น จิตมีลักษณะที่เรียกว่าลักขนูปณิชฌาน ก็จะเกิดขึ้นเหมือนกัน เพราะว่ารู้ทันว่าจิตไหล งั้นถ้าเราหัดพุทโธนะ.. เราจะใช้จิตเป็นวิหารธรรม พุทโธเป็นแค่เหยื่อล่อเท่านั้นเพื่อจะดูจิต ไม่ใช่ใช้พุทโธเป็นวิหารธรรมนะ พุทโธไม่มีอยู่ในสติปัฏฐาน ๔ ที่พระพุทธเจ้าให้ กาย เวทนา จิต ธรรม เป็นวิหารธรรมไม่มีพุทโธ ไม่มีพุทโธไม่มีสัมมาอรหัง แต่เราใช้จิตเป็นวิหารธรรม เราพุทโธขึ้นมาเพื่อเป็นเครื่องสังเกตจิตเท่านั้น พุทโธๆ จิตหนีไปคิด ดูง่ายหน่อย ถ้าไม่มีพุทโธเป็นเครื่องสังเกตเลย(จิต) หนีนาน งั้นถ้าเราจะใช้พุทโธนะก็ใช้ "จิต"เป็นวิหารธรรม ถ้าเราจะใช้ลมหายใจ ใช้ท้อง ใช้มือ ใช้เท้าใช้ "กาย" เป็นวิหารธรรมนะ มีวิหารธรรมแล้วรู้ทันจิต รู้กายแล้วรู้ทันจิต พุทโธไปแล้วรู้ทันจิต อย่างนี้ใช้ได้ แล้วถึงจะได้สมาธิที่จิตตั้งมั่น ถ้าจิตตั้งมั่นแล้วนะ ถ้าเราใช้พุทโธเราต่อยอดยังไง บางท่านกลับมาดูกายก็มี เราจะต่อยอดเข้าถึงจิตเลยก็ได้ เราพุทโธไปจิตสงบก็รู้ จิตฟุ้งซ่านก็รู้ จิตดีก็รู้ จิตชั่วก็รู้ แล้วเห็นว่าจิตสงบ จิตฟุ้งซ่าน จิตดี จิตชั่ว " เกิดแล้วดับทั้งสิ้น " นี่คือต่อยอดเข้าวิปัสสนาแล้วนะ ง่ายๆเลย งั้นสมาธิทำให้ถูกนะ แล้วมันจะต่อยอดขึ้นปัญญา แต่ถ้าทำสมาธิออกนอกมันจะขึ้นปัญญายาก มันต้องน้อมจิตเข้ามาที่ตัวเองอีก
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น