วันศุกร์ที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2560

คนมาติดตรงนี้ครับผม พอปฏิบัติไปแล้ว มันเกิดความสว่างขึ้นเฉยๆ ติดอยู่ตรงน...ศิษย์ : ปัญญาน่ะครับ ทำให้เกิดยังไง หลวงปู่ : เกิดปัญญาเหรอ ศิษย์ : ครับผม หลวงปู่ : เมื่อจิตเป็นสมาธิ แล้วก็ทำให้เกิดปัญญา ศิษย์ : ครับผม หลวงปู่ : เกิดปัญญา ก็ต้อง ถ้าหาก ว่าจิตเป็นสมาธิอยู่แล้วล่ะก็ ต้องให้จิตมันเดินตามอาการสามสิบสอง ตั้งแต่ ผม ขนเล็บ ฟันหนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า ให้มันเดินอย่างนี้ เรื่อยไป ศิษย์ : วิธีเดิน เดินยังไงครับ หลวงปู่ : คือดู ศิษย์ : เอาจิตไปดูหรือครับ หลวงปู่ : คือ ผมอยู่บนเจ้าของ ศิษย์ : ครับผม หลวงปู่ : นึกดูผม ผมมันเป็นยังไง ลักษณะมันเป็นยังไง มันเข้าไปในหนัง ลึกไปเท่าไหร่ แล้วก็ ออกมามันยาว มันเรื่องอะไร ทำไมมันจึงยาวไม่มีที่สิ้นสุด แล้วก็ให้เข้าใจให้ซึมซาบถึงจิตถึงใจ ว่า อ้อมันเป็นอย่างนั้น แล้วก็ขนก็เหมือนกัน เล็บก็เหมือนกัน ดู ดูอันนี้ ดูผม เสร็จแล้ว ดูเล็บ ทุกเล็บ เนี่ยแหละ เล็บมือเล็บตีนอะไรก็ดู ทุกเล็บ ดู คือ ดูให้มันเห็นชัดเจน ในจิตใจของเรา ให้มันซึมซาบถึงจิตถึงใจ ดูอาการลักษณะของมัน มันเป็นอย่างไง ศิษย์ : ตอนดู ดูตอนนี้ มันจะเกิดภาพประกอบด้วยหรือเปล่า หลวงปู่ : ไม่มี ศิษย์ : ไม่มีภาพหรือครับ หลวงปู่ : ภาพไม่มีภาพ ภาพไม่มี ไม่เกี่ยวกับภาพ ให้รู้ด้วยปัญญา ว่าเป็น ลักษณะมันเป็น ดูด้วยปัญญา รู้ด้วยจิตอันลึกซึ้ง ดูด้วยปัญญา แล้วก็ดูอาการสาบสิบ ดูจนทั้งหมด ศิษย์ : แล้วก็พิจารณา ทีละอย่างละอย่างครับ หลวงปู่ : ดูทีละอย่างละอย่าง ดูทีละอย่างละอย่างไป เพื่อจะทำสมาธิของเราให้มีกำลัง และสติ ก็มีกำลังไปด้วย ดูเสร็จแล้ว หมดอาการสามสิบสองแล้ว แยกอีก ศิษย์ : แยก หลวงปู่ : แยก ถอนผมไปกองหนึ่งกองหนึ่ง ถอนเล็บไปกองหนึ่ง ฟันไปกองหนึ่งกองหนึ่ง ศิษย์ : ทำ หลวงปู่ : ทำได้ คือทำได้ด้วยจิต คือจิตมันทำได้ กองหมดทุกกอง แล้วก็ ให้ นึกถึง ดูหมดทุกกอง แล้วก็ให้ดู ให้บริกรรมถึง อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ให้จิต ให้มันรู้สึกว่า ทุกขังนี่ทุกขัง อนิจจัง อนัตตา แล้วก็ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ก็เห็นซึมซาบในจิต เหมือนเหมือนกันล่ะ ดูจิต ทุกขัง อนิจจัง อนัตตา เออ ดูอาการของจิตล่ะ ทั้งสามหลักเรียกว่า ไตรลักษณ์ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา จิตมันเป็นทุกขังมันเป็นยังไง ดูมัน ให้ดูอาการ ของจิต แล้วก็ เป็นอนิจจังมันเป็นยังไง มันเป็นอนัตตามันเป็นยังไง ให้ดูให้เข้าใจชัดเจน ด้วยปัญญา ศิษย์ : อย่างเช่นจะพิจารณา ปฏิจสมุปบาท นี่จะเป็นขั้นปัญญาด้วยรึเปล่า หลวงปู่ : นี่ตัวขั้นปัญญา ทำปัญญาให้เกิด ศิษย์ : ครับ หลวงปู่ : ปฏิจสมุทปบาท ก็ ไม่ต้องพิจารณาอะไรมากมาย ให้พิจารณาสังขาร ศิษย์ : ให้พิจารณาสังขาร หลวงปู่ : อวิชชา อวิชชา หนึ่งเป็นตัวไม่รู้ถึงความเป็นจริงของสิ่งทั้งปวง แล้วก็ให้รู้ ตัวอวิชชานี่ซะก่อน อวิชชาในจิตของเรามันเป็นยังไง เวลามันเกิดอวิชชา มันเกิดนั้นมันเป็นอย่างไร ดูอาการของมัน ไม่พิจารณาที่อื่น ดูตัวนี้ พิจารณาในร่างกายของเรานี่แหละ ตั้งแต่ อวิชชา ปัจจยา สังขารา สังขารา ปัจจยา ดูไป ตามลำดับไป แท้ที่จริง ถ้าหากว่า เราพิจารณาตามแบบ เป็นส่วนส่วนไป มันยาวไป ที่จริง ให้เห็นอวิชชาให้ชัดเจน ด้วยปัญญา มันดับไป ตามลำดับไป มันดับเอง มันเป็น แวบ ไป แวบ เดียวไป มันหมดแล้วกัน อวิชชาทั้งหมดน่ะ สามสิบสอง มันดับๆไป มันดับไปเอง ลูกศิษย์ : เอ่อ ตอนนี้ วิธี ที่จะพิจารณาขันธ์ห้า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ นี่พิจารณายังไงครับผม หลวงปู่ : ก็เหมือนกัน เหมือนกัน ก็ เวทนา สัญญา รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ให้ดูรูปซะก่อน ดูรูปซะก่อน แล้วก็ ไอ้ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ก็ ลูกศิษย์ : กระผมอยากได้รายละเอียด ตรงว่า ดูรูปดูยังไงครับผม หลวงปู่ : ดูรูปก็ดู ที่ว่างซิ ให้รู้จักรูปซะก่อน แล้วก็ ดู รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ดูไปตามลำดับซะก่อน รูปมันเป็นยังไง เวทนามันเป็นยังไง สัญญามันเป็นยังไง สังขารมันเป็นยังไง วิญญาณมันเป็นยังไง ดูลักษณะก่อน อยู่ในจิตทั้งหมด จิตอันเดียวนั่นแหละ มันเป็นทั้ง ขันธ์ห้า ลูกศิษย์ : มันจะเกิดคำถามคำตอบขึ้นในจิตมั้ยครับ หลวงปู่ : มันรู้เอง มันรู้เอง มันรู้ถึงความเป็นจริง มันรู้ถึงความเป็นจริง ลูกศิษย์ : เอ่อ ตอนที่พิจารณานี่น่ะครับผม หลวงปู่ : พิจารณาอย่างนี้แหละ ลูกศิษย์ : สมมุติว่า พิจารณา ตอนที่ว่า สมมุติว่าสมาธิมันเข้าลึกเข้าไป แล้วถอยมารึเปล่าครับ หลวงปู่ :ไม่ถอย อยู่ในสมาธิ พิจารณาอยู่ในสมาธิ ให้สมาธิเป็นกำลังให้พิจารณาได้ แล้วก็ ปัญญาก็เกิดจากสมาธิ ลูกศิษย์ : ตอนพิจารณานี่ เราไม่ต้องยึดพุทโธ ไม่ต้องอะไรครับ หลวงปู่ : ไม่ต้องหรอก พิจารณาไม่ต้องยึด ไม่ต้องยึด ปริกรรมไม่ต้องยึด วางหมด ดูให้รู้ ให้ลึกซึมซาบถึงจิตถึงใจเลย ลูกศิษย์ : อันนี้ ถ้าสมาธิลึกไปนี่ ก็ต้องถอนออกมา หลวงปู่ : ไม่ ไม่ถอน ลูกศิษย์ : ไม่ต้องถอน หรือครับผม ประคองจิตให้อยู่ หลวงปู่ : อือ ประคองจิต จิตกับสมาธิ ให้อยู่ไปด้วยกัน ให้สมาธิมันเป็นกำลังให้พิจารณาได้ ถึงความเป็นจริง ถ้านอกจากสมาธิแล้ว ปฏิบัติเอาข้างนอก มันไม่ถูก มันไม่เห็นถึงความเป็นจริง เราเข้าถึงแล้วได้ก็ไม่ได้ความ หมายความว่า ให้รู้ถึงจิตถึงใจ ดูอาการถึงจิตถึงใจ ถ้าดูอันหนึ่งแล้ว มันก็ เหมือนกัน กับ ดูทั้งหมด เมื่อเราดู รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เข้าใจในจิตของเราอันลึกซึ้งแล้ว ก็ ให้รวม ว่ามูลธาตุทั้งห้า มูลธาตุทั้งห้าคือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นความว่างเปล่า ให้ว่างให้หมด เป็นความว่างเปล่าให้หมด ไม่มีอะไร จนไม่มีอะไร แยกออก แยกออกจากกัน เวลามันยึดมันเป็นรูปนะ เวลาแยกออกจากกัน เวลาแยกจนหมดรูป จิตของเราก็ ถึงที่ว่าง ลูกศิษย์ : ที่ว่างนี่หมายความว่า หลวงปู่ : หมายความ ไม่มีอะไรบรรจุอยู่ แม้เท่าเส้นขนที่เล็กที่สุดอยู่ในความว่าง เหมือนกับกลางอากาศ…อะไรบรรจุอยู่ไม่ได้ มันเหมือนกับกลางอากาศ ถ้าว่าง เหมือนกับกลางอากาศ ไม่มีอะไรบรรจุได้ในอากาศ แม้เส้นผมที่เล็กที่สุดอยู่ในอากาศก็บรรจุไม่ได้ มันเปล่า ว่างเปล่า แล้วจิตก็เป็นอย่างนั้น ลูกศิษย์ : แล้ว อีก คำที่ว่า รูปดับนามก็ดับนี่ ไอ้นามดับ หลวงปู่ : ไปพร้อมกัน นามก็คือเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ รูปก็คือรูปนี่แหละ พอมันดับแล้วมันดับพร้อมกัน ไอ้เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ มันดับพร้อมกัน ลูกศิษย์ : ไอ้นามดับตัวนี้ มันมีความหมายคล้ายๆกับ ไอ้สังขาร มั้ยครับ คือหมายความว่า สังขารดับ คือไม่ปรุงแต่ง เหมือนกันมั้ยครับ หลวงปู่ : หมดสังขาร ลูกศิษย์ : หมดสังขาร หลวงปู่ : เวทนาสัญญาสังขาร หมดสังขาร มันก็หมด หมดความคิด ลูกศิษย์ : หมดความคิดนึก การปรุงแต่งไม่มี หลวงปู่ : หมดความปรุงแต่งไม่มี หมดสังขารหมดสัญญาอันเดียว มันหมด หมดไปแล้วทั้งอาการ มันหมดไปแล้ว ลูกศิษย์ : อันนี้เรียกว่าอะไร นามดับ หลวงปู่ : นามดับ ลูกศิษย์ : คือนามดับนี่หมายความว่า หลวงปู่ : คือไม่คิด หยุดคิด นามดับ หยุดคิดแล้วหมดทั้งรูปทั้งนาม หยุดแล้วก็หมดทั้งรูปทั้งนาม เหลือแต่ว่าง ลูกศิษย์ : ทีนี้คำว่าหยุดคิดน่ะครับผม มันจะไปคล้ายๆ มันจะเป็นว่าจิตมันจะไม่ได้ทำงานหรือเปล่า หลวงปู่ : ไม่ทำงานอะไร เลิกทำงานแล้ว ไม่มีอะไรงาน ไม่มีงานจะทำแล้ว ที่ว่าง หมดงาน หมดงานทำ จิตมันหมดงานทำ ลูกศิษย์ : ครับ สมมุติว่า ขณะนี้ที่เรานั่งอยู่คุยอยู่นี่ ครับ จิตมันก็คุยไปตามปกติ แต่ว่า ไอ้ความว่างมันมียังอยู่หรือครับ หลวงปู่ : ว่างมันก็อยู่ในนั้นล่ะ ว่างก็อยู่ในนั้น หยุดมันก็หยุด หยุดแล้วก็ มันไม่มีตัวมีตนอะไร ลูกศิษย์ : ไม่มีการปรุงแต่ง หลวงปู่ : ไม่มีการปรุงแต่ง เราจะไปเห็นตัวเห็นตน ไม่มี ลูกศิษย์ : ไม่ยึดถือตัวตน ไม่ยึดถือรูปถือนาม ไม่ยึดทั้งหมด หลวงปู่ : ไม่ยึดทั้งหมดเลย ลูกศิษย์ : แต่ว่าไอ้การทำการพูดการจานี่ยังเป็นไปตามธรรมชาติ หลวงปู่ : ให้เป็น ให้รู้ไปตามธรรมชาติ ลูกศิษย์ : ครับผม ถ้ารู้ว่าทุกสิ่งทุกอย่างเป็นธรรมชาติ หลวงปู่ : เป็นธรรมชาติ ลูกศิษย์ : จิตไม่เกาะ หลวงปู่ : จิตไม่เกาะ สิ่งทั้งหลายทั้งปวงแล้วไม่เกาะเลย ลูกศิษย์ : ครับผม หลวงปู่ : นั่นแหละ จิตว่างเปล่า ลูกศิษย์ : ครับ หลวงปู่ : ที่ว่าง ลูกศิษย์ : ไอ้ตัวว่างเปล่านี่ รูปดับ นามก็ดับ ที่นี้มันก็เหลืออยู่ตัวว่างฮะ หลวงปู่ : เหลือตัวว่าง ลูกศิษย์ : ตัวว่างนี้เขาเรียกว่าอะไรครับ เขาเรียกว่าเป็นอะไร ครับผม เป็นธรรมะหรือเปล่า หรือเป็นเรียกว่า ตัวเป็น หลวงปู่ : นั้นล่ะ ธรรมะที่สูงที่สุดอยู่ตรงนั้น ลูกศิษย์ : ตัวธรรมะที่สูงที่สุดอยู่ตรงนั้น ตัวธรรมะที่แท้จริงอยู่ตรงนั้นใช่มั้ย หลวงปู่ : ตัวนั้น ธรรมะที่แท้จริง อยู่ตรงนั้น คือเรียกว่า จะให้ชื่อก็ได้ ไม่มีชื่อหรอก แต่ว่าจะให้ชื่อสมมุติขึ้นมาชื่อหนึ่ง สมมุติชื่อว่า นามกาย ลูกศิษย์ : นามกาย หลวงปู่ : ชื่อว่า นามกาย นามกายคือที่ว่างนั่นเอง ว่าง ว่าง คือ มันว่างเปล่าไม่มีอะไรบรรจุอยู่ในความว่าง แม้แต่นิดเดียว ลูกศิษย์ : ถึงแม้ว่าเราจะคุย เราจะคิด เราจะ เอ่อ เราคิดจะสร้างโบสถ์สร้างศาลา สร้างวิหาร เราก็ทำไปตามธรรมชาติของมัน ตามหน้าที่ หลวงปู่ : ทำตามหน้าที่ ลูกศิษย์ : แต่จิต ไม่มีความเร่าร้อน ไม่มียึดถือ อะไร หลวงปู่ : ไม่ยึดถือ ทำแล้วก็แล้วไป อยู่ในนั้น ตัวสังขาร ตัวปรุงตัวแต่ง หากปัญญา ปัญญาของเรามันถึงแล้ว ทำสักแต่ทำ ลูกศิษย์ : ครับผม ไอ้ตรงนี้จะเกิดความคล่องตัว ใช่มั้ยครับผม หลวงปู่ : คล่อง ลูกศิษย์ : ไม่มีการอึดอัด ไม่มีอะไรแล้ว หลวงปู่ : ไม่มีแล้ว ลูกศิษย์ : แต่ว่า บางทีนี่ คนปฏิบัติก็มักจะปล่อยนิ่งกันเฉยๆ แล้วก็คล้ายๆว่า หลวงปู่ : อ้อ อันนั้น ไม่เอา ลูกศิษย์ : เป็นขั้นอะไร หลวงปู่ : ไม่เอา นิ่งเฉยๆ ลูกศิษย์ : ไม่เป็นธรรมชาติ เพราะกดเอาไว้ หลวงปู่ : ไม่เป็น มันไม่รู้ถึง อันนี้ ไม่ใช่เฉย เฉยก็ไม่ได้ ไม่เฉยก็ไม่ได้ (หลวงปู่หัวเราะ) มัน ไม่รู้น่ะ หมายความว่า มันเท่าไปหมดแล้ว ลูกศิษย์ : รู้สักแต่ว่ารู้ หลวงปู่ : รู้สักแต่ว่ารู้ ไม่ยึดอะไรซักอย่าง ลูกศิษย์ : ไอ้คนที่ยังปฏิบัติไม่ถึง ไม่เข้า ไม่รู้สภาวะตรงนี้ หลวงปู่ : ไม่รู้สภาวะไ ปเดาเอา ไปคิดเอา ไปให้ชื่อเอาเอง มันไม่ได้หรอก นอกจากสมาธิ นอกจากปัญญา ลูกศิษย์ : ครับผม หลวงปู่ : ปัญญา ปัญญา ให้มันเป็น สมาธิ มันรู้ถึงความเป็นจริง ถ้ารู้แล้ว มันหมดความสงสัย ไม่ต้องไปถามใครก็ได้ มันรู้เอาเอง เหมือนกับว่า อวิชชายังไม่รู้ พูดให้รู้ก็รู้ไม่ได้หรอก เพราะว่าจิตมันไม่ถึง ลูกศิษย์ : ครับผม ลูกศิษย์ : ที่นี้ คนมาติดตรงนี้ครับผม พอปฏิบัติไปแล้ว มันเกิดความสว่างขึ้นเฉยๆ ติดอยู่ตรงนี้ไม่รู้จะไปตรงไหน ทำยังไง หลวงปู่ : อ๋อ ไอ้สว่างตัวนี้ ลูกศิษย์ : ดับยังไง หลวงปู่ : อ้อ สว่างตัวนี้ คือ มันเรียก โอภาส โอภาส แสงสว่างภายนอก ใช้ไม่ได้เลย ลูกศิษย์ : ครับ หลวงปู่ : ใช้ไม่ได้ ลูกศิษย์ : แล้วจะแก้ยังไงครับผม หลวงปู่ : ดูจิต ดูจิตให้มันดับไปเอง จิตมันไปแสวง ลูกศิษย์ : อ๋อ หลวงปู่ : มันออกไปแสวง ทุกสิ่งทุกอย่าง จิตออกไปแสวงทั้งนั้น เพราะว่าไม่รู้ถึงจิตแท้ ถ้ารู้ไม่ถึง ไปหลงกับไอ้สิ่งเหล่านั้น ไปหลงกับรูป เสียง กลิ่น รส โผฐถัพพะ ไปหลงจิตมันออกไปแสวง เห็นเป็นรูปเทวบุตร เทวดา นรก เปรต มันเห็น ไอ้ตัวโอภาสตัวนี้ มันเห็น แม้แต่ เราไม่เคยรู้ มันรู้ เราไม่เคยเห็น มันเห็น แหม ไปหลงอะไร หลงกับรูปตัวนั้นน่ะ ผิดทางแล้ว ลูกศิษย์ : ทีนี้ที่เห็นแสง เห็นอะไรต่างๆ เราจะไม่เห็นแล้วกลับมาดูจิต ดูยังไงครับ หลวงปู่ : มาดูจิต ดูจิต ไอ้สิ่งเหล่านั้นมันขาดไปเอง ลูกศิษย์ : อ๋อ หลวงปู่ : ไม่ต้องลำบากไปตัด ลูกศิษย์ : มาเพ่งดูจิตหรือครับ หลวงปู่ : ต้นตอมันอยู่ทีนี้ ต้นตอมันอยู่ที่จิตทั้งหมด จิตมันออกไปปรุงแต่ง มันเป็นนิมิต มันออกไป ไปปรุงไปแต่ง ลูกศิษย์ : หลบเข้ามา เอา เขาเรียกว่า อะไร เอาจิตมากำหนดดูจิตหรือครับผม หลวงปู่ : จิตดูจิตแหละ เอาจิตดูจิต ไม่ต้องไปลำบากไปตัดอะไร รู้ถึงความเป็นจริงแล้ว อะไรมันขาดไปเอง อะไรทุกสิ่งทุกอย่างมันขาดไปเอง มันรู้ถึงความเป็นจริง แล้วก็ มันหมดความสงสัย แต่ว่า ต้องรู้ถึงความเป็นจริง รู้โดยปัญญา อริยมรรค หลวงปู่ : ก็ไม่มีอะไรมากมาย ลูกศิษย์ : พูดถึงตอนปฏิบัตินะครับผม เราต้องปล่อยจิตสบายๆ ใช่ไหมครับ ไม่ไปบังคับ ไม่ไปอะไรมัน หลวงปู่ : ไม่ บังคับหรอก แต่ว่าเบื้องต้น ก็ต้องบริกรรม จิตของเราให้เป็นสมาธิ แล้วบริกรรม บริกรรมไม่เอาอะไรมากมาย พุทโธเท่านั้นเอง ให้พุทโธน่ะฝังอยู่ในจิตในหัวใจ เราไปเขียนเล่นในนั้นก็ได้ ว่า พุทโธ พุทโธ พุทโธ เพื่อ ให้จิตเป็นผู้บริกรรม ให้จิตเป็นผู้ว่า ไม่ต้องว่าปากเปล่า สติของเราเป็นผู้ว่า ผู้ว่าพุทโธอยู่ตรงไหน ตั้งสติอยู่ตรงนั้น แล้วก็ผู้บริกรรม บริกรรมเรื่อยไป ลูกศิษย์ : ครับ ตอนนี้ ไปเข้ากับเรื่องที่หลวงปู่ อธิบายไว้รึเปล่า การที่เห็นแสง เห็นโอภาสเนี่ยก็ หลวงปู่ : อันนี้มันเป็น อยู่ในหลักสมาธิเนี่ยล่ะ) ลูกศิษย์ : อยู่ในหลักที่ว่าจิตส่งออกนอกเป็นสมุทัยใช่มั้ยครับ หลวงปู่ : มันจะเป็น จิตไปยึด ไปเที่ยว อยู่นั่นแหละ แล้วพาไปเห็น ไม่ว่าอะไรไม่มีที่สิ้นสุด ลูกศิษย์ : ครับ หลวงปู่ : โอภาส อยากเห็นอะไรมันเห็น อยากรู้อะไรมันรู้ มันรู้เอง ไอ้สิ่งที่แปลกๆเหมือนกัน ที่เราไม่เคยรู้ อยากเห็นอะไร มันเห็น อันนั้น อยากรู้อะไร มันรู้อันนั้น มันผุดขึ้นมาให้รู้ น่ะ แต่ไอ้สิ่งผุดขึ้นนั้น ตัวกิเลสทั้งหมดเลย ไม่ใช่ตัวจริง แล้วเราจะไปเห็นเป็นเงา แล้วจิตของเราเข้าไปยึดเอาสิ่งภายนอก ที่ ไปเห็น เข้าใจว่าเป็นตัวจริง เข้าใจว่าอย่างนั้นเอง เข้าใจว่าเป็นตัวจริง แท้ที่จริงไม่ใช่ตัวจริง คือตัวกิเลส ถ้าไปหลงอะไรนั่น เป็นวิปัสนู วิปัสสนูปกิเลส วิปัสนูคือไม่ใช่วิปัสสนา คือ วิปัสนู อุปกิเลส คือตัวกิเลสตั้งหาก ไม่ใช่ของจริงทั้งหมดเลย ของภายนอก แล้วถ้าเราจะตัดมัน ตัดมันไม่ยาก ก็ต้นตอ มันอยู่ในนี้ มาดูจิต ตั้งจิตให้เห็นจิต แล้วอะไรๆมันขาดไปเอง ไม่ต้องไปตัดที่อื่น ตัดที่จิต ให้ตั้งจิตอยู่ในจิต เพ่งจิตเห็นจิต แล้วก็ตั้งสติให้มันเห็นจิต อะไรๆมันก็ขาดไปเอง ก็หมดเรื่องกันไป โอภาสนั้นก็หมด หมายความว่า ที่เราดู ไปเห็นตามมันน่ะ หมายความว่า เราไม่รู้เท่ามัน หมายความว่า เราหลงไป เราหลงไป เราไม่เข้าใจความเป็นจริง หลงไปตามมัน แล้วแต่มันจะสอน แล้วก็ ไปถือตามมันทั้งหมด สุดท้ายมันจะเป็นบ้า ลูกศิษย์ : ครับ ถ้าวางไม่ได้เป็นบ้า หลวงปู่ : จะเป็นบ้า (หลวงปู่หัวเราะ) ลูกศิษย์ : ครับผม ลูกศิษย์ : เอ่อตอนนี้ มีปัญหา บางคนที่นั่ง แล้วมีตัวหมุนบ้าง มีตัวโคลงบ้าง มีตัวลอยบ้าง อันนี้จะแก้ยังไงครับ หลวงปู่ :อยู่ในปิติทั้งหมดเลย อยู่ในปิติทั้งหมด ลูกศิษย์ :ปิติทั้งหมด หลวงปู่ :อืม ขุททกาปิติ ,ขณิกาปิติ,โอกกันติกาปิต,อุพเพงคาปิติ,ผรณาปิติ ปิติมีหลายอย่าง ลูกศิษย์ : ครับ หลวงปู่ : ขุททกาปิติ ,ขณิกาปิติ,โอกกันติกาปิต,อุพเพงคาปิติ,ผรณาปิติ อะไรน่ะ จิตมันลอยไป อันนั้น อันนี้ก็ยังเอาไม่ได้ ลูกศิษย์ : ทีนี้จะแก้ ครับผม ไม่ให้เกิดปิติ หลวงปู่ : ก็ดูในจิต ลูกศิษย์ : ก็กลับมาดูจิต หลวงปู่ : ดูในจิต เห็นจิต อะไรมันก็ดับไป หมายความว่า จิตของเราอยู่เหนือปิติเหล่านั้นอีก ให้มันอยู่เหนือปิติเหล่านั้นอีก สิ่งเหล่านี้ ให้มันอยู่เหนือทั้งหมดเลย แล้วมันขาดไปเอง ไม่มีอะไร แต่ก็ไอ้สิ่งเหล่านี้ มัน มันยากมาก เพราะว่า ไอ้จิตมันไม่มีตัวมีตนอะไร แล้วก็ จะให้รู้จิตจริงๆ มันก็ต้อง นั่นแหละ ลูกศิษย์ : เมื่อวานซืน ครับผม เรียนถามท่านอาจารย์เทสก์ อาจารย์เทสก์บอกว่า ให้นั่งให้จิตเป็นสมาธิ แล้วปัญญามันจะเกิดขึ้นมาเอง หลวงปู่ : ปัญญามันก็เกิดจากสมาธินั่นแหละ ลูกศิษย์ :ครับผม ไม่ต้องเอาอะไรมาพิจารณา ว่างั้น ถ้าพิจารณามันยังเป็นการเอาสัญญามาใช้อยู่ หลวงปู่ : ก็พิจาณาจิตนั่นแหละ พิจารณาจิตอยู่ในจิต ให้รู้ถึงจิต ปัญญาสูงสุดคือจิตดูจิต ถ้าหากเรารู้จิตชัดเจนแล้ว หมดปัญญา ไม่ต้องดูอะไรอีก อะไรอยู่ในจิต. มันก็หมด ให้รู้จิตเห็นจิต มันไม่ใช่ของต่ำๆ น่ะมันเป็นอริยมรรค ลูกศิษย์ :ครับผม หลวงปู่ :สำหรับตัด ตัดสมุทัยได้ทั้งหมด อริยสัจ พูดไปแล้วอยู่ในหนังสือเล่มนี้ ว่าจิตส่งออกนอกเป็นตัวสมุทัย ลูกศิษย์ :ครับผม หลวงปู่ :เป็นตัวสมุทัย แล้วผลของสมุทัยเป็นตัวทุกข์ ลูกศิษย์ :ผลของจิตส่งออกนอกเป็นทุกข์ ผลเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้งเป็นนิโรธ หลวงปู่ :จิตเห็นจิตเป็นตัวมรรค ลูกศิษย์ :จิตเห็นจิตเป็นตัวมรรค หลวงปู่ :ผลของมรรคเป็นตัวนิโรธ ลูกศิษย์ :ผลของมรรคเป็นตัวนิโรธ ผลเห็นจิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้ง ตัวนั้นเป็นตัวนิโรธ ผลของจิตที่เห็นจิต หลวงปู่ :เห็นอย่างนั้นเป็นตัวมรรค ลูกศิษย์ :การเห็นเป็นตัวมรรค หลวงปู่ :อือเป็นตัวมรรค แล้วก็ดับ มรรคอันนี้ แหละเป็นผลนะ ลูกศิษย์ :ครับ เป็นนิโรธ หลวงปู่ :เป็นตัวนิโรธ คือ ดับทุกข์ ไม่มีทุกข์ …มันมีเหตุผลนี่แหละ เหตุของนิโรธก็คือ เหตุของนิโรธก็คือตัวอริยมรรค เหตุของทุกข์ ก็คือสมุทัย นิโรธเป็นผล ผลของสมุทัยเป็น ตัวทุกข์ และผลของมรรคคือตัวนิโรธ ลูกศิษย์ :ครับ ลูกศิษย์ : ไอ้คำว่าจิตดูจิต หมายความว่า เอาสติดูจิต หรือเปล่า หลวงปู่ : จิตก็คือผู้รู้ แล้วก็ตั้งสติให้อยู่ในนั้น ให้อยู่กับผู้รู้ สติระลึกอยู่ในนั้น คือจิตกับสตินั่นเอง ตั้งจิตในจิต คือให้เป็นอันเดียว ตั้งจิตอยู่ในจิต จิตกับผู้รู้เป็นของสิ่งเดียวกัน ไม่ได้แตกต่างกันเลย การแตกต่างทั้งหลาย เกิดขึ้นจากเราคิดผิดทั้งนั้น และนำเราไปสู่การก่อสร้างกรรมทั้งหลายทั้งปวงทุกชนิดไม่มีหยุด เนื่องจากเราเข้าใจผิด แล้วก็ไปสร้างกรรมไม่มีที่สิ้นสุด ถ้าจิตเห็นจิต แล้ว อะไรอะไร มันขาดหมด มันตัดขาดไปหมดแล้ว กิเลสตัณหาอะไรมันหมดแล้ว เวลานั้นมันหมด ลูกศิษย์ : ผู้ที่จะตัดกิเลสตัณหาอุปทาน หมดคือพระอรหันต์นี่นะครับผม ดวงจิตดวงนั้นยังอยู่ใช่มั้ยครับผม หลวงปู่ : ก็อยู่สิ ลูกศิษย์ : แต่ไม่มีปรุงแต่งอะไรทั้งนั้น หลวงปู่ : ไม่มีปรุงแต่ง ลูกศิษย์ : แม้แต่ละสังขารไปแล้วจิตของเรา หลวงปู่ : นั่นเลย นั่นเลย สัจธรรม สัจธรรม ก็คือจิตของเรา สัจธรรม สัจธรรมของเรานั้นไม่ได้หายไปจากเรา แม้ในขณะที่เรากำลังหลงผิดอยู่ในอวิชชา และไม่ได้รับกลับมาในขณะที่เรามีการตรัสรู้ อันเดียวนี่แหละ อวิชชาคือตัวนี้ รู้ขึ้นในตัวนี้ รู้ อันเดียว หลวงปู่ : จิตมันเป็นธรรมธาตุ ภูตตถตา ลูกศิษย์ : จิตเป็นธรรมธาตุอย่างหนึ่งหรือครับ หลวงปู่ : เป็นธรรมธาตุ ภูตตถตา คือมันมีอยู่อย่างนั้น เป็นอยู่อย่างนั้น ไอ้สัจจะของเรา ไม่มีการเปลี่ยนแปลง ไม่มีการเปลี่ยนแปลง ภูตตถตา ลูกศิษย์ : ขออภัยครับ ไม่มีทั้งจิต ไม่มีทั้งอวิชชา หลวงปู่ : มีจิต ไม่ได้คิด…หยุดตัวคิดเท่านั้นเอง หมดก็หมดคิดใช่ไหม แต่จิตมันยังอยู่ มันไม่เปลี่ยนแปลงไปไหน ลูกศิษย์ : ครับผม หลวงปู่ : อวิชชามันก็อยู่ในนั้น แต่จิตมันหลงผิดไปตามอวิชชา มันก็อยู่ในนั้น อยู่ในตัวนั้น ลูกศิษย์ : ครับผม มันยังอยู่อย่างนั้นเอง หลวงปู่ : มันอยู่อย่างนั้นเอง มันไม่เปลี่ยนแปลง ลูกศิษย์ : ถูกอวิชชาครอบงำ หลวงปู่ : ไปยึดเงา ไอ้สัจจะ ก็อยู่ในนั้น แต่ว่ามีปัญญาเกิดขึ้น ปัญญาเกิดขึ้น จึงได้มีความตรัสรู้ ตัวนี้ ตัวรู้ ตรัสรู้ ตัวนี้เป็นผู้ตรัสรู้ อวิชชามันก็หมดไป ลูกศิษย์ : กระผมเคยเขียนเรื่องหนึ่ง เรียกว่าจิตครับผม เรียกว่าจิตแท้ และก็จิตรับคือรับอารมณ์ต่างๆเข้ามา ทีนี้คือจิตรู้ จิตรู้พอรู้มากๆ ก็กลายเป็นจิตละ ครับผม เริ่มละไอ้กิเลสตัณหาออก ตอนนี้ก็เป็นจิตหลุดครับ หลวงปู่ :คือละ เราละยังไง อันนี้ตัวเปรียบสำคัญที่สุดเลย ละไม่ต้นทาง มันก็ไม่ดับ ลูกศิษย์ : ต้องละจนกว่าจะดับ หลวงปู่ : ต้องละต้นทางมันถึงจะดับ ต้องละต้นทางถึงจะดับ ตามสติปัญญาให้ ได้รู้ได้เห็น เอานั้นมาแก้ เอานั้นมาแก้ ไม่ได้ความ ลูกศิษย์ : ครับผม หลวงปู่ : ไม่ดับ ลูกศิษย์ : ครับผม จิตยังส่งออกนอกอยู่ หลวงปู่ : จิตยังส่งออกนอก ลูกศิษย์ : ที่เรียกว่า ต้องดูจิตข้างในเท่านั้นเอง หลวงปู่ : นั่นล่ะ เห็นจิต ดับหมดแล้ว ให้ตั้งจิตอยู่ในจิต อะไรๆมันขาดหมดแล้ว ดับด้วยปัญญาข้างนอก มันดับไม่สนิท หลวงปู่ : ภาวะที่แท้ของจิต เป็นสิ่งก่อกำเนิดกรรมทั้งหลายเรียกว่าวิญญาณ เมื่อมีวิญญาณแล้ว ก็เริ่มมีที่แห่งความคิดนึก มีที่แห่งตัณหาเหตุผล ภาวะที่แท้ของจิต ก็คือ อรูปเป็นวิญญาณประเภทต่างๆ เมื่อวิญญาณรับรู้ อารมณ์ทั้งหกเกิดขึ้น ก็จะสำเหนียกรู้ในวัตถุทางอารมณ์ทั้งหกนั้นจากทวารทั้งหก ดังนั้น จิตของธาตุสิบแปดจึงเนื่องมาจากแรงกระตุ้นของภาวะที่แท้ของจิต ไม่ว่าบุคคลนั้นจะปฏิบัติผิดในทางชั่ว หรือปฏิบัติผิดในทางดี แล้วแต่ว่า ภาวะที่แท้ของจิตจะอยู่ในอารมณ์เช่นใด อยู่ในอารมณ์ดี หรืออยู่ในอารมณ์ชั่ว อารมณ์ชั่วก็เป็นลักษณะของสามัญชน อารมณ์ดีก็เป็นลักษณะของพุทธะ เพราะว่า ความรู้สึกที่เป็นของคู่ ประเภทตรงกันข้าม ฝังจิต อยู่ ในนิสัย แห่งภาวะที่แท้ของจิต นั่นเอง ของคู่คืออะไร ดีชั่วสูงต่ำ อะไรบาป ดำขาวอะไร มีเป็นคู่ๆเท่านั้น เป็นคู่ๆกัน เ ป็นเนื้อเดียวกันทั้งหมด ถ้าแยกคู่นี้ได้แล้วเท่านั้น ตัวนั้นเป็นตัวว่าง ลูกศิษย์ : ครับ ไม่ซ้ายไม่ขวา หลวงปู่ :ไม่ซ้ายไม่ขวา ลูกศิษย์ : อยู่ตรงกลาง ไม่มีทั้งบุญทั้งบาป หลวงปู่ : อยู่เหนือบุญเหนือบาป ลูกศิษย์ : เหนือบุญเหนือบาป หลวงปู่ : เหนือสมมุติเหนือบัญญัติ เหนือ อนิจจัง ทุกขังอนัตตาอีก เหนือเหตุเหนือผล สมมุติบัญญัติ ทุกขังอนิจจังอนัตตา เหตุผล อะไรไม่มี.อยู่ในนี้หรอก ไอ้สิ่งเหล่านี้ มันอยู่เหนือเหตุเหนือผล ทั้งหมด เรียกว่าโลกุตระ อยู่เหนือโลก อยู่เหนือโลกทั้งสาม กามภพ รูปภพ อรูปภพ มันอยู่เหนือหมด ไอ้ที่ว่างนะ ลูกศิษย์ : เหนือเหตุเหนือผลทั้งหมด หลวงปู่ : เหนือเหตุเหนือผลทั้งหมด ถ้ามันมีเหตุผล มันยังเป็นโลก ทั้งหมด ลูกศิษย์ : ครับ ธรรมะแค่นี้ ก็จะปฏิบัติกันเป็นสิบๆปีก็ยังไม่ค่อยจะได้ผล หลวงปู่ : แล้วแต่วิสัย ลูกศิษย์ : ครับผม หลวงปู่ : บางทีก็ช้า บางทีก็เร็ว ลูกศิษย์ : ครับ หลวงปู่ : ถ้าผู้ที่อบรมมาแล้ว ก็ พูดอย่างนี้ก็ได้ความ ถ้าผู้ที่ไม่เคยอบรม พูดอย่างนี้ เหมือนกันกับเป่าหูซ้ายหูขวา ลูกศิษย์ : ครับผม หลวงปู่ : อะไรไม่ซึมซาบไป ถึงจิตถึงใจ ลูกศิษย์ : ตอนที่หลวงปู่เลิกเดินธุดงค์นั่น หลวงปู่คงพบทางแล้วครับ ถึงกลับเข้ามาในเมือง หลวงปู่ : ก็พบแล้วก็ไม่ใช่ ไม่พบแล้วก็ไม่ใช่ (หลวงปู่หัวเราะ) แต่ว่า ถ้ามาพูดตรงนี้ก็เนื่องจาก มาปฏิบัติ จากเรามา ปฏิบัติให้ถึง เอาอะไรมาพูดอย่างนี้ ลูกศิษย์ :ก็คือ ที่เขาว่า ถ้าผู้ปฏิบัตินี่ยังไม่เห็นทางอะไรนี่ครับ พอเข้าเมืองมักจะหลุดเก่ง หลวงปู่ : มีอยู่สองอย่าง ให้แยกรูปถอดด้วยวิชชามรรคจิต เหตุก็ต้องละ ผลต้องละใช้ หนี้ก็หมด พ้นเหตุเกิด ลูกศิษย์ :ครับ หลวงปู่ : เหตุต้องละ ผลต้องละใช้ หมายความว่าอยู่เหนือเหตุเหนือผลแล้ว อยู่เหนือเหตุเหนือผล ผู้ที่ไปเกิดไม่มี มันหมดเกิด หมดแก่ หมดเจ็บหมดตาย แท้จริงสิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิตในจักรวาลมีนับไม่ถ้วน รวมแล้ว มีรูปกับนาม สองอย่างเท่านั้น นามเดิมคือความว่างของจักรวาล เข้าคู่กัน เป็นเหตุเกิดตัวอวิชชา เกิดตัวก่อ ที่ใดมีรุปที่นั่นต้องมีนาม ที่ใดมีนามที่นั่นต้องมีรูป รูปนามรวมกัน เป็นเหตุเกิดตัวอวิชชา ตัวเหตุเกิดให้ก่อ ตัวอวิชชาเป็นผู้ก่อ ถ้ามีรูปกับนามรวมกัน มันแยกออกจากกันไม่ได้ ลูกศิษย์ :คือ วันนั้น นั่งอยู่จิตก็บอกขึ้นมาเองว่า มีรูปรูปก็ดับ นามนามก็ดับ ดับทั้งรูปทั้งนาม หลวงปู่ : ดับทั้งรูปทั้งนาม แต่สัจจะมันยังมีอยู่ ลูกศิษย์ :ครับ หลวงปู่ : คือไม่มีอะไร ลูกศิษย์ :ครับ แล้ว จึงบอกว่า เมื่อรูปดับนามก็ดับ แต่ตัวเหลืออยู่นั่นเป็นอะไรล่ะ หลวงปู่ : นั่นแหละสัจจะ สัจจะตัวจริงมันอยู่ลึกกว่านั้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น