วันพฤหัสบดีที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2560

การเข้าถึงธรรมที่พระพุุทธเจ้าทรงสอน ภิกษุ ท ! เรากล่าวความสิ้นอาสวะ เพราะอาศัยปฐมฌาณบ้าง ; เพราะอาศัย ทุติยฌาณบ้าง ; เพราะอาศัยตติฌาณบ้าง ; เพราะอาศัยจตุตถฌาณบ้าง ; เพราะอาศัย อากาสานัญจายตนะบ้าง ; เพราะอาศัยวิญญาณณัญจายตนะบ้าง ; เพราะอาศัยอา กิญจัญญายตนะบ้าง ; เพราะอาศัยสัญญานาสัญญายตนะบ้าง๑ ภิกษุ ท ! คำที่เรากล่าวแล้วว่า "ภิกษุ ท ! เรากล่าวความสิ้น อาสวะ เพราะอาศัย ปฐมฌาณบ้าง" ดังนี้นั้น เราอาศัยอะไรกล่าวเล่า? ภิกษุ ท ! ในกรณีนี้ ภิกษุสงัดจาก กามสงัดจากอกุศลธรรม เข้าถึง ปฐมฌาน อันมีวิตกวิจาร มีปิติและสุขอันเกิดจาก วิเวก แล้วแลอยู่. ในปฐมฌานนั้นมีธรรมคือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ (ที่ กำลังทำหน้าที่อยู่); เธอนั้นตามเห็นซึ่งธรรมเหล่านั้น โดยความเป็นของไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ เป็นโรค เป็นหัวฝี เป็นลูกศร เป็นความยากลำบาก เป็นอาพาธ เป็นดังผู้อื่น (ให้ยืมมา) เป็นของแตกสลาย เป็นของว่าง เป็นของไม่ใช่ตน. เธอดำรง จิตด้วยธรรม(คือขันธ์ทั้งห้า) เหล่านั้น (อันประกอบด้วยลักษณะ ๑๑ ประการ มี อนิจจลักษณะเป็นต้น) แล้วจึงน้อมจิตไปสู่อมตธาตุ (คือนิพพาน) ด้วยการกำหนดว่า "นั่นสงบระงับนั่นประณีต : นั่นคือธรรมชาติเป็นที่สงบระงับแห่งสังขารทั้งปวง เป็น ที่สลัดคืนซึ่งอุปธิทั้งปวง เป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา เป็นความจางคลาย เป็นความดับ เป็นนิพพาน" ดังนี้. เธอดำรงอยู่ในวิปัสสนาญาณมีปฐมฌาณเป็นบาทนั้น ย่อมถึง ความสิ้นไปแห่งอาสวะ ; ถ้าไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะ ก็เป็นโอปปาติกะ อนาคามีผู้ปรินิพพานในภพนั้น มีการไม่เวียนกลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดาเพราะ ความสิ้นไปแห่งสังโยชน์มีในเบื้องต่ำห้าประการ และเพราะอำนาจแห่ง ธัมมราคะ ธัมมนันทิ (อันเกิดจากการกำหนดจิตในอมตธาตุ) นั้นๆ นั่นเอง. ภิกษุ ท ! เปรียบเหมือนนายขมังธนูหรือลูกมือของเขา ประกอบ การฝึกอยู่กะ รูปหุ่นคนที่ทำด้วยหญ้าบ้าง กะรูปหุ่นดินบ้าง ; สมัยต่อมา เขาก็เป็นนายขมังธนูผู้ยิง ไกล ยิงเร็ว ทำลายหมู่พลอันใหญ่ได้. ภิกษุ ท ! ฉันใดก็ฉันนั้น ที่ภิกษุสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม เข้าถึงปฐมฌาณอันมีวิตกวิจาร มีปิติ และสุขอันเกิดจากวิเวก แล้วแลอยู่ (เธอนั้นกำหนดเบญจขันธ์โดยลักษณะ ๑๑ ประการ มีอนิจจลักษณะเป็น ต้น แล้วน้อมจิตไปสู่อมตธาตุคือนิพพาน ถึงความสิ้นอาสวะเมื่อดำรวอยู่ใน วิปัสสนาญาณมีปฐมฌาณเป็นบาทนั้น หรือมิฉนั้นก็เป็นอนาคามี เพราะมีธัมมราคะ ธัมมนันทิในนิพพานนั้น) ดังนี้. ภิกษุ ท ! ข้อที่เรากล่าวแล้วว่า "ภิกษุ ท ! เรากล่าว ความสิ้นอาสวะ เพราะอาศัยปฐมฌานบ้าง" ดังนี้นั้น เราอาศัยขอนี้กล่าวแล้ว. (ในกรณีแห่งการสิ้นอาสวะ เพราะอาศัย ทุติยฌาน บ้าง เพราะอาศัย ตติ ฌาน บ้าง เพราะอาศัย จตุตถฌานบ้าง ก็มีคำอธิบายที่ตรัสไว้โดยทำนองเดียวกันกับใน กรณีแห่งปฐมณานข้างบนนี้ ทุกตัวอักษรทั้งในส่วนอุปไมยและส่วนอุปมา ผิดกันแต่ ชื่อแห่งฌานเท่านั้น ผู้ศึกษาอาจกำหนดรู้ได้เอง โดยอาศัยข้อความที่กล่าวข้างบนนี้ จะนำมาใส่ไว้เต็มข้อความนั้นก็ยืดยาวเกินไป จึงเว้นเสียสำหรับทุติยฌาน ตติยฌาน และจตุตฌาน ; จะกล่าวถึงอรูปฌานในลำดับต่อไป :- ภิกษุ ท ! คำที่เรากล่าวแล้วว่า "ภิกษุ ท ! เรากล่าวความสิ้น อาสวะ เพราะอาศัย อากาสานัญจายตนะ บ้าง" ดังนี้นั้น เราอาศัยอะไรเล่า? ภิกษุ ท ! ในกรณีนี้ ภิกษุ เพราะก้าวล่วงรูปสัญญาเสียได้โดยประการทั้งปวงเพราะความดับไปแห่งปฏิฆ สัญญา เพราะการไม่ใส่ใจซึ่งนานัตตสัญญา จึงเข้าถึง อากาสานัญจายตนะ อันมีการ ทำในใจว่า "อากาศไม่มีที่สิ้นสุด" ดังนี้ แล้วแลอยู่.ในอากาสานัญจายตนะนั้น มี ธรรมคือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ (ที่กำลังทำหน้าที่อยู่)๒ เธอนั้น ตามเห็นซึ่ง ธรรมเหล่านั้น โดยความเป็นของไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ เป็นโรค เป็นหัวฝี เป็น ลูกศร เป็นความยากลำบาก เป็นอาพาธ เป็นดังผู้อื่น(ให้ยืมมา) เป็นของแตกสลาย เป็นของว่าง เป็นของไม่ใช่ตน. เธอดำรงจิตด้วยธรรม (คือขันธ์เพียงสี่) เหล่านั้น (อันประกอบด้วยลักษณะ ๑๑ ประการ มีอนิจจลักษณะเป็นต้น)แล้วจึงน้อมจิตไปสู่ อมตธาตุ (คือนิพพาน) ด้วยการกำหนดว่า "นั่นสงบระงับนั่นประณีต : นั่นคือ ธรรมชาติเป็นที่สงบระงับแห่งสังขารทั้งปวง เป็นที่สลัดคืนซึ่งอุปธิทั้งปวง เป็นที่สิ้น ไปแห่งตัณหา เป็นความจางคลาย เป็นความดับ เป็นนิพพาน" ดังนี้. เธอดำรงอยู่ใน วิปัสสนาญาณมีอากาสานัญจายตนะเป็นบาทนั้น ย่อมถึง ความสิ้นไปแห่งอาสวะ ; ถ้าไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะ ก็เป็นโอปปาติกะ อนาคามีผู้ปรินิพพานในภพนั้น มี การไม่เวียนกลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดาเพราะความสิ้นไปแห่งสังโยชน์มีในเบื้อง ต่ำห้าประการ และเพราะอำนาจแห่ง ธัมมราคะ ธัมมนันทิ (อันเกิดจากการกำหนด จิตในอมตธาตุ) นั้นๆ นั่นเอง. ภิกษุ ท ! เปรียบเหมือนนายขมังธนูหรือลูกมือของเขา ประกอบ การฝึกอยู่กะ รูปหุ่นคนที่ทำด้วยหญ้าบ้าง กะรูปหุ่นดินบ้าง ; สมัยต่อมา เขาก็เป็นนายขมังธนูผู้ยิง ไกล ยิงเร็ว ทำลายหมู่พลอันใหญ่ได้. ภิกษุ ท ! ฉันใดก็ฉันนั้น ที่ภิกษุเพราะก้าวล่วง ซึ่งรูปสัญญาเสียได้โดยประการทั้งปวง เพราะความดับไปแห่งปฏิฆสัญญา เพราะ การไม่ทำไว้ในใจซึ่งนานัตตสัญญา จึงเข้าถึง อากาสานัญจายตนะ อันมีการไม่ทำใน ใจว่า "อากาศไม่มีที่สุด" ดังนี้ แล้วแลอยู่(เธอนั้นกำหนดขันธ์เพียงสี่๓ เธอนั้นกำหนด เบญจขันธ์โดยลักษณะ ๑๑ ประการ มีอนิจจลักษณะเป็นต้น แล้วน้อมจิตไปสู่อมต ธาตุคือนิพพาน ถึงความสิ้นอาสวะเมื่อดำรงอยู่ในวิปัสสนาญาณมีปฐมฌาณเป็นบาท นั้น หรือมิฉนั้นก็เป็นอนาคามี เพราะมีธัมมราคะ ธัมมนันทิในนิพพานนั้น) ดังนี้. ภิกษุ ท ! ข้อที่เรากล่าวแล้วว่า "ภิกษุ ท ! เรากล่าวความสิ้นอาสวะ เพราะอาศัย ปฐมฌานบ้าง" ดังนี้นั้น เราอาศัยขอนี้กล่าวแล้ว. (ในกรณีแห่งการสิ้นอาสวะ เพราะอาศัย วิญญาณัญจายตะ บ้าง เพราะ อาศัย อากิญจัญญายตนะ บ้าง ก็มีคำอธิบายที่ตรัสไว้โดยทำนองเดียวกันกับในกรณีแห่งอา กาสานัญจายตนะข้างบนนี้ ทุกตัวอักษรทั้งในส่วนอุปไมยและส่วนอุปมา ผิดกันแต่ ชื่อแห่งฌานเท่านั้น ผู้ศึกษาอาจกำหนดรู้ได้เอง โดยอาศัยข้อความที่กล่าวข้างบนนี้ จะนำมาใส่ไว้เต็มข้อความนั้นก็ยืดยาวเกินไป จึงเว้นเสียสำหรับวิญญาณัญจายตนะ และอากิญจัญญายตนะ จนกระทั่งถึงคำว่า......เราอาศัยข้อความนี้กล่าวแล้ว อันเป็น คำสุดท้ายของข้อความในกรณีแห่งอากิญจัญญายตนะ. ครั้นตรัสข้อความในกรณี แห่ง อากิญจัญญายตนะ.ได้ตรัสข้อความนี้ ต่อไปว่า : - ภิกษุ ท ! ด้วยเหตุดังกล่าวมานี้ เป็นอันกล่าวได้ว่า สัญญา สมาบัติ มีประมาณ เท่าใด อัญญาปฏิเวธ (การแทงตลอดอรหัตตผล)๔ ก็มีประมาณเท่านั้น. ภิกษุ ท ! ส่วนว่า อายตนะอีก ๒ ประการ กล่าวคือ เนวสัญญา นาสัญญายตน สมาบัติ และสัญญาเวทยิตนิโรธ ซึ่งอาศัยสัญญาสมาบัติ (๗ ประการ)เหล่านั้น๕ นั้น เรากล่าวว่า เป็นสิ่งที่ฌายีภิกษุผู้ฉลาดในการเข้าสมาบัติ ฉลาดในการออกจากสมาบัติ จะพึงเข้าสมาบัติ ออกจากสมาบัติ แล้วกล่าวว่าเป็นอะไรได้เองโดยชอบ๖ดังนี้. นวก. อํ. ๒๓/๔๓๘-๔๔๔/๒๔๐. (สำหรับหัวข้อเรื่องที่ว่า "ฌานที่มีสัญญานั้น ใช้เป็นฐานแห่งวิปัสสนาได้ ใน ตัวเอง"ดังนี้ นั้น หมายความว่า ในฌานที่ยังมีสัญญาอยู่นั้น ใช้เป็นฐานแห่งวิปัสสนา หมายความว่า ในฌานที่ยังมีสัญญาอยู่นั้น มีทางที่จะกำหนดขันธ์ตามที่ปรากฏอยู่ใน ฌานนั้น ว่ามีลักษณะ เช่นอนิจจลักษณะ เป็นต้น ซึ่งเมื่อกำหนดเข้าแล้ว ก็ย่อมเกิด วิปัสสนา. ส่วนฌานที่ไร้สัญญาคือเนวสัญญานาสัญญายตนะ และสัญญาเวทยิต นิโรธนั้น ไม่มีทางที่จะกำหนดขันธ์โดยลักษณะใดๆ เพราะความไม่มีสัญญานั่นเอง แต่อาจจะรู้จักผลสุดท้ายแห่งฌานนั้นๆได้ ว่ามีอาสวะเหลืออยู่หรือหาไม่). ๑. บาลีฉบับมอญ กล่าวเลยลงไปถึงว่า " เพราะอาศัยสัญญาเวทยิตนิโรธบ้าง" ฉบับ ไทยเราหยุดเสียเพียงแค่เนวสัญญายตนะนี้เท่านั้น. ๒. ผู้ศึกษาพึงสังเกตให้เห็นว่า ในพวก รูปฌาน มีขันธ์ครบห้า ; ส่วนใน อรูปฌาน มี ขันธ์เพียงสี่ คือขาดรูปขันธ์ไป. ๓.เพียงสี่ คือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ที่ประกอบอยู่ในอากาสานัญจายตนะ ๔. ข้อความนี้หมายความว่า สัญญาสมาบัติเจ็ด คือ รูปฌานสี่ อรูปฌานสามข้างต้น รวมเป็นเจ็ดเรียกว่า สัญญาสมาบัติ เพราะเป็นสมาบัติที่ยังมีสัญญา. เมื่อสัญญา สมาบัติ มีเจ็ด อัญญา ปฏิเวธก็มีเจ็ดเท่ากัน คือการแทงตลอดอรหัตตผลในกรณีของ รูปฌานสี่ อรูปฌานสามนั่นเอง จึงตรัสว่า "สัญญาสมาบัติมีประมาณเท่าใด อัญญา ปฏิเวธก็มีประมาณเท่านั้น" ๕. ข้อความนี้หมายความว่า สัญญาสมาบัติ ๗ ประการ เกิดก่อนแล้วตั้งอยู่แล้ว จึง อาจจะเกิดสมาบัติที่ไม่มีสัญญาสองประการนี้ กล่าวคือ เนวสัญญานาสัญญายตน สมาบัติและสัญญาเวทยิตนิโนธ ดังนั้นจึงตรัสว่า "อายตนะสองอย่าง อาศัยสมาบัติ ๗ อย่าง". ๖. ฌายีภิกษุ คือภิกษุผู้บำเพ็ญฌานอยู่ ครั้นเขาเข้าหรือออกจากเนวสัญญานาสัญญาย ตนสมาบัติและสัญญาเวทยิตนิโรธแล้ว ก็มีความรู้ประจักษ์แก่ตนเอง ว่าเมื่ออาศัย สมาบัติทั้งสองนี้แล้ว จะมีการสิ้นอาสวะหรือไม่. ถ้าเป็นสมาบัติทั้งเจ็ดข้างต้น ทรง ยืนยันว่ามีความสิ้นอาสวะ ส่วนในสมาบัติสุดท้ายทั้งสองนี้ ทรงปล่อยไว้ให้ผู้ที่ได้ เข้าแล้ว ออกแล้ว เป็นผผู้กล่าวเอง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น