หากเรามองจาก ท้องฟ้า เราจะเห็น สิ่งที่เคลื่อนไหว ภายใต้ ของความคิดเรา ถ้าเรามองขึ้นไปจากใจเรา เราจะเห็น ทุกชีวิต กำลังดิ้นรน เพื่อ แสวงหา อาหาร เพื่อ หล่อเลี้ยง ชีวิตของตนเอง และ สิ่งที่ตนรัก และเป็นที่รัก ของตนเอง และแล้ว ทุกชีวิต ก็ พบว่า ความกระหายใคร่ ได้ ใคร่มี ใคร่เป็น หรือ ความทะยานอยาก นี่เอง ที่เป็นสาเหตุ ให้มนุษย์ ต้องเดินทางอยู่ ตลอดชีวิต ลองหยุดเดินทางด้วยยานพาหนะ แล้วหันมาเดินทาง ด้วยจิตวิญญาณ แล้วการ เดินทางไกล จะใกล้เข้าทุกขณะจิต หายใจเข้า ตามรู้ หายใจออก ตามรู้
วันเสาร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560
ธรรมสมบัตินาฬิกาชีวิต (Circadian Rhythm) มนุษย์นั้นจะมีประสาทส่วน ไฮโปธาลามัส (hypothalamus) ซึ่งเป็นส่วนควบคุมระบบการเผาผลาญอาหาร และ หลั่งฮอร์โมนประสาทต่าง ๆ สมอง ส่วนนี้เป็นตัวการหลัก ในการควบคุมวิถีการดำเนินชีวิตของมนุษย์ ให้สอดคล้องกับเวลาท้องถิ่น แล้ว match กับนาฬิกาโลก โดยธรรมชาติ ไม่ต้องมีใครมาบอก ต่อม pineal ที่อยู่ภายใต้สมองส่วนนี้ จะหลั่งสาร เมลาโทนิน (melatonin) ซึ่งมีผลต่อการควบคุม กิจวัตรประจำวันของร่างกาย (Circadian Rhythms) ว่า ร่างกายเรา ควรจะผลิตฮอร์โมนอะไร ในช่วงเวลาไหน ควรจะเผาผลาญอะไร ในช่วงไหน เป็นต้น Circadian Rhythms (เซอร์เคเดี้ยน ริทึ่ม) ควบคุม - การนอนหลับ - การหลั่งฮอร์โมน - การเผาผลาญอาหาร - อุณหภูมิของร่างกาย - ระบบอื่น ๆ ระบบ นี้จะทำงานร่วมกับ เวลาท้องถิ่นโดยอัตโนมัติ โดยอาศัยปัจจัย คือ การเห็นพระอาทิตย์ หรือ แสงสว่าง, การได้รับความมืด, การได้รับสารอาหารที่ทำให้ไฮโปธาลามัสทำงานปกติ เมื่อระบบ CR ทำงานปกติ ร่างกายจะรู้ว่าเวลาไหนควรตื่นนอน ทานอาหาร ทำงาน เดินทาง พักผ่อน และ นอนหลับ เมื่อต่อม pineal หลั่ง เมลาโทนินเป็นปกติ จะทำให้ เขาตื่นแล้วสดชื่น เจริญอาหาร ทำงานคล่องแคล่ว นอนหลับสนิท ทั้งยังเป็นตัวกำหนดด้วยว่า จะทำกิจกรรมเหล่านั้นเวลาไหน เช่น หลังจาก ตื่นแล้ว กี่ชั่วโมง ลำไส้จะเริ่มบีบรัดตัว, ต่อมากี่ชั่วโมงกระเพาะจะทำงานรอรับสารอาหาร, กี่ชั่วโมงร่างกายพร้อมจะทำงาน และ ใช้สมอง.... ไปเรื่อย ๆ ฮอร์โมนที่จำเป็นต่อกิจกรรมนั้น ๆ ก็จะหลั่งในช่วงเวลาที่เหมาะสม และ เมื่อถึงเวลาสิ้นสุดวัน ก็จะหลั่งฮอร์โมนที่ทำให้ง่วงนอน และ หลับสบาย ส่วน ฮอร์โมนที่จะเผาผลาญ ก็เช่นกัน ถูกหลั่งตลอดวัน เพื่อความเหมาะสม แม้กระทั่งนอนหลับ ร่างกายก็ต้องเผาผลาญอะไรบางอย่าง แต่เผาผลาญอย่างเหมาะสมต่อการนอน ไม่เหมือนตอนกลางวัน เอนโดรฟีน สารแห่งความสุข จะหลั่งดี หรือ ไม่ ก็ขึ้นอยู่กับ เซอร์เคเดี้ยน ริทึ่ม นี้ หาก เซอร์เคเดี้ยน ริทึ่ม เป็นปกติ ร่างกายจะไวในการหลั่งเอนโดรฟีน ยกตัวอย่าง เช่น แค่อยู่สงบ ๆ ซัก 20 วินาที เอนโดรฟีนหลั่งมาอย่างง่ายดาย สุขง่าย ๆ อะไรบ้างที่ทำให้วงจร เซอร์เคเดี้ยน ริทึ่ม เพี้ยนไป ? - การเห็นแสงสว่างในเวลาที่ไม่ควร เช่น ถึงเวลานอนแล้วไม่นอน ทำให้สมองไม่หลั่งเมลาโทนินเป็นปกติ - การขาดสารอาหาร ทำให้สมองไม่หลั่งเมลาโทนินตามปกติ เช่น มีพยาธิ เชื้อรา ระบบดูดซึมเสีย - ระบบเลือดที่ขัดข้อง เช่น กระดูกเคลื่อน - การตั้งใจฝืนกิจกรรมที่ เซอร์เคเดี้ยน ริทึ่ม กำหนด เช่น หิวควรจะกิน แต่ฝืนอด อดไปเรื่อย ๆ จนวันหนึ่ง ระบบร่างกายต้องปรับให้รับกับการอดนี้ แล้วไปเบียดเวลาส่วนอื่น ทำให้ เซอร์เคเดี้ยน ริทึ่ม เพี้ยน - การทานอาหารที่ไม่เหมาะสมกับท้องถิ่น เช่น อยู่เมืองร้อน เกิดมาปอดใหญ่ ต้องทานอาหารชนิดนี้, อยู่เมืองหนาวปอดเล็กกว่า ทานอาหารอีกชนิดหนึ่ง คนเมืองหนาวมาอยู่เมืองไทย แพ้อากาศ, คนเมืองร้อน ไปอยู่เมืองหนาว ร่างกายปรับปอดใหม่ พอกลับมาอยู่เมืองร้อน ก็เลยแพ้อากาศ เมื่อ เซอร์เคเดี้ยน ริทึ่ม เพื้ยนไป - นอนไม่หลับ หรือ ไม่ง่วงนอน - หลั่งเอนโดรฟีนยากขึ้น ต้องออกกำลังกายเท่านั้น ถึงหลั่ง - ระบบเผาผลาญเพี้ยน มีไขมันสะสม, มีอนุมูลอิสระสะสม - ระบบภูมิคุ้มกันเพี้ยน อ่อนแอ ติดเชื้อง่าย เพราะม้ามทำงานผิดเวลา ถูกเบียดโดยกิจกรรมอื่น - ระบบการรักษาอุณหภูมิในร่างกายเพี้ยน ช่วงเวลา เซอร์เคเดี้ยน ริทึ่ม และ ระบบอวัยวะที่เกี่ยวข้อง 01.00-03.00 น. ตับ นอนหลับพักผ่อนให้หลับสนิท 03.00-05.00 น. ปอด ตื่นนอน สูดอากาศบริสุทธ์ 05.00-07.00 น. ลำไส้ใหญ่ ขับถ่ายอุจจาระ 07.00-09.00 น กระเพราะอาหาร กินอาหารเช้า 09.00-11.00 น. ม้าม พูดน้อย กินน้อย ไม่นอนหลับ 11.00-13.00 น. หัวใจ หลีกเลี่ยงความเครียดทั้งปวง 13.00-15.00 น. ลำไส้เล็ก งดกินอาหารทุกปะเภท 15.00-17.00 น. กระเพาะปัสสาวะ ทำให้เหงื่อออก ( ออกกำลังกายหรืออบตัว ) 17.00-19.00 น. ไต ทำให้สดชื่น ไม่ง่วงเหงาหาวนอน 19.00-21.00 น. เยื่อหุ้มหัวใจ ทำสมาธิหรือสวดมนต์ 21.00-23.00 น. ระบบความร้อนของร่างกาย ห้ามอาบน้ำเย็น ห้ามตากลม ทำให้ร่างกายอบอุ่น
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น