วันอาทิตย์ที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2559

การเจริญสมาธิให้จิตตั้งมั่นให้พ้นจากความฟุ้งซ่านในธรรมสิบประการความฟุ้งซ่านในธรรมสิบประการ ธัมมุจธัจจ์ หรือที่เรียกกันภายหลังว่า วิปัสสนูปกิเลส 10 ประการ ธรรมุธัจจ์ หรือ ธัมมุธัจจ์ แปลว่า ความฟุ้งซ่านธรรม หรือ ตื่นธรรม ความฟุ้งซ่านด้วยสำคัญผิดในธรรม คือ ความฟุ้งซ่านเนื่องจากเกิด วิปัสสนูปกิเลสอย่างใดอย่างหนึ่งขึ้นแล้วสำคัญผิด ว่าตนบรรลุธรรม คือ มรรคผลนิพพาน จิตก็เลยคลาดเขวออกไป เพราะความฟุ้งซ่านนั้น ไม่เกิดปัญญาที่จะเห็นไตรลักษณ์ได้จริง ธัมมุธัจจ์ มาจากคำว่า ธัมมุทธัจจะ หรือ ธรรมุทธัจจะ (ธรรม+อุทธัจจ์ - ความฟุ้งซ่าน) อรรถกถาเรียกว่า วิปัสสนูปกิเลส (องฺ.อ.๒/๔๔๗; วิสุทธิ.๓/๒๖๗) ธัมมุทธัจจ์ คือ ความฟุ้งซ่านธรรม หรือ วิปัสสนูปกิเลส คือ เครื่องเศร้าแห่งวิปัสสนา มี ๑๐ อย่าง วิปัสสนูปกิเลส หรือ ธรรมุทธัจจ์ มี ๑๐ อย่าง คือ ๑. โอภาส แสงสว่าง ซึ่งรู้สึกว่างามเจิดจ้าแผ่ซ่านไปสว่างไสว อย่างไม่เคยมีมาก่อน ๒. ญาณ ความหยั่งรู้ ที่เฉียบแหลมคมกล้า รู้สึกเหมือนว่า จะพิจารณาอะไรเป็นไม่มีติดขัด ๓. ปีติ ความเอิบอิ่มใจ รู้สึกเต็มเปี่ยมไปทั่งทั้งตัว ๔. ปัสสัทธิ ความสงบเย็น เกิดความรู้สึกว่า ทั้งกายและใจสงบสนิท เบานุ่มนวล คล่องแคล่ว แจ่มใสเหลือเกิน ไม่มีความกระวนกระวาย ความกระด้าง หนัก ความไม่สบาย หรือ ความรำคาญ ขัดขืนใดๆ เลย ๕. สุข มีความสุขที่ประณีตละเอียดอ่อนลึกซึ้งอย่างยิ่ง แผ่ไปทั่วทั้งตัว ๖. อธิโมกข์ เกิดศรัทธาอย่างแรงกล้า ประกอบเข้ากับวิปัสสนา ทำให้จิตใจมีความผ่องใสอย่างเหลือเกิน ๗. ปัคคาหะ ความเพียรที่ประกอบกับวิปัสสนา ซึ่งพอเหมาะพอดี เดินเรียบ ไม่หย่อนไม่ตึง ๘. อุปัฏฐาน สติที่กำกับชัด มั่นคง ไม่สั่นไหว จะนึกถึงอะไร ก็รู้สึกว่าระลึกได้คล่องแคล่วชัดเจน เหมือนดังแล่นไหลไปถึงหมด ๙. อุเบกขา ภาวะจิตที่ราบเรียบเที่ยง เป็นกลางในสังขารทั้งปวง ๑๐. นิกันติ ความพอใจติดใจ ที่สร้างความอาลัยในวิปัสสนา มีอาการสงบ สุขุม ซึ่งความจริงเป็นตัณหาที่ละเอียด แต่ผู้ปฏิบัติไม่สามารถกำหนดจับได้ว่า เป็นกิเลส

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น