หากเรามองจาก ท้องฟ้า เราจะเห็น สิ่งที่เคลื่อนไหว ภายใต้ ของความคิดเรา ถ้าเรามองขึ้นไปจากใจเรา เราจะเห็น ทุกชีวิต กำลังดิ้นรน เพื่อ แสวงหา อาหาร เพื่อ หล่อเลี้ยง ชีวิตของตนเอง และ สิ่งที่ตนรัก และเป็นที่รัก ของตนเอง และแล้ว ทุกชีวิต ก็ พบว่า ความกระหายใคร่ ได้ ใคร่มี ใคร่เป็น หรือ ความทะยานอยาก นี่เอง ที่เป็นสาเหตุ ให้มนุษย์ ต้องเดินทางอยู่ ตลอดชีวิต ลองหยุดเดินทางด้วยยานพาหนะ แล้วหันมาเดินทาง ด้วยจิตวิญญาณ แล้วการ เดินทางไกล จะใกล้เข้าทุกขณะจิต หายใจเข้า ตามรู้ หายใจออก ตามรู้
วันพุธที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2557
ภาพพิณสามสายนี้ มีที่มาเกี่ยวเนื่องกับพุทธประวัติอย่างไร ? เมื่อครั้งที่เจ้าชายสิทธัตถะเสด็จออกบรรพชา (บวช) พระองค์ได้ศึกษาร่ำเรียนศิลปวิทยาการกับอาจารย์จากสำนักต่าง ๆ จนกระทั่งหมดทุกสำนัก ด้วยความที่พระองค์ทรงมีพระปรีชาสามารถในศาสตร์ทุกแขนง แต่พระองค์ก็ยังไม่อาจบันลุพระโพธิญาณ (ตรัสรู้ได้) จึงดำริที่จะบำเพ็ญเพียรภาวนาด้วยพระองค์เอง ในครั้งแรกได้บำเพ็ญทุกกรกิริยา อดข้าว อดน้ำด้วยหวังว่าวิธีนี้จะเป็นทางนำมาซึ่งความหลุดพ้นแห่งทุกข์ จนกระทั่งร่างกายผ่ายผอมเห็นแต่กระดูกและเส้นเอ็น แต่พระองค์ก็ยังไม่สามารถตรัสรู้ได้ จึงทรงรำพึงอยู่ในใจว่าวิธีนี้คงจะไม่ใช่วิธีที่ถูกต้อง ความทราบถึงพระอินทร์ จึงได้ถือพิณเสด็จลงมาเฝ้าเจ้าชายสิทธัตถะ โดยใช้พิณสามสาย บรรเลงดนตรี พิณสายหนึ่งหย่อนเกินไป ดีดแล้วเสียงเพลงไม่กังวาลไพเราะ สายหนึ่งตึงเกินไป ดีดไปไม่ทันไรสายก็ขาด แต่อีกสายหนึ่งนั้นกำลังพอเหมาะพอดี ดีดแล้วมีเสียงกังวาลใสไพเราะ เวลานักดนตรีจะบรรเลงเพลงจึงมักปรับสายให้พอดี เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะเห็นเช่นนั้นก็ทรงทราบว่า ไม่ว่าจะกระทำสิ่งใดก็ตามสมควรให้อยู่ในความพอดี ไม่ตึงเกินไป และไม่หย่อนเกินไป เรียกว่าทางสายกลาง ( มัชฌิมาปฏิปทา ) ดังนั้นเจ้าชายสิทธัตถะ จึงเลิกบำเพ็ญทุกกรกิริยา และฉันอาหารตามปกติเมื่อพระองค์แข็งแรงแล้วจึงได้บำเพ็ญเพียรภาวนาปฏิบัติทางจิต ในที่สุดก็ได้บรรลุพระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ เป็นสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสรู้หลักธรรมอันเป็นทางนำไปสู่การดับทุกข์ได้โดยสิ้นเชิงในที่สุด
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น