หากเรามองจาก ท้องฟ้า เราจะเห็น สิ่งที่เคลื่อนไหว ภายใต้ ของความคิดเรา ถ้าเรามองขึ้นไปจากใจเรา เราจะเห็น ทุกชีวิต กำลังดิ้นรน เพื่อ แสวงหา อาหาร เพื่อ หล่อเลี้ยง ชีวิตของตนเอง และ สิ่งที่ตนรัก และเป็นที่รัก ของตนเอง และแล้ว ทุกชีวิต ก็ พบว่า ความกระหายใคร่ ได้ ใคร่มี ใคร่เป็น หรือ ความทะยานอยาก นี่เอง ที่เป็นสาเหตุ ให้มนุษย์ ต้องเดินทางอยู่ ตลอดชีวิต ลองหยุดเดินทางด้วยยานพาหนะ แล้วหันมาเดินทาง ด้วยจิตวิญญาณ แล้วการ เดินทางไกล จะใกล้เข้าทุกขณะจิต หายใจเข้า ตามรู้ หายใจออก ตามรู้
วันพุธที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2560
สภาวะความไม่ปรุงเมื่อรู้จักรูปนาม และรู้จักลักษณะของจิตที่เป็นกุศลกับอกุศล และรู้จักลักษณะของจิตที่ ตั้งมั่นกับจิตที่ไม่ตั้งมั่นแล้ว ก็ให้ตามรู้รูปนามเนืองๆ ด้วยจิตที่เป็นกุศลและตั้งมั่นเป็นกลาง เมื่อตามรู้เนืองๆ ก็ย่อมรู้จักและจดจำสภาวะของรูปนามได้ มากและแม่นยำยิ่งขึ้น สติก็จะยิ่งเกิดได้บ่อยและรวดเร็วยิ่งขึ้นๆ ทั้งนี้สติเป็นความระลึกได้ถึงสภาวธรรมคือรูปนามที่เกิดขึ้นโดยไม่ได้จงใจจะรู้ ส่วนความจงใจรู้นั้นไม่ใช่สติ แต่เป็นการกำหนดหรือเพ่งจ้องด้วยแรงผลักดันของตัณหาหรือโลภะ 5.2.3 สติจะทำหน้าที่อารักขาคือรักษาจิตจากบาปอกุศลทั้งปวง ดังนั้นทันทีที่สติเกิดขึ้น อกุศลย่อมเป็นอันถูกละไปแล้ว และกุศลได้เจริญขึ้นแล้ว เมื่ออกุศลไม่มี มีแต่กุศล จิตในขณะนั้นย่อมเป็นจิตในฝ่ายกุศล และเมื่อจิตเป็นกุศล จิตย่อมปราศจากความทุกข์หรือโทมนัสเวทนา เพราะโทมนัสเวทนาเกิดร่วมกับอกุศลจิตเท่านั้น จิตจะมีได้เฉพาะโสมนัสเวทนาและอุเบกขาเวทนา ซึ่งอุเบกขาเวทนาก็นับเนื่องเข้าในความสุขได้ด้วย เพราะจิตพ้นจากความบีบคั้นของโทมนัสเวทนา ดังนั้นทันทีที่สติเกิดขึ้น ความสุขย่อมเกิดขึ้นแล้ว 5.2.4 ความสุขเป็นเหตุใกล้ให้เกิดสมาธิ และเมื่อความสุขนั้นเกิดจากการมีสติระลึกรู้สภาวะของรูปนามโดยไม่มีความจงใจจะรู้ สมาธิอันนี้จึงเป็นสัมมาสมาธิ คือความตั้งมั่นชอบในอารมณ์ฝ่ายกุศลที่ประกอบด้วยสติปัญญา ได้แก่ความตั้งมั่นในการรู้อารมณ์รูปนาม 5.2.5 สัมมาสมาธิเป็นเหตุใกล้ให้เกิดปัญญา เนื่องจากเมื่อจิตมีสัมมาสมาธิ หรือมีความตั้งมั่นใน การรู้อารมณ์รูปนาม จิตย่อมสามารถเจริญวิปัสสนาอันเป็นการตามรู้รูปนามตามความเป็นจริงได้เนืองๆ จนเกิดปัญญาหรือความเข้าใจความเป็นจริงของรูปนาม ว่ารูปนามไม่เที่ยงคือเกิดแล้วก็ดับไป เป็นทุกข์คือถูกบีบคั้น และไม่ใช่ตัวตนคือบังคับไม่ได้และไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตนเราเขา ทั้งนี้การเจริญวิปัสสนาก็คือการเจริญสติปัฏฐานเพื่อให้เกิดปัญญารู้และเข้าใจลักษณะของรูปนามตามความเป็นจริง 5.2.6 ปัญญามีหน้าที่ทำลายความหลงผิด โดยปัญญาเบื้องต้นจะทำลายสักกายทิฏฐิหรือความเห็นผิดว่ารูปนาม/ขันธ์ 5 คือตัวเรา ซึ่งผู้ที่ละความ เห็นผิดนี้ได้คือผู้ที่เป็นพระโสดาบัน เมื่อปัญญาแก่ กล้ามากขึ้นเป็นปัญญาขั้นกลางจะทำให้จิตของผู้ปฏิบัติเกิดความรู้ว่า ถ้าจิตส่งส่ายออกยึดถืออารมณ์ ทางตา หู จมูก ลิ้น และกายแล้ว จิตจะเกิดความทุกข์ขึ้น จิตของผู้ปฏิบัติในขั้นนี้จึงไม่แสวงหากามคุณอารมณ์ และพึงพอใจที่จะหยุดอยู่กับความสุขสงบภายใน โดยไม่ต้องจงใจรักษาจิตให้สงบตั้งมั่นแต่อย่างใด ผู้ที่ดำเนินมาถึงขั้นนี้คือผู้ที่ เป็นพระอนาคามี และเมื่อปัญญาแก่รอบเป็นปัญญาชั้นสูงหรือวิชชา ก็จะทำลายอวิชชาหรือความไม่รู้อริยสัจจ์ได้อย่างราบคาบ คือทำลายความไม่รู้ทุกข์ คือไม่รู้ว่ารูปนามนั่นแหละเป็นทุกข์ ไม่ใช่รูปนามเป็นทุกข์บ้างสุขบ้างอย่างที่เคยเข้าใจมา แม้แต่ตัวจิตผู้รู้เองก็เป็นของไม่เที่ยงจะทำให้เที่ยงไปไม่ได้ เป็นทุกข์จะทำให้เป็นสุขไปไม่ได้ และเป็นอนัตตาคือไม่อยู่ในอำนาจบังคับก็จะบังคับไม่ได้ เมื่อรู้ทุกข์แจ่มแจ้งแล้วสมุทัยคือความดิ้นรน ทะยานอยากของจิตที่จะแสวงหาความสุขและหลีกหนีความทุกข์ ก็เป็นอันหมดสิ้นไปอย่างอัตโนมัติ เพราะเมื่อไม่ยึดถือกระทั่งจิตแล้วจะดิ้นรนเพื่อให้จิตเป็นสุขถาวรไปทำไมกัน ยิ่งดิ้นรน ก็ยิ่งทุกข์ซ้ำซ้อน คือทุกข์เพราะมีขันธ์แล้วไม่พอ ยัง ทุกข์เพราะมีกิเลสตัณหาเพิ่มขึ้นมาอีกชั้นหนึ่ง เมื่อจิตปล่อยวางจิตหรือขันธ์ทั้งปวงแล้ว จิตก็ประจักษ์ ถึงนิโรธคือความสิ้นทุกข์ เพราะสิ้นขันธ์ และสิ้นภาระทางใจที่จะต้องแบกหามขันธ์อันเป็นของหนักเครื่องกดถ่วงจิตใจที่เคยแบกหามมาตลอด เวลาที่เดินทางในสังสารวัฏ จิตเข้าถึงความสงบสันติอันแจ่มจ้าบริบูรณ์เต็มเปี่ยมอยู่ต่อหน้าต่อตานี้ เอง ความสงบสันตินี้ไม่ใช่ภพอันหนึ่งที่มีการเข้าและการออก แต่เป็นสภาวะแห่งความสิ้นกิเลส และสิ้นขันธ์ที่เคยแบกหามไว้ในใจนั่นเอง และผู้ปฏิบัติ จะรู้ว่าการรู้ทุกข์ ละสมุทัย และมีนิโรธเป็นอารมณ์ นี้เองคือมรรคที่แท้จริง ส่วนการประพฤติปฏิบัติใดๆ ที่เคยทำมาเป็นเพียงต้นทางของมรรคเท่านั้น กล่าวอย่างรวบรัดก็กล่าวได้ว่า สภาวะที่ขาดจากความปรุงแต่งนั่นแหละคือมรรคที่แท้จริง ส่วนการ อบรมศีล สมาธิ และปัญญาที่ผ่านมาเป็นเพียงความ ปรุงแต่งเพื่อให้เข้าถึงความไม่ปรุงแต่งเท่านั้นเอง เมื่อปราศจากอวิชชา จิตย่อมปราศจากกิเลส คือตัณหาอันเป็นความดิ้นรนทะยานอยากของ จิต เมื่อจิตปราศจากตัณหา การทำกรรมทางใจหรือ ภพย่อมมีไม่ได้ เมื่อไม่มีภพ ชาติหรือความปรากฏ แห่งขันธ์หรือรูปนามทั้งหลายย่อมมีไม่ได้ เมื่อไร้รูปนามย่อมไร้ทุกข์ นิพพานคือความพ้นจากทุกข์หรือความพ้นจากรูปนามก็จะปรากฏขึ้น ต่อหน้าต่อตานั้นเอง ทั้ง 6 ขั้นตอนนี้คือทางสายกลาง อันเป็นทาง แห่งความพ้นทุกข์ ซึ่งเริ่มจากการตามรู้กาย การตามรู้ใจ จนถึงฝั่งแห่งนิพพานอันเป็นที่สุดแห่งทุกข์ในที่สุด
โปรแกรม Arduino ให้เป็น อินเวอร์เตอร์ สามเฟสTomasz Drazek 3 Phase Motor ...
//Arduino Atmega 168 Atmega 328P 3 phase induction motor Variable Speed Controller //Code
// Complier By Arduino Version 101 Version 106 Software
//รุ่นนี้เป็นแบบ AUTO RE RUN โค๊ดนี้ใช้วอลลุ่ม 5KB ตัวเดียวทำหน้าที่ ปิด -ปิด ปรับรอบ ให้ใช้ R //4K7 ต่อ ไฟ+5Vdc แล้วต่อเข้า ขาข้างด้าน + MAX ของ VR ต่อ R 1K-10 K ต่อ เข้า A3 ของ //ATmega 168 ATmega 328 P
#define UN (400.0) //napiecie znamionowe silnika
#define FN (50.0) //czestotliwosc znamionowa silnika
#define P (UN/FN) //wsp. okreslajacy proporcje napiecia do czestotliwoci znamionowej
#define T_PWM (0.000255) //okres sygnalu PWM - ustawiony przez preskaler w licznikach
#define T_MAX (4.0) //okreslenie maksymalnego okresu napiecia wyjsciowego
#define T_MIN (0.02) //minimalny okres napiecia wyjsciowego
#define K_MAX floor(T_MAX/T_PWM) //liczba wartosci okresu dla T_MAX
#define K_MIN ceil(T_MIN/T_PWM) //liczba wartosci okresu dla T_MIN
volatile static unsigned int dlugosc_tab_sin; //zmienna zawierajaca liczbe wartosci w pelnym
//okresie napiecia wyjsciowego
static unsigned int i = 0; //zmienna pomocniacza
volatile static unsigned int licznik_glowny = 0;//zmienna wystepujaca w przerwaniu czyklicznie
//^ co okres T_PWM zwiekszajaca swoja wartosc o 1
static unsigned int next_value_sin = 0; //zmienna ktora wartosc sin nalezy obliczyc
static double t_param=100; //parametr okreslajacy okres napiecia wyjsciowego
static float t = T_PWM; //T_PWM
static float omega_t; //pulsacja napiecia wyjsciowego pomnozona przez T_PWM
static float t_out; //okres wyjsciowy napiecia
static float U_o_param; //parametr okreslajacy wielkosc napiecie wyjsciowego
//^ obliczony na podstawie t_out i U_in
static unsigned int ocr0a, ocr0b, ocr1a;//zmienne pomocnicze do przechowywania obl. wypelnien
static unsigned int ocr1b, ocr2a, ocr2b;//^
static double sin_in; //zmienna zawierajaca parametr funkcji sin
static double blad = 1; //zmienna uzyta do zatrzymania generowania napiecia przy przeciazeniu
static unsigned int analog=0; //zmienna zawierajaca zmierzona wartosc
static double U_in = 0; //zmienna przechowujนca pomiar napiecia ukladu posredniczacego
static double U_rms_max; //maksymalna aktualnie mozliwa do generacji wartosc skuteczna napiecia
static bool a=0; //zmienna logiczna do realizacji dwoch naprzemiennych pomiarow
int main()
{
io_init(); //inicjalizacja wejsc i wyjsc
timers_init(); //inicjalizacja licznikow PWM
adc_init(); //inicjalizacja przetwornika ADC
while(1) //nieskonczona petla z programem glownym
{
if(i==185) //warunek okreslajacy wejscie do funkcji zmiany
{ //parametrow napiecia wysjciowego, wywolanie co okolo 100ms
zmien_predkosc(); //funkcja zmiany parametrow napiecia wyjsciowego
i=0;
}
next_value_sin = licznik_glowny%dlugosc_tab_sin; //kolejna wartoœๆ sinusa do obliczenia
sin_in=omega_t*next_value_sin;
//obliczenie wartosci do rejestrow okreslajacych wypelnienie sygnalu wyjscioweg/
ocr0a = round(blad*(U_o_param*(sin(sin_in)+1)*254/2)+1);//pin 6
ocr0b = ocr0a - 1;
ocr1a = round(blad*(U_o_param*(sin(sin_in-2.09)+1)*254/2)+1);//pin 9
ocr1b = ocr1a - 1;
ocr2a = round(blad*(U_o_param*(sin(sin_in+2.09)+1)*254/2)+1);//pin 11
ocr2b = ocr2a - 1;
//uaktualnienie wartosci w rejestrach/
cli(); //zabronienie na obsloge przerwan na wypadek gdyby
//podczas uaktualniania wystapilo przerwanie
OCR0A = ocr0a; //pin 6
OCR0B = ocr0b; //pin 5
OCR1AL = ocr1a; //pin 9
OCR1BL = ocr1b; //pin 10
OCR2A = ocr2a; //pin 11
OCR2B = ocr2b; //pin 3
sei(); //zezwolenie na obsloge przerwan
i++;
}
}
void adc_init()
{
ADCSRA |= _BV(ADEN);//uruchomienie przetwornika
ADCSRA |= _BV(ADPS2);//ustawienie preskalera
ADCSRA |= _BV(ADPS1);//^
ADCSRA |= _BV(ADPS0);//^
ADMUX |= _BV(REFS0);// napiecie odniesienia ustawione jako napiecie zasilania
ADMUX |= ADMUX &= 0b11110000; //wybranie wejscia ADC0 do pomiaru
}
void timers_init()
{
cli(); // obsloga przerwan zabroniona
//timer0 init
TCCR0A |= _BV(COM0A1) | _BV(COM0B0) | _BV(COM0B1) | _BV(WGM00);
TCCR0B |= _BV(CS01); //preskaler 8
TIMSK0 |= _BV(TOIE0); //flaga od wartosci 0 wlaczona
//timer1 init
TCCR1A |= _BV(COM1A1) | _BV(COM1B0) | _BV(COM1B1) | _BV(WGM10);
TCCR1B |= _BV(CS11); //preskaler 8
//timer2 init
TCCR2A |= _BV(COM2A1) | _BV(COM2B0) | _BV(COM2B1) | _BV(WGM20);
TCCR2B |= _BV(CS21); //preskaler 8
//zerowanie wartosci licznik๓w
TCNT0 = 0;
TCNT1L = 0;
TCNT2 = 0;
/* licznik zlicza w g๓re do 255, nastepnie w d๓ณ: /\/\/\
przy wartosci 255 jest przerwanie przy ktorym dokonuje sie
pomiarow napiec i pradow
*/
sei(); //zezwolenie na obsloge przerwan
}
void io_init()
{
pinMode(6, OUTPUT); //OC0A
pinMode(5, OUTPUT); //OC0B
pinMode(9, OUTPUT); //OC1A
pinMode(10, OUTPUT);//OC1B
pinMode(11, OUTPUT);//OC2A
pinMode(3, OUTPUT); //OC2B
pinMode(2, INPUT);
pinMode(4, INPUT);
pinMode(12, OUTPUT);
}
ISR(TIMER0_OVF_vect) //przerwanie przy wartosci 0 licznika0
{
analog = ADC;
if(a)
{
U_in = 0.0709*analog;
ADMUX |= _BV(MUX0); //wybranie wejscia ADC1 do pomiaru pradu
}
else
{
ADMUX |= ADMUX &= 0b11110000; //wybranie wejscia ADC0 do pomiaru napiecia
if(analog>579)
{
blad = 0; //jezeli przeciazenie wylaczenie generacji napiecia
digitalWrite(12, HIGH); //zapalenie diody
}
}
ADCSRA |= _BV(ADSC);//start odczytywania pomiaru
a=a^1; //bramka XOR neguje wartosc logiczna a
licznik_glowny++;
if(licznik_glowny>=dlugosc_tab_sin) licznik_glowny = 0;
}
void zmien_predkosc()
{
t_param = map(analogRead(3),0,1023,0,100);
U_rms_max = U_in*0.62; //wartosc 0.62 wyzanczona eksperymentalnie
bool up; //zmienna logiczna, informuje o nacisnietym przycisku zwieksz czestotliwosc
bool down; //zmienna logiczna, informuje o nacisnietym przycisku zmiejsz czestotliwosc
up = digitalRead(4); //odczyt: czy nacisniety przycisk zwieksz czestotliwosc
down = digitalRead(2); //odczyt: czy nacisniety przycisk zmiejsz czestotliwosc
if(up==1) t_param--; //jezeli nacisniety przycisk zwieksz czestotliwosc to zmiejsz okres
if(down==1) t_param++; //jezeli nacisniety przycisk zmniejsz czestotliwosc to zwieksz okres
if(t_param<0) t_param=0; //zabezpieczenie przekroczenia wartosci skrajnych
if(t_param>100) t_param=100;//^
dlugosc_tab_sin = ceil((K_MAX-K_MIN)*t_param/500+K_MIN);//ilosc wartosci wypelnien w jednym okresie
t_out = T_PWM*dlugosc_tab_sin; //obliczenie okresu napiecia wyjsciowego
omega_t = t*2*PI/t_out; //obliczenie pulsacji napiecia wyjsciowego
U_o_param = (P/t_out)/U_rms_max; //obliczenie parametru okreslajacego wielkosc napiecia wyjsciowego
if(t_out>1) U_o_param = 0.5*(18.5/U_rms_max); //napi๊cie na wyjsciu przy niskiej czestotliwosci 10V
if(U_o_param>1) U_o_param=1;
//zabezpieczenie przekroczenia wartosci skrajnych
blad = 1; //jezeli przeciazenie wylaczenie generacji napiecia
digitalWrite(12, LOW); //zapalenie diody
}
จิตที่ฟุ้งซ่าน คือจิตที่วิ่งไปวิ่งมา วิ่งหลงไปดู หลงไปฟัง หลงไปคิด หนีไป...กราบขอบพระคุณและอนุโมทนาท่านอาจารย์มากครับ ที่ให้โอกาส สมาธิที่สำคัญที่ต้องเรียนให้ได้ ถ้าจะเอามรรคผลในชีวิตนี้ สมาธิที่จิตตั้งมั่นเป็นผู้รู้ผู้ดู...เป็นคนดู จิตเป็น Observer เป็นคนดู ดูอะไร ... ดูกายมันทำงาน ดูใจมันทำงาน ดูเพื่ออะไร ... เพื่อจะได้เห็นความจริง...กายนี้ไม่ใช่เรา ใจที่ทำงานอยู่นี้ไม่ใช่เรา จิตที่เป็นคนดูอยู่นี้ก็ไม่ใช่เรา ... ไปดูให้เห็นความจริงตรงนี้ วิธีที่ให้เกิดสมาธิชนิดที่ให้จิตตั้งมั่น เราต้องรู้ก่อน สิ่งที่ตรงข้ามกับจิตที่ตั้งมั่น คือจิตที่ฟุ้งซ่าน จิตที่ฟุ้งซ่าน คือจิตที่วิ่งไปวิ่งมา วิ่งหลงไปดู หลงไปฟัง หลงไปคิด หนีไปหนีมาตลอดเวลา... ลองห้ามไม่ให้จิตมันคิด... สังเกตุไหม๊จิตมันคิดได้เอง เราไม่ห้ามมัน จิตที่มันคิดไป จิตมันฟุ้งซ่าน อันนี้ฟุ้งซ่านไปทางใจ ไปคิด.. เวลาที่เราเห็นรถชนกัน จิตมันจะวิ่งไปดู ไปสนใจ อาศัยลูกกะตาเป็นเครื่องมือให้จิตออกไปดูรถที่ชนกัน สนใจๆ อีกฝั่งหนึ่ง รถไม่ได้ชนกัน รถก็ติดเหมือนกัน เพราะทุกคนส่งใจไปดูรถที่ชนกัน... ขณะนั้นมีร่างกายลืมร่างกาย มีจิตใจลืมจิตใจ เพราะอะไร จิตของเราวิ่งไปดู มันหลงไปดู บางทีก็หลงไปฟัง บางทีก็หลงไปคิด สลับไปสลับมาเรื่อยๆ จิตนั้นหลงไปได้ 6 ช่องทาง ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ...หลงไปดู หลงไปฟัง หลงไปดมกลิ่น หลงไปลิ้มรส หลงไปรู้สัมผัสทางกาย... หลงไปคิดนึกทางใจ...ที่เกิดบ่อยคือหลงไปคิดทางใจ การที่จิตหลงไปทางทวารทั้ง 6 มันเกิดจากความฟุ้งซ่านทางจิต เป็นกิเลสตัวหนึ่ง อยู่ในตระกูลโมหะ ตระกูลหลง หลงไปดู หลงไปฟัง หลงไปคิดนั่งเอง กิเลสเป็นศัตรูของสติ... เมื่อใดมีสติเมื่อนั้นไม่มีกิเลส เมื่อใดมีกิเลสเมื่อนั้นไม่มีสติ... ต่อไปนี้เราคอยมีสติรู้ทันจิตที่หลงไป... รู้ทันใจที่หลงไป... ใจหนีไปคิดรู้ทัน... ใจหนีไปคิดรู้ทัน วิธีที่จะซ้อมให้รู้ได้ไว ทำกรรมฐานเสียอย่างหนึ่ง.. ถนัดพุทโธใช้พุทโธ ...ถนัดรู้ลมหายใจก็หายใจไป ...ถนัดดูท้องพองยุบก็ดูไป ...แต่ดูแล้ว ไม่ใช่ไปดูลม ดูท้อง ดูมือดูเท้าอะไรทั้งสิ้นนะ... ดูแล้วคอยรู้ทันจิต... เช่น พุทโธ พุทโธ จิตหนีไปคิดรู้ทัน... พุทโธ พุทโธ จิตสว่างว่างขึ้นมารู้ทัน... รู้ลมหายใจจิตหนีไปคิดรู้ทัน จิตไหลไปอยู่กับลมหายใจรู้ทัน (ถ้าจิตไหลไปอยู่ในลม=ขาดสติ/หลงอยู่กับลม) เพราะฉะนั้นเราคอยรู้ทันจิตที่เคลื่อน จิตหนีไปคิดรู้ทัน จิตคอยไปจ้องอยู่ที่อารมณ์กรรมฐานของเรารู้ทัน... ฝึกอย่างนี้ วันหนึ่ง 15 นาที ขอ 15 นาทีเท่านั้น อย่าเกิน ถ้าเกินแล้ววันที่ 2 จะไม่ทำ ค่อยๆ ทำ วันละนิดๆหน่อยๆ อย่าเอาเยอะ อย่าโลภ แต่ว่าทำให้ได้ทุกวัน แต่ถ้าวันหนึ่งตั้งใจฝึกหลายชั่วโมง มันตั้งใจได้วันที่ 1 /3ชั่วโมง วันที่ 2 / 2ชั่วโมง จะลดลงมาอย่างนี้เรื่อยๆสุดท้ายเลิก... วันหนึ่งทำนิดเดียว 10 นาที 15 นาที ...ไหว้พระสวดมนต์ 2-3 นาทีพออย่าไหว้ยาว ....ถ้าจะไหว้ยาวก็อาศัยการสวดมนต์เจริยสติไปเลย สวดมนต์ไป แต่ถ้าใจหนีไปที่อื่นรู้ทัน อย่างนี้ก็ยังใช้ได้ หรือสวดมนต์ไปเห็นปากมันพะงาบๆอยู่ สวดไปใจหนีไปที่อื่นแล้วรู้ทัน ถ้าอย่างนี้ก็ใช้ได้ แต่ถ้าสวดแล้วเคลิ้ม ปลื้มอยู่อย่างนั้น อย่างนี้ไม่พัฒนา พัฒนาช้า เพราะฉะนั้น...ทำกรรมฐานซะอย่างหนึ่ง...แล้วรู้ทันจิต ไม่ใช่ทำกรรมฐานอย่างหนึ่งเพื่อให้จิตสงบ.. จำตรงนี้ให้ดี... ทำกรรมฐานอย่างหนึ่งเพื่อให้รู้ทันจิต ไม่ใช่ทำกรรมฐานอย่างหนึ่งเพื่อให้จิตสงบ เช่น พุทโธ ไมใช่เพื่อให้จิตสงบ แต่พุทโธเพื่อจะรู้ทันจิตเวลามันหนีไปจากพุทโธ รู้ลมหายใจไม่ใช่เพื่อความสงบ แต่เพื่อจะรู้ทันจิตเวลามันหนีไป...หนีไปไหนได้บ้าง...หนีไปอยู่กับลมหายใจ หรือหนีไปคิดเรื่องอื่น หนีได้หลายแบบ ดูท้องพองยุบนี่ จิตหนีไปคิดก็ได้ จิตไหลไปอยู่ที่ท้องก็ได้ เดินจงกลมยกเท้าย่างเท้า จิตหนีไปคิดก็ได้ จิตไหลไปอยู่ที่เท้าก็ได้ ให้คอยรู้ทันจิตที่ไหลไปไหลมา อย่าไปห้ามมัน ถ้าห้ามจะเครียด ถ้าเครียดไม่ใช่สมาธิที่ดี นี่เป็นสมาธิที่เลวทันทีเลย เพราะความเครียดนี่เกิดจากจิตที่เป็นอกุศลเท่านั้น
วันอังคารที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2560
ผู้สละโลกหญ้าสดในทะเลทรายภราดา ! เรื่องเป็นมาอย่างนี้ สมณะรูปหนึ่ง ผิวพรรณผ่องใส มีอินทรีย์สงบ ดำเนินอย่างเชื่องช้าออกจากโคจรคาม ท่านมีจักษุทอดลงต่ำ จะเหลียวซ้ายแลขวาก็เต็มไปด้วยความสำรวมระวังมั่นคงและแจ่มใส ผ้าสีเหลืองหม่นที่คลุมกาย แม้จะเป็นผ้าราคาถูก แต่ได้กลายเป็นของสูงส่งและศักดิ์สิทธิ์ควรแก่การเชิดชูบูชา เพราะได้มาห่อหุ้มสรีระของผู้ทรงศีล มีใจอันประเสริฐ ใครเห็นก็น้อมกายลงเคารพ กาสาวพัสตร์-สัญลักษณ์แห่งความบริสุทธิ์สูงส่ง ที่พระมหาสมณโคดมบรมศาสดาแห่งพระบวรพุทธศาสนา เคยตรัสว่า “ผู้ใดคายกิเลสที่เหนียวแน่นดุจน้ำฝาดได้แล้ว มั่นคงในศีล ประกอบด้วยการฝึกอินทรีย์ (ทมะ) และมีสัจจะ ผู้นั้นควรห่มผ้ากาสาวะ”กาสาวพัสตร์-ธงชัยแห่งผู้มีชัย คือชนะจิตของตนเองได้แล้วใครเล่าจะรังเกียจกาสาวพัสตร์ ถ้ากาสาวะนั้นห่อหุ้มร่างของบุคคลผู้มีกายวาจาใจสะอาดสมควรแก่ภูมิชั้นของตน หนุ่มใหญ่ สง่างาม เครื่องแต่งกายบอกว่าเป็นนักพรตประเภทปริพพาชก* ได้เดินตามสมณะรูปนั้นไปห่างๆ กิริยาอาการของสมณะนั้นจับตาจับใจของเขายิ่งนัก เขาคิดว่าภายในของสมณะรูปนี้ น่าจะมีรัศมีแห่งธรรมอันประเสริฐส่องแสงเจิดจ้าอยู่เป็นแน่แท้ จึงทำให้ท่านมีอินทรีย์สงบและผ่องใสเช่นนั้น มาถึงบริเวณร่มไม้ใหญ่แห่งหนึ่ง สมณะแสดงอาการว่าจะนั่ง ผู้เฝ้าติดตามจึงจัดอาสนะถวาย รอคอยท่านฉัน ไม่กล้าถามอะไรเพราะเกรงใจ ท่าน.
คนที่มีฤทธิ์ทางใจ สังเกตให้ดีเถอะ เงียบๆ พวกที่มีฤทธิ์มากๆนะ มีอภิญญามาก...ขั้นแรก รักษาศีล ข่มจิตไว้ไม่ให้ตามกิเลสไป พอชำนาญขึ้นมานะ มีสติรู้ทันกิเลสที่เกิดที่จิต ก็ไม่ต้องข่มจิตมาก เราก็มีศีลขึ้นมา เรามาฝึกให้จิตอยู่ในอารมณ์อันเดียว ที่มีความสุขแล้วไม่ยั่วกิเลส จิตได้ความสงบ พอได้สงบแล้วไม่ให้ไปติดอยู่กับความสงบ ถ้ามันยินดีพอใจในความสงบให้รู้ทันนะ หรือรู้ทันได้อีกอย่างหนึ่งจะดีมากเลย คืออย่างเวลาเรารู้ลมหายในนะแล้วจิตสงบอยู่กับลมหายใจ ให้เราค่อยๆสังเกตว่าจิตเราไหลไปเกาะอยู่ที่ลมหายใจ หรือว่าจิตสักว่ารู้ลมหายใจ ถ้าเรารู้ทันว่าจิตไหลไปอยู่ที่ลมหายใจ จิตมันจะดีดตัวออกจากลมหายใจ จิตกับลมหายใจจะแยกออกจากกัน จิตไม่ฟุ้งซ่านด้วย แต่ไม่รวมเข้ากับลมหายใจด้วย อันนี้เป็นสมาธิชั้นสูงนะ เป็นความตั้งมั่นของจิตที่ถอนตัวออกจากอารมณ์ สงบอยู่ในอารมณ์เดียวนั่นแหละแต่ถอนตัวออกมา ดูท้องพองยุบอยู่แล้วเกิดรู้ทันว่าจิตไหลไปอยู่ที่ท้อง จิตก็ถอยออกจากท้อง มาเป็นคนดู การที่จิตถอยตัวออกมาเป็นคนดูได้เนี่ย เรียกว่าเราได้สมาธิที่ยอดเยี่ยมที่สุด เป็นสมาธิที่จะใช้เดินปัญญาต่อไป ไม่ใช่แค่สมาธิสงบเอาไว้พักผ่อน สมาธิเลยมีสองแบบ สมาธิอย่างแรก จิตไหลเข้าไปรวมอยู่กับอารมณ์ พุทโธๆ แล้วไม่หนีไปไหนเลย อยู่แต่พุทโธอย่างเดียว ได้ความสงบ หายใจไป แล้วจิตไม่หนีไปจากลมหายใจเลย ก็ได้ความสงบ ดูท้องพองยุบ จิตไปไหลไปอยู่ที่ท้อง ไม่หนีไปจากท้องเลย ได้ความสงบ แต่ถ้าเรารู้ว่าจิตไหลไป เช่นพุทโธๆ จิตไหลไปคิดเรื่องอื่นเรารู้ทัน หายใจอยู่ เรารู้ว่าจิตไหลไปอยู่ที่ลมหายใจเรารู้ทัน หรือใจหนีไปคิดเรารู้ทัน ดูท้องพองยุบอยู่ เรารู้ทันว่าจิตไหลไปอยู่ที่ท้อง หรือจิตไหลไปคิดเรารู้ทัน ตรงที่เรารู้ทันว่าจิตไหลไปนั้น มันจะได้สมาธิชนิดหนึ่งคือจิตไม่ไหลไป จิตตั้งมั่น ไม่เคลื่อนไป จิตตั้งมั่นขึ้นมา สมาธิอย่างนี้เป็นสมาธิที่วิเศษที่สุดเลยนะ มีเฉพาะในพุทธศาสนา ถ้าเราได้สมาธิอย่างนี้เราก็จะขึ้นไปสู่ฐานชั้นที่สามแล้ว ก็คือการเจริญปัญญา เราค่อยๆฝึกไปนะ พอจิตของเราเป็นคนดูได้แล้ว ดูอะไร? ดูกายดูใจมันทำงานนะ ต้องรู้จักก่อนว่าปัญญาคืออะไร เราจะมาเจริญปัญญา ปัญญาคือความรู้ถูกความเข้าใจถูกเกี่ยวกับกายกับใจ รูปนามขันธ์ ๕ อะไรของเรานี้แหละ รู้ถูกเข้าใจถูกก็คือรู้ว่ารูปนามกายใจ ขันธ์ ๕ อายตนะ ๖ ธาตุ ๑๘ อินทรีย์ ๒๒ อะไรนี้ มีหลายตัว แต่ความจริงก็คือรูปธรรมนามธรรมทั้งหลายที่เราเคยสำคัญมั่นหมายว่าเป็นตัวเรา ปัญญานี้เป็นการรู้ความจริงว่ารูปธรรมนามธรรมทั้งหลายที่เราเห็นว่าเป็นตัวเรานี้ ในความเป็นจริงแล้วเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ แล้วก็ไม่ใช่ตัวเรา ที่เราจะพัฒนาปัญญานั้นก็เพื่อจะมาฝึกให้เห็นสิ่งเหล่านี้เอง เราจะพาให้จิตได้เห็นความจริงว่าร่างกายนี้ไม่เที่ยงเป็นทุกข์เป็นอนัตตา พาให้จิตเห็นความจริงนะ ว่ากระทั่งจิตเองหรือสิ่งที่เกิดร่วมกับจิต เช่นความสุขความทุกข์ทั้งหลาย กุศลอกุศลทั้งหลาย ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา นี่เรียกว่าปัญญา เราจะเกิดปัญญาได้ เราต้องรู้กายรู้ใจของเรา ถ้าเราไม่รู้กายรู้ใจ เราก็ไม่สามารถเห็นความจริงของกายของใจได้ ไม่มีทางเกิดปัญญา ถ้าเมื่อไหร่ลืมกายลืมใจ ไม่มีทางเกิดปัญญาเลย เวลาเราลืมกายลืมใจ เรียกว่าเราฟุ้งซ่านไป เรามีโมหะ โมหะกับปัญญาเลยเป็นสิ่งที่ตรงข้ามกัน ถ้าจิตไม่ฟุ้งซ่าน รู้สึกอยู่ในกาย รู้สึกอยู่ในใจ เราก็เดินปัญญาได้ ปัญญาเลยมีชื่ออีกหนึ่งว่า “อโมหะ” แปลว่าไม่มีโมหะ ไม่หลงไป ฝึกตัวเองนะให้จิตมันตั้งมั่นอยู่กับเนื้อกับตัวด้วยการฝึกสมาธิที่หลวงพ่อบอกนั่นแหละ ทำกรรมฐานสักอย่างหนึ่งนะ ถ้าจิตไปสงบอยู่กับอารมณ์กรรมฐานนั้น ได้สมถะ ได้ความสงบ ทำกรรมฐานอย่างเดิมนั่นแหละ ถ้าเรารู้ทันว่าจิตมันไหลไปอยู่กับอารมณ์กรรมฐาน หรือไหลไปคิดเรื่องอื่น มันจะได้จิตที่ตั้งมั่น เมื่อจิตตั้งมั่น มีร่างกายก็รู้สึกถึงความมีอยู่ของกาย มีจิตใจมีความรู้สึกนึกคิดต่างๆเกิดขึ้นในจิตใจก็รู้สึกถึงจิตใจ รู้สึกถึงความความรู้สึกนึกคิดต่างๆ เช่นความสุขเกิดขึ้นก็รู้ว่ามีความสุข กุศลอกุศลเกิดขึ้น รู้ว่ามีกุศลอกุศล นี่เรียกว่าเรามีสติตัวจริง สติตัวจริงเนี่ยจะรู้ถึงความมีอยู่ของกายของใจ แล้วถ้าใจเราตั้งมั่นเป็นคนดูนะ มันจะเห็นกายนั้นทำงานไป กายมันจะเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงแสดงความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตาให้ดู พอไปเห็นเวทนา คือความรู้สึกสุขทุกข์ สติเป็นตัวไปรู้เวทนา จิตตั้งมั่นเป็นผู้รู้ผู้ดูอยู่ จิตไม่ไหลตามเวทนาแล้วก็ไม่หลงไปคิดเรื่องอื่น เห็นเวทนาอยู่ เวทนานั้นไม่ได้ถูกเพ่งเอาไว้ด้วย ถ้าถูกเพ่งไว้มันจะนิ่งๆ ไปเพ่งกายก็ใช้ไม่ได้นะ เพ่งเวทนา เพ่งจิต ใช้ไม่ได้สักอย่างเลย มันจะนิ่ง ไม่แสดงไตรลักษณ์ ให้เรามีสติ รู้ถึงความมีอยู่ของกายของใจ มีจิตที่ตั้งมั่นเป็นคนดู ไม่ใช่จิตที่ถลำไปเพ่ง ถ้าเวลาเราเพ่งกายเพ่งใจ เพ่งรูปเพ่งนามนะ เรารู้ถึงกายถึงใจถึงรูปถึงนามก็จริง แต่เราจะไม่เห็นไตรลักษณ์ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ของกายของใจ มันจะนิ่งไปหมดเลย งั้นเราต้องไม่ไปเพ่งให้มันนิ่ง เราทำตัวเป็นแค่คนดูสบายๆ เนี่ยสมาธิชนิดที่เป็นคนดูถึงสำคัญ ทำให้เราเห็นไตรลักษณ์ได้ สมาธิชนิดสงบ จิตไปเพ่งอยู่ในอารมณ์อันเดียวนะ จะไม่มีไตรลักษณ์ให้ดู เพราะกายก็นิ่งใจก็นิ่ง งั้นต้องฝึกสมาธิให้ถูกชนิดนะ บางคนมักง่ายบอกว่าจะเจริญปัญญาต้องมีสมาธิ ต้องแยกให้ออกว่าเป็นสมาธิชนิดจิตตั้งมั่น ถ้าจิตสงบนิ่งอยู่ในอารมณ์อันเดียวไม่มีปัญญาแน่นอนเพราะไตรลักษณ์ไม่เกิด อย่างเวลาพวกเราจงใจดูจิต รู้สึกไหมมันจะนิ่งไปเลย ใจจะนิ่งๆ ไม่มีอะไรให้ดู เวลาดูร่างกายนะ ก็นิ่งไปหมดเลย จ้องนิ่งๆ ไม่มีไตรลักษณ์ให้ดู แต่ถ้าเรารู้ทันว่าจิตมันเคลื่อนไปเพ่งในกาย เคลื่อนไปเพ่งลมหายใจ เคลื่อนไปเพ่งมือ เพ่งเท้า เพ่งท้อง จิตมันถอยออกมา หรือรู้ทันว่าจิตหนีไปคิด จิตจะถอยออกมาเป็นคนดูได้ เมื่อจิตเป็นคนดูได้ ร่างกายก็จะเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลง จิตใจก็จะเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลง การที่กายเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงนั่นแหละเค้าจะแสดงไตรลักษณ์ การที่จิตใจเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงนั่นแหละเค้าจะแสดงไตรลักษณ์ นี่ล่ะหลักของการเจริญปัญญา มีสติ รู้สึกถึงความมีอยู่ของกายของใจ ถ้าเมื่อไหร่ใจลอย ใจฟุ้งซ่าน มีร่างกายก็ลืมมัน มีจิตใจก็ลืมมัน อันนี้ใช้ไม่ได้เลย ทีนี้ถ้ามีสติแล้ว แต่ไม่มีใจตั้งมั่นเป็นคนดู จิตมันจะไหลไปเกาะนิ่งๆอยู่ในกายในใจ ร่างกายก็นิ่ง ใจก็นิ่ง รู้สึกถึงกายนะแต่กายจะนิ่ง รู้สึกถึงจิตใจนะแต่จิตใจจะนิ่ง ไม่มีไตรลักษณ์ให้ดู เพราะงั้นจะแสดงไตรลักษณ์ จะรู้ทันความมีอยู่ของกายหรือของใจได้ ด้วยสติ เราจะเห็นไตรลักษณ์ของกายของใจได้ ต้องมีสมาธิชนิดจิตตั้งมั่นเป็นคนดู สมาธิชนิดนี้ชื่อว่า ลักขณูปนิชฌาน สมาธิชนิดนี้อาภัพ ไม่ค่อยมีคนรู้จักหรอก ถ้าเราฝึกสมาธิชนิดนี้ที่ใจเป็นคนดูขึ้นมาได้นะ รู้ทันใจที่ไหลไปเนี่ย มันจะเกิดใจที่เป็นคนดูขึ้นมา มันจะเห็นไตรลักษณ์ของกายของใจนี้แหละ เรียกว่าการเจริญปัญญา เมื่อปัญญาของเราแก่รอบ เราจะเห็นความจริงว่ากายนี้ใจนี้ไม่ใช่ตัวเรา ตัวเราไม่มี ผู้ที่เห็นอย่างนี้ก็เป็นพระโสดาบัน ถ้าปัญญาแก่กล้าเต็มที่ ก็จะเห็นว่ากายนี้เป็นทุกข์ล้วนๆ จิตนี้เป็นทุกข์ล้วนๆ เห็นทุกข์แจ่มแจ้ง เมื่อเห็นทุกข์แจ่มแจ้ง จิตจะสลัดคืนกายคืนใจให้โลก ไม่ยึดถือกาย ไม่ยึดถือใจอีกต่อไป หมดหน้าที่ของปัญญาตรงนี้เอง เราก็จะเข้าถึงความเป็นพุทธะ นึกถึงภาพพระพุทธรูปนะ มีฐานสามชั้นเนี่ย ในที่สุดเราก็จะเข้าถึงความเป็นพุทธะนะ เพราะว่ามีปัญญาแจ้งแล้ว แต่ปัญญาลอยๆไม่มีนะ อาศัยสมาธิเป็นฐาน อาศัยศีลเป็นฐาน ซ้อนกันขึ้นมา งั้นโบราณสร้างพระพุทธรูปนะ มีฐานสามชั้น มีพระอยู่ข้างบน ถ้าขึ้นไปด้วยศีล สมาธิ ปัญญานะ ไม่ขึ้นด้วยบันได เราจะพบพระพุทธเจ้าพระองค์จริง แล้วจะรู้ว่าเราเป็นลูกมีพ่อมีแม่ เราไม่ใช่คนอนาถากำพร้าหรอก พ่อแม่ของเรามีอยู่จริงๆ พ่อแม่เราไม่ตายด้วยนะ
พวกเราไม่ควรเสี่ยงขั้นแรก รักษาศีล ข่มจิตไว้ไม่ให้ตามกิเลสไป พอชำนาญขึ้นมานะ มีสติรู้ทันกิเลสที่เกิดที่จิต ก็ไม่ต้องข่มจิตมาก เราก็มีศีลขึ้นมา เรามาฝึกให้จิตอยู่ในอารมณ์อันเดียว ที่มีความสุขแล้วไม่ยั่วกิเลส จิตได้ความสงบ พอได้สงบแล้วไม่ให้ไปติดอยู่กับความสงบ ถ้ามันยินดีพอใจในความสงบให้รู้ทันนะ หรือรู้ทันได้อีกอย่างหนึ่งจะดีมากเลย คืออย่างเวลาเรารู้ลมหายในนะแล้วจิตสงบอยู่กับลมหายใจ ให้เราค่อยๆสังเกตว่าจิตเราไหลไปเกาะอยู่ที่ลมหายใจ หรือว่าจิตสักว่ารู้ลมหายใจ ถ้าเรารู้ทันว่าจิตไหลไปอยู่ที่ลมหายใจ จิตมันจะดีดตัวออกจากลมหายใจ จิตกับลมหายใจจะแยกออกจากกัน จิตไม่ฟุ้งซ่านด้วย แต่ไม่รวมเข้ากับลมหายใจด้วย อันนี้เป็นสมาธิชั้นสูงนะ เป็นความตั้งมั่นของจิตที่ถอนตัวออกจากอารมณ์ สงบอยู่ในอารมณ์เดียวนั่นแหละแต่ถอนตัวออกมา ดูท้องพองยุบอยู่แล้วเกิดรู้ทันว่าจิตไหลไปอยู่ที่ท้อง จิตก็ถอยออกจากท้อง มาเป็นคนดู การที่จิตถอยตัวออกมาเป็นคนดูได้เนี่ย เรียกว่าเราได้สมาธิที่ยอดเยี่ยมที่สุด เป็นสมาธิที่จะใช้เดินปัญญาต่อไป ไม่ใช่แค่สมาธิสงบเอาไว้พักผ่อน สมาธิเลยมีสองแบบ สมาธิอย่างแรก จิตไหลเข้าไปรวมอยู่กับอารมณ์ พุทโธๆ แล้วไม่หนีไปไหนเลย อยู่แต่พุทโธอย่างเดียว ได้ความสงบ หายใจไป แล้วจิตไม่หนีไปจากลมหายใจเลย ก็ได้ความสงบ ดูท้องพองยุบ จิตไปไหลไปอยู่ที่ท้อง ไม่หนีไปจากท้องเลย ได้ความสงบ แต่ถ้าเรารู้ว่าจิตไหลไป เช่นพุทโธๆ จิตไหลไปคิดเรื่องอื่นเรารู้ทัน หายใจอยู่ เรารู้ว่าจิตไหลไปอยู่ที่ลมหายใจเรารู้ทัน หรือใจหนีไปคิดเรารู้ทัน ดูท้องพองยุบอยู่ เรารู้ทันว่าจิตไหลไปอยู่ที่ท้อง หรือจิตไหลไปคิดเรารู้ทัน ตรงที่เรารู้ทันว่าจิตไหลไปนั้น มันจะได้สมาธิชนิดหนึ่งคือจิตไม่ไหลไป จิตตั้งมั่น ไม่เคลื่อนไป จิตตั้งมั่นขึ้นมา สมาธิอย่างนี้เป็นสมาธิที่วิเศษที่สุดเลยนะ มีเฉพาะในพุทธศาสนา ถ้าเราได้สมาธิอย่างนี้เราก็จะขึ้นไปสู่ฐานชั้นที่สามแล้ว ก็คือการเจริญปัญญา เราค่อยๆฝึกไปนะ พอจิตของเราเป็นคนดูได้แล้ว ดูอะไร? ดูกายดูใจมันทำงานนะ ต้องรู้จักก่อนว่าปัญญาคืออะไร เราจะมาเจริญปัญญา ปัญญาคือความรู้ถูกความเข้าใจถูกเกี่ยวกับกายกับใจ รูปนามขันธ์ ๕ อะไรของเรานี้แหละ รู้ถูกเข้าใจถูกก็คือรู้ว่ารูปนามกายใจ ขันธ์ ๕ อายตนะ ๖ ธาตุ ๑๘ อินทรีย์ ๒๒ อะไรนี้ มีหลายตัว แต่ความจริงก็คือรูปธรรมนามธรรมทั้งหลายที่เราเคยสำคัญมั่นหมายว่าเป็นตัวเรา ปัญญานี้เป็นการรู้ความจริงว่ารูปธรรมนามธรรมทั้งหลายที่เราเห็นว่าเป็นตัวเรานี้ ในความเป็นจริงแล้วเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ แล้วก็ไม่ใช่ตัวเรา ที่เราจะพัฒนาปัญญานั้นก็เพื่อจะมาฝึกให้เห็นสิ่งเหล่านี้เอง เราจะพาให้จิตได้เห็นความจริงว่าร่างกายนี้ไม่เที่ยงเป็นทุกข์เป็นอนัตตา พาให้จิตเห็นความจริงนะ ว่ากระทั่งจิตเองหรือสิ่งที่เกิดร่วมกับจิต เช่นความสุขความทุกข์ทั้งหลาย กุศลอกุศลทั้งหลาย ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา นี่เรียกว่าปัญญา เราจะเกิดปัญญาได้ เราต้องรู้กายรู้ใจของเรา ถ้าเราไม่รู้กายรู้ใจ เราก็ไม่สามารถเห็นความจริงของกายของใจได้ ไม่มีทางเกิดปัญญา ถ้าเมื่อไหร่ลืมกายลืมใจ ไม่มีทางเกิดปัญญาเลย เวลาเราลืมกายลืมใจ เรียกว่าเราฟุ้งซ่านไป เรามีโมหะ โมหะกับปัญญาเลยเป็นสิ่งที่ตรงข้ามกัน ถ้าจิตไม่ฟุ้งซ่าน รู้สึกอยู่ในกาย รู้สึกอยู่ในใจ เราก็เดินปัญญาได้ ปัญญาเลยมีชื่ออีกหนึ่งว่า “อโมหะ” แปลว่าไม่มีโมหะ ไม่หลงไป ฝึกตัวเองนะให้จิตมันตั้งมั่นอยู่กับเนื้อกับตัวด้วยการฝึกสมาธิที่หลวงพ่อบอกนั่นแหละ ทำกรรมฐานสักอย่างหนึ่งนะ ถ้าจิตไปสงบอยู่กับอารมณ์กรรมฐานนั้น ได้สมถะ ได้ความสงบ ทำกรรมฐานอย่างเดิมนั่นแหละ ถ้าเรารู้ทันว่าจิตมันไหลไปอยู่กับอารมณ์กรรมฐาน หรือไหลไปคิดเรื่องอื่น มันจะได้จิตที่ตั้งมั่น เมื่อจิตตั้งมั่น มีร่างกายก็รู้สึกถึงความมีอยู่ของกาย มีจิตใจมีความรู้สึกนึกคิดต่างๆเกิดขึ้นในจิตใจก็รู้สึกถึงจิตใจ รู้สึกถึงความความรู้สึกนึกคิดต่างๆ เช่นความสุขเกิดขึ้นก็รู้ว่ามีความสุข กุศลอกุศลเกิดขึ้น รู้ว่ามีกุศลอกุศล นี่เรียกว่าเรามีสติตัวจริง สติตัวจริงเนี่ยจะรู้ถึงความมีอยู่ของกายของใจ แล้วถ้าใจเราตั้งมั่นเป็นคนดูนะ มันจะเห็นกายนั้นทำงานไป กายมันจะเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงแสดงความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตาให้ดู พอไปเห็นเวทนา คือความรู้สึกสุขทุกข์ สติเป็นตัวไปรู้เวทนา จิตตั้งมั่นเป็นผู้รู้ผู้ดูอยู่ จิตไม่ไหลตามเวทนาแล้วก็ไม่หลงไปคิดเรื่องอื่น เห็นเวทนาอยู่ เวทนานั้นไม่ได้ถูกเพ่งเอาไว้ด้วย ถ้าถูกเพ่งไว้มันจะนิ่งๆ ไปเพ่งกายก็ใช้ไม่ได้นะ เพ่งเวทนา เพ่งจิต ใช้ไม่ได้สักอย่างเลย มันจะนิ่ง ไม่แสดงไตรลักษณ์ ให้เรามีสติ รู้ถึงความมีอยู่ของกายของใจ มีจิตที่ตั้งมั่นเป็นคนดู ไม่ใช่จิตที่ถลำไปเพ่ง ถ้าเวลาเราเพ่งกายเพ่งใจ เพ่งรูปเพ่งนามนะ เรารู้ถึงกายถึงใจถึงรูปถึงนามก็จริง แต่เราจะไม่เห็นไตรลักษณ์ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ของกายของใจ มันจะนิ่งไปหมดเลย งั้นเราต้องไม่ไปเพ่งให้มันนิ่ง เราทำตัวเป็นแค่คนดูสบายๆ เนี่ยสมาธิชนิดที่เป็นคนดูถึงสำคัญ ทำให้เราเห็นไตรลักษณ์ได้ สมาธิชนิดสงบ จิตไปเพ่งอยู่ในอารมณ์อันเดียวนะ จะไม่มีไตรลักษณ์ให้ดู เพราะกายก็นิ่งใจก็นิ่ง งั้นต้องฝึกสมาธิให้ถูกชนิดนะ บางคนมักง่ายบอกว่าจะเจริญปัญญาต้องมีสมาธิ ต้องแยกให้ออกว่าเป็นสมาธิชนิดจิตตั้งมั่น ถ้าจิตสงบนิ่งอยู่ในอารมณ์อันเดียวไม่มีปัญญาแน่นอนเพราะไตรลักษณ์ไม่เกิด อย่างเวลาพวกเราจงใจดูจิต รู้สึกไหมมันจะนิ่งไปเลย ใจจะนิ่งๆ ไม่มีอะไรให้ดู เวลาดูร่างกายนะ ก็นิ่งไปหมดเลย จ้องนิ่งๆ ไม่มีไตรลักษณ์ให้ดู แต่ถ้าเรารู้ทันว่าจิตมันเคลื่อนไปเพ่งในกาย เคลื่อนไปเพ่งลมหายใจ เคลื่อนไปเพ่งมือ เพ่งเท้า เพ่งท้อง จิตมันถอยออกมา หรือรู้ทันว่าจิตหนีไปคิด จิตจะถอยออกมาเป็นคนดูได้ เมื่อจิตเป็นคนดูได้ ร่างกายก็จะเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลง จิตใจก็จะเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลง การที่กายเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงนั่นแหละเค้าจะแสดงไตรลักษณ์ การที่จิตใจเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงนั่นแหละเค้าจะแสดงไตรลักษณ์ นี่ล่ะหลักของการเจริญปัญญา มีสติ รู้สึกถึงความมีอยู่ของกายของใจ ถ้าเมื่อไหร่ใจลอย ใจฟุ้งซ่าน มีร่างกายก็ลืมมัน มีจิตใจก็ลืมมัน อันนี้ใช้ไม่ได้เลย ทีนี้ถ้ามีสติแล้ว แต่ไม่มีใจตั้งมั่นเป็นคนดู จิตมันจะไหลไปเกาะนิ่งๆอยู่ในกายในใจ ร่างกายก็นิ่ง ใจก็นิ่ง รู้สึกถึงกายนะแต่กายจะนิ่ง รู้สึกถึงจิตใจนะแต่จิตใจจะนิ่ง ไม่มีไตรลักษณ์ให้ดู เพราะงั้นจะแสดงไตรลักษณ์ จะรู้ทันความมีอยู่ของกายหรือของใจได้ ด้วยสติ เราจะเห็นไตรลักษณ์ของกายของใจได้ ต้องมีสมาธิชนิดจิตตั้งมั่นเป็นคนดู สมาธิชนิดนี้ชื่อว่า ลักขณูปนิชฌาน สมาธิชนิดนี้อาภัพ ไม่ค่อยมีคนรู้จักหรอก ถ้าเราฝึกสมาธิชนิดนี้ที่ใจเป็นคนดูขึ้นมาได้นะ รู้ทันใจที่ไหลไปเนี่ย มันจะเกิดใจที่เป็นคนดูขึ้นมา มันจะเห็นไตรลักษณ์ของกายของใจนี้แหละ เรียกว่าการเจริญปัญญา เมื่อปัญญาของเราแก่รอบ เราจะเห็นความจริงว่ากายนี้ใจนี้ไม่ใช่ตัวเรา ตัวเราไม่มี ผู้ที่เห็นอย่างนี้ก็เป็นพระโสดาบัน ถ้าปัญญาแก่กล้าเต็มที่ ก็จะเห็นว่ากายนี้เป็นทุกข์ล้วนๆ จิตนี้เป็นทุกข์ล้วนๆ เห็นทุกข์แจ่มแจ้ง เมื่อเห็นทุกข์แจ่มแจ้ง จิตจะสลัดคืนกายคืนใจให้โลก ไม่ยึดถือกาย ไม่ยึดถือใจอีกต่อไป หมดหน้าที่ของปัญญาตรงนี้เอง เราก็จะเข้าถึงความเป็นพุทธะ นึกถึงภาพพระพุทธรูปนะ มีฐานสามชั้นเนี่ย ในที่สุดเราก็จะเข้าถึงความเป็นพุทธะนะ เพราะว่ามีปัญญาแจ้งแล้ว แต่ปัญญาลอยๆไม่มีนะ อาศัยสมาธิเป็นฐาน อาศัยศีลเป็นฐาน ซ้อนกันขึ้นมา งั้นโบราณสร้างพระพุทธรูปนะ มีฐานสามชั้น มีพระอยู่ข้างบน ถ้าขึ้นไปด้วยศีล สมาธิ ปัญญานะ ไม่ขึ้นด้วยบันได เราจะพบพระพุทธเจ้าพระองค์จริง แล้วจะรู้ว่าเราเป็นลูกมีพ่อมีแม่ เราไม่ใช่คนอนาถากำพร้าหรอก พ่อแม่ของเรามีอยู่จริงๆ พ่อแม่เราไม่ตายด้วยนะ
ยังมีสมาธิที่สำคัญ ที่ต้องเรียนให้ได้ ถ้าต้องการมรรคผล นิพพานในชีวิตนี้ธรรมะทั้งหมดนี้นะ ที่พระพุทธเจ้าท่านสอน รวมลงอยู่ในอริยสัจจ์ ย่อๆก็คือ ท่านสอนเรื่องทุกข์ กับความพ้นทุกข์ ทุกข์ก็มีถึงเหตุของทุกข์ แล้วก็ตัวทุกข์ ความพ้นทุกข์ท่านก็สอนถึงวิธีปฎิบัติเพื่อความพ้นทุกข์แล้วก็ตัวของความพ้นทุกข์ คือตัวนิพพาน สอนได้ ๒ กลุ่ม ทีนี้ตัวมรรคเนี่ย ย่อๆลงมาก็มี ศีล สมาธิ ปัญญา ต้องทำ ศีล สมาธิ ปัญญา ต้องเรียนนั่นเอง เรียนศีลสิกขา จิตตสิกขา ปัญญาสิกขา จิตตสิกขาเรียนแล้วจะเกิดจิตที่ตั้งมั่น มีสัมมาสมาธิ ย่อๆลงไปอีกนะ คือ ทำสมถะกับวิปัสสนา ตรงภาวนานี้น่ะ ภาวนาก็มี ๒ ส่วน สมถะกับวิปัสสนา ตรงวิปัสสนาเนี่ย ถ้าทำถูกต้องนะ มีสติ รู้กายรู้ใจ ลงปัจจุบัน เห็นตามความเป็นจริง เห็นไตรลักษณ์ไปเรื่อยๆ ในที่สุดจะเกิดปัญญา เกิดผล มีปัญญาขึ้นมา เบื้องต้นเป็นพระโสดาบันนะ เบื้องปลายเป็นพระอรหันต์ พระโสดาบันท่านจะเข้าใจว่า สิ่งใดเกิดขึ้น สิ่งนั้นดับไป เพราะฉะนั้นข้อที่ ๑ ที่จิรัฐถามนะ มันคือภูมิธรรมของพระโสดาบัน เป็นผลแล้ว เป็นผลจากการเจริญสติ ไม่ใช่ให้ทำตัวมัน ไม่ใช่ให้ทำความรู้นี้ขึ้นมานะ เจริญสติไปแล้วผลที่เกิดขึ้นคือมีความรู้ความเข้าใจ ว่ามีสิ่งใดเกิดขึ้นสิ่งนั้นดับไป เนี่ยความรู้ความเข้าใจของพระโสดาบัน เพราะฉะนั้นพระโสดาบันรู้ว่า สิ่งใดเกิดสิ่งนั้นดับ ส่วรพระอรหันต์เนี่ย ท่านจะแจ้งสิ่งที่ไม่เกิดไม่ดับ สิ่งที่ไม่เกิดไม่ดับคือนิพพาน พระโสดาฯ พระสกทาคาฯ พระอนาคาฯ ยังไม่แจ้ง(ในสิ่งที่ไม่เกิดไม่ดับ) เห็นบ้าง แต่ว่าไม่แจ่มแจ้ง เพราะฉะนั้นเบื้องต้นนะ ภาวนา จะเกิดปัญญาเห็นว่า สิ่งใดเกิดขึ้นสิ่งนั้นดับไป เบื้องปลายก็จะเกิดปัญญาไปเห็นแจ้งสิ่งที่ไม่เกิดไม่ดับ เพราะฉะนั้นธรรมะมีหลายระดับนะ มีหลายขั้น อันแรกเลย วัตถุประสงค์ของธรรมะนะ ภาวนาไปเพื่อความพ้นทุกข์สิ้นเชิง เบื้องต้นพ้นทุกข์ เบื้องปลายดับทุกข์ พ้นทุกข์เนี่ยเป็นพระอรหันต์ที่ยังดำรงค์ขันธ์อยู่ ดับทุกข์คือพระอรหันต์ที่ท่านดับขันธ์แล้ว พ้นทุกข์เนี่ยพระอรหันต์มีขันธ์มั้ย? มี แต่ว่าจิตของท่านพ้นจากขันธ์ เพราะฉะนั้นท่านพ้นจากทุกข์ เบื้องปลายนี้ดับขันธ์ ก็ดับทุกข์ ตัวขันธ์นั้นแหละตัวทุกข์ ธรรมะปราณีตนะ ค่อยๆเรียน ค่อยๆฟัง อย่านึกเอาเอง มั่ว เดี๋ยวมั่วเอา อย่าไปเอา ยกตัวอย่างวัตถุประสงค์อย่างหนึ่งนะ สิ่งที่ต้องปฏิบัติอย่างหนึ่ง วิธีปฏิบัติอย่างหนึ่ง ผลของการปฏิบัติอีกอย่างหนึ่ง อย่าเอาไปปนกัน ถ้าปนกันแล้วยุ่งตายเลย ยกตัวอย่าง ถามหลวงพ่อบอกว่า เราภาวนาเพื่ออะไร พระพุทธศาสนาสอนอะไรกันแน่ สอนให้เห็นว่าทุกอย่างผ่านมาแล้วก็ผ่านไป ไม่ควรยึดมั่นถือมั่น อันนี้เป็นความรู้ความเข้าใจของพระโสดาบัน ทุกอย่างมาแล้วไป นี่เกิดแล้วดับ หรือข้อสอง สอนให้จิตสำเหนียกสภาพดั้งเดิมของจิตเดิมแท้ ไม่ได้สอนให้สำเหนียกนะ มันสำเหนียกเอง มันเป็นผลน่ะ ถ้าเห็นนิพพานก็จะเห็นจิตเดิมแท้ จิตเดิมแท้ไปเห็นนิพพาน คำว่าจิตเดิมแท้เนี่ย เป็นคำซึ่งไม่มีพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท ฝ่ายเถรวาทพูดถึงจิตพระอรหันต์นี้ จะพูดถึงมหากริยาจิต แค่มหากริยาจิตเกิดแล้วดับ ทีนี้ทางฝ่ายเซนทางฝ่ายอะไรนี้ เขาพูดถึงจิตเดิมแท้ คือจิตที่พ้นการปรุงแต่ง ถ้าอนุโลมเอาก็คือ มหากริยาจิต แต่ว่ามันมีสภาวธรรมชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็นธาตุ ธาตุรู้ จะเรียกว่าอะไรก็ได้ จิตเดิมแท้ก็ได้ อะไรก็ได้ เป็นธาตุรู้ ธาตุรู้มันเข้าคู่กับธรรมธาตุ คือ ธาตุของธรรม อันนี้ไม่มีในคำสอนของฝ่ายเถรวาทเรา ไม่พูดถึงสิ่งเหล่านี้หรอก แต่พูดถึงธาตุธรรม คือพระนิพพาน เพราะฉะนั้นเวลาเราเรียน เรารู้นะ วัตถุประสงค์ของการเรียน เพื่อความพ้นทุกข์สิ้นเชิงนะ สิ่งที่เราต้องทำนะ เราก็พัฒนา ศีล สมาธิ ปัญญา ขึ้นมา หรือ ละชั่วทำดีทำจิตให้ผ่องแผ้วขึ้นมา พูดได้หลาย Dimensions หลายแง่ หลายมุม หลายมิติ รวมความก็คือ ทำอันใดอันหนึ่งครบ set ของมัน ก็คือทำทั้งหมดแหละ มีศีล สมาธิ ปัญญา ครบ มันก็คือครบ ละชั่ว ทำดี ทำจิตผ่องแผ้วได้ ก็ครบเหมือนกัน ทีนี้ก็เจริญไป วิธีที่จะทำให้ ศีล สมาธิ ปัญญา สมบูรณ์ ก็เจริญสติ(ปัฏฐาน)ไป วิธีที่จะละชั่ว ทำดี ทำจิตผ่องแผ้วนะ ก็เจริญสติ(ปัฏฐาน)ไป ถ้าเจริญสติ(ปัฏฐาน)ไม่ได้ ละชั่วไม่ได้จริงหรอก ได้แต่ข่มความชั่วเป็นคราวๆ ทำดีไม่ได้จริงหรอก ดีแป๊บเดียวนะ เดี๋ยวก็ชั่วแทรกเข้ามาแล้ว เช่นเห็นคนอื่นเขาได้ดิบได้ดีก็โมทนาๆ มันดีหลายที่ชักอิจฉาแล้ว มันทนไม่ได้หรอก หรือเห็นคนนี้ตกทุกข์ได้ยาก สงสารเขา ไปแนะนำ แนเะนำเขา เขาไม่ฟังก็โมโหแล้ว กุศลเนี่ยพลิกเป็นอกุศลได้เสมอเลยถ้าขาดสติ เพราะงานของเรานะ มีสติไว้ มีสติไว้แล้ว แล้วก็ยังทำ ๒ อย่าง อันหนึ่งทำสมถะนะ สมถะก็ต้องมีสติ ถ้าสมถะขาดสติเป็นมิจฉาสมาธิไปเลย ใช้ไม่ได้ อย่างที่พวกเรานั่งเคลิ้มๆนี้ใช้ไม่ได้เลยนะ เพราะฉะนั้นนั่งนี่ต้องรู้เนื้อรู้ตัว เดินรู้เนื้อรู้ตัว จิตสงบ จิตตั้งมั่น อยู่ในอารมณ์อันเดียวโดยที่ไม่ได้บังคับไว้ มีความสุขอยู่ในอารมณ์อันเดียวอย่างนั้น สงบแนบแน่นอยู่ในอารมณ์อันเดียว เป็นสมถะ จิตยอมไปมีความสุขมีความสงบนะ ต้องเลือกอารมณ์ ถ้าเราเลือกอารมณ์กรรมฐานที่เราชอบ จิตมันชอบน่ะ ไม่ใช่เราชอบ ที่จิตมันชอบ ยกตัวอย่าง บางคนนะ จิตชอบพิจารณาอสุภะ พิจารณาอสุภะแล้วสงบ แต่เราไม่ชอบ เรากลัวผี ให้ไปนั่งป่าช้านี่ไม่ชอบเลยนะ ไปเห็นรดน้ำศพ บางคนยังไม่ชอบเลย แต่จิตมันชอบ พอเข้าใกล้แล้วสงบ อย่างนี้สมควรทำอย่างไรดี จิตมันชอบแบบนี้ จิตมันชอบอย่างนี้ก็เอาสิ เรากลัวผี ดูไปเรื่อยๆ เดี๋ยววันหลังก็ไม่กลัวเองแหละนะ แต่จิตมันเข้าใกล้ มันไปเห็นศพ อื๋อ… รถทับมาเละๆ พองๆ เวลาศพถูกรถทับนะ เน่าเร็วมากเลย เร็วกว่าศพธรรมดา แป๊บเดียวก็เน่า เราก็ไปดูได้จิตใจสงบ นี่ถ้าจิตมันชอบ บางคนจิตมันชอบพุทโธ เราก็อยู่กับพุทโธ จิตมันชอบลมหายใจก็อยู่กับลมหายใจ จิตมันชอบท้องพองยุบก็อยู่กับท้องพองยุบไป อยู่กับอารมณ์ที่จิตชอบ จิตก็ไม่ร่อนเร่ไป จิตเสพอารมณ์ที่มันชอบนะ ก็ไม่หนีไปเที่ยว ได้สมถะนะ อย่างนี้ ก็มีสติอยู่กับอารมณ์นั้น ถ้าทำวิปัสสนานะ ก็มีสติรู้กายรู้ใจไป รู้กายรู้ใจด้วยจิตที่ตั้งมั่น ต้องดูอยู่ห่างๆนิดนึง แต่ตรงจิตตั้งมั่นก็มีอยู่ ๒ พวกนะ พวกหนึ่งตั้งทรงเด่นอยู่เลย พวกนี้ทางฌานอยู่ พอออกจากฌานแล้วจะทรงเด่นอยู่นาน อีกพวกหนึ่งไม่ได้ทรงฌาน ตั้งเป็นขณะๆ เรียก ขณิกสมาธิ เป็นขณะๆ แค่นี้ก็นิพพานได้ ถึงมรรคผลนิพพานได้ ถึงพระอรหันต์ได้ เวลาที่เราเจริญสตินะ เราอย่าดูถูก(ดูหมิ่น)สมาธิชั่วขณะนะ เวลาที่เราเจริญสติในชีวิตประจำวันจริงๆเนี่ย ส่วนใหญ่ใช้สมาธิชั่วขณะนี้เอง ทีละขณะๆ เดี๋ยวรู้สึกตัวขึ้นมา ใจตั้งมั่นได้แว้บ หลงไปอีกละ ไหลไป พอรู้ทัน สติระลึกรู้ใจไหลไปนะ ใจก็ตั้งขึ้นอีกแว้บ แว้บ แว้บ แว้บ ตลอดวันเลยนะ มีแต่ไหลไปแล้วก็ตั้ง ไหลแล้วก็ตั้ง แค่นี้พอแล้ว ถึงวันหนึ่งนะ ปัญญามันเกิดนะ มันจะเห็นเลย จิตไหลไปห้ามไม่ได้ จิตตั้งมั่นสั่งไม่ได้ มันสั่งไม่ได้ ควบคุมไม่ได้ มีแต่เกิดแล้วดับ จิตหลงไปกับจิตที่ตั้งมั่นเท่าเทียมกันขึ้นมา เท่าเทียมกันโดยความเป็นไตรลักษณ์ นี่เวลาเดินวิปัสสนานะ ไม่ใช่จะเอาอันหนึ่ง จะเกลียดอีกอันหนึ่ง เรามีสติ รู้สภาวะทั้งหลาย ที่มันเป็นคู่ๆ เช่น เผลอกับรู้ นี่คู่หนึ่ง ใช่มั้ย โกรธกับไม่โกรธคู่หนึ่ง โลภกับไม่โลภคู่หนึ่งเนี่ย เห็นเป็นคู่ๆไว้ มันจะพลิกไปพลิกมาในคู่ของมัน เพราะฉะนั้นเราไม่ได้ฝึกอันหนึ่ง เกลียดอันหนึ่ง ไม่ใช่จะเอารู้สึกตัว เกลียดหลง จะเอาความไม่โกรธ เกลียดความโกรธ จะเอาความไม่โลภ เกลียดความโลภ แต่การที่เห็นคู่ๆ มันจะทำให้เห็นว่า ความโลภ โกรธ หลง เห็นขึ้นมาแล้วก็ดับไป ความรู้สึกตัว รู้ตื่นเบิกบานเกิดขึ้นมา แล้วก็ดับไป ชีวิตเราขาดเป็นท่อน ท่อน ท่อน ท่อน ไม่ใช่มีชีวิตอันเดียวรวดเลย คนซึ่งภาวนาไม่เป็นนะ จะรู้สึกมีตัวเราอันเดียวรวด พวกเราจะรู้สึก ปุถุชนทั้งหลายจะรู้สึก หลายคนซึ่งยังเจริญวิปัสสนาไม่พอ จะรู้สึก รู้สึกมั้ย ในนี้มีเราอยู่คนหนึ่ง เราคนนี้ กับเราตอนเด็กๆ เป็นเราคนเดียวกัน รู้สึกมั้ย หน้าตาหรอกที่เปลี่ยนไปนะ แต่ในนี้มีเราอยู่คนหนึ่ง เราคนเดิมด้วย เนี่ยถ้าหากทำวิปัสสนาถูกต้องนะ จะเห็นเลยว่า มันเกิดดับเป็นขณะๆ ชีวิตตะกี้นี้ กับชีวิตปัจจุบันนี้ เหมือนกับคนละคนกันเลย ขาดออกจากกัน จิตตะกี้นี้หลง จิตตอนนี้รู้สึก(ตัว) มันเหมือนคนละคนกันเลย เหมือนคนละคนเลย ถ้าดูเป็นนะก็จะเห็นเลย มีช่องว่างเล็กๆมาคั่น จิตดวงนี้เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป มีช่องว่างมาคั่น ขาดออกจากกันนะ ไม่ใช่ตัวเดิม ไม่ใช่เหมือนร่างกายนี้คนเก่า เปลี่ยนแต่เสื้อไปเรื่อยๆ อันนั้นมิจฉาทิฎฐิ ยกตัวอย่างพวกเราหลายคน คิดว่าในนี้มีเราอยู่คนหนึ่ง พอตายไปนะ เราตัวนี้ออกจากร่างนี้ ไปหาร่างใหม่เกิดอีก นี่มิจฉาทิฎฐิ เพราะว่าทำวิปัสสนาไม่เป็น ไม่เห็นว่าจิตดวงหนึ่งเกิดขึ้นแล้วก็ดับ (อีก)ดวงหนึ่งเกิดขึ้นแล้วก็ดับนะ เพราะฉะนั้นการที่เราเห็นนะ จิตดวงหนึ่งเกิดแล้วดับไป เกิดแล้วดับไป จะเป็นกุศลก็ตาม เป็นอกุศลก็ตาม จะเป็นจิตที่รู้หรือเป็นจิตที่หลงก็ตาม ทั้งหมด มีสภาพอันเดียวกันหมดเลย เกิดแล้วดับเหมือนกัน ในที่สุดปัญญามันเกิดนะ สิ่งใดเกิดขึ้น สิ่งนั้นดับไป เป็นธรรมดา นี่เป็นภูมิธรรมของพระโสดาบัน สิ่งใดเกิดขึ้นสิ่งนั้นดับไปเป็นธรรมดา ก็จะเห็นอยู่นี่เองนะ ทั้งรูปธรรมและนามธรรม มีแต่เกิดแล้วดับ เกิดแล้วดับ ๆ ไปเรื่อยๆ ทีนี้พอฝึกมากเข้าๆนะ ปัญญามันเริ่มแก่กล้าขึ้น มันเห็นเลย ตัวที่เกิดแล้วดับเนี่ย ตอนที่มันมีอยู่ มันก็ทุกข์นะ มันทุกข์อยู่โดยตัวของมันเองนั้นแหละ พอปัญญามันแจ้งนะ มันรู้เลย ทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นมานี่ มันทุกข์หมดเลยนะ จิตมันสลัดทิ้งเลย หมดความยึดถือในรูปธรรมนามธรรม เมื่อจิตหมดความยึดถือในรูปธรรมนามธรรม จิตจะดูเมือนถอดตัวเองออกมา แต่พูดแล้วไม่รู้ว่าภาษามันจะเป็นยังไงนะ บางทีจะพูดในมุมหนึ่งมันเหมือนจับมันข้างทิ้งไปเลยนะ มันโยนจิตทิ้งไป อีกมุมหนึ่งนะ เหมือนมันถอดออกมา มันหลุดออกจากกันนะ แต่เดิม มันหลุดออกจากกัน สมมุติมันรวมอยู่ด้วยกันอย่างนี้ จิตกับขันธ์มันรวมอยู่ด้วยกันอย่างนี้ พอภาวนาเห็นขันธ์เป็นทุกข์นะ เหมือนจิตมันถอดออกมา แต่พวกเราภาวนาเห็นจิตถอดออกมา แยกออกมาจากขันธ์เป็นสองส่วนใช่มั้ย อันนี้ไม่เป็นอย่างนั้น ถ้าขั้นสุดท้ายไม่ได้เป็นอย่างนั้น ถอดออกมาแล้วนะก็ทิ้งตัวนี้ด้วย ทิ้งไป ตัวนี้(อีกตัวหนึ่ง)ก็ทิ้งไปนะ แล้วปรากฎว่า มันมีธาตุอยู่ธาตุหนึ่ง คือธาตุรู้ ธาตุรู้นี้จะซึมซ่านไปในทุกสิ่งทุกอย่าง แต่เดิมจิตเรามีขอบมีเขต มีจุดมีดวง นี่คนดีมากแล้วนะ ดวงแค่นี้ พวกเทวดา รุกขเทวดา รัศมีนิดเดียว แค่นี้เอง เล็กเท่าดาวเอง บางคนภาวนามานานนะ เท่ากับล้อ ล้อเกวียน ล้อรถบดถนน รัศมีไม่เท่ากัน แต่มีขอบมีเขตอยู่ ตรงที่มันเข้าถึงธาตุรู้จริงๆเนี่ย ธาตุรู้นี้ซึมซ่านไปในทุกสิ่งทุกอย่าง ธาตุรู้น่ะคล้ายๆอากาศธาตุ แต่อากาศธาตุไม่ใช่ธาตุรู้ อากาศธาตุเป็นช่องว่าง อากาศธาตุซึมซ่านเข้าไปได้ ในพัดนี้ก็มีอากาศธาตุ มันซึมซ่านเข้าไป ในแผ่นดินก็มีอากาศธาตุซึมซ่านอยู่ ธาตุรู้นี้ก็ซึมซ่านคล้ายๆกัน แต่ธาตุรู้เป็นธาตุรู้ จะเรียกว่าจิตมั้ย มันก็ไม่ใช่จิตที่เคยเห็น เป็นธาตุรู้ แล้วแต่จะเรียกชื่อ เป็นเจ้าของมั้ย ไม่มีเจ้าของ ไม่มีขอบ ไม่มีเขต ไม่มีจุด ไม่มีดวง ไม่มีที่ตั้ง ถามว่าธาตุรู้ รู้อะไร ธาตุรู้รู้ธรรม รู้นิพพานนะ นิพพานเนี่ย ครอบโลกครอบจักรวาล ซึมซ่านไปในทุกสิ่งทุกอย่าง เหมือนกันเปี๊ยบเลย แต่เป็นอีกสภาวะหนึ่ง พูดแล้วฟังยาก พวกคิดมาก อยากเรียนเยอะๆ ไปภาวนาเอาเองนะ แล้วจะเห็น เพราะฉะนั้นสรุปก็คือ พระพุทธศาสนาไม่ได้สอนเพื่อให้เราเห็นว่า สิ่งใดเกิดขึ้นสิ่งนั้นดับไป ไม่ได้สอนเพื่อให้เห็นจิตเดิมแท้ ท่านสอนเพื่อความพ้นทุกข์สิ้นเชิง แล้วเราก็เจริญสติ(ปัฏฐาน)ไปเรื่อยๆ ความรู้ความเข้าใจของเราก็พัฒนาเป็นลำดับๆไป เบื้องต้นก็จะเห็นว่า สิ่งใดเกิดขึ้น สิ่งนั้นดับไป ไม่ควรยึดมั่นหรอก แต่มันยังยึดมั่นอยู่นะ เบื้องปลายนี้แหละมันหมดความยึดมั่นจริงๆ แล้วมันก็จะไปเห็นจิตที่เป็นอิสระ เราอย่าไปพูดถึงจิตเดิมแท้เดิมเท้อเลย ฟังแล้วเวียนหัวนะ วาดภาพมันเหมือนมีอะไรลึกลับซ้อนขึ้นมาอีกอย่างหนึ่ง ขันธ์ที่เรียนอยู่ทุกวันนี้ก็จะปางตายแล้ว ยังจะไปสร้างจิตเดิมแท้ขึ้นมาอีกดวงหนึ่ง ยุ่งตายเลย ไม่มีนะ สิ่งทีเป็นอมตะ มีแต่พระนิพพานเท่านั้นที่เป็นอมตะ อย่าไปวาดภาพว่ามีอะไรที่เป็นอมตะอยู่ สุดท้ายก็จะเห็นสิ่งที่ไม่เกิดไม่ดับคือเห็นพระนิพพาน เป็นผลหรอก เบื้องต้นเห็นสิ่งที่เกิดแล้วก็ดับ ได้เป็นพระโสดาบัน เบื้องปลายรู้แจ้งสิ่งที่ไม่เกิดแล้วก็ไม่ดับ คือพระนิพพาน หน้าที่ของเราตอนนี้ก็คือเจริญสติ(ปัฏฐาน)ไปเรื่อยๆ รู้กายรู้ใจไป สังเกตตัวเองไปเรื่อย อกุศลอะไรยังไม่ได้ละนะ ก็ละเสียบ้าง ขัดเกลาตัวเอง ไม่ใช่ตามใจอกุศลนะ กุศลใดยังไม่เจริญก็เจริญเสียบ้าง ไม่ใช่ปล่อยไปเรื่อยๆนะ หวังว่ามันจะเจริญขึ้นมาตามยถากรรม ยกตัวอย่าง เราต้องหัดให้อภัยคน ต้องฝึกเหมือนกันนะ ไม่ใช่ว่าฉันเจริญสติอย่างเดียวอะไรอย่างนี้ จะเอาแต่ปัญญา บางทีกิเลสเล็กกิเลสน้อย ไม่ยอมละนะ จะเอาแต่ปัญญา ในที่สุดเป็นมิจฉาทิฏฐิ ศีลฉันจะไม่ถือหรอก ฉันจะมีแต่สติ มีแต่ปัญญา กลายเป็นมิจฉาทิฎฐิง่ายๆนะ หลวงพ่อเคยรู้จักคนหนึ่ง ไม่ถือศีลนะ สอนลูกไม่ให้ถือศีลด้วย บอกว่าไม่จำเป็น เราดำรงค์ชีวิตอย่างมีเหตุผลก็พอแล้ว สอนลูกอย่างนี้ ดำรงค์ชีวิตอย่างมีเหตุผลตามใจกิเลสสิ วงเล็บไว้ด้วยน่ะ ไม่มีศีลน่ะ เพราะฉะนั้น อกุศลเล็กๆน้อยๆนะ เราก็ต้องรู้ทัน อย่าไปเชื่อมัน อย่าไปตามใจมัน กุศลแม้แต่เล็กแต่น้อยนะ เราก็ต้องคอยดูแลรักษามัน คอยดูมันไป มีสติ พัฒนามันขึ้นไปเรื่อยๆ จิตใจเข้าไปคลุกคลี พัวพันอยู่กับอารมณ์ต่างๆ คอยรู้ทันจนมันถอดถอนออกมา มันเข้าถึงความผ่องแผ้วของมัน นี่คือละชั่วทำดีทำจิตผ่องแผ้ว มีศีลมีสมาธิมีปัญญา ค่อยๆพัฒนาไปนะ ค่อยฝึกของเราทุกวันๆ
ข้ามทะเลทุกข์พอจิตไม่ยึดกายแล้ว กามก็หาที่ตั้งไม่ได้เอง ไม่จำเป็นต้องไปต่อสู้เพื่อละกามโดยตรงแต่อย่างใด เพราะละราคะได้อารมณ์สำหรับวิญญาณก็ขาดลงที่ตั้งของวิญญาณก็ไม่มี,วิญญาณอันไม่มีที่ตั้งนั้นก็ไม่งอกงามหลุดพ้นไปเพราะไม่ถูกปรุงแต่ง,เพราะหลุดพ้นไปก็ตั้งมั่น,เพราะตั้งมั่นก็ยินดีในตนเอง,เพราะยินดีในตนเองก็ไม่หวั่นไหว,เมื่อไม่หวั่นไหว ก็ปรินิพพานเฉพาะตน.ย่อมรู้ชัดว่า“ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์ได้อยู่จบแล้ว,กิจที่ควรทำ ได้ทำสำเร็จแล้ว,กิจอื่นที่จะต้องทำ เพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มีอีก บุรุษผู้มีจักษุ คือปัญญา ปรารถนา ความสุขแก่ตน พึงเว้นหญิงเสียเหมือนกับบ่วงและข่ายที่ดักไว้ในสกุล ในถนนสายหนึ่ง ในราชธานี หรือในนิคม ผู้ใดสละเสียแล้วซึ่งตบะคุณ อันเป็นกุศล ประพฤติจริตอันมิใช่ของพระอริยะ ผู้นั้นต้องกลับจาก เทวโลกไปคลุกเคล้าอยู่กับนรก เหมือนพ่อค้าซื้อหม้อแตก ฉะนั้น บุรุษ ผู้ตกอยู่ในอำนาจของหญิง ย่อมถูกติเตียนทั้งในโลกนี้และโลกหน้า กรรมของตนกระทบแล้ว เป็นคนโง่เขลา ย่อมไปพลั้งๆ พลาดๆ โดย ไม่แน่นอน เหมือนรถที่เทียมด้วยลาโกง ย่อมไปผิดทาง ฉะนั้น ผู้ตกอยู่ ในอำนาจของหญิง ย่อมเข้าถึงนรกเป็นที่เผาสัตว์ให้รุ่มร้อน และนรกอัน มีป่าไม้งิ้ว มีหนามแหลมดังหอกเหล็ก แล้วมาในกำเนิดสัตว์ ดิรัจฉาน ย่อมไม่พ้นจากวิสัยเปรตและอสุรกาย หญิงย่อมทำลายความ เล่นหัว ความยินดี ความเพลิดเพลินอันเป็นทิพย์ และจักรพรรดิสมบัติ ในมนุษย์ของชายผู้ประมาทให้พินาศ และยังทำชายนั้นให้ถึงทุคติอีกด้วย ชายเหล่าใดไม่ต้องการหญิง ประพฤติพรหมจรรย์ ชายเหล่านั้นพึงได้ การเล่นหัว ความยินดีอันเป็นทิพย์ จักรพรรดิสมบัติในมนุษย์ และนาง เทพอัปสรอันอยู่ในวิมานทอง โดยไม่ยากเลย ชายเหล่าใดไม่ต้องการ หญิง ประพฤติพรหมจรรย์ ชายเหล่านั้นพึงได้คติที่ก้าวล่วงเสียซึ่ง กามธาตุ รูปธาตุ สมภพ และคติที่เข้าถึงวิสัยความปราศจากราคะ โดยไม่ยากเลย ชายเหล่าใดไม่ต้องการหญิง ประพฤติพรหมจรรย์ ชาย เหล่านั้นเป็นผู้ดับแล้ว สะอาด พึงได้นิพพานอันเกษม อันก้าวล่วงเสีย ซึ่งทุกข์ทั้งปวง ล่วงส่วน ไม่หวั่นไหว ไม่มีอะไรปรุงแต่ง โดยไม่ยาก เลย. พญานกกุณาละในครั้งนั้นเป็นเรา พญานกดุเหว่าขาวเป็นพระอุทายี พญา แร้งเป็นพระอานนท์ นารทฤาษีเป็นพระสารีบุตร บริษัททั้งหลายเป็น พุทธบริษัท เธอทั้งหลายจงทรงจำกุณาลชาดกไว้อย่างนี้แล ปุถุชนเหล่าใดมีจิตกำหนัดเข้าไปส้องเสพหญิงเหล่านั้น ปุถุชนเหล่านั้นย่อมยังสงสาร อันน่ากลัวให้เจริญ ย่อมก่อภพใหม่ขึ้นอีก เราเห็นโทษในกามทั้งหลาย เราสลัดตนจากกามทั้งปวง เราได้บรรลุความสิ้นอาสวะแล้ว .เพราะละราคะได้อารมณ์สำหรับวิญญาณก็ขาดลงที่ตั้งของวิญญาณก็ไม่มี วิญญาณอันไม่มีที่ตั้งนั้นก็ไม่งอกงาม หลุดพ้นไปเพราะไม่ถูกปรุงแต่ง เพราะหลุดพ้นไปก็ตั้งมั่น เพราะตั้งมั่นก็ยินดีในตนเอง เพราะยินดีในตนเอง ก็ไม่หวั่นไหว เมื่อไม่หวั่นไหว ก็ปรินิพพานเฉพาะตน ย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์ได้อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ได้ทำสำเร็จแล้ว กิจอื่นที่จะต้องทำ เพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มีอีก ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัญญา ๗ ประการนี้ อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็น ที่สุด ๗ ประการเป็นไฉน คือ อสุภสัญญา ๑ มรณสัญญา ๑ อาหาเรปฏิกูลสัญญา ๑ สัพพโลเกอนภิรตสัญญา ๑ อนิจจสัญญา ๑ อนิจเจทุกขสัญญา ๑ ทุกเขอนัตตสัญญา ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ข้อที่กล่าวดังนี้ว่า อสุภสัญญา อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มาก ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะ เป็นที่สุด เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยอะไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุมีใจอัน อบรมแล้วด้วยอสุภสัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมหวนกลับ งอกลับ ถอยกลับจาก การร่วมเมถุนธรรม ไม่ยื่นไปรับการร่วมเมถุนธรรม อุเบกขาหรือความเป็นของ ปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ เปรียบเหมือนขนไก่หรือเส้นเอ็นที่เขาใส่ลงในไฟ ย่อมหดงอ เข้าหากัน ไม่คลี่ออก ฉะนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อภิกษุมีใจอบรมแล้ว ด้วยอสุภสัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมไหลไปในการร่วมเมถุนธรรม หรือความ เป็นของไม่ปฏิกูลตั้งอยู่ไซร้ ภิกษุพึงทราบข้อนั้นดังนี้ว่า อสุภสัญญาอันเราไม่ เจริญแล้ว คุณวิเศษทั้งเบื้องต้นและเบื้องปลายของเราก็ไม่มี ผลแห่งภาวนาของ เราไม่ถึงที่ เพราะฉะนั้น ภิกษุนั้นจึงต้องเป็นผู้รู้ทั่วถึงในอสุภสัญญานั้น ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ถ้าหากว่า เมื่อภิกษุมีใจอันอบรมแล้วด้วยอสุภสัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมหวนกลับ งอกลับ ถอยกลับ จากการร่วมเมถุนธรรม ไม่ยื่นไปรับการ ร่วมเมถุนธรรม อุเบกขาหรือความเป็นของปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ไซร้ ภิกษุพึงทราบข้อ นั้นดังนี้ว่า อสุภสัญญาอันเราเจริญแล้ว คุณวิเศษทั้งเบื้องต้นและเบื้องปลาย ของเรามีอยู่ ผลแห่งภาวนาของเราถึงที่แล้ว เพราะฉะนั้น ภิกษุนั้นย่อมเป็นผู้รู้ ทั่วถึงในอสุภสัญญานั้น ข้อที่กล่าวดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย อสุภสัญญาอัน ภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่ อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยข้อนี้ ฯ
凡夫和真正佛弟子 อริยชน กับ ปุถุชน ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัญญา ๗ ประการนี้ อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็น ที่สุด ๗ ประการเป็นไฉน คือ อสุภสัญญา ๑ มรณสัญญา ๑ อาหาเรปฏิกูลสัญญา ๑ สัพพโลเกอนภิรตสัญญา ๑ อนิจจสัญญา ๑ อนิจเจทุกขสัญญา ๑ ทุกเขอนัตต- *สัญญา ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ข้อที่กล่าวดังนี้ว่า อสุภสัญญา อันภิกษุเจริญ แล้ว กระทำให้มาก ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะ เป็นที่สุด เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยอะไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุมีใจอัน อบรมแล้วด้วยอสุภสัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมหวนกลับ งอกลับ ถอยกลับจาก การร่วมเมถุนธรรม ไม่ยื่นไปรับการร่วมเมถุนธรรม อุเบกขาหรือความเป็นของ ปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ เปรียบเหมือนขนไก่หรือเส้นเอ็นที่เขาใส่ลงในไฟ ย่อมหดงอ เข้าหากัน ไม่คลี่ออก ฉะนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อภิกษุมีใจอบรมแล้ว ด้วยอสุภสัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมไหลไปในการร่วมเมถุนธรรม หรือความ เป็นของไม่ปฏิกูลตั้งอยู่ไซร้ ภิกษุพึงทราบข้อนั้นดังนี้ว่า อสุภสัญญาอันเราไม่ เจริญแล้ว คุณวิเศษทั้งเบื้องต้นและเบื้องปลายของเราก็ไม่มี ผลแห่งภาวนาของ เราไม่ถึงที่ เพราะฉะนั้น ภิกษุนั้นจึงต้องเป็นผู้รู้ทั่วถึงในอสุภสัญญานั้น ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ถ้าหากว่า เมื่อภิกษุมีใจอันอบรมแล้วด้วยอสุภสัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมหวนกลับ งอกลับ ถอยกลับ จากการร่วมเมถุนธรรม ไม่ยื่นไปรับการ ร่วมเมถุนธรรม อุเบกขาหรือความเป็นของปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ไซร้ ภิกษุพึงทราบข้อ นั้นดังนี้ว่า อสุภสัญญาอันเราเจริญแล้ว คุณวิเศษทั้งเบื้องต้นและเบื้องปลาย ของเรามีอยู่ ผลแห่งภาวนาของเราถึงที่แล้ว เพราะฉะนั้น ภิกษุนั้นย่อมเป็นผู้รู้ ทั่วถึงในอสุภสัญญานั้น ข้อที่กล่าวดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย อสุภสัญญาอัน ภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่ อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยข้อนี้ ฯ ก็ข้อที่กล่าวดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย มรณสัญญาอันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็น ที่สุด เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยอะไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุมีใจอันอบรม แล้วด้วยมรณสัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมหวนกลับ งอกลับ ถอยกลับจาก การรักชีวิตไม่ยื่นไปรับความรักชีวิต อุเบกขาหรือความเป็นของปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ เปรียบเหมือนขนไก่หรือเส้นเอ็นที่เขาใส่ลงในไฟ ย่อมหดงอเข้าหากันไม่คลี่ออก ฉะนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อภิกษุมีใจอันไม่อบรมแล้วด้วยมรณสัญญาอยู่โดย มาก จิตย่อมไหลไปในความรักชีวิต หรือความเป็นของไม่ปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ไซร้ ภิกษุพึงทราบข้อนั้นดังนี้ว่า มรณสัญญาอันเราไม่เจริญแล้ว คุณวิเศษทั้งเบื้องต้น และเบื้องปลายของเราก็ไม่มี ผลแห่งภาวนาของเรายังไม่ถึงที่ เพราะฉะนั้น ภิกษุนั้นจึงต้องเป็นผู้รู้ทั่วถึงในมรณสัญญานั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ถ้าเมื่อภิกษุมี ใจอันอบรมแล้วด้วยมรณสัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมหวนกลับ งอกลับ ถอยกลับ จากการรักชีวิต ไม่ยื่นไปรับความรักชีวิต อุเบกขาหรือความเป็นของปฏิกูลย่อมตั้ง อยู่ไซร้ ภิกษุพึงทราบข้อนั้นดังนี้ว่า มรณสัญญาอันเราเจริญแล้ว คุณวิเศษทั้ง เบื้องต้นและเบื้องปลายของเรามีอยู่ ผลแห่งภาวนาของเราถึงที่แล้ว เพราะฉะนั้น ภิกษุนั้นเป็นผู้รู้ทั่วถึงในมรณสัญญานั้น ข้อที่กล่าวดังนี้ว่า มรณสัญญาอันภิกษุ เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยข้อนี้ ฯ ก็ข้อที่กล่าวดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาหาเรปฏิกูลสัญญาอันภิกษุเจริญ แล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยอะไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุ มีใจอันอบรมแล้วด้วยอาหาเรปฏิกูลสัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมหวนกลับ งอกลับ ถอยกลับจากตัณหาในรส ไม่ยื่นไปรับตัณหาในรส อุเบกขาหรือความเป็นของ ปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ เปรียบเหมือนขนไก่หรือเส้นเอ็นที่เขาใส่ลงในไฟ ย่อมหดงอเข้า หากันไม่คลี่ออก ฉะนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อภิกษุมีใจอันอบรมแล้วด้วย อาหาเรปฏิกูลสัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมไหลไปในตัณหาในรส หรือความเป็น ของไม่ปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ไซร้ ภิกษุพึงทราบข้อนั้นดังนี้ว่า อาหาเรปฏิกูลสัญญาอัน เราไม่ได้เจริญแล้ว คุณวิเศษทั้งเบื้องต้นและเบื้องปลายของเราไม่มี ผลแห่ง ภาวนาของเรายังไม่ถึงที่ เพราะฉะนั้น ภิกษุนั้นจึงต้องเป็นผู้รู้ทั่วถึงในอาหาเรปฏิกูล- *สัญญานั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ถ้าเมื่อภิกษุมีใจอันอบรมแล้วด้วยอาหาเรปฏิกูล- *สัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมหวนกลับ งอกลับ ถอยกลับจากตัณหาในรส ไม่ยื่น ไปรับตัณหาในรส อุเบกขาหรือความเป็นของปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ไซร้ ภิกษุพึง ทราบข้อนั้นดังนี้ว่า อาหาเรปฏิกูลสัญญาอันเราเจริญแล้ว คุณวิเศษทั้งเบื้องต้น และเบื้องปลายของเรามีอยู่ ผลแห่งภาวนาของเราถึงที่แล้ว เพราะฉะนั้น ภิกษุ นั้นเป็นผู้รู้ทั่วถึงในอาหาเรปฏิกูลสัญญานั้น ข้อที่กล่าวดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาหาเรปฏิกูลสัญญาอันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยข้อนี้ ฯ ก็ข้อที่กล่าวดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัพพโลเกอนภิรตสัญญาอัน ภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก อานิสงส์มาก หยั่งลงสู่ อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด เรากล่าวแล้ว เพราะอาศัยอะไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุมีใจอันอบรมแล้วด้วยสัพพโลเกอนภิรตสัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมหวน กลับ งอกลับ ถอยกลับจากความวิจิตรแห่งโลก ไม่ยื่นไปรับความวิจิตรแห่งโลก อุเบกขาหรือความเป็นของปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ เปรียบเหมือนขนไก่หรือเส้นเอ็นที่เขา ใส่ลงในไฟ ย่อมหดงอเข้าหากัน ไม่คลี่ออก ฉะนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้า เมื่อภิกษุมีใจอันไม่อบรมแล้วด้วยสัพพโลเกอนภิรตสัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อม ไหลไปในความวิจิตรแห่งโลก หรือความเป็นของไม่ปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ไซร้ ภิกษุ พึงทราบข้อนั้นดังนี้ว่า สัพพโลเกอนภิรตสัญญาอันเราไม่เจริญแล้ว คุณวิเศษ ทั้งเบื้องต้นและเบื้องปลายของเราก็ไม่มี ผลแห่งภาวนาของเรายังไม่ถึงที่ เพราะ ฉะนั้น ภิกษุนั้นจึงต้องเป็นผู้รู้ทั่วถึงในสัพพโลเกอนภิรตสัญญานั้น ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ถ้าหากว่าเมื่อภิกษุมีใจอันอบรมแล้วด้วยสัพพโลเกอนภิรตสัญญาอยู่โดย มาก จิตย่อมหวนกลับ งอกลับ ถอยกลับจากความวิจิตรแห่งโลก ไม่ยื่นไปรับ ความวิจิตรแห่งโลก อุเบกขาหรือความเป็นของปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ไซร้ ภิกษุพึง ทราบข้อนั้นดังนี้ว่า สัพพโลเกอนภิรตสัญญาอันเราเจริญแล้ว คุณวิเศษทั้งเบื้อง ต้นและเบื้องปลายของเรามีอยู่ ผลแห่งภาวนาของเราถึงที่แล้ว เพราะฉะนั้น ภิกษุนั้นจึงเป็นผู้รู้ทั่วถึงในสัพพโลเกอนภิรตสัญญานั้น ข้อที่กล่าวดังนี้ว่า ดูกร ภิกษุทั้งหลาย สัพพโลเกอนภิรตสัญญาอันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด เรากล่าวแล้ว เพราะอาศัยข้อนี้ ฯ ก็ข้อที่กล่าวดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนิจจสัญญาอันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะ เป็นที่สุด เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยอะไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุมีใจอันอบรม แล้วด้วยอนิจจสัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมหวนกลับ งอกลับ ถอยกลับ ไม่ยื่น ไปรับในลาภสักการะ และความสรรเสริญ อุเบกขาหรือความเป็นของปฏิกูล ย่อมตั้งอยู่ เปรียบเหมือนขนไก่ หรือเส้นเอ็นที่เขาใส่ลงในไฟ ย่อมหดงอเข้า หากัน ไม่คลี่ออก ฉะนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อภิกษุมีใจอันอบรมแล้ว ด้วยอนิจจสัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมไหลไปในลาภสักการะ และความ สรรเสริญ หรือความเป็นของไม่ปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ไซร้ ภิกษุพึงทราบข้อนั้นดังนี้ ว่า อนิจจสัญญาอันเราไม่เจริญแล้ว คุณวิเศษทั้งเบื้องต้นเบื้องปลายของเราไม่มี ผลแห่งภาวนาของเรายังไม่ถึงที่ เพราะฉะนั้น ภิกษุนั้นจึงต้องเป็นผู้รู้ทั่วถึงใน อนิจจสัญญานั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อภิกษุมีใจอันอบรมแล้วด้วยอนิจจสัญญา อยู่โดยมาก จิตย่อมหวนกลับ งอกลับ ถอยกลับ ไม่ยื่นไปรับลาภ สักการะ และความสรรเสริญ อุเบกขาหรือความเป็นของปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ไซร้ ภิกษุพึง ทราบข้อนั้นดังนี้ว่า อนิจจสัญญาอันเราเจริญแล้ว คุณวิเศษทั้งเบื้องต้นและเบื้อง ปลายของเรามีอยู่ ผลแห่งภาวนาของเราถึงที่แล้ว เพราะฉะนั้น ภิกษุนั้นจึงเป็น ผู้รู้ทั่วถึงในอนิจจสัญญานั้น ข้อที่กล่าวดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนิจจสัญญา อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่ อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยข้อนี้ ฯ ก็ข้อที่กล่าวดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนิจเจทุกขสัญญาอันภิกษุเจริญ แล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะ เป็นที่สุด เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยอะไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุมีใจอันอบรม แล้วด้วยอนิจเจทุกขสัญญาอยู่โดยมาก ภยสัญญา (ความสำคัญเป็นภัย) อย่างแรง กล้าในความเฉื่อยชา ในความเกียจคร้าน ในความท้อถอย ในความประมาท ใน การไม่ประกอบความเพียร ในการไม่พิจารณา ย่อมปรากฏ เปรียบเหมือน ความสำคัญว่าเป็นภัย ย่อมปรากฏในเมื่อเพชฌฆาตเงื้อดาบขึ้น ฉะนั้น ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อภิกษุมีใจอันอบรมแล้วด้วยอนิจเจทุกขสัญญาอยู่โดยมาก ภยสัญญาอย่างแรงกล้าในความเฉื่อยชา ในความเกียจคร้าน ในความท้อถอย ใน ความประมาท ในการไม่ประกอบความเพียร ในการไม่พิจารณา ย่อมไม่ปรากฏ เปรียบเหมือนความสำคัญว่าเป็นภัย ย่อมไม่ปรากฏในเมื่อเพชฌฆาตเงื้อดาบขึ้น ฉะนั้น ภิกษุพึงทราบข้อนั้นดังนี้ว่า อนิจเจทุกขสัญญาอันเราไม่เจริญแล้ว คุณวิ- *เศษทั้งเบื้องต้นและเบื้องปลายของเราไม่มี ผลแห่งภาวนาของเรายังไม่ถึงที่ เพราะ ฉะนั้น ภิกษุนั้นจึงต้องเป็นผู้รู้ทั่วถึงในอนิจเจทุกขสัญญานั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ถ้าว่า เมื่อภิกษุมีใจอันอบรมแล้วด้วยอนิจเจทุกขสัญญาอยู่โดยมาก ภยสัญญา อย่างแรงกล้าในความเฉื่อยชา ในความเกียจคร้าน ในความท้อถอย ในความ ประมาท ในการไม่ประกอบความเพียร ในการไม่พิจารณา ย่อมปรากฏ เหมือน ความสำคัญว่าเป็นภัย ย่อมปรากฏในเมื่อเพชฌฆาตเงื้อดาบขึ้น ฉะนั้นไซร้ ภิกษุพึงทราบข้อนั้นดังนี้ว่า อนิจเจทุกขสัญญา อันเราเจริญแล้ว คุณวิเศษทั้ง เบื้องต้นเบื้องปลายของเรามีอยู่ ผลแห่งภาวนาของเราถึงที่แล้ว เพราะฉะนั้น ภิกษุนั้นจึงเป็นผู้รู้ทั่วถึงในอนิจเจทุกขสัญญานั้น ข้อที่กล่าวดังนี้ว่า ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย อนิจเจทุกขสัญญาอันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยข้อนี้ ฯ ก็ข้อที่กล่าวดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทุกเขอนัตตสัญญาอันภิกษุเจริญ แล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยอะไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุ มีใจอันอบรมแล้วด้วยทุกเขอนัตตสัญญาอยู่โดยมาก ย่อมมีใจปราศจากทิฐิว่าเรา ตัณหาว่าของเรา และมานะทั้งในร่างกายที่มีใจครองนี้และสรรพนิมิตในภายนอก เสียได้ ก้าวล่วงกิเลส ๓ ประการ สงบระงับ หลุดพ้นได้เป็นอย่างดี ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อภิกษุมีใจอันอบรมแล้วด้วยทุกเขอนัตตสัญญาอยู่โดยมาก ใจ ย่อมไม่ปราศจากทิฐิว่าเรา ตัณหาว่าของเรา และมานะทั้งในร่างกายที่มีใจครองนี้ และสรรพนิมิตในภายนอก ไม่ก้าวล่วงกิเลส ๓ ประการ ไม่สงบระงับ ยัง ไม่หลุดพ้นด้วยดีไซร้ ภิกษุพึงทราบข้อนั้นดังนี้ว่า ทุกเขอนัตตสัญญาอันเราไม่ เจริญแล้ว คุณวิเศษทั้งเบื้องต้นและเบื้องปลายของเราก็ไม่มี ผลแห่งภาวนาของเรา ยังไม่ถึงที่ เพราะฉะนั้น ภิกษุนั้นจึงต้องเป็นผู้รู้ทั่วถึงในทุกเขอนัตตสัญญานั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ถ้าว่าเมื่อภิกษุมีใจอันอบรมแล้วด้วยทุกเขอนัตตสัญญาอยู่โดย มาก ย่อมมีใจปราศจากทิฐิว่าเรา ตัณหาว่าของเรา และมานะทั้งในร่างกาย ที่มีใจครองนี้และสรรพนิมิตในภายนอกเสียได้ ก้าวล่วงกิเลส ๓ ประการ สงบ ระงับ หลุดพ้นได้เป็นอย่างดีไซร้ ภิกษุพึงทราบข้อนั้นดังนี้ว่า ทุกเขอนัตตสัญญา อันเราเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่ อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยข้อนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัญญา ๗ ประการนี้แล อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด ฯ จบสูตรที่ ๖
สิ้นอาสวะสัตว์สองเท้านี้เป็นสัตว์ไม่สะอาดมีกลิ่นเหม็นเต็มไปด้วยซากศพต่าง... ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัญญา ๗ ประการนี้ อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็น ที่สุด ๗ ประการเป็นไฉน คือ อสุภสัญญา ๑ มรณสัญญา ๑ อาหาเรปฏิกูลสัญญา ๑ สัพพโลเกอนภิรตสัญญา ๑ อนิจจสัญญา ๑ อนิจเจทุกขสัญญา ๑ ทุกเขอนัตต- *สัญญา ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ข้อที่กล่าวดังนี้ว่า อสุภสัญญา อันภิกษุเจริญ แล้ว กระทำให้มาก ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะ เป็นที่สุด เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยอะไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุมีใจอัน อบรมแล้วด้วยอสุภสัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมหวนกลับ งอกลับ ถอยกลับจาก การร่วมเมถุนธรรม ไม่ยื่นไปรับการร่วมเมถุนธรรม อุเบกขาหรือความเป็นของ ปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ เปรียบเหมือนขนไก่หรือเส้นเอ็นที่เขาใส่ลงในไฟ ย่อมหดงอ เข้าหากัน ไม่คลี่ออก ฉะนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อภิกษุมีใจอบรมแล้ว ด้วยอสุภสัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมไหลไปในการร่วมเมถุนธรรม หรือความ เป็นของไม่ปฏิกูลตั้งอยู่ไซร้ ภิกษุพึงทราบข้อนั้นดังนี้ว่า อสุภสัญญาอันเราไม่ เจริญแล้ว คุณวิเศษทั้งเบื้องต้นและเบื้องปลายของเราก็ไม่มี ผลแห่งภาวนาของ เราไม่ถึงที่ เพราะฉะนั้น ภิกษุนั้นจึงต้องเป็นผู้รู้ทั่วถึงในอสุภสัญญานั้น ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ถ้าหากว่า เมื่อภิกษุมีใจอันอบรมแล้วด้วยอสุภสัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมหวนกลับ งอกลับ ถอยกลับ จากการร่วมเมถุนธรรม ไม่ยื่นไปรับการ ร่วมเมถุนธรรม อุเบกขาหรือความเป็นของปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ไซร้ ภิกษุพึงทราบข้อ นั้นดังนี้ว่า อสุภสัญญาอันเราเจริญแล้ว คุณวิเศษทั้งเบื้องต้นและเบื้องปลาย ของเรามีอยู่ ผลแห่งภาวนาของเราถึงที่แล้ว เพราะฉะนั้น ภิกษุนั้นย่อมเป็นผู้รู้ ทั่วถึงในอสุภสัญญานั้น ข้อที่กล่าวดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย อสุภสัญญาอัน ภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่ อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยข้อนี้ ฯ ก็ข้อที่กล่าวดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย มรณสัญญาอันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็น ที่สุด เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยอะไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุมีใจอันอบรม แล้วด้วยมรณสัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมหวนกลับ งอกลับ ถอยกลับจาก การรักชีวิตไม่ยื่นไปรับความรักชีวิต อุเบกขาหรือความเป็นของปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ เปรียบเหมือนขนไก่หรือเส้นเอ็นที่เขาใส่ลงในไฟ ย่อมหดงอเข้าหากันไม่คลี่ออก ฉะนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อภิกษุมีใจอันไม่อบรมแล้วด้วยมรณสัญญาอยู่โดย มาก จิตย่อมไหลไปในความรักชีวิต หรือความเป็นของไม่ปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ไซร้ ภิกษุพึงทราบข้อนั้นดังนี้ว่า มรณสัญญาอันเราไม่เจริญแล้ว คุณวิเศษทั้งเบื้องต้น และเบื้องปลายของเราก็ไม่มี ผลแห่งภาวนาของเรายังไม่ถึงที่ เพราะฉะนั้น ภิกษุนั้นจึงต้องเป็นผู้รู้ทั่วถึงในมรณสัญญานั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ถ้าเมื่อภิกษุมี ใจอันอบรมแล้วด้วยมรณสัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมหวนกลับ งอกลับ ถอยกลับ จากการรักชีวิต ไม่ยื่นไปรับความรักชีวิต อุเบกขาหรือความเป็นของปฏิกูลย่อมตั้ง อยู่ไซร้ ภิกษุพึงทราบข้อนั้นดังนี้ว่า มรณสัญญาอันเราเจริญแล้ว คุณวิเศษทั้ง เบื้องต้นและเบื้องปลายของเรามีอยู่ ผลแห่งภาวนาของเราถึงที่แล้ว เพราะฉะนั้น ภิกษุนั้นเป็นผู้รู้ทั่วถึงในมรณสัญญานั้น ข้อที่กล่าวดังนี้ว่า มรณสัญญาอันภิกษุ เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยข้อนี้ ฯ ก็ข้อที่กล่าวดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาหาเรปฏิกูลสัญญาอันภิกษุเจริญ แล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยอะไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุ มีใจอันอบรมแล้วด้วยอาหาเรปฏิกูลสัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมหวนกลับ งอกลับ ถอยกลับจากตัณหาในรส ไม่ยื่นไปรับตัณหาในรส อุเบกขาหรือความเป็นของ ปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ เปรียบเหมือนขนไก่หรือเส้นเอ็นที่เขาใส่ลงในไฟ ย่อมหดงอเข้า หากันไม่คลี่ออก ฉะนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อภิกษุมีใจอันอบรมแล้วด้วย อาหาเรปฏิกูลสัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมไหลไปในตัณหาในรส หรือความเป็น ของไม่ปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ไซร้ ภิกษุพึงทราบข้อนั้นดังนี้ว่า อาหาเรปฏิกูลสัญญาอัน เราไม่ได้เจริญแล้ว คุณวิเศษทั้งเบื้องต้นและเบื้องปลายของเราไม่มี ผลแห่ง ภาวนาของเรายังไม่ถึงที่ เพราะฉะนั้น ภิกษุนั้นจึงต้องเป็นผู้รู้ทั่วถึงในอาหาเรปฏิกูล- *สัญญานั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ถ้าเมื่อภิกษุมีใจอันอบรมแล้วด้วยอาหาเรปฏิกูล- *สัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมหวนกลับ งอกลับ ถอยกลับจากตัณหาในรส ไม่ยื่น ไปรับตัณหาในรส อุเบกขาหรือความเป็นของปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ไซร้ ภิกษุพึง ทราบข้อนั้นดังนี้ว่า อาหาเรปฏิกูลสัญญาอันเราเจริญแล้ว คุณวิเศษทั้งเบื้องต้น และเบื้องปลายของเรามีอยู่ ผลแห่งภาวนาของเราถึงที่แล้ว เพราะฉะนั้น ภิกษุ นั้นเป็นผู้รู้ทั่วถึงในอาหาเรปฏิกูลสัญญานั้น ข้อที่กล่าวดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาหาเรปฏิกูลสัญญาอันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยข้อนี้ ฯ ก็ข้อที่กล่าวดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัพพโลเกอนภิรตสัญญาอัน ภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก อานิสงส์มาก หยั่งลงสู่ อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด เรากล่าวแล้ว เพราะอาศัยอะไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุมีใจอันอบรมแล้วด้วยสัพพโลเกอนภิรตสัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมหวน กลับ งอกลับ ถอยกลับจากความวิจิตรแห่งโลก ไม่ยื่นไปรับความวิจิตรแห่งโลก อุเบกขาหรือความเป็นของปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ เปรียบเหมือนขนไก่หรือเส้นเอ็นที่เขา ใส่ลงในไฟ ย่อมหดงอเข้าหากัน ไม่คลี่ออก ฉะนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้า เมื่อภิกษุมีใจอันไม่อบรมแล้วด้วยสัพพโลเกอนภิรตสัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อม ไหลไปในความวิจิตรแห่งโลก หรือความเป็นของไม่ปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ไซร้ ภิกษุ พึงทราบข้อนั้นดังนี้ว่า สัพพโลเกอนภิรตสัญญาอันเราไม่เจริญแล้ว คุณวิเศษ ทั้งเบื้องต้นและเบื้องปลายของเราก็ไม่มี ผลแห่งภาวนาของเรายังไม่ถึงที่ เพราะ ฉะนั้น ภิกษุนั้นจึงต้องเป็นผู้รู้ทั่วถึงในสัพพโลเกอนภิรตสัญญานั้น ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ถ้าหากว่าเมื่อภิกษุมีใจอันอบรมแล้วด้วยสัพพโลเกอนภิรตสัญญาอยู่โดย มาก จิตย่อมหวนกลับ งอกลับ ถอยกลับจากความวิจิตรแห่งโลก ไม่ยื่นไปรับ ความวิจิตรแห่งโลก อุเบกขาหรือความเป็นของปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ไซร้ ภิกษุพึง ทราบข้อนั้นดังนี้ว่า สัพพโลเกอนภิรตสัญญาอันเราเจริญแล้ว คุณวิเศษทั้งเบื้อง ต้นและเบื้องปลายของเรามีอยู่ ผลแห่งภาวนาของเราถึงที่แล้ว เพราะฉะนั้น ภิกษุนั้นจึงเป็นผู้รู้ทั่วถึงในสัพพโลเกอนภิรตสัญญานั้น ข้อที่กล่าวดังนี้ว่า ดูกร ภิกษุทั้งหลาย สัพพโลเกอนภิรตสัญญาอันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด เรากล่าวแล้ว เพราะอาศัยข้อนี้ ฯ ก็ข้อที่กล่าวดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนิจจสัญญาอันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะ เป็นที่สุด เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยอะไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุมีใจอันอบรม แล้วด้วยอนิจจสัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมหวนกลับ งอกลับ ถอยกลับ ไม่ยื่น ไปรับในลาภสักการะ และความสรรเสริญ อุเบกขาหรือความเป็นของปฏิกูล ย่อมตั้งอยู่ เปรียบเหมือนขนไก่ หรือเส้นเอ็นที่เขาใส่ลงในไฟ ย่อมหดงอเข้า หากัน ไม่คลี่ออก ฉะนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อภิกษุมีใจอันอบรมแล้ว ด้วยอนิจจสัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมไหลไปในลาภสักการะ และความ สรรเสริญ หรือความเป็นของไม่ปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ไซร้ ภิกษุพึงทราบข้อนั้นดังนี้ ว่า อนิจจสัญญาอันเราไม่เจริญแล้ว คุณวิเศษทั้งเบื้องต้นเบื้องปลายของเราไม่มี ผลแห่งภาวนาของเรายังไม่ถึงที่ เพราะฉะนั้น ภิกษุนั้นจึงต้องเป็นผู้รู้ทั่วถึงใน อนิจจสัญญานั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อภิกษุมีใจอันอบรมแล้วด้วยอนิจจสัญญา อยู่โดยมาก จิตย่อมหวนกลับ งอกลับ ถอยกลับ ไม่ยื่นไปรับลาภ สักการะ และความสรรเสริญ อุเบกขาหรือความเป็นของปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ไซร้ ภิกษุพึง ทราบข้อนั้นดังนี้ว่า อนิจจสัญญาอันเราเจริญแล้ว คุณวิเศษทั้งเบื้องต้นและเบื้อง ปลายของเรามีอยู่ ผลแห่งภาวนาของเราถึงที่แล้ว เพราะฉะนั้น ภิกษุนั้นจึงเป็น ผู้รู้ทั่วถึงในอนิจจสัญญานั้น ข้อที่กล่าวดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนิจจสัญญา อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่ อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยข้อนี้ ฯ ก็ข้อที่กล่าวดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนิจเจทุกขสัญญาอันภิกษุเจริญ แล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะ เป็นที่สุด เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยอะไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุมีใจอันอบรม แล้วด้วยอนิจเจทุกขสัญญาอยู่โดยมาก ภยสัญญา (ความสำคัญเป็นภัย) อย่างแรง กล้าในความเฉื่อยชา ในความเกียจคร้าน ในความท้อถอย ในความประมาท ใน การไม่ประกอบความเพียร ในการไม่พิจารณา ย่อมปรากฏ เปรียบเหมือน ความสำคัญว่าเป็นภัย ย่อมปรากฏในเมื่อเพชฌฆาตเงื้อดาบขึ้น ฉะนั้น ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อภิกษุมีใจอันอบรมแล้วด้วยอนิจเจทุกขสัญญาอยู่โดยมาก ภยสัญญาอย่างแรงกล้าในความเฉื่อยชา ในความเกียจคร้าน ในความท้อถอย ใน ความประมาท ในการไม่ประกอบความเพียร ในการไม่พิจารณา ย่อมไม่ปรากฏ เปรียบเหมือนความสำคัญว่าเป็นภัย ย่อมไม่ปรากฏในเมื่อเพชฌฆาตเงื้อดาบขึ้น ฉะนั้น ภิกษุพึงทราบข้อนั้นดังนี้ว่า อนิจเจทุกขสัญญาอันเราไม่เจริญแล้ว คุณวิ- *เศษทั้งเบื้องต้นและเบื้องปลายของเราไม่มี ผลแห่งภาวนาของเรายังไม่ถึงที่ เพราะ ฉะนั้น ภิกษุนั้นจึงต้องเป็นผู้รู้ทั่วถึงในอนิจเจทุกขสัญญานั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ถ้าว่า เมื่อภิกษุมีใจอันอบรมแล้วด้วยอนิจเจทุกขสัญญาอยู่โดยมาก ภยสัญญา อย่างแรงกล้าในความเฉื่อยชา ในความเกียจคร้าน ในความท้อถอย ในความ ประมาท ในการไม่ประกอบความเพียร ในการไม่พิจารณา ย่อมปรากฏ เหมือน ความสำคัญว่าเป็นภัย ย่อมปรากฏในเมื่อเพชฌฆาตเงื้อดาบขึ้น ฉะนั้นไซร้ ภิกษุพึงทราบข้อนั้นดังนี้ว่า อนิจเจทุกขสัญญา อันเราเจริญแล้ว คุณวิเศษทั้ง เบื้องต้นเบื้องปลายของเรามีอยู่ ผลแห่งภาวนาของเราถึงที่แล้ว เพราะฉะนั้น ภิกษุนั้นจึงเป็นผู้รู้ทั่วถึงในอนิจเจทุกขสัญญานั้น ข้อที่กล่าวดังนี้ว่า ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย อนิจเจทุกขสัญญาอันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยข้อนี้ ฯ ก็ข้อที่กล่าวดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทุกเขอนัตตสัญญาอันภิกษุเจริญ แล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยอะไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุ มีใจอันอบรมแล้วด้วยทุกเขอนัตตสัญญาอยู่โดยมาก ย่อมมีใจปราศจากทิฐิว่าเรา ตัณหาว่าของเรา และมานะทั้งในร่างกายที่มีใจครองนี้และสรรพนิมิตในภายนอก เสียได้ ก้าวล่วงกิเลส ๓ ประการ สงบระงับ หลุดพ้นได้เป็นอย่างดี ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อภิกษุมีใจอันอบรมแล้วด้วยทุกเขอนัตตสัญญาอยู่โดยมาก ใจ ย่อมไม่ปราศจากทิฐิว่าเรา ตัณหาว่าของเรา และมานะทั้งในร่างกายที่มีใจครองนี้ และสรรพนิมิตในภายนอก ไม่ก้าวล่วงกิเลส ๓ ประการ ไม่สงบระงับ ยัง ไม่หลุดพ้นด้วยดีไซร้ ภิกษุพึงทราบข้อนั้นดังนี้ว่า ทุกเขอนัตตสัญญาอันเราไม่ เจริญแล้ว คุณวิเศษทั้งเบื้องต้นและเบื้องปลายของเราก็ไม่มี ผลแห่งภาวนาของเรา ยังไม่ถึงที่ เพราะฉะนั้น ภิกษุนั้นจึงต้องเป็นผู้รู้ทั่วถึงในทุกเขอนัตตสัญญานั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ถ้าว่าเมื่อภิกษุมีใจอันอบรมแล้วด้วยทุกเขอนัตตสัญญาอยู่โดย มาก ย่อมมีใจปราศจากทิฐิว่าเรา ตัณหาว่าของเรา และมานะทั้งในร่างกาย ที่มีใจครองนี้และสรรพนิมิตในภายนอกเสียได้ ก้าวล่วงกิเลส ๓ ประการ สงบ ระงับ หลุดพ้นได้เป็นอย่างดีไซร้ ภิกษุพึงทราบข้อนั้นดังนี้ว่า ทุกเขอนัตตสัญญา อันเราเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่ อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยข้อนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัญญา ๗ ประการนี้แล อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด ฯ จบสูตรที่ ๖
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัญญา ๗ ประการนี้ อันภิกษุเจริญแล้ว
กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็น
ที่สุด ๗ ประการเป็นไฉน คือ อสุภสัญญา ๑ มรณสัญญา ๑ อาหาเรปฏิกูลสัญญา ๑
สัพพโลเกอนภิรตสัญญา ๑ อนิจจสัญญา ๑ อนิจเจทุกขสัญญา ๑ ทุกเขอนัตต-
*สัญญา ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ข้อที่กล่าวดังนี้ว่า อสุภสัญญา อันภิกษุเจริญ
แล้ว กระทำให้มาก ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะ
เป็นที่สุด เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยอะไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุมีใจอัน
อบรมแล้วด้วยอสุภสัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมหวนกลับ งอกลับ ถอยกลับจาก
การร่วมเมถุนธรรม ไม่ยื่นไปรับการร่วมเมถุนธรรม อุเบกขาหรือความเป็นของ
ปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ เปรียบเหมือนขนไก่หรือเส้นเอ็นที่เขาใส่ลงในไฟ ย่อมหดงอ
เข้าหากัน ไม่คลี่ออก ฉะนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อภิกษุมีใจอบรมแล้ว
ด้วยอสุภสัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมไหลไปในการร่วมเมถุนธรรม หรือความ
เป็นของไม่ปฏิกูลตั้งอยู่ไซร้ ภิกษุพึงทราบข้อนั้นดังนี้ว่า อสุภสัญญาอันเราไม่
เจริญแล้ว คุณวิเศษทั้งเบื้องต้นและเบื้องปลายของเราก็ไม่มี ผลแห่งภาวนาของ
เราไม่ถึงที่ เพราะฉะนั้น ภิกษุนั้นจึงต้องเป็นผู้รู้ทั่วถึงในอสุภสัญญานั้น ดูกร
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าหากว่า เมื่อภิกษุมีใจอันอบรมแล้วด้วยอสุภสัญญาอยู่โดยมาก
จิตย่อมหวนกลับ งอกลับ ถอยกลับ จากการร่วมเมถุนธรรม ไม่ยื่นไปรับการ
ร่วมเมถุนธรรม อุเบกขาหรือความเป็นของปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ไซร้ ภิกษุพึงทราบข้อ
นั้นดังนี้ว่า อสุภสัญญาอันเราเจริญแล้ว คุณวิเศษทั้งเบื้องต้นและเบื้องปลาย
ของเรามีอยู่ ผลแห่งภาวนาของเราถึงที่แล้ว เพราะฉะนั้น ภิกษุนั้นย่อมเป็นผู้รู้
ทั่วถึงในอสุภสัญญานั้น ข้อที่กล่าวดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย อสุภสัญญาอัน
ภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่
อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยข้อนี้ ฯ
ก็ข้อที่กล่าวดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย มรณสัญญาอันภิกษุเจริญแล้ว
กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็น
ที่สุด เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยอะไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุมีใจอันอบรม
แล้วด้วยมรณสัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมหวนกลับ งอกลับ ถอยกลับจาก
การรักชีวิตไม่ยื่นไปรับความรักชีวิต อุเบกขาหรือความเป็นของปฏิกูลย่อมตั้งอยู่
เปรียบเหมือนขนไก่หรือเส้นเอ็นที่เขาใส่ลงในไฟ ย่อมหดงอเข้าหากันไม่คลี่ออก
ฉะนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อภิกษุมีใจอันไม่อบรมแล้วด้วยมรณสัญญาอยู่โดย
มาก จิตย่อมไหลไปในความรักชีวิต หรือความเป็นของไม่ปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ไซร้
ภิกษุพึงทราบข้อนั้นดังนี้ว่า มรณสัญญาอันเราไม่เจริญแล้ว คุณวิเศษทั้งเบื้องต้น
และเบื้องปลายของเราก็ไม่มี ผลแห่งภาวนาของเรายังไม่ถึงที่ เพราะฉะนั้น
ภิกษุนั้นจึงต้องเป็นผู้รู้ทั่วถึงในมรณสัญญานั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ถ้าเมื่อภิกษุมี
ใจอันอบรมแล้วด้วยมรณสัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมหวนกลับ งอกลับ ถอยกลับ
จากการรักชีวิต ไม่ยื่นไปรับความรักชีวิต อุเบกขาหรือความเป็นของปฏิกูลย่อมตั้ง
อยู่ไซร้ ภิกษุพึงทราบข้อนั้นดังนี้ว่า มรณสัญญาอันเราเจริญแล้ว คุณวิเศษทั้ง
เบื้องต้นและเบื้องปลายของเรามีอยู่ ผลแห่งภาวนาของเราถึงที่แล้ว เพราะฉะนั้น
ภิกษุนั้นเป็นผู้รู้ทั่วถึงในมรณสัญญานั้น ข้อที่กล่าวดังนี้ว่า มรณสัญญาอันภิกษุ
เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ
มีอมตะเป็นที่สุด เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยข้อนี้ ฯ
ก็ข้อที่กล่าวดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาหาเรปฏิกูลสัญญาอันภิกษุเจริญ
แล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ
มีอมตะเป็นที่สุด เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยอะไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุ
มีใจอันอบรมแล้วด้วยอาหาเรปฏิกูลสัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมหวนกลับ งอกลับ
ถอยกลับจากตัณหาในรส ไม่ยื่นไปรับตัณหาในรส อุเบกขาหรือความเป็นของ
ปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ เปรียบเหมือนขนไก่หรือเส้นเอ็นที่เขาใส่ลงในไฟ ย่อมหดงอเข้า
หากันไม่คลี่ออก ฉะนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อภิกษุมีใจอันอบรมแล้วด้วย
อาหาเรปฏิกูลสัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมไหลไปในตัณหาในรส หรือความเป็น
ของไม่ปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ไซร้ ภิกษุพึงทราบข้อนั้นดังนี้ว่า อาหาเรปฏิกูลสัญญาอัน
เราไม่ได้เจริญแล้ว คุณวิเศษทั้งเบื้องต้นและเบื้องปลายของเราไม่มี ผลแห่ง
ภาวนาของเรายังไม่ถึงที่ เพราะฉะนั้น ภิกษุนั้นจึงต้องเป็นผู้รู้ทั่วถึงในอาหาเรปฏิกูล-
*สัญญานั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ถ้าเมื่อภิกษุมีใจอันอบรมแล้วด้วยอาหาเรปฏิกูล-
*สัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมหวนกลับ งอกลับ ถอยกลับจากตัณหาในรส ไม่ยื่น
ไปรับตัณหาในรส อุเบกขาหรือความเป็นของปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ไซร้ ภิกษุพึง
ทราบข้อนั้นดังนี้ว่า อาหาเรปฏิกูลสัญญาอันเราเจริญแล้ว คุณวิเศษทั้งเบื้องต้น
และเบื้องปลายของเรามีอยู่ ผลแห่งภาวนาของเราถึงที่แล้ว เพราะฉะนั้น ภิกษุ
นั้นเป็นผู้รู้ทั่วถึงในอาหาเรปฏิกูลสัญญานั้น ข้อที่กล่าวดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
อาหาเรปฏิกูลสัญญาอันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก
มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยข้อนี้ ฯ
ก็ข้อที่กล่าวดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัพพโลเกอนภิรตสัญญาอัน
ภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก อานิสงส์มาก หยั่งลงสู่
อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด เรากล่าวแล้ว เพราะอาศัยอะไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เมื่อภิกษุมีใจอันอบรมแล้วด้วยสัพพโลเกอนภิรตสัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมหวน
กลับ งอกลับ ถอยกลับจากความวิจิตรแห่งโลก ไม่ยื่นไปรับความวิจิตรแห่งโลก
อุเบกขาหรือความเป็นของปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ เปรียบเหมือนขนไก่หรือเส้นเอ็นที่เขา
ใส่ลงในไฟ ย่อมหดงอเข้าหากัน ไม่คลี่ออก ฉะนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้า
เมื่อภิกษุมีใจอันไม่อบรมแล้วด้วยสัพพโลเกอนภิรตสัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อม
ไหลไปในความวิจิตรแห่งโลก หรือความเป็นของไม่ปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ไซร้ ภิกษุ
พึงทราบข้อนั้นดังนี้ว่า สัพพโลเกอนภิรตสัญญาอันเราไม่เจริญแล้ว คุณวิเศษ
ทั้งเบื้องต้นและเบื้องปลายของเราก็ไม่มี ผลแห่งภาวนาของเรายังไม่ถึงที่ เพราะ
ฉะนั้น ภิกษุนั้นจึงต้องเป็นผู้รู้ทั่วถึงในสัพพโลเกอนภิรตสัญญานั้น ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย ถ้าหากว่าเมื่อภิกษุมีใจอันอบรมแล้วด้วยสัพพโลเกอนภิรตสัญญาอยู่โดย
มาก จิตย่อมหวนกลับ งอกลับ ถอยกลับจากความวิจิตรแห่งโลก ไม่ยื่นไปรับ
ความวิจิตรแห่งโลก อุเบกขาหรือความเป็นของปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ไซร้ ภิกษุพึง
ทราบข้อนั้นดังนี้ว่า สัพพโลเกอนภิรตสัญญาอันเราเจริญแล้ว คุณวิเศษทั้งเบื้อง
ต้นและเบื้องปลายของเรามีอยู่ ผลแห่งภาวนาของเราถึงที่แล้ว เพราะฉะนั้น
ภิกษุนั้นจึงเป็นผู้รู้ทั่วถึงในสัพพโลเกอนภิรตสัญญานั้น ข้อที่กล่าวดังนี้ว่า ดูกร
ภิกษุทั้งหลาย สัพพโลเกอนภิรตสัญญาอันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว
ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด เรากล่าวแล้ว
เพราะอาศัยข้อนี้ ฯ
ก็ข้อที่กล่าวดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนิจจสัญญาอันภิกษุเจริญแล้ว
กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะ
เป็นที่สุด เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยอะไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุมีใจอันอบรม
แล้วด้วยอนิจจสัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมหวนกลับ งอกลับ ถอยกลับ ไม่ยื่น
ไปรับในลาภสักการะ และความสรรเสริญ อุเบกขาหรือความเป็นของปฏิกูล
ย่อมตั้งอยู่ เปรียบเหมือนขนไก่ หรือเส้นเอ็นที่เขาใส่ลงในไฟ ย่อมหดงอเข้า
หากัน ไม่คลี่ออก ฉะนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อภิกษุมีใจอันอบรมแล้ว
ด้วยอนิจจสัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมไหลไปในลาภสักการะ และความ
สรรเสริญ หรือความเป็นของไม่ปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ไซร้ ภิกษุพึงทราบข้อนั้นดังนี้
ว่า อนิจจสัญญาอันเราไม่เจริญแล้ว คุณวิเศษทั้งเบื้องต้นเบื้องปลายของเราไม่มี
ผลแห่งภาวนาของเรายังไม่ถึงที่ เพราะฉะนั้น ภิกษุนั้นจึงต้องเป็นผู้รู้ทั่วถึงใน
อนิจจสัญญานั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อภิกษุมีใจอันอบรมแล้วด้วยอนิจจสัญญา
อยู่โดยมาก จิตย่อมหวนกลับ งอกลับ ถอยกลับ ไม่ยื่นไปรับลาภ สักการะ
และความสรรเสริญ อุเบกขาหรือความเป็นของปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ไซร้ ภิกษุพึง
ทราบข้อนั้นดังนี้ว่า อนิจจสัญญาอันเราเจริญแล้ว คุณวิเศษทั้งเบื้องต้นและเบื้อง
ปลายของเรามีอยู่ ผลแห่งภาวนาของเราถึงที่แล้ว เพราะฉะนั้น ภิกษุนั้นจึงเป็น
ผู้รู้ทั่วถึงในอนิจจสัญญานั้น ข้อที่กล่าวดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนิจจสัญญา
อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่
อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยข้อนี้ ฯ
ก็ข้อที่กล่าวดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนิจเจทุกขสัญญาอันภิกษุเจริญ
แล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะ
เป็นที่สุด เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยอะไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุมีใจอันอบรม
แล้วด้วยอนิจเจทุกขสัญญาอยู่โดยมาก ภยสัญญา (ความสำคัญเป็นภัย) อย่างแรง
กล้าในความเฉื่อยชา ในความเกียจคร้าน ในความท้อถอย ในความประมาท ใน
การไม่ประกอบความเพียร ในการไม่พิจารณา ย่อมปรากฏ เปรียบเหมือน
ความสำคัญว่าเป็นภัย ย่อมปรากฏในเมื่อเพชฌฆาตเงื้อดาบขึ้น ฉะนั้น ดูกร
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อภิกษุมีใจอันอบรมแล้วด้วยอนิจเจทุกขสัญญาอยู่โดยมาก
ภยสัญญาอย่างแรงกล้าในความเฉื่อยชา ในความเกียจคร้าน ในความท้อถอย ใน
ความประมาท ในการไม่ประกอบความเพียร ในการไม่พิจารณา ย่อมไม่ปรากฏ
เปรียบเหมือนความสำคัญว่าเป็นภัย ย่อมไม่ปรากฏในเมื่อเพชฌฆาตเงื้อดาบขึ้น
ฉะนั้น ภิกษุพึงทราบข้อนั้นดังนี้ว่า อนิจเจทุกขสัญญาอันเราไม่เจริญแล้ว คุณวิ-
*เศษทั้งเบื้องต้นและเบื้องปลายของเราไม่มี ผลแห่งภาวนาของเรายังไม่ถึงที่ เพราะ
ฉะนั้น ภิกษุนั้นจึงต้องเป็นผู้รู้ทั่วถึงในอนิจเจทุกขสัญญานั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ก็ถ้าว่า เมื่อภิกษุมีใจอันอบรมแล้วด้วยอนิจเจทุกขสัญญาอยู่โดยมาก ภยสัญญา
อย่างแรงกล้าในความเฉื่อยชา ในความเกียจคร้าน ในความท้อถอย ในความ
ประมาท ในการไม่ประกอบความเพียร ในการไม่พิจารณา ย่อมปรากฏ เหมือน
ความสำคัญว่าเป็นภัย ย่อมปรากฏในเมื่อเพชฌฆาตเงื้อดาบขึ้น ฉะนั้นไซร้
ภิกษุพึงทราบข้อนั้นดังนี้ว่า อนิจเจทุกขสัญญา อันเราเจริญแล้ว คุณวิเศษทั้ง
เบื้องต้นเบื้องปลายของเรามีอยู่ ผลแห่งภาวนาของเราถึงที่แล้ว เพราะฉะนั้น
ภิกษุนั้นจึงเป็นผู้รู้ทั่วถึงในอนิจเจทุกขสัญญานั้น ข้อที่กล่าวดังนี้ว่า ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย อนิจเจทุกขสัญญาอันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก
มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยข้อนี้ ฯ
ก็ข้อที่กล่าวดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทุกเขอนัตตสัญญาอันภิกษุเจริญ
แล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ
มีอมตะเป็นที่สุด เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยอะไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุ
มีใจอันอบรมแล้วด้วยทุกเขอนัตตสัญญาอยู่โดยมาก ย่อมมีใจปราศจากทิฐิว่าเรา
ตัณหาว่าของเรา และมานะทั้งในร่างกายที่มีใจครองนี้และสรรพนิมิตในภายนอก
เสียได้ ก้าวล่วงกิเลส ๓ ประการ สงบระงับ หลุดพ้นได้เป็นอย่างดี ดูกร
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อภิกษุมีใจอันอบรมแล้วด้วยทุกเขอนัตตสัญญาอยู่โดยมาก ใจ
ย่อมไม่ปราศจากทิฐิว่าเรา ตัณหาว่าของเรา และมานะทั้งในร่างกายที่มีใจครองนี้
และสรรพนิมิตในภายนอก ไม่ก้าวล่วงกิเลส ๓ ประการ ไม่สงบระงับ ยัง
ไม่หลุดพ้นด้วยดีไซร้ ภิกษุพึงทราบข้อนั้นดังนี้ว่า ทุกเขอนัตตสัญญาอันเราไม่
เจริญแล้ว คุณวิเศษทั้งเบื้องต้นและเบื้องปลายของเราก็ไม่มี ผลแห่งภาวนาของเรา
ยังไม่ถึงที่ เพราะฉะนั้น ภิกษุนั้นจึงต้องเป็นผู้รู้ทั่วถึงในทุกเขอนัตตสัญญานั้น
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ถ้าว่าเมื่อภิกษุมีใจอันอบรมแล้วด้วยทุกเขอนัตตสัญญาอยู่โดย
มาก ย่อมมีใจปราศจากทิฐิว่าเรา ตัณหาว่าของเรา และมานะทั้งในร่างกาย
ที่มีใจครองนี้และสรรพนิมิตในภายนอกเสียได้ ก้าวล่วงกิเลส ๓ ประการ สงบ
ระงับ หลุดพ้นได้เป็นอย่างดีไซร้ ภิกษุพึงทราบข้อนั้นดังนี้ว่า ทุกเขอนัตตสัญญา
อันเราเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่
อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยข้อนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย
สัญญา ๗ ประการนี้แล อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก
มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด ฯ
จบสูตรที่ ๖
สิ้นอาสวะสัตว์สองเท้านี้เป็นสัตว์ไม่สะอาดมีกลิ่นเหม็นเต็มไปด้วยซากศพต่าง... ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัญญา ๗ ประการนี้ อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็น ที่สุด ๗ ประการเป็นไฉน คือ อสุภสัญญา ๑ มรณสัญญา ๑ อาหาเรปฏิกูลสัญญา ๑ สัพพโลเกอนภิรตสัญญา ๑ อนิจจสัญญา ๑ อนิจเจทุกขสัญญา ๑ ทุกเขอนัตต- *สัญญา ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ข้อที่กล่าวดังนี้ว่า อสุภสัญญา อันภิกษุเจริญ แล้ว กระทำให้มาก ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะ เป็นที่สุด เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยอะไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุมีใจอัน อบรมแล้วด้วยอสุภสัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมหวนกลับ งอกลับ ถอยกลับจาก การร่วมเมถุนธรรม ไม่ยื่นไปรับการร่วมเมถุนธรรม อุเบกขาหรือความเป็นของ ปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ เปรียบเหมือนขนไก่หรือเส้นเอ็นที่เขาใส่ลงในไฟ ย่อมหดงอ เข้าหากัน ไม่คลี่ออก ฉะนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อภิกษุมีใจอบรมแล้ว ด้วยอสุภสัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมไหลไปในการร่วมเมถุนธรรม หรือความ เป็นของไม่ปฏิกูลตั้งอยู่ไซร้ ภิกษุพึงทราบข้อนั้นดังนี้ว่า อสุภสัญญาอันเราไม่ เจริญแล้ว คุณวิเศษทั้งเบื้องต้นและเบื้องปลายของเราก็ไม่มี ผลแห่งภาวนาของ เราไม่ถึงที่ เพราะฉะนั้น ภิกษุนั้นจึงต้องเป็นผู้รู้ทั่วถึงในอสุภสัญญานั้น ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ถ้าหากว่า เมื่อภิกษุมีใจอันอบรมแล้วด้วยอสุภสัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมหวนกลับ งอกลับ ถอยกลับ จากการร่วมเมถุนธรรม ไม่ยื่นไปรับการ ร่วมเมถุนธรรม อุเบกขาหรือความเป็นของปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ไซร้ ภิกษุพึงทราบข้อ นั้นดังนี้ว่า อสุภสัญญาอันเราเจริญแล้ว คุณวิเศษทั้งเบื้องต้นและเบื้องปลาย ของเรามีอยู่ ผลแห่งภาวนาของเราถึงที่แล้ว เพราะฉะนั้น ภิกษุนั้นย่อมเป็นผู้รู้ ทั่วถึงในอสุภสัญญานั้น ข้อที่กล่าวดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย อสุภสัญญาอัน ภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่ อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยข้อนี้ ฯ ก็ข้อที่กล่าวดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย มรณสัญญาอันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็น ที่สุด เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยอะไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุมีใจอันอบรม แล้วด้วยมรณสัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมหวนกลับ งอกลับ ถอยกลับจาก การรักชีวิตไม่ยื่นไปรับความรักชีวิต อุเบกขาหรือความเป็นของปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ เปรียบเหมือนขนไก่หรือเส้นเอ็นที่เขาใส่ลงในไฟ ย่อมหดงอเข้าหากันไม่คลี่ออก ฉะนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อภิกษุมีใจอันไม่อบรมแล้วด้วยมรณสัญญาอยู่โดย มาก จิตย่อมไหลไปในความรักชีวิต หรือความเป็นของไม่ปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ไซร้ ภิกษุพึงทราบข้อนั้นดังนี้ว่า มรณสัญญาอันเราไม่เจริญแล้ว คุณวิเศษทั้งเบื้องต้น และเบื้องปลายของเราก็ไม่มี ผลแห่งภาวนาของเรายังไม่ถึงที่ เพราะฉะนั้น ภิกษุนั้นจึงต้องเป็นผู้รู้ทั่วถึงในมรณสัญญานั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ถ้าเมื่อภิกษุมี ใจอันอบรมแล้วด้วยมรณสัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมหวนกลับ งอกลับ ถอยกลับ จากการรักชีวิต ไม่ยื่นไปรับความรักชีวิต อุเบกขาหรือความเป็นของปฏิกูลย่อมตั้ง อยู่ไซร้ ภิกษุพึงทราบข้อนั้นดังนี้ว่า มรณสัญญาอันเราเจริญแล้ว คุณวิเศษทั้ง เบื้องต้นและเบื้องปลายของเรามีอยู่ ผลแห่งภาวนาของเราถึงที่แล้ว เพราะฉะนั้น ภิกษุนั้นเป็นผู้รู้ทั่วถึงในมรณสัญญานั้น ข้อที่กล่าวดังนี้ว่า มรณสัญญาอันภิกษุ เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยข้อนี้ ฯ ก็ข้อที่กล่าวดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาหาเรปฏิกูลสัญญาอันภิกษุเจริญ แล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยอะไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุ มีใจอันอบรมแล้วด้วยอาหาเรปฏิกูลสัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมหวนกลับ งอกลับ ถอยกลับจากตัณหาในรส ไม่ยื่นไปรับตัณหาในรส อุเบกขาหรือความเป็นของ ปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ เปรียบเหมือนขนไก่หรือเส้นเอ็นที่เขาใส่ลงในไฟ ย่อมหดงอเข้า หากันไม่คลี่ออก ฉะนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อภิกษุมีใจอันอบรมแล้วด้วย อาหาเรปฏิกูลสัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมไหลไปในตัณหาในรส หรือความเป็น ของไม่ปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ไซร้ ภิกษุพึงทราบข้อนั้นดังนี้ว่า อาหาเรปฏิกูลสัญญาอัน เราไม่ได้เจริญแล้ว คุณวิเศษทั้งเบื้องต้นและเบื้องปลายของเราไม่มี ผลแห่ง ภาวนาของเรายังไม่ถึงที่ เพราะฉะนั้น ภิกษุนั้นจึงต้องเป็นผู้รู้ทั่วถึงในอาหาเรปฏิกูล- *สัญญานั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ถ้าเมื่อภิกษุมีใจอันอบรมแล้วด้วยอาหาเรปฏิกูล- *สัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมหวนกลับ งอกลับ ถอยกลับจากตัณหาในรส ไม่ยื่น ไปรับตัณหาในรส อุเบกขาหรือความเป็นของปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ไซร้ ภิกษุพึง ทราบข้อนั้นดังนี้ว่า อาหาเรปฏิกูลสัญญาอันเราเจริญแล้ว คุณวิเศษทั้งเบื้องต้น และเบื้องปลายของเรามีอยู่ ผลแห่งภาวนาของเราถึงที่แล้ว เพราะฉะนั้น ภิกษุ นั้นเป็นผู้รู้ทั่วถึงในอาหาเรปฏิกูลสัญญานั้น ข้อที่กล่าวดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาหาเรปฏิกูลสัญญาอันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยข้อนี้ ฯ ก็ข้อที่กล่าวดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัพพโลเกอนภิรตสัญญาอัน ภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก อานิสงส์มาก หยั่งลงสู่ อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด เรากล่าวแล้ว เพราะอาศัยอะไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุมีใจอันอบรมแล้วด้วยสัพพโลเกอนภิรตสัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมหวน กลับ งอกลับ ถอยกลับจากความวิจิตรแห่งโลก ไม่ยื่นไปรับความวิจิตรแห่งโลก อุเบกขาหรือความเป็นของปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ เปรียบเหมือนขนไก่หรือเส้นเอ็นที่เขา ใส่ลงในไฟ ย่อมหดงอเข้าหากัน ไม่คลี่ออก ฉะนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้า เมื่อภิกษุมีใจอันไม่อบรมแล้วด้วยสัพพโลเกอนภิรตสัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อม ไหลไปในความวิจิตรแห่งโลก หรือความเป็นของไม่ปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ไซร้ ภิกษุ พึงทราบข้อนั้นดังนี้ว่า สัพพโลเกอนภิรตสัญญาอันเราไม่เจริญแล้ว คุณวิเศษ ทั้งเบื้องต้นและเบื้องปลายของเราก็ไม่มี ผลแห่งภาวนาของเรายังไม่ถึงที่ เพราะ ฉะนั้น ภิกษุนั้นจึงต้องเป็นผู้รู้ทั่วถึงในสัพพโลเกอนภิรตสัญญานั้น ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ถ้าหากว่าเมื่อภิกษุมีใจอันอบรมแล้วด้วยสัพพโลเกอนภิรตสัญญาอยู่โดย มาก จิตย่อมหวนกลับ งอกลับ ถอยกลับจากความวิจิตรแห่งโลก ไม่ยื่นไปรับ ความวิจิตรแห่งโลก อุเบกขาหรือความเป็นของปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ไซร้ ภิกษุพึง ทราบข้อนั้นดังนี้ว่า สัพพโลเกอนภิรตสัญญาอันเราเจริญแล้ว คุณวิเศษทั้งเบื้อง ต้นและเบื้องปลายของเรามีอยู่ ผลแห่งภาวนาของเราถึงที่แล้ว เพราะฉะนั้น ภิกษุนั้นจึงเป็นผู้รู้ทั่วถึงในสัพพโลเกอนภิรตสัญญานั้น ข้อที่กล่าวดังนี้ว่า ดูกร ภิกษุทั้งหลาย สัพพโลเกอนภิรตสัญญาอันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด เรากล่าวแล้ว เพราะอาศัยข้อนี้ ฯ ก็ข้อที่กล่าวดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนิจจสัญญาอันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะ เป็นที่สุด เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยอะไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุมีใจอันอบรม แล้วด้วยอนิจจสัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมหวนกลับ งอกลับ ถอยกลับ ไม่ยื่น ไปรับในลาภสักการะ และความสรรเสริญ อุเบกขาหรือความเป็นของปฏิกูล ย่อมตั้งอยู่ เปรียบเหมือนขนไก่ หรือเส้นเอ็นที่เขาใส่ลงในไฟ ย่อมหดงอเข้า หากัน ไม่คลี่ออก ฉะนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อภิกษุมีใจอันอบรมแล้ว ด้วยอนิจจสัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมไหลไปในลาภสักการะ และความ สรรเสริญ หรือความเป็นของไม่ปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ไซร้ ภิกษุพึงทราบข้อนั้นดังนี้ ว่า อนิจจสัญญาอันเราไม่เจริญแล้ว คุณวิเศษทั้งเบื้องต้นเบื้องปลายของเราไม่มี ผลแห่งภาวนาของเรายังไม่ถึงที่ เพราะฉะนั้น ภิกษุนั้นจึงต้องเป็นผู้รู้ทั่วถึงใน อนิจจสัญญานั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อภิกษุมีใจอันอบรมแล้วด้วยอนิจจสัญญา อยู่โดยมาก จิตย่อมหวนกลับ งอกลับ ถอยกลับ ไม่ยื่นไปรับลาภ สักการะ และความสรรเสริญ อุเบกขาหรือความเป็นของปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ไซร้ ภิกษุพึง ทราบข้อนั้นดังนี้ว่า อนิจจสัญญาอันเราเจริญแล้ว คุณวิเศษทั้งเบื้องต้นและเบื้อง ปลายของเรามีอยู่ ผลแห่งภาวนาของเราถึงที่แล้ว เพราะฉะนั้น ภิกษุนั้นจึงเป็น ผู้รู้ทั่วถึงในอนิจจสัญญานั้น ข้อที่กล่าวดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนิจจสัญญา อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่ อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยข้อนี้ ฯ ก็ข้อที่กล่าวดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนิจเจทุกขสัญญาอันภิกษุเจริญ แล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะ เป็นที่สุด เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยอะไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุมีใจอันอบรม แล้วด้วยอนิจเจทุกขสัญญาอยู่โดยมาก ภยสัญญา (ความสำคัญเป็นภัย) อย่างแรง กล้าในความเฉื่อยชา ในความเกียจคร้าน ในความท้อถอย ในความประมาท ใน การไม่ประกอบความเพียร ในการไม่พิจารณา ย่อมปรากฏ เปรียบเหมือน ความสำคัญว่าเป็นภัย ย่อมปรากฏในเมื่อเพชฌฆาตเงื้อดาบขึ้น ฉะนั้น ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อภิกษุมีใจอันอบรมแล้วด้วยอนิจเจทุกขสัญญาอยู่โดยมาก ภยสัญญาอย่างแรงกล้าในความเฉื่อยชา ในความเกียจคร้าน ในความท้อถอย ใน ความประมาท ในการไม่ประกอบความเพียร ในการไม่พิจารณา ย่อมไม่ปรากฏ เปรียบเหมือนความสำคัญว่าเป็นภัย ย่อมไม่ปรากฏในเมื่อเพชฌฆาตเงื้อดาบขึ้น ฉะนั้น ภิกษุพึงทราบข้อนั้นดังนี้ว่า อนิจเจทุกขสัญญาอันเราไม่เจริญแล้ว คุณวิ- *เศษทั้งเบื้องต้นและเบื้องปลายของเราไม่มี ผลแห่งภาวนาของเรายังไม่ถึงที่ เพราะ ฉะนั้น ภิกษุนั้นจึงต้องเป็นผู้รู้ทั่วถึงในอนิจเจทุกขสัญญานั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ถ้าว่า เมื่อภิกษุมีใจอันอบรมแล้วด้วยอนิจเจทุกขสัญญาอยู่โดยมาก ภยสัญญา อย่างแรงกล้าในความเฉื่อยชา ในความเกียจคร้าน ในความท้อถอย ในความ ประมาท ในการไม่ประกอบความเพียร ในการไม่พิจารณา ย่อมปรากฏ เหมือน ความสำคัญว่าเป็นภัย ย่อมปรากฏในเมื่อเพชฌฆาตเงื้อดาบขึ้น ฉะนั้นไซร้ ภิกษุพึงทราบข้อนั้นดังนี้ว่า อนิจเจทุกขสัญญา อันเราเจริญแล้ว คุณวิเศษทั้ง เบื้องต้นเบื้องปลายของเรามีอยู่ ผลแห่งภาวนาของเราถึงที่แล้ว เพราะฉะนั้น ภิกษุนั้นจึงเป็นผู้รู้ทั่วถึงในอนิจเจทุกขสัญญานั้น ข้อที่กล่าวดังนี้ว่า ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย อนิจเจทุกขสัญญาอันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยข้อนี้ ฯ ก็ข้อที่กล่าวดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทุกเขอนัตตสัญญาอันภิกษุเจริญ แล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยอะไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุ มีใจอันอบรมแล้วด้วยทุกเขอนัตตสัญญาอยู่โดยมาก ย่อมมีใจปราศจากทิฐิว่าเรา ตัณหาว่าของเรา และมานะทั้งในร่างกายที่มีใจครองนี้และสรรพนิมิตในภายนอก เสียได้ ก้าวล่วงกิเลส ๓ ประการ สงบระงับ หลุดพ้นได้เป็นอย่างดี ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อภิกษุมีใจอันอบรมแล้วด้วยทุกเขอนัตตสัญญาอยู่โดยมาก ใจ ย่อมไม่ปราศจากทิฐิว่าเรา ตัณหาว่าของเรา และมานะทั้งในร่างกายที่มีใจครองนี้ และสรรพนิมิตในภายนอก ไม่ก้าวล่วงกิเลส ๓ ประการ ไม่สงบระงับ ยัง ไม่หลุดพ้นด้วยดีไซร้ ภิกษุพึงทราบข้อนั้นดังนี้ว่า ทุกเขอนัตตสัญญาอันเราไม่ เจริญแล้ว คุณวิเศษทั้งเบื้องต้นและเบื้องปลายของเราก็ไม่มี ผลแห่งภาวนาของเรา ยังไม่ถึงที่ เพราะฉะนั้น ภิกษุนั้นจึงต้องเป็นผู้รู้ทั่วถึงในทุกเขอนัตตสัญญานั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ถ้าว่าเมื่อภิกษุมีใจอันอบรมแล้วด้วยทุกเขอนัตตสัญญาอยู่โดย มาก ย่อมมีใจปราศจากทิฐิว่าเรา ตัณหาว่าของเรา และมานะทั้งในร่างกาย ที่มีใจครองนี้และสรรพนิมิตในภายนอกเสียได้ ก้าวล่วงกิเลส ๓ ประการ สงบ ระงับ หลุดพ้นได้เป็นอย่างดีไซร้ ภิกษุพึงทราบข้อนั้นดังนี้ว่า ทุกเขอนัตตสัญญา อันเราเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่ อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยข้อนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัญญา ๗ ประการนี้แล อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด ฯ จบสูตรที่ ๖
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัญญา ๗ ประการนี้ อันภิกษุเจริญแล้ว
กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็น
ที่สุด ๗ ประการเป็นไฉน คือ อสุภสัญญา ๑ มรณสัญญา ๑ อาหาเรปฏิกูลสัญญา ๑
สัพพโลเกอนภิรตสัญญา ๑ อนิจจสัญญา ๑ อนิจเจทุกขสัญญา ๑ ทุกเขอนัตต-
*สัญญา ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ข้อที่กล่าวดังนี้ว่า อสุภสัญญา อันภิกษุเจริญ
แล้ว กระทำให้มาก ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะ
เป็นที่สุด เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยอะไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุมีใจอัน
อบรมแล้วด้วยอสุภสัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมหวนกลับ งอกลับ ถอยกลับจาก
การร่วมเมถุนธรรม ไม่ยื่นไปรับการร่วมเมถุนธรรม อุเบกขาหรือความเป็นของ
ปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ เปรียบเหมือนขนไก่หรือเส้นเอ็นที่เขาใส่ลงในไฟ ย่อมหดงอ
เข้าหากัน ไม่คลี่ออก ฉะนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อภิกษุมีใจอบรมแล้ว
ด้วยอสุภสัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมไหลไปในการร่วมเมถุนธรรม หรือความ
เป็นของไม่ปฏิกูลตั้งอยู่ไซร้ ภิกษุพึงทราบข้อนั้นดังนี้ว่า อสุภสัญญาอันเราไม่
เจริญแล้ว คุณวิเศษทั้งเบื้องต้นและเบื้องปลายของเราก็ไม่มี ผลแห่งภาวนาของ
เราไม่ถึงที่ เพราะฉะนั้น ภิกษุนั้นจึงต้องเป็นผู้รู้ทั่วถึงในอสุภสัญญานั้น ดูกร
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าหากว่า เมื่อภิกษุมีใจอันอบรมแล้วด้วยอสุภสัญญาอยู่โดยมาก
จิตย่อมหวนกลับ งอกลับ ถอยกลับ จากการร่วมเมถุนธรรม ไม่ยื่นไปรับการ
ร่วมเมถุนธรรม อุเบกขาหรือความเป็นของปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ไซร้ ภิกษุพึงทราบข้อ
นั้นดังนี้ว่า อสุภสัญญาอันเราเจริญแล้ว คุณวิเศษทั้งเบื้องต้นและเบื้องปลาย
ของเรามีอยู่ ผลแห่งภาวนาของเราถึงที่แล้ว เพราะฉะนั้น ภิกษุนั้นย่อมเป็นผู้รู้
ทั่วถึงในอสุภสัญญานั้น ข้อที่กล่าวดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย อสุภสัญญาอัน
ภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่
อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยข้อนี้ ฯ
ก็ข้อที่กล่าวดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย มรณสัญญาอันภิกษุเจริญแล้ว
กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็น
ที่สุด เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยอะไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุมีใจอันอบรม
แล้วด้วยมรณสัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมหวนกลับ งอกลับ ถอยกลับจาก
การรักชีวิตไม่ยื่นไปรับความรักชีวิต อุเบกขาหรือความเป็นของปฏิกูลย่อมตั้งอยู่
เปรียบเหมือนขนไก่หรือเส้นเอ็นที่เขาใส่ลงในไฟ ย่อมหดงอเข้าหากันไม่คลี่ออก
ฉะนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อภิกษุมีใจอันไม่อบรมแล้วด้วยมรณสัญญาอยู่โดย
มาก จิตย่อมไหลไปในความรักชีวิต หรือความเป็นของไม่ปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ไซร้
ภิกษุพึงทราบข้อนั้นดังนี้ว่า มรณสัญญาอันเราไม่เจริญแล้ว คุณวิเศษทั้งเบื้องต้น
และเบื้องปลายของเราก็ไม่มี ผลแห่งภาวนาของเรายังไม่ถึงที่ เพราะฉะนั้น
ภิกษุนั้นจึงต้องเป็นผู้รู้ทั่วถึงในมรณสัญญานั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ถ้าเมื่อภิกษุมี
ใจอันอบรมแล้วด้วยมรณสัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมหวนกลับ งอกลับ ถอยกลับ
จากการรักชีวิต ไม่ยื่นไปรับความรักชีวิต อุเบกขาหรือความเป็นของปฏิกูลย่อมตั้ง
อยู่ไซร้ ภิกษุพึงทราบข้อนั้นดังนี้ว่า มรณสัญญาอันเราเจริญแล้ว คุณวิเศษทั้ง
เบื้องต้นและเบื้องปลายของเรามีอยู่ ผลแห่งภาวนาของเราถึงที่แล้ว เพราะฉะนั้น
ภิกษุนั้นเป็นผู้รู้ทั่วถึงในมรณสัญญานั้น ข้อที่กล่าวดังนี้ว่า มรณสัญญาอันภิกษุ
เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ
มีอมตะเป็นที่สุด เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยข้อนี้ ฯ
ก็ข้อที่กล่าวดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาหาเรปฏิกูลสัญญาอันภิกษุเจริญ
แล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ
มีอมตะเป็นที่สุด เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยอะไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุ
มีใจอันอบรมแล้วด้วยอาหาเรปฏิกูลสัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมหวนกลับ งอกลับ
ถอยกลับจากตัณหาในรส ไม่ยื่นไปรับตัณหาในรส อุเบกขาหรือความเป็นของ
ปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ เปรียบเหมือนขนไก่หรือเส้นเอ็นที่เขาใส่ลงในไฟ ย่อมหดงอเข้า
หากันไม่คลี่ออก ฉะนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อภิกษุมีใจอันอบรมแล้วด้วย
อาหาเรปฏิกูลสัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมไหลไปในตัณหาในรส หรือความเป็น
ของไม่ปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ไซร้ ภิกษุพึงทราบข้อนั้นดังนี้ว่า อาหาเรปฏิกูลสัญญาอัน
เราไม่ได้เจริญแล้ว คุณวิเศษทั้งเบื้องต้นและเบื้องปลายของเราไม่มี ผลแห่ง
ภาวนาของเรายังไม่ถึงที่ เพราะฉะนั้น ภิกษุนั้นจึงต้องเป็นผู้รู้ทั่วถึงในอาหาเรปฏิกูล-
*สัญญานั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ถ้าเมื่อภิกษุมีใจอันอบรมแล้วด้วยอาหาเรปฏิกูล-
*สัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมหวนกลับ งอกลับ ถอยกลับจากตัณหาในรส ไม่ยื่น
ไปรับตัณหาในรส อุเบกขาหรือความเป็นของปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ไซร้ ภิกษุพึง
ทราบข้อนั้นดังนี้ว่า อาหาเรปฏิกูลสัญญาอันเราเจริญแล้ว คุณวิเศษทั้งเบื้องต้น
และเบื้องปลายของเรามีอยู่ ผลแห่งภาวนาของเราถึงที่แล้ว เพราะฉะนั้น ภิกษุ
นั้นเป็นผู้รู้ทั่วถึงในอาหาเรปฏิกูลสัญญานั้น ข้อที่กล่าวดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
อาหาเรปฏิกูลสัญญาอันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก
มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยข้อนี้ ฯ
ก็ข้อที่กล่าวดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัพพโลเกอนภิรตสัญญาอัน
ภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก อานิสงส์มาก หยั่งลงสู่
อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด เรากล่าวแล้ว เพราะอาศัยอะไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เมื่อภิกษุมีใจอันอบรมแล้วด้วยสัพพโลเกอนภิรตสัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมหวน
กลับ งอกลับ ถอยกลับจากความวิจิตรแห่งโลก ไม่ยื่นไปรับความวิจิตรแห่งโลก
อุเบกขาหรือความเป็นของปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ เปรียบเหมือนขนไก่หรือเส้นเอ็นที่เขา
ใส่ลงในไฟ ย่อมหดงอเข้าหากัน ไม่คลี่ออก ฉะนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้า
เมื่อภิกษุมีใจอันไม่อบรมแล้วด้วยสัพพโลเกอนภิรตสัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อม
ไหลไปในความวิจิตรแห่งโลก หรือความเป็นของไม่ปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ไซร้ ภิกษุ
พึงทราบข้อนั้นดังนี้ว่า สัพพโลเกอนภิรตสัญญาอันเราไม่เจริญแล้ว คุณวิเศษ
ทั้งเบื้องต้นและเบื้องปลายของเราก็ไม่มี ผลแห่งภาวนาของเรายังไม่ถึงที่ เพราะ
ฉะนั้น ภิกษุนั้นจึงต้องเป็นผู้รู้ทั่วถึงในสัพพโลเกอนภิรตสัญญานั้น ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย ถ้าหากว่าเมื่อภิกษุมีใจอันอบรมแล้วด้วยสัพพโลเกอนภิรตสัญญาอยู่โดย
มาก จิตย่อมหวนกลับ งอกลับ ถอยกลับจากความวิจิตรแห่งโลก ไม่ยื่นไปรับ
ความวิจิตรแห่งโลก อุเบกขาหรือความเป็นของปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ไซร้ ภิกษุพึง
ทราบข้อนั้นดังนี้ว่า สัพพโลเกอนภิรตสัญญาอันเราเจริญแล้ว คุณวิเศษทั้งเบื้อง
ต้นและเบื้องปลายของเรามีอยู่ ผลแห่งภาวนาของเราถึงที่แล้ว เพราะฉะนั้น
ภิกษุนั้นจึงเป็นผู้รู้ทั่วถึงในสัพพโลเกอนภิรตสัญญานั้น ข้อที่กล่าวดังนี้ว่า ดูกร
ภิกษุทั้งหลาย สัพพโลเกอนภิรตสัญญาอันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว
ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด เรากล่าวแล้ว
เพราะอาศัยข้อนี้ ฯ
ก็ข้อที่กล่าวดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนิจจสัญญาอันภิกษุเจริญแล้ว
กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะ
เป็นที่สุด เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยอะไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุมีใจอันอบรม
แล้วด้วยอนิจจสัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมหวนกลับ งอกลับ ถอยกลับ ไม่ยื่น
ไปรับในลาภสักการะ และความสรรเสริญ อุเบกขาหรือความเป็นของปฏิกูล
ย่อมตั้งอยู่ เปรียบเหมือนขนไก่ หรือเส้นเอ็นที่เขาใส่ลงในไฟ ย่อมหดงอเข้า
หากัน ไม่คลี่ออก ฉะนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อภิกษุมีใจอันอบรมแล้ว
ด้วยอนิจจสัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมไหลไปในลาภสักการะ และความ
สรรเสริญ หรือความเป็นของไม่ปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ไซร้ ภิกษุพึงทราบข้อนั้นดังนี้
ว่า อนิจจสัญญาอันเราไม่เจริญแล้ว คุณวิเศษทั้งเบื้องต้นเบื้องปลายของเราไม่มี
ผลแห่งภาวนาของเรายังไม่ถึงที่ เพราะฉะนั้น ภิกษุนั้นจึงต้องเป็นผู้รู้ทั่วถึงใน
อนิจจสัญญานั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อภิกษุมีใจอันอบรมแล้วด้วยอนิจจสัญญา
อยู่โดยมาก จิตย่อมหวนกลับ งอกลับ ถอยกลับ ไม่ยื่นไปรับลาภ สักการะ
และความสรรเสริญ อุเบกขาหรือความเป็นของปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ไซร้ ภิกษุพึง
ทราบข้อนั้นดังนี้ว่า อนิจจสัญญาอันเราเจริญแล้ว คุณวิเศษทั้งเบื้องต้นและเบื้อง
ปลายของเรามีอยู่ ผลแห่งภาวนาของเราถึงที่แล้ว เพราะฉะนั้น ภิกษุนั้นจึงเป็น
ผู้รู้ทั่วถึงในอนิจจสัญญานั้น ข้อที่กล่าวดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนิจจสัญญา
อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่
อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยข้อนี้ ฯ
ก็ข้อที่กล่าวดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนิจเจทุกขสัญญาอันภิกษุเจริญ
แล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะ
เป็นที่สุด เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยอะไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุมีใจอันอบรม
แล้วด้วยอนิจเจทุกขสัญญาอยู่โดยมาก ภยสัญญา (ความสำคัญเป็นภัย) อย่างแรง
กล้าในความเฉื่อยชา ในความเกียจคร้าน ในความท้อถอย ในความประมาท ใน
การไม่ประกอบความเพียร ในการไม่พิจารณา ย่อมปรากฏ เปรียบเหมือน
ความสำคัญว่าเป็นภัย ย่อมปรากฏในเมื่อเพชฌฆาตเงื้อดาบขึ้น ฉะนั้น ดูกร
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อภิกษุมีใจอันอบรมแล้วด้วยอนิจเจทุกขสัญญาอยู่โดยมาก
ภยสัญญาอย่างแรงกล้าในความเฉื่อยชา ในความเกียจคร้าน ในความท้อถอย ใน
ความประมาท ในการไม่ประกอบความเพียร ในการไม่พิจารณา ย่อมไม่ปรากฏ
เปรียบเหมือนความสำคัญว่าเป็นภัย ย่อมไม่ปรากฏในเมื่อเพชฌฆาตเงื้อดาบขึ้น
ฉะนั้น ภิกษุพึงทราบข้อนั้นดังนี้ว่า อนิจเจทุกขสัญญาอันเราไม่เจริญแล้ว คุณวิ-
*เศษทั้งเบื้องต้นและเบื้องปลายของเราไม่มี ผลแห่งภาวนาของเรายังไม่ถึงที่ เพราะ
ฉะนั้น ภิกษุนั้นจึงต้องเป็นผู้รู้ทั่วถึงในอนิจเจทุกขสัญญานั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ก็ถ้าว่า เมื่อภิกษุมีใจอันอบรมแล้วด้วยอนิจเจทุกขสัญญาอยู่โดยมาก ภยสัญญา
อย่างแรงกล้าในความเฉื่อยชา ในความเกียจคร้าน ในความท้อถอย ในความ
ประมาท ในการไม่ประกอบความเพียร ในการไม่พิจารณา ย่อมปรากฏ เหมือน
ความสำคัญว่าเป็นภัย ย่อมปรากฏในเมื่อเพชฌฆาตเงื้อดาบขึ้น ฉะนั้นไซร้
ภิกษุพึงทราบข้อนั้นดังนี้ว่า อนิจเจทุกขสัญญา อันเราเจริญแล้ว คุณวิเศษทั้ง
เบื้องต้นเบื้องปลายของเรามีอยู่ ผลแห่งภาวนาของเราถึงที่แล้ว เพราะฉะนั้น
ภิกษุนั้นจึงเป็นผู้รู้ทั่วถึงในอนิจเจทุกขสัญญานั้น ข้อที่กล่าวดังนี้ว่า ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย อนิจเจทุกขสัญญาอันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก
มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยข้อนี้ ฯ
ก็ข้อที่กล่าวดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทุกเขอนัตตสัญญาอันภิกษุเจริญ
แล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ
มีอมตะเป็นที่สุด เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยอะไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุ
มีใจอันอบรมแล้วด้วยทุกเขอนัตตสัญญาอยู่โดยมาก ย่อมมีใจปราศจากทิฐิว่าเรา
ตัณหาว่าของเรา และมานะทั้งในร่างกายที่มีใจครองนี้และสรรพนิมิตในภายนอก
เสียได้ ก้าวล่วงกิเลส ๓ ประการ สงบระงับ หลุดพ้นได้เป็นอย่างดี ดูกร
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อภิกษุมีใจอันอบรมแล้วด้วยทุกเขอนัตตสัญญาอยู่โดยมาก ใจ
ย่อมไม่ปราศจากทิฐิว่าเรา ตัณหาว่าของเรา และมานะทั้งในร่างกายที่มีใจครองนี้
และสรรพนิมิตในภายนอก ไม่ก้าวล่วงกิเลส ๓ ประการ ไม่สงบระงับ ยัง
ไม่หลุดพ้นด้วยดีไซร้ ภิกษุพึงทราบข้อนั้นดังนี้ว่า ทุกเขอนัตตสัญญาอันเราไม่
เจริญแล้ว คุณวิเศษทั้งเบื้องต้นและเบื้องปลายของเราก็ไม่มี ผลแห่งภาวนาของเรา
ยังไม่ถึงที่ เพราะฉะนั้น ภิกษุนั้นจึงต้องเป็นผู้รู้ทั่วถึงในทุกเขอนัตตสัญญานั้น
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ถ้าว่าเมื่อภิกษุมีใจอันอบรมแล้วด้วยทุกเขอนัตตสัญญาอยู่โดย
มาก ย่อมมีใจปราศจากทิฐิว่าเรา ตัณหาว่าของเรา และมานะทั้งในร่างกาย
ที่มีใจครองนี้และสรรพนิมิตในภายนอกเสียได้ ก้าวล่วงกิเลส ๓ ประการ สงบ
ระงับ หลุดพ้นได้เป็นอย่างดีไซร้ ภิกษุพึงทราบข้อนั้นดังนี้ว่า ทุกเขอนัตตสัญญา
อันเราเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่
อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยข้อนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย
สัญญา ๗ ประการนี้แล อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก
มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด ฯ
จบสูตรที่ ๖
สิ้นอาสวะสัตว์สองเท้านี้เป็นสัตว์ไม่สะอาดมีกลิ่นเหม็นเต็มไปด้วยซากศพต่าง... ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัญญา ๗ ประการนี้ อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็น ที่สุด ๗ ประการเป็นไฉน คือ อสุภสัญญา ๑ มรณสัญญา ๑ อาหาเรปฏิกูลสัญญา ๑ สัพพโลเกอนภิรตสัญญา ๑ อนิจจสัญญา ๑ อนิจเจทุกขสัญญา ๑ ทุกเขอนัตต- *สัญญา ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ข้อที่กล่าวดังนี้ว่า อสุภสัญญา อันภิกษุเจริญ แล้ว กระทำให้มาก ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะ เป็นที่สุด เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยอะไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุมีใจอัน อบรมแล้วด้วยอสุภสัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมหวนกลับ งอกลับ ถอยกลับจาก การร่วมเมถุนธรรม ไม่ยื่นไปรับการร่วมเมถุนธรรม อุเบกขาหรือความเป็นของ ปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ เปรียบเหมือนขนไก่หรือเส้นเอ็นที่เขาใส่ลงในไฟ ย่อมหดงอ เข้าหากัน ไม่คลี่ออก ฉะนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อภิกษุมีใจอบรมแล้ว ด้วยอสุภสัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมไหลไปในการร่วมเมถุนธรรม หรือความ เป็นของไม่ปฏิกูลตั้งอยู่ไซร้ ภิกษุพึงทราบข้อนั้นดังนี้ว่า อสุภสัญญาอันเราไม่ เจริญแล้ว คุณวิเศษทั้งเบื้องต้นและเบื้องปลายของเราก็ไม่มี ผลแห่งภาวนาของ เราไม่ถึงที่ เพราะฉะนั้น ภิกษุนั้นจึงต้องเป็นผู้รู้ทั่วถึงในอสุภสัญญานั้น ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ถ้าหากว่า เมื่อภิกษุมีใจอันอบรมแล้วด้วยอสุภสัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมหวนกลับ งอกลับ ถอยกลับ จากการร่วมเมถุนธรรม ไม่ยื่นไปรับการ ร่วมเมถุนธรรม อุเบกขาหรือความเป็นของปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ไซร้ ภิกษุพึงทราบข้อ นั้นดังนี้ว่า อสุภสัญญาอันเราเจริญแล้ว คุณวิเศษทั้งเบื้องต้นและเบื้องปลาย ของเรามีอยู่ ผลแห่งภาวนาของเราถึงที่แล้ว เพราะฉะนั้น ภิกษุนั้นย่อมเป็นผู้รู้ ทั่วถึงในอสุภสัญญานั้น ข้อที่กล่าวดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย อสุภสัญญาอัน ภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่ อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยข้อนี้ ฯ ก็ข้อที่กล่าวดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย มรณสัญญาอันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็น ที่สุด เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยอะไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุมีใจอันอบรม แล้วด้วยมรณสัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมหวนกลับ งอกลับ ถอยกลับจาก การรักชีวิตไม่ยื่นไปรับความรักชีวิต อุเบกขาหรือความเป็นของปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ เปรียบเหมือนขนไก่หรือเส้นเอ็นที่เขาใส่ลงในไฟ ย่อมหดงอเข้าหากันไม่คลี่ออก ฉะนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อภิกษุมีใจอันไม่อบรมแล้วด้วยมรณสัญญาอยู่โดย มาก จิตย่อมไหลไปในความรักชีวิต หรือความเป็นของไม่ปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ไซร้ ภิกษุพึงทราบข้อนั้นดังนี้ว่า มรณสัญญาอันเราไม่เจริญแล้ว คุณวิเศษทั้งเบื้องต้น และเบื้องปลายของเราก็ไม่มี ผลแห่งภาวนาของเรายังไม่ถึงที่ เพราะฉะนั้น ภิกษุนั้นจึงต้องเป็นผู้รู้ทั่วถึงในมรณสัญญานั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ถ้าเมื่อภิกษุมี ใจอันอบรมแล้วด้วยมรณสัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมหวนกลับ งอกลับ ถอยกลับ จากการรักชีวิต ไม่ยื่นไปรับความรักชีวิต อุเบกขาหรือความเป็นของปฏิกูลย่อมตั้ง อยู่ไซร้ ภิกษุพึงทราบข้อนั้นดังนี้ว่า มรณสัญญาอันเราเจริญแล้ว คุณวิเศษทั้ง เบื้องต้นและเบื้องปลายของเรามีอยู่ ผลแห่งภาวนาของเราถึงที่แล้ว เพราะฉะนั้น ภิกษุนั้นเป็นผู้รู้ทั่วถึงในมรณสัญญานั้น ข้อที่กล่าวดังนี้ว่า มรณสัญญาอันภิกษุ เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยข้อนี้ ฯ ก็ข้อที่กล่าวดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาหาเรปฏิกูลสัญญาอันภิกษุเจริญ แล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยอะไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุ มีใจอันอบรมแล้วด้วยอาหาเรปฏิกูลสัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมหวนกลับ งอกลับ ถอยกลับจากตัณหาในรส ไม่ยื่นไปรับตัณหาในรส อุเบกขาหรือความเป็นของ ปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ เปรียบเหมือนขนไก่หรือเส้นเอ็นที่เขาใส่ลงในไฟ ย่อมหดงอเข้า หากันไม่คลี่ออก ฉะนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อภิกษุมีใจอันอบรมแล้วด้วย อาหาเรปฏิกูลสัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมไหลไปในตัณหาในรส หรือความเป็น ของไม่ปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ไซร้ ภิกษุพึงทราบข้อนั้นดังนี้ว่า อาหาเรปฏิกูลสัญญาอัน เราไม่ได้เจริญแล้ว คุณวิเศษทั้งเบื้องต้นและเบื้องปลายของเราไม่มี ผลแห่ง ภาวนาของเรายังไม่ถึงที่ เพราะฉะนั้น ภิกษุนั้นจึงต้องเป็นผู้รู้ทั่วถึงในอาหาเรปฏิกูล- *สัญญานั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ถ้าเมื่อภิกษุมีใจอันอบรมแล้วด้วยอาหาเรปฏิกูล- *สัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมหวนกลับ งอกลับ ถอยกลับจากตัณหาในรส ไม่ยื่น ไปรับตัณหาในรส อุเบกขาหรือความเป็นของปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ไซร้ ภิกษุพึง ทราบข้อนั้นดังนี้ว่า อาหาเรปฏิกูลสัญญาอันเราเจริญแล้ว คุณวิเศษทั้งเบื้องต้น และเบื้องปลายของเรามีอยู่ ผลแห่งภาวนาของเราถึงที่แล้ว เพราะฉะนั้น ภิกษุ นั้นเป็นผู้รู้ทั่วถึงในอาหาเรปฏิกูลสัญญานั้น ข้อที่กล่าวดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาหาเรปฏิกูลสัญญาอันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยข้อนี้ ฯ ก็ข้อที่กล่าวดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัพพโลเกอนภิรตสัญญาอัน ภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก อานิสงส์มาก หยั่งลงสู่ อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด เรากล่าวแล้ว เพราะอาศัยอะไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุมีใจอันอบรมแล้วด้วยสัพพโลเกอนภิรตสัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมหวน กลับ งอกลับ ถอยกลับจากความวิจิตรแห่งโลก ไม่ยื่นไปรับความวิจิตรแห่งโลก อุเบกขาหรือความเป็นของปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ เปรียบเหมือนขนไก่หรือเส้นเอ็นที่เขา ใส่ลงในไฟ ย่อมหดงอเข้าหากัน ไม่คลี่ออก ฉะนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้า เมื่อภิกษุมีใจอันไม่อบรมแล้วด้วยสัพพโลเกอนภิรตสัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อม ไหลไปในความวิจิตรแห่งโลก หรือความเป็นของไม่ปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ไซร้ ภิกษุ พึงทราบข้อนั้นดังนี้ว่า สัพพโลเกอนภิรตสัญญาอันเราไม่เจริญแล้ว คุณวิเศษ ทั้งเบื้องต้นและเบื้องปลายของเราก็ไม่มี ผลแห่งภาวนาของเรายังไม่ถึงที่ เพราะ ฉะนั้น ภิกษุนั้นจึงต้องเป็นผู้รู้ทั่วถึงในสัพพโลเกอนภิรตสัญญานั้น ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ถ้าหากว่าเมื่อภิกษุมีใจอันอบรมแล้วด้วยสัพพโลเกอนภิรตสัญญาอยู่โดย มาก จิตย่อมหวนกลับ งอกลับ ถอยกลับจากความวิจิตรแห่งโลก ไม่ยื่นไปรับ ความวิจิตรแห่งโลก อุเบกขาหรือความเป็นของปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ไซร้ ภิกษุพึง ทราบข้อนั้นดังนี้ว่า สัพพโลเกอนภิรตสัญญาอันเราเจริญแล้ว คุณวิเศษทั้งเบื้อง ต้นและเบื้องปลายของเรามีอยู่ ผลแห่งภาวนาของเราถึงที่แล้ว เพราะฉะนั้น ภิกษุนั้นจึงเป็นผู้รู้ทั่วถึงในสัพพโลเกอนภิรตสัญญานั้น ข้อที่กล่าวดังนี้ว่า ดูกร ภิกษุทั้งหลาย สัพพโลเกอนภิรตสัญญาอันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด เรากล่าวแล้ว เพราะอาศัยข้อนี้ ฯ ก็ข้อที่กล่าวดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนิจจสัญญาอันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะ เป็นที่สุด เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยอะไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุมีใจอันอบรม แล้วด้วยอนิจจสัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมหวนกลับ งอกลับ ถอยกลับ ไม่ยื่น ไปรับในลาภสักการะ และความสรรเสริญ อุเบกขาหรือความเป็นของปฏิกูล ย่อมตั้งอยู่ เปรียบเหมือนขนไก่ หรือเส้นเอ็นที่เขาใส่ลงในไฟ ย่อมหดงอเข้า หากัน ไม่คลี่ออก ฉะนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อภิกษุมีใจอันอบรมแล้ว ด้วยอนิจจสัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมไหลไปในลาภสักการะ และความ สรรเสริญ หรือความเป็นของไม่ปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ไซร้ ภิกษุพึงทราบข้อนั้นดังนี้ ว่า อนิจจสัญญาอันเราไม่เจริญแล้ว คุณวิเศษทั้งเบื้องต้นเบื้องปลายของเราไม่มี ผลแห่งภาวนาของเรายังไม่ถึงที่ เพราะฉะนั้น ภิกษุนั้นจึงต้องเป็นผู้รู้ทั่วถึงใน อนิจจสัญญานั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อภิกษุมีใจอันอบรมแล้วด้วยอนิจจสัญญา อยู่โดยมาก จิตย่อมหวนกลับ งอกลับ ถอยกลับ ไม่ยื่นไปรับลาภ สักการะ และความสรรเสริญ อุเบกขาหรือความเป็นของปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ไซร้ ภิกษุพึง ทราบข้อนั้นดังนี้ว่า อนิจจสัญญาอันเราเจริญแล้ว คุณวิเศษทั้งเบื้องต้นและเบื้อง ปลายของเรามีอยู่ ผลแห่งภาวนาของเราถึงที่แล้ว เพราะฉะนั้น ภิกษุนั้นจึงเป็น ผู้รู้ทั่วถึงในอนิจจสัญญานั้น ข้อที่กล่าวดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนิจจสัญญา อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่ อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยข้อนี้ ฯ ก็ข้อที่กล่าวดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนิจเจทุกขสัญญาอันภิกษุเจริญ แล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะ เป็นที่สุด เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยอะไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุมีใจอันอบรม แล้วด้วยอนิจเจทุกขสัญญาอยู่โดยมาก ภยสัญญา (ความสำคัญเป็นภัย) อย่างแรง กล้าในความเฉื่อยชา ในความเกียจคร้าน ในความท้อถอย ในความประมาท ใน การไม่ประกอบความเพียร ในการไม่พิจารณา ย่อมปรากฏ เปรียบเหมือน ความสำคัญว่าเป็นภัย ย่อมปรากฏในเมื่อเพชฌฆาตเงื้อดาบขึ้น ฉะนั้น ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อภิกษุมีใจอันอบรมแล้วด้วยอนิจเจทุกขสัญญาอยู่โดยมาก ภยสัญญาอย่างแรงกล้าในความเฉื่อยชา ในความเกียจคร้าน ในความท้อถอย ใน ความประมาท ในการไม่ประกอบความเพียร ในการไม่พิจารณา ย่อมไม่ปรากฏ เปรียบเหมือนความสำคัญว่าเป็นภัย ย่อมไม่ปรากฏในเมื่อเพชฌฆาตเงื้อดาบขึ้น ฉะนั้น ภิกษุพึงทราบข้อนั้นดังนี้ว่า อนิจเจทุกขสัญญาอันเราไม่เจริญแล้ว คุณวิ- *เศษทั้งเบื้องต้นและเบื้องปลายของเราไม่มี ผลแห่งภาวนาของเรายังไม่ถึงที่ เพราะ ฉะนั้น ภิกษุนั้นจึงต้องเป็นผู้รู้ทั่วถึงในอนิจเจทุกขสัญญานั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ถ้าว่า เมื่อภิกษุมีใจอันอบรมแล้วด้วยอนิจเจทุกขสัญญาอยู่โดยมาก ภยสัญญา อย่างแรงกล้าในความเฉื่อยชา ในความเกียจคร้าน ในความท้อถอย ในความ ประมาท ในการไม่ประกอบความเพียร ในการไม่พิจารณา ย่อมปรากฏ เหมือน ความสำคัญว่าเป็นภัย ย่อมปรากฏในเมื่อเพชฌฆาตเงื้อดาบขึ้น ฉะนั้นไซร้ ภิกษุพึงทราบข้อนั้นดังนี้ว่า อนิจเจทุกขสัญญา อันเราเจริญแล้ว คุณวิเศษทั้ง เบื้องต้นเบื้องปลายของเรามีอยู่ ผลแห่งภาวนาของเราถึงที่แล้ว เพราะฉะนั้น ภิกษุนั้นจึงเป็นผู้รู้ทั่วถึงในอนิจเจทุกขสัญญานั้น ข้อที่กล่าวดังนี้ว่า ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย อนิจเจทุกขสัญญาอันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยข้อนี้ ฯ ก็ข้อที่กล่าวดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทุกเขอนัตตสัญญาอันภิกษุเจริญ แล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยอะไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุ มีใจอันอบรมแล้วด้วยทุกเขอนัตตสัญญาอยู่โดยมาก ย่อมมีใจปราศจากทิฐิว่าเรา ตัณหาว่าของเรา และมานะทั้งในร่างกายที่มีใจครองนี้และสรรพนิมิตในภายนอก เสียได้ ก้าวล่วงกิเลส ๓ ประการ สงบระงับ หลุดพ้นได้เป็นอย่างดี ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อภิกษุมีใจอันอบรมแล้วด้วยทุกเขอนัตตสัญญาอยู่โดยมาก ใจ ย่อมไม่ปราศจากทิฐิว่าเรา ตัณหาว่าของเรา และมานะทั้งในร่างกายที่มีใจครองนี้ และสรรพนิมิตในภายนอก ไม่ก้าวล่วงกิเลส ๓ ประการ ไม่สงบระงับ ยัง ไม่หลุดพ้นด้วยดีไซร้ ภิกษุพึงทราบข้อนั้นดังนี้ว่า ทุกเขอนัตตสัญญาอันเราไม่ เจริญแล้ว คุณวิเศษทั้งเบื้องต้นและเบื้องปลายของเราก็ไม่มี ผลแห่งภาวนาของเรา ยังไม่ถึงที่ เพราะฉะนั้น ภิกษุนั้นจึงต้องเป็นผู้รู้ทั่วถึงในทุกเขอนัตตสัญญานั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ถ้าว่าเมื่อภิกษุมีใจอันอบรมแล้วด้วยทุกเขอนัตตสัญญาอยู่โดย มาก ย่อมมีใจปราศจากทิฐิว่าเรา ตัณหาว่าของเรา และมานะทั้งในร่างกาย ที่มีใจครองนี้และสรรพนิมิตในภายนอกเสียได้ ก้าวล่วงกิเลส ๓ ประการ สงบ ระงับ หลุดพ้นได้เป็นอย่างดีไซร้ ภิกษุพึงทราบข้อนั้นดังนี้ว่า ทุกเขอนัตตสัญญา อันเราเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่ อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยข้อนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัญญา ๗ ประการนี้แล อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด ฯ จบสูตรที่ ๖
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัญญา ๗ ประการนี้ อันภิกษุเจริญแล้ว
กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็น
ที่สุด ๗ ประการเป็นไฉน คือ อสุภสัญญา ๑ มรณสัญญา ๑ อาหาเรปฏิกูลสัญญา ๑
สัพพโลเกอนภิรตสัญญา ๑ อนิจจสัญญา ๑ อนิจเจทุกขสัญญา ๑ ทุกเขอนัตต-
*สัญญา ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ข้อที่กล่าวดังนี้ว่า อสุภสัญญา อันภิกษุเจริญ
แล้ว กระทำให้มาก ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะ
เป็นที่สุด เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยอะไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุมีใจอัน
อบรมแล้วด้วยอสุภสัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมหวนกลับ งอกลับ ถอยกลับจาก
การร่วมเมถุนธรรม ไม่ยื่นไปรับการร่วมเมถุนธรรม อุเบกขาหรือความเป็นของ
ปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ เปรียบเหมือนขนไก่หรือเส้นเอ็นที่เขาใส่ลงในไฟ ย่อมหดงอ
เข้าหากัน ไม่คลี่ออก ฉะนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อภิกษุมีใจอบรมแล้ว
ด้วยอสุภสัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมไหลไปในการร่วมเมถุนธรรม หรือความ
เป็นของไม่ปฏิกูลตั้งอยู่ไซร้ ภิกษุพึงทราบข้อนั้นดังนี้ว่า อสุภสัญญาอันเราไม่
เจริญแล้ว คุณวิเศษทั้งเบื้องต้นและเบื้องปลายของเราก็ไม่มี ผลแห่งภาวนาของ
เราไม่ถึงที่ เพราะฉะนั้น ภิกษุนั้นจึงต้องเป็นผู้รู้ทั่วถึงในอสุภสัญญานั้น ดูกร
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าหากว่า เมื่อภิกษุมีใจอันอบรมแล้วด้วยอสุภสัญญาอยู่โดยมาก
จิตย่อมหวนกลับ งอกลับ ถอยกลับ จากการร่วมเมถุนธรรม ไม่ยื่นไปรับการ
ร่วมเมถุนธรรม อุเบกขาหรือความเป็นของปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ไซร้ ภิกษุพึงทราบข้อ
นั้นดังนี้ว่า อสุภสัญญาอันเราเจริญแล้ว คุณวิเศษทั้งเบื้องต้นและเบื้องปลาย
ของเรามีอยู่ ผลแห่งภาวนาของเราถึงที่แล้ว เพราะฉะนั้น ภิกษุนั้นย่อมเป็นผู้รู้
ทั่วถึงในอสุภสัญญานั้น ข้อที่กล่าวดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย อสุภสัญญาอัน
ภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่
อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยข้อนี้ ฯ
ก็ข้อที่กล่าวดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย มรณสัญญาอันภิกษุเจริญแล้ว
กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็น
ที่สุด เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยอะไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุมีใจอันอบรม
แล้วด้วยมรณสัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมหวนกลับ งอกลับ ถอยกลับจาก
การรักชีวิตไม่ยื่นไปรับความรักชีวิต อุเบกขาหรือความเป็นของปฏิกูลย่อมตั้งอยู่
เปรียบเหมือนขนไก่หรือเส้นเอ็นที่เขาใส่ลงในไฟ ย่อมหดงอเข้าหากันไม่คลี่ออก
ฉะนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อภิกษุมีใจอันไม่อบรมแล้วด้วยมรณสัญญาอยู่โดย
มาก จิตย่อมไหลไปในความรักชีวิต หรือความเป็นของไม่ปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ไซร้
ภิกษุพึงทราบข้อนั้นดังนี้ว่า มรณสัญญาอันเราไม่เจริญแล้ว คุณวิเศษทั้งเบื้องต้น
และเบื้องปลายของเราก็ไม่มี ผลแห่งภาวนาของเรายังไม่ถึงที่ เพราะฉะนั้น
ภิกษุนั้นจึงต้องเป็นผู้รู้ทั่วถึงในมรณสัญญานั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ถ้าเมื่อภิกษุมี
ใจอันอบรมแล้วด้วยมรณสัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมหวนกลับ งอกลับ ถอยกลับ
จากการรักชีวิต ไม่ยื่นไปรับความรักชีวิต อุเบกขาหรือความเป็นของปฏิกูลย่อมตั้ง
อยู่ไซร้ ภิกษุพึงทราบข้อนั้นดังนี้ว่า มรณสัญญาอันเราเจริญแล้ว คุณวิเศษทั้ง
เบื้องต้นและเบื้องปลายของเรามีอยู่ ผลแห่งภาวนาของเราถึงที่แล้ว เพราะฉะนั้น
ภิกษุนั้นเป็นผู้รู้ทั่วถึงในมรณสัญญานั้น ข้อที่กล่าวดังนี้ว่า มรณสัญญาอันภิกษุ
เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ
มีอมตะเป็นที่สุด เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยข้อนี้ ฯ
ก็ข้อที่กล่าวดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาหาเรปฏิกูลสัญญาอันภิกษุเจริญ
แล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ
มีอมตะเป็นที่สุด เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยอะไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุ
มีใจอันอบรมแล้วด้วยอาหาเรปฏิกูลสัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมหวนกลับ งอกลับ
ถอยกลับจากตัณหาในรส ไม่ยื่นไปรับตัณหาในรส อุเบกขาหรือความเป็นของ
ปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ เปรียบเหมือนขนไก่หรือเส้นเอ็นที่เขาใส่ลงในไฟ ย่อมหดงอเข้า
หากันไม่คลี่ออก ฉะนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อภิกษุมีใจอันอบรมแล้วด้วย
อาหาเรปฏิกูลสัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมไหลไปในตัณหาในรส หรือความเป็น
ของไม่ปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ไซร้ ภิกษุพึงทราบข้อนั้นดังนี้ว่า อาหาเรปฏิกูลสัญญาอัน
เราไม่ได้เจริญแล้ว คุณวิเศษทั้งเบื้องต้นและเบื้องปลายของเราไม่มี ผลแห่ง
ภาวนาของเรายังไม่ถึงที่ เพราะฉะนั้น ภิกษุนั้นจึงต้องเป็นผู้รู้ทั่วถึงในอาหาเรปฏิกูล-
*สัญญานั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ถ้าเมื่อภิกษุมีใจอันอบรมแล้วด้วยอาหาเรปฏิกูล-
*สัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมหวนกลับ งอกลับ ถอยกลับจากตัณหาในรส ไม่ยื่น
ไปรับตัณหาในรส อุเบกขาหรือความเป็นของปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ไซร้ ภิกษุพึง
ทราบข้อนั้นดังนี้ว่า อาหาเรปฏิกูลสัญญาอันเราเจริญแล้ว คุณวิเศษทั้งเบื้องต้น
และเบื้องปลายของเรามีอยู่ ผลแห่งภาวนาของเราถึงที่แล้ว เพราะฉะนั้น ภิกษุ
นั้นเป็นผู้รู้ทั่วถึงในอาหาเรปฏิกูลสัญญานั้น ข้อที่กล่าวดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
อาหาเรปฏิกูลสัญญาอันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก
มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยข้อนี้ ฯ
ก็ข้อที่กล่าวดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัพพโลเกอนภิรตสัญญาอัน
ภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก อานิสงส์มาก หยั่งลงสู่
อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด เรากล่าวแล้ว เพราะอาศัยอะไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เมื่อภิกษุมีใจอันอบรมแล้วด้วยสัพพโลเกอนภิรตสัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมหวน
กลับ งอกลับ ถอยกลับจากความวิจิตรแห่งโลก ไม่ยื่นไปรับความวิจิตรแห่งโลก
อุเบกขาหรือความเป็นของปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ เปรียบเหมือนขนไก่หรือเส้นเอ็นที่เขา
ใส่ลงในไฟ ย่อมหดงอเข้าหากัน ไม่คลี่ออก ฉะนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้า
เมื่อภิกษุมีใจอันไม่อบรมแล้วด้วยสัพพโลเกอนภิรตสัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อม
ไหลไปในความวิจิตรแห่งโลก หรือความเป็นของไม่ปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ไซร้ ภิกษุ
พึงทราบข้อนั้นดังนี้ว่า สัพพโลเกอนภิรตสัญญาอันเราไม่เจริญแล้ว คุณวิเศษ
ทั้งเบื้องต้นและเบื้องปลายของเราก็ไม่มี ผลแห่งภาวนาของเรายังไม่ถึงที่ เพราะ
ฉะนั้น ภิกษุนั้นจึงต้องเป็นผู้รู้ทั่วถึงในสัพพโลเกอนภิรตสัญญานั้น ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย ถ้าหากว่าเมื่อภิกษุมีใจอันอบรมแล้วด้วยสัพพโลเกอนภิรตสัญญาอยู่โดย
มาก จิตย่อมหวนกลับ งอกลับ ถอยกลับจากความวิจิตรแห่งโลก ไม่ยื่นไปรับ
ความวิจิตรแห่งโลก อุเบกขาหรือความเป็นของปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ไซร้ ภิกษุพึง
ทราบข้อนั้นดังนี้ว่า สัพพโลเกอนภิรตสัญญาอันเราเจริญแล้ว คุณวิเศษทั้งเบื้อง
ต้นและเบื้องปลายของเรามีอยู่ ผลแห่งภาวนาของเราถึงที่แล้ว เพราะฉะนั้น
ภิกษุนั้นจึงเป็นผู้รู้ทั่วถึงในสัพพโลเกอนภิรตสัญญานั้น ข้อที่กล่าวดังนี้ว่า ดูกร
ภิกษุทั้งหลาย สัพพโลเกอนภิรตสัญญาอันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว
ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด เรากล่าวแล้ว
เพราะอาศัยข้อนี้ ฯ
ก็ข้อที่กล่าวดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนิจจสัญญาอันภิกษุเจริญแล้ว
กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะ
เป็นที่สุด เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยอะไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุมีใจอันอบรม
แล้วด้วยอนิจจสัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมหวนกลับ งอกลับ ถอยกลับ ไม่ยื่น
ไปรับในลาภสักการะ และความสรรเสริญ อุเบกขาหรือความเป็นของปฏิกูล
ย่อมตั้งอยู่ เปรียบเหมือนขนไก่ หรือเส้นเอ็นที่เขาใส่ลงในไฟ ย่อมหดงอเข้า
หากัน ไม่คลี่ออก ฉะนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อภิกษุมีใจอันอบรมแล้ว
ด้วยอนิจจสัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมไหลไปในลาภสักการะ และความ
สรรเสริญ หรือความเป็นของไม่ปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ไซร้ ภิกษุพึงทราบข้อนั้นดังนี้
ว่า อนิจจสัญญาอันเราไม่เจริญแล้ว คุณวิเศษทั้งเบื้องต้นเบื้องปลายของเราไม่มี
ผลแห่งภาวนาของเรายังไม่ถึงที่ เพราะฉะนั้น ภิกษุนั้นจึงต้องเป็นผู้รู้ทั่วถึงใน
อนิจจสัญญานั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อภิกษุมีใจอันอบรมแล้วด้วยอนิจจสัญญา
อยู่โดยมาก จิตย่อมหวนกลับ งอกลับ ถอยกลับ ไม่ยื่นไปรับลาภ สักการะ
และความสรรเสริญ อุเบกขาหรือความเป็นของปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ไซร้ ภิกษุพึง
ทราบข้อนั้นดังนี้ว่า อนิจจสัญญาอันเราเจริญแล้ว คุณวิเศษทั้งเบื้องต้นและเบื้อง
ปลายของเรามีอยู่ ผลแห่งภาวนาของเราถึงที่แล้ว เพราะฉะนั้น ภิกษุนั้นจึงเป็น
ผู้รู้ทั่วถึงในอนิจจสัญญานั้น ข้อที่กล่าวดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนิจจสัญญา
อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่
อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยข้อนี้ ฯ
ก็ข้อที่กล่าวดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนิจเจทุกขสัญญาอันภิกษุเจริญ
แล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะ
เป็นที่สุด เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยอะไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุมีใจอันอบรม
แล้วด้วยอนิจเจทุกขสัญญาอยู่โดยมาก ภยสัญญา (ความสำคัญเป็นภัย) อย่างแรง
กล้าในความเฉื่อยชา ในความเกียจคร้าน ในความท้อถอย ในความประมาท ใน
การไม่ประกอบความเพียร ในการไม่พิจารณา ย่อมปรากฏ เปรียบเหมือน
ความสำคัญว่าเป็นภัย ย่อมปรากฏในเมื่อเพชฌฆาตเงื้อดาบขึ้น ฉะนั้น ดูกร
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อภิกษุมีใจอันอบรมแล้วด้วยอนิจเจทุกขสัญญาอยู่โดยมาก
ภยสัญญาอย่างแรงกล้าในความเฉื่อยชา ในความเกียจคร้าน ในความท้อถอย ใน
ความประมาท ในการไม่ประกอบความเพียร ในการไม่พิจารณา ย่อมไม่ปรากฏ
เปรียบเหมือนความสำคัญว่าเป็นภัย ย่อมไม่ปรากฏในเมื่อเพชฌฆาตเงื้อดาบขึ้น
ฉะนั้น ภิกษุพึงทราบข้อนั้นดังนี้ว่า อนิจเจทุกขสัญญาอันเราไม่เจริญแล้ว คุณวิ-
*เศษทั้งเบื้องต้นและเบื้องปลายของเราไม่มี ผลแห่งภาวนาของเรายังไม่ถึงที่ เพราะ
ฉะนั้น ภิกษุนั้นจึงต้องเป็นผู้รู้ทั่วถึงในอนิจเจทุกขสัญญานั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ก็ถ้าว่า เมื่อภิกษุมีใจอันอบรมแล้วด้วยอนิจเจทุกขสัญญาอยู่โดยมาก ภยสัญญา
อย่างแรงกล้าในความเฉื่อยชา ในความเกียจคร้าน ในความท้อถอย ในความ
ประมาท ในการไม่ประกอบความเพียร ในการไม่พิจารณา ย่อมปรากฏ เหมือน
ความสำคัญว่าเป็นภัย ย่อมปรากฏในเมื่อเพชฌฆาตเงื้อดาบขึ้น ฉะนั้นไซร้
ภิกษุพึงทราบข้อนั้นดังนี้ว่า อนิจเจทุกขสัญญา อันเราเจริญแล้ว คุณวิเศษทั้ง
เบื้องต้นเบื้องปลายของเรามีอยู่ ผลแห่งภาวนาของเราถึงที่แล้ว เพราะฉะนั้น
ภิกษุนั้นจึงเป็นผู้รู้ทั่วถึงในอนิจเจทุกขสัญญานั้น ข้อที่กล่าวดังนี้ว่า ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย อนิจเจทุกขสัญญาอันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก
มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยข้อนี้ ฯ
ก็ข้อที่กล่าวดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทุกเขอนัตตสัญญาอันภิกษุเจริญ
แล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ
มีอมตะเป็นที่สุด เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยอะไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุ
มีใจอันอบรมแล้วด้วยทุกเขอนัตตสัญญาอยู่โดยมาก ย่อมมีใจปราศจากทิฐิว่าเรา
ตัณหาว่าของเรา และมานะทั้งในร่างกายที่มีใจครองนี้และสรรพนิมิตในภายนอก
เสียได้ ก้าวล่วงกิเลส ๓ ประการ สงบระงับ หลุดพ้นได้เป็นอย่างดี ดูกร
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อภิกษุมีใจอันอบรมแล้วด้วยทุกเขอนัตตสัญญาอยู่โดยมาก ใจ
ย่อมไม่ปราศจากทิฐิว่าเรา ตัณหาว่าของเรา และมานะทั้งในร่างกายที่มีใจครองนี้
และสรรพนิมิตในภายนอก ไม่ก้าวล่วงกิเลส ๓ ประการ ไม่สงบระงับ ยัง
ไม่หลุดพ้นด้วยดีไซร้ ภิกษุพึงทราบข้อนั้นดังนี้ว่า ทุกเขอนัตตสัญญาอันเราไม่
เจริญแล้ว คุณวิเศษทั้งเบื้องต้นและเบื้องปลายของเราก็ไม่มี ผลแห่งภาวนาของเรา
ยังไม่ถึงที่ เพราะฉะนั้น ภิกษุนั้นจึงต้องเป็นผู้รู้ทั่วถึงในทุกเขอนัตตสัญญานั้น
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ถ้าว่าเมื่อภิกษุมีใจอันอบรมแล้วด้วยทุกเขอนัตตสัญญาอยู่โดย
มาก ย่อมมีใจปราศจากทิฐิว่าเรา ตัณหาว่าของเรา และมานะทั้งในร่างกาย
ที่มีใจครองนี้และสรรพนิมิตในภายนอกเสียได้ ก้าวล่วงกิเลส ๓ ประการ สงบ
ระงับ หลุดพ้นได้เป็นอย่างดีไซร้ ภิกษุพึงทราบข้อนั้นดังนี้ว่า ทุกเขอนัตตสัญญา
อันเราเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่
อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยข้อนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย
สัญญา ๗ ประการนี้แล อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก
มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด ฯ
จบสูตรที่ ๖
สิ้นอาสวะสัตว์สองเท้านี้เป็นสัตว์ไม่สะอาดมีกลิ่นเหม็นเต็มไปด้วยซากศพต่าง... ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัญญา ๗ ประการนี้ อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็น ที่สุด ๗ ประการเป็นไฉน คือ อสุภสัญญา ๑ มรณสัญญา ๑ อาหาเรปฏิกูลสัญญา ๑ สัพพโลเกอนภิรตสัญญา ๑ อนิจจสัญญา ๑ อนิจเจทุกขสัญญา ๑ ทุกเขอนัตต- *สัญญา ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ข้อที่กล่าวดังนี้ว่า อสุภสัญญา อันภิกษุเจริญ แล้ว กระทำให้มาก ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะ เป็นที่สุด เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยอะไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุมีใจอัน อบรมแล้วด้วยอสุภสัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมหวนกลับ งอกลับ ถอยกลับจาก การร่วมเมถุนธรรม ไม่ยื่นไปรับการร่วมเมถุนธรรม อุเบกขาหรือความเป็นของ ปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ เปรียบเหมือนขนไก่หรือเส้นเอ็นที่เขาใส่ลงในไฟ ย่อมหดงอ เข้าหากัน ไม่คลี่ออก ฉะนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อภิกษุมีใจอบรมแล้ว ด้วยอสุภสัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมไหลไปในการร่วมเมถุนธรรม หรือความ เป็นของไม่ปฏิกูลตั้งอยู่ไซร้ ภิกษุพึงทราบข้อนั้นดังนี้ว่า อสุภสัญญาอันเราไม่ เจริญแล้ว คุณวิเศษทั้งเบื้องต้นและเบื้องปลายของเราก็ไม่มี ผลแห่งภาวนาของ เราไม่ถึงที่ เพราะฉะนั้น ภิกษุนั้นจึงต้องเป็นผู้รู้ทั่วถึงในอสุภสัญญานั้น ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ถ้าหากว่า เมื่อภิกษุมีใจอันอบรมแล้วด้วยอสุภสัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมหวนกลับ งอกลับ ถอยกลับ จากการร่วมเมถุนธรรม ไม่ยื่นไปรับการ ร่วมเมถุนธรรม อุเบกขาหรือความเป็นของปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ไซร้ ภิกษุพึงทราบข้อ นั้นดังนี้ว่า อสุภสัญญาอันเราเจริญแล้ว คุณวิเศษทั้งเบื้องต้นและเบื้องปลาย ของเรามีอยู่ ผลแห่งภาวนาของเราถึงที่แล้ว เพราะฉะนั้น ภิกษุนั้นย่อมเป็นผู้รู้ ทั่วถึงในอสุภสัญญานั้น ข้อที่กล่าวดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย อสุภสัญญาอัน ภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่ อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยข้อนี้ ฯ ก็ข้อที่กล่าวดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย มรณสัญญาอันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็น ที่สุด เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยอะไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุมีใจอันอบรม แล้วด้วยมรณสัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมหวนกลับ งอกลับ ถอยกลับจาก การรักชีวิตไม่ยื่นไปรับความรักชีวิต อุเบกขาหรือความเป็นของปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ เปรียบเหมือนขนไก่หรือเส้นเอ็นที่เขาใส่ลงในไฟ ย่อมหดงอเข้าหากันไม่คลี่ออก ฉะนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อภิกษุมีใจอันไม่อบรมแล้วด้วยมรณสัญญาอยู่โดย มาก จิตย่อมไหลไปในความรักชีวิต หรือความเป็นของไม่ปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ไซร้ ภิกษุพึงทราบข้อนั้นดังนี้ว่า มรณสัญญาอันเราไม่เจริญแล้ว คุณวิเศษทั้งเบื้องต้น และเบื้องปลายของเราก็ไม่มี ผลแห่งภาวนาของเรายังไม่ถึงที่ เพราะฉะนั้น ภิกษุนั้นจึงต้องเป็นผู้รู้ทั่วถึงในมรณสัญญานั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ถ้าเมื่อภิกษุมี ใจอันอบรมแล้วด้วยมรณสัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมหวนกลับ งอกลับ ถอยกลับ จากการรักชีวิต ไม่ยื่นไปรับความรักชีวิต อุเบกขาหรือความเป็นของปฏิกูลย่อมตั้ง อยู่ไซร้ ภิกษุพึงทราบข้อนั้นดังนี้ว่า มรณสัญญาอันเราเจริญแล้ว คุณวิเศษทั้ง เบื้องต้นและเบื้องปลายของเรามีอยู่ ผลแห่งภาวนาของเราถึงที่แล้ว เพราะฉะนั้น ภิกษุนั้นเป็นผู้รู้ทั่วถึงในมรณสัญญานั้น ข้อที่กล่าวดังนี้ว่า มรณสัญญาอันภิกษุ เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยข้อนี้ ฯ ก็ข้อที่กล่าวดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาหาเรปฏิกูลสัญญาอันภิกษุเจริญ แล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยอะไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุ มีใจอันอบรมแล้วด้วยอาหาเรปฏิกูลสัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมหวนกลับ งอกลับ ถอยกลับจากตัณหาในรส ไม่ยื่นไปรับตัณหาในรส อุเบกขาหรือความเป็นของ ปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ เปรียบเหมือนขนไก่หรือเส้นเอ็นที่เขาใส่ลงในไฟ ย่อมหดงอเข้า หากันไม่คลี่ออก ฉะนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อภิกษุมีใจอันอบรมแล้วด้วย อาหาเรปฏิกูลสัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมไหลไปในตัณหาในรส หรือความเป็น ของไม่ปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ไซร้ ภิกษุพึงทราบข้อนั้นดังนี้ว่า อาหาเรปฏิกูลสัญญาอัน เราไม่ได้เจริญแล้ว คุณวิเศษทั้งเบื้องต้นและเบื้องปลายของเราไม่มี ผลแห่ง ภาวนาของเรายังไม่ถึงที่ เพราะฉะนั้น ภิกษุนั้นจึงต้องเป็นผู้รู้ทั่วถึงในอาหาเรปฏิกูล- *สัญญานั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ถ้าเมื่อภิกษุมีใจอันอบรมแล้วด้วยอาหาเรปฏิกูล- *สัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมหวนกลับ งอกลับ ถอยกลับจากตัณหาในรส ไม่ยื่น ไปรับตัณหาในรส อุเบกขาหรือความเป็นของปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ไซร้ ภิกษุพึง ทราบข้อนั้นดังนี้ว่า อาหาเรปฏิกูลสัญญาอันเราเจริญแล้ว คุณวิเศษทั้งเบื้องต้น และเบื้องปลายของเรามีอยู่ ผลแห่งภาวนาของเราถึงที่แล้ว เพราะฉะนั้น ภิกษุ นั้นเป็นผู้รู้ทั่วถึงในอาหาเรปฏิกูลสัญญานั้น ข้อที่กล่าวดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาหาเรปฏิกูลสัญญาอันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยข้อนี้ ฯ ก็ข้อที่กล่าวดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัพพโลเกอนภิรตสัญญาอัน ภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก อานิสงส์มาก หยั่งลงสู่ อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด เรากล่าวแล้ว เพราะอาศัยอะไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุมีใจอันอบรมแล้วด้วยสัพพโลเกอนภิรตสัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมหวน กลับ งอกลับ ถอยกลับจากความวิจิตรแห่งโลก ไม่ยื่นไปรับความวิจิตรแห่งโลก อุเบกขาหรือความเป็นของปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ เปรียบเหมือนขนไก่หรือเส้นเอ็นที่เขา ใส่ลงในไฟ ย่อมหดงอเข้าหากัน ไม่คลี่ออก ฉะนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้า เมื่อภิกษุมีใจอันไม่อบรมแล้วด้วยสัพพโลเกอนภิรตสัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อม ไหลไปในความวิจิตรแห่งโลก หรือความเป็นของไม่ปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ไซร้ ภิกษุ พึงทราบข้อนั้นดังนี้ว่า สัพพโลเกอนภิรตสัญญาอันเราไม่เจริญแล้ว คุณวิเศษ ทั้งเบื้องต้นและเบื้องปลายของเราก็ไม่มี ผลแห่งภาวนาของเรายังไม่ถึงที่ เพราะ ฉะนั้น ภิกษุนั้นจึงต้องเป็นผู้รู้ทั่วถึงในสัพพโลเกอนภิรตสัญญานั้น ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ถ้าหากว่าเมื่อภิกษุมีใจอันอบรมแล้วด้วยสัพพโลเกอนภิรตสัญญาอยู่โดย มาก จิตย่อมหวนกลับ งอกลับ ถอยกลับจากความวิจิตรแห่งโลก ไม่ยื่นไปรับ ความวิจิตรแห่งโลก อุเบกขาหรือความเป็นของปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ไซร้ ภิกษุพึง ทราบข้อนั้นดังนี้ว่า สัพพโลเกอนภิรตสัญญาอันเราเจริญแล้ว คุณวิเศษทั้งเบื้อง ต้นและเบื้องปลายของเรามีอยู่ ผลแห่งภาวนาของเราถึงที่แล้ว เพราะฉะนั้น ภิกษุนั้นจึงเป็นผู้รู้ทั่วถึงในสัพพโลเกอนภิรตสัญญานั้น ข้อที่กล่าวดังนี้ว่า ดูกร ภิกษุทั้งหลาย สัพพโลเกอนภิรตสัญญาอันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด เรากล่าวแล้ว เพราะอาศัยข้อนี้ ฯ ก็ข้อที่กล่าวดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนิจจสัญญาอันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะ เป็นที่สุด เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยอะไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุมีใจอันอบรม แล้วด้วยอนิจจสัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมหวนกลับ งอกลับ ถอยกลับ ไม่ยื่น ไปรับในลาภสักการะ และความสรรเสริญ อุเบกขาหรือความเป็นของปฏิกูล ย่อมตั้งอยู่ เปรียบเหมือนขนไก่ หรือเส้นเอ็นที่เขาใส่ลงในไฟ ย่อมหดงอเข้า หากัน ไม่คลี่ออก ฉะนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อภิกษุมีใจอันอบรมแล้ว ด้วยอนิจจสัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมไหลไปในลาภสักการะ และความ สรรเสริญ หรือความเป็นของไม่ปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ไซร้ ภิกษุพึงทราบข้อนั้นดังนี้ ว่า อนิจจสัญญาอันเราไม่เจริญแล้ว คุณวิเศษทั้งเบื้องต้นเบื้องปลายของเราไม่มี ผลแห่งภาวนาของเรายังไม่ถึงที่ เพราะฉะนั้น ภิกษุนั้นจึงต้องเป็นผู้รู้ทั่วถึงใน อนิจจสัญญานั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อภิกษุมีใจอันอบรมแล้วด้วยอนิจจสัญญา อยู่โดยมาก จิตย่อมหวนกลับ งอกลับ ถอยกลับ ไม่ยื่นไปรับลาภ สักการะ และความสรรเสริญ อุเบกขาหรือความเป็นของปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ไซร้ ภิกษุพึง ทราบข้อนั้นดังนี้ว่า อนิจจสัญญาอันเราเจริญแล้ว คุณวิเศษทั้งเบื้องต้นและเบื้อง ปลายของเรามีอยู่ ผลแห่งภาวนาของเราถึงที่แล้ว เพราะฉะนั้น ภิกษุนั้นจึงเป็น ผู้รู้ทั่วถึงในอนิจจสัญญานั้น ข้อที่กล่าวดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนิจจสัญญา อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่ อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยข้อนี้ ฯ ก็ข้อที่กล่าวดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนิจเจทุกขสัญญาอันภิกษุเจริญ แล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะ เป็นที่สุด เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยอะไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุมีใจอันอบรม แล้วด้วยอนิจเจทุกขสัญญาอยู่โดยมาก ภยสัญญา (ความสำคัญเป็นภัย) อย่างแรง กล้าในความเฉื่อยชา ในความเกียจคร้าน ในความท้อถอย ในความประมาท ใน การไม่ประกอบความเพียร ในการไม่พิจารณา ย่อมปรากฏ เปรียบเหมือน ความสำคัญว่าเป็นภัย ย่อมปรากฏในเมื่อเพชฌฆาตเงื้อดาบขึ้น ฉะนั้น ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อภิกษุมีใจอันอบรมแล้วด้วยอนิจเจทุกขสัญญาอยู่โดยมาก ภยสัญญาอย่างแรงกล้าในความเฉื่อยชา ในความเกียจคร้าน ในความท้อถอย ใน ความประมาท ในการไม่ประกอบความเพียร ในการไม่พิจารณา ย่อมไม่ปรากฏ เปรียบเหมือนความสำคัญว่าเป็นภัย ย่อมไม่ปรากฏในเมื่อเพชฌฆาตเงื้อดาบขึ้น ฉะนั้น ภิกษุพึงทราบข้อนั้นดังนี้ว่า อนิจเจทุกขสัญญาอันเราไม่เจริญแล้ว คุณวิ- *เศษทั้งเบื้องต้นและเบื้องปลายของเราไม่มี ผลแห่งภาวนาของเรายังไม่ถึงที่ เพราะ ฉะนั้น ภิกษุนั้นจึงต้องเป็นผู้รู้ทั่วถึงในอนิจเจทุกขสัญญานั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ถ้าว่า เมื่อภิกษุมีใจอันอบรมแล้วด้วยอนิจเจทุกขสัญญาอยู่โดยมาก ภยสัญญา อย่างแรงกล้าในความเฉื่อยชา ในความเกียจคร้าน ในความท้อถอย ในความ ประมาท ในการไม่ประกอบความเพียร ในการไม่พิจารณา ย่อมปรากฏ เหมือน ความสำคัญว่าเป็นภัย ย่อมปรากฏในเมื่อเพชฌฆาตเงื้อดาบขึ้น ฉะนั้นไซร้ ภิกษุพึงทราบข้อนั้นดังนี้ว่า อนิจเจทุกขสัญญา อันเราเจริญแล้ว คุณวิเศษทั้ง เบื้องต้นเบื้องปลายของเรามีอยู่ ผลแห่งภาวนาของเราถึงที่แล้ว เพราะฉะนั้น ภิกษุนั้นจึงเป็นผู้รู้ทั่วถึงในอนิจเจทุกขสัญญานั้น ข้อที่กล่าวดังนี้ว่า ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย อนิจเจทุกขสัญญาอันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยข้อนี้ ฯ ก็ข้อที่กล่าวดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทุกเขอนัตตสัญญาอันภิกษุเจริญ แล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยอะไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุ มีใจอันอบรมแล้วด้วยทุกเขอนัตตสัญญาอยู่โดยมาก ย่อมมีใจปราศจากทิฐิว่าเรา ตัณหาว่าของเรา และมานะทั้งในร่างกายที่มีใจครองนี้และสรรพนิมิตในภายนอก เสียได้ ก้าวล่วงกิเลส ๓ ประการ สงบระงับ หลุดพ้นได้เป็นอย่างดี ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อภิกษุมีใจอันอบรมแล้วด้วยทุกเขอนัตตสัญญาอยู่โดยมาก ใจ ย่อมไม่ปราศจากทิฐิว่าเรา ตัณหาว่าของเรา และมานะทั้งในร่างกายที่มีใจครองนี้ และสรรพนิมิตในภายนอก ไม่ก้าวล่วงกิเลส ๓ ประการ ไม่สงบระงับ ยัง ไม่หลุดพ้นด้วยดีไซร้ ภิกษุพึงทราบข้อนั้นดังนี้ว่า ทุกเขอนัตตสัญญาอันเราไม่ เจริญแล้ว คุณวิเศษทั้งเบื้องต้นและเบื้องปลายของเราก็ไม่มี ผลแห่งภาวนาของเรา ยังไม่ถึงที่ เพราะฉะนั้น ภิกษุนั้นจึงต้องเป็นผู้รู้ทั่วถึงในทุกเขอนัตตสัญญานั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ถ้าว่าเมื่อภิกษุมีใจอันอบรมแล้วด้วยทุกเขอนัตตสัญญาอยู่โดย มาก ย่อมมีใจปราศจากทิฐิว่าเรา ตัณหาว่าของเรา และมานะทั้งในร่างกาย ที่มีใจครองนี้และสรรพนิมิตในภายนอกเสียได้ ก้าวล่วงกิเลส ๓ ประการ สงบ ระงับ หลุดพ้นได้เป็นอย่างดีไซร้ ภิกษุพึงทราบข้อนั้นดังนี้ว่า ทุกเขอนัตตสัญญา อันเราเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่ อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยข้อนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัญญา ๗ ประการนี้แล อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด ฯ จบสูตรที่ ๖
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัญญา ๗ ประการนี้ อันภิกษุเจริญแล้ว
กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็น
ที่สุด ๗ ประการเป็นไฉน คือ อสุภสัญญา ๑ มรณสัญญา ๑ อาหาเรปฏิกูลสัญญา ๑
สัพพโลเกอนภิรตสัญญา ๑ อนิจจสัญญา ๑ อนิจเจทุกขสัญญา ๑ ทุกเขอนัตต-
*สัญญา ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ข้อที่กล่าวดังนี้ว่า อสุภสัญญา อันภิกษุเจริญ
แล้ว กระทำให้มาก ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะ
เป็นที่สุด เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยอะไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุมีใจอัน
อบรมแล้วด้วยอสุภสัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมหวนกลับ งอกลับ ถอยกลับจาก
การร่วมเมถุนธรรม ไม่ยื่นไปรับการร่วมเมถุนธรรม อุเบกขาหรือความเป็นของ
ปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ เปรียบเหมือนขนไก่หรือเส้นเอ็นที่เขาใส่ลงในไฟ ย่อมหดงอ
เข้าหากัน ไม่คลี่ออก ฉะนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อภิกษุมีใจอบรมแล้ว
ด้วยอสุภสัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมไหลไปในการร่วมเมถุนธรรม หรือความ
เป็นของไม่ปฏิกูลตั้งอยู่ไซร้ ภิกษุพึงทราบข้อนั้นดังนี้ว่า อสุภสัญญาอันเราไม่
เจริญแล้ว คุณวิเศษทั้งเบื้องต้นและเบื้องปลายของเราก็ไม่มี ผลแห่งภาวนาของ
เราไม่ถึงที่ เพราะฉะนั้น ภิกษุนั้นจึงต้องเป็นผู้รู้ทั่วถึงในอสุภสัญญานั้น ดูกร
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าหากว่า เมื่อภิกษุมีใจอันอบรมแล้วด้วยอสุภสัญญาอยู่โดยมาก
จิตย่อมหวนกลับ งอกลับ ถอยกลับ จากการร่วมเมถุนธรรม ไม่ยื่นไปรับการ
ร่วมเมถุนธรรม อุเบกขาหรือความเป็นของปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ไซร้ ภิกษุพึงทราบข้อ
นั้นดังนี้ว่า อสุภสัญญาอันเราเจริญแล้ว คุณวิเศษทั้งเบื้องต้นและเบื้องปลาย
ของเรามีอยู่ ผลแห่งภาวนาของเราถึงที่แล้ว เพราะฉะนั้น ภิกษุนั้นย่อมเป็นผู้รู้
ทั่วถึงในอสุภสัญญานั้น ข้อที่กล่าวดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย อสุภสัญญาอัน
ภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่
อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยข้อนี้ ฯ
ก็ข้อที่กล่าวดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย มรณสัญญาอันภิกษุเจริญแล้ว
กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็น
ที่สุด เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยอะไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุมีใจอันอบรม
แล้วด้วยมรณสัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมหวนกลับ งอกลับ ถอยกลับจาก
การรักชีวิตไม่ยื่นไปรับความรักชีวิต อุเบกขาหรือความเป็นของปฏิกูลย่อมตั้งอยู่
เปรียบเหมือนขนไก่หรือเส้นเอ็นที่เขาใส่ลงในไฟ ย่อมหดงอเข้าหากันไม่คลี่ออก
ฉะนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อภิกษุมีใจอันไม่อบรมแล้วด้วยมรณสัญญาอยู่โดย
มาก จิตย่อมไหลไปในความรักชีวิต หรือความเป็นของไม่ปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ไซร้
ภิกษุพึงทราบข้อนั้นดังนี้ว่า มรณสัญญาอันเราไม่เจริญแล้ว คุณวิเศษทั้งเบื้องต้น
และเบื้องปลายของเราก็ไม่มี ผลแห่งภาวนาของเรายังไม่ถึงที่ เพราะฉะนั้น
ภิกษุนั้นจึงต้องเป็นผู้รู้ทั่วถึงในมรณสัญญานั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ถ้าเมื่อภิกษุมี
ใจอันอบรมแล้วด้วยมรณสัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมหวนกลับ งอกลับ ถอยกลับ
จากการรักชีวิต ไม่ยื่นไปรับความรักชีวิต อุเบกขาหรือความเป็นของปฏิกูลย่อมตั้ง
อยู่ไซร้ ภิกษุพึงทราบข้อนั้นดังนี้ว่า มรณสัญญาอันเราเจริญแล้ว คุณวิเศษทั้ง
เบื้องต้นและเบื้องปลายของเรามีอยู่ ผลแห่งภาวนาของเราถึงที่แล้ว เพราะฉะนั้น
ภิกษุนั้นเป็นผู้รู้ทั่วถึงในมรณสัญญานั้น ข้อที่กล่าวดังนี้ว่า มรณสัญญาอันภิกษุ
เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ
มีอมตะเป็นที่สุด เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยข้อนี้ ฯ
ก็ข้อที่กล่าวดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาหาเรปฏิกูลสัญญาอันภิกษุเจริญ
แล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ
มีอมตะเป็นที่สุด เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยอะไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุ
มีใจอันอบรมแล้วด้วยอาหาเรปฏิกูลสัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมหวนกลับ งอกลับ
ถอยกลับจากตัณหาในรส ไม่ยื่นไปรับตัณหาในรส อุเบกขาหรือความเป็นของ
ปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ เปรียบเหมือนขนไก่หรือเส้นเอ็นที่เขาใส่ลงในไฟ ย่อมหดงอเข้า
หากันไม่คลี่ออก ฉะนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อภิกษุมีใจอันอบรมแล้วด้วย
อาหาเรปฏิกูลสัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมไหลไปในตัณหาในรส หรือความเป็น
ของไม่ปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ไซร้ ภิกษุพึงทราบข้อนั้นดังนี้ว่า อาหาเรปฏิกูลสัญญาอัน
เราไม่ได้เจริญแล้ว คุณวิเศษทั้งเบื้องต้นและเบื้องปลายของเราไม่มี ผลแห่ง
ภาวนาของเรายังไม่ถึงที่ เพราะฉะนั้น ภิกษุนั้นจึงต้องเป็นผู้รู้ทั่วถึงในอาหาเรปฏิกูล-
*สัญญานั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ถ้าเมื่อภิกษุมีใจอันอบรมแล้วด้วยอาหาเรปฏิกูล-
*สัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมหวนกลับ งอกลับ ถอยกลับจากตัณหาในรส ไม่ยื่น
ไปรับตัณหาในรส อุเบกขาหรือความเป็นของปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ไซร้ ภิกษุพึง
ทราบข้อนั้นดังนี้ว่า อาหาเรปฏิกูลสัญญาอันเราเจริญแล้ว คุณวิเศษทั้งเบื้องต้น
และเบื้องปลายของเรามีอยู่ ผลแห่งภาวนาของเราถึงที่แล้ว เพราะฉะนั้น ภิกษุ
นั้นเป็นผู้รู้ทั่วถึงในอาหาเรปฏิกูลสัญญานั้น ข้อที่กล่าวดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
อาหาเรปฏิกูลสัญญาอันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก
มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยข้อนี้ ฯ
ก็ข้อที่กล่าวดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัพพโลเกอนภิรตสัญญาอัน
ภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก อานิสงส์มาก หยั่งลงสู่
อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด เรากล่าวแล้ว เพราะอาศัยอะไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เมื่อภิกษุมีใจอันอบรมแล้วด้วยสัพพโลเกอนภิรตสัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมหวน
กลับ งอกลับ ถอยกลับจากความวิจิตรแห่งโลก ไม่ยื่นไปรับความวิจิตรแห่งโลก
อุเบกขาหรือความเป็นของปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ เปรียบเหมือนขนไก่หรือเส้นเอ็นที่เขา
ใส่ลงในไฟ ย่อมหดงอเข้าหากัน ไม่คลี่ออก ฉะนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้า
เมื่อภิกษุมีใจอันไม่อบรมแล้วด้วยสัพพโลเกอนภิรตสัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อม
ไหลไปในความวิจิตรแห่งโลก หรือความเป็นของไม่ปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ไซร้ ภิกษุ
พึงทราบข้อนั้นดังนี้ว่า สัพพโลเกอนภิรตสัญญาอันเราไม่เจริญแล้ว คุณวิเศษ
ทั้งเบื้องต้นและเบื้องปลายของเราก็ไม่มี ผลแห่งภาวนาของเรายังไม่ถึงที่ เพราะ
ฉะนั้น ภิกษุนั้นจึงต้องเป็นผู้รู้ทั่วถึงในสัพพโลเกอนภิรตสัญญานั้น ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย ถ้าหากว่าเมื่อภิกษุมีใจอันอบรมแล้วด้วยสัพพโลเกอนภิรตสัญญาอยู่โดย
มาก จิตย่อมหวนกลับ งอกลับ ถอยกลับจากความวิจิตรแห่งโลก ไม่ยื่นไปรับ
ความวิจิตรแห่งโลก อุเบกขาหรือความเป็นของปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ไซร้ ภิกษุพึง
ทราบข้อนั้นดังนี้ว่า สัพพโลเกอนภิรตสัญญาอันเราเจริญแล้ว คุณวิเศษทั้งเบื้อง
ต้นและเบื้องปลายของเรามีอยู่ ผลแห่งภาวนาของเราถึงที่แล้ว เพราะฉะนั้น
ภิกษุนั้นจึงเป็นผู้รู้ทั่วถึงในสัพพโลเกอนภิรตสัญญานั้น ข้อที่กล่าวดังนี้ว่า ดูกร
ภิกษุทั้งหลาย สัพพโลเกอนภิรตสัญญาอันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว
ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด เรากล่าวแล้ว
เพราะอาศัยข้อนี้ ฯ
ก็ข้อที่กล่าวดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนิจจสัญญาอันภิกษุเจริญแล้ว
กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะ
เป็นที่สุด เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยอะไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุมีใจอันอบรม
แล้วด้วยอนิจจสัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมหวนกลับ งอกลับ ถอยกลับ ไม่ยื่น
ไปรับในลาภสักการะ และความสรรเสริญ อุเบกขาหรือความเป็นของปฏิกูล
ย่อมตั้งอยู่ เปรียบเหมือนขนไก่ หรือเส้นเอ็นที่เขาใส่ลงในไฟ ย่อมหดงอเข้า
หากัน ไม่คลี่ออก ฉะนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อภิกษุมีใจอันอบรมแล้ว
ด้วยอนิจจสัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมไหลไปในลาภสักการะ และความ
สรรเสริญ หรือความเป็นของไม่ปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ไซร้ ภิกษุพึงทราบข้อนั้นดังนี้
ว่า อนิจจสัญญาอันเราไม่เจริญแล้ว คุณวิเศษทั้งเบื้องต้นเบื้องปลายของเราไม่มี
ผลแห่งภาวนาของเรายังไม่ถึงที่ เพราะฉะนั้น ภิกษุนั้นจึงต้องเป็นผู้รู้ทั่วถึงใน
อนิจจสัญญานั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อภิกษุมีใจอันอบรมแล้วด้วยอนิจจสัญญา
อยู่โดยมาก จิตย่อมหวนกลับ งอกลับ ถอยกลับ ไม่ยื่นไปรับลาภ สักการะ
และความสรรเสริญ อุเบกขาหรือความเป็นของปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ไซร้ ภิกษุพึง
ทราบข้อนั้นดังนี้ว่า อนิจจสัญญาอันเราเจริญแล้ว คุณวิเศษทั้งเบื้องต้นและเบื้อง
ปลายของเรามีอยู่ ผลแห่งภาวนาของเราถึงที่แล้ว เพราะฉะนั้น ภิกษุนั้นจึงเป็น
ผู้รู้ทั่วถึงในอนิจจสัญญานั้น ข้อที่กล่าวดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนิจจสัญญา
อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่
อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยข้อนี้ ฯ
ก็ข้อที่กล่าวดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนิจเจทุกขสัญญาอันภิกษุเจริญ
แล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะ
เป็นที่สุด เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยอะไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุมีใจอันอบรม
แล้วด้วยอนิจเจทุกขสัญญาอยู่โดยมาก ภยสัญญา (ความสำคัญเป็นภัย) อย่างแรง
กล้าในความเฉื่อยชา ในความเกียจคร้าน ในความท้อถอย ในความประมาท ใน
การไม่ประกอบความเพียร ในการไม่พิจารณา ย่อมปรากฏ เปรียบเหมือน
ความสำคัญว่าเป็นภัย ย่อมปรากฏในเมื่อเพชฌฆาตเงื้อดาบขึ้น ฉะนั้น ดูกร
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อภิกษุมีใจอันอบรมแล้วด้วยอนิจเจทุกขสัญญาอยู่โดยมาก
ภยสัญญาอย่างแรงกล้าในความเฉื่อยชา ในความเกียจคร้าน ในความท้อถอย ใน
ความประมาท ในการไม่ประกอบความเพียร ในการไม่พิจารณา ย่อมไม่ปรากฏ
เปรียบเหมือนความสำคัญว่าเป็นภัย ย่อมไม่ปรากฏในเมื่อเพชฌฆาตเงื้อดาบขึ้น
ฉะนั้น ภิกษุพึงทราบข้อนั้นดังนี้ว่า อนิจเจทุกขสัญญาอันเราไม่เจริญแล้ว คุณวิ-
*เศษทั้งเบื้องต้นและเบื้องปลายของเราไม่มี ผลแห่งภาวนาของเรายังไม่ถึงที่ เพราะ
ฉะนั้น ภิกษุนั้นจึงต้องเป็นผู้รู้ทั่วถึงในอนิจเจทุกขสัญญานั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ก็ถ้าว่า เมื่อภิกษุมีใจอันอบรมแล้วด้วยอนิจเจทุกขสัญญาอยู่โดยมาก ภยสัญญา
อย่างแรงกล้าในความเฉื่อยชา ในความเกียจคร้าน ในความท้อถอย ในความ
ประมาท ในการไม่ประกอบความเพียร ในการไม่พิจารณา ย่อมปรากฏ เหมือน
ความสำคัญว่าเป็นภัย ย่อมปรากฏในเมื่อเพชฌฆาตเงื้อดาบขึ้น ฉะนั้นไซร้
ภิกษุพึงทราบข้อนั้นดังนี้ว่า อนิจเจทุกขสัญญา อันเราเจริญแล้ว คุณวิเศษทั้ง
เบื้องต้นเบื้องปลายของเรามีอยู่ ผลแห่งภาวนาของเราถึงที่แล้ว เพราะฉะนั้น
ภิกษุนั้นจึงเป็นผู้รู้ทั่วถึงในอนิจเจทุกขสัญญานั้น ข้อที่กล่าวดังนี้ว่า ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย อนิจเจทุกขสัญญาอันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก
มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยข้อนี้ ฯ
ก็ข้อที่กล่าวดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทุกเขอนัตตสัญญาอันภิกษุเจริญ
แล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ
มีอมตะเป็นที่สุด เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยอะไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุ
มีใจอันอบรมแล้วด้วยทุกเขอนัตตสัญญาอยู่โดยมาก ย่อมมีใจปราศจากทิฐิว่าเรา
ตัณหาว่าของเรา และมานะทั้งในร่างกายที่มีใจครองนี้และสรรพนิมิตในภายนอก
เสียได้ ก้าวล่วงกิเลส ๓ ประการ สงบระงับ หลุดพ้นได้เป็นอย่างดี ดูกร
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อภิกษุมีใจอันอบรมแล้วด้วยทุกเขอนัตตสัญญาอยู่โดยมาก ใจ
ย่อมไม่ปราศจากทิฐิว่าเรา ตัณหาว่าของเรา และมานะทั้งในร่างกายที่มีใจครองนี้
และสรรพนิมิตในภายนอก ไม่ก้าวล่วงกิเลส ๓ ประการ ไม่สงบระงับ ยัง
ไม่หลุดพ้นด้วยดีไซร้ ภิกษุพึงทราบข้อนั้นดังนี้ว่า ทุกเขอนัตตสัญญาอันเราไม่
เจริญแล้ว คุณวิเศษทั้งเบื้องต้นและเบื้องปลายของเราก็ไม่มี ผลแห่งภาวนาของเรา
ยังไม่ถึงที่ เพราะฉะนั้น ภิกษุนั้นจึงต้องเป็นผู้รู้ทั่วถึงในทุกเขอนัตตสัญญานั้น
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ถ้าว่าเมื่อภิกษุมีใจอันอบรมแล้วด้วยทุกเขอนัตตสัญญาอยู่โดย
มาก ย่อมมีใจปราศจากทิฐิว่าเรา ตัณหาว่าของเรา และมานะทั้งในร่างกาย
ที่มีใจครองนี้และสรรพนิมิตในภายนอกเสียได้ ก้าวล่วงกิเลส ๓ ประการ สงบ
ระงับ หลุดพ้นได้เป็นอย่างดีไซร้ ภิกษุพึงทราบข้อนั้นดังนี้ว่า ทุกเขอนัตตสัญญา
อันเราเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่
อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยข้อนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย
สัญญา ๗ ประการนี้แล อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก
มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด ฯ
จบสูตรที่ ๖
สิ้นอาสวะสัตว์สองเท้านี้เป็นสัตว์ไม่สะอาดมีกลิ่นเหม็นเต็มไปด้วยซากศพต่าง... ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัญญา ๗ ประการนี้ อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็น ที่สุด ๗ ประการเป็นไฉน คือ อสุภสัญญา ๑ มรณสัญญา ๑ อาหาเรปฏิกูลสัญญา ๑ สัพพโลเกอนภิรตสัญญา ๑ อนิจจสัญญา ๑ อนิจเจทุกขสัญญา ๑ ทุกเขอนัตต- *สัญญา ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ข้อที่กล่าวดังนี้ว่า อสุภสัญญา อันภิกษุเจริญ แล้ว กระทำให้มาก ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะ เป็นที่สุด เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยอะไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุมีใจอัน อบรมแล้วด้วยอสุภสัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมหวนกลับ งอกลับ ถอยกลับจาก การร่วมเมถุนธรรม ไม่ยื่นไปรับการร่วมเมถุนธรรม อุเบกขาหรือความเป็นของ ปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ เปรียบเหมือนขนไก่หรือเส้นเอ็นที่เขาใส่ลงในไฟ ย่อมหดงอ เข้าหากัน ไม่คลี่ออก ฉะนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อภิกษุมีใจอบรมแล้ว ด้วยอสุภสัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมไหลไปในการร่วมเมถุนธรรม หรือความ เป็นของไม่ปฏิกูลตั้งอยู่ไซร้ ภิกษุพึงทราบข้อนั้นดังนี้ว่า อสุภสัญญาอันเราไม่ เจริญแล้ว คุณวิเศษทั้งเบื้องต้นและเบื้องปลายของเราก็ไม่มี ผลแห่งภาวนาของ เราไม่ถึงที่ เพราะฉะนั้น ภิกษุนั้นจึงต้องเป็นผู้รู้ทั่วถึงในอสุภสัญญานั้น ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ถ้าหากว่า เมื่อภิกษุมีใจอันอบรมแล้วด้วยอสุภสัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมหวนกลับ งอกลับ ถอยกลับ จากการร่วมเมถุนธรรม ไม่ยื่นไปรับการ ร่วมเมถุนธรรม อุเบกขาหรือความเป็นของปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ไซร้ ภิกษุพึงทราบข้อ นั้นดังนี้ว่า อสุภสัญญาอันเราเจริญแล้ว คุณวิเศษทั้งเบื้องต้นและเบื้องปลาย ของเรามีอยู่ ผลแห่งภาวนาของเราถึงที่แล้ว เพราะฉะนั้น ภิกษุนั้นย่อมเป็นผู้รู้ ทั่วถึงในอสุภสัญญานั้น ข้อที่กล่าวดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย อสุภสัญญาอัน ภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่ อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยข้อนี้ ฯ ก็ข้อที่กล่าวดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย มรณสัญญาอันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็น ที่สุด เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยอะไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุมีใจอันอบรม แล้วด้วยมรณสัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมหวนกลับ งอกลับ ถอยกลับจาก การรักชีวิตไม่ยื่นไปรับความรักชีวิต อุเบกขาหรือความเป็นของปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ เปรียบเหมือนขนไก่หรือเส้นเอ็นที่เขาใส่ลงในไฟ ย่อมหดงอเข้าหากันไม่คลี่ออก ฉะนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อภิกษุมีใจอันไม่อบรมแล้วด้วยมรณสัญญาอยู่โดย มาก จิตย่อมไหลไปในความรักชีวิต หรือความเป็นของไม่ปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ไซร้ ภิกษุพึงทราบข้อนั้นดังนี้ว่า มรณสัญญาอันเราไม่เจริญแล้ว คุณวิเศษทั้งเบื้องต้น และเบื้องปลายของเราก็ไม่มี ผลแห่งภาวนาของเรายังไม่ถึงที่ เพราะฉะนั้น ภิกษุนั้นจึงต้องเป็นผู้รู้ทั่วถึงในมรณสัญญานั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ถ้าเมื่อภิกษุมี ใจอันอบรมแล้วด้วยมรณสัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมหวนกลับ งอกลับ ถอยกลับ จากการรักชีวิต ไม่ยื่นไปรับความรักชีวิต อุเบกขาหรือความเป็นของปฏิกูลย่อมตั้ง อยู่ไซร้ ภิกษุพึงทราบข้อนั้นดังนี้ว่า มรณสัญญาอันเราเจริญแล้ว คุณวิเศษทั้ง เบื้องต้นและเบื้องปลายของเรามีอยู่ ผลแห่งภาวนาของเราถึงที่แล้ว เพราะฉะนั้น ภิกษุนั้นเป็นผู้รู้ทั่วถึงในมรณสัญญานั้น ข้อที่กล่าวดังนี้ว่า มรณสัญญาอันภิกษุ เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยข้อนี้ ฯ ก็ข้อที่กล่าวดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาหาเรปฏิกูลสัญญาอันภิกษุเจริญ แล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยอะไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุ มีใจอันอบรมแล้วด้วยอาหาเรปฏิกูลสัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมหวนกลับ งอกลับ ถอยกลับจากตัณหาในรส ไม่ยื่นไปรับตัณหาในรส อุเบกขาหรือความเป็นของ ปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ เปรียบเหมือนขนไก่หรือเส้นเอ็นที่เขาใส่ลงในไฟ ย่อมหดงอเข้า หากันไม่คลี่ออก ฉะนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อภิกษุมีใจอันอบรมแล้วด้วย อาหาเรปฏิกูลสัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมไหลไปในตัณหาในรส หรือความเป็น ของไม่ปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ไซร้ ภิกษุพึงทราบข้อนั้นดังนี้ว่า อาหาเรปฏิกูลสัญญาอัน เราไม่ได้เจริญแล้ว คุณวิเศษทั้งเบื้องต้นและเบื้องปลายของเราไม่มี ผลแห่ง ภาวนาของเรายังไม่ถึงที่ เพราะฉะนั้น ภิกษุนั้นจึงต้องเป็นผู้รู้ทั่วถึงในอาหาเรปฏิกูล- *สัญญานั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ถ้าเมื่อภิกษุมีใจอันอบรมแล้วด้วยอาหาเรปฏิกูล- *สัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมหวนกลับ งอกลับ ถอยกลับจากตัณหาในรส ไม่ยื่น ไปรับตัณหาในรส อุเบกขาหรือความเป็นของปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ไซร้ ภิกษุพึง ทราบข้อนั้นดังนี้ว่า อาหาเรปฏิกูลสัญญาอันเราเจริญแล้ว คุณวิเศษทั้งเบื้องต้น และเบื้องปลายของเรามีอยู่ ผลแห่งภาวนาของเราถึงที่แล้ว เพราะฉะนั้น ภิกษุ นั้นเป็นผู้รู้ทั่วถึงในอาหาเรปฏิกูลสัญญานั้น ข้อที่กล่าวดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาหาเรปฏิกูลสัญญาอันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยข้อนี้ ฯ ก็ข้อที่กล่าวดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัพพโลเกอนภิรตสัญญาอัน ภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก อานิสงส์มาก หยั่งลงสู่ อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด เรากล่าวแล้ว เพราะอาศัยอะไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุมีใจอันอบรมแล้วด้วยสัพพโลเกอนภิรตสัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมหวน กลับ งอกลับ ถอยกลับจากความวิจิตรแห่งโลก ไม่ยื่นไปรับความวิจิตรแห่งโลก อุเบกขาหรือความเป็นของปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ เปรียบเหมือนขนไก่หรือเส้นเอ็นที่เขา ใส่ลงในไฟ ย่อมหดงอเข้าหากัน ไม่คลี่ออก ฉะนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้า เมื่อภิกษุมีใจอันไม่อบรมแล้วด้วยสัพพโลเกอนภิรตสัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อม ไหลไปในความวิจิตรแห่งโลก หรือความเป็นของไม่ปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ไซร้ ภิกษุ พึงทราบข้อนั้นดังนี้ว่า สัพพโลเกอนภิรตสัญญาอันเราไม่เจริญแล้ว คุณวิเศษ ทั้งเบื้องต้นและเบื้องปลายของเราก็ไม่มี ผลแห่งภาวนาของเรายังไม่ถึงที่ เพราะ ฉะนั้น ภิกษุนั้นจึงต้องเป็นผู้รู้ทั่วถึงในสัพพโลเกอนภิรตสัญญานั้น ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ถ้าหากว่าเมื่อภิกษุมีใจอันอบรมแล้วด้วยสัพพโลเกอนภิรตสัญญาอยู่โดย มาก จิตย่อมหวนกลับ งอกลับ ถอยกลับจากความวิจิตรแห่งโลก ไม่ยื่นไปรับ ความวิจิตรแห่งโลก อุเบกขาหรือความเป็นของปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ไซร้ ภิกษุพึง ทราบข้อนั้นดังนี้ว่า สัพพโลเกอนภิรตสัญญาอันเราเจริญแล้ว คุณวิเศษทั้งเบื้อง ต้นและเบื้องปลายของเรามีอยู่ ผลแห่งภาวนาของเราถึงที่แล้ว เพราะฉะนั้น ภิกษุนั้นจึงเป็นผู้รู้ทั่วถึงในสัพพโลเกอนภิรตสัญญานั้น ข้อที่กล่าวดังนี้ว่า ดูกร ภิกษุทั้งหลาย สัพพโลเกอนภิรตสัญญาอันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด เรากล่าวแล้ว เพราะอาศัยข้อนี้ ฯ ก็ข้อที่กล่าวดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนิจจสัญญาอันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะ เป็นที่สุด เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยอะไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุมีใจอันอบรม แล้วด้วยอนิจจสัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมหวนกลับ งอกลับ ถอยกลับ ไม่ยื่น ไปรับในลาภสักการะ และความสรรเสริญ อุเบกขาหรือความเป็นของปฏิกูล ย่อมตั้งอยู่ เปรียบเหมือนขนไก่ หรือเส้นเอ็นที่เขาใส่ลงในไฟ ย่อมหดงอเข้า หากัน ไม่คลี่ออก ฉะนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อภิกษุมีใจอันอบรมแล้ว ด้วยอนิจจสัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมไหลไปในลาภสักการะ และความ สรรเสริญ หรือความเป็นของไม่ปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ไซร้ ภิกษุพึงทราบข้อนั้นดังนี้ ว่า อนิจจสัญญาอันเราไม่เจริญแล้ว คุณวิเศษทั้งเบื้องต้นเบื้องปลายของเราไม่มี ผลแห่งภาวนาของเรายังไม่ถึงที่ เพราะฉะนั้น ภิกษุนั้นจึงต้องเป็นผู้รู้ทั่วถึงใน อนิจจสัญญานั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อภิกษุมีใจอันอบรมแล้วด้วยอนิจจสัญญา อยู่โดยมาก จิตย่อมหวนกลับ งอกลับ ถอยกลับ ไม่ยื่นไปรับลาภ สักการะ และความสรรเสริญ อุเบกขาหรือความเป็นของปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ไซร้ ภิกษุพึง ทราบข้อนั้นดังนี้ว่า อนิจจสัญญาอันเราเจริญแล้ว คุณวิเศษทั้งเบื้องต้นและเบื้อง ปลายของเรามีอยู่ ผลแห่งภาวนาของเราถึงที่แล้ว เพราะฉะนั้น ภิกษุนั้นจึงเป็น ผู้รู้ทั่วถึงในอนิจจสัญญานั้น ข้อที่กล่าวดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนิจจสัญญา อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่ อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยข้อนี้ ฯ ก็ข้อที่กล่าวดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนิจเจทุกขสัญญาอันภิกษุเจริญ แล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะ เป็นที่สุด เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยอะไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุมีใจอันอบรม แล้วด้วยอนิจเจทุกขสัญญาอยู่โดยมาก ภยสัญญา (ความสำคัญเป็นภัย) อย่างแรง กล้าในความเฉื่อยชา ในความเกียจคร้าน ในความท้อถอย ในความประมาท ใน การไม่ประกอบความเพียร ในการไม่พิจารณา ย่อมปรากฏ เปรียบเหมือน ความสำคัญว่าเป็นภัย ย่อมปรากฏในเมื่อเพชฌฆาตเงื้อดาบขึ้น ฉะนั้น ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อภิกษุมีใจอันอบรมแล้วด้วยอนิจเจทุกขสัญญาอยู่โดยมาก ภยสัญญาอย่างแรงกล้าในความเฉื่อยชา ในความเกียจคร้าน ในความท้อถอย ใน ความประมาท ในการไม่ประกอบความเพียร ในการไม่พิจารณา ย่อมไม่ปรากฏ เปรียบเหมือนความสำคัญว่าเป็นภัย ย่อมไม่ปรากฏในเมื่อเพชฌฆาตเงื้อดาบขึ้น ฉะนั้น ภิกษุพึงทราบข้อนั้นดังนี้ว่า อนิจเจทุกขสัญญาอันเราไม่เจริญแล้ว คุณวิ- *เศษทั้งเบื้องต้นและเบื้องปลายของเราไม่มี ผลแห่งภาวนาของเรายังไม่ถึงที่ เพราะ ฉะนั้น ภิกษุนั้นจึงต้องเป็นผู้รู้ทั่วถึงในอนิจเจทุกขสัญญานั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ถ้าว่า เมื่อภิกษุมีใจอันอบรมแล้วด้วยอนิจเจทุกขสัญญาอยู่โดยมาก ภยสัญญา อย่างแรงกล้าในความเฉื่อยชา ในความเกียจคร้าน ในความท้อถอย ในความ ประมาท ในการไม่ประกอบความเพียร ในการไม่พิจารณา ย่อมปรากฏ เหมือน ความสำคัญว่าเป็นภัย ย่อมปรากฏในเมื่อเพชฌฆาตเงื้อดาบขึ้น ฉะนั้นไซร้ ภิกษุพึงทราบข้อนั้นดังนี้ว่า อนิจเจทุกขสัญญา อันเราเจริญแล้ว คุณวิเศษทั้ง เบื้องต้นเบื้องปลายของเรามีอยู่ ผลแห่งภาวนาของเราถึงที่แล้ว เพราะฉะนั้น ภิกษุนั้นจึงเป็นผู้รู้ทั่วถึงในอนิจเจทุกขสัญญานั้น ข้อที่กล่าวดังนี้ว่า ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย อนิจเจทุกขสัญญาอันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยข้อนี้ ฯ ก็ข้อที่กล่าวดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทุกเขอนัตตสัญญาอันภิกษุเจริญ แล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยอะไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุ มีใจอันอบรมแล้วด้วยทุกเขอนัตตสัญญาอยู่โดยมาก ย่อมมีใจปราศจากทิฐิว่าเรา ตัณหาว่าของเรา และมานะทั้งในร่างกายที่มีใจครองนี้และสรรพนิมิตในภายนอก เสียได้ ก้าวล่วงกิเลส ๓ ประการ สงบระงับ หลุดพ้นได้เป็นอย่างดี ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อภิกษุมีใจอันอบรมแล้วด้วยทุกเขอนัตตสัญญาอยู่โดยมาก ใจ ย่อมไม่ปราศจากทิฐิว่าเรา ตัณหาว่าของเรา และมานะทั้งในร่างกายที่มีใจครองนี้ และสรรพนิมิตในภายนอก ไม่ก้าวล่วงกิเลส ๓ ประการ ไม่สงบระงับ ยัง ไม่หลุดพ้นด้วยดีไซร้ ภิกษุพึงทราบข้อนั้นดังนี้ว่า ทุกเขอนัตตสัญญาอันเราไม่ เจริญแล้ว คุณวิเศษทั้งเบื้องต้นและเบื้องปลายของเราก็ไม่มี ผลแห่งภาวนาของเรา ยังไม่ถึงที่ เพราะฉะนั้น ภิกษุนั้นจึงต้องเป็นผู้รู้ทั่วถึงในทุกเขอนัตตสัญญานั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ถ้าว่าเมื่อภิกษุมีใจอันอบรมแล้วด้วยทุกเขอนัตตสัญญาอยู่โดย มาก ย่อมมีใจปราศจากทิฐิว่าเรา ตัณหาว่าของเรา และมานะทั้งในร่างกาย ที่มีใจครองนี้และสรรพนิมิตในภายนอกเสียได้ ก้าวล่วงกิเลส ๓ ประการ สงบ ระงับ หลุดพ้นได้เป็นอย่างดีไซร้ ภิกษุพึงทราบข้อนั้นดังนี้ว่า ทุกเขอนัตตสัญญา อันเราเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่ อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยข้อนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัญญา ๗ ประการนี้แล อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด ฯ จบสูตรที่ ๖
ทางแยกระหว่างพุทธภูมิกับสาวกภูมิทางแยกระหว่างพุทธภูมิกับสาวกภูมิ" การภาวนานะ ขั้นแรกสุดเลยคือต้องรู้วิธีให้ได้ก่อน พวกเรามาเรียนวิธีนะ ชาวไฟฟ้ามาเรียนวิธีการรู้วิธีการให้รู้กายรู้ใจลงปัจจุบัน โดยไม่เผลอไป ถ้าเผลอไปไม่ได้รู้กายรู้ใจ ถ้าเพ่งไว้ก็รู้กายรู้ใจไม่ตรงความจริง เราต้องรู้กายรู้ใจตามความเป็นจริง ลงปัจจุบันรู้ไปเรื่อยๆ รู้ด้วยจิตใจที่เป็นกลาง จิตใจที่เป็นกลางคือมีสัมมาสมาธิ การรู้กายรู้คือ รู้ด้วยสติ สติตามระลึก ให้รู้ขึ้นเองไม่ใช่ให้แกล้งระลึก รู้อย่างเป็นกลาง ใจเป็นกลาง สักว่ารู้ สักว่าเห็น ใจมีสัมมาสมาธิ ตั้งมั่นอยู่ห่างๆ ไม่ถลำลงไปเพ่งจ้องก็จะเห็นกายเห็นใจตรงตามความเป็นจริง เมื่อเห็นกายเห็นใจตรงตามความเป็นจริงว่ามันไม่ใช่ตัวเราหรอก แรกๆ บางคนอินทรีย์อ่อนหน่อย ก็จะเกิดความเบื่อขึ้น บางคนเกิดความเบื่อ บางคนเกิดความรู้สึกน่าสยดสยอง ในโลกนี้หาความสุขไม่ได้อีกแล้ว บางคนรู้สึกโหวงๆ ทุกอย่างว่างเปล่า ไม่รู้จะยึดอะไรดี มีหลายแบบ สติปัญญารู้ลงไปอีก เบื่อก็รู้ กลัวก็รู้ โหวงๆ ก็รู้ นะ สักว่ารู้ สักว่าเห็น ใจก็ตั้งมั่นเป็นกลางขึ้นมาอีก ก็รู้ทุกสิ่งทุกอย่างในกาย ในใจไปเรื่อยๆ เห็นว่ามันเปลี่ยนแปลงบังคับไม่ได้ เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา บังคับไม่ได้เคลื่อนไหวไปเรื่อยๆ รู้จนกระทั่งใจยอมรับความจริงว่า ทุกอย่างชั่วคราว สุขก็ชั่วคราว ทุกข์ก็ชั่วคราว กุศลก็ชั่วคราว โลภ โกรธ หลงก็ชั่วคราว อะไรๆ ก็ชั่วคราว พอภาวนาจนสติปัญญาเกิดว่าทุกอย่างชั่วคราว จิตจะเข้าไปสู่ความเป็นกลางต่อความปรุงแต่งทั้งปวง ตรงที่จิตเข้าสู่ความเป็นกลางต่อความปรุงแต่งทั้งปวง สุขกับทุกข์ก็เสมอกัน ดีกับชั่วก็เสมอกัน เข้าไปถึงความเป็นกลางด้วยปัญญาเห็นว่าทุกสิ่งชั่วคราว ถ้าเป็นกลางแบบนี้เรียกว่ามีปัญญาที่เรียกว่า สังขารุเบกขาญาณ จิตจะเป็นกลางต่อทุกสิ่งทุกอย่างสุขกับทุกข์ ดีกับชั่วจะเสมอภาคกัน ไม่ใช่รักอันหนึ่ง เกลียดอันหนึ่ง พวกเรารู้สึกไหม ใจเรายังรักอันหนึ่ง เกลียดอันหนึ่งอยู่ตลอดเวลา นั่นละ ปัญญายังไม่พอ ให้รู้ลงไปอีก จนกระทั่งเห็นว่าทุกอย่างก็ชั่วคราวทั้งหมดเลย ทั้งสิ่งที่เรารัก สิ่งที่เราเกลียด พอเห็นซ้ำลงไปจนทุกอย่างชั่วคราวหมด จิตจะเป็นกลาง เมื่อจิตเป็นกลางคือจุดสูงสุดที่เราจะภาวนาได้ละ คือจุดสุดท้ายถัดจากนี้ก็คือมรรคผลจะเกิดขึ้น แต่บางคนจะไม่เกิดมรรคผล บางคนเมื่อภาวนาไป จนเป็นกลางต่อสรรพสิ่งนั้น จิตใจน้อมไปสู่มหากรุณา เห็นอกเห็นใจสรรพสัตว์ทั้งหลาย อยากช่วยสรรพสัตว์ทั้งหลาย จิตจะน้อมไปสู่พุทธภูมิ และถ้าได้พบพระพุทธเจ้าในวันนั้น ท่านก็จะพยากรณ์ให้ ว่าอีกเท่านั้น เท่านี้นะจะได้เป็นพระพุทธเจ้าองค์หนึ่ง แต่ถ้าจิตยังไม่เป็นกลาง ไม่สามารถได้รับพยากรณ์ เมื่อจิตยังกลับกลอก ยังกลัวทุกข์อยู่ ยังรักสุขอยู่ ยังไม่แน่นอน เป็นโพธิสัตว์ที่ยังไม่แน่นอน ใครอยากเป็นโพธิสัตว์ต้องภาวนาอย่างที่หลวงพ่อสอนนี่ รู้กาย รู้ใจ จนกระทั่งเป็นกลางต่อทุกสิ่งทุกอย่าง และตรงทุกจุดนั้น จิตจะเลือกของเขาเอง ถ้าจะไปพุทธภูมิ มันก็จะไปค้างอยู่ตรงนั้นล่ะ ออกมาสร้างบารมี ช่วยเหลือผู้คนไป ด้วยจิตที่เป็นกลาง
ดูพฤติกรรมของจิตเห็นสัจจธรรมรู้การทำงานของจิตเห็นนิพพานใจของเราปกติจะไม่พอใจในปัจจุบัน มันจะไม่หยุดอยู่กับปัจจุบัน คิดไปถึงอนาคตเรื่อยๆ หวังความสุขเรื่อยๆ เอาเข้าจริงถ้าหัดภาวนาไปเรื่อยๆ จะรู้ว่าจริงๆ ความสุขไม่มีหรอก ในโลกมีแต่เรื่องทุกข์ทั้งนั้นเลย ทุกข์มากกับทุกข์น้อย คนในโลกมันสติปัญญาไม่พอ เวลาทุกข์น้อยก็รู้สึกว่ามีความสุข เวลาพวกเราปฏิบัติ หัดแรกๆ พวกเราไม่มีสมาธิ พอจิตมันเกิดสมาธิขึ้นมามันมีความสุข เราเลยรู้สึกว่าปฏิบัติแล้วมีความสุข แต่พอถึงขั้นเจริญปัญญา มาเรียนรู้ความจริงของ รูป นาม กาย ใจ จะรู้สึกมันมีความทุกข์ กายนี้เป็นตัวทุกข์ ใจนี้เป็นตัวทุกข์ แต่ใจต้องเป็นอุเบกขา ถ้าใจไม่เป็นอุเบกขาใจก็จะทุกข์ด้วย เราจะเห็นทุกอย่างที่ผ่านเข้ามาจะเป็น รูปธรรม นามธรรมทั้งหลาย เห็นแต่ตัวทุกข์ทั้งหมดเลย แต่ใจจะไม่ทุกข์ด้วย ถ้าหัดแรกๆ เจริญปัญญาไป ใจมันไปอินกับความทุกข์ของรูปนาม ใจก็รู้สึกทุกข์ไปด้วย หัดมากเข้ามากเข้า เห็นว่ารูปนามมีธรรมดาเป็นทุกข์ มันเป็นธรรมดาที่รู้ทุกข์เป็นปกติ และใจก็เป็นอุเบกขา เวลาเราหัดภาวนาใหม่ๆ เราทำสมาธิขึ้นมา เรามีความสุข อยู่ๆ ความสุขก็ผุดขึ้นมา ผุดขึ้นมา อันนั้นเป็นเรื่องของสมาธิ พอถึงขั้นเจริญปัญญาจะเห็นแต่ตัวทุกข์ ทุกข์ทีแรกใจยังยอมรับไม่ได้ ใจก็พลอยทุกข์กับขันธ์ นานๆไปเห็นซ้ำแล้วซ้ำอีก ว่าเราไม่สามารถหนีไปจากขันธ์นี้ได้ ขันธ์เป็นตัวทุกข์ ใจก็ยอมรับขันธ์ ขันธ์เป็นอย่างนี้แหละธรรมดา พอเห็นว่าธรรมดามันเป็นอย่างนี้ ใจมันก็เป็นอุเบกขา ตรงที่อุเบกขาเพราะมีปัญญาจะเป็นประตูของการบรรลุอริยมรรค ถ้าหากเราทำแต่สมาธิ เราไม่เดินปัญญาเลย ไม่มีวันที่อริยมรรคจะเกิดเลย ต้องเดินปัญญา แต่เดินปัญญาได้จิตต้องมีสมาธิที่ถูกต้อง สมาธิมีสองแบบ หลวงพ่อสอนมาแต่วันแรกเลย เพราะเป็นเรื่องสำคัญมาก ถ้าพวกเราคิดว่าสมาธิมีแต่เรื่องทำให้จิตสงบละ เราจะเดินปัญญาไม่ได้จริง ศาสนาพุทธ พุทธะ แปลว่า ผู้รู้ รู้เป็นเรื่องของการรู้ มีความรู้ถูกเข้าใจถูกทั้งสิ้นเลย ไม่ใช่การนั่งสมาธิ เพราะความสุขจากการนั่งสมาธิมันไม่แน่นอน ตัวสมาธิเองก็ไม่แน่นอน เป็นโลกียธรรม เจริญได้ก็เสื่อมได้ เคยเข้าฌาณได้นานๆ ก็เข้าไม่ได้ก็มี อย่างเทวทัตเข้าฌาน ได้มีอภิญญาสุดท้ายก็เสื่อม เคยเหาะได้ ก็ให้คนหามไป สมาธิเป็นของไม่แน่นอนเอาเป็นที่พึ่งไม่ได้ แต่ก็ต้องมีสมาธิที่ถูกชนิด สมาธิมีสองชนิด สมาธิอย่างที่หนึ่ง สงบอยู่ในอารมณ์อันเดียว เช่นเราท่อง พุท โธ พุท โธ จิตเราสงบอยู่กับพุทธโธ เรารู้ลมหายใจ จิตเราสงบอยู่ที่ลมหายใจ หากเราดูท้องพองยุบ จิตเราสงบอยู่ที่ท้อง เราดูลูกแก้ว ดูพระพุทธรูป ดูเทียน จุดไป ดูไปเรื่อยๆ จิตสงบอยู่กับลูกแก้ว อยู่กับพระพุทธรูป อยู่กับเทียน อันนี้เป็นสมาธิที่ใช้ทำสมถะเพื่อพักผ่อน ไม่ใช่สมาธิเพื่อการเดินปัญญา สมาธิเพื่อการเดินปัญญา พูดภาษาไทยง่ายๆ คือความรู้เนื้อรู้ตัว จิตใจอยู่กับเนื้อกับตัว จิตใจไม่ลืมตัวเอง ธรรมดาพวกเราทั้งหลายเรามีร่างกาย แต่เราลืมร่างกายของตัวเองทั้งหมด เรามีจิตใจเราก็ลืมจิตใจของตัวเองทั้งวัน อย่างเราไปท่องพุท โธ พุท โธ ร่างกายเราก็ลืมไป หรือเราไปรู้ลมหายใจ เราไปเพ่งไฟ เพ่งพระพุทธรูป เพ่งอะไรก็ตาม อย่างเราไปเพ่งพระพุทธรูป สุดท้ายพระพุทธรูปก็เป็นปฏิภาคนิมิตขึ้นมาเป็นแก้วใส ใสขึ้นมาเป็นเรื่องของนิมิต ปฏิภาคนิมิต เห็นแต่พระพุทธรูป ร่างกายหายไป จิตใจเราจะสุขจะทุกข์จะดีจะชั่ว ตัวเราไม่เห็นแล้ว สมาธิชนิดแรกคือ จิตไปจดจ่ออยู่ในอารมณ์อันเดียว แล้วก็ลืมกายลืมใจตัวเอง เมื่อลืมกายลืมใจก็ไม่สามารถที่จะเจริญปัญญาเรียนรู้ความเป็นจริงของกายของใจได้ “เราจะเรียนรู้ความจริงของกายของใจได้ต้องไม่ลืมกายลืมใจ” รู้สึกถึงความมีอยู่ของกายบ่อยๆ รู้สึกถึงความที่มีอยู่ของจิตใจบ่อยๆ จิตใจเรานี้ เดี๋ยวก็สุข เดี๋ยวก็ทุกข์ เดี๋ยวก็ดี เดี๋ยวก็ร้าย รู้สึกบ่อยๆ จิตใจเรานี้ เดี๋ยวก็สุข เดี๋ยวก็ทุกข์ เดี๋ยวก็ดี เดี๋ยวก็ร้าย รู้สึกบ่อยๆ เราไม่ลืมกายลืมใจ รู้สึกถึงกายบ่อยๆ รู้สึกถึงใจบ่อยๆ ไม่นานเราก็จะเห็นความจริงของกายของใจ ความจริงของร่างกายนี้ถูกความทุกข์บีบคั้นอยู่ตลอดเวลา นั่งอยู่ก็ทุกข์ นั่งนานก็ปวดเมื่อย ร่างกายมีความทุกข์บีบคั้นอยู่ ไปเดินนานๆ ก็ถูกความทุกข์บีบคั้น ให้ดูที่ของจริงที่ถูกความทุกข์มันบีบคั้นอยู่ตลอด แต่ตอนแรกการเปลี่ยนอิริยาบทใหม่ๆ ความทุกข์ยังอ่อนอยู่ เราก็รู้สึกมีความสุข พออยู่ในอิริยาบทเดียวนานๆ ความทุกข์ก็ค่อยๆ เด่นขึ้น จนสุดท้ายทนแทบไม่ไหว นั่งสมาธิแข้งขาจะหัก หรือไปเดินจงกรมปวดเมื่อยไปหมดเลย ร่างกายไม่ว่าจะยืน จะเดิน จะนั่ง กระทั่งจะนอนก็ยังถูกความทุกข์บีบคั้นอยู่ตลอดเวลา คืนหนึ่งๆ พวกเราพลิกตั้ง 30 – 40 ครั้ง เรามีสติอยู่ หลับอยู่ก็ยังมีสติอยู่ จะรู้เลยร่างกายเคลื่อนไหวเรื่อยๆ หยุดประเดี๋ยวหนึ่งก็เคลื่อนไหว ทำไมร่างกายต้องเคลื่อนไหว มันเคลื่อนไหววิ่งหนีความทุกข์ ความทุกข์ตามมาทันทีก็หนีไปทีหนึ่ง ขยับตัวหนีไป เดี๋ยวความทุกข์ก็ตามมาทันอีก ก็ขยับหนีไปอีก ความทุกข์เหมือนหมาล่าเนื้อวิ่งไล่กันเราทั้งวัน ถ้าเรามีสติอยู่ในกาย เราจะเห็นเลยร่างกายนี้ถูกความทุกข์บีบคั้นอยู่ตลอดเวลา กระทั่งการหายใจ เราหายใจออกก็เพื่อแก้ทุกข์ เราหายใจเข้าก็เพื่อแก้ทุกข์ อย่างเราหายใจออกไปเรื่อยๆ ความทุกข์มันก็จะเพิ่มขึ้น สุดท้ายเราทนไม่ได้ เราก็ต้องเปลี่ยนอิริยาบทของการหายใจ ก็ต้องมาหายใจเข้า หายใจเข้านึกว่าจะสบายหายใจเข้าไปสักพักเดียว ความทุกข์ก็ตามมาทันอีกแล้ว ต้องหายใจออกแก้ทุกข์อีก สุดท้ายคือเราวิ่งหนีความทุกข์ที่เกิดขึ้นในร่างกายนี้ตลอดเวลา แต่เราวิ่งมาจนชินเราไม่รู้ว่ามันทุกข์ มันปวดมันเมื่อยเราก็ขยับตัวเลย เราไม่ทันรู้ว่ามันปวดมันเมื่อยขึ้นมา มันมีความทุกข์อะไรเกิดขึ้น เราละเลยที่จะรู้ เพราะเราคุ้นเคยชินกับมันมาก แต่วันใดเจ็บป่วยมากๆ กระดุกกระดิกไม่ได้บางคนเป็นอัมพาต ปวดเมื่อยแค่ไหนก็กระดิกไม่ได้ นอนไปเรื่อยๆ จนเป็นแผลกดทับตัวเน่าไปเลย ทุกข์มากขยับไม่ได้ สุดท้ายร่างกายของเราก็จะทุกข์มาก ถึงจุดหนึ่งมันจะทุกข์จนกระทั่งตาย นี่เป็นสิ่งที่พวกเราต้องเจอในวันหนึ่งข้างหน้า ร่างกายนี้เต็มไปด้วยความทุกข์ ถ้าถึงวันหนึ่งจะชอบหรือไม่ชอบ จะรู้หรือไม่รู้ก็ตาม ความทุกข์ขยี้ร่างกายนี้จนแตกสลายลงไป นี่คือความจริงในร่างกาย ถ้าเรามีสติปัญญาเรียนรู้ความจริงของร่างกาย ให้รู้สึกเรื่อยๆ ดูของจริงเรื่อยๆ ไม่ไปคิด ไปปรุง ไปแต่งอะไร เราก็จะเห็นเลยร่างกายนี้เต็มไปด้วยก้อนทุกข์แท้ๆเลย บางเวลาทุกข์มาก บางเวลาก็ทุกข์น้อย และความทุกข์ วิ่งตามตลอดเวลา สุดท้ายเราหนีไม่ทัน สุดท้ายมันจะขยี้เราตาย เป็นอย่างนี้ทุกคนเลย ถ้าใจเราเห็นความจริงอย่างนี้ได้ มันก็จะรู้สึกว่า ร่างกายนี้ไม่ได้น่ารักน่าหวงแหน ความยึดถือในร่างกายนี้ก็ลดลงๆ ถึงจุดหนึ่งไม่ยึดถือในกาย เมื่อเราไม่ยึดถือร่างกาย ร่างกายจะแก่เราจะไม่เดือดร้อน ใจเราจะไม่เดือดร้อน ร่างกายจะเจ็บก็เจ็บอยู่ที่ร่างกาย จิตใจเราไม่เดือดร้อนด้วย เพราะจิตไม่ได้เข้าไปจับ ร่างกายจะตายก็เรื่องของร่างกาย จิตไม่เดือดร้อนด้วย จิตใจไม่ได้ยึดถือร่างกาย “เรายึดถือสิ่งใดมากเราจะทุกข์เพราะสิ่งนั้นมาก” อย่างรักใครมากสักคนหนึ่ง เราก็จะทุกข์เพราะคนนี้เยอะ คนที่เราเป็นกลางๆ เราไม่ได้รักไม่ได้เกลียดมาก ก็ทำให้เราทุกข์ไม่ค่อยได้หรอก คนที่เรารักมากๆ มาทำให้เราทุกข์ได้เยอะเลย งั้นสิ่งที่เรารักมากก็คือร่างกายกับใจของเราเอง รักที่สุดเลย นำความทุกข์มาให้เราเยอะที่สุด ถ้าเมื่อไรเกิดหมดความรักใคร่ยึดถือในกายในใจ มันจะนำความทุกข์มาสู่ใจเราไม่ได้ ความทุกข์จะจบลงที่ร่างกายแค่นั้นเอง เป็นความทุกข์ตามธรรมาชาติ ตามธรรมดา แต่ใจเราจะไม่เป็นทุกข์ด้วย พระพุทธเจ้าท่านเปรียบเทียบความทุกข์เหมือนลูกธนู ท่านบอกว่า คนโดยทั่วไป ได้รับความทุกข์ทางกายเหมือนถูกยิงด้วยธนูดอกที่หนึ่ง ตามมาด้วยความทุกข์ทางใจอย่างรุนแรงเหมือนถูกธนูดอกที่สอง พระอรหันต์ทั้งหลาย ความทุกข์เข้าได้ที่ร่างกายเท่านั้น จะเข้ามาถึงจิตใจไม่ได้เลย ถูกก็ถูกดอกเดียว สบายกว่าพวกเรา แต่ไม่มีความทุกข์ทางใจ ความทุกข์ทางร่างกายเป็นปกติ เป็นธรรมดา แต่พวกเรายึดถือร่างกาย พอวันหนึ่งความทุกข์ในร่างกายเด่นชัดขึ้นมา จะเราทุรนทุรายไปด้วย เพราะมันเป็นร่างกายของเรา พอเรามาหัดดูความจริงในร่างกายมากๆ มีแต่ความทุกข์ ความยึดถือว่ามันเป็นของดีของวิเศษเป็นตัวเราของเรา ก็จะค่อยๆสลายตัวไป ถึงจุดหนึ่งไม่ยึดถือในกาย เป็นภูมิธรรมของพระอนาคามี จะไม่ยึดถือในกาย ในด้านจิตใจเราก็มาคอยดูตลอดเวลาตลอดชีวิต เราพยายามหาความสุขให้กับจิตใจของเราตลอดเวลา กลุ้มใจขึ้นมาก็ไปดูหนัง หวังว่าจะมีความสุข ดูหนังไม่พอ ไปฟังเพลง ไปร้องเพลงคาราโอเกะ ไปอย่างโน้นไปอย่างนี้ ไปหาของกินให้อร่อย การไปหาของกินให้อร่อยมีความสุขทางร่างกายหรือเปล่า ลิ้นไม่ได้มีความสุขด้วยเลย คนที่รู้รสคือลิ้น ลิ้นไม่เคยมีความสุขอะไรด้วยเลย ต้องกระดุกกระดิกอยู่อย่างนั้นเผลอๆ ถูกฟันกัดเข้าให้อีก มันมีความสุขทางใจ มีความพอใจที่ใจ เป็นการเสพของใจ ไปดูของสวยของงาม ดูเพื่อให้สบายใจ มันเป็นการเสพของใจ หรือการที่เราต้องไปอยู่กับคนคนนี้ เรารักคนนี้ ได้อยู่กับคนนี้แล้วสบายใจ บางทีก็ลำบากกายด้วยซ้ำไป ต้องไปเลี้ยงอีกคนโห...ลำบาก แต่มันสบายใจ เราต้องการความสุขทางใจสาระพัดที่จะทำ วันหนึ่งๆ หาอารมณ์ต่างๆ มาป้อนเข้ามาเพื่อหวังว่าจิตใจจะมีความสุข แต่พอเรามีสติปัญญาขึ้นมาจริงๆ เราจะเห็นความสุข สั้นนิดเดียว ความสุขในใจเกิดขึ้นชั่วไม่นานก็ดับไป กระทั่งความทุกข์ทางใจเกิดขึ้น กระทั่งเรามีสติปัญญาจริงๆ เราก็จะเห็นว่าไม่นานมันก็จะผ่านไป ความสุขก็ไม่เที่ยง ความทุกข์ก็ไม่เที่ยง ความดีในจิตใจที่เกิดขึ้นก็ไม่เที่ยง ความชั่วที่เกิดขึ้นในใจ ความโลภ ความโกรธ ความหลง ก็ไม่เที่ยง ไม่มีอะไรเลยที่ผ่านเข้ามาสู่ความรับรู้ของจิตของเรา สังขารความปรุงทั้งหลาย จะสุข จะทุกข์ จะดี จะชั่วอะไรทั้งหลาย มีแต่ของไม่เที่ยงทั้งหมดเลย พอเราเห็นซ้ำแล้วซ้ำอีกว่า ความสุขก็ช่วคราว ความทุกข์ก็ชั่วคราว ความดีก็ชั่วคราว ความชั่วก็ชั่วคราว พอเห็นซ้ำมากๆ ใจก็ยอมรับความจริง ความสุขเกิดขึ้นก็เห็นว่าเป็นเรื่องธรรมดาไม่นานมันก็หายไป เพราะงั้นใจไม่ดิ้นรน ใจเราจะไม่เข้าไปเสพความสุขอันนั้น ความสุขมีอยู่ แต่ใจไม่ดิ้นรนหรอกเพราะรู้ว่ามันไม่นิรันดรหรอก ความทุกข์เกิดขึ้นใจก็ไม่ดิ้นรนหนี ไม่ดิ้นรนปฏิเสธ รู้ว่ามันของชั่วคราว เดี๋ยวมันก็ผ่านไปใจมันก็เป็นกลาง เวลาโลภ โกรธ หลง เกิดขึ้น ก็ไม่ใช่ไปเกลียดมัน และไม่ได้ถูกมันครอบงำ คนทั้งหลาย พอความโลภ ความโกรธ ความหลงเกิดขึ้นแล้ว จิตก็จะถูกกิเลสเหล่านี้ครอบงำ ถ้าเราเป็นนักปฏิบัติ ความโลภ ความโกรธ ความหลงเกิดขึ้น เรามีสติรู้ทัน มันจะกระเด็นหายไปต่อหน้าต่อตา หายในขณะนั้นเลย ไม่ต้องทำอะไร สักอย่างเดียวเลย ทันทีที่สติเกิด อกุศลดับทันทีเลย นี่เป็นกฎของธรรมะ เป็นกฎธรรมดา “ที่ใดมีสติที่นั่นไม่มีกิเลส ที่ใดมีกิเลสที่นั่นไม่มีสติ” ถ้างั้นเมื่อไรเรามีสติขึ้นมา เรารู้ทันว่าความโกรธกำลังเกิด ไม่ต้องทำอะไรหรอก ความโกรธจะกระเด็นหายไปต่อหน้าต่อตา ความโลภ ความหลงจะกระเด็นหายไปต่อหน้าต่อตา ความทุกข์ทางใจก็จะกระเด็นไปต่อหน้าต่อตา เพราะความทุกข์ทางใจเกิดร่วมกับความโกรธเสมอ เกิดร่วมกับโทสะเสมอ แต่ความสุขทางใจ บางทีก็เป็นกุศล บางทีก็เป็นอกุศล อย่างเวลาที่จิตมีราคะบางทีก็มีความสุข งั้นถ้าเป็นความสุขอันเกิดจากราคะ มีสติรู้ทันราคะ ราคะดับ บางทีความสุขนี้ก็ดับไปด้วย แต่ถ้าเป็นความสุขในทางบวก ความสุขจากการทำความดี เป็นความสุขจากกุศลพอมีสติรู้ทันมันไม่ดับ ไม่จำเป็นต้องดับทันทีหรอก แต่มันก็เกิดดับร่วมกับจิต ดับปุ๊บ มันก็เกิดขึ้นอีก ดับปุ๊บก็เกิดขึ้นมาอีก มีความสุขเหมือนมีความสุขที่ยาวขึ้นมา ไม่ได้ดับทันทีเหมือนความสุขความทุกข์ที่เกิดจากกิเลส ความทุกข์ เจือด้วยกิเลสตลอด ความทุกข์ทางใจ แต่ความสุข เป็นกิเลสก็มีเจือกิเลสก็มี ไม่เจือกิเลสก็มี อย่างใจของเราคิดถึง พระพุทธเจ้า เราสวดมนต์ เรามีสมาธิอะไรอย่างนี้ มีความสุข พวกนี้เรามีสติรู้ไม่หาย แต่ถ้าเรามีความสุขจากราคะ พอมีสติรู้ทันราคะ พวกราคะดับปุ๊บ ความสุขตัวนี้ก็หายไปด้วย และความสุขความทุกข์ทางกาย เรามีสติรู้มันจะดับมั๊ย มันไม่เกี่ยวกัน ความสุขความทุกข์ทางกายเป็นเรื่องของวิบาก เป็นเรื่องของวิบากไม่ใช่กิเลส ไม่ใช่กิเลสไม่ได้เกิดร่วมกับกิเลสด้วย แต่มันเป็นผล เป็นตัววิบาก และอย่างเจ็บไข้ได้ป่วย มีสติ มันจะหายป่วยมั๊ย ไม่หาย คนละเรื่องกันเห็นมั๊ย ร่างกายสุขภาพแข็งแรงอยู่ไม่มีสติแล้ว จะอ่อนแอปวกเปียกไปเลยมั๊ย ไม่เป็น งั้นทางกายไม่เกี่ยว เกี่ยวแต่ทางใจ ถ้าความสุขเจือด้วยราคะ ถ้ามีสติปุ๊บมันจะหายไปเลย ถ้าความทุกข์อันนี้เจือด้วยโทสะแน่นอน ทันทีที่รู้ทันมันจะดับสนิททันทีเลย งั้นใจเรา ถ้าพอมีสติเรื่อยๆ จะไม่มีความทุกข์ทางใจ ในขณะที่เรามีสติอยู่จะมีความทุกข์ทางใจไม่ได้ เพราะไม่มีโทสะแต่ว่ามันไม่มีความทุกข์ เพราะอาศัยสติ เมื่อไรขาดสติความทุกข์ก็กลับมาอีก เราต้องพัฒนาคุณภาพจิตใจของเราต่อไป ไม่ใช่มีแค่สติ สติแก้ปัญหาชั่วคราวเท่านั้นไม่ได้แก้รากฐานของปัญหา สติคล้ายๆ พาราเซตามอล พอกิเลสเกิดสติรู้ทันกิเลสก็หาย เดี๋ยวกิเลสก็มาอีก งั้นต้องพัฒนาจนถึงขั้นที่ฆ่ามันด้วยโลกุตตระปัญญา ฆ่ามันด้วยมรรคมันถึงจะตายสนิทไม่ฟื้นคืนชีพขึ้นมาอีกละ หัดเจริญสติ เจริญปัญญาเรื่อยไป ดูในกายมีแต่ความทุกข์ ดูที่ใจมีแต่ของไม่เที่ยง และก็มีความบังคับไม่ได้ในใจเรา แสดงการบังคับไม่ได้อยู่เด่นชัดมากเลย สั่งให้สุขมันก็ไม่ยอมสุข ห้ามทุกข์มันก็จะทุกข์ สั่งให้ดีมันก็ชั่ว ห้ามชั่วมันก็ชั่ว สุดท้ายมันก็เลยชั่วอยู่นั่นแหละ สั่งให้ดีมันก็ชั่ว ห้ามชั่วมันก็ชั่ว ส่วนใหญ่ก็เลยชั่วอยู่นั่นแหละ รู้สึกมั้ยวันหนึ่งๆ อกุศลมากกว่ากุศลนึกออกมั๊ย ถ้าเฝ้ารู้ไปก็จะเห็นกาย เป็นตัวทุกข์ชัดเจน จิตใจเป็นอนิจจังอนัตตา ชัดเจนสั่งมันไม่ได้และก็เปลี่ยนรวดเร็วมาก ร่างกายดูเป็นอนิจจังยากนิดหนึ่ง ถ้าไม่ทรงฌาณจริงๆ ดูยากมากเลย เพราะว่ารูปร่างมันอายุยืน แต่นามธรรมนั้นอายุมันสั้น ความรู้สึกเรา เปลี่ยนเร็ว หน้าตาเราเปลี่ยนช้ากว่าความรู้สึกนึกออกมั๊ย และหน้าเราเปลี่ยนตามความรู้สึกบ้างมั๊ย เปลี่ยนนะ ถ้าภาวนาพอจิตตื่นหน้าสว่างเลย ใครรู้สึกตัวบ้างว่าหน้าตาผ่องใส สว่าง หรือหน้าเหมือนลิงเหยียบอยู่อย่างนั้น รูปบางทีก็เปลี่ยนไปเพราะจิตสั่ง จิตมันเปลี่ยนรูปก็เปลี่ยน รูปบางอย่างก็เปลี่ยน รูปบางอย่างเปลี่ยนไปเพราะสิ่งแวดล้อม สิ่งแวดล้อมเปลี่ยนรูปก็เปลี่ยนก็มี เปลี่ยนไปเพราะกรรมก็มี กรรมตัดรอน แข็งแรงอยู่ดีดี เป็นมะเร็งป่วยไปก็มี งั้นรูปเปลี่ยนแปลงไปได้หลายอย่าง เปลี่ยนแปลงเพราะอาหารก็ได้ กินอาหารไปเรื่อยๆ รูปก็เปลี่ยน อดอาหารไปเรื่อยๆ รูปก็เปลี่ยนอีก งั้นรูปเปลี่ยนแปลงได้หลายอย่าง จิตใจจองเราก็เปลี่ยนเรื่อยพอรู้สึกไปในที่สุดจะเห็น พอเราไม่ลืมกายลืมใจ รู้สึกกายรู้สึกใจบ่อยๆ มีจิตใจอยู่กับเนื้อกับตัวบ่อยๆ สุดท้ายก็จะเห็นความจริงร่างกายนี้ไม่น่ารักหรอกเป็นทุกข์ จิตใจนี้ควบคุมไม่ได้ มีแต่ของไม่เที่ยง ความจะหลงยินดีในความสุข ความเกลียดชังในความทุกข์ ความหลงยินดีในกุศล ความเกลียดชังในอกุศลก็หายไป จิตเข้าสู่ความเป็นกลางเหมือนที่ดูรูป สุดท้ายก็จะเข้าสู่ความเป็นกลาง ดูจิตใจสุดท้ายก็เข้าสู่ความเป็นกลางเหมือนกัน เพราะหนีไม่ได้ พอใจเข้าถึงความเป็นกลาง ใจจะหมดความดิ้นรน เมื่อใจหมดความดิ้นรน จิตจะรวมลงเข้าอัปนาสมาธิด้วยตัวของมันเอง ชาตินี้เราไม่เคยเข้าสมาธิลึกขนาดอัปนาสมาธิเลยก็ไม่เป็นไร เรามีสติรู้กายรู้ใจตามความเป็นจริง ด้วยจิตที่ตั้งมั่นและเป็นกลางเรื่อยไป ถึงวันที่เขาพอ จิตจะรวมเข้าอัปนาสมาธิของเขาเอง เราไม่รู้หรอกว่าเขาจะพอวันไหนเวลาไหน เพราะอย่างนั้นเราต้องมีสติบ่อยๆ บางคนสะสมบุญบารมีเจริญสติ เจริญปัญญามา เกือบจะเกิดอริยมรรคแล้วอีกนิดเดียวก็จะเกิดอริยมรรค เกิดขี้เกียจไปทำธุระอื่นก่อน เลิกปฎิบัติไปก่อน ไม่ดูกาย ไม่ดูใจ ลืมสติไปเลย เสื่อมอีก ต้องมาทำใหม่ อย่างพวกเราหลายๆคนภาวนาเจริญๆ เดี๋ยวขี้เกียจขี้คร้านหน่อยเดี่ยวหายไปอีกละ เพราะอย่างนั้นขี้เกียจไม่ได้ เพราะเราไม่รู้ว่าบารมีเราจะเต็มวันไหน เพราะอย่างนั้นเราพยายามทำทุกๆวัน ถึงวันที่มันเต็มจะได้ไม่พลาดโอกาส เพราะอย่างนั้นเดี๋ยวพลาดโอกาส เวลาที่มันเต็ม จิตจะรวมเข้าอัปนาสมาธิ มันรวมเอง พอรวมแล้ว มันจะเห็นสภาวะธรรมภายใจ เกิดดับ สภาวะอันนี้จะเป็นอะไรก็ไม่รู้เหมือนกัน เพราะไม่มีการสำคัญมั่นหมายว่ามันคืออะไร ไม่มีคำพูดหรอก เห็นแต่สิ่งบางสิ่งเกิดขึ้น แล้วสิ่งนั้นก็ดับไป สิ่งบางสิ่งเกิดขึ้น และสิ่งนั้นก็ดับไป พวกที่ปัญญาแก่กล้า จะเห็นเพียงสองครั้ง เห็นสิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้นแล้วดับไป สิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้นแล้วดับไป เห็นสองครั้งเท่านั้น พวกปัญญากล้า ถ้าปัญญาไม่กล้าก็จะเห็นสามครั้งถึงจะพอ เสร็จแล้วจิตมันจะปล่อยวาง มันจะวางการที่ไปรู้สภาวะที่เกิดดับ มันจะวางสภาวะนั้นทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้ ตรงที่มันวางสภาวะ มันพ้นจากความเป็นปุถุชนแต่มันยังทวนกระแสเข้ามาไม่ถึงตัวธาตุรู้ ธรรมธาตุแท้ ยังไม่ใช่พระอริยะ คาบลูกคาบดอกอยู่ สภาวะคาบลูก เกิดขึ้นชั่วขณะจิตเดียว เกิดขึ้นชั่วขณะเท่านั้นเอง เสร็จแล้วพอมันเข้ามาถึงจิตถึงใจแท้ๆ สติระลึกลงที่จิตโดยไม่เจตนาระลึก สมาธิตั้งมั่น จิตตั้งมั่นอยู่ที่จิตโดยไม่มีเจตนาให้ตั้งมั่น ปัญญาเห็นความจริง เห็นอริยสัจจ์ของจิต ว่าจิตนี้แหละเป็นตัวทุกข์ จิต แหละเป็นตัวไม่เที่ยง เป็นตัวไม่ใช่ของดีของวิเศษเลย เห็นครั้งแรก ปัญญาจะแจ้งขึ้นมาว่า จิตนี้ไม่ใช่ตัวเราหรอก เพราะงั้นในธรรมะขั้นแรก จะเห็นว่าไม่มีตัวเรา ตัวเราหายไป พอมันเข้ามาถึงจิตถึงใจแล้ว อาสวะกิเลส ที่ห่อหุ้มจิตอยู่ จิตของเราจะถูก อาสวะห่อหุ้มอยู่ อาสวะย้อมอยู่ แทรกย้อมอยู่ ตรงที่ขณะแห่งอริยมรรคเกิดขึ้น อริยมรรคจะแหวก อาสวะอันนี้ขาดออกจากกัน อาสวะนี้ออกแล้วจิตจะเข้าสัมผัสพระนิพพาน สองสามขณะ พวกที่มีบารมีแก่กล้าสัมผัสพระนิพพานสามขณะ พวกที่ไม่แก่กล้าสัมผัสสองขณะไม่เหมือนกัน บุญบารมียังไม่เท่ากัน โสดาบันไม่เท่ากันเลย โสดาบางคนเกิดอีกชาติเดียวก็จะจบละ บางคนอีกสามชาติจะจบไม่เกิดอีก อีกบางคนเจ็ดชาติถึงจะไม่เกิด กำลังมันไม่เท่ากัน แต่ว่าล้างความเห็นผิดได้เท่ากันว่าตัวตนไม่มี พอถอยออกจากสภาวะนี้ จิตจะกลับเข้ามาอยู่ยังความเป็นมนุษย์ปกติอย่างนี้แหละ แล้วมันจะทวนเข้าไปดูจิต มันจะทวนอัตโนมัติเข้าไปดู มันจะพบว่าจิตนี้ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนอีกต่อไป ร่างกายนี้ก็ไม่ใช่ตัวใช่ตนอีกต่อไป ที่ไหนๆ ก็ไม่มีตัวตนอีกต่อไป จะกลวงๆ ว่างจากความเป็นตัวตนไปหมด อย่างคำว่าจิตว่าง จิตว่างไม่ใช่ว่างเปล่า ว่างเปล่านั้นมันหมายถึงว่า ไม่มีอะไรเลย มันเป็นมิจฉาทิฏฐิไม่ใช่ทาง คำว่าว่างว่าง ว่างจากความเป็นตัวเป็นตน สภาวะนั้นมีอยู่แต่ไม่ใช่ตัวใช่ตน ไม่ใช่คน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่เรา ไม่ใช่เขา เพราะงั้นจะมีความรู้สึกว่ามันกลวงๆ มันว่างๆ ไม่มีตัวไม่มีตน แต่มีการกระทำ ยังมีการส่งกระแสจากความไม่มีตัวไม่มีตน จิตที่ไม่ใช่ตัวเรา และยังส่งกระแสไปทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไปยึดอารมณ์ได้อีก เรียกว่ามีการกระทำแต่ไม่มีผู้กระทำ จะรู้ชัดเลยว่าการกระทำมีอยู่แต่ไม่มีผู้กระทำ จะเห็นอย่างนี้ จนวันที่เป็นพระอรหันต์ผู้กระทำก็ไม่มี การกระทำก็ไม่มี มีแต่กิริยา มีแต่กิริยากระทำ ว่าไม่มีการกระทำ มีเจตนาที่จะกระทำอะไร ธรรมะเป็นของปราณีตลึกซึ้งมาก พวกเราต้องศึกษาต้องเล่าเรียนจะเอาแต่นั่งสมาธิ นิ่งๆ ว่างๆ ไม่ได้กินหรอก ท่านสอนเจริญสติใช่มั๊ย รู้สึกในกาย กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน มีสติรู้ความรู้สึกสุข ทุกข์ เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน มีสติรู้จิตใจ ที่เป็นกุศลอกุศล เรียกจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน มีสติรู้กระบวนการทำงานของรูปธรรม นามธรรม เรียกว่าธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ทั้งหมดนี้เป็นเรื่องของรูปธรรม นามธรรมทั้งสิ้น กายานุปัสสนาส่วนของกาย เป็นส่วนของรูปธรรม เวทนานุปัสสนา เป็นนามธรรม แต่เวทนาบางทีก็เกิดที่กายใช่ไหม บางทีก็เกิดที่จิต เกิดร่วมกับรูปธรรมก็ได้ เกิดร่วมกับนามธรรมก็ได้ จิตตานุปัสสนาที่ดูจิตที่เป็นกุศล อกุศล กุศลอกุศลเกิดที่จิต แต่กุศลอกุศลก็อาศัย ตา หู จมูก ลิ้น กาย รวมทั้งใจด้วยไปกระทบอารมณ์ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ก็กระทบรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ส่วนของรูปธรรม แล้วก็สะเทือนเข้ามาถึงใจ เกิดสุข เกิดทุกข์ กุศล อกุศลขึ้น และกายกับใจก็เนื่องกัน เพราะงั้นเวลาที่เรา ภาวนาจริงๆ มันรู้ทั้งกาย รู้ทั้งใจ ไม่มีหรอกสายกาย สายจิต อะไร ไอ้สายกายสายจิตไรมันเป็นขั้นเบสิค ขั้นต้นเท่านั้นเอง พอสติ ปัญญา อัตโนมัติแล้วมันเลือกไม่ได้หรอกว่ามันจะรู้อะไร บางครั้งสติก็ระลึกรู้รูป รู้กาย บางครั้งสติ รู้เวทนา บางครั้งสติไปรู้ กุศล อกุศล บางครั้งสติไปรู้กระบวนการทำงานของจิต เช่นการปรุงนิวรณ์ขึ้นมา การปรุงโพชฌงค์ขึ้นมาเห็นขันธ์ห้าทำงานตามหน้าที่ของแต่ละขันธ์ขึ้นมา เห็นกระบวนการของปฏิจสมุปบาท คือกระบวนการที่จิตซึ่งมีความไม่รู้ มีอวิชชา ปรุงความทุกข์ขึ้นมา จะเห็นกระบวนการเป็นธรรมมานุปัสสนา ก็เป็นเรื่องรูปธรรม นามธรรม ทั้งสิ้น เฝ้ารู้ลงไปถ้าเราทิ้งการรู้กายรู้ใจ เราไม่มีวันบรรลุมรรคผลนิพพาน ถึงจะนั่งสมาธิเก่งแค่ไหน อย่างเก่งสูงสุดไปพรหมโลกเท่านั้น เราอย่าไปหลงนิมิตไปติดนิมิต เวลานั่งสมาธิไปเห็นโน่นเห็นนี่ สู้เห็นกิเลสไม่ได้เลย มีสติอยู่พระพุทธเจ้าสอนอย่างนี้ว่า เรามีสติอยู่เพียงราตรีเดียว คืนเดียว ชีวิตของเราก็น่าชมละ ดีกว่ามีอายุตั้งร้อยปี ไม่เคยมีสติ งั้นเราไปเห็นนิมิต นิมิตอะไรร้อยปี หาสาระไม่ได้เลย ไม่มีสติ มีสติต้องรู้กาย รู้ใจของเรา เพราะงั้นถ้าเราเป็นชาวพุทธ ต้องรู้ว่าพระพุทธเจ้าสอนอะไร ไม่งั้นมั่วซั่ว ไม่งั้น ก็ไปเป็นแบบฤาษีชีไพรซะส่วนใหญ่ ....... จบ.....
สมาธิก็เป็นภพอีกอันหนึ่ง เข้าฌานอยู่ เป็นภพอีกอันหนึ่ง ก็ทุกข์อีกนะ อยู่...ใจของเราปกติจะไม่พอใจในปัจจุบัน มันจะไม่หยุดอยู่กับปัจจุบัน คิดไปถึงอนาคตเรื่อยๆ หวังความสุขเรื่อยๆ เอาเข้าจริงถ้าหัดภาวนาไปเรื่อยๆ จะรู้ว่าจริงๆ ความสุขไม่มีหรอก ในโลกมีแต่เรื่องทุกข์ทั้งนั้นเลย ทุกข์มากกับทุกข์น้อย คนในโลกมันสติปัญญาไม่พอ เวลาทุกข์น้อยก็รู้สึกว่ามีความสุข เวลาพวกเราปฏิบัติ หัดแรกๆ พวกเราไม่มีสมาธิ พอจิตมันเกิดสมาธิขึ้นมามันมีความสุข เราเลยรู้สึกว่าปฏิบัติแล้วมีความสุข แต่พอถึงขั้นเจริญปัญญา มาเรียนรู้ความจริงของ รูป นาม กาย ใจ จะรู้สึกมันมีความทุกข์ กายนี้เป็นตัวทุกข์ ใจนี้เป็นตัวทุกข์ แต่ใจต้องเป็นอุเบกขา ถ้าใจไม่เป็นอุเบกขาใจก็จะทุกข์ด้วย เราจะเห็นทุกอย่างที่ผ่านเข้ามาจะเป็น รูปธรรม นามธรรมทั้งหลาย เห็นแต่ตัวทุกข์ทั้งหมดเลย แต่ใจจะไม่ทุกข์ด้วย ถ้าหัดแรกๆ เจริญปัญญาไป ใจมันไปอินกับความทุกข์ของรูปนาม ใจก็รู้สึกทุกข์ไปด้วย หัดมากเข้ามากเข้า เห็นว่ารูปนามมีธรรมดาเป็นทุกข์ มันเป็นธรรมดาที่รู้ทุกข์เป็นปกติ และใจก็เป็นอุเบกขา เวลาเราหัดภาวนาใหม่ๆ เราทำสมาธิขึ้นมา เรามีความสุข อยู่ๆ ความสุขก็ผุดขึ้นมา ผุดขึ้นมา อันนั้นเป็นเรื่องของสมาธิ พอถึงขั้นเจริญปัญญาจะเห็นแต่ตัวทุกข์ ทุกข์ทีแรกใจยังยอมรับไม่ได้ ใจก็พลอยทุกข์กับขันธ์ นานๆไปเห็นซ้ำแล้วซ้ำอีก ว่าเราไม่สามารถหนีไปจากขันธ์นี้ได้ ขันธ์เป็นตัวทุกข์ ใจก็ยอมรับขันธ์ ขันธ์เป็นอย่างนี้แหละธรรมดา พอเห็นว่าธรรมดามันเป็นอย่างนี้ ใจมันก็เป็นอุเบกขา ตรงที่อุเบกขาเพราะมีปัญญาจะเป็นประตูของการบรรลุอริยมรรค ถ้าหากเราทำแต่สมาธิ เราไม่เดินปัญญาเลย ไม่มีวันที่อริยมรรคจะเกิดเลย ต้องเดินปัญญา แต่เดินปัญญาได้จิตต้องมีสมาธิที่ถูกต้อง สมาธิมีสองแบบ หลวงพ่อสอนมาแต่วันแรกเลย เพราะเป็นเรื่องสำคัญมาก ถ้าพวกเราคิดว่าสมาธิมีแต่เรื่องทำให้จิตสงบละ เราจะเดินปัญญาไม่ได้จริง ศาสนาพุทธ พุทธะ แปลว่า ผู้รู้ รู้เป็นเรื่องของการรู้ มีความรู้ถูกเข้าใจถูกทั้งสิ้นเลย ไม่ใช่การนั่งสมาธิ เพราะความสุขจากการนั่งสมาธิมันไม่แน่นอน ตัวสมาธิเองก็ไม่แน่นอน เป็นโลกียธรรม เจริญได้ก็เสื่อมได้ เคยเข้าฌาณได้นานๆ ก็เข้าไม่ได้ก็มี อย่างเทวทัตเข้าฌาน ได้มีอภิญญาสุดท้ายก็เสื่อม เคยเหาะได้ ก็ให้คนหามไป สมาธิเป็นของไม่แน่นอนเอาเป็นที่พึ่งไม่ได้ แต่ก็ต้องมีสมาธิที่ถูกชนิด สมาธิมีสองชนิด สมาธิอย่างที่หนึ่ง สงบอยู่ในอารมณ์อันเดียว เช่นเราท่อง พุท โธ พุท โธ จิตเราสงบอยู่กับพุทธโธ เรารู้ลมหายใจ จิตเราสงบอยู่ที่ลมหายใจ หากเราดูท้องพองยุบ จิตเราสงบอยู่ที่ท้อง เราดูลูกแก้ว ดูพระพุทธรูป ดูเทียน จุดไป ดูไปเรื่อยๆ จิตสงบอยู่กับลูกแก้ว อยู่กับพระพุทธรูป อยู่กับเทียน อันนี้เป็นสมาธิที่ใช้ทำสมถะเพื่อพักผ่อน ไม่ใช่สมาธิเพื่อการเดินปัญญา สมาธิเพื่อการเดินปัญญา พูดภาษาไทยง่ายๆ คือความรู้เนื้อรู้ตัว จิตใจอยู่กับเนื้อกับตัว จิตใจไม่ลืมตัวเอง ธรรมดาพวกเราทั้งหลายเรามีร่างกาย แต่เราลืมร่างกายของตัวเองทั้งหมด เรามีจิตใจเราก็ลืมจิตใจของตัวเองทั้งวัน อย่างเราไปท่องพุท โธ พุท โธ ร่างกายเราก็ลืมไป หรือเราไปรู้ลมหายใจ เราไปเพ่งไฟ เพ่งพระพุทธรูป เพ่งอะไรก็ตาม อย่างเราไปเพ่งพระพุทธรูป สุดท้ายพระพุทธรูปก็เป็นปฏิภาคนิมิตขึ้นมาเป็นแก้วใส ใสขึ้นมาเป็นเรื่องของนิมิต ปฏิภาคนิมิต เห็นแต่พระพุทธรูป ร่างกายหายไป จิตใจเราจะสุขจะทุกข์จะดีจะชั่ว ตัวเราไม่เห็นแล้ว สมาธิชนิดแรกคือ จิตไปจดจ่ออยู่ในอารมณ์อันเดียว แล้วก็ลืมกายลืมใจตัวเอง เมื่อลืมกายลืมใจก็ไม่สามารถที่จะเจริญปัญญาเรียนรู้ความเป็นจริงของกายของใจได้ “เราจะเรียนรู้ความจริงของกายของใจได้ต้องไม่ลืมกายลืมใจ” รู้สึกถึงความมีอยู่ของกายบ่อยๆ รู้สึกถึงความที่มีอยู่ของจิตใจบ่อยๆ จิตใจเรานี้ เดี๋ยวก็สุข เดี๋ยวก็ทุกข์ เดี๋ยวก็ดี เดี๋ยวก็ร้าย รู้สึกบ่อยๆ จิตใจเรานี้ เดี๋ยวก็สุข เดี๋ยวก็ทุกข์ เดี๋ยวก็ดี เดี๋ยวก็ร้าย รู้สึกบ่อยๆ เราไม่ลืมกายลืมใจ รู้สึกถึงกายบ่อยๆ รู้สึกถึงใจบ่อยๆ ไม่นานเราก็จะเห็นความจริงของกายของใจ ความจริงของร่างกายนี้ถูกความทุกข์บีบคั้นอยู่ตลอดเวลา นั่งอยู่ก็ทุกข์ นั่งนานก็ปวดเมื่อย ร่างกายมีความทุกข์บีบคั้นอยู่ ไปเดินนานๆ ก็ถูกความทุกข์บีบคั้น ให้ดูที่ของจริงที่ถูกความทุกข์มันบีบคั้นอยู่ตลอด แต่ตอนแรกการเปลี่ยนอิริยาบทใหม่ๆ ความทุกข์ยังอ่อนอยู่ เราก็รู้สึกมีความสุข พออยู่ในอิริยาบทเดียวนานๆ ความทุกข์ก็ค่อยๆ เด่นขึ้น จนสุดท้ายทนแทบไม่ไหว นั่งสมาธิแข้งขาจะหัก หรือไปเดินจงกรมปวดเมื่อยไปหมดเลย ร่างกายไม่ว่าจะยืน จะเดิน จะนั่ง กระทั่งจะนอนก็ยังถูกความทุกข์บีบคั้นอยู่ตลอดเวลา คืนหนึ่งๆ พวกเราพลิกตั้ง 30 – 40 ครั้ง เรามีสติอยู่ หลับอยู่ก็ยังมีสติอยู่ จะรู้เลยร่างกายเคลื่อนไหวเรื่อยๆ หยุดประเดี๋ยวหนึ่งก็เคลื่อนไหว ทำไมร่างกายต้องเคลื่อนไหว มันเคลื่อนไหววิ่งหนีความทุกข์ ความทุกข์ตามมาทันทีก็หนีไปทีหนึ่ง ขยับตัวหนีไป เดี๋ยวความทุกข์ก็ตามมาทันอีก ก็ขยับหนีไปอีก ความทุกข์เหมือนหมาล่าเนื้อวิ่งไล่กันเราทั้งวัน ถ้าเรามีสติอยู่ในกาย เราจะเห็นเลยร่างกายนี้ถูกความทุกข์บีบคั้นอยู่ตลอดเวลา กระทั่งการหายใจ เราหายใจออกก็เพื่อแก้ทุกข์ เราหายใจเข้าก็เพื่อแก้ทุกข์ อย่างเราหายใจออกไปเรื่อยๆ ความทุกข์มันก็จะเพิ่มขึ้น สุดท้ายเราทนไม่ได้ เราก็ต้องเปลี่ยนอิริยาบทของการหายใจ ก็ต้องมาหายใจเข้า หายใจเข้านึกว่าจะสบายหายใจเข้าไปสักพักเดียว ความทุกข์ก็ตามมาทันอีกแล้ว ต้องหายใจออกแก้ทุกข์อีก สุดท้ายคือเราวิ่งหนีความทุกข์ที่เกิดขึ้นในร่างกายนี้ตลอดเวลา แต่เราวิ่งมาจนชินเราไม่รู้ว่ามันทุกข์ มันปวดมันเมื่อยเราก็ขยับตัวเลย เราไม่ทันรู้ว่ามันปวดมันเมื่อยขึ้นมา มันมีความทุกข์อะไรเกิดขึ้น เราละเลยที่จะรู้ เพราะเราคุ้นเคยชินกับมันมาก แต่วันใดเจ็บป่วยมากๆ กระดุกกระดิกไม่ได้บางคนเป็นอัมพาต ปวดเมื่อยแค่ไหนก็กระดิกไม่ได้ นอนไปเรื่อยๆ จนเป็นแผลกดทับตัวเน่าไปเลย ทุกข์มากขยับไม่ได้ สุดท้ายร่างกายของเราก็จะทุกข์มาก ถึงจุดหนึ่งมันจะทุกข์จนกระทั่งตาย นี่เป็นสิ่งที่พวกเราต้องเจอในวันหนึ่งข้างหน้า ร่างกายนี้เต็มไปด้วยความทุกข์ ถ้าถึงวันหนึ่งจะชอบหรือไม่ชอบ จะรู้หรือไม่รู้ก็ตาม ความทุกข์ขยี้ร่างกายนี้จนแตกสลายลงไป นี่คือความจริงในร่างกาย ถ้าเรามีสติปัญญาเรียนรู้ความจริงของร่างกาย ให้รู้สึกเรื่อยๆ ดูของจริงเรื่อยๆ ไม่ไปคิด ไปปรุง ไปแต่งอะไร เราก็จะเห็นเลยร่างกายนี้เต็มไปด้วยก้อนทุกข์แท้ๆเลย บางเวลาทุกข์มาก บางเวลาก็ทุกข์น้อย และความทุกข์ วิ่งตามตลอดเวลา สุดท้ายเราหนีไม่ทัน สุดท้ายมันจะขยี้เราตาย เป็นอย่างนี้ทุกคนเลย ถ้าใจเราเห็นความจริงอย่างนี้ได้ มันก็จะรู้สึกว่า ร่างกายนี้ไม่ได้น่ารักน่าหวงแหน ความยึดถือในร่างกายนี้ก็ลดลงๆ ถึงจุดหนึ่งไม่ยึดถือในกาย เมื่อเราไม่ยึดถือร่างกาย ร่างกายจะแก่เราจะไม่เดือดร้อน ใจเราจะไม่เดือดร้อน ร่างกายจะเจ็บก็เจ็บอยู่ที่ร่างกาย จิตใจเราไม่เดือดร้อนด้วย เพราะจิตไม่ได้เข้าไปจับ ร่างกายจะตายก็เรื่องของร่างกาย จิตไม่เดือดร้อนด้วย จิตใจไม่ได้ยึดถือร่างกาย “เรายึดถือสิ่งใดมากเราจะทุกข์เพราะสิ่งนั้นมาก” อย่างรักใครมากสักคนหนึ่ง เราก็จะทุกข์เพราะคนนี้เยอะ คนที่เราเป็นกลางๆ เราไม่ได้รักไม่ได้เกลียดมาก ก็ทำให้เราทุกข์ไม่ค่อยได้หรอก คนที่เรารักมากๆ มาทำให้เราทุกข์ได้เยอะเลย งั้นสิ่งที่เรารักมากก็คือร่างกายกับใจของเราเอง รักที่สุดเลย นำความทุกข์มาให้เราเยอะที่สุด ถ้าเมื่อไรเกิดหมดความรักใคร่ยึดถือในกายในใจ มันจะนำความทุกข์มาสู่ใจเราไม่ได้ ความทุกข์จะจบลงที่ร่างกายแค่นั้นเอง เป็นความทุกข์ตามธรรมาชาติ ตามธรรมดา แต่ใจเราจะไม่เป็นทุกข์ด้วย พระพุทธเจ้าท่านเปรียบเทียบความทุกข์เหมือนลูกธนู ท่านบอกว่า คนโดยทั่วไป ได้รับความทุกข์ทางกายเหมือนถูกยิงด้วยธนูดอกที่หนึ่ง ตามมาด้วยความทุกข์ทางใจอย่างรุนแรงเหมือนถูกธนูดอกที่สอง พระอรหันต์ทั้งหลาย ความทุกข์เข้าได้ที่ร่างกายเท่านั้น จะเข้ามาถึงจิตใจไม่ได้เลย ถูกก็ถูกดอกเดียว สบายกว่าพวกเรา แต่ไม่มีความทุกข์ทางใจ ความทุกข์ทางร่างกายเป็นปกติ เป็นธรรมดา แต่พวกเรายึดถือร่างกาย พอวันหนึ่งความทุกข์ในร่างกายเด่นชัดขึ้นมา จะเราทุรนทุรายไปด้วย เพราะมันเป็นร่างกายของเรา พอเรามาหัดดูความจริงในร่างกายมากๆ มีแต่ความทุกข์ ความยึดถือว่ามันเป็นของดีของวิเศษเป็นตัวเราของเรา ก็จะค่อยๆสลายตัวไป ถึงจุดหนึ่งไม่ยึดถือในกาย เป็นภูมิธรรมของพระอนาคามี จะไม่ยึดถือในกาย ในด้านจิตใจเราก็มาคอยดูตลอดเวลาตลอดชีวิต เราพยายามหาความสุขให้กับจิตใจของเราตลอดเวลา กลุ้มใจขึ้นมาก็ไปดูหนัง หวังว่าจะมีความสุข ดูหนังไม่พอ ไปฟังเพลง ไปร้องเพลงคาราโอเกะ ไปอย่างโน้นไปอย่างนี้ ไปหาของกินให้อร่อย การไปหาของกินให้อร่อยมีความสุขทางร่างกายหรือเปล่า ลิ้นไม่ได้มีความสุขด้วยเลย คนที่รู้รสคือลิ้น ลิ้นไม่เคยมีความสุขอะไรด้วยเลย ต้องกระดุกกระดิกอยู่อย่างนั้นเผลอๆ ถูกฟันกัดเข้าให้อีก มันมีความสุขทางใจ มีความพอใจที่ใจ เป็นการเสพของใจ ไปดูของสวยของงาม ดูเพื่อให้สบายใจ มันเป็นการเสพของใจ หรือการที่เราต้องไปอยู่กับคนคนนี้ เรารักคนนี้ ได้อยู่กับคนนี้แล้วสบายใจ บางทีก็ลำบากกายด้วยซ้ำไป ต้องไปเลี้ยงอีกคนโห...ลำบาก แต่มันสบายใจ เราต้องการความสุขทางใจสาระพัดที่จะทำ วันหนึ่งๆ หาอารมณ์ต่างๆ มาป้อนเข้ามาเพื่อหวังว่าจิตใจจะมีความสุข แต่พอเรามีสติปัญญาขึ้นมาจริงๆ เราจะเห็นความสุข สั้นนิดเดียว ความสุขในใจเกิดขึ้นชั่วไม่นานก็ดับไป กระทั่งความทุกข์ทางใจเกิดขึ้น กระทั่งเรามีสติปัญญาจริงๆ เราก็จะเห็นว่าไม่นานมันก็จะผ่านไป ความสุขก็ไม่เที่ยง ความทุกข์ก็ไม่เที่ยง ความดีในจิตใจที่เกิดขึ้นก็ไม่เที่ยง ความชั่วที่เกิดขึ้นในใจ ความโลภ ความโกรธ ความหลง ก็ไม่เที่ยง ไม่มีอะไรเลยที่ผ่านเข้ามาสู่ความรับรู้ของจิตของเรา สังขารความปรุงทั้งหลาย จะสุข จะทุกข์ จะดี จะชั่วอะไรทั้งหลาย มีแต่ของไม่เที่ยงทั้งหมดเลย พอเราเห็นซ้ำแล้วซ้ำอีกว่า ความสุขก็ช่วคราว ความทุกข์ก็ชั่วคราว ความดีก็ชั่วคราว ความชั่วก็ชั่วคราว พอเห็นซ้ำมากๆ ใจก็ยอมรับความจริง ความสุขเกิดขึ้นก็เห็นว่าเป็นเรื่องธรรมดาไม่นานมันก็หายไป เพราะงั้นใจไม่ดิ้นรน ใจเราจะไม่เข้าไปเสพความสุขอันนั้น ความสุขมีอยู่ แต่ใจไม่ดิ้นรนหรอกเพราะรู้ว่ามันไม่นิรันดรหรอก ความทุกข์เกิดขึ้นใจก็ไม่ดิ้นรนหนี ไม่ดิ้นรนปฏิเสธ รู้ว่ามันของชั่วคราว เดี๋ยวมันก็ผ่านไปใจมันก็เป็นกลาง เวลาโลภ โกรธ หลง เกิดขึ้น ก็ไม่ใช่ไปเกลียดมัน และไม่ได้ถูกมันครอบงำ คนทั้งหลาย พอความโลภ ความโกรธ ความหลงเกิดขึ้นแล้ว จิตก็จะถูกกิเลสเหล่านี้ครอบงำ ถ้าเราเป็นนักปฏิบัติ ความโลภ ความโกรธ ความหลงเกิดขึ้น เรามีสติรู้ทัน มันจะกระเด็นหายไปต่อหน้าต่อตา หายในขณะนั้นเลย ไม่ต้องทำอะไร สักอย่างเดียวเลย ทันทีที่สติเกิด อกุศลดับทันทีเลย นี่เป็นกฎของธรรมะ เป็นกฎธรรมดา “ที่ใดมีสติที่นั่นไม่มีกิเลส ที่ใดมีกิเลสที่นั่นไม่มีสติ” ถ้างั้นเมื่อไรเรามีสติขึ้นมา เรารู้ทันว่าความโกรธกำลังเกิด ไม่ต้องทำอะไรหรอก ความโกรธจะกระเด็นหายไปต่อหน้าต่อตา ความโลภ ความหลงจะกระเด็นหายไปต่อหน้าต่อตา ความทุกข์ทางใจก็จะกระเด็นไปต่อหน้าต่อตา เพราะความทุกข์ทางใจเกิดร่วมกับความโกรธเสมอ เกิดร่วมกับโทสะเสมอ แต่ความสุขทางใจ บางทีก็เป็นกุศล บางทีก็เป็นอกุศล อย่างเวลาที่จิตมีราคะบางทีก็มีความสุข งั้นถ้าเป็นความสุขอันเกิดจากราคะ มีสติรู้ทันราคะ ราคะดับ บางทีความสุขนี้ก็ดับไปด้วย แต่ถ้าเป็นความสุขในทางบวก ความสุขจากการทำความดี เป็นความสุขจากกุศลพอมีสติรู้ทันมันไม่ดับ ไม่จำเป็นต้องดับทันทีหรอก แต่มันก็เกิดดับร่วมกับจิต ดับปุ๊บ มันก็เกิดขึ้นอีก ดับปุ๊บก็เกิดขึ้นมาอีก มีความสุขเหมือนมีความสุขที่ยาวขึ้นมา ไม่ได้ดับทันทีเหมือนความสุขความทุกข์ที่เกิดจากกิเลส ความทุกข์ เจือด้วยกิเลสตลอด ความทุกข์ทางใจ แต่ความสุข เป็นกิเลสก็มีเจือกิเลสก็มี ไม่เจือกิเลสก็มี อย่างใจของเราคิดถึง พระพุทธเจ้า เราสวดมนต์ เรามีสมาธิอะไรอย่างนี้ มีความสุข พวกนี้เรามีสติรู้ไม่หาย แต่ถ้าเรามีความสุขจากราคะ พอมีสติรู้ทันราคะ พวกราคะดับปุ๊บ ความสุขตัวนี้ก็หายไปด้วย และความสุขความทุกข์ทางกาย เรามีสติรู้มันจะดับมั๊ย มันไม่เกี่ยวกัน ความสุขความทุกข์ทางกายเป็นเรื่องของวิบาก เป็นเรื่องของวิบากไม่ใช่กิเลส ไม่ใช่กิเลสไม่ได้เกิดร่วมกับกิเลสด้วย แต่มันเป็นผล เป็นตัววิบาก และอย่างเจ็บไข้ได้ป่วย มีสติ มันจะหายป่วยมั๊ย ไม่หาย คนละเรื่องกันเห็นมั๊ย ร่างกายสุขภาพแข็งแรงอยู่ไม่มีสติแล้ว จะอ่อนแอปวกเปียกไปเลยมั๊ย ไม่เป็น งั้นทางกายไม่เกี่ยว เกี่ยวแต่ทางใจ ถ้าความสุขเจือด้วยราคะ ถ้ามีสติปุ๊บมันจะหายไปเลย ถ้าความทุกข์อันนี้เจือด้วยโทสะแน่นอน ทันทีที่รู้ทันมันจะดับสนิททันทีเลย งั้นใจเรา ถ้าพอมีสติเรื่อยๆ จะไม่มีความทุกข์ทางใจ ในขณะที่เรามีสติอยู่จะมีความทุกข์ทางใจไม่ได้ เพราะไม่มีโทสะแต่ว่ามันไม่มีความทุกข์ เพราะอาศัยสติ เมื่อไรขาดสติความทุกข์ก็กลับมาอีก เราต้องพัฒนาคุณภาพจิตใจของเราต่อไป ไม่ใช่มีแค่สติ สติแก้ปัญหาชั่วคราวเท่านั้นไม่ได้แก้รากฐานของปัญหา สติคล้ายๆ พาราเซตามอล พอกิเลสเกิดสติรู้ทันกิเลสก็หาย เดี๋ยวกิเลสก็มาอีก งั้นต้องพัฒนาจนถึงขั้นที่ฆ่ามันด้วยโลกุตตระปัญญา ฆ่ามันด้วยมรรคมันถึงจะตายสนิทไม่ฟื้นคืนชีพขึ้นมาอีกละ หัดเจริญสติ เจริญปัญญาเรื่อยไป ดูในกายมีแต่ความทุกข์ ดูที่ใจมีแต่ของไม่เที่ยง และก็มีความบังคับไม่ได้ในใจเรา แสดงการบังคับไม่ได้อยู่เด่นชัดมากเลย สั่งให้สุขมันก็ไม่ยอมสุข ห้ามทุกข์มันก็จะทุกข์ สั่งให้ดีมันก็ชั่ว ห้ามชั่วมันก็ชั่ว สุดท้ายมันก็เลยชั่วอยู่นั่นแหละ สั่งให้ดีมันก็ชั่ว ห้ามชั่วมันก็ชั่ว ส่วนใหญ่ก็เลยชั่วอยู่นั่นแหละ รู้สึกมั้ยวันหนึ่งๆ อกุศลมากกว่ากุศลนึกออกมั๊ย ถ้าเฝ้ารู้ไปก็จะเห็นกาย เป็นตัวทุกข์ชัดเจน จิตใจเป็นอนิจจังอนัตตา ชัดเจนสั่งมันไม่ได้และก็เปลี่ยนรวดเร็วมาก ร่างกายดูเป็นอนิจจังยากนิดหนึ่ง ถ้าไม่ทรงฌาณจริงๆ ดูยากมากเลย เพราะว่ารูปร่างมันอายุยืน แต่นามธรรมนั้นอายุมันสั้น ความรู้สึกเรา เปลี่ยนเร็ว หน้าตาเราเปลี่ยนช้ากว่าความรู้สึกนึกออกมั๊ย และหน้าเราเปลี่ยนตามความรู้สึกบ้างมั๊ย เปลี่ยนนะ ถ้าภาวนาพอจิตตื่นหน้าสว่างเลย ใครรู้สึกตัวบ้างว่าหน้าตาผ่องใส สว่าง หรือหน้าเหมือนลิงเหยียบอยู่อย่างนั้น รูปบางทีก็เปลี่ยนไปเพราะจิตสั่ง จิตมันเปลี่ยนรูปก็เปลี่ยน รูปบางอย่างก็เปลี่ยน รูปบางอย่างเปลี่ยนไปเพราะสิ่งแวดล้อม สิ่งแวดล้อมเปลี่ยนรูปก็เปลี่ยนก็มี เปลี่ยนไปเพราะกรรมก็มี กรรมตัดรอน แข็งแรงอยู่ดีดี เป็นมะเร็งป่วยไปก็มี งั้นรูปเปลี่ยนแปลงไปได้หลายอย่าง เปลี่ยนแปลงเพราะอาหารก็ได้ กินอาหารไปเรื่อยๆ รูปก็เปลี่ยน อดอาหารไปเรื่อยๆ รูปก็เปลี่ยนอีก งั้นรูปเปลี่ยนแปลงได้หลายอย่าง จิตใจจองเราก็เปลี่ยนเรื่อยพอรู้สึกไปในที่สุดจะเห็น พอเราไม่ลืมกายลืมใจ รู้สึกกายรู้สึกใจบ่อยๆ มีจิตใจอยู่กับเนื้อกับตัวบ่อยๆ สุดท้ายก็จะเห็นความจริงร่างกายนี้ไม่น่ารักหรอกเป็นทุกข์ จิตใจนี้ควบคุมไม่ได้ มีแต่ของไม่เที่ยง ความจะหลงยินดีในความสุข ความเกลียดชังในความทุกข์ ความหลงยินดีในกุศล ความเกลียดชังในอกุศลก็หายไป จิตเข้าสู่ความเป็นกลางเหมือนที่ดูรูป สุดท้ายก็จะเข้าสู่ความเป็นกลาง ดูจิตใจสุดท้ายก็เข้าสู่ความเป็นกลางเหมือนกัน เพราะหนีไม่ได้ พอใจเข้าถึงความเป็นกลาง ใจจะหมดความดิ้นรน เมื่อใจหมดความดิ้นรน จิตจะรวมลงเข้าอัปนาสมาธิด้วยตัวของมันเอง ชาตินี้เราไม่เคยเข้าสมาธิลึกขนาดอัปนาสมาธิเลยก็ไม่เป็นไร เรามีสติรู้กายรู้ใจตามความเป็นจริง ด้วยจิตที่ตั้งมั่นและเป็นกลางเรื่อยไป ถึงวันที่เขาพอ จิตจะรวมเข้าอัปนาสมาธิของเขาเอง เราไม่รู้หรอกว่าเขาจะพอวันไหนเวลาไหน เพราะอย่างนั้นเราต้องมีสติบ่อยๆ บางคนสะสมบุญบารมีเจริญสติ เจริญปัญญามา เกือบจะเกิดอริยมรรคแล้วอีกนิดเดียวก็จะเกิดอริยมรรค เกิดขี้เกียจไปทำธุระอื่นก่อน เลิกปฎิบัติไปก่อน ไม่ดูกาย ไม่ดูใจ ลืมสติไปเลย เสื่อมอีก ต้องมาทำใหม่ อย่างพวกเราหลายๆคนภาวนาเจริญๆ เดี๋ยวขี้เกียจขี้คร้านหน่อยเดี่ยวหายไปอีกละ เพราะอย่างนั้นขี้เกียจไม่ได้ เพราะเราไม่รู้ว่าบารมีเราจะเต็มวันไหน เพราะอย่างนั้นเราพยายามทำทุกๆวัน ถึงวันที่มันเต็มจะได้ไม่พลาดโอกาส เพราะอย่างนั้นเดี๋ยวพลาดโอกาส เวลาที่มันเต็ม จิตจะรวมเข้าอัปนาสมาธิ มันรวมเอง พอรวมแล้ว มันจะเห็นสภาวะธรรมภายใจ เกิดดับ สภาวะอันนี้จะเป็นอะไรก็ไม่รู้เหมือนกัน เพราะไม่มีการสำคัญมั่นหมายว่ามันคืออะไร ไม่มีคำพูดหรอก เห็นแต่สิ่งบางสิ่งเกิดขึ้น แล้วสิ่งนั้นก็ดับไป สิ่งบางสิ่งเกิดขึ้น และสิ่งนั้นก็ดับไป พวกที่ปัญญาแก่กล้า จะเห็นเพียงสองครั้ง เห็นสิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้นแล้วดับไป สิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้นแล้วดับไป เห็นสองครั้งเท่านั้น พวกปัญญากล้า ถ้าปัญญาไม่กล้าก็จะเห็นสามครั้งถึงจะพอ เสร็จแล้วจิตมันจะปล่อยวาง มันจะวางการที่ไปรู้สภาวะที่เกิดดับ มันจะวางสภาวะนั้นทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้ ตรงที่มันวางสภาวะ มันพ้นจากความเป็นปุถุชนแต่มันยังทวนกระแสเข้ามาไม่ถึงตัวธาตุรู้ ธรรมธาตุแท้ ยังไม่ใช่พระอริยะ คาบลูกคาบดอกอยู่ สภาวะคาบลูก เกิดขึ้นชั่วขณะจิตเดียว เกิดขึ้นชั่วขณะเท่านั้นเอง เสร็จแล้วพอมันเข้ามาถึงจิตถึงใจแท้ๆ สติระลึกลงที่จิตโดยไม่เจตนาระลึก สมาธิตั้งมั่น จิตตั้งมั่นอยู่ที่จิตโดยไม่มีเจตนาให้ตั้งมั่น ปัญญาเห็นความจริง เห็นอริยสัจจ์ของจิต ว่าจิตนี้แหละเป็นตัวทุกข์ จิต แหละเป็นตัวไม่เที่ยง เป็นตัวไม่ใช่ของดีของวิเศษเลย เห็นครั้งแรก ปัญญาจะแจ้งขึ้นมาว่า จิตนี้ไม่ใช่ตัวเราหรอก เพราะงั้นในธรรมะขั้นแรก จะเห็นว่าไม่มีตัวเรา ตัวเราหายไป พอมันเข้ามาถึงจิตถึงใจแล้ว อาสวะกิเลส ที่ห่อหุ้มจิตอยู่ จิตของเราจะถูก อาสวะห่อหุ้มอยู่ อาสวะย้อมอยู่ แทรกย้อมอยู่ ตรงที่ขณะแห่งอริยมรรคเกิดขึ้น อริยมรรคจะแหวก อาสวะอันนี้ขาดออกจากกัน อาสวะนี้ออกแล้วจิตจะเข้าสัมผัสพระนิพพาน สองสามขณะ พวกที่มีบารมีแก่กล้าสัมผัสพระนิพพานสามขณะ พวกที่ไม่แก่กล้าสัมผัสสองขณะไม่เหมือนกัน บุญบารมียังไม่เท่ากัน โสดาบันไม่เท่ากันเลย โสดาบางคนเกิดอีกชาติเดียวก็จะจบละ บางคนอีกสามชาติจะจบไม่เกิดอีก อีกบางคนเจ็ดชาติถึงจะไม่เกิด กำลังมันไม่เท่ากัน แต่ว่าล้างความเห็นผิดได้เท่ากันว่าตัวตนไม่มี พอถอยออกจากสภาวะนี้ จิตจะกลับเข้ามาอยู่ยังความเป็นมนุษย์ปกติอย่างนี้แหละ แล้วมันจะทวนเข้าไปดูจิต มันจะทวนอัตโนมัติเข้าไปดู มันจะพบว่าจิตนี้ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนอีกต่อไป ร่างกายนี้ก็ไม่ใช่ตัวใช่ตนอีกต่อไป ที่ไหนๆ ก็ไม่มีตัวตนอีกต่อไป จะกลวงๆ ว่างจากความเป็นตัวตนไปหมด อย่างคำว่าจิตว่าง จิตว่างไม่ใช่ว่างเปล่า ว่างเปล่านั้นมันหมายถึงว่า ไม่มีอะไรเลย มันเป็นมิจฉาทิฏฐิไม่ใช่ทาง คำว่าว่างว่าง ว่างจากความเป็นตัวเป็นตน สภาวะนั้นมีอยู่แต่ไม่ใช่ตัวใช่ตน ไม่ใช่คน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่เรา ไม่ใช่เขา เพราะงั้นจะมีความรู้สึกว่ามันกลวงๆ มันว่างๆ ไม่มีตัวไม่มีตน แต่มีการกระทำ ยังมีการส่งกระแสจากความไม่มีตัวไม่มีตน จิตที่ไม่ใช่ตัวเรา และยังส่งกระแสไปทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไปยึดอารมณ์ได้อีก เรียกว่ามีการกระทำแต่ไม่มีผู้กระทำ จะรู้ชัดเลยว่าการกระทำมีอยู่แต่ไม่มีผู้กระทำ จะเห็นอย่างนี้ จนวันที่เป็นพระอรหันต์ผู้กระทำก็ไม่มี การกระทำก็ไม่มี มีแต่กิริยา มีแต่กิริยากระทำ ว่าไม่มีการกระทำ มีเจตนาที่จะกระทำอะไร ธรรมะเป็นของปราณีตลึกซึ้งมาก พวกเราต้องศึกษาต้องเล่าเรียนจะเอาแต่นั่งสมาธิ นิ่งๆ ว่างๆ ไม่ได้กินหรอก ท่านสอนเจริญสติใช่มั๊ย รู้สึกในกาย กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน มีสติรู้ความรู้สึกสุข ทุกข์ เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน มีสติรู้จิตใจ ที่เป็นกุศลอกุศล เรียกจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน มีสติรู้กระบวนการทำงานของรูปธรรม นามธรรม เรียกว่าธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ทั้งหมดนี้เป็นเรื่องของรูปธรรม นามธรรมทั้งสิ้น กายานุปัสสนาส่วนของกาย เป็นส่วนของรูปธรรม เวทนานุปัสสนา เป็นนามธรรม แต่เวทนาบางทีก็เกิดที่กายใช่ไหม บางทีก็เกิดที่จิต เกิดร่วมกับรูปธรรมก็ได้ เกิดร่วมกับนามธรรมก็ได้ จิตตานุปัสสนาที่ดูจิตที่เป็นกุศล อกุศล กุศลอกุศลเกิดที่จิต แต่กุศลอกุศลก็อาศัย ตา หู จมูก ลิ้น กาย รวมทั้งใจด้วยไปกระทบอารมณ์ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ก็กระทบรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ส่วนของรูปธรรม แล้วก็สะเทือนเข้ามาถึงใจ เกิดสุข เกิดทุกข์ กุศล อกุศลขึ้น และกายกับใจก็เนื่องกัน เพราะงั้นเวลาที่เรา ภาวนาจริงๆ มันรู้ทั้งกาย รู้ทั้งใจ ไม่มีหรอกสายกาย สายจิต อะไร ไอ้สายกายสายจิตไรมันเป็นขั้นเบสิค ขั้นต้นเท่านั้นเอง พอสติ ปัญญา อัตโนมัติแล้วมันเลือกไม่ได้หรอกว่ามันจะรู้อะไร บางครั้งสติก็ระลึกรู้รูป รู้กาย บางครั้งสติ รู้เวทนา บางครั้งสติไปรู้ กุศล อกุศล บางครั้งสติไปรู้กระบวนการทำงานของจิต เช่นการปรุงนิวรณ์ขึ้นมา การปรุงโพชฌงค์ขึ้นมาเห็นขันธ์ห้าทำงานตามหน้าที่ของแต่ละขันธ์ขึ้นมา เห็นกระบวนการของปฏิจสมุปบาท คือกระบวนการที่จิตซึ่งมีความไม่รู้ มีอวิชชา ปรุงความทุกข์ขึ้นมา จะเห็นกระบวนการเป็นธรรมมานุปัสสนา ก็เป็นเรื่องรูปธรรม นามธรรม ทั้งสิ้น เฝ้ารู้ลงไปถ้าเราทิ้งการรู้กายรู้ใจ เราไม่มีวันบรรลุมรรคผลนิพพาน ถึงจะนั่งสมาธิเก่งแค่ไหน อย่างเก่งสูงสุดไปพรหมโลกเท่านั้น เราอย่าไปหลงนิมิตไปติดนิมิต เวลานั่งสมาธิไปเห็นโน่นเห็นนี่ สู้เห็นกิเลสไม่ได้เลย มีสติอยู่พระพุทธเจ้าสอนอย่างนี้ว่า เรามีสติอยู่เพียงราตรีเดียว คืนเดียว ชีวิตของเราก็น่าชมละ ดีกว่ามีอายุตั้งร้อยปี ไม่เคยมีสติ งั้นเราไปเห็นนิมิต นิมิตอะไรร้อยปี หาสาระไม่ได้เลย ไม่มีสติ มีสติต้องรู้กาย รู้ใจของเรา เพราะงั้นถ้าเราเป็นชาวพุทธ ต้องรู้ว่าพระพุทธเจ้าสอนอะไร ไม่งั้นมั่วซั่ว ไม่งั้น ก็ไปเป็นแบบฤาษีชีไพรซะส่วนใหญ่ ....... จบ.....
ถ้าเมื่อไหร่รู้สึกทุกข์จนดูต่อไปจะไม่ไหว ถ้าถึงจุดนี้เวลาต้องการพัก มีที...ใจของเราปกติจะไม่พอใจในปัจจุบัน มันจะไม่หยุดอยู่กับปัจจุบัน คิดไปถึงอนาคตเรื่อยๆ หวังความสุขเรื่อยๆ เอาเข้าจริงถ้าหัดภาวนาไปเรื่อยๆ จะรู้ว่าจริงๆ ความสุขไม่มีหรอก ในโลกมีแต่เรื่องทุกข์ทั้งนั้นเลย ทุกข์มากกับทุกข์น้อย คนในโลกมันสติปัญญาไม่พอ เวลาทุกข์น้อยก็รู้สึกว่ามีความสุข เวลาพวกเราปฏิบัติ หัดแรกๆ พวกเราไม่มีสมาธิ พอจิตมันเกิดสมาธิขึ้นมามันมีความสุข เราเลยรู้สึกว่าปฏิบัติแล้วมีความสุข แต่พอถึงขั้นเจริญปัญญา มาเรียนรู้ความจริงของ รูป นาม กาย ใจ จะรู้สึกมันมีความทุกข์ กายนี้เป็นตัวทุกข์ ใจนี้เป็นตัวทุกข์ แต่ใจต้องเป็นอุเบกขา ถ้าใจไม่เป็นอุเบกขาใจก็จะทุกข์ด้วย เราจะเห็นทุกอย่างที่ผ่านเข้ามาจะเป็น รูปธรรม นามธรรมทั้งหลาย เห็นแต่ตัวทุกข์ทั้งหมดเลย แต่ใจจะไม่ทุกข์ด้วย ถ้าหัดแรกๆ เจริญปัญญาไป ใจมันไปอินกับความทุกข์ของรูปนาม ใจก็รู้สึกทุกข์ไปด้วย หัดมากเข้ามากเข้า เห็นว่ารูปนามมีธรรมดาเป็นทุกข์ มันเป็นธรรมดาที่รู้ทุกข์เป็นปกติ และใจก็เป็นอุเบกขา เวลาเราหัดภาวนาใหม่ๆ เราทำสมาธิขึ้นมา เรามีความสุข อยู่ๆ ความสุขก็ผุดขึ้นมา ผุดขึ้นมา อันนั้นเป็นเรื่องของสมาธิ พอถึงขั้นเจริญปัญญาจะเห็นแต่ตัวทุกข์ ทุกข์ทีแรกใจยังยอมรับไม่ได้ ใจก็พลอยทุกข์กับขันธ์ นานๆไปเห็นซ้ำแล้วซ้ำอีก ว่าเราไม่สามารถหนีไปจากขันธ์นี้ได้ ขันธ์เป็นตัวทุกข์ ใจก็ยอมรับขันธ์ ขันธ์เป็นอย่างนี้แหละธรรมดา พอเห็นว่าธรรมดามันเป็นอย่างนี้ ใจมันก็เป็นอุเบกขา ตรงที่อุเบกขาเพราะมีปัญญาจะเป็นประตูของการบรรลุอริยมรรค ถ้าหากเราทำแต่สมาธิ เราไม่เดินปัญญาเลย ไม่มีวันที่อริยมรรคจะเกิดเลย ต้องเดินปัญญา แต่เดินปัญญาได้จิตต้องมีสมาธิที่ถูกต้อง สมาธิมีสองแบบ หลวงพ่อสอนมาแต่วันแรกเลย เพราะเป็นเรื่องสำคัญมาก ถ้าพวกเราคิดว่าสมาธิมีแต่เรื่องทำให้จิตสงบละ เราจะเดินปัญญาไม่ได้จริง ศาสนาพุทธ พุทธะ แปลว่า ผู้รู้ รู้เป็นเรื่องของการรู้ มีความรู้ถูกเข้าใจถูกทั้งสิ้นเลย ไม่ใช่การนั่งสมาธิ เพราะความสุขจากการนั่งสมาธิมันไม่แน่นอน ตัวสมาธิเองก็ไม่แน่นอน เป็นโลกียธรรม เจริญได้ก็เสื่อมได้ เคยเข้าฌาณได้นานๆ ก็เข้าไม่ได้ก็มี อย่างเทวทัตเข้าฌาน ได้มีอภิญญาสุดท้ายก็เสื่อม เคยเหาะได้ ก็ให้คนหามไป สมาธิเป็นของไม่แน่นอนเอาเป็นที่พึ่งไม่ได้ แต่ก็ต้องมีสมาธิที่ถูกชนิด สมาธิมีสองชนิด สมาธิอย่างที่หนึ่ง สงบอยู่ในอารมณ์อันเดียว เช่นเราท่อง พุท โธ พุท โธ จิตเราสงบอยู่กับพุทธโธ เรารู้ลมหายใจ จิตเราสงบอยู่ที่ลมหายใจ หากเราดูท้องพองยุบ จิตเราสงบอยู่ที่ท้อง เราดูลูกแก้ว ดูพระพุทธรูป ดูเทียน จุดไป ดูไปเรื่อยๆ จิตสงบอยู่กับลูกแก้ว อยู่กับพระพุทธรูป อยู่กับเทียน อันนี้เป็นสมาธิที่ใช้ทำสมถะเพื่อพักผ่อน ไม่ใช่สมาธิเพื่อการเดินปัญญา สมาธิเพื่อการเดินปัญญา พูดภาษาไทยง่ายๆ คือความรู้เนื้อรู้ตัว จิตใจอยู่กับเนื้อกับตัว จิตใจไม่ลืมตัวเอง ธรรมดาพวกเราทั้งหลายเรามีร่างกาย แต่เราลืมร่างกายของตัวเองทั้งหมด เรามีจิตใจเราก็ลืมจิตใจของตัวเองทั้งวัน อย่างเราไปท่องพุท โธ พุท โธ ร่างกายเราก็ลืมไป หรือเราไปรู้ลมหายใจ เราไปเพ่งไฟ เพ่งพระพุทธรูป เพ่งอะไรก็ตาม อย่างเราไปเพ่งพระพุทธรูป สุดท้ายพระพุทธรูปก็เป็นปฏิภาคนิมิตขึ้นมาเป็นแก้วใส ใสขึ้นมาเป็นเรื่องของนิมิต ปฏิภาคนิมิต เห็นแต่พระพุทธรูป ร่างกายหายไป จิตใจเราจะสุขจะทุกข์จะดีจะชั่ว ตัวเราไม่เห็นแล้ว สมาธิชนิดแรกคือ จิตไปจดจ่ออยู่ในอารมณ์อันเดียว แล้วก็ลืมกายลืมใจตัวเอง เมื่อลืมกายลืมใจก็ไม่สามารถที่จะเจริญปัญญาเรียนรู้ความเป็นจริงของกายของใจได้ “เราจะเรียนรู้ความจริงของกายของใจได้ต้องไม่ลืมกายลืมใจ” รู้สึกถึงความมีอยู่ของกายบ่อยๆ รู้สึกถึงความที่มีอยู่ของจิตใจบ่อยๆ จิตใจเรานี้ เดี๋ยวก็สุข เดี๋ยวก็ทุกข์ เดี๋ยวก็ดี เดี๋ยวก็ร้าย รู้สึกบ่อยๆ จิตใจเรานี้ เดี๋ยวก็สุข เดี๋ยวก็ทุกข์ เดี๋ยวก็ดี เดี๋ยวก็ร้าย รู้สึกบ่อยๆ เราไม่ลืมกายลืมใจ รู้สึกถึงกายบ่อยๆ รู้สึกถึงใจบ่อยๆ ไม่นานเราก็จะเห็นความจริงของกายของใจ ความจริงของร่างกายนี้ถูกความทุกข์บีบคั้นอยู่ตลอดเวลา นั่งอยู่ก็ทุกข์ นั่งนานก็ปวดเมื่อย ร่างกายมีความทุกข์บีบคั้นอยู่ ไปเดินนานๆ ก็ถูกความทุกข์บีบคั้น ให้ดูที่ของจริงที่ถูกความทุกข์มันบีบคั้นอยู่ตลอด แต่ตอนแรกการเปลี่ยนอิริยาบทใหม่ๆ ความทุกข์ยังอ่อนอยู่ เราก็รู้สึกมีความสุข พออยู่ในอิริยาบทเดียวนานๆ ความทุกข์ก็ค่อยๆ เด่นขึ้น จนสุดท้ายทนแทบไม่ไหว นั่งสมาธิแข้งขาจะหัก หรือไปเดินจงกรมปวดเมื่อยไปหมดเลย ร่างกายไม่ว่าจะยืน จะเดิน จะนั่ง กระทั่งจะนอนก็ยังถูกความทุกข์บีบคั้นอยู่ตลอดเวลา คืนหนึ่งๆ พวกเราพลิกตั้ง 30 – 40 ครั้ง เรามีสติอยู่ หลับอยู่ก็ยังมีสติอยู่ จะรู้เลยร่างกายเคลื่อนไหวเรื่อยๆ หยุดประเดี๋ยวหนึ่งก็เคลื่อนไหว ทำไมร่างกายต้องเคลื่อนไหว มันเคลื่อนไหววิ่งหนีความทุกข์ ความทุกข์ตามมาทันทีก็หนีไปทีหนึ่ง ขยับตัวหนีไป เดี๋ยวความทุกข์ก็ตามมาทันอีก ก็ขยับหนีไปอีก ความทุกข์เหมือนหมาล่าเนื้อวิ่งไล่กันเราทั้งวัน ถ้าเรามีสติอยู่ในกาย เราจะเห็นเลยร่างกายนี้ถูกความทุกข์บีบคั้นอยู่ตลอดเวลา กระทั่งการหายใจ เราหายใจออกก็เพื่อแก้ทุกข์ เราหายใจเข้าก็เพื่อแก้ทุกข์ อย่างเราหายใจออกไปเรื่อยๆ ความทุกข์มันก็จะเพิ่มขึ้น สุดท้ายเราทนไม่ได้ เราก็ต้องเปลี่ยนอิริยาบทของการหายใจ ก็ต้องมาหายใจเข้า หายใจเข้านึกว่าจะสบายหายใจเข้าไปสักพักเดียว ความทุกข์ก็ตามมาทันอีกแล้ว ต้องหายใจออกแก้ทุกข์อีก สุดท้ายคือเราวิ่งหนีความทุกข์ที่เกิดขึ้นในร่างกายนี้ตลอดเวลา แต่เราวิ่งมาจนชินเราไม่รู้ว่ามันทุกข์ มันปวดมันเมื่อยเราก็ขยับตัวเลย เราไม่ทันรู้ว่ามันปวดมันเมื่อยขึ้นมา มันมีความทุกข์อะไรเกิดขึ้น เราละเลยที่จะรู้ เพราะเราคุ้นเคยชินกับมันมาก แต่วันใดเจ็บป่วยมากๆ กระดุกกระดิกไม่ได้บางคนเป็นอัมพาต ปวดเมื่อยแค่ไหนก็กระดิกไม่ได้ นอนไปเรื่อยๆ จนเป็นแผลกดทับตัวเน่าไปเลย ทุกข์มากขยับไม่ได้ สุดท้ายร่างกายของเราก็จะทุกข์มาก ถึงจุดหนึ่งมันจะทุกข์จนกระทั่งตาย นี่เป็นสิ่งที่พวกเราต้องเจอในวันหนึ่งข้างหน้า ร่างกายนี้เต็มไปด้วยความทุกข์ ถ้าถึงวันหนึ่งจะชอบหรือไม่ชอบ จะรู้หรือไม่รู้ก็ตาม ความทุกข์ขยี้ร่างกายนี้จนแตกสลายลงไป นี่คือความจริงในร่างกาย ถ้าเรามีสติปัญญาเรียนรู้ความจริงของร่างกาย ให้รู้สึกเรื่อยๆ ดูของจริงเรื่อยๆ ไม่ไปคิด ไปปรุง ไปแต่งอะไร เราก็จะเห็นเลยร่างกายนี้เต็มไปด้วยก้อนทุกข์แท้ๆเลย บางเวลาทุกข์มาก บางเวลาก็ทุกข์น้อย และความทุกข์ วิ่งตามตลอดเวลา สุดท้ายเราหนีไม่ทัน สุดท้ายมันจะขยี้เราตาย เป็นอย่างนี้ทุกคนเลย ถ้าใจเราเห็นความจริงอย่างนี้ได้ มันก็จะรู้สึกว่า ร่างกายนี้ไม่ได้น่ารักน่าหวงแหน ความยึดถือในร่างกายนี้ก็ลดลงๆ ถึงจุดหนึ่งไม่ยึดถือในกาย เมื่อเราไม่ยึดถือร่างกาย ร่างกายจะแก่เราจะไม่เดือดร้อน ใจเราจะไม่เดือดร้อน ร่างกายจะเจ็บก็เจ็บอยู่ที่ร่างกาย จิตใจเราไม่เดือดร้อนด้วย เพราะจิตไม่ได้เข้าไปจับ ร่างกายจะตายก็เรื่องของร่างกาย จิตไม่เดือดร้อนด้วย จิตใจไม่ได้ยึดถือร่างกาย “เรายึดถือสิ่งใดมากเราจะทุกข์เพราะสิ่งนั้นมาก” อย่างรักใครมากสักคนหนึ่ง เราก็จะทุกข์เพราะคนนี้เยอะ คนที่เราเป็นกลางๆ เราไม่ได้รักไม่ได้เกลียดมาก ก็ทำให้เราทุกข์ไม่ค่อยได้หรอก คนที่เรารักมากๆ มาทำให้เราทุกข์ได้เยอะเลย งั้นสิ่งที่เรารักมากก็คือร่างกายกับใจของเราเอง รักที่สุดเลย นำความทุกข์มาให้เราเยอะที่สุด ถ้าเมื่อไรเกิดหมดความรักใคร่ยึดถือในกายในใจ มันจะนำความทุกข์มาสู่ใจเราไม่ได้ ความทุกข์จะจบลงที่ร่างกายแค่นั้นเอง เป็นความทุกข์ตามธรรมาชาติ ตามธรรมดา แต่ใจเราจะไม่เป็นทุกข์ด้วย พระพุทธเจ้าท่านเปรียบเทียบความทุกข์เหมือนลูกธนู ท่านบอกว่า คนโดยทั่วไป ได้รับความทุกข์ทางกายเหมือนถูกยิงด้วยธนูดอกที่หนึ่ง ตามมาด้วยความทุกข์ทางใจอย่างรุนแรงเหมือนถูกธนูดอกที่สอง พระอรหันต์ทั้งหลาย ความทุกข์เข้าได้ที่ร่างกายเท่านั้น จะเข้ามาถึงจิตใจไม่ได้เลย ถูกก็ถูกดอกเดียว สบายกว่าพวกเรา แต่ไม่มีความทุกข์ทางใจ ความทุกข์ทางร่างกายเป็นปกติ เป็นธรรมดา แต่พวกเรายึดถือร่างกาย พอวันหนึ่งความทุกข์ในร่างกายเด่นชัดขึ้นมา จะเราทุรนทุรายไปด้วย เพราะมันเป็นร่างกายของเรา พอเรามาหัดดูความจริงในร่างกายมากๆ มีแต่ความทุกข์ ความยึดถือว่ามันเป็นของดีของวิเศษเป็นตัวเราของเรา ก็จะค่อยๆสลายตัวไป ถึงจุดหนึ่งไม่ยึดถือในกาย เป็นภูมิธรรมของพระอนาคามี จะไม่ยึดถือในกาย ในด้านจิตใจเราก็มาคอยดูตลอดเวลาตลอดชีวิต เราพยายามหาความสุขให้กับจิตใจของเราตลอดเวลา กลุ้มใจขึ้นมาก็ไปดูหนัง หวังว่าจะมีความสุข ดูหนังไม่พอ ไปฟังเพลง ไปร้องเพลงคาราโอเกะ ไปอย่างโน้นไปอย่างนี้ ไปหาของกินให้อร่อย การไปหาของกินให้อร่อยมีความสุขทางร่างกายหรือเปล่า ลิ้นไม่ได้มีความสุขด้วยเลย คนที่รู้รสคือลิ้น ลิ้นไม่เคยมีความสุขอะไรด้วยเลย ต้องกระดุกกระดิกอยู่อย่างนั้นเผลอๆ ถูกฟันกัดเข้าให้อีก มันมีความสุขทางใจ มีความพอใจที่ใจ เป็นการเสพของใจ ไปดูของสวยของงาม ดูเพื่อให้สบายใจ มันเป็นการเสพของใจ หรือการที่เราต้องไปอยู่กับคนคนนี้ เรารักคนนี้ ได้อยู่กับคนนี้แล้วสบายใจ บางทีก็ลำบากกายด้วยซ้ำไป ต้องไปเลี้ยงอีกคนโห...ลำบาก แต่มันสบายใจ เราต้องการความสุขทางใจสาระพัดที่จะทำ วันหนึ่งๆ หาอารมณ์ต่างๆ มาป้อนเข้ามาเพื่อหวังว่าจิตใจจะมีความสุข แต่พอเรามีสติปัญญาขึ้นมาจริงๆ เราจะเห็นความสุข สั้นนิดเดียว ความสุขในใจเกิดขึ้นชั่วไม่นานก็ดับไป กระทั่งความทุกข์ทางใจเกิดขึ้น กระทั่งเรามีสติปัญญาจริงๆ เราก็จะเห็นว่าไม่นานมันก็จะผ่านไป ความสุขก็ไม่เที่ยง ความทุกข์ก็ไม่เที่ยง ความดีในจิตใจที่เกิดขึ้นก็ไม่เที่ยง ความชั่วที่เกิดขึ้นในใจ ความโลภ ความโกรธ ความหลง ก็ไม่เที่ยง ไม่มีอะไรเลยที่ผ่านเข้ามาสู่ความรับรู้ของจิตของเรา สังขารความปรุงทั้งหลาย จะสุข จะทุกข์ จะดี จะชั่วอะไรทั้งหลาย มีแต่ของไม่เที่ยงทั้งหมดเลย พอเราเห็นซ้ำแล้วซ้ำอีกว่า ความสุขก็ช่วคราว ความทุกข์ก็ชั่วคราว ความดีก็ชั่วคราว ความชั่วก็ชั่วคราว พอเห็นซ้ำมากๆ ใจก็ยอมรับความจริง ความสุขเกิดขึ้นก็เห็นว่าเป็นเรื่องธรรมดาไม่นานมันก็หายไป เพราะงั้นใจไม่ดิ้นรน ใจเราจะไม่เข้าไปเสพความสุขอันนั้น ความสุขมีอยู่ แต่ใจไม่ดิ้นรนหรอกเพราะรู้ว่ามันไม่นิรันดรหรอก ความทุกข์เกิดขึ้นใจก็ไม่ดิ้นรนหนี ไม่ดิ้นรนปฏิเสธ รู้ว่ามันของชั่วคราว เดี๋ยวมันก็ผ่านไปใจมันก็เป็นกลาง เวลาโลภ โกรธ หลง เกิดขึ้น ก็ไม่ใช่ไปเกลียดมัน และไม่ได้ถูกมันครอบงำ คนทั้งหลาย พอความโลภ ความโกรธ ความหลงเกิดขึ้นแล้ว จิตก็จะถูกกิเลสเหล่านี้ครอบงำ ถ้าเราเป็นนักปฏิบัติ ความโลภ ความโกรธ ความหลงเกิดขึ้น เรามีสติรู้ทัน มันจะกระเด็นหายไปต่อหน้าต่อตา หายในขณะนั้นเลย ไม่ต้องทำอะไร สักอย่างเดียวเลย ทันทีที่สติเกิด อกุศลดับทันทีเลย นี่เป็นกฎของธรรมะ เป็นกฎธรรมดา “ที่ใดมีสติที่นั่นไม่มีกิเลส ที่ใดมีกิเลสที่นั่นไม่มีสติ” ถ้างั้นเมื่อไรเรามีสติขึ้นมา เรารู้ทันว่าความโกรธกำลังเกิด ไม่ต้องทำอะไรหรอก ความโกรธจะกระเด็นหายไปต่อหน้าต่อตา ความโลภ ความหลงจะกระเด็นหายไปต่อหน้าต่อตา ความทุกข์ทางใจก็จะกระเด็นไปต่อหน้าต่อตา เพราะความทุกข์ทางใจเกิดร่วมกับความโกรธเสมอ เกิดร่วมกับโทสะเสมอ แต่ความสุขทางใจ บางทีก็เป็นกุศล บางทีก็เป็นอกุศล อย่างเวลาที่จิตมีราคะบางทีก็มีความสุข งั้นถ้าเป็นความสุขอันเกิดจากราคะ มีสติรู้ทันราคะ ราคะดับ บางทีความสุขนี้ก็ดับไปด้วย แต่ถ้าเป็นความสุขในทางบวก ความสุขจากการทำความดี เป็นความสุขจากกุศลพอมีสติรู้ทันมันไม่ดับ ไม่จำเป็นต้องดับทันทีหรอก แต่มันก็เกิดดับร่วมกับจิต ดับปุ๊บ มันก็เกิดขึ้นอีก ดับปุ๊บก็เกิดขึ้นมาอีก มีความสุขเหมือนมีความสุขที่ยาวขึ้นมา ไม่ได้ดับทันทีเหมือนความสุขความทุกข์ที่เกิดจากกิเลส ความทุกข์ เจือด้วยกิเลสตลอด ความทุกข์ทางใจ แต่ความสุข เป็นกิเลสก็มีเจือกิเลสก็มี ไม่เจือกิเลสก็มี อย่างใจของเราคิดถึง พระพุทธเจ้า เราสวดมนต์ เรามีสมาธิอะไรอย่างนี้ มีความสุข พวกนี้เรามีสติรู้ไม่หาย แต่ถ้าเรามีความสุขจากราคะ พอมีสติรู้ทันราคะ พวกราคะดับปุ๊บ ความสุขตัวนี้ก็หายไปด้วย และความสุขความทุกข์ทางกาย เรามีสติรู้มันจะดับมั๊ย มันไม่เกี่ยวกัน ความสุขความทุกข์ทางกายเป็นเรื่องของวิบาก เป็นเรื่องของวิบากไม่ใช่กิเลส ไม่ใช่กิเลสไม่ได้เกิดร่วมกับกิเลสด้วย แต่มันเป็นผล เป็นตัววิบาก และอย่างเจ็บไข้ได้ป่วย มีสติ มันจะหายป่วยมั๊ย ไม่หาย คนละเรื่องกันเห็นมั๊ย ร่างกายสุขภาพแข็งแรงอยู่ไม่มีสติแล้ว จะอ่อนแอปวกเปียกไปเลยมั๊ย ไม่เป็น งั้นทางกายไม่เกี่ยว เกี่ยวแต่ทางใจ ถ้าความสุขเจือด้วยราคะ ถ้ามีสติปุ๊บมันจะหายไปเลย ถ้าความทุกข์อันนี้เจือด้วยโทสะแน่นอน ทันทีที่รู้ทันมันจะดับสนิททันทีเลย งั้นใจเรา ถ้าพอมีสติเรื่อยๆ จะไม่มีความทุกข์ทางใจ ในขณะที่เรามีสติอยู่จะมีความทุกข์ทางใจไม่ได้ เพราะไม่มีโทสะแต่ว่ามันไม่มีความทุกข์ เพราะอาศัยสติ เมื่อไรขาดสติความทุกข์ก็กลับมาอีก เราต้องพัฒนาคุณภาพจิตใจของเราต่อไป ไม่ใช่มีแค่สติ สติแก้ปัญหาชั่วคราวเท่านั้นไม่ได้แก้รากฐานของปัญหา สติคล้ายๆ พาราเซตามอล พอกิเลสเกิดสติรู้ทันกิเลสก็หาย เดี๋ยวกิเลสก็มาอีก งั้นต้องพัฒนาจนถึงขั้นที่ฆ่ามันด้วยโลกุตตระปัญญา ฆ่ามันด้วยมรรคมันถึงจะตายสนิทไม่ฟื้นคืนชีพขึ้นมาอีกละ หัดเจริญสติ เจริญปัญญาเรื่อยไป ดูในกายมีแต่ความทุกข์ ดูที่ใจมีแต่ของไม่เที่ยง และก็มีความบังคับไม่ได้ในใจเรา แสดงการบังคับไม่ได้อยู่เด่นชัดมากเลย สั่งให้สุขมันก็ไม่ยอมสุข ห้ามทุกข์มันก็จะทุกข์ สั่งให้ดีมันก็ชั่ว ห้ามชั่วมันก็ชั่ว สุดท้ายมันก็เลยชั่วอยู่นั่นแหละ สั่งให้ดีมันก็ชั่ว ห้ามชั่วมันก็ชั่ว ส่วนใหญ่ก็เลยชั่วอยู่นั่นแหละ รู้สึกมั้ยวันหนึ่งๆ อกุศลมากกว่ากุศลนึกออกมั๊ย ถ้าเฝ้ารู้ไปก็จะเห็นกาย เป็นตัวทุกข์ชัดเจน จิตใจเป็นอนิจจังอนัตตา ชัดเจนสั่งมันไม่ได้และก็เปลี่ยนรวดเร็วมาก ร่างกายดูเป็นอนิจจังยากนิดหนึ่ง ถ้าไม่ทรงฌาณจริงๆ ดูยากมากเลย เพราะว่ารูปร่างมันอายุยืน แต่นามธรรมนั้นอายุมันสั้น ความรู้สึกเรา เปลี่ยนเร็ว หน้าตาเราเปลี่ยนช้ากว่าความรู้สึกนึกออกมั๊ย และหน้าเราเปลี่ยนตามความรู้สึกบ้างมั๊ย เปลี่ยนนะ ถ้าภาวนาพอจิตตื่นหน้าสว่างเลย ใครรู้สึกตัวบ้างว่าหน้าตาผ่องใส สว่าง หรือหน้าเหมือนลิงเหยียบอยู่อย่างนั้น รูปบางทีก็เปลี่ยนไปเพราะจิตสั่ง จิตมันเปลี่ยนรูปก็เปลี่ยน รูปบางอย่างก็เปลี่ยน รูปบางอย่างเปลี่ยนไปเพราะสิ่งแวดล้อม สิ่งแวดล้อมเปลี่ยนรูปก็เปลี่ยนก็มี เปลี่ยนไปเพราะกรรมก็มี กรรมตัดรอน แข็งแรงอยู่ดีดี เป็นมะเร็งป่วยไปก็มี งั้นรูปเปลี่ยนแปลงไปได้หลายอย่าง เปลี่ยนแปลงเพราะอาหารก็ได้ กินอาหารไปเรื่อยๆ รูปก็เปลี่ยน อดอาหารไปเรื่อยๆ รูปก็เปลี่ยนอีก งั้นรูปเปลี่ยนแปลงได้หลายอย่าง จิตใจจองเราก็เปลี่ยนเรื่อยพอรู้สึกไปในที่สุดจะเห็น พอเราไม่ลืมกายลืมใจ รู้สึกกายรู้สึกใจบ่อยๆ มีจิตใจอยู่กับเนื้อกับตัวบ่อยๆ สุดท้ายก็จะเห็นความจริงร่างกายนี้ไม่น่ารักหรอกเป็นทุกข์ จิตใจนี้ควบคุมไม่ได้ มีแต่ของไม่เที่ยง ความจะหลงยินดีในความสุข ความเกลียดชังในความทุกข์ ความหลงยินดีในกุศล ความเกลียดชังในอกุศลก็หายไป จิตเข้าสู่ความเป็นกลางเหมือนที่ดูรูป สุดท้ายก็จะเข้าสู่ความเป็นกลาง ดูจิตใจสุดท้ายก็เข้าสู่ความเป็นกลางเหมือนกัน เพราะหนีไม่ได้ พอใจเข้าถึงความเป็นกลาง ใจจะหมดความดิ้นรน เมื่อใจหมดความดิ้นรน จิตจะรวมลงเข้าอัปนาสมาธิด้วยตัวของมันเอง ชาตินี้เราไม่เคยเข้าสมาธิลึกขนาดอัปนาสมาธิเลยก็ไม่เป็นไร เรามีสติรู้กายรู้ใจตามความเป็นจริง ด้วยจิตที่ตั้งมั่นและเป็นกลางเรื่อยไป ถึงวันที่เขาพอ จิตจะรวมเข้าอัปนาสมาธิของเขาเอง เราไม่รู้หรอกว่าเขาจะพอวันไหนเวลาไหน เพราะอย่างนั้นเราต้องมีสติบ่อยๆ บางคนสะสมบุญบารมีเจริญสติ เจริญปัญญามา เกือบจะเกิดอริยมรรคแล้วอีกนิดเดียวก็จะเกิดอริยมรรค เกิดขี้เกียจไปทำธุระอื่นก่อน เลิกปฎิบัติไปก่อน ไม่ดูกาย ไม่ดูใจ ลืมสติไปเลย เสื่อมอีก ต้องมาทำใหม่ อย่างพวกเราหลายๆคนภาวนาเจริญๆ เดี๋ยวขี้เกียจขี้คร้านหน่อยเดี่ยวหายไปอีกละ เพราะอย่างนั้นขี้เกียจไม่ได้ เพราะเราไม่รู้ว่าบารมีเราจะเต็มวันไหน เพราะอย่างนั้นเราพยายามทำทุกๆวัน ถึงวันที่มันเต็มจะได้ไม่พลาดโอกาส เพราะอย่างนั้นเดี๋ยวพลาดโอกาส เวลาที่มันเต็ม จิตจะรวมเข้าอัปนาสมาธิ มันรวมเอง พอรวมแล้ว มันจะเห็นสภาวะธรรมภายใจ เกิดดับ สภาวะอันนี้จะเป็นอะไรก็ไม่รู้เหมือนกัน เพราะไม่มีการสำคัญมั่นหมายว่ามันคืออะไร ไม่มีคำพูดหรอก เห็นแต่สิ่งบางสิ่งเกิดขึ้น แล้วสิ่งนั้นก็ดับไป สิ่งบางสิ่งเกิดขึ้น และสิ่งนั้นก็ดับไป พวกที่ปัญญาแก่กล้า จะเห็นเพียงสองครั้ง เห็นสิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้นแล้วดับไป สิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้นแล้วดับไป เห็นสองครั้งเท่านั้น พวกปัญญากล้า ถ้าปัญญาไม่กล้าก็จะเห็นสามครั้งถึงจะพอ เสร็จแล้วจิตมันจะปล่อยวาง มันจะวางการที่ไปรู้สภาวะที่เกิดดับ มันจะวางสภาวะนั้นทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้ ตรงที่มันวางสภาวะ มันพ้นจากความเป็นปุถุชนแต่มันยังทวนกระแสเข้ามาไม่ถึงตัวธาตุรู้ ธรรมธาตุแท้ ยังไม่ใช่พระอริยะ คาบลูกคาบดอกอยู่ สภาวะคาบลูก เกิดขึ้นชั่วขณะจิตเดียว เกิดขึ้นชั่วขณะเท่านั้นเอง เสร็จแล้วพอมันเข้ามาถึงจิตถึงใจแท้ๆ สติระลึกลงที่จิตโดยไม่เจตนาระลึก สมาธิตั้งมั่น จิตตั้งมั่นอยู่ที่จิตโดยไม่มีเจตนาให้ตั้งมั่น ปัญญาเห็นความจริง เห็นอริยสัจจ์ของจิต ว่าจิตนี้แหละเป็นตัวทุกข์ จิต แหละเป็นตัวไม่เที่ยง เป็นตัวไม่ใช่ของดีของวิเศษเลย เห็นครั้งแรก ปัญญาจะแจ้งขึ้นมาว่า จิตนี้ไม่ใช่ตัวเราหรอก เพราะงั้นในธรรมะขั้นแรก จะเห็นว่าไม่มีตัวเรา ตัวเราหายไป พอมันเข้ามาถึงจิตถึงใจแล้ว อาสวะกิเลส ที่ห่อหุ้มจิตอยู่ จิตของเราจะถูก อาสวะห่อหุ้มอยู่ อาสวะย้อมอยู่ แทรกย้อมอยู่ ตรงที่ขณะแห่งอริยมรรคเกิดขึ้น อริยมรรคจะแหวก อาสวะอันนี้ขาดออกจากกัน อาสวะนี้ออกแล้วจิตจะเข้าสัมผัสพระนิพพาน สองสามขณะ พวกที่มีบารมีแก่กล้าสัมผัสพระนิพพานสามขณะ พวกที่ไม่แก่กล้าสัมผัสสองขณะไม่เหมือนกัน บุญบารมียังไม่เท่ากัน โสดาบันไม่เท่ากันเลย โสดาบางคนเกิดอีกชาติเดียวก็จะจบละ บางคนอีกสามชาติจะจบไม่เกิดอีก อีกบางคนเจ็ดชาติถึงจะไม่เกิด กำลังมันไม่เท่ากัน แต่ว่าล้างความเห็นผิดได้เท่ากันว่าตัวตนไม่มี พอถอยออกจากสภาวะนี้ จิตจะกลับเข้ามาอยู่ยังความเป็นมนุษย์ปกติอย่างนี้แหละ แล้วมันจะทวนเข้าไปดูจิต มันจะทวนอัตโนมัติเข้าไปดู มันจะพบว่าจิตนี้ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนอีกต่อไป ร่างกายนี้ก็ไม่ใช่ตัวใช่ตนอีกต่อไป ที่ไหนๆ ก็ไม่มีตัวตนอีกต่อไป จะกลวงๆ ว่างจากความเป็นตัวตนไปหมด อย่างคำว่าจิตว่าง จิตว่างไม่ใช่ว่างเปล่า ว่างเปล่านั้นมันหมายถึงว่า ไม่มีอะไรเลย มันเป็นมิจฉาทิฏฐิไม่ใช่ทาง คำว่าว่างว่าง ว่างจากความเป็นตัวเป็นตน สภาวะนั้นมีอยู่แต่ไม่ใช่ตัวใช่ตน ไม่ใช่คน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่เรา ไม่ใช่เขา เพราะงั้นจะมีความรู้สึกว่ามันกลวงๆ มันว่างๆ ไม่มีตัวไม่มีตน แต่มีการกระทำ ยังมีการส่งกระแสจากความไม่มีตัวไม่มีตน จิตที่ไม่ใช่ตัวเรา และยังส่งกระแสไปทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไปยึดอารมณ์ได้อีก เรียกว่ามีการกระทำแต่ไม่มีผู้กระทำ จะรู้ชัดเลยว่าการกระทำมีอยู่แต่ไม่มีผู้กระทำ จะเห็นอย่างนี้ จนวันที่เป็นพระอรหันต์ผู้กระทำก็ไม่มี การกระทำก็ไม่มี มีแต่กิริยา มีแต่กิริยากระทำ ว่าไม่มีการกระทำ มีเจตนาที่จะกระทำอะไร ธรรมะเป็นของปราณีตลึกซึ้งมาก พวกเราต้องศึกษาต้องเล่าเรียนจะเอาแต่นั่งสมาธิ นิ่งๆ ว่างๆ ไม่ได้กินหรอก ท่านสอนเจริญสติใช่มั๊ย รู้สึกในกาย กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน มีสติรู้ความรู้สึกสุข ทุกข์ เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน มีสติรู้จิตใจ ที่เป็นกุศลอกุศล เรียกจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน มีสติรู้กระบวนการทำงานของรูปธรรม นามธรรม เรียกว่าธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ทั้งหมดนี้เป็นเรื่องของรูปธรรม นามธรรมทั้งสิ้น กายานุปัสสนาส่วนของกาย เป็นส่วนของรูปธรรม เวทนานุปัสสนา เป็นนามธรรม แต่เวทนาบางทีก็เกิดที่กายใช่ไหม บางทีก็เกิดที่จิต เกิดร่วมกับรูปธรรมก็ได้ เกิดร่วมกับนามธรรมก็ได้ จิตตานุปัสสนาที่ดูจิตที่เป็นกุศล อกุศล กุศลอกุศลเกิดที่จิต แต่กุศลอกุศลก็อาศัย ตา หู จมูก ลิ้น กาย รวมทั้งใจด้วยไปกระทบอารมณ์ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ก็กระทบรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ส่วนของรูปธรรม แล้วก็สะเทือนเข้ามาถึงใจ เกิดสุข เกิดทุกข์ กุศล อกุศลขึ้น และกายกับใจก็เนื่องกัน เพราะงั้นเวลาที่เรา ภาวนาจริงๆ มันรู้ทั้งกาย รู้ทั้งใจ ไม่มีหรอกสายกาย สายจิต อะไร ไอ้สายกายสายจิตไรมันเป็นขั้นเบสิค ขั้นต้นเท่านั้นเอง พอสติ ปัญญา อัตโนมัติแล้วมันเลือกไม่ได้หรอกว่ามันจะรู้อะไร บางครั้งสติก็ระลึกรู้รูป รู้กาย บางครั้งสติ รู้เวทนา บางครั้งสติไปรู้ กุศล อกุศล บางครั้งสติไปรู้กระบวนการทำงานของจิต เช่นการปรุงนิวรณ์ขึ้นมา การปรุงโพชฌงค์ขึ้นมาเห็นขันธ์ห้าทำงานตามหน้าที่ของแต่ละขันธ์ขึ้นมา เห็นกระบวนการของปฏิจสมุปบาท คือกระบวนการที่จิตซึ่งมีความไม่รู้ มีอวิชชา ปรุงความทุกข์ขึ้นมา จะเห็นกระบวนการเป็นธรรมมานุปัสสนา ก็เป็นเรื่องรูปธรรม นามธรรม ทั้งสิ้น เฝ้ารู้ลงไปถ้าเราทิ้งการรู้กายรู้ใจ เราไม่มีวันบรรลุมรรคผลนิพพาน ถึงจะนั่งสมาธิเก่งแค่ไหน อย่างเก่งสูงสุดไปพรหมโลกเท่านั้น เราอย่าไปหลงนิมิตไปติดนิมิต เวลานั่งสมาธิไปเห็นโน่นเห็นนี่ สู้เห็นกิเลสไม่ได้เลย มีสติอยู่พระพุทธเจ้าสอนอย่างนี้ว่า เรามีสติอยู่เพียงราตรีเดียว คืนเดียว ชีวิตของเราก็น่าชมละ ดีกว่ามีอายุตั้งร้อยปี ไม่เคยมีสติ งั้นเราไปเห็นนิมิต นิมิตอะไรร้อยปี หาสาระไม่ได้เลย ไม่มีสติ มีสติต้องรู้กาย รู้ใจของเรา เพราะงั้นถ้าเราเป็นชาวพุทธ ต้องรู้ว่าพระพุทธเจ้าสอนอะไร ไม่งั้นมั่วซั่ว ไม่งั้น ก็ไปเป็นแบบฤาษีชีไพรซะส่วนใหญ่ ....... จบ.....
วันจันทร์ที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2560
รู้ความจริงของกายของใจจนหมดความดิ้นรนธรรมะเป็นเรื่องง่าย การปฏิบัติจริงๆเป็นเรื่องง่าย ทำแล้วมีความสุข ถ้าเราปฏิบัติได้ถูกต้องชีวิตจะพบความสุขอย่างรวดเร็วมากเลย ธรรมะของพระพุทธเจ้าอัศจรรย์จริงๆ ถ้าทำถูกต้องใช้เวลาไม่นาน ถ้าปฏิบัติไม่ถูกต้องใช้เวลานาน ที่ไม่ถูกต้องคือไม่ใช่คำสอนของพระพุทธเจ้า คำสอนของพระพุทธเจ้าจริงๆ ท่านไม่ได้สอนให้พวกเราหนี ชาวพุทธจริงๆต้องเป็นนักต่อสู้ไม่ใช่คนขี้แพ้ ความทุกข์อยู่ที่ไหนท่านสอนให้เราเข้าไปเรียนรู้ที่นั่น ความทุกข์อยู่ที่กายให้เข้าไปเรียนรู้ที่กาย ความทุกข์อยู่ที่จิตใจให้เข้าไปเรียนรู้ที่จิตใจ ที่จริงแล้วคนก็แสวงหาทางพ้นทุกข์มาตลอด ใครๆก็อยากพ้นทุกข์กันทั้งนั้น ก่อนพระพุทธเจ้าก็แสวงหาทางพ้นทุกข์ กระทั่งหมูเห็ดเป็ดไก่ก็แสวงหาทางพ้นทุกข์ของมัน แต่การแสวงหาทางพ้นทุกข์ที่มีมาตลอด แสวงหาได้ตามชั้นตามภูมิ ตามความเข้าใจ ตามสติปัญญาของแต่ละคนแต่ละท่านไม่เหมือนกัน บางคนหาทางพ้นทุกข์ด้วยการเสพย์สุข แสวงหาอารมณ์ที่เพลิดเพลินพอใจ ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เช่น กลุ้มใจขึ้นมาก็ไปดูหนังฟังเพลง ไปหาอะไรสวยๆดู ไปทัศนาจร ไปหาของอร่อยๆกินแก้กลุ้ม หรือคิดอะไรให้เผลอๆเพลินๆ นี่ก็เป็นวิธีหาความสุขหนึ่ง หาความสุขอย่างโลกๆ หาความสุขโดยอาศัยการกระทบ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ วิธีการหาความสุขอย่างนี้ พวกสัตว์เดริฉานก็ทำเป็น เช่น เช่นมันหิวอะไรขึ้นมาก็ไปหาอะไรกิน พอกินอิ่มแล้วก็มีความสุข ทีนี้บางคนมีสติปัญญามากขึ้น ลำพังวิ่งหาความสุขตาม ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ยังไม่ใช่ความสุขที่แท้จริง ต้องเที่ยวหาอารมณ์ที่เพลิดเพลินพอใจไปเรื่อยๆ พึ่งสิ่งภายนอกมากเกินไป หลายคนเลยมาหาความสุขในจิตใจของตัวเอง โดยเฉพาะพวกเข้าวัดทั้งหลาย มีความรู้สึกขึ้นมาอยู่เรื่อยๆเลย ถ้าเราสามารถเข้าควบคุมจิตใจของเราให้อยู่ในอำนาจของเราได้ เราจะมีความสุข จึงเกิดการแสวงหาความสุข วิธีที่ ๒ ขึ้น คือการรักษาใจของเราให้ดี คนด่าใจเราก็เฉย คนชมใจเราก็เฉย วิธีการหาความสุขอย่างนี้ก็เพื่อให้ตัวเรามีความสุข นี่ก็ยังไม่ใช่ทางของพระพุทธเจ้าทีเดียว เป็นการปรุงแต่งฝ่ายกุศล ปรุงแต่ความดีขึ้นมา ชีวิตจะได้มีความสุขอย่างคนดีๆ มีความสุขอย่างคนดีๆได้ ก็มีความทุกข์อย่างคนดีได้นะ บางคนฉลาดกว่านั้น ตราบใดที่เรายังต้องรักษาจิตใจเอาไว้ มีการกระทบกระเทือน ต้องคอยรักษาอยู่เรื่อยๆ ยังไม่สุขจริง อีกพวกหนึ่งจึงคิดพัฒนาขึ้นไป ถ้าเราไม่ต้องกระทบอารมณ์เลยจะมีความสุข พวกนี้จึงฝึกเข้าฌาน อรูปฌาน พรหมลูกฟัก ไม่รับรู้อารมณ์โลกภายนอก ไม่สนใจโลกภายนอก ไม่มีอะไรมากระเทือน ไม่มีสิ่งใดมากระทบ พอไม่มีอะไรมากระทบใจก็ไม่ต้องกระเทือน ในประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา มีวิธีการหาความสุขอยู่ ๓ แบบ (๑) เที่ยวหาอารมณ์ที่เพลิดเพลินพอใจ ตอบสนองกิเลสไปเรื่อยๆ แล้วก็มีความสุข การหาความสุขแบบนี้เป็นการปรุงแต่งฝ่ายอกุศล หรือ อปุญญาภิสังขาร หรือเป็นความสุดโต่งในทางที่เรียกว่า กามสุขัลลิกานุโยค ตามใจกิเลสแล้วมีความสุข (๒) คอยควบคุมคอยบังคับตัวเอง เป็นการปรุงแต่งฝ่ายกุศล เรียก ปุญญาภิสังขาร หรือเรียก อัตตกิลมถานุโยค การบังคับควบคุมตัวเอง (๓) หลีกเลี่ยงการกระทบอารมณ์ เรียก อเนญชาภิสังขาร ในโลกมีการปรุงแต่ง ๓ อย่างนี้ การปรุงแต่งทั้ง ๓ อย่างนี้ กระทำไปเพื่อตอบสนองอัตตาตัวตนทั้งสิ้น เพราะเราไม่รู้ความจริง ว่ากายนี้ ใจนี้ ไม่ใช่ตัวเรา เพราะคิดว่า กายนี้ ใจนี้ เป็นตัวเรา อยากให้ตัวเรามีความสุข อยากให้ตัวเราพ้นทุกข์ ก็เลยต้องดิ้นรนปรุงแต่ง ๓ แบบนี้ พระพุทธเจ้าท่านฉลาดแหลมคม ท่านบอกว่าตราบใดที่ยังคิดปรุงแต่งอยู่อย่างนี้ ไม่ได้แก้ปัญหาอย่างตรงจุด ไปแก้ปัญหาทางปลายทางเท่านั้น ตรงจุดจริงๆ คือ ตัวตนมีไหม เข้ามาศึกษากาย ศึกษาใจของเราเอง จนวันหนึ่งปัญญามันแจ้งว่า กายนี้ไม่ใช่ตัวเรา ใจนี้ไม่ใช่ตัวเรา พอปล่อยวางความยึดถือกายได้ ปล่อยวางความยึดถือใจได้ ละอวิชชา คือเราไม่รู้ว่ากายนี้ใจนี้เป็นตัวทุกข์ เราคิดว่ากายนี้ใจนี้เป็นตัวเรา เป็นตัวดีเป็นตัวดีเป็นตัววิเศษ เราก็ต้องดิ้นรนให้มันดีไปเรื่อยๆ ให้มันสุข อยากให้มันพ้นทุกข์ไปเรื่อยๆ ถ้าเราสามารถเรียนรู้ รู้ลงเข้ามาที่กาย รู้ลงเข้ามาที่ใจ นี่วิธีการของพระพุทธเจ้า เรียนรู้ลงเข้ามาที่กายที่ใจตัวเอง จนเห็นความจริงเลย กายนี้ไม่ใช่ตัวเรา กายนี้เป็นวัตถุเป็นก้อนธาตุ ความดิ้นรนหวงแหนในร่ายกายก็จะสลายไป หรือเรียนรู้ลงไปที่จิตใจ จะเห็นเลยจิตใจเป็นของไม่เที่ยง เดี๋ยวสุข เดี๋ยวทุกข์ เดี๋ยวดี เดี๋ยวร้าย สุขชั่วคราว ทุกข์ชั่วคราว ดีชั่วคราว ชั่วก็ชั่วคราว ทุกอย่าที่ผ่านเข้ามาที่จิตที่ใจเราล้วนแต่เป็นของชั่วคราวทั้งนั้น กระทั่งตัวจิตตัวใจเองก็ของชั่วคราว จิตเกิดทางตาเดี๋ยวก็ดับไป เกิดทางหูเดี๋ยวก็ดับไป เกิดทางใจแล้วก็ดับไป มีแต่ของชั่วคราวทั้งหมด พอเห็นอย่างนี้เห็นความจริงแล้ว จิตนี้ไม่ใช่ตัวเราที่เที่ยงแท้ถาวรอะไร ความดิ้นรนที่จะให้จิตมีความสุข ความดิ้นรนที่จะให้จิตพ้นทุกข์มันก็จะสลายไป ความพ้นทุกข์ที่แท้จริงเกิดจิตใจที่ฉลาด รู้ความจริงของกายของใจจนหมดความดิ้นรน
อุปมาเหมือนเห็ดซึ่งโผล่จากดินและนำดินติดขึ้นมาด้วยเศรษฐีมุ่งหน้าเข้าสู่ป่าสีตวัน อันเป็นที่ประทับแห่งพระศาสดา เวลานั้นพระพุทธองค์ตื่นบรรทมแล้ว ทรงแผ่ข่ายพระญาณพิจารณาดูสัตวโลกที่พระองค์ควรจะโปรด เห็นอุปนิสัยของอนาถบิณฑิกเศรษฐีว่า.เป็นผู้ที่ควรแก่การบรรลุธรรม จึงทรงจงกรมคือเดินกลับไปกลับมาอยู่ ณ บริเวณ ที่ประทับ เมื่อเศรษฐีเข้ามาใกล้ พระพุทธองค์จึงตรัสว่า “ เข้ามาเถิด สุทัตตะ ตถาคตอยู่ที่นี่ ” ดูก่อน..ภราดา ! พระดำรัสตรัสเรียกเศรษฐีโดยชื่อว่า สุทัตตะ โดยถูกต้องนั้น นำความปราโมชมาให้เศรษฐีอย่างล้นเหลือ เขาไม่เคยรู้จักพระศาสดา และพระศาสดาก็ไม่เคยรู้จักเขา แต่พระองค์สามารถเรียกชื่อเขาได้อย่างถูกต้อง เขาซบหน้าลงแทบบาทมูลแห่งพระตถาคตเจ้า แล้วกราบทูลว่า“ ข้าแต่พระศากยมุนี ! เป็นโชคดีของข้าพระพุทธเจ้ายิ่งแล้วที่ได้มาเฝ้าพระองค์สมปรารถนา พระองค์ผู้เจริญ ! เมื่อคืนนี้ ราตรีช่างยาวเสียเหลือเกิน ปรากฏแก่ข้าพระพุทธเจ้าเหมือนหนึ่งเดือน เป็นเวลานานเหลือเกิน ที่สัตว์โลกจะได้สดับคำว่า พุทโธ พุทโธ “ “ดูก่อนสุทัตตะ ผู้ตื่นอยู่มิได้หลับย่อมรู้สึกว่าราตรีหนึ่งยาวนาน ผู้ที่เดินทางจนเมื่อยล้าแล้ว รู้สึกว่าโยชน์หนึ่งเป็นหนทางที่ยืดยาว แต่สังสารวัฏคือการเวียนเกิดเวียนตายของสัตว์ผู้ไม่รู้ พระสัทธรรมยังยาวกว่านั้น ดูก่อน สุทัตตะ สังสารวัฏนี้หาเบื้องต้นเบื้องปลายได้โดยยาก สัตว์ผู้พอใจในการเกิดย่อมเกิดบ่อย ๆ การเกิดบ่อย ๆ นั้นตถาคตกล่าวว่าเป็นความทุกข์ เพราะสิ่งที่ติดตามความเกิดมาด้วย ก็คือความชรา ความเจ็บปวดทรมานและความตาย ความต้องพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รัก ความต้องประสบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รัก ความแห้งใจ ความคร่ำครวญ ความทุกข์กายทุกข์ใจ และความคับแค้นใจ อุปมาเหมือนเห็ดซึ่งโผล่จากดินและนำดินติดขึ้นมาด้วย หรืออุปมาเหมือนโคซึ่งเทียมเกวียน จะเดินไปไหนก็มีเกวียนติดตามไปทุกหนทุกแห่ง สัตว์โลกเกิดมาก็นำทุกข์ประจำสังขารติดมาด้วย ตราบใดที่เขายังไม่สลัดความพอใจในสังขารออก ความทุกข์ก็ย่อมติดตามไปเสมอ เหมือนโคที่ยังมีแอกเกวียนครอบคออยู่ ล้อเกวียนย่อมติดตามไปทุกฝีก้าว” ดูก่อนสุทัตตะ ! เมื่อรากยังมั่นคงแม้ต้นไม้จะถูกตัดแล้ว มันยังสามารถขึ้นได้อีก ฉันเดียวกัน เมื่อบุคคลยังไม่ถอนตัณหานุสัยขึ้นจากดวงจิต ความทุกข์ย่อมก็เกิดย่อมขึ้นได้บ่อยๆ “ สุทัตตะเอย ! น้ำตาของสัตว์ผู้ร้องไห้เพราะความทุกข์โทมนัสทับถม ในขณะที่ท่องเที่ยวอยู่ในวัฏสงสารนี้มีจำนวนมากเหลือคณนา สุดที่จะกล่าวได้ว่ามีประมาณเท่านี้เท่านั้น กระดูกที่เขาทอดทิ้งลงทับถมปฐพีดลเล่า ถ้านำมากองรวมกันมิให้กระจัดกระจาย คงจะสูงเท่าภูเขา บนพื้นแผ่นดินนี้ไม่มีช่องว่างเลยแม้แต่นิดเดียวที่สัตว์ไม่เคยตาย ปฐพีนี้เกลื่อนกล่นไปด้วยกระดูกแห่งสัตว์ผู้ตายแล้วตายเล่า เป็นที่น่าสังเวชสลดจิตยิ่งนัก ทุกย่างก้าวของมนุษย์และสัตว์เหยียบย่ำไปบนกองกระดูก เขานอนบนกองกระดูก นั่งบนกองกระดูก สนุกสนานเพลิดเพลินอยู่บนกองกระดูกทั้งสิ้น ”ดูก่อนสุทัตตะ ! ไม่ว่าภพไหนๆ ล้วนแต่มีลักษณะเหมือนกองเพลิงทั้งนั้น พระศาสดาทรงเทศนาอริยสัจแต่โดยย่อแก่ท่านสุทัตตะ จนเศรษฐีได้ดวงตาเห็นธรรมเป็นเป็นผู้มีศรัทธาไม่หวั่นไหวในพระรัตนตรัย แล้วทรงย้ำในตอนสุดท้ายว่า “ ดูก่อนสุทัตตะ ! การได้อัตภาพมาเป็นมนุษย์เป็นของยาก การดำรงชีพอยู่แห่งสัตว์ทั้งหลายเป็นของยาก การได้ฟังธรรมของสัตบุรุษเป็นของยาก และการอุบัติขึ้นแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลายก็เป็นของยาก ดูก่อนสุทัตตะ ! เพราะเหตุนั้นการแสดงธรรมของสัตบุรุษก็ตาม การเกิดขึ้นแห่งพระพุทธเจ้าก็ตาม ล้วนเป็นเหตุนำความสุขความสงบสู่โลก"ดูก่อนผู้สืบอริยวงค์" 'พระธรรมเทศนาของพระศาสดานั้น ไพเราะจับใจและแจ่มแจ้งยิ่งนัก เพราะเหตุนี้เมื่อพระองค์แสดงธรรมจบลง จึงมักมีผู้ชมเชยเสมอว่า "แจ่มแจ้งจริงพระเจ้าข้าฯ เหมือนหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง ส่องประทีปในที่มืด เพื่อให้ผู้มีตาดีได้มองเห็นรูป' ดังนี้ อนาถปิณฑิกเศรษฐี หรืออีกนัยหนึ่งคือสุทัตตคฤหบดี ซึ่งบัดนี้ได้เป็นโสดาบันแล้ว ด้วยการฟังพระธรรมเทศนาครั้งเดียว ได้ทูลอาราธนาพระตถาคตเจ้าเพื่อเสด็จสู่กรุงสาวัตถี ราชธานีแห่งโกศลรัฐ เมื่อพระพุทธองค์ทรงรับแล้ว เศรษฐีจึงมุ่งหน้ากลับสู่นครตน ล่วงหน้าไปก่อน ตามรายทางเศรษฐีให้คนสร้างที่พักไว้เป็นแห่งๆ และป่าวประกาศให้ประชาชนสร้างที่พัก เพื่อพระสงฆ์สาวก ตามเส้นทางที่พระศาสดาจะเสด็จ
วิธีละกิเลส วิธีเข้าถึงคำสอนของพระพุทธเจ้าเศรษฐีมุ่งหน้าเข้าสู่ป่าสีตวัน อันเป็นที่ประทับแห่งพระศาสดา เวลานั้นพระพุทธองค์ตื่นบรรทมแล้ว ทรงแผ่ข่ายพระญาณพิจารณาดูสัตวโลกที่พระองค์ควรจะโปรด เห็นอุปนิสัยของอนาถบิณฑิกเศรษฐีว่า.เป็นผู้ที่ควรแก่การบรรลุธรรม จึงทรงจงกรมคือเดินกลับไปกลับมาอยู่ ณ บริเวณ ที่ประทับ เมื่อเศรษฐีเข้ามาใกล้ พระพุทธองค์จึงตรัสว่า “ เข้ามาเถิด สุทัตตะ ตถาคตอยู่ที่นี่ ” ดูก่อน..ภราดา ! พระดำรัสตรัสเรียกเศรษฐีโดยชื่อว่า สุทัตตะ โดยถูกต้องนั้น นำความปราโมชมาให้เศรษฐีอย่างล้นเหลือ เขาไม่เคยรู้จักพระศาสดา และพระศาสดาก็ไม่เคยรู้จักเขา แต่พระองค์สามารถเรียกชื่อเขาได้อย่างถูกต้อง เขาซบหน้าลงแทบบาทมูลแห่งพระตถาคตเจ้า แล้วกราบทูลว่า“ ข้าแต่พระศากยมุนี ! เป็นโชคดีของข้าพระพุทธเจ้ายิ่งแล้วที่ได้มาเฝ้าพระองค์สมปรารถนา พระองค์ผู้เจริญ ! เมื่อคืนนี้ ราตรีช่างยาวเสียเหลือเกิน ปรากฏแก่ข้าพระพุทธเจ้าเหมือนหนึ่งเดือน เป็นเวลานานเหลือเกิน ที่สัตว์โลกจะได้สดับคำว่า พุทโธ พุทโธ “ “ดูก่อนสุทัตตะ ผู้ตื่นอยู่มิได้หลับย่อมรู้สึกว่าราตรีหนึ่งยาวนาน ผู้ที่เดินทางจนเมื่อยล้าแล้ว รู้สึกว่าโยชน์หนึ่งเป็นหนทางที่ยืดยาว แต่สังสารวัฏคือการเวียนเกิดเวียนตายของสัตว์ผู้ไม่รู้ พระสัทธรรมยังยาวกว่านั้น ดูก่อน สุทัตตะ สังสารวัฏนี้หาเบื้องต้นเบื้องปลายได้โดยยาก สัตว์ผู้พอใจในการเกิดย่อมเกิดบ่อย ๆ การเกิดบ่อย ๆ นั้นตถาคตกล่าวว่าเป็นความทุกข์ เพราะสิ่งที่ติดตามความเกิดมาด้วย ก็คือความชรา ความเจ็บปวดทรมานและความตาย ความต้องพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รัก ความต้องประสบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รัก ความแห้งใจ ความคร่ำครวญ ความทุกข์กายทุกข์ใจ และความคับแค้นใจ อุปมาเหมือนเห็ดซึ่งโผล่จากดินและนำดินติดขึ้นมาด้วย หรืออุปมาเหมือนโคซึ่งเทียมเกวียน จะเดินไปไหนก็มีเกวียนติดตามไปทุกหนทุกแห่ง สัตว์โลกเกิดมาก็นำทุกข์ประจำสังขารติดมาด้วย ตราบใดที่เขายังไม่สลัดความพอใจในสังขารออก ความทุกข์ก็ย่อมติดตามไปเสมอ เหมือนโคที่ยังมีแอกเกวียนครอบคออยู่ ล้อเกวียนย่อมติดตามไปทุกฝีก้าว” ดูก่อนสุทัตตะ ! เมื่อรากยังมั่นคงแม้ต้นไม้จะถูกตัดแล้ว มันยังสามารถขึ้นได้อีก ฉันเดียวกัน เมื่อบุคคลยังไม่ถอนตัณหานุสัยขึ้นจากดวงจิต ความทุกข์ย่อมก็เกิดย่อมขึ้นได้บ่อยๆ “ สุทัตตะเอย ! น้ำตาของสัตว์ผู้ร้องไห้เพราะความทุกข์โทมนัสทับถม ในขณะที่ท่องเที่ยวอยู่ในวัฏสงสารนี้มีจำนวนมากเหลือคณนา สุดที่จะกล่าวได้ว่ามีประมาณเท่านี้เท่านั้น กระดูกที่เขาทอดทิ้งลงทับถมปฐพีดลเล่า ถ้านำมากองรวมกันมิให้กระจัดกระจาย คงจะสูงเท่าภูเขา บนพื้นแผ่นดินนี้ไม่มีช่องว่างเลยแม้แต่นิดเดียวที่สัตว์ไม่เคยตาย ปฐพีนี้เกลื่อนกล่นไปด้วยกระดูกแห่งสัตว์ผู้ตายแล้วตายเล่า เป็นที่น่าสังเวชสลดจิตยิ่งนัก ทุกย่างก้าวของมนุษย์และสัตว์เหยียบย่ำไปบนกองกระดูก เขานอนบนกองกระดูก นั่งบนกองกระดูก สนุกสนานเพลิดเพลินอยู่บนกองกระดูกทั้งสิ้น ”ดูก่อนสุทัตตะ ! ไม่ว่าภพไหนๆ ล้วนแต่มีลักษณะเหมือนกองเพลิงทั้งนั้น พระศาสดาทรงเทศนาอริยสัจแต่โดยย่อแก่ท่านสุทัตตะ จนเศรษฐีได้ดวงตาเห็นธรรมเป็นเป็นผู้มีศรัทธาไม่หวั่นไหวในพระรัตนตรัย แล้วทรงย้ำในตอนสุดท้ายว่า “ ดูก่อนสุทัตตะ ! การได้อัตภาพมาเป็นมนุษย์เป็นของยาก การดำรงชีพอยู่แห่งสัตว์ทั้งหลายเป็นของยาก การได้ฟังธรรมของสัตบุรุษเป็นของยาก และการอุบัติขึ้นแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลายก็เป็นของยาก ดูก่อนสุทัตตะ ! เพราะเหตุนั้นการแสดงธรรมของสัตบุรุษก็ตาม การเกิดขึ้นแห่งพระพุทธเจ้าก็ตาม ล้วนเป็นเหตุนำความสุขความสงบสู่โลก"ดูก่อนผู้สืบอริยวงค์" 'พระธรรมเทศนาของพระศาสดานั้น ไพเราะจับใจและแจ่มแจ้งยิ่งนัก เพราะเหตุนี้เมื่อพระองค์แสดงธรรมจบลง จึงมักมีผู้ชมเชยเสมอว่า "แจ่มแจ้งจริงพระเจ้าข้าฯ เหมือนหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง ส่องประทีปในที่มืด เพื่อให้ผู้มีตาดีได้มองเห็นรูป' ดังนี้ อนาถปิณฑิกเศรษฐี หรืออีกนัยหนึ่งคือสุทัตตคฤหบดี ซึ่งบัดนี้ได้เป็นโสดาบันแล้ว ด้วยการฟังพระธรรมเทศนาครั้งเดียว ได้ทูลอาราธนาพระตถาคตเจ้าเพื่อเสด็จสู่กรุงสาวัตถี ราชธานีแห่งโกศลรัฐ เมื่อพระพุทธองค์ทรงรับแล้ว เศรษฐีจึงมุ่งหน้ากลับสู่นครตน ล่วงหน้าไปก่อน ตามรายทางเศรษฐีให้คนสร้างที่พักไว้เป็นแห่งๆ และป่าวประกาศให้ประชาชนสร้างที่พัก เพื่อพระสงฆ์สาวก ตามเส้นทางที่พระศาสดาจะเสด็จ
วันพุธที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2560
จิตเข้าฌานอัตโนมัติทุกข์ทางใจย่อมไม่มีแก่ผู้ไม่ห่วงใยใน ชีวิต ความกลัวทั้งปวงอันเราผู้สิ้นสังโยชน์ล่วงพ้นได้แล้ว เมื่อตัณหาเครื่องนำไปสู่ภพสิ้นไปแล้ว ความกลัวตายใน ปัจจุบัน มิได้มีด้วยประการใดประการหนึ่งเลย ดุจบุรุษ ไม่กลัวความหนัก เพราะวางภาระแล้วฉะนั้น พรหมจรรย์ เราประพฤติดีแล้ว แม้ธรรมเราก็อบรมดีแล้ว เราไม่มี ความกลัวตาย เหมือนบุคคลไม่กลัวโรคเพราะโรคสิ้นไป แล้วฉะนั้น พรหมจรรย์เราประพฤติดีแล้ว แม้มรรคเราก็ อบรมดีแล้ว ภพทั้งหลายอันไม่น่ายินดีเราได้เห็นแล้ว เหมือนบุคคลดื่มยาพิษแล้วบ้วนทิ้งฉะนั้น บุคคลผู้ถึงฝั่ง แห่งภพ ไม่มีความถือมั่น ทำกิจเสร็จแล้ว หมดอาสวะ ย่อมยินดี เพราะเหตุความสิ้นอายุ เหมือนบุคคลพ้นแล้ว จากการถูกประหารฉะนั้น บุคคลผู้บรรลุธรรมอันสูงสุดแล้ว ไม่มีความต้องการอะไรในโลกทั้งปวง ย่อมไม่เศร้าโศก ในเวลาตาย ดุจบุคคลออกจากเรือนที่ถูกไฟไหม้ฉะนั้น สิ่งใดสิ่งหนึ่งซึ่งมีอยู่ในโลกนี้ก็ดี ภพที่สัตว์ได้อยู่ในโลก นี้ก็ดี พระพุทธเจ้าผู้แสวงหาคุณอันใหญ่ได้ตรัสไว้ว่า สิ่ง ทั้งหมดนี้ไม่เป็นอิสระ ผู้ใดรู้แจ้งธรรมข้อนั้น เหมือนดัง ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ ผู้นั้นย่อมไม่ยึดถือภพไร ๆ ดังบุคคลผู้ไม่จับก้อนเหล็กแดงอันร้อนโชนฉะนั้น เราไม่มี ความคิดว่า ได้มีมาแล้ว จักมีต่อไป สังขารจักปราศจาก ไป จะคร่ำครวญไปทำไมในเพราะสังขารนั้นเล่า. ดูก่อนนายโจร ความกลัวย่อมไม่มีแก่ผู้พิจารณาเห็น ตามความเป็นจริง ซึ่งความเกิดขึ้นแห่งธรรมอันบริสุทธิ์ และความสืบต่อแห่งสังขารอันบริสุทธิ์ เมื่อใดบุคคล พิจารณาเห็นโลกเสมอด้วยหญ้าและไม้ด้วยปัญญา เมื่อ นั้น บุคคลนั้นย่อมไม่ยึดถือว่าเป็นของเรา ย่อมไม่เศร้า โศกว่า ของเราไม่มี เรารำคาญด้วยสรีระ เราไม่ต้อง- การด้วยภพ ร่างกายนี้จักแตกไป และจักไม่มีร่างกาย อื่น ถ้าท่านทั้งหลายปรารถนาจะทำกิจใดด้วยร่างกายของ เรา ก็จงทำกิจนั้นเถิด ความขัดเคืองและความรักใคร่ใน ร่างกายนั้น จักไม่มีแก่เรา เพราะเหตุที่ท่านทั้งหลายทำ กิจตามปรารถนาด้วยร่างกายของเรานั้น. โจรทั้งหลายได้ ฟังคำของท่านอันน่าอัศจรรย์ ทำให้ขนลุกชูชัน จึงพา กันวางศาสตราวุธ แล้วกล่าวดังนี้ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ความไม่เศร้าโศกที่ท่านได้นี้ เพราะท่านได้ทำกรรมอะไร ไว้ หรือใครเป็นอาจารย์ของท่าน หรือเพราะอาศัยคำสั่ง สอนของใคร.พระเถระได้ฟังดังนั้นแล้ว จึงได้กล่าวตอบว่า พระศาสดาผู้เป็นสัพพัญญู รู้เห็นธรรมทั้งปวง ชนะ หมู่มาร มีพระกรุณาใหญ่ ผู้รักษาพยาบาลชาวโลกทั้งปวง เป็นอาจารย์ของเรา ธรรมเครื่องให้ถึงความสิ้นอาสวะอัน ยอดเยี่ยมนี้ พระองค์ทรงแสดงไว้แล้ว ความไม่เศร้าโศก เราได้เพราะอาศัยคำสั่งสอนของพระองค์ พวกโจรฟัง ถ้อยคำอันเป็นสุภาษิตของพระเถระผู้เป็นฤาษีแล้ว พากัน วางศาสตราและอาวุธ บางพวกก็งดเว้นจากโจรกรรม บาง พวกก็ขอบรรพชา โจรเหล่านั้นครั้นได้บรรพชาในศาสนา ของพระสุคตแล้ว ได้เจริญโพชฌงค์และพลธรรม เป็น บัณฑิต มีจิตเฟื่องฟู เบิกบาน มีอินทรีย์อันอบรมดีแล้ว ได้บรรลุสันตบท คือนิพพานอันหาปัจจัยปรุงแต่งมิได้
จิตเข้าฌานอัตโนมัติทุกข์ทางใจย่อมไม่มีแก่ผู้ไม่ห่วงใยใน ชีวิต ความกลัวทั้งปวงอันเราผู้สิ้นสังโยชน์ล่วงพ้นได้แล้ว เมื่อตัณหาเครื่องนำไปสู่ภพสิ้นไปแล้ว ความกลัวตายใน ปัจจุบัน มิได้มีด้วยประการใดประการหนึ่งเลย ดุจบุรุษ ไม่กลัวความหนัก เพราะวางภาระแล้วฉะนั้น พรหมจรรย์ เราประพฤติดีแล้ว แม้ธรรมเราก็อบรมดีแล้ว เราไม่มี ความกลัวตาย เหมือนบุคคลไม่กลัวโรคเพราะโรคสิ้นไป แล้วฉะนั้น พรหมจรรย์เราประพฤติดีแล้ว แม้มรรคเราก็ อบรมดีแล้ว ภพทั้งหลายอันไม่น่ายินดีเราได้เห็นแล้ว เหมือนบุคคลดื่มยาพิษแล้วบ้วนทิ้งฉะนั้น บุคคลผู้ถึงฝั่ง แห่งภพ ไม่มีความถือมั่น ทำกิจเสร็จแล้ว หมดอาสวะ ย่อมยินดี เพราะเหตุความสิ้นอายุ เหมือนบุคคลพ้นแล้ว จากการถูกประหารฉะนั้น บุคคลผู้บรรลุธรรมอันสูงสุดแล้ว ไม่มีความต้องการอะไรในโลกทั้งปวง ย่อมไม่เศร้าโศก ในเวลาตาย ดุจบุคคลออกจากเรือนที่ถูกไฟไหม้ฉะนั้น สิ่งใดสิ่งหนึ่งซึ่งมีอยู่ในโลกนี้ก็ดี ภพที่สัตว์ได้อยู่ในโลก นี้ก็ดี พระพุทธเจ้าผู้แสวงหาคุณอันใหญ่ได้ตรัสไว้ว่า สิ่ง ทั้งหมดนี้ไม่เป็นอิสระ ผู้ใดรู้แจ้งธรรมข้อนั้น เหมือนดัง ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ ผู้นั้นย่อมไม่ยึดถือภพไร ๆ ดังบุคคลผู้ไม่จับก้อนเหล็กแดงอันร้อนโชนฉะนั้น เราไม่มี ความคิดว่า ได้มีมาแล้ว จักมีต่อไป สังขารจักปราศจาก ไป จะคร่ำครวญไปทำไมในเพราะสังขารนั้นเล่า. ดูก่อนนายโจร ความกลัวย่อมไม่มีแก่ผู้พิจารณาเห็น ตามความเป็นจริง ซึ่งความเกิดขึ้นแห่งธรรมอันบริสุทธิ์ และความสืบต่อแห่งสังขารอันบริสุทธิ์ เมื่อใดบุคคล พิจารณาเห็นโลกเสมอด้วยหญ้าและไม้ด้วยปัญญา เมื่อ นั้น บุคคลนั้นย่อมไม่ยึดถือว่าเป็นของเรา ย่อมไม่เศร้า โศกว่า ของเราไม่มี เรารำคาญด้วยสรีระ เราไม่ต้อง- การด้วยภพ ร่างกายนี้จักแตกไป และจักไม่มีร่างกาย อื่น ถ้าท่านทั้งหลายปรารถนาจะทำกิจใดด้วยร่างกายของ เรา ก็จงทำกิจนั้นเถิด ความขัดเคืองและความรักใคร่ใน ร่างกายนั้น จักไม่มีแก่เรา เพราะเหตุที่ท่านทั้งหลายทำ กิจตามปรารถนาด้วยร่างกายของเรานั้น. โจรทั้งหลายได้ ฟังคำของท่านอันน่าอัศจรรย์ ทำให้ขนลุกชูชัน จึงพา กันวางศาสตราวุธ แล้วกล่าวดังนี้ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ความไม่เศร้าโศกที่ท่านได้นี้ เพราะท่านได้ทำกรรมอะไร ไว้ หรือใครเป็นอาจารย์ของท่าน หรือเพราะอาศัยคำสั่ง สอนของใคร.พระเถระได้ฟังดังนั้นแล้ว จึงได้กล่าวตอบว่า พระศาสดาผู้เป็นสัพพัญญู รู้เห็นธรรมทั้งปวง ชนะ หมู่มาร มีพระกรุณาใหญ่ ผู้รักษาพยาบาลชาวโลกทั้งปวง เป็นอาจารย์ของเรา ธรรมเครื่องให้ถึงความสิ้นอาสวะอัน ยอดเยี่ยมนี้ พระองค์ทรงแสดงไว้แล้ว ความไม่เศร้าโศก เราได้เพราะอาศัยคำสั่งสอนของพระองค์ พวกโจรฟัง ถ้อยคำอันเป็นสุภาษิตของพระเถระผู้เป็นฤาษีแล้ว พากัน วางศาสตราและอาวุธ บางพวกก็งดเว้นจากโจรกรรม บาง พวกก็ขอบรรพชา โจรเหล่านั้นครั้นได้บรรพชาในศาสนา ของพระสุคตแล้ว ได้เจริญโพชฌงค์และพลธรรม เป็น บัณฑิต มีจิตเฟื่องฟู เบิกบาน มีอินทรีย์อันอบรมดีแล้ว ได้บรรลุสันตบท คือนิพพานอันหาปัจจัยปรุงแต่งมิได้
วันจันทร์ที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2560
ไม่มีใครทำจิตให้บรรลุมรรคผลนิพพานได้จิตเขาบรรลุของเขาเองถ้าเมื่อไหร่จิตเห็นว่าทุกอย่างเป็นของชั่วคราว จิตมันจะเป็นกลางด้วยปัญญา ความสุขเกิดขึ้นมันไม่หลงระเริงแระ เพราะมันรู้ว่าชั่วคราว ความทุกข์เกิดขึ้นมันไม่ทุรนทุราย เพราะมันรู้ว่าชั่วคราว ดีใจ เสียใจ สมหวัง ผิดหวัง มัน ไม่หลงระเริง ไม่เสียอกเสียใจเพราะมันรู้ว่าชั่วคราว เห็นมั๊ยพอมันเห็นว่าทุกอย่าง ชั่วคราวเนี่ยใจจะหมดความดิ้นรน เนี่ยะเรียกว่า เป็นกลางด้วยปัญญา ก่อนที่จะเกิดอริยมรรคเนี่ยะ จิตจะเป็นกลางด้วยปัญญา ก่อนที่จิตจะเป็นกลางด้วยปัญญาเนี่ยะ เราจะต้องหัดเจริญสติ ตามดูความเปลี่ยนแปลงของกาย ของใจ เรื่อยไปจนปัญญามันเกิดว่าทุกอย่างชั่วคราว สุข ทุกข์ ดี ชั่ว ชั่วคราว หายใจออก หายใจเข้า ชั่วคราว ยืนก็ชั่วคราว เดินก็ชั่วคราว นั่งนอนชั่วคราว ดูไปเรื่อยๆ นะมีแต่ของชั่วคราวไปหมดเลย …. ทุกอย่างชั่วคราวนะ ดูไป ในชีวิตเรานะ ถ้าเห็นว่าทุกอย่างชั่วคราวนะ ต่อไปไม่ว่าอะไรเกิดขึ้นจิตจะเป็นกลาง จิตที่เป็นกลางแล้วนะจะเกิดอะไร จิตจะหมด ความดิ้นรน จิตที่ไม่เป็นกลางนะมันจะดิ้นรนไม่เลิก พวกเรารู้สึกไหม จิตใจไม่มีความสุข เราอยากให้มีความสุข เราเกลียดความทุกข์ จิตที่เกลียดความทุกข์ก็ดิ้นรนนะ คิดอยู่ว่าเอ่..ทำอย่างไรจะมีความสุข หรือจิต ดิ้นรนหาความสุข จิตดิ้นรนหนีความทุกข์ การที่จิตต้องดิ้นรนหนีตลอดเวลานะคือตัวทุกข์เลย จิตจะมีแต่ความทุกข์ล้วนๆ เลย สร้างภพ สร้างชาติ สร้าง ความปรุงแต่งตลอดเวลา พวกเราเห็นมั๊ยในใจของเรามีความอยากเกิดตลอดเวลา ไปหัดดูนะ แล้วเราจะเห็นเลยใจเรามีความอยากตลอดเวลา เดี๋ยวอยากดู เดี๋ยวอยากฟัง เดี๋ยวอยากคิด เดี๋ยวอยากหนีไปที่อื่น อย่างตอนนี้แดดร้อนแล้วอยากหนีแล้ว ถอยได้นะถอยเลย ถอยไปอยู่ข้างหลัง… แบ่งๆ กัน หรือจะเอาเสื่อ ขึ้นคลุมก็ไม่ว่านะ (โยมหัวเราะ)… จะเห็นมั๊ยตอน หัวเราะเมื่อกี้ใจฟุ้งซ่าน ดูออกมั๊ย ดูตัวเอง เนี่ยะนะฝึกรู้ อย่างนี้ไปเรื่อยๆ แหล่ะ ดูไปเรื่อยนะ ถึงจุดหนึ่งที่ปัญญามันพอเนี่ยะ จิตมันจะรวม รวมเข้าอัปปนาสมาธินะ มันรวมของมันเองนะ แล้วจะเห็นสภาวะธรรมเกิดดับอยู่สองสามขณะ แล้วถัดจากนั้นอริยมรรคก็จะเกิดขึ้น จะล้างกิเลส อริยมรรคเวลาล้างกิเลส มันจะไม่เหมือนการล้างกิเลสด้วยสติ ด้วยสมาธิ ด้วยศีล ด้วยการกดไว้ อริยมรรค เวลาล้างกิเลส ล้างตัวไหนแล้วล้างเลยนะ ไม่ต้องล้างอีกนะ ล้างทีเดียวสะอาดหมดจด ไม่เกิดขึ้นอีกแล้ว แล้วเราค่อยๆ ฝึกนะ วันหนึ่งเราได้เป็นพระอริยะ อย่าวาดภาพว่าพระอริยะยากเกินไป อย่าวาดภาพว่าพระอริยะอยู่ไกล บารมีเราน้อย มัวแต่คิดว่าบารมีน้อยไม่ภาวนามันก็น้อยไปทุกชาตินั่นแหล่ะ ถึงบารมีน้อยก็ขยันภาวนานะ หายใจไปก็รู้สึกตัวไป หายใจไปรู้สึก ตัวไป มีสติรู้สึกตัวไปเรื่อย อย่าให้ลืมตัวเอง ต่อไปก็หายใจไป เห็นร่างกายที่หายใจอยู่ไม่ใช่เรา เห็นจิตใจมันทำงานได้เองนะ นี่ขั้นเดินปัญญา ง่ายๆ แค่นี้เองนะ ลองไปทำดู ไม่ยากหรอก จุดสุดท้ายที่พวกเราจะภาวนาได้นะ ก็คือ ภาวนาจนกระทั่งจิตเป็นกลางด้วยปัญญา เป็นกลางต่อทุกสิ่งทุกอย่างเลย ความสุขความทุกข์ กุศลอกุศล เกิดแล้วดับๆ ดูไปวันนึงจิตมีปัญญาเห็นว่าทุกอย่างเกิดแล้วดับ จิตจะเป็นกลาง จิตเป็นกลางตัวนี้เรียกว่าจิตมีสังขารุเบกขาญาณ ญาณแปลว่าปัญญา สังขารุเบกขา ก็คือ มีอุเบกขาต่อความปรุงแต่งทั้งดีทั้งชั่ว ทั้งสุขทั้งทุกข์ จิตที่เดินมาถึงสังขารุเบกขาญาณเนี่ยจะมีรอยแยกสองทาง มีทางแยก ทางที่หนึ่งนะ พวกเห็นภัยในสังสารวัฏ พวกนี้จะพลิกไปสู่การเกิดมรรคผล พวกที่สองนะ เกิดความกรุณาสงสารสัตว์โลก จิตจะพลิกไปสู่ความเป็นพระโพธิสัตว์ มีพลิกไปได้สองทาง แล้วพวกที่เป็นโพธิสัตว์ ที่เข้ามาถึงตรงนี้ได้นะ ถ้าไปเจอพระพุทธเจ้าเนี่ย อาจจะได้รับพยากรณ์ว่าอีก 16 อสงไขยแสนมหากัปป์จะได้เป็นพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่ง อีกนาน โลกแตกหลายรอบ ตรงที่จิตถึงสัจจานุโลมิกญาณหรืออนุโลมญาณ ใจคล้อยตามความจริง(ไตรลักษณ์)แล้ว ตรงนี้มีสามขณะถ้าเต็มรูป มีบริกรรม อุปจาร อนุโลม อนุโลมตัวสุดท้ายเป็นตัวตัด ตัดกระแสการรู้อารมณ์รูปนาม ฉะนั้นเวลาที่จิตรวมเข้าไป จิตเป็นกลางๆไปถึงขีดสุดแล้ว ปัญญาพอแล้ว มันเข้าอัปปนาสมาธิแล้วจะเห็นสภาวะเกิดดับ สองขณะบ้าง สามขณะบ้าง ขณะที่สองหรือขณะที่สามเป็นตัวสุดท้ายนี่มันจะตัด ตัดการรู้รูปนาม ตัดอารมณ์ของฝ่ายโลกียะ เสร็จแล้วมันจะทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้ ตัวนี้เองที่ว่าเราจะต้องฝึกจิตของเรา จะต้องฝึกจนมันตั้งมั่น มีเอโกทิภาวะอยู่ มีความตั้งมั่น ฉะนั้นพอมันวางอารมณ์รูปนามนี้ปุ๊บ มันจะหนีไปหาอารมณ์บัญญัติแทน ฉะนั้นใจเราต้องฝึกจนมีเอโกทิภาวะ พอมันรู้จนไม่รู้จะรู้อะไร มันจะทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้อัตโนมัติ เพราะถ้าเจือด้วยความจงใจแม้แต่นิดเดียว มรรคผลจะเกิดไม่ได้ ตรงที่มันดับกระแสของโลกิยะลงไป อนุโลมญาณดับกระแสของโลกิยะลงไปแล้ว มันจะทวนเข้าหาธาตุรู้เอง ไม่จับโลกียะ แต่ยังไม่เข้าถึงโลกุตตระเป็นโคตรภูญาณ มีจิตทำหน้าที่ตรงนี้อยู่ดวงหนึ่ง พอทวนเข้าถึงอริยมรรค ตัวมรรคนี้เป็นชาติกุศล แต่ตัวผลเป็นชาติวิบาก พอมันทวนกระแสเข้าถึงธาตุรู้ อริยมรรคจะแหวกสิ่งที่ห่อหุ้มจิตอยู่ จะแหวกแวบออกไป ขาดวาบออกไปอย่างเนียนๆ จิตที่ไม่มีอะไรห่อหุ้มจะเป็นอิสระขึ้นมาชั่วคราว สองสามขณะ ความไม่มีอะไร มีแต่ความสุขล้วนๆ แต่พอเห็นครั้งหนึ่งสองครั้งสามครั้งยังจำไม่ได้ จำไม่แม่น เห็นสี่ครั้งแล้วมันจะมีปัจจเวกฯทวนไปถึงนิพพาน ตอนครั้งที่หนึ่งสองสามนี่ปัจจเวกฯมันไม่ไปดูนิพพาน มันจะไปดูกิเลส กิเลสอะไรละแล้ว กิเลสอะไรยังเหลือ มันยังมีงานต้องทำ ครั้งสุดท้ายไม่มีงานทำ มันจะไปดูนิพพาน ตอนที่จิตแท้ๆซึ่งหลุดพ้นออกมาจากอาสวะปรากฏขึ้นมาแบบไร้ร่องรอยให้รู้ เป็นความว่างที่แท้จริง ถัดจากนั้นแสงสว่างจะปรากฏขึ้น ถัดจากแสงสว่างที่เกิดขึ้น จิตซึ่งเป็นอิสระแล้วเขาจะแสดงความมีอยู่ของเขาโดยการแสดงความเบิกบานออกมา บางคนเห็นสองขณะว่างแล้วก็สว่างขึ้นมา บางคนเห็นสามขณะ แสดงความเบิกบานขึ้นมาได้ด้วย ถัดจากนั้นจิตจะถอยออกมาสู่โลกภายนอก แล้วมันจะทวนกระแสกลับเข้าไปพิจารณา ตรงขณะที่สองหรือขณะที่สามที่ผ่านไปแล้ว อาสวกิเลสจะเข้ามาปกปิดจิตอย่างเดิมอีก สำหรับผู้ที่ผ่านมรรคครั้งที่หนึ่งสองสาม อาสวะที่แหวกออกไปจะกลับเข้ามาห่อหุ้มปกคลุมจิต อย่างฉับพลัน เวลาเข้ามาปิดก็ปิดเนียนๆ จนครั้งที่สี่จิตจึงหลุดจากอาสวะ ไม่ใช่จิตไปทำลายอาสวะ แต่หลุดเพราะไม่ยึดแล้ว เพราะไม่ยึดถือในขันธ์ห้า ในจิตอีกแล้ว แสดงน้อยลง
Ithipiso bhagawa araham samma sambuddhoเราเป็นลูกพระพุทธเจ้า เราต้องเชื่อพ่อแม่ เราต้องรู้กายรู้ใจของเราไปเรื่อยๆ แล้ววันหนึ่งเราจะได้มรดกของพระพุทธเจ้า กายนี้ใจนี้ทุกข์ล้วนล้วนถึงจุดหนึ่งที่ปัญญามันพอเนี่ยะ จิตมันจะรวม รวมเข้าอัปปนาสมาธินะ มันรวมของมันเองนะ แล้วจะเห็นสภาวะธรรมเกิดดับอยู่สองสามขณะ แล้วถัดจากนั้นอริยมรรคก็จะเกิดขึ้น จะล้างกิเลส อริยมรรคเวลาล้างกิเลส มันจะไม่เหมือนการล้างกิเลสด้วยสติ ด้วยสมาธิ ด้วยศีล ด้วยการกดไว้ อริยมรรค เวลาล้างกิเลส ล้างตัวไหนแล้วล้างเลยนะ ไม่ต้องล้างอีกนะ ล้างทีเดียวสะอาดหมดจด ไม่เกิดขึ้นอีกแล้ว แล้วเราค่อยๆ ฝึกนะ วันหนึ่งเราได้เป็นพระอริยะ อย่าวาดภาพว่าพระอริยะยากเกินไป อย่าวาดภาพว่าพระอริยะอยู่ไกล บารมีเราน้อย มัวแต่คิดว่าบารมีน้อยไม่ภาวนามันก็น้อยไปทุกชาตินั่นแหล่ะ ถึงบารมีน้อยก็ขยันภาวนานะ หายใจไปก็รู้สึกตัวไป หายใจไปรู้สึก ตัวไป มีสติรู้สึกตัวไปเรื่อย อย่าให้ลืมตัวเอง ต่อไปก็หายใจไป เห็นร่างกายที่หายใจอยู่ไม่ใช่เรา เห็นจิตใจมันทำงานได้เองนะ นี่ขั้นเดินปัญญา ง่ายๆ แค่นี้เองนะ ลองไปทำดู ไม่ยากหรอก ตามรู้นะ ตามรู้ลงไปเรื่อย ในที่สุดก็เห็น ไม่มีเราหรอก วันใดที่เห็นว่าโลกนี้ไม่ใช่เราหรอกนะ โลกว่างเปล่า ได้โสดา…ทีนี้พอได้โสดาบันแล้ว การภาวนาก็ยังทำอย่างเก่านั้นแหละ นะ การทำภาวนาอย่างเก่า รู้กายไปรู้ใจไป มีสติ รู้กายรู้ใจลงเป็นปัจจุบัน ทีละขณะ ทีละขณะ คำว่าปัจจุบันก็คือ ๑ ขณะจิตต่อหน้าเรานี่แหละ รู้ลงทีละขณะ ทีละขณะ นิดเดียว เล็กนิดเดียว ๑ ขณะ สำคัญนะ ในทางศาสนาพุทธ อะไรหนึ่ง หนึ่ง เนี่ย สำคัญทั้งนั้นเลย นะ เราภาวนาไปจนถึงจุดสุดท้ายนะ จิตเป็นหนึ่งนะ จิตเป็นหนึ่ง อารมณ์ก็เป็นหนึ่ง ธรรมก็เป็นหนึ่ง ครูบาอาจารย์บางองค์เรียกว่า เอกจิต เอกธรรม หรือจิตหนึ่ง ธรรมหนึ่ง บางองค์เรียก ฐีติจิต ฐีติธรรม แล้วแต่จะเรียก เป็นหนึ่งทั้งหมดเลย หนึ่งเดียวรวด เพราะฉะนั้นภาวนาอยู่กับหนึ่งขณะจิตต่อหน้านี้ ไม่มีตัวมีตน คอยรู้ไปๆนะ ถึงจุดหนึ่ง จิตของเราก็จะเป็นหนึ่งอยู่อย่างนั้น หมายถึง ไม่มีอะไรเข้ามาปรุงแต่งให้เป็นสองได้อีกแล้ว จิตที่มันเป็นสองได้ เป็นสามได้ เพราะว่ามันถูกปรุงแต่ง เหมือนอย่างน้ำที่บริสุทธิ์นี้มีอยู่หนึ่งเดียว ใช่มั้ย น้ำเขียว น้ำแดง น้ำซ่าๆ น้ำเน่า น้ำเหม็น น้ำหอมอะไรนี่ เพราะมันมีของอื่นไปปรุงแต่งเอา พอมันกลั่นตัวของมันจนบริสุทธิ์เต็มที่แล้ว ก็เป็นสภาวะอันเดียวล้วนๆเลย ก็เป็นความบริสุทธิ์ล้วนๆ ของจิตของใจ เวลามีจิตใจเข้าถึงความบริสุทธิ์แล้ว มาดูโลก ดูสรรพสัตว์ ดูตัวเอง ดูอะไรต่ออะไรทั้งหมดเนี่ย ก็จะเห็นเป็นหนึ่งเหมือนกัน คือว่างเปล่าจากความเป็นตัวตนเสมอกันหมดเลย ภาวนานะ ถึงจุดสุดท้าย เข้าถึงจิตก็เป็นหนึ่ง ธรรมก็เป็นหนึ่ง อยู่กับความเป็นหนึ่งนั้นแหละ อยู่กับความไม่มี อยู่กับความไม่เป็นอะไร นี่ ฟังของหลวงพ่อคำเขียนท่านพูด ท่านอยู่กับความไม่มีไม่เป็นแล้วสะใจ ถ้าคนมาเล่าว่าเนี่ย จิตเป็นอย่างนี้ แล้วไปอยู่ตรงนี้นะ ฟังแล้วไม่สะใจ ฟังแล้วเอียนๆ นะ ฝึกเอานะ ศาสนายังไม่ใช่สูญหายไป แต่เรียนให้ดี เรียนคำสอนของพระพุทธเจ้าให้ดี อย่าเชื่ออาจารย์มากเกินไป สติปัฏฐานสำคัญนะ ต้องเรียน อริยสัจจ์ ๔ ต้องเรียน เรียนปริยัติไปก่อน ถ้าเราไม่รู้จักสติปัฏฐาน ไม่รู้จักอริยสัจจ์ ไม่รู้จักไตรลักษณ์ อะไรอย่างนี้นะ ไม่ไหว ภาวนาไม่ไหว พวกนี้เป็นความรู้พื้นฐาน เพราะฉะนั้นจะเรียนพวกนี้นะ หลวงพ่อเขียนไว้ให้อ่านแล้วนะ เยอะแยะเลย นะ ไปอ่านเอาเอง ช่วยตัวเอง หลวงพ่อช่วยไม่ไหวแล้ว นะ เรือหลวงพ่อลำเล็กนะ หลวงพ่อเป็นเรือบด ลำเล็กๆเอาตัวรอดเท่านั้นแหละ พายตุ๊บป่อง ตุ๊บป่อง ข้ามทะเลของหลวงพ่อเอาเอง พวกเราก็ต้องหาเรือของเราเองนะ สิ่งที่จะเป็นเรือให้กับพวกเราคือธรรมนั่นแหละ ทำอะไรบ้างล่ะ สติ สมาธิ ปัญญา นั่นแหละ สติ สัมมาสมาธิ ปัญญา หรือ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ สัมมาทิฎฐิ สิ่งเหล่านี้ต้องพัฒนาขึ้นมา ตรงที่จิตเข้าสู่ความเป็นกลางต่อความปรุงแต่งทั้งปวง สุขกับทุกข์ก็เสมอกัน ดีกับชั่วก็เสมอกัน เข้าไปถึงความเป็นกลางด้วยปัญญาเห็นว่าทุกสิ่งชั่วคราว ถ้าเป็นกลางแบบนี้เรียกว่ามีปัญญาที่เรียกว่า สังขารุเบกขาญาณ จิตจะเป็นกลางต่อทุกสิ่งทุกอย่างสุขกับทุกข์ ดีกับชั่วจะเสมอภาคกัน ไม่ใช่รักอันหนึ่ง เกลียดอันหนึ่ง พวกเรารู้สึกไหม ใจเรายังรักอันหนึ่ง เกลียดอันหนึ่งอยู่ตลอดเวลา นั่นละ ปัญญายังไม่พอ ให้รู้ลงไปอีก จนกระทั่งเห็นว่าทุกอย่างก็ชั่วคราวทั้งหมดเลย ทั้งสิ่งที่เรารัก สิ่งที่เราเกลียด พอเห็นซ้ำลงไปจนทุกอย่างชั่วคราวหมด จิตจะเป็นกลาง เมื่อจิตเป็นกลางคือจุดสูงสุดที่เราจะภาวนาได้ละ คือจุดสุดท้ายถัดจากนี้ก็คือมรรคผลจะเกิดขึ้น แต่บางคนจะไม่เกิดมรรคผล บางคนเมื่อภาวนาไป จนเป็นกลางต่อสรรพสิ่งนั้น จิตใจน้อมไปสู่มหากรุณา เห็นอกเห็นใจสรรพสัตว์ทั้งหลาย อยากช่วยสรรพสัตว์ทั้งหลาย จิตจะน้อมไปสู่พุทธภูมิ และถ้าได้พบพระพุทธเจ้าในวันนั้น ท่านก็จะพยากรณ์ให้ ว่าอีกเท่านั้น เท่านี้นะจะได้เป็นพระพุทธเจ้าองค์หนึ่ง แต่ถ้าจิตยังไม่เป็นกลาง ไม่สามารถได้รับพยากรณ์ เมื่อจิตยังกลับกลอก ยังกลัวทุกข์อยู่ ยังรักสุขอยู่ ยังไม่แน่นอน เป็นโพธิสัตว์ที่ยังไม่แน่นอน ใครอยากเป็นโพธิสัตว์ต้องภาวนาอย่างที่หลวงพ่อสอนนี่ รู้กาย รู้ใจ จนกระทั่งเป็นกลางต่อทุกสิ่งทุกอย่าง และตรงทุกจุดนั้น จิตจะเลือกของเขาเอง ถ้าจะไปพุทธภูมิ มันก็จะไปค้างอยู่ตรงนั้นล่ะ ออกมาสร้างบารมี ช่วยเหลือผู้คนไป ด้วยจิตที่เป็นกลาง ถ้าสติปัญญาเราพอนะ เรารู้เลยจิตมันแส่ส่ายออกทางตาหูจมูกลิ้นกายมีแต่ทุกข์ จิตไม่แส่ส่าย พอจิตไม่แส่ส่ายจิตก็หลุดออกจากกามภูมิ เข้ารูปภูมิหรืออรูปภูมิ เข้าเองเลย เพราะงั้นพวกเราหัดเจริญสติไปเรื่อย พอศีลสมาธิปัญญา สติสมาธิปัญญาแก่รอบนะ จิตจะหมดความหลงไหลรูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะทั้งหลายมาดึงดูดจิตไหลไปไม่ได้แล้ว อย่างน้อยก็ชั่วขณะ ชั่วขณะเท่านั้นแหละ ถ้าจิตมันตั้งมั่นรู้ไหลออกไปแล้วทุกข์ ก็ตั้งเด่นดวงอยู่ จิตก็เข้าฌานอัตโนมัติ เพราะงั้นถึงเราจะเจริญสติเจริญปัญญาโดยเข้าฌานไม่เป็น ถึงนาทีสุดท้ายที่จะเกิดอริยมรรคอริยผลในทุกขั้นตอน ตั้งแต่โสดาปัตติมรรคจนถึงอรหัตมรรคเนี่ย จิตจะเข้าฌานของเค้าเอง ยกเว้นคนซึ่งเดินปัญญาอยู่ในฌาน เวลาที่จะเกิดอริยมรรคไม่ต้องถอยออกมาอยู่ในโลกก่อนนะ ไม่ต้องกลับมาอยู่กามภูมิก่อนนะ จิตเค้าจะตัดอยู่ข้างในได้เลย นี่เป็นพวกหนึ่ง แต่รวมความก็คืออริยมรรคไม่เกิดอยู่ในจิตที่อยู่ในกามอย่างพวกเรา อริยมรรคจะต้องเกิดอยู่ในรูปภูมิหรืออรูปภูมินะ จะเกิดอยู่ตรงนั้น ไปล้างกันตรงนั้น จิตจะเข้าฌานอัตโนมัติ พอจิตเข้าฌานแล้วคราวนี้สติระลึกรู้อยู่ที่จิตนะ ไม่ได้เจตนาระลึก มันรู้เอง เพราะมันไม่แส่ส่ายออกไปที่ตาหูจมูกลิ้นกายใจ ไม่แส่ส่ายไปในความคิด ก็หยุดลงที่จิตดวงเดียว สติหยั่งลงที่จิต จิตตั้งมั่นอยู่ที่จิต เพราะงั้นสมาธินี่เต็มสมบูรณ์แล้ว ตั้งมั่นอยู่ที่จิต สติสมบูรณ์แล้ว ระลึกอยู่ที่จิต ปัญญาสมบูรณ์แล้ว เห็นความเป็นจริงทุกสิ่งที่อย่างที่เคลื่อนไหวอยู่ในจิตนะ ตรงนี้แหละจิตจะไหวตัวขึ้นมาสองสามขณะ คือปรุงขึ้นมานะแต่ไม่รู้ว่าคิดอะไร ไม่รู้ว่าปรุงอะไร มีความปรุงแต่งเกิดขึ้นแต่ไม่รู้ว่าปรุงอะไร จะเห็นแต่ว่าสิ่งบางสิ่งเกิดขึ้นแล้วสิ่งนั้นดับไป จะเห็นอย่างนี้เอง เห็นเอง ถัดจากนั้นนะจิตจะรู้เลยมันไม่มีสาระอะไร จิตมันจืดนะ มันไม่เอาอีกแล้ว ก็แค่เห็นความปรุงภายในจิตผุดขึ้น พอเห็นความปรุงภายในจิตผุดขึ้นสองสามขณะ ความเห็นกลางอย่างแท้จริงเลย รู้อย่างเป็นกลางอย่างแท้จริงไม่ปรุงต่อนะ จิตจะวาง พอมันวางแล้วมันจะทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้ วางจิตแล้วทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้ ธาตุรู้ก็จิตนั่นแหละ มันเป็นจิตอีกอย่างหนึ่ง พอจิตดวงเก่ามันดับไป จิตที่อยู่ในภพภูมิต่างๆมันดับไป มันทวนกระแสเข้าหาจิตที่เหนือภพเหนือภูมิ ทวนกระแสเข้ามา ขณะที่มันปล่อยวางจิตดวงเดิมนะ แล้วก็ทวนเข้ามาแต่ยังไม่ถึงธาตุรู้นะ คาบลูกคาบดอก ไม่ได้เกาะขันธ์แล้วนะ แต่ก็ยังเข้ามาไม่ถึงตัวธาตุรู้ ไม่ถึงอมตะธาตุอมตะธรรม ไม่ถึงพระนิพพาน ธาตุรู้ไม่ใช่พระนิพพานนะ แต่ธาตุรู้ไปเห็นพระนิพพาน ต้องแยกให้ออก มันยังทวนไม่ถึงธาตุรู้ ไม่ใช่ปุถุชน ไม่ใช่พระอริยะ ทำไมไม่ใช่ปุถุชน เพราะมันปล่อยขันธ์แล้ว ขันธ์สุดท้ายที่มันปล่อยก็คือจิต ไม่ใช่พระอริยะ เพราะยังไม่เข้ามาถึงธาตุรู้ ไม่เข้าถึงพระนิพพาน ตัวธาตุรู้นั่นแหละเป็นตัวไปเห็นพระนิพพาน ตรงนี้นะเรียกว่าโคตรภูญาณ ญาณข้ามโคตร มีปัญญาข้ามโคตร ข้ามโคตรจากโคตรไหนมาสู่โคตรไหน? จากโคตรของปุถุชนมาสู่โคตรของอริยชน เพราะงั้นบรรลุมรรคผลแล้วเปลี่ยนโคตรนะ ข้ามจากสกุลของปุถุชน ข้ามมาสู่อริยวงศ์อริยโคตร เรียกญาณข้ามโคตร ไม่ใช่ปุถุชนนะ กำลังข้ามอยู่ ไม่ใช่พระอริยะ มีอยู่ขณะจิตเดียวแหละที่คาบลูกคาบดอกประหลาดอยู่อย่างนี้ ข้ามมา ทวนเข้ามาถึงจิตแท้ ถึงธาตุรู้แท้ๆ ธรรมธาตุ ตัวนี้อริยมรรคก็จะเกิดขึ้น อาสวกิเลสที่ห่อหุ้มจิตอยู่ถูกอริยมรรคแหวกออกทำลายออก ก็ล้างกิเลส ล้างในพริบตาเดียว ในขณะเดียว วับเดียวเลย ขาดเลย มันคล้ายๆเปิดสวิตซ์ไฟ ปั๊บ สว่างวุ๊บเดียวความมืดหายไปเลย ในพริบตานั้นเลย จากนั้นนะจะเห็นพระนิพพานอีกสองสามขณะ เห็นไม่เท่ากันหรอก บางคนเห็นสองขณะ บางคนเห็นสามขณะ ถ้าพวกอินทรีย์กล้ามากๆก็เห็นสามขณะ พวกอินทรีย์ยังไม่กล้ามากก็เห็นสองขณะนะ งั้นพระอริยะในภูมิธรรมอันเดียวกันระดับเดียวกัน ความรู้ความเข้าใจไม่เท่ากัน ความแตกฉานอะไรนี้ไม่เท่ากัน เห็นพระนิพพานแล้วก็รู้ว่านิพพานอยู่ต่อหน้าต่อตา นิพพานไม่เคยหายไปไหน อยู่ต่อหน้าต่อตานี่แหละ แต่โง่เองไม่เห็น ทำไมไม่เห็น? มัวแต่เห็นแต่กาม มัวแต่เห็นรูปภพ มัวแต่เห็นอรูปภพ จิตไม่รู้จักปล่อย ตรงที่เค้าปล่อยน่ะเค้าข้าม เค้าทิ้งแล้ว ตรงโคตรภูญาณที่จิตข้ามโคตร ข้ามจากปุถุชนมาเป็นพระอริยะ ข้ามตรงนี้มันทิ้งหมดเลยนะ มันทิ้งกามภูมิ รูปภูมิ อรูปภูมิ ทิ้งหมดเลย ข้ามมาสู่อริยภูมิ โลกุตรภูมิ ข้ามเอง พวกเราก็มีหน้าที่ภาวนาให้มันพอเท่านั้นแหละนะ ถ้ามันพอเมื่อไหร่มันก็ข้ามโคตรไป เปลี่ยนสกุลไม่ใช่นามสกุลเดิม โดยสมมุติบัญญัติก็เป็นนามสกุลเดิม โดยปรมัตถ์แท้ๆก็ไม่ใช่แล้ว ก็มาเป็นลูกพระพุทธเจ้า ถ้าจิตเราเป็นกลาง เราไม่ได้มุ่งพุทธภูมิ เราไม่ได้ทำกรรมชั่วหยาบมา จิตเราจะก้าวกระโดดเกิดอริยมรรคขึ้นมา ขั้นแรกมันจะรวมลงก่อน รวมเข้า อัปปนาสมาธิ รวมเองโดยที่ไม่ได้เจตนาจะรวม ไม่ได้คิดได้ฝันที่จะรวม รวมโดยอัตโนมัติ เมื่อรวมลงมาแล้วจะเห็นสภาวธรรมเกิดดับ เกิดดับ สองขณะบ้าง สามขณะบ้าง ถัดจากนั้นจิตจะวางการรับรู้อารมณ์ ทวนกระแสเข้ามาหาธาตุรู้ เมื่อทวนกระแสเข้าถึงธาตุรู้แล้วสิ่งที่ห่อหุ้มปิดบังจิตอยู่คือ อาสวกิเลส ทั้งหลาย สังโยชน์ทั้งหลายถูกขาดสะบั้นออกไปด้วย กำลังของอริยมรรค นิพพานก็จะปรากฏเด่นดวงขึ้นมาให้เรารู้สึกได้ สองขณะบ้าง สามขณะบ้าง คนไหนซึ่งอินทรีย์ไม่แก่กล้ามาก ตอนที่จิตรวมไปทีแรก เห็นสภาวธรรมก็จะเห็นสามครั้ง แล้วพอเห็นนิพพานพอได้ผลจะเห็นสองขณะ แต่คนที่อินทรีย์แก่กล้าเห็นสภาวะทีแรกจะเห็นสองขณะ และจะมาเห็นนิพพานสามขณะ เห็นยาวต่างกัน อินทรีย์ไม่เท่ากัน ผลที่เกิดขึ้นก็ไม่เท่ากัน ถัดจากนั้นจิตจะถอยออกจาก อัปปนาสมาธิ นะ ถอยเอง ถัดจากนั้นไม่ทรงอยู่แล้วจะถอยออกมา พอถอยออกมาแล้วจะทวนกระแสกลับเข้าไปพิจารณาว่าเมื่อกี้เกิดอะไรขึ้น ก็แจ่มแจ้งแล้วว่า เมื่อกี้นี้ตัวตนอะไรไม่มีอีกแล้ว ไม่มีอะไรที่เป็นตัวเป็นตนอีกเลย แต่ว่ากิเลสยังเหลืออยู่อีกเพียบเลย พระโสดาบันกับปุถุชนแทบจะไม่มีอะไรต่างกันนะ พระโสดาบันละมิจฉาทิฏฐิได้เท่านั้น ละความเห็นผิดได้ ส่วนโลภ โกรธ หลงอื่นๆ เหมือนปุถุชนนั่นเอง
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)